บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
Social
democracy
Midnight University
รวมบทความชุด: สังคมนิยม-ประชาธิปไตยในประเทศไทย
เยาวชนฝ่ายซ้ายพูด: Social democracy in Thailand
เมธา
มาสขาว : เขียน
ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย
Young People for Democracy Movement - YPD.
บทความวิชาการต่อไปนี้
กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืนได้รับมาจากผู้เขียน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อเสนอ คำถาม และความคาดหวังต่อสังคมประชาธิปไตยในประเทศไทย
ซึ่งบนหน้าเว็บเพจนี้ ในเบื้องต้นได้นำเสนอบทความ ๒ เรื่อง ประกอบด้วย
๑. สังคมนิยม : สังคม-ประชาธิปไตย/สังคมนิยมคอมมิวนิสต์
๒. สังคม-ประชาธิปไตย (Social-Democracy) กับความเป็นไปได้ในสังคมไทย
ในส่วนของเชิงอรรถและคำอธิบาย(ภาษาอังกฤษ) ที่ปรากฎอยู่บนหน้านี้
เป็นการเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการฯ เพื่อเสริมมความเข้าใจ และเพื่อการค้นคว้าต่อไป
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๓๙๘
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๐๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๕ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รวมบทความชุด: สังคมนิยม-ประชาธิปไตยในประเทศไทย
เยาวชนฝ่ายซ้ายพูด: Social democracy in Thailand
เมธา
มาสขาว : เขียน
ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย
Young People for Democracy Movement - YPD.
The World is our Country,
The Humanity is our Homeland
1. สังคมนิยม: สังคม-ประชาธิปไตย
/ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์
เวลาผมไปต่างประเทศ เพื่อนมักจะถามถึงสถานการณ์พรรคการเมืองที่ก้าวหน้าในประเทศไทย
ผมมักจะไม่มีคำตอบ เพราะพรรคการเมืองไทยในขณะนี้มีเพียงพรรคเดียว(ไม่นับรวมพรรคศิลปิน)
คือพรรคของนายทุน ซึ่งมีแนวทางทุนนิยมเสรีหมด มีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเสรีนิยม-ประชาธิปไตย(Liberal
Democracy) แต่ก็ผสมลักษณะอนุรักษ์นิยม(Conservative)ด้วย เพราะแม้แต่ประชาธิปไตยภายในพรรคก็ยังไม่มี
ในประเทศไทยไม่มีพรรคที่ก้าวหน้า(Progressive)เลยแม้แต่น้อย ทำไมเราถึงไม่มีพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย พรรคสังคมนิยม(Socialist party) พรรคสังคม-ประชาธิปไตย(Social-Democracy Party) พรรคแรงงาน หรือพรรคกรีน เหมือนในแถบประเทศยุโรปและละตินอเมริกา. เหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น? ผมมีคำตอบเดียวว่า อาจจะเป็นเพราะ "อุดมการณ์ทางสังคม" ทางเลือกในปีกที่ก้าวหน้ายังไม่ได้ลงหลักปักฐานในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นความคิด "สังคมนิยม" หรือ "สังคม-ประชาธิปไตย"ก็ตาม ซ้ำร้ายเงื่อนไขหนึ่งนั้นก็มาจากการพยายามทำลายและป้ายสีจากฝ่ายอำนาจรัฐนายทุนและศักดินาในระบอบอุปถัมป์นิยมที่ผ่านมานั่นเอง.. โดยเฉพาะ การสังหารหมู่กลางเมืองที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 6 ตุลาคม 2519..
แนวคิดอุดมคติสังคมนิยม
(Socialist)
เป็นอุดมการณ์การต่อสู้ของประชาชนที่รักความเป็นธรรมโดยเอาสังคมเป็นตัวตั้งทางผลประโยชน์
เน้นคุณค่ามนุษย์ที่สมบูรณ์ที่ควรได้รับจากการจัดการของรัฐ ความน่าจะเป็นของอุดมคติแบบสังคมนิยมนี้ไม่ใช่ความใฝ่ฝัน
ล่องลอย เพ้อฝันไร้แก่นสาร แต่ได้ผ่านการต่อสู้ยืนยันมาอย่างยาวนาน ในพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
