โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๙๙ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ (November, 05, 11, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ในสเปน ขนบจารีตอนาธิปไตยมีรากเหง้าที่ลึกซึ้งมาก มันมีการศึกษาถึง ๕๐ ปี, มีการทดลอง, มีความพยายามต่างๆ ซึ่งได้ถูกกดทับ ผมหมายความว่ามันมีอยู่ในจิตใจของผู้คน และเมื่อโอกาสมาถึง พวกเขาจึงเพียงพัฒนาในสิ่งที่มีอยู่พร้อมแล้วในจิตใจของผู้คนเท่านั้น สิ่งที่พวกเขาได้พยายามที่จะทำมาแล้วหลายครั้งซึ่ง ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยทันทีแต่อย่างใด นั่นคือผลลัพธ์ของการศึกษามาหลายทศวรรษ การจัดการอย่างเป็นระบบและมีการปฏิบัติมาจากขั้นรากฐาน, ขณะที่ เวเนซูเอลาเป็นสถานการณ์ที่ต่างออกไปเลยทีเดียว มันกำลังเป็นสิ่งที่ริเริ่มมาจากข้างบน
05-11-2550

Noam Chomsky
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

การต่อสู้กับอำนาจจักรวรรดิ - การทำสงครามกับจักรวรรดิสื่อ
บทสัมภาษณ์นอม ชอมสกี: การปฏิวัติอยู่ใต้ผิวหน้า
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
หลักสูตรสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการต่อไปนี้ กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืนได้รับมาจากผู้เขียน
เป็นเรื่องของบทสัมภาษณ์นอม ชอมสกี ในที่ทำงานของเขา ณ สถาบัน MIT
(Massachusetts Institute of Technology)ในเคมบริดจ์ รัฐเมสซาชูเส็ทท์
สหรัฐอเมริกา. การสัมภาษณ์มีขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๐๐๗ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่ง
ของงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ ๓ ในเวเนซูเอลา ซึ่งในปีนี้จะเพ่งความสนใจไปที่
เรื่องเกี่ยวกับ "สหรัฐอเมริกา: การปฏิวัติเป็นไปได้หรือไม่ ?"
สำหรับบนหน้าเว็บเพจนี้ ได้มีการแบ่งสาระสำคัญของออกเป็น ๒ ส่วน ประกอบด้วย
๑. การต่อสู้กับอำนาจจักรวรรดิ ด้วยพลังประชาชน
๒. การทำสงครามกับจักรวรรดิสื่อ

ในที่นี้ได้ทำเชิงอรรถเพิ่มเติม เพื่อเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียด
ส่วนข้อมูลทั้งหมดนี้ แปลและเรียบเรียงจาก
Noam Chomsky Interview: A Revolution is Just Below the Surface
September 28th 2007, by Eva Golinger

ข้อมูลเว็บไซต์: http://www.venezuelanalysis.com และ
http://www.scoop.co.nz/stories/HL0710/S00011.htm
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๙๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๗.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การต่อสู้กับอำนาจจักรวรรดิ - การทำสงครามกับจักรวรรดิสื่อ
บทสัมภาษณ์นอม ชอมสกี: การปฏิวัติอยู่ใต้ผิวหน้า
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
หลักสูตรสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เกริ่นนำ

วันที่ 21 กันยายน 2007 ข้าพเจ้าได้มีโอกาสพิเศษในการสัมภาษณ์นอม ชอมสกี ในที่ทำงานของเขา ณ สถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology)ในเคมบริดจ์ รัฐเมสซาชูเส็ทท์ สหรัฐอเมริกา. การสัมภาษณ์คราวนี้จะมีการออกอากาศทางวิทยุที่ Venezuelan และโทรทัศน์ลาตินอเมริกา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 3 ในเวเนซูเอลา ซึ่งในปีนี้จะเพ่งความสนใจลงไปที่เรื่องเกี่ยวกับ "สหรัฐอเมริกา: การปฏิวัติเป็นไปได้หรือไม่?" ดังมีสาระต่อไปนี้

1. การต่อสู้กับอำนาจจักรวรรดิ ด้วยพลังประชาชน

EVA: ดิฉันได้อ่านงานของคุณที่พูดถึงอำนาจว่า มันมักจะผิดกฎหมาย เว้นแต่มันจะได้พิสูจน์ตัวเองว่าถูกหลักการ. ด้วยเหตุดังนั้น ในเวเนซูเอลาทุกวันนี้ เรากำลังอยู่ในกระบวนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ และในการปฏิรูปดังกล่าว อำนาจของประชาชนกำลังจะได้รับในทุกส่วนของรัฐธรรมนูญ ในข้อเท็จจริงข้างต้นก็คือ การได้มาซึ่งอำนาจรัฐทั้งหมด, ไม่ว่าจะเป็นอำนาจฝ่ายบริหาร, อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ (the executive, legislative and judicial powers), ในเวเนซูเอลา เรามีการเลือกตั้งและอำนาจของพลเมือง. อันนี้คือตัวอย่างหนึ่งของอำนาจที่เป็นความชอบธรรมได้ไหม? พลังอำนาจของประชาชน? และนี่อาจเปลี่ยนแปลงวิธีการมองเรื่องอำนาจได้ไหม? และเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าลาตินอเมริกา ซึ่งพิจารณาเรื่องการปฏิวัติโบลิวาเรียน(Bolivarian Revolution)(*) ว่ากำลังมีอิทธิพลเหนือประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ใช่หรือไม่ ?
(*)The "Bolivarian Revolution" refers to a mass social movement and political process in Venezuela. Its most prominent leader is Hugo Ch?vez, the founder of the Fifth Republic Movement and the current President of Venezuela. The "Bolivarian Revolution" seeks the implementation of Bolivarianism in Venezuela. Proponents of Bolivarianism trace its roots to an avowedly democratic socialist interpretation of some ideals of Sim?n Bol?var, an early 19th century Venezuelan and Latin American revolutionary leader, prominent in the South American Wars of Independence. Other historical figures often invoked by Ch?vez as emblematic of the "Bolivarian Revolution" are Sim?n Rodr?guez (Bolivar's lifelong mentor) and Ezequiel Zamora.

CHOMSKY: การที่คุณใช้คำว่า"อาจ" นั่นเป็นคำที่ถูกต้อง ใช่เลยมันอาจเป็นเช่นนั้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่า มันถูกจัดเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือให้บรรลุผลอย่างไร ? ในเชิงหลักการ ดูเหมือนว่า นี่เป็นแนวคิดที่ทรงพลังและเชิญชวนจริงๆ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างมักขึ้นอยู่กับเครื่องไม้เครื่องมือที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย. ถ้ามันเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนที่แท้จริงในการตัดสินใจ และความร่วมไม้ร่วมมือของชุมชนอย่างอิสระ แน่นอน นั่นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง. โดยสาระแล้วตามข้อเท็จจริง นั่นคืออุดมคติอนาธิปไตยแบบจารีต. นั่นคือสิ่งที่ได้รับการตระหนักในช่วงเวลาประมาณ 1 ปีในประเทศสเปน ปี ค.ศ.1936 (*) ก่อนที่มันจะถูกบดขยี้ด้วยกำลังต่างๆ จากภายนอก อันที่จริงกำลังจากภายนอกทั้งหมด, สตาลินนิสท์รัสเซีย, ฮิตเลอร์ในเยอรมนี, ฟาสซิสท์ของมุสโสลินี และประชาธิปไตยตะวันตก ที่ได้ร่วมมือกันบดขยี้มันลงไป. พวกเขาต่างกลัวเกรงเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ แต่นั่นเป็นบางสิ่งซึ่งคุณกำลังอธิบาย และถ้ามันสามารถปฏิบัติได้และอยู่รอด พร้อมแพร่กระจายอำนาจลงสู่การมีส่วนร่วมของชุมชนต่างๆ อย่างแท้จริง มันก็อาจเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างที่สุด
(*)The Spanish Revolution (1936) : The role of anarchism in the Spanish Revolution or Spanish Civil War of 1936 is too often absent from histories of this struggle against fascism. Alongside the war millions of workers collectivised the land and took over industry to pursue their vision of a new society. (ดูเพิ่มเติมใน http://flag.blackened.net/revolt/spaindx.html)

EVA: คุณคิดว่ามันเป็นเพียงเรื่องของอุดมคติ หรือสามารถทำให้ปรากฏเป็นจริงได้ ?

CHOMSKY: ผมคิดว่ามันสามารถเป็นไปได้ ปกติแล้วมันจะถูกปราบปราม บดขยี้ โดยอำนาจจากภายนอก เพราะมันถูกพิจารณาว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง…

EVA: แต่ในกรณีนี้ มันเป็นเรื่องที่รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดขึ้น ? รัฐเป็นคนที่ส่งเสริมมันขึ้นมา ?

