โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา


Update: 10 Febuary 2007
Copyleft2007
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of this license
document, but changing it is not allowed.
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๑๕๕ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๐ (January, 10,02.2007)
R

ขบวนการเศรษฐกิจการเมืองภาคประชาชน
เวทีสังคมโลกครั้งที่ ๗ และแล้วยังคงเป็นแค่ความฝัน?
กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน : รวบรวม
เวทีสังคมโลกที่จัดขึ้นบนผืนแผ่นดินแอฟริกาเป็นครั้งแรก

บทรายงานเกี่ยวกับเวทีสังคมโลกครั้งที่ ๗ นี้ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการจัดขึ้นในทวีปแอฟริกา
ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนย่า โดยตัวแทนภาคประชาชนจากทุกทวีปได้มาร่วมประชุมกัน
และพร้อมประกาศว่า โลกที่ดีกว่า เป็นไปได้ อีกทั้งยังได้ปฏิญานร่วมกันด้วยว่า
จะต่อสู้กับความไม่เสมอภาคและความอยุติธรรมที่แผ่ขยายไปทั่วโลก
ที่มาพร้อมกับแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ลัทธิอาณานิคมใหม่
ซึ่งได้ทำให้ประชาชนยากจนทั่วโลก ประสบกับชะตากรรมที่เลวร้ายมากยิ่งขึ้น
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๕๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๘.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

เวทีสังคมโลกครั้งที่ 7 และแล้วยังคงเป็นแค่ความฝัน?
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทรายงานเวทีสังคมโลกครั้งที่ ๗ นี้ รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน ๔ เรื่องดังต่อไปนี้
๑. เวทีสังคมโลกครั้งที่ 7 เริ่มแล้ว! ที่ไนโรบี, เคนย่า
๒. โลกใหม่ที่ไม่มีทุนนิยม เป็นไปได้? คำถามในสายลมจากเวทีสังคมโลก
๓. คำปฏิญานที่จะต่อสู้กับความไม่เสมอภาคและความอยุติธรรมโลก
๔. World' vows to fight inequality and injustice

1. เวทีสังคมโลกครั้งที่ 7 เริ่มแล้ว! ที่ไนโรบี, เคนย่า
เวทีสังคมโลก ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนย่า ในระหว่างวันที่ 20-25 มกราคม 2550 นับเป็นครั้งแรกที่เวทีสังคมโลกจัดขึ้นในทวีปแอฟริกา โดยประเด็นหลักของการประชุมในครั้งนี้คือ "People's Struggles, People's Alternatives" (การต่อสู้ของประชาชน, ทางเลือกของประชาชน)

จากละตินอเมริกา (ปอร์โต อเลเกร, บราซิล) ซึ่งเป็นสถานที่ก่อกำเนิดเวทีสังคมโลกเมื่อปี 2544 กลายมาเป็นเวทีสังคมโลกซึ่งจัดขึ้นในเอเชียครั้งแรก (มุมไบ, อินเดีย) เมื่อปี 2547 จากนั้นมีผู้เสนอให้จัดเป็นเวทีสังคมโลกกระจายไปในแต่ละภูมิภาคของโลก ก่อนจะเป็นการจัดใหญ่ร่วมกันอีกครั้ง

เวทีสังคมโลกครั้งที่ 7 (ไนโรบี เคนย่า) เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม 2550 โดยเริ่มต้นจากการเดินขบวนเพื่อสันติภาพ "Peace March" ตั้งแต่เวลา 11.00-13.00 น. ขบวนเริ่มต้นจาก Kibera ซึ่งเป็นเป็นย่านสลัมที่ใหญ่ที่สุดของโลก ผ่านไปตามถนนเส้นต่างๆ ก่อนที่จะไปสิ้นสุดการเดินขบวนที่ Uhuru Park สวนสาธารณะใหญ่ในกรุงไนโรบี ซึ่งเป็นสถานที่ที่จัดพิธีเปิดเวทีสังคมโลก

พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เริ่มด้วยการเชิญตัวแทนจากขบวนการประชาสังคมต่างๆ กล่าวทักทายและความมุ่งหมายในการต่อสู้ร่วมกันด้วยความสมานฉันท์เพื่อโลกใหม่ที่เป็นไปได้ ตามความมุ่งหมายของขบวนการประชาสังคมนั้นๆ อาทิ ตัวแทนจากปาเลสไตน์ได้กล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวปาเลสไตน์ ที่ดินแดนของตัวเองถูกยึดครอง ชาวปาเลสไตน์นับหมื่นคนถูกคุมขังในอิสราเอล จึงมาขอแรงแห่งการสมานฉันท์ในการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ โดยเชิญชวนให้ร่วมกันลงโทษอิสราเอลด้วยการต่อต้าน และบอยคอตต่อการกระทำของอิสราเอลเพื่อยุติการแบ่งแยกชาติพันธุ์ ดังที่แอฟริกาใต้เองก็เคยประสบผลสำเร็จในการต่อสู้มาแล้ว

