โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๙๗ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ (November, 03, 11, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

นักการทหารในสังคมไทยอาจจะหลงลืมไปพร้อมกับกาลเวลา คือเรื่องของการก่อความไม่สงบ ตำราทหารในกองทัพไทยมักจะแปลเรื่องของ Counter Insurgency การป้องกันและปราบปรามการก่อความสงบ แต่ผมคิดว่าคำแปลที่เกิดขึ้นนั้นผิด เพราะสื่อในเชิงภาษาให้กับผู้คนในกองทัพด้วยความเข้าใจผิดว่าการก่อความไม่สงบนั้น สามารถเอาชนะได้ด้วยการปราบปราม โดยเนื้อแท้แล้วการก่อความไม่สงบนั้น ไม่สามารถเอาชนะได้ด้วยการปราบปราม การปราบปรามจะยิ่งนำพารัฐและสังคมเข้าไปสู่กับดักของความรุนแรง (รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข)
03-11-2550

Non traditional Security
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.


สัมมนาทางวิชาการกองทัพอากาศ และปัญหาความขัดแย้งหลังสมัยใหม่
กองทัพไทยกับความมั่นคง และการจัดการความขัดแย้งหลังสมัยใหม่
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
มิติใหม่ของความมั่นคงหลังสงครามเย็น และกระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้ง


บทความถอดเทปและงานแปลต่อไปนี้ กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืนนำมาจาก
เว็บไซต์กองทัพอากาศ และเว็บไซต์ประชาไทออนไลน์ ประกอบด้วย
๑. สถานการณ์ด้านความมั่นคง ใน ๕-๑๐ ปี
๒. การจัดการความขัดแย้งเพื่อการพัฒนา: หลักการ ความก้าวหน้าและสิ่งท้าท้าย


เรื่องแรกนำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
สถานการณ์ความมั่นคงที่เปลี่ยนไปหลังสงครามเย็น และสงครามยุคใหม่
หลังเหตุการณ์ ๑๑ กันยา (9/11) เครื่องบินโดยสารพุ่งชนตึกเวริด์เทรด
สาระดังกล่าวได้มาจากการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ๙๐ ปี กองทัพอากาศ
เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๘ ในหัวข้อ สถานการณ์ด้านความมั่นคง ใน ๕-๑๐ ปี

ส่วนเรื่องที่สอง เป็นเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงในมิติใหม่
ซึ่งแปลมาจาก Chapter 1: Tackling conflict for development:
principles, progress and challenges ของร่างเอกสารชื่อ
Addressing Conflict to Reduce Poverty ของกระทรวง
การพัฒนาระหว่างประเทศ (Department for International
Development--DFID) ของประเทศอังกฤษ ในยุคสมัยใหม่
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๙๗
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สัมมนาทางวิชาการกองทัพอากาศ และปัญหาความขัดแย้งหลังสมัยใหม่
กองทัพไทยกับความมั่นคง และการจัดการความขัดแย้งหลังสมัยใหม่
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
มิติใหม่ของความมั่นคงหลังสงครามเย็น และกระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

1. สถานการณ์ด้านความมั่นคง ใน ๕-๑๐ ปี
โดย: รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข (๓๐ มีนาคม ๒๕๔๘)

เรียน ท่านผู้บัญชาการทหารอากาศ ท่านผู้บัญชาการทหารอากาศสวีเดน
ท่านผู้บัญชาการกองทัพ สหรัฐ ฯ ภาคพื้นแปซิฟิก คณะนายทหาร และผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน
ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณกองทัพอากาศ ที่ให้โอกาสผมได้มานำเสนอมุมมองในการคิดถึงอนาคตความมั่นคงของไทย รวมถึงความมั่นคงที่เกิดขึ้นในรอบๆ ประเทศ วันนี้เป็นโอกาสดีที่เราได้มีโอกาสถกกันอีกครั้งหนึ่ง สิ่งที่น่าดีใจก็คือ ในทุกปีที่เป็นวันเกิดของกองทัพอากาศนั้น เราจะเห็นมิติในเชิงสร้างสรรค์ความรู้ในทางวิชาการ เพื่อเพิ่มมุมมอง เพิ่มวิสัยทัศน์ให้กับผู้คนในกองทัพ

วันนี้เป็นวันครบรอบ ๙๐ ปี กองทัพอากาศ ถ้าเป็นอายุคนก็คงมีอายุมากโขพอสมควร แต่ถ้าเป็นอายุของกองทัพอากาศ สิ่งที่ผมเห็นผมคิดว่าเรากำลังก้าวสู่อนาคต ก้าวสู่ความท้าทายที่กำลังเผชิญหน้าเราอยู่ตลอดเวลา หากย้อนกลับไป ๑๐ ปี ก่อนที่กองทัพอากาศไทยจะถือกำเนิดขึ้นในเดือนธันวาคมปี ๑๙๐๓ พี่น้องสองคนประสบความสำเร็จในการพาโครงไม้ที่บุด้วยผ้าใบ และมีเครื่องยนต์เล็กๆ ขึ้นสู่อากาศ เป็นครั้งแรกที่พี่น้องตระกูลไรท์ประสบความสำเร็จที่ทำให้ความฝันของมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ จนถึงคนรุ่นปี ๑๙๐๓ คือการพาคนขึ้นสู่อากาศได้ โดยไม่ต้องประสบความล้มเหลวด้วยการเอาปีกติดที่ไหล่

สิ่งที่ท้าทายก็คือวันนี้ถ้าเรามองย้อนไป ๑๐๐ ปี ของพี่น้องตระกูลไรท์ ๙๐ ปี กองทัพอากาศไทย สิ่งที่เห็นชัดก็คือวันนี้โลกไม่เหมือนเก่าแล้ว ไม่มีอะไรเหมือนเก่าให้เราอยู่แบบสบาย ๆ อีกต่อไป ความท้าทายที่เกิดขึ้นเป็นความท้าทายที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของโลก ในการทำความเข้าใจกับความเปลี่ยนแปลงของโลกไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะโลกข้างหน้าเป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคย แต่การทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตนั้น ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ของโลก หรือสถานการณ์ของไทยก็ตาม สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจก็คือ เราต้องทำความเข้าใจกับปัจจุบัน เช่นเดียวกันการทำความเข้าใจกับปัจจุบันจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่ทำความเข้าใจกับอดีต เพราะความสัมพันธ์ระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคตนั้น เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ กล่าวให้ถึงที่สุดก็คือ เราไม่อาจพิจารณาปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเป็นเอกเทศ การทำความเข้าใจในความสัมพันธ์เช่นนี้ คือกุญแจสำคัญที่ทำให้เราสามารถมองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ะ ได้นำพาประเด็นปัญหาใหม่ๆ มาให้รัฐ มาให้กองทัพ และมาให้สังคมต้องขบคิดปัญหาความมั่นคงก็เช่นเดียวกัน

