Free Documentation
License
Copyleft : 2006,
2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document, but changing it is not allowed.
หากนักศึกษา
และสมาชิกประสงค์ติดต่อ
หรือส่งบทความเผยแพร่บนเว็บไซต์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กรุณาส่ง email ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
The Midnight
University
ชีววิทยาแนวจิตวิญญาน
The
Biology Of Belief : ชีววิทยาแห่งความเชื่อ (๒)
จันทร์เพ็ญ
ศิลาวงศ์สวัสดิ์
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความที่ปรากฏบนหน้าเว็บเพจนี้ได้รับมาจากโครงการเชียงใหม่สำนึก
เป็นการถอดเทปคำบรรยายในเรื่องเกี่ยวกับ
The Biology Of
Belief:
Unleashing The Power Of Consciousness, Matter And Miracles
by Bruce H. Lipton
ซึ่งเป็นการศึกษาสิ่งมีชีวิตในระดับเซลล์ และผู้วิจัยได้ค้นพบมิติใหม่ๆ
ที่สามารถเชื่อมโยงคำอธิบายสิ่งเหล่านี้มาใช้กับพฤติกรรมของมนุษย์ได้
midnightuniv(at)yahoo.com
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1028
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๗ กันยายน ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
15.5 หน้ากระดาษ A4)
The Biology Of Belief : ชีววิทยาแห่งความเชื่อ
(๒)
จันทร์เพ็ญ ศิลาวงศ์สวัสดิ์ - ภาควิชาฟิสิกส์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชลนภา :
เท่าที่ทราบมีงานอย่างของริชาร์ต ดอร์จิน ซึ่งเขียนเรื่อง The selfish gene ที่พยายามจะบอกว่า
ถึงที่สุดแล้วมนุษย์ถูกกำหนดในระดับยีน จริงๆ มีคนค้านวิธีคิดแบบนี้กันมาก เขาบอกเป็นพวก
Extreme Darwinian แต่ว่ามันหาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้ ที่อธิบายแบบนี้หรือที่บอกว่า
ผิว (membrane) เป็นแบบสมอง และว่าตัวยีนทำหน้าที่เป็น memory นี่เปลี่ยนวิธีคิดของเราเลย
โดยส่วนตัวสนใจอยู่อย่างคือ ในทางมหายานมีคำอธิบายสู่ชีวิตอันอุดม ซึ่ง อ.สุลักษณ์
ศิวรักษ์ได้แปลของท่านนัท ฮันท์ ออกมา เขาพูดถึงคำว่าคัมภีร์ ที่เขาเชื่อว่าในทางพุทธ
มนุษย์ทุกคนมีเมล็ดพันธุ์ทุกชนิดอยู่ในตัว ถ้าเป็นบาลีเขาใช้คำว่า พีช เหมือนกับว่า"พืช"
มันขึ้นกับเราถ้าหล่อเลี้ยงเมล็ดพันธุ์ดีๆ ให้เติบโตขึ้น พฤติกรรมมันจะออก ตัวพีชเขาอธิบายว่าอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก
(subconciousness) อยู่ในระดับที่ลึกมาก พอมีอะไรมากระตุ้น มันจะโผล่ออกมาในระดับจิตสำนึก
(consciousness) ของเรา
อย่างไรก็ตาม เขาก็บอกว่าเรามีเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ดีด้วย อย่างความโกรธ พอมีอะไรมากระตุ้นเราก็โกรธ คนส่วนใหญ่คิดว่าจะต้องไปตัดเอาเมล็ดตรงนี้ออกที่มีอยู่ในตัว แต่เขาบอกว่าคุณไม่มีสิทธิไปตัดเอาเมล็ดพันธุ์ที่เลวร้ายออกไป แต่คุณจะต้องหล่อเลี้ยงเมล็ดพันธุ์ที่ดีขึ้นมา อย่างเมล็ดพันธุ์แห่งความกรุณาขึ้นมาปกป้องความโกรธ ความเกลียด
จันทร์เพ็ญ :
ก็คือมีเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ดีอยู่ในพีช ให้มันยังคงอยู่โดยไม่ต้องงอกงามขึ้นมา
ชลนภา : มันอยู่แล้วเรามีศักยภาพในการรับทุกอย่าง
ตัวรับรู้สัญญาณ (receptor) เราเชื่อว่าเรามีตา หู จมูก ปาก เขาบอกผิวหนังเรารับข้อมูลมาเยอะมากโดยที่เราไม่รู้ตัว
ทั้งร่างกายของเราเลย
จันทร์เพ็ญ : สำหรับในหนังสือเรื่อง Biology of
believe ลิปตันบอกว่า สี่พันล้านสัญญาณต่อวินาทีที่หัวสมองเรารับอยู่ตลอดเวลา
แต่ว่าหัวสมองเราไม่ไปเอาบางอย่างที่มันรู้อยู่แล้ว อย่างใส่เสื้อเชิ้ต คือ จะมีการรับข้อมูลเข้ามาอยู่ตลอดเวลาที่ใส่เสื้อเชิ้ตอยู่
แต่มันก็กรองออกไปเอง ที่สมองรับรู้จะอยู่ประมาณแค่สองพันสัญญาณต่อวินาที ซึ่งแล้วแต่ว่าเราจะเอาไปประมวลผลรึเปล่า
อยู่ที่ว่าเราจะจับขึ้นมาแล้วรับรู้มันรึเปล่า
ชลนภา : ยังสงสัยคำว่า "Biology of belief"
ความเชื่อในที่นี้ที่เขาใช้หมายถึง ความเชื่อของเราหรือว่า ความเชื่อแบบที่เราเชื่อว่า
ชีววิทยาเป็นแบบนี้
จันทร์เพ็ญ : เป็นความเชื่อ แล้วมันส่งผลกับการแสดงออกทางชีววิทยา
(biology expression) ก็คือ ส่งผลในทางพฤติกรรมกับลักษณะที่แสดงออกมาว่าเป็นอย่างไร
อย่างหนูสองตัว มันเชื่อว่ามันจะต้องเอาตัวรอดในสถานการณ์ที่อันตราย มันเชื่ออย่างนั้น
เพราะเราสร้างสถานการณ์ให้มัน สร้างสิ่งแวดล้อมให้มันเชื่อว่ามันอยู่ในอันตราย
มันก็สร้าง (built up) กล้ามเนื้อขึ้นมาใหญ่ และต้องแลกเปลี่ยนกับบางส่วนที่มันต้องเสียสละออกไป
แล้วสร้างบางส่วนเพื่อเอาชีวิตรอด
อติชาติ : ประเด็นคือ พยายามจะบอกว่าทฤษฎีนี้ต่างจากทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินด้วยใช่ไหม
แล้วเรื่องที่วิ่งหนีอันตรายและเข้าหาอาหาร จริงๆ แล้วมันจะต่างจากทฤษฎีของดาร์วินอย่างไร
เพราะว่า จริงๆแล้ว มันก็เหมือนกับการคัดสรรโดยธรรมชาติ (natural selection)
อยู่ในตัว คือ สิ่งที่อยู่รอดคือสิ่งมีชีวิตที่ต้องหนีจากอันตราย สิ่งมีชีวิตที่อยู่คือ
สิ่งมีชีวิตที่วิ่งหาอาหารให้ถูก เพราะถ้าวิ่งไม่ถูกก็จะตาย
จันทร์เพ็ญ : ทฤษฎีดาร์วินที่เขาอ้างถึง ต้องสู้กันขึ้นมาแล้วอยู่รอด
เป็นการแข่งขัน (competition) ไม่ใช่ว่ารวมกันขึ้นมาอยู่รอด ไม่ใช่สู้ด้วยกัน
แบบปากกัดตีนถีบกับคนข้างๆ เพื่อที่จะเอาตัวรอดขึ้นมา แล้วตัวที่รอดจะมีลักษณะเด่นที่ถ่ายทอดเป็นสปีชีส์ตัวนั้น
ชลนภา : แล้วเขาพูดถึงเรื่องระดับเซลล์ที่มันซับซ้อนขึ้น
เกิดจากลักษณะเซลล์ที่มันเอื้ออาทร (symbiosis) มากกว่าที่จะเป็นแบบการแข่งขัน
(competition) ขึ้นมา
วิชัย : แต่พูดถึงว่าถ้าอย่างกรณีของยีราฟ ไม่ใช่การแข่งขัน
ยีราฟคอมันยาวมันก็เลยอยู่รอดได้ เพราะว่าอาหารอยู่ข้างบน มันก็เลยพยายามยืดๆ
ตัวที่สั้นก็ตายหมด ซึ่งมันไม่ได้แข่งกันเอง ไม่ได้ต่อสู้กันเอง
จันทร์เพ็ญ : ดาร์วินแข่งกับสิ่งแวดล้อมด้วยค่ะ
