บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
Peace
Journalism
Midnight University
รายงานการวิจัย: การสื่อข่าวเพื่อสันติภาพ
จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Peace Journalism: สื่อเพื่อสันติภาพและไร้ความรุนแรง
ภีรกาญจน์
ไค่นุ่นนา : รายงานวิชาการ
คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
(ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี
บทรายงานต่อไปนี้ กองบรรณาธิการ
ม.เที่ยงคืนได้รับมาจากผู้เขียน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเสนอผลงานวิจัย การสื่อข่าวเพื่อสันติภาพ: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
จัดโดยคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ณ จังหวัดสงขลา โดยมีหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- นิยามความหมาย: Peace Journalism
- Peace Journalism สื่อเพื่อสันติภาพ-รายงานการวิจัย
- ตารางแสดงถึงข้อแตกต่างระหว่าง War Journalism กับ Peace Journalism
- ๑๗ วิธีที่สื่อมวลชนเพื่อสันติภาพพึงปฏิบัติ
- What a Peace Journalist Would Try to Do?
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๓๘๗
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รายงานการวิจัย การสื่อข่าวเพื่อสันติภาพ
Peace Journalism: สื่อเพื่อสันติภาพและไร้ความรุนแรง
ภีรกาญจน์
ไค่นุ่นนา : รายงานวิชาการ
คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
(ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี
นิยามความหมาย: Peace Journalism
Peace Journalism คือ การแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ในทางวารสารศาสตร์ ที่จะเปิดกรอบความคิดของนักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อมวลชน
เพื่อให้การสื่อข่าวเป็นส่วนหนึ่งของความหวังในการคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้นแนวคิดนี้เรียกว่า
"Peace Journalism" หรือ "การสื่อข่าวเพื่อสันติภาพ"
จากข้อเขียนของ Ross
Howard (1) นักวิชาชีพและนักวิชาการด้านการสื่อสารข่าวเพื่อสันติภาพ เจ้าของหนังสือ
Conflict sensitive Journalism เขียนเตือนใจแก่ผู้สื่อข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ความขัดแย้งว่า
การทำงานของผู้สื่อข่าวมืออาชีพ ไม่ได้มุ่งหวังที่จะลดปัญหาความขัดแย้ง
แต่การรายงานข่าวที่ดี
ถูกถ้วนไม่เอียงเอนนั้น บ่อยครั้งก็นำไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้ง
(1) Ross Howard teaches journalism at Langara College
in Vancouver, and is an author and freelance writer. His recent freelance
writing assignments have included major Canadian magazines, documentary films
and public, private and non-profit interests. He also has extensive experience
in international media development as a consultant, trainer and analyst.
He has trained journalists in conflict-stressed countries
including Cambodia, Sri Lanka, Nepal and Burundi. In addition he has developed
curricula and written journalism training handbooks for international agencies
which have been translated into several languages. He has provided media and
peacebuilding analyses for a number of international clients and interests,
and is the author of essays and articles on media and democratization.
Howard ย้ำว่า สังคมถูกคุกคามจากสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้งมากขึ้นทุกขณะ
ซึ่งได้ส่งผลให้วิชาชีพวารสารศาสตร์เผชิญกับความยากลำบากมากขึ้นในการปฎิบัติหน้าที่
เพราะฝ่ายที่ขัดแย้งกันต่างก็พยายามเข้ามาควบคุมสื่อ ข้อมูลข่าวสารจึงเชื่อถือไม่ค่อยได้
ทั้งนี้เนื่องมาจากการถูกตัดทอน กลั่นกรอง ประกอบกับมีประเด็นความเสี่ยงในความปลอดภัยของผู้สื่อข่าว
