ชีวประวัติและประวัติศาสตร์ยุโรปจากแง่มุมของฝ่ายซ้าย
คาร์ล
มาร์กซ: การลี้ภัยไปลอนดอนและหนังสือเรื่อง Das Kapital
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
: รวบรวม
เนื้อหาหลักนำมาจากผลงานของ
BioLawCom และสารานุกรม Wikipedia
บทความเกี่ยวกับคาร์ล
มาร์กซ (๑๘๑๘-๑๘๘๓) ต่อไปนี้ มีเนื้อหาต่อเนื่องจาก
บทความลำดับที่ 1157 : คาร์ล มาร์กซ์: จากครอบครัวยิวหัวก้าวหน้าถึงการปฏิวัติในยุโรป
สำหรับบทความนี้จะเริ่มต้นด้วยการที่มาร์กซ์มาอยู่ที่โคโลญน์ และได้ถูกขับในฐานะบุคคลไม่พึงปรารถนา
จนต้องไปอยู่ที่ปารีส และในท้ายที่สุดได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ลอนดอน และเขาได้เขียนหนังสือเรื่อง
Das Kapital ซึ่งเดิมที่มาร์กซ์ตั้งใจจะทำเป็นหนังสือชุด ๔ เล่ม แต่เขาต้องจบชีวิตลงเสียก่อน
ส่วนในภาคผนวก ได้นำเสนอเรื่องของหนังสือ Das Kapital ฉบับภาษาอังกฤษ
ซึ่งนำมาจากสารานุกรมวิกกีพีเดีย เพื่อใช้ประกอบการศึกษาสำหรับผู้สนใจ
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๕๘
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๘.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
คาร์ล
มาร์กซ: การลี้ภัยไปลอนดอนและหนังสือเรื่อง Das Kapital
คาร์ล มาร์กซ (Marx, Karl )
Author : BioLawCom รวบรวม -
กันยายน ๒๕๔๙
หนังสือพิมพ์ไรน์ใหม่และการปฏิวัติในเยอรมนี
มาร์กซรวบรวมเงินได้จำนวนหนึ่ง จนสามารถผลักดันหนังสือพิมพ์ไรน์ใหม่ (Neue Rheinische
Zeitung) ที่เริ่มเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1848 และตั้งแต่ฉบับแรกก็มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์ระดับชาติยิ่งกว่าจะเป็นระดับท้องถิ่นโคโลญน์
ในหนังสือพิมพ์นี้ มาร์กซจะเสนอบทความและความคืบหน้าเกี่ยวกับการปฏิวัติในเยอรมนี
ส่วนเองเกลส์รับผิดชอบรายงานความคืบหน้าของการปฏิวัติในฝรั่งเศสและอังกฤษ สำหรับคนอื่นในกองบรรณาธิการ
ประกอบด้วย เอิร์นสก์ ดรองเก, วิลเฮล์ม วอลฟ์ (Wilhelm Wolff), ไฮน์ริค เบอร์เกอร์ส
(Heinrich Burgers) เป็นต้น
เนื่องจากความเร่งด่วนของสถานการณ์ จึงปรากฏว่าหนังสือพิมพ์นี้เป็นเรื่องการรายงานความคืบหน้าของการปฏิวัติเสียยิ่งกว่าเป็นหนังสือชี้นำในเชิงทฤษฎี แต่กระนั้นก็ตาม นิวไรน์ก็กลายเป็นหนังสือพิมพ์ฝ่ายสังคมนิยมที่มีบทบาทมากที่สุดท่ามกลางการปฏิวัติในเยอรมนี. คำขวัญของหนังสือพิมพ์นิวไรน์ คือ "สื่อแห่งประชาธิปไตย" ซึ่งเรียกร้องให้มีการสร้างแนวร่วมอย่างกว้างของพลังประชาธิปไตยทั้งมวลเพื่อการปฏิวัติ
อย่างไรก็ตาม เมื่อครั้งที่มาร์กซและสมาชิกสันนิบาติคอมมิวนิสต์อื่นๆ กลับเข้ามาในเขตเยอรมนี พวกเขาหวังกันว่าจะเกิดกระแสการปฏิวัติแบบในฝรั่งเศสที่จะนำมาสู่การโค่นอำนาจของกษัตริย์และจ้าขุนมูลนายลง แต่การณ์กลับปรากฏว่าการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในเยอรมนี กลายเป็นกระแสสนับสนุนกษัตริย์แคว้นต่างๆ ที่จะรวมเยอรมนี และเพียงเพื่อลดอำนาจของจักรพรรดิออสเตรียเท่านั้น มีเพียงที่แคว้นบาเดนแห่งเดียวที่กลุ่มนิยมสาธารณรัฐลุกฮือขึ้นเพื่อโค่นล้มระบอบกษัตริย์ แต่ก็ถูกปราบลงได้
เมื่อเป็นเช่นนั้น มาร์กซจึงเห็นว่าบทบาทของชนชั้นกรรมาชีพในช่วงเวลาดังกล่าว
จึงควรเป็นแค่การสนับสนุนการปฏิวัติของชนชั้นกระฎุมพีหัวก้าวหน้าเพื่อโค่นล้มระบบกษัตริย์ลงก่อน
นิวไรน์จึงยังมิได้เสนอแนวทางแห่งลัทธิสังคมนิยม หากแต่สนับสนุนให้มีรัฐสภา,
การเลือกตั้งทั่วไป, การมีสิทธิมีเสียงทางการเมืองของประชาชน, และเสนอให้ยกเลิกพันธะแบบศักดินาทั้งหมด
(อ่านรายละเอียดการเคลื่อนไหวในเยอรมันครั้งนี้ได้ที่
: มาร์กซ ท่ามกลางการปฏิวัติยุโรป โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ)
แม้ว่า หนังสือพิมพ์นิวไรน์จะเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งและมียอดขายถึง 5,000 ฉบับในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1848 ซึ่งนับว่าสูงมาก แต่ปรากฎว่ารายได้จากยอดขายยังไม่เพียงพอทำให้หนังสือพิมพ์ดำเนินการต่อไปได้. เดือนกรกฎาคม โรงพิมพ์จึงปฏิเสธที่จะพิมพ์หนังสือพิมพ์นี้ต่อ หากมาร์กซไม่สามารถหาเงินมาจ่ายหนี้ที่ค้างชำระได้ เป็นผลให้หนังสือต้องชะงักไปหนึ่งฉบับ ก่อนที่มาร์กซจะหาโรงพิมพ์ใหม่ที่จะรับพิมพ์ได้
นอกจากเรื่องเงินทุนแล้ว มาร์กซยังต้องประสบปัญหาส่วนตัวด้วย เพราะทางการโคโลญน์ไม่คืนสัญชาติปรัสเซียแก่เขา จึงเท่ากับว่ามาร์กซต้องอยู่ในเยอรมันในฐานะคนต่างชาติ ที่อาจจะถูกขับออกจากดินแดนปรัสเซียเมื่อไหร่ก็ได้. ด้วยเหตุนี้ในปลายเดือนสิงหาคม มาร์กซได้ตัดสินใจเดินทางไปยังกรุงเบอร์ลินและกรุงเวียนนา เพื่อพบปะกับผู้นำการปฏิวัติประชาธิปไตยคนอื่นๆ และหาทางระดมทุนมาทำหนังสือพิมพ์ต่อ ในระหว่างนั้นมาร์กเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มปฏิวัติหลายกลุ่ม ทั้งในออสเตรียและเบอร์ลิน จนได้รับเงินสนับสนุนมาจำนวนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุการณ์ต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้น จนเกิดภาวะการณ์ตึงเครียดระหว่างฝ่ายปฎิวัติประชาธิปไตย กับทางการรัฐบาลปรัสเซียในเมืองโคโลญน์ ในที่สุด เย็นวันที่ 25 กันยายน 1848 ทางการโคโลญน์ได้ประกาศกฎอัยการศึก และสั่งห้ามการเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งหมด รวมทั้งสั่งปิดหนังสือพิมพ์นิวไรน์ด้วย มาร์กซจึงต้องเตรียมการย้ายฐานหนังสือพิมพ์ไปยังเมืองดุสเซนดอฟฟ์ (เมืองหนึ่งในเขตไรน์) ที่กลุ่มปฏิวัติยังคงมีบทบาทอยู่
แต่กฎอัยการศึกดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับจากสภาแห่งชาติปรัสเซียที่กรุงเบอร์ลิน ซึ่งกลุ่มเสรีนิยมยังคงมีบทบาทนำ และสภาเมืองโคโลญน์ ดังนั้นในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1848 กฎอัยการศึกจึงถูกยกเลิก หนังสือพิมพ์นิวไรน์ได้รับอนุญาตให้ออกเผยแพร่ได้อีกครั้ง แต่แม้กระนั้น มาร์กซกลับเริ่มประสบปัญหาเงินทุนดำเนินการอีกครั้งเช่นกัน จึงยังไม่อาจออกหนังสือพิมพ์ได้ตามกำหนด เขาต้องนำเงินส่วนตัวและเงินของเจนนี(ภรรยา) มาใช้เพื่อออกหนังสือพิมพ์ต่อไป เป็นฉบับวันที่ 13 ตุลาคม 1848
