โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 13 August 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๓๒ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (August, 13, 08,.2007) - ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

Installment Payment ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเสื้อผ้า ระบบเสื้อผ้า หรือ Fashion System ในอเมริกัน หลายคนมองไม่ออกว่า ปัจจัยสำคัญคือ พื้นฐานทางความคิดเชิงทฤษฎีต่อเรื่องการเงินที่เปลี่ยนไป ส่งผลต่อรูปลักษณ์เฉพาะของเสื้อผ้าด้วย แต่มันไม่ได้ส่งผลตรงๆ เงินไหลเวียนในตลาดเงินมากในอเมริกัน เนื่องจากมีการลงทุนในโลกใหม่ ทำให้คนมีเงิน ทำให้เกิดอัตลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงการบริโภค มันเปลี่ยนผ่านระบบ Installment Payment ด้วย ซื้อจักรเย็บผ้าเงินผ่อนได้ มันก็ไปเปลี่ยนแบบเฉพาะการตัดเย็บอเมริกัน
13-08-2550

Fashionsophy
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

Design Process of a Constructed Image for Sale
Fashionsophy: แฟชั่นกับการประกอบสร้างอย่างมีกระบวนการ
ทัศนัย เศรษฐเสรี : เขียน
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กระบวนการออกแบบ: ภาพที่ถูกสร้างเพื่อขาย
Design Process of a Constructed Image for Sale (1)

ข้อถกเถียงเรื่อง Concept and Skill
ปัญหาโลกแตกระหว่าง Concept และ Skill ทำให้ทุกคนปวดหัว ในโรงเรียนศิลปะและการออกแบบ หลายคนคิดว่าการเรียนเรื่อง Concept หรือแนวคิดคือยาขม และเป็นที่มาของรายได้ที่เป็นกอบเป็นกำได้ช้ากว่าการฝึกทักษะหรือ skill ที่ดี โดยส่วนตัวของผู้เขียนแล้วมองว่า ทั้งสองอย่างเป็นเรื่องเดียวกัน และจะไม่สร้างรายได้ทั้งคู่หากขาดความเข้าใจ

การได้มาซึ่ง "แนวคิด" มีคนเข้าใจผิดว่า เป็นเรื่องของการเรียนและจดจำทฤษฎีต่างๆ และการมี "ทักษะ" ที่ดี คือการลงทุนเรื่องเวลาต่อการฝึกฝนทางเทคนิค อันที่จริงแล้ว ทั้งสองเรื่องคือการฝึกฝนคนละด้าน

ทฤษฎี คือแบบฝึกหัด นำมาซึ่งวิธีคิดด้วยการผสมผสานใหม่ของกรอบต่างๆ ที่มีอยู่เดิม บนฐานของชีวิตทางวัฒนธรรมเฉพาะ ที่ซึ่งกรอบต่างๆ ถูกเลือก. หากคิดว่าการเรียนทฤษฎีหรือฝึกฝนการคิดผ่านกรอบทฤษฎีคือคำตอบ การฝึกฝนทางปัญญาจะนำไปสู่ความแข็งทื่อของวิธีคิด ขาดมิติของการรังสรรค์การมองโลกแบบใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ และตัดขาดจากชีวิตต่างๆ ที่เดินไปเดินมาในสังคมนั้นๆ เช่นเดียวกับการติดกับดักทักษะในเชิงช่าง ซึ่งมีแต่จะสร้างผลงานที่มีเพียงรูปแบบปราศจากเนื้อหาที่แหลมคม

ถ้าหากลองฝึกฝนทักษะทั้ง 2 ด้าน "สมอง"และ"มือ" อย่างเข้าใจ เราจะรู้จักเลือกที่จะคิดและเลือกที่จะถ่ายทอดความคิดผ่านทักษะอย่างเหมาะสม ไม่ลุ่มล่าม. เชื่อกันว่าบริษัทดีไซน์ดีๆ ต้องมีองค์ประกอบ 4 ส่วนที่กลมกลืนเอา"ความคิดสร้างสรรค์, การวิจัยสังคม, ทักษะเทคนิค, การจัดการและการตลาด" เข้าด้วยกัน

ผ่านการมองและวิจัยสังคม-วัฒนธรรมที่รอบด้าน ด้วยความตั้งใจที่จะรังสรรค์สิ่งที่เหมาะสม จะใหม่หรือไม่ก็ตาม แน่นอนทีเดียวต้องผ่านความชาญฉลาดของฝีมือ และเทคนิคในการถ่ายทอดสิ่งที่อยากนำเสนออย่างมีลีลา. เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การเรียนเรื่องทักษะและเทคนิคในการออกแบบ ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่จำเป็นต้องเกิดมาพร้อมพรสวรรค์ เราก็สามารถหาเทคนิคดีๆ มาใช้ได้ เช่นเดียวกับแนวคิด ด้วยการอธิบายที่มีทฤษฎีสำคัญๆ กำกับ ติดตามตามอยู่บ่อยๆ อ่านอย่างต่อเนื่อง ฟังผู้เชี่ยวชาญคุยมากๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก

และหากปราศจากซึ่งความคิดดีๆ ทักษะ เทคนิคจับใจ ถึงแม้จะผนวกด้วยความเข้าใจสังคมวัฒนธรรมอย่างรอบด้านเข้าไป การจัดการก็เป็นเพียงงาน Routine แน่ใจได้เลยว่าจะไม่สร้างมูลค่าทางการตลาดแต่อย่างใด

โรงเรียนศิลปะและการออกแบบชั้นดีที่ผลิตศิลปินและนักออกแบบชั้นแนวหน้า คิดว่า การเรียนและผลิต แนวคิด(Concept)เป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกๆ มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ในปัจจุบันเนื่องด้วยพื้นที่ของการบริโภคขยายตัวกว้างขึ้น การจัดการและการตลาดจึงกลายมาเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญในวงการดีไซน์ อย่างไรก็ดี ด้วยความสำคัญทั้ง 4 ด้านดังที่กล่าวมาแล้ว (ความคิดสร้างสรรค์, การวิจัยสังคม, ทักษะเทคนิค, และการจัดการการตลาด) บริษัทออกแบบ จะเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังไม่เหมือนกัน นำมาซึ่งรูปแบบของเสื้อผ้าที่ต่างกันไป

ในที่นี้จะขอเริ่มต้นการพูดถึงโลกแฟชั่น(Fashion System) ด้วยลักษณะเสื้อผ้าที่แตกต่างกันใน 3 กลุ่มคือ

กลุ่มที่หนึ่ง Clothing Stylist
กลุ่มที่สอง Clothing และ
กลุ่มที่สาม Fashion

ถ้านักออกแบบ(designer) ไม่เริ่มตั้งคำถามว่าคนใส่เสื้อผ้าด้วยเหตุผลและเงื่อนไขอะไร หรือคิดว่าจะวาง เงื่อนไขให้คนใส่เสื้อผ้าแล้ว การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยทั้ง 4 ด้านข้างต้น ก็จะไม่ชัดเจนและวางตำแหน่ง(position)การดีไซน์ไม่ถูกในกลุ่มเสื้อผ้าทั้ง 3 กลุ่มที่ว่า การทำมาหาเลี้ยงชีพกับการใส่เสื้อผ้าของคนก็จะไม่สัมฤทธิผล

ผู้เขียนเห็นว่าการเข้าใจปัจจัยทางสังคม-วัฒนธรรม ผ่านการวิจัยก่อนนำมาสู่การใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงและใช้ได้จริง (หรือใช้ได้เชิงสัญลักษณ์) ในโลกความเป็นจริง แล้วเราจะเลือกใช้เทคนิคที่มีสไตล์ที่เหมาะสม จึงเลือกรูปแบบการจัดการการตลาดที่เหมาะสมที่จะขายของ ตรงนี้น่าสนใจว่าสิ่งเหล่านี้เริ่มเกิดขึ้นหรือยังในโลกแฟชั่นบ้านเรา (กรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น) ? ไม่คิดแต่เรื่องการร้อยเรียงเส้น สี น้ำหนัก รูปทรงและวัสดุ แล้วทึกทักเอาว่านั่นคือ concept (แนวคิด), หรือไม่ก็มุ่งเน้น skill (ทักษะ) การตัดเย็บทั้งดีและออกมาแบบลวกๆ ชุ่ยๆ ก็ตามในสตูดิโอ, หรือไม่ก็คิดแต่การเข้าใจตัวละครต่างๆ ทางสังคม วัฒนธรรม แบบชืดๆ ขาดความสร้างสรรค์ที่จะคิด ไม่ก็คิดแต่จะจัดการและวางระบบตลาดโดยไม่รู้ว่าจัดการอะไร และขายใคร ขายอะไรในตลาด

