โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 06 October 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๖๙ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (October, 06, 10, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ขณะเดียวกัน จีนก็กำลังกลายเป็นพันธมิตรที่สร้างความอึดอัดใจมากยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากการฆาตกรรมหมู่ที่จตุรัสเทียนอันเหมิน ในเดือนมิถุนายน 1989 (พ.ศ.2532) ซึ่งนับเป็นจุดผกผันในความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และข้อเท็จจริงที่ว่าบทบาทก่อนหน้านั้นของจีน ในฐานะน้ำหนักถ่วงดุลย์กับสหภาพโซเวียตเริ่มที่จะไม่ค่อยได้เรื่อง มันได้ไปทำลายข้ออ้างเหตุผลทีละน้อยที่ว่า มิตรภาพกับปักกิ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อดุลยภาพของอำนาจระหว่างกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออก. (ข้อความคัดมาบางส่วนจากบทความ)
06-10-2550

Sino-Burmese Relations
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

ประวัติความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับจีน และพม่าต่อต้านจีน ค.ศ.๑๙๖๗
เดินถอยหลัง: สำรวจความสัมพันธ์พม่า-จีน และคอมมิวนิสท์พม่า
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
แปลมาบางส่วนจากต้นฉบับขนาดยาวเรื่อง
BURMA AND ITS NEIGHBOURS
by Bertil Lintner

บทความวิชาการต่อไปนี้ ได้สะท้อนให้เห็นประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่าง
"พม่า-ภายหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ" กับ "จีนคอมมิวนิสท์"
โดยเฉพาะจีน ซึ่งหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย ได้เปลี่ยนแปลงบทบาทของตน
ในภูมิภาคและมาให้ความสำคัญกับปากีสถานและสหภาพพม่ามากเป็นพิเศษ
ในส่วนของจีนและพม่า ได้มีการทำสนธิสัญญาและข้อตกลงทั้งที่เป็นทางการ
และไม่เป็นทางการ
ซึ่งมีผลผูกพันเมื่อกว่า ๕๐ ปีที่แล้วมาจนถึงปัจจุบัน
แน่นอน ในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการค้าเสรี
พม่าได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมร่วมกับอีกหลายประเทศ รวมทั้งจีนและอาเซียนด้วย
ซึ่งบทความชิ้นนี้จะไม่กล่าวถึง

สำหรับหัวข้อสำคัญในงานชิ้นนี้ ประกอบด้วย
- ความสัมพันธ์พม่ากับประเทศเพื่อนบ้าน
- พัฒนาการทางการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่า
- ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับพม่า
- จีนกับพม่า ๑๙๔๙-๑๙๖๒ (พ.ศ.๒๔๒๙-๒๕๐๕)
- จีนกับพม่า ๑๙๖๒-๑๙๗๘ (พ.ศ.๒๕๐๕-๒๕๑๑)
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๖๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ประวัติความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับจีน และพม่าต่อต้านจีน ค.ศ.๑๙๖๗
เดินถอยหลัง: สำรวจความสัมพันธ์พม่า-จีน และคอมมิวนิสท์พม่า
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
แปลมาบางส่วนจากต้นฉบับขนาดยาวเรื่อง
BURMA AND ITS NEIGHBOURS

ความสัมพันธ์พม่ากับประเทศเพื่อนบ้าน
BURMA AND ITS NEIGHBOURS
เอกสารการประชุมฉบับนี้ ได้นำเสนอ ณ พิพิธภัณฑ์และห้องสมุด อนุสรณ์ความทรงจำเนห์รู กรุงนิวเดลฮี ประเทศอินเดีย ในเดือนกุมภาพันธ์ 1992 และได้รับการตีพิมพ์ใน Surjit Mansingh (ed.), "Indian and Chinese Foreign Policies in Comparative Perspective" (นโยบายต่างประเทศอินเดียและจีนในแง่มุมเปรียบเทียบ) (New Delhi: Radiant Publishers, 1998) สำหรับงานเรียบเรียงชิ้นนี้ ได้คัดเลือกมาเฉพาะบางส่วนที่เป็นนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่า
เสนอโดย: Bertil Lintner

สาระโดยสังเขป
ความสำคัญเกี่ยวกับ"ไพ่จีน"(หมายถึงกลยุทธทางการเมืองในการคานอำนาจ) ในการคิดเชิงยุทธวิธีของตะวันตก เริ่มเสื่อมถอยลงในช่วงกลางทศวรรษที่ 80 ขณะที่ผู้นำอันปราดเปรียวของสหภาพโซเวียต Mikhail Gorbachev ได้เริ่มต้นนโยบายเศรษฐกิจที่ท้าทายและ, ในความอ่อนแอของพวกเขา, ได้ล้มเลิกนโยบายต่างประเทศแบบจารีตของมอสโคว์ลง. ความผ่อนคลายทางการเมืองของโลกกว้างทำให้สหภาพโซเวียตเป็นหุ้นส่วนการเจรจา ไม่ใช่ศัตรู จากมุมมองของตะวันตกอีกต่อไป

ขณะเดียวกัน จีนก็กำลังกลายเป็นพันธมิตรที่สร้างความอึดอัดใจมากยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากการฆาตกรรมหมู่ที่จตุรัสเทียนอันเหมิน ในเดือนมิถุนายน 1989 (พ.ศ.2532) ซึ่งนับเป็นจุดผกผันในความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และข้อเท็จจริงที่ว่าบทบาทก่อนหน้านั้นของจีน ในฐานะน้ำหนักถ่วงดุลย์กับสหภาพโซเวียตเริ่มที่จะไม่ค่อยได้เรื่อง มันได้ไปทำลายข้ออ้างเหตุผลทีละน้อยที่ว่า มิตรภาพกับปักกิ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อดุลยภาพของอำนาจระหว่างกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออก. แรงลมสุดท้ายต่อการรับรู้อันเก่าแก่นี้ได้มาถึง เมื่อการปกครองคอมมิวนิสท์ได้ถูกโค่นล้มลงอย่างไม่อาจรื้อฟื้นขึ้นได้ในมอสโคว์ เมื่อเดือนสิงหาคม 1991 (พ.ศ.2534)

ผลที่ตามมาคือ การสลายตัวของสหภาพโซเวียต และการเริ่มก่อตัวขึ้นของรัฐอิสระต่างๆ ซึ่งนำไปสู่พันธมิตรชุดใหม่ที่สมบูรณ์ชุดหนึ่งบนสังเวียนการเมืองระหว่างประเทศ. จีนตระหนักถึงความสำคัญของตนที่ลดน้อยถอยลงบนเวทีระหว่างประเทศ จีนกลายเป็นตัวเชื่อมที่ผูกติดอย่างแน่นหนากับประเทศเล็กๆ ในเอเชียเพื่อที่จะยังคงอำนาจในภูมิภาคนี้เอาไว้ นอกจากนี้ จีนเริ่มเน้นความสัมพันธ์สองฝ่ายกับอำนาจสำคัญๆ มากขึ้นในภูมิภาค และได้ประกาศว่า ตนให้ความสนใจที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองต่างๆ ที่ไม่ใช่คอมมิวนิสท์ในโลกที่สาม

