ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๒ : Release date 19 September 2009 : Copyleft MNU.

มีคนชอบถามผมว่าจะมีรัฐประหารหรือเปล่า ผมไม่รู้หรอก ผมไม่ได้ถือปืนหรือขับรถถัง แต่ว่ารัฐประหารมีความหมายน้อยลง การทำรัฐ-ประหารอาจจี้เอาคนบางคนที่ไม่ชอบออกไป แต่ไม่น่าจะกำกับสังคมได้มาก สังคมไทยเปลี่ยนไปมาก กระทั่งอำนาจการบริหารงานที่อยู่ภายใต้คณะทหารเป็นไปได้ยากแล้ว. รัฐประหารครั้งนี้ มีคนบอกว่าไม่นองเลือด เป็นรัฐประหารแบบสันติ แต่ในทัศนะผมแล้ว นี่เป็นรัฐประหารที่มีต้นทุนแพงมาก ต้นทุนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเลือดเนื้อชีวิต แต่รัฐประหารได้นำสถาบันทางการเมือง สถาบันทางสังคมจำนวนมากหลายสถาบันอีเหละเขละขละ เข้าไปสู่จุดที่น่ากลัวมากขึ้น อย่างเช่น รัฐธรรมนูญที่นำสถาบันตุลาการไปสู่การเมือง ทำให้สถาบันตุลาการคลอนแคลนไปมาก การตัดสินวินิจฉัยถูกตั้งคำถามมากขึ้น

H



19-09-2552 (1785)

เวทีเสวนาประชาธิปไตย: การรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๔๙ (วาระครบรอบ ๓ ปี)
ครบ ๓ ปีวันประหารรัฐประชาธิปไตย: เสวนาโดย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สมชาย ปรีชาศิลปกุล, ชำนาญ จันทร์เรือง, อรรถจักร สัตยานุรักษ์

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนอภิปราย "ครบ 3 ปีวันประหารรัฐประชาธิปไตย"
กิจกรรมเวทีการเมืองนี้จัดโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ผู้อภิปรายประกอบด้วย
สมชาย ปรีชาศิลปกุล, ชำนาญ จันทร์เรือง, อรรถจักร สัตยานุรักษ์ โดยบนหน้า
เว็บเพจนี้ได้แบ่งหัวข้อการอภิปรายออกเป็น ๓ หัวข้อที่เกี่ยวโยงกันดังต่อไปนี้
๑. รัฐประหารต้นทุนแพงมาก
๒. บันไดโง่สี่ขั้นของการรัฐประหาร
๓. สังคมตีกันง่ายขึ้น ฆ่ากันง่ายขึ้น
- คนจน-คนรวย ต่างกัน ๙๖ เท่า
- การเปลี่ยนรูปของรัฐไทย, การรวมศูนย์อำนาจของรัฐไทย
- สังคมไทยหลัง ๒๕๐๐ ถูกแยกเป็น ๓ มิติ
- ประชานิยมแบบขวาใหม่
- ปรากฏการณ์ต่อต้าน ๓ อย่างในสังคมไทย
- การเคลื่อนไหวทางการเมืองสู่ Democratization
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "การเมือง สังคม และประชาธิปไตย")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๘๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๗.๕ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เวทีเสวนาประชาธิปไตย: การรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๔๙ (วาระครบรอบ ๓ ปี)
ครบ ๓ ปีวันประหารรัฐประชาธิปไตย: เสวนาโดย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สมชาย ปรีชาศิลปกุล, ชำนาญ จันทร์เรือง, อรรถจักร สัตยานุรักษ์