ในโลกของธุรกิจไม่มีใครพูดความจริง หรือหากมีการอ้างถึงความจริงในมุมไหนก็ตาม ส่วนของความจริงนั้นๆ ก็จะถูกนำเสนอเป็นเพียงบางส่วน ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมด ไม่ปะติดปะต่อ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคที่จะใช้ความสามารถตามที่มีอยู่ (ซึ่งไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับแต่สละถานะทางสังคมที่ตนใช้ชีวิตอยู่) ปะติดปะต่อเรื่องราวเอาเอง

ความจริงที่เคยมีความหมายอย่างหนึ่งในโลกใบเดิม ถูกเปลี่ยนสถานะให้เป็นเพียงข้อมูล-ข่าวสาร(Information) ที่ไม่ต้องการค้นหา การฝึกฝน หรือการถ่ายทอด. ข้อมูลมีชีวิตเลื่อนไหลในทุกๆ ที่ ทะลุทะลวงอาณาเขตที่เคยมีขอบเขตเฉพาะของมัน เช่น ที่สาธารณะ ที่ส่วนตัว ที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน เขตวัด ฯลฯ Information (ข้อมูล-ข่าวสาร) หรือความจริงชนิดใหม่อยู่รอบๆ ตัวคุณ โดยคุณไม่ต้องไปค้นหา

เมื่อเราเปลี่ยน position หรือตำแหน่งที่จะรับ Information หรือข้อมูล. ภาพรวม(ของความจริง)ที่ Information ให้ไว้แบบลอยๆ ก็จะถูกปะติดปะต่อเป็นเรื่องราวที่ถูกสรุปต่างกันไป เป็นภาพที่ต่างกัน เพราะ ส่วน(segment) ของข้อมูล(information) ที่เรารับต่างกัน ทำให้เกิดภาพของความจริง (ถ้ามีอยู่) ที่เป็นส่วน(segment) ด้วย} เป็น Snapshot (การจับภาพอย่างรวดเร็ว ฉับพลัน)ของประสบการณ์รับรู้ความจริงที่แยกเป็นเสี่ยงๆ

ถึงตรงนี้ดูเหมือนความคิดเรื่อง Cooperate Identity (อัตลักษณ์ร่วม) คงทำให้เกิดขึ้นยากด้วยสถานการณ์ ของการรับรู้ทางสังคม(Social Perception)ในเวลาร่วมสมัย และยิ่งยากมากขึ้นเมื่อมีใครสักคนพูดถึงเรื่องการมี การครอบครอง และการผลิตอัตลักษณ์เชิงเดี่ยว. ตามข้อเท็จจริงแล้ว มักเกิดปัญหาทุกครั้งเมื่อมีความพยายามที่จะลดบทบาทธรรมชาติตัวใหม่ในโลกร่วมสมัย นั่นคือ "ความหลากหลายของวิถีชีวิต, สไตล์หรือแบบฉบับของรสนิยม, ความเชื่อในแบบแผนการดำรงชีวิตเฉพาะ, ให้เหลือเพียงแนวคิดหรือ concept เชิงเดี่ยว ที่เป็นอัตลักษณ์เดี่ยว

ผ่านการบริหารสไตล์ของชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย ด้วยเทคโนโลยีของการเมืองเรื่องรสนิยม การโต้แย้งทั้งทางตรงและอ้อมด้วยกลยุทธชั้นเชิง(tactic) ของสไตล์ต่างๆ ย่อมเกิดขึ้นในพื้นที่การเมืองรสนิยมนี้ บางครั้งลุกลามถึงความต้องการแบ่งแยกดินแดน ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปที่เห็นได้

รัฐสมัยใหม่ส่วนใหญ่ เลิกพูดเรื่องรัฐกิจ - อำนาจ - รัฐศาสตร์ ในแบบเดิม, หากพูดถึง ธุรกรรม และพันธกิจของรัฐโลกานุวัตน์ ที่ต้องร่วมสงครามการค้าโลก และไม่ใช่การค้าที่พูดถึงมูลค่า คุณค่าของสิ่งที่จะค้า แต่พูดถึงการแข่งขันเรื่องมูลค่า / คุณค่าเทียมในสงครามการสร้างภาพ(Image war) ซึ่งไม่ใช่สงครามของการสร้างภาพเพื่อรักษาหน้าตา แต่เป็นสงครามของการสร้างภาพ(Image) และการ (re)present Image เพื่อขายในตลาด

อัตลักษณ์ของชาติ สิ่งที่ถูกสร้างและขายของรัฐสมัยใหม่
ถ้าอัตลักษณ์ของชาติ, วัฒนธรรม, หรือแม้แต่ของบุคคล ก็คือภาพชนิดหนึ่ง สิ่งเหล่านี้กำลังถูกสร้างและขาย (Design Process of a Constructed Image for Sell). ปัญหายิ่งทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นเมื่อกระบวนการสร้างอัตลักษณ์เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบาย เรื่องความต้องการจะเป็นศูนย์กลาง (อย่างเช่น ในสมัยนายกทักษิณ ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางของแฟชั่น อาหาร หัตกรรม เทคโนโลยี ฯลฯ) เหตุเพียงเพื่อจะหาที่ยืนที่ไม่โคลงเคลงในเวทีโลก ด้วยการค้นหาและอ้างความแตกต่างของมรดกวัฒนธรรม

น่าแปลกที่คำว่า "อัตลักษณ์" ซึ่งเป็นคำเก่าไม่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย (เพราะไม่เป็นประเด็น) กลับมีความหมายใกล้กับคำว่า "เอกลักษณ์" ที่เป็นปัญหาในอดีต. "อัตลักษณ์" เป็นข้อถกเถียงใหม่ที่เลิกพูดถึงความเป็น "เอก" ของอะไรเพียงอย่างเดียว แต่พูดถึงความหลากหลายที่อาจจะไม่เป็น "เอก" ก็ได้

"เอกลักษณ์" เป็นคำที่มีความหมายหรือนัยทางรัฐศาสตร์ของความหมายเชิงเดี่ยว ผิดกับ "อัตลักษณ์" ที่มีลักษณะเป็นพหุความหมาย และสะท้อนแนวคิดเรื่องกิจกรรม ที่อัตลักษณ์หลายๆ แบบมีส่วนร่วมสร้างสรรค์อยู่. "เอกลักษณ์" เป็นข้อสรุปของแนวความคิดที่ไม่มีกิจกรรม ไม่มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง, แต่ "อัตลักษณ์" เต็มไปด้วยพลวัฒน์ของการสร้างใหม่เชิงความหมายอย่างไม่หยุดนิ่ง

ปัจจุบัน คำว่า "เอกลักษณ์" ไม่ถูกใช้ในโลกธุรกิจ และ "อัตลักษณ์" ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายก็กำลังถูกผลิตในฐานะข้อมูล(information) ถ้าจะแปลก็คือเป็นข้อมูลของการมีตัวตน (Identical Information Permitted Being) (แบบหนึ่งหรือหลายแบบก็ตาม) และถ้าข้อมูลคือความจริง อัตลักษณ์สะท้อนความจริงของชีวิตแบบหนึ่ง อัตลักษณ์ก็คือกลุ่มของข้อมูล ดังนี้แล้วความหมายของอัตลักษณ์จะไม่เคยถูกสร้าง หรือถูกรับในฐานะความหมายเชิงเดี่ยวโดยผู้รับข้อมูล (และไม่มีความจำเป็นด้วย) เหตุเพราะเราเคลื่อนย้ายตำแหน่ง(position)ในพื้นที่ หรือโลกของข้อมูลไปเรื่อยๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

เมื่อไม่มีใครพูดความจริงในโลกธุรกิจ การมีอัตลักษณ์จริงๆ ก็ไม่มีความจำเป็น. การดีไซน์ที่มีพื้นฐานของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะที่ต้องจริง ก็ไม่จำต้องมีตามไปด้วย

สังคมกำลังมองหาอะไร ?
การซื้อเสื้อที่มีภาพสกรีนใบหน้า เช กูวารา มาใส่ ไม่ได้หมายความว่าผู้สวมใส่ต้องรู้จักตัว เช กูวารา มากนัก เช่นเดียวกับการมีภาพเขียนสีน้ำมัน รูปพระพุทธเจ้าไว้ห้องนั่งเล่นของฝรั่งสักคน ก็ไม่ได้หมายความว่าคำที่เขาใช้กันฮิตๆ "story behind" จะมีความหมายอะไรที่ลึกซึ้ง ปลาบปลื้ม และมีผลอย่างรุนแรง นำมาสู่การตัดสินใจซื้อแต่อย่างไร มันมีเรื่องอื่นที่ซ้อนๆ กันอยู่ในนั้น ซึ่งคงจะพูดถึงในโอกาสต่อไป

แต่ที่น่าสนใจก็คือกลไกของการผลิตเพื่อบริโภคปัจจุบัน สามารถทำให้บุคคลซึ่งปรินิพานไปเมื่อ 2000 กว่าปีที่แล้วอย่างพระพุทธเจ้า กลายเป็น Pop Icon ได้ในระดับเดียวกับนักร้อง Grammy หรือ Pop Icon อื่นๆที่ตายไปไม่นานมากเช่น Elvis Presley หรือ James Dean เป็นการผลิตซ้ำโดยไม่มีเงื่อนไขข้อเท็จจริงเรื่องเวลา ประวัติศาสตร์ และสถานที่ แต่มี Story Behind กำกับ พร้อมตรารับประกัน. ตลกสิ้นดี !!!