ต่อจากนั้น ตัวแทนจากยุโรปได้พูดถึงความร่วมมือระหว่างประเทศซีกโลกเหนือและประเทศซีกโลกใต้ (North and South-หมายความถึงประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา) เพื่อโลกใหม่ที่มีความเป็นธรรม พร้อมทั้งได้กล่าวด้วยว่า เป็นเรื่องน่าละอายที่รัฐบาลและผู้นำของประเทศในยุโรปได้ใช้งบประมาณทางทหารมากมาย ขณะที่มีผู้คนในแอฟริกายังอดอยากยากจน และดำรงชีวิตอยู่อย่างขาดแคลนในสิ่งที่เป็นความจำเป็นพื้นฐาน และพวกเขารู้สึกเสียใจและขอโทษสำหรับสิ่งที่ผู้นำในยุโรปได้ดำเนินการและไม่ดำเนินการ อันก่อให้เกิดผลเสียต่อประเทศซีกโลกใต้ทั้งหลาย

ตัวแทนจากองค์กรชาวนาโลก (ลาเวีย คัมปาซิน่า) ได้กล่าวว่า จากการที่มีชาวนาจากประเทศต่างๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนและพูดคุย ได้พบว่า เราต่างเผชิญปัญหาคล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นชาวนาจากละตินอเมริกาหรือชาวนาจากแอฟริกาเราต่างกำลังประสบปัญหาเดียวกัน เช่น ปัญหาหนี้สิ้น ปัญหาการถูกแย่งชิงทรัพยากร อันเป็นผลมาจากลัทธิเสรีนิยมใหม่ (Neo-liberalism) ผ่านองค์กรการค้าโลก, ข้อตกลงการค้าเสรี ที่จักรวรรดินิยมกำลังพยายามไล่ล่า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องมาร่วมกันขับไล่และกำจัดสิ่งเหล่านี้ให้หมดไป

ตามมาด้วยตัวแทนจาก สหภาพการค้าโลก (World Trade Union) ได้ขึ้นกล่าวเป็นคนสุดท้าย โดยกล่าวถึงปัญหาการว่างงานซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ อัตราการว่างงานสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ดังนั้นการเรียกร้องให้มีการกระจายงานเป็นเป้าหมายที่สหภาพการค้าโลกจะต่อสู้และผลักดัน การไม่มีงานทำเป็นผลกระทบอย่างแรงต่อบุคคล นอกจากจะเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจแล้ว ยังกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต่อการเคารพตัวเองและการได้รับความเคารพจากบุคคลอื่น

ภายหลังการกล่าวต้อนรับ ทักทาย และแสดงจุดยืนในการต่อสู้ของขบวนการประชาสังคมส่วนต่างๆ แล้ว เคนเนธ คาอันดา (Kenneth Kaunda) อดีตประธานาธิบดีแห่งแซมเบีย ได้กล่าวปาฐกถาเพื่อเปิดเวทีแห่งสังคมโลกอย่างเป็นทางการ โดยนายคาอันดาได้ย้ำว่าสิ่งที่ประชาชนในเวทีสังคมโลกกำลังต่อสู้ เป็นการต่อสู้ร่วมกันเพื่อเป้าหมายร่วมในการที่จะขจัดกติกา และการดำเนินการอันไม่เป็นธรรม เพื่อโลกใหม่ที่มีความเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นการให้สตรีมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น, การต่อสู้กับปัญหาโรคเอดส์, และรวมถึงปัญหาหนี้สิ้นของประเทศยากจน, ฯลฯ

โดยสิ่งหนึ่งที่ประชาชนที่กำลังต่อสู้ต้องตระหนักไว้เสมอคือ ประชาชนมีความเข้มแข็งและมีความสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายแห่งการสร้างโลกใหม่ได้

อดีตผู้นำแซมเบียยังได้กล่าวถึงประสบการณ์ส่วนตัวในการต่อสู้และเผชิญกับปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลพวงสืบเนื่องกับความยากจน ที่ผ่านมาวาทกรรมที่เกี่ยวกับโรคเอดส์ถูกกำหนดโดยประเทศซีกโลกเหนือ ถึงเวลาแล้วที่ประเทศในแอฟริกาจะต้องมีส่วนกำหนด และให้ความหมายเกี่ยวกับโรคเอดส์ด้วยตัวของเราเอง

