บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
Refugee
Care
Midnight University
ภาพรวมสถานการณ์เรื่องผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าในประเทศไทย
เหลียวมองชายแดนด้านตะวันตก: ไทยกับผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่า
บุษยรัตน์
กาญจนดิษฐ์ : เขียน
Thai Research Project Coordinator
Peaceway Foundation
บทความวิชาการต่อไปนี้
กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน ได้รับมาจากผู้เขียน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ภาพรวมของผู้ลี้ภัยชนชาติต่างๆ ที่มาจากพม่า
โดยในช่วงแรกเป็นการสำรวจทัศนคติของคนไทยที่มีต่อผู้ลี้ภัย
ถัดมาเป็นการตามหาสาเหตุของปัญหาผู้ลี้ภัยว่าเกิดขึ้นจากอะไร
ลำดับต่อจากนั้น เป็นรายงานสภาพความเป็นอยู่ และตัวเลขผู้ลี้ภัยในที่ต่างๆ
สุดท้าย กล่าวถึงภาระของรัฐบาล และงบประมาณอุดหนุน พร้อมความช่วยเหลือ
ที่มาจากองค์กรต่างประเทศ และบทสรุปว่าด้วยปัญหาที่ไร้ทางออก
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๓๘๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๙ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ภาพรวมสถานการณ์เรื่องผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าในประเทศไทย
เหลียวมองชายแดนด้านตะวันตก: ไทยกับผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่า
บุษยรัตน์
กาญจนดิษฐ์ : เขียน
Thai Research Project Coordinator
Peaceway Foundation
ภาพรวมสถานการณ์เรื่องผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าในประเทศไทย
ข้อมูลในบทความนี้ โดยเฉพาะข้อมูลเชิงปริมาณ มาจากตัวเลขในรายงานขององค์การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในประเทศไทย
(CCSDPT) สำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อผู้ลี้ภัย (UNHCR) และ BBC
(Burmese Border Consortium) 2007 นอกจากนั้นประเทศไทยไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
ค.ศ.1951 รัฐบาลไทยจึงไม่เรียกประชาชนที่อพยพมาจากพม่าว่า"ผู้ลี้ภัย"
แต่เรียกว่า "ผู้หนีภัยจากการสู้รบ" หรือ "ผู้หลบหนีจากภัยสงคราม"
แทน และเรียกค่ายผู้ลี้ภัยว่า "พื้นที่พักพิงชั่วคราว"
ความนำ
จากการที่องค์การเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพแห่งสหรัฐอเมริกา(ประเทศไทย) และศูนย์วิจัยเอแบค
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจการรับรู้และทัศนคติของประชาชนไทยต่อผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
ระหว่างวันที่ 28 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2550 พื้นที่ที่ทำการสำรวจรวมทั้งสิ้น 11
จังหวัด โดยเป็นพื้นที่ซึ่งมีสถานที่พักพิงชั่วคราว (ค่ายผู้ลี้ภัย) ตั้งอยู่
4 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน, ตาก, ราชบุรี, กาญจนบุรี และพื้นที่ซึ่งไม่มีสถานที่พักพิงชั่วคราวตั้งอยู่อีก
7 จังหวัด คือ กรุงเทพ, ชลบุรี, สระแก้ว, เชียงใหม่, ขอนแก่น, สมุทรสาคร, และสงขลา
จากตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม 2,900 คน พบว่า
- ร้อยละ 75.9 เห็นว่าผู้ลี้ภัยอาจสร้างความวุ่นวายและอันตรายต่อสังคม หากรัฐบาลไทยอนุญาตให้ออกมาทำงานนอกค่ายผู้ลี้ภัยได้โดยเสรี
