โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 13 September 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๕๖ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐ (September, 13, 09,.2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

หนังสือเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์หลายครั้ง รวมถึงในสมัยพระเจ้าจุงจง (ค.ศ. ๑๕๒๒)[เข้าสู่ช่วงปลายยุคสมัยเรอเนสซองค์ของตะวันตก] ซึ่งละครโทรทัศน์อันโด่งดังของเกาหลีเรื่อง"แดจังกึม" อยู่ในสมัยที่มีค่านิยมเช่นนี้ เป็นวรรณกรรมคำสอนสตรีที่สำคัญเรื่องหนึ่ง ของผู้แต่งที่มีฉายาว่า อุอัม นักการเมืองที่มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ ๑๗ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านลัทธิขงจื้อโดยเฉพาะทางด้านการศึกษา แต่งหนังสือเล่มนี้ในฐานะที่เป็นพ่อที่สอนลูกสาว ซึ่งกำลังจะแต่งงานให้รู้จักกริยามารยาทและหน้าที่ของภรรยาที่ดี โดยใช้ภาษาเกาหลีและตัวอักษรเกาหลี
13-09-2550

Feminism in Korea
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

แนวคิดและขบวนการสิทธิสตรีในเกาหลีใต้ (ตอนที่ ๑)
ขนบจารีตและค่านิยมขงจื้อกับการกดทับผู้หญิงเกาหลี
สุกัญญา อินต๊ะโดด : เขียน
นักศึกษาปริญญาโท สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการต่อไปนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจากผู้เขียน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานค้นคว้าอิสระ(independent studies) เรื่อง
การวิเคราะห์บทบาทของสตรีในละครโทรทัศน์เรื่องแดจังกึม
(จอมนางแห่งวังหลวง) ตามแนวคิดสตรีนิยม

(เรียบเรียงจากบทที่ ๒) โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
- ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์กับการกดขี่ผู้หญิงเกาหลีโบราณ
- สถานภาพของผู้หญิง ความต่ำต้อยเป็นหอยเบี้ยของชาย
- แนวคิดลัทธิขงจื้อกับค่านิยมกดขี่ผู้หญิง
- ผู้หญิงในอุดมคติในสังคมผู้ชายเป็นใหญ่
- ผลกระทบจากค่านิยมลัทธิขงจื้อต่อสถานภาพและบทบาทผู้หญิง
- ปรัชญาและทฤษฎีการเมือง ของนักการเมืองและนักปกครองในลัทธิขงจื้อ
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๕๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๔ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++

แนวคิดและขบวนการสิทธิสตรีในเกาหลีใต้ (ตอนที่ ๑)
ขนบจารีตและค่านิยมขงจื้อกับกดทับผู้หญิงเกาหลี
สุกัญญา อินต๊ะโดด : เขียน
นักศึกษาปริญญาโท สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


แนวคิดเกี่ยวค่านิยมและวัฒนธรรมเกาหลีใต้
กล่าวนำ: สถานภาพของผู้หญิงเกาหลี
เกาหลีใต้อยู่ภายใต้ระบบชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) สืบเนื่องมาจากลัทธิขงจื้อได้ครอบงำชาวเกาหลีมายาวนาน ผู้ชายจะมีอำนาจกำหนดและควบคุมระบบความเป็นไปของประเทศชาติเกือบทั้งหมด เป็นเจ้าของอำนาจทางการเมือง และการทหารรักษาความมั่นคง กอปรกับเกาหลีมีการทำสงครามแย่งชิงอำนาจทั้งภายนอกและภายในอยู่ตลอดเวลา สำหรับบทบาทของผู้หญิงในบันทึกทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ กล่าวถึงผู้หญิงในฐานะเพียงสินค้าแลกเปลี่ยนเสริมสร้างบารมีให้กับวัฒนธรรมชาย เป็นผู้มีส่วนต่อการสร้างผลประโยชน์ให้แก่สถาบันชายเป็นใหญ่เท่านั้น

ดำรง ฐานดี ผู้อำนวยการศูนย์เกาหลีศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในเรื่องราววิถีชีวิตของชาวเกาหลีมากมาย รวมถึงเขียนหนังสือวิชาการหลายเล่มเกี่ยวกับประเทศเกาหลี อาทิ โฉมหน้าเกาหลีใต้ปี 2000 อีกทั้งยังได้ศึกษาวิจัยสถานภาพของผู้หญิงในสังคมเกาหลีมานาน พบว่า สถานที่ทำงานทุกแห่งในเกาหลีใต้ส่วนมากจะมีแต่ผู้ชายทำงานในหน้าที่เป็นหัวหน้า และพนักงานทุกระดับ หากมีผู้หญิงบ้างก็จะได้ทำงานในตำแหน่งคอยเป็นผู้สนับสนุน รับใช้ เช่นพนักงานทำความสะอาด พนักงานพิมพ์ดีด ผู้หญิงได้รับการกีดกันไม่ให้เข้ารับการฝึกอบรมเรียนรู้งานที่สำคัญ อีกทั้งบริษัทจะไม่ลงทุนให้ไปศึกษาต่อ และไม่แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับผู้บริหาร แม้จะได้รับประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตรในระดับเดียวกับผู้ชาย แต่ก็จะได้รายได้น้อยกว่าผู้ชายเสมอ ดังนั้นพ่อแม่ส่วนใหญ่จะไม่ส่งบุตรสาวให้เรียนต่อในชั้นสูง เพราะคิดว่าเรียนไปก็ไม่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงจะมีหน้าที่ต้องส่งรายได้ให้พ่อแม่ และส่งเสียพี่ชายหรือน้องชายให้เข้าเรียนในระดับชั้นสูง หากลูกชายจบการศึกษา และได้ทำงานในตำแหน่งที่ดี จะถือเป็นชื่อเสียงของครอบครัว และเป็นเกียรติประวัติของวงศ์ตระกูล

ผู้หญิงเกาหลี เมื่อแต่งงานต้องย้ายไปอยู่บ้านของสามีโดยไม่มีสิทธิมีเสียงในการเรียกร้องใดๆ และจะต้องประพฤติปฏิบัติตัวให้เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวใหญ่ของฝ่ายชาย หากกระทำผิดจะถูกลงโทษอย่างหนัก สามีบางคนอาจทุบตีภรรยาได้โดยที่ไม่มีใครห้ามได้ ผู้หญิงต้องเป็น "แม่บ้าน" และ "รับใช้ผู้ชาย" ทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้เอง การแต่งงานจึงเป็นเสมือนกรงขัง มีการแบ่งงานกันทำระหว่างชายและหญิง ผู้ชายจะต้องทำงานนอกบ้าน และหญิงจะต้องทำงานในบ้าน เป็นการแบ่งงานกันทำซึ่งทำให้ผู้หญิงตกอยู่ในสถานะที่ด้อยกว่าชาย ฉะนั้นวัฒนธรรมการแต่งงาน และความสัมพันธ์ในครอบครัว ท้ายที่สุด ผู้หญิงจึงกลายเป็นสมาชิกที่ไม่มีสิทธิมีเสียง ต้องเชื่อฟังตระกูลฝ่ายชาย สถานภาพ บทบาท และธรรมเนียมปฏิบัติล้วนได้รับอิทธิพลโดยตรงจากค่านิยมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ผู้หญิงเป็นรอง ผ่านกระบวนการขัดเกลาสืบทอดต่อกันมาอย่างที่ไม่สามารถปฏิเสธได้

