โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๘๖ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (October, 24, 10, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ในความเป็นจริง กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เองนั่นแหละ ที่เป็นระดมคนในฝ่ายค้านสำคัญๆ จากองค์การที่ต่อต้านรัฐบาลเมียนมาร์ทุกๆ แห่งขึ้นมา. นับตั้งแต่ปี ๒๐๐๓ กระทรวงฯ ได้เทงบประมาณ ไม่ต่ำกว่า ปีละ ๒.๕ ล้านเหรียญ เข้าไปให้การเคลื่อนไหวของ NED เพื่อการเปลี่ยนรัฐบาลเฉพาะในเมียนมาร์. จากแหล่งข่าวที่ทราบเรื่องดี ความพยายามของสหรัฐฯ ที่จะเปลี่ยนรัฐบาล หรือ'การปฏิวัติผ้าเหลือง'ส่วนใหญ่แล้ว สั่งการออกไปจากสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ ที่เชียงใหม่ ประเทศไทย. กิจกรรมของสถานกงสุลใหญ่ที่นั่นคือ ระดมและฝึกฝนนักเคลื่อนไหว
24-10-2550

Hidden Agenda
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.


บทความและรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า
US: วาระซ่อนเร้นกับการปฏิวัติผ้าเหลืองในเมียนมาร์
กอง บก. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
ข้อมูลจาก Zmag.org, นสพ.ผู้จัดการ, และ Newsline (รวบรวมจาก นสพ.ต่างๆ)

บทความและรายงานข่าวต่อไปนี้ กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืนรวบรวมมาจาก
เว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ สำนักข่าวต่างๆ และจดหมายอีเล็กทรอนิกที่ได้รับจาก
Newsline เพื่อทำความเข้าใจเบื้องลึกเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงในพม่า
ที่เพิ่งผ่านมา. ภายใต้ปรากฏการณ์บนผิวหน้า บทความของ F William Engdahl
จะชี้ให้เราเห็นว่ามีวาระซ่อนเร้นในด้านภูมิศาสตร์การเมืองระหว่างสหรัฐอเมริกา
และสาธารณรัฐประชาชนจีนแฝงอยู่ ในขณะที่อินเดียเป็นเบี้ยอีกตัวที่สหรัฐฯ ใช้เป็น
เครื่องมือเพื่อเข้ามากดดันในภูมิภาคนี้

นอกจากบทความเชิงวิเคราะห์แล้ว ในที่นี้ยังได้นำเอารายงานสถานการณ์ในพม่า
มาประกอบ เพื่อทำความเข้าใจเหตุการณ์ปัจจุบันที่กำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
หลังเผด็จการทหารพม่าใช้กำลังเข้าปราบปรามพระสงฆ์ และฝ่ายค้าน
โดยเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืนได้มีการลำดับการนำเสนอดังต่อไปนี้
- The geopolitical stakes of 'Saffron Revolution' (ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย)
- รายงานข่าวสถานการณ์ในพม่าตั้งแต่วันที่ 18 - 22 ตุลาคม 2550
- พม่าไม่สนใจยูเอ็นยังจับกุม "พระและชาวบ้าน" ตลอด
- ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของรัฐบาลพม่า
- ย่างกุ้งสงบเงียบหลังรัฐบาลทหารพม่ายกเลิกเคอร์ฟิว
- พม่าปล่อยตัวสมาชิกฝ่ายค้านที่ร่วมต่อต้านรัฐบาล
- ประชาชนหลายหมื่นคนอพยพหนีความรุนแรงในพม่า
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๘๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความและรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า
US: วาระซ่อนเร้นกับการปฏิวัติผ้าเหลืองในเมียนมาร์
กอง บก. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
ข้อมูลจาก Zmag.org, นสพ.ผู้จัดการ, และ Newsline
(รวบรวมจาก นสพ.ต่างๆ)

คลิกอ่านภาษาไทย


The geopolitical stakes of 'Saffron Revolution'*
By F William Engdahl

(
F. William Engdahl, an economist and writer, is author of the best-selling book on oil and geopolitics, "A Century of War: Anglo-American Oil Politics and the New World Order", which has been translated into Arabic, Korean, German, Croatian and Turkish. He has just completed the soon-to-be released "Seeds of Destruction: The Hidden Agenda of GMO")

There are facts and then there are facts. Take the case of the recent mass protests in Burma or Myanmar, depending on which name you prefer to call the former British colony.

First it's a fact which few will argue that the present military dictatorship of the reclusive General Than Shwe is right up there when it comes to world-class tyrannies. It's also a fact that Myanmar enjoys one of the world's lowest general living standards. Partly as a result of the ill-conceived 100% to 500% price hikes in gasoline and other fuels in August, inflation, the nominal trigger for the mass protests led by saffron-robed Buddhist monks, is unofficially estimated to have risen by 35%. Ironically the demand to establish "market" energy prices came from the IMF and World Bank.

The UN estimates that the population of some 50 million inhabitants spend up to 70% of their monthly income on food alone. The recent fuel price hike makes matters unbearable for tens of millions.

Myanmar is also deeply involved in the world narcotics trade, ranking only behind Hamid Karzai's Afghanistan as a source for heroin. As well, it is said to be Southeast Asia's largest producer of methamphetamines.

This is all understandable powder to unleash a social explosion of protest against the regime.

It is also a fact that the Myanmar military junta is on the hit list of US Secretary of State Condoleezza Rice and the Bush administration for its repressive ways. Has the Bush leopard suddenly changed his spots? Or is there a more opaque agenda behind Washington's calls to impose severe economic and political sanctions on the regime? Here some not-so-publicized facts help.

Behind the recent CNN news pictures of streams of monks marching in the streets of the former capital city, Yangon, calling for more democracy, is a battle of major geopolitical consequence.

The major actors
The tragedy of Myanmar, whose land area is about the size of George W Bush's Texas, is that its population is being used as a human stage prop in a drama scripted in Washington by the National Endowment for Democracy (NED), the George Soros Open Society Institute, Freedom House and Gene Sharp's Albert Einstein Institution, a US intelligence asset used to spark "non-violent" regime change around the world on behalf of the US strategic agenda.

Myanmar's "Saffron Revolution", like the Ukraine "Orange Revolution" or the Georgia "Rose Revolution" and the various color revolutions instigated in recent years against strategic states surrounding Russia, is a well-orchestrated exercise in Washington-run regime change, down to the details of "hit-and-run" protests with "swarming" mobs of monks in saffron, Internet blogs, mobile SMS links between protest groups, well-organized protest cells which disperse and re-form. CNN made the blunder during a September broadcast of mentioning the active presence of the NED behind the protests in Myanmar.

In fact the US State Department admits to supporting the activities of the NED in Myanmar. The NED is a US government-funded "private" entity whose activities are designed to support US foreign policy objectives, doing today what the CIA did during the Cold War. As well, the NED funds Soros' Open Society Institute in fostering regime change in Myanmar. In an October 30, 2003 press release the State Department admitted, "The United States also supports organizations such as the National Endowment for Democracy, the Open Society Institute and Internews, working inside and outside the region on a broad range of democracy promotion activities." It all sounds very self-effacing and noble of the State Department. Is it though?

In reality the US State Department has recruited and trained key opposition leaders from numerous anti-government organizations in Myanmar. It has poured the relatively huge sum (for Myanmar) of more than $2.5 million annually into NED activities in promoting regime change in Myanmar since at least 2003. The US regime change effort, its Saffron Revolution, is being largely run, according to informed reports, out of the US Consulate General in bordering Chaing Mai, Thailand. There activists are recruited and trained, in some cases directly in the US, before being sent back to organize inside Myanmar. The US's NED admits to funding key opposition media including the New Era Journal, Irrawaddy and the Democratic Voice of Burma radio.

The concert-master of the tactics of Saffron monk-led non-violence regime change is Gene Sharp, founder of the deceptively-named Albert Einstein Institution in Cambridge, Massachusetts, a group funded by an arm of the NED to foster US-friendly regime change in key spots around the world. Sharp's institute has been active in Myanmar since 1989, just after the regime massacred some 3,000 protestors to silence the opposition. CIA special operative and former US military attache in Rangoon, Col Robert Helvey, an expert in clandestine operations, introduced Sharp to Myanmar in 1989 to train the opposition there in non-violent strategy. Interestingly, Sharp was also in China two weeks before the dramatic events at Tiananmen Square.

Why Myanmar now?
A relevant question is why the US government has such a keen interest in fostering regime change in Myanmar at this juncture. We can dismiss rather quickly the idea that it has genuine concern for democracy, justice, human rights for the oppressed population there. Iraq and Afghanistan are sufficient testimony to the fact Washington's paean to democacy is propaganda cover for another agenda.

The question is, what would lead to such engagement in such a remote place as Myanmar?

Geopolitical control seems to be the answer - control ultimately of the strategic sea lanes from the Persian Gulf to the South China Sea. The coastline of Myanmar provides naval access in the proximity of one of the world's most strategic water passages, the Strait of Malacca, the narrow ship passage between Malaysia and Indonesia.

The Pentagon has been trying to militarize the region since September 11, 2001 on the argument of defending against possible terrorist attack. The US has managed to gain an airbase on Banda Aceh, the Sultan Iskandar Muda Air Force Base, on the northernmost tip of Indonesia. The governments of the region, including Myanmar, however, have adamantly refused US efforts to militarize the region. A glance at a map will confirm the strategic importance of Myanmar.

The Strait of Malacca, linking the Indian and Pacific Oceans, is the shortest sea route between the Persian Gulf and China. It is the key chokepoint in Asia. More than 80% of all China's oil imports are shipped by tankers passing the Malacca Strait. The narrowest point is the Phillips Channel in the Singapore Strait, only 1.5 miles wide at its narrowest. Each day, more than 12 million barrels in oil supertankers pass through this narrow passage, most en route to the world's fastest-growing energy market, China, or to Japan.