ซึ่งการสื่อข่าวที่ดีและมีคุณภาพยิ่งมีความจำเป็นมากที่สุดต่อสังคม
การสื่อข่าวที่น่าเชื่อถือแก่สาธารณะในช่วงเวลาที่เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงนั้น จำเป็นต้องใช้ทักษะทางวิชาชีพมากเป็นพิเศษกว่าการรายงานข่าวในภาวะปกติ ซึ่งผู้สื่อข่าวต้องมีความเข้าใจมากขึ้นว่าอะไรคือต้นตอของความขัดแย้ง และความขัดแย้งนั้นจะดำเนินไป หรือจะมีจุดจบลงอย่างไร? ผู้สื่อข่าวจำเป็นต้องรู้ว่าจะไปหาข้อมูลถึงสาเหตุและทางออกของความขัดแย้งได้จากที่ไหน? การที่ผู้สื่อข่าวให้ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้แก่สาธารณชน จะทำให้ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจมากยิ่งขึ้นต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่อยู่เบื้องหลังความรุนแรง และมีส่วนช่วยแก้ปัญหาได้
Peace Journalism สื่อเพื่อสันติภาพ-รายงานการวิจัย
รายงานการวิจัยโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์เพื่อสันติสุขของชาติ เรื่อง
สื่อเพื่อสันติภาพ: จริยธรรม การจัดการ และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา โดยนางวลักษณ์กมล
จ่างกมล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
(ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี ชี้ให้เห็นว่า แนวคิดเรื่องการสื่อข่าวเพื่อสันติภาพมีการใช้กันมาตั้งแต่
ค.ศ.1970 โดยศาสตราจารย์ Johan Galtung (2) นักวิชาการชาวนอร์เวย์ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ
TRANSCEND Peace and Development Network ซึ่งเป็นองค์กรที่เผยแพร่และรณรงค์แนวคิดเรื่องสื่อเพื่อสันติภาพ
หวังที่จะกระตุ้นและสนับสนุนให้สื่อมวลชนเห็นความสำคัญของสันติภาพ
(2) Johan Galtung (born October 24, 1930, in Oslo, Norway)
is a Norwegian professor, founder and co-director of TRANSCEND - A Peace and
Development Network for Conflict Transformation by Peaceful Means. He is seen
as the pioneer of peace and conflict research and founded the International
Peace Research Institute (PRIO) in Oslo. He is also one of the authors of
an influential account of news values, the factors which determine coverage
given to a given topic in the news media. Galtung also originated the concept
of Peace Journalism, increasingly influential in communications and media
studies.
ซึ่ง Galtung กังวลว่า สงครามการรายงานข่าวความขัดแย้งของสื่อมวลชนคล้ายคลึงกับการรายงานข่าวกีฬา ที่มุ่งหาผู้แพ้ผู้ชนะ เขาจึงเสนอว่าการรายงานในสถานการณ์เช่นนี้ ควรกระทำเช่นเดียวกับการรายงานข่าวสุขภาพ ที่ผู้สื่อข่าวจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่ากำลังเผชิญกับโรคอะไร และสาเหตุของโรคคืออะไร? ขณะเดียวกันก็ต้องนำเสนอด้วยว่า จะมีทางเลือกอะไรบ้างที่จะป้องกันและรักษาโรคร้ายนี้ ดังนั้นการสื่อข่าวเพื่อสันติภาพต้องคำนึงถึงความครอบคลุม เป็นธรรมและถูกต้องให้มากขึ้น เพื่อนำเสนอเหตุการณ์และมองลึกไปถึงการวิเคราะห์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น รวมถึงหาหนทางที่จะก้าวพ้นไปจากความขัดแย้งนั้น
ผศ.วลักษณ์กมล นักวิชาการ ม.อ.ปัตตานี เห็นว่า การรายงานข่าวเพื่อสันติภาพต้องก้าวพ้นไปจากการตอบคำถาม 5W1H (What, When, Where, Why, Who, How) ตามหลักวารสารศาสตร์แบบเดิม แต่ต้องเพิ่มเติม "S" Solution หรือ การแก้ปัญหา และ "C" Common Ground หรือ การนำเสนเบื้องลึกของความขัดแย้งผนวกเข้าไปด้วย เราจะเห็นว่า หลักการสื่อข่าวเพื่อสันติภาพไม่ได้มองสื่อมวลชนเป็นแค่ผู้ส่งข่าวสาร แต่เป็นกลไกในการสร้างสันติภาพด้วย