ในอดีตนั้น ความใฝ่ฝันถึงสังคมยูโธเปียแบบกรีซ สังคมพระศรีอารย์แบบพุทธ หรือสังคมคอมมูนแบบมาร์กซ ก็เป็นสังคมนิยมพื้นฐานความใฝ่ฝันเดียวกันที่แยกไม่ออกจากการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่เท่าเทียม เป็นธรรม และเน้นคุณค่ามนุษย์ แม้ว่าโลกปัจจุบัน จะเสมือนแปลกแยกจากฐานะดังกล่าว โดยระบบทุนนิยมเสรีได้สร้างสภาวะที่แปลกแยกจากอุดมคติดังกล่าวไปอย่างมากมาย และได้กลายฐานความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ไปสู่สายสัมพันธ์ที่โดดเดี่ยวมากขึ้น จนกระทั่งความคิดเรื่อง"สังคมส่วนรวม" กลายเป็นเรื่อง " เพ้อฝัน - เป็นไปไม่ได้" ของชายหนุ่มหญิงสาววัยรุ่นในสมัยใหม่มากมาย เพราะทุกคนต่างก็คิดถึงแต่เรื่องตนเอง เพื่อความอยู่รอดในระบบทุน
และภายหลังการทดลองรัฐสังคมนิยมในหลายประเทศล้มครืนลง ความเชื่อ ความใฝ่ฝันของอุดมการณ์สังคมนิยมก็ลดทอนลงอย่างดิ่งจมในหมู่นักสังคมนิยมเดิม แต่บางส่วนก็ยังเชื่อมั่นตามทฤษฎี วิทยาศาสตร์สังคม ที่คาร์ล มาร์กซ ได้ยืนยันความเข้าใจนี้ ผ่านทฤษฎีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่มองมนุษย์-สังคมผ่านความสัมพันธ์ทางการผลิต และเงื่อนไขนี้ได้เปลี่ยนฐานะสังคมจากยุคบุพกาลสู่ยุคทาส ศักดินา จนถึงทุนนิยมในปัจจุบัน และจะเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมนิยมอย่างแน่นอน เพราะเงื่อนไขความขัดแย้งทางชนชั้นการถือครองปัจจัยการผลิตนี้ และความใฝ่ฝันความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์แบบ " จากทุกคนตามความสามารถ แด่ทุกคนตามความจำเป็น" ของคาร์ล มาร์กซ์ นี้ก็ยังมีลมหายใจทางอุดมการณ์(มาร์กซิสต์) ตราบเท่าทุกวันนี้
นักสังคมนิยมย่อมคาดหวังและลงมือกระทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงใหม่ไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม ในช่วงแรกๆ มีการพูดถึงการจัดวางสังคมใหม่โดยจัดความสัมพันธ์ทางการผลิตใหม่ให้เป็นธรรมมากขึ้น เนื่องเพราะแนวคิดเสรีนิยมและวิถีของระบบทุนนิยมที่เอาทุน-กำไรเป็นตัวตั้ง และวิวัฒนาการชัดเจนหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นลดคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ โดยแบ่งชนชั้นตามฐานะแห่งการครอบครองปัจจัยการผลิต ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม การกดขี่ ขูดรีดและเอาเปรียบทางโครงสร้างมากมาย โดยนักคิดหลายคนในช่วงนั้นนำเสนอทฤษฎีต่างๆ เพื่อจัดวางการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยยุติธรรมและเอาสังคมเป็นตัวตั้ง โดยมุ่งเน้นให้รัฐทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงนั้น มีทั้งแนวทางสังคมนิยมปฏิรูปและการนำพามวลชนปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐของนายทุนโดยตรง
แรกเริ่มทีเดียว ในยุโรปตั้งแต่กลางศตวรรษที่
19 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ขบวนการ "สังคม-ประชาธิปไตย"(Social-Democracy)
เดิมทีเดียวเป็นชื่อเรียกกลุ่มพวกรีพัปบลิกัน ที่มี "สีสัน" ทาง "สังคมนิยม"
(ดูเชิงอรรถอธิบายของ Engels ใน Section IV ใน Communist Manifesto) ต่อมาเมื่อเกิดพรรค
SPD (*) ในปี 1869 โดยลาสซาลล์ และสาวกของของมาร์กซเอง ก็ได้ใช้คำนี้ในความหมายที่เป็น
ผู้ต่อสู้เพื่อสังคมนิยมและประชาธิปไตย ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าในยุโรปจนถึงสงครามโลกครั้งที่
1 รัฐใหญ่ๆ (เยอรมันนี, ออสเตรีย-ฮังการี ไม่ต้องพูดถึงรัสเซีย) ยังมีกษัตริย์อยู่
ดังนั้น การที่พวกสังคมนิยมเรียกตัวเองแบบนี้ จึงมีความหมายทั้งในแง่ต่อสู้เพื่อสังคมนิยมและประชาธิปไตย
(สาธารณรัฐ)
(*) Sozialdemokratische Partei Deutschlands (SPD)
German political party, founded in 1869 by Wilhelm Liebknecht and August Bebel
in Eisenach. In 1875 it amalgamated with the Allgemeiner Deutscher Arbeiterverein
to form the Sozialistische Arbeiterpartei Deutschlands and acquired the name
SPD in 1891 at the Parteitag in Halle. Its basic Marxist concept was confirmed
in the Erfurter Programm of 1891; however, the revisionist ideas of Eduard
Bernstein gained increased influence. In 1912 the SPD was the strongest parliamentary
group in the Reichstag.
