โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา


Update: 12 Febuary 2007
Copyleft2007
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of this license
document, but changing it is not allowed.
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๑๕๗ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๐ (January, 12,02.2007)
R

ชีวประวัติและประวัติศาสตร์ยุโรปจากแง่มุมของฝ่ายซ้าย
คาร์ล มาร์กซ์: จากครอบครัวยิวหัวก้าวหน้าถึงการปฏิวัติในยุโรป
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
เนื้อหาหลักนำมาจากผลงานของ BioLawCom และสารานุกรม Britannica

บทความเกี่ยวกับคาร์ล มาร์กซ (๑๘๑๘-๑๘๘๓) ต่อไปนี้ เนื้อหาหลักเคยเผยแพร่แล้วที่
http://www.biolawcom.de/?/article/153 และในภาคผนวกเรียบเรียงจากสารานุกรม
Britannica ซึ่งจะให้ภาพเกี่ยวกับชีวประวัติของมาร์กซตั้งแต่แรกเกิด
ในครอบครัวของชาวยิวหัวก้าวหน้าในปรัสเซีย ชีวิตการศึกษาของเขา การเป็นนักดิ่มเบียร์
ให้ความสนใจในปรัชญา และอยากสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแต่ต้องผิดหวัง
และกลายไปเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์และวารสาร หันมาให้ความสนใจในเศรษฐศาสตร์การเมือง
จนท้ายที่สุดได้เข้าร่วมกับการปฏิวัติในยุโรปช่วงคริสตศตวรรษที่ ๑๙
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๕๗
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๙.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++



คาร์ล มาร์กซ์: จากครอบครัวยิวหัวก้าวหน้าถึงการปฏิวัติในยุโรป
คาร์ล มาร์กซ (Marx, Karl )
Author : BioLawCom รวบรวม

ความนำ

คาร์ล มาร์กซ, นักคิดชาวเยอรมันที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อโลก เขายังเป็นทั้ง นักปรัชญา นักเคลื่อนไหว นักหนังสือพิมพ์ และนักเศรษฐศาสตร์การเมือง เขาไม่ได้เป็นแค่นักทฤษฎีทางสังคมและการเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการจัดตั้ง สมัชชากรรมกรสากล (International Workingmen & acute Association) ในช่วงสมัยหลังปฏิวัติยุโรปด้วย

มาร์กซเป็นนักคิดสำคัญที่คอยวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาต่างๆ ในลักษณะของนักหนังสือพิมพ์และนักปรัชญา ผลงานโดดเด่นของเขามีมากมายมหาศาล โดยมีแนวคิดหลักที่สำคัญ และทรงอิทธิพลอย่างยิ่งจนถึงปัจจุบัน คือ บทวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ที่มองผ่านการปะทะกันระหว่างชนชั้น ดังคำนำในหนังสือ "แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ " (The Communist Manifesto ) ว่า: ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมา ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น. งานเขียนต่างๆ ของมาร์กซ ต่อมาได้กลายเป็นแกนหลักของการเคลื่อนไหวในแนวทางลัทธิคอมมิวสต์, สังคมนิยม, ลัทธิเลนิน และลัทธิมาร์กซ

ชีวประวัติของคาร์ล มาร์กซ
คาร์ล มาร์กซ, เกิดวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1818, ที่เมืองเทรียร์ (Trier) แคว้นปรัสเซีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี) ครอบครัวของมาร์กซเป็น ชาวยิวหัวก้าวหน้าที่มีแนวคิดแบบเสรีนิยม ฐานะอยู่ในระดับชนชั้นกลาง. ไฮน์ริช มาร์กซ (Marx, Heinrich) บิดาของมาร์กซ เป็นทนายความ ชื่อสกุลเดิม คือ "มาร์กซ เลวี" ซึ่งแปลงมาจากชื่อสกุลยิวเก่าว่า "มาร์โดไค" และในปี ค.ศ. 1824 พ่อของมาร์กซ จำเป็นต้องเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายลูกเธอร์ (โปรเตสแตนท์) ซึ่งเป็นศาสนาประจำรัฐปรัชเซีย

มาร์กซได้คะแนนดีในการเรียนระดับมัธยม (Gymnasium or High School) ซึ่งเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนระดับมัธยมปลายในเมืองเทรียร์ที่บ้านเกิด นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับมัธยมปลาย ที่มีชื่อว่า "ศาสนา: กาวที่เชื่อมสังคมเข้าด้วยกัน" ด้วย และงานชิ้นแรกนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นให้กับงานวิเคราะห์ศาสนาของเขาในเวลาต่อมา

ชีวิตในมหาวิทยาลัย และการเริ่มสนใจในงานของเฮเกล
มาร์กซเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองบอนน์ ในปี ค.ศ. 1833 คณะกฎหมาย เอกประวัติศาสตร์และปรัชญา ที่มหาวิทยาลัยบอนน์แห่งนี้ มาร์กซเข้าชมรมนักเดินทางแห่งเทรียร์ (และบางช่วงยังได้เป็นประธานชมรม) อย่างไรก็ตาม เขาได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการร้องเพลงอยู่ในร้านเบียร์ จนทำให้ผลการเรียนเริ่มตกต่ำ ปีถัดมาบิดาจึงให้เขาย้ายไปเรียนที่ มหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮล์ม (Friedrich-Wilhelms Universit & aumlt) กรุงเบอร์ลิน ที่เอาจริงเอาจังด้านวิชาการมากกว่า ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนี้ก็คือ มหาวิทยาลัยฮุมโบล์ดท (Humboldt University of Berlin) นั่นเอง

ที่กรุงเบอร์ลิน มาร์กซเริ่มหันเหไปสนใจปรัชญาอย่างเต็มที่ ชีวิตในวัยหนุ่มของเขาเริ่มเปลี่ยนแปลง อย่างจริงจัง หลังจากได้รับอิทธิพลแนวคิดของ Friedrich Hegel ท่ามกลางความไม่พอใจของบิดา เขาสมัครเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มนิยมเฮเกลรุ่นใหม่ (Yong Hegelians) ซึ่งถือเป็นกลุ่มนิยมลัทธิเฮเกลฝ่ายซ้าย (Left Hegelians) นำโดย บรูโน บาวเออร์ (Bruno Bauer) อาจารย์ฝ่ายก้าวหน้าซึ่งสอนปรัชญาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน

Georg Wilhelm Friedrich Hegel เสียชีวิตในปี ค.ศ.1831 เขาเป็นนักคิดผู้ทรงอิทธิพลทางวิชาการในสังคมเยอรมนีอีกคนหนึ่ง ปรัชญาของเฮเกลคือลัทธิจิตนิยม (idealist), เฮเกลเชื่อว่า สิ่งที่เป็นความจริงจะต้องมีลักษณะสมบูรณ์ทั่วด้าน ที่เรียกว่าจิตสัมบูรณ์, เป็นตัวตนสมบูรณ์, ครอบงำสรรพสิ่ง, และเป็นสิ่งตรงข้ามกับโลกความเป็นจริงที่มนุษย์เห็นอยู่โดยทั่วไป หรือสัมผัสได้

เฮเกลเห็นว่า โลกเชิงประจักษ์นั้นเป็นเพียงการสะท้อนออกบางส่วนของความจริง แต่ไม่ใช่ความจริงที่สมบูรณ์ เขาอธิบายความจริงสูงสุดของโลกว่า คือหลักเหตุผล (rational) มนุษย์จะเข้าถึงความจริงได้ก็ด้วยความเข้าใจในหลักเหตุผล หรือใช้กระบวนการทางตรรกวิทยา. อย่างไรก็ตาม จุดเด่นในปรัชญาเฮเกลคือ ทัศนะแบบวิภาษวิธี (dialectic) ที่อธิบายว่า จิต หรือ ตัวตนสมบูรณ์ นี้แสดงออกในรูปของความขัดแย้ง 2 ด้าน คือ ด้าน สนับสนุน และ ด้านปฏิเสธ. ด้านหนึ่ง, เป็นบทเสนอ (thesis) ส่วนอีกด้านหนึ่ง, เป็นบทแย้ง (antithesis) และวิวัฒนาการการต่อสู้ระหว่าง 2 ด้านที่ขัดแย้งนี้เอง จะนำมาสู่การพัฒนาของสิ่งใหม่ ที่จะเรียกว่า บทสรุป (synthesis) และบทสรุปนี้ก็จะกลายเป็นบทเสนอ (thesis) ใหม่ ก่อให้เกิดบทแย้ง (antithesis) ใหม่ และนำมาสู่บทสรุป (synthesis) ใหม่ ไปจนสิ้นสุดกระบวนการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความเป็น"จิตสมบูรณ์"อันแท้จริง

