โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 14 September 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๕๗ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐ (September, 14, 09,.2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

หนังสือเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์หลายครั้ง รวมถึงในสมัยพระเจ้าจุงจง (ค.ศ. ๑๕๒๒)[เข้าสู่ช่วงปลายยุคสมัยเรอเนสซองค์ของตะวันตก] ซึ่งละครโทรทัศน์อันโด่งดังของเกาหลีเรื่อง"แดจังกึม" อยู่ในสมัยที่มีค่านิยมเช่นนี้ เป็นวรรณกรรมคำสอนสตรีที่สำคัญเรื่องหนึ่ง ของผู้แต่งที่มีฉายาว่า อุอัม นักการเมืองที่มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ ๑๗ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านลัทธิขงจื้อโดยเฉพาะทางด้านการศึกษา แต่งหนังสือเล่มนี้ในฐานะที่เป็นพ่อที่สอนลูกสาว ซึ่งกำลังจะแต่งงานให้รู้จักกริยามารยาทและหน้าที่ของภรรยาที่ดี โดยใช้ภาษาเกาหลีและตัวอักษรเกาหลี
14-09-2550

Feminism in Korea
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

แนวคิดและขบวนการสิทธิสตรีในเกาหลีใต้ (ตอนที่ ๒)
ประวัติศาสตร์: การปฏิวัติสถานภาพของสตรีเกาหลีใต้ยุคใหม่
สมเกียรติ ตั้งนโม - สุกัญญา อินต๊ะโดด
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการต่อไปนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนประยุกต์มาจาก
งานค้นคว้าอิสระ(independent studies) เรื่อง
การวิเคราะห์บทบาทของสตรีในละครโทรทัศน์เรื่องแดจังกึม
(จอมนางแห่งวังหลวง) ตามแนวคิดสตรีนิยม

(บทที่ ๒) ของคุณสุกัญญา อินต๊ะโดด โดยบนเว็บเพจนี้ได้แบ่งออกเป็น ๒ ตอน
ประกอบด้วย ๑. การก่อตัวของแนวคิดสตรีนิยมเกาหลี (สมเกียรติ ตั้งนโม)
๒. นโยบายสังคมใหม่ของเกาหลีใต้ (สุกัญญา อินต๊ะโดด)
โดยมีสาระสำคัญดังตัวอย่างหัวข้อต่อไปนี้
- พลังของผู้หญิงและองค์กรประชาชนในการต่อต้านระบอบทหาร
- การปฏิรูปทางกฎหมายและการปฏิวัติทางเลือก
- สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงเกาหลีในปี ๒๐๐๐
- การพัฒนาคุณภาพชีวิต และองค์กรช่วยเหลือสตรีเกาหลีใต้
- องค์กรใหม่ในการสร้างเสริมและช่วยเหลือเรื่องสิทธิสตรี
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๕๗
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๑.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แนวคิดและขบวนการสิทธิสตรีในเกาหลีใต้ (ตอนที่ ๒)
ประวัติศาสตร์: การปฏิวัติสถานภาพของสตรีเกาหลีใต้ยุคใหม่
สมเกียรติ ตั้งนโม - สุกัญญา อินต๊ะโดด
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


๑. การก่อตัวของแนวคิดสตรีนิยมเกาหลี
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
Cheris Kramarae และ Dale Spender ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า นับจากเกาหลีได้รับการปลดปล่อยจากญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีได้แบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วนคือ เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยเกาหลีใต้อยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา ส่วนเกาหลีเหนืออยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต. เกาหลีเหนือ โดยการสนับสนุนของสหภาพโซเวียต, ระบอบคอมมิวนิสท์เกาหลีได้ให้การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของผู้หญิง แม้ว่าจะเป็นไปอย่างมีขีดจำกัดก็ตาม. ส่วนในเกาหลีใต้ ขบวนการของผู้หญิงหลังสงครามที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้สืบทอดจารีตขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิสตรีแนวสังคมนิยมและมาร์กซิสท์ ที่ได้สถาปนาขึ้นในช่วงระหว่างการยึดครองของญี่ปุ่น

ขบวนการเคลื่อนไหวของผู้หญิงเหล่านี้ ได้ให้ความมั่นใจว่าเสรีภาพของผู้หญิงจะบรรลุถึงได้โดยการปลดปล่อยทางชนชั้นและประชาชาติ. คนงานผู้หญิง และชาวนาชาวเกาหลีนับล้านๆ คนได้รวมตัวและเชื่อมโยงกันในทางชนชั้น พร้อมทั้งร่วมกันต่อสู้ในระดับชาติในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940s (Seunghi Yi, 1994)

การปะทุขึ้นของสงครามเกาหลี[ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2] (ในปี ค.ศ.1950-1953) ได้ไปทำลายจารีตที่แข็งแกร่งของแนวคิดลัทธิสิทธิสตรีฝ่ายซ้ายในเกาหลีใต้ นักสิทธิสตรีเป็นจำนวนมากต้องล้มตายในช่วงระหว่างสงครามดังกล่าว และส่วนใหญ่ของนักสิทธิสตรีฝ่ายซ้ายได้อพยพไปอยู่ที่เกาหลีเหนือ. การเจริญเติบโตขึ้นบนลัทธิเผด็จการอำนาจเบ็ดเสร็จในเกาหลีเหนือในลักษณะปิตาธิปไตย ซึ่งได้เข้ามาควบคุมผู้หญิงทั้งหลายและต่อต้านความเป็นอเมริกัน นอกจากนี้การรวมชาติยังคงเป็นอุปสรรคต่อบรรดานักสิทธิสตรีเกาหลีเหนือ จากพัฒนาการการมีสิทธิมีเสียงของนักเคลื่อนไหวกลุ่มนี้ จวบจนกระทั่งถึงช่วงเริ่มต้นคริสตศตวรรษที่ 21