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน http://encyclopedia.jrank.org/Cambridge/entries/069/Sozialdemokratische-Partei-Deu.html)
เมื่อเกิดการแตกตัวในขบวนการฝ่ายซ้ายยุโรป เป็น "คอมมิวนิสต์" กับ "สังคม-ประชาธิปไตย" คำหลังนี้จึงหมายถึงสังคมนิยมที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ (*อ้างอิงจาก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์) นั่นก็คือ "สังคมนิยม-ประชาธิปไตย" หมายถึง ระบบเศรษฐกิจเพื่อคนส่วนใหญ่ตามแนวทาง "เศรษฐศาสตร์สังคม" และมีการปกครองที่ต่างจากคอมมิวนิสต์ตรงที่ต้องการ "ประชาธิปไตยทางการเมือง" ด้วยนั่นเอง
ปัจจุบันนี้ การต่อสู้เชิงอุดมการณ์สังคมนิยมในสถานการณ์สากลนั้น มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของแต่ละขบวนการในแต่ละประเทศ ตามทฤษฎีที่ยึดถือและบริบทเงื่อนไขของประเทศนั้น ซึ่งในลักษณะภาพกว้างปัจจุบันคือ Communist แบบเหมาอิสต์ จะเน้นการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ เช่น ในประเทศเนปาล ฟิลิปปินส์ หรือกรณีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)ในอดีต และ อุดมคติแบบ Socialist (สังคมนิยม), Social-Democracy(สังคม-ประชาธิปไตย) จะเน้นการเคลื่อนไหวโดยการปฏิรูปทางสังคม-การเมือง หรือการจัดตั้งพรรคการเมืองของตนเองเข้าไปต่อสู้ทางการเมืองในระบบรัฐสภา ซึ่งในปัจจุบัน สังคมนิยมปฏิรูปได้ลงหลักปักฐานพอสมควร ในประเทศแถบแสกนดิเนเวียของยุโรป ในรูปของประเทศรัฐสวัสดิการ
ขณะเดียวกัน อุดมการณ์สังคมนิยม (Socialist) ในทางสากลเอง ก็มีการปรับตัวเข้าหาสถานการณ์ทางสังคมและการคลี่คลายปัญหาต่างๆ ตามข้อเท็จจริงมากขึ้น นอกจากการต่อสู้ทางการเมืองอย่างเดียว เพราะอุดมคตินี้แท้ที่จริงก็คือ "ทุกอย่างที่เอาสังคมเป็นตัวตั้ง" นั่นเอง เราจึงเห็นว่า วาระแห่งการถกเถียงหรือพูดคุยกันของขบวนสังคมนิยมสากลในปัจจุบันนี้ นอกจากมิติความแปลกแยกของระบบทุนนิยม-สังคมนิยมแล้ว ยังเต็มไปด้วยความหลากหลายทางสังคมในมิติต่างๆ มีเวทีสากลมากมาย ถกเถียงกันตั้งแต่หัวข้อเรื่องการพัฒนาสังคม-ประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ, การต่อสู้กับเผด็จการทหาร, ภัยโลกาภิวัตน์, การมีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย, ไปจนกระทั่งประเด็นมิติทางวัฒนธรรม, ความเท่าเทียมหญิง-ชาย, สิทธิเพศที่สาม, ผู้อพยพ, แรงงานข้ามชาติ, การศึกษาทางเลือก, ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
โดยสรุปแล้ว สังคมนิยมพื้นฐานก็คือ ที่ซึ่งรัฐเอาสังคมเป็นศูนย์กลางและนโยบาย เป้าหมาย และวิถีทาง เพื่อประชาชนได้เท่าเทียมประโยชน์แห่งชีวิต มีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคมที่แท้จริง ประชาชนทุกคนมีสิทธิ-เสรีภาพ โดยรัฐที่เป็นตัวแทนพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนที่แท้จริง คอยดูแลสวัสดิการให้แก่ประชาชนอย่างพอเพียง สร้างคุณภาพสังคมและคุณค่ามนุษย์ที่สมบูรณ์. ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า Socialist ในความหมายสากลแล้ว กว้างกว่าคำว่า "สังคมนิยม" ในความหมายหรือการรับรู้ของคนไทยอยู่มากพอสมควร เนื่องจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยนั้น มีการนิยามความหมายของสังคมนิยมอย่างจำกัดและเบี่ยงเบนพอสมควร ด้วยการสร้างภาพปีศาจร้ายให้แก่แนวคิดสังคมนิยมในประเทศไทย โดยฝีมืออำนาจรัฐของชนชั้นปกครองที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเองไว้ ในการต่อสู้ของประวัติศาสตร์ประชาชนในห้วงอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
ดังนั้น การยึดครองผูกขาดอำนาจทางการเมืองเฉพาะชนชั้นนำ โดยตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมา จึงไม่เคยมีนโยบายสังคมนิยมใดๆ หรือการแก้ไขปัญหาทางโครงสร้างใดๆ ที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์แก่คนชั้นล่าง กรรมกร ชาวนา ชาวไร่ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศได้ลืมตาอ้าปาก หรือแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนเชิงโครงสร้างอย่างแท้จริง และได้สร้างความเป็นจริงดังที่ปรากฏว่า ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นในสังคมไทย ยิ่งถ่างกว้างขึ้นตามวันเวลา ตามที่รัฐบาลแทบทุกชุดที่ผ่านมามีนโยบายประชาธิปไตยแบบทุนนิยม ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม.