แม้ว่าแนวคิดการสื่อข่าวเพื่อสันติภาพอาจทำได้ยาก ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสาเหตุและเบื้องหลังของปัญหาที่สลับซับซ้อนเกินกว่าที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะหาคำตอบได้เพียงลำพัง แต่หากสื่อมวลชนได้พยายามอย่างเต็มกำลังที่จะใช้เทคนิคการสื่อข่าวแบบสืบสวนสอบสวน(investigative journalism) ผนวกกับแนวปฏิบัติของการสื่อข่าวเพื่อสันติภาพ ที่ยึดเป้าหมายของความสงบสุขที่ปราศจากความรุนแรงเป็นสำคัญ ความสลับซับซ้อนนี้ก็อาจจะสามารถคลี่คลายลงได้
"ขณะนี้สื่อมวลชนไทยมีแนวโน้มที่จะรายงานข่าวเพื่อสันติภาพมากขึ้นกว่าตอนที่เหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นใหม่ๆ ตัวอย่างรูปธรรม เช่น การเกิดขึ้นของศูนย์ข่าวอิศรา การรายงานข่าวที่เน้นเบื้องหลังความขัดแย้งมากขึ้น การมีรายงานพิเศษที่ให้มุมมองใหม่ๆ ที่นอกเหนือจากปรากฏการณ์ที่มองเห็น แต่เราก็คงต้องผลักดันให้แนวคิดการสื่อข่าวเพื่อสันติภาพให้แพร่หลายมากขึ้น เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันสร้างสังคมที่สันติสุข" นักวิชาการคณะวิทยาการสื่อสาร กล่าว
ในงานวิจัยของ ผศ.วลักษณ์กมล ยังพบว่า งานวิชาการที่ศึกษาเรื่องการเสนอข่าวความขัดแย้งในต่างประเทศ ซึ่งใช้วิธีการศึกษาเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ จำนวน 10 ฉบับในเอเชีย 4 ประเทศ ที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ คือ อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และอินโดนีเซีย โดยกำหนดประเด็นข่าวความขัดแย้งที่ใช้ในการศึกษา 4 เหตุการณ์ คือ
- เหตุการณ์ความขัดแย้งในแคชเมียร์ระหว่างปากีสถานและอินเดีย
- เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม กับรัฐบาลศรีลังกา
- เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอาเจะห์และมาลุกุ กับรัฐบาลอินโดนีเซีย และ
- เหตุการณ์ในเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปินส์
ผลการศึกษาพบว่า การนำเสนอข่าวเหล่านี้โน้มเอียงไปในทางการสื่อข่าวเพื่อขยายความขัดแย้ง หรือ War Journalism มากกว่า โดยเฉพาะเหตุการณ์ในแคชเมียร์ที่หนังสือพิมพ์นำเสนอข่าวในทาง War Journalism อย่างเข้มข้น คือ นำเสนอแต่เหตุการณ์เฉพาะหน้า ขาดการสืบค้นหาที่มาที่ไปของเหตุการณ์ ไม่นำเสนอหนทางการแก้ปัญหาในระยะยาว และให้ความสำคัญกับผู้นำทางการเมืองและการทหาร ซึ่งจัดเป็นคุณลักษณะของ War Journalism อย่างชัดเจน
"หนังสือพิมพ์ละเลยที่จะนำเสนอข้อมูลของกองกำลังที่ต้องบาดเจ็บในสนามรบ หรือ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสังคม ขณะเดียวกันก็มักนำเสนอข่าวโดยแสดงการแบ่งแยก และชี้ชัดฝ่ายดีกับฝ่ายร้าย ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงอคติส่วนตัวในการด่วนตัดสินว่าใครเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น" งานวิจัยในต่างประเทศ ระบุ
ผศ.วลักษณ์กมล ยังได้ศึกษาทิศทางการนำเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย จำนวน 3 ฉบับ คือ กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, และมติชน ในการรายงานข่าวเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 ที่ จ.นราธิวาส, เหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 ที่จ.ปัตตานี และเหตุการณ์ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 จำนวน 232 ชิ้นข่าว พบว่ามีเพียง 43 ชิ้นข่าว หรือร้อยละ 18.53 จัดอยู่ในการายงานข่าวเพื่อสันติภาพ ขณะที่อีก 169 ชิ้นข่าว หรือร้อยละ 72.85 จัดอยู่ในการรายงานข่าวเพื่อขยายความขัดแย้ง และจำนวน 20 ชิ้นข่าวหรือร้อยละ 8.62 จัดอยู่ในประเภทของเนื้อหาที่เป็นกลาง
"หนังสือพิมพ์มติชนเป็นหนังสือพิมพ์ที่รายงานข่าวเชิง Peace Journalism มากที่สุด ร้อยละ 30 รายงานข่าวแบบ War Journalism ร้อยละ 60 รองลงมาเป็นหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ นำเสนอข่าวแบบ Peace Journalism ร้อยละ 17.65 และนำเสนอข่าวแบบ War Journalism ร้อยละ 74.11 ส่วนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐนำเสนอข่าวแบบ Peace Journalism น้อยที่สุด เพียงร้อยละ 5.97 นำเสนอข่าวแบบ War Journalism มากที่สุด 86.57"
ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และหัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แนวคิดการสื่อข่าวเพื่อสันติภาพมีความจำเป็นกับนักวิชาชีพสื่อมวลชน เพราะสื่อมวลชนเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชน และเราพบว่าเนื้อหาในสื่อมวลชนมีแนวโน้มการแบ่งฝ่ายเขาฝ่ายเรามากขึ้น ขณะที่แนวคิดเรื่องคุณค่าข่าวในทางวารสารศาสตร์ หรือ บัญญัติ 10 ประการ มีโอกาสที่จะเอื้อให้สื่อมวลชนละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น และที่สำคัญขาดการผนวกประเด็นเรื่องความเข้าอกเข้าใจกัน ความสมานฉันท์ อันเป็นส่วนหนึ่งคุณค่าข่าว
"โลกเราเต็มไปด้วยความขัดแย้ง และความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นสื่อมวลชนต้องปรับตัว และนำแนวคิด Peace Journalism ไปประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติหน้าที่ แม้ Peace Journalism จะไม่ใช่ความหวังเดียว แต่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ" ดร.พิรงรอง กล่าว
ต่อข้อถามที่ว่า ถ้ามี Peace Journalism แล้วจะเกิดผลดีอย่างไร? ดร.พิรงรอง มองว่า แนวคิดนี้จะช่วยปรับปรุงคุณภาพทางวิชาชีพสื่อมวลชน ที่เดิมนั้นมุ่งเน้นการผลิตเนื้อหาบันเทิง ที่เกี่ยวพันกับ Rating Culture เพียงอย่างเดียว แต่ไม่นำไปสู่ความสมานฉันท์ แนวคิด Peace Journalism เป็นแนวคิดที่
- เปลี่ยนค่านิยมสื่อมวลชนให้เห็นความสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ศีลธรรม และจริยธรรม
- เป็นการเปิดพื้นที่สาธารณะให้กับกลุ่มคนต่างๆ อย่างเท่าเทียมกันในพื้นที่สื่อมวลชน
- เป็นการเปิดกรอบความคิดทางวิชาการ และวิชาชีพเพิ่มมากขึ้น
เพราะแนวคิด Peace Journalism
(3) เป็นแนวคิดใหม่ที่ต้องร่วมกันศึกษา ปรับประยุกต์ให้เข้ากับสังคมไทย และผลักดันไปสู่การปฎิบัติให้เป็นรูปธรรม
(3) Peace Journalism is a form of journalism that frames
stories in a way that encourages conflict analysis and a non-violent response.
Peace journalism aims to shed light on structural and cultural causes of violence,
as they bear upon the lives of people in a conflict arena, as part of the
explanation for violence. It aims to frame conflicts as consisting of many
parties, pursuing many goals, rather than a simple dichotomy. An explicit
aim of peace journalism is to promote peace initiatives from whatever quarter,
and to allow the reader to distinguish between stated positions and real goals.
Peace journalism is a response to traditional war journalism and reportage;
practitioners believe that the traditional approach emphasises the current
conflict while ignoring the causes or outcomes. A similar approach is found
in Preventive journalism, which extends the principles to social, economic,
environmental or institutional problems.
Preventive journalism is a journalistic discipline that reports on urgent
social problems at an early stage and on solutions proposed for these problems.
It complements traditional investigative journalism and recognizes that journalism
can alert government and society to problems before they become crises.
Michael O'Neill, editor of the New York Daily News from 1975 to 1982 and former
president of the American Society of Newspaper Editors, wrote in 1985 that
preventive journalism should "search in advance for the hidden forces
of change [and] try to identify the underlying causes of crises before, rather
than after, they explode so that an alerted society might have time to protect
itself from the ambushes of history."