นิวไรน์ ยังคงผลิตบทความเพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นระหว่าง"กลุ่มปฏิวัติ" และ"ระบบกษัตริย์" (อ่านรายละเอียดการเคลื่อนไหวในเยอรมันครั้งนี้ได้ที่ : มาร์กซกับความถดถอยของการปฏิวัติยุโรป ค.ศ. 1848 โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ) แต่ดังที่กล่าวแล้วว่า ในระยะนั้น มาร์กซพยายามนำเสนองานสนับสนุนการปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นกระฎุมพี เพื่อโค่นล้มระบอบกษัตริย์ มากกว่าสนับสนุนให้ชนชั้นกรรมาชีพลุกขึ้นปฏิวัติเอง เขาจึงเริ่มถูกโจมตีจากกลุ่มปีกซ้ายที่นำโดย อันดรีส กอตต์ชอลก์
กอตต์ชอลก์ กล่าวว่า มาร์กซประนีประนอมกับชนชั้นนายทุนมากเกินไป และไม่ได้ต่อสู้เพื่อกรรมาชีพอย่างแท้จริง หากแต่การต่อสู้ของมาร์กซจะทำให้กรรมาชีพต้องหลั่งเลือดเพื่อชนชั้นกระฎุมพี เขาอธิบายว่า มาร์กซไม่จริงจังกับการปลดปล่อยชนชั้นที่ถูกกดขี่ เพราะมาร์กซเห็นว่าการกดขี่เป็นเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ที่จะต้องเป็นไป จึงหมายถึงว่า มาร์กซกำลังเอาความทุกข์ยากหิวโหยของคนยากจนทั้งมวล ไปรองรับทฤษฎีของตนเองเท่านั้น. กอตต์ชอลก์เสนอว่า โดยการสร้างการปฏิวัติถาวรของกรรมาชีพเท่านั้น การปฏิวัติจึงจะสำเร็จ และบรรลุเป้าหมายเพื่อความเท่าเทียมกันได้ และไม่แต่เพียงกอตต์ชอลก์ลำพัง ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของมาร์กซ, โจเซฟ มอลล์ และ คาร์ล แชปเปอร์ ก็ไม่เห็นด้วยกับมาร์กซเช่นกัน
ปัญหาสำคัญที่กองบรรณาธิการนิวไรน์ต้องเผชิญมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1849 เป็นต้นมา คือสถานะทางการเงินที่ใกล้ล้มละลายเต็มที แต่เรื่องที่สำคัญกว่านั้นคือ เริ่มมีเจ้าหน้าที่ทหารมาเยือนกองบรรณาธิการนิวไรน์ เพื่อสืบหาตัวผู้เขียนบทความต่างๆ บ่อยขึ้น และทางการพยายามหาเรื่องเนรเทศมาร์กซออกจากราชอาณาจักร. ในที่สุด วันที่ 16 พฤษภาคม 1849 มาร์กซถูกสั่งให้ออกไปจากดินแดนปรัสเซียภายใน 24 ชั่วโมง ในฐานะบุคคลไม่พึงปรารถนา
นอกจากนี้ คณะทำงานในกองบรรณาธิการทั้งหมดก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน เช่นบางคนถูกสั่งเนรเทศ ส่วนบางคนถูกคุกคามและจับกุม จนไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ หนังสือพิมพ์นิวไรน์ ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม ค. ศ.1849 จึงกลายเป็นฉบับสุดท้าย โดยมาร์กซใช้ตัวพิมพ์สีแดงทั้งฉบับ และพิมพ์ออกมาถึง 20,000 ฉบับ ซึ่งขายหมดในเวลาอันรวดเร็ว มาร์กซเดินทางออกจากโคโลญน์ในวันที่ 19 พฤษภาคม ทิ้งโรงพิมพ์ และเครื่องจักร ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของเขาไว้เบื้องหลัง ซึ่งต่อมาได้ถูกขายเพื่อนำเงินมาใช้หนี้ค่าพิมพ์ และจ่ายเป็นเงินเดือนค่าชด เชยแก่พนักงาน. การลี้ภัยครั้งนี้ มาร์กซตัดสินใจเดินทางไปยังกรุงปารีส
เอ็นแรมบอสที่กรุงปารีส
และความล้มเหลวของการปฏิวัติ
เขามาถึงกรุงปารีสเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1849 และใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองหลวงนี้ราว
3 เดือน ภายใต้นามแฝงว่า "เอ็น แรมบอส" เขาพบว่าการปฏิวัติในฝรั่งเศสเองก็กำลังถอยหลังลงคลองเช่นกัน
หลังจาก หลุยส์ นโปเลียน ชนะเลือกตั้ง แล้วฟื้นอำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยมขึ้น พลังการปฏิวัติได้ถดถอยลง
นอกจากนี้ปารีสในขณะนั้นกำลังเผชิญโรคระบาดอย่างร้ายแรง ทำให้ประชาชนต้องประสบกับความยากลำบากอย่างมาก
รัฐบาล หลุยส์ นโปเลียน ประกาศมาตรการเซ็นเซอร์กลุ่มเสรีนิยม และสมาคมกรรมกรในปารีสพยายามก่อการชุมนุมประท้วง แต่ถูกทางการตำรวจใช้กำลังสลายอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้กลุ่มสังคมนิยมก็พยายามก่อการลุกขึ้นสู้ที่เมืองลีออง แต่ก็ถูกปราบเช่นกัน จากนั้นความพยายามที่จะก่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ไม่ประสบผล และในดินแดนยุโรปการปฏิวัติ ค.ศ. 1848 ก็ค่อย ๆ พ่ายแพ้ลงทีละแห่ง. ความล้มเหลวของการปฏิวัติ ทำให้พวกนักปฏิวัติจำนวนมากทั้งฝ่ายนิยมสาธารณรัฐและฝ่ายสังคมนิยม ต้องหนีออกไปลี้ภัยยังต่างแดน ซึ่งจำนวนมากหนีไปยังอังกฤษ, ฝรั่งเศส, สวิสเซอร์แลนด์ และบางส่วนข้ามไปยังสหรัฐอเมริกา
ในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1849 เจนนี และลูก ๆ เดินทางมาร่วมชะตากรรมกับมาร์กซ ในระยะนั้นพวกเขาอยู่ในภาวะยากจนอย่างหนัก จนต้องจำนำเครื่องประดับของเจนนีเพื่อนำเงินมาใช้ในการดำรงชีพ แม้กระนั้นก็ตาม มาร์กซก็ยังพยายามขอความช่วยเหลือจากเพื่อนคือ โจเซฟ เวย์เดเมเยอร์ (Joseph Weydemeyer) ช่วยเจรจากับเศรษฐีผู้หนึ่ง ซึ่งสนใจจะช่วยเหลือทางการเงินในการทำหนังสือพิมพ์นิวไรน์ต่อไป แต่ในที่สุดก็ไม่ประสบผลสำเร็จ
นอกจากนี้ เขาและภรรยายังถูกตำรวจฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้เดินทางออกจากปารีสอีกด้วย มาร์กซพยายามอุทธรณ์เพื่ออยู่ปารีสต่อไป โดยให้เหตุผลว่า เพื่อค้นคว้าข้อมูลที่จะเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมือง แต่ในที่สุด วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1849 มาร์กซก็ต้องออกจากปารีส โดยที่เจนนีและลูกไม่ได้ตามมาด้วย
มาร์กซกับการลี้ภัยไปลอนดอน
มาร์กซตัดสินใจลี้ภัยไปลอนดอน ด้วยความหวังว่า มันจะเป็นเพียงการลี้ภัยชั่วคราวเท่านั้น
ซึ่งนอกจากมาร์กซแล้วยังมีนักปฏิวัติที่เคยเข้าร่วมการปฏิวัติ ค.ศ. 1848 จำนวนมากที่ต้องลี้ภัย
ซึ่งต่างก็ยังหวังเสมอว่าความพ่ายแพ้ของการปฏิวัติจะเป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น
และจะต้องเกิดการปฏิวัติในยุโรปในลักษณะเดียวกับปี 1848 อีกครั้ง โดยจะเป็นการปฏิวัติที่ประสบผลสำเร็จด้วย...
