โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา


Update: 5 April 2007
Copyleft2007
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of this license
document, but changing it is not allowed.
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๒๐๑ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ (April, 05,04,.2007)
R

ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย
ชุดโครงการวิจัย "มาเลเซีย: นัยที่สำคัญต่อไทย"
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)


ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันประเทศมาเลเซีย มีบทบาทสำคัญในเวทีเศรษฐกิจและการเมืองของภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง นอกจากนี้ประเทศมาเลเซียยังมีกลุ่มชาติพันธ์ ภูมิประเทศ และวัฒนธรรมคล้ายกับภาคใต้ของไทย จากความสำคัญของมาเลเซียในด้านต่างๆ พบว่ายังขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมาเลเซียปัจจุบัน ทั้งด้านด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดจนนโยบายด้านต่างๆ ของมาเลเซียที่กระทบกับประเทศไทย เช่น แรงงาน ชนกลุ่มน้อย การปลูกพืชน้ำมัน เป็นต้น

สกว. ในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ที่มีภารกิจในการสนับสนุนการวิจัย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย เพื่อการกำหนดท่าทีของประเทศไทย ทั้งในเชิงเพื่อนบ้าน คู่ค้า และคู่แข่ง จึงประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยแบ่งโจทย์การวิจัยออกเป็น 2 ระดับ คือ

1. โจทย์วิจัยเพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย โลกทัศน์และวิธีคิด ของกลุ่มคนต่างๆ ในมาเลเซียปัจจุบัน

2. โจทย์วิจัยเพื่อสร้างความรู้ในหัวข้อเฉพาะ เช่น นโยบายรายสินค้า แรงงาน การลงทุน การค้า การนำเข้าและการส่งออก การจัดการศึกษา นโยบายด้านวัฒนธรรม

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศมาเลเซียในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีภูมิวัฒนธรรมใกล้เคียงกับประเทศไทย

2. เพื่อศึกษาแนวนโยบายของประเทศมาเลเซีย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมวัฒนธรรม และนโยบายระหว่างประเทศ ที่มีนัยสำคัญต่อประเทศไทย อันจะนำไปสู่การกำหนดท่าทีของประเทศไทยในการดำเนินโยบายต่อประเทศมาเลเซีย

กรอบโจทย์วิจัย

ด้านเศรษฐกิจ
1. ศึกษานโยบายรายสินค้า ที่มีปริมาณการค้าขายสูงหรือมีความสำคัญสูง ระหว่าง 2 ประเทศ
(เช่น รถยนต์ ข้าว น้ำมันปาล์ม ยางพารา และสินค้าอื่นๆ) โดย

- ศึกษาสถานภาพของ อุตสาหกรรมนั้นๆ ภายในประเทศมาเลเซียเองและ
- ศึกษามาตรการกีดกันทางการค้า และผลในทางปฏิบัติ เช่น มาตรการ NTB ที่มาเลเซียกำหนดขึ้นต่อสินค้าสำคัญ

2. ศึกษาการลงทุนจากมาเลเซียในจังหวัดภาคใต้ของไทย เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กิจการโรงแรม และสถานบันเทิง

3. ศึกษาคุณลักษณะของมาเลเซีย ที่ทำให้มาเลเซียสามารถประกอบธุรกรรมการค้า ในฐานะคนกลางได้ ทั้งที่ไม่มีวัตถุดิบ เช่น อาหารฮาลาล ศูนย์กลางการเงินอิสลาม และกิจกรรมเช่นนี้จะเกิดผลกระทบต่อไทยอย่างไรในอนาคต

4. ศึกษาสถานการณ์และผลกระทบของการจัดตั้ง duty free ตามแนวชายแดนไทย- มาเลเซีย

5. ศึกษาการทำงานของ "กระทรวงพัฒนาผู้ประกอบการ" ของมาเลเซีย ว่ามีผลกับการสร้างผู้ประกอบการอย่างไร

7. ศึกษาการเป็น "outsource services" ของมาเลเซีย ( ซึ่งกล่าวว่าเป็นอันดับ 3 ของโลก )

การเมือง
1. ศึกษาบทบาทของมาเลเซียที่อาจจะเป็นไปได้ต่อการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ของไทย

2. ศึกษาพัฒนาการของความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศ ในด้านการเมืองและความมั่นคง (ซึ่งเคยมีอยู่ตั้งแต่สมัย จคม.)

