โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๗๑ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ (January, 27, 01, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

27-01-2551

A World Without Islam
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

โลกที่ไม่มีอิสลาม จะไม่มีการปะทะกันระหว่างอารยธรรม ???
A World Without Islam : โลกไร้อิสลามจะหน้าตาอย่างไร?

สฤณี อาชวานันทกุล : แปล
และเชิงอรรถ
นักวิชาการอิสระ และอาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

สำหรับบทแปลชิ้นนี้ นำมาจากงานเขียนของ Graham E. Fuller เรื่อง
A World Without Islam ตีพิมพ์ในวารสาร Foreign Policy
ฉบับเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๐๐๘ (ซึ่งได้เผยแพร่แล้วบนเว็บไซต์
http://www.onopen.com/) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น
ในปัจจุบัน มุสลิมตกเป็นแพะรับบาป ทั้งนี้จาก
สถิติของยูโรโปล (Europol)
หน่วยงานตำรวจของสหภาพยุโรป ระบุว่า เกิดเหตุก่อการร้าย ๔๙๘ ครั้ง
ในสหภาพยุโรปในปี ๒๐๐๖ เพียงปีเดียว ในจำนวนนี้ ๔๒๔ ครั้ง เป็นฝีมือ
ของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ที่เหลืออีก ๕๕ ครั้งเป็นฝีมือของฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง
อีก ๑๘ ครั้งเป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายกลุ่มอื่นๆ มีเพียงกรณีเดียวเท่านั้น
ที่เป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายชาวมุสลิม

ลัทธิล่าอาณานิคมใหม่ยังคงเฟื่องฟู การตักตวงทรัพยากรยังคงดำเนินต่อไป
ภายใต้การนำของโลกตะวันตก ศาสนาอิสลามเป็นเพียงผ้าคลุมและเครื่องมือ
ที่ผนึกชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เสียเปรียบให้มารวมตัวกันในการต่อสู้กับเกมผลประโยชน์นี้
แม้ภูมิภาคตะวันออกกลางจะปราศจากศาสนาอิสลาม การต่อสู้กับผู้รุกราน
การเผชิญหน้ากับการล่าอาณานิคมใหม่ ก็จะยังคงเกิดขึ้นภายใต้ผ้าคลุมผืนอื่น
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๗๑
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๐.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โลกที่ไม่มีอิสลาม จะไม่มีการปะทะกันระหว่างอารยธรรม ???
A World Without Islam : โลกไร้อิสลามจะหน้าตาอย่างไร?

สฤณี อาชวานันทกุล : แปล
และเชิงอรรถ
นักวิชาการอิสระ และอาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(คลิกอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ)

ความนำ
โลกที่ไม่เคยมีอิสลามจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร? ความคิดนี้ทำให้บางคนรู้สึกดี พวกเขามองว่าโลกแบบนั้นจะไม่มีการปะทะกันระหว่างอารยธรรม ไม่มีสงครามศาสนา ไม่มีผู้ก่อการร้าย ศาสนาคริสต์จะครอบงำโลกแบบนั้นหรือเปล่า? ตะวันออกกลางจะเป็นประทีปแห่งประชาธิปไตยอันสงบสุขหรือไม่? โศกนาฏกรรม 9/11 จะเกิดขึ้นหรือไม่? ในความเป็นจริง ถ้าเราลบอิสลามออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์ โลกก็จะยังดำเนินมาถึงจุดที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ไม่มีผิดเพี้ยน

ลองนึกภาพโลกที่ปราศจากอิสลาม ซึ่งแน่นอนว่าเป็นโลกที่เราแทบจะจินตนาการไม่ออก เมื่อคำนึงว่าอิสลามครอบครองพื้นที่พาดหัวข่าวประจำวันเพียงใด ดูเหมือนว่าอิสลามจะอยู่เบื้องหลังความวุ่นวายระหว่างประเทศที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีแบบพลีชีพ การระเบิดรถ การบุกยึดพื้นที่ด้วยกำลังทหาร สงครามต่อต้าน การจลาจล ฟัตวา (fatwas) จิฮาด (jihad) สงครามกองโจร วีดีโอขู่ขวัญ และโศกนาฏกรรม 9/11 ทำไมเหตุการณ์เหล่านี้จึงเกิดขึ้น? ดูเหมือนว่า "อิสลาม" จะกลายเป็นคำตอบที่สำเร็จรูปไม่ซับซ้อน ที่ทำให้เราสามารถทำความเข้าใจกับโลกทุกวันนี้ที่ดิ้นรนไม่อยู่นิ่ง และอันที่จริง คนที่มีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมใหม่ (neoconservatives) บางคนก็เชื่อว่า "Islamofascism" (ลัทธิเผด็จการฟาสซิสต์อิสลาม) ได้กลายเป็นศัตรูคู่อาฆาตของเราใน "สงครามโลกครั้งที่สาม" ที่ส่อแววว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

แต่ขอให้ลองหยุดฟังผมสักครู่นะครับ ถ้าสมมุติว่าอิสลามไม่เคยเกิดขึ้นเลยล่ะ? ถ้าสมมุติว่าโลกไม่เคยมีศาสดาชื่อโมฮัมหมัด ไม่มีเรื่องราวของการเผยแผ่อิสลามไปสู่ภูมิภาคตะวันออกกลาง ทวีปเอเชีย และทวีปแอฟริกา?

ความหมกมุ่นของเราทุกวันนี้ในประเด็นการก่อการร้าย สงคราม และลัทธิต่อต้านอเมริกัน ซึ่งล้วนเป็นประเด็นระดับโลกที่สั่นสะเทือนอารมณ์ทั้งสิ้น ทำให้เป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่เราจะต้องเข้าใจต้นเหตุที่แท้จริงของวิกฤตเหล่านี้ อิสลามเป็นต้นเหตุของปัญหาจริงๆ หรือเปล่า หรือว่าต้นเหตุแท้จริงคือปัจจัยอื่นๆ ที่อยู่ลึกกว่าและมองเห็นยากกว่า? เพื่อให้เราอภิปรายประเด็นนี้กันง่ายขึ้น ลองนึกดูว่า ตะวันออกกลางที่ไม่เคยมีอิสลามจะเป็นอย่างไร ในโลกแบบนั้น เราจะสามารถหลบเลี่ยงปัญหาหลายประการที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบันได้หรือไม่? ตะวันออกกลางจะมีความสงบสุขกว่านี้หรือไม่? ความสัมพันธ์ระหว่างตะวันออก-ตะวันตกในกรณีนั้น จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร? ถ้าไม่มีอิสลาม แน่นอนว่าระเบียบโลกจะมีหน้าตาแตกต่างจากที่มันเป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่เราจะแน่ใจได้หรือเปล่า?

ถ้าไม่มีอิสลาม จะมีอะไร?
ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของตะวันออกกลาง ดูเหมือนว่าอิสลามจะเป็นเค้าโครงปทัสถานทางวัฒนธรรม (cultural norms) และแม้กระทั่งรสนิยมทางการเมืองของผู้นับถือศาสนานี้ ดังนั้นเราจะแยกอิสลามออกจากตะวันออกกลางได้อย่างไร? ในความเป็นจริง เรื่องนี้ไม่ได้ยากอย่างที่เราคิด

ลองเริ่มที่ชาติพันธุ์ก่อน ถ้าไม่มีอิสลาม ตะวันออกกลางก็จะยังคงเป็นทวีปที่มีความซับซ้อนและความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์อันหลากหลาย กลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ๆ ในทวีปนี้ ไม่ว่าจะเป็นชาวอาหรับ เปอร์เซีย ตุรกี เคิร์ด ยิว เบอร์เบอร์ และพาชทุน ก็จะยังคงครอบงำการเมืองในภูมิภาค ลองยกกรณีของเปอร์เชียเป็นตัวอย่างก็ได้ - นานก่อนที่อิสลามจะเกิด อาณาจักรเปอร์เซียอันยิ่งใหญ่ยุคแล้วยุคเล่าก็ได้ขยายขอบเขตไปถึงธรณีประตูของเอเธนส์ (เมืองหลวงอาณาจักรกรีกโบราณ - ผู้แปล) และเป็นคู่ปรับตลอดกาลของใครก็ตามที่ตั้งรกรากในเขตอนาโตเลีย (Anatolia คือคาบสมุทรตุรกีในปัจจุบัน) นอกจากนั้น ชนชาติยิวโบราณก็สู้รบกับชาวเปอร์เซียตลอดบริเวณ "Fertile Crescent" และอิรัก