แต่ปรากฏว่า ยุโรปหลังปี ค.ศ. 1848 แล้ว ไม่มีกระแสการปฏิวัติใหญ่อีกเลย
ชนชั้นปกครองส่วนมากอยู่กันอย่างมีเสถียรภาพ แม้ว่าจะเกิดสงครามระหว่างประเทศเป็นระยะ ในที่สุดนักปฏิวัติที่ลี้ภัยจำนวนมากต้องกลับประเทศในลักษณะที่ต่างๆ กัน แต่อีกหลายรายรวมทั้งมาร์กซ การตั้งถิ่นฐานชั่วคราวกลายเป็นเรื่องถาวร เพราะมาร์กซก็ไม่ได้กลับสู่แผ่นดินใหญ่ยุโรปอีกเลย ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม, หรือปรัสเซีย เขาต้องอยู่ในอังกฤษต่อมาจนตลอดชีวิตของเขา
เจนนีและลูกสามคนเดินทางตามมาถึงลอนดอนในวันที่ 17 กันยายน 1849 และในที่สุด ครอบครัวของมาร์กซก็ย้ายไปอยู่ที่แฟลตเล็กๆ ขนาด 2 ห้อง ที่ถนนคิง ย่านเชลซี. ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1850 มาร์กซและครอบครัวถูกขับไล่ออกจากบ้านที่เชลซีเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าเช่า มาร์กซได้บ้านใหม่ที่ถนนดีน ในบันทึกของเจนนีเล่าว่า มาร์กซรู้สึกท้อใจกับชีวิตในลอนดอน จึงคิดว่าจะหาทางย้ายข้ามทะเลไปยังสหรัฐอเมริกา โดยเองเกลส์จะร่วมเดินทางไปด้วย แต่ปรากฏว่าเมื่อสำรวจราคาตั๋วเรือที่จะเดินทางสำหรับครอบครัว การเดินทางแพงมากจนต้องระงับโครงการดังกล่าว
แม้ว่าจะมีความยากลำบากอย่างมากในด้านการดำรงชีพ แต่มาร์กซก็ยังคงมั่นคงต่อการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยเฉพาะงาน 3 ด้าน คือ
- ความพยายามที่จะทำงานในสมาคมให้การศึกษาคนงานชาวเยอรมันที่ลี้ภัย
- การรื้อฟื้นสันนิบาตคอมมิวนิสต์ และ
- ความพยายามที่จะหาเงินมาออกหนังสือพิมพ์ปฏิวัติ
คณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเยอรมันลี้ภัยการเมือง
เดือนกันยายน ค.ศ. 1849 คณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเยอรมันลี้ภัยการเมือง เลือกกรรมการชุดใหม่โดยมีมาร์กซร่วมเป็นกรรมการด้วย
งานแรกของกรรมการชุดนี้คือ การรวบรวมเงินเพื่อนำมาใช้ในการสงเคราะห์ แต่ปรากฏว่า
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1849 ได้เกิดความแตกแยกในสมาคมขึ้น เพราะกรรมการจำนวนหนึ่งเห็นว่า
สมาคมถูกโน้มนำโดยกลุ่มหัวรุนแรงและสังคมนิยมมากเกินไป จึงต้องการแยกตัวไปตั้งสมาคมใหม่ที่มีลักษณะสายกลางมากกว่า
คณะกรรมการที่เหลืออยู่จึงจำเป็นต้องปรับปรุงสมาคมกลายเป็น "คณะกรรมการสังคมประชาธิปไตย เพื่อสงเคราะห์ชาวเยอรมันลี้ภัย" โดยมาร์กซได้รับเลือกเป็นประธาน และเองเกลส์เป็นเลขานุการ สมาคมประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการระดมเงินช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ทำให้ผู้ลี้ภัยกว่า 500 คนได้รับความช่วยเหลือ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยจัดหางานให้กับคนงานลี้ภัย เหล่านี้ด้วย
นอกจากนั้น มาร์กซยังรับงานให้การศึกษาแก่สมาชิกสมาคม เขาเริ่มบรรยายเรื่อง "อะไรคือสมบัติของชนชั้นนายทุน" เป็นตอนๆ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1849 และจบราวต้นปี ค.ศ. 1850 นอกจากการบรรยายใหญ่แก่สมาคมแล้ว มาร์กซยังบรรยายหัวเรื่องย่อยจำนวนมาก โดยใช้บ้านของเขาเป็นสถานที่บรรยาย ผู้เข้าร่วมเริ่มจากกลุ่มเพื่อนและคนใกล้ชิด และขยายวงไปสู่คนใหม่ๆ ที่จะถูกชักชวนเข้ามา ด้วยการบรรยายลักษณะเช่นนี้ ทำให้เขาได้ศิษย์ใหม่จำนวนมาก ที่จะกลายเป็นกำลังสำคัญของขบวนการสังคมนิยมต่อมา
มาร์กซ, เองเกลส์, บุคคลอันตรายของปรัสเซียและออสเตรีย
ความจริงนักปฏิวัติที่ต้องลี้ภัยเหล่านี้ ยังคงสร้างความกังวลใจอย่างมากแก่รัฐบาลปรัสเซียและออสเตรียอยู่
มีการส่งสายลับจำนวนไม่น้อยมายังอังกฤษ เพื่อติดตามความเคลื่อนไหว ในขณะที่ทูตของออสเตรียและปรัสเซียก็พยายามผลักดันรัฐบาลอังกฤษอยู่เสมอ
ให้หามาตรการเล่นงานบุคคลอันตรายทางการเมืองเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ปรัสเซียเสนอชื่อแก่อังกฤษ
เช่น มาร์กซ, เองเกลส์, และ ผู้นำชาวเยอรมันลี้ภัยคนอื่นๆ
ปรัสเซียกล่าวหาว่า มาร์กซและพวกปลุกระดมให้ก่อการปฏิวัติด้วยวิธีรุนแรง แต่ทางอังกฤษพิจารณาเห็นว่า การปลุกระดมด้วยวาจาของกลุ่มของมาร์กซ ไม่ส่งผลในทางปฏิบัติ และผู้ลี้ภัยเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นภัยต่ออังกฤษแต่อย่างใด รัฐบาลอังกฤษจึงมักให้คำตอบว่า ทางการอังกฤษไม่อาจจับกุมคนเหล่านี้ได้ หากเขาไม่ได้ละเมิดกฎหมายของอังกฤษ
นอกเหนือจากงานสงเคราะห์คนงานผู้ลี้ภัย มาร์กซยังเข้าร่วมอย่างจริงจังในการรื้อฟื้นสันนิบาตคอมมิวนิสต์เยอรมนีด้วย โดยเขาพร้อมด้วยเองเกลส์ และออกุส วิลลิช เข้าเป็นกรรมการกลางของสันนิบาต และในที่สุด มาร์กซได้รับเลือกเป็นประธานในการดำเนินการเมื่อ ค.ศ. 1850
มาร์กซยังพยายามกระตุ้นให้มีการรื้อฟื้นสันนิบาตที่เมืองโคโลญน์ เพื่อขยายการเคลื่อนไหวในเยอรมนี โดยติดต่อกับนักปฏิวัติชื่อ ปีเตอร์ โรเซอร์ (Peter Roser) ที่อยู่ในโคโลญน์ เพื่อให้ดำเนินการเคลื่อนไหวต่อไป โดยใช้ แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์เป็นแนวทาง เขาส่งบาวเออร์ ให้ลอบเดินทางกลับไปในเขตไรน์แลนด์ เพื่อช่วยรื้อฟื้นการจัดตั้งสันนิบาตในเยอรมนีด้วย
เป้าหมายขององค์กรชนชั้นกรรมาชีพ
มาร์กซมั่นใจว่า จะต้องมีการจัดตั้งองค์กรของชนชั้นกรรมาชีพ ไม่ว่าจะเป็นทางลับหรือทางเปิดเผย
เพื่อดำเนินการผลักดันให้เกิดการปฏิวัติ โดยองค์กรของชนชั้นกรรมาชีพจะต้องเป็นอิสระจากพรรคของชนชั้นนายทุน
แม้กระทั่งฝ่ายนายทุนน้อยที่นิยมประชาธิปไตยเองด้วย ทั้งนี้เพราะมาร์กซเห็นว่า
ในระยะยาว ผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนน้อยเหล่านี้ จะต้องขัดแย้งกับชนชั้นกรรมกรในที่สุด
โดยเรื่องนี้ มาร์กซอธิบายว่า