ภายในไม่กี่สัปดาห์ของการพบปะกันแต่ละฝ่ายในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 1991 (พ.ศ.2534)จีนได้แสดงบทบาทเป็นเจ้าภาพให้กับนายกรัฐมนตรี Toshiki Kaifu ของญี่ปุ่น, , John Major ของอังกฤษ และ Giulio Andreotti ของอิตาลีได้พบปะเจรจากัน; ผู้นำกษัตริย์แห่งรัฐ AzIan Shah ของมาเลเซีย และประธานาธิบดี Wee Kim Wee ของสิงคโปร์พูดคุยกัน; รัฐบุรุษอาวุโส Henry Kissinger, Margaret Thatcher และอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งโปแลนด์ Mieszyslaw Rakowski สนทนากัน; มีการพบปะกันกับรัฐมนตรีต่างประเทศ Nguyen Ngoc Cam ของเวียดนาม; และการนัดพบระหว่างสมาชิกสภานิติบัญญัติหลายหลาก, ผู้ทรงอิทธิพลทางด้านหนังสือพิมพ์ และบรรดานักการทูตอาวุโสจากที่ทั่วโลกได้มาเสวนากัน. นายกรัฐมนตรีของจีน นายหลี่เผิง ได้ใช้เวลา 5 วันไปเยี่ยมเยือนอินเดียในเดือนธันวาคมในปีนั้น ซึ่งควรได้รับการจับตามองในฐานะผลของความใส่ใจในภูมิภาคเอเชียครั้งใหม่ของปักกิ่งด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม สองประเทศในเอเชียที่ดูเหมือนมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์อย่างลึกซึ้งมากกว่าประเทศอื่นๆ ต่อจีนในฐานะที่เป็นมหาอำนาจภูมิภาคคือ "ปากีสถาน" และ"สหภาพพม่า" หลายปีมานี้ จีนกลายเป็นผู้แจกจ่ายอาวุธหลักให้กับอิสลามาบัด และปากีสถานยังเป็นทางน้ำสายสำคัญ สำหรับอาวุธทางการทหารของจีนที่จะกำหนดอนาคตพวกมูจาฮีดีนในอัฟกานิสถานด้วย. ทางหลวงคาราโครัมเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1982 (พ.ศ.2525) ทำให้จีนมีเส้นทางโดยตรงที่จะเชื่อมต่อกับมหาสมุทรอินเดีย

ประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางสีข้างตะวันออกของอินเดีย เริ่มพัฒนาในเชิงพันธมิตรที่สำคัญของจีนในวันที่ 6 สิงหาคม 1988 (พ.ศ.2531) เมื่อทั้งสองประเทศได้มีการเซ็นสัญญาทำข้อตกลงการค้าถาวรอย่างเป็นทางการข้ามแนวตะเข็บชายแดน ข้อตกลงดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกนับถึงเวลานี้ที่ทำให้พม่าที่ค่อนข้างโดดเดี่ยว สามารถเดินทางเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้. รัฐบาลทหารพม่าในปัจจุบัน ซึ่งได้เข้ายึดอำนาจในวันที่ 18 กันยายน 1988 หลังจากบดขยี้ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่ลุกฮือขึ้นทั่วประเทศ แน่นอน ได้มองจีนในฐานะที่เป็นพันธมิตรที่ทรงพลานุภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อบรรดาผู้นำจากปักกิ่งได้ก้าวขึ้นมามีอำนาจด้วยการฆาตกรรมหมู่ผู้ให้การสนับสนุนประชาธิปไตยคล้ายๆ กันในเดือนมิถุนายนของปีต่อมา

จีนเป็นหนึ่งในประเทศไม่มากนักที่กลับมาให้การช่วยเหลือพม่าอีกครั้ง หลังจากการฆาตกรรมล้างเลือดในกรุงย่างกุ้งเมื่อเดือนสิงหาคม-กันยายน 1988. วันที่ 30 กันยายนปี 1989, หัวหน้าตำรวจลับที่น่ากลัวของพม่า ผู้อำนวยการหน่วยสืบราชการลับเพื่อความมั่นคง(the Defence Services Intelligence (DDSI), พลจัตวา(ปัจจุบันพลเอก)ขิ่นยุ่น(Khin Nyunt) ได้กล่าวออกมาต่อหน้ากลุ่มวิศวกรชาวจีน ที่ทำงานในโครงการหนึ่งให้กับย่างกุ้งว่า "เรารู้สึกเห็นอกเห็นใจจีน ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเหล่านั้นขึ้นมาคล้ายคลึงกับประเทศพม่าเมื่อปีที่แล้ว(1988)" (สำหรับเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย ปะทุขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีนเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 1989)

ความสำคัญเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศนี้ ได้ประณามระบอบการปกครองต่างๆ เพิ่มขึ้นตามมาในช่วงที่ทีมเยือนฝ่ายทหารพม่าจำนวน 24 คน ได้เดินทางไปยังประเทศจีน 12 วันในเดือนตุลาคม 1989. ทีมเยือนดังกล่าวนำโดยพลเรือโท(ปัจจุบันพลเอกอาวุโส)ตานฉ่วย รวมทั้งขิ่นยุ่น ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหา, David Abel, และผู้บังคับบัญชากองทัพอากาศและกองทัพเรือ. การเยี่ยมเยือนครั้งนั้นมีผลให้ได้รับการจัดสรรอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมหาศาล จีนได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะจัดส่งอาวุธให้แก่พม่ามูลค่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงฝูงบินรบ F-7 (ซึ่งก็คือ MiG-21 ของโซเวียตในเวอร์ชั่นจีนนั่นเอง) เรือรบลาดตระเวน Hainan-class, รถถังขนาดเบาประมาณ 100 คัน, และอาวุธประจำกายต่างๆ, ปืนต่อสู้อากาศยาน, จรวด, อาวุธขนาดเล็กจำนวนมหาศาลและกระสุน, รวมไปถึงเครื่องรับส่งวิทยุเพื่อการทหาร

พัฒนาการทางการค้า และความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่า
นับจากการเซ็นสัญญาข้อตกลงการค้าชายแดนเป็นต้นมา พม่าได้กลายเป็นตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่ของจีนสำหรับสินค้าราคาถูกต่างๆ และตอนนี้ จีนเป็นผู้นำเข้าไม้พม่ารายสำคัญ ผลิตผลจากป่า สินแร่ อาหารทะเล และผลผลิตทางด้านเกษตรกรรม. ธนาคารโลกวิเคราะห์ว่า มูลค่าของสินค้าต่างๆ ที่ซื้อขายกันตามแนวตะเข็บชายแดนทั้งสองประเทศ ระหว่างจีนกับพม่าตกราว 1.5 พันล้านเหรียญ ซึ่งอันนี้ไม่รวมการค้าที่เฟื่องฟูขึ้นทางด้านยาเสพติดจากสามเหลี่ยมทองคำของพม่า