ท่านผู้บัญชาการทหารอากาศได้เปิดประเด็นไว้ก็คือ สิ่งที่ท้าทายเราในอนาคต ความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดในการทำความเข้าใจ สำหรับขบวนการคิดในเรื่องของความมั่นคง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งถ้าเราไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงขบวนการคิดเรื่องของความมั่นคง ก็เป็นสิ่งที่ล้มเหลว ความเปลี่ยนแปลงถ้าย้อนกลับไป การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดหลายท่านคงได้ยินได้ฟังมามากพอสมควร คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการยุติของสงครามเย็น สงครามเย็นสิ้นสุดตั้งแต่ปี ๑๙๘๙ สงครามเย็นยุติมานานถึง ๑๕ ปีแล้ว จนในบางครั้งเราอาจจะลืมเรื่องเก่าๆ ของสงครามเย็นเหล่านั้น และอาจจะเป็นอารมณ์ของความรู้สึกแบบคนในยุคสงครามเย็น ที่ไม่มีความใส่ใจในเรื่องของความมั่นคงเท่าใดนัก อาจจะเป็นเพราะว่าประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงของโลก โลกในยุคหลังสงครามเย็นนั้น ยุ่งยากเกินกว่าที่จะทำความเข้าใจ, หลากหลายเกินกว่าที่จะรับรู้, และกว้างขวางจนขาดความตระหนักถึงปัญหา. ประเด็นทั้งสาม ไม่ว่าจะยุ่งยาก, หลากหลาย, หรือกว้างขวาง, สิ่งที่เราได้เห็นก็คือ สังคมรวมถึงหลายๆ คน ที่อยู่ในภาครัฐนั้น มองไม่เห็นมิติความเปลี่ยนแปลงของความมั่นคงที่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็น

แต่ถ้าเราตั้งสติสักนิดหนึ่ง เราจะเห็นว่าโลกนับตั้งแต่ปี ๑๙๙๐ - ๑๙๙๑ เป็นต้นมานั้น ปัญหาความมั่นคงไม่มีอะไรเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเป็นแบบเก่าในลักษณะที่เราคุ้นเคย ปัญหาความมั่นคงของโลกไม่ใช่ประเด็นที่เป็นปัญหาด้านการทหารเป็นหลัก เหมือนอย่างที่เราคุ้นเคยตั้งแต่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ปัญหาความมั่นคงในยุคหลังสงครามเย็นกลายเป็นปัญหาใหม่ ๆ เป็นปัญหาที่ท้าทาย และแทรกซ้อนให้เราต้องคิด ไม่ว่าจะเป็น

- ปัญหาความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม
- ปัญหาความมั่นคงของมนุษย์
- ปัญหาองค์การอาชญากรรมข้ามชาติที่อยู่ในลักษณะของการค้ามนุษย์ ค่ายาเสพติด ค้าอาวุธ
- ปัญหาแรงงานข้ามชาติ
- ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรม และ
- ปัญหาในเชิงมิติของอารยะธรรม

หลังสงครามเย็น: การแย่งชิงทรัพยากร
ปัญหาความมั่นคงที่เอ่ยถึงเป็นประเด็นที่พวกเรายังไม่คุ้นเคย ส่วนใหญ่ในกองทัพนั้นจะคุ้นเคยกับประเด็นด้านการทหารแบบเดิมเป็นหลัก แต่เมื่อมิติความมั่นคงหรือสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงของโลกเปลี่ยนไปนั้น ปัญหาเก่า ๆ ที่เราคุ้นเคยได้หมดไป สงครามก็เช่นเดียวกันมีเนื้อหาใหม่ๆ พร้อมกับมีเทคนิคใหม่ ๆ ที่ท้าทายให้เราต้องคิด เราได้ถกกันมากในทุกเหล่าทัพในเรื่อง Revolution in Military Affairs หรือ RMA (1) แต่สิ่งที่ต้องคิดก็คือ สงครามที่เป็นจริงนั้น เกิดในลักษณะคู่ขนานในยุคหลังสงครามเย็น คือสงครามที่มีทั้งมิติของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และสงครามทีไม่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่สำคัญสิ่งที่เราเห็นในยุคหลังสงครามเย็นก็คือ สงครามไม่ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยพลังทางอุดมการณ์แบบเก่า หากแต่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ที่มุ่งสู่การครอบครองดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ

หลังสงครามเย็น: ความขัดแย้งในเรื่องชาติพันธุ์
อีกด้านหนึ่งสงครามถูกผลักดันด้วยเรื่องของเชื้อชาติ และเรื่องของชาตินิยม แต่ไม่ได้หมายความถึงลัทธิชาตินิยมแบบเก่า หากแต่เราเรียกในภาษาอังกฤษ สงครามในยุคหลังสงครามเย็นนั้น กำลังถูกผลักดันด้วยเรื่องของ Nationalism หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นเรื่องของ"ชาตินิยมในมิติของของชาติพันธ์" และสภาพเช่นนี้คือปัญหาที่เราเผชิญ

หลังสงครามเย็น: เป็นสงครามขนาดเล็ก - สงครามกวนเมือง
ในขณะที่ด้านหนึ่ง มิติต่างๆ ของประเด็นด้านความมั่นคงนั้น มีลักษณะที่เป็น Non Traditional เป็นปัญหาใหม่อย่างที่ได้เรียนท่านทั้งหลาย แต่อีกด้านหนึ่ง สงครามไม่ได้มีลักษณะของสงครามในลักษณะที่กองทัพได้ถูกสร้างและถูกเตรียมไว้ แผนการทัพที่พวกเรามีในยุคสงครามเย็นนั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายหลังจากที่สงครามเย็นยุติ เพราะภัยคุกคามแบบเดิมนั้นไม่มีอยู่ ที่เราเคยเขียนไว้ในแผนการทัพนั้นเป็นสิ่งที่ล้มละลาย หลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็น เพราะสงครามในยุคหลังสงครามเย็นมีลักษณะเป็น"สงครามขนาดเล็ก" มีลักษณะเป็น"สงครามกวนเมือง" และมีลักษณะเป็นสงครามที่เกิดขึ้นภายในประเทศ หรืออาจเรียกว่าสงครามแบบนี้มีลักษณะเป็น "SMALL WAR" มากกว่าที่จะเป็น "MAJOR WAR"

แต่ในขณะเดียวกันตามที่ได้กล่าว ในสภาพเช่นนี้เราเห็นสภาพคู่ขนานของสงครามที่มีลักษณะที่เป็นไฮเทค เพราะฉะนั้นสิ่งที่ท้าทายก็คือ ทำอย่างไรที่กองทัพจะเรียนรู้ทั้ง ๒ มิติ กล่าวคือ กองทัพจะต้องเรียนรู้ในมิติของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทหาร เป็นสิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้, แต่ขณะเดียวกัน คนในกองทัพก็ต้องเรียนรู้มิติและธรรมชาติของสงครามที่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็น เพราะมิฉะนั้นแล้วเราจะไม่เห็นสภาพที่เป็นจริงของสงคราม เพราะสงครามในยุคหลังปี ๑๙๙๐-๑๙๙๑ นั้น ถ้ายกเว้นสงครามที่เกิดในอ่าวเปอร์เซียในเดือนมกราคม ๑๙๙๑ แล้ว สงครามที่เหลืออยู่เกือบทั้งหมด เป็นสงครามที่มีขนาดเล็กเกือบทั้งสิ้น