3. ศึกษาปัจจัยภายในต่างๆ ของมาเลเซียเองที่มีผลต่อนโยบาย และวิธีปฏิบัติต่อต่างประเทศของมาเลเซีย

4. ศึกษาความสัมพันธ์และการดำเนินนโยบาย 3 ประเทศ ระหว่างไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ในบริบทอาเซียน โดยมีโลกมุสลิมเป็นแกน และจะส่งผลกระทบต่อไทยอย่างไรในอนาคต

5. ศึกษาการเมืองท้องถิ่น และบทบาทของผู้นำท้องถิ่น เช่น มุขมนตรี ของรัฐภาคเหนือของมาเลเซีย เช่น กลันตัน ตรังกานู เคดาห์

6. ศึกษานโยบายของรัฐบาลมาเลเซีย ต่อมลรัฐชายแดนไทย - มาเลเซีย และศึกษาแนวคิดของมลรัฐทางเหนือของมาเลเซียต่อไทย และต่อชุมชนชาวไทยพุทธในมาเลเซีย

7. ศึกษาบทบาทของมาเลเซียในฐานะผู้นำโลกมุสลิม

8. ศึกษาเรื่องคน 2 สัญชาติ ว่ามีมากน้อยเพียงไร และอะไรเป็นแรงจูงใจที่ทำให้มี 2 สัญชาติ

สังคม วัฒนธรรม
1. ศึกษานโยบาย และมาตรการของมาเลเซีย ที่ทำให้คนอยู่ร่วมกันได้ในสังคม ระหว่างเชื้อชาติต่างๆ
ได้แก่ มลายู อินเดีย จีน (ตั้งแต่มีการจลาจลเมื่อปี 1969)

2. ศึกษาโลกทัศน์ ประวัติศาสตร์ ของคนมาเลเซียมุสลิมตั้งแต่เด็ก และเยาวชน ว่ามีมุมมองเกี่ยวกับโลกมุสลิม (Malay world) ในแหลมมลายูอย่างไร รวมถึงการเข้ามาของคนมลายูในภูมิภาคนี้ (ศึกษาผ่าน ตำรา แบบเรียนของนักเรียนมุสลิมในมาเลเซีย หนังสือ ทั้งที่ตีพิมพ์ในภาษามาเลเซีย ภาษาอังกฤษ และภาษามลายู)

3. ศึกษา best practices ของมาเลเซียในการบริหารสังคมพหุลักษณ์

- รูปแบบ/หลักสูตร การจัดการศึกษาพื้นฐานของมาเลเซียเพื่อจรรโลงสังคมพหุลักษณ์ (ศึกษาผ่านตำราแบบ เรียน หลักสูตร) การศึกษาในระดับมลรัฐ กลันตัน ตรังกานู

- ศึกษาคุณลักษณะของระบบการศึกษาในระดับต่างๆ ของมาเลเซีย เช่น
โรงเรียนปอเนาะสมัยใหม่, national type school (จีน อินเดีย อังกฤษ) รวมถึงการศึกษาในระดับมลรัฐ กลันตัน ตรังกานู หรือการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเช่น International Islammic university

4. ศึกษาแนวทาง Islamization ในมาเลเซีย ว่ามีแนวทางการสร้างและใช้ประโยชน์อย่างไร ตลอดจนการ positioning ตัวเองเป็นมุสลิมสายกลาง และสมัยใหม่

