โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 28 Jun 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๒๙๐ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐ (June, 28, 06,.2007) - ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

อย่างไรก็ดี แม้ว่าภาครัฐจะไม่สามารถผูกขาดความคิดเห็น และข่มชุดความคิดของภาคประชาชนได้ แต่สิ่งที่ภาครัฐที่มีฐานความคิดเดิมทำได้และกำลังทำอยู่คือ การยึดกุมหรือการผูกขาดในทางปฏิบัติ โดยถือเป็นอำนาจหน้าที่และสิทธิขาดของภาครัฐเท่านั้น และนี่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งของการต่อสู้ในกระบวนการนโยบายสาธารณะของภาคประชาชน นั่นคือ ความยากลำบากในการผลักดันชุดความคิดของตน (ซึ่งสามารถถกเถียงกับชุดความคิดเดิมได้อย่างทัดเทียมกันแล้ว) ให้ไปสู่ชุดของการปฏิบัติการจริงในวงกว้าง ภายใต้การกำกับดูแลร่วมกันของคนในสังคม
28-06-2550

Empowerment
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

พลังงาน: งานที่มีพลัง - เพื่อความยั่งยืนของระบบพลังงานไทย
เจริญ วัดอักษร: กับนโยบายสาธารณะด้านพลังงาน
เดชรัต สุขกำเนิด : เขียน
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทความวิชาการนี้ กองบรรณาธิการได้รับมาจากผู้เขียน
ซึ่งเป็นผลงาน
รวบรวมบทความวิชาการ เพื่อความยั่งยืนของระบบพลังงานไทย
ในชื่อ: พลังงาน งานที่มีพลัง อันเป็นคำที่ยืมมาจากชื่อของชั้นเรียนหนึ่ง
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕
บทความเกือบทั้งหมด เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อคอลัมน์พลังงานน่ารู้
ประจำนิตยสารโลกสีเขียว โดยเฉพาะในบทความแรกนี้ ผู้เขียนได้อุทิศให้กับ
การจากไปของเจริญ วัดอักษร นักสู้สามัญชนซึ่งหาญต่อสู้กับมาเฟียพลังงาน
การต่อสู้ของคุณเจริญ, ชาวบ่อนอก และบ้านกรูดทุกท่าน
ถือเป็นหลักกิโลเมตรที่สำคัญของการทำลายการผูกขาดพลังอำนาจความรู้
ซึ่งเคยถูกยึดกุมโดยองค์กรรัฐมาตลอด
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงเว้นวรรค และย่อหน้าใหม่
เพื่อให้เหมาะสมกับการนำเสนอบนเว็บเพจ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเท่านั้น

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๒๙๐
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๙ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

พลังงาน: งานที่มีพลัง - เพื่อความยั่งยืนของระบบพลังงานไทย
เจริญ วัดอักษร: กับนโยบายสาธารณะด้านพลังงาน
เดชรัต สุขกำเนิด : เขียน
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


คำนำ
จากจุดเริ่มต้นในการคัดค้านโครงการพลังงานที่ทำลายวิถีชีวิตของชาวบ้าน เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ทุกวันนี้ พลังงานกำลังเป็นงานที่เปี่ยมไปด้วยพลังจริงๆ

- เป็นพลังแห่งการสร้างสรรค์ของภาคส่วนต่างๆ ที่ตั้งใจมุ่งมั่นจะปรับเปลี่ยนนโยบายพลังงานให้ตอบสนองต่อความยั่งยืน
และอยู่บนฐานของความพอเพียงในสังคมไทย

- เป็นพลังที่มุ่งสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ในเชิงนโยบาย และการปฏิบัติการ เพื่อให้ระบบพลังงานไทย
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชีวิตผู้คนมากขึ้น

- เป็นพลังที่มุ่งตรวจสอบความไม่โปร่งใส และการผูกขาดของธุรกิจพลังงานขนาดยักษ์ที่ยังแฝงเร้นอยู่ในระบบพลังงานไทย