กล่าวโดยสรุป หลักปรัชญาของเฮเกล คือปรัชญาจิตนิยม ที่ให้ความสำคัญแก่ความคิดในเชิงเหตุผล ความน่าสนใจของปรัชญาเฮเกลคือ การวิเคราะห์สรรพสิ่งว่ามีกระบวนการขัดแย้งภายใน และทำให้ สรรพสิ่งพัฒนา ข้อเสนอใหม่เหล่านี้เองที่ทำให้ปรัชญาเฮเกล เป็นที่สนใจอย่างมาก และทำให้มีผู้ศึกษาตามมาอีกมากมาย
(สำหรับผู้สนใจประวัติเฮเกล และ การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์และสังคม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : วัยหนุ่มของคาร์ล มาร์กซ โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ)

หลังจากเฮเกลถึงแก่กรรม บรรดาผู้สนใจปรัชญาของเฮเกลได้แตกออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มลัทธิเฮเกลฝ่ายขวา, และกลุ่มลัทธิเฮเกลฝ่ายซ้าย. โดยประเด็นหลักที่มีความแตกต่างกันคือการวิเคราะห์ศาสนา. กลุ่มเฮเกลฝ่ายขวา ยอมรับว่าศาสนาเป็นสัจธรรมที่มีเหตุผล และพระเจ้า คือพัฒนาการของเหตุผลสมบูรณ์. ส่วนกลุ่มเฮเกลฝ่ายซ้าย เห็นว่าสาระของศาสนา คือความจริงที่บิดเบี้ยว การพัฒนาของศาสนาจึงมาจากด้านที่ไม่สมเหตุผล และ คำสอนของศาสนาคือ มายาคติ (myth) ที่ถูกสร้างขึ้น

ตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1838 ที่มาร์กซได้อ่านงานของเฮเกล และเขาได้รับแนวปรัชญาของเฮเกลทันที ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น บรูโน บาวเออร์ ตั้งกลุ่มศึกษาที่ชื่อว่า"กลุ่มนิยมเฮเกลรุ่นใหม่" น มาร์กซจึงเข้าร่วมด้วยทันทีเช่นกัน แนวโน้มของกลุ่มยุวชนลัทธิเฮเกลฝ่ายซ้ายเหล่านี้ นอกจากวิพากษ์ศาสนาแล้ว ยังมีแนวโน้มในการวิพากษ์รัฐปรัสเซียด้วย โดยมาร์กซเป็นหนึ่งในนักคิดของกลุ่มที่เริ่มเอาลัทธิเฮเกลมาวิเคราะห์สังคมและการเมือง. คนอื่นในกลุ่มที่สำคัญอย่างเช่น อด็อฟ รูเตนเบิร์ก (Adolph Rutenberg) นักภูมิศาสตร์ที่หันมาสนใจปรัชญา คาร์ล คืปเปน (Karl Keppen) ซึ่งเขียนหนังสือเรื่อง เฟรเดอริกมหาราช และ กลุ่มต่อต้าน. นอกจากนี้ บรูโน บาวเออร์ ก็เคยเสนอผลงานของเขาชื่อ รัฐคริสเตียนในยุคสมัยของเรา จนมีผลกระทบกับหน้าที่การงานของเขาเองในภายหลัง

ความปรารถนาที่จะเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย และความผิดหวัง
ในด้านการศึกษาของมาร์กซนั้น แม้ในระยะแรกเขาจะพยายามศึกษาวิชากฏหมายควบคู่กับปรัชญา จึงหันไปศึกษา "นิติปรัชญา" อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1838 มาร์กซยกเลิกการศึกษากฏหมาย และหันมาสนใจปรัชญาแต่เพียงอย่างเดียว. ตั้งแต่ ค.ศ. 1839 มาร์กซ ตัดสินใจทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก เพื่อจะได้เข้าเป็นอาจารย์สอนปรัชญาในมหาวิทยาลัย เขาทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "ความแตกต่างระหว่างปรัชญาธรรมชาติของ เดโมคริตุสกับปรัชญาธรรมชาติของเอพิคิวรัส" ในงานชิ้นนี้ มาร์กซศึกษาปรัชญาของ เดโมคริตัส (Democretus) และ เอพิคิวรัส (Epicurus) นักปรัชญากรีก 2 คน ที่มีแนวคิดในเชิงวัตถุนิยม(materialism)

มาร์กซนำปรัชญาทั้งสองสำนักมาเปรียบเทียบกัน แล้วชี้ให้เห็นว่า ความคิดของเดโมเครตัสเป็นแบบกลไกที่เห็นว่า สรรพสิ่งดำเนินไปภายใต้กฎเกณฑ์ทางวัตถุ แต่กลับคิดว่าความรู้ที่ถูกต้องมาจาก การคิด ซึ่งเท่ากับเป็นการตั้งข้อสงสัยต่อโลกของผัสสะ, ขณะที่เอพีคิสรัส ยอมรับโลกของผัสสะว่าเป็น ความจริงแท้ แต่พยายามรักษาเจตจำนงอิสระของมนุษย์ และจุดมุ่งหมายไปสู่ความสุข ซึ่งเป็นการปฏิเสธการกำหนดโดยโลกของวัตถุ. มาร์กซเห็นว่า ปรัชญาของเอพีคิวรัสมีข้อเด่นตรงที่"ยอมรับในจิตเสรีของมนุษย์เหนือข้อกำหนดทางวัตถุ"

วิทยานิพนธ์ของมาร์กซ ถือเป็นงานที่ดีมากชิ้นหนึ่ง ในการวิเคราะห์ปรัชญาวัตถุนิยมของทั้งสองสำนัก อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยฟรีดรีช- วิลเฮล์ม ไม่ยอมให้มาร์กซส่งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก เพราะถูกคาดหมายว่างานของเขาอาจไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากขณะนั้น มาร์กซ ได้ชื่อว่าเป็นนักคิดแนวถอนรากถอนโคนในกลุ่มนิยมเฮเกลรุ่นใหม่, มาร์กซจึงส่งวิทยานิพนธ์นั้นไปยัง"มหาวิทยาลัยเจนา"แทน, มหาวิทยาลัยเจนา จึงกลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มาร์กซจบการศึกษา และได้รับปริญญาเอกสาขาปรัชญา ในเดือนเมษายนในปี ค.ศ. 1841

ในระหว่างที่มาร์กซทำวิทยานิพนธ์, บาวเออร์ ย้ายไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยบอนน์ และเคยชวนมาร์กซให้ไปทำงานที่นั่นด้วย เมื่อจบการศึกษา มาร์กซกลับไปพักผ่อนที่บ้านเมืองเทรียร์ ราวเดือนเศษ จากนั้นก็สมัครเข้าเป็นอาจารย์สอนปรัชญาที่มหาวิทยาลัยบอนน์ แต่เนื่องจากในช่วงเวลานั้น บาวเออร์กำลังประสบปัญหาจากข้อเสนอของเขาที่วิจารณ์ศาสนาว่า "พระเจ้าเป็นสิ่งไม่มีอยู่จริง พระวรสารของพระเจ้า จึงเป็นเรื่องเหลวไหล พระเยซูจึงไม่ใช่พระบุตร และเป็นไปได้ด้วยว่าพระเยซูจะไม่มีตัวจริงทางประวัติศาสตร์"

ปรัสเซียในช่วงเวลานั้น ซึ่งกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากการที่กษัตริย์เฟรเดอริกวิลเลียมที่ 4 ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1840 และพยายามที่จะดำเนินการต่างๆ ให้เข้มงวดขึ้น รัฐปรัสเซียจึงเห็นว่า ข้อเสนอของบาวเออร์เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐ. เดือนมีนาคม ค.ศ. 1842 บาวเออร์ ถูกปลดตำแหน่งจากมหาวิทยาลัย ซึ่งย่อมหมายถึงว่า โอกาสที่มาร์กเข้าจะรับตำแหน่งอาจารย์ในมหาวิทยาลัยบอนน์ได้หมดลงไปด้วย

มาร์กซ์กับอาชีพนักหนังสือพิมพ์
มาร์กซหันเหไปทำอาชีพเป็นนักหนังสือพิมพ์ โดยเริ่มทำงานกับหนังสือพิมพ์ไรน์ (Rheinische Zeitung) ซึ่งมีผู้ร่วมงานสำคัญคือ อาร์โนลด์ รูเก (Arnold Ruge ) นักวิชาการหัวก้าวหน้าอีกคนหนึ่งของยุคสมัย และเป็นพวกลัทธิเฮเกลฝ่ายซ้ายเช่นเดียวกับมาร์กซ รูเกถูกปฏิเสธจากตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยมาก่อน เขาจึงหันมายึดอาชีพหนังสือพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้และความคิดใหม่สู่ประชาชน ต่อมาบาวเออร์ก็เขียน บทความลงเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ของรูเกเช่นกัน