เขายังได้กล่าวถึงการสูญเสียลูกชายไปด้วยโรคเอดส์ในช่วงทศวรรษ 1990 ว่าญาติและครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ มักจะปิดบังความจริงเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิต สร้างเรื่องอื่นๆ ขึ้นมา แทนที่จะบอกว่าเสียชีวิตด้วยเอดส์ โดยเหตุผลสำคัญมาจากปัญหาการตีตราบาปต่อผู้ติดเชื้อและครอบครัวที่มีอยู่สูงในขณะนั้น เขาและภรรยาได้ปรึกษากันและตัดสินใจที่จะเปิดเผยกับสาธารณชนว่า ลูกชายของเขาเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ เพราะเขาคิดว่าคือวิธีการต่อสู้และเอาชนะกับการตีตราดังกล่าวด้วยการเผชิญความจริง

นอกจากบรรยากาศการกล่าวต้อนรับและกล่าวปาฐกถาแล้ว ยังมีการแสดงเพื่อสร้างสีสันและบรรยากาศแห่งการเติมพลังแห่งการสร้างโลกใหม่ที่เป็นธรรม เพราะนอกจากเวทีการประชุมแลกเปลี่ยนทางวิชาการแล้ว กิจกรรมวัฒนธรรมเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ นอกจากวงดนตรีจากบราซิลที่เรียกความสนุกสนานคึกคักให้แก่ผู้มาร่วมชุมนุมในพิธีเปิดแล้ว ส่วนใหญ่เป็นการแสดงจากแอฟริกา การแสดงการเต้นรำประกอบบทกวีของ Mau Mau เป็นหนึ่งในการแสดงที่มีพลังตรึงคนดูไว้ ด้วยถ้อยคำง่ายๆ ที่ขับขานเป็นบทกวีประกอบดนตรี และลีลาการเต้นรำของเด็กชาย เด็กหนุ่มที่แสดงถึงความแข็งแกร่งและความสนุกสนานกับการใช้ร่างกายให้เป็นการแสดงที่น่าสนใจ

Mau Mau เป็นชื่อของกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษตั้งแต่ ปี พ.ศ.2495 จนได้รับชัยชนะและเป็นอิสระและก่อตั้งเป็นประเทศเคนย่าในเวลาต่อมา โดยผู้นำการต่อสู้ของ Mau Mau คนหนึ่งคือ Dedan Kimathi ซึ่งถูกแขวนคอในปี พ.ศ.2500 คำพูดหนึ่งที่พลังยิ่งของเขาคือ "it's better to die on our feet than to live on our knee" (มันเป็นการสมควรกว่าที่จะตายโดยการยืนหยัดบนขาของเรา แทนที่จะมีชีวิตอยู่ด้วยการคุกเข่า)

เวทีสังคมโลก (World Social Forum) เป็นเวทีโลกของภาคประชาชน ก่อกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 ที่เมือง ปอร์โต อเลเกร ประเทศบราซิล โดยเริ่มต้นมาจากการเป็นเวทีของภาคประชาชนที่คู่ขนานไปกับเวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ผลสำเร็จจากการประชุมในครั้งนั้น นอกจากจะเป็นจุดกำเนิดของ กฎบัตรแห่งหลักการ (World Social Forum Charter of Principles) ที่คณะกรรมการสังคมโลกได้ยกร่าง และผ่านความเห็นชอบเพื่อเป็นหมุดหมายที่ผู้ร่วมประชุมในเวทีสังคมโลกครั้งต่อๆ ไป ต้องเคารพในหลักการดังกล่าวนี้ร่วมกัน อาทิเช่น การประกาศจุดยืนร่วมกันในแนวทางของการแสวงหาโลกใหม่ที่เป็นไปได้ หรือ "Another World is Possible" เป็นแนวทางถาวรในการแสวงหาและสร้างทางเลือก และทางเลือกในโลกใหม่ที่ว่านี้ อยู่บนจุดยืนที่คัดค้านกระบวนการโลกภิวัฒน์ซึ่งถูกบงการโดยบรรษัทข้ามชาติและรัฐบาล ขณะที่มุ่งสร้างให้เกิดโลกาภิวัฒน์แห่งความสมานฉันท์

นอกจากนี้ กฎบัตรแห่งหลักการยังได้ย้ำหลักการเพื่อเป็นแนวปฏิบัติของเวทีสังคมโลกต่อไป โดยเน้นย้ำว่าเวทีสังคมโลกเป็นสถานที่ประชุมที่เปิดกว้างสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดอย่างเป็นประชาธิปไตย, เวทีสังคมโลกเพียงต้องการนำขบวนการประชาสังคมต่างๆ จากทุกประเทศในโลกมาพบปะและเชื่อมโยงกัน ไม่ได้มุ่งหมายที่จะเป็นองค์กรตัวแทนของประชาสังคมโลกแต่อย่างใด และจะไม่มีการลงมติในฐานะเป็นตัวแทนของเวทีสังคมโลกโดยรวม แต่องค์กรหรือกลุ่มองค์กรที่เข้าร่วมในเวทีสังคมโลก ก็มีสิทธิที่จะลงนามโดยลำพังหรือโดยการประสานงานร่วมกันกับผู้ร่วมประชุมอื่น โดยเวทีสังคมโลกจะเผยแพร่ผลการตัดสินใจนั้นอย่างกว้างขวางด้วยวิธีการต่างๆ