แน่นอนว่า พลังแห่งความสร้างสรรค์ดังกล่าว มิได้เกิดขึ้นโดยปราศจากแรงหรือพลังต่อต้านจากผู้ที่ผูกขาดและกุมผลประโยชน์ในระบบพลังงานอยู่ ในทางตรงกันข้าม พลังแห่งความสร้างสรรค์นั้นจำเป็นต้องต่อสู้ ขับเคี่ยว และในบางครั้งก็ต้องร่วมไม้ร่วมมือกับอำนาจที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การผลักดันอย่างไม่ย่อท้อ ก็กลายเป็นกำลังสำคัญให้มีการตรวจสอบการตัดสินใจต่างๆ ของรัฐอย่างเข้มงวด จนกระทั่งมีการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อดึงให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกลับมาเป็นของแผ่นดินอีกครั้งหนึ่ง

ขณะเดียวกัน พลังแห่งความสร้างสรรค์ดังกล่าว ก็มีส่วนช่วยผลักดันให้พลังงานหมุนเวียนได้ก้าวขึ้นมาสู่จุดที่มีกำลังการผลิต 1,000 เมกะวัตต์ในปีพ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่ประมาณ 7 ปีก่อนหน้านั้น รัฐบาลของเรายังไม่เชื่อเสียด้วยซ้ำว่า ประเทศไทยของเราจะมีศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนถึง 1,000 เมกะวัตต์

เอกสารรวบรวมบทความวิชาการเล่มนี้ เป็นความพยายามเล็กๆ ในการจับภาพความเคลื่อนไหวแห่งพลังที่สร้างสรรค์สังคมไทยดังกล่าว เพื่อให้เกิดการชวนคิด ชวนคุย และการขยายผล ขยายพลังแห่งความสร้างสรรค์ต่อไป เอกสารเล่มนี้ แม้จะเป็นเพียงเล่มเล็ก ก็คงจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนและแรงบันดาลใจจากหลายๆ ฝ่าย

คำว่า "พลังงาน: งานที่มีพลังงาน" เป็นคำที่ยืมมาจากชื่อของชั้นเรียนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2545. บทความเกือบทั้งหมด เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อคอลัมน์พลังงานน่ารู้ ประจำนิตยสารโลกสีเขียว ผู้เขียนต้องขอขอบคุณนิตยสารโลกสีเขียว ที่เปิดโอกาสให้ผู้เขียนต้องขบคิดและจับภาพความเคลื่อนไหวของงานที่มีพลัง ทุกๆ รอบ 2 เดือน

นอกจากนี้ ความตั้งใจเรียนอย่างกระตือรือล้น ของนิสิตชั้นปีที่ 3 ของภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร ในวิชาเศรษฐศาสตร์พลังงานชีวภาพ ก็เป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้ผู้เขียนรวบรวมบทความต่างๆ ขึ้นมาเป็นเอกสารเล่มนี้

ผู้เขียนขอขอบคุณทิพย์ กระติ๊บ แดนไท และคุณพ่อ-คุณแม่สำหรับแรงสนับสนุนด้วยดีเสมอมา และผู้เป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญที่สุดคือ ประชาชนที่ต้องต่อสู้ และใช้สิทธิ เพื่อปกป้องวิถีชีวิตของพวกเขาไว้อย่างสุดความสามารถ ด้วยกระบวนการทางปัญญา ที่นำพาให้สังคมไทยได้เรียนรู้และขบคิด ในค้นหาแนวทางการพัฒนาระบบพลังงานที่ยั่งยืนกว่าเดิม หนึ่งในจำนวนนั้นคือ คุณเจริญ วัดอักษร นักสู้แห่งบ้านบ่อนอก เพื่อต่อสู้เพื่อความถูกต้องจนชีวิตหาไม่

หวังว่า พลังแห่งความสร้างสรรค์จะมั่นคงและเพิ่มพูนตลอดไป เพื่อความงอกงามและร่มเย็นในสังคมไทย

พฤษภาคม 2550
ขอขอบคุณ : มูลนิธิโลกสีเขียว มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และสถาบันระบบสาธารณสุข

หากเอกสารเล่มนี้มีคุณความดีใดๆ ต่อสังคมไทย ผู้เขียนขออุทิศคุณความดีทั้งหมดนั้นแด่
คุณเจริญ วัดอักษรนักสู้แห่งบ้านบ่อนอก ผู้ร่วมจุดประกายนโยบายสาธารณะด้านพลังงาน
เพื่อความยั่งยืนในสังคมไทย