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word



คัดลอกจากประชาไท: ปรับปรุงโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนอภิปราย "ครบ 3 ปีวันประหารรัฐประชาธิปไตย" 'สมชาย ปรีชาศิลปกุล' ชี้ 19 กันยา เป็นรัฐประหารต้นทุนแพง ลากสถาบันทางการเมือง-สังคมลงมาอีเหละเขละขละ. 'ชำนาญ จันทร์เรือง' เผยความโง่ 4 ประการของคณะรัฐประหาร. 'อรรถจักร สัตยานุรักษ์' ระบุสังคมอยู่ในความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่เปราะบาง ตีกันง่ายขึ้น ฆ่ากันง่ายขึ้น วงอภิปรายยังหวังสังคมไทยกลับมายึดสันติวิธี

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 19 ก.ย. 52 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจัดการอภิปราย "ครบ 3 ปีวันประหารรัฐประชาธิปไตย" ที่ห้องประชุม อาคารศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยหลังการปาฐกถาของนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ หัวข้อ "สาระที่แท้ของประชาธิปไตย" ถัดมาเป็นการอภิปรายหัวข้อ "ครบ 3 ปี วันรัฐประหารประชาธิปไตย" โดยนักวิชาการ ม.เที่ยงคืน ได้แก่ รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อ.ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ, รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

1. รัฐประหารต้นทุนแพงมาก
"รัฐประหารครั้งนี้ มีคนบอกว่าไม่นองเลือด เป็นรัฐประหารแบบสันติ แต่ในทัศนะผม นี่เป็นรัฐประหารที่มีต้นทุนแพงมาก ต้นทุนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเลือดเนื้อชีวิต แต่รัฐประหารได้นำสถาบันทางการเมือง สถาบันทางสังคมจำนวนมากหลายสถาบันอีเหละเขละขละ เข้าไปสู่จุดที่น่ากลัวมากขึ้น"
สมชาย ปรีชาศิลปกุล

สมชาย ปรีชาศิลปกุล กล่าวว่า ความรู้สึกก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กับตอนนี้มีความต่างกัน ในตอนนั้นมีคนไปถ่ายรูป ยินดีปรีดากับการรัฐประหารค่อนข้างมาก สิ่งที่ตามมาคือจนถึงบัดนี้ หลายๆ คนคาดหวังว่า อย่างน้อยการรัฐประหารจะยุติความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น ถามว่าถึงปัจจุบันสังคมไทยกลับเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่าภาวะที่ไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีความรุนแรงหรือเปล่า คำตอบคือ ไม่ใช่

มีคนกล่าวว่า การรัฐประหารยุติความขัดแย้งเฉพาะหน้าได้ คำตอบคือ ใช่ และสั้นมาก การรัฐประหารครั้งนี้กระจอกที่สุดในประวัติศาสตร์การรัฐประหาร คณะรัฐประหารเป็นวีรบุรุษสั้นๆ มาถึงตอนนี้มีใครคิดถึงรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์บ้าง หลังพลเอกสุรยุทธ์ออกจากตำแหน่งไปแล้ว ก็มีชนักติดตัวเรื่องเขายายเที่ยง

มีคนชอบถามผมว่าจะมีรัฐประหารหรือเปล่า ผมไม่รู้หรอก ผมไม่ได้ถือปืนหรือขับรถถัง แต่ว่ารัฐประหารมีความหมายน้อยลง รัฐประหารอาจจี้เอาคนบางคนที่ไม่ชอบออกไป แต่ไม่น่าจะกำกับสังคมได้มาก สังคมไทยเปลี่ยนไปมากกระทั่งอำนาจการบริหารงานที่อยู่ภายใต้คณะทหารเป็นไปได้ยากแล้ว. รัฐประหารครั้งนี้ มีคนบอกว่าไม่นองเลือด เป็นรัฐประหารแบบสันติ แต่ในทัศนะผมแล้ว นี่เป็นรัฐประหารที่มีต้นทุนแพงมาก ต้นทุนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเลือดเนื้อชีวิต แต่รัฐประหารได้นำสถาบันทางการเมือง สถาบันทางสังคมจำนวนมากหลายสถาบันอีเหละเขละขละ เข้าไปสู่จุดที่น่ากลัวมากขึ้น เช่น รัฐธรรมนูญที่นำสถาบันตุลาการไปสู่การเมือง ทำให้สถาบันตุลาการคลอนแคลนไปมาก การตัดสินวินิจฉัยถูกตั้งคำถามมากขึ้น