CHOMSKY: นั่นคือสิ่งที่กำลังเป็นคำถามหรือข้อสงสัยเอามากๆ ว่ามันมาจากรัฐหรือว่ามันมาจากประชาชนกันแน่ ? ตอนนี้ บางทีมันอาจได้รับการริเริ่มมาจากรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม พลังขับเคลื่อนจริงๆ มันมาจากตัวประชาชนเอง นี่เป็นไปได้ที่จะตกอยู่ในรูปการบางอย่างที่กำกับจาก"บนลงล่าง" และนั่นคือคำถามที่แท้จริง. ในประเทศสเปน ปี 1936 เหตุผลของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่เป็นเพราะว่า มันเป็นเรื่องของประชาชน - มันคือสถานการณ์ที่แตกต่างไปเลยทีเดียวจากเวเนซูเอลา

ในสเปน ขนบจารีตอนาธิปไตยมีรากเหง้าที่ลึกซึ้งมาก มันมีการศึกษาถึง 50 ปี, มีการทดลอง, มีความพยายามต่างๆ ซึ่งได้ถูกกดทับ ผมหมายความว่ามันมีอยู่ในจิตใจของผู้คน และเมื่อโอกาสมาถึง พวกเขาจึงเพียงพัฒนาในสิ่งที่มีอยู่พร้อมแล้วในจิตใจของผู้คนเท่านั้น สิ่งที่พวกเขาได้พยายามที่จะทำมาแล้วหลายครั้งหลายคราซึ่ง ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยทันทีแต่อย่างใด นั่นคือผลลัพธ์ของการศึกษามาหลายทศวรรษ การจัดการอย่างเป็นระบบและมีการปฏิบัติมาจากขั้นรากฐาน, ขณะที่ เวเนซูเอลาเป็นสถานการณ์ที่ต่างออกไปเลยทีเดียว มันกำลังเป็นสิ่งที่ริเริ่มมาจากข้างบน และคำถามในที่นี้ก็คือ มันสามารถที่จะน้อมนำไปสู่การมีส่วนร่วมของผู้คน และเป็นนวัตกรรมและพลังขับเคลื่อน และอื่นๆ ได้จริงหรือ ? นั่นคือการทดลองที่มีประวัติศาสตร์ อันนี้ผมไม่รู้คำตอบ

EVA: ดิฉันคิดว่ามันคือการรวมเข้าด้วยกัน เพราะเหตุผลที่มีการรัฐประหารซึ่งกระทำกับประธานาธิบดีชาเวซ เพื่อต้องการโค่นล้มเขา ก็เนื่องมาจากอำนาจของประชาชนนั่นเอง

CHOMSKY: นั่นล่ะ ถูกต้อง

EVA: มันไม่ได้ถูกวางโครงสร้างและค่อนข้างเป็นไปโดยตัวมันเองมากๆ และความคิดที่อยู่เบื้องหลังนี้ก็คือ ด้วยวิธีการใดก็ตาม สร้างมันขึ้น, และดิฉันตั้งคำถามจากมุมมองอนาธิปไตยเช่นเดียวกัน ถ้าคุณวางโครงสร้าง, อำนาจก็จะเข้ามาทำการ…

CHOMSKY: ยุติมัน

EVA: หรือทำให้มันเป็นเรื่องชั่วร้าย เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ก็จะทำลายมันลงเสีย

CHOMSKY: ยุติหรือทำลายมันลง… นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมจึงนำไปเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในสเปน ซึ่งน่าสนใจมากเพราะมันมาจากข้างล่าง ไม่ใช่มาจากเบื้องบน และมันอยู่ที่นั่น เพราะผู้คนต่างผูกมัดกับเรื่องเหล่านี้มาหลายทศวรรษ และพยายามที่จะปล่อยมันออกมา จัดรูปองค์กร และอื่นๆ. อันนี้เป็นขนบจารีตอนาธิปไตยที่มีชีวิต. จริงๆ แล้วมันมีขนบจารีตอนาธิปไตยที่มีชีวิตในลาตินอเมริกา แต่มันถูกบดขยี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ว่าจะเป็นในเม็กซิโก, อเจนตินา, ชิลี, ทั่วไปหมด. อันที่จริงผมมีหนังสือเล่มหนึ่งวางอยู่บนโต็ะ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ลัทธิอนาธิปไตยในชิลี ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่มันมีอยู่ที่นั่น มันซ่อนอยู่ และผมไม่คิดว่าความคิดเหล่านี้ไกลเกินไป มันอยู่ข้างใต้ความสำนึกเกือบจะในทุกๆ ที่ รวมถึงในสหรัฐอเมริกาด้วย

ถ้าคุณพูดคุยกับชนชั้นแรงงาน พวกเขาจะเข้าใจความคิดดังกล่าว, ตามข้อเท็จจริง มันไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่ในสหรัฐฯ แม้ไม่เคยมีฝ่ายซ้ายที่เป็นรูปองค์กรที่ทรงพลัง แต่ในหลายๆ กรณี นั่นคือหนึ่งในสังคมพวกฝ่ายซ้ายมากที่สุดของโลก. ยกตัวอย่างเช่น ในคริสตศตวรรษที่ 19, ช่วงเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม อย่างเช่นรอบๆ บอสตันในที่นี้ มีวรรณกรรมที่มีค่าเกี่ยวกับผู้คนชนชั้นแรงงาน สิ่งที่ได้รับการเรียกว่า"ผู้หญิงโรงงาน" เด็กผู้หญิงที่มาจากไร่นา พวกเธอมาเพื่อทำงานในโรงงานผลิตสินค้าต่างๆ, หรือชาวไอริช, ผู้อพยพในบอสตัน, วรรณกรรมที่มีรสชาติมาก มันเป็นยุคสมัยของสิ่งพิมพ์ที่มีอิสระอย่างที่สุดกว่ายุคใดในประเทศนี้ และมันค่อนข้างสุดขั้วมากทีเดียว

พวกมันไม่ได้เชื่อมโยงกับลัทธิมูลราก(radicalism)ในยุโรป พวกเขาไม่เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับมาร์กซ์ หรือเรื่องใดๆ เลย และมันถูกสมมุติเอาว่า คนทำงานรับค่าจ้างไม่ได้แตกต่างไปมากนักจากแรงงานทาส และถ้าหากว่าคุณให้ใครบางคนเช่าตัวคุณ นั่นก็ไม่ได้แตกต่างไปจากการขายตัวคุณนั่นเอง. อันที่จริงในช่วงสงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา คนงานทางตอนเหนือเป็นจำนวนมาก ซึ่งที่จริงทำการรบภายใต้ธงดังกล่าว ต่างต่อสู้กับทาสที่เป็นสังหาริมทรัพย์ และพวกเขาต่อสู้กับทาสรับจ้าง. สโลแกนมาตรฐานของผู้คนก็คือ "ผู้คนที่ทำงานอยู่ในโรงงานต่างๆ ควรจะเป็นเจ้าของโรงงานและเป็นผู้ดำเนินกิจการ". อันนี้ได้ใช้เวลาเนิ่นนานพอสมควร ก่อนที่จะขับดันสิ่งเหล่านั้นออกจากหัวของพวกเขา

ในทศวรรษที่ 1890s มีอยู่หลายเมืองอย่างเช่น Homestead, Pennsylvania, ที่ได้รับการดำเนินงานและเข้าควบคุมแทนโดยผู้คนชนชั้นแรงงานด้วยความคิดต่างๆ เหล่านี้ และพวกเขายังอยู่ที่นั่น. คุณรู้ว่ามันคือชนิดหนึ่งของการยับยั้งโดยการโฆษณาชวนเชื่อ และการข่มปรามเอาไว้และอื่นๆ แต่นั่น มันเพียงอยู่ข้างใต้ผิวหน้าเท่านั้น และผมจินตนาการว่า บางทีอาจเป็นอย่างเดียวกันนี้ในเวเนซูเอลาด้วย. เหล่านี้คือความเชื่อต่างๆ โดยธรรมชาติ และมันมีความเป็นไปได้ที่สิ่งเหล่านี้อาจจะดีดตัวขึ้นมา ณ วันใดวันหนึ่ง และเป็นผลในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

EVA: จริงๆ แล้ว นั่นได้รวมอยู่ในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญด้วย แนวความคิดเกี่ยวกับการสร้างเมืองชุมชน ที่บรรดาคนงานเป็นผู้ดำเนินการ และรวมถึงเป็นเจ้าของบริษัทต่างๆ มันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากที่จะดูว่ามันจะพัฒนาไปอย่างไร ?

CHOMSKY: ใช่ มันน่าสนใจมาก

EVA: และจากนั้น มันจะเปลี่ยนแปลงพลังแห่งอำนาจในภูมิภาคดังกล่าวไปอย่างไร ?

CHOMSKY: ถ้าหากว่ามันสามารถทำสำเร็จได้ ในอดีตเคยเกิดขึ้น แต่ต้องถูกบดขยี้ลงไปโดยอำนาจ และกระทั่งที่นี่ในสหรัฐอเมริกา มันได้ถูกเหยียบย่ำด้วยความรุนแรงของรัฐ

EVA: ในความคิดเกี่ยวกับการถูกบดขยี้โดยอำนาจความรุนแรงของรัฐ เมื่อคิดถึงลาตินอเมริกาและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อิทธิพลของเวเนซูเอลา ซึ่งตอนนี้ประธานาธิบดีชาเวซกำลังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางกระบวนการสันติภาพในโคลัมเบีย

- ข้อแรก คุณมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับบทบาทของเขาในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ย ? และ
- คำถามข้อต่อมา คุณคิดว่าสหรัฐฯ กำลังให้ความเห็นชอบต่อเรื่องสันติภาพในโคลัมเบียจริงหรือ เมื่อมีการขยับขยายเกี่ยวกับแผนการณ์โคลัมเบีย และโคลัมเบียยังคงเป็นป้อมปราการสำคัญของสหรัฐฯ และยังคงกองทหารของตนในอเมริกาใต้ ใช่หรือไม่ ? สหรัฐฯ จะมีปฏิกริยาในหนทางที่ก้าวร้าวมากขึ้นไหม ?

CHOMSKY: ผมคิดว่าสหรัฐฯ จะทำในสิ่งซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจว่า โคลัมเบียจะยังคงเป็นรัฐในบัญชาของตน(client state)ต่อไปไม่มากก็น้อย. แต่ผมไม่คิดว่าสหรัฐฯ จะมีส่วนในการทำสงครามภายในโคลัมเบียแต่อย่างใด พวกเขาต้องการเห็น FARC (Fuerzas Armadas Revolucionarias de Colombia)(the Revolutionary Armed Forces of Colombia (*) กองกำลังติดอาวุธเพื่อการปฏิวัติในโคลัมเบีย) ถูกทำลายลงไป

(*) The Revolutionary Armed Forces of Colombia-People's Army, in Spanish Fuerzas Armadas Revolucionarias de Colombia-Ejercito del Pueblo, also known by the acronym of FARC or FARC-EP is a communist revolutionary and armed guerrilla organization in Colombia. It was established in 1964-1966 as the military wing of the Colombian Communist Party, and is designated by the Colombian Government, the United States, and the European Union, amongst others, as a terrorist organization for their actions against not only the government but also towards civilians, natural environment and infrastructure.