- ร้อยละ 73.1 เห็นว่าผู้ลี้ภัยอาจเป็นพาหะนำโรคระบาดมาสู่คนไทย
- ร้อยละ 71.4 เห็นว่าผู้ลี้ภัยเป็นภาระของประเทศ เพราะประเทศไทยต้องจ่ายเงินจำนวนมากในการเลี้ยงดู
- ร้อยละ 69.4 เห็นว่าผู้ลี้ภัยเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
- ร้อยละ 64.2 เห็นว่าผู้ลี้ภัยแย่งงานคนไทย
- ร้อยละ 59.9 เห็นว่าผู้ลี้ภัยมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี เพราะมีองค์การสหประชาชาติและองค์กรพัฒนาเอกชนคอยดูแล
มุมมองดังที่กล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นทัศนคติเชิงลบต่อผู้ลี้ภัยและการไม่รู้จักชีวิตผู้ลี้ภัยในแง่มุมอื่นๆ เอกสารฉบับนี้จึงพยายามจะฉายภาพให้เห็นอีกด้านหนึ่งของชีวิตผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าในประเทศไทย
การลี้ภัยของประชาชนจากพม่า
: ผลโดยตรงจากการถูกบังคับให้อพยพออกจากบ้าน
ประเทศพม่าเป็นประเทศที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก รัฐบาลทหารพม่าได้ทำการกดขี่ข่มเหงประชาชนหลากหลายรูปแบบ
ไม่ว่าจะเป็นการบังคับให้ชาวบ้านโยกย้ายถิ่นฐานจากหมู่บ้านในชนบท เข้าอยู่ในแปลงอพยพ
ภายใต้การควบคุมของทหารพม่า เพื่อป้องกันการส่งเสบียงให้กับกองกำลังกู้ชาติกลุ่มต่างๆ
ทำให้ชาวบ้านเหล่านี้จำเป็นต้องละทิ้งไร่นาโดยไม่ได้รับค่าชดเชย และเมื่อถูกอพยพไปแล้วชาวบ้านไม่สามารถกลับไปที่อยู่ชุมชนเดิมหรือกลับไปทำการเกษตรได้
ชาวบ้านที่ถูกอพยพต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของทหารและเป็นแรงงานพร้อมใช้สำหรับทหาร เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างรายได้ให้กับกองทัพ ทั้งการบังคับให้เป็นลูกหาบกระสุน เสบียง รวมทั้งทำหน้าที่เป็น "โล่มนุษย์" ยามมีการสู้รบกับกองกำลังกู้ชาติกลุ่มต่างๆ ต้นตอสำคัญของการละเมิดสิทธิมนุษยชนรูปแบบต่างๆ มาจากการเพิ่มขึ้นของกองกำลังทหารพม่าในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีโครงการพัฒนา อาทิ โครงการสร้างถนน โครงการท่อก๊าซ โครงการเขื่อน ฯลฯ
ทหารพม่าจะเข้าไปอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ที่มีโครงการเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านอื่นที่รุนแรงตามมา เช่น การข่มขืนผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ จากรายงาน "ใบอนุญาตข่มขืน" (License to Rape) ของกลุ่มปฏิบัติงานสตรีไทยใหญ่ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนไทยใหญ่ เมื่อปี 2545 และรายงาน "No Safe Place" ของ Refugees International เมื่อปี 2546 ยืนยันได้ว่า การเพิ่มขึ้นของทหารพม่าในแต่ละพื้นที่ ได้นำไปสู่การข่มขืนรวมทั้งการใช้ความรุนแรงหลายรูปแบบกับผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นยังพบว่า นโยบายการพัฒนาของประเทศที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนจากต่างประเทศยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น ผู้ที่ได้ผลประโยชน์โดยตรงจากการลงทุนคือทหารระดับสูงในกองทัพ และเครือญาติผู้ใกล้ชิด. เงินที่ได้จากการลงทุนทำให้รัฐบาลทหารพม่าสามารถขยายกองทัพ จัดซื้อยุทโธปกรณ์ได้เพิ่มขึ้น การลงทุนที่เกิดขึ้นทั้งการทำไม้ ทำอัญมณี และก๊าซธรรมชาติ ส่งผลให้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลถูกขายเป็นสินค้า ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นมากลับไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งสร้างแรงบีบคั้นให้กับประชาชนมากขึ้น จนในที่สุดกลายเป็นระลอกคลื่นของผู้ลี้ภัยที่อพยพหนีออกนอกประเทศ เพื่อไปให้พ้นจากการถูกทำร้ายและปัญหาทางเศรษฐกิจดังกล่าว
ตัวเลขผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าในประเทศไทย
พรสุข เกิดสว่าง มองผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าในประเทศไทยเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ผู้ลี้ภัยในค่าย
2. ผู้ลี้ภัยนอกค่าย
ผู้ลี้ภัยในค่าย หรือผู้หนีภัยการสู้รบ คือ ผู้ลี้ภัยสงครามรวมถึงผลกระทบจากสงคราม ซึ่งก็คือชาวบ้านที่ตกอยู่ท่ามกลางการสู้รบระหว่าง "กองทัพรัฐบาลทหารพม่า" กับ "กองกำลังติดอาวุธของชนกลุ่มน้อย" ซึ่งได้หลบหนีเข้ามาลี้ภัยอยู่ในประเทศไทย ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้รวมถึงกลุ่มบุคคลที่อยู่ในความห่วงใยของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ POC (Person of Concern) ซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยการเมืองโดยตรง เป็นคนที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองหรือทางการทหาร เพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าโดยตรง และได้หนีจากภัยการประหัตประหารเข้ามาลี้ภัยในประเทศไทยด้วย
ส่วนกลุ่มผู้ลี้ภัยที่อยู่นอกค่าย
และไม่ได้ถือสถานะ POC นั้น คือ กลุ่มผู้ลี้ภัยที่ไม่มีพื้นที่พักพิงชั่วคราวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย
คนเหล่านี้ไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้เช่นเดียวกับ POC และผู้ลี้ภัยในค่าย หากแต่เป็นกลุ่มที่รัฐบาลไทยมองไม่เห็น
ใช้ชีวิตหลบซ่อนตามหมู่บ้านชายแดน ดังเช่น กลุ่มผู้ลี้ภัยชาวไทยใหญ่จากรัฐฉาน
กลุ่มผู้ลี้ภัยชาวปะโอ ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่รัฐบาลไทยพยายามที่จะไม่รับรู้ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศพม่า
ไม่ยอมรับว่าพวกเขาเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยที่หลบหนีการประหัตประหารเหมือนกับกลุ่มผู้ลี้ภัยในค่าย
พยายามสะกัดกั้น ผลักดันกลับ กดดันให้สภาพความเป็นอยู่มีความยากลำบาก ซึ่งล้วนแล้วแต่ยิ่งผลักดันให้ในที่สุดต้องกลายมาเป็นแรงงานข้ามชาติ
เพราะด้วยสถานการณ์ปัจจุบันพวกเขายังไม่สามารถจะกลับบ้านเกิดได้ แม้จะมีความอยากกลับไปเพียงใดก็ตาม
ระหว่าง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับภาระดูแลผู้ลี้ภัยเกือบ 3 ล้านคน ในปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าอย่างน้อย
156,214 คน (ชาย 75,880 หญิง 80,334 ) อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิง 9 แห่งตามชายแดนไทย/พม่า
ในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี และมีผู้ขอลี้ภัยอย่างน้อย
1,000 คนอาศัยอยู่ในเขตเมือง นอกจากนี้ยังเชื่อได้ว่ามีผู้ลี้ภัยอื่นๆ จากประเทศพม่ามากกว่า
200,000 คน รวมถึงชาวไทยใหญ่ที่หลบหนีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐฉาน กำลังอาศัยอยู่นอกศูนย์อพยพในประเทศไทย
ตัวเลขผู้ลี้ภัยในปัจจุบัน
ที่ตั้งค่ายผู้ลี้ภัย
สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ลี้ภัยจากพม่า