เจริญ วัดอักษร: กับนโยบายสาธารณะด้านพลังงาน
(ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารโลกสีเขียว กันยายน-ตุลาคม 2547)

หากย้อนหลังกลับไปเมื่อประมาณ ๗ ปีก่อน (ประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๐) ผมคิดว่าคงมีคนไทยเพียงไม่กี่คนที่ทราบว่า การวางแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้า หรือการรับซื้อไฟฟ้าเอกชนนั้นทำกันอย่างไร และการตัดสินใจดังกล่าวมีผลต่อค่าไฟฟ้าหรือค่า Ft ที่ผู้บริโภคต้องจ่ายอย่างไร รวมถึงคงไม่มีใครให้ความสนใจว่า กระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีความรอบคอบและถูกต้องมากน้อยเพียงใด

อาจกล่าวได้ว่าในห้วงเวลานั้น ภาคประชาชนของเราหรือสังคมไทยตกอยู่ในความมืดบอดของกระบวนการตัดสินใจสาธารณะที่ดำเนินการโดยรัฐ แม้ว่าการตัดสินใจนั้นจะมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อตนเองก็ตาม ปัจจุบัน ความมืดบอดดังกล่าว เริ่มถูกแทนที่ด้วยความเข้าใจที่กระจ่างชัดถึงกระบวนการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจดังกล่าว และความมุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนการเหล่านั้นไปสู่กระบวนการที่มีความรอบคอบ มีความเป็นธรรม และการเปิดให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง

รูปธรรมที่เห็นได้ชัดคือ การขึ้นค่าไฟฟ้าแต่ละครั้งจะต้องถูกสังคมตรวจสอบ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแบบเดิมไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมอีกต่อไป การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าและแผนพัฒนากำลังการผลิตของการไฟฟ้าฯ ถูกวิพากษ์วิจารณ์และเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาพลังงานทางเลือกกำลังขยายตัว และได้รับความสนใจจากสังคมไทยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

พัฒนาการของความรู้และความเข้าใจทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเกี่ยวพันกับการต่อสู้ของคนเล็กๆ หรือคนที่ไม่มีอำนาจใดๆ ในสังคมไทย โดยเฉพาะคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีสำคัญเป็นอย่างมากต่อพัฒนาการดังกล่าวคือ ชาวบ่อนอก และชาวบ้านกรูด รวมถึงชาย ผู้หนึ่งจากบ้านบ่อนอกที่ชื่อว่า "เจริญ วัดอักษร"

คอลัมน์พลังงานน่ารู้จะขอร่วมรำลึกถึงคุณงามความดีของ "เจริญ วัดอักษร" ผู้จุดประกายความรู้และความเข้าใจกระบวนการนโยบายสาธารณะด้านพลังงานให้กับสังคมไทย โดยการประมวลพัฒนาการของกระบวนการนโยบายสาธารณะด้านพลังงานจากการต่อสู้ของภาคประชาชน และการวิเคราะห์ความท้าทายต่างๆ ที่รอพวกเราอยู่เบื้องหน้า ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมกันสานต่อเจตนารมณ์ของคุณ "เจริญ วัดอักษร" ให้ดำรงและงอกงามในสังคมไทย

จุดเริ่มต้นของการต่อสู้
การต่อสู้ของชาวบ่อนอกและชาวบ้านกรูด เริ่มเป็นที่รับทราบของสังคมไทยตั้งแต่การปิดถนนเพชรเกษมประท้วงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๐

การต่อสู้ในครั้งนั้นก็คล้ายคลึงกับการต่อสู้ของภาคประชาชนในที่อื่นๆ คือ การแสดงจุดยืนของความไม่เห็นด้วยในการนำทรัพยากรของตน ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน น้ำ สัตว์น้ำ หาดทราย และอากาศบริสุทธิ์ ไปใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้า และสร้างผลกำไรของคนอีกกลุ่มหนึ่ง
การต่อสู้ในเบื้องต้นจึงถือเป็นการต่อสู้กับการเอารัดเอาเปรียบในการจัดสรรทรัพยากรในสังคม ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ตนเองได้มีโอกาสสืบทอดวิถีชีวิตของตนเองต่อไป