คือ ไม่ใช่แข่งกับสิ่งมีชีวิตอย่างเดียว
ชลนภา : ทำให้เห็นกระบวนทัศน์ที่ซ้อนอยู่ในเรื่องนี้
เวลาเรามองวิวัฒนาการของเซลล์ เรามองตัวเซลล์โดดๆ ก็เป็นการลดทอน (reductionism)
แต่ในเซลล์ก็มีไมโตคอนเดรีย ซึ่งจริงๆ ก็เป็นลักษณะการอยู่แบบเกื้อหนุน (symbiosis)
เหมือนกัน ซึ่งพูดในเล่ม symbiotic planet เราต้องมองในแง่ พูดถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้วยมากกว่าปัจจัยภายในอย่างเดียว
เหมือนกับ main idea หลักของหนังสือจะบอกว่า character หรืออะไรทั้งหลายของมนุษย์
มันไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนแต่ว่าโดยสิ่งแวดล้อม เขาถึงใช้คำว่า พ่อแม่คุณเป็นนักพันธุวิศวกรรมศาสตร์ได้โดยนัยที่ว่าไม่ใช่เพราะว่าพ่อแม่มียีนแบบนี้
แต่เพราะว่าเขาจัดสิ่งแวดล้อมให้ลูก
อติชาติ :
แต่ถ้าเขาสามารถพิสูจน์ได้ว่าคนๆหนึ่งเปลี่ยนยีนได้จริงๆ แต่ว่าที่เขาทำในระดับเซลล์แบบนี้
มันยังทำให้น่าเชื่อถือได้แบบไม่เต็มที่เพราะว่ายีนมีหลายรุ่น สมมติว่าทำในระดับเซลล์ก็ได้
แต่ว่าเป็นเซลล์ตัวเดียวกันไม่ใช่รุ่นใหม่ มันเปลี่ยนยีนจริงๆ อันนี้ผมว่า น่าเชื่อถือมาก
แต่พอเขาพูดถึงความเชื่อเขาพูดว่าเป็นคน จริงๆแล้วอาจเป็นปัญหากับวิทยาศาสตร์ทุกสาขาก็ได้
เวลาที่เราทดลองกับสัตว์ ก็พยายามมองให้ลึกถึงเซลล์ แล้วเอาพวกนี้มาอธิบายคน
แต่อันที่จริงผมก็ไม่รู้ว่า แล้วเซลล์เหมือนคนหรือเปล่า ตามข้อเท็จจริงคนต่างจากเซลล์
ถ้าสมมติว่าคนมีจิต ตรงนี้ก็ต่างล่ะมีองค์ประกอบมากกว่า อย่างนี้ตอบยากเพราะฉะนั้น
การพยายามเชื่อมจากสิ่งเล็กๆ แล้วมาขยายเป็นสิ่งใหญ่ บางทีก็ต้องระวังนิดหนึ่ง
อย่างจิตวิทยาเขาก็ทำแบบนี้ เวลาเขาทดลองๆ กับสัตว์ แต่เวลาอธิบายมาอธิบายกับคน
ชลนภา :
แต่ถ้าเซลล์มันไม่ใช่แค่เซลล์สัตว์ มันหมายถึงเซลล์พืชด้วย
จันทร์เพ็ญ : ตอนต้นเขาไม่ได้เจาะจง บทแรกที่เขาเอาขึ้นมา
เขาพูดถึงแยกเอามาแค่เซลล์เดียว สามารถเอาไปเลี้ยงให้อยู่รอดได้ แล้วพฤติกรรม
ก็คือหาทางอยู่รอด สืบพันธุ์ แบ่งตัว
สมเกียรติ : เท่าที่ฟังรู้สึกมีปัญหาอยู่หลายอย่าง
อย่างที่หมอวิชัยพูด เพราะว่าทฤษฎีวิวัฒนาการ มันอยู่ที่ selected ด้วย คือไม่ใช่แค่
competition กรณีอธิบายยีราฟ ยีราฟมีคอยาวเท่าๆ กัน เพียงแต่ว่าตัวที่มันยื่นคอได้สูงกว่าตัวอื่น
อาหารมันเหลืออยู่ตรงนั้น ส่วนตัวที่คอมันยื่นคอได้ไม่มาก อาหารมันเริ่มหมด
เมื่อยีราฟพวกที่สามารถยื่นคอขึ้นไปได้ ทำให้กล้ามเนื้อมันยืดขยายขึ้น พวกนี้มันมียีนที่จะถ่ายทอดไป
สู่รุ่นต่อๆไป ในขณะที่คอสั้นกว่าเริ่มตาย แล้วอาหารมันก็สูงขึ้นไปเรื่อยๆ คือมันมีวิวัฒนาการซึ่งหมายถึง
การเขยิบไปข้างหน้า มี progression ในทางชีววิทยาบางอย่าง ที่มันจะยืดขยายหรือจะหดบางอย่างที่ไม่จำเป็น
ฉะนั้นถ้ามองจากสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวอธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการผมว่าไม่ครบ
กรณีปัญหาต่อมาก็คือ ว่าดาร์วิเนียน เป็นทฤษฎีที่ถูกต่อต้านสูงมากในยุคปัจจุบัน เพราะว่ามันครอบงำศาสตร์อื่นๆ ในเชิงคำอธิบายมันมีอำนาจอธิบายสูงมาก จนกระทั่งมันครอบงำแม้แต่วงการวิทยาศาสตร์ ศิลปะ โดยเฉพาะนักทฤษฎีศิลปะและนักสุนทรียศาสตร์บางคนเริ่มหันมาพิจารณาเรื่อง creation กันใหม่
พวกเขาคิดว่าทฤษฎีวิวัฒนาการได้เข้ามาครอบงำวงการศิลปะ มันกระตุ้นให้ศิลปะทุกแขนงจะต้อง create มันหมายถึงว่ามี progress แบบทฤษฎีวิวัฒนาการซึ่งเป็นธรรมชาติ ต้องก้าวไปข้างหน้าตลอด ซึ่งไม่จริง บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะบอกว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเชื่อแบบนี้ คุณจะผลิตงานอะไรที่มันแปลกพิสดาร อุตริ หรือแม้กระทั่งเป็นอันตรายคุณก็จะทำ เพราะว่ามันแปลกมันยังไม่เคยทำมาก่อน ดังนั้นมันจึงเป็นความก้าวหน้า เป็นการบุกเบิก
ในวงการวิทยาศาสตร์ ผมเคยอ่านพบในหลายๆ version ที่เขาคิดว่าดาร์วิเนียน เป็นทฤษฎีที่อธิบายอะไรต่างๆได้ไม่ครบ เป็นไปได้ที่เรื่องนี้จะ anti-thesis ดาร์วิเนียน จริงๆ แล้วเราต้องเข้าใจหลักของฝรั่งตรงที่เติบโตจากแนวคิดเรื่อง dialectic materialism หรือหลักการวิภาษวิธี (Thesis, Anti-thesis, และ Synthesis)
Thesis หมายถึงข้อสรุปเดิมที่คนอื่นก่อนหน้าคิดไว้แล้ว มาถึงแล้วตรงนี้ เป็นข้อสรุปเป็นอย่างนี้ คนต่อมาคือว่า เอาอันนี้ไปทดลองก็เจอปัจจัยใหม่ๆ หรือภายใต้บริบทหรือสถานการณ์ใหม่ๆ แล้วรู้สึกว่า อันนี้ตอบคำถามบางอย่างไม่ได้ ก็จะ anti-thesis เลี่ยงไปหรือไม่ก็คนละชนิด และสุดท้ายของ dialectic materialism ก็คือ synthesis เกิดการผสมระหว่าง thesis กับ anti-thesis เป็น synthesis สังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ อันนี้ก็จะพิสูจน์หรือเข้าถึงความจริงได้ระดับหนึ่ง แล้วในที่สุด synthesis ก็จะกลายเป็น thesis แล้ววงจรนี้ก็จะเกิดขึ้นอีก พัฒนาไปเรื่อยๆ ตามหลักการดังกล่าว
ทฤษฎีเกือบทุกทฤษฎีไม่ว่าประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ใช้แกนการอธิบายแบบ dialectic materialism ไปอธิบายเกือบหมด ยกตัวอย่างทฤษฎีของนิวโทเนียน เคยตอบคำถามได้เรียบร้อย ใช่เลย สสาร/พลังงาน แยกออกจากกัน พอมาถึงควอนตัมฟิสิกส์, นิวโทรเนียน ถูกค้านที่คุณแยกสสาร/พลังงาน. จริงๆ แล้ว อยู่ที่วิธี approach ถ้าคุณใช้เครื่องมือนี้ คุณจะเห็นเป็นพลังงาน ถ้าคุณใช้อีกวิธีหนึ่ง คุณจะเห็นมันเป็นสสาร
และวันนี้ผมเพิ่งได้ยินจาก อ.จันทร์เพ็ญ ก็คือว่า approach โดยวิธีที่ส่องเข้าไปใกล้ที่สุด มันกลับกลายเป็นเหมือนดาวเสาร์ในทัศนะของผม คือมีรูปทรงแต่ไม่มีมวล เป็นอากาศ เป็นควัน ที่มันรวมกันเหมือนดาวเสาร์ ควอนตัมฟิสิกส์บอกว่า นิวโทเนียนที่เคยแยกว่า อันนี้ต้องเป็นพลังงาน อันนี้เป็นสสารไม่ใช่อีกแล้ว อันที่จริงมันประกอบกัน มันเป็นองค์รวม