ชนชั้นนายทุนน้อยที่นิยมประชาธิปไตย ต้องการให้การปฏิวัติสิ้นสุดลงเร็วที่สุด อาจจะหยุดลงที่ชาตินิยม ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ หรือระบอบสาธารณรัฐ แต่ชนชั้นกรรมาชีพต้องการการปฏิวัติที่ต่อเนื่องและยาวนานกว่านั้น จนกว่าชนชั้นกรรมาชีพจะได้อำนาจรัฐสมบูรณ์ ที่จะสถาปนารัฐที่เสมอภาคเท่าเทียมกันในขอบเขตทั่วโลก ดังนั้น ในขั้นตอนที่ระบอบกษัตริย์ศักดินายังคงอยู่ในอำนาจ, ชนชั้นกรรมาชีพจะต้องสนับสนุนการปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุน แต่จะต้องคงความเป็นอิสระของตนเองไว้เท่าที่จะเป็นไปได้ และเมื่อการปฏิวัติชนชั้นนายทุนบรรลุผล, ชนชั้นกรรมาชีพจะต้องกดดันให้มีการปฏิวัติที่ดิน โดยการยึดที่ดินและทรัพย์สินทั้งหมดเข้าเป็นของส่วนกลาง ที่จะทำให้กรรมกรทั้งหมดมีสิทธิในการใช้ร่วมกัน และทำให้กรรมสิทธิเอกชนนั้นหมดสิ้นไป
ในที่สุด เดือน มีนาคม ค.ศ.1850 สันนิบาตคอมมิวนิสต์เยอรมัน ก็กลับคืนมาเป็นองค์กรที่คึกคักมีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยมีคณะกรรมการกลางอยู่ที่ลอนดอน สาขาต่างๆ ถูกตั้งขึ้นทั้งใน สวิสเซอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, ฝรั่งเศส, และแคว้นต่างๆ ในเยอรมนี โดยเฉพาะที่โคโลญน์ และแฟรงเฟิร์ต มีสมาชิกเป็นจำนวนมาก
นอกเหนือจากนี้ มาร์กซยังติดต่อประสานงานกับขบวนการชาร์เตอร์ ซึ่งเป็นองค์กรปฏิวัติของอังกฤษ โดยเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มขบวนการชาร์เตอร์ฝ่ายซ้าย ที่เรียกว่า " กลุ่มประชาธิปไตยภราดรภาพ" ซึ่งมี จอร์จ ฮาเนย์ (George Harney) เป็นผู้นำ จากนั้นเขาก็ได้พบกับกลุ่มพรรคบลังกี ซึ่งเป็นกลุ่มปฏิวัติสังคมนิยมของฝรั่งเศส
เดือน เมษายน ค.ศ.1850 "องค์กรปฏิวัติสากล" ก็ถูกจัดตั้งขึ้นในชื่อว่า "สมาคมปฏิวัติคอมมิวนิสต์" โดยมีตัวแทนฝ่ายสันนิบาตคอมมิวนิสต์เยอรมัน คือ มาร์กซ, เองเกลส์, และออกุส วิลลิช ฝ่ายประชาธิปไตยภราดรภาพของอังกฤษ คือ ฮาร์เนย์ และ ตัวแทนพรรคบลังกีฝรั่งเศส คือ วิดิล และ อดัม ได้ออกแถลงการณ์ของสมาคมโดยยืนยันเป้าหมายที่จะโค่นล้มชนชั้นอภิสิทธิ์ชนทั้งมวล และนำชนชั้นนี้มาอยู่ภายใต้เผด็จการของชั้นกรรมาชีพ ด้วยการรักษาการปฏิวัติอันถาวรจนกระทั่งบรรลุถึงสังคมคอมมิวนิสต์ คำแถลงนี้ร่างโดย วิลลิช และออกเผยแพร่เป็นภาษาฝรั่งเศส เพื่อเป็นแนวทางในการประสานการปฏิวัติสากล
การเปิดหนังสือพิมพ์ใหม่โดยการสนับสนุนของจูเลียส
ชูเบิร์ต
นอกจากนี้ มาร์กซยังคงต้องการเปิดหนังสือพิมพ์ใหม่ ที่สนับสนุนการปฏิวัติในลักษณะเดียวกับนิวไรน์ด้วย
โดยเขาได้รับแจ้ง จากสำนักพิมพ์ของ จูเลียส ชูเบิร์ต (Julius Schuberth) นายทุนฝ่ายก้าวหน้าในเมืองฮัมบูร์ก
ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ.1849 แล้วว่า สนใจโครงการหนังสือนิวไรน์ที่จะออกเผยแพร่ในปรัสเซีย
และรัฐเยอรมนีอื่นๆ โดยจะยอมออกทุนครึ่งหนึ่ง และให้มาร์กซไปหาเงินลงทุนมาอีกครึ่งหนึ่ง
ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าให้ออกเป็นหนังสือรายเดือน และคงชื่อ หนังสือพิมพ์นิวไรน์
ไว้ต่อท้ายด้วยคำว่า บทปริทัศน์ทางการเมือง และเศรษฐกิจ. มาร์กซพยายามระดมเงิน
โดยความช่วยเหลือของ"กลุ่มประชาธิปไตยภราดรภาพ" และ"พรรคบลังกี"
แต่แล้วโครงการได้ชะงักไป เพราะมาร์กซล้มป่วยเสียก่อนในช่วงเดือนมกราคม ค.ศ.
1850 ทำให้ผลิตต้นฉบับไม่ได้
กว่าหนังสือพิมพ์นิวไรน์ จะออกเผยแพร่ได้ก็ล่วงมาถึงเดือน มีนาคม ค.ศ. 1850 และออกต่อเนื่องมาจนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1850 ปรากฏว่าในระยะนี้ความสัมพันธ์ระหว่างสันนิบาตคอมมิวนิสต์เยอรมนี กับ สำนักพิมพ์ชูเบิร์ตเสื่อมลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชูเบิร์ต พยายามไม่เผยข้อมูลด้านการขาย และเมื่อกองบรรณาธิการในอังกฤษ ส่งต้นฉบับไปพิมพ์ที่ฮัมบูร์ก, ชูเบิร์ตยังถือโอกาสเปลี่ยนแปลง หรือตัดทอนเนื้อหาโดยพลการหลายครั้ง อีกทั้งรายได้จากการจำหน่ายหนังสือก็น้อยมาก ด้วยปัญหาการส่งต้นฉบับ และความขัดแย้ง ทำให้นิวไรน์ ยุติการตีพิมพ์ไปหลายเดือน จนพฤศจิกายน ค.ศ. 1850 จึงออกฉบับควบ เป็นฉบับ ตุลาคม-พฤศจิกายน และเป็นฉบับสุดท้าย เพราะความสัมพันธ์กับสำนักพิมพ์ชูเบิร์ตเลวร้าย และมาร์กซเองก็ไม่สามารถระดมเงินจำนวนมากได้อีก
ความแตกแยกระหว่างมาร์กซ
กับ วิลลิส
ความจริง หนังสือพิมพ์นิวไรน์ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาโดยมาร์กซและสันนิบาตคอมมิวนิสต์
เนื่องจากความคาดหวังว่า การปฏิวัติยุโรปเช่นใน ค.ศ.1848-1849 จะเกิดขึ้นใหม่ใน
ค.ศ. 1850 เนื่องมาจากพลังปฏิวัติในฝรั่งเศสเริ่มฟื้นตัวจากพลังต่อต้านหลุยส์
นโปเลียน, แต่ปรากฏว่ากระแสในฝรั่งเศสไม่สูงพอที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหม่
นอกจากนี้ยังเกิดจากความขัดแย้งในสันนิบาตระหว่างมาร์กซกับวิลลิช ขึ้นมาอีก
วิลลิช ขอลาออกจากคณะกรรมการกลางสันนิบาต แต่กลับนำประเด็นนี้มาเคลื่อนไหวเรียกประชุมสมัชชาสันติบาตคอมมิวนิสต์ในอังกฤษ เหตุการณ์นี้นำมาสู่การแยกตัวของสันนิบาต โดยกลุ่มเสียงข้างมากที่สนับสนุนมาร์กซ ลงมติขับกลุ่มของวิลลิชออกจากสันนิบาต แต่ปรากฏว่า วิลลิช และ คาร์ล แชปเปอร์ กลับไปตั้งสันนิบาตขึ้นมาใหม่ เพราะได้รับการสนับสนุนจากสันนิบาตในโคโลญน์ ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญที่ยังรักษาการเคลื่อนไหวในเยอรมนี
สันนิบาตที่นำโดยวิลลิช ขับกลุ่มของมาร์กซออกจากการเป็นสมาชิกภาพ, เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ สันนิบาตจึงได้เปลี่ยนให้สาขาโคโลญน์เป็นสำนักงานใหญ่แทนที่ลอนดอน และสาขาสันนิบาตในเมืองอื่นๆ ก็ให้การสนับสนุนแก่สาขาโคโลญน์. ส่วนที่ลอนดอน ความขัดแย้งระหว่างมาร์กซกับวิลลิช ยังนำไปสู่การล่มสลายของ สมาคมปฏิวัติสากลด้วย เพราะกลุ่มพรรคบลังกี ให้การรับรองสันนิบาตของวิลลิช ขณะที่กลุ่มปฏิวัติอังกฤษพยายามวางตัวเป็นกลาง แม้ต่อมาจะมีความพยายามในการประสานรอยร้าวระหว่างกลุ่มผู้ลี้ภัยเยอรมันกลุ่มต่างๆ เพื่อช่วยกันสนับสนุนการต่อสู้ในโคโลญน์ แต่ก็ไม่ประสบผล เพราะกลุ่มของมาร์กซและวิลลิช มีความขัดแย้งทางความคิดกันมากเกินกว่าที่จะประสานกันได้อีกต่อไป
การกวาดล้างกลุ่มปฏิวัติในยุโรป
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1850 มาแล้ว ห้องสมุดบริติชมิวเซียม อนุญาตให้มาร์กซใช้ห้องอ่านหนังสือห้องหนึ่งในห้องสมุดได้
ซึ่งมาร์กซเองก็แวะเวียนไปใช้จนกลายเป็นแหล่งค้นคว้าประจำของเขา ซึ่งนั่นย่อมหมายถึงว่า
