โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 18 July 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๑๐ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (July, 18, 07,.2007) - ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

Foucault's work concerning power, and the relationship between power, knowledge and discourse, has been widely discussed and applied. His work is sometimes described as postmodernist or post-structuralist, although during the 1960s he was more often associated with the structuralist movement. Foucault later distanced himself from structural- ism and always rejected the post-structuralist and postmodernist labels.
18-07-2550

Foucault Reader
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

ปัญญาชนเสรีฝรั่งเศส ผู้ปฏิเสธป้ายฉลากทุกชนิด
Michel Foucault: สำหรับคนอ่านไม่รู้เรื่อง (ปฐมบท)
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
บรรณาธิการเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการเชิงปรัชญาชิ้นนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อนักศึกษาที่เริ่มสนใจ
อ่านงานของ Michel Foucault ซึ่งมีสาระสำคัญตามลำดับต่อไปนี้
- นักประวัติศาสตร์ของปัจจุบันสมัย
- Henri Bergson และ Jean-Paul Sartre
- Litero - Philosophy
- การสิ้นสุดของปรัชญาเชิงวรรณกรรม สู่ปริมณฑลใหม่
- ความมีชื่อเสียงและความเป็นอิสระของ Foucault
- ชีวประวัติ Michel Foucault
- Foucault กับการอธิบายงานทางปรัชญาของตัวเอง
- นักคิดร่วมสมัยกับ Foucault
- การสืบค้นเกี่ยวกับการเกิดขึ้นมาของยุคแห่งเหตุผล
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงเว้นวรรค และย่อหน้าใหม่
เพื่อให้เหมาะสมกับการนำเสนอบนเว็บเพจ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเท่านั้น

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๑๐
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Michel Foucault (October 15, 1926 – June 25, 1984) was a French philosopher and historian.
He held a chair at the College de France, giving it the title "History of Systems of Thought,"
and taught at the University of California, Berkeley. Michel Foucault is best known for his
critical studies of various social institutions, most notably psychiatry, medicine, the human
sciences, and the prison system, as well as his work on the history of sexuality.

Foucault's work concerning power, and the relationship between power, knowledge and discourse,
has been widely discussed and applied. His work is sometimes described as postmodernist
or post-structuralist, although during the 1960s he was more often associated with the structuralist
movement. Foucault later distanced himself from structuralism and always rejected the
post-structuralist and postmodernist labels.

ปัญญาชนเสรีฝรั่งเศส ผู้ปฏิเสธป้ายฉลากทุกชนิด
Michel Foucault: สำหรับคนอ่านไม่รู้เรื่อง (ปฐมบท)
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
บรรณาธิการเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

"ผมไม่เคยเป็นพวก Freudian, ผมไม่เคยเป็นพวก Marxist และผมไม่เคยเป็น structuralist".
Michel Foucault

เกริ่นนำ

Michel Foucault ต้องการที่จะท้าทายการจัดหมวดหมู่หรือการแยกประเภท เขาต้องการที่จะสร้างระเบียบแบบแผนของการเรียนรู้และการคิดขึ้นมาใหม่ เมื่อตอนที่เขาถึงแก่กรรม ซึ่งยังคงอยู่ในช่วงที่รุ่งโรจน์ในเดือนมิถุนายน 1984 เขาได้รับชื่อเล่นเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า "the new Sartre"(ซาร์ทต์ใหม่). โดยการพยายามที่จะรวบรวมปรัชญาและประวัติศาสตร์เข้าด้วยกันอย่างกล้าหาญและเต็มไปด้วยความคิดริเริ่ม เขาได้เริ่มฟื้นฟูปรัชญาตะวันตกขึ้นมาใหม่อย่างหาญกล้า โดยการปลุกเร้าหลายสิ่งหลายอย่างบนท่าทีที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศาสตร์และภาษา, ระบบเกี่ยวกับการลงโทษและระเบียบวินัยของเรา, รวมทั้งความคิดทั้งหลายเกี่ยวกับเรื่องเพศ. ในท้ายที่สุด เขาได้นำเสนอทัศนียภาพใหม่ๆ บนปรากฎการณ์ของอำนาจ และความสัมพันธ์ของอำนาจกับความรู้

ผลงานของ J.G. Merquior เป็นการประเมินเกี่ยวกับ Foucault ในฐานะที่เป็น"นักประวัติศาสตร์แห่งปัจจุบันสมัยคนหนึ่ง"ในเชิงวิพากษ์อย่างอิสระ โดยครอบคลุมงานพิมพ์ทั้งหมดของเขา และขบวนแถวอันน่าประทับใจเกี่ยวกับงานเขียนชั้นที่สองที่เกี่ยวกับ Foucault, มีการประเมินประวัติศาสตร์ในเชิงปรัชญาของเขา และหนี้บุญคุณของเขาซึ่งมีต่อบรรดานักคิด อย่างเช่น Bachelard และ Kune, และได้ให้ภาพร่างความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนของเขาที่มีต่อลัทธิโครงสร้างนิยมของฝรั่งเศส

สำหรับบทความที่เรียกตัวเองว่า"ปฐมบท"ชิ้นนี้ จะนำเสนอเค้าโครงเกี่ยวกับชีวประวัติบุคคลโดยย่อของ Foucault ในฐานะที่เป็นปรมาจารย์ Nietzschean คนหนึ่งของห้วงอารมณ์แบบ neo-anarchist (อนาธิปไตยใหม่)
...............................

