Free Documentation
License
Copyleft : 2006,
2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document, but changing it is not allowed.
หากนักศึกษา
และสมาชิกประสงค์ติดต่อ
หรือส่งบทความเผยแพร่บนเว็บไซต์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กรุณาส่ง email ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
The Midnight
University
postmodernism
vs. modernism
Postmodernism
: วิจารณ์ยุคสว่างและการใช้เหตุผลที่ผิดพลาด ๒
ทัศนัย
เศรษฐเสรี
คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทบรรยายชิ้นนี้เป็นโครงการเสวนาคณะวิจิตรศิลป์
ครั้งที่ ๑/๒๕๔๙
หัวเรื่องที่พูดคือ Postmodern ideas
บรรยายที่หน้าคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิททยาลัยเชียงใหม่
วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ เวลา ๑๗.๐๐ - ๑๙.๐๐ น.
midnightuniv(at)yahoo.com
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 976
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
18.5 หน้ากระดาษ A4)
Postmodernism :
วิจารณ์ยุคสว่างและการใช้เหตุผลที่ผิดพลาด ๒
ทัศนัย เศรษฐเสรี
: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6 กรกฎาคม 2549 เวลา 17.00-19.00 น.
Martin Heidegger : มนุษย์ยึดติดเครื่องมือเป็นเป้าหมาย
สิ่งเดียวกัน Martin Heidegger, ซึ่งเป็นนักปรัชญาก็พูดเรื่องเดียวกันว่า ปัญหาของโลกสมัยใหม่
นอกจากปัญหาเชิงวิธีคิด โครงสร้างของปรัชญาและตรรกะแล้ว ปัญหาที่เป็นเชิงรูปธรรม
ได้ทำให้มนุษย์ขาดเสรีภาพ เพราะมนุษย์ไปติดเครื่องมือ และไปคิดว่าเครื่องมือคือเป้าหมายของการใช้ชีวิต
เช่นเดียวกับในมิติของศาสนา ซึ่งไปเชื่อว่า"พิธีกรรม"คือเป้าหมายของชีวิตทางศาสนา
มากกว่าการปลดปล่อยตัวเอง และนำไปสู่ภาวะที่มันหลุดพ้นไปจากพิธีกรรม. เทคโนโลยี
หรือการใช้เทคโนโลยีก็คือพิธีกรรมอันหนึ่ง
Bernard Iddings Bell และ Arnold Toynbee เชื่อว่ามนุษย์ติดกับดัก โดยเฉพาะคนหลังคือ เทคโนโลยี, อุตสาหกรมนิยม, และแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ ติดเครื่องมือ มากกว่าจะเอาเครื่องมือไปใช้ในเรื่องอะไร ทำให้เครื่องมือไม่สามารถนำชีวิตมนุษย์ไปสู่เป้าหมายได้. ถ้าเชื่อว่าเหตุผลคือเครื่องมือ เหตุผลคืออุปกรณ์ ที่จะนำชีวิตมนุษย์ไปสู่เป้าหมายอันพึงประสงค์ ดังนั้นเหตุผลไม่ใช่ทางออก มันขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำเอาเหตุผลไปใช้อะไร
เมื่อมนุษย์ขาดมิติของการปลดปล่อยตัวเองให้มีเสรีภาพทางความคิด กลับไปติดเครื่องมือ มนุษย์จึงไม่มีประสบการณ์ที่มนุษย์พึงจะมี ที่เรียกว่า authentic experience ความแท้จริงของประสบการณ์) เอาเป็นว่า ถ้าเรามีชีวิตทางจิตวิญญานของตัวเอง เราหลุดกรอบของการติดเครื่องมือ มันน่าจะมีทางออกหรือแสงสว่างเล็กๆ ที่เราน่าจะมีประสบการณ์ส่วนตัวที่แตกต่างไปจากคนอื่น
ยกตัวอย่างเช่น เรามีชีวิตแบบ mobile life ประสบการที่ได้จาก mobile life ก็คือ มันก็คล้ายๆกัน เพราะเราไปยึดติดมัน แทนที่เราจะใช้ mobile life ในการถูตัว เอาไว้ทับกระดาษ เราก็จะติดกับหน้าที่ซึ่งมันถูกวางเอาไว้ คือเพื่อใช้โทรถึงกัน แล้วไม่ได้โทรเพื่อการสื่อสารสาระอะไรมากมาย กลับเป็นการพูดคุยกันเล่นๆ ดังนั้นเราจึงมีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือนั้นคล้ายๆกัน เราจะไม่มีทางหลุดกรอบของการใช้เครื่องมือ
ผมขอยกตัวอย่างเรื่องการติดเครื่องมือ สมมุติว่าเราอยากสูบบุหรี่ แต่ไม่มีที่เขี่ยบุหรี่ และเราคิดว่ามันเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในการสูบบุหรี่ อยากสูบมาก ไม่มีอุปกรณ์ที่เขี่ยบุหรี่ เลยวิ่งไปซื้อที่เขี่ยบุหรี่ กลับมาพอดีเลิกอยากสูบบุหรี่ แทนที่เราจะสมมุติเอาว่าอะไรก็เขี่ยได้ เป้าหมายจะได้บรรลุ อันนี้คือการไม่ติดเครื่องมือ สิ่งนี้นักสังคมวิทยา Max Weber เรียกว่า มนุษย์อยู่ใน Iron Cage หรือในกงขังเหล็กของการใช้เหตุผล ในสังคมของราชการนิยม ในสังคมที่เป็นพิธีรีตอง คือมนุษย์ติดกับดักของเครื่องมืออยู่ในกรงขังเหล็ก
Heidegger : authentic
experience
สำหรับ Heidegger แล้ว ศิลปะเท่านั้นที่จะนำมนุษย์กลับไปสู่ authentic experience
หรือประสบการณ์ที่แท้จริง ศิลปะเท่านั้นที่จะทำให้มนุษย์หลุดกรอบของโครงสร้างของการจัดการชีวิตเหล่านั้น
อันนี้ศิลปะแบบของ Heidegger เท่านั้น ไม่ใช่ศิลปะแบบสมัยใหม่ ซึ่งศิลปะและสุนทรียศาสตร์ในความหมายของ
Heidegger นั้น เป็นสิ่งที่เป็นเรื่องต้องห้าม ไม่เคยถูกอนุญาตให้เกิดขึ้นในประเพณีความคิดตั้งแต่ยุคกรีกเป็นต้นมา
ศิลปะถูกทอดทิ้ง ถูกกีดกันออกไป
เรียนกับ อ.สมเกียรติมาแล้วใช่ไหม ? ศิลปะในสมัยเพลโต ศิลปะเป็นความจริงชั้นที่สาม ต่อลงมาจากโลกของแบบ เป็นรองความจริงของสิ่งเฉพาะ(particular) ศิลปะสามารถชักนำผู้คนได้ ดังนั้นศิลปะจึงเป็นเรื่องอันตราย อันนี้ไม่ได้พูดถึงรูปปั้น ถ้วยชาม หรืออะไรพวกนั้น อันนี้เป็นการพูดถึงแนวคิดศิลปะและสุนทรียศาสตร์โดยกว้างๆ ศิลปะอันตรายเกินไปในความคิดของเพลโต อันตรยต่ออุตมรัฐ และพัฒนาต่อมาเป็นประเพณีตะวันตกโดยทั่วไป
แต่สำหรับ Heidegger ศิลปะเป็นสิ่งสำคัญ ศิลปะเท่านั้นที่ทำให้มนุษย์กลับไปสู่ความเป็นภาวะ authentic จริงๆ มันเป็นสิ่งเดิมแท้ของประสบการณ์. Heidegger ใช้คำว่า Deconstruction หรือในภาษาเยอรมัน Destruktion ซึ่ง Derrida เอามาพัฒนาต่อในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง Of Grammatology (1967) อันที่จริงไม่ใช่ความคิดใหม่อะไร เพราะ Heidegger ได้ใช้มาก่อน
Derrida เชื่อว่า เราจะกลับไปสู่ภาวะเดิมแท้ของประสบการณ์ปรกติ มีชีวิตทางศิลปะและสุนทรียภาพที่ดีได้ เราต้อง deconstruct สิ่งรอบตัว เช่น การรื้อสร้างอำนาจ การรื้อสร้างศูนย์กลาง , ของความรู้, ของประเพณีวิธีคิดแบบกรีก, วิธีคิดแบบ dichotomy, เป็นต้น
Soren Kierkegaard
และสิ่งที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น Heidegger พูดเองว่า ความคิดนี้ได้รับอิทธิพลมาจากนักปรัชญาในคริสตศตวรรษที่
19 คือ Soren Kierkegaard (1813 -1855). สิ่งที่ Kierkegaard พูดและไม่เหมือนคำอธิบายถึงหน้าที่ของปรัชญา
สำหรับนักปรัชญาในรุ่นเดียวกันคือ เขาบอกว่า หน้าที่ของปรัชญาหรือหน้าที่ของมนุษย์คือ
การเผชิญหน้ากับความทุกข์โศก เผชิญหน้ากับความสิ้นหวัง จากการที่มนุษย์ไปยืนอยู่บนปากเหวของการเผชิญหน้า
กับความโศกเศร้า ความสิ้นหวัง มนุษย์จะมีสติ และจะเริ่มรู้และเข้าใจว่าชีวิตคืออะไร
?