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์กับการกดขี่ผู้หญิงเกาหลีโบราณ
เกาหลีปกครองประเทศด้วยระบบชายเป็นใหญ่จากค่านิยมที่ว่า ผู้ชายเป็นหัวหน้าผู้สืบสายตระกูล หลักความเชื่อระหว่างสวรรค์กับโลกมนุษย์ และระหว่างชายกับหญิง หรือสามีกับภรรยาซึ่งถือเป็นความสัมพันธ์ที่มีความสำคัญที่สุดตามความเชื่อลัทธิขงจื้อ (ประสาร, 2532: 93). ตามหลักฐานประวัติศาสตร์เกาหลีโบราณ มีการตั้งอาณาจักรโคกูริว (ปีที่ 37 ก่อนคริสต์ศักราช 668) อาณาจักรเพ็กเจ (ปีที่ 18 ก่อนคริสต์ศักราช 663) และอาณาจักรซิลลา (ปีที่ 57 ก่อนคริสต์ศักราช 935) ในช่วงเวลาดังกล่าว อาณาจักรทั้งสามเหล่านี้ทำการสู้รบแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างกันภายในประเทศตลอดเวลา จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 668 อาณาจักรชิลลาสามารถยึดครองดินแดนอื่น และรวมประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ แต่อาณาจักรชิลลาครองอำนาจได้เพียง 155 ปี ก็เกิดการแย่งชิงอำนาจในหมู่ผู้นำกลุ่มต่างๆ จนถึงปี ค.ศ. 919 อาณาจักรโคริว สามารถรวมประเทศขึ้นมาได้โดยจักรพรรดิ วังกอน. อาณาจักรโคริวเกิดการแตกแยกในภายหลังเพราะการแย่งชิงอำนาจระหว่างขุนนาง และเหล่าข้าราชการเมืองอย่างรุนแรง ระหว่างกลุ่มขุนนางที่นิยมราชวงศ์หมิงของจีน กับกลุ่มผู้นิยมมองโกล ดังนั้น นายพล ยี ซอง เกีย จึงได้ทำการรัฐประหารในปี ค.ศ. 1392 (ตรงกับยุคเรอเนสซองค์ของตะวันตก) และตั้งราชวงศ์ยีขึ้นปกครองประเทศ รวมทั้งได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "อาณาจักรโชซอน"

ในประวัติศาสตร์เกาหลีมีการกล่าวถึง "การกดขี่ผู้หญิง" ตั้งแต่สมัยปฐมเผ่าพันธุ์เป็นต้นมา ที่ซึ่งผู้ชายมีอำนาจสิทธิ์ขาดเป็นใหญ่มาโดยตลอด เหตุผลสำคัญคือ บทบาททางสังคมของผู้ชายอยู่เหนือผู้หญิงในทุกๆ ด้าน เริ่มที่ผู้ชายจะเป็นหัวหน้าของสายตระกูล ทุกคนในครอบครัวจะต้องยอมทำตามที่ผู้นำของตระกูลสั่ง ผู้ชายจะมีหน้าที่เป็นทหาร ทำสงครามรักษาบ้านเมือง เป็นผู้นำ ดังนั้น ประวัติศาสตร์เกาหลีจึงเป็นโลกของผู้ชายเป็นใหญ่ ราวกับว่าไม่มีผู้หญิงอยู่ หรือหากจะมีก็มีบทบาทน้อยมาก ซึ่งมักถูกพูดถึงราวกับเป็นสินค้าแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ หรือวัตถุทางเพศของผู้ชาย

สถานภาพของผู้หญิง ความต่ำต้อยเป็นหอยเบี้ยของชาย
ภายใต้ระบบความเชื่อลัทธิขงจื้อและธรรมเนียมปฏิบัติตามจารีต ผู้หญิงถูกกดขี่อย่างไร้มนุษยธรรม ตั้งในปี ค.ศ. 49 ผู้นำเกาหลี ได้ส่งทูตพิเศษไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจักรพรรดิของจีน จากนั้นผู้นำรุ่นต่อมาก็ส่งบุตรสาวคนโตของตระกูลไปเป็นภรรยาบรรณาการต่อจีนอีก เกิดประเพณีเรื่องการกินอยู่แบบหลายเมีย ธรรมเนียมที่ให้น้องชายแต่งงานกับพี่สะใภ้ในกรณีที่พี่ชายตาย การจัดสรรที่ดินให้ทุกครอบครัวตามจำนวนสมาชิกผู้ชายในครอบครัวเท่านั้น

วัฒนธรรมการมีราชินี และพระสนมมากกว่าหนึ่งองค์ ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในสมัยราชวงศ์โครยอ ในศตวรรษที่ 11 "คิม อึน บู" ขุนนางจากเมืองอันซัน สามารถครองอำนาจในราชสำนักได้กว่า 50 ปี เนื่องจากยกบุตรสาว 3 คนให้แต่งงานกับเชื้อพระวงศ์ของอาณาจักรโครยอ จนท้ายที่สุดแล้ว เครื่องราชบรรณาการที่ต้องนำถวายต่อราชวงศ์หยวนของจีน ยังมีผู้หญิง รวมอยู่ในของบรรณาการร่วมกับ ทอง เงิน และโสม ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็นว่าผู้หญิงเกาหลีสมัยนั้นถึงกับถูกบังคับแต่งงานแต่วัยเยาว์ เพราะเกรงว่าจะถูกนำตัวไปเป็นเครื่องบรรณาการต่อราชสำนักหยวนของมองโกล ค่านิยมเหล่านี้ส่งผลต่อวัฒนธรรมการกดขี่ผู้หญิงเกาหลีใต้ต่อมา เช่น เมื่อแต่งงานต้องย้ายไปอยู่ในบ้านของสามี โดยไม่มีสิทธิมีเสียงในการเรียกร้องสิ่งใด

Chung Suk Shin (1970, อ้างถึงใน คึน เฮ ซิน, 2543: 3) ศึกษาภาพลักษณ์ของผู้หญิงของสตรีเกาหลีในสมัยโบราณ โดยศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมคำสอนสำหรับผู้หญิงทั้งหมด 5 เรื่อง พบว่าคำสอนสำหรับผู้หญิง สรุปได้กว้างๆ 3 ประการคือ การขัดเกลาคุณธรรมของตน, การมีจริยธรรมในครอบครัว, การประหยัดและการซื้อขาย. ผู้หญิงเกาหลีสมัยโบราณได้รับการอบรม และถูกบังคับมาตั้งแต่เกิดให้ปฏิบัติตามค่านิยมของสังคมสมัยดั้งเดิม ดั้งนั้น สตรีควรจะรู้จักการปฏิบัติต่อตัวเองอย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ ทำตัวให้ดีในฐานะที่เป็นภรรยาที่ดีต่อสามี เป็นลูกที่ดีของบิดามารดา เป็นมารดาที่ดีต่อบุตร และเป็นแม่บ้าน นอกจากนี้ต้องมีความสามารถในการดูแลทรัพย์สินและบริวาร ผู้หญิงโบราณยอมรับขนบธรรมเนียม หน้าที่ ค่านิยมดังกล่าวอย่างครบถ้วน และพยายามปฏิบัติตามเท่าที่จะทำได้