ความเป็นจริงดังกล่าว ยังเห็นได้ชัดจากพื้นที่ทางการเมืองส่วนใหญ่ ตกเป็นของชนชั้นนำทางสังคมและมีอำนาจทางเศรษฐกิจเข้ามามีบทบาทอย่างสูง โดยแทบไม่เหลือพื้นที่ของชนชั้นล่าง ชาวนา กรรมกร ชาวประมง ชาวเขา ฯลฯ กระทั่งกีดกันอย่างเป็นตัวบทกฏหมาย ในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ที่ห้ามประชาชนที่ไม่จบปริญญาตรีเข้าสู่การเป็นผู้แทนฯ "และหลังจากการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างหยุดชะงักลง อุดมคติของชาวสังคมนิยมก็อ่อนแอ แปรสภาพกลายเป็นเพียงความใฝ่ฝัน หรือความหวังเล็กๆ ในแต่ละวัน เท่านั้นเอง.. "
อย่างไรก็ตาม อุดมการณ์สังคมนิยมไม่เคยตาย ตราบใดที่ขบวนการคนจน ขบวนการแรงงานยังคงเคลื่อนไหว มีความขัดแย้งทางชนชั้น หรือมีการเอารัดเอาเปรียบในเชิงโครงสร้างอยู่ เพียงแต่ว่าในสถานการณ์นี้ ขบวนการต่อสู้อาจจะอ่อนแรง หรือยังไม่เข้มแข็งพอที่จะเป็นขบวนการใหญ่ในเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน หรือยังไม่ได้สร้างพรรคการเมืองของเขาขึ้นมา เท่านั้นเอง
2. สังคม-ประชาธิปไตย
(Social-Democracy)(1) กับความเป็นไปได้ในสังคมไทย
(หมายเหตุ : Social-Democracy ในที่นี้แปลว่า "สังคมนิยม-ประชาธิปไตย")
ผมได้รับมอบหมายให้พูดถึงพลังคนหนุ่มสาวในการสร้างสังคม-ประชาธิปไตย ด้วยน่าจะอนุมานได้ว่า
คนหนุ่มสาวเป็นอนาคตและความหวังทางสังคมหนึ่งที่สำคัญ ดังที่มีคนกล่าวว่า เราปลูกอะไรในวันนี้
ย่อมเห็นผลของมันในวันหน้า และทุกกลุ่มพลังทางสังคมควรมีส่วนร่วมเพื่อจัดวางการอยู่ร่วมกัน
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา (2550) ผมเพิ่งกลับจากการประชุมสัมมนา Young Progressive South East Asia - YPSEA (2) ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีการรวมตัวกันขององค์กรคนหนุ่มสาวที่เคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อสังคมนิยม-ประชาธิปไตยในภูมิภาคนี้ อันประกอบไปด้วยสมาชิกมากกว่า 10 องค์กรจาก 5 ประเทศ คือไทย มาเลเซีย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ด้วยความคาดหวังว่าคนหนุ่มสาวจะร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อสังคมนิยม-ประชาธิปไตยในทางสากลได้ ไม่วันนี้ก็ในอนาคต
แต่กระนั้นก็ตาม หากถามกลับไปว่า คนรุ่นเดือนตุลาคม 2516 ซึ่งตื่นตัวทางการเมืองอย่างสูงในอดีต เป็นผู้ใหญ่ในวันนี้ที่มีอำนาจทางสังคมอยู่ตามสาขาอาชีพต่างๆ ก็ยังมิอาจสร้างสังคม-ประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นได้ เป็นเพราะอะไร? สำหรับผมแล้ว นั่นอาจเพราะมิใช่ปัญหาทางอุดมการณ์อย่างเดียว แต่เรามิอาจคาดหวังถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมใหม่ได้ โดยไม่เข้าใจความไม่เป็นธรรมจากความขัดแย้งหลักของโครงสร้างทางสังคมในปัจจุบัน ซึ่ง ณ บัดนี้ เราไม่อาจให้การปฏิเสธปัญหาความขัดแย้งทางชนชั้นได้อีกต่อไป ที่ซึ่งสร้างความแปลกแยกให้เราเอง แม้จะเป็นคนหนุ่มสาวด้วยกันหรือเป็นคนแก่ชราด้วยกันก็ตาม
ความขัดแย้งทางชนชั้นนี้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่จัดวางความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ให้ขึ้นต่อกับความสัมพันธ์ทางการผลิต และกำหนดวิถีชีวิตของเราให้ขาวต่ำดำสูงกันออกไป และแน่นอนมันกำหนดสังคมและวัฒนธรรมให้เราด้วย จนในปัจจุบันนี้สังคมเหลื่อมล้ำอย่างมหาศาลและมีลักษณะบริโภคนิยมเป็นว่าเล่น ซึ่งถ้าเราไม่ต่อสู้โดยการแตะต้องโครงสร้างนี้ เราก็มิอาจเปลี่ยนแปลงสังคมให้มีความเป็นธรรมได้เลย
นักปรัชญาประวัติศาสตร์ได้เคยบอกเราว่า "รัฐทุนนิยมเป็นเพียงคณะกรรมการประกอบการของนายทุน" เท่านั้น นั่นหมายถึงว่า รัฐซึ่งน่าจะเป็นกลไกในการจัดวางการอยู่ร่วมกันในยุคใหม่ ได้เป็นเพียงที่ปรองดรองผลประโยชน์ของชนชั้นนำทางสังคมเท่านั้น ที่เขาได้เข้าไปใช้อำนาจรัฐเพื่อจัดวางผลประโยชน์ร่วมกัน ออกกฏหมายและระเบียบร่วมกัน และนั่นทำเราเห็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองของไทยว่า หลังจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นต้นมา ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกันนั้น ก็เพราะมีแต่ชนชั้นนำทางสังคมไทยเท่านั้นที่ได้เข้าไปสู่อำนาจรัฐ และใช้อำนาจนั้นเพื่อประโยชน์ตนเองปกครองสังคมมาอย่างเนิ่นนาน ออกกฏหมายและนโยบายทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่เอื้อผลประโยชน์ต่อชนชั้นของตัวเองมาอย่างต่อเนื่อง