ซึ่ง Kierkegaard บอกว่า โลกในสมัยที่เขามีชีวิตอยู่ มันมีแนวโน้มที่พรากมนุษย์ออกไปจากขบวนการตรงนี้ คือทำให้เราไม่สิ้นหวัง ทำให้เรามีความหวังโดยไม่ต้องตั้งคำถาม
แนวคิดของสมัยใหม่ รับรองกับเราว่า
ชีวิตจะดีขึ้นแน่ๆ ทำให้เราไม่เคยตระหนักหรือคิดว่าเราอยู่ภายใต้สภาพเงื่อนไขอะไร
เราขาดแคลนอะไร เรามีความหวังอะไรในตัวของเราเอง. Kierkegaard บอกว่าในยุคของเขา
ขณะที่ลัทธิอุตสาหกรรมนิยม และแนวคิดแบบ the Enlightenment กำลังแข็งตัว มันได้พรากมนุษย์ไปจากสภาวะตรงนี้
ทำให้มนุษย์ไม่เคยเผชิญหน้ากับสิ่งทุกข์โศก ไม่เคยเผชิญหน้ากับความสิ้นหวัง ซึ่งเป็นความจริงของชีวิต
มันมีแต่เรื่องของความบันเทิง มีแต่เรื่องของความฝันลมๆ แล้งๆ ความหวังใหม่ ที่ทำให้มนุษย์รู้สึกว่าไม่สิ้นหวัง
มีความหวังอยู่เรื่อยๆ ซึ่ง Kierkegaard บอกว่ามันไม่จริงหรอก อันที่จริงแล้ว
สิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษย์สิ้นหวัง ทำให้มนุษย์ไม่คิด ไม่มีแรงปรารถนาอีกต่อไป
ซึ่งอันนี้ได้ไปให้คำอธิบายใหม่ว่า ความหวังคืออะไร ? นั่นคือชีวิตที่ดีตามแบบสมัยใหม่คืออะไร
? เราต้องทำอะไรบ้าง วัยเรียน วัยเล่าเรียนศึกษาต้องทำอะไรบ้าง วัยเจริญพันธุ์ต้องทำอะไรบ้าง
หน้าที่ต่างๆของพลเมือง หน้าที่ของผู้ชาย หน้าที่ของผู้หญิง หน้าที่ของภารโรง
หน้าที่ของผู้บริหารต้องทำอะไรบ้าง ที่จะนำไปสู่ชีวิตทางสังคมทั้งหมด ที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ดีขึ้นได้
โดยไม่เคยให้บุคคลได้ตั้งคำถามว่าเรามีแรงปรารถนาที่เฉพาะอย่างไร ? ทุกคนอยู่ภายใต้กรอบของแรงปรารถนาเดียวกัน.
ขั้นสูงสุดของการศึกษาก็คือปริญญาเอก จบปริญญาเอกแล้วเราก็ไม่ศึกษาต่อไปอีก เพราะนั่นคือความสมบูรณ์ศูงสุดของมนุษย์แล้วในมิติของการศึกษา
เราไม่เคยรู้เลยว่าจะเรียนปริญญาเอกไปทำไม ?