หมายเหตุ : ที่มาของข้อมูล - คัดลอกจากประชาไท - 22 มกราคม 2550

2. โลกใหม่ที่ไม่มีทุนนิยม เป็นไปได้? คำถามในสายลมจากเวทีสังคมโลก
"ถ้าคนจะคิดว่าการเกิดเวทีสังคมโลกที่แอฟริกาในครั้งนี้เป็นเหมือนปาฏิหาริย์ ขอยืนยันว่าไม่ใช่ แต่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามข้อตกลงอันลึกซึ้ง ที่จะให้โลกดำเนินไปด้วยความหวังของเรา การต่อสู้ของเรา" มิรันดา หนึ่งในคณะกรรมการนานาชาติของเวทีสังคมโลก เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการก่อเกิดเวทีสังคมโลกครั้งแรกที่บราซิล กล่าวไว้ในการแถลงข่าวกับสื่อมวลชนในเช้าวันที่ 22 มกราคม 2550 วันที่สองของการประชุมเวทีสังคมโลก ณ ศูนย์กีฬานานาชาติ Moi

การพูดถึงโลกใหม่ที่เป็นไปได้ "Another World is Possible" อาจจะกลายเป็นเพียงคำพูดเก๋ๆ และเสแสร้งหลอกตัวเอง หากเราแกล้งเมินเฉยต่อความเป็นจริงที่คนในแอฟริกากำลังเผชิญ และดูเหมือนความเข้าใจถึงความยากลำบากที่ผู้คนต้องเผชิญนี้เอง จึงทำให้ผู้คนที่ร่วมในงานเวทีสังคมโลกที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในแอฟริกา มีความเข้าใจและมีระดับความอดทนสูงเป็นพิเศษต่อความขลุกขลักนานาประการ

หากอยากดูรายละเอียดโปรแกรมการประชุม เรามีโปรแกรมการประชุมขนาดกระดาษ A4 หลายแผ่นต่อกันให้ผู้คนมุงดูใกล้กับโต๊ะประชาสัมพันธ์ เอเชียพันธุ์เตี้ยแบบเราเลยต้องล่าถอย ก่อนจะไปพบว่าที่สนามกีฬาอีกด้านหนึ่งอยู่ในระยะทางเดินพอให้หอบแฮกได้ มีโปรแกรมมากมายรอให้ผู้คนเอาป้ายชื่อที่ได้จากการลงทะเบียนไปแสตมป์รับ(แม้จะพยายามทำความเข้าใจ แต่ยังงงอยู่ดีว่า ทำไมไม่ให้ใครแบกมากระจายให้กับผู้คนที่อยู่ในสนามด้านที่จัดการประชุมหลักกันบ้าง รวมถึงสื่อมวลชนทั้งหลายก็ต้องตามล่าหาโปรแกรมรายการกันตามอัตภาพ)

ไฟฟ้าที่ติดๆ ดับๆ เป็นระยะ ได้ย้ำเตือนเราเกี่ยวกับความจริงของชีวิตที่ผู้คนในไนโรบีต้องเผชิญ และอินเตอร์เน็ตที่แม้จะอำนวยความสะดวกให้มี Hotspot Wifi แต่ก็ดูเหมือนจะมีช่วงเวลาที่อินเตอร์เน็ตดาวน์มากจนเกือบเรียกได้ว่า ช่วงเวลาที่อินเตอร์เน็ตใช้ไม่ได้ มันมากกว่าเวลาที่ใช้ได้เสียอีก

ความขลุกขลักเป็นเรื่องหนึ่งพอทำความเข้าใจได้ แต่ "ความแพง" เป็นเรื่องที่พาลให้มึนงงอยู่เช่นกันว่า ด้วยค่าครองชีพประมาณนี้ คนในพื้นที่จะดำรงชีวิตอยู่รอดกันอย่างไร ชีวิตจริงๆ ประจำวันคงเป็นเรื่องที่ยากจะตอบในระยะเวลาอันสั้น แหล่งข้อมูลหลักที่ได้คือบทสนทนาระหว่างการเดินทางกับคนขับแท็กซี่ ซึ่งก็ดูจะเล็กน้อยและฉาบฉวยเกินไปกว่าที่จะเอามาเป็นข้อสรุป