ยังไม่นับชนเผ่าเร่ร่อน และพ่อค้าชาวอาหรับที่ทั้งขยับขยายและโยกย้ายถิ่นฐานเข้าไปในบริเวณอื่นๆ ที่ชาวยิวอาศัยอยู่ในตะวันออกกลาง นานก่อนอิสลามจะเกิด ชาวมองโกลจะยังคงบุกโจมตีและทำลายอารยธรรมทั้งหมดในเอเชียกลาง และอารยธรรมส่วนใหญ่ในตะวันออกกลางในคริสตศตวรรษที่ 13 ตุรกีจะยังคงยึดครองคาบสมุทรอนาโตเลีย และคาบสมุทรบัลข่านจนถึงกรุงเวียนนา และตะวันออกกลางเกือบทั้งหมด การปะทะกันเหล่านี้เพื่อแย่งชิงอำนาจ ดินแดน อิทธิพล และการค้า ดำรงอยู่เนิ่นนานก่อนที่อิสลามจะเข้าถึง

อย่างไรก็ตาม อาจเป็นเรื่องไม่มีเหตุผลถ้าเราจะแยกศาสนาทุกศาสนาออกจากสมการ ถ้าโลกไม่มีอิสลาม คนในตะวันออกกลางแทบทั้งหมดก็จะยังคงนับถือคริสต์นิกายต่างๆ เหมือนกับที่เคยนับถือก่อนอิสลามจะเกิด เพราะไม่มีศาสนาหลักอื่นใดนอกจากโซโรแอสเตรียน (Zoroastrian) และยิวซึ่งเป็นที่นับถือในหมู่ชนกลุ่มน้อยเท่านั้น

แต่ถ้าตะวันออกกลางทั้งทวีปยังนับถือศาสนาคริสต์อยู่ ทวีปนี้จะปรองดองกับโลกตะวันตกได้จริงหรือ? ดูเหมือนว่านั่นจะเป็นความฝันเท่านั้น เพราะกรณีดังกล่าวเราต้องสมมุติว่า โลกตะวันตกยุคกลางที่อยู่ไม่สุขและชอบขยายดินแดน จะไม่แผ่อำนาจและอิทธิพลเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านทางทิศตะวันออกในการเสาะหาที่มั่นทางเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์การเมือง เพราะท้ายที่สุดแล้ว สงครามครูเสด (Crusades) คืออะไรเล่า หากไม่ใช่การผจญภัยของโลกตะวันตกที่ขับดันด้วยความต้องการทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ? ธงศาสนาคริสต์เป็นเพียงสัญลักษณ์อันทรงพลัง เป็นสัญญาณระดมพลที่สร้างความชอบธรรมให้กับความต้องการทางโลกย์ของชาวยุโรปผู้ครองอำนาจ

ในความเป็นจริง ศาสนาของ "ชนพื้นเมือง" ไม่เคยเป็นที่สนใจของการกรีฑาทัพของโลกตะวันตกที่ปรารถนาจะเป็นเจ้าโลก ยุโรปอาจใช้ถ้อยคำที่ฟังดูสูงส่งว่ากำลัง "นำคุณธรรมของชาวคริสต์ไปสู่ชนพื้นเมือง" แต่เป้าหมายที่แท้จริงของพวกเขาคือ การก่อตั้งด่านอาณานิคมทั่วโลก ให้เป็นแหล่งผลิตความมั่งคั่งสำหรับศูนย์กลางอำนาจ และเป็นฐานที่มั่นสำหรับการแผ่อิทธิพลของโลกตะวันตกออกไปเรื่อยๆ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ชาวคริสต์ผู้อาศัยอยู่ในทวีปตะวันออกกลาง จึงไม่น่าจะยินดีต้อนรับกองทัพเรือและพ่อค้าชาวยุโรปที่มีปืนตะวันตกหนุนหลังอยู่ ลัทธิล่าอาณานิคมคงจะยังเจริญรุ่งเรืองท่ามกลางชาติพันธุ์อันหลากหลายและขัดแย้งกันในภูมิภาคนั้น ซึ่งเป็นวัตถุดิบชั้นดีสำหรับการเล่นเกม "แบ่งแยกให้แตกหักแล้วค่อยปกครอง" (divide and rule) และชาวยุโรปก็จะยังคงแต่งตั้งคนพื้นเมืองที่ว่านอนสอนง่ายเป็นผู้ปกครองประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเขา

ทีนี้ลองหมุนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ยุคแห่งน้ำมันในตะวันออกกลาง
รัฐในตะวันออกกลางทั้งหลาย ถ้าสมมุติว่ายังเป็นคริสต์อยู่ จะต้อนรับ"การอารักขา"(protectorate) ของยุโรป เหนือดินแดนของพวกเขาหรือไม่? ไม่มีทาง. โลกตะวันตกจะยังต้องสร้างและควบคุมชัยภูมิสำคัญๆ เช่น คลองสุเอซ อิสลามไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้รัฐตะวันออกกลางต่อต้านโครงการล่าอาณานิคมของยุโรป ซึ่งชอบวาดพรมแดนระหว่างประเทศขึ้นมาใหม่ตามความต้องการของตัวเอง นอกจากนั้น ชาวคริสต์ในตะวันออกกลางก็จะยังไม่ยินดีต้อนรับบริษัทน้ำมัน ยักษ์ใหญ่จากตะวันตก ซึ่งถูกหนุนหลังโดยผู้สำเร็จราชการ นักการทูต สายลับ และกองทัพ มากไปกว่าถ้าพวกเขาเป็นชาวมุสลิม ลองดูประวัติการต่อต้านอเมริกาของชาวอเมริกาใต้ ที่ต่อต้านการครอบงำของอเมริกาในธุรกิจน้ำมัน เศรษฐกิจ และการเมืองในประเทศ ทวีปตะวันออกกลางจะยังคงอยากสร้างขบวนการเคลื่อนไหวชาตินิยมที่ต่อต้านนักล่าอาณานิคม เพื่อแย่งชิงดินแดน ตลาด อธิปไตย และชะตาชีวิตกลับคืนมาจากเงื้อมมือของชาวต่างชาติ ไม่ต่างจากขบวนการลักษณะเดียวกันในอินเดียที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู, ประเทศจีน (ขงจื๊อ), เวียดนาม (พุทธ), และแอฟริกา (คริสต์และผี)

นอกจากนี้ แน่นอนว่าฝรั่งเศสจะยังคงขยายอาณาเขตเข้าไปในอัลจีเรีย (ประเทศที่คนส่วนใหญ่เป็นคริสต์) เพื่อยึดครองผืนดินอันอุดมสมบูรณ์และก่อตั้งอาณานิคม เช่นเดียวกัน การที่คนเอธิโอเปียส่วนใหญ่นับถือคริสต์ก็ไม่เคยหยุดอิตาลีจากการเปลี่ยนประเทศนั้นให้เป็นเมืองขึ้นที่อิตาลีปกครองอย่างเหี้ยมโหด กล่าวโดยสรุป ไม่มีเหตุผลใดๆ เลยที่จะทำให้เชื่อได้ว่า ปฏิกิริยาของรัฐในตะวันออกกลางต่อมหกรรมการล่าอาณานิคมของยุโรป จะแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายใต้การนับถือศาสนาอิสลาม

แต่บางที ตะวันออกกลางอาจเป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้ถ้าไม่มีอิสลาม? ประวัติศาสตร์ของระบอบเผด็จการในยุโรปเองทำให้คำตอบนี้น่ากังขา ระบอบเผด็จการอันโหดร้ายในสเปนและโปรตุเกสยุติลงได้เพียงเมื่อกลางทศวรรษ 1970 เท่านั้น กรีซเองก็เพิ่งโผล่พ้นระบอบเผด็จการที่เกี่ยวโยงกับคริสตจักรเพียงเมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา รัสเซีย (ซึ่งคนส่วนใหญ่นับถือคริสต์) ยังไม่เป็นประชาธิปไตย และจวบจนเมื่อไม่นานมานี้ ทวีปอเมริกาใต้ก็เต็มไปด้วยเผด็จการทหาร ผู้มักจะปกครองประเทศด้วยแรงหนุนจากอเมริกา โดยมีคริสตจักรนิกายแคทอลิกเป็นพันธมิตร ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกาที่นับถือคริสต์ก็ไม่ได้มีประวัติดีไปกว่ากัน ทำไมทวีปตะวันออกกลางถ้าเป็นคริสต์จะดูแตกต่างไปจากนี้?

และแล้วเราก็มาถึงปาเลสไตน์ แน่นอน ชาวคริสต์คือกลุ่มคนที่จองล้างจองผลาญชาวยิวอย่างไร้ยางอายมานานนับพันปี จนถึงจุดที่เลวร้ายที่สุดใน Holocaust (การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิวของนาซีภายใต้ฮิตเลอร์ - ผู้แปล) ตัวอย่างอันร้ายกาจของลัทธิเกลียดชังยิว (anti-Semitism) เหล่านี้มีรากมาจากผืนดินและวัฒนธรรมของชาวคริสต์ในโลกตะวันตก ดังนั้นถึงแม้ไม่มีอิสลาม ชาวยิวก็จะยังคงต้องแสวงหาประเทศใหม่นอกทวีปยุโรป ขบวนการปลดปล่อยยิว (Zionist movement) จะยังคงอุบัติขึ้น และเสาะหาที่มั่นในปาเลสไตน์ และรัฐยิวใหม่ก็จะยังคงขับไล่ชาวอาหรับกว่า 750,000 คนที่อาศัยอยู่ในปาเลสไตน์ ออกจากบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขา ถึงแม้ว่าพวกเขาอาจเป็นชาวคริสต์ (ซึ่งอันที่จริงชาวอาหรับหลายคนก็เป็นคริสต์) ชาวอาหรับในปาเลสไตน์เหล่านี้จะไม่ต่อสู้เพื่อปกป้องหรือช่วงชิงดินแดนของพวกเขากลับคืนมาหรือ?

หัวใจของปัญหาระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ คือความขัดแย้งเกี่ยวกับประเทศ ชาติพันธุ์ และอาณาเขต ซึ่งถูกเสริมด้วยสโลแกนทางศาสนาเพียงเมื่อไม่นานมานี้เอง และเราก็ไม่ควรลืมว่า ชาวอาหรับที่นับถือคริสต์ก็มีบทบาทสำคัญในการอุบัติขึ้นของขบวนการชาตินิยมอาหรับขบวนการแรกๆ ในตะวันออกกลาง ยกตัวอย่างเช่น มิเชล อัฟลัค (Michel Aflaq) ผู้ก่อตั้งพรรคบาธ (Ba'th) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองระดับภูมิภาค (pan-Arab) พรรคแรก เป็นชาวซีเรียนับถือคริสต์ที่จบการศึกษาจากซอร์บอนน์ (Sorbonne - หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของฝรั่งเศส)

แต่ชาวคริสต์ในตะวันออกกลางน่าจะโน้มเอียงไปทางโลกตะวันตก อย่างน้อยก็ในแง่ของศาสนา เราจะหลีกเลี่ยงการปะทะกันระหว่างศาสนาไม่ได้เลยหรือ? ในความเป็นจริง คริสตจักรเองก็ถูกสั่นคลอนด้วย "ความคิดนอกรีต" (heresies) มากมายนับตั้งแต่ยุคแรกๆ ที่เริ่มมีอิทธิพล และความคิดนอกรีตเหล่านั้นก็เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้ต่อต้านอำนาจของอาณาจักรโรมันหรือไบแซนทีน สงครามทางศาสนาในโลกตะวันตกเปรียบเสมือนผ้าม่านที่ปกคลุมความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ ยุทธศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ที่ต้องการช่วงชิงอำนาจ ผู้ไม่ได้สมัครสมานสามัคคีกันแม้ว่าจะนับถือศาสนาเดียวกันก็ตาม

แม้กระทั่งคำว่า "คริสต์ตะวันออกกลาง" (Christian Middle East) เองก็ปิดบังความเป็นอริที่น่าเกลียดเอาไว้ ถ้าไม่มีอิสลาม ประชากรในตะวันออกกลางก็จะยังคงเป็นเช่นเดียวกับที่บรรพบุรุษของพวกเขาเป็น ก่อนที่อิสลามจะเกิด นั่นคือ คนส่วนใหญ่คงจะนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โทดอกซ์ตะวันออก (Eastern Orthodox) เป็นเรื่องง่ายที่เราจะหลงลืมความขัดแย้งระหว่างคริสตจักรของนิกายแคทอลิกในกรุงโรม กับคริสตจักรของนิกายออร์โทดอกซ์ตะวันออกในกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople เมืองหลวงของอาณาจักรไบแซนทีน คู่ปรับของอาณาจักรโรมันตะวันตก - ผู้แปล) ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ขัดแย้งทางศาสนาที่อยู่ยงคงกระพัน รุนแรง และขมขื่นที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และก่อให้เกิดความเคียดแค้นในหมู่ผู้นับถือศาสนามาจนถึงทุกวันนี้

ชาวคริสต์นิกายออร์โทดอกซ์ตะวันออกไม่เคยลืมหรือให้อภัยกับการบุกเผากรุงคอนสแตนติโนเปิลของกองทัพครูเสดตะวันตกในปี ค.ศ. 1204 เวลาผ่านไปเกือบ 800 ปี จนถึงปี 1999 พระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่สอง ก็พยายามริเริ่มก้าวเล็กๆ สู่ความสมานฉันท์ ด้วยการเยือนโลกออร์โทดอกซ์ นับเป็นการเยือนครั้งแรกของพระสันตะปาปานิกายแคทอลิกในรอบหนึ่งพันปี นั่นเป็นจุดเริ่มต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความไม่ลงรอยกันระหว่างตะวันออกกับตะวันตกในโลกคริสต์ในตะวันออกกลางก็คงจะยังเป็นเหมือนกับที่มันเป็นอยู่ทุกวันนี้. ลองยกกรีซขึ้นมาเป็นตัวอย่างก็ได้ - นิกายออร์โทดอกซ์เป็นแรงผลักดันอันทรงพลังที่อยู่เบื้องหลังกระแสชาตินิยม และความรู้สึกต่อต้านโลกตะวันตก และกระแสต่อต้านตะวันตกในการเมืองกรีซเพียงหนึ่งทศวรรษที่แล้ว ก็สะท้อนความหวาดระแวงและมุมมองต่อโลกตะวันตกที่รุนแรง ไม่ต่างจากที่เราได้ยินจากผู้นำในโลกมุสลิมปัจจุบัน

วัฒนธรรมของคริสตจักรนิกายออร์โทดอกซ์นั้น มีความแตกต่างอย่างมากจากวัฒนธรรมของโลกตะวันตกหลังยุครู้แจ้ง (post-Enlightenment) ซึ่งเน้นการแบ่งแยกระหว่างทางธรรมและทางโลก ระบอบทุนนิยม และความสำคัญของปัจเจกชน. คริสตจักรออร์โทดอกซ์ยังมีความกลัวโลกตะวันตกหลายประการที่ตกค้างมาจากยุคก่อนๆ และความกลัวเหล่านี้ก็มีส่วนคล้ายกับความรู้สึกไม่ปลอดภัยของชาวมุสลิมปัจจุบัน กล่าวคือ ความกลัวว่า มิชชันนารีจากตะวันตกจะมาหว่านล้อมให้คนเปลี่ยนศาสนา แนวโน้มที่จะมองศาสนาว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการปกป้องและอนุรักษ์ชุมชนและวัฒนธรรม และความหวาดระแวงว่าโลกตะวันตกนั้น "เสื่อมทราม" (corrupted) และยังไม่ละทิ้งลัทธิล่าอาณานิคม

ดังนั้นถึงแม้โลกจะไม่มีอิสลาม มอสโคว์ก็จะยังคงมีอิทธิพลเป็นพิเศษในพื้นที่ตะวันออกกลางที่คนนับถือคริสต์นิกายออร์โทดอกซ์ ในฐานะ "ศูนย์กลาง" นิกายออร์โทดอกซ์ตะวันออกแห่งสุดท้ายในโลก โลกออร์โทดอกซ์จะยังคงเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ในการชิงดีชิงเด่นระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตกในสงครามเย็น. แซมมวล ฮันติงตัน (Samuel Huntington ผู้ประพันธ์หนังสือขายดีที่เต็มไปด้วยอคติเรื่อง The Clash of Civilizations - ผู้แปล) เองก็พูดถึงโลกคริสต์ออร์โทดอกซ์ว่าเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่อยู่ระหว่างการ "ปะทะ" ทางวัฒนธรรมกับโลกตะวันตก

การยึดครองอิรักของอเมริกาปัจจุบันไม่มีวันเป็นที่ต้อนรับของชาวอิรักมากกว่าที่เป็นอยู่ ถ้าชาวอิรักเหล่านั้นนับถือศาสนาคริสต์ สหรัฐอเมริกาไม่ได้โค่นล้มซัดดัม ฮุสเซน (ผู้นำที่ชาตินิยมอย่างรุนแรงและไม่นับถือศาสนาใดๆ ทั้งสิ้น) เพราะเขาเป็นชาวมุสลิม ชนชาติอื่นๆ ในโลกอาหรับจะยังคงสนับสนุนชาวอาหรับในอิรักในความพยายามที่จะดำรงชีวิตอย่างเจ็บช้ำภายใต้การยึดครอง ไม่มีประเทศใดในโลกต้อนรับการยึดครองของชาวต่างชาติ และการฆ่าสังหารพลเมืองของประเทศตัวเองด้วยน้ำมือของทหารต่างชาติ ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา กลุ่มคนที่ถูกข่มขู่จากกองกำลังต่างชาติ มักจะดิ้นรนหาอุดมการณ์เพื่อสร้างความชอบธรรม และสรรเสริญการลุกฮือขึ้นต่อต้านของพวกเขา ศาสนาก็เป็นหนึ่งในอุดมการณ์ทำนองนั้น

ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นภาพของ "โลกไร้อิสลาม" ภายใต้การสันนิษฐานของผม มันคือตะวันออกกลางที่ถูกครอบงำด้วยคริสต์นิกายออร์โทดอกซ์ตะวันออก โลกที่หวาดระแวงและแม้กระทั่งเป็นปฏิปักษ์ต่อโลกตะวันตก ทั้งในประวัติศาสตร์และโดยจิตวิทยา ออร์โทดอกซ์ตะวันออกมีอิทธิพลเหนือดินแดนที่ยังมีความแตกต่างทางชาติพันธุ์สูง มีจิตสำนึกและความไม่พอใจโลกตะวันตกอย่างรุนแรง เคยถูกกองทัพล่าอาณานิคมจากตะวันตกรุกรานซ้ำซาก ทรัพยากรถูกควบคุมจัดการ พรมแดนถูกมหาอำนาจตะวันตกวาดใหม่ให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของตัวเอง ระบอบการปกครองถูกจัดตั้งให้สยบยอมต่ออำนาจตะวันตก ปาเลสไตน์จะยังคงถูกทำลายต่อไป อิหร่านจะยังคงเป็นประเทศชาตินิยมจัด เราจะยังคงเห็นชาวปาเลสไตน์ต่อต้านชาวยิว, ชาวเชเช็น (Chechen) ต่อต้านชาวรัสเซีย, ชาวอิหร่านต่อต้านชาวอังกฤษและอเมริกัน, ชาวแคชเมียร์ต่อต้านชาวอินเดีย, ชาวทมิฬต่อต้านชาวสิงหลในศรีลังกา, และชาวอุยเกอร์ (Uighur) และชาวทิเบตต่อต้านชาวจีน, ตะวันออกกลางจะยังคงเห็นโมเดลที่น่ายกย่องจากหน้าประวัติศาสตร์ นั่นคืออาณาจักรไบแซนทีนที่ดำรงอยู่ได้นานกว่า 2,000 ปี เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและศาสนาที่พวกเขาใช้แสดงอัตลักษณ์ในหลายแง่มุม แนวคิดเช่นนี้จะทำให้รอยร้าวระหว่างตะวันออก-ตะวันตก ดำรงอยู่ต่อไป นี่ไม่ใช่ภาพแห่งสันติภาพที่น่าสบายใจเลย

แน่นอน ผมคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระหากจะเถียงว่าการดำรงอยู่ของอิสลามไม่ส่งผลกระทบอย่างเป็นเอกเทศใดๆ เลยต่อตะวันออกกลาง หรือความสัมพันธ์ตะวันออก-ตะวันตก อิสลามเป็นพลังที่สร้างความสมัครสมานสามัคคีอย่างเหนียวแน่นในระดับภูมิภาค ในฐานะศาสนาสากลระดับโลก อิสลามได้สร้างอารยธรรมอันกว้างขวางที่มีหลักการร่วมกันมากมาย ทั้งในด้านปรัชญา ศิลปะ และสังคม ตลอดจนทัศนคติเกี่ยวกับชีวิตที่เปี่ยมศีลธรรม สำนึกในความยุติธรรม ระบอบกฎหมาย และหลักธรรมาภิบาล ทั้งหมดนี้ในวัฒนธรรมชั้นสูงที่ฝังรากลึก ในฐานะพลังทางวัฒนธรรมและศีลธรรม อิสลามได้ช่วยสร้างสะพานเชื่อมความแตกต่างทางชาติพันธุ์ในหมู่ชาวมุสลิมที่หลากหลาย สนับสนุนให้พวกเขารู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอารยธรรมมุสลิมระดับโลก เพียงข้อนี้ข้อเดียวก็ทำให้อิสลามมีน้ำหนักมากแล้ว นอกจากนี้ อิสลามยังส่งผลกระทบต่อภูมิศาสตร์การเมืองด้วย กล่าวคือ ถ้าโลกไม่มีอิสลาม ประเทศอิสลามในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกวันนี้ โดยเฉพาะปากีสถาน บังคลาเทศ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ก็จะอยู่ในโลกของฮินดูแทน

อารยธรรมอิสลามสร้าง "อุดมการณ์ร่วม" ที่ชาวมุสลิมทั่วโลกสามารถใช้ในการร้องขอความช่วยเหลือในการต่อต้านอิทธิพลของโลกตะวันตกที่คืบคลานเข้ามา ถึงแม้ว่าคำอุทธรณ์นั้นจะไม่สามารถยับยั้งกระแสการล่าอาณานิคมของตะวันตกได้ มันก็สร้าง "ความทรงจำทางวัฒนธรรม" (cultural memory) ว่าชาวมุสลิมทั้งมวลมีโชคชะตาร่วมกัน ซึ่งเป็นความทรงจำที่ไม่เคยลบเลือน มหาอำนาจยุโรปสามารถใช้กลยุทธ์ "แบ่งแยกแล้วปกครอง" ในการปกครองชาวแอฟริกัน เอเชีย และอเมริกาใต้จำนวนมาก ที่ล้วนตกอยู่ใต้อำนาจตะวันตกทีละราย. การต่อต้านที่สามัคคีกันในระดับข้ามชาติระหว่างผู้คนเหล่านี้เป็นเรื่องที่ยากจะทำให้สำเร็จ ในเมื่อพวกเขาไม่มีสัญลักษณ์ร่วมทางชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมใดๆ ที่จะใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านได้

ในโลกไร้อิสลาม มหกรรมล่าอาณานิคมของโลกตะวันตกจะพบว่าสามารถแบ่งแยก ยึดครอง และปกครองทวีปตะวันออกกลางและเอเชียได้อย่างง่ายดายกว่าเดิม ประชากรในดินแดนเหล่านี้จะไม่มีความทรงจำร่วมทางวัฒนธรรมใดๆ ที่บันทึกความอดสูและความพ่ายแพ้ในภูมิภาคหลงเหลืออยู่อีกต่อไป นี่เป็นเหตุผลหลักที่อธิบายว่า เหตุใดสหรัฐอเมริกาจึงกำลังถูกถอดเขี้ยวเล็บในโลกมุสลิม เทคโนโลยีโทรคมนาคมและภาพถ่ายผ่านดาวเทียมในปัจจุบันช่วยสร้างสำนึกแห่งตัวตน (self-consciousness) ที่เข้มข้นมากในหมู่ชาวมุสลิม และความรู้สึกว่าโลกตะวันตกกำลังรุกรานวัฒนธรรมอิสลาม การรุกรานนี้ไม่เกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่ แต่เกี่ยวกับความกระหายไม่มีวันสิ้นสุดของโลกตะวันตกที่อยากครอบงำพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ ทรัพยากร และแม้กระทั่งวัฒนธรรมของโลกมุสลิม ซึ่งอาจเรียกรวมๆ ว่าเป็นความพยายามที่จะสร้างตะวันออกกลางที่ "สนับสนุนอเมริกา" (pro-American) แต่โชคร้ายที่สหรัฐอเมริกาคิดเอาเองอย่างไร้เดียงสาว่า อิสลามคือสิ่งเดียวที่ยืนอยู่ระหว่างอเมริกากับเป้าหมายดังกล่าว

แต่ถ้าเราพูดถึงการก่อการร้ายล่ะ? นี่เป็นประเด็นเร่งด่วนที่สุดที่โลกตะวันตกชอบผูกโยงเข้ากับอิสลามในปัจจุบัน ถ้าจะกล่าวอย่างรวบรัดที่สุด โศกนาฏกรรม 9/11 จะเกิดขึ้นหรือไม่ถ้าโลกไม่มีอิสลาม? ถ้าความเจ็บแค้นของตะวันออกกลาง ซึ่งมีรากมาจากความโกรธแค้นต่อนโยบายและพฤติกรรมของอเมริกาที่บ่มเพาะมานานหลายสิบปี ถูกห่อหุ้มด้วยธงที่ไม่ใช่อิสลาม เหตุการณ์จะออกมาไม่เหมือนเดิมหรือไม่? กรณีนี้ก็เหมือนกับกรณีอื่นๆ คือ เราต้องจำให้ได้ว่าเป็นเรื่องง่ายเพียงใดที่จะยกศาสนาขึ้นมาบังหน้า ทั้งๆ ที่ต้นเหตุจริงๆ คือความเจ็บแค้นเรื่องอื่นที่มีมานานหลายสิบปี สิ่งที่เกิดขึ้นในวันที่ 11 กันยายน 2001 ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของเรื่อง สำหรับผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะห์ที่จี้เครื่องบินในวันนั้น อิสลามเปรียบเสมือนแว่นขยายในแสงแดดจ้าที่รวบรวมความเจ็บแค้นร่วมหลายๆ ประการเข้าด้วยกัน แล้วนำความเจ็บแค้นเหล่านั้นมาขมวดเข้ากัน โฟกัสเป็นรังสีรุนแรง เป็นชั่วขณะแห่งความชัดเจนว่าจะต้องจัดการกับผู้บุกรุกชาวต่างชาติอย่างไร

