โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา


Update: 05 March 2007
Copyleft2007
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of this license
document, but changing it is not allowed.
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๑๗๙ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๐๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (March, 05,03.2007)
R

ขบวนการภาคประชาชนกับการสร้างโลกหลังทุนนิยม
การกำหนดยุทธศาสตร์โลกหลังลัทธิทุนนิยม
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความชิ้นนี้เรียบเรียงจากเรื่อง Anti Capitalist Strategy
Submitted by Gary on January 27, 2006 - 8:46am. A&S News Wire | Anti-Capitalist
Opening Presentation by Michael Albert
for A Debate on Anti Capitalist Strategy (with John Holloway)
by Michael Albert; January 26, 2006
เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการต่อต้านลัทธิทุนนิยม
โดยขบวนการภาคประชาชนในทวีปอเมริกา
(midnightuniv(at)gmail.com)

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๗๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๕ มีนาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๐ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

การกำหนดยุทธศาสตร์โลกหลังลัทธิทุนนิยม
(ยุทธศาสตร์ในการต่อต้านลัทธิทุนนิยม)

คำสำคัญในบทความนี้ : Self Management, Equitable Remuneration, Classlessness, Coordinator class, Coordinatorism, Participatory Economics, Participatory Polity, Balanced job complexs,

ความนำ
ยุทธศาสตร์ที่เป็นไปได้และเป็นที่ปรารถนาสำหรับการมีชัยชนะต่อลัทธิทุนนิยม แน่นอน หมายถึงการทอดทิ้งลัทธิทุนนิยมอันน่ารังเกียจให้อยู่เบื้องหลัง อย่างไรก็ตาม มันจะต้องรวมถึงการได้มาซึ่งบางสิ่งที่คุ้มค่าในพื้นที่ของลัทธิทุนนิยม สิ่งที่เราได้ชัยชนะจะต้องเป็นสิ่งที่น่าปรารถนาด้วย

การทอดทิ้งลัทธิทุนนิยมเอาไว้เบื้องหลังจะต้องมีการถ่ายทอดไปยังแต่ละประเทศ เพื่อปลุกเร้าประชากรส่วนใหญ่ขึ้นมาต่อสู้ การมีชัยชนะบางสิ่งที่คุ้มค่าในพื้นที่ของลัทธิทุนนิยมจะตกทอดไปยังประชากรส่วนใหญ่ ประชากรที่แสวงหาความเปลี่ยนแปลง ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นต่างมีส่วนร่วมเท่าๆ กัน และมีส่วนสำคัญอย่างกระตือรือร้นในการอธิบายหรือให้คำจำกัดความถึงสิ่งซึ่งพวกเขากำลังค้นหา และวิธีการดำเนินการต่างๆ ของพวกเขา บางสิ่งบางอย่างอันเป็นที่น่าปรารถนานั้นจะไม่ถูกกำหนดหรือยัดเยียดมาจากข้างบน แต่มันจะได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมาจากข้างล่าง

เพื่อบรรลุถึงการสนับสนุนอย่างเพียงพอต่อชัยชนะในเศรษฐกิจแผนใหม่ มันจำเป็นต้องเกี่ยวพันกับการต่อสู้ที่หลากหลายเพื่อเงื่อนไขและสภาพการณ์ที่ดีกว่า สถานการณ์แวดล้อมที่ดีกว่า และรายได้ที่สูงกว่า และรวมถึงสามารถพูดกับผู้คนทั้งหลายได้มากกว่า ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นได้พ้นจากภาวะที่แลวร้ายที่สุดแล้ว. ยิ่งไปกว่านั้น การต่อสู้ทั้งหมดนี้จะต้องพันตูในหนทางซึ่งน้อมนำไปสู่การต่อสู้ที่ขยายตัวมากขึ้น อันยังไปสู่ความสำเร็จที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ มากกว่าในหนทางที่ทึกทักกันเอาเองว่า ลัทธิทุนนิยมจะคงอยู่ไปตลอดกาล และนั่นเป็นมูลเหตุทำให้ผู้คนทั้งหลายค่อยๆ หมดกำลังลงในการก่อการปฏิวัติ ในฐานะที่เป็นเป้าหมายอันเป็นที่สุด

ยุทธศาสตร์การต่อต้านลัทธิทุนนิยม
กล่าวอีกนัยหนึ่ง แต่ละองค์ประกอบในงานของพวกเรา โดยตรรกะแล้วและโดยความเกี่ยวพันของมัน ควรที่จะนำไปสู่เป้าหมายในระยะยาว เราจะต้องไม่ไปยังจุดที่เราต้องการโดยการดำเนินการในทิศทางที่ผิดๆ เรามีเวลาไม่มากนักในทุกวันนี้ในการปฏิบัติการ ด้วยเหตุดังนั้น ข้าพเจ้าจึงต้องการที่จะแนะนำถึงเป้าหมายในระยะยาวบางอย่าง ซึ่งข้าพเจ้าต้องการที่จะดำเนินไปถึง และความเกี่ยวพันเล็กๆ น้อยๆ ที่คิดว่าเป้าหมายเหล่านั้นมันมีขึ้นมาเพื่อยุทธศาสตร์ของเราในปัจจุบัน