ทว่า "ความแพง" สำหรับการจ่ายเพื่อเข้าร่วมเวทีสังคมโลกสำหรับชาวเคนย่า หรือผู้เข้าร่วมที่มาจากประเทศในแถบแอฟริกาด้วยกันเอง ดูเหมือนจะเป็นคำถามและประเด็นที่น่าขบคิด การเดินทางมายังศูนย์กีฬานานาชาติMoi ซึ่งอยู่ห่างออกมาจากตัวเมืองราว 10 กิโลเมตร ทางเลือกหลักของการเดินทางคือแท็กซี่ ค่าแท็กซี่ตามราคาต่อรองอยู่ที่ 500-1,000 เคนย่าชิลลิ่ง (1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ= 66 ชิลลิ่ง) ซุ้มขายอาหารอย่างเป็นทางการภายในงาน หน้าตาและรสชาติดูดีมีคุณภาพ สนนราคาอาหารแต่ละอย่างอยู่ที่ประมาณ 400 ชิลลิ่ง ขณะที่น้ำดื่มขวดละ 100 ชิลลิ่ง ฉะนั้นจึงไม่แปลกเท่าใดนักถ้าในซุ้มอาหารจะหนาตาด้วยผู้เข้าร่วมประชุมจากชาติตะวันตก มากกว่าจะเป็นคนแอฟริกัน

คำถามจากผู้สื่อข่าวที่ถามต่อคณะกรรมการเวทีสังคมโลกเกี่ยวกับเรื่อง "ความแพง" ที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการที่ประชาชนชาวเคนย่าจะเข้าร่วมเวทีสังคมโลกในครั้งนี้ คำตอบที่ได้รับจาก Edward Oyugi คณะกรรมการชาวเคนย่าคือ เวทีสังคมโลกที่เกิดขึ้นในไนโรบี ไม่ได้มีกิจกรรมเกิดขึ้นเฉพาะที่ศูนย์กีฬานานาชาติ Moi แต่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆของกรุงไนโรบี นอกจากนี้ยังมีปัญหางบประมาณที่ไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และถ้าถามต่อว่าถ้าเช่นนั้นทำไมไม่ขึ้นค่าลงทะเบียน เพื่อให้ระดมทุนได้มากขึ้น เหตุผลสำคัญก็เพื่อว่าให้เวทีแห่งนี้เป็นที่ที่ผู้คนสามารถเข้าร่วมได้มากที่สุด ดังนั้นจึงไม่สามารถตั้งราคาค่าลงทะเบียนให้สูงเกินไป และสำหรับชาวเคนย่าแล้ว ยังสามารถที่จะเข้าร่วมงานโดยจ่ายค่าเข้างานเป็นรายวัน คือ 50 ชิลลิ่ง

มิรันดาได้กล่าวเสริมตามประสบการณ์จากการจัดเวทีสังคมโลกที่บราซิลว่า ความร่วมมือจากรัฐบาลและภาคเอกชน อาจจะช่วยให้การดำเนินงานหลายอย่างสะดวกและเป็นไปได้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ต้องระวังที่จะไม่ให้รัฐหรือเอกชนเข้ามาครอบงำการดำเนินงานของเรา นี้เป็นหลักการพื้นฐานที่ต้องรักษาไว้ด้วยความระมัดระวังยิ่ง

"Solidarity" (โซลิดาริตี้) เป็นคำที่มีให้ได้ยินจนหูฉ่ำและตาแฉะ ท่ามกลางความสมัครสมานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ผ่านไปอย่างสงบเสงี่ยมราบรื่น มีเพียงเสียงขบวนพาเหรดเพื่อนำเสนอประเด็นการต่อสู้ของขบวนการประชาสังคมต่างๆ ความตื่นตาตื่นใจกับความสนุกสนานของการร้องรำจากเพื่อนชาวแอฟริกันที่เป็นไปด้วยความสนุกสนานจำนวนไม่น้อยแสดงออกถึงความแข็งแกร่งของร่างกาย จนบางครั้งก็อดสงสัยไม่ได้ว่าขบวนการฝ่ายซ้ายเพื่อต้านโลกาภิวัตน์ช่างรักความสงบดีแท้ ไม่เห็นวี่แววของนักสร้างปัญหา (Trouble Maker) แบบที่มักจะถูกกล่าวหาเลย

แต่เพียงล่วงเข้าสู่ตอนเที่ยงของวันที่สอง ดูเหมือนเรื่องจริงของการถามหาโลกใหม่ที่เท่าเทียมได้ก่อตัวขึ้น กลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมชาวเคนย่าปะปนเล็กน้อยด้วยผู้ร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ ราว 50 คน เดินขบวนบุกเข้าไปยังสำนักงานเลขานุการเวทีสังคมโลก ด้วยคำถามหนักๆ ใหญ่ๆ ว่า ทำไมการจัดการของเวทีสังคมโลกแห่งนี้ช่างคล้ายคลึงกับแนวทางทุนนิยม การเปิดให้บริษัท Cettel บริษัทโทรศัพท์มือถือใหญ่ของเคนย่าได้รับสัมปทานผูกขาดเพียงเจ้าเดียว และถ้าประเด็นความมั่นคง/อธิปไตยทางอาหารเป็นประเด็นใหญ่อันหนึ่งของเวทีสังคมโลก ก็ช่างเป็นเรื่องน่าท้าทายเหลือเกิน สำหรับการทวงถามถึงการไม่สามารถมีทางเลือกของการมีอาหารราคาถูกที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะสามารถเข้าถึงได้