มาร์กซ เริ่มเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ไรน์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1842 จากนั้นก็เขียนบทความต่างๆ ลงเรื่อยมาอย่างสม่ำเสมอ (บทความต่างๆ ของมาร์ก ที่เคยเผยแพร่ใน Rheinische Zeitung) ในขณะเดียวกัน เขาก็ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองโดยตรงอีกด้วย ทั้งนี้สืบเนื่องจากประวัติศาสตร์ของ แคว้นไรน์แลนด์ เอง ที่เคยถูกฝรั่งเศสผนวกในสมัยสงครามนโปเลียน และเป็นผลทำให้ระบบศักดินาถูกยกเลิก เศรษฐกิจทุนนิยมพัฒนา ดังนั้นเมื่อเขตนี้ถูกรวมเข้ากับปรัสเซียในปี ค.ศ. 1814 จึงกลายเป็นเขตที่อิทธิพลเสรีนิยมรุนแรงที่สุด เคยมีการรณรงค์เผยแพร่แนวคิดประชาธิปไตย ซึ่งมีเป้าหมายเรียกร้องสิทธิของราษฎร ให้มีการเมืองในระบบรัฐสภา ให้มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการบริหารประเทศ ซึ่งขัดแย้งอย่างมากกับรัฐปรัสเซีย ซึ่งเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ อำนาจสูงสุดอยู่ที่กษัตริย์และมิได้ให้สิทธิแก่ราษฎร

หนังสือพิมพ์ไรน์ ก็ถูกผลักดันให้เกิดขึ้นโดยกลุ่มโคโลญน์ ซึ่งเป็นกลุ่มปฏิวัติเรียกร้อง โดยเริ่มออกเผยแพร่ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1842 มีเป้าหมาย เพื่อเป็นกระบอกเสียงเผยแพร่แนวคิดเสรีนิยมและประชาธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ไรน์ไซท์ทุ่ง หรือหนังสือพิมพ์ไรน์ นี้ ก็คือหนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้าอย่างยิ่งฉบับหนึ่งในสมัยนั้น เมื่อมาร์กซเข้าประจำกองบรรณาธิการในเดือนเมษายน ค.ศ.1842 โดยมี อด็อฟ รูเตนเบิร์ก เป็นบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์สำนักนี้ถูกจับตาอย่างมากจากรัฐปรัสเซีย รัฐบาลกลางเคยเสนอให้ปิดหนังสือพิมพ์นี้ แต่รัฐบาลท้องถิ่นไรน์แลนด์ เกรงว่าการปิดหนังสือพิมพ์จะยิ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ประชาชน จึงสัญญาว่าจะคอยติดตามควบคุมและดูแลอย่างใกล้ชิด กิจการจึงยังดำเนินต่อมาได้เรื่อยๆ ต่อมาปรากฏว่า รูเตนเบิร์ก มีปัญหาในการทำงานเป็นบรรณาธิการ เพราะติดสุราอย่างหนักจนทำให้เสียงานหลายครั้ง มาร์กซจึงต้องเข้าไปมี บทบาทในการบริหารกองบรรณาธิการเพิ่มขึ้น จนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1842 มาร์กซก็ได้รับตำแหน่งบรรณาธิการ
ของหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว

หลังจากที่มาร์กซรับตำแหน่งบรรณาธิการแล้ว หนังสือพิมพ์ก็เป็นที่สนใจเพิ่มขึ้นในหมู่ประชาชน ยอดขายเพิ่มขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นหนังสือพิมพ์ระดับชาติที่รณรงค์ในเรื่องประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม เพื่อลดการเพ่งเล็งจากรัฐบาลท้องถิ่นไรน์แลนด์ มาร์กซตกลงที่จะลดการวิพากษ์ศาสนาลง แล้วใช้หน้าหนังสือพิมพ์ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นหลัก

แนวคิดสังคมนิยมของ ชาร์ล ฟูริเออร์ (Charles Fourier)
หนังสือพิมพ์ไรน์ภายใต้การบริหารของมาร์กซ เคยถูกโจมตีจากหนังสือพิมพ์ออกสเบิร์กคู่แข่ง โดยมุ่งหวังเร่งเร้าให้รัฐบาลปิดหนังสือพิมพ์ไรน์ ในข้อหาเป็นเอกสารคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่หนังสือพิมพ์ไรน์ ลงข่าวการเคลื่อนไหวของกลุ่มสังคมนิยมของฟูริเอร์ ซึ่งเปิดประชุมที่เมืองสตาร์บูร์ก. แนวคิดสังคมนิยมของ ชาร์ล ฟูริเออร์ (Charles Fourier) กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยนั้น โดยเฉพาะแนวคิดในการสร้างชุมชนอุดมคติที่เรียกว่า ฟาลังสแตร์ (phalanstere) ซึ่งจะมีกรรมสิทธิทั้งหมดเป็นของส่วนรวม ซึ่งบรรดาสมาชิกต่างเป็นเจ้าของโดยเท่าเทียมกัน

ไม่เป็นที่ชัดเจนว่า มาร์กซนิยมความคิดของฟูริเอร์หรือไม่ แต่เขาก็ตอบโต้ข้อกล่าวหาเรื่องคอมมิวนิสต์ไป โดยชี้แจงว่า บทความในหนังสือพิมพ์ไรน์ ยังไม่มีเรื่องใดเลยที่นำเสนอความคิดหรืออุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ การ กล่าวหาโดยอ้างเพียงไม่กี่ประโยคนั้น ไม่อาจยอมรับได้ การตอบโต้ครั้งนั้นเองชี้ให้เห็นว่าในขณะนั้น มาร์กซยังไม่ได้มีอุดมการณ์แบบสังคมนิยมเต็มที่นัก แม้ว่าหนังสือพิมพ์ไรน์จะสนใจและเห็นใจความทุกข์ยากของคนยากคนจน แต่ก็นำเสนอเพียงเพื่อให้เห็นว่าคนเหล่านี้ตกเป็นผู้ถูกกระทำของสังคม มาร์กยังไม่ได้เห็นว่า ชนชั้นกรรมกรเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงสังคมได้แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ความสนใจปัญหาสังคมและศึกษาชีวิตของคนยากจนชนชั้นล่าง ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในชีวิตของมาร์กซอย่างหนึ่ง ในช่วงระยะที่ทำงานกับหนังสือพิมพ์นี้ เพราะเป็นการดึงเขาออกจากโลกที่ศึกษาแต่เพียงประเด็นทางปรัชญา มาสู่การต้องเข้าใจเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นจริงมากขึ้น มาร์กซเริ่มทำความเข้าใจกับความเป็นไปของสังคม และเริ่มสนใจศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ ต่อมาปรากฏว่ากลุ่มโคโลญจน์ เริ่มศึกษาแนวคิดสังคมนิยมฝรั่งเศสนี้อย่างจริงจัง มีการพบปะแลกเปลี่ยนกันในแนวคิดสังคมนิยม มาร์กซก็ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนจนทำให้เขากลายเป็นผู้นำสังคมนิยมฝรั่งเศสไปด้วย

มาร์กซ์กับเองเกลส์
ระหว่างที่เป็นบรรณาธิการ มาร์กซยังได้พบ เฟรดเดอริก เองเกลส์ (Frederick Engels) เป็นครั้งแรก ในระหว่างที่เองเกลส์กำลังจะเดินทางจากเบอร์ลินไปอังกฤษ เขาแวะมายังกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไรน์ และได้พบกับมาร์กซด้วย แต่การพบกันในครั้งนั้นยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ทั้งคู่คุ้นเคยสนิทสนม จนไม่มีใครคาดหมายได้ว่า ต่อไปเขาจะกลายเป็นผู้ร่วมงานด้วยกันไปจนตลอดชีวิต

หนังสือพิมพ์ไรน์เริ่มถูกคุกคามมากขึ้นจากเจ้าหน้าที่เซ็นเซอร์ เนื่องจากบทความของมาร์กซ ที่วิจารณ์การดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลของรัฐบาลปรัสเซีย นอกจากนี้ พระเจ้าซาร์รุสเซีย ยังเคยประท้วงมายังรัฐบาลปรัสเซียด้วยว่า หนังสือพิมพ์ไรน์ลงบทความที่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบซาร์. มาร์กซได้ขอลาออกจากตำแหน่งบรรณาธิการตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1843 ด้วยคาดหวังว่าหนังสือพิมพ์จะยังคงดำเนินการต่อไปได้ ภายใต้บรรณาธิการคนใหม่ แต่แล้วรัฐบาลไรน์แลนด์ก็สั่งให้ปิดหนังสือพิมพ์ฉบับนี้โดยสิ้นเชิง ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 1843 เป็นต้นไป

มาร์กซตัดสินใจที่จะดินทางไปต่างประเทศ โดยมุ่งหวังจะทำหนังสือพิมพ์ที่มีเนื้อหาปฏิวัติ แล้วส่งข้ามแดนมายังปรัสเซียต่อ ซึ่งก็ปรากฏว่า อาร์โนล รูเก กับนักคิดคนสำคัญอีกคนหนึ่งชื่อ จูเลียส โฟรเบล (Julius Froebel) ก็คิดจะออกหนังสือพิมพ์ในต่างประเทศอยู่เหมือนกัน ทั้งคู่จึงชักชวนมาร์กซให้ร่วมในกองบรรณาธิการด้วย มาร์กซตกลงทันทีด้วยความมุ่งหวังที่จะให้หนังสือพิมพ์นี้ เป็นสื่อนำความคิดปฏิวัติมาสู่รัฐเยอรมันทั้งหลาย