While the FARC originated as a purely guerrilla movement, the group became involved with the illicit drug trade during the 1980s, which caused an official separation from the Communist Party and the formation of a political structure it calls the Clandestine Colombian Communist Party. Despite their terrorist label, the FARC-EP still claims to be a guerrilla movement, and some analysts argue that the group's ideology has remained consistent. With an estimated 12,000-18,000 members (approximately 20 to 30% of them are forcibly-recruited children under 18 years of age[3]), the FARC-EP is present in 25-30 percent of Colombia's territory, most strongly in southeastern jungles and in plains at the base of the Andes mountains.

จริงๆ แล้ว สหรัฐฯ ไม่ต้องการให้กองกำลังพลเรือน(paramilitary)ปฏิบัติการในประเทศ และทำการค้ายาเสพติด. ผมหมายความว่า นั่นไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสมจากจุดยืนหรือความคิดเห็นของอำนาจจักรวรรดินิยม คุณไม่ต้องการมีกองกำลังพลเรือนดำเนินกิจการต่างๆ ของรัฐ. พวกเขามีประโยชน์ และสหรัฐฯไม่เพียงสนับสนุนพวกเขาเท่านั้น ในข้อเท็จจริง พวกเขาเป็นผู้เริ่มต้นคนเหล่านี้ขึ้นมา

ถ้าคุณย้อนกลับไปยังช่วงแรกของทศวรรษที่ 60 ในเวเนซูเอลา จากหลักฐานในปี 1962 ประธานาธิบดีเคนเนดีได้ส่งคณะผู้แทนทางการทหารเข้าไปยังโคลัมเบีย นำโดยนายพลแห่งกองกำลังพิเศษ Yarborough (Lieutenant General William Pelham Yarborough [born May 12, 1912 in Seattle, Washington; died December 6, 2005]), เพื่อให้คำแนะนำแก่โคลัมเบียว่า จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาภายในต่างๆ ของตนอย่างไร ? และพวกเขานำเสนอกองกำลังก่อการร้ายฝ่ายพลเรือน. ถ้อยคำแนะนำของพวกเขาคือ "อำนาจกองกำลังฝ่ายพลเรือนต่อสู้กับพวกพลพรรคคอมมิวนิสต์". ใช่เลย ในบริบทของลาตินอเมริกา "พลพรรคคอมมิวนิสต์"ที่ว่านี้คือ บรรดานักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน, องค์กรแรงงานต่างๆ, บรรดาพระที่ทำงานกับคนยากคนจนในไร่นา, ผมคงไม่ต้องอธิบายเรื่องนี้ให้คุณฟัง และใช่! พวกเขาได้ให้คำแนะเกี่ยวกับกองกำลังก่อการร้ายฝ่ายพลเรือน(paramilitary terror).

คุณสามารถมองย้อนกลับไปและกล่าวว่า โคลัมเบียมีประวัติศาสตร์อันรุนแรง แต่นั่นได้เปลี่ยนแปลงมันไป. จริงๆ แล้ว นั่นเป็นการเริ่มต้นของรัฐที่เป็นกลุ่มเป็นก้อน และกองกำลังก่อการร้ายฝ่ายพลเรือนได้เปลี่ยนไปสู่ความเป็นอสูรกายที่น่าเกลียดในห้วงสองทศวรรษสุดท้ายนี้ แม้ว่าสหรัฐฯ จะทำหน้าที่จัดหาเครื่องไม้เครื่องมือและให้การสนับสนุนโดยตรง โดยผ่านแผนการณ์โคลัมเบีย แต่อันที่จริงแล้ว มันไม่ได้อยู่ในความสนใจของสหรัฐฯ และผลประโยชน์เกี่ยวกับระบบอำนาจสหรัฐฯ เพื่อที่จะธำรงอยู่ต่อไป. พวกเขาค่อนข้างมีสังคมที่เป็นระบบระเบียบ สังคมที่มีการเชื่อฟัง ส่งออกวัตถุดิบต่างๆ สถานที่หนึ่งซึ่งโรงงานทั้งหลายของสหรัฐฯ สามารถหาแรงงานราคาถูกได้ และอื่นๆ อีกไปเรื่อยๆ แต่โดยปราศจากความรุนแรงภายใน. ด้วยเหตุนี้ผมจึงคิดว่า อย่างน้อยที่สุด ความอดทนอดกลั้นของความพยายามไกล่เกลี่ยนั่น สามารถที่จะเหนี่ยวรั้งและลดระดับความรุนแรงภายในลง พร้อมควบคุมกองกำลังฝ่ายพลเรือนได้ ซึ่งตามข้อเท็จจริง มันจะถูกดูดซับกลืนกลายเข้ากันกับรัฐ

EVA: แต่ชาเวซกำลังทำมันอยู่ไม่ใช่หรือ?

CHOMSKY: ใช่, นั่นล่ะที่น่าสนใจ ในความเป็นจริงมันถูกนำมาสนทนากันในที่นี้ จริงๆ คือ ตอนนี้มีการเจรจาต่อรองและพูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง ระหว่าง"บราซิล"กับ"เวเนซูเอลา" เกี่ยวกับโครงการร่วมกันต่างๆ เช่น โครงการแม่น้ำโอรินโนโค, ท่อส่งก๊าส, และอื่นๆ. การพยายามค้นหารายงานบางอย่างเกี่ยวกับสิ่งนั้นในที่นี้ ผู้คนต่างกลัวเกรงเกี่ยวกับมัน. แนวความคิดนั้น หรือถ้าคุณชอบ"แนวทางนโยบายกลุ่มการเมือง" (party line - The policy of a political group) ในลาตินอเมริกา ที่ต้องการการยักย้าย ปรับเปลี่ยน

ลาตินอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปมาก นั่นไม่ใช่สิ่งที่เป็นในช่วงทศวรรษที่ 1960s. สำหรับเมื่อแรกที่สเปนรุกรานประเทศเหล่านี้ นั่นเป็นการเริ่มต้นเผชิญหน้ากับปัญหาภายในบางอย่างในลาตินอเมริกา. หนึ่งในปัญหาต่างๆ คือการไม่สามารถบูรณาการหรือผสมรวมตัวกันได้ แต่ละประเทศมีความสัมพันธ์กันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยแบบฉบับแล้ว พวกเขามีความสัมพันธ์กับอำนาจจักรวรรดิภายนอก ไม่ใช่มีความสัมพันธ์กันเองแต่อย่างใด. คุณสามารถมองเห็นมันได้จากระบบขนส่ง และมันยังมีปัญหาเกี่ยวกับการบูรณาการภายในด้วย, ความไม่เท่าเทียมกันอย่างยิ่ง ซึ่งเลวร้ายมากในโลก กล่าวคือ มีพวกชนชั้นสูงกลุ่มเล็กๆ และผู้คนที่ยากจนจำนวนมหาศาล, บรรดาพวกชนชั้นสูงต่างก็เป็นคนยุโรปหรืออเมริกันที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม - นั่นคือบ้านแห่งที่สองของพวกเขา นั่นเป็นแหล่งเงินทุนของพวกเขาเข้าไปลงทุน และนั่นเป็นที่ที่ลูกๆ ของพวกเขาไปโรงเรียน. พวกเขาไม่มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับประชาชนที่นั่นเลย

พวกชนชั้นสูงกลุ่มเล็กๆ ในลาตินอเมริกามีความรับผิดชอบน้อยมากสำหรับประเทศเหล่านี้ และที่กล่าวมาคือสองรูปแบบของการไม่บูรณาการเข้าหากัน และกำลังปกคลุมไปทั่วอย่างช้าๆ. ดังนั้น จึงมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนมากขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ท่ามกลางสังคมต่างๆ และมีหลายๆ ประเทศได้ขยับก้าวไปเกี่ยวข้องกับปัญหาการครอบงำของชนชั้นสูงที่น่ากลัวนี้ ซึ่งมีองค์ประกอบของเชื้อชาติเป็นแนวทาง. อันนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและเข้มแข็งระหว่าง "ความร่ำรวย"กับ"ความเป็นคนขาว"ทั่วทั้งประเทศต่างๆ เหล่านี้ มันเป็นหนึ่งในเหตุผลหลายหลาก สำหรับความเป็นปรปักษ์กับชาเวซ, นั่นเป็นเพราะเขาไม่ได้มองไปที่คนขาว แต่ละก้าวย่าง ต่างก็กำลังมุ่งตรงไปที่นั่น และนั่นล่ะคือสิ่งสำคัญ

ระบบคำสอนของสหรัฐฯ ซึ่งไม่ได้หมายถึงรัฐบาล ผมหมายถึงสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมไปถึงปัญญาชนและคนอื่นๆ มีการปรับเปลี่ยนคำอธิบายของพวกเขาเกี่ยวกับลาตินอเมริกา นั่นคือ มันไม่ใช่การเผชิญหน้าระหว่างประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์อีกต่อไปแล้ว - ประชาธิปไตยปิโนเช่ (ชิลี) กับ … , มันเปลี่ยนไปแล้ว, ตอนนี้มันได้รับการยอมรับว่าได้มีการเคลื่อนไปสู่แนวทางซ้าย แต่มันเป็น"พวกฝ่ายซ้ายที่ดี"กับ"พวกฝ่ายซ้ายที่เลว". พวกฝ่ายซ้ายที่เลวคือชาวเวซ และโมราเลซ, บางที Kirchner (N?stor Kirchner, president of the Republic of Argentina), บางที Ecuador - พวกเขายังคงไม่ได้ตัดสิน แต่คนเหล่านั้นคือบรรดาฝ่ายซ้ายที่เลวๆ. ส่วนฝ่ายซ้ายที่ดีคือ บราซิล, บางทีชิลี และอื่นๆ. เพื่อที่จะรักษาภาพดังกล่าว มันมีความจำเป็นที่จะต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อควบคุมอย่างระมัดระวังทีเดียว เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆ ทางประวัติศาสตร์