ป้าหมายอันดับแรก, ที่ต้องการกล่าวอย่างสั้นๆ ก็คือ Self Management
"การจัดการด้วยตัวเองโดยบรรดาคนงานและผู้บริโภคทั้งหลาย" (Workers and Consumers Self Management). พ้นไปจากลัทธิทุนนิยม เราต้องการเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ซึ่งบรรดาคนงานและผู้บริโภคได้รวมตัวกันในรูปองค์กร หรือเราอาจจะเรียกว่าสมัชชา(assemblies)ก็ได้ เพื่อกำหนดว่าอะไรที่จะถูกผลิต และผลิตในวิธีการใด รวมไปถึงเพื่อเป้าหมายใดด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น เราต้องกระทำการดังกล่าวนี้กับทุกๆ คน นั่นคือ ในการตัดสินใจแต่ละอย่าง ซึ่งจะยังให้เกิดผลกระทบโดยตรง พวกเราจะต้องตัดสินด้วยตัวเองมากกว่าที่คนส่วนใหญ่จะตกอยู่ภายใต้การตัดสินของคนจำนวนน้อย และจะต้องหนีไปให้พ้นจากการจัดลำดับชั้นแบบสูงต่ำ เพื่อบรรลุถึงการจัดการตนเอง(self management). อะไรก็ตามที่มีผลกระทบกับเรา เราควรจะต้องพูดถึงเรื่องนั้นเอาไว้ให้มาก ส่วนอะไรที่มีผลกระทบต่อเราน้อย เราก็พูดถึงเรื่องนั้นให้น้อย บรรทัดฐานอย่างเดียวกันนี้ควรประยุกต์ใช้กับทุกๆ คนด้วยเช่นกัน

"อำนาจ" ไม่ใช่สิ่งที่ไม่มีอยู่, อำนาจ ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งนั้นคือ "อิทธิพลเหนือการตัดสินใจ" มันได้ถูกแพร่กระจายอยู่ทั่วไป พวกเราทั้งหมดกลายเป็นหุ้นส่วนในการปฏิบัติการร่วมกันเกี่ยวกับการจัดการด้วยตนเองในเศรษฐกิจและสังคมแบบใหม่นี้

ในส่วนของ"ความปรารถนาในเศรษฐกิจที่ดีระบบหนึ่ง" คนงานและบรรดาผู้บริโภคทั้งหลายจะกำหนดผลลัพธ์ ซึ่งไมเพียงเป็นไปอย่างประชาธิปไตยเท่านั้น แต่จะกำหนดโดยการจัดการด้วยตัวเองของทุกๆ คน และพวกเขากระทำเช่นนั้นโดยผ่านองค์กรหรือสมัชชาแรงงานและผู้บริโภคของพวกเขา ซึ่งนี่มีนัยยะว่าการเคลื่อนไหวของเราควรที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ร่วมกันจัดการด้วยตนเองโดยสมาชิกของพวกเรา ในขอบเขตที่เราสามารถทำได้ และ
(2) พยายามสร้างและใช้ประโยชน์สมัชชา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างพื้นฐานโครงสร้างสำหรับอนาคต

ดังนั้น ความพยายามต่างๆ ในเวเนซูเอลาเพื่อรวบรวมชุมชนทั้งหลายมาสู่ความเป็นสมัชชา ในการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับชีวิตทางเศรษฐกิจโดยภาพรวม หรือการที่คนงานทั้งหลายมีสภาคนงานของตนเองในการดูแล เป็นเจ้าของโรงงานต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามตรรกะยุทธศาสตร์อันนี้

ในบางระดับมันเป็นอย่างเดียวกันในประเทศของข้าพเจ้า, สหรัฐอเมริกา, ขบวนการต่างๆ ในสหรัฐฯ ควรกระทำการในเชิงสร้างสรรค์ให้มีสภาคนงานขึ้นในโรงงานทั้งหลาย และสถาปนาสภาผู้บริโภคหรือสมัชชาในย่านต่างๆ ขึ้น. เราควรจะทำให้มีสิ่งเหล่านี้โดยภาพรวม และเริ่มบริหารจัดการชีวิตได้เท่าๆ กันกับที่เราสามารถที่จะกุมสภาพมันได้ นอกจากนั้น ขบวนการเคลื่อนไหวของพวกเราในตัวมันเอง ควรพยายามที่จะจัดการตนเองร่วมกันอย่างสม่ำเสมอในบริษัทของพวกเรา และแน่นอน ไม่ควรจะยกย่องรูปแบบใหม่ใดๆ ที่เหลือรอดมา เกี่ยวการควบคุมหรือบังคับในลักษณะจากบนลงล่างอีกต่อไป

เป้าหมายอันดับที่สอง, ซึ่งข้าพเจ้าต้องการกล่าวอย่างสั้นๆ เช่นกันคือ Equitable Remuneration
"ค่าตอบแทนที่เที่ยงธรรม"(equitable remuneration). พ้นไปจากลัทธิทุนนิยม ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้ผู้คนได้รับรายได้โดยมาจากคุณความดีเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของสินทรัพย์การผลิต. จะต้องไม่มีกำไร ไม่มีความเป็นเจ้าของ. และข้าพเจ้าไม่ต้องการให้ผู้คนเหล่านั้นได้กำไรมากขึ้น เพราะพวกเขามีเครื่องมือที่ดีกว่า หรือพวกเขามีความสามารถพิเศษต่างๆ ซึ่งยกย่องว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากในสังคม

เหล่านี้คือเนื้อหาสาระของการถกเถียง ซึ่งพวกเขาสมควรที่จะนำมาสนทนากัน แต่เราไม่มีเวลาที่จะลงลึกไปในรายละเอียดสำหรับในที่นี้ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเพียงกล่าวถึงอย่างตรงไปตรงมาว่า ข้าพเจ้าปรารถนาให้ผู้คนทั้งหลายมีสุขภาพดีและสามารถทำงานอยู่บนพื้นฐานของรายได้ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นงานที่ทำมานานแค่ไหน หรือเหนื่อยยากลำบากเพียงใดในงานที่ทำอยู่ แน่นอน ตามรายรับที่พวกเขาต้องการ

