โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 13 July 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๐๕ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (July, 13, 07,.2007) - ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

มาตรา 34 กรณีที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด หรือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ส่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวออกจากพื้นที่ที่กำหนด และห้ามมิให้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่อีกภายในระยะเวลา หรือเงื่อนไขที่กำหนด แล้วให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแจ้งหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดทราบพร้อมด้วยเหตุผล...
13-07-2550

Homeland Security Act
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

รายละเอียดเกี่ยวกับ พรบ.ความมั่นคง ที่สังคมไทยควรพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ...
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
จากเว็บไซต์สถาบันข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ร่าง พรบ. ความมั่นคงฯ ต่อไปนี้รวบรวมขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการพิจารณา
สำหรับประชาชนไทยโดยทั่วไปที่อาจได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ
ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตราที่ 25, 26,
และแสดงให้เห็นถึงอำนาจล้นฟ้าเหนือนายกรัฐมนตรี ในมาตราที่ 29,
รวมทั้งการเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
นับจากขั้นสอบสวนถึงอำนาจศาลปกครองในมาตรา 30, 36
ส่วนมาตราที่ 34 อาจมีผลทำให้ข้าราชการเดือดร้อนกันไปทั่ว
และต้องยอมรับในอำนาจที่ปราศจากการคัดคานของทหาร
พร้อมทั้งมีการอภัยโทษอย่างพร้อมสรรพในมาตราที่ 38
ตกลงเราในฐานะคนไทยทั้งประเทศอยู่ในรัฐประชาธิปไตย
หรือรัฐทหารที่มี ผอ.กอ.รมน. เป็นผู้นำประเทศชาติ
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงเว้นวรรค และย่อหน้าใหม่
เพื่อให้เหมาะสมกับการนำเสนอบนเว็บเพจ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเท่านั้น
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๐๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

รายละเอียดเกี่ยวกับ พรบ.ความมั่นคง ที่สังคมไทยควรพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ...
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
จากเว็บไซต์สถาบันข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

เกริ่นนำ :
ร่าง พรบ. ความมั่นคงฯ ต่อไปนี้รวบรวมขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการพิจารณา สำหรับประชาชนไทยโดยทั่วไปที่อาจได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตราที่ 25, 26, และแสดงให้เห็นถึงอำนาจล้นฟ้าเหนือนายกรัฐมนตรี ในมาตราที่ 29, รวมทั้งการเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม นับจากขั้นสอบสวนถึงอำนาจศาลปกครองในมาตรา 30, 36 ส่วนมาตราที่ 34 อาจมีผลทำให้ข้าราชการเดือดร้อนกันไปทั่ว และต้องยอมรับในอำนาจที่ปราศจากการคัดคานของทหาร พร้อมทั้งมีการอภัยโทษอย่างพร้อมสรรพในมาตราที่ 38 ตกลงเราในฐานะคนไทยทั้งหลายอยู่ในรัฐประชาธิปไตย หรือรัฐทหารที่มี ผอ.กอ.รมน. เป็นผู้นำประเทศ
(กอง บก. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

เริ่มเรื่อง :
หลักการ ให้มีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

เหตุผล โดยที่ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีหลากหลาย มีความรุนแรง รวดเร็วสามารถขยายตัวจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและมีความสลับซับซ้อน จนอาจกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศ และเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน ดังนั้น เพื่อให้สามารถป้องกัน และระงับภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที จึงสมควรกำหนดให้มีหน่วยปฏิบัติงานหลักเพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ตลอดจนบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับทุกส่วนราชการ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรักษาความมั่นคง รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่นของตน เพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยามปกติ และในยามที่เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และกำหนดให้มีมาตรการและกลไกควบคุมการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย และรักษาความมั่นคงของประเทศชาติและประชาชน

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ....."