ฟริตจ๊อฟ คาปร้า เคยเขียนไว้ Tao of physics ว่าขึ้นอยู่กับเครื่องมือในการสังเกตการณ์ สมมติว่าผมจะวิจารณ์เรื่องนี้ มันมีทฤษฎีหนึ่งที่เขาเรียกว่า ทฤษฎีของการตั้งสมมติฐานเอาไว้ล่วงหน้า คือ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณตั้งสมมติฐานเอาไว้ล่วงหน้าแบบนี้ วิธี investigate ของคุณทั้งหมดคุณจะตัดสิ่งอื่นที่ไม่เข้ากับเรื่องนี้ทิ้ง ฉะนั้นถ้ามองว่ายีนมันสามารถมีสมอง มันจะค้นให้เจอให้ได้ เพราะว่าอะไรที่ไม่เกี่ยวกับสมอง จะไม่เอามาทดลอง พยายามที่ตัดตัวแปลออกทั้งหมดเพราะว่ามันไม่เกี่ยว
อันต่อมาที่อธิบายง่ายกว่านั้น ตำรวจตั้งสมมติฐานว่าคนๆนี้เป็นคนร้าย จึงพยายามหาหลักฐานมาพิสูจน์คือหมายถึง พยามค้นหาวัตถุพยานต่างๆแวดล้อมมามัดตัวคนๆนั้น ทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุ พยานสิ่งแวดล้อม และองค์ประกอบต่างๆ คือถ้ามีการตั้งสมมติฐานไว้แล้ว มันจะสร้างปัจจัยแวดล้อมขึ้นมาที่นำทางไปสู่ concept หรือแนวคิดบางอย่างที่จะไปมัดตัวคนร้าย
มีเรื่องตลกเรื่องหนึ่งจะเล่าให้ฟัง คือหลังจากเกิดเหตุการณ์ 11 กันยา ที่มีการถล่มตึกคู่แฝด World Trade center คนที่เป็นมุสลิมในสหรัฐกลายเป็นผู้ต้องสงสัยทั้งหมด สายสืบ/ตำรวจได้ไปจับนักท่องเที่ยวมุสลิมคนหนึ่งซึ่งไปถ่ายภาพสวนสนุก Disney land ด้วยกล้องวิดีโอ เพราะเขาเป็นมุสลิม และภาพถ่ายที่อยู่ในกล้องที่ใช้เป็นหลักฐาน คือภาพของสถานที่ต่างๆ และอาคารภายในสวนสนุกนั้นซึ่งมีผู้คนพลุกพล่าน มีบางภาพที่ถ่ายที่พื้นในขณะก้าวเดินด้วย ซึ่งตำรวจสันนิษฐานว่าเป็นการนับก้าวเพื่อจะวางระเบิด
อันที่จริงนักท่องเที่ยวมุสลิมคนนี้ ต้องการที่จะถ่ายภาพสวนสนุก Disney Land ไปให้คนในครอบครัวดู ดังนั้นเขาจึงได้ถ่ายภาพสถานที่ที่น่าสนใจต่างๆทั้งหมดในสวนสนุกเก็บไว้ และบางครั้งเขาก็ลืมปิดกล้องด้วย อันนี้เกิดขึ้นเสมอๆ สำหรับคนใช้กล้องถ่ายวิดีโอ โดยเหตุนี้ภาพที่บันทึกมันจึงไปติดภาพเท้าของเขาที่กำลังก้าวเดิน แต่สิ่งเหล่านี้กลายเป็นหลักฐานมัดตัวทั้งหมด เพราะตำรวจสันนิษฐานอยู่ก่อนแล้วว่า มุสลิมทุกคนเป็นคนที่ไม่น่าไว้ใจ
ลักษณะแบบนี้มันขึ้นอยู่กับ investigator มีสมมติฐานเอาไว้หรือเปล่า ซึ่งจริงๆ แล้วอาจไม่ใช่น่ะ มันสร้าง truth กันน่ะ ในเวลาที่เราต่อสู้กันในศาล ก็พยายามที่จะเอา fact มาวางเพื่อจะบอกว่า truth ของมันจริง แล้ว fact ทุกอย่างที่คุณเอามาวาง ไม่มีความหมายจนกว่าคุณจะร้อยมันให้เป็น concept เช่น เรานั่งกันอยู่อย่างนี่ คุณชื่อนั่น มีกำเนิดอย่างนั้นซึ่งเป็น fact หมดเลยซึ่งมันไม่เกี่ยวกับตรงนี้ ตอนนี้สิ่งที่เป็น fact ของอาจารย์จันทร์เพ็ญ คือ อาจารย์จันทร์เพ็ญจบฟิสิกส์ อ่านหนังสือเล่มนี้ เพราะฉะนั้นจึงเล่าเรื่องนี้ได้ดีกว่าคนอื่น แต่เหตุผลของอาจารย์มีญาติเป็นใคร วันนี้อาบน้ำแล้วหรือยัง มันไม่เกี่ยวกับโต๊ะนี้ ไม่ต้องเอามาเล่า คือ fact มีหมด แต่เราจะหยิบ fact บางตัวซึ่งเอามาร้อยเข้าด้วยกันนั่นเอง
จันทร์เพ็ญ : ขอขยายเรื่องการเข้าไปดูอะตอมใกล้ๆ
ว่าการที่เราเข้าไปดูใกล้ๆ ได้หรือขยายขึ้นมาดูให้ใหญ่ขึ้นได้นั้น หมายความว่าเราเปลี่ยนตัวกลาง
ที่เข้าไปหยั่งให้เล็กลง (เครื่องมือนั่นเอง) ก็คืออย่างที่เราใช้ตาดู มองเห็นได้
ก็คือ ช่วงความยาวคลื่นของแสงที่มองเห็น (visible light) นั้น ยังคงเล็กกว่ารายละเอียดของเป้าหมาย
(target) ที่เราเห็น จึงสามารถสะท้อนคลื่นแสงกลับออกมาให้เราเห็นได้ แต่เมื่อใดที่วัตถุเล็กลงๆ
จนเล็กกว่าคลื่นแสงที่เป็นสื่อสะท้อนข้อมูลออกมาให้เห็นแล้ว วัตถุจะไม่สามารถสะท้อนคลื่นนั้นออกมาให้เราเห็นได้อีกแล้ว
สังเกตดูคลื่นทะเล ถ้ามันปะทะก้อนหินที่เล็กกว่า ช่วงความยาวคลื่นของมัน คลื่นจะข้ามหรืออ้อมก้อนหินนั้นไปได้
แต่ถ้ามันปะทะกับหน้าผา มันจึงสะท้อนกลับ เช่นเดียวกันกับคลื่นแสง มันจะสะท้อนกลับได้น้อยลงๆ
เมื่อขนาดของวัตถุเริ่มเล็กกว่า 300 - 100 นาโนเมตร จนเหมือนกับมันมองไม่เห็นเลย
เมื่อวัตถุเล็กกว่าความยาวคลื่นในอัตราส่วนหนึ่ง ถ้าเรายังต้องการจะเห็นมันอีก
ก็ต้องเปลี่ยนสื่อ เปลี่ยนเครื่องมือให้เล็กลง เช่น ปัจจุบันเราใช้กล้องอิเล็กตรอนส่องมองดูรายละเอียดของโมเลกุล
อะตอมขนาดเล็กๆ ได้ ซึ่งเล็กกว่าโมเลกุลหรืออะตอมทำให้อิเล็กตรอนสะท้อนกลับมาได้และพาข้อมูลของโมเลกุลหรืออะตอมนั้นๆ
มาบรรทึกลงบนฉากซึ่งตอบสนองต่ออิเล็กตรอนแล้วขยายผลขึ้นมาให้เราเห็นได้
ดังนั้นสำหรับอะตอมที่บอกว่ามองเข้าไปใกล้มากขึ้นๆ ก็คือ การเปลี่ยนเครื่องหยั่ง (probe) ให้เล็กลงๆ ซึ่งบางอย่างอาจมองไม่เห็นเป็นภาพ เหมือนกล้องอิเล็กตรอน แต่วัดเป็นปฏิกิริยาออกมา แล้วปรากฏว่ามันเหมือนไม่มีอะไรเลย
สมเกียรติ :
ผมขอเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่งคือ หนังสือทุกเล่มมันจะวาง theme ของมันไว้ อะไรที่ไม่เกี่ยวมันตัดออกหรือเวลาที่เรา
research เรื่องเดียวกันแต่มาจาก precondition ต่างกันคุณสามารถสรุปเรื่องเดียวกันไปคนละแนวได้
แล้วเวลาเราอ่านหนังสือโดยไม่วิพากษ์วิจารณ์ อ่านแบบ passive เราก็จะเชื่อ
แต่วิธีอ่านคือ เขาบอกว่าเวลาเราอ่านหนังสือเราอ่านแบบตีลูกเบสบอล ตีให้ถูก คือหมายถึง
คนเขียนเขาขว้างลูกเบสบอลมา ถ้าเราตีถูกแสดงว่าเรารับ message ของเขาได้ แต่ทุกคนคิดว่าการอ่านหนังสือเหมือนกับการเทน้ำลงในแก้ว
ซึ่งไม่จริง มันเหมือนการตีลูกเบสบอลล์มากกว่า เพราะว่าหนังสือบางเล่มที่เขาเขียนที่เขาใช้
technical term มาก ก็แสดงว่าเขาปาลูกเทคนิก เราอาจจะตีไม่ถูก พอตีไม่ถูกเราไม่รับ
message เหล่านั้นไม่ได้. คือการอธิบายว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องของการรับ
message หรือการรับลูกเบสบอลล์ อย่างเช่นถ้าเราไปเจอคำว่า สัมประสิทธิ์การยึดเหนี่ยวของพวกวิศว
มีใครเคยได้ยินบนโต๊ะนี้ไหม หรืออย่างผมไปพูดเรื่อง perspective ว่ามันแปลว่าทัศนียวิทยาในวงการสถาปัตย์และศิลปะ
เพื่อนนักกฎหมายฟังแล้วเขาหัวเราะกัน คุณหัวเราะไหม?