คำตอบที่ได้รับจาก Edward Oyugi คณะกรรมการจัดงานชาวเคนย่า ไม่ว่าจะเป็นการมีข้อตกลงสัญญากับ Cettel เนื่องจาก Cettel ให้การสนับสนุนเรื่องอุปกรณ์การสื่อสารในงานครั้งนี้ เป็นสัญญาที่ได้ทำความตกลงไปแล้ว นอกจากนี้ Oyugi ยังได้พูดถึงหลักการพื้นฐานของการจัดเวทีสังคมโลกที่ไม่สามารถจะกีดกันใครออกไป ซึ่งรวมถึงนักธุรกิจเองก็สามารถเข้าร่วมได้ รวมไปถึงการที่เขาเองไม่สามารถจะตอบตกลงในข้อเรียกร้องเหล่านี้ได้ในทันที เพราะกระบวนการตัดสินใจและดำเนินการใดๆ ของเวทีสังคมโลกตั้งอยู่บนหลักการประชาธิปไตย ข้อเสนอ/ข้อเรียกร้องเหล่านี้ต้องถูกนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการฯ อย่างไรก็ตามทางออกที่น่าจะพอเป็นไปได้ในเรื่องอาหารคือ การจัดให้มีพื้นที่ที่จะมีผู้ค้าอาหารรายอื่นๆ เข้ามาจำหน่ายอาหารเพื่อสร้างทางเลือกของการมีอาหารราคาถูกได้บ้าง

ความเคลื่อนไหวเล็กๆ ในเวทีสังคมโลกแห่งนี้ จุดคำถามซ้ำเดิมถึง "โลกใหม่ที่เท่าเทียม" จะเป็นไปได้อย่างไรท่ามกลางรอยทางที่วัฒนธรรมการขับเคลื่อนโลกดำเนินไปบนรอยทางที่ทุนนิยมครอบงำเกือบทุกพื้นที่ ซึ่งก็อาจรวมถึง Alternative Globalization ที่กำลังหวังว่าจะเคลื่อนไปข้างหน้าในเวทีสังคมโลก ครั้งที่ 7 ที่ไนโรบี เคนย่า

หมายเหตุ : ที่มาของข้อมูล http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID
=6709&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

3. คำปฏิญานที่จะต่อสู้กับความไม่เสมอภาคและความอยุติธรรมโลก
ไนโรบี: หลักจากการรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ ม่านเวทีการประชุมสภาสังคมโลกที่ไนโรบี ประเทศเคนย่าก็ถูกเปิดขึ้น ด้วยคำปฏิญานที่จะต่อสู้กับความไม่เสมอภาคและความอยุติธรรมของสังคมโลก. ตัวแทนต่างๆ นับจำนวนหลายร้อยได้เบนมาบรรจบกัน ณ สวนสาธารณะอูฮูรู อันเป็นสัญญานของการเริ่มต้นการสนทนากันอย่างเข้มข้นในเรื่องที่ว่า จะรับมือกับปัญหาใหญ่ๆ ของโลกใบนี้กันอย่างไร? บรรดาตัวแทนทั้งหลาย ซึ่งมาจากซีกโลกที่พัฒนาแล้วและซีกโลกที่ด้อยพัฒนา ต่างร่วมปันกันในเป้าหมายที่จะสร้างสรรค์โลกให้เป็นสถานที่ที่ดีกว่าเก่า

บรรดานักพูดทั้งหลายซึ่งเป็นตัวแทนทวีปหลักๆ ของโลก ได้กล่าวประณามแบบจำลองการค้าเสรีต่างๆ ซึ่งพวกเขาเห็นว่ามันกำลังถูกยัดลงคอของโลกโดยสถาบัน Bretton Woods และประเทศตะวันตกทั้งหลายเพื่อทำให้โลกยากจนลงตามลำดับ. การเปลี่ยนแปลงไปสู่"โลกที่ดีกว่า เป็นไปได้" บรรดาตัวแทนทั้งหลายต่างประณามสงครามที่แผ่ขยายไปทั่วโลก ซึ่งได้ทอดทิ้งให้ผู้คนนับล้านๆ ขาดเสียซึ่งอาหารประทังชีวิตและที่อยู่อาศัยคุ้มหัว. เวทีสนทนาได้ถูกจัดขึ้นบนผืนดินแผ่นดินแอฟริกันเป็นครั้งแรก และต่อจากนั้นคือตารางกำหนดการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจโลกที่ถูกจัดขึ้นที่เมืองดาวอส สวิสเซอร์แลนด์ในสัปดาห์ถัดไป. เวทีสนทนาได้โฟกัสลงไปในเรื่องปัญหาสำคัญของโลก ที่ต้องเผชิญหน้าโดยการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกสมัยใหม่