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

"การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร" หมายความว่า

(1) การดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างปกติสุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมและผืนแผ่นดินไทย ดำรงไว้ซึ่งเอกราชและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตลอดจนให้ประชาชนและทุกๆ องค์กรมีความสามัคคี เข้มแข็งพร้อมที่จะเผชิญภยันตรายต่อความมั่นคงของรัฐที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งในภาวะปกติและภาวะไม่ปกติ

(2) การดำเนินการป้องกันและปราบปราม เพื่อให้สามารถควบคุมสถานการณ์อันเกิดจากการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรให้กลับสู่ภาวะปกติ

"การกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร" หมายความว่า การกระทำใดๆ อันเป็นการมุ่งทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐไม่ว่าจะเป็นการจารกรรมการก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย การก่ออาชญากรรมข้ามชาติ การบ่อนทำลาย การโฆษณาชวนเชื่อ การยุยง การปลุกปั่นการใช้กำลังประทุษร้าย โดยมีเจตนามุ่งหมายให้เกิดความไม่สงบสุขในชีวิตของประชาชน หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ

"หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ

"เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ

"เจ้าพนักงาน" หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 4 การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ต้องดำเนินการโดยมีเอกภาพในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ มีลำดับขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาตามความหนักเบาของสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสมและมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจ มีการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อดำรงไว้ซึ่งความผาสุกของประชาชน สังคม และความมั่นคงของประเทศ

มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด 1
คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน

มาตรา 6 ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในคณะหนึ่ง ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานกรรมการ, ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ และเสนาธิการทหารบกเป็นกรรมการและเลขานุการ

มาตรา 7 ให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(1) กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงภายในของรัฐตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

(2) วินิจฉัยสถานการณ์ เสนอแนะมาตรการ และลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ต่อคณะรัฐมนตรี

(3) กำหนดวิธีการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในตามแผนแม่บท และแผนปฏิบัติการในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

(4) กำกับ ดูแลการจัดทำรายงานประจำปีของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เสนอต่อคณะรัฐมนตรี

(5) ออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

(6) แต่งตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค

(7) แต่งตั้งคณะบุคคล หรือบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน หรือเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้

(8) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

(9) ปฏิบัติการอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจ และหน้าที่ของคณะกรรมการ

มาตรา 8 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในอาจขอให้หน่วยงานของรัฐ บุคคลหรือนิติบุคคลใดแล้วแต่กรณี ส่งเอกสารข้อมูล และชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น

หมวด 2
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

มาตรา 9 ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เรียกชื่อโดยย่อว่า "กอ.รมน." เป็นหน่วยงานในสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มีหน้าที่รับผิดชอบบังคับบัญชาข้าราชการ การดำเนินงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และอนุมัติแผนแม่บทหรือแผนปฏิบัติการในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

มาตรา 10 ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มีบทบาทเป็นองค์กรกลางในการอำนวยการ และประสานการปฏิบัติ ในการนำนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงภายในของรัฐ และวาระเร่งด่วนแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ. การแบ่งงานภายในของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในให้จัดทำเป็นกฎกระทรวง

มาตรา 11 ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มีภารกิจในการวางแผน อำนวยการ ประสานงานและกำกับดูแลการดำเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงภายในของรัฐ ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงในราชอาณาจักร ตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา 12 ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้

(1) ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินแนวโน้มภัยคุกคามด้านความมั่นคงในราชอาณาจักรเพื่อสนับสนุนให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

(2) อำนวยการ ประสานงาน กำกับดูแล และเสริมการปฏิบัติของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการจัดระเบียบความมั่นคงในพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งทางบกและทางทะเลให้เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืน

(3) เสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ ด้วยการผนึกพลังมวลชน รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร และความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ภาคในประเทศ

(4) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา 13 ให้จัดตั้งสำนักเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เรียกโดยย่อว่า "สน.ลธ.รมน." เป็นหน่วยงานภายในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ทำหน้าที่เป็นสำนักงานฝ่ายอำนวยการในการวางแผนอำนวยการ ประสานงาน และกำกับดูแลการปฏิบัติงานในสายงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน โดยมีเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เรียกโดยย่อว่า "ลธ.รมน" เป็นหัวหน้าฝ่ายอำนวยการรับผิดชอบควบคุมการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ทั้งนี้ ให้เสนาธิการทหารบกเป็นเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