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อประธานาธิบดี Lula (Luiz In?cio Lula da Silva, president of Brazil [2003-present]) ของบราซิล ฝ่ายซ้ายที่ดีได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง การกระทำของเขาอย่างแรกสุดก็คือไปยังคาราคัส ที่ซึ่งเขาและชาเวซได้สร้างสะพานเชื่อมเหนือสายน้ำโอรินโนโค… มันไม่ได้มีการรายงานข่าวในเรื่องนี้ เพราะคุณไม่สามารถรายงานสิ่งต่างๆ ประเภทนี้ได้ มันแย้งกับนโยบายความร่วมมือ(party line) - คนดีกับคนไม่ดีมาพบกัน. และมันเป็นจริงอย่างเดียวกันในช่วงขณะนั้นด้วยการเจรจาต่อรองต่างๆ ระหว่างบราซิล-เวเนซูเอลา. ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

โคลัมเบียเป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญ. ถ้าชาเวซสามารถทำมันสำเร็จ นั่นจะยอดเยี่ยมมากสำหรับโคลัมเบีย แต่เรื่องอื่นๆ เหล่านี้ถูกทำให้กว้างออกไปมากในความมีนัยสำคัญ. ถ้าบราซิลและเวเนซูเอลาสามารถร่วมมือกันได้ในโครงการที่สำคัญๆ โครงการต่างๆ ของความร่วมมือ บางทีในท้ายที่สุดท่อส่งก๊าสทั่วลาตินอเมริกา นั่นคือก้าวย่างหนึ่งที่มุ่งสู่การบูรณาการในภูมิภาค(regional integration) ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ต้องทำก่อนอันหนึ่งให้เป็นจริง เพื่อป้องกันต่อการแทรกแซงจากภายนอก. คุณไม่สามารถป้องกันต่อการแทรกแซงได้ ถ้าเผื่อว่าประเทศต่างๆ ถูกแยกขาดจากอีกประเทศหนึ่ง, หรือถ้าหากว่าพวกเขาถูกแยกขาดกันภายในระหว่างพวกชนชั้นสูงและประชากรโดยทั่วไป ด้วยเหตุดังนั้นผมจึงคิดว่า สิ่งเหล่านี้คือพัฒนาการที่สำคัญอย่างยิ่ง. โคลัมเบียเช่นกัน ถ้าสามารถทำได้ ดีแน่นอน! มันจะไปลดระดับของความรุนแรงลง บางทีจะนำไปสู่ย่างก้าวต่อไปสำหรับประชากรของโคลัมเบีย แต่ผมคิดว่า การเจรจาต่อรองและการพูดคุยกันเหล่านี้ที่กำลังเริ่มขึ้นในเวลาเดียวกัน มันจะนำไปสู่การมีนัยสำคัญที่ลึกซึ้งและยาวนาน

EVA: ตอนนี้ ชาเวซอยู่ใน Manaus (Manaus is a city in the northern part of Brazil and capital of Amazonas State), ตั้งแต่เมื่อวานนี้และวันนี้ด้วย

CHOMSKY: ถูกต้อง

2. การทำสงครามกับจักรวรรดิสื่อ

EVA: ใช่ หนึ่งในยุทธวิธีต่างๆ เกี่ยวกับความก้าวร้าวของสหรัฐฯ ที่มีต่อเวเนซูเอลาและการเกิดขึ้นมาของลัทธิซ้ายใหม่ หรือลัทธิสังคมนิยมในลาตินอเมริกา ก็คือ แบ่งแยกและต่อต้านขัดขวางสิ่งที่เวเนซูเอลา ภายใต้การนำของประธานาธิบดีชาเวซพยายามน้อมนำภูมิภาคนี้ไปสู่ความมีอธิปไตย และการบูรณาการลาตินอเมริกาเข้าด้วยกัน. ดิฉันคิดจะโฟกัสคำถามไปในเรื่องมุมองเกี่ยวกับสื่อ หนึ่งในยุทธวิธีต่างๆ ที่ก้าวร้าวต่อเวเนซูเอลาและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งเป็นสงครามจิตวิทยาอย่างชัดเจน ในระดับภายในของเวเนซูเอลาและในระดับนานาชาติด้วย ที่ได้มาป้องกันผู้คนทั่วโลกจากการรับรู้สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ. ภายในเวเนซูเอลา ภายใต้การนำของชาเวซ ช่องทางสื่อชุมชนใหม่ๆ นับเป็นร้อยๆ ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา. อันนี้ช่วยเราอย่างเป็นการภายในให้ต่อสู้กับการจัดการด้านสื่อจากพวกบริษัทสื่อในเวเนซูเอลา แต่ในระดับนานาชาติ เราไม่ได้ก้าวหน้ามากนักในการเข้าห่ำหั่นในสงครามกับจักรวรรดิสื่อ(media empire). เราจะทำได้อย่างไร?

CHOMSKY: แน่นอน ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสื่อในโลกตะวันตกเป็นเรื่องที่น่าสนใจ อย่างที่ผมกล่าวว่า ยุคสมัยที่สิ่งพิมพ์มีอิสรภาพและเสรีภาพมากที่สุดในสหรัฐฯ และอังกฤษ ก็คือช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 19 และมันค่อนข้างเหมือนกับสิ่งที่คุณกำลังอธิบาย นั่นคือ มีหนังสือพิมพ์ทุกประเภทเป็นร้อยๆ ฉบับ ไม่ว่าจะเป็นของชนชั้นแรงงาน, กลุ่มชาติพันธุ์, ชุมชนทุกรูปแบบ, ที่การมีส่วนร่วมกระทำกันโดยตรง การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

คนที่อ่านหนังสือพิมพ์ในช่วงวันเวลาดังกล่าวคือ บรรดาคนทำงานทั้งหลาย อย่างเช่น ช่างตีเหล็กในบอสตันที่ใช้ให้เด็กอายุ 16 อ่านหนังสือพิมพ์ให้เขาฟังขณะที่เขาทำงานไปด้วย. เด็กผู้หญิงในโรงงาน ส่วนใหญ่มาจากท้องไร่ท้องนาที่มีวัฒนธรรมสูง พวกเธอกำลังอ่านวรรณคดีร่วมสมัย. และส่วนหนึ่งของการประณามที่เจ็บแสบเกี่ยวกับระบบอุตสาหกรรมก็คือ เพราะมันกำลังยึดเอาวัฒนธรรมของพวกเขาไป. พวกเขาได้ทำหนังสือพิมพ์ที่น่าสนใจมากและมันมีชีวิตชีวา มีความน่าตื่นเต้นและเป็นยุคของหนังสือพิมพ์มีอิสรภาพอย่างสะเทือนเรือนลั่นจริงๆ และมันค่อยๆ ได้ชัยชนะอย่างช้าๆ ส่วนใหญ่เป็นจริงในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีเสรีภาพมากที่สุดในโลก. ในประเทศอังกฤษ พวกเขาพยายามที่จะเซ็นเซอร์ แต่มันไม่ได้ผล มันมีช่องทางมากมายเหลือเกินอยู่รายรอบ. พวกเขาพยายามที่จะใช้มาตรการทางภาษีมาควบคุม อีกครั้งที่มันไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกับที่สหรัฐอเมริกา. ในที่สุด สิ่งที่ได้ผลก็คือ 2 สิ่ง นั่นคือ การระดมทุนและการอิงอาศัยการโฆษณา

อันแรก การระดมทุน, แน่นอน นั่นทำให้คุณสามารถทำทุกอย่างได้ โดยที่หนังสือพิมพ์ที่เล็กกว่าไม่สามารถทำได้ แต่การอิงอาศัยการโฆษณา จริงๆ แล้วหมายความว่า หนังสือพิมพ์ทั้งหลาย เดินได้ก็โดยมีการโฆษณาทั้งหลายนั่นเอง. ถ้าหากว่าแหล่งที่มาของรายได้มาจากการโฆษณาเป็นหลัก แน่นนอนทีเดียว มันจะนำไปสู่การมีอิทธิพลเข้ามาครอบงำมากจนเกินไป. และมาถึงปัจจุบันนี้ มันใกล้จะเกือบ 100%. ถ้าคุณเปิดเครื่องรับโทรทัศน์, CBS มิได้ทำเงินจากข้อเท็จจริงที่คุณเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ แต่มันทำเงินจากโฆษณาต่างๆ. บรรดาโฆษณาทั้งหลายต่างมีผลต่อบริษัทที่เป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ ซึ่งกำลังขายผู้ชมให้กับบรรดานักโฆษณาทั้งหลาย. ดังนั้น แน่นอนว่าการผลิตข่าว มันเป็นการสะท้อนอำนาจผลประโยชน์ของบริษัท และบรรดาผู้ซื้อต่างๆ รวมถึงตลาด ซึ่งก็คือของบรรดานักโฆษณานั่นเอง. ด้วยเหตุนี้ และตลอดเวลาที่ผ่านมา กับการระดมทุนหรือเพ่งความสนใจไปในเรื่องเงิน โดยสาระแล้ว มันได้ไปกำจัดหรือลดทอนความหลากหลายอย่างแหลมคมลง ทำให้ความมีชีวิตชีวาและสื่อท้องถิ่นที่เป็นอิสระหดตัวลง และนั่นไม่ใช่เรื่องล้อเล่นอีกต่อไป

ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งอันที่จริงแล้วไม่มีขบวนการจัดตั้งสังคมนิยม แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงประมาณทศวรรษ 1950s มีหนังสือพิมพ์แรงงาน 800 ฉบับที่เป็นไปได้ว่า เข้าถึงผู้คนได้จำนวนมาก บางทีอาจจะถึง 30 ล้านคนต่อสัปดาห์เลยทีเดียว ซึ่งโดยมาตรฐานต่างๆ ของเรา มันค่อนข้างหยั่งรากลึกอย่างงดงาม มีการประณามอำนาจของบริษัท, มีการตำหนิพวกที่ถูกเรียกว่า"พระขายตัว"(the bought priesthood - หมายถึงพวกเทคโนแครต, คอลัมนิสต์, ผู้เชี่ยวชาญ, อาจารย์มหาวิทยาลัย, ปัญญาชนสาธารณะ, นักล็อบบี้ทางธุรกิจ และอื่นๆ ที่ได้รับผลประโยชน์จากสถานภาพทางการเมืองและใช้ตำแหน่งของพวกตนปกป้องสถานะดังกล่าวเอาไว้)(*), ส่วนใหญ่คือพวกที่มีกิจการทางด้านสื่อ, ความเป็นพระที่ถูกขายโดยระบบบริษัทที่เสนอภาพแตกต่างออกไปแก่โลก
(*) bought priesthood refers to the constellation of technocrats, columnists, pundits, university professors, public intellectuals, business lobbyists and so on who are said to benefit from the political status quo and use their position to defend and support it. The bought priesthood represents the flip side of McCarthyism and the Hollywood blacklist, which sought to marginalize public figures whose beliefs and advocacy were deemed to threaten or undermine the political status quo.