Walter Benjamin
สิ่งเดียวกันนี้มีอยู่ในงานของ Walter Benjamin ซึ่งเขียนบทความเรื่อง Arcade
Project อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในยึคของ Benjamin ในช่วงต้นๆ ของคริสตศตวรรษที่
20 อันนี้ให้เรานึกถึง arcade นึกถึง department store ทุกอย่างเต็มไปด้วยป้ายสัญลักษณ์
ทุกอย่างเต็มไปด้วยแสงไฟ ทุกอย่างเต็มไปด้วยความโกลาหลของความตื่นเต้นและความบันเทิง
ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสับสน มันทำให้เราลืมไปว่าเราคือใคร
ผมเคยมีประสบการณ์ไปอยู่ตรงกลาง time square ของนิวยอร์ค ผมหลงทาง ผมไม่รู้ว่าผมเป็นใคร ทุกอย่างมันรุกเร้าประสาทการรับรู้ของผม มันทำให้ผมตื่นเต้น ประสาทการรับรู้ของผมเปลี่ยนไปเร็วมาก ทำให้เท้าที่อยู่ติดพื้นของเราลอยขึ้น แล้วเรารู้สึกว่าเราไม่มีเท้าที่จะยืน ไม่มีจุดยืน นั่นคือเทียบเคียงกับคำอธิบายของ Benjamin
Benjamin ใช้อุปมาอุปมัยเรื่อง
Arcade Project เหมือนเราเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้า อันนั้นก็อยากได้ อันนี้น่าจะมีไว้สักอันหนึ่ง
แต่ไม่รู้จะเอาไว้ทำไม อันโน้นก็เอาไว้ก่อนเผื่อว่าจะใช้ เราไม่มีสติ ไม่มีแรงปรารถนาของตัวเอง
เราถูกขับเคลื่อนโดยแรงปรารถนาของสิ่งอื่น ถูกรุมเร้าโดยสิ่งอื่นรายรอบตัว
Guy Debord
วิธีคิดเดียวกันในงานของ Guy Debord เรื่อง Society of the Spectacle เขาได้วิจารณ์แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่
พวกทุนนิยม วัตถุนิยม ซึ่งได้ทำให้ผู้คนทั้งหลายกลายเป็นผู้บริโภคที่เฝ้ามองการบริโภคของตัวเอง
สังคมทั้งสังคมเปลี่ยนเป็นเวทีละคร เป็นเวทีของการเฉลิมฉลองและความน่าตื่นเต้น
และเราก็เป็นหนึ่งในตัวละครเหล่านั้น ขณะที่เราก็เป็นส่วนหนึ่งของผู้นั่งดูอยู่ซึ่งไม่อาจปริปากพูดอะไรได้
ทั้งหมดเป็นสังคมของการเแห่แหน ไม่มีความสำนึก
การที่ Project of Modernity หรือโครงการทำให้เป็นสมัยใหม่ได้สร้างผลกระทบเหล่านี้ มันทำให้มนุษย์เป็น object หรือวัตถุ มันแยกมนุษย์ออกมาจากส่วนอื่นๆ ทำให้โลกของจักรวาล ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทั้งหลายกลายเป็นโลกในเชิงวัตถุและสามารถถูกศึกษาได้ นำไปสู่พัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนิยม ทุนนิยม ราชการนิยม และแนวคิดแบบรัฐชาติ รวมไปถึงชาตินิยมตามลำดับ ซึ่งนักคิดแบบ postmodern วิจารณ์ว่ามันเป็นปัญหา สิ่งเหล่านี้จะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าขาด logic อยู่ตัวหนึ่งสำหรับความเป็น modern ซึ่งนักคิดแบบ postmodern มาอธิบายต่อ
พวกเราเรียนวิชา Perspective หรือหลักทัศนียวิทยากันมาแล้ว เรียนวิชาองค์ประกอบศิลปะ เราเรียนรู้เรื่อง grid เรียนรู้เรื่อง balance เรียนรู้เรื่อง golden section เรียนรู้ว่าทำอย่างไรให้องค์ประกอบศิลปะเกิดความสมมาตร(symmetry) อันนี้ได้กล่าวไว้ในวิชาปรัชญาศิลป์มาแล้วครั้งหนึ่งว่า การเกิดขึ้นของวิชา Perspective มันไม่ได้เกิดขึ้นมาเป็นองค์ความรู้ของมนุษยชาติ แต่เกิดขึ้นมาพร้อมเป้าประสงค์บางอย่าง คือการทำให้อะไรก็ตามที่มันอยู่ในคลองสายตา อยู่ในมุมมองที่ถูกมองเห็น ถูกกำหนด(fix) ถูกทำให้แข็งตัว(freeze) ถูกวาง(position) ถูกวัดค่าได้(measure) ถูกวัดระยะได้(distance)
ถูกทำให้รู้ว่าการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งใช้เวลาเท่าไหร่ มีความกว้างยาวและระยะทางเท่าไหร่ กำหนดสัดส่วน(proportion)อย่างเป็นระบบ อันนี้อยู่หน้า อันนั้นอยู่หลัง การกำหนดตาราง(grid) ทุกอย่างอยู่ใน grid ที่เฉพาะ เชื่อมโยงกับการจัดการตกแต่งในบ้าน การจัดเทศาภิบาล การวางผังเมือง การทำแผนที่ แนวคิดเรื่องรัฐชาติ ประเทศต้องมีขอบเขตของขันธสีมา ทุกอย่างอยู่ใน grid ทุกอย่างอยู่ใน position ที่ชัดเจน. แนวคิดนี้เป็นการ freeze หรือหยุดการเคลื่อนไหว อะไรก็ตามที่มันเลื่อนไหลได้ ที่มันเป็น liquid ทุกอย่างต้องถูกหยุด ถูก fix อยู่ใน position เฉพาะ แน่นิ่งตายตัว อันนี้คือการกรอบโลกของเรา คือการ frame โลก คือการ picture มัน หรือให้ภาพมัน
ในหนังสือเรื่อง The World as Picture ของ Walter Benjamin ได้อธิบายว่า โลกถูกทำให้เป็นภาพอย่างไร ? อย่างเช่นการสำรวจดวงจันทร์ โลกถูกทำให้เป็นภาพ มีความเข้าใจตรงกัน ภาพลักษณ์ของความเป็นเมืองไทย ถ้าเราต้องอธิบายว่าเมืองไทยเป็นอย่างไร เมืองไทยได้ถูกกรอบเอาไว้แล้ว คือ สยามเมืองยิ้ม เมืองไทยคือตลาดน้ำ เมืองไทยคือขี่ช้าง มีกระเหรี่ยงคอยาว นั่นคือ Image หรือความจริงเชิงเดี่ยวที่ถูกอธิบายจากมุมมองเดียว ซึ่งเราก็เห็นว่ามันไม่ใช่ภาพจริงทั้งหมด
โลกได้ถูกทำให้เป็นภาพ เป็นเทคโนโลยีของการใช้เหตุผล อธิบายได้เหมือนพจนานุกรม เช่น แอปเปิลคืออะไร แอปเปิลคือผลไม้สีแดง มีการเจริญเติบโตอย่างไร มีพันธุกรรมอย่างไร แอปเปิลไม่สามารถมีความหมายอื่นได้ แอปเปิลไม่มีความหมายว่าเป็นของฝาก เป็นของที่ระลึกที่กินได้ อันนี้อธิบายเรื่องของแอปเปิลไม่ได้ แอปเปิลมีคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์เท่านั้น
เช่นเดียวกับศัพท์แสงอื่นๆ และอะไรก็ตามที่เป็นเชิงวัตถุและในโลกของปรากฏการณ์เชิงวัตถุ ผ่านกระบวนการของเหตุผลและกระบวนการอ้างอิงของเหตุผล คือโลกถูกกรอบเอาไว้ เมื่อโลกถูกกรอบเอาไว้ เสรีภาพของคำอธิบายอื่น ความหลากหลายของคำอธิบายอื่นๆ ก็ถูกลดทอนลงไป ถูกกีดกันออกไปไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมอธิบายด้วย