มาตรา 14 ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีอำนาจทำนิติกรรม ฟ้องคดี และดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับคดีอันเกี่ยวเนื่องกับภารกิจของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน โดยกระทำในนามของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

หมวด 3
คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค

มาตรา 15 ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค ในกองทัพภาค โดยมีแม่ทัพภาคเป็นประธานกรรมการ มีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด หรือหน่วยงานอื่นตามที่แม่ทัพภาคเห็นสมควร รวมจำนวนกรรมการทั้งสิ้นไม่เกินสิบห้าคน

มาตรา 16 ให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(1) จัดทำแผนปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ในระดับภาค

(2) ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติการของกองอำนวยการรักษาความมั่นภายในภาค

(3) พิจารณาข้อเสนอแนะ และวินิจฉัยวางลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ เสนอต่อคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน

(4) กำหนดแนวทางการส่งเสริม และพัฒนาให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรในระดับภาค

(5) แต่งตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด และคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร

(6) แต่งตั้งคณะบุคคล หรือบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน หรือเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่

(7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

(8) ปฏิบัติการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในมอบหมาย

มาตรา 17 ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคเรียกโดยย่อว่า "กอ.รมน.ภาค" ขึ้นในทุกกองทัพภาค เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน โดยมีแม่ทัพภาคเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เรียกโดยย่อว่า "ผอ.รมน.ภาค" มีหน้าที่รับผิดชอบในงานราชการของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค และมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบบังคับบัญชาข้าราชการ การดำเนินงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เสนอแนะ รายงานผลการดำเนินการ จัดทำแผนงานการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หรือปฏิบัติการอื่นใดตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมอบหมาย

หมวด 4
คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด

มาตรา 18 ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ในแต่ละจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ มีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานของรัฐจากฝ่ายพลเรือน ฝ่ายตำรวจ ฝ่ายทหาร ฝ่ายองค์กรบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคแต่งตั้งอีกจำนวนไม่เกินสามคน รวมจำนวนกรรมการทั้งสิ้นไม่เกินสิบห้าคน

มาตรา 19 ให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) จัดทำแผนปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ในระดับจังหวัด

(2) ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด

(3) พิจารณาข้อเสนอแนะ และวินิจฉัยวางลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ เสนอต่อคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค

(4) กำหนดแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาให้ประชาชนมีส่วนรวมในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ในระดับจังหวัด

(5) เสนอรายชื่อคณะบุคคลหรือบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน หรือเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ ให้กับผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคเพื่อแต่งตั้ง

(6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

(7) ปฏิบัติการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคมอบหมาย

มาตรา 20 ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เรียกโดยย่อว่า "กอ.รมน.จว." เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เรียกโดยย่อว่า "ผอ.รมน.จว." มีหน้าที่รับผิดชอบในงานราชการของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด และมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบบังคับบัญชาข้าราชการ การดำเนินงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เพื่อจัดระเบียบความมั่นคงในจังหวัด รวมทั้งการปฏิบัติงานตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคมอบหมาย

หมวด 5
คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร

มาตรา 21 ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ มีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานของรัฐจากฝ่ายพลเรือน ฝ่ายตำรวจ ฝ่ายทหาร ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเสนอให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่งแต่งตั้งอีกจำนวนไม่เกินสามคน รวมจำนวนกรรมการทั้งสิ้นไม่เกินสิบห้าคน

มาตรา 22 ให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(1) จัดทำแผนปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

(2) ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร

(3) พิจารณาข้อเสนอแนะ และวินิจฉัยวางลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ เสนอต่อคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่ง

(4) กำหนดแนวทางการส่งเสริม และพัฒนาให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

(5) เสนอรายชื่อคณะบุคคล หรือบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานหรือเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ ให้กับผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่ง เพื่อแต่งตั้ง