การแต่งงาน และความสนใจในปรัชญาของ ลุดวิก ฟอยเออร์บาค
กลางปี ค.ศ.1843 มาร์กซเดินทางกลับไปยังเมือง ครอยซ์นาร์ค (Kreuznach) เมืองใกล้เมืองเทรียส์บ้านเกิด เพื่อแต่งงานกับ เจนนี ฟอน เวสฟาเลน (Jenny von Westphalen) แล้วไปฮันนีมูนที่สวิสเซอร์แลนด์ ในด้านชีวิตครอบครัว มาร์กซกับเจนนี มีลูกด้วยกันหลายคน แต่ก็มีหลายคนเช่นกันที่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก เอลินอร์ มาร์กช (Marx, Eleanor ) ลูกสาวของเขา (1855-1898) ซึ่งเกิดในลอนดอน ก็เป็นนักสังคมนิยมที่ทุ่มเท และช่วยแก้ไขงานของพ่อด้วย

มาร์กซกับเจนนีกลับมาก็อาศัยอยู่ที่ครอยซ์นาร์ค อีกราว 3 เดือน ในระหว่างนี้เองที่มาร์กซได้ใช้เวลาทบทวนปรัชญาของเฮเกล และศึกษาปรัชญาวัตถุนิยมของ ลุดวิก ฟอยเออร์บาค (Ludwig Feuerbach ) อย่างลึกซึ้งมากขึ้น. ฟอยเออร์บาค เป็นนักปรัชญาก่อนหน้ามาร์กซ เขาเป็นชาวบาวาเรีย เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1807 ตั้งใจจะศึกษาวิชาเทววิทยาในมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน แต่ปรากฏว่าในระหว่างนั้นได้รับอิทธิพลของเฮเกล จึงหันมาศึกษาวิชาปรัชญาแทน

ผลงานที่สำคัญของ ฟอยเออร์บาค คือสาระสำคัญของคริสต์ศาสนา ซึ่งเป็นการใช้แนวคิดแบบวัตถุนิยมมาวิเคราะห์ศาสนาคริสต์ นอกจากนี้ก็คือ ข้อเสนอเบื้องต้นว่าด้วยการปฏิรูปปรัชญา ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ในสวิสเซอร์แลนด์ ค.ศ. 1843 โดยรูเก ส่งบทความนี้มาให้มาร์กซ ซึ่งได้สร้างความสนใจแก่มาร์กซอย่างมาก เพราะฟอยเออร์บาคนำแนวคิดวัตถุนิยมมาวิพากษ์ปรัชญาของเฮเกล

อย่างไรก็ตาม มาร์กซไม่เห็นด้วยกับฟอยเออร์บาคนัก เพราะแนวเสนอของฟอยเออร์บาค ขาดการพิจารณามิติทางประวัติศาสตร์และการเมือง จึงเป็นการวิพากษ์เฮเกลแต่เฉพาะรากฐานทางปรัชญา ดังนั้นมาร์กซจึงเขียนเรื่อง วิพากษ์ปรัชญาว่าด้วยเรื่องสิทธิของเฮเกล โดยประเด็นหลักที่นำเสนอคือ รัฐปรัสเซียไม่มีทางที่จะเป็นรัฐที่สมเหตุสมผล หรือรัฐที่มีเสรีภาพสมบูรณ์ตามอุดมคติของเฮเกลได้เลย และการปกครองของปรัสเซียภายใต้ระบบกษัตริย์ คือระบบการเมืองที่กดขี่ และปราบปรามประชาชน

เมืองสตราบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส ไม่อนุญาตให้พวกของรูเก ใช้เป็นที่ตั้งเพื่อเปิดหนังสือพิมพ์ที่คิดกันไว้ รูเกจึงเลือกกรุงปารีส เป็นสถานที่ตั้งแทน. ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1843 รูเก และโมเสส เฮส เดินทางยังปารีส เพื่อเตรียมการออกวารสาร ภายใต้ชื่อ Deutsch- Französische Jahrb & uuml;cher บุคคลที่รับเขียนในกองบรรณาธิการนี้ นอกจาก รูเก, โฟรเบล, เฮส, และ มาร์กซแล้ว ก็ยังมี จอร์จ เฮอร์เวจ (Georg Herwegh) ซึ่งเป็นกวี และ เฟรเดอริก เองเกลส์ (Friedrich Engels) มิคาอิล บากูนิน (Mikhail Bakunin) เข้าร่วมด้วย

มาร์กซ์เดินทางไปปารีส และบทความว่าด้วยปัญหายิว
เดือนตุลาคม ค.ศ. 1843 มาร์กซ และเจนนี ได้เดินทางไปยังปารีส เพื่อร่วมกับกองบรรณาธิการ มาร์กซนำบทความใหม่ที่เขาเขียนมาด้วย คือเรื่อง "ว่าด้วยปัญหายิว" เนื่องจากขณะนั้นเรื่องของชาวยิวกำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญในปรัสเซีย หลังจากสงครามนโปเลียนชาวเยอรมันเกิดความรู้สึกชาตินิยม และเริ่มต่อต้านชาวยิว ด้วยความรู้สึกว่าชาวยิว เป็นกลุ่มชนอื่นที่มาอาศัยดินแดน

ปัญญาชนชาตินิยมเยอรมันหลายคนเขียนบทความต่อต้านยิว และรัฐบาลปรัสเซียก็มีมาตรการต่างๆ ริดรอนสิทธิของชาวยิวอย่างมาก. บรูโน บาวเออร์ เคยเขียนบทความคัดค้านกระแสเหยียดชนชาติยิว และเรียกร้องให้ปลดปล่อยชาวยิวจากความอยุติธรรม อย่างไรก็ตามมาร์กซเห็นว่า ข้อวิเคราะห์ของบาวเออร์ยังเป็นนามธรรมมากเกินไป เขาจึงเสนอว่าปัญหาเรื่องชาวยิว ก็ถือเป็นปัญหาการกดขี่ระหว่างมนุษย์เหมือนปัญหาอื่นๆ ไม่เพียงแต่ชาวยิวเท่านั้นที่ต้องการการปลดปล่อย แต่ประชาชนคนยากจนทั้งมวล ที่ตกอยู่ภายใต้การกดขี่ ไม่ว่าจะเป็นยิว หรือคริสเตียนก็ต้องการการปลดปล่อยเช่นกัน เพราะสิทธิของประชาชนเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ภายใต้ระบอบกษัตริย์ปรัสเซีย

ปารีสในปี ค.ศ.1843 ยังอยู่ภายใต้ระบอบราชาธิปไตยของพระเจ้าหลุยฟิลิป แต่การบริหารอยู่ในมือของ กิโซต์ ซึ่งเป็นพวกอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวทางการเมืองในปารีสยังเป็นไปอย่างคึกคัก กลุ่มการเมืองทั้งฝ่ายเสรีนิยม และฝ่ายสังคมนิยมในฝรั่งเศส ต่างก็เผยแพร่อุดมการณ์ของตนในลักษณะเปิดเผยและกึ่งเปิดเผย นอกจากนี้ปารีสยังเป็นดินแดนของนักปฏิวัติลี้ภัยจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก รุสเซีย, ปรัสเซีย, และจักรวรรดิออสเตรีย, ดังนั้น ชีวิตของมาร์กซในปารีสช่วงนั้นจึงเต็มไปด้วยความตื่นตาตื่นใจ ปารีสทำให้มาร์กซได้เพิ่มพูนความรู้ใหม่ รวมทั้งเพิ่มความจัดเจนทางการเมืองมากขึ้น

มาร์กซ ถือโอกาสออกไปเยือนเขตกรรมกรของกรุงปารีส และเข้าประชุมกับองค์กรกรรมกรฝรั่งเศส ทำให้ได้เห็นสภาพของชนชั้นกรรมกรชัดเจนขึ้น เพราะปารีสมีการพัฒนาอุตสาหกรรม และมีชนชั้นกรรมกรมากกว่าเขตไรน์ แลนด์. เขายังได้ทำความรู้จักกับนักคิดสังคมนิยมหลายคน อาทิ เอเตียง การ์เบ้ (Etienne Cabet), หลุย บลอง (Louis Blanc), ปิแอร์ ปรูดอง (Pierre Proudhon), ได้เป็นเพื่อนกับ ไฮน์ริช ไฮน์ (Heinrich Heine) และได้รู้จัก ปัญญาชนรุสเซีย ที่ลี้ภัยในปารีสที่สำคัญก็คือ มิคาอิล บากูนิน