5. ศึกษามุมมองของนักวิชาการมาเลเซียที่มีต่อประเทศไทย

6. ศึกษา "โอกาส" ของคนเชื้อสายมลายูในมาเลเซีย เปรียบเทียบกับคนไทยเชื้อสายมลายูในภาคใต้ของไทย เช่น โอกาสทางการศึกษา การประกอบอาชีพทางเกษตร การเป็นผู้ประกอบการ สวัสดิการแรงงาน และการเมืองท้องถิ่น รวมทั้งโอกาสเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น

7. ศึกษากลุ่มลัทธิต่างๆ ในมาเลเซียว่ามีแนวคิด และการดำเนินการอย่างไร และรัฐบาลมาเลเซียมีมาตรการอย่างไรต่อกลุ่มเหล่านี้ ตอลดจนได้ผลอย่างไร

8. ศึกษาคนไทยในรัฐทางเหนือของมาเลเซีย ว่ามีบทบาทอย่างไร (ทั้งด้านสังคมและการเมือง)

9. ศึกษาความเปลี่ยนแปลงในอินเดีย เช่นการแยกประเทศอินเดีย - ปากีสถาน ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศอื่นๆ รวมทั้งมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ตลอดจนการเกิดกลุ่มขบวนการต่างๆ เช่น JI และ ดะวะห์ ในระยะต่อมา

ขอบเขตการวิจัย
เลือกศึกษาเป็นรายพื้นที่ระดับรัฐ หรือศึกษานโยบายทั้งประเทศ

นักวิจัยเป้าหมาย

1. นักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อให้ได้งานวิจัยในแง่มุมใหม่ๆ โดยเริ่มจากโครงการขนาดเล็กก่อน
2. นักวิจัยรุ่นกลาง เพื่อให้ได้งานวิจัยที่นำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายรายสาขา
3. นักวิจัย / นักศึกษา จากมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพและอยู่ใกล้ชายแดนไทย - มาเลเซีย

ระยะเวลาโครงการ ไม่เกิน 12 เดือน

แนวทางในการการใช้ประโยชน์

1. นำเสนอข้อเท็จจริงเชิงเปรียบเทียบต่อสาธารณชน ในรูปแบบของการจัดประชุมวิชาการ
2. นำเสนอข้อสรุปของงานวิจัยในรูปบทความ ซึ่งจะได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปหนังสือต่อไป
3. จัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการกำหนดท่าทีต่อประเด็นต่างๆ

การดำเนินการ
นักวิจัยผู้สนใจส่งข้อเสนอโครงการ หรือเอกสารเชิงหลักการ ตามกรอบโจทย์ข้างต้น และเสนอมายัง สกว. ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2550
(โดยกรุณาเขียนตามแบบเขียนข้อเสนอโครงการดังตัวอย่างข้างล่าง)
หรือ downloud จาก www.trf.or.th หัวข้อประกาศทุนใหม่ และนำส่งมาที่

ฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ
ชั้น 14 อาคร SM TOWER
สามเสนใน พญาไท กรุงเทพ 10400
Email : [email protected], [email protected]

ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย
ติดต่อสอบถามที่ คุณมนันยา แสงพันธุ์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-2980455 ต่อ 8217 หรือ ที่ [email protected]

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ

ชุดโครงการ "มาเลเซีย : นัยที่สำคัญต่อไทย
ข้อเสนอโครงการวิจัยเรื่อง .............................................................
เสนอต่อ สกว. ฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ ( ฝ่าย 1 )

 

1. ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) .............................................................................................................................................
(ภาษาอังกฤษ) ................................................................................................................................................................
คำสำคัญ .......................................................................................................................................................................
keywords .................................................................................................................................................................

2. ชื่อหัวหน้าโครงการ หน่วยงานสังกัด ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และ e-mail

ชื่อ-สกุล...................................(ภาษาไทย)…นาย/นาง/นางสาว................................................................
ชื่อ-สกุล..................................(ภาษาอังกฤษ).............................................................................................
คุณวุฒิ.....................................................................................................................................................
ตำแหน่ง (ทางวิชาการ/ราชการ)...............................................................................................................
หน่วยงาน .................................................................ภาควิชา..................................................................
ที่อยู่ .......................................................................................................................................................
โทรศัพท์/โทรสาร ....................................................E-mail.................................................................
ลงนาม (ลายเซ็น).....................................................................................................................................