แนวคิดลัทธิขงจื้อกับค่านิยมกดขี่ผู้หญิง
ชิน คึน เฮ (2543) ศึกษาค่านิยมและจริยธรรมสำหรับสตรีที่ถูกลัทธิขงจื้อครอบงำ พบว่าประกอบด้วย ค่านิยม "ชายสูงส่งเหนือกว่าหญิง" "กฎระหว่างชายกับหญิง" "ผู้หญิงย่อมทำตามผู้ชาย" "ผู้หญิงถูกทอดทิ้งได้เสมอ โดยไม่มีสิทธิฟ้องร้อง" และ "จงมีความจงรักภักดีต่อสามีผู้เดียว" และพบว่าค่านิยมลัทธิขงจื้อ มีส่วนต่อการที่ผู้หญิงถูกกดขี่อย่างสมบูรณ์แบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ค่านิยม ชายสูงส่ง (เหนือ) หญิงต่ำต้อย (ด้อย)
ในบรรดาค่านิยมที่เกี่ยวกับผู้หญิงในลัทธิขงจื้อ ค่านิยมที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ค่านิยมว่าด้วยการยกย่องผู้ชาย และดูถูกผู้หญิง หลักจริยธรรมทางลัทธิขงจื้อใหม่ของจูซี ในสมัยราชวงศ์โชซอน กำหนดให้ความแตกต่างระหว่างชายกับหญิงและลำดับชนชั้นของบุคคลเป็นพรหมลิขิตหรือสิ่งที่ฟ้าลิขิต รัฐบาลได้เผยแพร่หลักจริยธรรมของลัทธิขงจื้อด้วยระบบการศึกษาที่ให้กับชนชั้นสูงและสามัญชน หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามกฎหมายอย่างเข้มงวด

แนวคิดเรื่อง "ความแตกต่างระหว่างชายกับหญิง" โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างสามีกับภรรยา ได้รับการทำความเข้าใจว่าเป็นหลักมูลฐานของโลกและจักรวาล ความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิงเปรียบเสมือนความสัมพันธ์ระหว่างฟ้ากับดิน จักรพรรดิกับขุนนาง การเปรียบเทียบในลักษณะนี้มาจากปรัชญา หยิน-หยาง จึงมักมีการเปรียบว่าผู้ชายเป็นผู้สร้างจักรวาล ส่วนผู้หญิงเป็นฝ่ายอยู่ใต้อำนาจของผู้ชาย ค่านิยมการยกย่องผู้ชายและดูถูกผู้หญิงเป็นกลไกสำคัญที่จำกัดสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิต และการศึกษาของผู้หญิง ทางด้านการศึกษาผู้ชายจะมีโอกาสเรียนหนังสือ แต่ผู้หญิงจะไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา เพราะคนในสังคมที่นับถือลัทธิขงจื้อถือกันว่าการศึกษาของผู้หญิงไม่สอดคล้องกับจริยธรรมความเป็นภรรยา สมัยราชวงศ์โชซอนจึงไม่นิยมสนับสนุนการศึกษาของลูกสาว อีกทั้งยังมีคำกล่าวว่า "การที่ผู้หญิงมีความสามารถทางด้านการศึกษานั้นเป็นอัปมงคลหรืออาภัพ" บิดามารดาจึงมีลูกสาวอยู่ในบ้าน และฝึกให้ทำแต่งานบ้านงานเรือนจนกว่าจะแต่งงาน

2. ค่านิยม "กฎแห่งชายกับหญิง"
ในสมัยราชวงศ์โชซอน กฎแห่งชายกับหญิงทำให้มีการแบ่งแยกบทบาทและหน้าที่ของผู้ชายกับผู้หญิงออกจากกันอย่างชัดเจน โดยสังคมกำหนดว่า ผู้ชายมีบทบาทและหน้าที่ในงานสังคม ส่วนผู้หญิงรับผิดชอบงานบ้านและเลี้ยงดูลูก ดังนั้นผู้ชายจึงได้รับการศึกษาตามระบบที่เป็นทางการ เพื่อใช้ประกอบอาชีพ ตลอดจนเรียนรู้ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ของสังคม ส่วนผู้หญิงไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา มีเพียงการขัดเกลาคุณธรรมและฝึกฝนทักษะทางงานบ้านภายในครอบครัว เพื่อให้สามารถควบคุมงานบ้านและดูแลลูกได้ ห้ามหรือจำกัดการออกนอกบ้านของผู้หญิงทำให้ผู้หญิงต้องอยู่แต่ในบ้านและได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากครอบครัวเท่านั้น กฎข้อนี้ยังทำให้ผู้หญิงกับผู้ชายต้องแบ่งเขตภายในบ้าน และแยกกันอยู่ ผู้หญิงอยู่ข้างในสุดของบริเวณบ้าน หรือผู้ชายอยู่ข้างนอกไม่เล่าเรื่องนอกบ้าน ผู้หญิงอยู่ในบ้านไม่เล่าเรื่องในบ้าน กฎข้อนี้ทำให้สตรีถูกควบคุมให้อยู่ในขอบเขตที่กำหนดไว้ ก็คือภายในบ้าน และไม่เปิดโอกาสให้สตรีได้สัมผัสกับสังคมภายนอก ภายในบริเวณบ้านจึงเป็นพื้นที่ที่มีเสรีภาพที่สามารถกระทำอะไรได้แห่งเดียวสำหรับผู้หญิงชนชั้นสูง

3. ค่านิยม "ผู้หญิงย่อมทำตามผู้ชาย"
หลักจริยธรรมสำหรับผู้หญิงในลัทธิขงจื๊อเป็นหลักจริยธรรมที่สัมพันธ์กับผู้ชาย โดยเฉพาะ จริยธรรมสำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว อาจกล่าวได้ว่าเป็นจริยธรรมที่มีต่อสามี และครอบครัวของสามีนั่นเอง ลัทธิขงจื๊อไม่ยอมรับความเป็นตัวของตัวเองของสตรี ยิ่งถ้าหากเป็นหญิงโสด ยิ่งไม่มีความเป็นตัวของตัวเองและจะถือว่าเป็นผู้หญิงไร้ค่า ด้วยเหตุนี้คุณธรรมสูงสุดที่สตรีอาจบรรลุได้ก็คือ คุณธรรมของความเป็นภรรยา

ลัทธิขงจื้อเห็นว่า ผู้หญิงต้องทำตามสามีคือภาพที่สามีจูงและนำภรรยา ส่วนภรรยาก็ตามสามี อันเป็นอุดมการณ์แห่งชีวิตคู่ เป็นค่านิยมที่ทำให้สถานภาพสตรีอยู่ในฐานะที่ต่ำต้อย และอยู่ภายใต้อำนาจของผู้ชายตลอดชีวิต นั่นคือ ผู้หญิงเมื่อยังเด็กต้องเชื่อฟังบิดา เมื่อแต่งงานแล้วต้องเชื่อฟังสามี เมื่อสามีตายก็ต้องเชื่อฟังบุตรชายคนโต ซึ่งเป็นข้อบังคับว่าผู้หญิงไม่ควรตัดสินใจสิ่งใดๆ ด้วยตนเอง ทำให้ผู้หญิงต้องอยู่ภายใต้อำนาจของผู้ชายตั้งแต่เกิดจนตาย