The concept was also used in a 1996 Kofi Annan speech 1 where he stressed
the need for such a kind of journalism without further detailing its characteristics.
Peace Journalism follows similar tenets as preventive journalism, though preventive
journalism extends its action range to social, economic, institutional, human
rights, and environmental concerns.
อย่างไรก็ตาม หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศยังแสดงความเป็นห่วงว่า แนวคิดนี้จะเป็นรูปธรรมได้จริงมากน้อยเพียงใด
เพราะสื่อมวลชนเป็นลักษณะอุตสาหกรรมภายใต้ลัทธิโลกาภิวัฒน์ เป็นธุรกิจผูกขาด
มุ่งเน้นผลกำไรเป็นเป้าหมายสูงสุด ขณะเดียวกันสื่อมวลชนส่วนใหญ่มีรัฐเป็นเจ้าของ
และบรรทัดฐานสื่อมวลชนยังให้ความสำคัญกับผู้มีอำนาจ นี่เป็นปัญหาทั้งระดับโครงสร้างและกรอบคิดของนักวิชาชีพ
ที่ต้องร่วมกันตั้งคำถามว่า ถ้าเราจะมีสื่อมวลชนเพื่อสันติภาพ เราควรจะมีสื่อทางเลือกอื่นๆ
อีกหรือไม่ นี่เป็นสิ่งที่เราควรแสวงหาทางออกร่วมกัน
นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน อดีตบรรณาธิการศูนย์ข่าวอิศรา ซึ่งเป็นความพยายามหนึ่งของนักวิชาชีพสื่อมวลชน ที่นำโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่จะรายงานข่าวเพื่อจรรโลงสันติภาพให้เกิดแก่สังคม มองว่า การมีสถาบันสื่อมวลชนเพื่อสันติภาพ คงไม่ได้หมายถึงการมีองค์กรสื่อมวลชนขึ้นมาเพียงลำพัง แต่จะต้องเกิดจากการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายร่วมกันกับสื่อกระแสหลัก สถาบันการศึกษา และภาคประชาชน ซึ่งตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ข่าวอิศราได้ทำหน้าที่ในการแบ่งเบาความรู้สึกคับข้องใจในสถานการณ์ชายแดนใต้
ศูนย์ข่าวอิศราเป็นเวทีสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ เป็นสื่อกลางแห่งการเรียนรู้ของคนที่ต่างกัน ทั้งในเชิงพื้นที่ ความเชื่อ วัฒนธรรม ศาสนา ให้ข้อมูลข่าวสารที่มาจากชีวิตจริง และเป็นสื่อแนวราบและแนวดิ่ง คือการปฎิบัติหน้าที่มีการเชื่อมประสานกับภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ทำงานร่วมกับสื่อมวลชนกระแสหลัก "โจทย์สำคัญ คือ สื่อสันติภาพจะต้องเป็นพลังขับเคลื่อนของภาคประชาชน เป็นโต๊ะข่าวที่อธิบายปรากฎการณ์ในเชิงลึก ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาสื่อเดิมที่มีอยู่ด้วยจะดีหรือไม่" อดีตบรรณาธิการศูนย์ข่าวอิศรา กล่าว
ส่วนนายมันโซร์ สาและ เจ้าหน้าที่จากโครงการสื่อเพื่อความยุติธรรม กลับยังไม่เห็นความหวังว่า สื่อมวลชนในปัจจุบันจะให้ความสนใจกับการรายงานข่าวเพื่อสันติภาพอย่างเพียงพอ กับระดับความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะสื่อมวลชนกระแสหลักไม่สามารถข้ามพ้นปัญหาทางโครงสร้างของสื่อมวลชนได้ "สถาบันการศึกษาอาจเริ่มสร้างสื่อเพื่อสันติภาพเป็นต้นแบบเล็กๆ เพื่อบ่มเพาะนักวิชาชีพรุ่นใหม่ ที่มีหัวใจสันติภาพและเข้าหาพื้นที่มากขึ้น เป็นพลังสำคัญของการสร้างสื่อชุมชน" เจ้าหน้าที่โครงการสื่อเพื่อความยุติธรรม กล่าวทิ้งท้าย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ที่มาของข้อมูล
- วลักษณ์กมล จ่างกมล, 2550 รายงานวิจัย เรื่อง สื่อเพื่อสันติภาพ:
จริยธรรม การจัดการ และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี สนับสนุนการวิจัยโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- งานสัมมนาเชิงปฎิบัติการ เรื่อง การสื่อข่าวเพื่อสันติภาพ: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
จัดโดยคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ระหว่างวันที่
19-20 กรกฎาคม 2550 ณ จ.สงขลา
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ภาคผนวก
ตารางแสดงถึงข้อแตกต่างระหว่าง War Journalism กับ Peace Journalism
๑๗ วิธีที่สื่อมวลชนเพื่อสันติภาพพึงปฏิบัติ
1. หลีกเลี่ยงการนำเสนอภาพความขัดแย้งที่เป็นการเอาชนะคะคานกันของ 2 ฝ่าย ไม่ด่วนสรุปและแบ่งฝักฝ่าย แต่ต้องเปิดใจเพื่อหาบทสรุปที่หลากหลาย