3. ชื่อและสถานที่ติดต่อของนักวิจัย หน่วยงานสังกัด ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และ email

ชื่อ-สกุล………(ภาษาไทย)…นาย/นาง/นางสาว...................................................................................
ชื่อ-สกุล………(ภาษาอังกฤษ)...............................................................................................................
คุณวุฒิ................................................................................................................................................
ตำแหน่ง (ทางวิชาการ/ราชการ)..........................................................................................................
หน่วยงาน..........................................................ภาควิชา.....................................................................
ที่อยู่ ...................................................................................................................................................
โทรศัพท์/โทรสาร.............................................E-mail.....................................................................
ลงนาม (ลายเซ็น)..................................................................................................................................

4. ชื่อและสถานที่ติดต่อของผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานของหัวหน้าโครงการ

ชื่อ-สกุล..................................................................(ภาษาไทย)…นาย/นาง/นางสาว................................................................................
ตำแหน่ง..................................................................................................................................................................................................
หน่วยงาน .................................................................. ภาควิชา................................................................................................................
ที่อยู่ .......................................................................................................................................................................................................
โทรศัพท์/โทรสาร ..................................................................

5. ได้เสนอโครงการนี้ หรือโครงการที่มีส่วนเหมือนกับเรื่องนี้บางส่วนเพื่อขอทุนต่อแหล่งอื่นที่ใดบ้าง
o ไม่ได้เสนอต่อแหล่งทุนอื่น
o เสนอต่อ ....................................................................................................................................
o ชื่อโครงการที่เสนอ ...................................................................................................................
o กำหนดทราบผล (หรือสถานภาพเท่าที่ทราบ) .............................................................................

6. งบประมาณทั้งโครงการ ..................................................................บาท
จาก สกว. ............................................................................................บาท
จากหน่วยงานร่วมโครงการ .................................................................บาท

7. ระยะเวลาดำเนินงาน...............เดือน

เสนอต่อ สกว. เมื่อวันที่............................................................................

ลงนาม .......................................................................... ผู้เสนอโครงการ

รายละเอียดของข้อเสนอโครงการ

1. บทสรุปย่อสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ความยาวประมาณ 10- 15 บรรทัด
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................

2. ความเป็นมาและความสำคัญของเรื่อง (ในกรณีที่เป็นโครงการหนึ่งภายใต้ชุดโครงการของ สกว. ควรระบุความสอดคล้องกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของชุดโครงการด้วย ) นอกจากนี้ควรระบุผลงานที่ผู้อื่นได้ทำมาแล้ว ซึ่งเป็นพื้นฐานของแนวคิดหรือการทำวิจัยเรื่องดังกล่าว
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................

3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
(การเขียนวัตถุประสงค์ ควรเขียนให้สอดคล้องกับชื่อเรื่อง และเหมาะสมกับกิจกรรมที่จะดำเนินการ เพื่อให้สามารถใช้วัตถุประสงค์เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ)

1. ..............................................................................................................
2. ..............................................................................................................
3. ..............................................................................................................

4. กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยแต่ละข้อ

4.1 แผนกิจกรรมหลักที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รวมทั้งผลลัพธ์ (Output) ที่คาดว่าจะได้รับ

โดยมีตัวอย่างการเขียนแผนกิจกรรม ดังนี้

หมายเหตุ จำนวนวันที่ใช้เป็นการคาดการณ์จำนวนเวลาที่จะต้องดำเนินการจริง โดยเทียบ 1 วันเท่ากับ 8 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามท่านต้องคำนึงถึงงานประจำที่ท่านมีความรับผิดชอบอยู่ด้วย

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละช่วงระยะเวลา (แบ่งเป็นราย 6 เดือน หรือราย 3 เดือน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาโครงการ )

โดยมีตัวอย่างการเขียนผลงานในแต่ละช่วง ดังนี้

6. แนวทาง/ขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับสมมุติฐานการวิจัย พื้นที่ที่ศึกษา และวิธีการวางแผนการดำเนินงานรวมทั้งวิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) วิธีการเก็บข้อมูล ฯลฯ
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อการดำเนินงานเสร็จสิ้นที่เป็นรูปธรรม และตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................