มาร์กซได้ใช้เวลาในการค้นคว้างานด้านวิชาการ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐศาสตร์มากขึ้นที่ลอนดอนนี่เอง
ในระหว่างนั้น เกิดเหตุการณ์ หลุยส์ นโปลียน ก่อการรัฐประหารในฝรั่งเศสในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1851 โดยการยุบสภา และตั้งตนเป็นประธานาธิบดีตลอดชีวิต กวาดล้างจับกุมฝ่ายปฏิวัติในฝรั่งเศสเ ก่อให้เกิดการลี้ภัยมาสู่ลอนดอนอีกระลอกใหญ่ ผลจากการรัฐประหารนโปเลียนดังกล่าว ทำให้มาร์กซลงมือเขียนบทความเรื่อง วันที่ ๑๘ เดือนบรูแมร์ของ หลุยส์ โปนาปาร์ต (The Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte ) ลงพิมพ์ในวารสารนิวยอร์คทรีบูนในสหรัฐฯ
บทความนี้ มาร์กซมิได้อธิบายการรัฐประหารในฐานะเหตุการณ์หนึ่งทางการเมือง และมิได้เห็นว่าการขึ้นสู่อำนาจของนโปเลียนเป็นเรื่องของมหาบุรุษผู้มีความสามารถ แต่เขาพยายามอธิบายถึงความขัดแย้งทางชนชั้นที่พัฒนาหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส และนำมาสู่การขึ้นสู่อำนาจของ หลุยส์ นโปเลียน งานเขียนชิ้นนี้เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่มาร์กซได้ใช้แนวคิดวัตถุนิยมวิภาษวิธีมาวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันในฝรั่งเศส และกลายเป็นงานต้นแบบในการวิเคราะห์ชนชั้นในสังคมอื่นๆ ต่อมา
นอกจากนี้ ในระยะเวลาเดียวกัน
ได้เกิดการกวาดล้างกลุ่มผู้ปฎิวัตในโคโลญน์อย่างหนัก และผลกระทบจากการกวาดล้างสำนักงานใหญ่ในโคโลญน์
ทำให้การเคลื่อนไหวของสันนิบาตคอมมิวนิสต์ในเขตแคว้นเยอรมนี ยุติลงด้วย ดังนั้นกลุ่มสมาคมของมาร์กซ
จึงมีความเห็นร่วมกันว่าควรยุบสันนิบาตคอมมิวนิสต์ได้แล้ว เพราะไม่สามารถก่อการเคลื่อนไหวในดินแดนเยอรมนีได้อีก
กลุ่มสันนิบาตของมาร์กซจึงยุบตัวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1852
(อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการจับกุม และกวาดล้างกลุ่มสันนิบาตในโคโลญน์ได้ใน:
มาร์กซกับการเคลื่อนไหวในลอนดอน โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ)
หลังจากนั้นต่อมาเป็นเวลา 10 ปี มาร์กซไม่ได้สังกัดองค์กรทางการเมืองใดๆ อย่างเป็นทางการ และไม่ได้มีบทบาทใดๆ เกี่ยวข้องกับการเมืองในปรัสเซียอีกเลย ในกลุ่มปฏิวัติต่างประเทศ มีเพียงขบวนการชาร์เตอร์อังกฤษเท่านั้น ที่มาร์กซยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีด้วยเสมอ โดยเฉพาะกลุ่มประชาธิปไตยภราดรภาพ ของจอร์จ ฮาเนย์ และ เออเนสต์ โจนส์ (Ernest Jones) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ "เพื่อนประชาชน" และเคยแปล แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ของมาร์กและเองเกลส์ เป็นภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1850
ปี 1863 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษ วิลเลียม อีวาร์ท แกลตสโตน กล่าวสุนทรพจน์แก่สภาผู้แทน โดยให้ความเห็นเกี่ยวกับอัตราความร่ำรวยที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศอังกฤษ มีตอนหนึ่งว่า (ตามรายงานจากหนังสือพิมพ์ไทมส์)
"ผมควรจะมองการเพิ่มขึ้นของความมั่งคั่ง และอำนาจอย่างเมามายเหล่านี้ด้วยความหวาดกลัวและความเจ็บปวด ถ้าผมเชื่อว่า มันเกิดขึ้นเฉพาะกับกลุ่มชนที่มีชีวิตสะดวกสบายเท่านั้น ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับสภาพของประชากรที่ใช้แรงงานเลย การเพิ่มขึ้นมาของความมั่งคั่งที่ผมได้อธิบาย และที่ผมคิดว่าเกิดขึ้นจากกำไร จากการลงทุนนั้น เป็นการเพิ่มขึ้นที่เกิดเฉพาะกับชนชั้นที่ครอบครองทรัพย์สินเท่านั้น".แต่ในรายงานฉบับกึ่งทางการ แกลดสโตน ลบประโยคสุดท้ายเขาออก (การแก้ไขนี้เป็นสิ่งที่กระทำกันทั่วไปในหมู่สมาชิกสภา)
สมัชชาสากลที่หนึ่ง (The
First Internation)
ปี ค.ศ. 1864 มาร์กซ ก่อตั้ง สมัชชากรรมกรสากล (International Workingmen &
acutes Association ) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สมัชชาสากลที่หนึ่ง (The First Internation)
ขึ้น เพื่อหวังให้เป็นแกนหลักในการทำกิจกรรมทางการเมืองอีกครั้ง และในคำสุนทรพจน์เปิดงาน
มาร์กซอ้างถึงคำพูดของแกลดสโตน ไปในทำนองที่ว่า การเพิ่มขึ้นของความร่ำรวยและอำนาจอย่างเมามายนี้
เกิดขึ้นกับเฉพาะชนชั้นที่มีทรัพย์สินเท่านั้น
มาร์กซอ้างถึงคำพูดนี้อีกในหนังสือ "ทุน" (Das Kapital)ไม่นานนัก ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มาร์กซอ้าง กับที่บันทึกไว้ในรายงาน (ซึ่งเป็นที่แพร่หลาย) ถูกนำมาใช้ทำลายความน่าเชื่อถือของสมัชชาสากลที่หนึ่งด้วย มาร์กซพยายามโต้ตอบข้อกล่าวหา เรื่องความไม่ซื่อสัตย์นี้ แต่ว่าข้อกล่าวอ้างนั้นกลับเหวี่ยงกลับมายังเขาเรื่อยๆ ในภายหลังมาร์กซระบุแหล่งข้อมูลที่เขาใช้ว่า คือ หนังสือพิมพ์ เดอะ มอร์นิง สตาร์
เองเกิลส์เอง ก็พยายามใช้เนื้อที่ในส่วนคำนำในการพิมพ์ครั้งที่สี่ของหนังสือ "ทุน" เพื่อพูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ไม่สามารถจบข้อโต้เถียงเมื่อครั้งนั้นลงได้ โดยเองเกิลส์ อ้างใหม่ว่า แหล่งข่าวนั้นไม่ใช่ เดอะ มอร์นิง สตาร์ แต่เป็น ไทมส์ นักวิจารณ์แนวคิดมาร์กซิสม์ เช่น นักข่าวพอล จอห์นสัน ยังคงใช้เรื่องนี้ในการกล่าวหา มาร์กซ ในเรื่องความซื่อสัตย์อยู่
หลังจากการประชุมสมัชชาสากลที่หนึ่งที่เจนีวา เมื่อ ค.ศ. 1866 แล้ว องค์กรสากลขยายสาขามากขึ้นในปรัสเซียและรัฐเยอรมันอื่นๆ และจากการเคลื่อนไหวของสมัชชา ฯ นี้เอง ได้ปลุกเร้าให้การเคลื่อนไหวของชนชั้นกรรมกรในยุโรปก้าวรุดหน้าไปด้วยอย่างมาก มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นจำนวนมาก และนำมาสู่การนัดหยุดงานประท้วงหลายครั้ง ทั้งในอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เบลเยียม, สวิสเซอร์แลนด์. คณะมนตรีซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในลอนดอนเอง ก็มักเรียกประชุมกันสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งมาร์กซจะเข้าร่วมด้วยเสมอ นอกจากว่าจะเจ็บป่วย ดังนั้นการตัดสินใจในมติใด ๆ ของสมัชชาสากลที่หนึ่ง มาร์กซจะมีบทบาทอยู่ด้วยเป็นส่วนมาก