แต่การวิเคราะห์เน้นว่า การพึ่งพาจีนของพม่าไปพ้นจากเรื่องของการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์และการพาณิชย์. พวกเขาเชื่อว่า พม่ายังพึ่งพาจีนในเรื่องคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องทางการทูตและการโฆษณาชวนเชื่อด้วย. บรรดานักการทูตกล่าวว่า พวกเขาได้รับรายงานเกี่ยวกับการพบปะกันระหว่างสมาชิกรัฐบาลทหาร, สภาฟื้นฟูระเบียบและกฎหมายของรัฐหรือที่เรียกกันว่าสล็อค(the State Law and Order Restoration Council (SLORC), กับทีมงานสถานเอกอัครราชทูตจีนในกรุงย่างกุ้ง

ความคล้ายคลึงกันอย่างเด่นชัดในการณรงค์และการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลจีนและพม่า ได้หยิบยืมหลักฐานความเชื่อถือที่ว่า ทั้งสองระบอบมักอ้างบ่อยๆ ถึงอดีตอาณานิคมมหาอำนาจตะวันตก เพื่อให้เหตุผลการกดขี่นักต่อสู้ทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตย และบรรดานักสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ซึ่งกระทำกันในแต่ละประเทศของพวกเขา. ทั้งคู่แสวงหาที่จะใชัประเด็นเรื่องยาเสพติด และภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม เพื่อดึงดูความรู้สึกห่วงใยจากต่างประเทศ และหันมาให้การสนับสนุน

จีนยังแสดงความสนใจเพิ่มขึ้นในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของพม่า รวมถึงการสร้างถนหนทางจากชายแดนยูนนานสู่กรุงย่างกุ้ง เช่นเดียวกับการยกระดับท่าเรือทั้งหลายของพม่า. หลังจากหลายทศวรรษของนโยบายต่างประเทศที่เป็นกลางและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด พม่าได้กลายเป็นพันธมิตรที่สำคัญของจีนในเอเชีย เท่าๆ กันกับประเทศปากีสถานในความสำคัญทางทางด้านยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจสำหรับปักกิ่ง

ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับพม่า
ด้วยประเทศต่างๆ ที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดของจีนทั้งทางด้านพรมแดนตะวันตกและตะวันออก การพัฒนาในพม่าจึงควรได้รับการให้ความเอาใจใส่สูงสุดต่อนักวางแผนความมั่นคงของอินเดีย แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยปัญหาชายแดนตะวันตกที่ปะทุขึ้นมาอยู่เสมอ และเกี่ยวพันกับความขัดแย้งระหว่างแคว้นปัญจาบกับแคชเมียร์ อินเดียจึงให้ความสนใจน้อยมากกับการพัฒนาชายแดนด้านตะวันออก อันที่จริง อินเดียมีโอกาสมากมายหลายครั้งที่จะประณามการกระทำที่รุนแรงด้านสิทธิมนุษยชนของสล็อค และแสดงออกถึงการสนับสนุนของตนต่อขบวนการประชาธิปไตยในพม่า - และกระทั่งบอกกับจีนเกี่ยวกับความห่วงใยของพวกเขาที่มีต่ออาวุธของจีนที่ค้าขายกับพม่า แต่อินเดียยังคงหลักการนโยบายต่อพม่าอย่างกว้างๆ คือการไม่เข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซง

เอกสารฉบับนี้(ซึ่งผู้แปลได้เรียบเรียงมาเพียงบางส่วน) จะสนทนาถึงการเรียนรู้เฉพาะประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่า, นโยบายต่างประเทศของพม่า ตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) และบทบาทใหม่ของจีนในฐานะผู้ทรงอำนาจในภูมิภาคนี้ เท่านั้น

ความสัมพันธระหว่างจีนกับพม่า (Sino-Burmese Relations)
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่าอาจแบ่งออกได้เป็นหลายยุคด้วยกัน นับจาการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนตุลาคม 1949 (พ.ศ.2492) จนกระทั่ง 1962 (พ.ศ.2505) ปักกิ่งธำรงความมีมิตรไมตรีสนิทสนมอย่างรอบคอบ แต่โดยพื้นฐานแล้ว เป็นความสัมพันธ์แบบมิตรภาพกับรัฐบาลพม่าประชาธิปไตยที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของนายกรัฐมนตรีอูนุ(U Nu) ซึ่งปกครองพม่าช่วงระหว่างยุคที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด หลังจากที่ได้รับอิสรภาพจากอังกฤษในวันที่ 4 มกราคม 1948 (พ.ศ.2493) จนกระทั่งรัฐบาลทหาร นำโดยนายพลเนวิน ได้เข้ายึดอำนาจโดยการทำรัฐประหารวันที่ 2 มีนาคม 1962

ต่อจาก 16 ปีแรก หรือขณะที่นายพลเนวินปกครองอยู่ ปักกิ่งได้ให้การสนับสนุนการต่อสู้ด้วยอาวุธแก่พรรคคอมมิวนิสท์พม่า ที่ก่อการกบฎอย่างกระตือรือร้น(Communist Party of Burma (CPB): จีนได้ให้อาวุธและกระสุนปืนมากกว่าขบวนการคอมมิวนิสท์ใดๆ ในเอเชีย(นอกจากอินโดนีเชีย). แต่ตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงนโยบายในประเทศจีน ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของประธานเหมา ในปี 1976 (พ.ศ. 2519) และที่สำคัญมากคือการหวนกลับมาของเติ้งเสี่ยวผิง ในปี 1978 (พ.ศ.2521) ปักกิ่งเริ่มแสวงหาการสร้างความสัมพันธ์ไมตรีกับย่างกุ้งครั้งใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลาเดียวกัน ก็ได้ให้การสนับสนุน CPB ( พรรคคอมมิวนิสท์พม่า)อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะในขนาดสัดส่วนที่น้อยลงมาก. แต่นับจากการปราบปรามบดขยี้ขบวนการสนับสนุนประชาธิปไตยในพม่าในปี 1988 (พ.ศ.2531) และการก่อตัวขึ้นของสล็อคในวันที่ 18 กันยายนในปีนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างปักกิ่งและย่างกุ้งได้ถูกทำให้มีความพิเศษโดยความร่วมมือกันอย่างจริงจังมากขึ้น

จีนกับพม่า 1949-1962 (พ.ศ.2492 -2505)
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่าในช่วงปลายทศวรรษที่ 40 มีปัญหาโดยการโต้เถียงกันเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนเป็นส่วนใหญ่, การอพยพที่ผิดกฎหมายโดยกลุ่มแรงงานชาวจีนขนาดใหญ่เข้าไปในพม่า, นักธุรกิจและกระทั่งชาวนาจีนในการแสวงหาทุ่งหญ้าเขียว, และการลักลอบนำเข้าสินค้า เป็นต้น ความสัมพันธ์กลายเป็นความไม่แน่นอนมากขึ้น เมื่อทหารจีนคณะชาติก๊กมินตั้งจำนวนมาก ได้ถอยล่นเข้าไปในเขตพม่าแถบหุบเขาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามมาด้วยความพ่ายแพ้สงครามกลางเมืองในประเทศจีน