หลังสงครามเกาหลี
ภายหลังสงครามเกาหลี กลุ่มผู้หญิงบางส่วนที่ยังคงอยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิสตรีในเกาหลีใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกคริสเตียนอนุรักษ์นิยม ที่ก่อตัวขึ้นมาจากบรรดานักสิทธิสตรีแห่งชาติก่อนหน้านั้น และในท้ายที่สุด ได้ร่วมมือกับพวกจักรวรรดิ์ญี่ปุ่นก่อนและช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2. ในปีของการได้มาซึ่งอิสรภาพจากญี่ปุ่น คนเหล่านี้ได้ยืนหยัดอย่างชัดเจน และได้กลายเป็นพวกฝ่ายขวาที่ต่อต้านคอมมิวนิสท์ต์ในช่วงต้นทศวรรษ 1940s. และสนับสนุนรัฐบาลที่เข้ากับฝ่ายอเมริกันก่อนสงครามเกาหลี

จนกระทั่งมาถึงช่วงกลางของทศวรรษที่ 1980s กลุ่มผู้หญิงอนุรักษ์นิยมเหล่านี้บางกลุ่มเป็นเครื่องหมายหรือตัวแทนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในพรรคการเมืองและสุ้มเสียงทางการเมืองของผู้หญิง. ในเชิงปฏิบัติ แม้ว่าขอบเขตความสนใจของพวกเธอจะค่อนข้างเป็นไปอย่างคับแคบ และแม้ว่าพวกเธอจะเรียกร้องบทบาทความเป็นแม่บ้านและเรื่องของสิทธิผู้บริโภค แต่พวกเธอก็ให้การสนับสนุนระบอบทหาร ความเป็นชายไปพร้อมกันในช่วงสงครามเย็น ซึ่งได้ครอบงำชีวิตสาธารณะเกาหลีใต้นับจากปี 1961-1992

นักสิทธิสตรีฝ่ายซ้ายช่วงทศวรรษ 1970s
ในเกาหลีใต้ช่วงทศวรรษที่ 1970s ขนบจารีตที่ฝังตัวอยู่ของบรรดานักสิทธิสตรีฝ่ายซ้ายได้ถูกทำให้ตื่นขึ้น โดยผ่านขบวนการแรงงานสตรีที่ปรากฏตัวขึ้นมา. มหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ช่วงทศวรรษที่ 1970s เป็นผลอันเนื่องมาจากการกดค่าแรงงานให้ต่ำมาก ชั่วโมงทำงานที่ยาวนาน การรังควานทางเพศ ความเหนื่อยล้าและการข่มเหงแรงงานผู้หญิงในโรงงาน. ด้วยสาเหตุต่างๆ เหล่านี้และเพื่อเอาชนะสภาพเงื่อนไขอันน่ากลัวข้างต้น คนงานหญิงเป็นจำนวนมากได้เข้าร่วมกับสหภาพแรงงานประชาธิปไตยใหม่ และต่อสู้อย่างกล้าหาญ นักประท้วงที่หาญกล้าที่เป็นคนงานหญิงส่วนใหญ่ได้กลายเป็นประเด็นที่อ่อนไหวทางการเมืองในระบอบทหาร ภายใต้การนำของประธานาธิบดีปักจุงฮี ที่ควบคุมและเข้าจัดการการเคลื่อนไหวของบรรดาแรงงานเหล่านี้อย่างแข็งกร้าว และได้มีการรับเอาความเชื่อที่ว่า ความสำเร็จในทางเศรษฐกิจของระบอบดังกล่าว เรียกร้องการกดขี่อย่างโหดเหี้ยมกับบรรดาคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม

ในปี 1979 การประท้วงด้วยการนั่ง (sit-down demonstration) ที่รวมตัวขึ้นมาโดยสหภาพแรงงาน Y.H., หนึ่งในบรรดาสหภาพแรงงานประชาธิปไตยผู้หญิง บนปัญหาของการสลายผู้ชุมนุมที่ประท้วงบริษัท Y.H. ถือเป็นเป็นมูลเหตุสำคัญแห่งการล่มสลายของระบอบปักจุงฮี. ระบอบทหารที่ต่อเนื่องมา ซึ่งนำโดยประธานาธิบดีชุน ดู ฮวัน ดูเหมือนจะเป็นการลาดน้ำมันลงในกองไฟ ด้วยการยิงปืนเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วงที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย อันเป็นเหตุการณ์ที่ปัจจุบันรู้จักกันในนาม "การฆาตกรรมหมู่ที่กวางจู(the Kwangju Massacre) ในปี 1980