ณัฏฐิรา :
มันดูอลังการมากเลย
สมเกียรติ : คุณพูดเหมือนอาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปะกุล
(หัวเราะ) ผมบอกว่ามุมมองทางทัศนียวิทยา หัวเราะก่อนเลย คือศัพท์มันดูหรูหราอลังการ
แต่ความจริงเป็นศัพท์ธรรมดามากในวงการศิลปะ หมายถึงการมองภาพแบบสามมิติ (กว้าง
ยาว ลึก) เวลาที่เราเขียนภาพนี้บนกระดาษ กระดาษจะมีสองมิติ แต่เมื่อไรก็ตามที่ต้องการเขียนภาพให้ดูลึก
จะมีเรื่องของหลักทัศนียวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น color perspective, linear
perspective นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึง atmosphere หรือบรรยากาศด้วย ซึ่งจะมาเป็นม่านขวางระหว่างเรากับวัตถุต่างๆที่เรามองเห็น
เวลาที่อ่านหนังสือทุกเล่มต้องอ่านแบบวิพากษ์วิจารณ์ แทนที่จะอ่านแบบ passive
อย่างเดียว ไม่ใช่แค่ตีลูกเบสบอล เมื่อกี้ที่ผมอธิบาย มันเป็นแค่เขาส่ง message
อะไรมาคุณรับได้ แต่อ่านแบบวิพากวิจารณ์ คือ อ่านแล้วอย่าเพิ่งไปเชื่อตาม พยายามที่จะตั้งคำถามกับสิ่งที่เขาพยายามจะเสนอ
คือ ถ้าเป็นศัพท์เทคนิคหน่อย คือ อ่านแบบ deconstruct หรืออ่านแบบ decode คือถอดรหัสมันให้ได้
ชลนภา :
เคยได้ยินว่านัก biology ส่วนใหญ่เป็นดาร์วิเนียน แต่ว่าไม่ยอมรับว่าเป็น Extreme
Darwinian. เคยคุยกับอาจารย์สุธาธร(นักชีววิทยา)ว่า แล้วคนที่เป็น biology จะมองทุกอย่างในแง่วิวัฒนาการ(evolution)
คือเขาไม่สามารถมองในแง่ creationism ได้ ซึ่งทฤษฎีนี้ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
วิวัฒนาการไม่ได้แปลว่าดีขึ้นอย่างเดียว มันแปลว่าเปลี่ยนเฉยๆ ในทางวิทยาศาสตร์ไม่พูดถึงว่ามันดีขึ้นหรือเลวลง
วิทยาศาสตร์จะไม่แตะเรื่องคุณค่า บอกเพียงว่าเปลี่ยนแค่นั้น. แต่ว่า creationism
คือ ทุกอย่างสมบูรณ์พร้อมมีคนสร้างไว้ให้เสร็จสรรพแล้ว ทันทีที่โลกเกิด ก็มีช้าง
ม้า วัว ควายเป็นตัวๆ อันนี้มองไม่เห็นจุดเชื่อมเลยของทั้งสองทฤษฎีนี้ ถึงแม้จะมีความพยายามอยู่บ้าง
นิศรา :
คือ ชาร์ล ดาร์วิน เขาบอกว่าสิ่งมีชีวิตต้องเกิดจากสิ่งมีชีวิตรึค่ะ
ชลนภา : จริงๆ แล้วชาร์ล ดาร์วิน ไม่ได้พูดถึงด้วยซ้ำไปว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้ไง
เขาไม่ได้พูดถึงด้วยซ้ำ แต่คนที่พูดเรื่องนี้คนหนึ่งคือ ลินมาร์คูลิส เขาเป็นนักชีวเคมี
สิ่งมีชีวิตเกิดจากธาตุอะไรสักอย่างเขย่าๆ แต่ว่ามันจะโดยบังเอิญรึเปล่าเราไม่รู้
มันมีหลายทฤษฎีมาก บางทฤษฎีบอกสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น หลังจากมีอุกกาบาตพุ่งเข้ามาชนโลก
จันทร์เพ็ญ : แต่มันจะเริ่มจากตัวเล็กๆ ก่อน
สมเกียรติ : เมื่อสักครู่ที่อาจารย์พูดเรื่องสัตว์เซลล์เดียว
แล้วมันมีโครงสร้าง เช่น แบคทีเรีย ก็จะมีโครงสร้างเหมือนกับเซลล์ของมนุษย์นี่แหละ
เพราะเมื่อครู่อาจารย์บอกว่าโครงสร้างมันเหมือนกันหมดในสิ่งมีชีวิต แต่ว่าโครงสร้างของเซลล์แต่ละชนิด
เมื่อมารวมกันจะเกิดโครงสร้างลักษณะใหม่ๆขึ้นมา เช่น โครงสร้างของเซลล์ชนิด A
คือแบบทรงกลม, ชนิด B เป็นโครงสร้างแบบสี่เหลี่ยม, ชนิด C เป็นโครงสร้างแบบอิสระ(free
form) เมื่อกี้อาจารย์บอกว่าแล้วมันมีความจำ ความเชื่อขึ้นมา มีสมองรับรู้สัมผัสตอบโต้
ผมคิดว่าอย่างนี้ การอธิบายเชิงคณิตศาสตร์จะไม่ตอบคำถามเรื่องเหล่านี้ได้ทั้งหมด
การรวมตัวหรือการสังเคราะห์ของมันจะเป็นการรวมตัวที่มันสร้างปัจจัยใหม่ๆ คือหมายถึงว่าเหมือนกับเราเคี้ยวหมาก
มันไม่เคยมีสีแดงมาก่อนเลย แต่พอ ๒ ปัจจัยที่มันผสมกัน หมากกับปูนทำให้ปูนเป็นสีแดงได้
ทั้งๆ ที่ตัวหมากเองไม่ผลิตสีแดง ตัวปูนก็คือสีขาว แต่ ๒ อย่างนี้ เวลาที่เราเคี้ยวรวมกัน
ปูนกลายเป็นสีแดงขึ้นมา
คือมีปัจจัยอะไรที่มันเป็นการวิเคราะห์ที่เราเข้าใจแบบคณิตศาสตร์ไม่ได้ เช่น เราไม่เคยมีสมองแบบ creative thinking อยู่เลย แต่มันเกิดจากโครงสร้าง ๒ อย่าง (อันนี้เป็นการสมมุติ)คือ โครงสร้างของขี้ทูดกับโครงสร้างของกลิ่นตัว คือ ถ้าเป็นแบบคณิตศาสตร์ เมื่อสองอย่างนี้มารวมกันมันยิ่งเหม็น แต่ไม่ใช่ คือขี้ทูดกับเหม็นรวมกันกลับกลายเป็นความคิดสร้างสรรค์ (โหยโสโครก) แต่ผมไม่เชื่อการรวมตัว สังเคราะห์แบบคณิตศาสตร์เช่น กองทราย ๒ กอง รวมกันต้องเป็น ๓ กอง แต่ไม่ใช่เป็นกองเดียว ฉะนั้นการรวมตัวแบบคณิตศาสตร์บางทีมันตีบตัน มันอธิบายบางอย่างไม่ได้
ผมเชื่อเลยว่า อันนี้เป็น biology of believe ของผมคือ โครงสร้างของมนุษย์เป็นโครงสรร้างของสิ่งมีชีวิตหลายๆ อย่างอาจจะเป็นพืชส่วนหนึ่ง สัตว์ส่วนหนึ่ง มาผสมกันทำให้เราพูดได้ มีลิ้น มีทุกอย่างที่สำคัญ มีอะไรหลายอย่างที่สัตว์ชั้นสูงมี แต่เรามีได้มากกว่านั้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรอันนี้คือหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ นักชีววิทยาต้องช่วยกันค้นหาความจริง
นักศึกษาคณะทันตแพทย์
: คือส่วนตัวอาจจะเป็น
creationism ให้พูดถึงสิ่งที่ตัวเองเชื่อได้ไหมค่ะ เวทีนี้ คือหนังสือเล่มนี้