If the strait were closed, nearly half of the world's tanker fleet would be required to sail further. Closure would immediately raise freight rates worldwide. More than 50,000 vessels per year transit the Strait of Malacca. The region from Maynmar to Banda Aceh in Indonesia is fast becoming one of the world's most strategic chokepoints. Who controls those waters controls China's energy supplies.

That strategic importance of Myanmar has not been lost on Beijing.
Since it became clear to China that the US was hell-bent on a unilateral militarization of the Middle East oil fields in 2003, Beijing has stepped up its engagement in Myanmar. Chinese energy and military security, not human rights concerns, drives their policy.

In recent years Beijing has poured billions of dollars in military assistance into Myanmar, including fighter, ground-attack and transport aircraft; tanks and armored personnel carriers; naval vessels and surface-to-air missiles. China has built up Myanmar railroads and roads and won permission to station its troops in Myanmar. China, according to Indian defense sources, has also built a large electronic surveillance facility on Myanmar's Coco Islands and is building naval bases for access to the Indian Ocean.
In fact Myanmar is an integral part of what China terms its "string of pearls", its strategic design of establishing military bases in Myanmar, Thailand and Cambodia in order to counter US control over the Strait of Malacca chokepoint. There is also energy on and offshore of Myanmar, and lots of it.

The gas fields of Myanmar
Oil and gas have been produced in Myanmar since the British set up the Rangoon Oil Company in 1871, later renamed Burmah Oil Co. The country has produced natural gas since the 1970s, and in the 1990s it granted gas concessions to the foreign companies ElfTotal of France and Premier Oil of the UK in the Gulf of Martaban. Later Texaco and Unocal (now Chevron) won concessions at Yadana and Yetagun as well. Yadana alone has an estimated gas reserve of more than 5 trillion cubic feet and an expected life of at least 30 years. Yetagun is estimated to have about a third the gas of the Yadana field.
In 2004 a large new gas field, Shwe field, off the coast of Arakan, was discovered.

By 2002 both Texaco and Premier Oil withdrew from the Yetagun project following UK government and non-governmental pressure. Malaysia's Petronas bought Premier's 27% stake. By 2004 Myanmar was exporting Yadana gas via pipeline to Thailand, worth $1 billion annually to the Myanmar regime. In 2005 China, Thailand and South Korea invested in expanding the Myanmar oil and gas sector, with export of gas to Thailand rising 50%.

Gas export today is Myanmar's most important source of income. Yadana was developed jointly by ElfTotal, Unocal, PTT-EP of Thailand and Myanmar's state MOGE, operated by ElfTotal. Yadana supplies some 20% of Thai natural gas needs.
Today the Yetagun field is operated by Malaysia's Petronas along with MOGE, Japan's Nippon Oil and PTT-EP. The gas is piped onshore where it links to the Yadana pipeline. Gas from the Shwe field is to come on line in 2009. China and India have been in strong contention over the Shwe gas field reserves.

India loses, China wins
This past summer Myanmar signed a memorandum of understanding with PetroChina to supply large volumes of natural gas from reserves of the Shwe gasfield in the Bay of Bengal. The contract runs for 30 years. India was the main loser. Myanmar had earlier given India a major stake in two offshore blocks to develop gas to have been transmitted via pipeline through Bangladesh to India's energy-hungry economy. Political bickering between India and Bangladesh brought the Indian plans to a standstill.

China took advantage of the stalemate. It simply trumped India with an offer to invest billions in building a strategic China-Myanmar oil and gas pipeline across Myanmar from Myanmar's deepwater port at Sittwe in the Bay of Bengal to Kunming in China's Yunnan province, a stretch of more than 2,300 kilometers. China plans an oil refinery in Kumming as well.

What the Myanmar-China pipelines will allow is routing of oil and gas from Africa (Sudan among other sources) and the Middle East (Iran, Saudi Arabia) without depending on the vulnerable chokepoint of the Malacca Strait. Myanmar becomes China's "bridge" linking Bangladesh and countries westward to the China mainland independent of any possible future moves by Washington to control the strait.

India's dangerous alliance shift
It's no wonder that China is taking such precautions. Ever since the Bush administration decided in 2005 to recruit India to the Pentagon's "New Framework for US-India Defense Relations", India has been pushed into a strategic alliance with Washington in order to counter China in Asia.

In an October 2002 Pentagon report, "The Indo-US Military Relationship", the Office of Net Assessments stated the reason for the defense alliance would be to have a "capable partner" who can take on "more responsibility for low-end operations" in Asia, provide new training opportunities and "ultimately provide basing and access for US power projection". Washington is also quietly negotiating a base on Indian territory, a severe violation of India's traditional non-aligned status.

Power projection against whom? China, perhaps?

As well, the Bush administration has offered India a deal to lift its 30-year nuclear sanctions and to sell advanced US nuclear technology, legitimizing India's open violation of the nuclear Non-Proliferation Treaty. At the same time Washington accuses Iran of violating same, an exercise in political hypocrisy to say the least.

Notably, just as the saffron-robed monks of Myanmar took to the streets, the Pentagon opened US-Indian joint naval exercises, "Malabar 07", along with armed forces from Australia, Japan and Singapore. The US showed the awesome muscle of its 7th Fleet, deploying the aircraft carriers USS Nimitz and USS Kitty Hawk, guided missile cruisers USS Cowpens and USS Princeton, and no less than five guided missile destroyers.
US-backed regime change in Myanmar together with Washington's growing military power projection via India and other allies in the region is clearly a factor in Beijing's policy vis-a-vis Myanmar's present military junta. As is often the case these days, from Darfur to Caracas to Yangon, the rallying call of Washington for democracy ought to be taken with a large grain of salt.

ข้อมูลจาก: http://www.zmag.org/content/showarticle.cfm?SectionID=44&ItemID=14093

สำหรับบทความอื่นๆ ที่ปรากฏใน Zmag.org เกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงในพม่า
Burma's Struggle for Democracy (http://www.zmag.org/content/showarticle.cfm?SectionID=44&ItemID=13983)
Burma & Chevron (http://www.zmag.org/content/showarticle.cfm?SectionID=44&ItemID=13947)
Global Hypocrisy on Burma (http://www.zmag.org/content/showarticle.cfm?SectionID=44&ItemID=13947)

เดิมพันทางภูมิศาสตร์การเมืองของ 'การปฏิวัติผ้าเหลือง'
The geopolitical stakes of 'Saffron Revolution'*
By F William Engdahl
บทแปลภาษาไทยนำมาจาก นสพ.ผู้จัดการ วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๐

ความนำ
เรารู้มาว่า คณะเผด็จการทหารในเมียนมาร์ที่ปกครองด้วยการกดขี่ ปรากฏอยู่ในบัญชีดำของรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิ้ลยู บุชมานานแล้ว หรือวอชิงตันจะมีมาตรการอื่นอีกไหม? ด้วยข้อเท็จจริงที่ไม่มีใครเขียนถึงชี้ว่า สหรัฐอยู่เบื้องหลังในความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ดังนั้น การพันตูเพื่อแย่งชิงเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางภูมิศาสตร์การเมืองที่สำคัญ ยังไม่จบสิ้น มันยังจะต้องดำเนินต่อไปอีก (เอฟ วิลเลี่ยม เองดาห์ล)

เหตุการณ์หนึ่งๆ ล้วนประกอบด้วยข้อเท็จจริงชุดหนึ่ง เสร็จแล้วก็มีข้อเท็จจริงใหม่ๆ ตามมา ดูจากการประท้วงของมวลชนในเมียนมาร์ก็ได้ ใครอยากจะเรียกอดีตอาณานิคมของอังกฤษแห่งนี้ว่าพม่า ก็ตามใจ แล้วแต่ความโน้มเอียงของเขา

ข้อเท็จจริงประการแรก ซึ่งน้อยคนจะเถียงคือว่า เผด็จการทหารเมียนมาร์ของนายพลตานฉ่วย ที่เก็บตัวนั้นเป็น 'เผด็จการระดับโลก' และการที่เมียนมาร์มีมาตรฐานการครองชีพของปวงประชาสามัญชนต่ำที่สุดในโลกก็เป็นอีกข้อเท็จจริงหนึ่ง และผลจากการขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ 100-500% เมื่อเดือนสิงหาคมที่แล้ว ที่เรายังเข้าใจกันยังไม่ถ่องแท้นั้น ก็มีผลส่วนหนึ่งให้เกิดภาวะเงินเฟ้อพุ่งขึ้นถึง 35% ทำให้เกิดการประท้วงของมวลชนที่นำโดยพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาห่มผ้าเหลือง

ตลกร้าย ที่ผู้ที่เรียกร้องให้เมียนมาร์ทำราคาพลังงานให้เป็นไปตาม 'ตลาด' กลับมาจาก IMF (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ - International Monetary Fund) และธนาคารโลก. องค์การสหประชาชาติประเมินว่า ประชาชนไม่ตำกว่า 50 ล้านคนต้องใช้รายได้ต่อเดือนถึง 70% ซื้อข้าวปลาอาหารแต่อย่างเดียว การขึ้นราคาน้ำมันชนิดวินาศสันตะโรครั้งนี้ ทำให้ประชาชนหลายสิบล้าน แบกรับสภาพเช่นนี้ต่อไปไม่ไหวอีกแล้ว