สำหรับสภาพชีวิตที่ผู้ลี้ภัยจากพม่าจะต้องเผชิญ ยามเมื่ออยู่ในพื้นที่พักพิง(ค่ายผู้ลี้ภัย)
มีดังต่อไปนี้
- เนื่องจากพื้นที่ของศูนย์ได้ถูกกำหนดไว้นานมาแล้ว และสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศพม่ายังเลวร้ายลงเรื่อยๆ จึงมีผู้เดินทางขอลี้ภัยรายใหม่เดินทางมายังค่ายอยู่เสมอ ทำให้เกิดปัญหาสภาพบ้านเรือนที่แออัด มีพื้นที่นันทนาการฝึกอบรมหรือให้การศึกษา น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำของ UNHCR เกิดการขาดแคลนน้ำ
- การที่ผู้ลี้ภัยอยู่ในค่ายในระยะยาว ส่งผลด้านลบต่อจิตใจของผู้ลี้ภัย ซึ่งก่อให้เกิดผลต่อปัญหาด้านสุขภาพจิตขั้นรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อผู้ลี้ภัยรุ่นใหม่เติบโตขึ้นภายในสภาพแวดดล้อมของศูนย์อพยพที่กดดัน จึงก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมติดตามมา เช่น การดื่มสุรา ยาเสพติด ความรุนแรงและอาญากรรม- การอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยเป็นเวลานาน ได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่ผู้ลี้ภัย ปัญหาใหญ่ที่สุด คือ ผู้หญิงและเด็กตกเป็นเหยื่อความรุนแรง และกลไกของระบบความยุติธรรมในค่าย ยังทำงานไม่เป็นผลพอที่จะคุ้มครองเหยื่อ และดำเนินคดีเอาผิดต่อผู้กระทำผิดได้
- เนื่องจากผู้ลี้ภัยถูกจำกัดพื้นที่ให้อยู่เพียงเฉพาะในค่าย ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ จำเป็นต้องพึ่งพาความช่วยเหลือด้านเครื่องอุปโภคจากภายนอก เช่น เชื้อเพลิงหุงต้ม เตาไฟ เสื้อผ้า ผ้าห่ม มุ้ง เสื่อ เป็นต้น
รัฐบาลไทยเป็นแค่ผู้อำนวยความสะดวก
: ภาระจริงอยู่ที่ CCSDPT และ UNHCR
เนื่องจากกองทัพพม่าได้เข้าควบคุมพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยในภาคตะวันออกของประเทศพม่า
จึงมีผู้ลี้ภัยเดินทางเข้ามาในประเทศไทยทุกปี ศูนย์อพยพแห่งแรกในประเทศไทยถูกจัดตั้งขึ้นในปี
2527 เมื่อมีผู้ลี้ภัยประมาณ 9,000 คนเข้ามาในประเทศไทย ในปัจจุบันองค์กรพัฒนาเอกชน
20 องค์กร ซึ่งเป็นสมาชิกของ กรรมการประสานงานองค์การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในประเทศไทย
(CCSDPT) ได้ให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม ในศูนย์อพยพภายใต้ข้อตกลงกับศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพ
กระทรวงมหาดไทย และ UNHCR ได้ให้ความคุ้มครองตามอำนาจที่ได้รับมอบหมายผ่านสำนักงานสนาม
3 แห่ง ในแม่ฮ่องสอน, แม่สอด(จ.ตาก), และกาญจนบุรี
คนไทยโดยทั่วไปมักเข้าใจว่า รัฐบาลไทยจะต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการดูแลผู้ลี้ภัยเหล่านี้ ผู้ลี้ภัยคือภาระ คือรายจ่ายที่คนไทยต้องร่วมแบกรับต้นทุนที่เกิดขึ้น ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว องค์กรระหว่างประเทศในนามของกรรมการประสานงานองค์การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในประเทศไทย (CCSDPT) และสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อผู้ลี้ภัย (UNHCR) เป็นคนสนับสนุนงบประมาณในการดูแลผู้ลี้ภัย ประเทศไทยเป็นเพียงการให้พื้นที่ที่จำกัดในการพักพิงเพียงเท่านั้น ปีหนึ่งๆ องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัยใช้เงินในการดูแลผู้ลี้ภัยในค่าย 9 แห่ง อย่างน้อย 2,048 ล้านบาท