การศึกษาประวัติศาสตร์การปฏิวัติ และสังคมนิยมฝรั่งเศส
นอกจากนี้ มาร์กซยังทุ่มเทศึกษาประวัติศาสตร์การปฏิวัติฝรั่งเศส ศึกษาสังคมนิยมฝรั่งเศส และศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ด้วย. มาร์กซเริ่มเข้าใกล้ขบวนการปฏิวัติอย่างจริงจังมากขึ้น ด้วยการเข้าร่วมการประชุมของ สันนิบาตเพื่อความเป็นธรรม (League of the Just) ซึ่งเป็นองค์กรปฏิวัติใต้ดินของกลุ่มเยอรมันลี้ภัย เป้าหมายของสันนิบาตคือ การโค่นล้มระบอบกษัตริย์ และสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมในดินแดนเยอรมนี ผู้นำที่สำคัญของสันนิบาตคนหนึ่ง คือ เจอร์แมน มอเรอร์

หลังจากเงื่อนไขต่างๆ พร้อม มาร์กซและรูเก ก็ผลักวารสาร"จาบูคเชอร์"ออกมาได้ฉบับแรก ด้วยการเผยแพร่แนวคิดเสรีนิยมฝรั่งเศสในเขตเยอรมนี เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวปร ะชาธิปไตยในรัฐต่างๆ ของเยอรมัน และเพื่อการเชื่อมประสานกับนักคิดสังคมนิยมฝรั่งเศส. วารสารจาบูคเชอร์ ออกฉบับแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1844 มีเนื้อหาในทางสังคมนิยมอย่างมาก และเรียกร้องให้เกิดการปฏิวัติในเยอรมนี งานในวารสารส่วนมากยังเป็นของมาร์กซ ที่สำคัญก็คือ ว่าด้วยปัญหายิว และบทนำเรื่องปรัชญาว่าด้วยเรื่องสิทธิของเฮเกล นอกจากนี้ก็มีบทความที่ เฟรดริช เองเกลส์ เขียนมาลง เช่น หัวข้อสำคัญว่าด้วยการวิพากษ์เศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งมาร์กซเห็นว่า เป็นงานเขียนที่ดีมาก

วารสารจาบูคเชอร์ ถูกห้ามเผยแพร่ทันทีในปรัสเซีย มีการตรวจยึดวารสารนี้จำนวนมากในบริเวณพรมแดน ในขณะลอบนำเข้าจากฝรั่งเศส. นอกจากนี้รัฐบาลปรัสเซียยังออกหมายจับกองบรรณาธิการ อันได้แก่ มาร์กซ, รูเก, และไฮน์ริช ด้วย ซึ่งเป็นผลให้มาร์กซต้องมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยการเมือง ครั้งแรกในฝรั่งเศส. อย่างไรก็ตามโดยตัววารสารนี้เอง ถือว่าประสบความสำเร็จน้อยมาก เพราะแม้กระทั่งกลุ่มก้าวหน้าในฝรั่งเศสเอง ก็ไม่ได้ให้ความสนใจนักจนกระทั่ง จูเลียส โฟรเบล ผู้ให้เงินทุนคนสำคัญขอถอนตัว อย่างไรก็ตาม กล่าวกันว่าปัญหาหลักอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอนาคตของวารสารจาบูคเชอร์ มาจากการขัดแย้งระหว่าง "มาร์กซ" กับ "รูเก"

เนื่องจากรูเกล้มป่วยในระหว่างการจัดทำ มาร์กซจึงกลายเป็นบุคคลหลักในการผลักดัน และกำหนดเนื้อหาของวารสาร กว่ารูเกจะหายป่วยวารสารก็ถูกเผยแพร่ไปแล้ว ทำให้รูเกไม่พอใจ และเห็นว่าวารสารไม่ได้ออกตามแนวที่เขาต้องการ สิ่งที่รูเกไม่เห็นพ้องด้วยอย่างมากก็คือ การที่มาร์กซกลายเป็นนักสังคมนิยมมากขึ้น และเริ่มใช้คำว่า "คอมมิวนิสต์" ในงานเขียนของเขา ในขณะที่รูเกมีความเห็นโน้มเอียงไปในทางปฏิรูป ต้องการให้เยอรมนีเป็นรัฐประชาธิปไตย ไม่ต้องการการปฏิวัติของกรรมาชีพ และไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องคอมมิวนิสต์ เมื่อวารสารประสบปัญหาทั้งในด้านการเงินและความขัดแย้งในกองบรรณาธิการ วารสารดังกล่าวจึงได้ปิดตัวลง หลังจากออกไปได้เพียงฉบับเดียว

มิตรภาพระหว่าง "มาร์กซ" และ "เองเกลส์"
นอกจากการค้นคว้าเพื่อเขียนหนังสือนี้แล้ว ระหว่างที่อยู่ที่ปารีส มิตรภาพระหว่าง "มาร์กซ" และ "เองเกลส์" ได้เริ่มกระชับแน่นแฟ้น และทำให้คนทั้งสองกลายมาเป็นเพื่อนสนิท และผู้ร่วมงานกันไปจนตลอดชีวิต. เองเกลส์ เดินทางมายังปารีส ช่วงปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ.1844 และพบกับมาร์กซที่ร้านกาแฟ คาเฟ่เดอลาเรเจนเซ่ ในวันที่ 28 สิงหาคม จากนั้นทั้งสองคนเริ่มงานค้นคว้าและเขียนบทความร่วมกัน คือเรื่อง "ว่าด้วยการวิพากษ์เกณฑ์สำคัญ เพื่อวิพากษ์ความคิดของ บรูโน บาวเออร์"

ในระหว่างนี้ รัฐบาลปรัสเซีย บีบคั้นกลุ่มเยอรมันลี้ภัย โดยพยายามที่จะเสนอให้ฝรั่งเศสจับกุมตัวมาร์กซและ ชาวเยอรมันก้าวหน้าอื่นๆ แล้วส่งตัวให้ปรัสเซียในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน. วันที่ 25 มกราคม ค.ศ.1845 กิโซต์ นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส สั่งปิดหนังสือพิมพ์วอร์วาท (สำนักพิมพ์ที่มาร์กซ ส่งบทความไปลง ภายหลังจาก จาบูคเชอร์ ปิดไป) และสั่งเนรเทศกลุ่มผู้นำเยอรมันลี้ภัย เช่น มาร์กซ, เฮนริช ไฮน์, และ อาร์โนล รูเก. ดังนั้นวันที่ 2 กุมภาพันธ์, มาร์กซจึงจำต้องเดินทางจากปารีสไปยังกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม อีกวาระหนึ่ง

ออกจากปารีส ตั้งหลักที่บรัสเซลส์
หลังจากมาร์กซได้รับการอนุญาตให้อยู่ในประเทศเบลเยี่ยมได้แล้ว เองเกลส์ก็ย้ายตามมาอยู่ในบรัสเซลส์ด้วย โดยเช่าบ้านใกล้กับมาร์กซ ในเบลเยี่ยม. มีนักสังคมนิยมคนอื่นอีกหลายคนที่สนิทสนมกับครอบครัว มาร์กซ อาทิ โมเสส เฮส วิลเฮล์ม เวทลิง และ คาร์ล ไฮนเซน (Karl Heinzen) เป็นต้น ทำให้ชีวิตของครอบครัวมาร์กซในเบลเยี่ยมค่อนข้างราบรื่น ในระยะนี้มาร์กซเริ่มทำงานค้นคว้าและได้เขียนหนังสือเรื่อง ข้อเสนอว่าด้วยฟอยเออร์บาค (Thesis on Feuerbach)

ครั้งหนึ่งทั้งสองเดินทางมาเยือนกรุงลอนดอน ในขณะที่กลุ่มขบวนการชาร์เตอร์ (Charter) ของอังกฤษกำลังก่อตัว ขบวนการนี้มีเป้าหมายในการเรียกร้องสิทธิทางกฏหมายให้กับประชาชนระดับล่างในอังกฤษ มาร์กซมีโอกาสได้พบ จอร์จ เจ. ฮาร์เนย์ (George J. Harney) หัวหน้าขบวนการชาร์เตอร์ บรรณาธิการของวารสารดาวเหนือของกรรมกร. นอกจากนี้ เองเกลส์ยังแนะนำให้มาร์กซรู้จักกับหัวหน้าขบวนการกรรมกรของเยอรมนี ที่ลี้ภัยอยู่ในอังกฤษอีกด้วย ในระหว่างที่มาร์กซไปอังกฤษ เจนนีกลับไปยังเมืองเทรียร์ และคลอดลูกสาวคนที่สองเมื่อเดือน กันยายน ค.ศ.1845 คือ มาร์กซ ลอรา