ในประเทศอังกฤษ ยืนหยัดต่อเนื่องจนเข้าสู่ทศวรรษที่ 1960s. ในช่วงทศวรรษที่ 1960s หนังสือพิมพ์แทบลอยด์ (tabloids - หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก คือรูปเล่มขนาดครึ่งหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทั่วไป) ซึ่งปัจจุบันค่อนข้างน่าเกลียดน่ากลัวถ้าคุณมองดูมัน - พวกมันคือหนังสือพิมพ์ต่างๆ ที่มาจากฐานแรงงานในปีทศวรรษ 1960s เป็นพวกฝ่ายซ้ายที่ดูดีในการปรับตัวของพวกเขา. หนังสือพิมพ์สำคัญในประเทศอังกฤษซึ่งมีการไหลเวียนมากที่สุด มากกว่าฉบับอื่นๆ ก็คือ The Daily Herald, ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของสิ่งพิมพ์ที่มีฐานแรงงานสังคม-ประชาธิปไตย ที่ได้ให้ภาพแตกต่างไปมากอันหนึ่งเกี่ยวกับโลก. แต่อย่างไรก็ตาม มันล่มสลายลง ซึ่งมิใช่เนื่องจากการขาดความสนใจของผู้อ่าน ตามข้อเท็จจริง เป็นไปได้ที่ว่าความสนใจของผู้อ่านจะมีมากที่สุดยิ่งกว่าฉบับอื่นๆ แต่เป็นเพราะมันไม่สามารถได้มาซึ่งโฆษณาต่างๆ และการะดมทุนนั่นเอง

ดังนั้นสิ่งซึ่งคุณกำลังอธิบายทุกวันนี้ คือส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของตะวันตก ที่ได้ถูกเอาชนะอย่างช้าๆ โดยกระบวนการมาตรฐานเกี่ยวกับการระดมทุน และแน่นอนการอิงอาศัยการโฆษณาที่เป็นอีกรูปหนึ่งของมันด้วย. แต่อันนี้เริ่มที่จะมีการฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ในตะวันตกเช่นกัน โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และผ่านเทคนิคการพิมพ์ราคาถูก. คอมพิวเตอร์, การพิมพ์บนเครื่องเดสค์ท็อป(desktop) ตอนนี้ราคาค่อนข้างถูกกว่าการพิมพ์ขนาดใหญ่มากๆ และแน่นอน นั่นคือระบบอินเตอร์เน็ต

ดังนั้น เทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้ให้โอกาสขึ้นมาอย่างหลากหลาย เพื่อเอาชนะความจำเป็นเกี่ยวกับการระดมทุน ซึ่งได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธรรมชาติของสื่อ และธรรมชาติของโรงเรียนและทุกสิ่งทุกอย่าง. ด้วยเหตุนี้ มันจึงฟื้นคืนชีพขึ้นมา และอันที่จริงการต่อสู้สำคัญที่ดำเนินไปในทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่ถึงพริกถึงขิงเกี่ยวกับผู้ที่กำลังจะควบคุมอินเตอร์เน็ต. อินเตอร์เน็ตได้รับพัฒนาขึ้นมาในหนทางเช่นว่านี้, MIT, คือภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ, ส่วนมากของเศรษฐกิจใหม่หลุดออกมาจากภาครัฐ มันไม่ใช่เศรษฐกิจตลาดเสรีแต่อย่างใด. อินเตอร์เน็ตเป็นกรณีตัวอย่างหนึ่งในประเด็นนี้ กล่าวคือ ระบบดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นในภาครัฐ อันที่จริงด้วยการให้ทุนมาจากเพนตากอน(กระทรวงกลาโหม) และดำรงอยู่ในส่วนของภาครัฐมาประมาณ 30 ปี ก่อนที่จะถูกส่งผ่านมือไปยังบริษัทเอกชนต่างๆ ในปี 1995 ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีคลินตัน

และมาถึงตอนนี้ เป็นการต่อสู้กันอันหนึ่ง ซึ่งดำเนินไปบนเรื่องราวที่ว่า มันจะเป็นอิสระหรือไม่. ดังนั้น จึงเป็นความพยายามที่สำคัญที่ถูกสร้างโดยศูนย์ความร่วมมือหลักๆ เพื่อคิดหาหนทางต่างๆ ที่จะควบคุมมัน, เพื่อปกป้องสิ่งที่ผิดพลาดทั้งหลายจากความคิดเห็นของพวกเขาจากภาวะที่เข้าถึงได้ง่าย และตอนนี้มีพวกขบวนการรากหญ้าต่างๆ, ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากกำลังต่อสู้กับมัน, และสิ่งเหล่านี้กำลังพันตูกันอยู่อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา. มันไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่แต่กำเนิดเป็นการถาวรในทุนนิยมประชาธิปไตย ต่อความคิดที่ว่าสื่อทั้งหลายจะต้องดำเนินการโดยบริษัทต่างๆ เท่านั้น. นี่ทำให้บรรดาบิดาผู้ให้กำเนิดสหรัฐฯ ถึงกับช็อคเลยทีเดียว. พวกเขาเชื่อว่า สื่อต่างๆ จะต้องดำเนินการโดยสาธารณะ ถ้าคุณหวนกลับไป มันเป็นสิ่งที่แทบไม่น่าเชื่อเลยสำหรับตอนนี้

EVA: ใช่เลย ! นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมคลื่นสัญญานทางอากาศจึงเป็นของสาธารณะ

CHOMSKY: ถูกต้อง นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมคลื่นสัญญานได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชน และมันเป็นของขวัญให้กับบริษัทต่างๆ ที่ยินยอมให้มันถูกใช้ แต่ถ้าหากว่าคุณย้อนกลับไปยัง Jefferson กระทั่ง Hamilton, Madison และคนที่เหลือเหล่านี้ พวกเขาต่างสนับสนุนให้สาธารณชนช่วยเหลือเกื้อกูลหนังสือพิมพ์ต่างๆ เพื่อทำให้พวกมันอยู่รอดได้ ในฐานะที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นอิสระ. อัตราค่าส่งไปรษณีย์ ได้รับการคิดขึ้นมาโดยรัฐบาลในหนทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อหนังสือพิมพ์ เพื่อว่าสาธารณชนจะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันหลากหลายอย่างกว้างขวางที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ และอื่นๆ

ในบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ซึ่งในเชิงเทคนิคได้รับการสถาปนาขึ้นเพื่อเสรีภาพของสิ่งพิมพ์ ซึ่งเราสามารถที่จะพูดคุยกันได้เกี่ยวกับว่า มันได้ผลเช่นนั้นจริงหรือไม่ แต่ในทางเทคนิคโดยไม่ต้องกล่าวว่า รัฐบาลสามารถที่จะเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้การสนับสนุนสื่อต่างๆ ได้หรือไม่. ในข้อเท็จจริง ไม่เพียงมีความเป็นไปได้เท่านั้น แต่มันยังเป็นสิ่งที่บรรดาผู้วางกรอบรัฐธรรมนูญมีอยู่ในใจด้วย. หลายปีที่ผ่านมา ท่าทีหรือทัศนคติต่างๆ, วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลครอบงำ, หรือ"วัฒนธรรมนำ"(hegemonic culture) ดังที่ Gramsci (*) เรียกมันอย่างนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไป ดังความคิดเกี่ยวกับการทำให้เป็นบริษัทสื่อต่างๆ เหล่านี้เสมือนเป็นชนิดหนึ่งที่ได้รับการทึกทักเหมือนๆ กับอากาศที่คุณหายใจ แต่มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น มันเป็นการสร้างสรรค์ของความสนใจของนายทุน และระบบคำสอนที่ไปด้วยกันกับมัน… อันที่จริง มันไม่จำเป็นต้องมีอยู่
(*) Antonio Gramsci (January 22, 1891 - April 27, 1937) was an Italian writer, politician and political theorist. A founding member and onetime leader of the Communist Party of Italy, he was imprisoned by Mussolini's Fascist regime. His writings are heavily concerned with the analysis of culture and political leadership and he is notable as a highly original thinker within the Marxist tradition. He is renowned for his concept of cultural hegemony as a means of maintaining the state in a capitalist society.

EVA: ดังนั้นในความหมายดังกล่าว ราวสองเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลเวเนซูเอลาไม่ยอมตัดสินใจใหม่ในการให้สัมปทานต่างๆ แก่บริษัทสื่อแห่งหนึ่ง ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การฝ่าฝืนเรื่องภาษี, คือไม่ยอมจ่ายให้กับความมั่นคงทางสังคมของบรรดาคนงาน เช่นเดียวกับได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร. คุณคิดว่านั่นเป็นการสาธิตให้เห็นของรัฐ เพื่อทำให้มั่นใจว่า คลื่นสัญญานเหล่านั้นยังคงอยู่ในปริมณฑลของสังคมใช่ไหม ? และนั่นคือบางสิ่งที่สามารถได้รับการทำซ้ำหรือสำเนาได้ในประเทศอื่นๆ หรือแม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกา พวกเขาไม่ยกเลิกเพิกถอนสัมปทาน พวกเขาไม่เพียงปรับมันใหม่เท่านั้น

CHOMSKY: คุณกำลังพูดถึงกรณีของ RCTV. ใช่ ! ตามทัศนะของผมเกี่ยวกับเรื่องนั้นมันเป็นเรื่องของการผสมผสาน. ว่ากันตามกิจลักษณะ ผมคิดว่ามันเป็นความผิดพลาดในเชิงยุทธวิธี และสำหรับอีกประเด็น ผมคิดว่าคุณต้องมีข้อพิสูจน์ที่เป็นภาระอันหนักอึ้งเพื่อที่จะปิดกิจการสื่อในรูปแบบใดๆ ก็ตาม ซึ่งสำหรับในความหมายนั้นโดยส่วนตัวผม มีท่าทีในลักษณะเชิงวิพากษ์

EVA: แต่ว่าบริษัทต่างๆ ควรจะมีที่มั่นหรือป้อมปราการหนึ่งในสัมปทานต่างๆ ใช่ไหม ?