เช่นเดียวกับสินค้าวัฒนธรรมตัวอื่น ที่มี Story Behind กำกับ พร้อมตรารับประกันข้อเท็จจริงเรื่องเวลา ประวัติศาสตร์ และสถานที่ ไม่ได้หลอกลวงใคร หรือไม่มีใครสนใจด้วย นี่เป็นสังคมที่เวลาหยุดเดิน ในขณะที่การผลิต การบริโภค ดำเนินต่อไป

โลกการค้าในเวลาปัจจุบันทำให้แนวคิดของการดีไซน์ต้องยึดพื้นที่ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในตลาดที่กว้างขวางมากขึ้น การดีไซน์จะไม่ทำงานอย่างได้ผล ถ้านักออกแบบคิดต่อเรื่องการดีไซน์ที่ใช้ในสังคมขนาดเล็กๆ เหมือนในอดีต

ไม่ว่าจะจัดความสำคัญของกระบวนการดีไซน์: แนวความคิด วิจัยสังคม-วัฒนธรรม, ทักษะ/ ฝีมือ/ เทคนิค, การจัดการและการตลาด - โดยเรียงอะไรขึ้นก่อน/หลัง เพื่อตอบโจทย์ว่า จะขายใคร, ขายอย่างไร, ขายที่ไหน, มีสิ่งหนึ่งซึ่งกระบวนการดีไซน์ที่จะนำไปสู่แนวคิดการออกแบบ(Design Concept) ที่ดีนั้น ต้องการอย่างมาก นั่นคือ Information หรือข้อมูลในหลายๆระดับ(Layer)

คนที่มี Layer หรือระดับของข้อมูลมากที่สุด คือคนที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด (หรืออาจพูดได้ว่าเสี่ยงน้อยกว่าคนอื่น) หรือการออกแบบ โดยมีฐานข้อมูลอย่างรอบด้าน นั้นคือความสามารถในการพูดถึง Story Behind ของตัว Product ได้อย่างน่าฟัง อาจเป็นการบริหารความเสี่ยงทางการตลาดที่ฟังดูดี สำเร็จ (สร้างมูลค่า) ไม่เช่นนั้นก็สามารถพูดได้ว่า Story Behind ที่สร้างขึ้นมา จะมีสักกี่คนที่ห่วงว่าจะจริงแค่ไหน

มาถึงตรงนี้แล้ว หน้าที่และความหมายของนักออกแบบ หรือ Designer ในโลกปัจจุบันจึงเปลี่ยนไปแล้ว แรงบันดาลใจของการออกแบบ(Design Inspiration) ที่เคยถูกเชื่อว่าจำเป็นที่สุด ปัจจุบันไม่ใช่สิ่งที่บรรดานักออกแบบสะท้อนออกมาจากส่วนลึกที่สุดของหัวใจอีกแล้ว หรือถ้ายังคงเป็นเช่นนั้นและเชื่อว่ายังจำเป็นอยู่ จะมีใครที่ยังคงสนใจเงี่ยหูฟัง

แล้วที่เชื่อกันว่า บริษัทออกแบบที่ดี ต้องมีการวิจัยสังคม-วัฒนธรรม, Concept, ทักษะ/เทคนิค, การบริหาร การตลาด ยังเป็นอะไรที่ฟังดูใช้การได้อยู่อีกไหม หรือจะปิดปากแล้วบอกตัวเองว่า "เอาเถอะ ก็แค่ทำมาหากินเท่านั้น". ถ้าเป็นอย่างนั้น มีวิธิอื่นเป็นล้านวิธีที่หากินได้ โดยไม่ต้องมานั่งคิดหาอัตลักษณ์และทำตัวเป็นศูนย์กลางของอะไรไปเสียทุกเรื่อง ไม่ต้องมาออกแบบให้มากความด้วย รับสินค้าเขามาถูกๆ แล้วเอามาขายเลย… เป็นอันจบเรื่องที่จะเถียง ว่า Concept หรือ Skill อันไหนสําคัญกว่ากัน

- เพราะ - "ฉันคิด ฉันจึงมีอยู่ ดังนั้นฉันจึงบริโภค แล้วฉันก็เดินจากไป" (I think; therefore I am, and then I consume and walk away)

คำถามสุดท้ายในที่นี้คือว่า: Designer อยู่ ณ จุดไหนของเวลาในโลกร่วมสมัย ตกลงแล้วยังคงมี Designer เหลืออีกไหมในโลกนี้ ?

Design Process of a Constructed Image for Sale (2)

ล้วนมีผู้ศึกษามาแล้วทั้งสิ้นว่าในหลายๆ พื้นที่ของการออกแบบ จะมีคุณลักษณ์(character)ที่แตกต่างกัน แล้วเราเรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณ์พิเศษเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจดีขึ้นว่าทำไมฝรั่งเศสถึงมีสไตล์อย่างนี้ ทำไมแฟชั่นที่มาจากอังกฤษดูแล้วมันมีสีสัน มันฮิต ถูกใจวัยรุ่นมากกว่าฝรั่งเศสและนิวยอร์ก ทำไมนิวยอร์กถึงน่าเบื่อเหลือเกิน มันเกิดอะไรขึ้น ?

แล้ววงการนักออกแบบหรือนักลงทุนในวงการนี้ เขาคิดอย่างไรต่อแนวคิดเรื่องดีไซน์แฟชั่น ?

ชนชั้นในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19
ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ช่องว่างของชนชั้นทางสังคมในอเมริกามันแคบกว่าในยุโรป เราจะเห็นว่าในยุโรปแม้กระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 แล้ว แม้กระทั่งเกิดการผลิตในเชิงมวลรวมแล้ว ก็ยังมีขนบจารีตประเพณีของการรักษาสถานภาพทางสังคมของชนชั้นสูงแข็งแรงอยู่ คือสังคมราชการ สังคมที่เชื่อชนชั้นสูง มักเกิดการ ลอกเลียนดีไซน์ระหว่างชนชั้นล่างกับชนชั้นสูง คือไม่หยิบยืม แต่ว่าตั้งใจลอกเลียนกันเลย

ช่วงเวลาของการปฏิวัติอุตสาหกรรม สัดส่วนของเวลาของชีวิตมนุษย์ถูกจัดวางในที่เฉพาะ เวลาเป็นปัจจัยสำคัญของการบริหารโลกสมัยใหม่ มนุษย์จะต้องอยู่ในโรงเรียนกี่ปี ต้องเข้ามหาวิทยาลัยกี่ปี จะต้องแต่งงานอายุเท่าไหร่ จะต้องทำงานถึงกี่โมง จะต้องมีงานนอกเวลาปกติ(Part Time Job)ไหม ทั้งหมดยืนอยู่บนพื้นฐานเวลาที่ถูกตัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ

เมื่อมนุษย์มีกิจกรรมมากขึ้น ด้วยแนวคิดที่เปลี่ยนไปในเรื่องเวลา สิ่งนี้ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงต่อกิจกรรมในชีวิตผ่านแฟชั่นด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างการเกิดขึ้นของเสื้อผ้าประเภทเครื่องแบบ(Uniform) นั่นคือ งานประเภทหนึ่งต้องมีเครื่องแบบเฉพาะ ทำงานราชการก็ต้องมีเครื่องแบบ ในโรงงานอุตสาหกรรมจะเห็นได้ชัด มีเสื้อหลายๆ สี จะเห็นได้ชัดว่าใครอยู่ section หรือส่วนไหน ใครอยู่ในลำดับหรือตำแหน่งใด แต่ละระดับตำแหน่งก็จะมีเครื่องแบบบ่งบอก เครื่องแบบ(Uniform) นอกจากจะบอกสถานภาพและหน้าที่การทำงานแล้ว ยังรวมถึงระดับความรู้ความสามารถที่ถูกจัดแล้วด้วย

ขณะที่ในอเมริกาในช่วงเวลาเดียวกัน สิ่งเหล่านี้กลับเริ่มเบลอหรือไม่ชัดเจน ชนชั้นทางสังคม ตำแหน่งหน้าที่การงานซึ่งมองเห็นได้ผ่านเสื้อผ้า เริ่มมองไม่ค่อยเห็นแล้ว. การผลิตมวลรวมในอเมริกา เป็นวิธีการผลิตจำนวนมากอย่างที่เราเข้าใจในเวลาปัจจุบัน คือ "การผลิตมวลรวม" แต่ในยุโรป ไม่ใช่เป็นการผลิตที่เอื้อต่อคนโดยส่วนใหญ่ในเบื้องต้น, กล่าวคือในยุโรป เสื้อผ้าที่ผลิตมาจากกระบวนการ Mass Production หรือว่าเป็น Machine Made (การผลิตโดยเครื่องจักร) เป็นเสื้อผ้าโรงงานอุตสาหกรรมยังมีราคาแพงอยู่ เทียบกับสัดส่วนของรายได้ ของผู้ที่จะจับจ่าย ยังเข้าถึงไม่ได้ง่ายนัก แตกต่างจากในอเมริกาอย่างสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้ เราน่าจะมาดูว่าเกิดอะไรขึ้นในอเมริกา