4. ค่านิยม "ผู้หญิงถูกทอดทิ้งได้เสมอ โดยที่ไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้อง"
หลักคำสอนข้อนี้ทำให้สถานภาพของสตรีตกต่ำ ชิลกอจีอัก หรือระบบหย่าร้าง กำหนดข้อปฏิบัติที่ภรรยาไม่ควรกระทำมี 7 ประการ คือ ๑. การไม่เคารพนับถือบิดามารดาของสามี ๒. การไม่มีลูก ๓. การคบชู้ ๔. การหึงหวงริษยา ๕. การมีโรคร้าย ๖. การพูดมาก และ ๗. การลักขโมย. หากผู้หญิงทำเพียงประการใดประการหนึ่ง ก็จะโดนไล่ออกจากบ้าน แนวคิดนี้แสดงให้เห็นว่าอำนาจของผู้ชายสามารถบังคับผู้หญิงได้ทั้งกายและใจ ซึ่งบางครั้งรวมไปถึงเรื่องที่เป็นไปไม่ได้หรือเป็นไปได้ยาก เช่น บังคับให้ภรรยามีลูกคนแรกเป็นลูกชาย โดยข่มขู่ว่าถ้าทำไม่ได้จะมีภรรยาน้อย

นอกจากนี้ ในสังคมโบราณของเกาหลียังมีข้อกำหนด หรือกฎที่ปกป้องผู้หญิงเอาไว้ด้วยข้อยกเว้น 3 ประการ
สำหรับการไม่สามารถไล่ภรรยาออกจากบ้านได้ คือ

๑. กรณีที่ผู้หญิงไม่มีที่ไป
๒. ผู้หญิงได้ดำเนินพิธีไว้ทุกข์แก่บิดามารดาของสามีเป็นเวลา ๓ ปี และ
๓. หลังจากแต่งงานกับผู้หญิงแล้ว ฐานะของครอบครัวมั่นคงและดีขึ้น

โดยภาพรวมแล้ว เห็นได้ว่าผู้หญิงไม่มีสิทธิคัดค้านเรื่องใดได้ ค่านิยมเช่นนี้จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้สถานภาพสตรีตกต่ำและอยู่ภายใต้อำนาจของสามี ตราบใดที่สังคมยังมีระบบครอบครัวที่บิดาเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาด และคนในสังคมไม่เห็นคุณค่าไม่ยอมรับความมีตัวตนของผู้หญิง สตรีก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสภาพที่ย่ำแย่แบบนี้ได้

5. ค่านิยม "จงมีความจงรักภักดีต่อสามีผู้เดียว"
เป็นค่านิยมที่ว่าด้วยการรักษาพรหมจารี หรือไม่ยอมให้แต่งงานใหม่ ด้วยคติที่ว่า "ผู้ชายเป็นฟ้า ฟ้าเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่พ้น สามีก็เป็นผู้ที่เลี่ยงไม่พ้นเช่นเดียวกัน" หมายความว่า สามีมีภรรยาใหม่ได้ แต่ผู้หญิงที่เป็นม่ายแต่งงานใหม่ไม่ได้. ผู้หญิงในสมัยราชวงศ์โชซอนนั้น เป็นยุคที่ลัทธิขงจื้อควบคุมในเกือบทุกด้าน ถูกบังคับให้รักษาพรหมจารีและจงรักภักดีต่อสามีเพียงผู้เดียว แต่สำหรับผู้ชาย ถ้าหากว่าภรรยาเสียชีวิตหรือหย่าร้าง สามารถมีภรรยาใหม่ได้เสมอ สังคมสมัยนั้นบังคับให้สตรีซื่อสัตย์และภักดีต่อสามีผู้เดียวไปจนตาย

ผู้หญิงในอุดมคติในสังคมผู้ชายเป็นใหญ่
บทบาทและหน้าที่ของผู้ชายและผู้หญิงถูกกำหนดอย่างละเอียดและเข้มงวด ผู้หญิงสมัยโชซอนไม่สามารถทำอะไรที่ตนต้องการได้อย่างอิสระ ต้องอาศัยอยู่ในบ้านและดูแลกิจการบ้านเรือนให้เรียบร้อย สังคมเกาหลีต้องการให้สตรีมีคุณสมบัติของ "ผู้หญิงในอุดมคติ" หมายความว่า เป็นมารดาที่ดี และเป็นภรรยาที่ดี ตั้งแต่เกิดมาผู้หญิงเกาหลีถูกเลี้ยง และได้รับการอบรมสั่งสอนให้เป็นสตรีที่มีกริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย เชื่อฟังและปรนนิบัติดูแลสามี กตัญญูต่อบิดามารดาเลี้ยงดูลูกตามคำสอนของลัทธิขงจื้อ โดยเฉพาะคุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรมที่เกี่ยวกับสตรี และ มนุษยสัมพันธ์อย่างครบถ้วน สรุปก็คือ ผู้หญิงสมัยนั้นสังคมเกาหลีสร้างผู้หญิงให้เป็นแม่และเมียที่ดีเท่านั้น โดยผู้หญิงในอุดมคติ (ตามที่สังคมสร้างมาตรฐานขึ้นมา) จะต้องมีศีลธรรมและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีด้วย

Eun Hwy Jeoung (1994, อ้างถึงใน คึน เฮ ซิน, 2543: 8) ศึกษาโลกทัศน์เกี่ยวกับการศึกษาสตรีของซงซียอล ซึ่งเป็นผู้แต่งเรื่อง 'เกเนียซอ' ที่แปลว่า "ตำราสอนกุลธิดา" โดยศึกษานโยบายการศึกษาสตรีในสมัยราชวงศ์โชซอนตอนต้น และวัตถุประสงค์การแต่งเรื่อง เกเนียซอ พร้อมทั้งวิเคราะห์คำสอนในวรรณกรรมเรื่องนี้ ผลวิจัยพบว่า ผู้หญิงในอุดมคติจะต้องเป็นผู้หญิงที่ซื่อสัตย์ต่อสามี รักเดียวใจเดียว และปรนนิบัติดูแลสามี กตัญญูต่อบิดามารดา เลี้ยงดูลูก และมีความสามารถในการสร้างมิตรภาพระหว่างบรรดาเครือญาติ และในกิจบ้านเรือน กล่าวได้ว่า เป็นผู้หญิงที่ปฏิบัติตามคำสอนของลัทธิขงจื๊อโดยเฉพาะคุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรมที่เกี่ยวกับสตรี และมนุษยสัมพันธ์อย่างครบถ้วน

จากการศึกษาโลกทัศน์ที่เกี่ยวกับการสั่งสอนสตรีของ ซงซียอล ในเรื่อง "เกนียซอ" สรุปได้ว่า: สำหรับการศึกษาสตรี ซงซียอล เน้นการอบรมสั่งสอนในชีวิตประจำวัน มากกว่าการสั่งสอนทางด้านวิชาการและศีลธรรม หน้าที่ของผู้หญิงอยู่ที่การดูแลกิจการบ้านเรือน ไม่ได้อยู่ที่ศึกษาเล่าเรียนทางวิชาการ การอบรมสั่งสอนสำหรับผู้หญิงนั้น จึงเรียนรู้จากมารดาและย่าในบ้านก็เพียงพอแล้ว "ไม่ควรอ่านหนังสือ ตำรา วิชาการ"