นอกจากนี้ เมียนมาร์ยังพัวพันอยู่กับการค้ายาเสพติดโลกอย่างลึกซึ้ง หากพูดถึงเฮโรอีน ก็จะเป็นรองก็เฉพาะประเทศอัฟกานิสถานของประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ เท่านั้น และก็เป็นผู้ผลิตยาบ้า (แอมเฟตามีน) รายใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์. ทั้งหมดนี้เป็นผงดินปืน ที่ระเบิดการประท้วงทางสังคมของมวลชน เข้าใส่การปกครองระบอบปัจจุบัน

นอกจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งว่า คณะทหารของเมียนมาร์ปรากฏอยู่ในบัญชีดำของนางคอนโดลีซซา ไรซ์ และรัฐบาลของประธานาธิบดีบุชมานานแล้ว ในฐานะที่มีวิธีการปกครองแบบกดขี่ ปราบปราม แล้วจะให้เสือดาวอย่างบุชเปลี่ยนเป้าหมายไปได้อย่างฉับพลันทันใด กระไรหรือ ? หรือว่าการที่วอชิงตันออกมาเรียกร้องให้ทั่วโลกคว่ำบาตรรัฐบาลที่นั่น ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองก่อนหน้านั้นไม่นาน จะมีวาระซ่อนเร้นเป็นอย่างอื่นอีก ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริง ที่โผล่ตามมา และไม่มีใครเอาไปตีพิมพ์เผยแพร่มากนัก แต่มากพอจะอธิบายเรื่องเหล่านี้ได้

ข้อเท็จจริงนี้ ซ่อนอยู่เบื้องหลังสายธารของคณะสงฆ์ ที่หลั่งไหลออกมาเดินขบวน เรียกหาประชาธิปไตยตามถนนสายต่างๆ ในย่างกุ้งเมืองหลวงเก่า และนี่คือ 'สมรภูมิ' ที่ยื้อยุดกัน เพื่อครอบครองดอกผลทางภูมิศาสตร์การเมืองสำคัญ ๆ ที่จะได้มา

ตัวละครสำคัญ

โศกนาฏกรรมเฉพาะของเมียนมาร์ (ที่มีขนาดพื้นที่ราวๆ มลรัฐเทกซัสของประธานาธิบดีบุช) ก็คือประชากรของประเทศนี้ ถูกนำไปบรรจุเอาไว้ในบทละครในวอชิงตัน บทละครนี้เขียนถึงตัวอย่างของความทุกข์ระทมขมขื่นอย่างหนึ่งของมวลมนุษยชาติ เขียนขึ้นโดย 'กองทุนแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย' (National Endowment for Democracy -NED), 'สถาบันสังคมเปิด จอร์ช โซรอส' (George Soros Open Society Institute), บ้านสันติภาพ (Freedom House), และสถาบันอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein Institution*) ของจีน ชาร์ป เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล โดย 'ไม่ใช้ความรุนแรง' ไปทั่วโลก ตามแนวยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
(* ชื่อเหล่านี้ล้วนเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลบ้าง เอกชนบ้าง โดยอาศัยชื่อเสียงคนตาย หรือไม่ก็ชื่อแปลกๆ มาเรียกร้องความสนใจ. ขบวนการเหล่านี้อาจจะจัดตั้งเป็นมูลนิธิ องค์กรเอกชนไม่หวังผลกำไร บริษัทค้ากำไร ฯลฯ เฉพาะในที่นี้ล้วนเป็นกลุ่มผลประโยชน์ - interest groups ปีกขวาทั้งสิ้น)

ก็เหมือน 'การปฏิวัติสีส้ม' ในยูเครน, 'การปฏิวัติดอกกุหลาบ' ในจอร์เจีย, และการปฏิวัติสีต่าง ๆ ที่สหรัฐฯ มุ่งกระทำต่อประเทศเล็กประเทศน้อยที่ตั้งอยู่รอบๆ อดีตสหภาพโซเวียต ในรอบหลายขวบปีมานี้. สหรัฐฯ หวังยุแหย่ให้เกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในประเทศนั้นๆ. 'การปฏิวัติผ้าเหลือง' ในเมียนมาร์ ที่เป็นการประท้วงแบบ 'ตี-แล้ว-เผ่น' ("hit-and-run") โดยมีผ้าเหลือง 'ปลิวว่อน' ไปรอบๆ มีการบล็อกอินเตอร์เนท มีการส่ง SMS ทางโทรศัพท์มือถือ ติดต่อประสานงานกันในกลุ่มผู้ประท้วง มีแกนการประท้วงที่ได้รับการจัดตั้งมาดี ที่สลายตัวและรวมตัวกันได้ทุกเมื่อ ก็มาอีหรอบเดียวกัน ในระหว่างแพร่ภาพออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ CNN เมื่อเดือนกันยายนก่อน, CNN ก็ปล่อยไก่ตัวเบ้อเริ่ม เมื่อรายงานว่ามีกลุ่ม NED อยู่เบื้องหลังการประท้วงในเมียนมาร์

ตอนนี้ปรากฏเป็นข้อเท็จจริงขึ้นมาแล้วว่า กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ออกมายอมรับว่า ตัวได้ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวของ NED ในเมียนมาร์ ขบวนการนี้เป็นองค์กร 'เอกชน' ที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทำกิจกรรมเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ก็เหมือนกับที่ CIA ทำในยุคสงครามเย็นนั่นแหละ. เช่นเดียวกับ NED, สถาบันสังคมเปิด(Open Society)ของ จอร์ช โซรอส ก็ยุยงให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2003 กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ออกจดหมายข่าว ยอมรับว่า "สหรัฐยังได้ให้การสนับสนุนองค์การต่าง ๆ เช่น NED, Open Society (สถาบันสังคมเปิด), และ Internews* ที่เคลื่อนไหวส่งเสริมประชาธิปไตยอยู่นอกประเทศ" ฟังดูแหม่งๆ ไหมไอ้ข่าวแบบนี้ ?
(* เป็นองค์กรเอกชนไม่หวังผลกำไร ทำหน้าที่ด้านการเสนอข่าวสาร เหมือน 'วิทยุเสียงอเมริกัน' (Voice of America - VOA) กลับชาติมาเกิด)

เพราะในความเป็นจริง กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เองนั่นแหละ ที่เป็นระดมคนในฝ่ายค้านสำคัญๆ จากองค์การที่ต่อต้านรัฐบาลเมียนมาร์ทุกๆ แห่งขึ้นมา. นับตั้งแต่ปี 2003 กระทรวงฯ ได้เทงบประมาณ ไม่ต่ำกว่า ปีละ 2.5 ล้านเหรียญ เข้าไปให้การเคลื่อนไหวของ NED เพื่อการเปลี่ยนรัฐบาลเฉพาะในเมียนมาร์. จากแหล่งข่าวที่ทราบเรื่องดี ความพยายามของสหรัฐฯ ที่จะเปลี่ยนรัฐบาล หรือ'การปฏิวัติผ้าเหลือง'ส่วนใหญ่แล้ว สั่งการออกไปจากสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ ที่เชียงใหม่ ประเทศไทย. กิจกรรมของสถานกงสุลใหญ่ที่นั่นคือ ระดมและฝึกฝนนักเคลื่อนไหว (บางกรณีก็ส่งไปฝึกในสหรัฐฯ) แล้วส่งกลับเข้าไปในเมียนมาร์. NED ยอมรับว่าตนให้เงินสนับสนุนสื่อต่างๆ ของฝ่ายค้านสำคัญๆ อาทิเช่น วารสาร New Era Journal นิตยสารข่าว Irrawaddy และสถานีวิทยุเสียงประชาธิปไตยในเมียนมาร์ (Democratic Voice of Burma radio) เป็นต้น

ผู้เล่นเพลงโหมโรงที่คิดจะเปลี่ยนรัฐบาลเมียนมาร์ โดยใช้กลยุทธํให้พระสงฆ์นำ 'ขบวนการไม่ใช้ความรุนแรง' ก็คือจีน ชาร์ป ผู้ก่อตั้ง 'สถาบันอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์'* (ปลอมชื่อ) ที่แมสซาจูเสท เพราะที่จริงกลุ่มนี้ก็คือแขนขาของ NED เพื่อการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลประเทศต่างๆ ในจุดที่สำคัญๆ ทั่วโลก. สถาบันนี้ของชาร์ป เคลื่อนไหวในเมียนมาร์อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 1989 คือหลังจากทหารเมียนมาร์ในเวลานั้น ได้สังหารพลเมืองของตนไปกว่า 3,000 คน. พันเอกโรเบิร์ต เฮล์ฟวีย์ สายลับ CIA และอดีตผู้ช่วยทูตทหารในย่างกุ้ง ผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติการลับ ได้นำชาร์ปเข้าเมียนมาร์ในปี 1989 เพื่อช่วยฝึก 'ยุทธวิธีไม่ใช้ความรุนแรง' ในประเทศนั้น ที่น่าสนใจก็คือชาร์ปก็เคยไปโผล่ในจีน 2 สัปดาห์ ก่อนที่เหตุการณ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินจะระเบิดขึ้น
(*Albert Einstein Institution เป็นองค์กรเอกชนไม่หวังผลกำไรของสหรัฐฯ ที่เชี่ยวชาญในการศึกษาว่าด้วย 'การต่อต้านรัฐบาลโดยไม่ใช้วิธีรุนแรง' กิจกรรมของสถาบันนี้คือ ฝึกนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยจากทั่วโลก รวมทั้งเซอร์เบีย, ซิมบาวูเอ, เวเนซูเอล่า, เมียนมาร์ ฯลฯ และเป็นผู้นำ 'การปฏิวัติสี' ต่าง ๆ ทั่วโลกในเวลานี้)

ทำไมต้องเป็นที่เมียนมาร์ ในตอนนี้ด้วย?
ปัญหาที่เกี่ยวพันกันในที่นี้คือ เหตุไฉนรัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้สนใจเป็นพิเศษ ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในเมียนมาร์ ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อแบบนี้ เราคงจะปัดแนวคิดที่สหรัฐฯ ห่วงกังวลอย่างจริงใจในประเด็นเรื่องประชาธิปไตย ความยุติธรรม สิทธิมนุษยชนของคนที่ถูกกดขี่ที่นั่นไปได้ง่ายๆ. ก็บทเรียนที่เกิดขึ้นในอิรักและอัฟกานิสถานนั้น สามารถบ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่าที่วอชิงตันสรรเสริญเยินยอประชาธิปไตยนั้น เป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อให้กับการกระทำอีกแบบหนึ่ง

ดังนั้น ปัญหาตรงนี้ก็คือว่า ทำไมจึงเกิดการพันตูในระดับนั้น ในพื้นที่ที่ห่างไกล อย่างเช่นที่เมียนมาร์ เกิดอะไรขึ้น ?