อดีตประธานาธิบดีแซมเบีย Kenneth Kaunda กระตุ้นให้ชาวแอฟริกันได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และเข้าควบคุมในการจัดการทรัพยากรต่างๆ ของพวกเขา, "ขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการควบคุมกระบวนการตัดสินใจในประเด็นสาธารณะต่างๆ และยุติการตักตวงผลประโยชน์ของผู้คนทุกรูปแบบไม่ว่าในลักษณะใดก็ตาม" Dr.Kaunda กล่าว

ในการปาฐกถาของเขา, Kaunda กล่าวว่า การต่อสู้ในแอฟริกา, เอเชีย และลาตินอเมริกาได้แสดงให้เห็นว่า ผู้คนทั้งหลายไม่ได้มีความเกรงกลัวหรือไม่แน่ใจในชัยชนะแต่อย่างใด. "อันที่จริง การต่อสู่ทั้งหลายเหล่านั้น เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ร่วมกันสำหรับสวัสดิภาพของมนุษยชาติทั้งมวล" เขากล่าว

Dr Kaunda ได้พูดถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งไม่อาจบรรลุได้โดยการตักตวงผลประโยชน์ เขากล่าวว่า "ผู้สร้างสรรค์เกี่ยวกับความต้องการทั้งปวง มีความเที่ยงธรรมต่อผู้หญิง แต่ทำไมพวกเราจึงเป็นเช่นนี้ ผู้ชายต่างกระทำการอันโหดร้ายและป่าเถื่อนกับผู้หญิง? พวกเราทั้งมวลต่างพึ่งพาอาศัยผู้หญิงเป็นเวลาเก้าเดือนก่อนที่เราจะคลอดออกมาเป็นตัวเป็นตน ซึ่งกลายมาเป็นเราจนกระทั่งทุกวันนี้ ขอให้เราคิดทบทวนถึงเรื่องเหล่านี้ และขอให้เราคิดถึงสิ่งดังกล่าวและมอบผืนแผ่นดินแห่งเกียรติยศบนโลกใบนี้ให้กับเพศผู้เป็นมารดา"

การพูดในฐานะตัวแทนยุโรป, Flavio Lotti กระตุ้นแอฟริกาให้ยกโทษแก่ตะวันตกสำหรับความอยุติธรรมทั้งปวงในประวัติศาสตร์ที่ขีดเส้นแบ่งของพวกเขาโดยลัทธิอาณานิคม "ผมรู้สึกมีภาระอันหนักอึ้งเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ของพวกเรา ขอได้โปรดยกโทษให้กับพวกเราด้วย สำหรับการกระทำทั้งหลายที่ผ่านมา ทั้งสิ่งที่เรากำลังทำและสิ่งที่เราไม่ได้ทำ" Mr Lotti กล่าว

เขากล่าวว่า แม้เวทีนี้จะขาดเสียซึ่งพลังอำนาจที่ถูกกวัดแกว่งโดยเวทีเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของบรรดาประเทศที่ร่ำรวยที่สุดของดาวเคราะห์ดวงนี้ แต่ตัวแทนทั้งหลายในไนโรบี ต่างมีความผูกพันมั่นหมายที่จะต่อสู้เพื่อสร้างโลกให้เป็นสถานที่ที่ดีกว่า. Mr Lotti ได้วิจารณ์ตะวันตกซึ่งได้ใช้จ่ายเงินนับล้านๆ ดอลล่าร์ในการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ ก่อสร้างรากฐานใหม่ๆ และการเข้าไปเกี่ยวพันกับสงครามมากมาย ในขณะที่ผู้คนนับล้านๆ ซึ่งอยู่อาศัยบนโลกใบนี้ยังคงหิวโหยอยู่

บรรดาตัวแทนแอฟริกันกระตุ้นและสนับสนุนผู้นำทั้งหลายในทวีปนี้ให้ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และร่วมกันปฏิเสธลัทธิอาณานิคมใหม่. "ลัทธิทุนนิยมจงล่มสลาย พร้อมด้วยลัทธิอาณานิคมใหม่และการแปรรูปไปเป็นเอกชนจงพินาศ, ส่วนคนไร้ที่ดินจงเจริญ คนไร้ความสามารถและผู้ป่วยทั้งผองในโลกนี้จงเจริญ" ฝูงชนต่างร่ำร้องเพลงสวดโดยพร้อมเพรียงกัน. บรรษัทข้ามชาติทั้งหลายตกอยู่ภายใต้การโจมตีอย่างเผ็ดร้อน ในสิ่งซึ่งบรรดาตัวแทนทั้งหลายถือว่าเป็นการปฏิบัติทางการค้าที่ไร้ความยุติธรรม ซึ่งได้ทำให้ความยากจนของโลกยิ่งเลวร้ายลงเรื่อยๆ