จากฐานปฏิบัติการลับตามแนวตะเข็บชายแดนที่เป็นภูเขาอันไกลโพ้น ซึ่งไม่เคยถูกควบคุมได้อย่างเต็มที่โดยรัฐบาลศูนย์กลางของพม่า กองกำลังก๊กมินตั๋ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยไต้หวัน หน่วยข่าวกรองสหรัฐ(the US Central Intelligence Agency)หรือ CIA และประเทศไทย, ได้ร่วมกันทำสงครามอย่างลับๆ กับรัฐบาลคอมมิวนิสท์ในประเทศจีน. มันมีความเป็นไปได้มากเกี่ยวกับสงครามอันหนึ่งระหว่างเจ้าของบ้านที่ไม่เต็มใจกับกองกำลังเหล่านี้

ตัวอย่างของประเทศเล็กๆ และอ่อนแอกว่าในเชิงเปรียบเทียบ ที่ต้องรักษาความเป็นเอกราชและความเป็นกลางของตนในการเกี่ยวพันกับชาติใหญ่ที่สุด และมีอำนาจมากที่สุดในเอเชียอย่างจีน รวมถึงนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระของพม่าที่ต้องเผชิญหน้ากับจีน เป็นปัญหาที่ดูเหมือนว่าน่าพิจารณาใคร่ครวญเป็นพิเศษ. จีน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติทางการเมืองของรัฐบาลที่มีอำนาจ มักจะมองพม่าในฐานะที่เป็นรัฐเมืองขึ้น(vassal state) และกษัตริย์ต่างๆ ของพม่าก่อนยุคอาณานิคมซึ่งอ่อนแอกว่า มักจะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับจักรพรรดิจีนเสมอ

แต่การฝ่าอุปสรรคและความก้าวหน้าได้มาถึงในช่วงต้นปี 1953 (พ.ศ.2496) เมื่อพม่าตัดสินใจที่จะนำเรื่องเกี่ยวกับการมีอยู่ของกองกำลังก๊กมินตั๋งบนแผ่นดินของตน เข้าสู่การพิจารณาขององค์การสหประชาชาติ. แม้ว่าก่อนหน้านั้น ทหารพม่าที่ยังอ่อนหัดได้ทำการสู้รบหลายครั้งกับกองกำลังก๊กมินตั๋ง, ซึ่งแน่นอนได้แสดงให้เห็นว่า แขกเหล่านี้ไม่เป็นที่ต้องการและรัฐบาลย่างกุ้งไม่อาจที่ยินยอมให้มีการตั้งค่ายพักอยู่ในดินแดนของตนได้. วันที่ 22 เมษายน องค์การสหประชาชาติได้รับเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเรียกร้องให้ทหารก๊กมินตั๋งวางอาวุธและออกไปจากประเทศพม่า

แม้ว่าข้อเรียกร้องนี้จะมิได้ปรากฏเป็นจริงเป็นจังอะไร แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่า ทหารจีนคณะชาติหลายพันคนจะได้รับอพยพโยกย้ายไปยังไต้หวัน แต่การเสริมกำลังยังคงหลั่งไหลเข้ามา ผ่านเส้นทางบินลับๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าโดยเครื่องบินที่จัดหามาโดย CIA บางสิ่งนั้น ย่างกุ้งไม่สามารถที่จะหยุดยั้งมันได้ แต่รัฐบาลของอูนุก็ทำให้มันเป็นประเด็นขึ้นมา

และในวันที่ 22 เมษายน 1954 (พ.ศ.2497) จีนและพม่าได้เซ็นสัญญาข้อตกลงทางการค้าสองฝ่ายขึ้นเป็นครั้งแรก. ต่อมาวันที่ 28-29 มิถุนายนปีเดียวกัน นายกรัฐมนตรีจูเอนไหลได้เดินทางไปเยือนพม่าตามคำเชื้อเชิญของรัฐบาล และจัดให้มีการพูดคุยกับอูนุ. ทั้งคู่ได้มีการประกาศความร่วมมือระหว่างจีนกับพม่า มีการลงนามรับรองโดยผู้นำทั้งสองประเทศในวันที่ 29 มิถุนายน 1954 ทั้งนี้ได้มีการยืนยันหลักการ 5 ประการ เกี่ยวกับการดำรงอยู่เพื่อสันติภาพร่วมกันคือ

1. ทั้งคู่ต่างจะเคารพซึ่งกันและกันในเรื่องดินแดน ด้วยความซื่อสัตย์ และความมีอธิปไตย
2. จะไม่มีการกระทำอันก้าวร้าวหรือรุกรานกัน
3. จะไม่มีการแทรกแซงในเรื่องราวภายในประเทศของกันและกัน
4. จะธำรงผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และ
5. จะดำรงอยู่อย่างมีสันติภาพร่วมกัน

(Mutual respect for each other's territorial integrity and sovereignty, non-aggression,
non-interference in each other's internal affairs, equal and mutual benefit, and peaceful coexistence.)

พม่าได้รับเอาจุดยืนความเป็นกลางในด้านนโยบายต่างประเทศ วัตถุประสงค์สูงสุดค่อนข้างชัดเจนมาก นั่นคือป้องกันจีนจากการแทรกแซงเรื่องราวภายในประเทศ. 5 ปีแรกของการได้รับอิสรภาพของชาวพม่า ได้ปรากฏรอยมลทินโดยการจลาจลและการประท้วงที่แพร่หลายไปทั่ว และพรรคคอมมิวนิสท์ของพม่า(CPB) เป็นหนึ่งในกองกำลังที่ทำการกบฎอย่างสำคัญ แม้ว่าพรรคดังกล่าวมีแนวโน้มนิยมลัทธิเหมาอย่างเข้มแข็งอยู่แล้วในห้วงทศวรรษที่ 50 แต่ปักกิ่งก็มิได้ให้ความสนับสนุนแต่อย่างใด

ประเด็นต่อมาเป็นเรื่องการตกลงกันเกี่ยวกับข้อถกเถียงในเรื่องพรมแดนระหว่างจีนกับพม่า และปัญหานี้ได้ถูกนำมาสนทนากันในรายละเอียดในเดือนกันยายน 1956 (พ.ศ.2499) เมื่ออูนุได้ไปเยือนจีน. เขากลับมาด้วยแผนการชั่วคราวสำหรับการแก้ปัญหา ซึ่งเรียกร้องการยอมรับของจีนเกี่ยวกับอธิปไตยของพม่าเหนือพื้นที่ซึ่งถูกเรียกว่า Namwan Assigned Tract (พื้นที่ชายแดนระหว่าง Bhamo ในรัฐคะฉิ่นของพม่า กับ Namkham ในรัฐฉาน) ซึ่งอังกฤษได้เช่ามาจากจีนในปี ค.ศ.1897)