การขยายองค์กรกรรมกรสากลในแคว้นเยอรมันต่อมา เป็นการดำเนินงานของโจฮัน เบกเกอร์ (Johann Becker) นักสังคมนิยมชาวปรัสเซียซึ่งเข้าร่วมการประชุมสากลที่เจนีวา จากนั้นก็ได้เป็นแกนในการจัดตั้งสาขาตามเมืองต่างๆ ในเยอรมันมากกว่า 10 แห่ง โดยการประสานงานกับมาร์กซ. สำหรับมาร์กซเอง เขายังมีแรงบันดาลใจไม่น้อยสำหรับการเคลื่อนไหวสากลในแคว้นเยอรมันต่างๆ เพราะมาร์กซเห็นว่า ชนชั้นกรรมาชีพในเยอรมันมีศักยภาพ และมีความสุกงอมที่จะก่อการปฏิวัติสังคมนิยมได้ จากคำปราศรัยของมาร์กซต่อสมาคมศึกษาของกรรมกรเยอรมัน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1867 เขาอธิบายว่าชนชั้นกรรมกรเยอรมันมีเงื่อนไขมากที่สุด ที่จะก่อการปฏิวัติสังคมนิยม ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ
ประการแรก ชาวเยอรมันเป็นชนชาติที่มีเสรีภาพ และไม่ยึดติดกับศาสนาที่เหลวไหลมากที่สุด
ประการที่สอง การพัฒนาสังคมในเยอรมัน ไม่มีความจำเป็นจะต้องผ่านขั้นตอนชนชั้นนายทุนที่ยาวนาน เช่น ประเทศยุโรปอื่นๆ เพราะสามารถที่จะสรุปบทเรียน จึงทำให้ขั้นตอนพัฒนาผ่านทุนนิยมสั้นกว่า
ประการที่สาม จากเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ ทำให้เยอรมันเป็นด่านหน้าในการประกาศสงครามกับพวกป่าเถื่อน ที่คุกคามยุโรปจากทางตะวันออกที่มาจากเอเชีย ซึ่งในที่นี้มาร์กซหมายถึง ระบอบซาร์ของรุสเซีย ที่มาร์กซเห็นว่าเป็นป้อมปราการของพลังปฏิกิริยาของโลก และคุกคามเสรีภาพของชาวยุโรปมากที่สุด จากการที่พระเจ้าซาร์ดำเนินนโยบายปฏิกิริยา และขัดขวางการปฏิวัติเสรีนิยมทั่วยุโรปมาแล้ว
Das Kapital
ช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีการโต้เถียงเรื่องการอ้างคำพูดของ แกลดสโตน และการก่อตั้งสัมมัชาสากลที่หนึ่ง
มาร์กซยังปลีกเวลาไปให้กับการวิจัยค้นคว้างานด้านเศรษฐศาสตร์ และประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
และแนวคิดเชิงทฤษฎีดังกล่าวสำหรับการเขียนหนังสือชื่อ ทุน (Das Kapital) อีกด้วย.
มาร์กซต้องการที่จะศึกษารวบรวม และเขียนอธิบายเศรษฐกิจการเมืองในลักษณะมวลรวมของระบอบทุนนิยม
โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับลักษณะและการทำงานของทุน ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญในระบอบทุนนิยม
มาร์กซเริ่มลงมือศึกษาอย่างจริงจังตั้งแต่ ค.ศ. 1861 แต่ปรากฏว่าปัญหาสุขภาพ}
ปัญหาการเงิน} และการที่มาร์กซใช้เวลาไปเข้าร่วมการเคลื่อนไหวกรรมกรสากลทำให้งานเขียนเรื่องนี้ล่าช้าไปมาก
แต่กระนั้นก็ปรากฏว่า มาร์กซได้วางเค้าร่างของทฤษฎีทางเศรษฐกิจเอาไว้ในรูปของบทความย่อย. เดือนมีนาคม ค.ศ. 1865 ขณะที่งานเขียนคืบหน้าไปขั้นหนึ่ง มาร์กซได้ติดต่อกับสำนักพิมพ์ เมสเนอร์ แอนด์ เบหร์ (Meissner and Behre) ในเมืองฮัมบูร์ก เพื่อที่จะเสนอพิมพ์หนังสือเล่มนี้ โดยมีวิลเฮล์ม สโตรห์น (Wilhelm Strohn) อดีตสมาชิกสันนิบาตคอมมิวนิสต์คนหนึ่งเป็นคนประสานงาน ในที่สุดเดือนกันยายน ค.ศ.1867 หนังสือเรื่องทุน(Das Kapital)ก็ได้รับการตีพิมพ์เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ในชื่อเต็มว่า "ทุน: บทวิพากษ์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง ตอนที่ ๑"(Capital: A Critique of Political Economy, Volume I)
โดยเขาอธิบายวัตถุประสงค์ของการเขียนหนังสือเล่มนี้ว่า เพื่ออธิบายกฎเกณฑ์การเคลื่อนไหวของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ หรือ"สังคมทุนนิยม"นั่นเอง. ในคำนำของมาร์กซ เขาอธิบายไว้ว่า เรื่องทุน เล่มที่ 2 จะเป็นการอธิบายเรื่องการหมุนเวียนของทุน, เล่มที่ 3 เป็นเรื่อง รูปแบบที่ต่างกันเมื่อมีการพัฒนาของทุน, และเล่มที่ 4 จะเป็นเล่มสุดท้ายว่าด้วย ประวัติศาสตร์ของทฤษฎี อย่างไรก็ตาม มาร์กซยังไม่ทันเขียนได้เสร็จสิ้น ในสมัยที่มาร์กซยังมีชีวิตอยู่จึงมีการตีพิมพ์ เพียงทุนเล่ม ที่ 1 นี้เท่านั้น
เองเกลส์ ผู้เรียบเรียงงานเขียนของมาร์กซเพื่อลงตีพิมพ์เล่มต่อๆ มา อธิบายว่า มาร์กซเขียนต้นร่างของเรื่องทุน เล่มที่ 2 เสร็จแล้ว ดังนั้นเองเกลส์จึงได้นำมาตีพิมพ์ ทุนเล่มที่ 2 ที่ว่าด้วยการ วิเคราะห์การสะสมทุน และการผลิตสินค้า ซึ่งในส่วนนี้มาร์กซนำคณิตศาสตร์มาวิเคราะห์จำนวนมาก. สำหรับทุนเล่มที่ 3 มาร์กซยังเขียนไม่เสร็จสมบูรณ์ เองเกลส์ต้องรวบรวมจากต้นร่างจำนวนมาก และพิมพ์เป็นทุน เล่มที่ 3 โดยเป็นการอธิบายเรื่องเกี่ยวกับอัตรากำไรและมูลค่าต่อมา. เมื่อเองเกลส์ถึงแก่กรรมแล้ว ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ คาร์ล เคาต์สกี้ ผู้นำสากลที่ 2 ได้นำมาตีพิมพ์ เป็นหนังสือชื่อ ทฤษฎีว่าด้วยมูลค่าส่วนเกิน (Theories of Surplus Value) ซึ่งถือกันว่าเป็นเรื่องทุนภาค 4
จนถึงขณะนี้ ก็ยังต้องถือว่า หนังสือเรื่องทุน(Das Kapital) ของมาร์กซ โดยเฉพาะเล่มที่ 1 เป็นหนังสือที่มีความสำคัญอย่างมาก ดังที่เองเกลส์อธิบายว่า หนังสือนี้เป็นพระคัมภีร์ของชนชั้นกรรชีพ
มาร์กซ ถือเป็นคนแรกที่วิเคราะห์ระบบทุนนิยมอย่างทั่วด้านและเป็นวิชาการที่สุด ในหนังสือเรื่องทุน มาร์กซกล่าวไว้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกว่า ระบบทุนนิยมจะนำมาซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจเสมอ และอธิบายแนวโน้มนี้อย่างมีรากฐานทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์รองรับ แต่กระนั้น เมื่อหนังสือเรื่องทุน ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1867 นั้น ไม่ได้เป็นหนังสือที่มียอดขายมากนักในปรัสเซีย. ปรากฏว่า ลุดวิก ฟอยเออร์บาค และ อาร์โนลด์ รูเก มิตรเก่าของมาร์กซ เขียนแนะนำและชื่นชมหนังสือนี้ นอกจากนี้ก็คือ นายแพทย์ลุกวิด คูเกลมาน คาร์ล ดิวริง (Karl Duhring) ที่แนะนำหนังสือ แต่เนื่องจากหนังสือนี้เขียนเป็นภาษาเยอรมัน จึงไม่แพร่หลายนักในอังกฤษ
เองเกลส์ผลักดันให้มีการเขียนแนะนำลงในนิตยสารแซตเตอร์เดย์รีวิว
ในเดือนมกราคม ค.ศ.1868 แต่ปรากฏว่าหนังสือ 1,000 เล่มที่ตีพิมพ์นี้ ใช้เวลาขายถึง
4 ปี ต่อมาได้มีการพิมพ์ครั้งที่ 2 ในxu ค.ศ.1877 ซึ่งมาร์กซได้ทำการปรับปรุงแก้ไขเล็กน้อย.