วรรณกรรมเรื่อง แนฮุน (คำสอนสตรี) และ วรรณกรรมเรื่อง เกเนียซอ (ตำราสอนกุลธิดา) เป็นวรรณกรรมสอนสตรีของเกาหลีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และแพร่หลายมากที่สุด มีเนื้อหาสาระคำสอนที่ครอบคลุมการประพฤติปฏิบัติเกือบทุกอย่างในชีวิตประจำวันและความเป็นอยู่ รวมทั้งสถานภาพ และบทบาทของผู้หญิง อันเป็นคำสอนสตรีที่มีเนื้อหาสาระในแง่พฤติกรรมแห่งการดำเนินชีวิตของกุลสตรีในสมัยนั้น

1. เกเนียซอ (ตำราสอนกุลธิดา)

หนังสือเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์หลายครั้ง รวมถึงในสมัยพระเจ้าจุงจง (ค.ศ. 1522)[เข้าสู่ช่วงปลายยุคสมัยเรอเนสซองค์ของตะวันตก] ซึ่งละครโทรทัศน์อันโด่งดังของเกาหลีเรื่อง"แดจังกึม" อยู่ในสมัยที่มีค่านิยมเช่นนี้ เป็นวรรณกรรมคำสอนสตรีที่สำคัญเรื่องหนึ่ง ของผู้แต่งที่มีฉายาว่า อุอัม นักการเมืองที่มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 17 เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านลัทธิขงจื้อโดยเฉพาะทางด้านการศึกษา แต่งหนังสือเล่มนี้ในฐานะที่เป็นพ่อที่สอนลูกสาว ซึ่งกำลังจะแต่งงานให้รู้จักกริยามารยาทและหน้าที่ของภรรยาที่ดี โดยใช้ภาษาเกาหลีและตัวอักษรเกาหลี เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น 20 ตอนคือ การปฏิบัติต่อบิดามารดา, การปรนนิบัติสามี, การปฏิบัติต่อบิดามารดาสามี, การสร้างมิตรภาพระหว่างพี่น้อง, มิตรภาพกับบรรดาเครือญาติ, การเลี้ยงลูก, พิธีเซ่นไหว้, การต้อนรับแขก, การห้ามหึงและริษยา, การระวังคำพูด, การประหยัดทรัพย์สิน, การขยันทำงาน, การดูแลคนป่วยในบ้าน, การเตรียมอาหารกับเสื้อผ้า, การปกครองคนรับใช้บริวาร, การให้ยืมและได้รับ, การรู้จักการซื้อขายของ, อย่าเชื่อเรื่องผีต่างๆ, ความรอบคอบที่ไม่ควรพลั้งเผลอ, และว่าด้วยการดำเนินตามแบบอย่างที่ดีของคนเก่าแก่ และบรรพบุรุษ

2. แนฮุน (คำสอนสตรี)

เป็นวรรณคดีคำสอนสตรีที่เก่าที่สุดของเกาหลี เป็นผลงานพระราชนิพนธ์ของพระราชินีโซเฮ ซึ่งเป็นพระสุณิสาของพระเจ้าเซโช พระมหากษัตริย์องค์ที่ 7 และเป็นพระมารดาของพระเจ้าซองจง พระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 ในราชวงศ์โชซอน โดยคัดเลือกคำสอนที่เหมาะสมกับการอบรมสั่งสอนผู้หญิงเกาหลีจากวรรณกรรมคำสอนต่างๆ ของจีน มี 3 เล่ม และแบ่งออกเป็น 7 ตอน คือ การพูดจา, การประพฤติปฏิบัติ, ความกตัญญู, ขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งงาน, คู่ครองสามีกับภรรยา, บทบาทในฐานะที่เป็นแม่และการสร้างมิตรภาพกับบรรดาเครือญาติ, ความสุจริตและการประหยัดทรัพย์สิน

งานวิจัยของ คึน เฮ ซิน กล่าวถึงเนื้อหาคำสอนของแนฮุน และเกเนียซอ โดยสรุปสามารถแบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่

หมวดที่หนึ่ง: การปฏิบัติต่อตนเองอย่างมีคุณธรรม
1.1 การครองตนในสังคม
ผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว อ่อนน้อม เรียบร้อย รักเดียวใจเดียว และควบคุมตัวเองให้ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่เหมาะสม ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสอนสตรีให้มีคุณสมบัติ 4 ประการ คือ

- คุณงามความดีของผู้หญิง จะต้องมีความเงียบขรึม สุภาพอ่อนโยน ซื่อสัตย์ รักษาพรหมจารีและจงรักภักดีต่อสามี จัดการสิ่งของต่างๆ ให้ดี รู้จักความอับอายในการวางตัว และมีระเบียบวินัยในอากัปกริยา สำหรับอุปนิสัยก็ควรรู้จักประมาณตน รู้ถึงฐานะของตนจะได้ปฏิบัติตนถูกต้อง เจียมเนื้อเจียมตัวไม่ให้มีความโลภและความฟุ่มเฟือย เห็นอกเห็นใจและเมตตาต่อผู้อื่นไม่ว่าฐานะของเขาจะเป็นอย่างไร ละทิ้งความหยิ่งทะนง มีความเห็นอกเห็นใจ อดทน และในขณะเดียวกัน ให้ผู้หญิงมีความมั่นใจในตัวเองและความเด็ดเดี่ยว และแม้ไม่อยากทำก็ต้องทำด้วยความมั่นใจในตนเอง

- การพูดจาของผู้หญิงต้องพูดจาแต่เรื่องดีๆ ไม่พูดเรื่องไม่ดี พูดเหมาะสมกับกาลเทศะ
ไม่มีใครที่ไม่อยากฟัง ผู้หญิงต้องระวังการใช้ภาษา เพราะการพูดย่อมทำให้เกิดเรื่องต่างๆ

- รูปร่างหน้าตาของผู้หญิงจำต้องสะอาด ชำระสิ่งสกปรกและล้างฝุ่น ตระเตรียมเสื้อผ้า
และเครื่องแต่งกายให้สะอาด อาบน้ำไม่ให้มีขี้ไคลในร่างกาย

- ความสามารถทางงานบ้านและงานฝีมือของผู้หญิง คือการทอผ้าปั่นใยด้วยความตั้งใจ ไม่ชอบเล่นและหัวเราะ
เตรียมเหล้ากับอาหารให้ดี อร่อย และต้อนรับแขกอย่างดี

คุณสมบัติของผู้หญิงทั้ง 4 ประการนี้สำหรับการครองตนแล้วจะขาดไม่ได้เด็ดขาด และความประพฤติดังกล่าวนี้ปฏิบัติตามไม่ยากขึ้นอยู่กับจิตใจ

1.2 การพูดจา
ผู้หญิงที่ฉลาดต้องระมัดระวังรักษาคำพูด เพื่อรักษาความสัมพันธ์ในเครือญาติ อย่าให้เกิดความเสียหายแก่ครอบครัว ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว แม้ว่าเห็นกับตาก็ห้ามพูด แม้ได้ยินก็จงทำตัวเหมือนไม่ได้ยิน ถ้าไม่สำคัญก็อย่าพูด ดังนั้น การระวังคำพูด ไม่พูดมากสำคัญที่สุด