The historian of the present
นักประวัติศาสตร์ของปัจจุบันสมัย

ผมไม่เคยเป็นพวก Freudian, ผมไม่เคยเป็นพวก Marxist และ ผมไม่เคยเป็นพวก structuralist
Michel Foucault

ในช่วงที่ Michel Foucault ถึงแก่กรรมในปารีสด้วยอาการเนื้องอกในสมอง เดือนมิถุนายน 1984, Le Monde (English : The World - หนังสือพิมพ์รายวันของฝรั่งเศส) ได้ตีพิมพ์ข่าวมรณกรรมโดย Paul Veyne ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์คลาสสิคที่โดดเด่นและเป็นเพื่อนร่วมงานของ Foucault ที่ the College de France. เขาได้ประกาศว่าผลงานของ Foucault นั้น "เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในเรื่องความคิดแห่งศตวรรษของเรา"(l' evenement le plus important de notre siecle). มีผู้คนเพียงเล็กน้อยที่เห็นด้วยกับคำอวดอ้างของ Paul Veyne แต่กระนั้นก็ตาม อย่างไม่ต้องสงสัย วีรบุรุษของเขาได้ถึงแก่กรรมในฐานะที่เป็นหนึ่งในบรรดานักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุคสมัยอย่างที่หลายคนยอมรับ

Foucault อาจจะไม่เป็นนักคิดที่ยิ่งใหญ่สุดของยุคเรา แต่แน่นอน เขาเป็นศูนย์กลางคนหนึ่งของปรัชญาฝรั่งเศสนับแต่ Sartre เป็นต้นมา มาถึงตอนนี้ วิธีการของชาวฝรั่งเศสเกี่ยวกับการสร้างปรัชญาสมัยใหม่เป็นบางสิ่งบางอย่างที่นานมาแล้ว ซึ่งแตกต่างไปเลยทีเดียวจากสิ่งที่ถูกมองเป็นปกติธรรมดาว่าเป็นมาตรฐานของการปฏิบัติการในโลกของชาวแองโกล-แซคซัน - ซึ่งอย่างน้อยที่สุด มันยังคงเป็นเช่นนั้นเมื่อวานนี้

ปรัชญาของคนที่ใช้ภาษาอังกฤษ"ปกติ"โดยทั่วไป จะมีสไตล์การเขียนเชิงวิชาการและวิธีการเชิงวิเคราะห์ของตัวเอง จุดนี้มันมีคุณค่าควรแก่การเน้นก็เพราะตราประทับต่างๆ ของภาคพื้นทวีปเกี่ยวกับความคิดทางปรัชญาสมัยใหม่ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตในขอบเขตของผู้ที่ใช้ภาษาเยอรมันที่มีลักษณะเป็นไปในทางวิชาการ - บ่อยครั้งในท่าทีที่งุ่มง่าม - เช่นเดียวกับสำเนาที่เทียบเคียงกันกับคนที่ใช้ภาษาอังกฤษโดยปราศจากข้อสงสัย อย่างไรก็ตาม ลักษณะของการวิเคราะห์อย่างเคร่งครัดในความหมายที่ Russell และ Wittgenstein หรือ Ryle และ Austin ปฏิบัติ มันยังคงมีชีวิตอยู่ส่วนใหญ่ในบรรดานักคิดแองโกล-แซคซันทั้งหลาย อย่างเช่น Quine ที่ยังคงทำอยู่. ในทางตรงข้าม, ลักษณะทางปรัชญาอันมีชื่อเสียงในชนชาวฝรั่งเศสได้ดำเนินไปในหนทางที่ไม่ใกล้เคียงกับสิ่งที่กล่าวมานี้เลย

Henri Bergson และ Jean-Paul Sartre

อาจจะพูดได้ว่า ทั้งหมดนั้นเริ่มต้นขึ้นด้วย Henri Bergson ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1859, Bergson เป็นบุคคลร่วมสมัยคนหนึ่งกับผู้ริเริ่มปรัชญาสมัยใหม่ในเยอรมันนี, Edmund Husserl; และคล้ายๆ กับ Hurrserl, เขามีอาชีพสอนหนังสือมาเป็นเวลายาวนาน - แต่ผลงานต่างๆ ของเขากลับงอกงามเพิ่มพูนขึ้นมาในรูปของงานเขียนที่เป็นความเรียง ขณะที่การบรรยายต่างๆ ของเขาได้รับความสนใจโดยผู้คนจำนวนมาก และตัวเขาเองได้กลายเป็นผู้ที่ได้รับการบูชาหรือที่เรียกว่า cult figure คนหนึ่ง ในไม่ช้าไปกว่าที่เขาถึงแก่กรรมลง(ในปี 1941) คุรุทางปรัชญาคนใหม่ด้วยสไตล์การเขียนในเชิงวรรณกรรมอย่างสูงได้ปรากฏตัวขึ้นมาในตัวของ Jean Paul Sartre (1905-1980) ซึ่งถือเป็นดาวเด่นหรือซูปเปอร์สตาร์ที่ปราศจากคู่แข่ง (แม้ว่าจะไม่ถึงกับไม่มีผู้ท้าทาย)เกี่ยวกับความคิดฝรั่งเศสจนกระทั่งถึงทศวรรษที่ 1960s. คล้ายกับ Bergson, เขาได้รวมเอาพรสวรรค์ในเชิงวรรณกรรมอันชาญฉลาด กับความคิดอิสระอย่างไม่มีขีดจำกัดในเชิงทฤษฎีการวิเคราะห์เข้าด้วยกัน. ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือธรรมเนียมปฏิบัติอันมีเสน่ห์ดึงดูดใจในเชิงปรัชญา มากกว่าความแข็งทื่อที่ Foucault เป็นเจ้าของ