เขาจะอ้างอิงถึงเซลล์มาเป็นคนใช่ไหมค่ะ แต่ว่าคือตัวเองเป็นคริสเตียน ก็จะเชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลก
และตอนที่พระเจ้าสร้างโลก พระเจ้าสร้างคนแยกจากสร้างสัตว์ คือพระคัมภีร์ไม่ได้บอกอย่างชัดเจนว่าสัตว์ไม่ได้เปลี่ยนแปลง
พระเจ้าบอกว่าให้มีสัตว์ สัตว์ก็เกิดขึ้น ก็ไม่มีพระคัมภีร์ตอนไหนที่บอกว่าแล้วสัตว์ก็เปลี่ยนแปลง
ดังนั้นสัตว์จึงไม่เปลี่ยนแปลง แต่ว่าการสร้างมนุษย์แยกเฉพาะพิเศษ คือสัตว์สร้างรวมๆ
พร้อมๆ กัน เหมือนที่พี่บอกว่า จะเทียบจากสัตว์มาเป็นคนมันก็จะเทียบไม่ได้
ชลนภา : ทฤษฎีของลินมาคูลิส คือทางชีววิทยา เขาสนใจว่าชีวิตเกิดขึ้นได้ยังไง
เขาจะไปเทียบระดับ DNA, RNA เราจะเปรียบเทียบในแบคทีเรีย มันเหมือนกันมากมันคล้ายๆ
กับตอนแรกมีอะไรเกิดขึ้นอยู่ แล้วแบคทีเรียเข้ามาอยู่ด้วย แบคทีเรียถูกกินแต่มีชีวิตอยู่ในเซลล์ต่อ
พูดง่ายๆ คือ จริงๆ แล้ว เรามีบรรพบุรุษเดียวกับแบคทีเรีย ในตัวมนุษย์จริงๆ แล้วอาการหลอมรวมแล้วเกิดเป็นคุณสมบัติใหม่
ไม่จำเป็นต้องเป็นลักษณะแบบ ฆ่ากันให้ตาย แต่เป็นลักษณะ symbiosis เป็นชุดความเชื่อแบบลินมาคูลิส
มองแบบ symbiosis ไปทั้งหมดโลกมันเป็นแบบรักกันเหลือเกิน เขาก็สู้กันในระดับผลการวิจัย
เพียงแต่ว่าใช้คำอะไรมาอธิบาย
สมเกียรติ : จริงๆ แล้ว เรื่องที่อาจารย์เล่าให้ฟังทั้งหมด
ผมคิดว่าทุกอย่างมันคล้ายกับถูกกำหนด มีลักษณะเป็น determinism คือหมายถึง ว่าเซลล์จะทำอย่างอื่นไม่ได้เลย
อาจารย์เริ่มต้นว่าเซลล์มันมีหน้าที่ของมัน มันถูกกำหนดมาว่าให้ทำอะไรได้ สมมติเป็นเซลล์แรงงาน
ไม่สามารถเป็นเซลล์มันสมองได้ คือในระดับหนึ่ง มันถูกกำหนดโดยชะตากรรมหรือพระผู้เป็นเจ้า
ให้มันมี frame ของความสามารถที่จำกัดกรอบในศักยภาพของมัน ทั้งหมดเลยคือพรหมลิขิต
หรือพระผู้เป็นเจ้ากำหนดไว้ตั้งแต่ต้น ฉะนั้นศักยภาพของการที่มันสามารถตรวจสอบเป็นพิษหรือเป็นอาหาร
แสดงว่ามันมีศักยภาพหรือพรหมลิขิตให้มันตรวจสอบได้ แต่มันจะทำอย่างอื่นไม่ได้หรอก
จันทร์เพ็ญ : เหมือนที่ ดร.บรู๊ส ลิปตันเขาบอกจุดหนึ่งว่า
ที่ดาร์วิเนียน (assume) สมมุติว่า มิวเทชัน (mutation) การเปลี่ยนแปลงของยีนน่ะเป็นแบบสุ่ม
(random) คือ เป็นอะไรก็ได้ แต่จริงๆ แล้ววิวัฒนาการมีกระบวนการที่แน่นอน ไม่สุ่ม
ถ้าหากว่าเซลล์ต้องการอยู่รอด มีพฤติกรรม ๒ อย่างเท่านั้น คือ กินให้เจริญเติบโตกับหนีอันตราย
มันจะไม่สุ่ม เพราะฉะนั้นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมด้วยข้อจำกัด ๒ อย่างนี้
จึงทำให้วิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ นี่เป็นแบบโปรแกรมมาแล้ว ไม่ใช่ด้วยอุบัติเหตุ
[= กรรม]
สมเกียรติ : ผมคิดว่าดาร์วิเนียน อธิบายไม่ผิดน่ะ
frame ของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ มันสามารถที่จะ progress ได้ในระดับหนึ่ง ถ้ามันเป็นอย่างนั้นหมายถึง
มันถูกสร้างกรอบจำกัด เป็น progress ได้ในระดับนี้ สิ่งที่ดาร์วิเนียนพยายามอธิบาย
มันกำลัง progress ไปสู่ขอบของจักรวาลของตัวมันเองในทิศทางนั้น สมมติของวงกลมของมันที่มันพัฒนาใหญ่ได้ขนาดนี้
แต่ตัวมันเอง ณ เวลานี้มันกำลังขยายขึ้นตามลำดับ ฉะนั้น progression ของมันคือขยายไปสุดขอบของมันแค่นั้นเอง
จันทร์เพ็ญ : เต็มศักยภาพเมื่อไหร่
สมเกียรติ : ไม่รู้ แล้วแต่สิ่งแวดล้อมมากระตุ้นมัน
กระตุ้นให้มันเกิดความก้าวหน้า ขยายไปสุดขอบจักรวาล แล้วสิ่งที่นักศึกษา(ทันตแพทย์)พูดอีกอย่างหนึ่ง
มันเป็นปัญหาที่กำลังเถียงกันมากเรื่อง พระคัมภีร์ไบเบิลพูดเฉพาะเรื่อง positive
แล้วเรื่อง negative ถูกจับใส่โซ่ตรวนแล้วผลักลงเหว เช่น ลูซิเฟอร์
ในโลกอส(Logos)แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็น positive เช่น พระเจ้าสร้างโลก
พระเจ้ายิ่งใหญ่มาก ลูซิเฟอร์คือซาตาน อันที่จริงมีนักเทววิทยาหลายคนบอกว่ามีอำนาจเท่าๆ
กับพระผู้เป็นเจ้า แต่อยู่คนละฝ่าย เป็นทูตสวรรค์มาก่อนแต่พ่ายแพ้พระผู้เป็นเจ้า
ในขณะนั้นเองเรื่องของลูซิเฟอร์ทั้งหมด ไม่ถูกกล่าวถึงหรือให้ความสำคัญต่อไป
เว้นแต่จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงพลานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าที่เหนือกว่า ถ้าหากเราเชื่อว่าในโลกอส
คือ สิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าตรัสเป็นจริง ความจริงจึงมีบวกและลบ แต่เรามักเชื่อความจริงในเชิงบวกตลอด
แล้วเราก็กลบสิ่งที่เป็นลบทิ้ง ส่วนที่ไม่เปิดเผยทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับการตีความของมนุษย์
ส่วนที่เป็นส่วนที่มนุษย์ต้องไป interpret เอง หรือหา representation อื่นๆ ในการสร้างสิ่งแทนขึ้นมาของความจริงอันนี้
ชลนภา :
ในภาษาเยอรมัน มันจะมีสำนวนว่า ซาตานซ่อนอยู่ในรายละเอียด
นิศรา : ไม่เข้าใจว่า ไม่ถูกพูดถึงอีกนี่แปลว่าอะไร
สมเกียรติ : หมายถึงว่าคุณเคยมีอัลบั้มรูปถ่ายส่วนตัวไหม
ตั้งแต่เด็กมา พอวันที่คุณใกล้แต่งงาน คุณต้องดึงรูปบางรูปออก (หัวเราะ) นี่แหละคือความจริง
คือ ความจริงที่เขาบอกว่า นิทเช่เป็นคนพูดว่า ความจริงที่คุณบอกว่าจริง มันจริงเพราะว่าคุณสร้างมัน