พลังของผู้หญิงและองค์กรประชาชนในการต่อต้านระบอบทหาร
โดยการมีพลังขึ้นมาอย่างรวดเร็วของประชาธิปไตยและการใช้ประโยชน์ทางชนชั้น กลุ่มใหญ่ของนักสิทธิสตรีเกาหลีกลุ่มหนึ่ง ได้มีการฟื้นฟูทฤษฎีเฟมินิสท์ฝ่ายซ้ายและยุทธวิธีต่างๆ ขึ้น. ในกรณีของการเมืองในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่นักสิทธิสตรีส่วนใหญ่ในการสร้างเสริมระบอบประชาธิปไตย และกิจกรรมทั้งหลายของขบวนการแรงงาน ด้วยเหตุนี้ ในปี 1986 เมื่อนักกิจกรรมคนหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ทำงานในโรงงาน กล่าวหาว่าตำรวจคนหนึ่งได้กระทำทารุณกรรมทางเพศกับเธอ ทำให้บรดานักสิทธิสตรีฝ่ายซ้ายแห่งชาติจำนวนมากลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเธอ เพราะพวกเธอมองว่า ข้อกล่าวหานี้เป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขกว้างๆ ในการต่อต้านระบอบทหาร

ในเวลาต่อมา มันจึงกลายเป็นเวทีหนึ่งของการระดมพลกลุ่มก้อนนักสิทธิสตรีกลุ่มต่างๆ เช่นเดียวกับการหนุนเสริมของประชาชนอย่างกว้างขวาง และความสมัครสมานสามัคคีพลังอำนาจองค์กรประชาชน (Kyung-Ai Kim, 1995). หลังจากนั้น บรรดานักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย, นักสิทธิสตรีที่สนับสนุนด้านแรงงาน ได้สร้างขบวนการแนวร่วมขึ้นมา ชื่อว่า"สมาคมแนวร่วมของผู้หญิงเกาหลี" ซึ่งได้ร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ของขบวนการเคลื่อนไหวของสตรีหัวก้าวหน้าทั่วประเทศ

ด้วยการเน้นในเรื่องบทบาทของผู้หญิงในสถานการณ์ที่ประเทศถูกแบ่งแยก ตัวแทนนักสิทธิสตรีบางคนได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในขบวนการเกี่ยวกับการรวมเป็นหนึ่งเดียว ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้. พวกเธอยังถูกนำเข้าไปพัวพันกับประเด็นปัญหาโสเภณี ที่เกิดขึ้นมาจากฐานทัพอเมริกันในเกาหลีใต้ด้วย(Kathy Moon, 1997). ขนบจารีตสิทธิสตรีแห่งชาตินี้ เฟื่องฟูขึ้นมาพร้อมกับขบวนการช่วยเหลือผู้หญิงในทศวรรษที่ 1990s

ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้บีบบังคับผู้หญิงกว่า 1 แสนคนให้เป็นหญิงบำเรอให้กับกองทัพตนในเอเชีย ส่วนใหญ่ของผู้หญิงเหล่านี้เป็นชาวเกาหลีที่อยู่ภายใต้อาณานิคม ปฏิบัติการดังกล่าวได้รับการเรียกขานว่าทาสบำเรอทางเพศ(sexual slavery) ผู้หญิงเหล่านี้กระตุ้นความสนใจในเกาหลีใต้ ปลุกเร้าความโกรธแค้นคนในชาติที่มีต่อจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น และภายนอกเกาหลีใต้ กลุ่มผู้หญิงเหล่านี้ได้ไปกระตุ้นความโกรธเคืองเกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามที่กระทำต่อผู้หญิง

การปฏิรูปทางกฎหมายและการปฏิวัติทางเลือก
ถอยห่างจากประเด็นเรื่องชนชั้นและขบวนการเคลื่อนไหวของนักสิทธิสตรีแห่งชาติ ยังมีนักสิทธิสตรีกลุ่มรองๆ ในช่วงทศวรรษที่ 1980s ในเกาหลีใต้ ที่มุ่งประเด็นที่ขบวนการปฏิรูปกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยบรรดานักการเมืองและนักกฎหมายผู้หญิงจำนวนหนึ่ง กลุ่มดังกล่าวได้ให้ความสนใจลงไปที่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายครอบครัวเป็นอันดับแรก. อีกทั้ง เรื่องของวัฒนธรรมทางเลือก สมาชิกของกลุ่มเป็นตัวแทนปัญญาชนชนชั้นกลางที่ค่อนข้างมีอิทธิพล ซึ่งได้ให้ความเอาใจใส่ในประเด็นทางเลือกต่างๆ สู่รากลึกของชาวเกาหลี ในปัญหาเกี่ยวกับเผด็จการอำนาจนิยม การถูกทำให้เป็นเนื้อเดียวกันในวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ (Cho, 1996). ในช่วงทศวรรษ 1980s แนวทางเหล่านี้มักจะไม่ได้เป็นที่ต้อนรับนักในฐานะเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือความชอบธรรมของลัทธิเฟมินิสม์

ในทศวรรษที่ 1990s ภายหลังจากการล่มสลายของประเทศสังคมนิยมจำนวนมากและระบอบทหารในเกาหลีใต้ ความเอาใจใส่ของนักสิทธิสตรีและสุ้มเสียงต่างๆ ของพวกเธอ ค่อนข้างจะเป็นไปอย่างหลากหลาย อุดมการณ์หลายหลากได้สะท้องถึงความกว้างขวางและความแปรผันไปในทิศทางที่แตกต่าง อาทิเช่น ประเด็นเกี่ยวกับสันติภาพและความเป็นหนึ่งเดียว, ความรุนแรงทางเพศ, การเมืองเรื่องเพศ, ค่าแรงที่ไม่เท่าเทียมกัน, การกีดกันเกี่ยวกับการจ้างงาน, และการเป็นตัวแทนทางการเมืองที่มีปริมาณต่ำมาก เช่นเดียวกับการต่อต้านการฝังตัวมาอย่างยาวนานของวัฒนธรรมขงจื้อที่เน้นในเรื่องปิตาธิปไตย ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นความฟื้นตัวที่สำคัญของอำนาจสิทธิสตรีที่มีพลังในการต่อรอง และเพิ่มพูนศักยภาพที่เคยเก็บซ่อนอยู่ภายในของผู้หญิงทั้งหลายให้ปรากฏตัวขึ้นมา