2. หลีกเลี่ยงการยึดติดกับความแตกต่างระหว่างตัวเรากับผู้อื่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง
3. หลีกเลี่ยงกับการเข้าไปจัดการกับความขัดแย้ง แต่ต้องพยายามเชื่อมโยงความสัมพันธ์และผลที่ตามมาทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
4. หลีกเลี่ยงการประเมินค่าความรุนแรงเพียงผลกระทบที่เป็นรูปธรรม
แต่ต้องรายงานผลกระทบที่มองไม่เห็นด้วย เช่น
ผลกระทบในอนาคต หรือ ความเจ็บปวดทางใจ
5. หลีกเลี่ยงการกล่าวถึงผู้ที่เกี่ยวข้องโดยอาศัยแค่คำกล่าวของผู้นำ แต่จะต้องสืบสวนหาเป้าหมายที่ลงลึกลงไป เช่น คนระดับล่างที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์
6. หลีกเลี่ยงการตอกย้ำเกี่ยวกับสิ่งที่จะสร้างความแตกแยกของคนสองกลุ่ม แต่ต้องพยายามที่จะถามสิ่งที่จะนำไปสู่การผสมกลมกลืน ซึ่งจะทำให้การรายงานข่าวสามารถให้คำตอบกับเป้าหมายหรือหนทางร่วมกันได้ในที่สุด
7. หลีกเลี่ยงการรายงานเพียงแค่พฤติกรรมความรุนแรงและอธิบายแต่ความน่ากลัว แต่ต้องแสดงให้เห็นว่าผู้คนถูกปิดกั้นและหมดความหวังขนาดไหนที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้ง
8. หลีกเลี่ยงการเน้นความเจ็บปวด ความกลัว และความเศร้าโศกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องนำเสนอข่าวที่สะท้อนให้เห็นถึงความเจ็บปวด เศร้าโศก และความกลัวของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
9. หลีกเลี่ยงการกล่าวหาคนใดคนหนึ่งว่าเป็นผู้เริ่มต้นความรุนแรง แต่ต้องพยายามมองว่าแต่ละฝ่ายมีส่วนร่วมกับปัญหาและประเด็นต่างๆ อย่างไร
10. หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่แสดงถึงการตกเป็นเหยื่อ แต่จะต้องรายงานเพียงสิ่งที่เกิดขึ้น และถามด้วยว่าเขาจะจัดการกับเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างไร หรือคิดเห็นอย่างไร
11. หลีกเลี่ยงการใช้คำแสดงอารมณ์ที่คลุมเครือ เพื่ออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับบุคคล เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ การลอบสังหาร แต่ต้องอธิบายอย่างตรงไปตรงมา และสะท้อนเหตุการณ์จริง
12. หลีกเลี่ยงการใช้คำขยาย เช่น เลวทราม ทารุณ โหดร้าย ป่าเถื่อน คำแบบนี้สะท้อนความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องรายงานการกระทำที่ไม่เหมาะสมโดยอธิบายข้อมูลให้ชัดเจน
13. หลีกเลี่ยงการใช้คำที่ตีตรา เช่น ผู้ก่อการร้าย พวกหัวรุนแรง พวกบ้าคลั่ง ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีใครยินดีให้เรียกชื่อของตนเอง แต่ผู้สื่อข่าวจะต้องพยายามเรียกขานชื่อพวกเขาด้วยชื่อที่พวกเราเรียกตนเอง หรืออธิบายด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมา
14. หลีกเลี่ยงการเน้นย้ำไปที่การละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้กระทำความผิด หรือพฤติกรรมที่ผิดพลาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องพยายามที่จะแสดงให้เห็นชื่อของผู้กระทำความผิดจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
15. หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นหรือการกล่าวอ้างที่ดูคล้ายเป็นความจริง แต่ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นความเห็นของใคร หรือใครกล่าวหาใคร
16. หลีกเลี่ยงการรับรองเอกสารที่เป็นของผู้นำ ที่จะนำไปสู่ชัยชนะของการใช้กำลัง แต่จะต้องถามถึงสิ่งที่จะแก้ไข หรือรับมือกับความขัดแย้งอย่างสันติ
17. หลีกเลี่ยงการรอคอยให้ผู้นำเสนอแนะทางออก แต่ต้องพยายามหาแนวทางสร้างสันติจากทุกฝ่ายทั้งภาคประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
(วลักษณ์กมล จ่างกมล, 2550 รายงานวิจัย เรื่อง สื่อเพื่อสันติภาพ: จริยธรรม การจัดการ และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา)
What a
Peace Journalist Would Try to Do?
The following notes are from Peace Journalism - How To Do It, by Jake Lynch