ยิ่งเราทำงานนานเท่าใด เราก็มีรายได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น เราทำงานหนัก ต้องลำบากยากเย็น และน่าเบื่อหน่าย น่ารำคาญ งานที่นำมาซึ่งความอ่อนเพลียและความทรุดโทรมด้านสุขภาพ และในทางตรงข้าม หากคุณทำงานมาไม่นาน งานซึ่งไม่หนักหนาสาหัสเท่าใดนัก หรือเป็นงานที่น่าพอใจ คุณก็ได้รายได้น้อย การดำเนินการในหนทางนี้เกี่ยวกับรายได้ขององค์กร มีความเกี่ยวพันอย่างมากต่อยุทธศาสตร์ของขบวนการเคลื่อนไหว

ยกตัวอย่างเช่น
อันดับแรก, ถ้าเรามีสถานะของรายได้ในการขยับขยาย หรือในโครงการของเรา หรือสถาบันต่างๆ ในบขอบเขตที่เราสามารถบรรลุถึงได้ พวกเราก็ควรที่จะได้รับการจ่ายตามบรรทัดฐานใหม่อันนี้เกี่ยวกับการให้ผลตอบแทน

อันดับที่สอง, เมื่อเราต่อสู่เพื่อค่าจ้างที่สูงขึ้นสำหรับบรรดาคนงานทั้งหลาย หรือเพื่อภาษีใหม่ๆ สำหรับการกระจายตัวใหม่อีกครั้ง หรือสำหรับรายได้อื่นๆ ที่สัมพันธ์กับการได้มา วิถีทางของเราควรจะชี้ไปถึงเป้าหมายในระยะยาวเสมอ - การจ่ายเงินสำหรับความต่อเนื่องยาวนาน, ความเข้มข้น, และสำหรับความลำบากยากเย็นเกี่ยวกับงานที่มีคุณค่าทางสังคม

ดังตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในเวเนซูเอลา เมื่อเงินเดือนทั้งหลายได้รับการทำให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น หรือกระทั่งเท่าๆ กันทั้งหมดในโรงงานต่างๆ เท่าที่มีอยู่ หรือในสถาบันใหม่ๆ หรือในภารกิจของรัฐบาล หรือเมื่อรายได้ได้รับการกระจายกันใหม่โดยภาษีต่างๆ หรือการใช้จ่าย ก้าวย่างเหล่านี้เป็นไปตามความโน้มเอียงทางยุทธศาสตร์ข้างต้น แต่พวกเขาจะกระทำการดังกล่าวมากยิ่งไปกว่านี้ ถ้า

(1) มีการพูดคุยกันมากขึ้น เพื่อสร้างความชัดเจนในเป้าหมายระยะยาวเกี่ยวกับค่าตอบแทน สำหรับความต่อเนื่องมายาวนาน ความเข้มข้น และความเหนื่อยยาก

(2) ความเปลี่ยนแปลงจะได้รับการมองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ต่อเนื่องอันหนึ่ง เกี่ยวกับการบรรลุถึงระดับของความเท่าเทียมกันอย่างเต็มที่

ลักษณะเดียวกันนี้ยึดถือกันในสหรัฐฯ เช่นกัน การรณรงค์ดังกล่าวเพื่อเงินเดือนที่สูงกว่า หรือค่าจ้างที่ดีกว่าในบางอุตสาหกรรม หรือสำหรับค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการ หรือเพื่อกระจายน้ำมันหรืออาหารที่ไม่แพงเพื่อคนจน ทั้งหมดควรแสวงหาเพื่อเป้าหมายระยะสั้น แต่ควรที่จะสร้างจิตสำนึกและความปรารถนาเพื่อความเท่าเทียมกันอย่างบริบูรณ์ ซึ่งจะต้องไม่หยุดลงที่ก้าวย่างเล็กๆ ในทิศทางที่ดีกว่า

เป้าหมายอันดับที่สาม, ซึ่งต้องการที่จะกล่าวอย่างสังเขปคือ Classlessness
"การปราศจากชนชั้น"(Classlessness). พ้นไปจากลัทธิทุนนิยม ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้ความพยายามของตนเองทั้งหมด และความพยายามของคนอื่นๆ ทั้งหลายน้อมนำเราไปสู่เศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเพียงแต่มีเจ้านายคนใหม่ที่เป็นอีกคนหนึ่งที่แตกต่าง และอยู่เหนือบรรดาคนงานเท่านั้น

ข้าพเจ้ามองถึงการปราศจากชนชั้น ซึ่งหมายความว่าข้าพเจ้าต้องการให้ผู้คนทั้งหมดมีเงื่อนไขต่างๆ ในการทำงานและชีวิตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะไม่มีคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดถูกยกขึ้นทางเศรษฐกิจเหนือกว่าคนอื่นๆ ที่เหลือ. แน่นอน อันนี้หมายความว่าเราต่อต้านและคัดค้านคนที่เป็นเจ้าของสถานที่ทำงานในฐานะนายทุน. ส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การต่อต้านนายทุน - ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการละทิ้งลัทธิทุนนิยมเอาไว้เบื้องหลัง - ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความท้าทายสิทธิในทรัพย์สิน และพัฒนาการจิตสำนึกอันหนึ่ง รวมไปถึงการทำสงครามต่อต้านการแสวงหากำไรอย่างดุเดือด แต่ นั่นยังไม่ใช่การสิ้นสุดของชนชั้น