ในสภาพเช่นนี้เราอาจจะทายได้ว่า ถ้าเอาปี ๑๙๙๐ เป็นเกณฑ์ จนถึงปี ๒๐๐๑ เมื่อเกิดเหตุการณ์ถล่มตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ที่สหรัฐฯ จะเห็นได้ว่า ๑๐ ปี หรือ ๑ ทศวรรษ หลังจากยุคสงครามเย็น เราอาจจะเรียกได้ว่าเป็นยุคของสงครามเล็ก แต่แล้ววันหนึ่งสิ่งที่หลายคนต้องตกใจเมื่อเรา เห็นภาพข่าวอาจจะบอกได้ว่าเป็นการใช้พลานุภาพในลักษณะที่เป็นอสมมาตรในความหมายที่เป็น Asymetric Warfare คือการใช้เครื่องบินโดยสารพุ่งเข้าชนเป้าหมายที่เป็น Soft Target ของรัฐที่ตกเป็นเป้าหมายการโจมตี

หลังสงครามเย็น: สงครามก่อการร้าย สงครามในบริบทวัฒนธรรม
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ๑๑ กันยา หลายท่านคงจำได้ดี คงนึกถึงภาพที่ได้ชมทางโทรทัศน์ ถ้าพวกเราสังเกต ผมไม่รู้ว่าคนอย่างพวกเรารวมถึงตัวผมนั้นโชคร้ายหรือโชคดี เราเห็นการเปลี่ยนผ่านของระเบียบโลก หลังจากการยุติของสงครามเย็น. และในวันที่ ๑๑ กันยา เราก็เห็นการเปลี่ยนผ่านของระเบียบโลกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเกิดกรณีเวิลด์เทรด โลกในช่วงหลังสงครามเย็น ๑๐ ปี

จาก ๑๙๙๐-๒๐๐๑ สงครามที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นสงครามเล็ก เป็นช่วงที่โลกมีสันติภาพมากที่สุด ถ้าเราสังเกตเป็นช่วงที่การรบขนาดใหญ่นั้นไม่เกิด ความกังวลต่อปัญหาของสงครามขนาดใหญ่ไม่มีหลงเหลืออยู่ แต่หลังเหตุการณ์วันที่ ๑๑ กันยา โลกเปลี่ยนจากที่เราพูดกันเสมอว่า โลกเปลี่ยนมากที่สุดอีกครั้งหนึ่งในช่วงอายุขัยของพวกเราที่เรายังได้เห็นในภาวะปัจจุบันก็คือ การเปลี่ยนแปลงหลังวันที่ ๑๑ กันยา ในสภาวะเช่นนี้สิ่งที่พวกเราเริ่มเห็นก็คือ "มิติของสงครามมีลักษณะในเรื่องของการก่อการร้าย" หรือกล่าวอีกส่วนหนึ่งก็คือ บริบทของสงครามหรือพลังขับเคลื่อนของสงครามนั้นเริ่มเปลี่ยน อุดมการณ์ที่เราเคยคุ้นเคย อุดมการณ์ที่เราถูกฝึกให้เรียนรู้ในยุคสงครามเย็น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องซ้าย/ขวา, คอมมิวนิสต์หรือทุนนิยมนั้น, ไม่มีหลงเหลืออยู่

วันนี้สิ่งที่เราได้เห็นอุดมการณ์เริ่มมีลักษณะในบริบทของสังคมวัฒนธรรมมากขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือ สงครามที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ ๑๑ กันยา ที่สหรัฐฯ นั้น เป็นสงครามที่เกี่ยวข้องกับมิติของจิตวิญญาณ สงครามเช่นนี้มีลักษณะที่เป็นความรุนแรงขนาดใหญ่ ที่ความรุนแรงไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเป้าหมาย เวลา และสถานที่ หากกล่าวเช่นนี้โดยภาพรวม สิ่งที่เราเห็นนับตั้งแต่เหตุการณ์วันที่ ๑๑ กันยา ก็คือสงครามโดยธรรมชาติที่เราต้องเผชิญ จะเริ่มมีลักษณะเป็นอสมมาตรมากยิ่งขึ้น อสมมาตรในความหมายการต่อสู้ระหว่างคนที่อ่อนแอกว่า กับรัฐที่เข้มแข็งกว่า

โลกที่เปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงไทย
ยิ่งประกอบกับความเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์สถานการณ์ของโลก ความเป็นอสมมาตรของสงครามยิ่งเห็นได้ชัดขึ้น ไม่ว่าเหตุการณ์การวางระเบิดในหลายๆ พื้นที่ก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงที่ผมนำเรียนในพวกท่านทราบนั้น มีผลกระทบโดยตรงต่อปัญหาความมั่นคงของประเทศไทย เพราะประเทศไทยไม่ได้ดำรงอยู่อย่างเป็นเอกเทศ แยกจากบริบทความเปลี่ยนแปลงของการเมืองโลก ยุคหลังสงครามเย็นไทยเผชิญกับปัญหาความมั่นคงใหม่ๆ ไม่ต่างกับรัฐอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาความมั่นคงของมนุษย์ ปัญหาขบวนการอาชญากรระหว่างประเทศ หรือในเรื่องระบาดวิทยา รวมถึงเรื่องของปัญหาการโยกย้ายคนข้ามพรมแดนก็ตาม ประเด็นเหล่านี้ล้วนแต่สร้างปัญหาให้แก่นักยุทธศาสตร์ความมั่นคงไทย ความซับซ้อนที่เกิดขึ้นนั้น มีมากกว่าในอดีต

ในขณะเดียวกันถ้าปัญหาเช่นนี้ได้สร้างความปวดหัวให้กับหมู่นักความมั่นคงไทย ปัญหาเช่นนี้ก็สร้างความปวดร้าวให้กับนักการทหารไทย เพราะโดยข้อสรุปก็คือ กองทัพอยู่ในสภาวะของการไม่มีภัยคุกคามที่ชัดเจน การขอทรัพยากรเพื่อพัฒนากองทัพนั้น ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป สภาวะของไทยในยุคหลังสงครามเย็น ผมคิดว่าหลายท่านคงนึกออก เราเผชิญปัญหาสถานการณ์หลายๆ อย่าง รวมถึงสิ่งที่เราละเลยไม่ได้ และยังเป็นผลสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ก็คือ ผลของวิกฤติการณ์ด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาจากการลดค่าเงินบาทของประเทศเราเอง ในขณะที่เรายังจัดตัวเองไม่ลงตัวว่าอนาคตของกองทัพไทย อนาคตของความมั่นคงไทยจะเดินอย่างไร

ในยุคหลังสงครามเย็น ประเทศไทยโดยสภาพก็เผชิญกับปัญหาใหม่ที่สุดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิลด์เทรด ผลกระทบต่อไทยที่เป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอกนั้น ไม่ต่างกับปัญหาการยุติของสงครามเย็น. มีวาทะในเรื่อง 9.11 ยังเป็นประเด็นที่ไม่จบในวงวิชาการ และในวงนักความมั่นคงภายในสังคมไทย สิ่งที่เราได้เห็นก็คือปัญหาผลกระทบจาก 9.11 นั้น มีผลต่อสังคมไทยเช่นเดียวกับสังคมอื่น. ปัญหาที่ใกล้ตัววันนี้ ผมคิดว่าสิ่งที่เราได้เริ่มเห็นก็คือความเปลี่ยนแปลงที่มีบริบทของสังคมและ วัฒนธรรมที่มากขึ้น ปัญหาที่ใกล้ตัวเราเริ่มเห็นตัวอย่างของการก่อการร้าย ไม่ว่าจะเป็นสารีคลับที่บาหลี และที่มาริออตที่ จาการ์ตา

สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนที่ดีให้เราเริ่มต้องคิดมากขึ้น เป็นสัญญาณเตือน ให้ทั้งนักความมั่นคง และนักการทหารต้องตระหนักถึงปัญหา มองความเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเปลี่ยนแปลงในอนาคต ใน ๕-๑๐ ปีข้างหน้านั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า มิติด้านจิตวิญญาณ มิติด้านสังคมวัฒนธรรมนั้น จะมีผลกระทบอย่างมากต่อปัญหาความมั่นคงของประเทศ นักรบในอนาคตที่กองทัพหลายประเทศต้องเผชิญ เพราะอาจไม่ได้อยู่ในรูปของทหาร แต่อาจจะอยู่ในรูปของนักรบมากกว่าคนที่แต่งเครื่องแบบ เพราะฉะนั้นในสภาพอย่างนี้ เป็นการตอกย้ำว่าสงครามในอนาคตหรือปัญหาความมั่นคงในอีกส่วนหนึ่งที่ต้องเผชิญ มันมีลักษณะเป็นอสมมาตรมากขึ้น คำถามต่อไปถ้าเช่นนั้นกองทัพไทยจะเตรียมตัวอย่างไร

กองทัพไทยจะปรับเปลี่ยนไปสู่โลกอนาคตอย่างไร ?
ในสภาวะของความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่บุคคลในกองทัพจะต้องปรับตัว การปรับตัวส่วนหนึ่งยังเป็นปัญหาอยู่ นับตั้งแต่มีการปฏิรูประบบราชการพลเรือนจนถึงวันนี้ การปฏิรูปโครงสร้างและองค์กร ตลอดรวมถึงกฎระเบียบต่างๆ ภายในกองทัพของไทยนั้น ยังไม่เป็นจริง

ปัญหาสิ่งที่น่าคิดต่อก็คือ ถ้าสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์เปลี่ยนแปลงอย่างที่เรากล่าวถึงกันนั้น กองทัพไทยจะปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่โลกอนาคตอย่างไร ในความเปลี่ยนแปลงอีกส่วนหนึ่ง ในเรื่องอสมมาตร สิ่งที่เราเห็นมากขึ้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗ ทางภาคใต้ของเราเองนั้น แต่เป็นอสมมาตรที่เกิดขึ้นในบริบทไกล ซึ่งนักการทหารในสังคมไทยนั้นอาจจะหลงลืมไปพร้อมกับกาลเวลา คือเรื่องของการก่อความไม่สงบ ตำราทหารในกองทัพไทยมักจะแปลเรื่องของ Counter Insurgency การป้องกันและปราบปรามการก่อความสงบ แต่ผมคิดว่าคำแปลที่เกิดขึ้นนั้นผิด เพราะสื่อในเชิงภาษาให้กับผู้คนในกองทัพด้วยความเข้าใจผิดว่าการก่อความไม่สงบนั้น สามารถเอาชนะได้ด้วยการปราบปราม โดยเนื้อแท้แล้วการก่อความไม่สงบนั้น ไม่สามารถเอาชนะได้ด้วยการปราบปราม การปราบปรามจะยิ่งนำพารัฐและสังคมเข้าไปสู่กับดักของความรุนแรง

บทเรียนไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศสในแอลจีเลีย, สหรัฐฯ ในเวียดนาม, โซเวียตในอัฟกานิสถาน, ล้วนแต่เตือนให้เราเห็นอย่างหนึ่งก็คือ ปัญหาการก่อความไม่สงบนั้น แม้ว่าจะเป็นบทเรียนเก่าที่กองทัพไทยอาจจะเคยสนทนาในเวทีสัมมนาทั้งในบ้านหรือนอกบ้านว่า เราประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์ แต่วันนี้บทเรียนเหล่านั้นได้หวนมาท้าทายให้เราต้องคิดต่อว่า อสมมาตรในมิติของการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นภายในบ้านของเราเองนั้น รัฐและกองทัพรวมถึงสังคมจะปรับตัวอย่างไร ในขณะเดียวกัน ความเป็นอสมมาตรเช่นนี้ ยังคู่ขนานกับปัญหาความมั่นคงใหม่ๆ ดังที่ได้นำเรียนให้ทราบในเบื้องต้น

ความมั่นคงไม่ใช่แบบเดิมอีกต่อไป (Non Traditional Security)
ปัญหาความมั่นคงในลักษณะ Non Traditional Security นั้นไม่ได้หมดไป สังคมไทยยังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาความมั่นคงของมนุษย์ ไม่เปลี่ยนและไม่แตกต่างไปจากเดิม ถ้าเป็นเช่นนั้นสิ่งที่เราจะเริ่มเห็นก็คือ สภาวะที่ท้าทายต่อเรื่องการปรับน้อย เหนือจากองค์กรโครงสร้างแล้ว สิ่งที่บุคคลในกองทัพอาจจะถกกันในหลายครั้งหลายครา แต่ดูเหมือนว่าเป็นการถกที่ไม่มีข้อยุติ นอกจากสถานการณ์นำพาตัวเราไปสู่คำตอบไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Peace Keeping ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Military Operations Other Than War แต่วันนี้ สิ่งที่คู่ขนานกับ Peace Keeping และเราอาจจะต้องคิดเรื่องเก่า คือเรื่องของ Counter Insurgency หรือ COIN ในสำนวนเดิมที่เราใช้กับของสหรัฐฯ ในสภาพเช่นนี้ผมคิดว่าไม่ง่ายที่บุคคลในกองทัพไทยเคยชินกับเรื่องที่เราอยู่ในยุคสงครามเย็น แต่วันนี้ความท้าทายที่เกิดขึ้นก็คือ ไม่มีอะไรเหมือนเดิมให้เราคิดได้แบบเก่าอีกต่อไป

ขบวนการคิด ขบวนการวางทักษะของเราในการมองปัญหาแบบเก่านั้นไม่เอื้อให้เราแก้ปัญหาในอนาคต สิ่งที่ท้าทายกองทัพคืออะไร? คือ Generation ต่อไปของกองทัพอากาศ เพราะการสร้างและการพัฒนากองทัพของเรานั้น ส่วนหนึ่งขึ้นกับการพัฒนายุทโธปกรณ์ที่มีอยู่ภายในกองทัพ หลายท่านคงทราบดีว่า ในมุมมองของรัฐบาลนั้น รัฐบาลต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในกองทัพ เพื่อจะทำให้กองทัพก้าวเข้าไปสู่ภาวะที่ความเป็น Digital Air Force