ในการแลกเปลี่ยนดังกล่าว ได้มีการยอมสละหมู่บ้าน 3 แห่งในรัฐคะฉิ่นให้กับจีน ได้แก่ Hpimaw, Gawlum และ Kangfang. จีนให้สัญญาที่จะยอมรับข้ออ้างต่างๆ ของพม่าในส่วนตกค้างเกี่ยวกับชายแดน 1,357 ไมล์ การยินยอมของอูนุครั้งนี้ กระตุ้นให้เกิดการประท้วงจากบรรดานักการเมืองในพม่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างเช่น คะฉิ่น ซึ่งลุกขึ้นมาทำการกบฎในปี 1961 (พ.ศ.2504) ในฐานะที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเกี่ยวกับการเจรจาเรื่องพรมแดนกับจีน

แต่อย่างไรก็ตาม การเจรจาตกลงยังคงดำเนินต่อไปเกือบ 4 ปี จนกระทั่งมีการเซ็นสัญญาข้อตกลงกันในท้ายที่สุด เมื่อวันที่ 28 มกราคม 1960 (พ.ศ.2503). ในปี 1958 (พ.ศ.2501) อูนุต้องส่งมอบอำนาจให้กับรัฐบาลทหารที่เข้ามาดูแล นำโดยนายพลสูงสุดแห่งกองทัพเนวิน และเขาได้สรุปข้อตกลงเรื่องพรมแดน และยังได้มีการเซ็นสนธิสัญญามิตรภาพและการไม่รุกรานกันด้วย. นอกจาก 3 หมู่บ้านในรัฐคะฉิ่นแล้ว(พื้นที่ราว 59 ตารางไมล์) นายพลเนวินยังยอมสละพื้นที่ Panhung- Panglao (เนื้อที่ประมาณ 173 ตารางไมล์) ของหุบเขา Wa ทางตอนเหนือให้ด้วย แลกเปลี่ยนกับพื้นที่ Namwan (เนื้อที่ 85 ตารางไมล์) ซึ่งสำหรับวัตถุประสงค์ทั้งหมดในทางปฏิบัติ มันเป็นส่วนหนึ่งของพม่านั่นเอง และข้อตกลงนี้ทำให้มันกลายเป็นดินแดนของพม่าอย่างเป็นทางการนั่นเอง

ที่สำคัญกว่านั้น จีนได้สละพื้นที่ในทางตอนเหนือทั้งหมดของรัฐคะฉิ่นตามข้ออ้าง กล่าวคือ จนกระทั่งช่วงเวลานั้น แผนที่ต่างๆ ของจีนได้แสดงให้เห็นพรมแดนทางตอนเหนือของรัฐคะฉิ่นนั้น มีเมืองหลวงคือ Myityina. แผนที่ต่างๆ ของไต้หวันยังคงแสดงถึงพรมแดน ณ จุดดังกล่าวอยู่ เพราะไทเปไม่เคยยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เซ็นสัญญากันระหว่างรัฐบาลคอมมิวนิสท์ในปักกิ่งกับประเทศอื่นๆ เลย

ตามมาด้วยการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 1960, อูนุได้หวนกลับมาสู่อำนาจบนเวทีการเมืองและด้วยปัญหาการปักปันเขตแดน ทำให้ความขุ่นเคืองครั้งใหม่ได้รับการก่อตัวขึ้นกับกองกำลังก๊กมินตั๋งทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าในปีต่อมา ห้วงเวลานี้ กองทหารประจำการของจีนนับเป็นพันๆ ได้ข้ามพรมแดนเข้ามาในพม่าใกล้กับเมือง Mong Yang ทางตอนเหนือของ Kengtung ทางตะวันออกของรัฐฉาน ที่ซึ่งกองกำลังก๊กมินตั๋งยังตั้งฐานปฏิบัติการสำคัญอยู่. Mong Pa Liao, อีกฐานปฏิบัติการหนึ่งของก๊กมินตั๋งที่อยู่ใกล้ชายแดนพม่ากับประเทศลาว ได้ถูกโจมตีในการรบด้วย ซึ่งชัดเจนว่าได้รับการประสานกับกองทัพพม่า ซึ่งนั่นมีเหตุผลที่จะสันนิษฐานได้ว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงมิตรภาพใหม่ระหว่างจีนกับพม่า แม้ว่ามันจะไม่เคยถูกยอมรับอย่างเป็นทางการก็ตาม

จีนกับพม่า 1962-1978 (พ.ศ.2505-2511)
มีการสันนิษฐานกันโดยทั่วไปว่า ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่าเริ่มตกต่ำลงไปในทางเลวร้ายในช่วงปี 1967 (พ.ศ.2510), เมื่อการจลาจลต่อต้านชาวจีนได้ระเบิดขึ้นในกรุงย่างกุ้ง. ชุมชนชาวจีนในเมืองหลวงของพม่าได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติวัฒนธรรมในสาธารณรัฐประชาชนจีน และชาวพม่าเชื้อสายจีนหนุ่มสาวเริ่มประดับสัญลักษณ์ประธานเหมาสีแดง. อันนี้เป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบที่เป็นทางการของพม่า และบรรดาเรดการ์ดหนุ่มสาว(young "Red Guard")ถูกสั่งให้ถอดเครื่องหมายนั้นออก แต่บางคนในกลุ่มกลับขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตาม การจลาจลต่อต้านจีนจึงระเบิดขึ้นในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมปีนั้น

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้บ้านเรือนและร้านค้าของชาวจีนได้ถูกตรวจค้นและปล้นสะดม และชาวพม่าเชื้อสายจีนจำนวนมากได้ถูกฆ่าตาย. ม็อบกลุ่มหนึ่งได้โจมตีสถานทูตจีนในกรุงย่างกุ้งก่อนที่สถานการณ์ดังกล่าวจะได้รับการควบคุม แต่อย่างไรก็ตาม บทบาทของเจ้าหน้าที่ทั้งหลายในเรื่องดังกล่าวยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ กล่าวคือ การจลาจลที่ไชน่าทาวน์ในกรุงย่างกุ้งได้มาถึง ซึ่งเกือบจะไม่ใช้เป็นเหตุบังเอิญ ณ ช่วงเวลาที่มีความขาดแคลนข้าวอย่างรุนแรง รวมถึงอาหารการกินขั้นพื้นฐานในกรุงย่างกุ้ง. ตามผู้ที่เห็นเหตุการณ์กล่าวว่า ตำรวจไม่ได้เข้าไปแทรกแซงกับการฆ่าและปล้นสะดมนั้นแต่อย่างใด จนกระทั่งสถานทูตจีนถูกโจมตี. มีการเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า รัฐบาลกองทัพของพม่าได้ให้การสนับสนุนการจลาจลดังกล่าว เพื่อที่จะหันเหความสนใจจากปัญหาปากท้องภายในประเทศในห้วงเวลานั้นนั่นเอง