การสวมเสื้อผ้าในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ในยุโรป (เช่นเดียวกับสังคมข้าราชการ-เจ้าขุนมูลนาย[Bureaucrat]อื่นๆ ที่ยังคงหลงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน)เสื้อผ้าเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกสถานะของบุคคล แล้วก็บ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะของคนที่สวมใส่ บอกถึงภูมิหลัง อัตลักษณ์เชิงวัฒนธรรม. แต่ในอเมริกาเสื้อผ้าในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ไม่ได้บ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์ ไม่ได้บ่งบอกถึงความมีสถานะทางสังคมเช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว

เหตุเพราะแนวคิดในเรื่องชนชั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน เราเห็นสัญลักษณ์หนึ่งไม่ได้หมายความว่า สัญลักษณ์เหล่านั้นถูกอ่านถูกตีความ ถูกแปลความหมายได้ตรงไปตรงมา บางครั้งความหมายที่ซ่อนอยู่ในสัญลักษณ์นั้นๆ มันเลื่อนไหล ซึ่งที่จริงแล้วมันเลื่อนไหลเสมอ การสวมใส่เสื้อผ้าของอเมริกันก็เช่นเดียวกัน
ประเด็นเรื่องใครทำงานอะไร ใครอยู่ในชนชั้นไหนไม่ใช่ประเด็นของคนอเมริกัน เราจะเห็นว่าคนอเมริกันเชื่อเรื่องความเป็นมนุษย์ที่มีประชาธิปไตยในการใช้ชีวิตที่เท่าเทียมกัน จะทำงานอะไรก็แล้วแต่ ข้างนอกหลังเลิกงานเป็นเพื่อนกันได้ ประธานาธิบดีก็สามารถนั่งกินเบียร์อยู่ในผับกับภารโรงได้ โดยที่ไม่ต้องรู้สึกว่าภารโรงตะต้องรินเบียร์ให้กับประธานาธิบดีเสมอไป

ชีวิตทางการงาน แน่นอน มีระดับและตำแหน่ง แต่ทุกคนเท่าเทียมกันในฐานะชีวิตทางสังคม ซึ่งแตกต่างจากยุโรป ซึ่งดูคล้ายๆ กับเมืองไทย ยุโรปกับบ้านเราเป็นสังคมที่ค่อนข้างเป็นระบบเจ้าขุนมูลนาย(Bureaucratic) นั่นคือคือสังคมราชการ ซึ่งจะมีนัยความรู้สึกของชนชั้น มีเรื่องของผู้หลักผู้ใหญ่ เรื่องต่างๆ เหล่านี้ปรากฏให้เห็นในการสวมใส่เสื้อผ้า ปรากฏอยู่ในองค์ประกอบเครื่องแต่งกายด้วย

ในยุโรปตอนต้นศตวรรษ มีการลอกเลียนสไตล์ของชนชั้นสูง เพราะว่าชนชั้นล่างต้องการที่จะเลือนสถานะของตัวเอง ไม่ได้เลื่อนสถานภาพในชีวิตจริง แต่เลื่อนสถานะของตัวเองในฐานะสัญลักษณ์ ขอเลื่อนสถานะเชิงสัญลักษณ์ในความฝัน ในจินตนาการผ่านเสื้อผ้า แต่ว่าการเลื่อนสถานะในเชิงสัญลักษณ์เหล่านั้น มันไม่ได้เปลี่ยน Concept สถานะทางสังคมจริงๆ คือเสื้อผ้าเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงสถานะนั้น ๆ ในยุโรป

ซึ่งในอเมริกา นัยความรู้สึกเหล่านี้เบาบางเต็มที จะใส่อะไรก็ใส่ไป มันไม่เกี่ยวกับสถานะอะไร อยากจะใส่เสื้อผ้าเพื่อความสนุก ใส่เพื่อล้อเลียนอะไรก็แล้วแต่ มันเป็นเรื่องของบุคคล และในอเมริกาต่างกับยุโรปซึ่งยังคงมีความรู้สึกถึงเรื่องเหล่านี้สูงมาก. อันดับต่อมา ลองมาดูถึงลักษณะของ Fashion Lifestyle นั่นคือ รูปแบบในการใช้ชีวิตของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง ถูกกำกับด้วยความรู้เฉพาะที่จะใช้ชีวิตอย่างมีสไตล์หรือแบบแผน รูปแบบการใช้ชีวิตคือเทคโนโลยี ซึ่งต้องมีความรู้เฉพาะที่ใช้กำกับเทคโนโลยีตัวนั้นเสมอ

ความรู้เหล่านั้น ต้องถูกเรียนรู้และถูกสั่งสอนโดยชนชั้นเฉพาะนั้นๆ ที่เป็นเจ้าของความรู้ เป็นเจ้าของ Lifestyle. ในยุโรปจะมีหลักสูตรเรียนว่าจะเป็นชนชั้นสูงได้อย่างไร แล้วก็ไม่ได้มีโรงเรียนเปิดสอน เขาสอนกันในเฉพาะกลุ่มของพวกเขา ผ่านครอบครัวก็ดี ผ่านเครือญาติ ผ่านสมาคมที่อยู่ในชนชั้นเดียวกัน เพราะฉะนั้นจะมีสถานที่รักษาองค์ความรู้ที่ใช้กำกับ Style Character สำหรับ Lifestyle เหล่านั้น คนที่อยู่นอกชนชั้นดูเหมือนจะเข้าไม่ถึงชุดความรู้นั้นๆ ด้วย

การลอกเลียนเชิงรูปแบบได้ แต่ลอกเลียนความรู้ไม่ได้
การลอกเลียนเชิงรูปแบบกระทำได้ นั่นคือลอกเลียนสิ่งที่อยู่ข้างนอกได้ ที่เราเห็นได้ชัดก็คือรูปแบบของเสื้อ แต่เราไม่อาจลอกเลียนความรู้ได้ ความรู้ที่จะใช้สำหรับ Appreciate หรือซาบซึ้งรสนิยมเหล่านั้น คนนอกชนชั้นเข้าไม่ถึง เพราะมันไม่ใช่การไปดูแล้วก็จำมา แต่เป็นฐานการเข้าใจต่อโลกทัศน์(World View) เพราะฉะนั้นคนนอกวัฒนธรรมชนชั้นสูง จะมีความขัดแย้งกับตรงนี้ คำถามก็คือ แล้วใครเป็นคนกำหนดว่าอะไรเป็นรูปแบบการใช้ชีวิตที่สูงกว่ารูปแบบอื่นๆ

เข้าใจกันแน่ๆ ว่าชนชั้นสูง หรือชนชั้นหยิบมือกำหนดทุกอย่าง คนพวกนี้คือคนที่เป็น Trend Setter หรือผู้กำหนดแนวโน้มความเป็นไป ซึ่งไม่ได้กำหนดเฉพาะสไตล์ของการใช้ชีวิต ไม่ใช่เฉพาะรูปแบบเสื้อผ้า แต่กำหนดในเรื่องขององค์ความรู้ด้วย เราจะดื่มไวน์เท่าไหร่ก็ไม่เข้าใจ เพราะเราไม่ได้เติบโตมาจากสังคมดื่มไวน์ ผมดื่มไวน์เมื่อ 10 กว่าปีก่อนซึ่งคนยุโรปเขากินมาตั้งแต่เขาเริ่มเข้าวัยรุ่น แล้วเขาก็ซาบซึ้งกับวิธีผลิตไวน์ วัฒนธรรมการกินไวน์ ประวัติศาสตร์ไวน์ตั้งแต่เด็กๆ มันเป็นองค์ความรู้ที่ผมเข้าไม่ถึง ช่วงชีวิตของผมบางช่วงไม่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมไวน์เหล่านั้น กินยังไงก็ไม่เข้าใจ ผมดื่มก็แค่รู้ว่าอร่อยกับไม่อร่อย ไวน์นี้รสแห้งหรือไม่ อาจจะมีความรู้นิดๆ ว่ามันผลิตมาจากไหน มาจากภูมิภาคใดของประเทศผู้ผลิตก็ตาม แล้วภูมิอากาศเหล่านั้นมันส่งผลต่อองุ่นอย่างไร ก็เป็นความรู้แบบพื้นๆ เท่าที่เราจะหาศึกษาได้