1.3 กริยามารยาท
มีกฎแห่งชายกับหญิงที่ใช้กันอย่างเข้มงวดเพื่อสร้างระเบียบวินัยสังคม ผู้หญิงผู้ชายห้ามนั่งชิดกัน ห้ามใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหวีร่วมกัน และห้ามรับหรือให้สิ่งเหล่านี้แก่กันโดยเด็ดขาด ระหว่างพี่สะใภ้กับน้องชายสามีอย่าเยี่ยมกันเป็นการส่วนตัว. อย่าพูดจาเสียงดัง เวลาเข้าบ้านและออกบ้านต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงชั้นสูงเกือบจะไม่มีอิสรภาพในการออกนอกบ้าน นอกจากมีเรื่องสำคัญมากในครอบครัว เมื่อต้องไปข้างนอกเพราะมีพิธีสมรสหรืองานศพของญาติพี่น้องหรือเพื่อน สามารถออกจากบ้านได้ แต่ต้องนั่งข้างในสุดของห้อง และห้ามมองออกข้างนอก เมื่อมีงานใหญ่โต การแบ่งแยกผู้หญิงผู้ชายเป็นไปได้ยาก ให้มีความระมัดระวัง

หมวดที่สอง: การปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างมีศีลธรรม
เป็นการสั่งสอนผู้หญิงให้ปฏิบัติต่อผู้อื่น ได้แก่ บิดา มารดา สามี และญาติพี่น้องของสามี และสั่งสอนเรื่องคู่ครอง และการแต่งงาน

2.1 การปฏิบัติต่อบิดามารดาในฐานะลูกสะใภ้ที่ดี

ก่อนแต่งงานต้องมีความกตัญญูต่อบิดามารดาของตน เมื่อแต่งงานไปต้องปรนนิบัติต่อบิดามารดาของสามีแทนบิดามารดาของตน และควรให้ความสำคัญกับบิดามารดาของสามีมากกว่าบิดามารดาของตนเอง และการปรนนิบัติบิดามารดาของสามีสำคัญกว่าความรักระหว่างสามีภรรยา ภาระหน้าที่ว่าด้วยการดูแลความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นเป็นของผู้หญิง นั่นคือ อย่าออกห่างคนไข้ แม้ว่าคนไข้ไม่ยอมรับประทาน พยายามเตรียมอาหารไปและชวนให้รับประทานบ่อยๆ ต้องดูแลทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความตั้งใจจริง จงต้อนรับคนพยาบาลคนไข้และหมอให้ดี

2.2 การปฏิบัติต่อสามีในฐานะภรรยาที่ดี
หญิงและชายมีการแบ่งแยกตามความแตกต่างของลักษณะนิสัย โดยเปรียบเทียบกับลักษณะของหยินและหยาง ซึ่ง"หยาง" หมายถึงผู้ชายหรือพลังที่เข้มแข็ง ส่วน"หยิน" หมายถึงผู้หญิงหรือความอ่อนโยน ผู้ชายนับถือสิ่งที่เข้มแข็งเป็นสำคัญ ผู้หญิงถือสิ่งที่อ่อนบางเป็นสิ่งสวยงาม เนื่องจากผู้หญิงและผู้ชายมีลักษณะนิสัยที่ไม่เหมือนกัน จึงมีบทบาทและหน้าที่ต่างกัน คือ สามีต้องปกครองดูแลภรรยา และภรรยาต้องปรนนิบัติสามี หน้าที่ของภรรยากับงานในบ้าน คือ หน้าที่ต้องอยู่กับการตระเตรียมและจัดหาอาหาร เหล้า และเสื้อผ้าในครอบครัว ไม่ให้ภรรยาเข้าร่วมการเมือง และไม่ให้ทำเรื่องใหญ่หรือเรื่องสำคัญของครอบครัว ผู้หญิงและชายต้องเคารพในบทบาทซึ่งกันและกัน และซื่อสัตย์ต่อชีวิตคู่จึงจะมีความสุข

ภรรยาต้องเชื่อฟังและเคารพนับถือสามี แม้ว่าภรรยากับสามีมีสถานภาพเท่าเทียมกัน แต่สามีนั้นเปรียบเสมือนเป็นฟ้า ภรรยาจึงควรที่จะต้องเคารพนับถือ และปรนนิบัติสามีเช่นบิดาของตน ต้องเชื่อฟังและอย่าคัดค้านเด็ดขาด ในชีวิตผู้หญิงมีสามีได้คนเดียวและสามีคือคนที่สำคัญที่สุดในชีวิต ภรรยาต้องไม่หึงหวง แม้มีเรื่องเล็กน้อยก็ต้องปรึกษาสามีก่อนเสมอ การใช้ชีวิตคู่ต้องปฏิบัติต่อคู่ครองเสมือนแขกคนสำคัญ การปฏิบัติต่อญาติพี่น้องสามีในครอบครัวเป็นบทบาทและหน้าที่ของผู้หญิงในครอบครัว และกล่าวว่าหนทางเดียวที่จะรักษาความสงบสุขในครอบครัวได้ก็คือ ความอดทน. การเป็นแม่บ้านและการแต่งงานนั้นควรพินิจพิเคราะห์อุปนิสัยและความประพฤติของว่าที่ลูกเขย หรือลูกสะใภ้ รวมถึงพื้นเพของครอบครัวเขาก่อนเสมอ อย่าดูแต่ความร่ำรวยหรือฐานะมั่นคงเพียงอย่างเดียว

หมวดที่สาม: การเป็นแม่บ้านที่ดี

- รู้จักขยันขันแข็งในงานบ้าน "ภาระหน้าที่ว่าด้วยการขยันทำงานบ้าน" คือ ต้องปรนนิบัติบิดามารดาสามี เลี้ยงดูลูก การจัดพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษและการทอผ้า จนถึงการเตรียมอาหารทุกมื้อ งานบ้านทั้งหมดตกอยู่ที่มือของแม่บ้าน สตรีมีหน้าที่ทำงานบ้านและควบคุมดูแลงานบ้าน จึงต้องขยันทำงานบ้าน เอาใจใส่บ้านเรือนให้สะอาดเรียบร้อย

- รู้จักการจัดพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ เกาหลีนับถือวิญญาณของบรรพบุรุษ จึงมีพิธีเซ่นไหว้. ผู้หญิงจึงต้องเป็นผู้รู้จักวิธีการจัดพิธีและเตรียมเครื่องเซ่น เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และต้องจัดและตระเตรียมด้วยความตั้งใจจริง ความบริสุทธิ์ใจ และรอบคอบ

- รู้จักต้อนรับแขก เรื่องนี้มีความสัมพันธ์กับศักดิ์ศรี และความมีหน้ามีตาของสามีมากทีเดียว แขกที่มาบ้านจะประทับใจมากเพียงใดขึ้นอยู่กับการต้อนรับของเจ้าบ้าน ผู้หญิงต้องต้อนรับให้ดี โดยให้บริการอาหารอย่างดี หากไม่ต้อนรับด้วยไมตรีจิต เพียงแค่ครั้งสองครั้ง แขกคนนั้นจะไม่มาอีก ให้อำนวยความสะดวก ไม่แบ่งแยกคนชั้นสูงกับคนชั้นต่ำ หรือคนรวยและคนจน