ในโฟกัสของโลกตะวันตกที่มองการก่อการร้ายว่าเป็น "ฝีมือ" ของอิสลาม ความทรงจำทั้งหลายมีอายุสั้นมาก ทหารกองโจรของอิสราเอลใช้วิธีก่อการร้ายกับชาวอังกฤษในปาเลสไตน์, ชาวทมิฬ "ไทเกอร์" ในศรีลังกาผู้นับถือศาสนาฮินดู เป็นผู้คิดค้นศิลปะแห่งการใช้เสื้อเกราะติดระเบิดพลีชีพ และทำสถิตินำหน้ากลุ่มผู้ก่อการร้ายกลุ่มอื่นๆ ในการใช้วิธีระเบิดพลีชีพนานนับทศวรรษ รวมทั้งในการสังหารราจีฟ คานธี นายกรัฐมนตรีอินเดีย, ผู้ก่อการร้ายชาวกรีกสังหารเจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันหลายครั้งในกรุงเอเธนส์, ขบวนการก่อการร้ายชาวซิกข์ที่ทำงานอย่างเป็นระบบสังหารนางอินธิรา คานธี ก่อจลาจลในอินเดีย ก่อตั้งฐานที่มั่นข้ามทวีปในแคนาดา และทำให้เครื่องบินโดยสารของสายการบินแอร์อินเดียตกลงในมหาสมุทรแอตแลนติก

ผู้ก่อการร้ายชาวมาซีโดเนีย (Macedonia ดินแดนตอนใต้ของกรีซ) เป็นที่หวาดผวาไปทั่วคาบสมุทรบัลข่านในช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, การลอบสังหารผู้นำหลายสิบครั้งในปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 เป็นฝีมือของ "นักอนาธิปไตย" ชาวยุโรปและอเมริกัน ก่อให้เกิดความหวาดกลัวไปทั่ว, กองทัพกู้ชาติไอริช (Irish Republican Army หรือ IRA) ใช้วิธีก่อการร้ายอันโหดเหี้ยมนานัปการในการต่อสู้กับอังกฤษต่อเนื่องนานหลายสิบปี, เช่นเดียวกับที่กองโจรคอมมิวนิสต์และกลุ่มผู้ก่อการร้ายในเวียดนามใช้ในการต่อสู้กับทหารอเมริกัน, คอมมิวนิสต์ในมลายูใช้ต่อสู้กับทหารอังกฤษในทศวรรษ 1950, ผู้ก่อการร้ายชาวเมาเมา (Mau Mau) ใช้ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่อังกฤษในเคนยา, และกรณีอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน ผู้ก่อการร้ายไม่จำเป็นต้องเป็นชาวมุสลิมเท่านั้น

ประวัติการก่อการร้ายในช่วงไม่กี่ปีมานี้ก็ให้ภาพที่ไม่แตกต่างกันมากนัก สถิติของยูโรโปล (Europol หน่วยงานตำรวจของสหภาพยุโรป) ระบุว่า เกิดเหตุก่อการร้าย 498 ครั้งในสหภาพยุโรปในปี 2006 เพียงปีเดียว ในจำนวนนี้ 424 ครั้งเป็นฝีมือของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ที่เหลืออีก 55 ครั้งเป็นฝีมือของฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง อีก 18 ครั้งเป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายกลุ่มอื่นๆ มีเพียงกรณีเดียวเท่านั้นที่เป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายชาวมุสลิม แน่นอน มีความพยายามที่จะก่อการร้ายจำนวนหนึ่งที่ถูกทางการระงับได้ก่อนลงมือ ในชุมชนชาวมุสลิมที่ถูกสอดส่องอย่างเข้มงวด แต่ตัวเลขเหล่านี้ก็บ่งบอกขอบเขตอันกว้างขวางของอุดมการณ์ของกลุ่มคนที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้ก่อการร้าย

ด้วยเหตุนี้ เป็นเรื่องยากนักหรือที่เราจะจินตนาการว่าชาวอาหรับ ไม่ว่าจะเป็นคริสต์หรือมุสลิม ซึ่งโกรธแค้นอิสราเอลหรือการบุกรุก การโค่นล้ม และการแทรกแซงอย่างไม่จบสิ้นของลัทธิล่าอาณานิคม จะใช้เทคนิคการก่อการร้ายหรือก่อสงครามกองโจรในลักษณะคล้ายคลึงกัน? คำถามที่อาจจะเหมาะสมกว่าคือ ทำไมมันไม่เกิดขึ้นเร็วกว่านี้? ในขณะที่กลุ่มหัวรุนแรงทั้งหลายแจกแจงความเจ็บแค้นของพวกเขาในยุคโลกาภิวัตน์ของเรา ทำไมเราถึงจะไม่ควรคาดหวังว่าพวกเขาจะบุกรุกเข้าไปถึงหัวใจของโลกตะวันตก?

ถ้าอิสลามเกลียดชังความเป็นสมัยใหม่จริง เหตุใดชาวมุสลิมจึงรอให้ถึง 9/11 ก่อนจะลงมือ? และเหตุใดผู้นำทางความคิดชาวมุสลิมหลายคน จึงประกาศตอนต้นศตวรรษที่ 20 ว่า โลกมุสลิมต้องยอมรับความเป็นสมัยใหม่ ในขณะที่ปกป้องวัฒนธรรมอิสลามไปด้วยในเวลาเดียวกัน? เป้าหมายในยุคแรกๆ ของโอซามา บิน ลาเดน ไม่ใช่ความเป็นสมัยใหม่เลย เขาพูดถึงปาเลสไตน์ รองเท้าบู้ทอเมริกันบนแผ่นดินซาอุดิอาระเบีย ผู้นำซาอุภายใต้การควบคุมของอเมริกา และ "ชาวครูเสด" สมัยใหม่ ผมคิดว่าเป็นเรื่องน่าแปลกใจที่ความโกรธแค้นของชาวมุสลิมหัวรุนแรงเพิ่งปะทุขึ้นบนแผ่นดินอเมริกันในปี 2001 ในทางที่เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์สมัยก่อนและสมัยใหม่ และต่อนโยบายของอเมริกัน ถ้าไม่มี 9/11 เหตุการณ์ทำนองเดียวกันก็ต้องเกิดขึ้นแน่ๆ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง

ถึงแม้ว่าอิสลามในฐานะเครื่องมือต่อต้านจะไม่เคยเกิดขึ้นในโลก ลัทธิมาร์กซ์ (Marxism) ก็มีจริง อุดมการณ์เบื้องหลังลัทธินี้อาจนับเป็นผู้ให้กำเนิดกลุ่มผู้ก่อการร้าย กลุ่มสงครามกองโจร และขบวนการปลดปล่อยระดับชาติจำนวนนับไม่ถ้วน ลัทธิมาร์กซ์มีอิทธิพลต่อกลุ่ม Basque ETA ในสเปน, FARC ในโคลัมเบีย, Shining Path ในเปรู และกองทัพแดงในยุโรป นี่เป็นตัวอย่างจำนวนหยิบมือเดียวเท่านั้นจากโลกตะวันตก. จอร์จ ฮาบาช (George Habash) ผู้ก่อตั้งองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Popular Front for the Liberation of Palestine) อันร้ายกาจ เป็นชาวคริสต์นิกายออร์โทดอกซ์และนับถือลัทธิมาร์กซ์ ผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอเมริกันในกรุงเบรุต ในยุคที่กระแสคลั่งชาติของชาวอาหรับหัวรุนแรงผนวกเข้ากับความคิดรุนแรงในลัทธิมาร์กซ์ ชาวปาเลสไตน์ที่นับถือคริสต์จำนวนมากสนับสนุนการกระทำของฮาบาช

ชนชาติที่ต่อต้านผู้บุกรุกจากต่างชาติมักจะหา "ธง" เพื่อเผยแพร่และสรรเสริญเป้าหมายของการต่อสู้ของพวกเขา "การต่อสู้ทางชนชั้นระดับโลกเพื่อแสวงหาความยุติธรรม" เป็น "ธง" ที่ปลุกระดมเสียงสนับสนุนได้ดีธงหนึ่ง กระแสชาตินิยมเป็นธงที่ได้ผลยิ่งกว่า แต่ศาสนาเป็นธงที่ได้ผลดีที่สุด เพราะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องความเป็นธรรมจากระดับสูงสุดในการเคลื่อนไหว ทุกศาสนาในทุกประเทศยังสามารถใช้กระตุ้นจิตสำนึกร่วมทางชาติพันธุ์และกระแสชาตินิยมได้ ในขณะเดียวกับที่มันไปไกลกว่าธงทั้งสอง โดยเฉพาะในกรณีที่ศัตรูนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน ในกรณีเหล่านี้ ศาสนาจะเลิกเป็น "ต้นเหตุ" ของการเผชิญหน้าและการปะทะกัน หากเป็น "เครื่องมือ" ของการกระทำดังกล่าว ธงของขบวนการอาจหายไป แต่ความเจ็บแค้นยังคงอยู่