จากความพยายามในการแสดงจุดยืนของชาวบ่อนอก-บ้านกรูด ไม่ว่าจะโดยการยื่นหนังสือต่อหน่วยราชการต่างๆ การติดป้ายประท้วง หรือการปิดถนนประท้วง ในช่วงระยะหนึ่ง ก็ทำให้ชาวบ่อนอก-บ้านกรูด ได้รับรู้ถึงปัญหาในกระบวนการนโยบายสาธารณะอีกระดับหนึ่ง นั้นคือ การครอบงำการตัดสินใจของภาครัฐ โดยอาศัยกระบวนการและข้ออ้างทางเทคนิคต่างๆ หรืออาจเรียกว่า เป็นการข่มกันในการใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อชาวบ้านแสดงความกังวลถึงผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมของตน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะอ้างถึงรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว เมื่อชาวบ้านถามถึงความจำเป็นในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะอ้างถึงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า และเมื่อชาวบ้านถามถึงความเหมาะสมของสถานที่ตั้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็อ้างถึงวิสัยทัศน์ของการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก ที่กำหนดให้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นแหล่งพลังงานและอุตสาหกรรมหนัก

ข้อเรียกร้องต่างๆ ของชาวบ่อนอกและบ้านกรูดจึงเป็นหมัน แต่แทนที่ชาวบ่อนอกและชาวบ้านกรูดจะหมดกำลังใจ ชาวบ่อนอกและบ้านกรูดกลับดิ้นรนยกระดับการต่อสู้ของตน มาสู่การต่อสู้กับการใช้เหตุผลข่มกันของภาครัฐ ซึ่งการต่อสู้ดังกล่าวจะกระทำได้ก็โดยผ่านการวิเคราะห์และตรวจสอบการใช้เหตุผลของภาครัฐ และการนำเสนอเหตุผลที่เหมาะสมกว่าสำหรับสังคมไทย

และนี่คือ จุดเริ่มต้นและพลังสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ และความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับกระบวนการนโยบายสาธารณะด้านพลังงานอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในสังคมไทยของเรา

การเรียนรู้ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ
ชาวบ่อนอกและชาวบ้านกรูดเริ่มต้นกระบวนการเรียนรู้ของตน โดยการนำคำตอบที่ได้รับจากหน่วยงานต่างๆ มาทำการวิเคราะห์ร่วมกัน โดยพิจารณาถึงความสมเหตุสมผลของข้อกล่าวอ้างต่างๆ และสภาพความจริงที่พวกตนได้รับรู้ (เช่นความสมบูรณ์ของทรัพยากรในพื้นที่ หรือกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เกินพอ) ร่วมกับนักวิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ จนนำมาสู่ข้อค้นพบต่างๆ มากมายที่กำลังพลิกโฉมนโยบายสาธารณะด้านพลังงานในปัจจุบัน

ข้อค้นพบแรก ที่สั่นสะเทือนวงการสิ่งแวดล้อมเมืองไทยคือ ความไม่ถูกต้องของรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการไม่พบปะการังที่บ้านกรูด หรือการไม่พบปลาวาฬที่บ่อนอกก็ตาม) ข้อค้นพบดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำให้ต้องมีการแก้ไขรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมในสองโครงการนี้เท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลของระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จนนำมาสู่การปฏิรูประบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖

ข้อค้นพบที่สอง คือการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าที่ผิดพลาด โดยมีการคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงเกินจริง ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเกินกว่าความต้องการ และกลายเป็นต้นทุนส่วนเกินที่ผู้บริโภคทุกคนจะต้องจ่ายผ่านทางค่า Ft ในแต่ละเดือน