ผลผลิตของสิ่งเราเหล่านั้นก็คือ ประเทศนี้มีการกระจายรายได้แย่ที่สุด 1 ใน 5 ของโลก ช่องว่างทางสังคมเหลื่อมล้ำมหาศาล เรามีรถเบนซ์เกือบมากที่สุดในโลกขณะที่มีคนจนมากมายหลายสิบล้านคน ยากลำบากและไม่มีที่ดินทำกิน เพราะสินทรัพย์เหล่านั้นเดินเข้าสู่กลไกตลาดของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่ซึ่งเหล่านายทุน ผู้ประกอบการเท่านั้น มีอำนาจในการซื้อไว้-ครอบครอง ซึ่งยิ่งไม่ต้องพูดถึงความเหลื่อมล้ำของสังคมโลก ที่คน 200 ล้านคนเท่านั้นที่ร่ำรวย ในขณะที่ 1,800 ล้านคนเป็นคนชั้นกลาง แต่กว่า 4,000 ล้านคนอดอยาก ด้วยนโยบายทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ที่นายทุนยึดครองผลประโยชน์
เราไม่อาจสร้างความเป็นธรรมทางสังคมขึ้นได้ หากชนชั้นล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ไม่เข้าไปสู่อำนาจรัฐ และใช้อำนาจรัฐนั้นจัดวางความเป็นธรรมทางสังคม ผลประโยชน์ทางชนชั้น หรือสร้างสังคมนิยมม-ประชาธิปไตยที่จับต้องได้ อย่าลืมว่าชีวิตเราสัมพันธ์กับการเมืองและการถูกปกครองตั้งแต่ต้น นับตั้งแต่พ่อต้องไปแจ้งเกิดที่ว่าการอำเภอ หรือตั้งแต่แม่ตั้งท้องแล้วลาหยุดงานไม่ได้เลยทีเดียว ซึ่งระบอบการเมืองนั้นเป็นตัวกำหนดระบบเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม. ในประเทศแถบยุโรปนั้นสร้างสังคมนิยม-ประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นได้ เพราะเขามีพรรคการเมืองที่ต่อสู้ทางอุดมการณ์เข้าไปสู่อำนาจรัฐ หรือพรรคตัวแทนทางชนชั้นเข้าไปต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง เช่น พรรคสังคมนิยมในประเทศสเปน, ฝรั่งเศส, พรรคสังคม-ประชาธิปไตยในประเทศเยอรมัน, พรรคแรงงานในประเทศนอรเวย์ ฯลฯ
คนทุกกลุ่มในสังคมต่างมีผลประโยชน์ทางการเมืองหมด ไม่ว่าจะเป็นสถาบันทหาร ข้าราชการ กลุ่มทุน หอการค้า หรือชาวนา ชาวไร่ กรรมกร ลูกจ้าง เพียงแต่ว่าชนชั้นล่างข้างท้ายไม่เคยได้รับผลประโยชน์เหล่านั้นโดยเท่าเทียม นอกจากการแลกเปลี่ยน เสนอให้หรือหยิบใช้เพื่อส่งผ่านอำนาจในช่วงแห่งการเลือกตั้งเท่านั้น. ขณะที่กลุ่มอื่นๆ นายทุน กองทัพ ข้าราชการ สถาบันชนชั้นนำทางสังคม ครอบครองสมบัติผลัดกันชม
การสร้าง "สังคม-ประชาธิปไตย" ในสังคมไทยตอนนี้มีอยู่ 2 ทาง
- ทางที่หนึ่ง คือ เราต้องสร้างความเข้มแข็งในนามของ "สถาบันประชาชน" ไม่ว่าจะรูปแบบองค์กร หรือกลุ่มขบวนการใด ทั้งทางชนชั้น อาชีพ หรือกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง โดยเฉพาะกลุ่มขบวนการชาวนา ชาวไร่ กรรมกร พนักงานสาขาอาชีพต่างๆ จะต้องมีขบวนการตนเองที่เข้มแข็งและต่อรองผลประโยชน์เพื่อชนชั้น หรือกลุ่มทางสังคมของตนเองได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม. เหล่านี้อาจเกิดในรูปของพรรคการเมืองทางชนชั้น สาขาอาชีพ หรือในนามกลุ่มพลังทางการเมืองก็ได้ และ
- ในอีกทางหนึ่ง คือ ชนชั้นล่างทางสังคมที่ถูกกระทำลุกขึ้นมาด้วยขบวนการแห่งการเปลี่ยนแปลง รื้อถอนโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมเหล่านั้น โดยการปฏิวัติทางสังคมใหม่ ทางนี้ไม่เหมือนการรัฐประหาร และประชาคมสากลยอมรับได้ แต่จะเป็นจริงได้คงต้องมีขบวนการที่เข้มแข็ง ยาวนานและมุ่งไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหลักทางสังคม ดังเช่นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคยต่อสู้มา และหรือขบวนการประชาชนทั่วโลกที่เคยหรือกำลังต่อสู้อยู่
อยากเรียนกับทุกท่าน ที่คาดหวังถึงสังคมนิยม-ประชาธิปไตยในที่นี้ว่า หากความเป็นจริงที่ว่า ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อสู้แล้ว ท่ามกลางความขัดแย้งหลักที่รอวันประทุของเหตุการณ์ หากเราไม่มีการแก้ไข ปัญหาทางโครงสร้างเหล่านี้ยังดำรงอยู่. สังคมนิยมจะไม่มีวันตาย สังคมนิยม-ประชาธิปไตยยังคงมีลมหายใจอยู่ และมันไม่เคยตายตราบใดที่ยังมีขบวนการกรรมกร ชาวนา-ชาวไร่เคลื่อนไหวเดินขบวน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากความขัดแย้งทางโครงสร้าง และรอการหล่อหลอมเป็นรูปธรรมของขบวนการใหญ่ที่เข้มแข็งสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ในอนาคตเท่านั้น ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม ขึ้นอยู่กับว่าเราจะร่วมสร้างขบวนการในรูปแบบใด?
ถามถึงขบวนการคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนทางสังคมได้อย่างไร? คนหนุ่มสาวมีจุดเด่นในตัวเองด้วยพลังแห่งวัยของการแสวงหา ความเป็นธรรมทางสังคมเป็นสิ่งศรัทธายึดถือได้โดยไม่มีผลประโยชน์อื่นเคลือบแฝงมากมายนัก คนหนุ่มสาวจะต้องรวมพลังกัน ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน หรือทำงานสาขาอาชีพอะไร เพื่อสร้างขบวนการของคนหนุ่มสาวในยุคใหม่ แต่นั่น เราจะต้องเลือกว่าเราจะต่อสู้เพื่อใคร? และอย่างไร? นั่นหมายถึงเราจะต้องวิเคราะห์ความขัดแย้งหลักทางสังคมและต้องการเปลี่ยนแปลงมัน ซึ่งแน่นอน เมื่อนั้น เราต้องเลือกจุดยืนทางชนชั้นและอุดมการณ์ทางการเมือง
ในประเทศไทย ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(Young
People for Democracy Movement-YPD.) ในนามของขบวนการคนหนุ่มสาวทางสังคมกลุ่มหนึ่งที่ผมสังกัดอยู่
กำลังพยายามทำเรื่องนี้โดยการรวมพลังคนหนุ่มสาวในรูปของขบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งในระดับประเทศและระหว่างสากล ซึ่งได้ทำงานร่วมกับ
International Union of Socialist Youth - IUSY (*) องค์กรคนหนุ่มสาวโลกซึ่งมีสมาชิกกว่า
100 องค์กรในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก และก่อตั้งมากว่า 100 ปี เป็นองค์กรคนหนุ่มสาวสากลที่พยายามสร้างและรวมพลังคนหนุ่มสาว
ในการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สังคมนิยม-ประชาธิปไตยในระดับสากลให้ได้ ในนามคำขวัญที่ว่า
"all over the world to change it" และล่าสุดในการต่อต้านสงครามความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-เลบานอน
"the Worid is our Country, the Humanity is our Homeland". เราหวังว่า
สังคมนิยม-ประชาธิปไตย จะเกิดขึ้นได้ด้วยการมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
(*) The International Union of Socialist Youth (IUSY)
encompasses socialist, social democratic and Labour Party youth organizations
from more than 100 states of the world. IUSY is a member of the Socialist
International. Full members status is held to the European Youth Forum (YFJ)
which operates within the Council of Europe and European Union areas and works
closely with both these bodies. The President of IUSY is Fikile Mbalula, from
the South African ANC Youth League, and the Secretary General is Yvonne O'Callaghan
from the Irish Labour Youth. (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/International_Union_of_Socialist_Youth
และ http://www.iusy.org/)
คำถามต่อสถานการณ์ปัจจุบันก็คือ เราจะต่อสู้เพื่อใคร? ท่ามกลางความขัดแย้งทางสังคม
หากเราจะต่อสู้เพื่อสังคมนิยม หรือ สังคม-ประชาธิปไตย? ถ้าดังนั้น เราต้องคิดเรื่องขบวนการต่อสู้
และขบวนการต่อสู้จะต้องมีทั้งการเคลื่อนไหวทางการเมืองและขบวนการจัดตั้งทางความคิด
เพื่อทำความเข้าใจอุดมการณ์ทางสังคม. ทุกวันนี้พื้นที่ของอุดมการณ์สังคมนิยม-ประชาธิปไตยก็ยังไม่ได้ลงหลักปักฐานมากเท่าไหร่ในสังคมไทย
ยิ่งแนวคิดสังคมนิยมด้วยแล้วอย่าได้พูดถึง นอกจากประชาธิปไตยเสรีนิยม และระบอบอมาตยาธิปไตยที่อันตรายที่สุด
หาก พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฉบับนี้ผ่าน
เราจะสร้างขบวนการอย่างไร เเพื่อมุ่งสู่การมีส่วนในอำนาจรัฐ เ และสร้างสังคมนิยม-ประชาธิปไตย ทั้งในแง่การเมืองการปกครองและในแง่ของพหุวัฒนธรรมสังคม นั่นคือโจทย์ของขบวนการคนหนุ่มสาวและภาคประชาชนไทยในวันนี้ ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านประชามติของสังคมโลกมาแล้ว ตั้งแต่กว่า 60 ปีที่ผ่านมาในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ที่ระบุว่า "ประชาชนทุกคนต้องมีส่วนในรัฐของตน และการใช้อำนาจแห่งรัฐบาล จะต้องมาจากเจตจำนงค์มูลฐานของประชาชน" ผมเห็นความสำคัญว่า เราควรมีพรรคการเมืองของเราเอง พรรคการเมืองเชิงอุดมการณ์ พรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในอนาคต เพื่อเข้าไปต่อรองผลประโยชน์ทางโครงสร้างในภาคการเมือง
สุดท้ายคำถามสำหรับอนาคตก็คือ ในห้วงยามนี้ เราจะสู้รบตบมือกับสถานการณ์อย่างไรดี ท่ามกลางเงื่อนไขที่พลังของภาคประชาชนอ่อนแอ ทั้งยังไม่สามารถเสนอชุดอุดมการณ์สังคม-ประชาธิปไตยของตนเองได้อย่างมีพลัง คำถามคงวนเวียนอยู่ในความคิดของใครหลายคนว่า จำเป็นหรือไม่ที่เราจะต้องต่อสู้เพื่อเผด็จการนายทุนกลับมาอีก หรือต้องปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยใหม่ตามขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ในทฤษฎีมาร์กซ์ หรือต้องต่อสู้จนสูญเสียประชาชนผู้รักชาติ-ประชาธิปไตยเพื่อสั่งสอนทหารไม่ให้กลับมาอีก ซึ่งยังไม่ทราบว่าอีกกี่คำรบแล้วคำรบเล่า, และหรือเราจะเปลี่ยนผ่านความคิดประชาธิปไตยเสรีนิยมไปสู่ประชาธิปไตยสังคมนิยมได้อย่างไร ที่ซึ่งเรามีประชาธิปไตยทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบรัฐสวัสดิการ
พี่น้องที่รักทั้งหลาย ฐานะทางประวัติศาสตร์มุมกลับนอกจากชัยชนะของประชาชนที่อุทิศชีวิตต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519, 17-21 พฤษภาคม 2535 จนศัตรูล่าถอยออกไปเพราะความเกรงกลัวต่อศรัทธา นั้นคือปรากฏการณ์ที่เราต่อสู้อยู่กับอำนาจรัฐที่ผูกขาดโดยชนชั้นนำ เราพ่ายแพ้และถูกเขาฆ่าตายจำนวนมาก เลือดเนื้อจากปลายกระบอกปืนแห่งอำนาจรัฐของเราที่เขาครอบครอง ซึ่งนั่นเพราะเรามีเพียงพลังประชาธิปไตยทางอุดมการณ์ แต่เราจะสร้างขบวนการได้อย่างไร พลังของประชาชนจะรวมตัวกันเป็นรูปขบวนการได้อย่างไร? ซึ่งผมหมายถึงทั้งรูปขบวนการและรูปของพรรคการเมืองของขบวนการ. เพื่อเข้าไปต่อสู้ทางการเมืองและแก้ปัญหาทางชนชั้น?