พวกเรามีชีวิตอยู่ในยุคที่การก่อการร้ายมักเป็นเครื่องมือที่ผู้อ่อนแอเลือกใช้ กลยุทธ์การก่อการร้ายได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สามารถยับยั้งแสนยานุภาพสูงสุดในประวัติศาสตร์ ของกองทัพอเมริกันในอิรัก อัฟกานิสถาน และประเทศอื่นๆ และด้วยเหตุนั้น สังคมที่ไม่ใช่มุสลิมในหลายๆ ประเทศจึงเรียกบิน ลาเดน ว่า "เช กูวาราคนต่อไป" นั่นเป็นเพราะคนจำนวนมากเห็นว่า วิถีทางของเขาคือการต่อต้านมหาอำนาจอเมริกันที่ประสบความสำเร็จ. บิน ลาเดน คือตัวอย่างของผู้อ่อนแอกว่าที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับผู้รุกราน มุมมองแบบนี้อยู่เหนืออิสลามหรือวัฒนธรรมตะวันออกกลางใดๆ ทั้งมวล

เมื่อเรามีสิ่งเดียวกันมากกว่าเดิม
แต่คำถามก็ยังมีอยู่ว่า ถ้าโลกไม่มีอิสลาม โลกจะมีสันติภาพมากกว่านี้หรือไม่? ในบริบทของความตึงเครียดระหว่างตะวันออกกับตะวันตก อิสลามเป็นปัจจัยที่สะเทือนอารมณ์ เป็นความซับซ้อนอีกชั้นหนึ่งที่ทำให้เราหาวิธีแก้ปัญหาได้ยากกว่าเดิม แต่อิสลามก็ไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ มันอาจดูเป็นเรื่องฉลาดที่จะควานหาข้อความจากคัมภีร์อัลกุรอานที่ดูเหมือนจะอธิบายได้ว่า "เหตุใดพวกเขาจึงเกลียดพวกเรา" แต่การกระทำเช่นนั้นเท่ากับเป็นการมองข้ามธรรมชาติของเหตุการณ์อย่างคนตาบอด เป็นเรื่องง่ายที่จะชี้อิสลามว่าเป็นต้นเหตุของ "ปัญหา". แน่นอนว่าการทำเช่นนี้ ง่ายกว่าความพยายามที่จะวิเคราะห์ผลกระทบของรอยเท้าอันทรงพลังของสหรัฐอเมริกา มหาอำนาจหนึ่งเดียวในโลก ที่ประทับไปทั่วโลก

โลกไร้อิสลามจะยังคงเต็มไปด้วยความขัดแย้งนองเลือดส่วนใหญ่ ที่ครอบงำสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์การเมืองด้วยสงครามและความเดือดร้อนแสนสาหัส ถ้าไม่ใช้ศาสนา กลุ่มคนเหล่านี้ก็จะใช้ "ธง" อื่น ที่พวกเขาจะสามารถเผยแผ่กระแสชาตินิยมและเป้าหมายแห่งการปลดปล่อย แน่นอน ประวัติศาสตร์คงจะไม่เดินตามทางที่มันเดินจริงๆ แต่ในเบื้องลึกที่สุด ความขัดแย้งระหว่างตะวันออกและตะวันตกก็จะยังคงเป็นความขัดแย้งในประเด็นหลักๆ ทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมืองที่สำคัญที่สุดตลอดมาในประวัติศาสตร์มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชาติพันธุ์, ชาตินิยม, ความโลภ, ทรัพยากร, ผู้นำท้องถิ่น, เขตอิทธิพล, ผลประโยชน์ทางการเงิน, อำนาจ, การแทรกแซง, ตลอดจนความเกลียดชังคนนอก, ผู้บุกรุก, และนักล่าอาณานิคม เมื่อคำนึงว่าคนต้องเผชิญกับประเด็นอมตะเหล่านี้ เป็นไปได้อย่างไรที่พลังของศาสนาจะไม่ถูกนำมาใช้?

เราควรจำไว้ด้วยว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดในศตวรรษที่ 20 แทบทุกครั้งเป็นผลผลิตของระบอบการปกครองที่ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับศาสนา ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ Leopold II แห่งเบลเยียมในคองโก, ฮิตเลอร์, มุสโสลินี, เลนินและสตาลิน, เหมาเจ๋อตุง และพอล พต. ชาวยุโรปเป็นฝ่ายยุแยงให้เกิด"สงครามโลก"สองครั้ง ที่สะเทือนคนที่เหลือทั้งโลก ซึ่งเป็นความขัดแย้งระดับโลกสองครั้ง ที่ทำความเสียหายอย่างมหาศาลในระดับที่ไม่มีเหตุการณ์ใดในประวัติศาสตร์อิสลามจะเทียบเคียงได้

บางคนอาจฝันถึง "โลกไร้อิสลาม" ที่ปัญหาดังกล่าวข้างต้นไม่เคยเกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้ง ความไม่ลงรอยกัน และวิกฤตที่เกิดขึ้นในโลกใบนั้นอาจมีหน้าตาไม่แตกต่างกันมากนักจากโลกของเราทุกวันนี้.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เกี่ยวกับผู้เขียน: Graham Fuller เคยดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการสภาข่าวกรองแห่งชาติ ประจำซีไอเอ (CIA) ของอเมริกา ทำหน้าที่ดูแลการพยากรณ์ยุทธศาสตร์ระยะยาว ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษสอนประวัติศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัย Simon Fraser ในกรุงแวนคูเวอร์ แคนาดา เป็นผู้เขียนหนังสือมากมายเกี่ยวกับตะวันออกกลาง รวมทั้งเรื่อง "The Future of Political Islam" ("อนาคตของการเมืองอิสลาม") ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 2003


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

A World without Islam
Graham Fuller

What if Islam had never existed? To some, it is a comforting thought: No clash of civilizations, no holy wars, no terrorists. Would Christianity have taken over the world? Would the Middle East be a peaceful beacon of democracy? Would 9/11 have happened? In fact, remove Islam from the path of history, and the world ends up pretty much where it is today.

Imagine, if you will, a world without Islam. admittedly an almost inconceivable state of affairs given its charged centrality in our daily news headlines. Islam seems to lie behind a broad range of international disorders: suicide attacks, car bombings, military occupations, resistance struggles, riots, fatwas, jihads, guerrilla warfare, threatening videos, and 9/11 itself.

Islam seems to offer an instant and uncomplicated analytical touchstone, enabling us to make sense of today's convulsive world. Indeed, for some neoconservatives, Islamofascism is now our sworn foe in a looming World War III. But indulge me for a moment. What if there were no such thing as Islam? What if there had never been a Prophet Mohammed, no saga of the spread of Islam across vast parts of the Middle East, Asia, and Africa? Given our intense current focus on terrorism, war, and rampant anti-Americanism, some of the most emotional international issues of the day, it is vital to understand the true sources of these crises. Is Islam, in fact, the source of the problem, or does it tend to lie with other less obvious and deeper factors? For the sake of argument, in an act of historical imagination, picture a Middle East in which Islam had never appeared. Would we then be spared many of the current challenges before us? Would the Middle East be more peaceful? How different might the character of East-West relations be? Without Islam, surely the international order would present a very different picture than it does today. Or would it?

IF NOT ISLAM, THEN WHAT?
From the earliest days of a broader Middle East, Islam has seemingly shaped the cultural norms and even political preferences of its followers. How can we then separate Islam from the Middle East? As it turns out, it's not so hard to imagine. Let's start with ethnicity. Without Islam, the face of the region still remains complex and conflicted. The dominant ethnic groups of the Middle East-- Arabs, Persians, Turks, Kurds, Jews, even Berbers and Pashtuns--would still dominate politics.

Take the Persians: Long before Islam, successive great Persian empires pushed to the doors of Athens and were the perpetual rivals of whoever inhabited Anatolia. Contesting Semitic peoples, too, fought the Persians across the Fertile Crescent and into Iraq. And then there are the powerful forces of diverse Arab tribes and traders expanding and migrating into other Semitic areas of the Middle East before Islam.

Mongols would still have overrun and destroyed the civilizations of Central Asia and much of the Middle East in the 13th century. Turks still would have conquered Anatolia, the Balkans up to Vienna, and most of the Middle East. These struggles--over power, territory, influence, and trade--existed long before Islam arrived. Still, it's too arbitrary to exclude religion entirely from the equation. If in fact Islam had never emerged, most of the Middle East would have remained predominantly Christian in its various sects, just as it had been at the dawn of Islam.