- รู้จักประหยัด ผู้หญิงต้องรู้จักใช้สอยอย่างประหยัด และรู้วิธีเก็บออมทรัพย์สมบัติ

- รู้จักใช้คน สตรีชนชั้นสูงในฐานะแม่บ้านต้องรู้จักใช้คน ต้องมีความเข้าใจ ความเห็นใจ ให้ความเมตตา และมีน้ำใจต่อบ่าวไพร่ ถ้าบ่าวไพร่ทำผิดก็ตักเตือนแต่โดยดี อย่าใช้ความดุดันและความเข้มงวดอย่างเดียว ต่างคนต่างมีความสามารถของตน อย่าให้ทำสิ่งที่เกินความสามารถของเขา อย่าด่าพร่ำเพรื่อ ถ้าไม่มีครอบครัวให้คนรับใช้คนอื่นช่วยดูแลกันเอง

หมวดที่สี่: การเป็นมารดาที่ดี

- การสั่งสอนลูกก่อนคลอด ในเกาหลีมีความเชื่อว่าลูกในท้องจะได้รับความกระทบกระเทือนจากพฤติกรรมของมารดา ผู้เป็นแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่จึงต้องมีความระมัดระวังการปฏิบัติตนต่างๆ เช่น ขณะที่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานอาหารไม่ดี หรือนอนบนพื้นที่เอียง รักษาตัวให้ดี และทำตัวให้เรียบร้อย เมื่อคลอดลูกจะได้เป็นคนเรียบร้อย ลูกมักจะเป็นเหมือนมารดา เพราะลูกอยู่ในท้องมารดาเป็นเวลา 10 เดือน และเชื่อฟังคำมารดาจึงเหมือนมารดา

- การเลี้ยงดูและสั่งสอนลูก มีการแนะนำวิถีทางและเนื้อหาการสอนตามเพศและวัยของลูกอย่างละเอียด ความผิดของลูกทั้งหมดอยู่ที่การสั่งสอนของแม่ เน้นบทบาทที่สำคัญของมารดาต่อการอบรมสั่งสอนลูกเป็นอย่างมาก การเลี้ยงดูและกระทำของมารดามีอิทธิพลในการหล่อหลอมให้ลูกเจริญเติบโตขึ้นมา ในลักษณะตามที่ต้องการได้ แม่ประพฤติเช่นไรลูกก็มักจะประพฤติปฏิบัติตามแม่เช่นนั้น

ผลกระทบจากค่านิยมลัทธิขงจื้อต่อสถานภาพและบทบาทผู้หญิง
อุดมการณ์เกี่ยวกับครอบครัว มีค่านิยมยกย่องผู้ชายให้มีสถานภาพสูงสุด เหล่านี้ล้วนมาจากการนับถือคำสอนของขงจื้อที่เชื่อว่า ทั่วทั้งจักรวาลมีเพียงครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่ง ทุกสิ่งจะมีความเกี่ยวข้องกันและกัน และจะมีการเรียงลำดับสูงต่ำ จากขั้นต่ำสุดคือ ความเป็นมนุษย์ขึ้นไปจนถึงสวรรค์ สวรรค์เป็นแหล่งรวมทุกสิ่ง และเป็นบรรพบุรุษของสรรพสิ่งบนพื้นพิภพ ดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อสถานภาพและบทบาทของสตรีเป็นอย่างมาก สถานภาพและบทบาทโดยรวมของสตรีเกาหลีสมัยราชวงศ์โชซอน จึงสามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ

1. สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงในครอบครัว
สถานภาพของสตรีอยู่ใต้อำนาจของผู้ชาย ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง และต้องดำเนินชีวิตภายในขอบเขตจำกัดอย่างเคร่งครัด ผู้หญิงจะไม่คัดค้าน และไม่พยายามที่จะฝ่ากฎเหล่านั้นอย่างเต็มใจ ชีวิตทั้งชีวิตของสตรีในสมัยนั้นขึ้นอยู่กับจริยธรรมและศีลธรรมทางลัทธิขงจื้อ สตรีถูกอบรมสั่งสอนไม่ให้แสดงความคิดเห็นต่อสามี และย่อมต้องทำตามสามีไม่เช่นนั้นจะโดนกล่าวว่า เป็นผู้หญิง "ไร้ศีลธรรม" และจะถูกรังเกียจเหยียดหยามจากสังคมอย่างรุนแรง เมื่อถูกกล่าวว่าไม่สามารถเป็นภรรยาที่สมบูรณ์ ก็จะถูกทอดทิ้งได้ทันทีโดยที่ไม่สามารถฟ้องหย่าได้

"สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงชั้นสูง" จะอยู่ภายใต้ "กฎแห่งชายกับหญิง" กล่าวคือ ผู้ชายอยู่ข้างนอก ไม่เล่าเรื่องนอกบ้าน, ผู้หญิงอยู่ข้างใน ไม่เล่าเรื่องในบ้าน. ผู้หญิงถูกกำหนดขอบเขตชีวิตอย่างเข้มงวด แม้ว่าฐานะทางการเงินค่อนข้างมั่นคงและได้รับเกียรติในบ้าน แต่ก็ถูกตัดขาดจากสังคมภายนอก ไม่มีอิสรภาพทางการกระทำ ต้องอยู่ในบ้านตั้งแต่เกิดจนตาย โลกของสตรีชนชั้นสูงจึงมีแต่บ้านและครอบครัว

"สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงสามัญชน" ค่อนข้างอิสระและมีข้อบังคับเกี่ยวกับพฤติกรรมน้อยกว่า เพราะหญิงชาวบ้านสามารถเข้าออกนอกบ้านได้ เนื่องจากความจำเป็นในการดำรงชีวิตที่ต้องช่วยกิจการสามี เพื่อให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ยากลำบากจนเกินไป

สรุปคือ สถานภาพของผู้หญิงในสมัยราชวงศ์โชซอน ถือว่าไม่มีอิสระตามหลักสิทธิมนุษยชน แม้ว่าจะต่างชนชั้นกัน แต่ก็มีหน้าที่เหมือนกันในการปรนนิบัติบิดามารดาของสามี และสามี เลี้ยงลูก เตรียมพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ทำอาหาร ปั่นด้าย และดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้กฎของลัทธิขงจื้อที่เปรียบเหมือนทาส ในสำนวนเกาหลีเรียกว่า "ทาสที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร"

2. สถานภาพ และบทบาทของผู้หญิงทางสังคม
เมื่อเทียบกับผู้ชาย ผู้หญิงไม่ได้รับความเสมอภาคเกือบทุกด้าน เช่น ครอบครัว การศึกษา สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เนื่องจากค่านิยมที่ให้ความสำคัญแก่ชายมากกว่าหญิง มีสำนวนเรียกว่า "นัมจนยอบี" ซึ่งหมายถึง "ยกย่องผู้ชาย ดูถูกผู้หญิง" ผู้หญิงจะถูกเข้มงวดกวดขันในเรื่องความเป็นอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ต่างๆ ทางจริยธรรมและศีลธรรมของลัทธิขงจื้อ และแทบจะไม่มีอิสระในเรื่องชีวิตส่วนตัว โดยสามารถสรุปลักษณะของสถานภาพทางสังคมของผู้หญิงจากงานวิจัยของ ชิน คึน เฮ ได้ดังต่อไปนี้ คือ