Litero - Philosophy

อาจจะไม่เป็นธรรมเอามากๆ ที่จะเสนอแนะว่า ปรัชญาฝรั่งเศสทั้งหมดในคริสตศตวรรษที่ 20 เกิดขึ้นมาจากปฏิบัติการที่หลวมๆ อันมีเสน่ห์ยั่วยวนใจอันนั้น ซึ่งใครบางคนได้ทดลองเรียกมันว่า "litero-philosophy"(ปรัชญาในเชิงวรรณกรรม) แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีวัฒนธรรมทางปรัชญาสมัยใหม่อื่นๆ ที่พวกเราได้พบนักคิดประเภทนี้ที่โดดเด่นขึ้นมาเลย ยิ่งไปกว่านั้น ปรัชญาในเชิงวรรณกรรม(litero-philosophy)ฝรั่งเศส นับเป็นแบบของการผสมผสานกันอันหนึ่งของรูปแบบต่างๆ ที่นานๆ ครั้งมันจึงจะปฏิบัติการออกมาในรูปของวรรณกรรมอย่างชัดเจน อย่างเช่นที่ Nietzsche กล้าที่จะนำเสนอมันออกมา

โดยปกติแล้ว งานทางปรัชญาได้มีการนำเสนอออกมาในแง่มุมของการซักถามอันสุขุมต่างๆ มากกว่า เช่นดังในงานเขียนของ Bergson บางเรื่อง อย่างเช่น Creative Evolution (วิวัฒนาการในเชิงสร้างสรรค์) (1907), หรือแม้แต่ในตำรับตำราอย่าง Being and Nothingness (การมีอยู่และสุญญตา) (1943) ของ Sartre หรือ Phenomenology of Perception (ปรากฏการร์วิทยาเกี่ยวกับการรับรู้) (1945) ของ Merleau Ponty แต่อย่างไรก็ตาม ในสายตาของสาธารณชนเกี่ยวกับความคิดทางปรัชญา มันมักได้รับการนำเสนอขึ้นมาในกรอบงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ (หรือในภาษาเฉพาะอันเคร่งขรึมของทฤษฎีที่เป็นวัฒนธรรมกระแสหลักของชาวเยอรมัน) ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเช่นนั้น

การสิ้นสุดของปรัชญาเชิงวรรณกรรม สู่ปริมณฑลใหม่

มาถึงตรงนี้ จุดการเบี่ยงเบนของ Foucault ดูเหมือนว่าจะไปเชื่อมต่อกับการเปลี่ยนแปลงอันละเอียดอ่อนในเรื่องเกี่ยวกับความรุ่งเรืองของปรัชญาเชิงวรรณกรรม ประหนึ่งว่าหลังจากการยุติลงของลัทธิอัตถิภาวะนิยม(existentialism) ปรัชญาเชิงวรรณกรรมต้องประสบกับยุคแห่งความสงสัยภายใน ซึ่งได้เหวี่ยงให้แบบแผนดังกล่าวเข้าไปสู่ความยุ่งเหยิงค่อนข้างมาก ผลที่ตามมาก็คือ ปรัชญาฝรั่งเศสได้เผชิญหน้ากับทางเลือกอันหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย ระหว่าง

- การเปลี่ยนแปลงตัวของมันเองไปสู่ลักษณะของการวิเคราะห์ หรือ
- มันจะสร้างแบบแผนใหม่อันหนึ่งขึ้นมาสำหรับความอยู่รอดของตัวมันเอง

ในกระบวนการดังกล่าว บรรดานักปรัชญาหนุ่มที่ฉลาดหลักแหลมที่สุดได้เลือกเอาทางเลือกที่สอง. แทนที่จะสร้างปรัชญาขึ้นมาให้มีลักษณะแข็งทื่อเอามากๆ พวกเขาตัดสินใจที่จะทำให้มันมีชื่อเสียงมากขึ้นทางด้านมนุษยศาสตร์ (ยกตัวอย่างเช่น, ทางด้านภาษาศาสตร์, มานุษยวิทยาเชิงโครงสร้าง, การศึกษาต่างๆ ทางด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสกุลการบันทึกเหตุการณ์, จิตวิทยาของ Freudian) เช่นเดียวกับศิลปะและวรรณกรรม avant-garde. ดังนั้นปรัชญาในเชิงวรรณกรรม จึงจัดการกู้ความมีชีวิตชีวาคืนขึ้นมา โดยการผนวกเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่ๆ, ซึ่งหยิบยืมมาจากปริมณฑลทางปัญญาด้านอื่นๆ

ความโดดเด่นในท่ามกลางบรรดานักคิดใหม่ๆ เหล่านี้ก็คือ Michel Foucault และ Jacques Derrida. "ไวยากรณ์ศาสตร์"(Grammatology) ของ Derrida (ภายหลังได้มีการชำระล้างและตั้งชื่อใหม่อีกครั้งว่า "deconstruction" - การรื้อสร้าง) ได้นิยามตัวเองในฐานะที่เป็นการบรรเลงเพลงซ้ำอย่างถึงรากอันหนึ่งเกี่ยวกับทฤษฎีของ Saussure เกี่ยวกับภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง (structural linguistics). ส่วน Foucault เขาหมุนไปสู่ประวัติศาสตร์ แต่ด้วยสายตาที่เฉียบคมสู่ดินแดนที่เป็นกลางอันมีเสน่ห์บางอย่างในอดีตของตะวันตก:

- วิวัฒนาการเกี่ยวกับท่าทีหรือทัศนคติทางสังคมที่มีต่อความบ้า
- ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรากฐานทางการแพทย์สมัยใหม่
- ส่วนที่อยู่ข้างใต้แนวความคิดเกี่ยวกับชีววิทยา, ภาษาศาสตร์, และเศรษฐศาสตร์