ข้อค้นพบนี้ได้นำไปสู่การถกเถียงทางวิชาการถึงความเหมาะสมของ วิธีการ และข้อสมมติต่างๆ ในการพยากรณ์ และกลายเป็นเวทีถกเถียงในระดับนโยบายที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๔ จนในที่สุดในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐบาลก็เลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองออกไป และมีการทบทวนการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า รวมถึงนโยบายการลดการใช้พลังงานในช่วงความต้องการสูงสุด (หรือที่รัฐมนตรีพลังงานท่านเรียกว่า Cut peak) ในปัจจุบัน ก็เป็นผลส่วนหนึ่งมาจากการถกเถียงในเวทีนี้เช่น
กัน

ข้อค้นพบที่สองนี่ยังกลายเป็น "ภาพต่อ" หรือจิกซอว์ตัวสำคัญที่นำไปสู่ความเข้าใจเรื่องวงจรหายนะของการวางแผนภาคพลังงานไทยกล่าวคือ วงจรดังกล่าวเริ่มต้นจาก

(ก) การพยากรณ์เกินความเป็นจริง ซึ่งนำมาสู่
(ข) ภาระการลงทุนที่ไม่จำเป็น (คือหลีกเลี่ยงได้) และทำให้เกิด
(ค) การกระตุ้นให้มีการใช้พลังงานจากกำลังการผลิตที่ได้ลงทุนไปแล้ว ซึ่งก็จะย้อนมาสู่การใช้พลังงานที่ไม่ประสิทธิภาพ การพยากรณ์ที่เกินจริง และการลงทุนที่ไม่จำเป็นอีกต่อหนึ่ง

ข้อค้นพบนี้นอกจากจะทำให้เกิดความเคลื่อนไหวที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการวางแผนพลังงานของไทยแล้ว เมื่อผนวกกับข้อเท็จจริงเรื่องภาระที่ผู้บริโภคต้องจ่ายค่า take-or-pay จากโครงการท่อก๊าซไทย-พม่า ยังมีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า การลงทุนใดๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ดีต่อระบบเศรษฐกิจ มาสู่ความจริงที่ว่า "การลงทุนที่ไม่จำเป็นถือเป็นภาระของระบบเศรษฐกิจ"

ข้อค้นพบที่สำคัญประการสุดท้าย
คือการชี้ให้เห็นว่า การตัดสินใจในการวางแผนพลังงานของไทย มิได้เกิดมาจากการวิเคราะห์ทางเลือกอย่างรอบด้าน พลังงานทางเลือกทั้งหลายล้วนมิได้อยู่ในกรอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ในการวางแผนกำลังการผลิตแต่ละครั้ง

แม้ว่าในระยะเริ่มต้น ข้อเรียกร้องของชาวบ่อนอกและบ้านกรูดที่ให้พิจารณาถึงทางเลือกอื่นๆ ที่มีความยั่งยืนมากกว่าในการผลิตพลังงาน จะถูกจำกัดเป็นให้เป็นการถกเถียงทางเทคนิคว่า พลังงานทางเลือก มีความเป็นไปได้ทางปฏิบัติหรือไม่ อย่างไรก็ดี ต่อมาไม่นาน ข้อเรียกร้องดังกล่าวก็ได้พัฒนามาสู่ความตื่นตัวในเชิงนโยบายการพัฒนาพลังงานทางเลือก และการพัฒนานโยบายพลังงานทางเลือกในปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ในที่สุด

การเรียนรู้ของชาวบ่อนอกและบ้านกรูด ร่วมกับภาคประชาสังคมต่างๆ ในสังคมไทย ได้ทำลายการผูกขาดทางวิชาการ (ซึ่งหมายถึง การข่มกันในการใช้เหตุผลของภาครัฐ) ในการกำหนดนโยบายและวางแผนพลังงานลง และได้นำสังคมไทยเข้าสู่กระบวนการไตร่ตรองทางนโยบายอย่างครบถ้วนรอบด้านมากขึ้น แทนที่จะปล่อยให้เป็นไปตามการตัดสินใจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่เพียงอย่างเดียว เหมือนที่ผ่านมา

การทำลายการผูกขาดในการใช้เหตุผล และการมีส่วนร่วมกันในการไตร่ตรองนโยบายที่จะมีผลกระทบต่อสาธารณะอย่างรอบด้านคือ เงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของกระบวนการนโยบายสาธารณะในสังคมประชาธิปไตย