ความพยายามที่จะเข้าไปยึดครองพื้นที่ที่ทรงความสำคัญทางภูมิศาสตร์การเมือง (ซึ่งก็คือเส้นทางเดินเรือระหว่างอ่าวเปอร์เซียกับทะเลจีนใต้ ที่มีความสำคัญระดับยุทธศาสตร์) น่าจะคือคำตอบ. ชายฝั่งทะเลของเมียนมาร์เป็นจุดๆ หนึ่งที่สำคัญต่อเรือนาวี ที่ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดต่อยุทธศาสตร์โลก นั่นก็คือช่องแคบมะละกา อันเป็นเส้นทางเดินเรือแคบๆ ที่ตั้งอยู่ระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย

นับตั้งแต่เหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 เป็นต้นมา กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ พยายามทำให้ย่านนี้เป็นป้อมค่ายทางการทหาร เพื่อจะได้ต่อตีกับโอกาสที่กลุ่มก่อการร้ายจะทำการจู่โจมช่องแคบ ตอนนี้สหรัฐฯ ไปมีฐานทัพอากาศในจังหวัดบันดาร์อาเจะห์ 'ฐานทัพอากาศสุลต่าน อิสกันดาร์ มูดาร์' ที่ตั้งอยู่ปลายเหนือสุดของอินโดนีเซีย แต่รัฐบาลอื่นๆ ในย่านนี้ รวมทั้งเมียนมาร์ไม่ยอมให้สหรัฐฯ ทำย่านนี้ให้เป็นป้อมค่ายทางทหาร หากชายตาดูแผนที่ก็จะยืนยันถึงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของเมียนมาร์ได้ในทันที

ช่องแคบมะละกาที่เชื่อมมหาสมุทรอินเดียเข้ากับแปซิฟิก เป็นเส้นทางที่ใกล้ที่สุดระหว่างอ่าวเปอร์เซียกับจีน เป็น 'คอขวด' ที่สำคัญ (เพราะต้องสัญจรผ่านไปมา) ของเอเชีย น้ำมันดิบที่จีนนำเข้าโดยเรือบรรทุกน้ำมัน กว่าร้อยละ 80 ต้องผ่านช่องแคบนี้ ส่วนที่แคบที่สุดในช่องแคบ ก็คือช่องฟิลลิปส์ ในช่องแคบสิงคโปร์ ที่เป็นร่องน้ำ ระยะกว้างเพียงแค่ 1.5 ไมล์เท่านั้น แต่ละวัน น้ำมันดิบที่บรรทุกอยู่บนเรือบรรทุกน้ำมัน ที่ต้องผ่านจุดนี้มีปริมาณมากถึง 12 ล้านบาเรล ส่วนใหญ่แล้วมีเป้าหมายไปส่งยังตลาดพลังงาน ที่มีอัตราโตไวที่สุดของโลก ซึ่งก็คือจีน หรือไม่ก็ที่ญี่ปุ่น

หากช่องแคบต้องปิดตัวลง กองเรือบรรทุกน้ำมันของโลกกว่าครึ่ง จะต้องหันไปใช้เส้นทางที่ไกลออกไปอีก และค่าระวางเรือของโลกทั้งโลกก็จะต้องแพงขึ้นอย่างฉับพลัน ดังนั้นทุกวันนี้จากเมียนมาร์ถึงบันดาร์อาเจะห์ในอินโดนีเซีย กำลังกลายเป็น 'คอขวด' ทางยุทธศาสตร์ของโลกเร็วขึ้นทุกทีๆ ใครควบคุมจุดนี้ได้ก็สามารถควบคุมน้ำมันที่จะไปยังจีนได้

ปักกิ่งไม่พลาดที่จะมองเห็นความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของเมียนมาร์
ในเมื่อจีนมองออกว่า สหรัฐปักใจที่จะบังคับทำบ่อน้ำมันในตะวันออกกลางให้เป็นป้อมค่ายทหาร มาตั้งแต่ปี 2003 ปักกิ่งก็เพิ่มระดับความพัวพันกับเมียนมาร์ขึ้นโดยทันที สิ่งที่ผลักดันนโยบายจีนข้อนี้ ไม่ใช่เกิดจากความกังวลด้านสิทธิมนุษยชน หากแต่เป็นความมั่นคงทางพลังงานและการทหาร. หลายขวบปีมานี้ ปักกิ่งทุ่มเทงบฯ ช่วยเหลือทางทหาร เข้าไปช่วยคณะทหารเมียนมาร์ หลายพันล้านเหรียญแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินประจัญบาน เครื่องบินขนส่งทางทหารและโจมตีภาคพื้นดิน รถถัง ยานเกราะ เรือรบ และขีปนาวุธอากาศ-สู่-พื้น จีนเข้าไปสร้างถนนและทางรถไฟในเมียนมาร์ และได้สิทธิคงทหารเอาไว้ในเมียนมาร์เป็นการชดเชย. จากแหล่งข่าวด้านกลาโหมของอินเดีย จีนได้สร้างสถานีดักฟังทางอิเล็กทรอนิกขนาดใหญ่ บนหมู่เกาะโกโก้(ติดกับหมู่เกาะอันดามันของอินเดีย ในมหาสมุทรอินเดีย) และกำลังสร้างฐานทัพเรือหลายแห่ง บนชายฝั่งเมียนมาร์ที่จะออกสู่มหาสมุทรอินเดีย

และที่จริง เมียนมาร์ก็เป็นไข่มุกเม็ดหนึ่งที่อยู่บนสิ่งที่เรียกเรียกว่า 'สร้อยไข่มุก' ที่เรียงร้อยเชื่อมต่อกันระหว่างฐานทัพทางทหารของจีน ที่ไล่มาตั้งแต่ตอนใต้ของจีน ผ่านทะเลจีนใต้ ไล่มาถึงกัมพูชา ไทย เมียนมาร์ อันเป็นบริเวณช่องแคบมะละกา ขึ้นไปจนจรดปากีสถาน ยิ่งไปกว่านั้น เมียนมาร์ก็ยังเป็นแหล่งพลังงานต่างๆ ทั้งบนดินและชายฝั่งอีกเป็นจำนวนมากด้วย

บ่อก๊าซในเมียนมาร์
น้ำมันและก๊าซในเมียนมาร์กลายเป็นผลผลิต มาตั้งแต่อังกฤษตั้งโรงกลั่นชื่อ Rangoon Oil Company ขึ้นมา ตั้งแต่ปี ค.ศ.1871 ต่อมาเปลี่ยนเป็น Burmah Oil Co. เมียนมาร์เริ่มผลิตก๊าซได้ในช่วงทศวรรษที่ 1970s และในช่วง 1990s และให้สัมปทานก๊าซที่อ่าวมะตะบันกับบริษัท Elf Total ของฝรั่งเศส และ Premier Oil ของอังกฤษ. ต่อมา Texaco และ Unocal (ตอนนี้เรียกว่า Chevron) ได้สัมปทานที่บ่อยาดานาและเยตากุน เฉพาะบ่อยาดานา คาดว่าจะมีปริมาณก๊าซสำรองที่ 5 ล้านล้านคิวบิคฟุต และมีอายุอย่างน้อย 30 ปี ส่วนที่เยตากุนคาดว่าจะมีราว 1 ใน 3 ของยาดานา. ในปี 2004 ก็มีการขุดพบบ่อก๊าซขนาดใหญ่อีกที่บ่อส่วย นอกชายฝั่งอะรากัน

ในปี 2002 Texaco และ Premier Oil ถอนตัวออกจากโครงการเยตากุน เพราะถูกรัฐบาลอังกฤษและองค์กรเอกชนกดดัน บริษัท Petronas ของมาเลเซียซื้อหุ้นจาก Premier 27% พอปี 2004 เมียนมาร์ก็ส่งออกก๊าซจากยาดานาผ่านท่อส่งไปยังไทย และไทยต้องจ่ายให้รัฐบาลเมียนมาร์ปีละ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ. ในปี 2005 จีน, ไทย, และเกาหลีใต้, เข้าไปลงทุนขยายภาคน้ำมันและก๊าซของเมียนมาร์ และการส่งออกก๊าซไปไทย เพิ่มขึ้นอีก 50%

ทุกวันนี้ การส่งออกก๊าซเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญที่สุดของเมียนมาร์ ผลผลิตจากยาดานาราว 20% ส่งไปไทย การพัฒนาบ่อก๊าซแห่งนี้ดำเนินการร่วมโดย Elf Total, Unocal, PTT-EP ของไทย และ MOGE รัฐวิสาหกิจของเมียนมาร์. ส่วนบ่อเยตากุนดำเนินการโดย Petronas ของมาเลเซีย ร่วมกับ Nippon Oil ของญี่ปุ่น และ PTT-EP ของไทย ก๊าซที่บ่อนี้ถูกดูดขึ้นฝั่ง และส่งเข้าท่อส่งยาดานา. ส่วนก๊าซจากบ่อชะเว จะผลิตมาเชื่อมกับท่อส่งสายนี้ได้ในปี 2009 ตอนนี้จีนกับอินเดียกำลังแย่งชิงสิทธิ์ ที่จะได้จาก"บ่อชะเว"กันอยู่