อีกครั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของการถกเถียง ข้าพเจ้าเชื่อว่า มันยังมีชนชั้นปกครองที่มีศักยภาพซึ่งสามารถที่จะครอบงำเศรษฐกิจและอยู่เหนือคนงานทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอเรียกคนเหล่านี้ว่า "ชนชั้นผู้ประสานงาน(coordinator class). ชนชั้นที่เพิ่มเติมเข้ามาในสังคมปัจจุบันของเรานี้คือ หมอ, นักกฎหมาย, ผู้จัดการ, วิศวกร, และคนที่ทำงานตามที่พวกเขาได้รับมอบอำนาจต่างๆ คนเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ซึ่งอยู่เหนือเงื่อนไขหรือสภาพการณ์ของชนชั้นคนงาน (คนงานชั้นสูง - คนงานชั้นต่ำ)

อันที่จริง ข้าพเจ้าคิดว่าเศรษฐกิจต่างๆ ในทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับการเรียกว่า"สังคมนิยม" อันที่จริงแล้วมิได้ปราศจากชนชั้น, น่าเสียดาย, เพราะมันได้มีการยกชนชั้นผู้ประสานงานอันนี้ขึ้นมาแทนสถานภาพชนชั้นปกครอง. มันมีสิ่งซึ่งเราอาจเรียกว่าเศรษฐกิจของผู้ประสานงาน(coordinator economies) อันเป็นชื่อเรียกสำหรับชนชั้นปกครองทางเศรษฐกิจของพวกเขา

"ลัทธิสังคมนิยม" ที่จริงแล้วคือ"ลัทธิผู้ประสานงาน"(coordinatorism) แม้จะต่อต้านลัทธิทุนนิยม. บ่อยครั้งมากที่มันมักจะเสื่อมทรามลงไปสู่เรื่องของชนชั้นผู้ประสานงาน. เมื่อข้าพเจ้ามองถึงการปราศจากชนชั้น(Classless) ข้าพเจ้าต้องการวิธีการอันหนึ่งที่จะต่อสู้กับลัทธิทุนนิยม ที่ไม่นำทางไปสู่เศรษฐกิจแบบใหม่ชนิดหนึ่งซึ่งถูกปกครองโดยประชากรเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเข้าครอบครองฐานะตำแหน่งงานที่มีอำนาจและบทบาทนำ นั่นคือชนชั้นผู้ประสานงาน(coordinator class) ข้าพเจ้าต้องการขบวนการอันหนึ่งที่หลีกเลี่ยง"ลัทธิผู้ประสานงาน"(coordinatorism)

ในเศรษฐกิจแบบใหม่ที่ไร้ชนชั้น ข้าพเจ้ามีบางสิ่งที่อยู่ในใจที่เรียกว่า "เศรษฐศาสตร์ของการมีส่วนร่วม"(participatory economics), หรือ parecon (par-econ) ข้าพเจ้าคิดว่าคนงานแต่ละคน ผู้ผลิตแต่ละราย จะต้องมีชุดของความรับผิดชอบต่างๆ ชุดหนึ่ง ที่มอบอำนาจให้กับทุกๆ คนในเชิงเปรียบเทียบ. มันจะต้องไม่มีใครบางคนทำงานที่ทรงอำนาจ ส่วนคนอื่นๆ ต้องทำงานซ้ำซากแบบจักรกล

ภารกิจในเชิงแนวคิดดังกล่าวยังคงต้องดำเนินไป เช่น ศัลยแพทย์และวิศวกรไม่ใช่เพียงทำหน้าที่ศัลยกรรมและวิศวกรรมเท่านั้น พวกเขาจะสร้างดุลยภาพในลักษณะผสมผสานกันอันหนึ่ง - คล้ายๆ กับคนอื่นๆ รวมถึงผู้คนเหล่านั้นซึ่งก่อนหน้านี้ ในการแบ่งแยกแรงงานแบบเก่า ถูกทำให้ชัดเจนหรือทำงานในการผลิตแบบสายพาน(assembly line). ทุกๆคนในเศรษฐกิจแบบไร้ชนชั้นจะมีส่วนร่วมปันกันอย่างยุติธรรมในภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และเงื่อนไขสภาพการณ์ต่างๆ เพื่อว่าพวกเราจะสามารถมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการจัดการด้วยตัวเอง(self management)

อันที่จริง สิ่งที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ประเด็นเกี่ยวกับคนเพียง 1 ใน 5 ของประชากรที่ครอบครองข่าวสารทั้งหมด, รวมไปถึงทักษะ, ความเชื่อมั่น, และฐานะตำแหน่งที่ครอบงำการตัดสินใจเอาไว้แต่เพียงผู้เดียว. ชัดเจนว่า เราไม่อาจมีสิ่งเหล่านั้นได้ถ้าเราต้องการยืนอยู่บนความไร้ชนชั้น. ข้าพเจ้าเรียกการแบ่งแยกแรงงานชนิดใหม่นี้ว่า "องค์ประกอบของงานที่มีดุลภาพ" (balanced job complexs) ซึ่งพวกเราแต่ละคนมีอำนาจในงานที่ทำในเชิงเปรียบเทียบ เนื่องมาจากดุลยภาพที่ผสมผสานกันของเราเกี่ยวกับความรับผิดชอบและภารหน้าที่ต่างๆ. มันจะตระเตรียมการจัดสรรงานที่ยุติธรรม และมันทำให้การจัดการตนเองมีความเป็นไปได้ขึ้น

ความเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของการแสวงหาองค์ประกอบของงานที่มีดุลยภาพ(balanced job complexs) - ความไร้ชนชั้น(classless) - เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง. ในเรื่องของการต่อต้านนายทุน ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม, การต่อต้านนายทุนสามารถรวมไปถึงการไม่สนับสนุนกฎของผู้ประสานงาน. พวกเราต้องการที่จะต่อต้านนายทุนและให้การสนับสนุนการไร้ซึ่งชนชั้น - ในทัศนะของข้าพเจ้า เราต้องการส่งเสริมและให้การสนับสนุนเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม(pro parecon)ไปพร้อมกัน

อันดับแรก สำหรับความจำเป็นที่จะบรรลุถึงความไร้ชนชั้นก็คือ "เพื่อไปสู่การไร้ซึ่งชนชั้น ไม่ใช่เพื่อลัทธิผู้ประสานงาน". ในเชิงยุทธศาสตร์อันนี้หมายถึง การให้ความใส่ใจอย่างจริงจังในเงื่อนไขสภาพการณ์ของชนชั้นคนงานและวัฒนธรรม การได้ชัยชนะสำหรับเงื่อนไขที่ดีกว่าอย่างต่อเนื่อง และการได้มาซึ่งอำนาจและการตัดสินใจมากขึ้นสำหรับบรรดาคนงานทั้งหลาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีอยู่ในขบวนการหรือความเคลื่อนไหวของพวกเราในเรื่ององค์ประกอบของงานที่มีดุลยภาพ มากกว่าการจัดความสัมพันธ์แบบสูงต่ำที่ล้อเลียนสิ่งเก่าๆ เหล่านั้นที่มีมาในสังคม. ไม่มีอะไรเกี่ยวกับอันนี้ที่เป็นเรื่องง่ายๆ แต่มันเป็นแก่นสารหรือสาระสำคัญทั้งหมดที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น

ด้วยเหตุข้างต้น องค์กรต่างๆ ของการเคลื่อนไหวจึงไม่ควรที่จะมีสไตล์หรือแบบฉบับเก่าๆ เกี่ยวกับการแบ่งแยกแรงงาน และโครงการของพวกเราก็ไม่ควรเป็นเช่นนั้น พวกเราควรจะแทนที่มันด้วยการรวบรวมองค์ประกอบของงานที่มีดุลยภาพต่างๆ มากขึ้น และความทำอย่างสม่ำเสมอและอย่างกว้างขวาง. ในสหรัฐอเมริกา ขบวนการฝ่ายซ้ายสุดขั้วของเราขาดเสียซึ่งการมีส่วนร่วมของชนชั้นคนงาน อันนี้เป็นความจริงด้วยกับส่วนอื่นๆ ของโลกจำนวนมาก. นี่คืออุปสรรคอันยิ่งใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทีเดียว

ข้าพเจ้าคิดว่ามีบางสิ่งปรากฏขึ้นมาอย่างน่าพิจารณา นั่นคือ ขบวนการเคลื่อนไหวทั้งหลายของพวกเราได้รวมตัวกันอย่างมีนัยสำคัญ และปรารถนาในคุณค่าและวัฒนธรรมชนชั้นผู้ประสานงาน. ขบวนการเคลื่อนไหวของพวกเรา กล่าวโดยพฤติกรรมและนโยบายต่างๆ ที่มีต่อคนงานทั้งหลาย อันนี้ไม่ใช่เกี่ยวกับคนที่อยู่บนสุด แต่มันเกี่ยวกับคนที่อยู่ข้างล่าง

เราต้องการขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งอันที่จริงแล้ว เป็นไปเพื่อความไร้ชนชั้น และนั่นได้สะท้อนและถ่ายทอดอย่างมั่นใจถึงความปรารถนาในโครงสร้างและนโยบายต่างๆ ของพวกเรา. ที่ในเวเนซูเอลา, ยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องตรงกันกับตรรกะอันนี้ จะรวมถึงการเข้าแทนที่และกัดเซาะทำลายความมีอำนาจแบบลำดับชั้นสูงต่ำลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นสไตล์หรือแบบฉบับเก่าๆ ในสถานที่ทำงาน และในระบบราชการและรัฐบาลด้วยเช่นกัน โดยเข้าแทนที่ด้วยรูปแบบการจัดการตนเองอย่างใหม่เพิ่มมากขึ้น. เมื่อบรรดาคนงานทั้งหลายได้เข้าควบคุมโรงงาน และพวกเขาแสวงหาหนทางที่จะทำการควบคุมบรรดาคนงาน ในทัศนะที่สำคัญยิ่งนี้ นั่นคือ พวกเขาไม่เพียงไม่แสวงหาหนทางเพื่อนำไปสู่รายได้ที่เท่าเทียมกันทั้งหมดเท่านั้น แต่พวกเขายังเริ่มให้นิยามความหมายใหม่สู่องค์ประกอบของงานที่มีดุลยภาพด้วย