(หมายเหตุ: ข้อมูลข้างต้นเรียบเรียงจาก Routledge International Encyclopedia of Women:)

๒. นโยบายสังคมใหม่ของเกาหลีใต้
ในกระแสของการพัฒนาภายใต้กรอบของยุคสมัยโลกาภิวัตน์ เกาหลีใต้มีนโยบายเกี่ยวกับ"การสร้างสังคมใหม่ของตนเอง" เพื่อตอบสนองความเป็นไปของสังคมโลกร่วมสมัย ตามเอกสารทางการเกาหลีกล่าวว่า การสร้างเกาหลีใหม่หมายถึง ภารกิจที่จะต้องกระทำ 3 ประการคือ

1. การขจัดความไม่ยุติธรรมทางสังคมและคอร์รัปชั่น
2. การฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติ และ
3. การสร้างวินัยข้าราชการและระเบียบสาธารณะ

ในปี ค.ศ. 1993 เมื่อนายคิม ยัง แซม เข้ารับตำแหน่งเป็นประมุขประเทศ เกาหลีเต็มไปด้วยโรคที่เรียกกันว่า "โรคเกาหลี" ซึ่งมีลักษณะดังนี้

1. การสูญเสียความขยันหมั่นเพียรของชาวเกาหลี
2. ค่านิยมอันดีงามที่ค่อยๆ เสื่อมสลาย เพราะความอยุติธรรม การคอร์รัปชั่น ความเกียจคร้าน
ความไร้เหตุผล ความเฉื่อยชา และการทะเลาะเบาะแว้ง รวมถึงการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
3. ความเชื่อมั่นในตัวเองหายไป และกลับไปยอมรับความพ่ายแพ้

ประธานาธิบดี คิม ยัง แซม เห็นว่าความพยายามที่จะปฏิรูปเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาโรคเกาหลีมาก ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ความพยายามที่จะปฏิรูป ได้แก่ การให้ความสำคัญกับชาติ และการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประเทศ ซึ่งจะเป็นการสร้างสำนึกแก่ประชาชนให้นึกถึงเป้าหมายของชาติในท้ายที่สุด และทำให้ประเทศก้าวหน้าอยู่ในระดับเดียวกับชาติอื่นๆ ที่ก้าวล้ำนำสมัยโดยได้กล่าวไว้ในสุนทรพจน์เมื่อเข้ารับตำแหน่งใหม่ว่าเกาหลียุคใหม่จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ

1. สังคมประชาธิปไตยที่เติบโตเต็มที่ และมีเสรีภาพกว่าเดิม
2. ประชาคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมทำงานและอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน มีคุณภาพชีวิตที่ดี และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการเชิดชู
3. รัฐที่มีความยุติธรรมทั่วถึง เสมือนแม่น้ำไหลไปทั่วแผ่นดิน หรือกล่าวได้ว่าเป็นสังคมที่ยุติธรรม
ซึ่งบุคคลที่ซื่อสัตย์และขยันสามารถมีชีวิตที่ดีได้

4. ประเทศใหม่ที่ยอมรับนับถือศักดิ์ศรีของมนุษย์และเทิดทูนวัฒนธรรม
5. ดินแดนที่มีเอกภาพที่ประชาชนซึ่งถูกแบ่งแยก จะอยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างสันติ
6. จะเป็นศูนย์กลางอันโดดเด่นและน่าภาคภูมิใจของโลกที่เจริญก้าวหน้า มีส่วนร่วมอย่างมหาศาลต่อสันติภาพ และความก้าวหน้าของโลก

จุดมุ่งหมายคือ รัฐที่มือสะอาด เศรษฐกิจดี สังคมดี และการรวมชาติอย่างสันติ การสร้างเกาหลีใหม่ หมายถึงการสร้างประเทศประชาธิปไตยให้เติบโตเต็มที่และเป็นเอกภาพ หน้าที่นี้ต้องอาศัย"กระบวนการปฏิรูประดับชาติ" เพื่อสร้างสังคมใหม่โดยการรักษาโรคที่ระบาดทั่วสังคม สิ่งจำเป็นเร่งด่วนต่อการสร้างเกาหลีใหม่คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและการปฏิรูปเพื่อ"ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนทุกคน" ที่ได้เสียสละในการต่อสู้เรียกร้องเพื่อความก้าวหน้าในช่วงเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา

กล่าวในที่นี้คือ แนวคิดการสร้างสังคมเกาหลีใหม่ ต้องการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่มีเสรีภาพ ต้องการให้ประชาชน"ทุกคน"มีส่วนร่วมทำงานและอยู่ด้วยกันอย่าง"สอดคล้อง" มีคุณภาพชีวิตที่ดี และ"ศักดิ์ศรีของบุคคลได้รับการเชิดชู" เป็นสังคมที่ซื่อสัตย์ และคนขยันสามารถมีชีวิตที่ดีได้ เป็นเอกภาพ และเป็นศูนย์ที่สร้างความภาคภูมิใจของโลกที่เจริญ รวมถึงมีส่วนต่อสันติภาพและความก้าวหน้าของโลก