and Annabel McGoldrick ([email protected]), written Sydney, 2000. See the
two contrasting articles by Jake Lynch
which illustrate some of these points.
1. AVOID portraying a conflict as consisting of only two parties contesting one goal. The logical outcome is for one to win and the other to lose. INSTEAD, a Peace Journalist would DISAGGREGATE the two parties into many smaller groups, pursuing many goals, opening up more creative potential for a range of outcomes.
2. AVOID accepting stark distinctions between "self" and "other." These can be used to build the sense that another party is a "threat" or "beyond the pale" of civilized behavior - both key justifications for violence. INSTEAD, seek the "other" in the "self" and vice versa. If a party is presenting itself as "the goodies," ask questions about how different its behavior really is to that it ascribes to "the baddies" - isn't it ashamed of itself?
3. AVOID treating a conflict as if it is only going on in the place and at the time that violence is occurring. INSTEAD, try to trace the links and consequences for people in other places now and in the future. Ask:
* Who are all the people with a stake in the outcome?
* Ask yourself what will happen if ...?
* What lessons will people draw from watching these events unfold as part of a global audience?
How will they enter the calculations of parties to future conflicts near and far?
4. AVOID assessing the merits of a violent action or policy of violence in terms of its visible effects only. INSTEAD, try to find ways of reporting on the invisible effects, e.g., the long-term consequences of psychological damage and trauma, perhaps increasing the likelihood that those affected will be violent in future, either against other people or, as a group, against other groups or other countries.
5. AVOID letting parties define themselves by simply quoting their leaders' restatement of familiar demands or positions. INSTEAD, inquire more deeply into goals:
* How are people on the ground affected by the conflict in everyday life?
* What do they want changed?
* Is the position stated by their leaders the only way or the best way to achieve the changes they want?
6. AVOID concentrating always on what divides the parties, the differences between what they say they want. INSTEAD, try asking questions that may reveal areas of common ground and leading your report with answers which suggest some goals maybe shared or at least compatible, after all.
7. AVOID only reporting the violent acts and describing "the horror." If you exclude everything else, you suggest that the only explanation for violence is previous violence (revenge); the only remedy, more violence (coercion/punishment). INSTEAD, show how people have been blocked and frustrated or deprived in everyday life as a way of explaining the violence.
8. AVOID blaming someone for starting it. INSTEAD, try looking at how shared problems and issues are leading to consequences that all the parties say they never intended.
9. AVOID focusing exclusively on the suffering, fears and grievances of only one party. This divides the parties into "villains" and "victims" and suggests that coercing or punishing the villains represents a solution. INSTEAD, treat as equally newsworthy the suffering, fears and grievance of all sides.