การกินไวน์มันประกอบไปด้วยเรื่องอื่นๆ ไม่ใช่แค่กินไวน์แบบเท่ห์อย่างเดียว ชุดของความเข้าใจรูปแบบของวัฒนธรรมนั้นๆ มาพร้อมกับการกิน Cheese (เนย) มาพร้อมกับการกิน Cracker (ขนบปังกรอบ) มาพร้อมกับรู้ว่าดื่มไวน์แล้วจะพูดถึงเรื่องอะไร เขาจะมีวัฒนธรรมการกินด้วย ไม่ใช่แค่การหยิบแก้วแล้วกระดกไวน์เข้าปาก ยิ่งการดื่มแชมเปญไม่ต้องพูดถึง. ตรงนี้ชี้ว่าสไตล์และคุณลักษณะพิเศษของวัฒนธรรมเฉพาะ มีความรู้เฉพาะกำกับอยู่เสมอ

คุณลักษณะเฉพาะ(Character)เข้าถึงไม่ยาก แต่ความรู้เข้าถึงยากมาก แล้วยิ่งเป็นความรู้ที่ข้ามวัฒนธรรม บางครั้งหลายคนบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้าใจ แต่ตรงนั้นไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นข้อจำกัดของ นักออกแบบในปัจจุบัน. ปัจจุบัน ปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนไป สมัยก่อนอะไรก็ต้องของจริง จะออกแบบอะไรต้องเข้าใจที่ว่าจริงตรงนั้น ต้องเข้าใจภูมิหลัง ต้องเข้าใจ Story Behind แต่ความคิดตรงนี้ไม่แน่จะใช้การได้ในปัจจุบัน

ในอเมริกาเสื้อผ้าแตกต่างจากในยุโรปแน่ เนื่องจาก Concept เรื่องชนชั้นเบาบาง เสื้อผ้ามันไม่ได้เป็นเครื่องหมาย ไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงชนชั้น เพราะฉะนั้นลักษณะของเสื้อผ้าก็จะมีสไตล์ที่เรียบง่าย เรียบง่ายทั้งการตัดเย็บ เรียบง่ายทั้งการใช้และการเลือกวัสดุ วัสดุที่ดูคล้ายๆ กันแต่คนที่มีประสบการณ์หรือตาถึงเขาจะดูออก ว่ามันเป็นของจริงหรือไม่จริง มันแพงหรือไม่แพง แต่ในอเมริกาเขาไม่สนใจ เนื่องจากมันมีคนตาถึงไม่กี่คน ส่วนใหญ่ตาไม่ถึง แล้วก็ใช้อะไรเหมือน ๆ กันไป

ซึ่งไม่เหมือนกับในยุโรป เขาจะสนใจในเรื่องอันไหนของแท้ ของจริง แน่นอนทีเดียวคนที่อยู่ในอเมริกาไม่ใช่คนอเมริกันจริงๆ คนอเมริกันก็คือคนพื้นถิ่น อินเดียนแดง เม็กซิกัน คนอเมริกันจริงๆ ที่เป็น Population หรือประชากรส่วนใหญ่คือคนที่ย้ายมาจากที่อื่น แล้วสิ่งที่นำติดตัวมาด้วยก็คือประเพณี โลกทัศน์ และคุณลักษณ์ส่วนตัวในการใช้ชีวิต คนเหล่านี้ไม่ได้ย้ายมาแต่ตัว แต่มาพร้อมเบื้องหลังหรือ background ที่ตัวเองถูกสั่งสอนมา แล้วสิ่งที่ตามมาอีกอย่างด้วยคือ การเกลียดชังวัฒนธรรมของตัวเอง การพยายามที่จะมาแสวงหาโลกใหม่ ชีวิตที่ดีกว่า

คนที่ย้ายมาจากยุโรปในตอนต้นคือคนที่เกลียดวัฒนธรรมพวกนี้ วัฒนธรรมที่มันรุ่มร่าม ที่พวกเขาถูกกันออกไปและเข้าไม่ถึงวัฒนธรรมของชนชั้นสูง พยายามจะไปแสวงหาโลกใหม่ แน่นอนทีเดียวมีเงื่อนไและปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่นการแสวงหาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจใหม่ๆ มาขุดทอง เบื้องต้นคนยุโรปที่ย้ายมาในอเมริกาอย่างน้อยก็ไม่ใช่คนจน ต้องมีทุนในระดับหนึ่งถึงจะอพยพมาได้ การเดินทางต้องใช้เงิน เพราะฉะนั้นคนที่เดินทางมาในทวีปอเมริกาต้องมีปูมหลังในเรื่องการมีทุนในระดับหนึ่ง

การมีทุนในยุโรปหมายถึง ทุนทางการเงินซึ่งมีทุนทางวัฒนธรรมพ่วงมาด้วย คนในยุโรปสมัยก่อนจะมีคนอยู่ 2 กลุ่มที่ถือว่าเป็นกลุ่มสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม ก็คือ

- กลุ่มที่มีทุนทางวัฒนธรรม พวกที่อยู่ปราสาท ราชวังจะมีทุนเหล่านี้
- อีกพวกหนึ่งก็คือพ่อค้า ทุนทางการเงินมีแน่ ความเข้าใจที่แตกต่างกันอยู่ที่ทุนทางวัฒนธรรม

พวกที่มีเชื้อราชวงศ์ เป็นขุนนาง เป็นเจ้ามาก่อน ก็จะมีทุนวัฒนธรรม เพราะพวกเขาเติบโตมากับสิ่งเหล่านี้. คำว่าทุนวัฒนธรรมตามความเข้าใจของคนกลุ่มนี้คือ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องศิลปวัฒนธรรม เกี่ยวกับชีวิต พวกภาพเขียน รวมไปถึงอะไรทั้งหลายที่อลังการ และเรื่องของอาหารการกิน จะกินอย่างไร อาหารอะไรที่ดี เนื้อแบบไหนที่ดี. คุณภาพของการใช้ชีวิตในรูปแบบเช่นนั้นถือว่าเป็นทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งพ่อค้าก็มี พ่อค้าเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่พยายามที่จะเลื่อนฐานะของตัวเองหลังจากที่ตัวเองมีทุนทางการเงินแล้ว สิ่งที่ต้องการจะมีมากขึ้นก็คือทุนทางวัฒนธรรม เมื่อมีเงินก็พยายามที่จะจ้างครูมาสอนให้มีมารยาท คือว่าจะซื้อทุนวัฒนธรรมเหล่านี้เพื่อจะเลื่อนสถานะตัวเองให้มันเข้ากับพวกเจ้าติดดินสมัยก่อน

กลุ่มคนที่มีฐานะทางการเงินที่มั่งคั่งเหล่านี้ เป็นกลุ่มที่ใหญ่ทีเดียวที่ย้ายมาในทวีปอเมริกา เพราะฉะนั้นสิ่งที่นำติดตัวมาด้วย 2 อย่างคือ ทุนทางการเงินและทุนวัฒนธรรม บางคนย้ายมาเสร็จก็จนลง เมื่อลองตรวจสอบนามสกุลเก่าๆ ที่เป็นนามสกุลอเมริกัน เราสามารถศึกษากลับไปหาอดีตได้ว่า คนเหล่านี้มาจากตระกูลอะไรในยุโรป บรรดาผู้คนเหล่านี้ได้พกพาความมั่งคั่งของความรู้ทางวัฒนธรรมมาด้วย แล้วนำเอาความรู้เหล่านี้ เรื่องฝีมือในการตัดเย็บเสื้อผ้า ความเข้าใจเรื่องเฟอร์นิเจอร์ ความเข้าใจเรื่องดีไซน์อื่นๆ ที่ใช้ประกอบเครื่องเคียงในการใช้ชีวิต แล้วเอามาปรับประยุกต์เข้ากับโลกใหม่

ประเด็นแรกมีความรู้สึกที่เรียกว่าละล้าละลัง จะเกลียดก็ไม่เกลียดทั้งหมดในโลกเดิมที่ตัวเองหนีมา จะรับโลกใหม่ทั้งหมดก็ไม่รู้ว่าโลกใหม่คืออะไร ประเด็นที่สองคือจะหวนกลับ จะผลิตซ้ำ หรือพยายามที่จะมีในสิ่งที่ตัวเองมีในบ้านเกิดเมืองนอนในยุโรปก็เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่หลงเหลือก็คือความคิด(Idea) คือ ภาพ(Image) หรือจินตนาการเกี่ยวกับโลกที่ตัวเองหนีมา แล้วก็พยายามจะปรับใช้กับโลกใหม่โดยการใช้วัสดุท้องถิ่น และทำให้มันใช้การได้ เท่าที่จะเป็นไปได้ แน่นอนว่าไม่เหมือนของจริงต้นฉบับในยุโรปทีเดียว แต่มีการประยุกต์ใช้ภายใต้เงื่อนไขใหม่ บวกกับมาพบกับคนกลุ่มใหม่ๆ พวกผู้อพยพด้วยกันที่มาจากภูมิภาคอื่นๆ เกิดการแลกเปลี่ยน หยิบยืมวัสดุซึ่งกันและกัน หยิบยืมสไตล์ของกันและกัน