Apart from some Zoroastrians and small numbers of Jews, no other major religions were present. But would harmony with the West really have reigned if the whole Middle East had remained Christian? That is a far reach. We would have to assume that a restless and expansive medieval European world would not have projected its power and hegemony into the neighboring East in search of economic and geopolitical footholds. After all, what were the Crusades if not a Western adventure driven primarily by political, social, and economic needs?

The banner of Christianity was little more than a potent symbol, a rallying cry to bless the more secular urges of powerful Europeans. In fact, the particular religion of the natives never figured highly in the West's imperial push across the globe. Europe may have spoken upliftingly about bringing Christian values to the natives, but the patent goal was to establish colonial outposts as sources of wealth for the metropole and bases for Western power projection. And so it is unlikely that Christian inhabitants of the Middle East would have welcomed the stream of European fleets and their merchants backed by Western guns. Imperialism would have prospered in the region's complex ethnic mosaic--the raw materials for the old game of divide and rule. And Europeans still would have installed the same pliable local rulers to accommodate their needs. Move the clock forward to the age of oil in the Middle East. Would Middle Eastern states, even if Christian, have welcomed the establishment of European protectorates over their region? Hardly. The West still would have built and controlled the same choke points, such as the Suez Canal.

It wasn't Islam that made Middle Eastern states powerfully resist the colonial project, with its drastic redrawing of borders in accordance with European geopolitical preferences. Nor would Middle Eastern Christians have welcomed imperial Western oil companies, backed by their European viceregents, diplomats, intelligence agents, and armies, any more than Muslims did. Look at the long history of Latin American reactions to American domination of their oil, economics, and politics. The Middle East would have been equally keen to create nationalist anticolonial movements to wrest control of their own soil, markets, sovereignty, and destiny from foreign grip--just like anticolonial struggles in Hindu India, Confucian China, Buddhist Vietnam, and a Christian and animist Africa. And surely the French would have just as readily expanded into a Christian Algeria to seize its rich farmlands and establish a colony. The Italians, too, never let Ethiopia's Christianity stop them from turning that country into a harshly administered colony. In short, there is no reason to believe that a Middle Eastern reaction to the European colonial ordeal would have differed significantly from the way it actually reacted under Islam. But maybe the Middle East would have been more democratic without Islam?

The history of dictatorship in Europe itself is not reassuring here. Spain and Portugal ended harsh dictatorships only in the mid-1970s. Greece only emerged from church-linked dictatorship a few decades ago. Christian Russia is still not out of the woods. Until quite recently, Latin America was riddled with dictators, who often reigned with U.S. blessing and in partnership with the Catholic Church. Most Christian African nations have not fared much better. Why would a Christian Middle East have looked any different? And then there is Palestine. It was, of course, Christians who shamelessly persecuted Jews for more than a millennium, culminating in the Holocaust. These horrific examples of anti-Semitism were firmly rooted in Western Christian lands and culture. Jews would therefore have still sought a homeland outside Europe; the Zionist movement would still have emerged and sought a base in Palestine. And the new Jewish state would still have dislodged the same 750,000 Arab natives of Palestine from their lands even if they had been Christian--and indeed some of them were.

Would not these Arab Palestinians have fought to protect or regain their own land? The Israeli-Palestinian problem remains at heart a national, ethnic, and territorial conflict, only recently bolstered by religious slogans. And let's not forget that Arab Christians played a major role in the early emergence of the whole Arab nationalist movement in the Middle East; indeed, the ideological founder of the first pan-Arab Ba.th party, Michel Aflaq, was a Sorbonne-educated Syrian Christian.

But surely Christians in the Middle East would have at least been religiously predisposed toward the West? Couldn't we have avoided all that religious strife? In fact, the Christian world itself was torn by heresies from the early centuries of Christian power, heresies that became the very vehicle of political opposition to Roman or Byzantine power. Far from uniting under religion, the West's religious wars invariably veiled deeper ethnic, strategic, political, economic, and cultural struggles for dominance. Even the very references to a Christian Middle East conceal an ugly animosity. Without Islam, the peoples of the Middle East would have remained as they were at the birth of Islam--mostly adherents of Eastern Orthodox Christianity. But it's easy to forget that one of history's most enduring, virulent, and bitter religious controversies was that between the Catholic Church in Rome and Eastern Orthodox Christianity in Constantinople--a rancor that still persists today. Eastern Orthodox Christians never forgot or forgave the sacking of Christian Constantinople by Western Crusaders in 1204.

Nearly 800 years later, in 1999, Pope John Paul II sought to take a few small steps to heal the breach in the first visit of a Catholic pope to the Orthodox world in a thousand years. It was a start, but friction between East and West in a Christian Middle East would have remained much as it is today. Take Greece, for example: The Orthodox cause has been a powerful driver behind nationalism and anti-Western feeling there, and anti-Western passions in Greek politics, as little as a decade ago, echoed the same suspicions and virulent views of the West that we hear from many Islamist leaders today.
The culture of the Orthodox Church differs sharply from the Western post-Enlightenment ethos, which emphasizes secularism, capitalism, and the primacy of the individual. It still maintains residual fears about the West that parallel in many ways current Muslim insecurities: fears of Western missionary proselytism, the perception of religion as a key vehicle for the protection and preservation of their own communities and culture, and a suspicion of the corrupted and imperial character of the West. Indeed, in an Orthodox Christian Middle East, Moscow would enjoy special influence, even today, as the last major center of Eastern Orthodoxy. The Orthodox world would have remained a key geopolitical arena of East-West rivalry in the Cold War. Samuel Huntington, after all, included the Orthodox Christian world among several civilizations embroiled in a cultural clash with the West.

Today, the U.S. occupation of Iraq would be no more welcome to Iraqis if they were Christian. The United States did not overthrow Saddam Hussein, an intensely nationalist and secular leader, because he was Muslim. Other Arab peoples would still have supported the Iraqi Arabs in their trauma of occupation. Nowhere do people welcome foreign occupation and the killing of their citizens at the hands of foreign troops. Indeed, groups threatened by such outside forces invariably cast about for appropriate ideologies to justify and glorify their resistance struggle. Religion is one such ideology. This, then, is the portrait of a putative world without Islam. It is a Middle East dominated by Eastern Orthodox Christianity--a church historically and psychologically suspicious of, even hostile to, the West.

Still riven by major ethnic and even sectarian differences, this Middle East possesses a fierce sense of historical consciousness and grievance against the West. It has been invaded repeatedly by Western imperialist armies; its resources commandeered; its borders redrawn by Western fiat in conformity with the West's various interests; and regimes established that are compliant with Western dictates. Palestine would still burn. Iran would still be intensely nationalistic. We would still see Palestinians resist Jews, Chechens resist Russians, Iranians resist the British and Americans, Kashmiris resist Indians, Tamils resist the Sinhalese in Sri Lanka, and Uighurs and Tibetans resist the Chinese.

The Middle East would still have a glorious historical model--the great Byzantine Empire of more than 2,000 years standing with which to identify as a cultural and religious symbol. It would, in many respects, perpetuate an East-West divide. It does not present an entirely peaceful and comforting picture.

UNDER THE PROPHET'S BANNER
It is, of course, absurd to argue that the existence of Islam has had no independent impact on the Middle East or East-West relations. Islam has provided a unifying force of a high order across a wide region. As a global universal faith, it has created a broad civilization that shares many common principles of philosophy, the arts, and society; a vision of the moral life; a sense of justice, jurisprudence, and good governance--all in a deeply rooted high culture. As a cultural and moral force, Islam has helped bridge ethnic differences among diverse Muslim peoples, encouraging them to feel part of a broader Muslim civilizational project. That alone furnishes it with great weight.

Islam affected political geography as well: If there had been no Islam, the Muslim countries of South Asia and Southeast Asia today--particularly Pakistan, Bangladesh, Malaysia, and Indonesia--would be rooted instead in the Hindu world. Islamic civilization provided a common ideal to which all Muslims could appeal in the name of resistance against Western encroachment. Even if that appeal failed to stem the Western imperial tide, it created a cultural memory of a commonly shared fate that did not go away.

Europeans were able to divide and conquer numerous African, Asian, and Latin American peoples who then fell singly before Western power. A united, transnational resistance among those peoples was hard to achieve in the absence of any common ethnic or cultural symbol of resistance. In a world without Islam, Western imperialism would have found the task of dividing, conquering, and dominating the Middle East and Asia much easier.

There would not have remained a shared cultural memory of humiliation and defeat across a vast area. That is a key reason why the United States now finds itself breaking its teeth upon the Muslim world. Today, global intercommunications and shared satellite images have created a strong self-consciousness among Muslims and a sense of a broader Western imperial siege against a common Islamic culture. This siege is not about modernity; it is about the unceasing Western quest for domination of the strategic space, resources, and even culture of the Muslim world--the drive to create a pro-American Middle East.

Unfortunately, the United States naively assumes that Islam is all that stands between it and the prize. But what of terrorism--the most urgent issue the West most immediately associates with Islam today? In the bluntest of terms, would there have been a 9/11 without Islam? If the grievances of the Middle East, rooted in years of political and emotional anger at U.S. policies and actions, had been wrapped up in a different banner, would things have been vastly different?