ความมีชื่อเสียงและความเป็นอิสระของ Foucault

ในการทำเช่นนั้น Foucault ได้ประสบความมีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว - เทียบเท่ากับนักมานุษยวิทยา Claude Levi-Strauss, นักวิจารณ์ทางวรรณกรรม Roland Barthes, และ นักจิตวิเคราะห์ Jacques Lacan - เกี่ยวกับการเป็น 1 ใน 4 ของ "ลัทธิโครงสร้างนิยม(structuralism)", อันเป็นแนวคิดทางสติปัญญาซึ่งเจริญขึ้นมาท่ามกลางความล่มสลายของ "ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม" ดังนั้น เขาจึงมีส่วนร่วมกับ Derrida ในความเป็นผู้นำของแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม(post-structuralism) นั่นคือ, ความสัมพันธ์ทั้งรักและชังเกี่ยวกับความคิดของพวกโครงสร้างนิยมซึ่งมีอยู่ทั่วไปในวัฒนธรรมของชาวปารีส นับจากช่วงปลายทศวรรษ 1960s เป็นต้นมา

Foucault มีบุคคลิกภาพที่สลับซับซ้อน เกือบจะเรียกว่าเป็นปัญญาชนที่เข้าใจยากคนหนึ่ง. แถลงการณ์ที่รู้จักกันทั่วไปมากที่สุดอันหนึ่งของเขา ยังคงเป็นคำประกาศในเชิงที่เป็นลางสังหรณ์เกี่ยวกับ"ความตายของมนุษย์" ที่ใกล้เคียงกับ Les Mots et les choses, (Words and things: An archaeology of the social sciences is a test written by Michel Foucault published in the Gallimard editions in 1966.) ซึ่งเป็นเรื่องที่เด่นชัดเกี่ยวกับโครงสร้างการรับรู้ ที่นำเขาเข้าไปสู่จุดที่ประชาชนสนใจนับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 60 เป็นต้นมา แต่อย่างไรก็ตาม ความงดงามอันเยียบเย็นเกี่ยวกับของการปลีกตัวของเขาไม่อาจตัดขาดและปกป้องเขาไปจากการหลงใหลใน "แคลิฟอร์เนีย" ในฐานะที่เป็นสวรรค์สำหรับวัฒนธรรมของคนหนุ่มสาว หรือวิถีชีวิตที่ตรงข้ามกับวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ อันที่จริง ไม่ได้ปกป้องเขาจากปฏิบัติการที่เป็นการทำลายหรือให้ร้ายอันโรแมนติคอันหนึ่ง ซึ่งเร่าร้อนรุนแรงเท่ากันกับที่พยายามโดย Herbert Marcuse (หนึ่งในนักคิดแฟรงค์เฟริทสคูล) เกี่ยวกับยุคแห่งเหตุผล(The Age of Reason)ของตะวันตก

ลำพังเกี่ยวกับนักคิดทั้งหลายของแนวคิดโครงสร้างนิยม ได้มีส่วนร่วมปันอย่างเต็มที่-กับจิตวิญญานแห่งเดือนพฤษภาคม 1968,(1) Foucault คือศาสตราจารย์ที่สุภาพคนหนึ่ง ซึ่งได้ให้บทเรียนเกี่ยวกับความฉาวโฉ่น่าอัปยศต่อสถาบันของชาวปารีส ซึ่งได้ทำให้เขากลายเป็นคนสำคัญขึ้นมาโดยการกล่าวคำพูดอย่างเคร่งขรึมว่า "หน้าที่อันดับแรกของคนคุกทั้งหลายก็คือ พยายามที่จะหนีออกจากคุกให้ได้", หรืออีกครั้งโดยการสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อ การฝ่าวงล้อมการปฏิวัติของ อยาโตล่าห์ โคไมนี ในการเผชิญหน้าท้าทายกับความเคร่งครัดในศาสนาของฝ่ายซ้ายทั้งมวล

การกระทำต่างๆ ของเขาเป็นสิ่งซึ่งแปลกประหลาด คล้ายกันมากกับงานเขียนทั้งหลายของเขา ในฐานะนักโครงสร้างนิยมที่เป็นอิสระคนหนึ่งซึ่งไม่ขึ้นกับใคร ค่อนข้างเป็นอิสระเอามากๆ - ดังที่แสดงให้เห็นในคำกล่าวนำในหน้าแรกของหนังสือเล่มนี้ ("ผมไม่เคยเป็นพวก Freudian, ผมไม่เคยเป็นพวก Marxist และผมไม่เคยเป็น structuralist".) - เขาปฏิเสธอย่างทื่อๆ ตรงๆ ต่อป้ายฉลากความเป็นนักโครงสร้างนิยม

บทความปฐมบทนี้ เป็นความเรียงบทต้นของหนังสือชื่อ Foucault ที่เขียนโดย J. G. Merquior ในลักษณะวิพากษ์เกี่ยวกับงานของเขา ซึ่งได้พยายามฝ่าฟันไม่เพียงแต่การให้การพิจารณาที่ตรงไปตรงมาเกี่ยวกับตำราหลักๆ ของเขาทั้งหมดเท่านั้น แต่ยังสำรวจตรวจตราอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับวรรณกรรมของเขาด้วย. ในเวลาเดียวกัน หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนยังพยายามที่จะอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงและแปรผันเกี่ยวกับความคิดของ Foucault จนกระทั่งผลงานต่างๆ ในชิ้นหลังสุดของเขา - งานเขียนชุดสุดท้ายเกี่ยวกับเรื่อง ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องเพศ(History of Sexuality)(1976-1984). ด้วยเหตุนี้ โดยสรุป แสงสว่างในการสำรวจบางอย่างจะฉายลงไปบนจุดยืนสุดท้ายของชายคนนี้ ผู้ซึ่งพยายามอย่างหนักที่จะวางแนวคิด post-structuralism ลงบนพื้นฐานจริยธรรมทางการเมือง(ethico-political ground) ณ จุดที่ห่างออกไปไกลจากจุดกึ่งกลางเนื้อความของแนวคิด deconstruction.
Foucault by J.G.Merquior : Book Description
In this concise, witty critical study, Merquior examines Foucault's work on madness, sexuality, and power and offers a provocative assessment of Foucault as a "neo-anarchist." Merquior brings an astonishing breadth of scholarship to bear on his subject as he explores Foucault using insights from a range of fields including philosophy, sociology, and history. [http://www.amazon.com/Foucault-J-G-Merquior/dp/0520060628]