อินเดียพ่าย จีนรวบ
เมื่อฤดูร้อนที่แล้ว เมียนมาร์เซ็น MOU (Memorandum of Understanding) กับ PetroChina ที่ฝ่ายเมียนมาร์รับจะส่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมากจากบ่อชะเวในอ่าวเบงกอลไปให้ สัญญานี้มีอายุ 30 ปี อินเดียเป็นฝ่ายแพ้ยับเยิน ก่อนหน้านี้เมียนมาร์เคยให้อินเดียถือหุ้นใหญ่ ในพื้นที่ขุดสำรวจเพื่อผลิตก๊าซ 2 แปลง หากผลิตได้ ก๊าซที่นี่จะส่งเข้าท่อส่งที่พาดผ่านบังคลาเทศ เพื่อไปป้อนเศรษฐกิจที่กำลังกระหายน้ำมันของอินเดีย. เรื่องระหองระแหงทางการเมืองระหว่างอินเดียกับบังคลาเทศ ทำให้โครงการท่อส่งก๊าซข้างต้นต้องค้างเติ่ง

จีนอาศัยข้อได้เปรียบจากภาวะชะงักงันนี้ โดยเกทับด้วยโครงการท่อน้ำมันและก๊าซจีน-เมียนมาร์ ระดับยุทธศาสตร์ จากแหล่งก๊าซนอกชายฝั่งเมียนมาร์ ที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกของเมียนมาร์ที่เมืองสิตต่วยในอ่าวเบงกอล ผ่านเมียนมาร์ตรงไปยังคุนหมิง เมืองหลวงของมณฑลยูนนานของจีน ระยะทางกว่า 2,300 กิโลเมตร เงินลงทุนหลายพันล้านเหรียญ โดยจีนจะตั้งโรงกลั่นรองรับที่คุนหมิง

สิ่งที่ท่อน้ำมันเมียนมาร์-จีนจะให้นอกเหนือไปจากนี้คือ ส่งน้ำมันดิบจากทวีปอาฟริกา (ที่มีซูดานเป็นหลัก) และจากตะวันออกกลาง (ที่มีอิหร่าน และซาอุดิ อารเบียเป็นหลัก)ตรงไปจีน โดยไม่ต้องไปรอ'คอขวด'ที่ช่องแคบมะละกาอย่างแต่ก่อน ดังนั้นในที่นี้เมียนมาร์จึงเป็น'สะพาน'ให้จีน เชื่อมต่อไปยังบังคลาเทศ และประเทศอื่นๆ ทางตะวันตกออก โดยหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ ในกรณีที่สหรัฐฯ จะเข้าไปควบคุมช่องแคบมะละกาในอนาคต

การเปลี่ยนขั้วของอินเดียที่น่ากลัว
การที่จีนต้องระมัดระวังเช่นนี้ไม่เป็นที่น่าแปลกใจแต่อย่างใด นับตั้งแต่รัฐบาลบุชตกลงใจที่จะเกณฑ์อินเดียเข้ามาร่วมใน 'กรอบแห่งความร่วมมือทางกลาโหมใหม่ ระหว่างสหรัฐฯ กับอินเดีย' ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ในปี 2005 อินเดียก็ถูกรุนหลังให้เข้าไปเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับวอชิงตัน ทั้งนี้ก็เพื่อต่อต้านบทบาทของจีนในเอเชีย

ในรายงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เรื่อง 'ความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างอินเดียกับสหรัฐ' เมื่อเดือนตุลาคม 2002 สำนักงาน Office of Net Assessments* ของสหรัฐ ได้ให้เหตุผลที่ต้องทำพันธมิตรนี้ขึ้นมาว่า… เพื่อแสวงหา'หุ้นส่วนที่มีศักยภาพ'พอที่จะสามารถเข้ามาแบกรับ 'ความรับผิดชอบภารกิจในเอเชีย ที่สิ้นเปลืองแต่น้อยให้มากขึ้น' เพื่อการนี้สหรัฐฯ ก็จะให้การฝึกอบรมใหม่ๆ 'และสิทธิที่จะเข้าถึงแสนยานุภาพของสหรัฐฯ' นอกจากนี้ วอชิงตันก็กำลังเจรจาขอฐานทัพของตนในอินเดียอย่างเงียบๆ ซึ่งเป็นเรื่องคอขาดบาดตายต่อการไม่เข้าเป็นฝักฝ่ายของอินเดียอย่างยิ่ง
(*สำนักงานนี้เป็นหน่วยงานที่คิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ในกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี 1973)

แล้ว 'แสนยานุภาพของสหรัฐฯ' นี่จะเอาไปใช้กับใคร? บางทีอาจจะเป็นจีน ?
นอกจากนี้ รัฐบาลบุชยังยื่นข้อเสนอ จะยอมยกเลิก ไม่ทำการคว่ำบาตรอินเดียด้านนิวเคลียร์ ที่เคยกำหนดไว้ที่ 30 ปี โดยจะขายเทคโนโลยีนิวเคลียร์ระดับสูงให้ ยอมรับการที่อินเดียละเมิดสนธิสัญญาไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ แต่ในขณะเดียวกัน วอชิงตันก็ประณามการที่อิหร่านละเมิดสนธิสัญญาฉบับนี้ ซึ่งตอนนี้กลายเป็นแบบอย่างของความสับปลับตะลบตะแลงทางการเมืองไปแล้ว

พึงระลึกว่า ในตอนที่บรรดาคณะสงฆ์ที่ห่มผ้าเหลือง หลั่งไหลออกมาเดินขบวนบนท้องถนนของเมียนมาร์นั้น กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กำลังซ้อมรบร่วมอินเดีย-สหรัฐ ที่ใช้รหัสว่า 'มะละบาร์ 07' โดยมีกองกำลังจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์เข้าร่วม. สหรัฐฯ ได้อวดเขี้ยวเล็บแห่งกองทัพเรือที่ 7 ซึ่งประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz กับ USS Kitty Hawk เรือลาดตระเวน USS Cowpens และ USS Princeton รวมทั้งเรือพิฆาตติดขีปนาวุธอีกอย่างน้อย 5 ลำ

แน่นอนว่า การที่สหรัฐให้การหนุนหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในเมียนมาร์ คู่กับการที่สหรัฐฯ ส่งแสนยานุภาพทางทหารมาปรากฏ ร่วมกับอินเดียและพันธมิตรรายอื่นๆ ย่อมต้องเป็นปัจจัยกดดันนโยบายของปักกิ่ง รวมทั้งที่มีต่อเผด็จการทางทหารของเมียนมาร์ด้วย ก็อย่างที่เห็นเป็นอยู่ได้ในปัจจุบัน จากดาร์ฟู สู่คารากัส ถึงย่านกุ้ง การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยโดยผ่านวอชิงตัน จะกระเดือกเกลือเม็ดใหญ่ลงไปด้วย*
(*to be taken with a large grain of salt สำนวนนี้หมายความว่า 'จะต้องฟังหู ไว้หู')

เกี่ยวกับผู้เขียน: F William Engdahl เป็นผู้เขียนเรื่อง "A Century of War: Anglo-American Oil Politics and the New World Order", Pluto Press Ltd. ส่วนบทความเรื่องอื่นๆสามารถค้นหาได้ในเว็บไซต์ www.engdahl.oilgeopolitics.net.

รายงานข่าววันที่ 18 ตุลาคม 2550

สถานการณ์ในประเทศพม่า
1. พม่าปล่อยตัวนักแสดงและดาราตลกชื่อดังแล้ว
รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนักแสดงและดาราตลกชื่อดัง ที่ถูกจับกุมฐานสนับสนุนพระสงฆ์ในการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาล แหล่งข่าวเปิดเผยว่า นายซากานาร์ ดาราตลกชื่อดัง นายจอว์ ทู นักแสดงชื่อดัง พร้อมภรรยาได้รับการปล่อยตัวเมื่อคืนวันพุธที่ 17 ตุลาคม 2550 ในย่างกุ้ง. นายซากานาร์ ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา ก่อนหน้ากองทัพเริ่มใช้กำลังปราบปรามการชุมนุมประท้วงตามท้องถนนในย่างกุ้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อย 13 คน และถูกควบคุมตัวไป 3,000 คน นายซากานาร์ ถูกควบคุมตัวฐานนำอาหารและน้ำไปถวายพระสงฆ์ที่เจดีย์ชเวดากอง สถานที่ชุมนุมประท้วง ส่วนนายจอว์ ทู และภรรยาก็นำอาหารและน้ำไปถวายพระสงฆ์ที่เจดีย์ดังกล่าวเช่นกัน และถูกจับกุมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา. สื่อทางการพม่ายอมรับวานนี้ว่า มีประชาชนถูกจับกุมไปเกือบ 3,000 คน และขณะนี้ยังคงถูกควบคุมตัวไว้ 468 คน. องค์การนิรโทษกรรมสากลและองค์กรสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ กำลังวิตกว่า ผุ้ที่ถูกควบคุมตัวเหล่านั้นจะถูกทารุณกรรม
(สำนักข่าวเนชั่น วันที่ 18/10/2550)