เหตุการณ์ดังกล่าว ตามมาด้วยการถอนตัวของเอกอัครราชทูตของทั้งสองประเทศ และมีการขับนักข่าวซินหัว(สำนักข่าวจีนใหม่)ในกรุงย่างกุ้งออกไป. ปักกิ่งได้ชะงักโครงการความช่วยเหลือที่มีต่อพม่า พร้อมเงินทุนภายใต้สนธิสัญญามิตรภาพปี 1960 (พ.ศ.2503). วิทยุปักกิ่งเริ่มถ่ายทอดเสียงเพื่อโจมตีนายพลเนวินอย่างรุนแรง และสร้างตราประทับให้กับเขาในฐานะเผด็จการฟาสซิสท์ และในเดือนมกราคม 1968 (พ.ศ.2511) อาวุธหนักของหน่วยปฏิบัติการพรรคคอมมิวนิสท์พม่า(CPB)ได้ข้ามจากจีนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า. จีนได้ตัดสินใจให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อพรรคการเมืองน้องสาวชาวพม่าในห้วงเวลานี้

แต่อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์จีน-พม่า บ่งชี้ว่า เหตุการณ์ปี 1967 (พ.ศ.2510) ถือเป็นเรื่องที่เล็กน้อยมาก สำหรับการที่จีนได้แทรกแซงโดยตรงในเรื่องภายในของประเทศพม่า. ความสัมพันธ์จีน-พม่ายุคใหม่ ตามข้อเท็จจริง ได้รับการเริ่มต้นขึ้นแล้วในปี 1962 (พ.ศ.2505) เมื่อนายพลเนวินเข้ามายึดอำนาจ. กองทัพที่เข้ามาแทนที่รู้สึกวุ่นวายใจเกี่ยวกับเสถียรภาพของภูมิภาคที่ถูกตระเตรียมขึ้นมาโดยรัฐบาลประชาธิปไตยที่เป็นกลางของพม่า. ยิ่งไปกว่านั้น จีนได้เฝ้าดูมายาวนานเกี่ยวกับความทะเยอทะยาน และบางครั้งคาดการณ์อะไรไม่ได้ในกรุงย่างกุ้ง. เหตุการณ์สำคัญ 6 ประการที่เกิดขึ้นทันที ภายหลังการรัฐประหารในกรุงย่างกุ้ง คือ

(1). ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 50 หลายกลุ่มของกองกำลังพรรคคอมมิวนิสท์พม่า(CPB) ได้เดินทางไปยังประเทศจีนเพื่อขอความช่วยเหลือทางด้านอาวุธ สำหรับการก่อกบฎของพวกเขาในประเทศพม่า. ตราบเท่าที่อูนุยังอยู่ในอำนาจ คอมมิวนิสท์พม่าเหล่านี้ - ทั้งหมด 143 คน - ได้ตั้งบ้านเรือนในจังหวัด Sichuan (เสฉวน) ที่ซึ่งพวกเขาได้เข้าเรียนในโรงเรียนต่างๆ ของพรรคคอมมิวนิสท์. แต่พวกเขามิได้รับการส่งเสริมใดๆ และแน่นอนไม่มีอาวุธและการฝึกฝนทางด้านการทหารแต่อย่างใดด้วย ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสท์พม่าเหล่านี้ถูกเนรเทศไปยังประเทศจีนคือ Thakin Ba Thein Tin, ผู้ซึ่งต่อมาภายหลังกลายเป็นประธานของพรรคคอมมิวนิสท์พม่า. ส่วนใหญ่ เขาพำนักอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งเขาได้มีโอกาสใกล้ชิดกับประธานเหมา และทั้งสองได้พัฒนาความสัมพันธ์ส่วนตัวมาเป็นเวลายาวนาน

ตามมาด้วยการเข้ามาของนายพลเนวินในกรุงย่างกุ้ง พรรคคอมมิวนิสท์พม่า เป็นครั้งแรกที่ได้รับการยินยอมให้ตีพิมพ์ใบปลิวโฆษณาชวนเชื่อ และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ในกรุงปักกิ่ง. วันที่ 1 สิงหาคม 1962 (พ.ศ.2505) ปักกิ่ง -และ Sichuan- ที่เป็นฐานของพวกถูกเนรเทศได้ตีพิมพ์เอกสารที่มีชื่อว่า "ข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวกับรัฐบาลทหารของเนวิน" (Some Facts about Ne Win's Military Government) ซึ่งได้ประณามระบอบปกครองดังกล่าว

(2). ภารกิจเร่งด่วนที่สุดก็คือ ค้นหาช่องทางที่จะติดต่อกับหน่วยงานพรรคคอมมิวนิสท์พม่า(CPB) ในพื้นที่ฐานปฏิบัติการเก่าในภาคกลางของประเทศ ซึ่งอยู่ที่เทือกเขา Pegu Yama ทางตอนเหนือของกรุงย่างกุ้ง ฐานปฏิบัติการเก่านี้ครั้งหนึ่งมันเคยมีกองกำลังคอมมิวนิสท์ที่เข้มแข็ง แต่กำลังจะสลายตัว. มันไม่เคยมีการเชื่อมต่อระหว่างคนพวกนี้กับกลุ่มดังกล่าวในประเทศจีน นับจากที่ฝ่ายหลังได้เดินแถวอพยพไปยังยูนนานในช่วงต้นทศวรรษที่ 50. แต่โดยความบิดเบี้ยวที่ประหลาดของเหตุการณ์ต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ ระบอบการปกครองของทหารในกรุงย่างกุ้งได้เปิดโอกาสอย่างไม่ตั้งใจ ให้กับผู้ถูกเนรเทศที่สังกัดพรรคคอมมิวนิสท์พม่าในประเทศจีนได้มีช่องทางสถาปนาความสัมพันธ์กันเหล่านี้

มีความหวังที่เป็นไปได้ที่ว่า บรรดาผู้ก่อกบฎอาจสลายตัวไปเมื่อเผชิญหน้ากับกำลังมหาศาลของรัฐบาลทหาร ซึ่งได้เรียกร้องให้มีการเจรจาสันติภาพหลังจากที่ได้ขึ้นมามีอำนาจเกือบ 1 ปี. จากวันที่ 14 มิถุนายน 1963 (พ.ศ.2506), พรรคคอมมิวนิสท์พม่า(CPB) พรรคคอมมิวนิส์ธงแดงที่มีขนาดเล็กมากของ Thakin Soe, ชาวกะเหรี่ยง, มอญ, ฉาน, คะฉิ่น, และกลุ่มที่เล็กกว่าได้เข้าร่วมการเจรจาสันติภาพในกรุงย่างกุ้ง และมีการรับประกันการเดินทางอย่างอิสระและปลอดภัย ทั้งนี้เนื่องมาจากการจัดประชุมเรื่องสันติภาพ โดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะออกมา

Thakin Soe ที่มีสีสรร เป็นไปได้ที่เขาเป็นที่ดึงดูดความสนใจมากที่สุดเมื่อมาถึง พร้อมกับทีมเยาวชนหญิงที่น่าสนใจในชุดเครื่องแบบสีกากี. เขาวางภาพเหมือนสตาลินอยู่ตรงหน้าเขาบนโต๊ะเจรจาและถัดจากนั้นได้เริ่มโจมตีลัทธิแก้(revisionism)ของผู้นำโซเวียต Khrushchev และ"ลัทธิฉวยโอกาส"(opportunism)ของประธานเหมา. ไม่ช้า Thakin Soe ก็ถูกขับออกจากที่ประชุม. แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ทรงคุณวุฒิ 29 คนส่วนใหญ่จากพรรคคอมมิวนิสท์พม่าในประเทศจีน ก็ได้มายังย่างกุ้งด้วย ซึ่งตั้งใจที่จะเข้าร่วมในการเจรจาสันติภาพ ท่ามกลางผู้คืนถิ่นจากปักกิ่ง ดังที่พวกเขาถูกรู้จักเช่นนั้นคือ สหาย yebaw, สหาย Aung Gyi, สหาย Thakin Bo, สหายBo Zeya - และสหาย Thakin Ba Thein Tin ซึ่งตามความจริงมิได้มีส่วนร่วมในการเจรจา แต่ได้ชิงโอกาสเยี่ยมเยือนสำนักงานใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสท์พม่าใน Pegu Yama, และได้นำเอาเครื่องส่งวิทยุและความช่วยเหลืออื่นๆ มาพร้อมกับเขา

ตามเอกสารของพรรคคอมมิวนิสท์พม่า รัฐบาลพม่าเรียกร้องให้คอมมิวนิสท์ทั้งหลายให้ความเอาใจใส่กองกำลังต่างๆ ของพวกตน และบรรดาสมาชิกพรรคภายในพื้นที่ และขอให้ยุติกิจกรรมขององค์กรเหล่านี้ทั้งหมด… โดยเหตุนี้ การเจรจาจึงได้พังทลายลงในเดือนพฤศจิกายน และผู้ก่อกบฎมากมายได้หวนคืนกลับสู่ค่ายในป่าลึกของตน. Thakin Ba Thein Tin และทหารพรรคคอมมิวนิสท์พม่าอีกคนได้หวนคืนสู่ปักกิ่ง ขณะที่ผู้คืนถิ่นอีก 27 คนยังคงพำนักอยู่ที่เทือกเขา Pegu Yoma ที่ซึ่งพวกเขาได้ยอมรับความเป็นผู้นำแท้จริงของพรรคคอมมิวนิสท์ที่บ้านเกิด

(3). ตามมาด้วยการแบ่งแยกของขบวนการคอมมิวนิสท์สากลในช่วงเวลาเดียวกัน กองกำลังพรรคคอมมิวนิสท์พม่า(CPB)บางคนซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่สหภาพโซเวียต - Khin Maung Gyi, San Thu และ Thein Aung - ได้หวนคืนสู่ปักกิ่งในเดือนพฤศจิกายน 1963 (พ.ศ.2506). "กลุ่มผู้นำทั้งห้า"ที่ทำหน้าที่ควบคุมในจีนได้รับการก่อตั้งขึ้นในปักกิ่งอย่างรวบรัด หลังจากการหวนกลับมาของ Thakin Ba Thein Tin ในการไปเจรจาสันติภาพที่กรุงย่างกุ้ง. กลุ่มดังกล่าวได้กลายเป็นแกนกลางผู้นำใหม่ของพรรคคอมมิวนิสท์พม่า ที่ปรากฏตัวขึ้นในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 60 ซึ่งประกอบด้วย Thakin Ba Thein Tin ในฐานะผู้นำ, พร้อมด้วย Khin Maung Gyi ในฐานะเลขานุการส่วนตัวของเขา ซึ่งได้กลายเป็นนักทฤษฎีหลักของพรรคคอมมิวนิสท์พม่า

(4). ในปลายปี 1963, San Thu, หนึ่งในผู้คืนถิ่นทั้งหลายจากมอสโคว์ ได้รับการวางตัวให้รับผิดชอบเป็นทีมที่เริ่มทำการสำรวจเส้นทางต่างๆ ในการแทรกซึมที่เป็นไปได้จากยูนนานเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า. ช่วงเวลาดังกล่าว จีนได้สร้างเครือข่ายถนนหลวงจากคุนหมิงสู่หลายจุดตามแนวชายแดนประชิดกับประเทศพม่าและลาว ที่ซึ่งขบวนการคอมมิวนิสท์อีกกลุ่มปฏิบัติการอยู่

(5). สหายพรรคคอมมิวนิสท์พม่าเกือบทั้งหมดที่อยู่ในประเทศจีน ต่างอ่านงานปัญญาชนมาร์กซิสท์มาเป็นอย่างดี แต่ไม่มีประสบการณ์ในเรื่องการทหาร. ในปี 1950 ผู้นำกบฎเชื้อสายคะฉิ่น Naw Seng และผู้ติดตามเขาจำนวน 200-300 คนได้ถอยล่นมาที่จีน ที่ซึ่งคนเหล่านี้ได้รับการตั้งรกรากใหม่ในจังหวัด Guizhou ในฐานะพลเมืองธรรมดา. Naw Seng ได้รับการแต่งตั้งเป็นวีรบุรุษสงครามโลกครั้งที่ 2 - เขาได้ทำการต่อสู้อย่างชาญฉลาดกับญี่ปุ่น - และเขาเป็นผู้บัญชาการกองทัพชนิดที่ปัญญาชนพรรคคอมมิวนิสท์พม่าต้องการ

ในช่วงต้นปี 1963 (พ.ศ.2506) - ก่อนมีการเจรจาสันติภาพในกรุงย่างกุ้ง - Naw Seng ได้รับการชักชวนมายังจังหวัด Sichuan (เสฉวน). เขาได้รับการแนะนำให้รู้จักกับ Thakin Ba Thein Tin และได้รับการบอกว่าถึงเวลาแล้วที่หวนคืนสู่พม่าและทำการรบ. Naw Seng กระหายที่จะละจากชุมชนของเขาใน Guizhou อยู่แล้วจึงตกลงทันที. เขาได้รวบรวมคนของเขาซึ่งมีทักษะทางด้านการทหารที่ได้รับการฝึกซ้อม ณ ค่ายฝึกอบรมในยูนนานในช่วง 1965-66 (พ.ศ.2508-09). วันที่ 1 มกราคม 1968 (พ.ศ.2511), บรรดานักรบคะฉิ่นของ Naw Seng ในที่สุดก็ได้เข้าไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า พร้อมกับ Khin Maung Gyi และผู้บังคับการการเมืองคนอื่นๆ ของพรรคคอมมิวนิสท์พม่า