ผมยกตัวอย่างอัลบั้มรูป อยากให้เห็นว่าครอบครัวคุณอบอุ่น ตอนที่คุณตีกันคุณไม่ไปถ่ายรูปหรอก
คุณจะถ่ายรูปแบบจูบกันอยู่ มีลูกเล็กๆ พอคนมาเปิดดู โอ้โฮครอบครัวนี่ warm จริงๆ
นี่คือความจริงที่ถูกสร้าง ฉะนั้น ในพระคัมภีร์ไบเบิลที่เรายอมรับว่าจริง มันมีบางส่วนที่มันถูกดึงออกไปตลอดเวลาใช่หรือไม่
อันนี้รวมถึงศาสนาอื่นๆด้วย ในเวลา ๒๐๐๐ ปีที่ผ่านมา มันถูกหยิบเข้าหยิบออกตลอด
เช่นเดียวกับอัลบั้ม ถ้าเป็นส่วนตัวของเราจริงๆ เราไม่ปิดบัง ของเราจริงๆ มันมีอีกกล่องหนึ่ง
(หัวเราะ) แก้ผ้าหมด พ่อแม่ก็อยากดูเรา มันน่ารัก แต่พอแต่งงาน บางรูปต้องดึงออก
โปรเตสแตนท์ คิดว่าอะไรเป็นไส้ติ่งดึงออก การขายใบไถ่บาปไม่เคยมีอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิล
การไถ่บาปเป็นของฟรีสำหรับผู้ศรัทธา การขายใบไถ่บาปถูกเสียบเข้ามาใหม่ มาร์ติน
ลูเธอร์ บอกว่าไม่ใช่ ไม่ได้ เพราะว่าการขายใบไถ่บาปมันสกปรก ไม่ใช่ความดี ก็ไม่เอา
การนับถือรูปเคารพไม่เอา
นิศรา :
คนที่ทำอย่างนั้น เขาก็ต้องรับผิดชอบกับพระเจ้าเองค่ะ หมายถึง คนที่เข้าดึงเข้าหรือเอาออก
ตลอดเวลา
สมเกียรติ : เอารูปเข้ารูปออก เพื่อที่จะขายให้ตัวเองสวยๆ
หล่อๆ ถ้าเราอ่านเรื่องสมัญญาแห่งดอกกุหลาบ จริงๆ เรื่องทั้งเรื่องซับซ้อนมาก
แต่ที่จริงก็คือเขาต้องการซ่อนหนังสือเล่มเดียวเท่านั้นเอง ภาพยนตร์เรื่อง "In
the name of the rose" ที่แปลโดยภควดีที่เคยมาพูดกับพวกเรา หนังสือเล่มนั้น
หัวใจอยู่ตรงที่เขาพยายามซ่อนหนังสือ ชื่อ Poetic ของอริสโตเติล ในหอสมุดในสมัยกลาง
มีคนพยายามจะไปค้นหาหนังสือเล่มนี้มาอ่าน เพราะในหนังสือดังกล่าว พยายามพูดถึงเรื่องของการหัวเราะ
เรื่องของหัสนาฏกรรม คือ poet หรือกวีคุณสามารถเขียนบทกวีให้มันเป็นเรื่องที่จริงจังก็ได้
หรือจะทำให้มันเป็นเรื่องที่น่าขันก็ได้ มันเป็นกลวิธีที่คุณจะเขียนให้เป็นโศกนาฏกรรมหรือหัสนาฏกรรม
มันมีทั้ง ๒ แบบ
Poetic มีคนอยากจะอ่าน เนื่องจากว่าในสมัยกลางหรือยุคมืดมันเป็นเรื่องของความเคร่งขรึม
อะไรที่เป็นเรื่องของการหัวเราะคือความไร้สาระ ทำให้คลายจากความศรัทธา ความตลกขบขันมันทำให้คุณคลายไปจากความมีระเบียบวินัย
และความเคร่งครัด ทุกครั้งที่เราหัวเราะอาการเราจะออก คือ เราไม่กล้าหัวเราะในโบสถ์
เพราะว่ามันจะเป็นอิสระเราจะเป็นตัวของเราเอง แล้วเราจะดูตลกไม่น่าเคารพ ฉะนั้นในสมัยกลางเขาไม่อยากให้เราหัวเราะ
แต่อันที่จริงในหนังสือ poetic พูดทั้งสองอย่าง พูดเรื่องโศกนาฎกรรมซึ่งหมายถึงวีรกรรมของวีรบุรุษ แต่ว่าประสบความล้มเหลวก็เลยเศร้า กับพูดเรื่องของคนที่หัวเราะได้อย่างอิสระ เขาซ่อนหนังสือเล่มนี้ แล้วคนที่อยากเข้าไปอ่านถูกฆ่าหมด ด้วยการตายที่มีปริศนา ซึ่งพระนักสืบจะต้องไปค้นหาว่าการฆาตกรรมเหล่านี้มีสาเหตุมาจากอะไร หนังสือเรื่องนี้เป็นหนังสือที่ได้รับการยกย่องในเรื่องของการใช้วิธีการ semiotic
ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่านวนิยายของฝรั่ง เขา research มาก่อนเขียน เขาไม่ได้นั่งเทียนเขียนแบบส่งเดช เขาไปอ่านประวัติศาสตร์ แล้วไปดูอะไรๆต่างในเชิงบริบท แล้วพยายามโยง แล้วเขียนมันเป็นนวนิยายออกมาให้น่าสนใจและสมจริง อาจจะ over นิดๆ exaggerated หน่อยๆ แต่อิงประวัติศาสตร์เยอะ ที่พูดมาทั้งหมดอยากจะบอกว่าในศาสนาเอง พยายามกลบเรื่องบางเรื่องอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่พยายามที่ทำเรื่องอีกเรื่องหนึ่งสว่างอยู่เสมอ นี่คืออำนาจของคนที่มีความรู้ (ความรู้คืออำนาจ) คือ หมายถึงว่า เมื่อไรก็ตามที่คุณรักษาความรู้ของคุณเอาไว้ได้ คุณมีอำนาจต่อไปเรื่อยๆ เพราะทุกคนศรัทธาในความรู้แล้วอะไรก็ตามที่คุณคิดว่าคุณรู้ แต่เขาหัวเราะเยาะ ความรู้คุณ คุณกลบมันตลอด เราก็เลยเจอความจริงด้านเดียวเสมอ ความจริงที่ถูกแสดงให้เปิดเผยได้
ชลนภา :
อาจารย์กำลังจะบอกว่า creationism มันเหมือนกับว่าพระเจ้าสร้าง แต่ว่าหลายคนก็ตั้งคำถามกับระบบนี้ว่า
แล้วทำไมพระเจ้าถึงสร้างสิ่งที่เลวร้ายมาด้วย ทำไมเราถึงมีความอยุติธรรมเกิดขึ้นในสังคม
ถ้าพระเจ้าทรงมหฤธานุภาพจริง
สมเกียรติ : คำอธิบายนี่ไม่ยากเขาบอกว่า การที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างสิ่งเลวร้ายพระเจ้า
จะได้พิสูจน์ให้เห็นชัดว่าพระองค์ทรงมีพลานุภาพมากกว่าสิ่งเลวร้ายนั้น สามารถมีชัยชนะ
มากกว่าสิ่งเลวร้ายนั้นได้เสมอ เมื่อไรก็ตามที่มีแต่สิ่งดี คุณจะไม่เคยเห็นพลังหรือพระมหฤธานุภาพของพระองค์
เพราะมันเสถียร และเมื่อไรก็ตามที่มีตัวขัดแย้งแล้วคุณชนะมัน แสดงถึงมหฤธานุภาพของคุณเสมอ
คือต้องมีคู่ต่อสู้ตลอด เพราะมันแสดงศักยภาพชัดเจน
อันต่อมาก็คือว่าคำถามของ อ.ชลนภา เป็นคำถามที่ไร้เหตุผล เพราะเป็นคำถามแบบมนุษย์
ในเมื่อเป็นมนุษย์จึงไม่สามารถที่จะตอบคำถามหรือเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งถึงเหตุผลของพระผู้เป็นเจ้าได้
มิฉะนั้นแล้วคุณกับพระเจ้าจะเสมอกัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เหตุผลของพระผู้เป็นเจ้าอยู่สูงกว่ามนุษย์โลก.