Digital Air Force ไม่ได้เกิดบนพื้นฐานของ Platform การมี Platform ที่เป็นดิจิตอล นั่นมิได้หมายความว่าทำให้ขบวนการคิดของเราเป็นดิจิตอล. ดิจิตอลเกิดขึ้นได้ด้วยความเป็นจริงก็คือ เกิดขึ้นจากขบวนการคิดและขบวนการปรับทักษะ. ผมดีใจทุกครั้งที่มีบรรยาย เพราะผู้ใหญ่ในกองทัพอากาศซึ่งเป็นนักวิชาการนั้น จะเริ่มเปิดประเด็นในเรื่องของดิจิตอล. แต่วันนี้สิ่งที่ท้าทายให้เราคิดต่อก็คือ การพัฒนากองทัพอากาศในอนาคตที่จะก้าวเข้าสู่ความเป็นดิจิตอลอย่างที่เราได้พูดถึงนั้น ทำอย่างไรที่เราจับขบวนคิดกระบวนทัศน์ของพวกเรากันเอง ความท้าทายเหล่านี้ผมคิดว่ามันมีประเด็นมากมายหลากหลาย ซึ่งก็เคยได้ถกแถลงกันในสถานศึกษาหลายต่อหลายครั้ง แต่วันนี้หลายท่านที่ได้อ่านหนังสือพิมพ์เมื่อไม่กี่วัน คงได้รับทราบว่าคณะรัฐมนตรีนั้น ได้ส่งเรื่องการปรับหรือตัว พ.ร.บ.ร่างของกระทรวงกลาโหมกลับคืนให้แก่กองทัพ เพื่อขอให้กองทัพปรับจริงๆ มิใช่ปรับแต่ไม่ปรับ เพราะฉะนั้นความท้าทายประการแรกในเรื่องทั้งหมด ผมคิดว่าวันนี้ไม่มีอะไรมากไปกว่าความท้าทายในเรื่องความคิด

ปัญหา พ.ร.บ. กระทรวงกลาโหมจะเป็นตัวอย่าง และปัญหา พ.ร.บ.กระทรวงกลาโหมในมุมมองของรัฐบาลว่า ผมไม่ต้องการเห็น พ.ร.บ. กระทรวงกลาโหมเป็นร่าง พ.ร.บ.ราชภัฎ ฯ นั้นหมายความว่ากองทัพต้องไม่สร้างปัญหาทางกฎหมายให้กับรัฐบาล ในมิติตรงนี้ในขณะเดียวกันผมคิดว่า ภาพสะท้อนของปัญหาทางความคิดที่ชัดเจนก็คือ วันนี้เราเผชิญกับปัญหาความมั่นคงใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ภาคใต้เป็นตัวอย่าง หลังเหตุการณ์วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗ หลายท่านคงทราบดีว่ากลายเป็นปัญหาความมั่นคงใหญ่ให้กับรัฐบาล สำหรับตัวผมแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ วันนี้นอกเหนือจากข้อถกเถียงกันว่าใครทำ ใครไม่ได้ทำ, ใครผิด ใครไม่ผิด, ผมคิดว่าข้อถกเถียงที่ใหญ่ที่สุดก็คือ อะไรคือขบวนการคิดที่ดีที่สุดซึ่งจะแก้ปัญหาความมั่นคงภายในรัฐบาลของเราเอง

ปัญหาก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้น สามารถแก้ไขด้วยมาตรการของการใช้กำลังได้หรือไม่ ถ้าท่านสังเกตสงครามในภาคใต้ที่เกิดในกรุงเทพ ฯ นั้น เป็นสงครามระหว่างคน ถ้าใช้ในภาษายุคสงครามเย็น คือสงครามระหว่างเหยี่ยวกับพิราบ ไม่มีอะไรมากกว่านั้น แต่เป็นการต่อสู้กันในขบวนการคิดว่าอะไรคือยุทธศาสตร์ที่ดีกว่า อะไรคือยุทธวิธีที่ดีกว่าในการต่อสู้กับปัญหาความมั่นคงใหม่ๆ ที่เราเผชิญโลกในอนาคต ไม่มีอะไรเหมือนเก่าให้เราคิดได้แบบเดิมอีกต่อไป การสร้างความคิดใหม่เพื่อเดินทะลุกำแพงความคิดเก่าๆ นั้น เป็นสิ่งที่ต้องเกิด

วันนี้ ๙๐ ปี กองทัพอากาศ ถ้าเราไม่คิดเราจะกลายเป็น ๙๐ ปีของคนแก่ ตามที่ผมนำเรียนให้ท่านทราบ ความภูมิใจของผมเวลาที่ผมออกไปเรียนหนังสือที่ต่างประเทศนั้น คือการพูดคุยกับเพื่อนนายทหารต่างประเทศ ถึงอายุของกองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทยเป็นกองทัพที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ถ้าโดยอายุเราอยู่ห่างจากความสำเร็จของพี่น้องตระกูลไรท์เพียง ๑๐ ปี ในยุคนั้นหลายประเทศรอบๆ บ้านเรายังเป็นอาณานิคม ซึ่งในยุคนั้นหลายประเทศไม่มีประเทศใดคิดถึงเรื่องเครื่องบิน บรรพชนของเราคิดไกล คนเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นคิด Beyond Visaul Range… แต่วันนี้สิ่งที่ผมท้าทายให้ท่านคิดมากกว่าก็คือ ท่านต้องคิดให้เหมือนที่เป็น Beyond Visaul Range ให้ได้ มิฉะนั้น ๙๐ ปีของกองทัพอากาศไทยเราจะเป็นเพียง ๙๐ ปีของคนแก่ แต่กองทัพอากาศต้องไม่แก่ ประเด็นอย่างนี้อย่างที่ผมนำเรียนว่าโลกข้างหน้าท้าทายเราอยู่ตลอดเวลา

ความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว RMA (Revolution in Military Affairs) ที่เกิดขึ้นในสงครามอ่าวเปอร์เซีย ปี ๑๙๙๑ RMA ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา สงครามทางอากาศในปี ๒๐๐๑ ในอัฟกานิสถานนั้น หลายท่านคงได้ยินสิ่งที่ผมพูดท้าทายคนในกองทัพอากาศมากกว่ากองทัพอื่น ถ้าความสำเร็จของสงครามอ่าวเปอร์เซียในปี ๑๙๙๑ บอกเราว่ากองทัพอากาศเป็นพระเอก เพราะข้อถกเถียงทางวิชาการหลังสงครามอ่าวเปอร์เซียนั้น เป็นข้อถกเถียงที่ใหญ่มากในวิชายุทธศาสตร์ ก็คือรัฐสามารถเอาชนะสงครามได้ด้วยเพียงการใช้พลานุภาพหรือไม่ แต่สิ่งที่ผมคิดว่าท้าทายมากกว่าก็คือในปี ๒๐๐๑ ในอัฟกานิสถานนั้น เรามี UAV (unmanned aerial vehicle) (2) ที่เข้าทำการรบ คือเรามีเครื่องบินที่ไม่มีคนขับบินเข้าทำการรบ เทคโนโลยีเรากำลังถูกท้าทายมากขึ้น