การเปลี่ยนแปลงในชีวิตและฐานะของสตรีเกาหลีใต้
ปัจจุบันรัฐบาลเกาหลีใต้มีความพยายามที่จะปรับปรุงสิทธิสตรีในแง่ต่างๆ มากขึ้น และให้ มีการตระหนักถึงความเท่าเทียมกันระหว่างเพศโดยรัฐบาล โดยได้มีการจัดตั้งหน่วยงานรับเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับการกีดกันในด้านการว่าจ้างแรงงาน อีกทั้งเพิ่มจำนวนสตรีเข้าศึกษาในโรงเรียนนายทหารบก และมหาวิทยาลัยการตำรวจแห่งชาติ จากการเปลี่ยนแปลงบทบาทสตรีเกาหลีใต้ดีขึ้นตามลำดับดังกล่าว ทางองค์การสหประชาชาติจึงได้คัดเลือกให้เกาหลีใต้เป็นชาติที่มีการปรับปรุงสถานภาพสตรีให้สูงขึ้นมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย (ไทยโพสต์, 25 สิงหาคม 2544)

ดำรงค์ ฐานดี (2002) อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และหัวหน้าศูนย์เกาหลีสตรีศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ศึกษาและสำรวจถึงสถานภาพของผู้หญิงเกาหลี รวมถึงสังคมและวัฒนธรรมของระบบชายหญิงที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมในปัจจุบัน พบว่า เมื่อเกาหลีใต้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่หนึ่งในปี ค.ศ. 1962 ประชากรต่างพากันเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และจริงจังโดยมุ่งหวังให้ประเทศชาติกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมได้สำเร็จ จากนั้นสังคมเกาหลีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน ในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1960-1990 ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเคลื่อนไหวทางการเมือง การปรับปรุงกฎหมาย รวมทั้งความเป็นอยู่ในครอบครัวและความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิง

ในขณะเดียวกัน ก็เกิดข้อขัดแย้งขึ้นในสังคมที่เกี่ยวกับสตรี อันเป็นผลมาจากปัจจัยหลักคือ สภาพที่เปลี่ยนแปลงไปก่อให้เกิดความตระหนักในชีวิตและสังคมในหมู่ผู้หญิง และทัศนคติของสังคมที่ยังคงยึดมั่นในความไม่เท่าเทียมกันและการแบ่งงานกันระหว่างเพศ โดยผู้หญิงยังถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมในด้านต่างๆ ทางสังคม ยังได้รับความรันทดถึงความไม่เท่าเทียมในสถานที่ทำงาน ครอบครัว และความสัมพันธ์กับผู้ชาย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในยุคใหม่ ่ได้เอื้ออำนวยให้ผู้หญิงเกาหลีหันกลับมามองดูสถานภาพของตนในสังคมมากขึ้น และต่างเห็นพ้องต้องกันว่า สิทธิและเสรีภาพควรจะเปิดกว้างขึ้นในสังคมปัจจุบัน ดังนั้น การลุกขึ้นมาเรียกร้องต่อสังคมจึงเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกที่แท้จริงและภาพลักษณ์ของผู้หญิงสมัยใหม่ของเกาหลี

ดำรงค์ ฐานดี (2002) ได้ยกประเด็นจากข้อเขียนของนักต่อสู้สิทธิสตรีเกาหลี โดยเฉพาะจากบทความของของศาสตราจารย์ชิม ยัง ฮี ภาควิชาสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮานยาง ซึ่งตีพิมพ์เมื่อต้นปี ค.ศ. 2000 อาจารย์ชิมเป็นหนึ่งของนักวิชาการที่ศึกษาค้นคว้าเรื่องผู้หญิงเกาหลีมาเป็นเวลานานและมีผลงานมากมาย พบว่า ในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการเข้าไปมีส่วนร่วมของผู้หญิงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ในกระบวนการกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรม เกิดการจ้างงานทั้งชายและหญิงขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม การจ้างงานในกลุ่มผู้หญิงและเมื่อเปรียบเทียบลักษณะอาชีพที่ผู้หญิงเกาหลีใต้ทำอยู่ จะเห็นว่า อัตราผู้ที่ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการ / ข้าราชการระดับสูงมีจำนวนต่ำมาก เมื่อเทียบกับกรณีประเทศอื่น อย่างเช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สวีเดน และนอร์เวย์ แต่มีอัตราส่วนที่ทำงานในภาคบริการ ค้าขาย เกษตร/ป่าไม้/ประมง คนงาน/คนงานไร้ฝีมือสูงกว่าในภาคอุตสาหกรรม

ผู้หญิงส่วนใหญ่ทำงานบริการ ขายส่ง และขายสินค้าอุปโภคบริโภค ในขณะที่ทำงานด้านการผลิตน้อยและจะทำงานในอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง หากจำแนกตามขนาดอุตสาหกรรม ปี ค.ศ. 1997 ส่วนใหญ่พบว่า แรงงานหญิงจะได้ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมขนาดเล็กมากและระดับกลางเพียงเล็กน้อย ไม่มีโอกาสได้ทำงานในโรงงานขนาดใหญ่ ดังสถิติพบว่า มีผู้หญิงเพียงร้อยละ 9.7 เท่านั้นที่ทำงานในบริษัทที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1000 คนขึ้นไป