แต่มีความเชื่อว่า ปรากฏการณ์แบบ postmodern มันจะให้ความหวังใหม่ต่อการเปิดโอกาสของความเป็นไปได้ใหม่ๆ อื่นๆ หรืออาจจะไม่ใหม่ก็ได้ อย่างเช่นเราหวนกลับไปสู่แนวคิดเรื่องชุมชน ความสัมพันธ์และการจัดการแบบชุมชนเดิม ซึ่งหลายคนได้ย้อนกลับไปดูว่า ชีวิตในอดีต nostalgia เผื่อว่ามันจะ work ได้ในปัจจุบัน, แนวคิดเรื่อง retro- ทั้งหลายแหล่ การหวนกระแสต่างๆ ซึ่งมันไม่ใหม่แต่มัน work ได้ก็แล้วกัน อันนี้คือว่ามันเปิดโอกาสให้เกิดความเป็นไปได้อื่นๆ นั่นเอง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขัดแย้งกับคำอธิบายของ modern เพราะ modern เชื่อเรื่องการต่อยอดของพัฒนาการไปเรื่อยๆ อย่างแนวคิดของ Darwin แนวคิดของ Progression อะไรก็ตามที่เน้นการไปข้างหน้าเรื่อยๆ แต่พอมาดูเข้าจริงๆ พบว่ามันหยุด มันไม่เกิดการพัฒนาการ มันไม่เกิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ มันหยุดเพียงแค่นั้น
Johann Georg Hamann และ
Johann Gottfreid Herder
นักคิดอีก 2 คน ซึ่งเป็นนักคิดในศตวรรษที่ 19 คือ Johann Georg Hamann และ Johann
Gottfreid Herder ได้ให้แรงบันดาลใจอย่างสำคัญกับ Kierkegaad, Arthur Schopenhauer,
Friedrich Nietzsche โดยเฉพาะคนหลังได้เป็นเสาหลัก ให้กับแนวคิดการโต้แย้งความเป็นสมัยใหม่
แนวคิดโต้แย้งยุคสว่างหรือ the Enlightenment ต่อนักคิดในยุคหลังๆที่เราคุ้นชื่อ
อย่าง Foucault และคนอื่นๆ
นักปรัชญาทั้ง 2 คน Johann Georg Hamann และ Johann Gottfreid Herder เช่นเดียวกับ Kierkegaad ที่ร่วมสมัยกับแนวคิดในยุคสว่าง ในยุคของเหตุผล(the Enlightenment)(The Age of Reason) ได้ไปโฟกัสเรื่องความจริงว่ามันถูกทำให้แข็งตัว(freeze)อย่างไร มันได้ถูกกรอบ(frame)อย่างไร พวกเขาได้ไปอธิบาย ซึ่งคำอธิบายนี้ได้ส่งผลกระทบหรือเป็นการโต้แย้งกับแนวคิดของ Kant เรื่อง the Pure Reason อย่างแรงทีเดียว
การโต้แย้งเรื่องเหตุผลบริสุทธิ์ของ
Kant
นักคิดทั้ง 2 คน Johann Georg Hamann และ Johann Gottfreid Herder เชื่อว่า การใช้เหตุผล
ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ ซึ่ง Kant เป็นคนสำคัญหลัก และ Descartes ด้วย คือความสับสนระหว่าง
representation หรือภาพแทน, ซึ่ง Hamann ใช้คำว่า word, คือไปสับสนว่า "word"
คือ concept แล้วเราไปติดเรื่อง word
ยกตัวอย่างเช่น เห็นคำว่า apple เราจะไม่นึกถึง concept อื่นๆ ที่มันซ่อนตัวอยู่ภายใต้คำนั้น เราจะเชื่อว่า apple ก็คือ concept ของความเป็นผลไม้สีแดง แล้วคิดว่า word คือ concept
มนุษย์ไม่ได้คิดถึงความเป็น concept จริงๆ หรือ"สภาวะของความเป็นแอปเปิล" มนุษย์ไปติดคำอธิบายว่าแอปเปิล และไปเชื่อว่า concept คือคำอธิบาย โดยผ่านการกลั่นกรองของเหตุผล คือความจริง. อันนี้มี 3 ขั้นตอนคือ
- word คือภาพแทนของ concept, concept คือ real thing (word = real thing)
- They confused 'words' with 'concept' and 'concept' with 'real thing'.
สำหรับนักปรัชญาทั้งสองคนนี้ไม่ใช่ ความจริงกับ concept เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ความจริงมันอาจจะถูกอธิบายได้จากหลายๆ concept อย่างเช่น "สภาวะของความเป็นแอปเปิล" เราสามารถอธิบายมันได้หลายๆ อย่าง เช่น เป็นของฝาก ของที่ระลึก ไม่ใช่ในความหมายของผลไม้อย่างเดียว นี่คือความสับสนของการใช้เหตุผลในยุคสว่าง คือเชื่อว่า word = concept = real thing
นักคิด 2 คนนี้ไม่เชื่อว่ามันเชื่อมโยงแบบทื่อๆ อย่างนั้น
Kant บอกว่า หน้าที่ของปรัชญาคือ ทำให้มนุษย์เข้าใจเหตุผลบริสุทธิ์ และจากเหตุผลบริสุทธิ์ เราจะเข้าใจความจริง เราจะเข้าใจเหตุผลบริสุทธิ์ได้ เข้าใจตรรกะของภาษา, ซึ่งสำหรับ Johann Georg Hamann และ Johann Gottfreid Herder แล้วบอกว่าไม่มีทาง กระบวนทัศน์แบบ Kant มันทำให้มนุษย์หนีห่างจากความจริง หนีห่างจาก authentic experience หรือประสบการณ์ที่แท้ เมื่อมนุษย์ไม่มีประสบการณ์ที่แท้ มนุษย์ก็ตกอยู่ในกรอบของความจริงที่ถูกนิยามเอาไว้ก่อนแล้วล่วงหน้า ติดอยู่ใน concept ติดอยู่กับ word
กลับไปที่ Heidegger มนุษย์ติดกับเครื่องมือ มนุษย์ติดกับเทคโนโลยี มนุษย์สมัยใหม่ติดกับ"คำ"(word) ซึ่งเมื่อเราดูในชีวิตจริง มนุษย์ไม่ได้ใช้คำตลอดเวลาเพื่อที่จะอธิบายความหมาย หรือจะสะท้อนว่าเขาเข้าใจความจริงอย่างไร มนุษย์ใช้ภาษาอื่นๆ ใช้ภาษาท่าทาง ซึ่งสามารถตีความได้หลากหลาย เช่น เราเห็นการยักไหล่ เห็นการขยิบตาของคน ซึ่งเป็นสัญญานที่ตีความได้ต่างๆ มันขึ้นอยู่กับบริบท
concept ไม่เคยหยุดนิ่ง ความจริงก็เป็นความจริงที่หลากหลาย ดังนั้น word หรือ representation หรือตัวแทนของความจริง ซึ่งมีหลายแบบ อาจเป็นภาพเขียน อาจเป็นคำที่เป็นคำๆ ที่สะกดได้ จะเป็นสี หรืออะไรก็ตาม มันไม่ได้ทำให้มนุษย์เข้าใจความจริง อย่าไปติดคำ อย่าไปติดเครื่องมือ
Ludwig
Wittgenstein : Life World
ความจริงและการใช้เหตุผล ตามความคิดของนักปรัชญาทั้ง 2 คน ต้องเชื่อมโยงกับสภาวะของความรู้สึก
และนั่นคือเป้าหมายของชีวิต ซึ่ง Wittgenstein ก็พูดถึงเรื่องนี้ ซึ่งเขาใช้คำว่า
life world. ก่อนหน้านี้ Wittgenstein เป็นนักคิดร่วมกระแส linguistic turn พยายามจะไปค้นหาโครงสร้างของภาษาสุดท้าย
ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์ ภาษาแบบ dictionary
หนังสือเล่มหลังๆ Philosophical