ชีวประวัติ Michel Foucault

Foucault ถือกำเนิดขึ้นมาใน Poitiers (เมืองที่อยู่ตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส เยื้องไปทางทิศตะวันตก) ในครอบครัวชนชั้นกลาง พ่อของเขาเป็นแพทย์คนหนึ่ง ซึ่งได้ส่งตัวเขาไปเรียนยังโรงเรียนคาธอลิค. โดยในช่วงสิ้นสุดสงคราม Michel หนุ่มได้เป็นนักเรียนกินนอนที่ the Lycee Henri IV ในปารีส ซึ่งเป็นการหนุนให้ตัวของเขาเองในการสอบเข้าไปสู่ the grandes ecoles ของฝรั่งเศส, the Ecole Normale Superieure. ที่นั่น, และที่ the Sorbonne, เขาได้ศึกษาภายใต้การดูแลของ Jean Hyppolite, ผู้แปลและผู้ตีความเกี่ยวกับเรื่อง Phenomenology of Mind ของ Hegel, เช่นเดียวกับภายใต้การสอนของนักประวัติศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์, Georges Canguilhem, และผู้ก่อตั้งลัทธิ structuralist Marxism, Louise Althusser

เขาปรากฏตัวขึ้นมาในฐานะที่เป็น normalien (the French abbreviation for graduates of the ?cole normal sup?rieure - Higher teacher training school)คนหนึ่งตอนอายุ 23, ในปีเดียวกันซึ่งเขาได้รับประกาศนียบัตรทางด้านปรัชญา. เขาได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสท์ แต่ก็แยกตัวออกมาในปี 1951 ภายในปีนั้น. ด้วยความไม่พอใจกับปรัชญา Foucault ผู้ซึ่งมีการศึกษาอย่างเป็นทางการอันหนึ่งในสาขาจิตวิทยา ได้เปลี่ยนความสนใจไปสู่ศาสตร์ที่ว่าด้วยการป่วยทางจิต, ขอบเขตความรู้อันนี้เขาได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มแรกของตัวเองออกมาในชื่อ Maladie Mentale et Psychologie (Psychosis and Psychology) (1954). เป็นเวลาสี่ปีที่เขาสอนหนังสืออยู่ที่แผนกฝรั่งเศสของมหาวิทยาลัย Uppsala, ถัดจากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสถาบันฝรั่งเศสแห่ง Warsaw และ Hamburg. ขณะที่พำนักอยู่ในประเทศเยอรมนี เขาได้จบการค้นคว้าศึกษาอันยาวนานอย่างสมบูรณ์ในเรื่อง "ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความบ้า" ซึ่งทำให้เขาได้รับ doctorat d'etat ของเขา

ในปี ค.ศ.1960 เขาได้กลายเป็นหัวหน้าภาควิชาปรัชญาที่มหาวิทยาลัย Clermont - Ferrand ใน Auvergne, (อยู่ทางตอนกลางค่อนมาทางใต้ของฝรั่งเศส) ที่ที่เขาได้พำนักอยู่ ณ ที่นั้นจนกระทั่งมีชื่อเสียง และได้นำเขามาสู่ปารีส และตามมาด้วยการตีพิมพ์หนังสือในปี 1966 ภายใต้ตราอันมีชื่อเสียงของ Gallimard, เกี่ยวกับเรื่อง Les Mots et les choses (word and thing), การก่อเกิดที่คลาสสิคเกี่ยวกับลัทธิโครงสร้างนิยมในช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด

ช่วงปลายทศวรรษที่ 1960s เขาได้สอนปรัชญาที่มหาวิทยาลัยที่ค่อนข้างก้าวหน้าและล้ำสมัยแห่ง Vincennes และในปี 1970 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ทางด้าน"ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับระบบคิด" ที่ the College de France - ผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาก็คือ Hyppolite. ในช่วงติดๆ กันกับการดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์นั้น Foucault ได้มีงานการบรรยายเป็นจำนวนมากและกิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ: เขาเป็นบรรณาธิการหนังสือรายสัปดาห์ของฝ่ายซ้าย, ในหนังสือ Liberation, ซึ่งได้กระตุ้นการปฏิรูปเกี่ยวกับการลงโทษต่างๆ โดยผ่าน Group d'information sur les Prisons(2), และก้าวมาอยู่ข้างหน้าในการเป็นตัวแทนของขบวนการเคลื่อนไหวของพวกเกย์

ในการสัมภาษณ์นับครั้งไม่ถ้วน เขาได้พิสูจน์ว่าเป็นนักโต้แย้งที่มีความตรงไปตรงมาในลักษณะขวานผ่าซากมากที่สุด จากบรรดาปรมาจารย์ทางด้านลัทธิโครงสร้างนิยมทั้งหมด การวิพากษ์วิจารณ์ของเขาได้ย้อนกลับไปโจมตีอย่างแข็งขันกระฉับกระเฉงต่อ maitres-a-penser (master for thinking) (3) อย่างเช่น Sartre หรือบรรดาผู้ท้าทายคนอื่นๆ ที่หนุ่มกว่า อย่างเช่น Derrida