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เชิงอรรถ
(1) Social democracy
Social democracy
is a political ideology that emerged in the late 19th century out of the socialist
movement.[1] Modern social democracy is unlike socialism in the strict sense
which aims to end the predominance of the capitalist system, or in the Marxist
sense which aims to to replace it entirely; instead, social democrats aim
to reform capitalism democratically through state regulation and the creation
of state sponsored programs and organizations which work to ameliorate or
remove perceived injustices inflicted by the capitalist market system. The
term itself is also used to refer to the particular kind of society that social
democrats advocate.
Social democratic parties initially advocated socialism, in the strict sense, achieved by class struggle as defined by the Orthodox Marxists within or affiliated with the Social Democratic Party of Germany: August Bebel, Eduard Bernstein, Friedrich Engels, Karl Kautsky and Wilhelm Liebknecht.[1] Schisms within the party during the early 20th century led to the desertion of the revolutionary socialists, and the primacy of Bernstein's evolutionary or reformist democratic path for social progress within the social democratic movement. Throughout Europe, a number of other socialist parties simultaneously rejected revolutionary socialism, and the followers of these movements ultimately came to identify themselves as social democrats or democratic socialists.
Consequently, while social democrats share many views with the democratic socialists, they often differ on specific policy issues. While social democracy is currently the strongest current of socialism in international politics, followed quite closely by democratic socialism[citation needed], the two movements often share political parties, such as the British Labour Party in the 1980s, and the Brazilian Workers' Party today.[2]
One way to delineate between social democratic parties and movements and democratic socialist ones is to think of social democracy as moving left from capitalism and democratic socialism as moving right from Marxism: in other words, a mainstream leftist party in a state with a market economy and a mostly middle class voting base might be described as a social democratic party, while a party with a more radical agenda and an intellectual or working class voting base that has a history of involvement with further left movements might be described as a democratic socialist party.
However, this is not always the case. The British Labour Party charter identifies the party as a "democratic socialist party," even though the current and former leader, Gordon Brown and Tony Blair, self-identify as social democrats.
The Socialist International (SI), a worldwide organization of social democratic and democratic socialist parties, defines social democracy as an ideal form of democracy that can solve the problems found in unregulated capitalism[citation needed]. The SI emphasizes the following principles:
- first, freedom-not only individual liberties, but also freedom from discrimination and freedom from dependence on either the owners of the means of production or the holders of abusive political power;
- second, equality and social justice-not only before the law but also economic and socio-cultural equality as well, and equal opportunities for all including those with physical, mental, or social disabilities; and,
- third, solidarity-unity and a sense of compassion for the victims of injustice and inequality. These ideals are described in further detail in the SI's Declaration of Principles.
Social democratic parties
originally included both democratic socialists and revolutionary socialists.
Indeed, the split with the revolutionary socialists, including Rosa Luxemburg
and Vladimir Lenin, was spectacularly hostile. After World War I and the Russian
Revolution, many leading social democrats, including Eduard Bernstein, were
explicitly non-revolutionary. Consequently, as the years passed, the Bolsheviks
and other Marxist-Leninist parties ultimately adopted a strategy of publicly
denouncing social democrats as "social fascists."