อย่างคดียุบพรรค (ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคการเมืองสามพรรค คือ พรรคพลังประชาชน, พรรคมัชฌิมาธิปไตย, และพรรคชาติไทยเมื่อ 2 ธ.ค.) เวลา 10 โมงอ่านคำแถลงปิดคดี ต่อมาเวลา 11 โมงศาลอ่านคำพิพากษา (โดยหลักการ)เรื่องนี้ผู้พิพากษาซึ่งทำหน้าที่ตัดสิน ต้องเอาคำแถลงปิดคดีของพรรคการเมืองไปพิจารณาว่า รับหรือไม่รับในแต่ละเรื่อง แล้วคำพิพากษาประมาณ 30 กว่าหน้า หนึ่งชั่วโมงพิมพ์ได้หรือ ต่อให้พิมพ์แบบไม่ใช้สมอง 30 กว่าหน้า พิมพ์ได้หรือ แต่นี่พิพากษาเสร็จภายในหนึ่งชั่วโมง หมายความว่า ไม่ได้นำคำแถลงปิดคดีไปอยู่ในคำวินิจฉัย เป็นการเขียนคำพิพากษามาก่อนแล้ว

คดีบางคดีในทางเทคนิคอย่างมติ ครม. (เรื่องแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วม) จะขึ้นศาลปกครองหรือขึ้นศาลรัฐธรรมนูญจะแยกกัน แต่คดีนี้ศาลปกครองรับ ศาลรัฐธรรมนูญก็รับ เป็นการรับพิจารณาคดีทั้งสองศาล ตกลงคือคดีอะไร จนกระทั่งบัดนี้ก็ยังเถียงกันไม่เลิก คือศาลเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองมากขึ้น ทีนี้เมื่อไม่สามารถรักษาความชอบธรรม เวลามีคำตัดสินออกมา จึงเกิดภาพที่ไม่เคยเกิดในเมืองไทย เช่น มีคนไปล้อมศาล หรือศาลต้องหนีไปที่อื่นเพื่อไปตัดสินคดี

การรัฐประหารครั้งนี้จึงลากสถาบันการเมืองจนล่มสลาย ไม่ต้องเอ่ยถึงสถาบันอื่นที่ถูกวิจารณ์อย่างมาก สถาบันจารีตก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ในช่วงชีวิตผมนี้น่าจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เราเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีการดึงสถาบันต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ถึงที่สุดระบบพวกนี้จะเดินไปได้ยาก จะถูกดึงเข้ามาจนเละเทะไปหมด การรัฐประหารครั้งนี้จึงเป็นการทำรัฐประหารที่ต้นทุนแพงมาก แม้จะไม่ได้เสียเลือดเนื้อเลย และต้นทุนนี้เองจะทำให้เกิดการเลือดตกยางออกในสังคมไทยตามมา

ถามว่า จะทำอะไรได้บ้าง ท่ามกลางความขัดแย้งที่ลงลึกมากขึ้น เราจะเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์นี้อย่างไรบ้าง? อันดับแรก อย่าไปฝากความหวังไว้กับใครแม้แต่คนเดียวว่าจะมีอัศวินขี่ม้าขาวมาแก้ปัญหา อัศวินมักจะขี่ม้าขาวก่อนมีอำนาจ พอมีอำนาจก็เปลี่ยนไป ลองเปิดเว็บไซต์คุณอภิสิทธิ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2550 คุณอภิสิทธิ์ได้ให้เหตุผลที่ดีมากในการคัดค้านกฎหมายความมั่นคง 5 ประการ ผมเห็นด้วยหมด แต่พอมีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ก็ประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงที่รอบแรกวืดไป รอบนี้ก็เอากฎหมายความมั่นคงมาใช้อีก ทั้งที่เคยเห็นว่ากฎหมายมีความบกพร่อง 5 ประการ จึงอย่าไปฝากความหวังกับคนที่มีอำนาจ