Foucault กับการอธิบายงานทางปรัชญาของตัวเอง

Foucault ได้อรรถาธิบายงานทางปรัชญาของตัวเองอย่างไร ? ครั้งหนึ่ง, ซึ่งเป็นการตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ของ Sartre, Foucault ได้ไปไกลถึงขนาดเสนอแนะว่า ลัทธิโครงสร้างนิยมเป็นปริมณฑลหนึ่งที่ดำรงอยู่เพียงเพื่อคนนอกทั้งหลาย เพื่อบุคคลเหล่านั้นผู้ซึ่งไม่ได้อยู่ในกลุ่ม. แน่นอน เขาหมายความว่า การมีอำนาจโดยแนวคิดหลักๆ ของคนทั้งสี่ (Claude Levi-Strauss, Roland Barthes, Jacques Lacan, และ Michel Foucault) ซึ่งมีอิทธิพลเหนือความคิดชนชาวฝรั่งเศสในช่วงปี 60 (แนวคิดหลักคนที่ห้าถ้ารวมเอา Louis Althusser เข้าไปด้วย, ปรมาจารย์ทางด้านลัทธิโครงสร้างนิยมใน Partbus Fidelium, ตัวอย่างเช่นใน Marxland), ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดกลุ่มที่เชื่อมโยงสอดคล้องกัน

ในคำกล่าวนำงานเขียนในฉบับภาษาอังกฤษ(1970) เกี่ยวกับสิ่งซึ่งผ่านไปสำหรับหนังสือแบบฉบับโครงสร้างนิยมของเขา, The Order of Things, เขาได้คัดค้านและประท้วงว่า แม้ว่าบรรดานักวิจารณ์ที่โง่เขลาทั้งหลายในฝรั่งเศสจะขนานนามให้เขาว่าเป็น "นักโครงสร้างนิยมคนหนึ่ง" แต่เขาไม่เคยเลยที่จะใช้ระเบียบวิธีการดังกล่าวนั้น หรือแนวความคิด รวมไปถึงศัพท์แสงใดๆ อันเป็นกุญแจสำคัญที่เป็นอัตลักษณ์เกี่ยวกับการวิเคราะห์ของลัทธิโครงสร้างนิยม

แม้กระนั้น อย่างน้อยที่สุดก็มีนิยามแบบ Foucauldian ที่เป็นไปในเชิงบวกเกี่ยวกับลัทธิโครงสร้างนิยม ตามข้อเท็จจริง ณ ช่วงกลางๆ ของหนังสือ The Order of Things เขาเรียกลัทธิโครงสร้างนิยมว่า "ความสำนึกที่กระสับกระส่ายกระวนกระวายเกี่ยวกับความรู้สมัยใหม่". นับแต่นั้นมา บ่อยครั้งทีเดียวที่ Foucault มักจะพูดว่า เป้าประสงค์ของเขานั้นต้องการที่จะเขียน"ประวัติศาสตร์ของปัจจุบันสมัย(the History of Present)". เพื่อค้นหารากฐานในด้านแนวความคิดของความเป็นจริงบางอย่างที่สำคัญในวัฒนธรรมสมัยใหม่ ซึ่งวางสิ่งเหล่านี้ในทัศนียภาพทางประวัติศาสตร์

นั่นคือวัตถุประสงค์ของหนังสือสำคัญหลักๆ ทั้งหมดของ Foucault ซึ่งได้ตีพิมพ์ขึ้นมาในช่วงยี่สิบปีที่เหลือ นับจากเรื่อง Madness and Civilization จนกระทั่งถึง The History of Sexuality, การทำให้เสร็จสมบูรณ์เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ ได้รับการพิมพ์ขึ้นมาภายหลังมรณกรรมของเขา

นักคิดร่วมสมัยกับ Foucault

Foucault เป็นนักคิดและนักเขียนเขียนคนหนึ่ง ซึ่งได้ถึงแก่กรรมในขณะที่ยังคงอยู่ในช่วงวัยกลางคน เกิดในปี 1926, เขาเป็นคนในรุ่นเดียวกันกับ Noam Chomsky (เกิด 1928), Leszek Kolakowski (เกิด 1927), Hilary Putnam (เกิด 1926), และ Ernest Gellner (เกิด 1925). Foucault หนุ่มกว่า John Rawls (เกิด 1921) หรือ Thomas Kuhn (เกิด 1922), และแก่กว่า Jurgen Habermas (เกิด 1929) หรือ Jacques Derrida (เกิด 1930), และแก่กว่า Saul Kripke มาก (เกิด 1940)

บรรดานักคิดเหล่านี้ได้ปรากฏตัวขึ้นมาอย่างที่ยอมรับกัน ฝูงนักคิดที่ผสมผสานกันในความคิดร่วมสมัย แต่ทว่าบุคคลเหล่านี้นับแต่ช่วงกลางของทศวรรษที่ 60 และช่วงต้นทศวรรษที่ 70 ต่างมีความคิดในวิถีทางที่แตกต่างกันอย่างมาก คนเหล่านี้ได้มีการผันแปรทิวทัศน์ในทางปรัชญาไปสู่การท้าทายบุคคลสำคัญต่างๆ ในรุ่นทศวรรษที่ 1900-10 อย่าง Popper, Gadamer และ Quine - ในฐานะที่เป็นผู้ก่อตัวที่สำคัญเกี่ยวกับทัศนียภาพทางความคิดของเรา (นั่นคือ, อยู่นอกเหนือขอบเขตปริมณฑลทางด้านวิทยาศาสตร์)

สำหรับสาธารณชนโดยทั่วไป อย่างน้อนก็ครึ่งหนึ่งของบรรดานักคิดหนุ่มๆ เหล่านี้ได้รับชื่อเสียงกันแล้ว และ Foucault ดูเหมือนว่าจะเป็นอันดับสองรองจาก Chomsky (ซึ่งไม่ใช่ในเรื่องของปรัชญา) ในฐานะความมีชื่อเสียงโด่งดังที่แท้จริงคนหนึ่งท่ามกลางนักคิดหนุ่มๆ ทั้งหลาย, คำถามในที่นี้คือ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?