โลกในอนาคตในมิติของสงคราม Robotic Warfare
โลกในอนาคตในมิติของสงคราม เรากำลังก้าวเข้าสู่ Robotic Warfare กล่าวคือสงครามกระทำได้ด้วยกลไกที่เป็น Autonomous ถ้าปี ๒๐๐๑ เปิดบริบทใหม่ท้าทายคนในกองทัพอากาศ วันหนึ่งท่านอาจจะมีอากาศยานครึ่งหนึ่งในกองทัพที่ไม่มีนักบิน ถ้าเช่นนั้น การคิดถึงการบริหารจัดการจะทำอย่างไร การปรับตัวจะทำอย่างไร พอถึงปี ๒๐๐๓ ในอิรักทุกอย่างแทบจะเป็นสมมาตรหมด กล่าวคืออาวุธที่ใช้ในสงครามในอิรักนั้น เป็นสมมาตรเกือบทั้งหมด ความท้าทายเช่นนี้อย่างที่ได้นำเรียนให้ทราบ เช่นเดียวกับหลังสงครามเย็น สงครามท้าทายขบวนการคิดของคนในกองทัพในสองบริบทตลอดเวลา สงครามที่ไฮเทคอย่างที่เราเห็นในสงครามอัฟกานิสถานและอ่าวเปอร์เซีย แต่สิ่งที่ท้าทายในอีกมิติหนึ่ง สงครามมีความเป็นอสมมาตรมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่เราจะฝึกคนของเรา ทำอย่างไรที่เราจะให้การศึกษาคนของเราเพื่อให้รู้เท่าทันและมองเห็นอนาคตร่วมกัน แต่ที่สำคัญคือ ทำอย่างไรที่เราจะสร้างกองทัพของเราให้สามารถรองรับต่อความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางยุทธศาสตร์อย่างที่ผมนำเรียนให้กับพวกท่านได้ทราบ

พ.อ.อ.คำนวณ กัลปารี ถอดเทป
น.อ.ชานนท์ มุ่งธัญญา ตรวจ

ที่มาของข้อมูล : http://www.do.rtaf.mi.th/%5CArticle/detail.asp?id=5

เชิงอรรถ - จากสารานุกรมวิกีพีเดีย
(1) RMA - The military concept of Revolution in Military Affairs (RMA) is a theory about the future of warfare, often connected to technological and organizational recommendations for change in the United States military and others. Especially tied to modern information, communications, and space technology, RMA is often linked to current discussions under the label of Transformation and total systems integration in the US military.

(2) UAV - An unmanned aerial vehicle (UAV) is an aircraft with no on-board pilot. UAVs can be remote controlled or fly autonomously based on pre-programmed flight plans or more complex dynamic automation systems. UAVs are currently used in a number of military roles, including reconnaissance and attack. They are also used in a small but growing number of civil applications such as firefighting where a human observer would be at risk, police observation of civil disturbances and scenes of crimes, and reconnaissance support in natural disasters.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

2. มุมมองต่างประเทศ
การจัดการความขัดแย้งเพื่อการพัฒนา: หลักการ ความก้าวหน้าและสิ่งท้าท้าย
(1)

ความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงทำลายชีวิตและการพัฒนา

1. ไม่มีสิ่งใดจะเป็นภัยคุกคามปณิธานของการพัฒนาได้มากยิ่งไปกว่า ภัยจากความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงเข้าแก้ปัญหา คนยากจนส่วนใหญ่ของโลก ล้วนอาศัยอยู่ในประเทศซึ่งได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทั้งสิ้น ความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหานั้น ทำลายผลลัพธ์ของการพัฒนาซึ่งได้มาโดยยาก ขัดขวางความคืบหน้าอันจะนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals--MDGs) และเป็นอุปสรรคของความเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากจะก่อให้เกิดความสูญเสียด้านความเติบโตทางเศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพโดยตรง ซึ่งวัดออกมาเป็นตัวเลขได้แล้ว ก็ยังสร้างความเสียหายต่อมนุษย์, ต่อสังคมและต่อจิตใจในวงกว้าง(และมักมีลักษณะซ่อนเร้น), ต่อบุคคล, ชุมชน, และประเทศทั้งหลายที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้งดังกล่าวด้วย

2. นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1980) เป็นต้นมา เกิดการทำสงครามกันด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์กว่า 125 ครั้ง ทำลายชีวิตผู้คนรวมกันทั้งหมดอย่างน้อย 7 ล้านคน ประมาณกันกว่าร้อยละ 75 ของคนที่ตายเป็นพลเรือน (2). ในจำนวนประเทศยากจน 34 แห่งซึ่งมีโอกาสที่จะบรรลุจุดหมายของ MDGs (การพัฒนาแห่งสหัสวรรษ - Millennium Development Goals) ได้น้อยมากนั้น มีอยู่ 22 ประเทศซึ่งตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง หรือไม่ก็เพิ่งจะโงหัวขึ้นมาได้ (3) ความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาลแก่คนยากคนจนมาโดยตลอด

3. ในขณะที่ความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงเข้าแก้ปัญหาเป็นตัวถ่วงการพัฒนา การพัฒนาแบบผิดๆ ก็สามารถทำให้ความขัดแย้งเลวร้ายลงไปอีกได้เช่นกัน ความช่วยเหลือด้านการพัฒนามีอิทธิพลต่อพลวัตทางการเมืองของความขัดแย้ง เช่น สามารถนำทรัพยาการที่เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ในแบบซึ่งจะเป็นการโหมความตึงเครียดในพื้นที่เข้าไปให้ เป็นต้น การที่งานพัฒนาจะเป็นตัวช่วยหรือตัวบ่อนเซาะ การป้องกันความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง จึงขึ้นอยู่กับว่า การออกแบบ การลงมือปฏิบัติและการประเมินผลงานพัฒนานั้น ได้นำข้อพิจารณาเรื่องความขัดแย้งมาผนวกเอาไว้ด้วยอย่างละเอียดถี่ถ้วนหรือไม่

4. สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับผลลัพธ์ด้านลบของความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง ก็คือ การที่คนบางพวกใช้และสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง เพื่อประโยชน์ทางการเมืองและประโยชน์ส่วนตัว ความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงมักจะก่อให้เกิดดินแดนอันไร้ขื่อแป ซึ่งสามารถช่วยเกื้อหนุนการดำเนินงานของพวกผู้บงการความขัดแย้งข้ามชาติ รวมทั้งพวกลักลอบค้าอาวุธ ทรัพยากรธรรมชาติและยาเสพติดได้

การแก้ไขความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงหมายถึงการแก้ไขปัญหาหลักของความขัดแย้ง

5. การเข้าใจความขัดแย้งอย่างแจ่มแจ้งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง แต่เรามักจะใช้คำๆ เดียวกันนี้ในแบบต่างๆ ความขัดแย้งไม่ได้หมายถึงสงคราม ไม่ได้เทียบเท่ากับความรุนแรง. ความขัดแย้ง เป็นเพียงการแสวงหาผลประโยชน์ที่ตรงกันข้ามหรือไปด้วยกันไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ระหว่างบุคคล กลุ่มหรือประเทศเท่านั้นเอง ส่วนวิธีการต่างๆ ที่จะแสวงหาผลประโยชน์นั้นอาจจะมีลักษณะรุนแรงหรืออาจจะไม่รุนแรงก็ได้