(6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

(7) ปฏิบัติการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่งมอบหมาย

มาตรา 23 ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานครเรียกโดยย่อว่า "กอ.รมน.กทม." เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่ง โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า "ผอ.รมน.กทม." มีหน้าที่รับผิดชอบในงานราชการของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจ เพื่อจัดระเบียบความมั่นคงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งการปฏิบัติงานตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่งอบหมาย

หมวด 6
การแก้ไขสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

มาตรา 24 เมื่อปรากฏว่ามีการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีภารกิจในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร และให้มีอำนาจบังคับบัญชาหน่วยงานของรัฐ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับ ยับยั้งการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร การฟื้นฟู และการช่วยเหลือประชาชน

ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลเป็นเจ้าพนักงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร และอาจมีคำสั่งแต่งตั้งคณะบุคคล หรือบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน หรือเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร
ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในอาจมอบหมายให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค หรือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด หรือกรุงเทพมหานครเป็นผู้ใช้อำนาจตามวรรคสองแทน และให้ถือว่าเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง

ให้หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุน หรือกระทำการใดๆ เมื่อได้รับการร้องขอจากเจ้าพนักงาน

มาตรา 25 ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อให้การกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรยุติลงได้โดยเร็ว หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุร้ายแรงมากขึ้น ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีอำนาจออกข้อกำหนดดังต่อไปนี้

(1) ห้ามบุคคลใดนำอาวุธที่กำหนดในกฎกระทรวงออกนอกเคหสถาน

(2) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

(3) ห้ามมิให้มีการชุมนุม หรือมั่วสุมกัน ห้ามการแสดงมหรสพ ห้ามการโฆษณา เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นการชักชวนหรือยั่วยุให้มีการกระทำความผิดตามกฎหมาย

(4) ห้ามให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น

(5) ให้บุคคลใดนำอาวุธที่กำหนดในกฎกระทรวงมามอบไว้เป็นการชั่วคราวตามความจำเป็นโดยการส่งมอบ การรับมอบ และการดูแลรักษาอาวุธดังกล่าวให้กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่เห็นสมควร

(6) ให้เจ้าของกิจการ หรือผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในกิจการ หรือการจัดการทุจริต ซึ่งมีพนักงาน หรือลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการ หรือการจัดการธุรกิจ จัดทำและเก็บประวัติและแจ้งการย้ายเข้า การย้ายออก การเลิกจ้าง และแจ้งพฤติการณ์ของบุคคลดังกล่าวให้เจ้าพนักงานทราบ

(7) ออกคำสั่งให้การซื้อขายใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งอาจใช้กระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรต้องรายงาน หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกำหนด

(8) ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรง หรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดยด่วน ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของทหารให้มีอำนาจเช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ โดยการใช้อำนาจหน้าที่ของทหารจะกระทำได้เพียงใดให้เป็นไปตามเงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่ากรณีที่มีการใช้กฎอัยการศึก

ข้อกำหนดตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน หรือมอบหมายให้เจ้าพนักงานกำหนดพื้นที่ และรายละเอียดอื่นเพิ่มเติม เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้

เมื่อการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรยุติลง ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในประกาศยกเลิกข้อกำหนดตามมาตรานี้โดยเร็ว

มาตรา 26 เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้มีประสิทธิภาพ ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในออกประกาศให้เจ้าพนักงาน
มีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) จับกุม และควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใดๆ อันจะทำให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับการกระทำเช่นว่านั้น

(2) ดำเนินการปราบปรามบุคคล กลุ่มบุคคล หรือกลุ่มองค์กรที่ก่อให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

(3) ออกหนังสือสอบถาม หรือออกคำสั่งเรียกบุคคลใดมารายงานตัวต่อเจ้าพนักงาน หรือมาให้ถ้อยคำ หรือส่งมอบเอกสาร หรือหลักฐานใด เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