บรรดาตัวแทนจากเอเชีย กระตุ้นให้โลกต่อสู้กับลัทธิมูลราก(Fundamentalism)ทุกรูปแบบ ซึ่งลัทธินี้ได้ทำให้โลกกลายเป็นสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น. "ลัทธิมูลรากจะต้องพ่ายแพ้ต่อคริสเตียน, มุสลิม, ฮินดู และศาสนิกอื่นๆ" พวกเขากล่าว

Mr Guy Ryder แห่งสันนิบาตสหภาพทางการค้าระหว่างประเทศกล่าวว่า, อัตราการไม่มีงานทำได้มาถึงจุดที่ไร้เหตุผลแล้ว อันเนื่องมาจากการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ

Jeff Otieno and Nyabonyi Kazungu
หมายเหตุ : ที่มาของข้อมูล The Nation - 2007-01-22
Source: http://www.nationmedia.com/dailynation/


4. ต้นฉบับภาษาอังกฤษ 'World' vows to fight inequality and injustice

NAIROBI: The curtains opened at the eagerly awaited World Social Forum meeting yesterday with a vow to fight inequality and social injustice in the world.

Hundreds of delegates converged at Uhuru Park, signalling the beginning of intense discussion on how to tackle some of the world's major problems. The delegates, drawn from both developing and the developed world, shared the common goal of making the world a better place.

Speakers representing the world's major continents spoke against free trade models which they said were being pushed down the throats of the world by the Bretton Woods Institutions and some western countries to impoverish the world.

Chanting "a better world is possible" the delegates condemned the global wars which have left millions without food and shelter. The forum is the first one to be held on African soil and it comes ahead of the scheduled World Economic Forum to be held in Davos Switzerland next week. The forum focuses on world's major problems brought by changes in the modern world.

Former Zambia President Kenneth Kaunda set the ball rolling by urging Africans to participate in decision making processes and take charge in the management of their resources. "Let people participate fully in the control of the processes of decision making in public affairs and denounce all forms of exploitation of person by person in any shape or form," said Dr Kaunda.

In his keynote speech, Mr Kaunda said the struggles in Africa, Asia and Latin America had shown that people need not fear or doubt victory. "Indeed, those struggles were but part of one common struggle for the welfare of the whole of humanity," he said.

Dr Kaunda said sustainable development could not be achieved through exploitation. He said: "The creator of all demands fair play for the woman. But why do we, the men, turn cruel against women? We are entirely dependent on women for a good nine months before we come out to be what we are today. Let us think through this and allow this mother her dignified place on earth."

Speaking on behalf of Europe, Flavio Lotti urged Africa to forgive the West for the historical injustices meted on them by colonialism. "I feel the burden of our historical responsibilities. Forgive us for what we did, what we are doing and what we have not done," said Mr Lotti.

He said though the forum lacked the power wielded by the World Economic Forum which brought together the globe's richest countries, the delegates in Nairobi were committed to the struggle of making the world a better place.

Mr Lotti criticised the West for spending millions of dollars in buying armaments, building new bases and involvement in wars while millions of the world's inhabitants go hungry.

African delegates urged leaders on the continent to fight for human rights and reject neocolonialism.

"Down with capitalism, neo-colonialism and privatisation. Viva landlless people, people with disability and all other ills in the world," the crowd chanted in unison.
Multi-national companies also came under scathing attack for what the delegates termed unfair trade practices which had impoverished the world's poor.

Delegates from Asia urged the world to fight all forms of fundamentalism which they added was making the world an insecure place.

"Fundamentalism must be fought in all Christian, Muslim, Hindu and other regions," they said.
Mr Guy Ryder of the International Trade Union Confederation said unemployment rates had reached unreasonable proportions due to unfair trade practices.

Jeff Otieno and Nyabonyi Kazungu

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

กลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมชาวเคนย่าปะปนเล็กน้อยด้วยผู้ร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ ราว 50 คน เดินขบวนบุกเข้าไปยังสำนักงานเลขานุการเวทีสังคมโลก ด้วยคำถามว่า ทำไมการจัดการของเวทีสังคมโลกแห่งนี้ช่างคล้ายคลึงกับแนวทางทุนนิยม การเปิดให้บริษัท Cettel บริษัทโทร ศัพท์มือถือใหญ่ของเคนย่าได้รับสัมปทานผูกขาดผู้เดียว และถ้าประเด็นความมั่นคง/อธิปไตยทางอาหารเป็นประเด็นของเวทีสังคมโลก ก็เป็นเรื่องน่าท้าทายเหลือเกิน สำหรับการทวงถามถึงการไม่สามารถมีทางเลือกของการมีอาหารราคาถูกที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะสามารถเข้าถึงได้

10-02-2550

World Social Forum
The Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com