2. พม่าไม่สนใจยูเอ็นยังจับกุม "พระและชาวบ้าน" ตลอด
หนังสือพิมพ์นิวไลท์ ออฟ เมียนมาร์ กระบอกเสียงของทางการ ตีพิมพ์ถ้อยแถลงของรัฐบาลพม่าในวันเดียวกันนี้ยอมรับว่า มีการกวาดจับผู้ประท้วงและผู้ต้องสงสัยเป็นแกนนำไปแล้ว 2,927 ราย โดยยังคงมี 468 คน ถูกคุมขังอยู่ในเวลานี้ และยืนยันว่าจะยังคงจับกุมต่อไปท่ามกลางแรงกดดันให้ยุติการกวาดล้างจากนานาประเทศ โดยระบุว่า ใครก็ตามที่ต้องสงสัยเป็นแกนนำ หรือทุกคนที่ปรากฏตัวร่วมประท้วงจะต้องถูกนำตัวมาสอบปากคำทั้งหมด ใครที่สมควรได้รับการปล่อยตัวก็จะถูกปล่อยตัว หลังจากนั้นถ้อยแถลงดังกล่าวยังตำหนิพระสงฆ์โดยตรงว่าเป็นเหตุทำให้ต้องปราบปราม โดยชี้ว่าหากไม่มีการเดินขบวน ไม่มีการเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง การปราบปรามก็จะไม่เกิดขึ้น ประเทศก็ไม่ต้องตกอยู่ในสภาวะกลียุค

ซึ่งสอดคล้องกับที่ผู้อพยพชาวพม่ายืนยัน รัฐบาลทหารพม่ายังคงเดินหน้ากวาดล้างประชาชนต่อไป แม้ประชาคมโลกจะกดดันให้ยุติการกระทำดังกล่าวก็ตาม. องค์การนิรโทษกรรมสากลได้เผยแพร่ภาพวีดีโอทหารพม่าทำร้ายประชาชนในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงในกรุงย่างกุ้งเมื่อเดือนที่แล้ว โดยระบุว่า ภาพวีดีโอดังกล่าว ทีมงานขององค์การนิรโทษกรรมสากลซึ่งมีสำนักงานอยู่ในกรุงลอนดอน เป็นผู้บันทึกเอาไว้. นอกจากนั้นยังมีการบันทึกวีดีโอคำให้การของผู้อพยพที่หนีการปราบปรามมายังชายแดนประเทศไทย ด้านอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งมีพระสงฆ์ที่อยู่ในเหตุการณ์ในกรุงย่างกุ้งรวมอยู่ด้วย ซึ่งต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า พระสงฆ์ที่ชุมนุมในกรุงย่างกุ้งจำนวนมากถูกทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วนใหญ่ทหารพม่าจะเจาะจงทำร้ายพระสงฆ์ที่บริเวณศีรษะ. ผู้ลี้ภัยคนหนึ่งยืนยันว่า ผู้ที่ถูกทหารรัฐบาลพม่าจับตัวไปขังไว้ที่สถาบันเทคนิคย่างกุ้งเกือบ 1,500 คนนั้น ราว 50 คน ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ นอกจากนั้นยังมีการบังคับให้พระสงฆ์ที่ถูกจับกุม ถอดจีวรและให้สวมใส่เสื้อผ้าของฆราวาสแทน

นางแคทเธอรีน บาร์เบอร์ หัวหน้าโครงการนิรโทษกรรมสากลประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า ประชาคมโลกต้องได้รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในพม่า โดยเฉพาะในสถานที่กักขังผู้ที่ชุมนุมประท้วงเมื่อเดือนที่แล้ว รัฐบาลทหารพม่าควรให้กาชาดสากลเข้าไปตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ของนักโทษเหล่านั้น. นายเหลี่ยง โม ถั่น ผู้เคยถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเมืองมัณฑะเลย์ในความผิดทางการเมืองนานกว่า 8 ปีกล่าวว่า ชาวพม่าจะต้องพลีชีพอีกมากมายในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้นักเคลื่อนไหวพม่า ส่งจดหมายถึงเลขาธิการ UN เรียกร้องให้นายกัมบารี ประจำการในพม่าเป็นการถาวร ทำหน้าที่คนกลางเจรจาการเมือง จดหมายดังกล่าวลงนามโดยนายตุน ยินต์ อ่อง, นายนีลาร์ เธียน, และนายโซ ตุน ซึ่งเรียกร้องให้นายบันคีมุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติมอบหมายให้นายอิบราฮิม กัมบารี ประจำการในพม่าเป็นการถาวรตราบเท่าที่จำเป็น เพื่อทำหน้าที่คนกลางในการเจรจาทางการเมือง และขอให้นายกัมบารีโทรศัพท์ถึงนายพลตัน ฉ่วย เพื่อเรียกร้องให้ยุติการทรมานผู้ถูกจับกุม
(มติชน, สำนักข่าวไทย, ไทยรัฐ วันที่ 18/10/2550)

3. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของรัฐบาลพม่า
นับตั้งแต่กลางปี พ.ศ.2548 เป็นต้นมา รัฐบาลพม่าได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการแสวงหามิตรจากต่างประเทศครั้งสำคัญ โดยพยายามถอยห่างจากอาเซียนซึ่งเป็นพันธมิตรดั้งเดิม หันไปผูกมิตรกับประเทศคู่แข่งทางยุทธศาสตร์ของชาติตะวันตกมากขึ้น โดยเฉพาะกับประเทศที่มีขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีทางทหารและเศรษฐกิจสูง ทั้งนี้เพื่อชดเชยการถูกกดดันจากชาติตะวันตกและอาเซียน ขณะเดียวกันรัฐบาลพม่าพยายามสร้างเสริมเสถียรภาพของประเทศอย่างยั่งยืน ตามแนวทางของตน คือ

- การผ่อนคลายความกดดันทางการเมือง ด้วยการดำเนินการตามแผน ROAD MAP
- การใช้ความแข็งกร้าวและนุ่มนวลในการนำกลุ่มต่อต้านรัฐบาลให้กลับมาร่วมพัฒนาประเทศ
- การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกองทัพ และ
- การย้ายเมืองหลวงไปยังทำเลภูมิศาสตร์ที่ดีกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม การใช้ความรุนแรงต่อฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะการกวาดล้างฆราวาส และพระสงฆ์ ในห้วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา น่าจะทำให้พม่าต้องประสบกับการกดดันจากนานาชาติมากขึ้น

แม้ว่าพม่ายังคงดำรงแนวทางสังคมนิยมส่งเสริมให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่ด้วยวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิม สภาพเศรษฐกิจเช่นนี้มีส่วนทำให้สังคมพม่าเป็นในรูปแบบอนุรักษนิยม และขาดพลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่ในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศนั้น พม่าให้สิทธิสัมปทานในทรัพยากรธรรมชาติของตนและในการลงทุนข้ามชาติจำนวนมากกับประเทศคู่แข่งทางยุทธศาสตร์กับสหรัฐฯ เช่น จีน และอินเดีย ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีการขยายอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศมากขึ้น และชอบใจพม่าที่มีศักยภาพสูงด้านการเป็นแหล่งวัตถุดิบและทางออกทะเล

ประเทศเหล่านี้ได้มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่จำนวนมากกับพม่า ทำให้พม่าได้เงินตราเข้าประเทศเพิ่มมากขึ้น และผ่อนคลายแรงบีบรัดทางเศรษฐกิจ ด้านพลังงานนั้นนับเป็นจุดเด่นของการแสวงประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยวิสาหกิจน้ำมันของจีน 2 แห่ง ได้สัมปทานน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งอาระกัน รัฐยะไข่ ตั้งแต่ปี 2548 เพื่อนำก๊าซธรรมชาติปริมาณ 6.5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ผ่านท่อเข้าสู่มณฑลยูนนานของจีนเป็นเวลา 30 ปี และสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 7 แห่งในพม่า (ปัจจุบันแล้วเสร็จ 4 แห่ง) รวมทั้งโรงงานไฟฟ้าขนาด 13,360 เมกะวัตต์ ที่รัฐคะฉิ่น ซึ่งจะเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ส่วนอินเดียนั้นมีการลงทุนมูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์ ขุดสำรวจน้ำมันและก๊าซในชายฝั่งอาระกัน ตั้งแต่ปี 2550 เช่นกัน

ประเทศคู่แข่งทางยุทธศาสตร์ของชาติตะวันตก ยังมีจุดแข็งด้านการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีทางทหารซึ่งพม่าจำเป็นต้องพึ่งพา พม่าได้รับความช่วยเหลือจากอินเดียในรูปของเครื่องบินตรวจการณ์ ปืนใหญ่และรถถัง, ขณะที่จีนขายเครื่องบินรบ เรือรบ จรวด รถถัง และยุทธภัณฑ์ให้พม่าในราคาถูก. ในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์นั้น รัสเซียได้ลงนามสร้างศูนย์วิจัยและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยูเรเนียมน้ำเบาให้แก่พม่า ขณะที่การรื้อฟื้นความสัมพันธ์ขั้นปกติระหว่างพม่ากับเกาหลีเหนือตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2550 นั้น เปิดโอกาสให้มีความเป็นไปได้ที่อาจจะมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์จากเกาหลีเหนือสู่พม่า

ในการผ่อนคลายความกดดันทางการเมืองนั้น พม่าอ้างว่าได้พยายามสร้างความปรองดองแห่งชาติ โดยค่อยๆ ปรับประเทศให้เป็นประชาธิปไตย ตามแนวทาง ROAD MAP ตั้งแต่ปี 2547 โดยมีจุดมุ่งหมายให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพม่ายอมรับในความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศ ด้วยการร่วมประชุมร่างรัฐธรรมนูญ แต่ขั้นตอนทั้งหมดกลับอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด และไม่กำหนดขอบเขตเวลา จึงทำให้หลายฝ่ายมองว่า รัฐบาลพม่าต้องการสืบทอดอำนาจมากกว่า. อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ ได้ผ่านการประชุมสภาแห่งชาติ (NATION CONVENTION-NC) แล้ว เมื่อ 24 กันยายน 2550