investigation เขาเห็นว่าภาษาที่มนุษย์ใช้ในโลกปรกติไม่ได้แข็งทื่อ มันขึ้นอยู่กับการตีความในบริบทไปเรื่อยๆ
ของคนต่างๆ และตรงนั้น Wittgenstein เรียกมันว่า life world คือโลกของชีวิตจริง
นั่นคือชีวิตที่ไม่ใช่คำอธิบายที่มันหลุดกรอบไปจากชีวิต. ความจริง เหตุผล ต้องอยู่ในชีวิต
และต้องรู้สึกได้ รวมทั้งต้องสามารถถูกตีความได้ ซึ่ง Heidegger ก็ใช้คำว่า life
world เช่นเดียวกัน
Arthur Schopenhauer : Free Will
ปัญหาตรงนี้ที่ทำให้มนุษย์ไม่รู้จักคิด มนุษย์ไปติดที่ภาพแทน(representation)
แทนที่จะไปดูว่า concept คืออะไร ความจริงของตัวเองคืออะไร อันนี้ถูกพูดอยู่ในงานของ
Schopenhauer ในเรื่อง The Word as Will and Representation (1818) ว่าหน้าที่ของจิตมนุษย์
คือก้าวข้ามโลกที่มันหยาบกระด้าง โลกของ Appearance (ปรากฏการณ์) โลกที่มันเป็นผืนผิวเหล่านั้น
โลกของปรากฏการณ์ที่เป็น representation
หน้าที่ของมนุษย์ก็คือต้องก้าวข้ามไปจากโลกเหล่านั้น มนุษย์ถึงจะเข้าใจความหมายของชีวิตและการเป็นอยู่ ซึ่งแนวคิดสมัยใหม่(modern)มันพรากมนุษย์ไปจากสภาวะตรงนี้ ทำให้มนุษย์ไม่มี free will เพราะไปติดอยู่กับ representation ไปติดอะไรซึ่งเป็นพิธีรีตอง ไปติดเรื่องเครื่องมือ ทำให้มนุษย์หลงลืม concept ที่แท้จริง และไม่รู้ว่าจะเอา concept ไปใช้เพื่อจะสร้างความจริงหรือเป้าหมายของชีวิตอย่างไร
Friedrich
Nietzsche
Nietzsche ก็พูดเช่นเดียวกันใน The Birth of Tragedy ว่าอันนี้ การคิดแบบแยกส่วน,
แยกขั้ว, แบบ Dualism, แบบ Descartes, แบบ Kant - pure reason, ซึ่งพรากสิ่งทั้งหลายออกจากกัน
ก็คือเชื่อว่าโลกของความจริงที่เป็นโลกของปรากฏการณ์ กับความจริงที่มันเป็น pure
reason มันแยกขาดออกจากกัน Nietzsche บอกว่ามันเกิดขึ้น มันเป็นประเพณีของโลกตะวันตกมาตั้งแต่ไหนแต่ไร
เป็นโศกนาฏกรรมของประเพณีกรีก
อันนี้เขาเขียนเอาไว้ใน The Birth of Tragedy เลยว่า ที่มาที่ไปมันเป็นมาตั้งแต่ยุคกรีกแล้ว คือไปแยกส่วนว่า ความจริงอยู่นอกชีวิตประสบการณ์ คำอธิบายหรือแนวคิดต้องถูกเข้าใจผ่านตัว word ตัว representation ตัว dictionary ไม่ได้เข้าใจตัวบริบทแวดล้อม ไม่ได้คิดว่าชีวิตคือเรื่องของสัมพัทธภาพ
Nietzsche ได้ให้ตัวอย่างที่ดี ซึ่งเชื่อมโยงกับเรื่องของศิลปะ เขาบอกว่าแนวคิด Dualism หรือทวินิยม ในทางสังคมวิทยาใช้คำว่า dichotomy คือแนวคิดแบบแยกขั้ว เช่น present - absent, หยาง - หยิน, ผู้ชาย - ผู้หญิง, ดี - ชั่ว เหล่านี้ มันเป็นแรงขับของเทพเจ้า 2 องค์ ซึ่งเรียนกับ อ.สมเกียรติมาแล้ว นั่นคือเทพ Apollo กับเทพ Dionysus (หรือ Apollonian and Dionysain forces)
และ Nietzsche เชื่อว่า โครงงานสมัยใหม่ มันได้อิทธิพลมาจากเทพ Apollo. เทพ Apollo เป็นตัวแทนของอะไร ? เทพ Apollo เป็นตัวแทนเกี่ยวกับโลกของปรากฏการณ์(appearance) เป็นโลกของ Plastic Art (หมายถึงศิลปะที่จับต้องได้) เป็นรูปร่าง เป็นชิ้นเป็นอัน อธิบายได้ มีความงามที่จับต้องได้ มีความชัดเจน (อันนี้ไม่ใช่สภาวะของความงาม) ความงามต้องมีที่อยู่ เป็นรูปธรรม เป็น concrete
เทพ Apollo จะไม่พูดถึงสภาวะความงาม ถ้าพูดถึงผู้หญิงสวย ผู้ชายหล่อ จะต้องทำให้เห็นว่า สวยหรือหล่ออย่างไร รูปร่างเป็นอย่างไร หน้าตาเป็นแบบไหน จะไม่พูดถึง"สภาวะความงามที่เป็นนามธรรม" แต่จะพูดถึงความงามที่เห็นได้ชัดเจนว่าอะไรคือความงาม. เพราะฉะนั้นความงามต้องมีที่อยู่ และเห็นได้อย่างแจ่มชัด อธิบายได้ นำไปสู่วิชาองค์ประกอบศิลป์ที่เรากำลังจัดการกับความงาม ความงามสร้างสรรค์ได้ แต่เราไม่เคยคิดถึงว่าอะไรคือ"สภาวะความงาม"
สำหรับ Nietzsche แล้ว
Apollonian force หรือแรงขับของเทพอพอลโล ไม่ใช่ศิลปะ ดังนั้น รูปปั้น รูปเขียน
หรือแนวอุปกรณ์นิยม(instrumentalism) ไม่ใช่ศิลปะตามแนวคิดของ Nietzsche เพราะเขาเชื่อว่าศิลปะที่แท้จริงต้องถูกขับเคลื่อนโดยเทพอีกองค์หนึ่ง
นั่นคือ แรงขับของเทพไดโอนิซุส(Dionysain forces) อันนี้จะไม่พูดถึงอะไรที่เป็น
concrete ไม่พูดถึงเรื่องความงาม แต่จะพูดถึงความต้องการ แรงปรารถนา ซึ่ง Lyotard
เอามาใช้คือคำว่า sublime เหมือนกับ
Schopenhauer พูด หรือ Kierkegaad พูดคือ มนุษย์จะมีสำนึกได้ มนุษย์จะมีแรงปรารถนาได้
ต่อเมื่อมนุษย์เผชิญหน้ากับเรื่องทุกข์โศก กับเรื่องของความสิ้นหวัง เป็นเรื่องที่มันไม่ใช่เรื่องความงาม
ความงามอย่างเดียวมันเป็นเรื่องของ plastic art มันเป็นโลกของ entertainment โลกที่ทำให้เราหลุดสำนึกต่อการคิดเรื่องของความงามที่แท้จริง และอันนี้คือความหมายของศิลปะที่แท้จริง อันนี้เป็นความคิดของ Nietzsche
และ Modern Art ในความหมายของ Nietzsche ถูกสร้างสรรค์จากแรงขับของเทพอพอลโล ซึ่งมันแยกศิลปะออกไปจากชีวิต ศิลปะเหมือนกับเป็นวัตถุอื่นๆ เหมือนกับความจริงอื่นๆ ที่แยกขาดไปจากชีวิตอย่างที่พูดมาแล้ว ศิลปะมีที่อยู่ของมันเอง ศิลปะมีสถาบัน ศิลปะถูกค้นพบได้ ถูกสร้างสรรค์ได้ แยกขาดไปจากชีวิตจริง
ยกตัวอย่างเช่น ศิลปินบางคนเป็นคนลามก กักขฬะ แต่ทำงานเรื่องของพุทธศาสนา เรื่องของสุญญตา นิพพาน หรือศิลปะของฉันไม่เกี่ยวกับใครเลย ไม่เกี่ยวกับสังคม ฉันค้นพบมันขึ้นมาเอง ศิลปะมีสถาบัน ศิลปะถูกค้นพบได้ ศิลปะเป็นเรื่องของอัจฉริยภาพ ศิลปะเป็นเรื่องของลายเซ็น ศิลปะแยกขาดไปจากชีวิตจริง ศิลปะไม่ใช่สิ่งที่ต้องนำมาใช้สอย, ซึ่งสำหรับ Nietzsche แล้ว ศิลปะสมัยใหม่ไม่ใช่ศิลปะ เพราะมันตัดขาดไปจาก domain อื่นๆ ของสังคม