ตามข้อเสนอของเองเกลส์ และคูเกลมาน ในปีเดียวกันนี้ ทุน ฉบับภาษาฝรั่งเศสก็ได้รับการตีพิมพ์
เผยแพร่โดย มัวรีซ ลาแชตร (Maurice Lachetre) สำหรับฉบับแปลภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกในxu
ค.ศ.1886 ซึ่งมาร์กซถึงแก่กรรมไปแล้ว เล่มนี้จึงเขียนคำนำโดยเองเกลส์
(อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับมาร์กซ กับหนังสือ "ทุน"
ได้ที่ : มาร์กซ กับการเขียนหนังสือเรื่อง "ทุน" โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ)
จุดสูงสุดของสมัชชาสากลที่หนึ่ง
มาร์กซไม่ได้เข้าร่วมประชุมกับสมัชชาสากลที่หนึ่ง ในครั้งต่อๆ มาที่จัดกันที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
และเบลเยี่ยม และที่อื่นๆ อีกเลย ด้วยเพราะเขาเริ่มล้มป่วยและยากจนไม่มีเงินจ่ายค่าเดินทาง
เหตุนี้เองทำให้กลุ่มลัทธิปรูดง (จากสวิสเซอร์แลนด์ และ ฝรั่งเศส) ที่ไปเข้าประชุมเป็นส่วนข้างมากได้ครอบงำการประชุม
แต่กลุ่มนี้ก็ยังคงสนับสนุนให้มาร์กซอยู่ในตำแหน่งคณะมนตรีของสมัชชาสากลต่อไป
ในปี ค.ศ. 1868 ลัทธิชาตินิยมฝ่ายขวาที่นำโดย บิสมาร์ค กลับขยายตัวมากขึ้น ทำให้กลุ่มสังคมนิยมเยอรมันต้องรวมตัวกันเพื่อต่อต้าน ในฝรั่งเศส รัฐบาลของกษัตริย์นโปเลียนที่ 3 ตัดสินใจที่จะกวาดล้างจับกุมกลุ่มลัทธิปรูดง. เดือนมีนาคม ค.ศ.1868 ผู้นำกลุ่มปรูดง คือ อังรี โตแลง และอื่นๆ ถูกดำเนินคดี และศาลฝรั่งเศสตัดสินจำคุกหนักเบาแตกต่างกันไป และสมัชชาสากลฯ ก็ถูกประกาศให้เป็น องค์กรผิดกฎหมายในฝรั่งเศส การที่ผู้นำกลุ่มปรูดงถูกจับกุม ทำให้อิทธิพลของกลุ่มนี้ที่มีอยู่ในองค์กรสากลลดลงด้วย
ในการประชุมสมัชชาสากลครั้งที่ 4 ที่เมืองบาเซิล ในสวิสเซอร์แลนด์ เดือนกันยายน ค.ศ. 1869 (ซึ่งมาร์กซ ยังคงไม่ได้เข้าร่วม) ถือเป็นจุดสูงสุดของสมัชชาสากลที่หนึ่ง เพราะการเคลื่อนไหวของชนชั้นกรรมกรในยุโรปกำลังอยู่ในระยะกระแสสูง ในปีนี้เกิดการนัดหยุดงานโดยกรรมกรถ่านหินที่เวลล์, กรรมกรทอผ้าที่นอร์มังดี และลีออง นอกจากยังมีการนัดหยุดงานทั่วไปของกรรมกรในสวิสเซอร์แลนด์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรีย, ฮังการี, ปรัสเซีย, ซึ่งส่วนใหญ่สมาชิกของสากลได้เข้าไปมีส่วนในการนัดหยุดงานทั้งสิ้น
ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการประชุมสากลครั้งนี้ ก็คือ ไมเคิล บากูนิน (Micheal Bakunin) นักคิดอนาธิปไตยคนสำคัญ ได้ร่วมประชุมเป็นครั้งแรก และนำเสนอข้อเสนอสำคัญคือ การยกเลิกสิทธิในการสืบมรดก ปรากฏว่าที่ประชุมสากลเห็นพ้องกับข้อเสนอนี้ จึงทำให้บากูนินกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อไป จนที่สุดบากูนินจะต้องเผชิญหน้าและต่อสู้กับมาร์กซ ซึ่งมีอิทธิพลในสากลมาแต่เดิม
ไมเคิล บากูนิน
ไมเคิล บากูนิน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1841 มีพื้นฐานมาจากชนชั้นขุนนางชาวรุสเซีย
แต่ได้รับอิทธิพลแนวคิดสังคมนิยมและตื่นตัวคัดค้านระบอบซาร์ จึงถูกจับกุมและเนรเทศไปไซบีเรีย
อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1861 บากูนินหนีจากไซบีเรียมาได้และลี้ภัยมาอยู่ในยุโรป
เขารับแนวคิดของปรูดง และกลายเป็นนักคิดอนาธิปไตย แต่กระนั้น บากูนินก็ได้รู้จักกับมาร์กซ
และมีมิตรภาพที่ดีต่อกันในระยะแรก
แต่พื้นฐานความคิดของบากูนินแตกต่างจากมาร์กซอย่างมาก เพราะขณะที่รากฐานของมาร์กซอยู่ที่ปรัสเซีย, อังกฤษ, และฝรั่งเศส ซึ่งชนชั้นกรรมกรเติบโตและเคลื่อนไหว บากูนิน มาจากรุสเซียและลี้ภัยในอิตาลี ซึ่งชนชั้นกรรมกรมีน้อยและเพิ่งเริ่มต้น ดังนั้นบากูนินจึงไม่เชื่อถือในพลังของชนชั้นกรรมกร และในขณะที่มาร์กซเสนอว่า การสถาปนาสังคมใหม่จะต้องมีขึ้นในครรภ์ของสังคมเก่า บากูนินกลับเสนอให้ต่อต้านและทำลายสังคมเก่าทั้งมวล ทำลายศาสนา และทำลายอำนาจรัฐทุกชนิดโดยการก่อจลาจล บากูนินเรียกระบอบคอมมิวนิสต์ตามแนวคิดของมาร์กซว่าเป็น "คอมมิวนิสต์แห่งรัฐ"
การปฏิวัติฝรั่งเศสและการล้มระบอบกษัตริย์
สถานการณ์ยุโรปหลังการประชุมที่บาเซิล มีแนวโน้มของสงครามชัดเจนขึ้น เพราะบิสมาร์คต้องการใช้สงครามเป็นเครื่องมือในการรวมเยอรมัน,
ขณะที่กษัตริย์นโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งกำลังมีสถานะอันง่อนแง่นก็คาดหมายว่า
ชัยชนะในสงครามจะมาช่วยฟื้นฟูภาพลักษณ์ของตน. บิสมาร์คประสบความสำเร็จที่สามารถยั่วยุให้ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายประกาศสงครามก่อนในวันที่
19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 ดังนั้น สงครามฟรังโก-ปรัสเซีย จึงเกิดขึ้นวันที่ 1 กันยายน
ค.ศ. 1870 และทำให้โปเลียนที่ 3 ประสบกับความพ่ายแพ้
สถานการณ์ดังกล่าวได้สร้างเงื่อนไขให้เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศส
เพราะกลุ่มนายทุนและข้าราชการฝรั่งเศสไม่ยอมรับเงื่อนไขการยอมจำนน จึงก่อการยึดอำนาจในกรุงปารีสในวันที่
4 กันยายน 1870 แล้วตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นบริหารประเทศชั่วคราว มีการล้มเลิกระบอบกษัตริย์และประกาศให้ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐ.