CHOMSKY: ใช่ ! นั่นคือด้านอื่นๆ คำถามคือสิ่งที่เข้ามาแทนที่มัน แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้ผมกล่าวว่า ผมเห็นด้วยกับการวิจารณ์ของตะวันตกในแง่มุมที่เป็นเรื่องความเป็นความตายประเด็นหนึ่ง. เมื่อพวกเขากล่าวว่าไม่มีอะไร เหมือนกับว่ามันสามารถจะเกิดขึ้นได้ที่นี่ตลอดเวลา นั่นล่ะใช่เลย ! แต่เหตุผลก็คือมันไม่ได้ถูกพูดถึง. ถ้าหากว่ามีกรณีคล้ายๆ กับ RCTV ในสหรัฐอเมริกาหรือในอังกฤษ หรือในยุโรปตะวันตก บรรดาผู้เป็นเจ้าของและผู้จัดการทั้งหลายจะถูกนำไปสู่กระบวนการสอบสวนและประหารชีวิต - ในสหรัฐอเมริกาคือโทษประหาร ส่วนในยุโรปคือส่งตัวเข้าคุกตลอดชีวิต. คุณไม่อาจจินตนาการได้ว่า the New York Times หรือข่าว CBS ได้ให้การสนับสนุนการรัฐประหารที่ล้มล้างรัฐบาล แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่วันเดียวก็ตาม. ปฏิกริยาดังกล่าวคือ "ส่งตัวพวกเขาไปยิงเป้า"(firing squad)(*)
(*) firing squad - หมายถึงทหารที่ถูกตั้งขึ้นมากลุ่มหนึ่ง เพื่อทำการประหารนักโทษด้วยการยิงเป้า

ใช่เลย นั่นจะไม่เกิดขึ้นในประเทศตะวันตก เพราะว่ามันจะไม่ไปไกลขนาดนี้. ดูเหมือนว่าสำหรับผม ควรจะโฟกัสหรือให้ความสนใจลงไปในประเด็นนั้น แต่เรื่องเกี่ยวกับการถอนใบอนุญาต ผมคิดว่าคุณจะต้องถามถึงสิ่งที่เข้ามาแทนที่มัน. ในเวเนซูเอลา คุณน่าจะรู้ดีกว่าผม สิ่งที่ฝังใจผมก็คือว่า นั่นมันไม่ใช่การเคลื่อนไหวของประชาชน. และประชาชนควรจะมีสิทธิมีเสียงในเรื่องนี้ เสียงที่ดัง เสียงส่วนใหญ่ ดังนั้นผมคิดว่ามันมีหลายๆ ด้านต่อเรื่องดังกล่าวนี้. แต่มันเป็นประเด็นที่ขึ้นอยู่กับว่า เรื่องนี้มันจะออกมาอย่างไร. จริงๆ แล้ว คุณกำลังได้มาซึ่งสื่อของประชาชนใช่ไหม ?

EVA: สัมปทานต่างๆ ควรจะอยู่ในมือของประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจใช่หรือไม่ ?

CHOMSKY:
คิดว่ามันควรเป็นเช่นนั้น ใช่ ! ในข้อเท็จจริง ในเชิงเทคนิคพวกมันเป็นอย่างนั้น กระทั่งในสหรัฐอเมริกา. ยึดเอาคลื่นสัญญานกลับมาอีกครั้ง นั่นคือ"สมบัติสาธารณะ", บริษัทต่างๆ ไม่มีสิทธิ์ต่อคลื่นสัญญานดังกล่าว. มันถูกให้กับพวกเขาในฐานะของกำนัลชิ้นหนึ่งโดยผู้เสียภาษี และผู้เสียภาษีไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย. วัฒนธรรมดังกล่าวได้ก้าวมาถึงประเด็นที่ผู้คนทึกทักว่า นั่นคือระเบียบธรรมชาติของสิ่งต่างๆ นั่นไม่ใช่ มันเป็นของขวัญสำคัญชิ้นหนึ่งจากสาธารณชน

ตามข้อเท็จจริง ถ้าคุณย้อนมองไปที่ประวัติศาสตร์ของการสื่อสารทางไกลต่างๆ ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ อันนี้น่าสนใจทีเดียว วิทยุได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1920s และในส่วนใหญ่ของโลก ตอนนี้ได้กลายเป็นสิ่งสาธารณะ. สหรัฐอเมริกาเป็นกรณีหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่งเกือบจะเป็นกรณีสำคัญเพียงกรณีเดียวเท่านั้น ที่วิทยุได้ถูกแปรรูป(privatized)ไปอยู่ในมือของเอกชน. และได้มีการต่อสู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว. สหภาพแรงงาน สถาบันการศึกษาต่างๆ และบรรดาโบสถ์ทั้งหลายต้องการให้มันเป็นสาธารณะ ส่วนบริษัทต่างๆ ต้องการให้มันถูกแปรรูปไปเป็นของเอกชน. นี่คือสงครามครั้งใหญ่ และสหรัฐฯ คือสังคมหนึ่งที่ขับเคลื่อนโดยธุรกิจเอามากๆ และมีลักษณะเฉพาะ ธุรกิจเป็นฝ่ายชนะ และมันก็ถูกแปรรูปไป

เมื่อโทรทัศน์เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก มันเป็นของสาธารณะ โดยปราศจากข้อสงสัย. ในสหรัฐอเมริกา นี่ไม่ใช่ประเด็นปัญหา ตอนนี้โทรทัศน์ได้รับการแปรรูปไปเป็นของเอกชนแล้ว เพราะวัฒนธรรมได้ถูกครอบงำโดยธุรกิจ โดยต่อจากนั้นก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งในการมีอิทธิพลชี้นำ ด้วยเหตุนี้ ผู้คนจึงไม่คิดเรื่องดังกล่าวได้อย่างชัดเจนที่ว่า นั่นมันเป็นพื้นที่สาธารณะที่เรากำลังยกให้พวกนั้นไปฟรีๆ. ในท้ายที่สุด วิทยุและโทรทัศน์สาธารณะจึงได้รับอนุญาตในมุมหนึ่งที่เล็กมากๆ ในสหรัฐฯ เพราะมันได้รับการกดดันโดยสาธารณชนให้บังคับบริษัทสื่อต่างๆ ต้องรับผิดชอบต่อสาธารณะในบางระดับ อย่างเช่น ต้องออกอากาศรายการเกี่ยวกับการศึกษาสำหรับเด็ก และอะไรทำนองนั้น …

แต่บรรดาบริษัทสื่อทั้งหลายไม่ได้ชอบการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใด พวกเขาไม่ต้องการที่จะมีพันธะผูกพันซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้นพวกเขาจึงมีเจตจำนงที่จะยินยอมให้กับสังคมกลุ่มเล็กๆ, แขนงของปฏิบัติการ, เพื่อว่าพวกเขาจะได้นำมาอ้างได้ภายหลัง ใช่ ! เราไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบมากไปกว่านี้ เพราะพวกคุณสามารถทำมันได้ แต่พวกคุณไม่ได้ทำมันมากพอ พวกคุณได้รับทุนจากบริษัท, ซึ่งนั่นมันมีความต่างอย่างเด่นชัด ระหว่าง"สหรัฐอเมริกา" กับ "กระทั่งสังคมอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน". มันเป็นประเทศเสรีมาก สหรัฐอเมริกา บางทีจะมีเสรีภาพมากที่สุดในโลก และมีการดำเนินการโดยภาคธุรกิจซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ และได้ส่งผลต่อทุกสิ่งทุกอย่าง มากมายเหลือคณา

EVA: คำขวัญสำหรับแนวทางเกี่ยวกับงานสัปดาห์หนังสือในเวเนซูเอลาปีนี้คือ "สหรัฐอเมริกา: การปฏิวัติเป็นไปได้ใช่ไหม ?

CHOMSKY: ผมคิดว่าการปฏิวัติอยู่ใต้ผิวหน้า นี่หมายความว่ามันมีความไม่พอใจมากมายทีเดียว ส่วนใหญ่ในหมู่ประชากรในหลายปีที่ผ่านมา ต่างรู้สึกว่ารัฐบาลมิได้เป็นตัวแทนพวกเขา แต่เป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ที่พิเศษ. ในยุคของเรแกน ความไม่พอใจพุ่งขึ้นสูงถึง 80% ของจำนวนประชากรที่รู้สึกเช่นนั้น. ถ้าคุณมองไปที่ท่าทีและนโยบายสาธารณะ มันมีหลุมลึกขวางกั้นระหว่างสิ่งเหล่านั้น พรรคการเมืองทั้งหลายไกลห่างจากเรื่องของสิทธิประชาชนในฐานะที่เป็นเจ้าของประเด็นปัญหาต่างๆ ส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างบางเรื่อง เช่น

ตอนอ่าน New York Times เมื่อเช้านี้, วันที่ 21 กันยายน 2007 มีคอลัมภ์หนึ่งซึ่งเขียนขึ้นโดย Paul Krugmann, เขาเป็นตัวอย่างของพวกซ้ายสุดขั้ว ในวงการสื่อฝ่ายซ้าย, นักวิจารณ์แนวเสรี, นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำคนหนึ่ง, ซึ่งบางครั้งได้พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับระบบสุขภาพอันน่ากลัวในสหรัฐอเมริกา มันคือหายนภัยอันหนึ่ง กล่าวคือระบบดังกล่าวมีการใช้จ่ายต่อคนเป็นสองเท่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่น และเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับบริษัทอุตสาหกรรมต่างๆ และผลลัพธ์ที่ออกมามันกลับเลวร้ายในโลกอุตสาหกรรม. และเขามีคอลัมภ์หนึ่งเมื่อเช้านี้ที่เริ่มต้นโดยการกล่าวว่า, อย่างเต็มไปด้วยความหวัง ตอนนี้กลายเป็นว่า บางทีการดูแลสุขภาพโดยทั่วไปกำลังกลายเป็นความเป็นไปได้ทางการเมือง. ใช่ ! นั่นเป็นข้อคิดเห็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมันมาจากฝ่ายซ้ายของวงการสื่อ