ในพระคัมภีร์ไบเบิล พระผู้เป็นเจ้าสามารถฆ่าคนบางคนได้ คือ มนุษย์ตั้งกรอบเกณฑ์จริยธรรมแบบมนุษย์
ว่าคนๆ หนึ่งไปฆ่าคนๆ หนึ่งต้องผิด แต่พระองค์ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าไง พระองค์ไม่ได้ใช้เหตุผลในระดับเดียวกับเรา
ชลนภา : เข้าใจว่ามันคล้ายๆ
กับพระเจ้าไม่ได้แปลว่าตาแก่หนวดยาว แต่เหมือนกับ creator คือถ้าคิดอีกอย่าง
มี pre-destiny อยู่แล้วมันจะมาเรื่องยีน ยีนจริงๆ เป็นเรื่อง deterministic
ถูกกำหนดชัดเจนแต่ว่าโดยระบบคำนวณ แต่ว่า pre-destiny ชีวิตเราถูกกำหนดให้เกิดมา
กำหนดให้มีโลกมีจักรวาล มีเซลล์ แต่ว่าเพื่อไปถึงอะไรตรงนี้ เรายังไม่รู้
นิศรา : ตามพระคัมภีร์หรือเปล่าค่ะ ทุกอย่างเกิดขึ้นเพื่อที่จะสรรเสริญพระเจ้าเหมือนมนุษย์เกิดขึ้นมาบนโลก
ทำไม เกิดมาเพื่อที่จะสรรเสริญพระจ้า
ชลนภา : แต่รู้สึกว่าตอนนี้แนวคิดเรื่องพระเจ้า
โดยโยงถึงพระเจ้าของอินเดีย คือเป็นเรื่องจิตจักรวาล เขาบอกว่ามนุษย์ทุกคนเหมือนจิตมันแยกออกมาจากพระเจ้าเดิม
แล้วตอนนี้ทุกคนลืมทางกลับ การปฏิบัติของทางสายอินเดียก็คือ เพื่อกลับไปรวมกับจิตเดิมแค่นั้นเอง
เขาพยายามอธิบายว่า ทุกคนเหมือนน้ำ แต่ทุกคนต้องไหลมาสู่มหาสมุทรเดียวกัน คำว่าถูกกำหนดไว้แล้วมันก็ไม่เชิงพรหมลิขิต
แต่ชีวิตมันมีเจตจำนงหรือเปล่า ในการเกิดขึ้นมา
จันทร์เพ็ญ : ขอเพิ่มเติมส่วนที่อยากพูดถึงในวงเสวนา
แต่เวลาอันจำกัดได้แต่แค่เล่าในส่วนที่ ดร.บรู๊ส ลิปตันพูดถึง แต่ส่วนที่อยากนำมาวิเคราะห์วิจารณ์ร่วมกันคือ
ผลการทดลองเรื่องพฤติกรรมของเซลล์ที่กล่าวถึง โดยส่วนตัวเห็นว่า เหมือนกับเป็นผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์คำสอนเรื่องกิเลสของพระพุทธเจ้า
ว่าเพื่อความอยู่รอดของตนเอง เซลล์ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมดังตารางต่อไปนี้
และมนุษย์เราก็มีพฤติกรรมที่เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ แล้วก็ไม่ต่างไปจากกัน โดยทั้งมนุษย์และเซลล์ตอบสนองเช่นนั้น ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ เพื่อความอยู่รอดของตน หรือง่ายๆ รักตัวกลัวตาย เหมือนกัน คือมีแนวคิดของอัตตา (Identity concept) หรือ "ตัวกู ของกู" นี้อยู่
ดร.บรู๊ส ลิปตัน กล่าวถึง ผลการทดลองที่คละเคล้าเซลล์ต่าง colony ต่างกลุ่ม ที่เกาะกันอยู่อย่างหลวมๆ ยังไม่ประกอบกันเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งว่า เซลล์พวกนั้นพยายามแยกตัวเองออกจากเซลล์ต่างชนิดและกลับเข้ามารวมเป็นกลุ่มกับเซลล์ชนิดเดียวกัน มีการแสดงออกของความเป็นอัตลักษณ์(Identity) ความเป็นตัวตนของกลุ่มของสังคมเซลล์อยู่ อาจจะไม่ถึงกับเด่นชัดมาก แต่ก็มีการแบ่งแยกเราเขาให้เห็นแล้ว เป็นลักษณะของอัตตาที่ครอบคลุมได้หลายระดับ ตั้งแต่เห็นว่าเป็นตัวตน เป็นเราเป็นเขา จนถึงหลงตัวเอง(egotism) ก็ยังคงเป็นอัตตา
สิ่งที่ ดร.บรู๊ส ลิปตัน เน้นหรือเรียกว่าเป็นบทสรุปของงานวิจัยของเขาก็คือ พฤติกรรมตอบสนองเหล่านี้ของเซลล์ เป็นไปโดยผ่านการวิเคราะห์มาแล้วคือ เชื่อว่าเป็นอาหารจึงเคลื่อนเข้าหา ลักษณะเดียวกันกับกิเลส ที่อยู่ในกลุ่มของสังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) ในขันธ์ ๕ (ซึ่งมี รูป, เวทนา = ความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบ, สัญญา = ความจำได้หมายรู้, สังขาร = ความคิดปรุงแต่ง, วิญญาณ = ตัวรู้)
ความจริงแล้วกิเลสเป็นคำที่เป็นกลาง เป็นคำจำกัดความ เป็นชื่อที่ใช้เรียกสิ่งนั้นสิ่งนี้เพื่อสื่อความหมาย แต่เรานำมาใช้จนมันแฝงนัยะติดลบ ของความไม่ดี ความเลวไปแล้ว เราทุกคนที่ยังคงเกิดแก่เจ็บตายกันอยู่ ก็เพราะยังมีกิเลสอยู่ ถึงแม้จะเป็นคนดี นางฟ้า เทวดา พรหมก็ยังไม่พ้น เพราะฉะนั้นมันเป็นธรรมดาของผู้ที่ยังไม่พันทุกข์ทั้งนั้น ที่เกริ่นถึงนี้เพียงเพราะไม่อยากให้มีอคติต่อคำว่ากิเลสเท่านั้น
การมีกิเลสเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อเรามีปฏิกิริยา ความคิดหรือจะเรียกว่าการปรุงแต่งจิต ตอบสนองต่อสิ่งที่เข้ามากระทบ ในลักษณะชอบ ไม่ชอบ หรือไม่รู้ (เท่าที่เข้าใจนะคะ ถ้าหากว่าเข้าใจผิดถูกอย่างไรก็ช่วยชี้แจงแก้ไขด้วย) ให้สังเกตถึงคำว่า "เข้ามากระทบ" ด้วยว่าบ่งบอกถึง ต้องมีการสื่อสารกัน(ผัสสะ)จากสิ่งแวดล้อมภายนอก (ในรูปของ สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส = อายตนะภายนอก) เข้ามากระทบจิต(ตัวรู้)ภายใน โดยผ่านมาได้ทางประตู ๖ ประตู คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (อายตนะภายใน) ยกเว้นทางใจแล้วทั้ง ๕ ประตูที่เหลือ เทียบได้กับผนังเซลล์ที่เป็นตัวรับสัญญาณภายนอก จากนั้นเซลล์จึงแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมตามความเชื่อของตนเอง
ที่ขยายเพิ่มเติมขึ้นมา เพราะเห็นว่ามีสหสัมพันธ์ (correlation) กันอยู่ แต่ก็อย่างที่อาจารย์สมเกียรติได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ในการเสวนาว่า เมื่อคนเราเชื่อสิ่งใด บทพิสูจน์ที่ได้มักจะเป็นข้อสนับสนุนทฤษฎีที่เชื่อไว้เริ่มแรกแล้ว ทั้ง ดร.บรู๊ส เองที่เทียบจากความเชื่อของเซลล์สู่ ความเชื่อของมนุษย์เราว่ามีความพิสดาร มีพลังมหาศาล ในการเปลี่ยนแปลงความเป็นไป หรือลักษณะของตนเองได้เลยทีเดียว
ส่วนตัวเองก็เชื่อว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นเป็นจริงทุกประการ เมื่อได้ดูการบรรยายของดร.บรู๊ส ที่พูดถึงความเป็นมาเป็นไป ระบบการตอบสนองของเซลล์ ผลการทดลองต่างๆ ก็ได้นำเข้ามาสนับสนุนกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน เพราะช่วงแรกที่เริ่มศึกษาธรรมะนั้น รู้แค่ว่า "จับต้นชนปลายไม่ถูก" เนื่องจากมีพื้นฐานการศึกษามาทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ มันเป็นการเรียนรู้ในส่วนที่เป็นรูปธรรมทั้งนั้น เป็นเรื่องของปริมาณที่ต้องวัดได้ คำนวณได้ เปรียบเทียบกันได้ชัดเจน
แต่ในธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าสมควรรู้ สมควรศึกษาเพื่อความหลุดพ้นนั้น เป็นเรื่องของกลไกทางนามธรรม (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (+นิพพาน)) เสียส่วนมาก ท่านสอนได้ครอบคลุม ละเอียด ลึกซึ้ง จนต้องค่อยๆ ปะติดปะต่อพื้นฐานความรู้ที่มี เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่พระพุทธองค์สอน จึงได้โยงเอาเรื่องนี้เข้ามาเปรียบเทียบและสนับสนุน เพราะเป็นการทดลองวิทยาศาสตร์ที่โยงเอารูปธรรม (การแสดงออก พฤติกรรม) ไปสู่นามธรรม(ความเชื่อ)ให้เห็นได้
ดร.บรู๊ส ลิปตัน สรุปว่าเราไม่ควรใช้ชีวิตอยู่ในความเครียด ซึ่งก็คือ ความเชื่อว่ามีอันตรายมีผลร้ายต่อตัวเองในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ให้บำรุงชีวิตด้วยความรัก ซึ่งเป็นความเชื่อที่เป็นสารอาหารสุดยอด(best nutrient) สำหรับการเจริญเติบโต ที่จะทำให้ระบบการทำงานของร่างกาย คงความอ่อนเยาว์อยู่ได้ ไร้โรคภัยไข้เจ็บจากภายในคุกคาม (ขอแทรกไว้นิดหนึ่งว่า ข้อสรุปนี้อาจตรงกับข้อหนึ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ถึงวิธีที่คนเราจะสามารถมีอายุอยู่ยืนยาวอยู่ไปได้มากกว่าอายุขัยปกติ ด้วยการปฏิบัติเคร่งครัดในอิทธิบาทสี่ ที่ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา)