คุณลักษณะเฉพาะของสไตล์อเมริกัน จึงโน้มเข้าหากันหมด ดูเหมือนไม่มีคุณลักษณะพิเศษโดยภาพรวม แต่ถ้าจะศึกษาลงไปรายละเอียดกันจริงๆ พยายามที่จะย้อนกลับไปหาที่มาที่เป็นรากเหง้าเดิมในอดีต ก็พอจะได้เห็น สไตล์แบบที่สามารถบ่งชี้ว่าได้ เช่นมาจาก Irish มาจาก England มาจากทางใต้ของยุโรปอะไรทำนองนี้ แต่ว่ามันเห็นได้ยากมากในเวลาปัจจุบัน

นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อเมริกันดีไซน์เนอร์ หรือผู้ประกอบการอเมริกัน ถือเป็นจุดสำคัญในการที่จะได้มาซึ่งมูลค่าทางเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันด้วย มันจะเกี่ยวพันกับการเกิดขึ้นของ Pop Culture หรือวัฒนธรรมประชานิยม ซึ่งเกี่ยวพันกับยุทธศาสตร์ในการทำแฟชั่น ในโลก Globalization. ขณะที่ฝรั่งเศสก็ทำไป จะทำถนนแฟชั่น(Street Fashion) จะโต้แย้งกับวัฒนธรรมขั้นสูงก็ทำไป. แต่อเมริกันเลือกเอา Mass Production ไม่ใช่เป็น Mass Consumer เฉพาะในอเมริกา แต่ผลิตขายให้ลูกค้าทั่วทั้งโลก เกิดเสื้อผ้าที่ทุกคนในโลกสามารถสวมใส่ได้ เหมือนๆ กันแบบพื้นๆ

ภูมิภาคที่ยังทิ้งร่องรอยของความเป็นยุโรปไว้ในอเมริกา ในยุคของการย้ายถิ่นฐานตอนแรกก็คือ East Coast คือฝั่งนิวยอร์ก ฝั่งที่ใกล้ทวีปยุโรป กับฝั่งที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในยุคสร้างชาติของอเมริกาคือฝั่ง West Coast คือฝั่งของซานฟรานซิสโก เพราะเป็นพื้นที่เขตร้อน เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เหมืองทองก็ดี ป่าไม้ก็ดี ในเมื่อฝั่ง West Coast เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เต็มไปด้วยความเป็นไปได้ของการลงทุน บรรดาชนชั้นสูงทั้งหลายจากฝากฝั่ง East Coast จะอยู่แบบชนชั้นสูงที่ไม่มีเงินไม่ได้แล้ว ต้องหาอะไรทำ แล้วก็เป็นความหวังหนึ่งในการที่จะแสวงหาโลกใหม่ในอเมริกา คือมาสร้างฐานะใหม่ในทวีปนี้ จึงมีการเคลื่อนย้ายจากฝั่ง East Coast ไป West Coast

เมื่อโยกย้ายมาก็พบเจอกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ที่ไหนก็แล้วแต่มีแหล่งงาน ที่ไหนก็แล้วแต่มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่นั่นจะเต็มไปด้วยผู้คนที่มาจากหลากหลายภูมิหลัง หลากหลายชาติพันธุ์ เมื่อมุ่งหน้าจะไปขุดทอง ไปเจอคนญี่ปุ่น ไปเจอคนจีน ไปเจอคนเม็กซิโก แน่นอนทีเดียวคนเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ในลำดับชั้นที่สอง(Second Rank)ของชนชั้นทางสังคม ซึ่งในช่วงแรก ผู้คนเหล่านี้เป็นเพียงแค่แรงงานไร้ฝีมือ ขุดเหมือง ขุดทอง ใช้แรงงานไปวันๆ ส่วนพวกชนชั้นสูงย้ายถิ่นจากยุโรปมาประสบกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ก็ยิ่งทำให้ความรู้สึกที่เป็นขนบประเพณี ความรู้สึกที่เป็นทุนวัฒนธรรมของตัวเอง ถูกโน้มเข้ากับสิ่งที่ตัวเองพบเห็นมาในฝั่ง West Coast มากขึ้น

เมื่อการลงทุนของอเมริกันยังไม่ถึงช่วงที่สองที่เป็นอุตสาหกรรม ที่เป็นอุตสาหกรรมหนัก และพื้นที่ตรงกลางของทวีปอเมริกาที่ทำอะไรไม่ได้นอกจากปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ เป็นพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นพื้นที่มีแต่อันตราย ซึ่งยังไม่ได้รับการแยแส แต่อย่างไรก็ตาม คนจากฝั่งตะวันออกก็ได้ค่อยๆเคลื่อนย้ายไปสู่ฝั่งตะวันตก เพื่อแสวงหาแหล่งงาน โดยเหตุนี้วัฒนธรรมแบบยุโรปก็ยิ่งเลือนหายมากขึ้นๆ มีการผสมคลุกเคล้า(blend) เข้าไปกับวัฒนธรรมอื่นมากมายปนเปไปหมดในช่วงเวลานี้ และสิ่งเหล่านี้ได้ทำให้เกิดอัตลักษณ์ของความเป็นอเมริกันในปัจจุบัน

เราจะไม่เห็นว่าภาพลักษณ์ของความเป็นอเมริกันมาจากบอสตันมาจากนิวยอร์ก ส่วนใหญ่เราจะนึกถึงภาพความเป็นอเมริกันตะวันตก คือฝั่ง West Coast. เทคโนโลยีมีส่วนในการที่จะทำให้เกิดปรากฏการณ์วงการเปลี่ยน Perception ในวงการเสื้อผ้า จักรเย็บผ้าตัวแรกที่เป็นจักรขนาดเล็กที่ใช้ในครัวเรือนถูกผลิตในยุโรปก่อน มีขนาดเล็ก ใช้คนเดียว หรือใช้ในครอบครัว แล้วค่อยขยายเป็นการผลิตขนาดใหญ่ทีหลัง แต่ที่น่าแปลกคือ แม้ยุโรปเป็นต้นตำรับของการผลิตจักรเย็บผ้า แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมมากนัก กลับมานิยมใช้กันมากในอเมริกา

ถ้าเราคิดว่าเครื่องจักรคือเทคโนโลยีในการช่วยทำให้เกิดการตัดเย็บ ไม่ได้บอกเรื่องสไตล์ ธุรกิจเรื่อง Mass Production ที่ทำให้เสื้อผ้ามีลักษณะที่เข้าถึงได้ แล้วผลิตได้ง่าย ซึ่งน่าจะเติบโตในยุโรปก่อน แต่ทำไมถึงไปเติบโตในอเมริกาก็เพราะ คนยุโรปไม่ชอบอะไรง่ายๆ นั่นเอง คนยุโรปจะชอบอะไรที่ค่อนข้างรุ่มร่าม. คุณลักษณะพิเศษของอมริกันแฟชั่นเริ่มง่ายขึ้น เป็นแบบแผน หรือ Pattern ที่ง่ายขึ้น วัสดุอะไรไม่ค่อยสนใจ เอาง่ายๆ เข้าไว้ ดูเรียบๆ ใส่ได้ทุกโอกาส เทคโนโลยีถูกใช้และใช้ได้ผลต้องสอดคล้องกับโลกทัศน์ของผู้ใช้ด้วย จักรเย็บผ้าจึงเป็นเทคโนโลยีที่น่าจะเอื้ออำนวยต่อความคิดดังกล่าว และได้เติบโตอย่างมากในอเมริกา แต่มันไม่สอดคล้องกับโลกทัศน์ของคนยุโรป

Installment Payment กับการเปลี่ยนแปลง Fashion System
ยังมีเงื่อนไขและปัจจัยอื่น เช่น การเปลี่ยนเรื่องทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ส่งผลต่อสไตล์เรื่องเสื้อผ้า เศรษฐกิจมหภาคในยุคต้นๆ เน้นเรื่องเศรษฐกิจโรงงานอุตสาหกรรม การบริหารเศรษฐกิจแบบนี้ทำให้คนเข้าถึงเทคโนโลยี โดยมีแหล่งทุนสนับสนุนให้มากที่สุด ถ้าจักรเย็บผ้ามีขายในตลาดอเมริกา แต่ถ้าคนอเมริกันไม่มีเงินซื้อจักรเย็บผ้าทำอย่างไร เศรษฐกิจระบบนี้จะช่วย