(4) ตรวจค้น บุคคล ยานพาหนะ เคหสถาน สิ่งปลูกสร้าง หรือสถานที่ใดๆ ตามความจำเป็นเมื่อมีเหตุสงสัยตามสมควรว่ามีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาจากการกระทำความผิด หรือได้ใช้ หรือจะใช้ในการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

(5) เข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใดๆ เพื่อตรวจค้น เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีบุคคลที่ต้องสงสัยว่าจะก่อให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรหลบซ่อนอยู่ หรือมีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาจากการกระทำความผิด หรือได้ใช้ หรือจะใช้ในการกระทำเช่นว่านั้นหรืออาจใช้เป็นพยานหลักฐานลงโทษผู้กระทำผิดได้ เมื่อมีเหตุอันเชื่อได้ว่าหากไม่รีบดำเนินการบุคคลนั้นจะหลบหนี หรือทรัพย์สินจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม

(6) ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เอกสาร หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

ในการตรวจค้นตาม (4) หรือ (5) ให้ข้าราชการฝ่ายพลเรือนตั้งแต่ระดับ 3 หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรี หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป เป็นหัวหน้าในการตรวจค้น และหากดำเนินการไม่แล้วเสร็จให้สามารถกระทำการในเวลากลางคืน หรือนอกเวลาทำการปกติของสถานที่นั้นได้เท่าที่จำเป็น เพื่อให้การกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรยุติลง หรือป้องกันมิให้เกิดการกระทำเช่นว่านั้น

ในการตรวจค้นตาม (4) หรือ (5) ให้เจ้าพนักงานแสดงความบริสุทธิ์ก่อนเข้าตรวจค้น และให้จัดทำรายงานเหตุผล และผลของการตรวจค้นเป็นหนังสือรายงานต่อผู้บังคับบัญชา และจัดทำเหตุผลในการตรวจค้นเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้ครอบครองเคหสถาน หรือสถานที่ที่ตรวจค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองสถานที่ในเวลาที่ตรวจค้นให้เจ้าพนักงานส่งมอบสำเนาหนังสือนั้นแก่ผู้ครอบครองทันทีที่สามารถกระทำได้

ในการตรวจค้นตาม (4) เจ้าพนักงานต้องไม่กระทำการอันมีลักษณะเป็นการข่มขู่ และให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ในการตรวจค้นตาม (5) ให้เจ้าพนักงานร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจ หรือศาลอาญาเพื่อขออนุญาตดำเนินการ เว้นแต่จะมีเหตุอันควรได้เชื่อว่าหากไม่รีบดำเนินการเอกสาร หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม ให้เจ้าพนักงานดำเนินการค้นยึด หรืออายัดเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้โดยไม่ต้องมีหมาย แต่ต้องดำเนินการตามวิธีการค้นในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และจะดำเนินการในเวลากลางคืนมิได้ เว้นแต่เป็นเวลาทำการปกติของสถานที่นั้นสำหรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้กำลังทหาร

มาตรา 27 ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยตามประกาศในมาตรา 26(1) ให้เจ้าพนักงานร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจ หรือศาลอาญาเพื่อขออนุญาตดำเนินการ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้วให้เจ้าพนักงานจับกุม และควบคุมตัวได้ไม่เกินเจ็ดวัน และต้องควบคุมไว้ในสถานที่ที่กำหนดไว้ซึ่งไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขังทัณฑสถาน หรือเรือนจำ โดยจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขกระทำกันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานร้องขอต่อศาล เพื่อขยายระยะเวลาการควบคุมตัวต่อได้อีกคราวละเจ็ดวัน แต่รวมระยะเวลาควบคุมตัวทั้งหมดต้องไม่เกินกว่าสามสิบวัน เมื่อครบกำหนดแล้วหากจะควบคุมตัวต่อไปให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานจัดทำรายงานเกี่ยวกับการจับกุม และควบคุมตัวบุคคลนั้นเสนอต่อศาลที่มีคำสั่งอนุญาตตามวรรคหนึ่ง และจัดทำสำเนารายงานนั้นไว้ ณ ที่ทำการของเจ้าพนักงานเพื่อให้ญาติของบุคคลนั้นสามารถขอดูรายงานดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่ควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้