เหตุผลหลักที่สำคัญเกี่ยวกับ Foucault ดูเหมือนว่าจะวางอยู่บนเนื้อหาเกี่ยวกับผลงานของเขามากทีเดียว. วาทกรรมในเรื่องของอำนาจ และอำนาจของวาทกรรม - เป็นสิ่งซึ่งค่อนข้างน่าสนใจสำหรับปัญญาชนทั้งหลายและในส่วนต่างๆ ของวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์ กับท่าทีที่ยึดเอาความรุนแรงเพิ่มเข้ามา กระนั้นก็ตาม ใครล่ะที่เดือดเนื้อร้อนใจและเหน็ดเหนื่อยกับความเลื่อมใสศรัทธาต่อการปฏิวัติฝ่ายซ้ายเล่า ? บนรากฐานของจำนวนผู้อ่านส่วนใหญ่เกี่ยวกับงานของ Foucault มีการขยายตัวของปัญญาชนและนักวิชาการจำนวนมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วได้เหลือรอดมาจากความเสื่อมสลายของนักศึกษาที่ก่อการปฏิวัติมาโดยตลอดช่วงสิบปีหลังนี้

Michel Foucault เป็นนักปรัชญาคนหนึ่งซึ่งได้วางหลักการเรียนรู้ที่ไม่ธรรมดาขึ้นมา (อะไรคือสิ่งซึ่งนักมนุษยศาสตร์ทุกวันนี้กำลังสนทนากันถึงไวยากรณ์ของ Port-Royal (4), บรรดานักธรรมชาตินิยมก่อน Darwin, หรือเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับระบบนักโทษสมัยใหม่ ?), ของขวัญต่างๆ ที่ไม่ธรรมดาในฐานะที่เป็นนักเขียนคนหนึ่ง และสุดท้ายแต่ไม่ใช่สิ่งซึ่งสำคัญน้อยที่สุด, ทักษะความชำนาญต่างๆ ในเชิงวาทศิลป์และการใช้ภาษาอันน่าทึ่งในการนำเสนอความคิดและข้อสันนิษฐานต่างๆ ซึ่งเป็นที่พอใจอย่างกว้างขวางในบรรดาปัญญาชนในสังคมตะวันตก ซึ่ง Foucault ยึดมั่นอย่างแน่นเหนียวที่จะหลอมรวมความคิดเห็นทั้งหลายเหล่านี้เข้าด้วยกันในเชิงกระบวนการ อันนี้คือสิ่งที่ยังคงเป็นเสาหลักพื้นฐานในความสนใจของเขาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่สำคัญเกี่ยวกับปัจจุบันสมัย

ขอให้เรามาลองร่างภาพ - ในฐานะที่เป็นสมมุติฐานที่เป็นไปได้อันหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เกี่ยวกับความคิดของ Foucault - อัตลักษณ์กว้างๆ เกี่ยวกับโครงการทางปรัชญาของเขา. พวกเราได้เห็นกันมาแล้วถึงคำอธิบายของ Foucault ต่อตัวเขาเองในฐานะนักประวัติศาสตร์คนหนึ่งเกี่ยวกับปัจจุบันสมัย. อันที่จริง สำหรับบรรดานักศึกษาและนักวิชาการจำนวนมากที่สนใจในปรัชญาภาคพื้นทวีป เขาคือนักคิดผู้ซึ่งได้"หลอมรวมปรัชญาและประวัติศาสตร์เข้าด้วยกัน" และได้ทำการพัฒนาอย่างมากในการวิพากษ์วิจารณ์อันปราดเปรื่องเกี่ยวกับอารยธรรมสมัยใหม่

การสืบค้นเกี่ยวกับการเกิดขึ้นมาของยุคแห่งเหตุผล

ในปีหลังๆ ของ Foucault, เขาได้อธิบายโครงการของตัวเองอย่างชัดเจน และบ่อยครั้งเกี่ยวกับ-การวิพากษ์ประวัติศาสตร์-ปรัชญา(historico-philosphical)ของความเป็นสมัยใหม่ โดยเสนอว่า มันประกอบไปด้วยเป้าหมายอันเด่นชัด 2 ประการ:

ประการแรก คือการแยกแยะเงื่อนไขต่างๆ ในทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเกิดขึ้นมาของยุคเหตุผลในสังคมตะวันตก

ประการที่สอง คือการวิเคราะห์เกี่ยวกับช่วงขณะปัจจุบันที่กำลังแสวงหา เพื่อตรวจสอบว่าเรายืนอยู่อย่างไรในปัจจุบัน(how we now stand), การเผชิญหน้ากับรากฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความมีเหตุผล(rationality) ในฐานะที่เป็นจิตวิญญานหรือดวงใจของวัฒนธรรมสมัยใหม่

เขาอธิบายว่า ปรัชญาสมัยใหม่ ส่วนใหญ่แล้วสืบทอดมาจากเจตจำนงที่จะไต่ถามหรือสืบค้นลึกลงไปในการปรากฏตัวขึ้นมาของประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเหตุผล ด้วยเหตุนี้ สาระสำคัญของมันก็คือ, ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเหตุผล(reason), ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับหลักเหตุผล(rationality)ในรูปแบบต่างๆ ที่ยิ่งใหญ่ของวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, และองค์กรทางการเมืองต่างๆ. ในขอบเขตดังกล่าว มันแขวนหรือห้อยอยู่บนคำถามอันลือเลื่องของ Kant ที่ว่า "อะไรคือยุคแห่งความสว่างหรือยุคแห่งพุทธิปัญญา(what is the Enlightenment ? )(1784) ซึ่ง Foucault ได้อ้างถึงในตำรับตำราต่างๆ จำนวนหนึ่ง