เกิดระบบ Installment Payment ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเสื้อผ้า ระบบเสื้อผ้า หรือ Fashion System ในอเมริกัน หลายคนมองไม่ออกว่า ปัจจัยสำคัญคือ พื้นฐานทางความคิดเชิงทฤษฎีต่อเรื่องการเงินที่เปลี่ยนไป ส่งผลต่อรูปลักษณ์เฉพาะของเสื้อผ้าด้วย แต่มันไม่ได้ส่งผลตรงๆ เงินไหลเวียนในตลาดเงินมากในอเมริกัน เนื่องจากมีการลงทุนในโลกใหม่ ทำให้คนมีเงิน ทำให้เกิดอัตลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงการบริโภค มันเปลี่ยนผ่านระบบ Installment Payment ด้วย ซื้อจักรเย็บผ้าเงินผ่อนได้ มันก็ไปเปลี่ยนแบบเฉพาะการตัดเย็บอเมริกัน หลายคนเปิดร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิตได้เร็วขึ้น ตรงนี้ได้ไปตอกย้ำการผลิตเชิงมวลรวมในเวลาต่อมา ทำให้ทุกสิ่งไหลเวียนในระบบการตลาดได้คล่องแคล่ว

นอกจากจักรเย็บผ้าและระบบ Installment Payment ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ เกิดขึ้นในเวลาที่ไล่เลี่ยกันด้วย นั่นคือ Pattern กระดาษสำหรับการตัดที่ขายในตลาด มี Size ที่เป็นมาตรฐาน ทำให้ง่ายและสะดวกต่อการตัดเย็บ
ระบบเศรษฐกิจและการจัดการตลาดสมัยใหม่ไม่เบิงบานในยุโรป ในเวลาเดียวกับที่ทุกอย่างเติบโตอย่างรวดเร็วในอเมริกา เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดำเนินต่อคืออะไรในยุโรป ก็คือประเพณี ความเชื่อ การตัดเย็บแบบเดิมๆ แบบที่มีการถ่ายทอดกันแบบสกุลช่างสำหรับลูกค้าที่ต้องการเสื้อผ้าแบบ Custom made ทำให้สไตล์เสื้อผ้าที่ตัดเย็บกันเองในครัวเรือนจึงยังคงความหลากหลายขึ้นอยู่กับถิ่นที่อาศัยในแต่ละภูมิภาค ไม่มีมาตรฐานของแบบ หรือ Pattern เช่นตลาดเสื้อผ้าในอเมริกา จักรเย็บผ้าที่ใช้ในครัวเรือนไม่แพร่หลาย เพราะยุโรปในช่วงนั้นไม่เชื่อระบบเงินผ่อน. Pattern กระดาษก็ไม่ถูกผลิตและใช้มากด้วย

เราจะเห็นว่า นักออกแบบในต้นคริสตศตวรรษที่ 20 ในอเมริกา ในฝรั่งเศส และในอังกฤษ มีวิธีการเรียน และคิดเรื่องดีไซน์ไม่เหมือนกัน ในฝรั่งเศสการจะเป็นนักออกแบบ เช่นเดียวกับการเป็นศิลปิน ซึ่งต้องเป็นลูกมือของปรมาจารย์หรือผู้มีความสามารถก่อน การเป็นลูกมือทำให้เกิดการแบ่งปันระบบคุณค่า ระบบความเข้าใจ อัตลักษณ์เฉพาะ ก็คือแนวโน้มในเรื่องแฟชั่น. แต่ในอังกฤษนั้นต่างออกไป อังกฤษเป็นประเทศที่ไม่มีอะไรที่เป็นของตัวเอง คือ อยากกินเหล้าก็ผลิตเหล้าไม่เป็น ผลิตเหล้าต้องคนป่าคนดอย คนอังกฤษเป็นคนหัวสูง คิดว่าตัวเองไม่ใช่คนป่า คิดว่าตัวเองมีอารยธรรมตั้งแต่ไหนแต่ไร เรื่องสไตล์การใช้ชีวิตก็เช่นกัน อะไรก็แล้วแต่ก็จะบอกว่าตัวเองเป็นต้นตำรับ ซึ่งจริงๆแล้วนั้น ขโมยคนอื่นเอามาทั้งสิ้น

เพราะฉะนั้นการลอกเลียนสไตล์ของฝรั่งเศสไม่ใช่เรื่องแปลกในวงการเสื้อผ้าอังกฤษ ไม่มีนักออกแบบในอังกฤษ มีแต่ Draftman และ Pattern Cutter แต่แฟชั่นอังกฤษปัจจุบัน จะมีคน Generation ที่สอง, ที่สาม, คิดว่าทำไมต้องเป็น Make to Order Fashion คือ Custom made ในความหมายเดิม. เกิด Street Fashion ในอังกฤษ เป็นภาพสะท้อนของการไม่เห็นด้วยกับวัฒนธรรมชั้นสูง ตอนแรกทีเดียวถูกมองว่าเป็นพวกไพร่ ไร้รสนิยม แต่ปัจจุบันพวกไพร่ครองเมือง และวัฒนธรรมไพร่นี้ขายกันแพง ซึ่งจะย้อนกลับมาพูดถึงภายหลัง

ทุกประเทศต้องมีทุน ต้องมีศูนย์กลางทางการเงิน มีเมืองหลัก แต่ความรู้สึกถึงเมืองของอเมริกาจะไม่ค่อยมีความห่างระหว่างเมืองกับชนบทมากนัก ทุกอย่างเป็นแบบแผนซึ่งใกล้เคียงกัน คนอเมริกันไม่มีชนชั้น ถ้าจะมีก็เป็นชนชั้นกลาง ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นพวกมีอำนาจ คือกลุ่มคนที่ทำงานให้กับรัฐ เช่น Pentagon (กระทรวงกลาโหม) กลุ่มคนที่ทำงานให้กับพวก Intelligence Department (ข่าวกรอง-สืลราชการลับ) หรือเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเราไม่ถือเป็นกลุ่ม แต่ในอเมริกาประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง มาตรฐานการใช้ชีวิต และการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยการใช้ชีวิตให้สะดวกซึ่งใกล้ๆ กัน. คนจนในอเมริกามีไมโครเวฟใช้ มีเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่หาได้ไม่ยาก ไม่มีเงินก็ผ่อนได้ หรือถ้าไม่มีเงินผ่อน ก็ไปซื้อ Second Hand ได้ มีขายเต็มไปหมด

สังคมไทยมีลักษณะใกล้กับยุโรปที่มีช่องว่างทางสังคมอยู่มาก เงื่อนไปัจจัยบางอย่างวที่เราไม่เคยคิดว่ามันเป็นตัวกำหนด เป็นดัชนีชี้การเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบเฉพาะของแฟชั่น ถ้าเราดูดีๆ มันส่งผลถึงกันหมด การจะเข้าใจอะไรก็แล้วแต่ มันมีปัจจัยรอบด้านที่จะแบ่งเป็นกลุ่ม เรื่องเศรษฐศาสตร์ เรื่องวัฒนธรรม เรื่องการเมือง เรื่องการศึกษา ที่เป็นส่วนช่วยกำหนดรูปแบบของแฟชั่นด้วย สิ่งนี้เรารู้กันแล้วในประวัติศาสตร์ อย่างน้อยในอเมริกา รายได้ต่อหัว ต่อครอบครัวในอเมริกา ใช้จ่ายเท่าไหร่ต่อการใช้เสื้อผ้า เราพูดถึงยุคที่อเมริกันมันมีความเฟื่องฟูเรื่องแฟชั่น มีการผลิตเป็น Mass Production

ตัวเลขการใช้จ่ายเงิน เป็นเงินรายได้ของอเมริกันต่อการซื้อเสื้อผ้าช่วง Quarter ที่ 2 ของคริสตศตวรรษที่ 20 ช่วงประมาณปี 1925-1930 สัดส่วนของการใช้จ่ายเงินต่อเสื้อผ้าในอเมริกาลดลง ตัวเลขตรงนี้บอกอะไรกับเราได้ ขณะที่ยุโรปคงที่แล้วก็ขยับขึ้น แต่ในอเมริกากลับลดลง คนในอเมริกาใช้เสื้อผ้าน้อยลงหรืออย่างไร เกิดอะไรขึ้นต่อความเข้าใจเรื่องการจับจ่ายใช้สอยและการใช้เสื้อผ้าในอเมริกา

พอเป็นการผลิตแบบมวลรวมมากๆ ราคาสินค้าลดต่ำลง การใช้จ่ายไม่ได้คิดต่อ Item ว่าของถูกลง สมัยก่อนใช้เงิน 100 บาท ซื้อเสื้อผ้าได้แค่ 1 ตัว ในระบบการผลิตแบบมวลรวมปัจจุบัน 100 บาทซื้อเสื้อผ้าได้ 10 ตัว สิ่งที่ถูกเน้นมากๆ ก็คือ อะไรก็แล้วแต่ที่เปลี่ยนมันเปลี่ยนจากโลกทัศน์ก่อน วิธีการใช้เงิน วิธีการเลือกซื้อเสื้อผ้า วิธีการผลิตอะไรก็แล้วแต่ หรือโลกทัศน์ของบุคคล ของสังคมที่มันเปลี่ยน คนอเมริกันเริ่มจะง่ายขึ้นเพราะมันเป็น Mass Consumption มากขึ้นไม่เกี่ยวกับราคา