8. กระบวนการผลักดันผลงานดังกล่าวออกสู่การใช้ประโยชน์
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................

9. ผลงานที่ส่งต่อ สกว. (ผลงานสมบูรณ์ที่ใช้ในการตรวจรับงาน)
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................

10. งบประมาณของโครงการ สกว. แบ่งงบประมาณออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ

10.1 ค่าตอบแทนนักวิจัย (ตามเกณฑ์ของ สกว.)............................................................
10.2 ค่าจ้าง................................................................................................................
10.3 ค่าใช้สอย...........................................................................................................
10.4 ค่าวัสดุ..............................................................................................................
10.5 ค่าครุภัณฑ์.........................................................................................................
10.6 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ....................................................................................................

11. แผนการใช้งบประมาณ ให้กำหนดเป็นราย 6 เดือน (ทั้งนี้จำนวนงวดจะปรับเปลี่ยนตามระยะเวลาโครงการ)
โดยสอดคล้องกับกิจกรรมที่ระบุไว้ในข้อ 4 และ 5

ตัวอย่างการเขียนงบประมาณ (กรุณาใช้ Excel )

ประวัติบุคคล


ชื่อ-นามสกุล(ภาษาไทย).............................................................................................
(ภาษาอังกฤษ) ..........................................................................................................
เพศ..................................................
วัน เดือน ปีเกิด..........................................................................................................

ตำแหน่งปัจจุบัน (อาจารย์, ผศ., รศ., ศ., ตำแหน่งทางราชการ).............................................................................................
สถานที่ติดต่อ (ที่ทำงาน).....................................................................................................................................................
โทรศัพท์/โทรสาร .................................................................................................................................................
E-mail - address..............................................................................................................................................

ที่อยู่ (ที่บ้าน) .................................................................................................................................................
โทรศัพท์/โทรสาร.........................................................................................................................................
เงินเดือนปัจจุบัน ............................................................................................................................................

ประวัติการศึกษา (ปริญญาตรี - เอก ; สาขา และสถาบัน)
.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................

ผลงานวิจัย
. ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ

.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................

. ผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................
. ผลงานอื่นๆ เช่น ตำรา บทความ สิทธิบัตร ฯลฯ

.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................

รางวัลผลงานวิจัยที่เคยได้รับ

.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ (สามารถตอบได้มากว่า 1 สาขา)

.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................

ภาระงานในปัจจุบัน
1. งานประจำ ...........................................................................................................................

2. งานวิจัยที่รับผิดชอบในปัจจุบัน
.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................

รายละเอียดงบประมาณในหมวดต่างๆ ตามเกณฑ์ของ สกว.

1. ค่าตอบแทน หมายถึง ค่าตอบแทนที่ให้แก่นักวิจัย (เป็นไปตามเกณฑ์ของ สกว.) การคำนวณจะอิงกับคุณวุฒิ ประสบการณ์ ลักษณะงานวิจัย บทบาทของนักวิจัย และภาระงาน ทั้งนี้ สกว. จะพิจารณาตามเอกสารรายละเอียดประวัติที่เสนอมายัง สกว.

2. ค่าจ้าง ได้แก่ ค่าจ้างเพื่อทำงานในส่วนที่นักวิจัยไม่ควรเสียเวลาทำเอง เช่น ค่าจ้าง เจ้าหน้าที่ธุรการและบัญชี (สนับสนุนให้จ้างแบบครึ่งเวลา โดยจ้างเจ้าหน้าที่ประจำในหน่วยงานสังกัด) ค่าจ้างนักศึกษาเก็บข้อมูล ค่าจ้างผู้ช่วยวิจัย เช่น การออกภาคสนาม ช่วยงานในห้องปฏิบัติการ ติดต่อสั่งซื้อวัสดุ ล้างเครื่องแก้ว เป็นต้น
อัตราค่าจ้างผู้ช่วยนักวิจัย (Full time) ไม่มีประสบการณ์
ปริญญาตรี-โท อัตราราชการ - อัตราราชการ + 30 เปอร์เซ็นต์