ในการมองย้อนกลับไป เขากล่าวว่า ในฝรั่งเศสนับตั้งแต่ Comte คำถามของ Kantian ได้รับการแปลถ่ายทอดไปสู่คำถามที่ว่า "อะไรคือประวัติศาสตร์-ของวิทยาศาสตร์?" ในทางตรงข้าม ในประเทศเยอรมนี ได้รับเอารูปแบบอีกอย่างหนึ่ง: จาก Max Weber มา เกี่ยวกับทฤษฎีในเชิงวิพากษ์ของ Habermas ได้เผชิญหน้ากับปัญหาของความมีเหตุมีผลทางสังคม(social rationality). สำหรับตัวเขาเอง, Foucault มองงานเขียนซึ่งได้รับการตีพิมพ์ต่างๆ ของตนในฐานะที่เป็นการเปลี่ยนแปลงภายในอันหนึ่ง ในความสนใจตามขนบประเพณีของชาวฝรั่งเศสเกี่ยวกับเรื่อง "เหตุผลในฐานะที่เป็นความรู้(reason as knowledge)": "ขณะที่บรรดานักประวัติศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ในฝรั่งเศส โดยสาระแล้ว สนใจในปัญหาเกี่ยวกับว่า"วัตถุ(object)ทางวิทยาศาสตร์ชิ้นหนึ่ง" ได้รับการก่อตัวขึ้นมาอย่างไร, คำถามที่ข้าพเจ้าไต่ถามตัวเองก็คือเรื่องนี้:

ทำไมมนุษย์จึงปฏิบัติกับตัวเองในฐานะที่เป็นวัตถุ(object)ของความรู้ ? และโดยผ่านรูปแบบอะไรเล่า ของหลักการเหตุผลและเงื่อนไขต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ ? และท้ายสุด ด้วยราคาค่างวดหรือค่าตอบแทนเท่าใด ? อันนี้คือคำถามของข้าพเจ้า: ด้วยราคาเท่าใด ที่ตัวตนทั้งหลายสามารถที่จะพูดความจริงเกี่ยวกับตัวของพวกเขาเองออกมา ?"

สำหรับ Descartes อาจจะยังคงจำกันได้กับข้อเท็จจริงที่ว่า มนุษย์สามารถที่จะปฏิบัติกับตัวเองในฐานะที่เป็นวัตถุ ซึ่งแน่นอนก็คือการเริ่มต้นของความรู้ที่เป็นมวลแข็ง. แต่ Faucault แล้ว หรือสำหรับบรรดานักโครงสร้างนิยมทั้งหลาย อันนี้เป็นการคาดการณ์ว่าเป็นจริงโดยไม่มีการสอบสวนแต่อย่างใด. ถ้าเผื่อว่ามันคือสิ่งหนึ่งซึ่งพวกเขาเห็นด้วย, นั่นก็คือความคิดเกี่ยวกับการวางรากฐานอันหนึ่ง นับแต่ที่พวกเขายืนยันว่า มันแสดงนัยถึงสิ่งสำคัญที่สุดของความสำนึกที่โปร่งใส และความไม่สนใจที่อันตรายเกี่ยวกับสิ่งซึ่งลัทธิโครงสร้างนิยมตามหา: นั่นคือ การหลบซ่อน, การตัดสินใจอันไร้สำนึกทางความคิด. ดังนั้น เรื่องราวที่วางอยู่บนรากฐานดังกล่าว - นั่นคือสาระสำคัญอันยิ่งใหญ่ของลัทธิจิตนิยม(idealism), นับจาก Descartes ถึง Hegel - ได้กลายเป็น the bete noire (การหลีกเลี่ยงและเกลียดชัง)ของลัทธิโครงสร้างนิยม

+++++++++++++++++++++++++++++++

- เรียบเรียงจากบทนำของหนังสือ FOUCAULT
เขียนโดย J.G.Merquior (Fontana Modern Master Editor: Frank Kermode)

- หมายเหตุ: สำหรับผู้เริ่มต้น แนะนำให้อ่าน Student's Guide to Michel Foucault
http://en.wikibooks.org/wiki/Student%27s_Guide_to_Michel_Foucault

เชิงอรรถ

(1) May 1968 (in this context usually spelled May '68) is the name given to a series of protests and a general strike that caused the eventual collapse of the De Gaulle government in France. The vast majority of the protesters espoused left-wing causes, but the established leftist political institutions and labor unions distanced themselves from the movement. Many saw the events as an opportunity to shake up the "old society" in many social aspects and traditional morality, focusing especially on the education system and employment.

(2) These two recent French publications document the work of the Group for
Information on Prisons (GIP), which Foucault co-founded and, with his
partner Daniel Defert, was most heavily involved in running. The work of the
GIP has thus far mostly been discussed in hagiographical mode, most
extensively in Foucault's biographies, and in a handful of articles and
unpublished French dissertations. These new publications will hopefully
encourage and facilitate much-needed critical scrutiny.

(3) Maitre a penser is a French language phrase, denoting a teacher whom one chooses, in order to learn not just a set of facts or point of view, but a way of thinking. It translates literally as "master for thinking".

To take a maitre a penser is therefore close to becoming a disciple. The phrase itself can be used to refer to a type of person - an inspirational genius, for example - who naturally would attract followers interested enough to absorb a whole intellectual approach. One could say, "Mr Hahn is my Maitre a penser"; by which one would mean that Mr Hahn is a personal source of inspiration.

A maitre a penser is therefore possibly something like a mentor or guru, with a possibly beneficent approach. A negative effect of such a master might be to close down all other intellectual avenues in a student, imposing some schematic or monolithic approach. Such a master receives the French pejorative maitre-penseur.

(4) โปรดดู http://www.marxists.org/reference/subject/philosophy/works/fr/foucault.htm CHAPTER 2 Discursive Formations.

 

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com