กษัตริย์นโปเลียนและมเหสีต้องหนีออกจากประเทศ. เหตุการณ์เหล่านี้ได้ทำให้โฉมหน้าทางประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสงครามระหว่างฝรั่งเศส
ปรัสเซีย และแนวคิดสังคมนิยมในฝรั่งเศส และการพัฒนาไปสู่คอมมูนปารีส หลังแพ้สงครามได้ที่
: มาร์กซและการปฎิวัติคอมมูนปารีส โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ)
หลังจากฝรั่งเศสประกาศเป็นสาธารณรัฐแล้ว มาร์กซเห็นว่า ภาระหน้าที่สำคัญขององค์กรสากลต่อจากนั้นคือ
การหนุนช่วยผลักดันให้อังกฤษรับรองระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากองค์กรกรรมกรของอังกฤษ
แต่เขาไม่เห็นด้วยกับความพยายามในการก่อการปฏิวัติของกรรมกรฝรั่งเศส ตามแนวทางของบลังกี
เพราะเห็นว่าการปฏิวัติที่สถานการณ์ยังไม่พร้อม จะนำมาซึ่งการปราบปรามของฝ่ายปรัสเซีย
และจะทำให้สถานการณ์ถอยหลังไป 20 ปี นอกจากนี้มาร์กซยังคัดค้านแนวคิดของบากูนิน
ที่ต้องการให้ชนชั้นกรรมกรฝรั่งเศส ก่อการปฏิวัติเพื่อล้มล้างรัฐให้หมดสิ้นไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการปฏิวัติของประชาชนฝรั่งเศสและมีการสถาปนาคอมมูนปารีส มาร์กซก็เปลี่ยนท่าทีมาให้การสนับสนุน โดยมาร์กซอธิบายว่าการปฏิวัติของชนชั้นกรรมกรแห่งกรุงปารีส ซึ่งมุ่งที่จะโค่นล้มระบอบทุนนิยม เป็นความกล้าหาญอย่างยิ่งของชนชั้นกรรมกรฝรั่งเศส เป็นการพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินและจะเป็นมิติใหม่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
บั้นปลายชีวิตของมาร์กซ
แม้ลอนดอนจะเป็นสถานที่ที่มาร์กซทิ้งมรกดทางเศรษฐศาสตร์ชิ้นสำคัญที่สุดไว้ (หนังสือ
"ทุน") รวมทั้งเขายังเป็นตัวตั้งตัวตีให้เกิดองค์กรสากลของชนชั้นกรรมาชีพขึ้นใหม่
จนขบวนการปฏิวัติกลับฟื้นคืนขึ้นมาอีกครั้ง แต่กล่าวได้ว่า ในช่วงสุดท้ายของชีวิตของมาร์กซ
นอกจากต้องเจอโรครุมเร้าแล้ว เขาและครอบครัวยังค่อนข้างลำบากและยากจน จนต้องคอยอาศัยเงินช่วยเหลือจากเองเกิลส์สหายรักอยู่เป็นระยะ
ๆ
เจนนี ภรรยาของมาร์กซเสียชีวิตไปก่อนมาร์กซราว 2 ปี, ส่วนมาร์กซ หลังจากเผชิญกับอาการป่วยเป็นระยะเวลานาน ก็เสียชีวิตเมื่อ วันที่ 14 มีนาคม 1883 ที่กรุงลอนดอนนั้นเอง ศพของมาร์กซฝังอยู่ที่ สุสานไฮห์เกต ในลอนดอน บนป้ายชื่อของเขาจารึกว่า:
กรรมาชีพในทุกพื้นถิ่น
จงรวมพลัง !
(Workers of all lands, unite !)
แหล่งข้อมูล
www.marxists.org
www.firelamtung.com
+++++++++++++++++++++++++++++++
1157.
คาร์ล มาร์กซ์: จากครอบครัวยิวหัวก้าวหน้าถึงการปฏิวัติในยุโรป
ภาคผนวก: หนังสือเรื่อง
Das Kapital จากสารานุกรมวิกกีพิเดีย
http://en.wikipedia.org/wiki/Das_Kapital
Das Kapital (Capital, in the English translation) is an extensive treatise on political economy written by Karl Marx in German. The book is a critical analysis of capitalism, its economic practices, and the theories which economists made about it.
Themes
The central motor force of capitalism, according to Marx, was in the exploitation
and alienation of labor. The ultimate source of the new profits and value-added
was that employers paid workers the market value of their labour-capacity,
but the value of the commodities workers produced exceeded that market value.
Employers were entitled to appropriate the new output value because of their
ownership of the productive capital assets. By producing output as capital
for the employers, the workers constantly reproduced the condition of capitalism
by their labour.
However, though Marx is very concerned with the social aspects of commerce, his book is not an ethical treatise, but an (unfinished) attempt to explain the objective "laws of motion" of the capitalist system as a whole, its origins and future. He aims to reveal the causes and dynamics of the accumulation of capital, the growth of wage labour, the transformation of the workplace, the concentration of capital, competition, the banking and credit system, the tendency of the rate of profit to decline, land-rents and many other things.
Marx viewed the commodity as the "cell-form" or building unit of capitalist society - it is an object useful to somebody else, but with a trading value for the owner. Because commercial transactions implied no particular morality beyond that required to settle transactions, the growth of markets caused the economic sphere and the moral-legal sphere to become separated in society: subjective moral value becomes separated from objective economic value. Political economy, which was originally thought of as a "moral science" concerned with the just distribution of wealth, or as a "political arithmetick" for tax collection, gave way to the separate disciplines of economic science, law and ethics.
Marx believed the political economists could study the scientific laws of capitalism in an "objective" way, because the expansion of markets had in reality objectified most economic relations: the cash nexus stripped away all previous religious and political illusions (only to replace them, however, with another kind of illusion -- commodity fetishism). Marx also says that he viewed "the economic formation of society as a process of natural history". The growth of commerce happened as a process which no individuals could control or direct, creating an enormously complex web of social interconnections globally. Thus a "society" was formed "economically" before people actually began to consciously master the enormous productive capacity and interconnections they had created, in order to put it collectively to the best use.
Marx's analysis in Capital, then, focuses primarily on the structural contradictions, rather than the class antagonisms, that characterize capitalist society -- the "contradictory movement [gegens?tzliche Bewegung] [that] has its origin in the twofold character of labour," rather than in the struggle between labor and capital, or rather between the owning and the working classes. These contradictions, moreover, operate (as Marx describes using a phrase borrowed from Hegel) "behind the backs" of the both capitalists and workers, that is, as a result of their activities, and yet irreducible to their conscious awareness either as individuals or as classes. As such, Capital, does not propose a theory of revolution (led by the working class and its representatives) but rather a theory of crises as the condition for a potential revolution, or what Marx refers to in the Communist Manifesto as a potential "weapon," "forged" by the owners of capital, "turned against the bourgeoisie itself" by the working class.
Such crises, according to Marx, are rooted in the contradictory character of the commodity, the most fundamental social form of capitalist society. In capitalism, improvements in technology and rising levels of productivity increase the amount of material wealth (or use values) in society while simultaneously diminishing the Value (economics) of this wealth, thereby lowering the rate of profit - a tendency that leads to the peculiar situation, characteristic of crises in capitalism, of "poverty in the midst of plenty," or more precisely, crises of overproduction in the midst of underconsumption.
Publication
Marx published the first volume of Das Kapital in 1867, but he died before
he could finish the second and third ones which he had already drafted; these
were edited by his friend and collaborator Friedrich Engels and published
in 1885 and 1894; the fourth volume, called Theories of Surplus-Value, was
first edited and published by Karl Kautsky in 1905-1910. Other preparatory
manuscripts were published only decades
Influences
Marx bases his work on that of the classical economists like Adam Smith, David
Ricardo, John Stuart Mill and even Benjamin Franklin. However, he reworks
these authors' ideas, so his book is a synthesis that does not follow the
lead of any one thinker. It also reflects the dialectical methodology applied
by G.W.F. Hegel in his books The Science of Logic and The Phenomenology of
Mind, and the influence of French socialists such as Charles Fourier, Comte
de Saint-Simon, and Pierre-Joseph Proudhon.
Marx said himself that his aim was "to bring a science [i.e. political economy] by criticism to the point where it can be dialectically represented", and in this way to "reveal the law of motion of modern society". By showing how capitalist development was the precursor of a new, socialist mode of production, he aimed to provide a scientific foundation for the modern labour movement. In preparation for his book, he studied the economic literature available in his time for a period of twelve years, mainly in the British Museum in London.
Aristotle, and Greek philosophy in general, was another important (although often neglected) influence on Marx's analysis of capitalism. Marx's education at Bonn centered on Greek and Roman poets and philosophers. The dissertation he completed at the university was a comparison of the philosophy of nature in the works of Democritus and Epicurus. A number of scholars, moreover, have argued that basic architecture of Capital - including the categories of use and exchange value, as well as the "syllogisms" for simple and expanded circulation (M-C-M and M-C-M') - was derived from the Politics (Aristotle) and the Nicomachean Ethics. Moreover, Marx's description of machinery under capitalist relations of production as "self-acting automata" is a direct reference to Aristotle's speculations on inanimate instruments capable of following commands as the condition for the abolition of slavery.
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
แต่กระนั้นก็ปรากฏว่า มาร์กซได้วางเค้าร่างของทฤษฎีทางเศรษฐกิจเอาไว้ในรูปของบทความ ย่อย. เดือนมีนาคม ค.ศ. 1865 ขณะที่งานเขียนคืบหน้าไปขั้นหนึ่ง มาร์กซได้ติดต่อกับสำนักพิมพ์ Meissner and Behre ในเมืองฮัมบูร์ก เพื่อที่จะเสนอพิมพ์หนังสือเล่มนี้ โดยมี Wilhelm Strohn อดีตสมาชิกสันนิบาตคอมมิวนิสต์คนหนึ่งเป็นคนประสานงาน ในที่สุดเดือนกันยายน ค.ศ.1867 หนังสือเรื่องทุน (Das Kapital) ก็ได้รับการตีพิมพ์เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ในชื่อเต็มว่า Capital: A Critique of Political Economy, Volume I
Karl
Marx
The Midnight University