Again, it's important to remember how easily religion can be invoked even when other long-standing grievances are to blame. Sept. 11, 2001, was not the beginning of history. To the al Qaeda hijackers, Islam functioned as a magnifying glass in the sun, collecting these widespread shared common grievances and focusing them into an intense ray, a moment of clarity of action against the foreign invader.

In the West's focus on terrorism in the name of Islam, memories are short. Jewish guerrillas used terrorism against the British in Palestine. Sri Lankan Hindu Tamil Tigers invented the art of the suicide vest and for more than a decade led the world in the use of suicide bombings--including the assassination of Indian Prime Minister Rajiv Gandhi. Greek terrorists carried out assassination operations against U.S. officials in Athens. Organized Sikh terrorism killed Indira Gandhi, spread havoc in India, established an overseas base in Canada, and brought down an Air India flight over the Atlantic. Macedonian terrorists were widely feared all across the Balkans on the eve of World War I. Dozens of major assassinations in the late 19th and early 20th centuries were carried out by European and American anarchists, sowing collective fear. The Irish Republican Army employed brutally effective terrorism against the British for decades, as did communist guerrillas and terrorists in Vietnam against Americans, communist Malayans against British soldiers in the 1950s, Mau-Mau terrorists against British officers in Kenya--the list goes on. It doesn't take a Muslim to commit terrorism.

Even the recent history of terrorist activity doesn't look much different. According to Europol, 498 terrorist attacks took place in the European Union in 2006. Of these, 424 were perpetrated by separatist groups, 55 by left-wing extremists, and 18 by various other terrorists. Only 1 was carried out by Islamists. To be sure, there were a number of foiled attempts in a highly surveilled Muslim community. But these figures reveal the broad ideological range of potential terrorists in the world. Is it so hard to imagine then, Arabs--Christian or Muslim--angered at Israel or imperialism's constant invasions, overthrows, and interventions employing similar acts of terrorism and guerrilla warfare? The question might be instead, why didn't it happen sooner?

As radical groups articulate grievances in our globalized age, why should we not expect them to carry their struggle into the heart of the West? If Islam hates modernity, why did it wait until 9/11 to launch its assault? And why did key Islamic thinkers in the early 20th century speak of the need to embrace modernity even while protecting Islamic culture? Osama bin Laden's cause in his early days was not modernity at all--he talked of Palestine, American boots on the ground in Saudi Arabia, Saudi rulers under U.S. control, and modern Crusaders. It is striking that it was not until as late as 2001 that we saw the first major boiling over of Muslim anger onto U.S. soil itself, in reaction to historical as well as accumulated recent events and U.S. policies. If not 9/11, some similar event like it was destined to come. And even if Islam as a vehicle of resistance had never existed, Marxism did. It is an ideology that has spawned countless terrorist, guerrilla, and national liberation movements.

It has informed the Basque ETA, the FARC in Colombia, the Shining Path in Peru, and the Red Army Faction in Europe, to name only a few in the West. George Habash, the founder of the deadly Popular Front for the Liberation of Palestine, was a Greek Orthodox Christian and Marxist who studied at the American University of Beirut. In an era when angry Arab nationalism flirted with violent Marxism, many Christian Palestinians lent Habash their support.

Peoples who resist foreign oppressors seek banners to propagate and glorify the cause of their struggle. The international class struggle for justice provides a good rallying point. Nationalism is even better. But religion provides the best one of all, appealing to the highest powers in prosecuting its cause. And religion everywhere can still serve to bolster ethnicity and nationalism even as it transcends it especially when the enemy is of a different religion. In such cases, religion ceases to be primarily the source of clash and confrontation, but rather its vehicle. The banner of the moment may go away, but the grievances remain.

We live in an era when terrorism is often the chosen instrument of the weak. It already stymies the unprecedented might of U.S. armies in Iraq, Afghanistan, and elsewhere. And thus bin Laden in many non-Muslim societies has been called the next Che Guevara. It's nothing less than the appeal of successful resistance against dominant American power, the weak striking back.an appeal that transcends Islam or Middle Eastern culture. MORE OF THE SAME But the question remains, if Islam didn't exist, would the world be more peaceful?

In the face of these tensions between East and West, Islam unquestionably adds yet one more emotive element, one more layer of complications to finding solutions. Islam is not the cause of such problems. It may seem sophisticated to seek out passages in the Koran that seem to explain "why they hate us". But that blindly misses the nature of the phenomenon. How comfortable to identify Islam as the source of the problem; it is certainly much easier than exploring the impact of the massive global footprint of the world's sole superpower. A world without Islam would still see most of the enduring bloody rivalries whose wars and tribulations dominate the geopolitical landscape. If it were not religion, all of these groups would have found some other banner under which to express nationalism and a quest for independence.

Sure, history would not have followed the exact same path as it has. But, at rock bottom, conflict between East and West remains all about the grand historical and geopolitical issues of human history: ethnicity, nationalism, ambition, greed, resources, local leaders, turf, financial gain, power, interventions, and hatred of outsiders, invaders, and imperialists. Faced with timeless issues like these, how could the power of religion not be invoked? Remember too, that virtually every one of the principle horrors of the 20th century came almost exclusively from strictly secular regimes: Leopold II of Belgium in the Congo, Hitler, Mussolini, Lenin and Stalin, Mao, and Pol Pot.

It was Europeans who visited their world wars twice upon the rest of the world two devastating global conflicts with no remote parallels in Islamic history. Some today might wish for a world without Islam in which these problems presumably had never come to be. But, in truth, the conflicts, rivalries, and crises of such a world might not look so vastly different than the ones we know today.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

By Graham E. Fuller
Former vice chairman of the National Intelligence Council at the CIA in charge of long-range strategic forecasting. He is currently adjunct professor of history at Simon Fraser University in Vancouver.
Published in FOREIGN POLICY Jan-Feb 2008

 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
27January 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
ในโลกไร้อิสลาม มหกรรมล่าอาณานิคมของโลกตะวันตกจะพบว่าสามารถแบ่งแยก ยึดครอง และปกครองทวีปตะวันออกกลางและเอเชียได้อย่างง่ายดายกว่าเดิม ประชากรในดินแดนเหล่านี้จะไม่มีความทรงจำร่วมทางวัฒนธรรมใดๆ ที่บันทึกความอดสูและความพ่ายแพ้ในภูมิภาคหลงเหลืออยู่อีกต่อไป นี่เป็นเหตุผลหลักที่อธิบายว่า เหตุใดสหรัฐอเมริกาจึงกำลังถูกถอดเขี้ยวเล็บในโลกมุสลิม เทคโนโลยีโทรคมนาคมและภาพถ่ายผ่านดาวเทียมในปัจจุบันช่วยสร้างสำนึกแห่งตัวตน ที่เข้มข้นมากในหมู่ชาวมุสลิม และความรู้สึกว่าโลกตะวันตกกำลังรุกรานวัฒนธรรมอิสลาม ...
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream

ในโลกไร้อิสลาม:
A world Without Islam


โลกที่ไม่มีอิสลาม มหกรรมล่าอาณานิคมของโลกตะวันตกจะพบว่าสามารถแบ่งแยก ยึดครอง และปกครองตะวันออกกลางและเอเชียได้อย่างง่ายดายกว่าเดิม ประชากรในดินแดนเหล่านี้จะไม่มีความทรงจำร่วม
ทางวัฒนธรรมใดๆ ที่บันทึกความอดสูและความพ่ายแพ้ในภูมิภาคหลงเหลืออยู่อีกต่อไป นี่เป็นเหตุผลหลักที่อธิบายว่า เหตุใดสหรัฐอเมริกาจึงกำลังถูกถอดเขี้ยวเล็บในโลกมุสลิมอย่างเช่นทุกวันนี้

เทคโนโลยีโทรคมนาคมและภาพถ่ายผ่านดาวเทียมในปัจจุบันช่วยสร้างสำนึกแห่งตัวตน ที่เข้มข้นมากในหมู่ชาวมุสลิม และความรู้สึกว่าโลกตะวันตกกำลังรุกรานวัฒนธรรมอิสลาม การรุกรานนี้ไม่เกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่ แต่เกี่ยวกับความกระหายไม่มีวันสิ้นสุดของโลกตะวันตกที่อยากครอบงำพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ ทรัพยากร และแม้กระทั่งวัฒนธรรมของโลกมุสลิม ซึ่งอาจเรียกรวมๆ ว่าเป็นความพยายามที่จะสร้างตะวันออกกลางที่ "สนับสนุนอเมริกา" (pro-American) แต่โชคร้ายที่สหรัฐอเมริกาคิดเอาเองอย่างไร้เดียงสาว่า อิสลามคือสิ่งเดียวที่ยืนอยู่ระหว่างอเมริกากับเป้าหมายดังกล่าว

home