30 ปีที่ผ่านมา ผู้หญิงได้รับค่าจ้างต่ำกว่าชายถึงร้อยละ 62 แม้ว่าผู้หญิงจะได้รับค่าจ้างสูงขึ้นเรื่อยมา แต่ค่าจ้างก็ยังต่ำกว่าผู้ชายร้อยละ 46.7 ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะทำงานน้อยชั่วโมงกว่า และไม่สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงๆ ได้ ทำให้มีรายได้ต่ำกว่ามาโดยตลอด (ยกเว้นผู้ที่ทำงานราชการและเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ที่มีค่าจ้างแรงงานเท่ากัน)

อนึ่ง เมื่อเทียบข้อมูลด้านตำแหน่งหน้าที่ในปี ค.ศ. 1997 อัตราส่วนผู้ชายที่ดำรงตำแหน่งระดับหัวหน้างานหรือผู้จัดการ (division chiefs) ร้อยละ 14.3 ส่วนผู้หญิงอยู่ในตำแหน่งนี้หรือสูงกว่า มีเพียงร้อยละ 1.6 เท่านั้น ส่วนระดับการศึกษาของผู้หญิงที่ทำงานบริษัทต่างๆ แรงงานและพนักงานส่วนใหญ่จะจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาซึ่งมีมากกว่าแรงงานและพนักงานชาย ในทางตรงข้ามพนักงานหญิงที่จบปริญญาตรีขึ้นไปมีน้อยกว่าพนักงานที่เป็นชายจำนวนมาก "ระดับการศึกษา" เป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นความยากลำบากที่ผู้หญิงจะเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน อนึ่ง ในปี ค.ศ. 1996 ร้อยละ 50 ของบริษัทขนาดใหญ่ มีพนักงานที่เป็นชายจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาถึงร้อยละ 87.9 ส่วนพนักงานหญิงเพียงร้อยละ 12.1 ที่จบระดับเดียวกัน

และหากจะพิจารณาลงไปในรายละเอียดแล้ว ร้อยละ 90 ของบัณฑิตชายเข้าทำงานในบริษัทที่มียอดขายสูงสุด 100 บริษัทแรกของประเทศ ทำให้เสียเวลาที่ผู้หญิงจะศึกษาหาความรู้ในมหาวิทยาลัยเพราะจะไม่สามารถทำงานในงานที่มีความมั่นคงก้าวหน้าได้ นอกจากนี้หากเทียบอัตราการเข้าสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างบัณฑิตชายและหญิง จะมีช่องว่างห่างกันถึง 4 เท่า หรือเป็นช่องว่างที่ห่างมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ในกลุ่ม OECD ที่เกาหลีเป็นสมาชิกอยู่

สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงเกาหลีในปี 2000
สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงเกาหลีในปี 2000 ก้าวหน้าไปมาก จากการที่กลุ่มสตรีได้ดำเนินการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีมานานกว่า 20 ปี สังคมเกาหลีได้หันมายอมรับสถานภาพของผู้หญิงมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงได้ปรากฏขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะออกมาในรูปของการแก้ไขกฎหมาย ค่านิยมที่มีต่อสถานภาพของสตรี ความเท่าเทียมกันในด้านการทำงาน และค่าจ้างแรงงาน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีปรากฏการณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญก็ตาม แต่ก็ยังไม่อาจเทียบเท่ากับความต้องการที่กลุ่มสตรีปรารถนา สมาชิกของกลุ่มบางคนยังคงย้ำว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันยังคงไม่แตกต่างจากอดีต ทั้งนี้เพราะอุดมการณ์ของลัทธิขงจื้อที่สังคมยึดถือยังคงมีอยู่อย่างเหนียวแน่น ทำให้การยกย่องผู้ชายเป็นใหญ่ การเน้นการแบ่งงานกันทำระหว่างชายหญิง และความไม่เท่าเทียมกันภายในครอบครัวจึงคงมีอยู่ต่อไป

แม้ว่าข้ออ้างของกลุ่มสตรีจะเป็นเช่นไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปี 2000 มีดังนี้

- ใน "คณะแพทยศาสตร์" มหาวิทยาลัยโซลแห่งชาติ รับนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งที่เป็นหญิงร้อยละ 49.7 หรือ 86 คนจากจำนวนที่รับทั้งสิ้น 173 คน หากจะเทียบกับจำนวนนักศึกษาหญิงที่รับเพียงร้อยละ 28.6 ในปี 1999 ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของคณะนี้ เคยรับนักศึกษาส่วนใหญ่ที่เป็นชายนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะแพทย์ศาสตร์แห่งนี้เป็นต้นมา นอกจากนี้ กรณีการเพิ่มจำนวนนักศึกษาหญิงเข้าคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ก็เป็นเช่นเดียวกันที่รับมากกว่าร้อยละ 40 ของนักศึกษาทั้งหมดที่รับเข้าในปีการศึกษา 2000

- โรงเรียนนายทหารบก (Korea Military Academy) และโรงเรียนนายเรือ (Korea Naval Academy) ซึ่งเคยรับแต่นักเรียนชายเข้าเรียน ได้เปิดรับนักเรียนหญิงครั้งแรกในปี 1998 และ 1999 โดยในปี 2000 มียอดนักเรียนหญิงสมัครเข้าโรงเรียนทั้งสองแห่งนี้เป็นจำนวนมากกว่าผู้สมัครที่เป็นชาย