การวางรากฐานความคิดวัตถุนิยมวิภาษวิธีและวัตถุนิยมประวัติศาสตร์
หลังจากมาร์กซและเองเกลส์เดินทางกลับมาเบลเยี่ยม พวกเขาได้เริ่มงานเขียนร่วมกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นงานชิ้นสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานความคิดวัตถุนิยมวิภาษวิธีและวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ ของมาร์กซและเองเกลส์ ภายใต้ชื่อเรื่อง "อุดมการณ์เยอรมัน" (Die Deutsche Ideologie) เพื่อเสนอข้อถกเถียงและเป็นการทบทวนรากฐานทางปรัชญาของเยอรมัน ตั้งแต่ เฮเกล, บาวเออร์, ไปจนถึงฟอยเออร์บาค, มีการเชื่อมโยงปรัชญาวัตถุนิยมมาอธิบายวิวัฒนาการทางสังคม และการปฏิวัติทางสังคมของชนชั้นกรรมาชีพ และการสร้างสังคมคอมมิวนิสต์. จากงานเขียนชิ้นนี้เองได้ชี้ให้เห็นว่า แนวคิดทางปรัชญาลัทธิมาร์กซ (Marxism) ได้ก่อรูปขึ้นอย่างค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว

ระหว่างการค้นคว้าและเขียนงานชิ้นนี้ มีข่าวด้วยว่า ตำรวจปรัสเซียยังคงกดดันรัฐบาลเบลเยี่ยม ให้จับตัวมาร์กซในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน ดังนั้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1845 มาร์กซจึงขอสละสัญชาติปรัสเซีย. หลังจากนั้นมาร์กซได้เขียน ความอับจนของปรัชญา (Proverty of Philosophy ) เพื่อวิพากษ์ความคิดสังคมนิยมสายฝรั่งเศส และในปี ค.ศ.1847 มาร์กซและเองเกลส์ เข้าร่วมกับ"สันนิบาตคอมมิวนิสต์"(Communist League) ซึ่งเป็นกลุ่มของคนงานเยอรมนีในลอนดอนอย่างลับๆ แล้วร่วมกันเขียน แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) อันเป็นงานชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งตามคำร้องขอจากสันนิบาต และได้รับการตีพิมพ์ในเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848 ซึ่งเป็นช่วงการปฏิวัติยุโรป

พัฒนาของระบอบทุนนิยมสมัยใหม่
ภูมิภาคยุโรป ก่อนปี ค.ศ.1848 เป็นยุคแรกแห่งการพัฒนาของระบอบทุนนิยมสมัยใหม่ ซึ่งเริ่มจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ หลังปี ค.ศ. 1770 อันนำมาซึ่งการเกิดระบบโรงงานอุตสาหกรรม และการขยายตัวอย่างมากของธุรกิจการค้า ต่อมาหลังปี ค.ศ. 1830 การปฏิวัติอุตสาหกรรม เริ่มแผ่ขยายไปในประเทศอื่น เช่น ฝรั่งเศส เบลเยียม และในแคว้นเยอรมนีตอนเหนือ ทำให้ระบบทุนนิยมเริ่มขยายตัวในดินแดนเหล่านี้

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจดังกล่าวทำให้ชนชั้นพ่อค้านายทุนมีบทบาทมากขึ้น ชนชั้นกลาง และชนชั้นกรรมาชีพ ก็ขยายตัวมากขึ้นตามเมืองต่างๆ ขณะที่กษัตริย์และเจ้าศักดินายังคงครอบงำอำนาจทางการเมือง ยุคสมัยดังกล่าวจึงเป็นยุคสมัยแห่งความขัดแย้งทางความคิดระหว่าง "ฝ่ายอนุรักษ์นิยมปฏิกิริยา" และ"กลุ่มปัญญาชนก้าวหน้า"

ความขัดแย้งระหว่าง "ฝ่ายอนุรักษ์นิยมปฏิกิริยา" และ"กลุ่มปัญญาชนก้าวหน้า"
ฝ่ายอนุรักษ์นิยมคือพวกนิยมกษัตริย์ ที่มุ่งจะรักษาสถานะของกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิ์ ปกป้องศาสนจักร และรักษาอภิสิทธิ์ของชนชั้นขุนนางและเจ้าที่ดินยุโรปก่อน ค.ศ. 1848 โดยมีพระเจ้าซาร์แห่งรุสเซีย นิโคลัสที่ 1 เป็นประธานของพลังอนุรักษ์นิยมปฏิกิริยา และมีผู้ร่วมมือสำคัญคือ จักรพรรดิฟรานซิสที่ 2 แห่งออสเตรีย และกษัตริย์เฟรเดอริดที่ 4 แห่งปรัสเซีย ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง, โดยมีอัครเสนาบดีของออสเตรียคือ เมตแตร์นิค เป็นผู้ประสานและดำเนินงาน เรียกระบบการเมืองของยุโรปในสมัยนี้ว่า "ระบบเมตแตร์นิค" (Metternich). ในกรณีของฝรั่งเศส เป็นยุคของกษัตริย์หลุยส์ฟิลิปแห่งราชวงศ์ออร์ลีอัง ซึ่งแม้ว่าจะปกครองประเทศในระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ก็มีแนวโน้มในทางอนุรักษ์นิยมเช่นกัน

สำหรับกลุ่มปัญญาชนก้าวหน้า จะมีทั้งกลุ่มเสรีนิยมและกลุ่มสังคมนิยม ทั้งสองกลุ่มต่างก็เป็นทายาทของการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยต่างมีเห็นร่วมกันว่า "ระบอบกษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาด นั้นเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม". พวกเสรีนิยมต้องการจำกัดอำนาจกษัตริย์ มีการประกันสิทธิประชาชนด้วยรัฐธรรมนูญ แบ่งแยกอำนาจให้มีระบบรัฐสภาและการเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม ต้องการสิทธิเสรีภาพทางการพูด การเขียน การแสดงความเห็น มีเสรีภาพทางศาสนา และมีเศรษฐกิจแบบเสรี, โดยฝ่ายเสรีนิยมนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

- กลุ่มนิยมระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ และ
- กลุ่มสนับสนุนระบอบสาธารณรัฐ

กลุ่มสังคมนิยม มิได้ต้องการเพียงเสรีภาพทางการเมือง แต่ต้องการความเสมอภาคทาง เศรษฐกิจและสังคม โดยมากพวกสังคมนิยมจะมีความเห็นร่วมกันว่า สังคมเก่ามีความไม่เท่าเทียมกันในทางเศรษฐกิจ มีการกดขี่ขูดรีดและเอารัดเอาเปรียบระหว่างมนุษย์ และเห็นว่ากรรมสิทธิ์เอกชนนั้นเป็นที่มาของการขูดรีด กลุ่มสังคมนิยมจึงต้องการเสนอให้สร้างสังคมใหม่ที่มนุษย์จะมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และมีกรรมสิทธิ์ส่วนรวม

มาร์กซ เป็นหนึ่งในกลุ่มปัญญาชนสังคมนิยม เขาเสนอการวิเคราะห์สังคมเก่าด้วยทฤษฎีชนชั้น และเสนอให้สร้างสังคมใหม่โดยการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ มาร์กซจึงสนับสนุนการจัดตั้งชนชั้นกรรมกร เพื่อจะดำเนินการให้การปฏิวัติสังคมนิยมปรากฏเป็นจริง. การปฏิวัติ ค.ศ. 1848 เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้

อันที่จริง ตัวเร่งของการปฏิวัติที่สำคัญคือ "ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในยุโรป ใน ค.ศ. 1846" ซึ่งทำให้ราคาสินค้าอาหารคือขนมปังและมันฝรั่งมีราคาแพง ทั้งในฝรั่งเศสและในรัฐเยอรมนี ทำให้เกิดความอดอยากทั่วไป อำนาจซื้อของประชาชนลดต่ำลงจนทำให้กิจการต่างๆ ประสบภาวะขาดทุน ต้องปิดตัวลงจำนวนมากในปี ค.ศ. 1847 ภาวะเศรษฐกิจยิ่งเลวร้ายลง และส่งผลกระทบไปทั่วทั้งยุโรป คนว่างงานยิ่งทวีมากขึ้น จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจทั่วไป

การปฏิวัติในยุโรป เริ่มขึ้นที่เมืองปาเลโม
เดือนมกราคม ค.ศ. 1848 การปฏิวัติจึงเกิดขึ้นก่อนที่เมืองปาเลโม ในซิซิลี, ประชาชน ลุกฮือขึ้นปฏิวัติและขยายไปทั่วอาณาจักรเนเปิล จนในที่สุดกษัตริย์เฟอร์ดินานที่ 2 ของเนเปิลก็ถูกบีบให้พระราชทานรัฐธรรมนูญ. ต่อมาในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848 เกิดการชุมนุมครั้งใหญ่ของประชาชนในกรุงปารีส เพื่อต่อต้านกษัตริย์หลุยส์ฟิลิป ปรากฏว่ารัฐบาลรัฐบาลกีโซต์สั่งปราบ เกิดการปะทะกันจนมีผู้เสียชีวิต 16 คน ประชาชนจึงลุกฮือขึ้นสู้ มีการตั้งป้อมกลางถนนขึ้นทั่วไปในปารีส, เมื่อการต่อต้านกษัตริย์ ขยายตัวออกไปจนรัฐบาลไม่อาจคุมสถานการณ์ไว้ได้ กองทหารที่ส่งไปปราบก็ไปเข้าร่วมกับฝ่ายประชาชน ในที่สุดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปต้องยอมสละราชสมบัติ และหนีไปลี้ภัยในอังกฤษ