แต่ทว่า นี่หมายความว่าอะไรสำหรับคำพูดที่ว่า "มันกลายเป็นความเป็นไปได้ทางการเมือง ?" หลายทศวรรษที่ผ่านมา อันนี้ได้รับการสนับสนุนโดยประชากรส่วนใหญ่อย่างท่วมท้น แต่ก็ไม่เคยมีความเป็นไปได้ทางการเมือง ตอนนี้เรื่องดังกล่าวกำลังกลายเป็นความเป็นไปได้ทางการเมือง. คำถามคือว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? เขามิได้กล่าวถึงว่า ทำไม, แต่ได้ให้เหตุผลคือ บริษัทการผลิตต่างๆ กำลังตกอยู่ในอันตรายอย่างรุนแรง โดยความไร้ประสิทธิภาพและสิ้นหวัง กับระบบดูแลสุขภาพซึ่งมีต้นทุนที่สูงมากในสหรัฐฯ. เหมือนกับว่า มันได้ใช้ต้นทุนในการผลิตรถยนต์คันหนึ่งในเมืองดีทรอยด์มากกว่าเป็นสองเท่า เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองวินเซอร์ในแคนาดาที่อยู่ทางตอนเหนือ เพราะพวกเขามีประสิทธิภาพมากกว่า, ระบบดูแลสุขภาพที่ปฏิบัติการได้. ดังนั้น ตอนนี้มันจึงมีแรงกดดันจากบริษัทในภาคการผลิตให้กระทำบางสิ่งบางอย่าง เพื่อซ่อมแซมระบบดูแลสุขภาพที่เหลือทนดังกล่าว. เหตุนี้ มันจึงกำลังกลายเป็นเรื่องทางการเมืองไป. ตอนที่มันเป็นเรื่องของประชาชนส่วนใหญ่นั้น มันไม่ไดเป็นเรื่องทางการเมือง !?

สมมุติฐานต่างๆ ซึ่งอยู่เบื้องหลังนั้นน่าจะเป็นที่ชัดเจน แต่ที่น่าสนใจก็คือ ความเป็นเรื่องการเมืองไม่ได้หมายถึงประชากรสนับสนุนมัน. สิ่งที่เป็นการเมืองในที่นี้หมายถึง คือในบางภาคส่วนของทุนที่เข้มข้นได้ให้การสนับสนุนมัน. ดังนั้นถ้าเผื่อว่าอุตสาหกรรมด้านเภสัชกรรม และสถาบันทางการเมืองต่างๆ ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย มันก็จะไม่เป็นเรื่องการเมือง แต่ถ้าหากว่าอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ออกมาสนับสนุนมัน ใช่เลย ! บางทีมันเริ่มที่จะกลายเป็นเรื่องการเมืองขึ้นมาแล้ว. นั่นคือสมมุติฐานโดยทั่วไป เราไม่ได้กำลังพูดถึงข้อคิดเห็นของฝ่ายซ้ายเสรีนิยม ผมไม่ได้กำลังกล่าวถึงบรรดาบรรณาธิการในนิตยสาร the Wall Street Journal, นั่นมันคือแถบสีของความคิดเห็นอันหลากหลาย. บางสิ่งเป็นเรื่องการเมืองถ้าหากว่ามันได้รับการสนับสนุนโดยความใส่ใจหลักๆ ของทุน

นั่นไม่ใช่สาระสำคัญว่าสังคมจะคิดอะไร และคุณจะเห็นว่า นี่เป็นประเด็นปัญหาในนานาประเทศเช่นเดียวกัน. สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหานานาชาติตอนนี้คือ สหรัฐฯ กำลังจะรุกรานอิหร่านใช่ไหม ? นั่นอาจเป็นอสูรร้ายตัวจริง. คนที่สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่มีลุ้นทุกๆ คน - ไม่ใช่ Dennis Kucinich (*), แต่หมายถึงคนที่มีลุ้นจริงๆ ได้ออกมาพูดว่า, ใช่ ! เรามีสิทธิ์ในการรุกรานอิหร่าน. วิธีการที่พวกเขาพูดสิ่งเหล่านี้ออกมาคือ "ทางเลือกทั้งหมดวางอยู่บนโต๊ะ" หมายความว่า "เราต้องการโจมตีพวกเขา, เราสามารถโจมตีพวกเขาได้" นั่นเกือบจะเป็นแถบสีทั้งหมดทางการเมือง แต่ประชาชนคิดอะไร ?
(*) Dennis John Kucinich (born October 8, 1946) is an American politician of the Democratic party and a candidate for President of the United States in both 2004 and 2008.

แน่นอน ประมาณ 75% ของประชากรไม่เห็นด้วยและคัดค้านการคุกคามใดๆ ที่มีต่ออิหร่าน และต้องการใช้วิธีความสัมพันธ์ทางการทูตกับพวกเขาแทน. แต่นั่นคือสิ่งที่อยู่นอกแถบสีที่รวมเป็นหนึ่งเดียวของสเปคตรัม. ในข้อเท็จจริง มันไม่เคยแม้แต่จะถูกรายงาน และไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาพูดคุยกันเสียด้วยซ้ำ. อันนี้เป็นอย่างเดียวกันสำหรับกรณีคิวบา. ทุกๆ โพลการสำรวจนับจากทศวรรษที่ 1970s เป็นต้นมา จำนวนประชากรค่อนข้างมากต้องการใช้วิธีความสัมพันธ์ทางการทูตกับคิวบา และต้องการให้ยุติการบีบคั้นทางเศรษฐกิจและการก่อการร้ายลง ซึ่งพวกเขาไม่รู้ แต่พวกเขาจะต่อต้านมันเช่นกัน. นั่นไม่ใช่ทางเลือกหนึ่ง เพราะผลประโยชน์ต่างๆ ของรัฐ ไม่ยินยอมให้ทำเช่นนั้นได้. และนั่นเป็นท่าทีที่แยกขาดจากประชาชน และจะไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุย. ลองค้นดูในสื่อและตามหน้านิตยสาร, รวมไปถึงนิตยสารของพวกฝ่ายซ้ายด้วย คุณจะไม่มีทางพบเรื่องราวเหล่านี้เลย แน่นอน มันเป็นประเทศที่เสรีมาก แต่มันก็ถูกควบคุมและแทรกแซงโดยธุรกิจด้วยเช่นกัน

EVA: ทว่า จะทำให้การเปลี่ยนแปลงมาถึงได้อย่างไร ?

CHOMSKY: มันสามารถมาถึงได้โดยรูปแบบขององค์กร ที่จะนำเอาความเห็นสาธารณะ - ที่จะนำเอาความเห็นสังคมดังกล่าวมาและเปลี่ยนมันไปสู่อำนาจขององค์กร ซึ่งปรากฏเป็นจริงขึ้นได้…

EVA: ด้วยเหตุนี้ สุดท้ายคุณต้องการควบคุมสื่อใช่ไหม ?

CHOMSKY: ใช่ ! แน่นอน นั่นเป็นส่วนหนึ่ง แต่การควบคุมสื่ออยู่ในส่วนที่เป็นผลตามมาขององค์กรซึ่งเป็นที่ยอมรับ ดังนั้นสื่อ ลองหยิบเอายุคสงครามเวียดนามขึ้นมาดู สื่อได้เปลี่ยนไปสู่บรรดานักวิจารณ์ที่กลางๆ เกี่ยวกับสงคราม แต่นั่นเป็นผลลัพธ์ของขบวนการมวลชนทั้งหลายที่เคลื่อนไหวอยู่ในเวลานั้น ผมสามารถบอกคุณได้ถึงกรณีนี้อย่างแจ่มชัด เหตุการณ์หนึ่งซึ่งผมรู้จักมันดีทีเดียวก็คือ หนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลมากฉบับหนึ่งของประเทศนี้ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวบังเอิญมีเพื่อนอยู่คนหนึ่งซึ่งค่อนข้างอนุรักษ์นิยม และได้กลายเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสหรัฐฯ ที่เรียกร้องการถอนทหาร. ส่วนใหญ่มีแรงจูงใจมาจากลูกชายของเขา ซึ่งทำการรณรงค์ต่อต้านสงครามเวียดนาม ซึ่งผมรู้จักโดยผ่านกิจกรรมการต่อต้านดังกล่าว และเขามีอิทธิพลต่อพ่อของเขา นั่นเป็นกรณีตัวอย่างเรื่องหนึ่ง แต่มันกำลังเกิดขึ้นโดยทั่วไป

ความผันเปลี่ยนในขบวนการประชาชนทั้งหลายและการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้คน น้อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสื่อ ซึ่งไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงหลัก แต่มีนัยสำคัญอันหนึ่ง. สำหรับเหตุผลข้อหนึ่งก็คือ เพราะบรรดานักข่าว นักหนังสือพิมพ์ต่างเป็นมนุษย์ และพวกเขาอยู่ในวงล้อมทางวัฒนธรรม และถ้าเขาแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมการวิจารณ์ และตั้งคำถาม ท้าทาย และอื่นๆ แน่นอนว่ามันจะมีผลต่อสิ่งเหล่านั้น. ด้วยเหตุนี้มันจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาในหลายๆ แง่มุม. เมื่อกล่าวถึงความก้าวร้าวและการรุกราน มีตัวอย่างเปรียบเทียบมากมายตอนนี้เกี่ยวกับปฏิกริยาที่มีต่อสงครามอิรัก ซึ่งคล้ายคลึงกับปฏิกริยาของผู้คนที่มีต่อสงครามเวียดนาม - แต่ที่จริงแล้ว มันแทบจะผิดหมดเลยทีเดียว กล่าวคือ มันเกือบจะไม่มีฝ่ายค้านสำหรับสงครามเวียดนาม. ในช่วงที่สงครามเวียดนามปะทุขึ้นถึงระดับเดียวกับสงครามอิรักทุกวันนี้ มันแทบจะไม่มีฝ่ายค้านหรือฝ่ายตรงข้ามเลย. การประท้วงของสาธารณชนเกี่ยวกับสงครามอิรัก มันไปไกลกว่าสงครามเวียดนามในเชิงเปรียบเทียบ กล่าวคือ ผู้คนต่างหลงลืม