- อัตราส่วนของผู้หญิงในสถาบันฝึกอาชีพทางด้านกฎหมาย มีสถิติน่าสนใจดังนี้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่เป็นบัณฑิตสตรีทางกฎหมายมีร้อยละ 8.3 ในปี 1998 เป็นร้อยละ 13.3 ในปี 1999 และเป็น 16.6 ในปี 2000 อีกทั้งผู้ที่สอบเนติบัณฑิตได้คะแนนสูงที่สุดในปี ค.ศ. 2000 ได้แก่ผู้หญิงชื่อ นางสาวยูน แจ นัม ทำให้เป็นการเพิ่มความกระตือรือร้นให้กับบรรดาผู้หญิงคนอื่นๆ ที่ต้องการจะเพิ่มพูนสถานภาพของตนเองมากขึ้น

- ผู้หญิงเกาหลีได้เพิ่มจำนวนในที่ทำงานในแต่ละแห่งมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น งานในศูนย์ควบคุมทางอากาศ งานในศูนย์เทคโนโลยีเกาหลี หรือที่เรียกว่า Teharan Valley และมีนักธุรกิจสตรีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง เป็นผู้ทำหน้าที่ในการคุ้มภัย (bodyguards) และเป็นคนขับรถแท๊กซี่อีกด้วย

ประเทศเกาหลีใต้ต้องการพัฒนาประเทศชาติให้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จ จึงได้เร่งพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีด้วยการเริ่มที่ให้โอกาสทางการศึกษาสตรีมากขึ้น ทั้งในสาขาเดิมที่เป็นของผู้หญิงและในสาขาที่เป็นของผู้ชาย เริ่มสนับสนุนให้มีความยืดหยุ่นด้านบทบาทชายและหญิงมากขึ้นในการทำงานนอกบ้าน เพื่อคลายความเหนียวแน่นของค่านิยมลัทธิขงจื้อที่กำหนดความสูงต่ำชายหญิง การไม่ยอมรับสตรีเพศในแวดวงการทำงานในสังคม และความสัมพันธ์และฐานะที่ต้อยต่ำในครอบครัวให้ลดน้อยลง และให้ผู้หญิงได้มีศักยภาพเท่าชายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาประเทศร่วมกัน ทั้งนี้จากการที่เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จ ผู้หญิงหลายคนได้พิสูจน์ตัวเองให้สังคมเห็นว่าต่างก็มีศักยภาพในตัวเองไม่แพ้ชาย

การพัฒนาคุณภาพชีวิต และองค์กรช่วยเหลือสตรีเกาหลีใต้
ที่ผ่านมา เกาหลีใต้ได้สร้างความมหัศจรรย์ในการกอบกู้เศรษฐกิจที่พังทลายลง เนื่องจากเหตุการณ์วิกฤตทางการเงินปลายปี ค.ศ. 1997 ด้วยการส่งคืนเงินกู้งวดสุดท้าย ให้แก่องค์การการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทำให้เกาหลีหลุดพ้นจากการพันธนาการของ IMF และยืดอกอย่างสง่าสมศักดิ์ศรีการเป็นสมาชิกของ OECD หรือกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าได้อีกครั้ง นอกจากนี้ด้วยความพยายามในการใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส และการทุ่มเทกำลังกายกำลังใจผลักดันให้เศรษฐกิจก้าวหน้าต่อไปท่ามกลางปัญหารุมเร้า ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ จนมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 5 ของเอเชียในปี 2001 ทั้งนี้เนื่องจากการนำของประธานาธิบดี คิม เด จุง ตั้งแต่ความสำเร็จทางเศรษฐกิจในครั้งนั้นเกาหลีใต้มุ่งพัฒนาประเทศชาติอย่างต่อเนื่องรวมถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมของคนในชาติ จะเห็นได้จากมีการเคลื่อนไหวการเรียกร้องสิทธิสตรีที่ก่อให้เกิดการเขียนกฎหมายใหม่ และแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ

"ผู้หญิงมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองและกำหนดนโยบายเช่นเดียวกับผู้ชาย" ที่สำคัญมี "การรณรงค์ให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน" เพื่อให้บทบาทสตรีมีความเสมอภาคเท่าเทียมกับผู้ชายและสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองมากยิ่งขึ้น รัฐบาลได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลายฉบับเพื่อปรับปรุงสถานภาพสตรี เช่น กฎหมายห้ามการกีดกันทางเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มจำนวนการแต่งตั้งสตรีให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับสูง เช่น การแต่งตั้งสตรีในคณะรัฐมนตรีเป็นเลขาธิการประจำทำเนียบประธานาธิบดีทั้งหมด 6 คน และเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจ ในขณะเดียวกันรัฐสภาได้ผ่านกฎหมายกำหนดให้สัดส่วนจำนวน ส.ส. ที่เป็นผู้หญิงร้อยละ 30 และให้มีสัดส่วนของสตรีในคณะกรรมการต่างๆ ของรัฐบาลร้อยละ 30 อีกทั้งยังมีโครงการที่จะยกระดับคณะกรรมาธิการประธานาธิบดี เกี่ยวกับสตรีที่เป็นกระทรวงกิจการสตรีอีกด้วย (ไทยโพสต์, 25 สิงหาคม 2544) จึงไม่แปลกที่เกาหลีใต้จะมีองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีให้ดีขึ้น ดังต่อไปนี้ คือ