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน http://en.wikipedia.org/wiki/Social_democracy)
(2) เกี่ยวกับ Young Progressive
South East Asia - YPSEA
(ข้อมูลจาก: http://ypsea.blogspot.com/)
Preamble
We, young progressives from Southeast Asia, Affirming
the fundamental ideals of democracy and equality, Promoting regional cooperation
and solidarity among Southeast Asian youth, Advocating for the youth's meaningful
participation in national and regional bodies, Asserting the crucial role
of the youth in shaping the future of the region and world, Do ordain and
promulgate this constitution.
The Founding of YPSEA
Beginning from year 2004 the Friedrich-Ebert - Stiftung
(FES) Philippine Office explored and sought to reaffirm through the series
of regional seminars of young progressive in Southeast Asia. The aim was to
gather like-minded "progressive" who either as young politicians,
members of political parties, activists in social movements, NGO workers or
media practitioners actively engage their institutions into this regional
group. After two year of drafting constitution and preparation, YPSEA is officiated
on 10 June 2006 at Phnom Penh, Cambodia.
About Southeast Asia
Southeast Asia known as the "highway of conquerors"
to mean that this is where more than many other regions in the world, external
forces have had a determinant impact on. When the countries in the region
began the process of decolonization, groups occupying the margins of Southeast
Asian political discourse, which include the women, the economically disadvantaged
and the young, have slowly began articulating their voices, albeit in incremental
steps.
Political participation is essential for an efficient and emerging democracy. It is, therefore, of prime importance to involve the young generation in politics to gain new insights and implement changes.
Countries in Southeast Asia: The Philippines, Vietnam, Laos, Cambodia, Thailand, Mymmar (or Burma), Malaysia, Singapore, Indonesia, Brunei & Timor Leste.
YPSEA Membership
- Cambodia
Khmer Youth Association (KYA)- Indonesia
Indonesia Movement (Pergerakan Indonesia (PI))
Serjata Kartini (SEKAR)- Malaysia
Democratic Action Party Socialist Youth (DAPSY)
Malaysia Youth and Students Democratic Movement (DEMA)
Progressive and Democratic Youth Movement (PRODEM)- The Philippines
Akbayan! Citizen's Action Party Youth Wing(Akbayan Youth)
Movement for the Advancement of Student Power (MASP)
Student Councils Alliance of the Philippine (SCAP)- Thailand
Student Federation of Thailand (SFT)
Young People for Democracy Coordination Center (YDCC)
Objectives - The network
aims to:
Provide a regional platform to facilitate the exchange
of ideas, strengthening of unities, and development of strategies for progressive
youth organizations and activists to advance democratization in Southeast
Asia;
Facilitate the development of skills and strengthen the capabilities of young people and progressive youth organizations to effectively engage in political processes in their respective countries and in the region;
- Establish and maintain solidarity ties among progressive young people in the region;
- Provide a platform for progressive politics and youth participation at the national and regional levels; and
- Be a venue for the convergence of efforts and forces for collective action.
Contact:
YPSEA official blog http://ypsea.blogspot.com/
[email protected]
YPSEA Executive 2006-2008:
Wilson Requez : [email protected] (SCAP, The Philippines)
Jenice Lee Ying-Ha: [email protected] (DAPSY, Malaysia)
Tarn Kodchawan : [email protected] (YDP, Thailand)
Regional Seminars 2004-2007
(1) 1st Regional Seminar Of Young Progressive Southeast Asia
Political Participation And Young People:
"Making Young Voices Heard"
13-15 October 2004
Discovery Centre
ADB Ave, Ortigas Center,
Pasig City, Philippines(2) 2nd Regional Seminar Young Progressive Southeast Asia
"Young People shaping Democracy"
1-3 August 2005
Hotel Santika Jakarta
Jl. AIPDA K.S. Tubun No.7, Slipi
Jarkata, Indonesia(3) 3rd Regional Seminar For Young Progressive Southeast Asia
"Young People Shaping Globalization"
25-27 October 2005
Discovery Centre
ADB Ave., Ortigas Center,
Pasig City, Philippines(4) 4th Regional Seminar For Young Progressive Southeast Asia
"Reclaiming Democracy In Southeast Asia - Defining The Task Of Young Progressives"
8-10 June 2006. Hotel Phnom Penh, Phnom Penh,
Cambodia(5) 5th Regional Seminar For Young Progressive Southeast Asia
"Helping Build Gender-Fair Democracies:
Young People Working For Gender Equality in Progressive Politics"
16-19 June 2007. Awana Resort,Genting Highland,
Malaysia
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
Social Democracy
While social democrats share many views with the democratic socialists, they
often differ on specific policy issues. While social democracy is currently
the strongest current of socialism in international politics, followed quite
closely by democratic socialism[citation needed], the two movements often
share political parties, such as the British Labour Party in the 1980s, and
the Brazilian Workers' Party today.[2]
One way to delineate between social democratic parties and movements and democratic socialist ones is to think of social democracy as moving left from capitalism and democratic socialism as moving right from Marxism: in other words, a mainstream leftist party in a state with a market economy and a mostly middle class voting base might be described as a social democratic party, while a party with a more radical agenda and an intellectual or working class voting base that has a history of involvement with further left movements might be described as a democratic socialist party.