กลุ่มผู้นำปฏิวัติจึงตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้นบริหารประเทศ โดยประกาศให้ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐที่ 2 ในการปฏิวัติครั้งนี้ กลุ่มสังคมนิยมของฝรั่งเศสนำโดยมี อัลฟองโซ เดอ ลามาร์ทีน และ หลุยส์ บลังก์ ก็เข้าร่วมด้วย เมื่อเกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศสแล้ว กระแสปฏิวัติก็เผยแพร่ไปยังประเทศอื่นอย่างรวดเร็ว กระแสแห่งการปฏิวัตินี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตของมาร์กซ ในขณะเกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศส
(สนใจอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับมาร์กและการปฏิวัติยุโรปได้ที่ : มาร์ซกับการปฏิวัติยุโรป ค.ศ.1848 ตอนเริ่มต้น โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ)

เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848 ที่เริ่มเข้าสู่ยุคปฏิวัติยุโรป มาร์กซยังคงอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ข่าวการปฏิวัติจากฝรั่งเศสมาถึงบรัสเซลส์ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848 และนำมาซึ่งการเคลื่อนไหวปฏิวัติในเบลเยี่ยมด้วย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเบลเยี่ยมยังควบคุมสถานการณ์ได้ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ รัฐบาลเบลเยี่ยมเริ่มทำการจับกุมกลุ่มก้าวหน้า พร้อมทั้งเตรียมการที่จะเนรเทศนักปฏิวัติลี้ภัยที่อยู่ในบรัสเซลส์รวมทั้งมาร์กซด้วย

ก่อนหน้านี้ มาร์กซเพิ่งได้รับมรดกจากมารดาเป็นเงิน 6,000 ฟรังค์ ทางการตำรวจเบลเยี่ยมสงสัยว่า มาร์กซจะใช้เงินจำนวนนี้สนับสนุนการปฏิวัติ จึงได้จับกุมมาร์กซไว้ในวันที่ 4 มีนาคม 1848 และในที่สุดทางการเบลเยียมก็เนรเทศ มาร์กซและครอบครัว มายังกรุงปารีสในวันที่ 5 มีนาคม

เมื่อมาถึงปารีส ขณะนั้นกรุงปรารีส ยังอยู่ในช่วงหลังปฏิวัติ มาร์กซได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวปฏิวัติทันที เขาเข้าร่วมประชุมกับสมาคมสิทธิมนุษยชนฝรั่งเศส ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญที่มีส่วนในการปฏิวัติ จากนั้นมาร์กซและกลุ่มเพื่อนก็ตั้งองค์กรคนงาน เพื่อเตรียมการปฏิวัติในเยอรมนีต่อ โดยพยายามรวบรวมคนงานชาวเยอรมันที่ทำงานอยู่ในปารีส มีการเปิดประชุมสันนิบาตคอมมิวนิสต์ในกรุงปารีสในวันที่ 10 มีนาคม ปรากฏว่าที่ประชุมเลือกมาร์กซเป็นประธาน และเตรียมการที่จะออกหนังสือพิมพ์ปฏิวัติในฝรั่งเศส เพื่อที่จะส่งไปเผยแพร่ในเยอรมนี

วันที่ 19 มีนาคม ข่าวการปฏิวัติในออสเตรียก็มาถึง และหลังจากนั้นก็ติดตามมาด้วยข่าวการปฏิวัติในปรัสเซีย ก่อให้เกิดความตื่นเต้นยินดีอย่างมากในหมู่ชาวเยอรมันในปารีส มาร์กซและกลุ่มสหายนักปฏิวัติในสันนิบาตคอมมิวนิสต์ จึงตัดสินใจเดินทางกลับเพื่อไปร่วมการปฏิวัติในดินแดนเยอรมนี โดยเอกสารสำคัญที่ชาวสันนิบาตนำติดมือไป ก็คือ"แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์"ของมาร์กซและเองเกลส์ และอีกฉบับหนึ่งเป็นเอกสารนโยบาย 10 ข้อ, ซึ่งมีข้อเรียกร้องให้โอนกิจการธนาคารเข้าเป็นของรัฐ, เก็บภาษีรายได้ในอัตราก้าวหน้า, จำกัดสิทธิในด้านมรดก, ยกเลิกพันธสัญญาในที่ดินแบบศักดินา, และจัดการศึกษาฟรีให้กับประชาชน

มาร์กซ ออกเดินทางจากปารีสราวต้นเดือนเมษายนไปยังเมืองโคโลญน์ โดยมีเองเกลส์ร่วมเดินทางไปด้วย นอกจากนี้ก็คือ เอิร์นสก์ ดรองเก (Ernst Dronke) สมาชิกสันนิบาตคอมมิวนิสต์อีกคนหนึ่ง คณะเดินทางของมาร์กซ หยุดที่เมืองเมนซ์ 2 วัน มาร์กซเรียกประชุมสมาคมกรรมกร และเรียกร้องให้องค์กรกรรมกรทั่วเยอรมนีรวมตัวกันเพื่อผลักดันการปฏิวัติ

วันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1848 ประชาชนชาวโคโลญน์ เริ่มเคลื่อนไหวปฏิวัติซึ่งถือเป็นการปฏิวัติแห่งแรกในปรัสเซีย ทางการตำรวจโคโลญน์จับกุมคุมขังกลุ่มผู้นำการประท้วง อันดรีส กอตต์ชอลก์ (Andreas Gottschalk) ออกุส วิลลิช (August Willich) และ ฟรีดริช อันเนเก (Freidrich Anneke)) แต่ต่อมาในวันที่ 20 มีนาคม ก็ต้องปล่อยตัว เพราะเกิดการปฏิวัติในเบอร์ลินและรัฐบาลปรัสเซีย ปรับเปลี่ยนนโยบายให้เสรีภาพ และปฏิรูปการเมือง

มาร์กซ และคณะมาถึงเมืองโคโลญในวันที่ 10 เมษายน 1848 ส่วนเจนนีและลูกแวะเยี่ยมบ้านเดิมที่เมืองเทรียส์ และเดินทางมาร่วมกับมาร์กซที่เมืองโคโลญน์ภายหลัง เมื่อมาร์กซมาถึงการเคลื่อนไหวกรรมกรในโคโลญน์เป็นไปอย่างแข็งขันอยู่แล้ว กอตต์ชอลก์ จึงแนะนำให้มาร์กซไปเคลื่อนไหวต่อที่เบอร์ลิน หรือไม่ก็ลงสมัครผู้แทนราษฎรที่เมืองเทรียส์ซึ่งเป็นบ้านเดิม (แต่ความจริงกอตต์ชอลก์ไม่ค่อยชอบแนวคิดของมาร์กซอยู่ จึงไม่อยากให้มาร์กซเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย)

ผลกระทบสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการปฏิวัติปี ค.ศ. 1848 ในเยอรมนี ก็คือ หนังสือพิมพ์เฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก หลังจากที่รัฐบาลแทบทุกแคว้นถูกบีบให้เลิกมาตรการเซ็นเซอร์ เฉพาะในเขตไรน์แลนด์มีหนังสือพิมพ์ใหม่ออกเผยแพร่ถึง 70 ฉบับ ใน 1 ปี และในจำนวนนี้ ฉบับหนึ่งคือหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ที่มาร์กซ เป็นบรรณาธิการ...

หมายเหตุ: เนื้อหาในส่วนแรกนี้ นำมาจาก http://www.biolawcom.de/?/article/153

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

1158. คาร์ล มาร์กซ์: การลี้ภัยไปลอนดอนและหนังสือเรื่อง Das Kapital

ภาคผนวก
สำหรับผู้สนใจชีวประวัติของคาร์ล มาร์กซ์ ภาษาอังกฤษเปรียบเทียบ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ค้นคว้าชีวประวัติเปรียบเทียบโดยสังเขปจาก สารานุกรมบริทานิกา (Britannica Encyclopedia): หัวข้อ Karl Marx มาเรียบเรียง ซึ่งมีเนื้อหาใกล้เคียงกับภาษาไทยข้างต้นดังนี้

Karl Marx and Marxism
Introduction
Karl Marx, revolutionary, sociologist, historian, and economist, was the author (with Friedrich Engels) of Manifest der Kommunistischen Partei (1848), commonly known as The Communist Manifesto, the most celebrated pamphlet in the history of the socialist movement, as well as of its most important book, Das Kapital. These writings and others by Marx and Engels form the basis of the body of thought and belief known as Marxism.