นั่นคือหนทางเดียวที่จะป้องกันคน 20% ในเชิงโครงสร้าง - ซึ่งไม่ใช่อย่างเลวร้าย แต่โดยตำแหน่งของพวกเขา - ในการครอบครองข่าวสารข้อมูลส่วนใหญ่และความรู้ทั่วไป รวมไปถึงการครอบงำการตัดสินใจของคนอื่นเอาไว้แต่เพียงผู้เดียว อันเนื่องมาจากความได้เปรียบในตำแหน่งของคนเหล่านี้นั่นเอง. หากปราศจากองค์ประกอบของงานที่มีดุลยภาพ (balance job complexs) ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ของพวกเรา การบรรลุถึงการควบคุมคนงานก็มักจะสึกกร่อนและกลายเป็นกฎผู้ประสานงานเข้ามาแทนที่

ในทำนองเดียวกัน สหรัฐอเมริกา องค์กรเคลื่อนไหวต่างๆ ของพวกเรา, สถาบันสื่อ, และโครงการอื่นๆและการรณรงค์ควรทำงานเพื่อรวมรวมองค์ประกอบของงานที่มีดุลยภาพไว้ เราควรที่จะค้นหาการเปลี่ยนแปลงในสถานที่ทำงานของนายทุน ซึ่งเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันนี้ และนั่นรวมถึงความปรารถนาสำหรับรูปแบบของความยุติธรรมดังกล่าว. หากปราศจากสิ่งนี้ และจนกระทั่งปัจจุบัน แน่นอนเรายังไม่มีมันเลย อันที่จริงแล้วเราจะต้องไม่บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ของอนาคต ด้วยเมล็ดพันธุ์ปัจจุบัน

เป้าหมายอันดับที่สี่, ซึ่งข้าพเจ้าอยากจะพูดสั้นๆอีกเช่นกันคือ Participatory Planning
การผลิตเพื่อการบรรลุเป้าหมายและการพัฒนา ไม่ใช่เพื่อการสะสม. พ้นไปจากลัทธิทุนนิยม พวกเราไม่ต้องการตลาดอีกต่อไป. ตลาดเป็นสิ่งตัวทำลายสังคมอย่างเหลือเชื่อ ไม่เพียงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังทำลายผู้คนทั้งหลายด้วย. ตลาดเป็นสิ่งที่ขัดขวางต่อการจัดการตนเอง ยัดเยียดกฎของชนชั้นผู้ประสานงานเข้ามา และการทำราคาอย่างผิดปกติทั้งหมดด้วย. การวางแผนจากส่วนกลางเป็นสิ่งที่ดีกว่าได้ยากยิ่ง มันเป็นอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ

ดังนั้นอีกครั้งหนึ่ง การพูดถึงข้อสรุปหนึ่งด้วยการไม่มีเวลามากพอสำหรับการให้เหตุผลหรือคำอธิบายอย่างสมบูรณ์ พวกเราต้องการสิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับการวางแผนอย่างมีส่วนร่วม โดยสภาคนงานและผู้บริโภคของพวกเรา. เราต้องการสภาเหล่านี้สำหรับเศรษฐกิจแบบเจรจาต่อรอง ด้วยการป้อนเข้าและนำออกด้วยความรู้อย่างเต็มที่เกี่ยวกับต้นทุนและผลกำไรต่างๆ, เกี่ยวกับทางเลือกทางสังคมที่บริบูรณ์และเป็นจริง และด้วยการพูดถึงการจัดการตนเองสำหรับตัวละครทั้งหมด. พาหนะสำหรับอันนี้ ข้าพเจ้าเรียกว่า"การวางแผนอย่างมีส่วนร่วม"(participatory planning)

แม้ว่าจะปราศจากการเข้าไปในรายละเอียดของระบบนั้น ความปรารถนาที่จะไปถึงมันก็มีความเกี่ยวพันในเชิงยุทธศาสตร์ต่างๆ อย่างมากมาย. เราไม่ควรจะให้การยกย่องหรือใช้ประโยชน์การแข่งขันของตลาดโดยปราศจากความห่วงกังวลอย่างจริงจัง. เราควรที่จะพัฒนาวิธีการต่างๆ ในขบวนการของเราและในสังคมสำหรับผู้คนทั้งหลาย - ซึ่งไม่เพียงแค่คนงานและผู้บริโภคเท่านั้น - เพื่อผลลัพธ์ของการเจรจาต่อรองโดยรวมและอย่างร่วมมือกัน มากกว่าการยัดเยียดของพวกข้างบนโดยการบงการหรือไปถึงด้วยการแข่งขัน

ในเวเนซูเอลาและในสหรัฐอเมริกา อันนี้หมายถึงการต่อสู้กับตรรกะของตลาด และพยายามที่จะสร้างสรรค์รูปแบบที่กำลังงอกงามของการวางแผนอย่างมีส่วนร่วม หรือการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงงบประมาณของรัฐบาล ด้วยงบประมาณต่างๆ อย่างมีส่วนร่วม และพิจารณาถึงผลผลิตและการแบ่งสรรผลผลิตทุกๆ ชนิด

ในบราซิล การทดลองเกี่ยวกับการวางแผนงบประมาณอย่างมีส่วนร่วม เป็นตัวอย่างที่ควรได้รับการขยายและเพิ่มเติม และตรรกะดังกล่าวควรเริ่มต้นเพื่อให้ข้อมูลความสัมพันธ์ต่างๆ กับบริษัทเอกชนทั้งหลายด้วย. แน่นอน ควรจะต้องกล่าวให้มากขึ้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่เราต้องการ ซึ่งพ้นไปจากลัทธิทุนนิยมและความพยายามที่จะไปให้ถึงมัน รวมถึงความเกี่ยวพันกับเรื่องเพศสภาพ, เชื้อชาติ, และขอบเขตทางการเมือง. ทั้งหมดนี้จะต้องได้รับการกล่าวถึงไปพร้อมกัน ซึ่งในทัศนะของข้าพเจ้า เพื่อผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริงถาวรและลึกซึ้ง ในอันที่จะได้รับผลต่างๆ ทุกอย่างเกี่ยวกับมัน