ทำไมเราต้องมีคณะวิจิตรศิลป์ ทำไมต้องมีหอศิลป์ ซึ่งเข้าไปแล้วก็ดูไม่รู้เรื่อง นั่นเป็นเรื่องของพวก expert ชาวบ้านทั่วไปต้องไปเรียนมาก่อน เพราะเป็นพวกบัวใต้น้ำ ถ้าจะเข้าใจงานศิลปะจะต้องไต่บันไดขึ้นไป ซึ่ง Nietzsche บอกว่านี่คือปัญหาของศิลปะแบบ modern คือมันพรากชีวิตกับศิลปะออกจากกันนั่นเอง และนี่ไม่ใช่ศิลปะที่แท้จริง มันเป็นเรื่องของรูปทรง พื้นผิว พื้นที่ว่าง สี และอื่นๆ ประติมากรรมทำแล้วทำเล่า ซ้ำอยู่นั่น ทำให้มนุษย์ไม่คิด ไปติดยึดกับเครื่องมืออุปกรณ์การทำศิลปะ เขียนรูปสวย แต่ไม่มีเนื้อหาอยู่ข้างในเลย กลวงโบ๋
และนับตั้งแต่ปรัชญากรีกเป็นต้นมา, ปรัชญาแบบ Platonic Philosophy ได้ทำให้ Dionysian force หมดกำลังลงไปเรื่อยๆ และมาพัฒนาถึงจุดสูงสุดในยุคสมัยใหม่(Modern Age) เมื่อ Dionysian force หมดกำลังลง มนุษย์จึงไม่คิด มนุษย์เพียงจะจัดการโลก ทำให้ทุกอย่างเป็นเรื่องตลาด(market) มีการจัดการโยกย้ายถ่ายเทตามเป้าประสงค์ของมนุษย์เอง ตามเป้าประสงค์ของกรอบที่ถูกวางไว้ก่อน
เวลาที่เราจะทำ landscape เวลาที่เราจะทำสวนสาธารณะ เราไม่เคยคิดถึงสวนสาธารณะที่มันเป็นรูปแบบอื่นๆ เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว แต่เราจะนึกถึงต้นลีลาวดี ต้นเหลือปรีดีญาธรณ์ ต้นอะไรบ้าๆบอๆ เราไม่นึกถึงว่าใครจะเข้ามาใช้สวนสาธารณะ ไม่นึกถึงความเป็นไปได้ในการจัดสวนแบบอื่นๆ คือมีกรอบไว้ก่อน มนุษย์ก็จะไม่คิด มนุษย์ก็จะจัดการโลก ใช้ประโยชน์จากโลก ตามเป้าประสงค์ โลกกลายเป็นภาพที่สวยงาม ภาพที่พึงประสงค์ซึ่งถูกกรอบเอาไว้ก่อนล่วงหน้า
บทสรุป
ขอกลับไปที่ Heidegger เขาบอกว่ากระบวนการความรู้ คือเรื่องของ"การใฝ่รู้",
"การไม่เชื่อในสิ่งที่ถูกเชื่อมาก่อน" ความรู้ในบรรยากาศของความเป็นสมัยใหม่คือการ
represent ไม่ใช่ความรู้จริง เราโชว์ว่าเรารู้อะไร และคิดว่านั้นคือความรู้ ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าคิดว่าการฝึกฝนทางศิลปะคือกระบวนการของความรู้ บางทีรูปแบบของมัน ตัวผลผลิต
มันอาจไม่มีความสำคัญเท่ากับกระบวนการของความรู้ กระบวนการมีความสำคัญมากกว่าการได้มาซึ่งวัตถุ
หรือถ้าเราจะเป็นศิลปิน อันนี้จะตัดสินจากอะไร ? คำตอบก็คือ ตัดสินจากงาน, จาก
signature(ลายเซ็น), นั่นคือ representation. ไม่มีใครสนใจว่าชีวิตศิลปินจะลำบาก
ต้องผ่านความยากเข็นและสบการณ์อันหนักหน่วง เขาเพียงดูที่ผลงานของตัวศิลปินเท่านั้น
เช่นเดียวกับพวกเราในฐานะนักศึกษาศิลปะ เวลาดูนิตยสารทางด้านศิลปะ ก็ไม่สนใจเท่าไหร่ที่จะดูแนวคิดหรือรายละเอียดเนื้อหา เพียงสนใจแต่ภาพที่ปรากฏ มองดูวัสดุต่างๆ ที่นำมาใช้ มองเรื่องของการจัดการ การจัดภาพหรือองค์ประกอบต่างๆ แล้วเราก็มาทำตาม โดยไม่สนใจในมิติอื่นๆ สนใจแต่เพียง product เท่านั้น สิ่งเหล่านี้มันทำให้เกิดการผลิตซ้ำเชิงรูปทรง คือตัว representation มากกว่า concept มากกว่าความเข้าใจ การได้มาซึ่งความรู้ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกของศิลปะสมัยใหม่
ประสบการณ์ถูกกรอบเอาไว้ ทำให้มนุษย์สูญเสีย authentic experience (ประสบการณ์ที่แท้) มนุษย์ถูกสร้างสรรค์ขึ้น มนุษย์ถูกทำให้อยู่ในที่ที่ควรจะอยู่ ล้ำเส้นไม่ได้ ปีนเกลียวไม่ได้ ต้องอยู่ใน domain ซึ่งเหล่านั้นคือสิ่งที่บรรดานักคิด postmodern เรียกว่าเป็นกระบวนการ subjectification คือการสร้างความเป็นมนุษย์สมัยใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้
ตามความเห็นของ Foucault มนุษย์เพิ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อคริสตศตวรรษที่ 17 ก่อนหน้านี้ไม่ใช่มนุษย์ในแนวคิดแบบนี้ เป็นมนุษย์ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันกับมนุษย์คนอื่นๆ มนุษย์ที่มีความหมายเป็นเอกบุคคล มนุษย์ซึ่งมีกฎระเบียบคุ้มครอง ว่าตัวเองเป็นมนุษย์ภายใต้กฎ ต้องมี ID, ต้องมีสำมะโนครัว, สืบค้นได้ว่ามาจากไหน, เหล่านี้เป็นแนวคิดใหม่ของความเป็นมนุษย์
เช่นเดียวกับศิลปะ ต้องมี domain ที่ชัดเจน ต้องอยู่ในหอศิลป์ ศิลปะต้องถูกรู้ได้โดยคนที่ได้รับการฝึกฝนมาเท่านั้น คนที่อยู่นอกอาณาเขตนี้ไม่มีทางรู้ ศิลปะอาจไม่เชื่อมโยงกับเรื่องของชีวิต หลายคนไปหอศิลป์ ไปแล้วรู้สึกสบายใจ รู้สึกทำให้เราละทิ้งสิ่งซึ่งเราไม่พึงพอใจอยู่ในโลกของความเป็นจริง ศิลปะมันแยกชีวิตของเรา ชีวิตที่ไม่พึงประสงค์ ชีวิตที่ยืนอยู่บนปากเหวของความเสี่ยงออกไปอยู่อีกโลกหนึ่ง
ศิลปะให้อนุญาตเราให้ไว้ผมยาวได้ เพราะคนเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริง มันเป็นพวก surrealist วันๆ ไม่ได้สนใจอะไร ปล่อยคนเหล่านี้ไปเถอะ ให้ domain เฉพาะของมันอยู่ๆ ไป เวลาเราไปเรียนวิชาอื่นนอกคณะ อาจารย์จากคณะอื่นก็เข้าใจว่านักศึกษาศิลปะมีโลกของตนเอง ไม่ต้องไปพูดเรื่องของเหตุผล การรับใช้สังคม นักศึกษาพวกนี้ไม่รู้เรื่องหรอก รู้แต่เรื่องของศิลปะ ศิลปะคือจิตวิญญาน
นี่คือ Principle of subjectivism ในมุมมองต่างๆ การจัด domain หรือทำให้สิ่งที่มันอยู่ติดที่ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทุกอย่างถูกกำหนด อยู่กับที่. เหตุผลซึ่งหน้าจะถูกพิจารณาในฐานะอุปกรณ์ เหตุผลของ the Enlightenment เหตุผลของโลกสมัยใหม่ กลับกลายเป็นอุปกรณ์และเป้าประสงค์หรือเป้าหมายในตัวของมันเอง มนุษย์ยึดติดกับเหตุผล เหตุผลเอามาใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีกลายเป็นอุปกรณ์ในการสร้างกรอบของโลกขึ้นมา และทำให้โลกกลายเป็นวัตถุ