10. AVOID "victimizing" language such as "destitute," "devastated," "defenseless," "pathetic" and "tragedy," which only tells us what has been done to and could be done for a group of people. This disempowers them and limits the options for change. INSTEAD, report on what has been done and could be done by the people. Don't just ask them how they feel, also ask them how they are coping and what do they think? Can they suggest any solutions? Remember refugees have surnames as well. You wouldn't call President Clinton "Bill" in a news report.
11. AVOID imprecise use of emotive words to describe what has happened to people.
* "Genocide" means the wiping out of an entire people.
* "Decimated" (said of a population) means reducing it to a tenth of its former size.
* "Tragedy" is a form of drama, originally Greek, in which someone's fault or weakness proves his or her undoing.
* "Assassination" is the murder of a head of state.
* "Massacre" is the deliberate killing of people known to be unarmed and defenseless. Are we sure?
Or might these people have died in battle?
* "Systematic" e.g., raping or forcing people from their homes. Has it really been organized in a deliberate pattern or have there been a number of unrelated, albeit extremely nasty incidents? INSTEAD, always be precise about what we know. Do not minimize suffering but reserve the strongest language for the gravest situations or you will beggar the language and help to justify disproportionate responses that escalate the violence.
12. AVOID demonizing adjectives like "vicious," "cruel," "brutal" and "barbaric." These always describe one party's view of what another party has done. To use them puts the journalist on that side and helps to justify an escalation of violence. INSTEAD, report what you know about the wrongdoing and give as much information as you can about the reliability of other people's reports or descriptions of it.
13. AVOID demonizing labels like "terrorist," "extremist," "fanatic" and "fundamentalist." These are always given by "us" to "them." No one ever uses them to describe himself or herself, and so, for a journalist to use them is always to take sides. They mean the person is unreasonable, so it seems to make less sense to reason (negotiate) with them. INSTEAD, try calling people by the names they give themselves. Or be more precise in your descriptions.
14. AVOID focusing exclusively on the human rights abuses, misdemeanors and wrongdoings of only one side. INSTEAD, try to name ALL wrongdoers and treat equally seriously allegations made by all sides in a conflict. Treating seriously does not mean taking at face value, but instead making equal efforts to establish whether any evidence exists to back them up, treating the victims with equal respect and the chances of finding and punishing the wrongdoers as being of equal importance.
15. AVOID making an opinion or claim seem like an established fact. ("Eurico Guterres, said to be responsible for a massacre in East Timor ...") INSTEAD, tell your readers or your audience who said what. ("Eurico Guterres, accused by a top U.N. official of ordering a massacre in East Timor ...") That way you avoid signing yourself and your news service up to the allegations made by one party in the conflict against another.
16. AVOID greeting the signing of documents by leaders, which bring about military victory or cease fire, as necessarily creating peace. INSTEAD, try to report on the issues which remain and which may still lead people to commit further acts of violence in the future. Ask what is being done to strengthen means on the ground to handle and resolve conflict nonviolently, to address development or structural needs in the society and to create a culture of peace?
17. AVOID waiting for leaders on "our" side to suggest or offer solutions. INSTEAD, pick up and explore peace initiatives wherever they come from. Ask questions to ministers, for example, about ideas put forward by grassroots organizations. Assess peace perspectives against what you know about the issues the parties are really trying to address. Do not simply ignore them because they do not coincide with established positions.
เกี่ยวกับผู้เขียน: Jake
Lynch is a correspondent for Sky News and The Independent, based in London
and Sydney. He is a consultant to the POIESIS Conflict and Peace Forums and
co-author of "The Peace Journalism Option" and "What Are Journalists
For?"
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
Peace Journalism
Peace
Journalism is a form of journalism that frames stories in a way that encourages
conflict analysis and a non-violent response. Peace journalism aims to shed
light on structural and cultural causes of violence, as they bear upon the
lives of people in a conflict arena, as part of the explanation for violence.
It aims to frame conflicts as consisting of many parties, pursuing many goals,
rather than a simple dichotomy. An explicit aim of peace journalism is to
promote peace initiatives from whatever quarter, and to allow the reader to
distinguish between stated positions and real goals.
Peace journalism is a response to traditional war journalism and reportage;
practitioners believe that the traditional approach emphasises the current
conflict while ignoring the causes or outcomes. A similar approach is found
in Preventive journalism, which extends the principles to social, economic,
environmental or institutional problems.