การจัดการตนเองในทางการเมือง
ข้าพเจ้าไม่สามารถพูดถึงเรื่องทั้งหมดได้อย่างสั้นๆ สำหรับในที่นี้ ด้วยเหตุดังนั้นจึงต้องการที่จะกล่าวปิดในท้ายถึงเรื่องการเมือง ขออนุญาตพูดว่า เป็นไปได้ที่พวกเรานิยมชมชอบและให้การสนับสนุนการจัดการตนเองในทางการเมือง - ซึ่งเราเคยเรียกว่า"อำนาจของประชาชน"ในยุคปี 60 ที่ข้าพเจ้าค่อนข้างจะสุดขั้ว. เรารู้ว่าสังคมอนาคตที่ดีต้องการมีข้อบัญญัติทางกฎหมาย การส่งเสริมโครงการต่างๆ อย่างมีส่วนร่วม และการวินิจฉัยข้อโต้เถียงต่างๆ ท่ามกลางบทบาทหน้าที่อื่นๆ ในทางการเมือง

ไม่ว่าเราจะเรียกสิ่งที่กระทำอันนี้ว่ารัฐบาล หรือระบบการปกครองอย่างมีส่วนร่วม อันนี้ไม่ใช่ประเด็นคอขาดบาดตายสำหรับตอนนี้ แม้ว่าข้าพเจ้าจะชื่นชอบกับป้ายฉลากอย่างหลังที่กล่าวมาก็ตาม. ประเด็นสำคัญก็คือว่า ถ้าเราได้ชัยชนะหรือประสบผลสำเร็จในระบบการปกครองอย่างมีส่วนร่วม หรือ parpolity (par-polity / participatory polity), เราจะไม่ถูกจำกัดอำนาจ เราจะบรรลุถึงเงื่อนไขอันหนึ่งซึ่งอำนาจ - กล่าวได้คือมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจต่างๆ - ได้ถูกมอบให้ประชาชนในการจัดการตนเอง

อำนาจไม่ได้ไปไหน มันได้รับการกระจายอย่างเหมาะสมสู่ประชากรทั้งมวล แต่มันเกี่ยวกับอะไรในเส้นทางที่มุ่งสู่อนาคตอันนี้? ในส่วนของสิ่งที่พวกเราได้ทำลงไป เมื่อเราพยายามที่จะสร้างเงื่อนไขต่างๆ ให้ดีขึ้นนั้น คือการต่อสู้กับรัฐต่างๆ หรือรัฐบาล บางครั้งเราถึงกับพยายามที่จะได้มาซึ่งสถานะหรือตำแหน่งต่างๆ ในสิ่งเหล่านั้นและกระทั่งขับเคลื่อนมัน เช่นดังใน เวเนซูเอลา

ทั้งหมดนี้อาจจะเป็นปัญหาโดยความปรารถนาที่จะจัดการตนเองในระดับรัฐ - เพราะบรรดารัฐบาลทั้งหลาย โดยแบบแผนของมันแล้วค่อนข้างมีลักษณะเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ(authoritarian)เอามากๆ - และการเข้าไปมีส่วนร่วมในพวกมัน หรือกระทั่งผลักดันมัน สามารถทำได้โดยมีอิทธิพลอย่างไม่สมส่วนกับจำนวนประชากร กล่าวคือทำได้กับประชาชนจำนวนน้อยเท่านั้น - แต่มันจะต้องไม่ยอมให้สิ่งเหล่านี้มาเป็นอุปสรรคกีดขวางความเอาใจใส่ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งในใจของข้าพเจ้า โดยวิธีการใดก็ตามบนหนทางนั้นจะนำพาไปสู่โลกที่ดีกว่า

ประเด็นก็คือ จะต้องไม่หลีกเลี่ยงการเข้าไปปฏิสัมพันธ์กับอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ หรืออำนาจชนิดใดก็ตาม ข้อสำคัญดังกล่าวคือหวนกลับไปหามัน หรือเอาชนะมันมากขึ้น ให้มาอยู่ในมือขององค์กร, โดยการกระตุ้นปลุกเร้าและรับรู้ในหมู่ประชาชน. ในความคิดของข้าพเจ้า นั่นรวมถึงไม่เพียงสรรค์สร้างสถาบันใหม่ๆ ขึ้นมาเท่านั้น แต่แน่นอนในกรณีนี้จะต้องต่อสู้กับพฤติกรรมแบบเก่าๆ และพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพวกมัน หรือกระทั่งเข้าควบคุมพวกมันด้วย

กล่าวอย่างสังเขป เราต้องพูดถึงขอบเขตปริมณฑลทางการเมืองอย่างที่มันเป็น และยักย้ายมันไปสู่สิ่งที่เราปรารถนาให้มันเป็น. สิ่งที่เรากระทำหรือต่อต้านรัฐบาลควรจะมีเป้าหมายดังนี้ คือ

(1) ให้ได้มาซึ่งชัยชนะในการปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชน
(2) ลดทอนการครอบงำของสถาบันต่างๆ ที่อยู่เหนือประชาชน
(3) คืนอำนาจให้ประชาชน และเข้าครอบครองเป็นเจ้าของสถาบันทั้งหลายโดยตรง