เราควรทำอะไร อันดับต่อมาคือ "สันติวิธี"หายไปจากช่วงที่มีเคลื่อนไหวต่อต้านคุณทักษิณ. สันติวิธีเคยเป็นเครื่องมือที่สำคัญของประชาชนในการต่อต้านรัฐ ตั้งแต่ในช่วงพฤษภาคม 2535 ช่วงที่ผ่านมาของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยช่วงเริ่มต้น ด้านหลักพันธมิตรฯ ใช้สิ่งที่เรียกว่า"สันติวิธี" ต่อมาด้านหลักไม่ใช่สันติวิธี เช่น การประกาศสงครามครั้งสุดท้าย สันติวิธีหายไปจากสังคมไทย แม้แต่ในหมู่คนเสื้อแดงก็หายไป เราจะทำอย่างไรให้การเคลื่อนไหวในสังคมอยู่ภายใต้กรอบสันติวิธี คือใครล้ำเส้นไปต้องวิจารณ์ไม่ว่าเหลืองหรือแดง สังคมต้องใช้พลังบางอย่างเข้าไปกำกับความรุนแรงให้ได้

คำว่า "สมานฉันท์" มีความตื้นเขินมาก เช่น ให้ร้องเพลงชาติ ไม่รู้จะพูดอย่างไร ถือว่าเป็นความตื้นเขินอย่างยิ่ง "สมานฉันท์" ไม่ได้หมายความว่าเรียกร้องให้คนรักกัน. คนเห็นต่างกันได้ แต่จะทำอย่างไรให้เกิดการด่ากันได้โดยที่ไม่ต้องตีหัวกัน สมานฉันท์ไม่ใช่การรักกัน แต่สร้างเวทีในสังคมประชาธิปไตยให้คนพูดอย่างเสรี โดยไม่ถูกตีหัว หรือไม่ถูกมองว่าเป็นอมนุษย์ คือผมอาจจะคิดผิดก็ได้ แต่ทุกอย่างต้องพูดกันด้วยหลักเหตุผล

ทำอย่างไรให้สังคมยอมรับความแตกต่าง มีพื้นฐานอะไรบางอย่างร่วมกัน เช่น มองเห็นความเป็นมนุษย์ที่เห็นต่างจากเรา การพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินไม่ว่าจะเกิดจากฝ่ายไหนก็เป็นไปไม่ได้ เราเปลี่ยนสังคมในวันเดียวไม่ได้ นอกจากนี้ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีคุณค่า มีศักดิ์ศรีเหมือนกัน มากกว่าจะโยนให้อีกฝ่ายเป็นอมนุษย์หรือชั่วช้าสามานย์ เราต้องทำให้สังคมไทยกลับคืนมาสู่จุดนี้

2. บันไดโง่สี่ขั้นของการรัฐประหาร
"พอมีรัฐประหารจึงได้รู้ว่าหัวหน้าคณะรัฐประหาร นายทหารยศพลเอก รับราชการจนเกษียณถึงเงินเดือนจะไม่ใช้เลย ก็ไม่น่าจะมีทางจะมีเงินขนาด 90 กว่าล้าน บางคนมีที่เขายายเที่ยง มีได้อย่างไร ก็ดีไปอย่างทำให้เราได้ทราบ"
ชำนาญ จันทร์เรือง