มีการประท้วงสงครามเวียดนามในปี ค.ศ.1968 ในช่วงเวลานั้น มีทหารอเมริกันราวครึ่งล้านอยู่ในเวียดนาม. สหรัฐฯ ผู้รุกราน… และนั่นมัน 6 หรือ 7 ปีหลังจากที่พวกเขาได้บุกเข้าไปในเวียดนามใต้ และในทางปฏิบัติ… คำประท้วงดังกล่าวได้แพร่กระจายไปยังส่วนที่เหลือของอินโดจีน. มันเป็นหนทางที่ไกลห่างจากอิรักทุกวันนี้ - ในกรณีเกี่ยวกับการประท้วง. เสียงเรียกร้องที่เกิดขึ้นมาครั้งแรกเพื่อให้มีการถอนตัวจากสมรภูมิเวียดนาม ซึ่งปรากฏอยู่ในสื่อกระแสหลักช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1969. นั่นคือ 7 ปีหลังจากสงครามเริ่มต้นขึ้น. ตอนนี้ คุณจะพบได้ในนิวยอร์คไทม์ พวกเขาไม่ได้มีเจตนา แต่อย่างน้อยที่สุดคุณจะพบเห็นได้ สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไป และการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นในส่วนอื่นๆ เป็นจำนวนมาก

พูดถึงเรื่องของสิทธิสตรี มันค่อนข้างสำคัญมาก เพราะนั่นคือครึ่งหนึ่งของประชากร. ใช่เลย ! สถานการณ์ทั้งหลาย ออกจะแตกต่างไปมากในปัจจุบัน ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงทศวรรษที่ 1960s. คุณสามารถพบเห็นมันได้โดยตรงในสถาบันนี้. ลองเดินลงไปที่ห้องประชุมต่างๆ ดู คุณจะเห็นผู้หญิงจำนวนครึ่งหนึ่ง, เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยพวกที่สาม, แต่งตัวกันตามสบาย, แลกเปลี่ยนความคิดและพูดคุยกันอย่างง่ายๆ ท่ามกลางผู้คนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ. เมื่อผมมาที่นี่เมื่อ 50 ปีที่แล้ว มันแตกต่างกันหมดเลย นั่นคือ ผู้ชายผิวขาว, แต่งตัวกันอย่างดี, เชื่อฟังคำสั่ง - ทำงานของคุณไปและไม่ต้องตั้งคำถามใดๆ. และนั่นเป็นตัวบ่งชี้ถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายตลอดทั้งสังคมโดยรวมทั้งหมด. แน่นอน นี่คืออย่างเดียวกับขบวนการเคลื่อนไหวซอลลิแดริที(solidarity movements)ที่เรียกร้องการสามัคคีกัน. เมื่อคุณมีความเคลื่อนไหวของภาคประชาชน พวกเขาจะเปลี่ยนสังคม. ถ้าพวกเขาไปถึงขนาดที่เหมาะสม ผมคิดว่าพวกเขาสามารถท้าทายสาระมูลฐานของชนชั้นที่ครอบงำอยู่ และเป็นตัวการควบคุมทางเศรษฐกิจได้

EVA: คุณคิดว่าการปฏิวัติในเวเนซูเอลา จะเป็นตัวอย่างหนึ่งสำหรับผู้คนในสหรัฐฯ ไหม? ความเปลี่ยนแปลงอันนั้น เป็นไปได้ที่จะมาจากข้างล่างใช่หรือไม่ ?

CHOMSKY: มันอาจจะเป็นได้ ถ้าเกิด 2 สิ่งนี้ขึ้น นั่นคือ หนึ่งถ้ามันสำเร็จ และสอง ถ้าคุณสามารถเอาชนะการบิดเบือนของสื่อได้(break through the media distortion)เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น. 2 สิ่งนี้จะต้องเกิด แน่นอนใช่ไหม? ด้วยเหตุนี้ผมจึงบอกว่า ผมอยู่ในชิลีในเดือนตุลาคมหลังสุด ภาพของเวเนซูเอลาที่ได้รับการเสนอโดยสื่อ อันนี้พูดถึงในหนังสือพิมพ์ El Mercurio (*) ประมาณอย่างเดียวกันกับที่มันเกิดขึ้นในหนังสือพิมพ์ El Mercurio เก่า ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Pinochet. (President of Chile from 1974 to 1990). เหตุนี้ ตราบเท่าที่เป็นภาพนั้น นั่นคือ ปริซึมที่เหตุการณ์ทั้งหลายผ่านไปสู่การรับรู้. คุณไม่สามารถทำให้มันมีผลมากมายอะไรขึ้นมาได้. แต่ถ้าหากว่าคุณสามารถเปลี่ยนแปลงปริซึม ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหลายได้ถูกรายงานข่าวตรงกับความเป็นจริงไม่มากก็น้อย และถ้าหากเกิดสิ่งนั้นขึ้น ตามข้อเท็จจริงคือการสร้างแบบจำลองอันหนึ่งที่เป็นไปได้ ถ้าทั้ง 2 สิ่งนั้นสัมฤทธิผล ก็สามารถทำให้มันมาถึงได้. ใช่เลย ! มันสามารถเป็นไปได้
(*)El Mercurio is an influental Chilean newspaper with editions in Valpara?so and Santiago. Its Santiago edition is considered the country's paper-of-record and its Valpara?so edition is the oldest daily in the Spanish language currently in circulation. El Mercurio is owned by El Mercurio S.A.P. (Sociedad Anonima Periodistica, "Journalistic joint stock company"), which possesses a network of 19 regional dailies and 32 radio stations across the country. (See List of newspapers in Chile.)

EVA: ขอให้คุณพูดอะไรสักอย่างต่อประชาชนเวเนซูเอลา ? อะไรก็ได้

CHOMSKY: ใช่, ทำมันให้สำเร็จ. ภารกิจของผู้คนในเวเนซูเอลาหรือสำหรับลาตินอเมริกาทั้งมวล ก็คือจะต้องนำพาเรื่องของการบูรณาการไปข้างหน้า เกี่ยวกับการเอาชนะการปราบปราม, ความอยุติธรรม, ความยากจน. การขาดเสียซึ่งประชาธิปไตย ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในหลายๆ ทางในประเทศต่างๆ. นำพามันไปสู่ความสำเร็จ และในการร่วมไม้ร่วมมือและความสามัคคีกับผู้คนที่มีพลังอำนาจมหาศาล. ทำให้มันไปถึงจุดที่มันเป็นที่เข้าใจสิ่งเหล่านั้นเป็นอย่างดี ซึ่งอันนี้ต้องการทั้งสองด้าน และมันต้องสลับกัน. นำเอาเทววิทยาแห่งการปลดปล่อย(*)
ซึ่งเป็นแนวทางส่วนใหญ่ของลาตินอเมริกามาใช้ และมันมีอิทธิพลในสหรัฐอเมริกา แรงจูงใจขนาดมหึมาในโบสถ์และในสังคม และอย่างเดียวกันนี้สามารถเป็นจริงได้ในประเทศพัฒนาอื่นๆ. มันมีปฏิกริยามากมายที่เป็นไปได้ ตอนนี้มากกว่าแต่ก่อน เนื่องมาจากการมีการสื่อสารที่ข้ามไปมาสู่กันได้ และขบวนการซอลลิแดลิที การสามัคคีกันต่างๆ (solidarity movements) และอื่นๆ 333333333

(*) Liberation Theology : เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย (Liberation Theology) เป็นขบวนการทางศาสนาที่เกิดขึ้นในศาสนจักรโรมันคาทอลิกช่วงปลายศตวรรษที่ 20 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในละตินอเมริกา ขบวนการนี้พยายามปรับศรัทธาในศาสนาคริสต์ให้หันมาช่วยเหลือคนจนและผู้ถูกกดขี่ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ โดยสนใจปัญหาในเชิงโครงสร้างที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางสังคม และพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนั้น. นักเทววิทยาแห่งการปลดปล่อยเชื่อว่า พระเจ้าสำแดงวจนะผ่านคนยากไร้เป็นพิเศษ และชาวคริสต์จะเข้าใจพระคัมภีร์ไบเบิลได้อย่างถ่องแท้ ก็ต่อเมื่อพิจารณาผ่านสายตาของคนยากคนจนเท่านั้น ขบวนการนี้เห็นว่า ศาสนจักรโรมันคาทอลิกในละตินอเมริกามีภารกิจที่แตกต่างจากในยุโรป กล่าวคือ ศาสนจักรในละตินอเมริกา เป็นศาสนจักรของคนยากจนและเพื่อคนยากจน
(สำหรับผู้สนใจอ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม คลิกไปที่บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2545/document95201.html)

ข้อมูลเรียบเรียงจาก : http://www.scoop.co.nz/stories/HL0710/S00011.htm



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
5 November2007

 

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง
โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และนักวิชาการอิสระ-สถาบัน

ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ดูเหมือนจะเป็นยูโธเปีย(utopia) สำหรับประเทศศูนย์กลาง
แต่ขณะเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์นี้กลับกลายเป็นยูโธปลอม(dystopia) ของบรรดาประเทศชายขอบทั้งหลาย เนื่องจากได้นำมาซึ่งการสูญเสีย และกดขี่ทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งทางด้านความยุติธรรม ความเท่าเทียม อิสรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะมองจากมิติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และกฎหมาย ฯลฯ

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เกิดขึ้นมาจาก
การเล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ที่กำลังคุกคามผู้คนและพยายามที่จะแสวงหาตัวบท
พร้อมทั้งกรณีตัวอย่างในที่ต่างๆ มานำเสนอ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์โลก
ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน และทางออกที่หลากหลายในประเทศชายขอบต่างๆ