การได้ชัยชนะต่อรัฐไม่ใช่เป้าหมาย การขจัดรัฐทิ้งไปก็ไม่ใช่เป้าหมายเช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงรัฐหรือการเมืองการปกครองไปสู่สิ่งที่เราปรารถนาบางส่วน โดยการแปรเปลี่ยนมันบางส่วนด้วยการสรรค์สร้างโครงสร้างใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่ คือจุดประสงค์ของพวกเรา และมันควรจะเป็นเช่นนั้น

ในประเด็นสุดท้ายนี้ ตัวอย่างของเวเนซูเอลา การปฏิวัติโบลิวาเลียน ได้โยนความความกังวลใจบางอย่างทิ้งไป. เวเนซูเอลาได้ดำเนินการในการสรรค์สร้างสถาบันต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการตนเองโดยตรงขึ้นมา ซึ่งนั่นได้ให้แรงบันดาลใจแก่ผู้คนมากมาย และข้าพเจ้าคิดว่ามันเต็มไปด้วยความหวังสำหรับโลกทั้งมวล

อันนี้ได้ริเริ่มขึ้นมาแล้ว ซึ่งไม่เพียงจากล่างขึ้นบน แต่ค่อนข้างที่จะด้วยพลังอำนาจอย่างสมบูรณ์ของรัฐบาลที่กำลังดำเนินการอยู่มาตั้งแต่ต้น - ซึ่งในบางทิศทาง ได้พยายามสร้างการเข้าไปแทนที่ตัวของมันเอง - อันนี้น่าทึ่งมากทีเดียว ข้าพเจ้าคิดว่ามันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลย และแน่นอนเต็มไปด้วยความหวัง แต่มันก็มีข้อน่าห่วงกังวลเล็กๆ น้อยๆ ด้วยเช่นกัน นั่นคือสิ่งที่ควรกระทำโดยรัฐบาลปฏิวัติ

เมื่อไม่นานมานี้ การริเริ่มและพลังของขบวนการประชาชนต่างๆ ในชุมชนท้องถิ่นและสถาบันทั่วทั้งเวเนซูเอลา เริ่มกลายเป็นพลังขับเคลื่อนที่ดีขึ้น ข้าพเจ้าคิดและขออนุญาตสรุปคือ…

บรรดาคนงานและผู้บริโภคทั้งหลายที่ต้องการจัดการตนเอง ต้องการความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ต้องการสังคมที่การไร้ซึ่งชนชั้น ปรารถนาการกระจายความสำเร็จ และการต่อต้านการจัดการตนเองทางการเมืองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จเหล่านี้ ได้นำมาซึ่งการดำเนินการทางยุทธศาสตร์มากมายในสิ่งที่ว่า ควรทำอะไรก่อนอะไรหลัง, อย่างเช่น การก่อตั้งสภาฯ หรือสมัชชาต่างๆ, การยกระดับการจัดการตนเอง, ความร่วมไม้ร่วมมือขององค์ประกอบของงานที่มีดุลยภาพ, การหลบเลี่ยงลัทธิผู้ประสานงาน, การต่อต้านตลาด, และการแบ่งสรรอำนาจกันใหม่

John Holloway, ผมหวังว่าคุณคงจะเห็นด้วยอย่างมากอันนี้ แต่อะไรก็ตามที่คุณพบว่ามีปัญหาหรือคำถาม หรือกระทั่งผิดพลาด เราคงจะมีโอกาสสักครั้งที่จะสนทนากัน. ในเวเนซูเอลา คุณได้ดำเนินการไปบนเส้นทางดังกล่าวมากกว่าประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างสหรัฐฯ และข้าพเจ้าอยู่ในอเมริกา. นั่นหมายถึงหนึ่งในความรับผิดชอบของเราก็คือ พยายามที่จะสกัดกั้นรัฐบาลของเราจากการแทรกแซงความพยายามของคุณ

แต่ความรับผิดชอบอีกอย่างหนึ่งที่พวกเรามีก็คือ เส้นทางของการปฏิวัติ ทั้ง Bolivarian และ Pareconista(การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ), ต้องการความชัดเจนมากขึ้น กว้างขึ้น และถ่ายทอดสู่กันได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างสำนึกตัวตนดังกล่าวโดยเราทั้งหมดได้มากกว่า

+++++++++++++++++++++++++++++

เรียบเรียงจาก http://auto_sol.tao.ca/node/view/1757?PHPSESSID=ee0004ddde368ca626dea9cbc479f9dd


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

"ลัทธิสังคมนิยม" ที่จริงแล้วคือ"ลัทธิผู้ประสานงาน"(coordinatorism) แม้จะต่อต้านลัทธิทุนนิยม. บ่อยครั้งมากที่มันมักจะเสื่อมทรามลงไปสู่เรื่องของชนชั้นผู้ประสานงาน. เมื่อมองถึงการปราศจากชนชั้น(Classless) ข้าพเจ้าต้องการที่จะต่อสู้กับลัทธิทุนนิยม ที่ไม่นำทางไปสู่เศรษฐกิจแบบใหม่ชนิดหนึ่งซึ่งถูกปกครองโดยประชากรเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเข้าครอบครองฐานะตำแหน่งงานที่มีอำนาจและบทบาทนำ นั่นคือชนชั้นผู้ประสานงาน(coordinator class) ข้าพเจ้าต้องการหลีกเลี่ยง"ลัทธิผู้ประสานงาน"(coordinatorism)

05-03-2550

Anti - Capitalist
The Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com