การร้องขออนุญาตต่อศาลตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการขอออกหมายอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 28 ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งตามมาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 27 เมื่อมีผลใช้บังคับแล้วให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย

มาตรา 29 เมื่อการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น หรือการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรเกิดจากการก่อการร้ายที่มีความรุนแรงหรือการก่อการร้ายสากล ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในรายงานสถานการณ์ต่อนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีมอบภารกิจในการแก้ไขสถานการณ์ให้กับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยทันที

มาตรา 30 เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมข่าวสาร หรือป้องกันการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด หรือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานร่วมฟังการสอบสวน หรือเรียกสำนวนการสอบสวนคดีอาญามาตรวจดูได้

การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากอยู่ในอำนาจการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานเข้าร่วมฟังการสอบสวน หรือเรียกสำนวนการสอบสวนคดีอาญามาตรวจดูได้

มาตรา 31 ในกรณีที่มีการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ต้องหาคนใดได้กระทำความผิดดังกล่าวเพราะหลงผิด หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือมีเหตุที่ไม่สมควรดำเนินคดีกับผู้ต้องหาคนใด ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนสำหรับผู้ต้องหาคนนั้น พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

ถ้าผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเห็นชอบด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวน ว่าไม่สมควรดำเนินคดีกับผู้ต้องหา ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาปฏิบัติแทนการถูกฟ้องคดีโดยให้ผู้ต้องหาดังกล่าวเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน และจะกำหนดเงื่อนไขให้มารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นครั้งคราวตามที่กำหนดภายหลังการอบรมแล้วด้วยก็ได้ แต่จะกำหนดระยะเวลาที่ให้มารายงานตัวเกินหนึ่งปีไม่ได้

การกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาปฏิบัติแทนการฟ้องคดีตามวรรคสอง จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้ต้องหายินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว และเมื่อผู้ต้องหาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้ว จะฟ้องเป็นผู้ต้องหาสำหรับการกระทำที่ต้องหานั้นอีกไม่ได้

มาตรา 32 การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรต้องใช้มาตรการที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของบุคคลที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุด โดยให้คำนึงถึงการปกป้อง คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นหลัก

มาตรา 33 การใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการลบล้างอำนาจของฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึกษาหรือตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ได้ประกาศไว้

มาตรา 34 กรณีที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด หรือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ส่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวออกจากพื้นที่ที่กำหนด และห้ามมิให้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่อีกภายในระยะเวลา หรือเงื่อนไขที่กำหนด แล้วให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแจ้งหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดทราบพร้อมด้วยเหตุผล

เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับคำสั่งให้ออกจากพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ไปรายงานตัวยังหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัด ในการนี้ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าสังกัดดำเนินการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หรือพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง

มาตรา 35 เมื่อปรากฏว่ามีการกระทำใดๆ ที่อาจกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือพบว่ามีการกระทำความผิดอาญาที่อาจเชื่อมโยง หรือเกี่ยวพันกับการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานแจ้งให้หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าพนักงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว

มาตรา 36 ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่งหรือการกระทำตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

มาตรา 37 เจ้าพนักงาน และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าหนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ในการระงับ หรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมายหากเป็นการกระทำที่สุจริตไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

มาตรา 38 การปฏิบัติของเจ้าพนักงานในการปราบปรามตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และเป็นการกระทำอันจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ ในกรณีที่เจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ พิการ หรือสูญเสียอวัยวะ นอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนดแล้วให้ได้สิทธิประโยชน์ตามคำสั่ง ระเบียบ และประกาศของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังด้วย

หมวด 7
บทกำหนดโทษ

มาตรา 39 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตาม มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 27 หรือ ขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 26 มาตรา 27 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หมายเหตุ - รายละเอียดร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ..... นี้ ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 ได้เห็นชอบในหลักการ และเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนนำเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป



 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com