CCSDPT ประกอบด้วยสมาชิก 20 องค์กร
1. Adventist Development and Relief Agency (ADRA)
2. Aide medicale internationale (AMI)
3. ARC International (ARC)
4. Catholic Office for Emergency Relief and Refugees (COERR)
5. Handicap International (HI)
6. International Child Support (ICS-ASIA)
7. International Rescue Committee (IRC)
8. Jesuit Refugee Service (JRS) Malteser International (MI)
9. Medecins sans frontieres - France (MSF-F)
10. Norwegian Church Aid (NCA)
11. Ruammit Foundation (RF)
12. Right To Play (RTP)
13. Solidarites (SOL)
14. Shanti Volunteer Association (SVA)
15. Taipei Overseas Peace Service (TOPS)
16. Thailand Burma Border Consortium (TBBC)
17. Women's Education for Advancement and Empowerment (WEAVE)
18. World Education/Consortium (WE/C)
19. ZOA Refugee Care Netherlands (ZOA)
20. - AMI, ARC, COERR, HI, IRC, MI, MSF-F, Ruammit, Solidarites ดูแลด้านการแพทย์และสาธารณสุข
- ADRA , COEER , ICS , IRC , JRS , NCA , RTP , SVA , TOPS , WEAVE , WE/C , ZOA ดูแลด้านการศึกษา
- TBBC ดูแลเครื่องอุปโภคบริโภค
เงินที่องค์กรเหล่านี้นำมาใช้จ่าย มาจากการสนับสนุนของรัฐบาลในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป
เมื่อ "เขา"
อยากกลับบ้าน: แต่ "บ้าน" ไม่มีให้กลับ
สิ่งที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่า คือ ประเทศพม่าไม่ยอมรับประชาชนบางกลุ่มกลับประเทศ
โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยต่างๆ เพราะถือว่าไม่ใช่คนของประเทศพม่า เนื่องจากการส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับประเทศนั้น
จะต้องมีหลักฐานยืนยันที่ชัดเจน นอกจากนั้นในปัจจุบันประเทศไทยยังมีผู้ลี้ภัยรุ่นใหม่ที่เกิดและเติบโตขึ้นมาในพื้นที่พักพิงชั่วคราว
ทำให้ไม่มีหลักฐานแสดงได้ว่าเป็นประชาชนของประเทศพม่า และรัฐบาลพม่าเองก็ไม่ยอมรับผู้ลี้ภัยที่เกิดขึ้นมาใหม่ว่าเป็นพลเมืองของตน
เมื่อมองไปยังประเทศพม่าในวันนี้ก็ยังพบว่า สถานการณ์ภายในประเทศพม่าโดยเฉพาะชายแดนตะวันออกซึ่งติดกับประเทศไทย ตามรายงานภาคสนามระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2550 จาก Burma Issues ชี้ให้เห็นว่า ความรุนแรงเกิดขึ้นอยู่ทั้งในรัฐกะเหรี่ยง มอญ และอีกหลายพื้นที่ในรัฐฉาน ยังคงมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และอาชญากรรมจากการกระทำของทหารพม่า อาทิ การข่มขืน หรือละเมิดทางเพศทั้งหญิงและเด็กชาย การบังคับใช้แรงงาน การรีดไถและริบทรัพย์สินของชาวบ้าน การที่ทหารพม่ากองพันต่างๆ ยังเข้ามายึดข้าว พืชผลที่ชาวบ้านปลูกไว้ รวมทั้งสัตว์เลี้ยงต่างๆ บางคนที่ทหารพม่าสงสัยว่ายังมีการติดต่อกับกองกำลังชนกลุ่มน้อย จะถูกกักขัง ทำร้ายเมื่อพยายามหลบหนีจากการควบคุมของทหาร และบางคนถูกฆ่าโดยไม่มีการสอบสวน เหตุการณ์เหล่านี้เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อยของความลำบากและทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นในประเทศพม่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ยังไม่มีความมั่นคงปลอดภัยในการใช้ชีวิตของประชาชนถ้ากลับไปยังประเทศพม่า
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73