เวลาเราใช้ไฟฟ้า ก็เพราะเราต้องการอ่านหนังสือ บางทีเราเข้าไปบ้านแล้วเราเปิดไฟเลย อันนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติ มันเป็นความคุ้นเคย ความเคยชินโดยที่ไม่เคยมีการตั้งคำถาม เวลาเราสร้างสรรค์งานศิลปะ ก็เพราะมันมีโลกศิลปะ, มันมี curator, มันมี art museum, มันมี art magazine, มันมี art institution, มันมี art critic, มันมี art viewer, มันมี art collector เพราะฉะนั้นก็ทำให้มันครบองค์ประกอบ แล้วเราก็เลยเป็นศิลปิน โดยที่ไม่เคยคิดว่า มันมี sets หรือองค์ประกอบอื่นๆ อยู่นอก domain เหล่านี้ไหม ?
แล้วทำให้การคิดเกี่ยวกับเรื่องศิลปะซึ่งน่าจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์ที่นำไปสู่อะไรสูญสิ้นลง เช่น ศิลปะนำไปสู่การโต้แย้งทางสังคม ศิลปะทำให้สังคมเกิดดุลยภาพ หรือทำให้ตัวเองเกิดภาวะสมดุลย์ อันนี้ได้สูญเสียไป มันทำให้เราทำงานศิลปะอย่างมืดบอด มันทำให้เราลืมคำว่า living will หรือเจตจำนงของการใช้ชีวิตที่แท้จริง
Man confuses the goal of life / living will with the instrument - so they no longer think!!!
มันทำให้เราลืมประสบการณ์ที่อยู่ตรงหน้า ทั้งๆที่กำลังเผชิญหน้าอยู่กับเรา แต่เรากลับไปคิดถึงเรื่องอื่นๆ เช่น จะแสดงงานที่ไหน, จะดังอย่างไร, ใครจะมาวิจารณ์และเขียนถึง ? แทนที่ตรงหน้าคือการทำงานศิลปะ ผ่าไปคิดถึงเรื่องอื่น สิ่งที่ควรพิจารณาอยู่ตรงหน้าทำไมไม่พิจารณา
นั่นคือแนวคิดโดยกว้างๆ ตามแนวคิดแบบ postmodern ต่อแนวคิด modern ต่อการใช้เหตุผลที่ผิดพลาด และขอจบการบรรยายเพียงเท่านี้
++++++++++++++++++++++++++++
ภาพประกอบบทความ
อ. Homi Bhabha
ภาคผนวก : แนวทางการบรรยาย
Postmodern what ???
- Postmodernism, Postmodernity, the postmodern?
- Bounded to ideas of writing, political and social theories, and artistic practices in board sense.
- The ideas is seen very irritate, fashionable, odd, and new.
- They are important and evolved within and emerged from different artistic communities and academic pursuits of the humanities and social sciences.
- That most send great social, political, artistic, literary and philosophical impact at large.
- Postmodernism as critiques of rationalism - system building - in the romantic sensibility ่ challenges the fundamental assumptions of the Enlightenment.
- Striking upon notions of individual and social liberation.
- Postmodernism gives sociological and historical expressions to Postmodernity and the postmodern.
- That judge modernism as something conventional, and malfunctioning in spawning new forms of artistic or poetic expression - referred to the works of Robert Rauschenberg and Charles Olson in the late 1950s.
- By the 1960s and 1970s - popular among artists, writers, poets, and literary critics.
- ่ architects Robert Venturi and Charles Jencks are in the shadow of linguistic turn ่ Architectures are to present meaning and convey message.- Ferdinand de Saussure in literature, art - Marshall McLuhan in mass media - Roland Barthes in media culture.
- To overturn ideas essential to modernism == Narrative and Representation.
- By the 1970s, Postmodernism was seen as a movement for change.
- Till Daniel Bell's The Coming of Post-Industrial Society (1973) the terms "the postmodern" was used.
- Bell sees Postmodernism as a new expression that breaks down genres and distinctions between art and life ่ Autonomous Domain.
- ่ new cultural mode expanding social consciousness without boundaries ่ decomposition of self to erase individual ego.
- Inspired by Structuralism, human subject is not autonomous, coherent as expressed in the works of Rene' Descartes (1596 -1650) that established dogma within Western thought.
- The attempts to dissolve the human subject had become the claim within academic disciplines and political movements ่ collapse of grand narrative in political ideologies, such as Marxism, to liberate individuals and transform society.
- ่ the manifestation of the limit and the breakdown of rationality of the Western philosophical tradition.
- Postmodernism is the politics of the left - Jean Baudrillard, Michel Foucault, Fredric Jameson, Jean-Francois Lyotard, and Zygmund Bauman.
- The first reference can be found in the 1926 work of the catholic theologian, Bernard Iddings Bell, "Postmodernism and Other Essays"
- BIB thought that it is a new epoch of hope and desire to free individual spirit.
- Mandkind's ability to dissolve the underlying principles that govern nature and societies via the right use of reason ่ critiques Kant's idea.
- For him Modernism deprived individuals of free thought and left them spiritually impoverished, and subordinated them to the state ่ scientific objectivity empties life of metaphysical wonder.