(6). นับจากทศวรรษที่ 30 เป็นต้นมา ชาติพันธุ์กลุ่มเล็กๆ ของจีนคอมมิวนิสท์ได้ปฏิบัติการในเมืองต่างๆ ทางตอนกลางของพม่า ซึ่งได้แยกกันอย่างสมบูรณ์จากขบวนการคอมมิวนิสท์พม่ากระแสหลัก. ในช่วงต้นทศวรรษที่ 60 คนเหล่านี้ถือเป็นครั้งแรกที่ได้มาเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสท์พม่า(CPB). พวกเขามีกันเพียงไม่กี่คน แต่สถานทูตจีนในย่างกุ้งได้จัดการให้กลุ่มชาติพันธ์เชื้อสายจีนจากเมืองหลวงและเมืองต่างๆ ในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีได้พบปะกับพรรคคอมมิวนิสท์พม่า จากนั้นได้ตั้งฐานปฏิบัติการตามแม่น้ำ Shweli (และต่อมาได้ย้ายไปตั้งฐานปฏิบัติการใหม่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ตั้งขึ้นหลังปี 1968 [พ.ศ.2511]). จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นหลังจากที่มีการจลาจลต่อต้านชาวจีนในกรุงย่างกุ้ง ปี 1967; การจลาจลเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดตัวเร่งปฏิกริยา ที่เป็นตัวผลักดันแผนการสนับสนุนของจีนเข้าสู่รัฐฉาน แต่พวกเขาไม่มีเหตุผลใดๆ ในการสนับสนุนของจีนต่อพรรคคอมมิวนิสท์พม่า

ช่วงทศวรรษต่อมา, จีนได้เทความช่วยเหลือมากขึ้นให้กับพรรคคอมมิวนิสท์พม่า ยิ่งกว่าขบวนการคอมมิวนิสท์ใดๆ. ปืนยาวสำหรับโจมตี, ปืนกล, เครื่องยิงขีปนาวุธต่างๆ, ปืนต่อสู้อากาศยาน, เครื่องรับส่งวิทยุ, รถจี๊บ, รถกระบะลำเลียง, น้ำมัน, และแม้กระทั่งข้าว รวมถึงอาหารการกินและน้ำมันปรุงอาหาร ตลอดจนเครื่องครัวต่างๆ ได้ถูกส่งข้ามพรมแดนสู่ฐานปฏิบัติการเพื่อการปฏิวัติ ที่ซึ่งพรรคคอมมิวนิสท์พม่าได้ตั้งมั่นตามแนวชายแดนจีนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า

จีนยังสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำในพื้นที่ดังกล่าวด้วย และสถานีวิทยุลับๆ, เสียงประชาชนพม่า(the People's Voice of Burma), ที่เริ่มส่งสัญญานจากฝั่งยูนนานในเดือนเมษายน 1971. อาสาสมัครชาวจีนนับพันๆ ได้หลั่งไหลข้ามพรมแดนมาทำการรบเคียงข้างสหายชาวพม่าของพวกเขา. ภายใน 4 ปี นับจากการผลักดันครั้งแรกสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าในวันปีใหม่ 1968 (พ.ศ.2511) พรรคคอมมิวนิสท์พม่าได้เข้ายึดพื้นที่และควบคุมเนื้อที่กว่า 9,000 ตารางไมล์ตามชายแดนจีน-พม่า

ในช่วงระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรม จีนมองตัวเองในฐานะผู้นำ"การปฏิวัติชนชั้นแรงงานโลก" และการทุ่มเทสนับสนุนที่พวกเขาส่งให้กับพรรคคอมมิวนิสท์พม่าถือเป็นหนึ่งในการแสดงออกอย่างมีพลังของนโยบายดังกล่าว

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สนใจอ่านต้นฉบับได้จาก: http://66.102.9.104/search?q=cache:NzhJmm8Td7YJ:www.asiapacificms.com/
papers/pdf/burma_india_china.pdf+BURMA+AND+ITS+NEIGHBOURS&hl=en&ct=clnk&cd=2&gl=th

 

ข่าวล่าสุด
Burma: Deadly disappearances under cover of darkness
By MARCUS OSCARSSON
Last updated at 15:04pm on 1st October 2007


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ทั้งจีนและพม่าต่างฆ่าประชาชนมาเหมือนกัน
รัฐบาลทหารพม่าในปัจจุบัน ซึ่งได้เข้ายึดอำนาจในวันที่ 18 กันยายน 1988 หลังจากบดขยี้ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่ลุกฮือขึ้นทั่วประเทศ แน่นอน ได้มองจีนในฐานะที่เป็นพันธมิตรที่ทรงพลานุภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อบรรดาผู้นำจากปักกิ่งได้ก้าวขึ้นมามีอำนาจด้วยการฆาตกรรมหมู่ผู้ให้การสนับสนุนประชาธิปไตยคล้ายๆ กันในเดือนมิถุนายนของปีต่อมา

จีนเป็นหนึ่งในประเทศไม่มากนักที่กลับมาให้การช่วยเหลือพม่าอีกครั้ง หลังจากการฆาตกรรมล้างเลือดในกรุงย่างกุ้งเมื่อเดือนสิงหาคม-กันยายน 1988. วันที่ 30 กันยายนปี 1989, หัวหน้าตำรวจลับที่น่ากลัวของพม่า ผู้อำนวยการหน่วยสืบราชการลับเพื่อความมั่นคง(the Defence Services Intelligence (DDSI), พลจัตวา(ปัจจุบันพลเอก)ขิ่นยุ่น(Khin Nyunt) ได้กล่าวออกมาต่อหน้ากลุ่มวิศวกรชาวจีน ที่ทำงานในโครงการหนึ่งให้กับย่างกุ้งว่า "เรารู้สึกเห็นอกเห็นใจจีน ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเหล่านั้นขึ้นมาคล้ายคลึงกับประเทศพม่าเมื่อปีที่แล้ว(1988)"

++++++++++++++++++++++++++++++

ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่าเริ่มตกต่ำลงไปในทางเลวร้ายในช่วงปี 1967 (พ.ศ.2510), เมื่อการจลาจลต่อต้านชาวจีนได้ระเบิดขึ้นในกรุงย่างกุ้ง. ชุมชนชาวจีนในเมืองหลวงของพม่าได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติวัฒนธรรมในสาธารณรัฐประชาชนจีน และชาวพม่าเชื้อสายจีนหนุ่มสาวเริ่มประดับสัญลักษณ์ประธานเหมาสีแดง. อันนี้เป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบที่เป็นทางการของพม่า และบรรดาเรดการ์ดหนุ่มสาว(young "Red Guard")ถูกสั่งให้ถอดเครื่องหมายนั้นออก แต่บางคนในกลุ่มกลับขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตาม การจลาจลต่อต้านจีนจึงระเบิดขึ้นในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมปีนั้น เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้บ้านเรือนและร้านค้าของชาวจีนได้ถูกตรวจค้นและปล้นสะดม และชาวพม่าเชื้อสายจีนจำนวนมากได้ถูกฆ่าตาย. ม็อบกลุ่มหนึ่งได้โจมตีสถานทูตจีนในกรุงย่างกุ้งก่อนที่สถานการณ์ดังกล่าวจะได้รับการควบคุม

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++