ความเคลื่อนไหวในปัจจุบัน
วันนี้ วงล้อแห่งการเรียนรู้และการผลักดันนโยบายสาธารณะทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่คุณเจริญ วัดอักษร ชาวบ่อนอก-บ้านกรูด และคนเล็กคนน้อยทั้งหลายในสังคมไทยได้เริ่มผลักดันกันมา ยังคงหมุนต่อไป และกำลังก้าวเข้าสู่อีกขั้นตอนหนึ่งหรืออีกระดับหนึ่งของการต่อสู้ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ

วันนี้ไม่มีใครเถียงกันแล้วว่า เราจำเป็นต้องปรับปรุงระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้โปร่งใส และเปิดให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นธรรม นักวิชาการสิ่งแวดล้อมทั้งหลายต่างจับมือกันในการปรับปรุงระบบดังกล่าวอย่างเอาจริงเอาจัง โดยรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง จนนำมาสู่ข้อสรุปร่วมกัน แต่ก็ยังไม่มีใครทราบว่า ภาคการเมืองจะตัดสินใจอย่างไร และการปฏิรูปดังกล่าวจะมีผลในทางปฏิบัติเมื่อไร

วันนี้ ไม่มีใครเถียงกันอีกแล้วว่าประเทศไทยจะต้องพัฒนาพลังงานทางเลือกของเราขึ้นมา (โดยเฉพาะในยุคน้ำมันแพง) และเรามีศักยภาพที่จะทำได้จริงตามที่ชาวบ่อนอก-บ้านกรูดเสนอกันไว้จริงๆ รัฐบาลเองก็ได้ตั้งเป้าหมายการพัฒนาพลังงานทางเลือกไว้อย่างชัดเจนเช่นกัน

อย่างไรก็ดี รูปธรรมในทางปฏิบัติจะเป็นเช่นไร ยังเป็นสิ่งต้องต่อสู้กันต่อไป การกำหนดแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ (หรือ PDP2004) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ยังกำหนดเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกไว้ต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาล และการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกยังผูกติดกับการขยายตัวของโรงไฟฟ้าแบบเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (ฟอสซิล) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หากไม่มีการขยายตัวของโรงไฟฟ้าแบบเดิมก็ไม่มีการขยายตัวของพลังงานทางเลือก

วันนี้ไม่มีใครเถียงกันอีกแล้วว่า การลงทุนที่เกินความจำเป็นจะเป็นภาระต่อเศรษฐกิจของประเทศ (นายกรัฐมนตรีเองก็ยังบอกว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ลงทุนเกินความจำเป็นไปสี่แสนล้านบาท) แต่การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าก็ยังเกินกว่าความเป็นจริงเสมอมา แม้กระทั่ง ล่าสุดในปีนี้ ก็ยังพยากรณ์คลาดเคลื่อนไป ๒๐๐ กว่าเมกะวัตต์ แต่การไฟฟ้าฯก็ปฏิเสธที่จะปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของตน

วันนี้ไม่มีใครเถียงกันอีกแล้วว่า การวางแผนพลังงานจะต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมกันในการพิจารณาอย่างรอบด้าน แต่แผนทางเลือกในการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าที่ภาคประชาชนเสนอเข้ามาผ่านทางสภาที่ปรึกษาฯ (ซึ่งน่าจะช่วยลดภาระในการลงทุนของสังคมไทยได้หลายแสนล้านบาท) ก็ยังไม่มีเวทีสำหรับการพิจารณาเปรียบเทียบกันอย่างจริงจัง กับแผนพัฒนากำลังการผลิตที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ทำขึ้นมา

ความท้าทายสำหรับอนาคต
จากวันนั้น เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๐ มาถึงวันนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ กระบวนการเรียนรู้ที่คุณเจริญและคนเล็กคนน้อยทั้งหลายได้ร่วมพัฒนากันขึ้นมา ได้กลายเป็น "ชุดความคิด" ที่สามารถใช้อธิบายในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านพลังงาน โดยไม่ถูกใครๆ ในสังคม "ข่ม" ได้ง่ายๆ อีกต่อไปแล้ว