Life and works of Marx
EARLY YEARS
Karl Heinrich Marx was born on May 5, 1818, in the city of Trier in the Rhine province of Prussia, now in Germany. He was the oldest surviving boy of nine children. His father, Heinrich, a successful lawyer, was a man of the Enlightenment, devoted to Kant and Voltaire, who took part in agitations for a constitution in Prussia. His mother, born Henrietta Pressburg, was from Holland. Both parents were Jewish and were descended from a long line of rabbis, but, a year or so before Karl was born, his father--probably because his professional career required it--was baptized in the Evangelical Established Church. Karl was baptized when he was six years old.

Although as a youth Karl was influenced less by religion than by the critical, sometimes radical social policies of the Enlightenment, his Jewish background exposed him to prejudice and discrimination that may have led him to question the role of religion in society and contributed to his desire for social change.

Marx was educated from 1830 to 1835 at the high school in Trier. Suspected of harbouring liberal teachers and pupils, the school was under police surveillance. Marx's writings during this period exhibited a spirit of Christian devotion and a longing for self-sacrifice on behalf of humanity. In October 1835 he matriculated at the University of Bonn. The courses he attended were exclusively in the humanities, in such subjects as Greek and Roman mythology and the history of art. He participated in customary student activities, fought a duel, and spent a day in jail for being drunk and disorderly. He presided at the Tavern Club, which was at odds with the more aristocratic student associations, and joined a poets' club that included some political activists. A politically rebellious student culture was, indeed, part of life at Bonn. Many students had been arrested; some were still being expelled in Marx's time, particularly as a result of an effort by students to disrupt a session of the Federal Diet at Frankfurt. Marx, however, left Bonn after a year and in October 1836 enrolled at the University of Berlin to study law and philosophy.

Marx's crucial experience at Berlin was his introduction to Hegel's philosophy, regnant there, and his adherence to the Young Hegelians. At first he felt a repugnance toward Hegel's doctrines; when Marx fell sick it was partially, as he wrote his father, "from intense vexation at having to make an idol of a view I detested." The Hegelian pressure in the revolutionary student culture was powerful, however, and Marx joined a society called the Doctor Club, whose members were intensely involved in the new literary and philosophical movement. Their chief figure was Bruno Bauer, a young lecturer in theology, who was developing the idea that the Christian Gospels were a record not of history but of human fantasies arising from emotional needs and that Jesus had not been a historical person. Marx enrolled in a course of lectures given by Bauer on the prophet Isaiah. Bauer taught that a new social catastrophe "more tremendous" than that of the advent of Christianity was in the making. The Young Hegelians began moving rapidly toward atheism and also talked vaguely of political action.

The Prussian government, fearful of the subversion latent in the Young Hegelians, soon undertook to drive them from the universities. Bauer was dismissed from his post in 1839. Marx's "most intimate friend" of this period, Adolph Rutenberg, an older journalist who had served a prison sentence for his political radicalism, pressed for a deeper social involvement. By 1841 the Young Hegelians had become left republicans. Marx's studies, meanwhile, were lagging. Urged by his friends, he submitted a doctoral dissertation to the university at Jena, which was known to be lax in its academic requirements, and received his degree in April 1841. His thesis analyzed in a Hegelian fashion the difference between the natural philosophies of Democritus and Epicurus. More distinctively, it sounded a note of Promethean defiance:

Philosophy makes no secret of it. Prometheus' admission: "In sooth all gods I hate," is its own admission, its own motto against all gods, . . .

Prometheus is the noblest saint and martyr in the calendar of philosophy.

In 1841 Marx, together with other Young Hegelians, was much influenced by the publication of Das Wesen des Christentums (1841; The Essence of Christianity) by Ludwig Feuerbach. Its author, to Marx's mind, successfully criticized Hegel, an idealist who believed that matter or existence was inferior to and dependent upon mind or spirit, from the opposite, or materialist, standpoint, showing how the "Absolute Spirit" was a projection of "the real man standing on the foundation of nature." Henceforth Marx's philosophical efforts were toward a combination of Hegel's dialectic--the idea that all things are in a continual process of change resulting from the conflicts between their contradictory aspects--with Feuerbach's materialism, which placed material conditions above ideas.

In January 1842 Marx began contributing to a newspaper newly founded in Cologne, the Rheinische Zeitung. It was the liberal democratic organ of a group of young merchants, bankers, and industrialists; Cologne was the centre of the most industrially advanced section of Prussia. To this stage of Marx's life belongs an essay on the freedom of the press. Since he then took for granted the existence of absolute moral standards and universal principles of ethics, he condemned censorship as a moral evil that entailed spying into people's minds and hearts and assigned to weak and malevolent mortals powers that presupposed an omniscient mind. He believed that censorship could have only evil consequences.

On Oct. 15, 1842, Marx became editor of the Rheinische Zeitung. As such, he was obliged to write editorials on a variety of social and economic issues, ranging from the housing of the Berlin poor and the theft by peasants of wood from the forests to the new phenomenon of communism. He found Hegelian idealism of little use in these matters. At the same time he was becoming estranged from his Hegelian friends for whom shocking the bourgeois was a sufficient mode of social activity. Marx, friendly at this time to the "liberal-minded practical men" who were "struggling step-by-step for freedom within constitutional limits," succeeded in trebling his newspaper's circulation and making it a leading journal in Prussia. Nevertheless, Prussian authorities suspended it for being too outspoken, and Marx agreed to coedit with the liberal Hegelian Arnold Ruge a new review, the Deutsch-franzosische Jahrbucher ("German-French Yearbooks"), which was to be published in Paris.

First, however, in June 1843 Marx, after an engagement of seven years, married Jenny von Westphalen. Jenny was an attractive, intelligent, and much-admired woman, four years older than Karl; she came of a family of military and administrative distinction. Her half-brother later became a highly reactionary Prussian minister of the interior. Her father, a follower of the French socialist Saint-Simon, was fond of Karl, though others in her family opposed the marriage. Marx's father also feared that Jenny was destined to become a sacrifice to the demon that possessed his son.

Four months after their marriage, the young couple moved to Paris, which was then the centre of socialist thought and of the more extreme sects that went under the name of communism. There, Marx first became a revolutionary and a communist and began to associate with communist societies of French and German workingmen. Their ideas were, in his view, "utterly crude and unintelligent," but their character moved him: "The brotherhood of man is no mere phrase with them, but a fact of life, and the nobility of man shines upon us from their work-hardened bodies," he wrote in his so-called "konomisch-philosophische Manuskripte aus dem Jahre 1844" (written in 1844; Economic and Philosophic Manuscripts of 1844 [1959]). (These manuscripts were not published for some 100 years, but they are influential because they show the humanist background to Marx's later historical and economic theories.)

The "German-French Yearbooks" proved short-lived, but through their publication Marx befriended Friedrich Engels, a contributor who was to become his lifelong collaborator, and in their pages appeared Marx's article "Zur Kritik der Hegelschen echtsphilosophie" ("Toward the Critique of the Hegelian Philosophy of Right") with its oft-quoted assertion that religion is the "opium of the people." It was there, too, that he first raised the call for an "uprising of the proletariat" to realize the conceptions of philosophy. Once more, however, the Prussian government intervened against Marx. He was expelled from France and left for Brussels--followed by Engels--in February 1845. That year in Belgium he renounced his Prussian nationality.

 

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

หนังสือพิมพ์ไรน์ภายใต้การบริหารของมาร์กซ เคยถูกโจมตีจากหนังสือพิมพ์ออกสเบิร์กคู่แข่ง โดยมุ่งหวังเร่งเร้าให้รัฐบาลปิดหนังสือพิมพ์ไรน์ ในข้อหาเป็นเอกสารคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่หนังสือพิมพ์ไรน์ ลงข่าวการเคลื่อนไหวของกลุ่มสังคมนิยมของฟูริเอร์ ซึ่งเปิดประชุมที่เมืองสตาร์บูร์ก. แนวคิดสังคมนิยมของ ชาร์ล ฟูริเออร์ (Charles Fourier) กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยนั้น โดยเฉพาะแนวคิดในการสร้างชุม ชนอุดมคติที่เรียกว่า ฟาลังสแตร์ (phalanstere) ซึ่งจะมีกรรมสิทธิทั้งหมดเป็นของส่วนรวม ซึ่งบรรดาสมาชิกต่างเป็นเจ้าของ

12-02-2550

Karl Marx
The Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
Name: Karl Marx
Birth: May 5, 1818 (Trier, Prussia)
Death: March 14, 1883 (London, United Kingdom)
School/tradition: Marxism
Main interests: Politics, Economics, class struggle
Notable ideas: Co-founder of Marxism (with Engels), alienation and exploitation of the worker, The Communist Manifesto, Das Kapital, historical materialism
Influences: Kant, Hegel, Feuerbach, Stirner, Smith, Ricardo, Rousseau, Goethe, Fourier
Influenced: Luxemburg, Lenin, Trotsky, Mao, Che Guevara, Georg Lukacs, Antonio Gramsci, Sartre, Debord, Frankfurt School, Negri, many more...