1. สมาคมสตรีเกาหลี: Korea Women's Association United (KWAU) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อรวมพลังขององค์กรสตรีเกาหลีทั้งมวลที่ทำงานเพื่อสิทธิสตรีและประชาธิปไตย โดยมีองค์กรสมาชิกที่สังกัดอยู่ 31 องค์กร ที่เป็นตัวแทนของขบวนการสตรีเกาหลี ทั้งนี้ KWAU เพียรพยายามที่จะสร้างสรรค์สังคมเกาหลีให้มีความเสมอภาค ปลอดจากการเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และเพื่อให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ที่มีหลักประกันทางด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังพยายามที่จะผลักดันขับเคลื่อนให้มีการรวมเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ให้เป็นประเทศเดียว

2. ศูนย์เครือข่ายสารสนเทศของสตรีในเอเชียแปซิฟิก: Asian Pacific Women's Information Network Center (APWINC) ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2539 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสตรี และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและการสื่อสารที่สอดคล้องกับสตรีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้

3. สายด่วนสตรีเกาหลี: Korean Women's Hotline จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างสรรค์สังคมประชาธิปไตยซึ่งสตรีทุกคนปลอดจากากรใช้ความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติ พร้อมกับสามารถเป็นผู้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างแข็งขันจริงจัง เป็นองค์กรที่มุ่งพิทักษ์สิทธิสตรีและคุ้มครองสวัสดิภาพของสตรี พร้อมกับสร้างสรรค์มิติของความเท่าเทียมระหว่างหญิงชายภายในบ้านหรือภายในครอบครัว ในที่ทำงาน และในสังคมโดยรวม

4. เครือข่ายของสตรีทำงาน: Working Women's Network ส่งเสริมให้ผู้หญิงได้ออกมาทำงานนอกเหนือจากงานในบ้านภายใต้ค่านิยมแบบเดิม เพื่อให้เกาหลีใต้พัฒนาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

5. สหภาพแรงงานสตรีเกาหลี: Korean Women's Trade Union (KWTU) และสหพันธ์แรงงานเกาหลี: Korean Confederation of trade Union (KCTU) มุ่งเน้นเรื่องการจ้างงานและการดำรงชีพของผู้ใช้แรงงานให้มีเสถียรภาพ มีการปฏิรูปทางการเมือง และคุ้มครองสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานนอกจากนั้นยังทำการรณรงค์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา เพื่อให้ปฏิบัติต่อผู้ใช้แรงงานโดยเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเป็นคนงานหญิงหรือชายก็ตาม รวมทั้งการยึดหลักการที่ว่า คนงานไม่ว่าชายหรือหญิงหากทำงานในหน้าที่เดียวกัน ต้องได้รับการจ้างค่าแรงเท่ากัน ซึ่งจะเป็นประเด็นปัญหาข้อเรียกร้องที่สำคัญสำหรับคนงานพลัดถิ่นด้วย

6. เครือข่ายเชื่อมโยงสตรี: Women Link เป็นองค์กรระดับรากหญ้า ที่มีจุดประสงค์มุ่งบรรลุมิติของความเท่าเทียมระหว่างหญิงและชาย และการสร้างเสริมพลังสตรีทั้งในระดับชุมชนและในสถานประกอบการหรือที่ทำงาน เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นปีแห่งการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงจุดยืนทางอุดมการณ์อย่างเด่นชัดของขบวนการประชาชน เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในขอบข่ายอันกว้างขวาง โดยที่ Women Link เป็นองค์กรที่จัดตั้งและเคลื่อนไหวในระดับรากหญ้า ซึ่งคนงานสตรีและบรรดาแม่บ้านทั้งหลายทำงานร่วมกันอย่างแนบแน่น ด้วยการเข้ามีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวและกิจกรรมต่างๆ อย่างแข็งขัน

7. สภาเกาหลีเพื่อสตรีที่ถูกญี่ปุ่นเกณฑ์ไปเป็นทาสกามารมณ์: The Korean Council for the Women Drafted for Military Sexual Slavery by Japan และ สมาคมสมาชิกรัฐสภาที่ศึกษาประเด็นปัญหาหญิงบำเรอทหารญี่ปุ่นยามสงคราม: Association of National Assembly Members Studying the Comfort Women' Issues องค์เหล่านี้มีภารกิจที่สำคัญในการช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกญี่ปุ่นข่มเหง และนำไปเป็นภรรยาบำเรอในยามสงคราม

เมื่อพิจารณาเป้าหมายขององค์กร สมาคม และสภาเพื่อพัฒนาสตรีเหล่านี้ จะเห็นได้ว่า เกาหลีใต้ได้มีการดำเนินการในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิสตรีขึ้นมาอย่างกว้างขวาง และเน้นการวมตัวเพื่อเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยอย่างเสมอภาค มีความเป็นธรรม ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ทางสังคมแทบทุกด้าน และรวมถึงการส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงให้เป็นไปในทางที่ดี แนวคิดสตรีนิยมยุคใหม่ของเกาหลีใต้ปัจจุบัน จึงสะท้อนถึงความต้องการความเปลี่ยนแปลงอย่างชนิดถอนรากถอนโคน และให้ผู้หญิงพร้อมมีบทบาทต่อการสร้างชาติร่วมกับชายอย่างเท่าเทียม

++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกกลับไปทบทวนบทความที่เกี่ยวเนื่อง



คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73