ส่วนการใช้แนวทางแข็งกร้าวและนุ่มนวลของรัฐบาล ในการย่อยสลายกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต่อต้านรัฐบาลนั้น ค่อนข้างประสบผลสำเร็จ ปัจจุบันเหลือเพียงกองทัพแห่งชาติรัฐฉาน (SHAN STATE ARMY-SSA) และกองกำลังกะเหรี่ยงคริสต์ (KAREN NATIONAL UNION-KNU) เท่านั้น ที่ยังสู้รบกับรัฐบาล. บางกองกำลังกลายเป็นพันธมิตรกับรัฐบาล บ้างก็กลายเป็นทหารพรานของรัฐบาลพม่า แม้แต่บางส่วนของ KNU เอง ก็มีการแยกไปอยู่ใต้อาณัติของรัฐบาลพม่า

ในด้านการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกองทัพ พม่ามีโครงการเพิ่มกำลังพลจาก 380,000 นาย เป็น 500,000 นาย ในปี 2550 โดยจะเพิ่มเติมกำลังประจำการระดับกองพันให้เต็มอัตราการจัดให้มากที่สุด ปัจจุบันพม่ามีหน่วยรบกว่า 5,000 กองพัน นอกเหนือจากการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากจีน และอินเดียดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ในปี 2549-2550 อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของพม่า สามารถผลิตรถบรรทุก รถหุ้มเกราะและเครื่องยิงลูกระเบิดได้จำนวนมาก

เพื่อป้องกันการโจมตีจากชาติตะวันตก รัฐบาลพม่าได้ย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งขึ้นไปทางเหนือ ก่อตั้งเมืองหลวงใหม่ใช้ชื่อว่า กรุงเนปิดอ ซึ่งมีสภาพทางภูมิศาสตร์เหมาะสมตามคติโบราณ การจัดสร้างเมืองหลวงของพม่า โดยอยู่ในพื้นที่ตอนในของประเทศ ยากแก่การเข้าถึงของข้าศึก ทั้งยังสามารถส่งกำลังบำรุงแก่หน่วยทหารทางตอนเหนือและตะวันออกที่ยังพื้นที่ไม่สงบได้รวดเร็วกว่าเดิม

การใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศของพม่าครั้งนี้ เปิดโอกาสให้ชาติตะวันตกถือเป็นข้ออ้างเข้าแทรกแซงกิจการภายในประเทศของพม่าอีกครั้ง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะการเรียกร้องแบบเดิมๆ เช่น การขอให้ปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี หรือยังคงการคว่ำบาตรพม่าต่อไป ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายของพม่าได้ อีกทั้งประเทศที่มีอิทธิพลต่อพม่า เช่น จีน อินเดีย และอาเซียน ก็ไม่มีท่าทีแข็งกร้าวต่อพม่าเท่าที่ควร

การควบคุมสถานการณ์ในประเทศได้ครบทุกมิติของรัฐบาลพม่า น่าที่จะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การต่อสู้กับอำนาจส่วนกลางของกองกำลังชนกลุ่มน้อยยังคงมีอยู่. การที่อาเซียนยังคงไม่ต้องการสร้างความแตกร้าวในประชาคมของตนด้วยการกดดันพม่าอย่างเป็นรูปธรรม น่าจะทำให้อาเซียนขาดพลังในการดำเนินการใดๆ ต่อพม่า และทำให้พม่ามีการจับกลุ่มกับประเทศกลุ่มอินโดจีน มีอิทธิพลในการต่อรองในเวทีอาเซียนมากขึ้น

สองประเทศที่น่าจับตามองในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในพม่า หรืออาจเผชิญหน้ากันเองในการแสวงหาทรัพยากรและจัดตั้งที่มั่นส่งกำลังบำรุงในทะเล ก็คือจีนกับอินเดีย ซึ่งพม่าทั้งอาจได้รับผลประโยชน์ในแง่ของการเลือกรับความช่วยเหลือ แต่อาจเสียผลประโยชน์ได้จากการถูกบังคับเอาผลประโยชน์เฉพาะกรณีจากประเทศทั้งสองก็ได้
(กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 18/10/2550)

4. ชาวพม่า 8 คนขอสถานะผู้ลี้ภัยในญี่ปุ่น
ชาวพม่า 8 คนยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยในญี่ปุ่น เพียง 1 วัน หลังจากที่ญี่ปุ่นตัดลดความช่วยเหลือที่ให้แก่พม่า กรณีที่รัฐบาลพม่าใช้กำลังทหารปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อเดือนที่แล้ว. เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ชาวพม่าทั้ง 8 เป็นผู้ชาย แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดได้. ขณะที่สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ในจำนวนนี้ 4 คนทำงานอยู่ในตอนกลางของญี่ปุ่น ระหว่างที่เข้าร่วมกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตยกับชาวพม่าอื่นๆ ในญี่ปุ่น, ส่วนอีก 4 คนมีแผนที่จะเข้าร่วมการชุมนุมในอนาคต โดยทั้ง 8 คนจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบ รวมถึงการสัมภาษณ์นานหลายเดือนก่อนที่รัฐมนตรียุติธรรมจะเป็นผู้ตัดสินว่าสมควรจะได้รับสถานะผู้ลี้ภัยดังกล่าว
(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 18/10/2550)

รายงานข่าววันที่ 19-22 ตุลาคม 2550

สถานการณ์ในประเทศพม่า
1. ย่างกุ้งสงบเงียบหลังรัฐบาลทหารพม่ายกเลิกเคอร์ฟิว
ภาพจากสถานีโทรทัศน์"เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า" ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ สื่อให้เห็นถึงบรรยากาศทั่วไปที่ค่อนข้างเงียบสงบในเมืองย่างกุ้ง เมืองใหญ่ที่สุดของพม่าและเป็นจุดที่เกิดการชุมนุมประท้วงของประชาชน ก่อนที่รัฐบาลทหารพม่าจะใช้กำลังเข้าปราบปรามเมื่อปลายเดือนที่แล้ว ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ประชาชนต่างใช้ชีวิตประกอบกิจธุระตามปกติ ขณะที่พอจะมียวดยานพาหนะให้เห็นอยู่บ้างตามท้องถนน ซึ่งทางสถานีโทรทัศน์อ้างว่าเป็นภาพที่บันทึกได้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2550

หลังจากเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 รัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามออกนอกบ้านยามวิกาลหรือคำสั่งเคอร์ฟิว และคำสั่งห้ามการชุมนุมเกินกว่า 5 คนที่บังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน ทั้งที่เมืองย่างกุ้งและเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นอีกจุดสำคัญในการชุมนุมประท้วงเมื่อเดือนที่แล้ว. พนักงานบริษัทรายหนึ่งที่ไม่ประสงค์ออกนามเปิดเผยว่า ประชาชนต่างดีใจอย่างยิ่งที่ทางการยกเลิกเคอร์ฟิว แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นในนครย่างกุ้งเมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนเจ้าของร้านน้ำชารายหนึ่งบอกว่า ในช่วงเคอร์ฟิวธุรกิจน้ำชาของเขาเสียหาย เพราะต้องปิดร้านประมาณ 21.00 น. อย่างไรก็ตาม เขาหวังว่าเมื่อมีการยกเลิกเคอร์ฟิวแล้ว ลูกค้าทั้งหลายจะกลับมาที่ร้านเหมือนเดิม

นอกจากนี้ รัฐบาลทหารพม่ายังปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังจำนวนหนึ่งแต่นักการทูตหลายคนบอกว่ามีอีกหลายพันคนยังถูกคุมขังอยู่ ขณะที่ชะตากรรมของพระสงฆ์จำนวนมากซึ่งเป็นแกนนำการประท้วงก็ยังคงเป็นปริศนา. มีการมองกันว่าความเคลื่อนไหวนี้ถือเป็นการส่งสัญญาณล่าสุดของรัฐบาลทหารพม่า ถึงความมั่นใจว่าสามารถปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วง และมั่นใจว่าจะควบคุมไม่ให้เกิดการชุมนุมแบบนี้ขึ้นอีก นอกจากนี้ยังถือเป็นการส่งสัญญาณให้โลกภายนอกรู้ว่า สถานการณ์ในพม่ากลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว. แต่หลายฝ่ายกลับห่วงว่าการยกเลิกเคอร์ฟิวเป็นสัญญาณร้ายมากกว่าสัญญาณดี เพราะแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลทหารมั่นใจว่าสามารถขับไล่ฝ่ายต่อต้านออกจากวัด ทำการคุมขัง หรือส่งกลับคนเหล่านั้นไปยังบ้านเกิดหมดแล้ว รวมทั้งจับกุมแกนนำผู้ประท้วง หรือทำให้พวกนั้นหลบซ่อนตัวหรือหนีออกนอกประเทศไปแล้ว

นายเปาโล เซอร์จิโอ ปินเยโร ผู้เขียนรายงานการประชุมพิเศษแห่งสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า ทางการพม่าดำเนินการจับกุมนักโทษทางการเมืองเกือบ 1,200 คน ก่อนเกิดการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงอย่างรุนแรงเมื่อเดือนที่แล้ว โดยจำนวนนักโทษทางการเมืองเพิ่มขึ้นจาก 1,100 คนในปี 2548 เป็น 1,192 คนเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2550. ด้านนายจอร์จ เอี๋ยว รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์กล่าวว่า แม้สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) จะจำกัดอิทธิพลทางเศรษฐกิจต่อพม่า แต่ก็ยังให้ความช่วยเหลือด้านศีลธรรมอยู่ เพราะพม่าเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวอาเซียน

อย่างไรก็ดี นายเอี๋ยวปฏิเสธว่าไม่รู้รายละเอียดเรื่องบริษัทสัญชาติสิงคโปร์ 3 ราย คือ บริษัทปาโว เทรดดิง, แอร์ บากัน โฮลดิงส์, และฮะโต วูด โปรดักส์ อยู่ในกลุ่ม 10 บริษัทที่ถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำรอบใหม่ ฐานมีความสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารพม่า เขากล่าวเพียงว่า บริษัทเหล่านั้นอาจเป็นแค่บริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในสิงคโปร์. บริษัทในพม่าที่ถูกสหรัฐขึ้นบัญชีดำระลอกใหม่อีก 7 แห่งนั้น ปรากฏว่ามี 3 แห่งมีความเชื่อมโยงกับสิงคโปร์ ได้แก่ บริษัทปาโว เทรดดิ้ง ทำธุรกิจส่งออกไม้สักและผลิตภัณฑ์ไม้สักจากพม่า, สายการบินแอร์พุกาม โฮลดิ้งส์, และบริษัท ตู วู้ด โปรดักส์. ก่อนหน้านี้ นักสิทธิมนุษยชนและผู้เชี่ยวชาญกล่าวหาว่า รัฐบาลย่างกุ้งได้รับเงินจากสิงคโปร์ กรณีที่ยินยอมให้นายทหารระดับสูงของพม่าฝากเงินกับธนาคาร ซึ่งถูกระบุว่าเป็นเงินสกปรก ผิดกฎหมาย และมาจากการฟอกเงิน แต่รัฐบาลสิงคโปร์ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว
(คมชัดลึก, เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 22/10/2550)

2. พม่าต้องการให้ออง ซาน ซูจี เลิกหนุนการคว่ำบาตร
นสพ.นิว ไลต์ ออฟ เมียนมาร์ กระบอกเสียงของรัฐบาลทหารพม่า ระบุในบทบรรณาธิการฉบับวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2550 ว่า รัฐบาลทหารต้องการให้นางออง ซาน ซูจี ผู้นำเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ทุกวันนี้ยังถูกกักบริเวณที่บ้านพักในนครย่างกุ้ง หยุดสนับสนุนการคว่ำบาตรต่อประเทศชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนดขึ้นมาสำหรับการเจรจากับผู้นำฝ่ายค้าน. รายงานแจ้งด้วยว่า ไม่มีการเจรจาใดที่จะประสบความสำเร็จหากปราศจากการเสียสละและการยอมรับ และเรียกร้องต่อนางซูจี ให้เข้าใจถึงธรรมชาติของการเสียสละบางสิ่ง เพื่อความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้า

ทั้งนี้พลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดของรัฐบาลทหารพม่า เสนอการเจรจากับนางซูจี แต่มีเงื่อนไขให้ผู้นำฝ่ายค้านเลิกสนับสนุนการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ ต่อพม่า. ข้อเสนอของพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ถูกมองว่าเป็นความพยายามของรัฐบาลทหาร ในการลดแรงกดดันจากนานาชาติต่อพม่า ภายหลังการใช้กำลังเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายราย และถูกคุมขังประมาณ 3,000 คน
(เดลินิวส์ วันที่ 22/10/2550)

3. พม่าปล่อยตัวสมาชิกฝ่ายค้านที่ร่วมต่อต้านรัฐบาล
รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนายเส่ง จอว์ อายุ 82 ปี สมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือ NLD แล้ว เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม หลังถูกสั่งจำคุกเป็นเวลา 5 ปี ฐานเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเมื่อเดือนที่แล้ว โดยนายเส่ง จอว์กล่าวว่า การที่ได้รับการปล่อยตัวก็เนื่องจากอายุมาก. ส่วนสมาชิกพรรคฝ่ายค้านอีกคนซึ่งสูงอายุและถูกสั่งจำคุกก็คาดว่าจะได้รับการปล่อยตัวในเร็วๆ นี้ ท่ามกลางความกดดันจากนานาชาติที่ต้องการให้พม่ายุติการใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ประท้วง

รัฐบาลพม่าอ้างเมื่อวันศุกร์ที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า มีความคืบหน้าอีกก้าวหนึ่งในแผนประชาธิปไตย(road map) ที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งอย่างเสรี โดยการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อร่างรัฐธรรมฉบับใหม่ ซึ่งสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของพม่ารายงานว่า คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญมีสมาชิก 54 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐและทหาร โดยมีนายออง โท หัวหน้าผู้พิพากษาเป็นประธาน แต่ก็ไม่มีการระบุว่าคณะกรรมาธิการจะเริ่มร่างรัฐธรรมนูญเมื่อใด โดยในขั้นตอนแรกของแผนการร่างรัฐธรรมนูญสมัชชาแห่งชาติจะทำหน้าที่ร่างรายละเอียด หลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
(สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น วันที่ 21/10/2550)

4. ประชาชนหลายหมื่นคนอพยพหนีความรุนแรงในพม่า
กลุ่มองค์กรพันธมิตรด้านมนุษยธรรม (TBBC) ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมระบุว่า การทารุณกรรม การโจมตีของทหาร และการสุ่มจับของเจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารพม่าที่เพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชนต้องละทิ้งบ้านเรือนดังกล่าว โดยผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านในพื้นที่ชนบทต่างๆ ทางตะวันออกของประเทศ ซึ่งเป็นสมรภูมิรบระหว่างกองกำลังรัฐบาลพม่า กับกลุ่มกบฏชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงในนามของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) มาตลอดเกือบ 60 ปีที่ผ่านมา จนทำให้ประชาชนไร้ที่อยู่แล้วราว 500,000 ราย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกลุ่ม KNU ลดจำนวนฐานที่มั่นในบริเวณดังกล่าวเหลือเพียงฐานกำลังใกล้แนวชายแดนไทย-พม่าเท่านั้น แต่กระนั้นสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องในพม่า ทำให้ประชาชนยังคงละทิ้งบ้านเรือนหนีภัยคุกคามจากรัฐ. TBBC เรียกร้องให้สหประชาชาติ (UN) เอาใจใส่ต่อชะตากรรมของกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวพม่าเหล่านี้ด้วย นอกเหนือจากความพยายามกดดันให้รัฐบาลทหารพม่า เปิดการเจรจากับกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศ
(ศูนย์ข่าวแปซิฟิค วันที่ 19/10/2550)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

24 October 2007


 

NED
The National Endowment for Democracy

In fact the US State Department admits to supporting the activities of the NED in Myanmar. The NED is a US government-funded "private" entity whose activities are designed to support US foreign policy objectives, doing today what the CIA did during the Cold War. As well, the NED funds Soros' Open Society Institute in fostering regime change in Myanmar.

In an October 30, 2003 press release the State Department admitted, "The United States also supports organizations such as the National Endowment for Democracy, the Open Society Institute and Internews, working inside and outside the region on a broad range of democracy promotion activities." It all sounds very self-effacing and noble of the State Department. Is it though?

Saffron Revolution

saffron คือเครื่องเทศที่บ้านเราเรียก 'หญ้าฝรั่น' ความจริง หญ้าฝรั่นเป็นเกสรดอกไม้เพศเมีย ดูเหมือนเส้นด้ายจากดอกแซฟฟรอน (Crocus sativus) ที่มีอยู่เพียงดอกละ 3 เส้น ขนาดความยาวราวเส้นละ 20 มิลลิเมตร นอกจากเป็นสมุนไพรเข้ายา และใช้ผสมอาหารแล้ว คุณสมบัติสี 'เหลืองทอง' ของมันก็ถือเป็นของสูงในชมพูทวีป จนนำมาบด และย้อมผ้าสำหรับพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน. ในศาสนาฮินดู สีหญ้าฝรั่นเป็นสีแห่งไฟที่ถือว่าศักดิสิทธิ์ ตามหลักเมื่อต้องเผาศพ ไฟจึงบ่งนัยของการที่โลกสูญสิ้นได้. นักพรตฮินดู ไม่ว่าชาย/หญิง มักจะสวมเสื้อผ้าสีไฟนี้, นักรบราชพุต ยามที่ต้องสู้จนตัวตาย มักใส่เสื้อผ้าสีนี้เช่นกัน

เหตุที่ผู้แปลถอดความเป็น 'ผ้าเหลือง' ในภาษาปัจจุบัน ซึ่งตรงข้ามกับของสูงของหญ้าฝรั่น (เฉพาะ 'ของแท้' จะเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุดในโลก เพราะแค่น้ำหนัก 1 ปอนด์ ต้องใช้เส้นเกสรพวกนี้ ไม่น้อยกว่า 225,000 เส้น ที่ต้องประจงเด็ดด้วยมือ จากดอกแซฟฟรอนบานเต็มที่ 75,000 ดอก) เพราะผ้าเหลืองทุกวันนี้ไม่ได้ย้อมตามกรรมวิธีที่สูงส่งเช่นนั้นอีกแล้ว แต่ทำให้ผู้อ่านบ้านเราเข้าใจได้ในทันทีว่า นี่คือการปฏิวัติที่นำโดยหมู่สงฆ์. สำหรับคำว่า Saffron Revolution ในที่นี้ ยังเป็นคำที่สื่อมวลชนสากลหลายแขนง นำมาเรียกการประท้วงที่นำโดยพระสงฆ์ในเมียนมาร์ ในครั้งนี้ด้วย