อย่างไรก็ดี แม้ว่าภาครัฐจะไม่สามารถผูกขาดความคิดเห็น และข่มชุดความคิดของภาคประชาชนได้ แต่สิ่งที่ภาครัฐที่มีฐานความคิดเดิมทำได้และกำลังทำอยู่คือ การยึดกุมหรือการผูกขาดในทางปฏิบัติ โดยถือเป็นอำนาจหน้าที่และสิทธิขาดของภาครัฐเท่านั้น และนี่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งของการต่อสู้ในกระบวนการนโยบายสาธารณะของภาคประชาชน นั่นคือ ความยากลำบากในการผลักดันชุดความคิดของตน (ซึ่งสามารถถกเถียงกับชุดความคิดเดิมได้อย่างทัดเทียมกันแล้ว) ให้ไปสู่ชุดของการปฏิบัติการจริงในวงกว้าง ภายใต้การกำกับดูแลร่วมกันของคนในสังคม

คำอธิบายนี้น่าจะใช้ได้กับกรณี พรบ. ป่าชุมชน พรบ.สุขภาพแห่งชาติ การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน และอื่นๆ อีกมาก ซึ่งภาครัฐเองก็มิได้มีการถกเถียงต่อสู้ทางความคิดอีกแล้ว (เพราะคงจะปฏิเสธชุดความคิดเหล่านี้ไม่ได้) แต่ความคิดเหล่านี้ก็ยังถูกภาครัฐ "ดองเค็ม" เอาไว้เฉยๆ เพื่อไม่ให้มีผลทางปฏิบัติ หรือขยายตัวต่อไป

ทั้งนี้ มิได้หมายความว่า การต่อสู้ในระดับของชุดความคิดจะจบลงอย่างถาวร ดังจะเห็นได้ว่า ทุกๆ ฤดูร้อน จะมีผู้แทนของหน่วยงานรัฐออกมาประกาศว่ามีการทำลายสถิติ ความต้องการไฟฟ้าสูงสด เพื่อหาความชอบธรรมในการขยายกำลังการผลิตใหม่ต่อไป แบบไม่สิ้นสุด ยิ่งไปกว่านั้น การถูกปิดกั้นมิให้มีการขยายตัวในการปฏิบัติตามชุดความคิดใหม่ ยังถือเป็นการบอนไซชุดความคิดของภาคประชาชนโดยทางอ้อมอีกด้วย

การสืบทอดเจตนารมณ์ของคุณเจริญ วัดอักษร ในห้วงเวลานี้ จึงเป็นการสืบทอดกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ่อนอกและบ้านกรูด เพื่อต่อรองและแปรกลไกการปฏิบัติที่อยู่ในมือของภาครัฐที่มีฐานความคิดเดิม ให้มาอยู่ในการกำกับดูแลของสังคมให้มากที่สุด ขณะเดียวกัน ก็ต้องเพิ่มพูนขีดความสามารถของภาคประชาชน (รวมถึงนักวิชาการ นักศึกษา และองค์พัฒนาเอกชน) ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติดังกล่าวแทนหรือร่วมกับภาครัฐ

การวางแผนพลังงานระดับท้องถิ่น การนำเสนอแผนทางเลือกในการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า การประเมินผลกระทบโดยภาคประชาชน การสร้างนโยบายพลังงานทางเลือก ล้วนเป็นตัวอย่างของปฏิบัติการทางสังคมที่จะแปรชุดความคิดไปสู่การปฏิบัติในวงกว้างยิ่งขึ้น และมีการดำเนินการกันอยู่อย่างจริงจังในปัจจุบัน

แม้ว่า ขั้นตอนที่ภาคประชาชนกำลังเผชิญอยู่นี้จะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่คุณเจริญและชาวบ่อนอก-บ้านกรูดได้บุกเบิกมา ย่อมเป็นแสงสว่างนำทางพวกเรา ให้มองเห็นเป้าหมายและทิศทางที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน เมื่อ ๗ ปีที่แล้ว

ไปสู่สุคติเถิด "เจริญ วัดอักษร" ภารกิจที่เหลืออยู่ พวกเราจะสานต่อเอง

(บทความนี้เขียนขึ้นตั้งแต่ปี พศ. ๒๕๔๗)

 

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com