- Bell's critique of the modern age shared the skeptical and stoical viewpoint with St. Augustine (396-430 AD.)
- For Augustine, Plato and Aristotle were mistaken to believe that we could obtain objective knowledge to form ourselves and build up the society ่ Man can change the world ่ fathom the workings of the universe ่ change their place within it ่ too arrogance toward God ่ spiritual isolation ่ with no faith ่ Dehumanisation.
- Bell believes that only through faith could individuals be returned to the path of salvation, and they become humble and spiritual hungry.
- ่ this is the characteristic of the postmodern individual ่ Postmodern age.
- Arnold Toynbee's A Study of History (1954) marked the term post-modern.
- For him, the West had been shaped by Industrialism and Nationalism ่ Bureaucracy.
- The first and Second World War indicated the clash between industrialism and nationalism ่ Cold War Period = post-modern age = the decline of civilization.
- No longer achievements of the bourgeoisie of the modern ่ progressive and innovating class through the claim of the master of technological advances that exceed individuals' abilities to adapt them : EX. Nuclear in Second World War = false reasoning.
- Inspired by Martin Heidegger, Charles Olson believed that modernism reduces authentic of human experience as means of deepening humanity's self-knowledge and abilities or master the universe to define symbolic representation of reality ่ rationalized of everything (Weber's Iron Cage)
- As Heidegger's thought, art and aesthetic experience is alternative to the whole Greek tradition. Art and aesthetic experience were too dangerous and must be abandoned.
- Art was crucial to returning humanity to what was truly authentic.
- Heidegger's method of 'deconstruction', "Destruktion" adapted by Derrida's Of Grammatology (1967) was mentioned widely.
- Associated with Soren Kierkegaard's (1813 -1855) ideas of dread and despair.
- Kierkegaad thought that when individuals face fear, they become conscious.
- And modernity took individuals away from such condition, and then established a new hope and desire of the entertainment spectacle (Walter Benjamin's arcade project + Guy Debord's Society of the Spectacle).
- To do so, the world must be pictured in a new perspective (freezing and bounded) ่ humanity and the world become objects.
- So Olson thought that it is important that man encounters with fear and death to restore conscious selfhood ่ postmodernism as aesthetic of de-composition of the Western rationality. ่Aesthetic of freedom, hope, and infinite possibility.
- The world is now represented / pictured ่ generalizations and constructions of the abstract ่ organic growth and diversity of reality is fixed.
- Johann Georg Hamann and Johann Gottfreid Herder (1800 AD) ่ Kierkegaad, Arthur Schopenhauer, Friedrich Nietzsche ่ desire for a living will ่ against the Enlightenment.
- The Enlightenment philosophers such as Kant misunderstood the idea of representation of reality by reducing it.
- They confused 'words' with 'concept' and 'concept' with 'real thing'.
- 'Real thing' should not be deduced to the PURE REASON.
- It rather should be associated with feeling, the stamp of life, senses, emotion ่ life world by Wittgenstein ่ language is meaningful when it is used in a certain context่ and Heidegger.
- Schopenhauer's The Word as Will and Representation (1818) addressed that the human mind could reach beyond the only appearance of reality, "the surface", then be able to attain knowledge of something more real, and profound ่ Being and Existence.
- Modernism empties out human existence ่ boredom = lazy, coward to free themselves ่ no question ่ no will to survive ่ no reason ่ fuck the Pure reason.
- ่ Nietzsche's The Birth of Tragedy addressed how Western philosophy was characterized by DUALISM of the apparent and the real.
- Another dualism ่ Apollonian and Dionysain forces.
- Apollonian = the art of appearance ่ work of sculpture, painting, all of the plastic arts: beauty, hard edges and clarity. = NOT ART.
- Dionysian = formless of intense pleasure (SUBLIME) ่ ART, music and tragedy.
- Modernism is shaped by Apollonian force ่ life has no art!!!!
- Platonic philosophy is deeply associated with the Apollonian ่ timeless, never changing world of order, symmetry, and perfect form ่ dominated the Dionysian = chaotic and terrifying impulse of nature.
- The beauty is then the manageable and manipulable ่ the World becomes a perfect beautiful picture framed.
- Heidegger goes on ่ knowing is constructed as clearly representing.
- To be represented is to be determined ่ human sensibility is framed ่ existence is determined / constructed ่ PRINCIPLE OF SUBJECTIVISM.
- Reason becomes instrumental reasoning to use to frame and objectify the world ่ SCIENCE and TECHNOLOGY is the instrument.
- Man confuses the goal of life / living will with the instrument ่ so they no longer think!!!!
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 950 เรื่อง หนากว่า 15000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ข้อความบางส่วนจากบทความ
สำหรับ Venturi แล้ว สถาปัตยกรรมก็เหมือนตัวบท(text) สถาปัตยกรรมก็เหมือนหนังสือเล่มหนึ่ง
ซึ่งหน้าที่ของมันก็คือเพื่อที่จะส่งสาร(message) ส่งแนวคิดไปให้ผู้อ่านให้สำนึกรู้ว่า
การอยู่อาศัยในสถาปัตยกรรมคืออะไร ? ก็คือทำให้เกิดการทบทวน ทำให้คนที่อยู่ในสถาปัตยกรรม
หรือคนที่คิดงานสถาปัตยกรรมได้ทบทวนว่า เราอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมอะไร มากกว่าเพียงแค่อยู่ๆ
ไป สำหรับ Charles Jencks และ Venturi แล้ว สถาปัตยกรรมไม่ได้ทำหน้าที่อย่างนั้น
สถาปัตยกรรมทำหน้าที่เหมือนกับหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งมันต้องมีเนื้อหาอะไรที่ทำให้เกิดการคิด เกิดการทบทวนต่อการใช้ชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งตรงนี้เป็นจุดเปลี่ยนของแนวคิด เป็นท่าทีของการเกิดแนวคิด postmodern ในช่วงแรก ซึ่งเขาเรียกว่า เอาเท้าของตัวเองเหยียบบนการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่เรียกว่าเป็น textual turn หรือเป็น linguistic turn คือการเปลี่ยนแปลงเชิงภาษาศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันนี้มันเป็น visual turn มันเป็น simulacrum turn แต่เอาช่วงนี้ก่อน คือคิดทุกอย่างภายใต้ตัว text หรือตัวบท และวิจารณ์ตัวบทด้วย
อีกคนหนึ่ง Arnold Toynbee เขาเป็นนักประวัติศาสตร์ ที่ได้เขียนหนังสือเรื่อง A Study of History (1954) โดยมีการใช้คำว่า postmodern. สิ่งที่เขาไปวิจารณ์ modern ก็คือ พัฒนาการของ modern เป็นผลผลิตของแนวคิดเรื่องอุตสาหกรรมนิยม และแนวคิดเรื่องรัฐชาติ ชาตินิยม ราชการนิยม อันเป็นผลผลิตของแนวคิดสมัยใหม่ ภายใต้การขับเคลื่อนของลัทธิอุตสาหกรรมนิยม โดยมีเครื่องมือคือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นตัวนำ. Toynbee บอกว่า จากพัฒนาการตรงนี้ทำให้เกิดภาพของความเป็นโลกสมัยใหม่ ซึ่งทำให้มนุษย์สิ้นหวัง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เขาได้ไปสำรวจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเส้นทางของประวัติศาสตร์แบบอารยธรรม การเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2