3. ค่าใช้สอย หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการวิจัย เช่น ค่าจ้างทำอุปกรณ์ ค่าเดินทาง เบี้ยเลี้ยง (หัวหน้าโครงการ 400 บาท, นักวิจัย 200 บาท) ที่พัก ค่าสาธารณูปโภค ค่าทดลองดำเนินการผลิต ค่าประกันอุบัติเหตุ ฯลฯ

4. ค่าวัสดุ หมายถึง ค่าใช้จ่ายจัดซื้อวัสดุสิ้นเปลือง เช่น สารเคมี กระดาษ หมึกพิมพ์ เหล็ก ลวดเชื่อม วัตถุดิบทดลองการผลิต ฯลฯ หากเป็นวัสดุก่อสร้างเครื่องจักรต้นแบบที่จะกลายเป็นทรัพย์สินให้แยกไว้ต่างหาก

5. ค่าครุภัณฑ์
(งวดพิเศษ ค.) ในกรณีที่เป็นงานวิจัยที่ใช้ครุภัณฑ์พื้นฐานที่ควรมีอยู่ตามสถาบันต่างๆ สกว. จะไม่สนับสนุนให้ซื้อครุภัณฑ์ ยกเว้นแต่จำเป็นจริงๆ เช่น งานวิจัยต้องใช้ครุภัณฑ์นั้นเป็นเวลานาน ต่อเนื่องกัน หรือหากใช้บริการจากหน่วยงานอื่นจะแพงกว่าการจัดหาเอง ในกรณีที่เป็นงานเน้นพัฒนาที่จัดหาครุภัณฑ์มาประกอบ (เช่น การสร้างเครื่องจักร) นักวิจัยสามารถตั้งงบประมาณครุภัณฑ์ได้ตามเหมาะสม และการเบิกจ่ายงบประมาณค่าครุภัณฑ์ นักวิจัยจะต้องทำเรื่องเสนอขอมายัง สกว. พร้อมใบเสนอราคาของครุภัณฑ์อย่างน้อย 2 บริษัท ต่อครุภัณฑ์ 1 ชิ้น ก่อนที่จะทำการจัดซื้อ

6. ค่าใช้จ่ายอื่น (งวดพิเศษ จ.) สกว. จัดไว้สำหรับโครงการที่คาดว่าจะมีการจัดประชุมหรือจัดอบรม เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ซึ่งนักวิจัยจะต้องเสนอรายละเอียดการจัดประชุมมายัง สกว. เพื่อขอความเห็นชอบ เพื่ออนุมัติเบิกจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โครงการต่อไป

7. ค่าเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการวิจัยของหน่วยงานต้นสังกัด (overhead ของสถาบัน ; งวดพิเศษ ก. และ ข.) เงินในส่วนนี้ สกว. จะเป็นผู้วิเคราะห์ให้แก่หน่วยงานต้นสังกัด ตามเกณฑ์ของ สกว. และจะระบุจำนวนเงินไว้ในสัญญา


 


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ปัจจุบันประเทศมาเลเซีย มีบทบาทสำคัญในเวทีเศรษฐกิจและการเมืองของภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง นอกจากนี้ประเทศมาเลเซียยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ ภูมิประเทศ และวัฒนธรรมคล้ายกับภาคใต้ของไทย จากความสำคัญของมาเลเซียในด้านต่างๆ พบว่ประเทศไทยยังขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมาเลเซียปัจจุบัน ทั้งด้านด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดจนนโยบายด้านต่างๆ ของมาเลเซียที่กระทบกับประเทศไทย เช่น แรงงาน ชนกลุ่มน้อย การปลูกพืชน้ำมัน เป็นต้น

05-04-2550

Research Fund
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com