แต่พุทธศาสนามีจุดมุ่งหมายต่างกัน มุ่งสอนให้พ้นทุกข์ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด มากกว่าจะให้มีชีวิตนี้ที่แม้ยืนยาว แต่ถ้ายังคงต้องวนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร ก็ไร้ประโยชน์ ซ้ำยังน่าจะเป็นการสนับสนุนต่อความยึดมั่นถือมั่นเพิ่มพูนขึ้นอีกในปุถุชน
ขอขอบคุณที่จัดให้มีการทำเอกสารบันทึกการเสวนานี้ขึ้น ทำให้ได้มีโอกาสเรียบเรียงความคิด และเพิ่มเติมเข้ามาในส่วนท้ายนี้อย่างเป็นระบบมากกว่าครั้งที่เตรียมไปพูดเฉยๆ และขอขอบคุณผู้เข้าร่วมเสวนาทุกคน รวมถึงผู้ที่สนใจติดตามสอบถามถึงบทถอดความนี้ด้วย
++++++++++++++++++++++++++++++++++
ณัฏฐิรา ก๋าวินจันทร์
ถอดความ
จันทร์เพ็ญ ศิลาวงศ์สวัสดิ์ ตรวจทาน
คลิกกลับไปทบทวนเรื่อง Biology of believe (1)
Dr. Bruce H. Lipton is an internationally recognized authority in bridging science and spirit. He has been a guest speaker on dozens of TV and radio shows, as well as keynote presenter for national conferences.
Dr. Lipton began his scientific career as a cell biologist. He received his Ph.D. Degree from the University of Virginia at Charlottesville before joining the Department of Anatomy at the University of Wisconsin's School of Medicine in 1973. Dr. Lipton's research on muscular dystrophy, studies employing cloned human stem cells, focused upon the molecular mechanisms controlling cell behavior. An experimental tissue transplantation technique developed by Dr. Lipton and colleague Dr. Ed Schultz and published in the journal Science was subsequently employed as a novel form of human genetic engineering.
In 1982, Dr. Lipton began examining the principles of quantum physics and how they might be integrated into his understanding of the cell's information processing systems. He produced breakthrough studies on the cell membrane, which revealed that this outer layer of the cell was an organic homologue of a computer chip, the cell's equivalent of a brain. His research at Stanford University's School of Medicine, between 1987 and 1992, revealed that the environment, operating though the membrane, controlled the behavior and physiology of the cell, turning genes on and off. His discoveries, which ran counter to the established scientific view that life is controlled by the genes, presaged one of today's most important fields of study, the science of epigenetics. Two major scientific publications derived from these studies defined the molecular pathways connecting the mind and body. Many subsequent papers by other researchers have since validated his concepts and ideas.
Bruce Lipton's novel scientific approach transformed his personal life as well. His deepened understanding of cell biology highlighted the mechanisms by which the mind controls bodily functions, and implied the existence of an immortal spirit. He applied this science to his personal biology, and discovered that his physical well-being improved, and the quality and character of his daily life was greatly enhanced.
Dr. Bruce Lipton has taken his award-winning medical school lectures to the public and is currently a sought after keynote speaker and workshop presenter. He lectures to conventional and complementary medical professionals and lay audiences about leading-edge science and how it dovetails with mind-body medicine and spiritual principles. He has been heartened by anecdotal reports from hundreds of former audience members who have improved their spiritual, physical and mental well being by applying the principles he discusses in his lectures. He is regarded as one of the leading voices of the new biology.
His new book, The Biology of Belief : Unleashing the Power of Consciousness, Matter and Miracles, is available now.
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I
สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1000 เรื่อง หนากว่า 17000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ข้อความบางส่วนจากบทความ
โดยทั่วไปเราเข้าใจกันว่า
"ยีน"เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม หรือว่าสิ่งที่เราแสดงออกทุกๆ อย่างของสิ่งมีชีวิต
แต่เขาต่อต้านแนวคิดนี้ เขากล่าวว่า ยีนไม่ใช่ตัวควบคุมลักษณะภายนอกหรือลักษณะที่แสดงออกของสิ่งมีชีวิตที่แท้จริง
ทฤษฎีบางอย่างที่บอกว่าพฤติกรรมการเป็นฆาตกรต่อเนื่อง ความผิดเพี้ยนทางเพศ หลายๆ
อย่างว่าเป็นผลควบคุมจากยีนนั้น มันเพียงแค่มีสหสัมพันธ์ คือ มีความเหมือนระหว่างยีนของกลุ่มบุคคลนี้
ซึ่งเขาใช้คำว่ามีความเหมือนกัน แต่ไม่ใช่เป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมนั้น คนที่มียีนนั้นไม่จำเป็นต้องแสดงออกเช่นนั้นเสมอไป
คือมันมีการเปิดปิดสวิตซ์ของยีน ว่าจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมตรงนั้นหรือไม่. ยีนในสิ่งมีชีวิต
จริงๆ แล้วเป็นเหมือนแบบแปลนของตัวบุคคล ของสิ่งมีชีวิต แต่ว่าจะแสดงออกหรือไม่นั้น
ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ว่าจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมตรงนั้นหรือเปล่า ในหนังสือมีหลายตัวอย่างที่สนับสนุนประเด็นนี้
และข้อสำคัญคือ สิ่งแวดล้อมที่มีผลกับเซลล์ ยังไม่เป็นผลโดยทันทีหรือเสมอไป มันยังขึ้นอยู่กับความเห็น
ความเชื่อของสิ่งมีชีวิตหรือว่าของเซลล์นั้นที่มีกับสิ่งแวดล้อม ถึงจะเป็นตัวกระตุ้นอีกที
คือไม่ใช่แค่ว่าสิ่งแวดล้อมโดยตรง มันยังผ่านขั้นตอนกระบวนการวิเคราะห์ของเซลล์หรือสิ่งมีชีวิตอีกด้วย
เขากล่าวว่า ทฤษฎีของดาร์วินนั้นต้องผ่านความเป็นความตาย แก่งแย่งมีชีวิตรอดมาได้สปีชีส์หนึ่งเหมือนกับว่าจะต้องผ่านสงครามมา ทฤษฎีของเขาจะมีลักษณะที่เห็นด้วยกับคนที่เสนอทฤษฎีก่อนหน้าชื่อว่าลาร์มาร์ก แต่ว่าลาร์มาร์กพลาดในการทำการทดลอง เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีของเขา เขาเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการมาก่อนดาร์วินสักประมาณ ๕๐ ปี แต่เขาพลาดในการทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อเสนอในเชิงทฤษฎี อันที่จริงเขาใช้เวลาทำการทดลองเพียง ๕ ปีซึ่ง มันไม่พอสำหรับที่จะพิสูจน์ทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ทฤษฎีของลาร์มาร์คจึงไม่สมบูรณ์พอ แต่ลาร์มาร์ค เสนอทฤษฎีในลักษณะที่ว่ามันเป็นการอยู่ร่วมกันของเซลล์เพื่อให้อยู่รอด มากกว่าที่จะแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นหรือว่าต่อสู้ฆ่าฟันกับสิ่งแวดล้อม คือเป็นลักษณะที่รวมตัวกันเพื่ออยู่