คนอเมริกันไปเน้นกิจกรรมเรื่องอื่นของการใช้ชีวิตมากกว่า ที่เป็นสไตล์การใช้ชีวิตแบบอเมริกัน มีกิจกรรมอื่นอีกมากมายที่เป็นกิจกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้น แล้วคนอเมริกาก็มุ่งความสนใจไปในกิจกรรมเหล่านั้น โดยลดทอนความสนใจในเรื่องของการใส่เสื้อผ้า การตามแฟชั่นลง ประกอบกับเสื้อผ้าในอเมริกามันไม่ค่อยน่าสนใจด้วย มันง่าย มันเหมือนกันหมด

คนเอเชียที่อยู่ในอเมริกาในปัจจุบันเป็นคนที่แต่งตัวดีสุด ใช้ Brand Name ทุกอย่าง โดยเฉพาะคนเอเชียที่เป็น Second Generation หรือคนรุ่นที่สอง คือคนเอเชียที่เกิดแล้วเติบโตในอเมริกาจะมีรสนิยมแบบหนึ่ง ตรงนี้เราสามารถพูดคุยกันได้ว่ามีภูมิหลังอย่างไร เป็นเรื่องของผลสะท้อนเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองไม่เคยมีในรุ่นพ่อ พอถึงรุ่นลูกก็อยากให้มี ก็ใช้กันเข้าไป แตกต่างจากฝรั่งอเมริกันไม่ค่อยแยแสกับ Look ของตัวเองมากนัก

คนที่ทำงานในสำนักงานก็เป็นพวกสำนักงานจริงๆ ยังไงก็ให้สุภาพ มีบางอาชีพที่เขาแต่งตัวยังไงไปทำงานก็ได้ แม้กระทั่งศาสตราจารย์ที่สอนหนังสือในมหาวิทยาลัย ไว้ผมยาวบ้าง ใส่ตุ้มหูบ้าง เขาอยากทำอะไรก็ทำ ให้สอนหนังสือได้ก็โอเค คนอเมริกันไม่ค่อยแยแสเรื่องแบบนี้ จะทุ่มเทความสนใจไปเรื่องอื่นมากกว่า คือ รูปทรง หรือ คุณลักษณ์ของรสนิยมตัวอื่น

ในทศวรรษที่ 60s การส่งอพอลโลไปดวงจันทร์เป็นปรากฏการณ์ที่มีผลทางสังคมที่ทำให้เกิดกิจกรรมใหม่ๆ เกิดรูปร่างของการออกแบบใหม่ๆ แล้วคนอเมริกันก็เทความสนใจไปทางนวัตกรรมใหม่ๆ ของดีไซน์พวกนั้น
โดยรวมคือคนอเมริกันละทิ้งความสนใจเรื่องการแต่งตัว แต่ไปสนใจในดีไซน์ตัวอื่น อาจจะเน้นเรื่องการออกแบบตกแต่งบ้าน เน้นเรื่องบ้านช่อง ใช้จ่ายเงินจำนวนมากในเรื่องห้องครัว เครื่องครัว เฟอร์นิเจอร์ในห้องนั่งเล่น รถยนต์ การทำสวน ฯลฯ ทำให้สัดส่วนของการจ่ายซื้อเสื้อผ้าน้อยลง อันนี้เป็นสัดส่วนที่คำนวณจากการจับจ่ายภายใน เป็นรายได้ครอบครัว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันคือมันมีสัดส่วนของเม็ดเงินที่พุ่งชะลูดสูงขึ้นต่อการส่งออก หรือการขายเสื้อผ้าอเมริกันภายนอกประเทศ

ก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องที่เป็นเรื่องราวร่วมสมัย เรื่องวงการแฟชั่นในลอนดอน ในนิวยอร์ก ขอย้อนกลับมาพูดถึงเรื่องที่ผ่านมาว่า มันมีความเชื่อ หรือมีกระบวนการอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดอัตลักษณ์ในเรื่องเสื้อผ้าที่เปลี่ยนแปลง เท่าที่พอสรุปได้อย่างคร่าวๆ มีอยู่ 2 แบบ

- อันที่หนึ่งคือเชื่อแบบ หรือโมเดลราชการ ที่ว่าสังคมสังคมหนึ่งมันมีชนชั้นเป็นรูปทรงพีระมิด แล้วคนที่อยู่ยอดพีระมิดเป็นผู้กำหนดแนวโน้มความเป็นไป และรูปแบบการใช้ชีวิตของคนที่อยู่ข้างล่าง, มี Hi-class, Upper-class, Middle-class และ Bureau Over-class คือชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นต่ำ

- อีกโมเดลหนึ่งคือ คนที่อยู่สูงสุดของพีระมิด มักจะกำหนด Trend ให้กับชนชั้นล่าง แล้วชนชั้นล่างก็จะ ลอกเลียนแบบ Lifestyle ของชนชั้นบน ในขณะเดียวกันก็มีเสียงสะท้อนอีกข้างหนึ่งว่า เลียนแบบสักพักหนึ่งแล้วก็เริ่มหมั่นไส้ชนชั้นบนทำให้เกิดการผลิต หรือการสร้างสรรค์อัตลักษณ์เฉพาะของตนเอง ความเข้าใจเรื่องโลก เรื่อง Lifestyle ในกรอบความคิดแบบเดียวกัน มีแต่ความน่าเบื่อ และการลอกเลียนหรือ Copy จริงๆ นั่นไม่มี เพราะการลอกแบบเป็นการลอกเลียนทางรูปแบบอย่างเดียว ไม่ได้ต้องมีความเข้าใจ อันที่จริงมันต้องมีองค์ความรู้กำกับอยู่ด้วย เช่น ต้นทุนทางวัฒนธรรม ความรู้ทางวัฒนธรรม ที่เป็นกลุ่มของความหมายเชิงสัญลักษณ์

ชนชั้นหนึ่งจะเข้าใจในความหมายซึ่งมีลักษณะการใช้ชีวิตแบบเฉพาะกลุ่มตนได้ ต้องผ่านความรู้เฉพาะที่ตัวเองได้เรียนรู้มาผ่านครอบครัว ผ่านเพื่อนฝูงที่อยู่ในชนชั้นเดียวกัน ผ่านการสมาคม ไม่มีใครสามารถที่จะเรียนอะไรนอกเหนือจากความเข้าใจของตัวเองได้

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ทัศนัย เศรษฐเสรี - ด้านหนึ่งสนใจการศึกษาเชิงวิพากย์ ทางสังคม-วัฒนธรรม ที่มุ่งเน้นประเด็นเกี่ยวกับ Media Ethnography and Visualizing Culture Study ตามแนวของสำนักคิด Chicago อีกด้านมีผลงานศิลปะออกสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่องในระดับนานาชาติ ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนหนังสือในหลักสูตร Media Arts and Design บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




บทความวิชาการชิ้นนี้ กองบรรณาธิการได้รับมาจากผู้เขียน เดิมชื่อ:
Design Process of a Constructed Image for Sale
โดยได้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อถกเถียงระหว่าง
concept กับ skill ว่าอย่างไหนมีความสำคัญกว่ากัน และยังได้มีการพูดถึงการสร้างอัตลักษณ์บางอย่างเพื่อการขาย
ในส่วนที่สองของบทความนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการของการสวมใส่เสื้อผ้า
ในโลกตะวันตก นับจากคริสตศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา เปรียบเทียบระหว่างยุโรป
กับอเมริกา และพัฒนาการทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม รวมถึงระบบการเงินสมัยใหม่
ที่มีส่วนทำให้เกิดการแปรผันในเรื่องการสวมใส่เสื้อผ้าและแฟชั่น

ในงานเขียนนี้ได้ลำดับหัวข้อที่สำคัญโดยสังเขป ต่อไปนี้
- ข้อถกเถียงเรื่อง Concept and Skill

- อัตลักษณ์ของชาติ สิ่งที่ถูกสร้างและขายของรัฐสมัยใหม่
- สังคมกำลังมองหาอะไร ?
- ชนชั้นในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๙
- การสวมเสื้อผ้าในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
- การลอกเลียนเชิงรูปแบบได้ แต่ลอกเลียนความรู้ไม่ได้
- Installment Payment กับการเปลี่ยนแปลง Fashion System
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงปรับปรุงและตัดแต่งข้อมูลบางส่วนให้ภาษามีความกระชับขึ้น เหมาะสำหรับการเผยแพร่
รวมทั้งได้เว้นวรรค ย่อหน้าใหม่ และปรับแต่งเชิงอรรถตามความเหมาะสม
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๓๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖.๕ หน้ากระดาษ A4)

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55