- เป็นผู้ที่ถูกกีดกันให้อยู่แต่ในบ้าน ถูกสอนให้รู้จักการครองตน และทำหน้าที่แตกต่างกับเด็กชายแต่เด็ก อยู่ภายใต้กฎแห่งชายกับหญิงภายใต้อำนาจของสามี ซึ่งเป็นผู้นำครอบครัว

- เป็นผู้ที่เชื่อฟังผู้ชายในครอบครัว ไม่ว่าจะบิดา สามี หรือบุตรชาย ไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ด้วยตัวเอง และอยู่ด้วยความกลัวการหย่าร้างจากสามีตลอดชีวิต ถูกสามีทิ้งไปมีภรรยาน้อยได้โดยไม่มีสิทธิมีเสียง ด้วยเหตุผลว่าต้องการสืบทอดวงศ์ตระกูล เพราะการที่ไม่สามารถมีบุตรชายได้นั้น ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงของผู้หญิง

- เป็นแม่หม้ายไปจนตลอดชีวิต หากสามีถึงแก่ความตาย โดยเฉพาะผู้หญิงชั้นสูง. เรื่องพรหมจารีของผู้หญิง หรือความบริสุทธิ์กลายเป็นเรื่องของกฎหมาย ในสมัยของพระเจ้าจุงจง (ค.ศ. 1506-1544) มีการบัญญัติว่า การแต่งงานใหม่ของผู้หญิงเป็นอาชญากรรม แต่สำหรับผู้ชายหากภรรยาตายก็แต่งงานใหม่ได้ทันที อีกทั้งบุตรชายของผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ จะไม่มีสิทธิสอบเข้ารับราชการ ดังนั้นสถานภาพของผู้หญิง จึงเป็นเพศที่ไม่ได้รับความยุติธรรมจากทั้งกฎหมายและสังคมอย่างเด่นชัด

- ถูกจำกัดให้รับผิดชอบงานในครอบครัวเท่านั้น ไม่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมภายนอก ไม่สามารถทำนิติกรรมต่างๆ ด้วยตัวเองได้ และไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง ผู้หญิงจะไม่มีชื่อจริงก่อนแต่งงาน เมื่อแต่งงานไปก็จะมีแต่ชื่อสกุลสืบจากบิดา ดังนั้นในสำมะโนครัวของฝ่ายครอบครัวสามี ก็จะมีแต่การระบุชื่อสามีไม่มีชื่อผู้หญิง จึงได้ชื่อว่าเป็น "ภรรยาของใคร" หรือ "แม่ของใคร" เท่านั้น

- ไม่ได้รับการส่งเสริมให้ศึกษาเล่าเรียน ผู้หญิงเกาหลีโดยทั่วไปจะไม่ได้รับการศึกษาในระบบ จะมีเพียงการศึกษาที่สอนกันอยู่แต่ในบ้าน การเรียนจึงเป็นเรื่องการบ้านการเรือนและคุณธรรมทางด้านลัทธิขงจื้อในบ้าน ทั้งที่ในสมัยราชวงศ์โชซอน สังคมเกาหลีให้ความสำคัญกับการศึกษาหาความรู้ และส่งเสริมให้ลูกเรียนระดับสูงเฉพาะลูกชายเท่านั้น การเรียนของผู้หญิงจึงมีแค่การฝึกหัดกริยามารยาท การครองตน และหัดอ่านเขียนหนังสือระดับเบื้องต้น แต่สตรีชนชั้นสูงเท่านั้นที่มีโอกาสเรียนเขียนหนังสือ ผู้หญิงสามัญชนซึ่งเป็นผู้หญิงมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศไม่รู้หนังสือ จนกระทั่งในสมัยของกษัตริย์เซจงมหาราช (ค.ศ. 1418-1450) ทรงประดิษฐ์อักษรเกาหลีเมื่อปี ค.ศ. 1443 ผู้หญิงจึงมีโอกาสศึกษาอักษรเกาหลี และอัตราการรู้หนังสือจึงมีมากขึ้น

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก

ปรัชญาและทฤษฎีการเมือง ของนักการเมืองและนักปกครองในลัทธิขงจื้อ
ก. ปรัชญาการเมืองของขงจื้อ สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. บุคคลผู้จะเป็นนักการเมืองผู้นั้นจะต้องเป็นนักการบ้าน ปกครองครอบครัวของตนให้สงบสุขได้ก่อน
2. บุคคลที่สามารถปกครองครอบครัวให้สงบสุขได้ เขาจักต้องอบรมตนให้ดีก่อนและการอบรมตนให้ดีนั้น
เขาจักต้องตั้งจิตของเขาให้ชอบธรรมก่อน
3. บุคคลซึ่งรู้จักวางจิตของตนให้ชอบธรรมได้ จำต้องมีความซื่อสัตย์มั่นคงในอุดมคติของตนเอง
4. ผู้มีความซื่อสัตย์มั่นคงต่ออุดมคติได้ ผู้นั้นต้องเป็นคนมีสติปัญญาความรอบรู้ในเหตุการณ์
5. บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความชอบธรรม ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้อบรมตนแล้ว เมื่อตนอบรมได้ดีแล้ว ก็ย่อมปกครองครอบครัว บ้านเมือง ประเทศชาติดีได้. เมื่อทำความดียังไม่ได้ จะปกครองประเทศชาติให้ดีได้อย่างไร

ข. ทฤษฎีการเมืองของขงจื้อ
นับว่าเป็นมรรควิธีแนะนำคนให้เป็นนักการเมืองที่ดี สรุปได้ 8 ข้อดังต่อไปนี้

1. เข้าใจในเหตุผลในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างแจ่มชัด และเคยทำความดีในสถานการณ์เช่นนั้นมาก่อน
2. ต้องเป็นผู้มีสติปัญญา เพราะเหตุเนื่องมาจากเข้าถึงเหตุผล
3. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ต่ออุดมการณ์ อุดมคติดำเนินไปตามแนวทางที่ถูก
4. จิตของตนต้องตั้งอยู่ในความชอบธรรม
5. ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมมาอย่างดีแล้ว
6. มีความสามารถที่จัดการให้ครอบครัวมีระเบียบเรียบร้อยได้
7. เป็นผู้ที่ปกครองบ้านเมืองได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข
8. เป็นผู้ที่มีความสามารถที่จะสร้างสันติภาพให้แก่มนุษยโลกได้

++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกไปอ่านต่อบทความที่เกี่ยวเนื่อง



คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Dae Jang Geum, sometimes known as The Great Jang Geum, or Jewel In The Palace, is a 2003 TV series produced by South Korean TV channel MBC.

Dae Jang-Geum was a real person documented in the Annals of Joseon Dynasty, as well as a medical document of the time. However, descriptions and references of her were scarce and mostly brief. Many assert that Dae Jang-geum was the first female royal physician of the king in Korean history. Nevertheless, there were (and still are, to this day) some who continue to believe that Dae Jang-Geum is merely a fictional figure drawn from various references of female doctors in the Annals.