6. สิ่งที่จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นก็คือ "ความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง" ไม่ใช่ตัวความขัดแย้ง. ความขัดแย้งนั้นมีอยู่ในทุกๆ สังคมตลอดเวลา และไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นไปในทางลบ หรือเป็นการทำลายล้างกัน. งานของเราจึงไม่ใช่การหาทางกำจัดความขัดแย้ง แต่เป็นการหาทางให้กลุ่มต่างๆ แสวงหาเป้าหมายที่ไปด้วยกันไม่ได้ โดยปราศจากการหันไปใช้ความรุนแรงต่างหาก. หากเราเพิ่มตัวเลือกเสริมและทางเลือกให้มากขึ้น เราก็จะลดโอกาสของการเกิดความรุนแรงลงไปได้. แม้ว่าความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงจะยุติลง ความขัดแย้งก็ยังคงมีอยู่ต่อไปอีก. เกือบครึ่งหนึ่งของสงครามกลางเมืองปะทุขึ้นมาใหม่ภายในรอบห้าปีนี้ (4) ก็เนื่องมาจากความขัดแย้งยังยืดเยื้อต่อไป แม้ว่าเสียงปืนจะสงบลงไปแล้วก็ตาม เป้าหมายทั้งหลายของกลุ่มต่างๆ ก็ยังคงอยู่อย่างเดิม และเมื่อกลุ่มเหล่านี้ไม่เห็นทางเลือกอื่นที่พอจะปฏิบัติได้ พวกเขาก็หันกลับไปใช้ความรุนแรงอีก

7. การทำงานร่วมกับกลุ่มอื่นๆ ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นโดยตลอดว่า การช่วยกันหาทางเลือกออกจากความรุนแรงนั้นสามารถทำได้. ในระยะยาวแล้ว หากเราเพิ่มศักยภาพของผู้มีบทบาทภายนอก และฝ่ายต่างๆ ที่เป็นคู่กรณีโดยตรง ให้สามารถจัดการความขัดแย้งได้โดยสันติ เราก็จะลดโอกาสของการเกิดความรุนแรงลงไปได้

8. การจัดการเฉพาะกับอาการผลกระทบและผลลัพธ์ของความรุนแรง โดยไม่จัดการโดยตรงกับการแก่งแย่งผลประโยชน์กันระหว่างกลุ่มต่างๆ ไม่น่าจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงในอนาคตได้ การเข้าใจความแตกต่างตรงนี้ได้อย่างถ่องแท้ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาให้เกิดแผนงานเชิงยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขความขัดแย้ง

9. ในทำนองเดียวกัน การบังคับผู้คนไม่ให้ลงมือกระทำการที่เป็นความรุนแรง อย่างเช่น ด้วยการใช้มาตรการลงโทษ (Sanctions) หรือข่มขู่ว่าจะโต้กลับ (Counterattack) โดยตัวของมันเองแล้ว ไม่ได้แก้ไขปัญหาพื้นฐานของความขัดแย้งแต่อย่างใด แม้ว่าการยับยั้งความรุนแรงจะเป็นเรื่องจำเป็น แต่ก็ยังไม่พออยู่ดี

10. มักจะมีการใช้แนวคิดเรื่อง 'วัฏจักรความขัดแย้ง (Conflict cycle)' เพื่อแยกแยะบริบทที่เกิดขึ้นก่อน, เกิดขึ้นระหว่าง, และเกิดขึ้นหลังความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง. งานเรื่องความขัดแย้งนั้นมักจะมีการแยกย่อยออกไปเป็น การป้องกันความขัดแย้ง (Conflict prevention), การจัดการความขัดแย้ง (Conflict management), และการสร้างสันติภาพ (Peacebuilding). ในหลายๆโอกาส การแบ่งประเภทเหล่านี้อาจจะเป็นประโยชน์อยู่ก็จริง แต่ประเด็นสำคัญก็คือแก่นแท้ของการแก้ไขความขัดแย้ง เป็นเรื่องของการแก้ไขการแก่งแย่งผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ ด้วยวิธีการที่ช่วยลดทอนโอกาสที่จะเกิดความรุนแรงขึ้น. ที่กล่าวมานี้ใช้กับกรณีที่มีแววว่าจะเกิดความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง, กรณีที่ความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงกำลังดำเนินอยู่, และ กรณีที่ความขัดแย้งดังกล่าวยุติลงแล้วโดยเสมอหน้ากันหมด

11. การแย่งชิงผลประโยชน์เรื่องทรัพยากรธรรมชาติระหว่างกลุ่มต่างๆ มักจะเป็นปัจจัยสำคัญของความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง การที่สามารถทำรายได้ก้อนงามจากทรัพยากรธรรมชาติมูลค่าสูง อาจจะเป็นปัจจัยเพิ่มความเข้มข้น เป็นแหล่งเงินสนับสนุนและช่วยหล่อเลี้ยงความรุนแรงให้คงอยู่ต่อไป. รายรับทางการเงินเหล่านี้สามารถที่จะส่งผลนำไปสู่การการแก่งแย่งกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีอำนาจควบคุมและมีอิทธิพลเหนือทรัพยากรเหล่านี้ต่อไป ซึ่งก็จะก่อให้เกิดการแย่งชิงผลประโยชน์ชุดใหม่ขึ้นมาอีก

พันธะผูกพันที่มีมากขึ้นและความคืบหน้าที่สำคัญ

12. ในอดีตมีการมองว่า "งานพัฒนา" และ"งานเรื่องความขัดแย้ง"เป็นคนละเรื่องกัน และโดยหลักๆ แล้วไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน. แต่ในแวดวงระหว่างประเทศขณะนี้ เริ่มจะตระหนักกันมากขึ้นถึงความสำคัญของความขัดแย้งเพื่อการลดความยากจน และตระหนักถึงเรื่องที่ว่า จะต้องให้ความขัดแย้งเป็นศูนย์รวมของการทำกิจกรรมการพัฒนาทั้งหลาย. ผลการค้นคว้าวิจัยจากสหราชอาณาจักร และองค์กรระหว่างประเทศทั้งหลาย ล้วนชี้ว่า หากไม่มีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เราก็จะไม่สามารถลดความยากจน หรือจัดการกับปัญหาใหญ่ๆ ที่กำลังท้าทายโลกได้ ผู้คนเกิดความเข้าใจกันแล้วว่า การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเป็นเรื่องจำเป็น ยิ่งกว่าความช่วยเหลือด้านการพัฒนาที่ให้กันจนเป็นมาตรฐานเสียอีก

13. ชุมชนงานพัฒนาเริ่มที่จะแปรสภาพการทำงาน จากที่เคยทำกิจกรรมกัน"อยู่รอบๆ"ความขัดแย้ง ไปเป็นการเข้าไปทำงาน"อยู่"ในความขัดแย้ง และทำงาน"เกี่ยวกับ"ความขัดแย้งเลย. แต่เดิมนั้น มีการมองความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงในฐานะภัยคุกคาม หรือไม่ก็สิ่งกีดขวางที่ควรหลีกเลี่ยงมาโดยตลอดด้วยการทำงาน"อยู่รอบๆ"ความขัดแย้ง เพราะมีความเสี่ยงทางการเมือง ความมั่นคงและอื่นๆ อยู่. แต่ชุมชนการพัฒนาปัจจุบัน เริ่มที่จะปรับการทำแผนงานของตนให้ยอมฟังและรับข้อเสนอแนะเรื่องปัญหาความขัดแย้ง รวมทั้งเริ่มตระหนักว่าเราจะต้องทำงาน"อยู่ใน"ความขัดแย้งกันได้แล้ว แต่ตอนนี้เราจำเป็นต้องมาพิจารณากันว่า ทำอย่างไรงานของเรา นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลร้ายแล้ว ยังสามารถช่วยแก้ไขความขัดแย้งได้อย่างจริงจังด้วย หมายความว่าสามารถทำงาน"เกี่ยวกับ"ความขัดแย้งได้โดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพ

14. เหตุผลของการป้องกันความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง โดยอ้างมูลเหตุซึ่งเป็นเรื่องของมนุษย์ ยุทธศาสตร์ และการเงินการคลัง ได้รับการยอมรับพอสมควรว่าเป็นประเด็นที่วงการเมืองระหว่างประเทศจะต้องดูแลแก้ไข

15. ความพยายามร่วมกันในการแก้ไขความขัดแย้ง ทำให้เกิดผลสำเร็จที่แท้จริง และมีนัยสำคัญตามมาหลายประการ. มีการค้นพบสิ่งใหม่ในกระบวนการสันติภาพหลายอย่าง มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายของรัฐบาล เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียดลง และสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงได้. ในระดับโลก ความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธต่อกันกำลังลดจำนวนลง. งานวิจัยเสนอว่า (5) หลักๆ แล้ว นี่มีสาเหตุมาจากการที่ชุมชนระหว่างประเทศใช้ความพยายามมากขึ้นในการแก้ไขความขัดแย้ง แม้ว่าพันธะผูกพันของประชาคมโลกในเรื่องนี้จะยังมีไม่มากนักก็ตาม

สิ่งท้าทายใหม่ๆ และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

16. แม้ว่าเหตุผลของการจัดการความขัดแย้งจะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมาโดยตลอด แต่การสนับสนุนตลอดจนการประสานงานด้านการเมือง การเงิน และสถาบัน กลับมีลักษณะเรื่อยเฉื่อย. "หากปราศจากพันธะผูกพันอย่างแข็งขันที่จะลงมือกระทำ และศักยภาพที่จะทำให้ได้เสียแล้ว การรับมือกับความขัดแย้งของชุมชนระหว่างประเทศ ก็จะยังคงเป็นไปแบบไม่คงเส้นคงวา และขาดตกบกพร่องอยู่ต่อไปอีก" (สมุดปกขาว ปี 2549: หน้า 48)

17. ในขณะที่ความขัดแย้งเปลี่ยนแปลงไป นโยบายและวิธีการทำงานก็จะต้องเปลี่ยนตามไปด้วย การปรับเปลี่ยนและปรับปรุงงานเรื่องความขัดแย้งยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ในภาวะซึ่งมีสิ่งท้าทายเพิ่มขึ้นมากมาย ได้แก่ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งสามารถทำให้ความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงยืดเยื้อออกไปได้ รวมไปถึงพัฒนาการของระบบความขัดแย้งที่มีลักษณะผสมผสาน และครอบคลุมพื้นที่ระดับภูมิภาค อันจำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์กันให้ลึกซึ้งกว่าการวิเคราะห์ในระดับประเทศเท่านั้น รวมทั้งการแพร่หลาย และการแตกกระจายของกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งไม่มีฐานะเป็นรัฐ สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งและเป็นเรื่องยุ่งยากอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะวางรูปแบบแนวทางสร้างสรรค์เพื่อการให้ความช่วยเหลือที่คำนึงถึงความขัดแย้ง (Conflict-sensitive aid) ในสถานการณ์ซึ่งมีความยุ่งยากได้อย่างไร

เชิงอรรถ

(1) เนื้อหาของเอกสารชุดนี้ แปลและเรียบเรียงจาก Chapter 1: Tackling conflict for development: principles, progress and challenges ของร่างเอกสารชื่อ Addressing Conflict to Reduce Poverty ของกระทรวงการพัฒนาระหว่างประเทศ (Department for International Development--DFID) ของประเทศอังกฤษ

(2) อินเตอร์เนชั่นแนล อเลิร์ต (International Alert), รายงานพิเศษ 20 ปีของการสร้างสันติภาพ, 2549

(3) การลงทุนในการพัฒนา: แผนเพื่อการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ, โครงการสหัสวรรษแห่งสหประชาชาติ (UN Millennium Project), 2549

(4) ปลดกับดักความขัดแย้ง: สงครามกลางเมืองกับนโยบายการพัฒนา (Breaking the Conflict Trap: Civil War and Development Policy), ธนาคารโลก, รายงานการวิจัยนโยบาย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด, 2546

(5) รายงานความมั่นคงของมนุษย์ปี 2548: สงครามและสันติภาพในคริสตศตวรรษที่ 21, ศูนย์ความมั่นคงของมนุษย์, มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย, แคนาดา สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด, 2548 และ มาร์แชลล์และเกอร์, รายงานเรื่องสันติภาพและความขัดแย้ง: การสำรวจกรณีความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ ขบวนการตัดสินใจด้วยตนเองและประชาธิปไตย, ศูนย์กลางเพื่อการพัฒนาและการจัดการความขัดแย้งระหว่างประเทศ , มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์, 2548

 



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
3 November2007

Small War - Major War

ในขณะที่ด้านหนึ่ง มิติต่างๆ ของประเด็นด้านความมั่นคง มีลักษณะที่เป็น Non Traditional เป็นปัญหาใหม่อย่างที่ได้เรียนท่านทั้งหลาย แต่อีกด้านหนึ่ง สงครามไม่ได้มีลักษณะของสงครามในลักษณะที่กองทัพได้ถูกสร้างและถูกเตรียมไว้ แผนการทัพที่พวกเรามีในยุคสงครามเย็นนั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายหลังจากที่สงครามเย็นยุติ เพราะภัยคุกคามแบบเดิมนั้นไม่มีอยู่ ที่เราเคยเขียนไว้ในแผนการทัพนั้นเป็นสิ่งที่ล้มละลาย หลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็น เพราะสงครามในยุคหลังสงครามเย็นมีลักษณะเป็น"สงครามขนาดเล็ก" มีลักษณะเป็น"สงครามกวนเมือง" และมีลักษณะเป็นสงครามที่เกิดขึ้นภายในประเทศ หรืออาจเรียกว่าสงครามแบบนี้มีลักษณะเป็น "SMALL WAR" มากกว่าที่จะเป็น "MAJOR WAR"

แต่ในขณะเดียวกันตามที่ได้กล่าว ในสภาพเช่นนี้เราเห็นสภาพคู่ขนานของสงครามที่มีลักษณะที่เป็นไฮเทค เพราะฉะนั้นสิ่งที่ท้าทายก็คือ ทำอย่างไรที่กองทัพจะเรียนรู้ทั้ง ๒ มิติ กล่าวคือ กองทัพจะต้องเรียนรู้ในมิติของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทหาร เป็นสิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้, แต่ขณะเดียวกัน คนในกองทัพก็ต้องเรียนรู้มิติและธรรมชาติของสงครามที่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็น

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++