ชำนาญ จันทร์เรือง กล่าวว่า ในโลกมีคนสี่ประเภท

หนึ่ง ฉลาดแล้วขยัน
สอง ฉลาดแล้วขี้เกียจ
สาม โง่แล้วขี้เกียจ
และสี่ โง่แล้วขยัน คนประเภทนี้อยู่ที่ไหนอันตราย บ้านเมืองบรรลัยที่นั่น การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการกระทำของคนที่โง่แล้วขยัน ประเภทนี้แม้แต่ฮิตเลอร์ก็ไม่เอา เพราะโง่แล้วขยันเหมือนฮิตเลอร์ ในที่สุดก็ต้องฆ่าตัวตาย

โง่ครั้งที่หนึ่ง ทั้งคณะรัฐประหาร 19 ก.ย. และคณะรัฐประหาร รสช. ต่างคิดว่าการรัฐประหารคือการแก้ปัญหาประชาธิปไตย ซึ่งไม่มีในตำราไหนในโลก

โง่ครั้งที่สอง คือยึดอำนาจจากประชาชนที่เป็นเสียงส่วนใหญ่แล้วเลือกตั้งผู้นำเข้ามา แล้วไปตั้งชื่อ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.)

โง่ครั้งที่สาม ต้องรีบแก้ชื่อคณะรัฐประหารในภาษาอังกฤษ เพราะชื่อในภาษาอังกฤษที่แปลมาตอนแรกสร้างความเสื่อมเสียให้สถาบันฯ

โง่ครั้งที่สี่ พรรคมาตุภูมิ เปิดทางให้คนที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลประชาธิปไตยมาเป็นหัวหน้าพรรคคือสนธิ บุญยรัตกลิน

การแก้ปัญหาโดยวิธีการรัฐประหาร ของทั้ง คปค. กับ รสช. ปัญหามีอย่างเดียวกันคือ เพราะกลัวถูกย้าย พวกเขาให้สัมภาษณ์สื่อว่า ต้องการเอาทักษิณออกไป เอาคนๆ หนึ่งออกไปแล้วปัญหาจะจบ ประชาธิปไตยจะคืนมา. เหตุผล 4 ข้อในการทำรัฐประหารเป็นเหตุผลที่เขียนขึ้นทีหลังทั้งนั้น โดยคำประกาศหัวหน้าคณะรัฐประหารก็คิดเอง กฎหมายก็อาศัยเนติบริกรต่างๆ เมื่อวานนี้ คณะกรรมการบอร์ดกองสลากจะออกรางวัลที่ 1 เป็น 25 รางวัล คนที่แถลงเป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ไม่รู้ว่ามีความเชี่ยวชาญในการทำหวยได้อย่างไร นี่เป็นผลพวงหนึ่งของการสนองคณะรัฐประหาร

คนที่ได้ประโยชน์จากรัฐประหารนั้น ทหารได้ยศ ตำแหน่ง งบประมาณ เบี้ยเลี้ยง ที่ได้ตามมาก็ประชาธิปัตย์เหมือนตอนรัฐประหาร พ.ศ.2490 เลย แต่ตอนนั้นประชาธิปัตย์ขึ้นมาเดือนกว่าๆ ทหารก็เตะออก ส่วนสื่อมวลชนจอมปลอมทั้งหลายก็ได้เวลาไพรม์ไทม์ไป

อย่างไรก็ตามผลจากรัฐประหารในแง่ที่มันเป็นผลลบ มันก็ยังมีผลบวกเหมือนกันซึ่งเขาคงคิดไม่ถึง คือผลบวกต่อประชาธิปไตย ใครจะไปนึกว่าการเมืองภาคประชาชนจะก้าวมาสู่จุดที่เข้มแข็งขนาดนี้ รัฐประหารเป็นตัวเร่งทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง รัฐประหารครั้งนี้มีคนต่อต้านอย่างชัดเจน มีการปราศรัยที่สนามหลวง เกิดปรากฏการณ์ลุงนวมทองสละชีวิตขึ้นมา. ที่น่าดีใจก็คือเมื่อสองวันก่อน ที่เพชรบุรีมีเวทีผู้นำเสื้อเหลือง เสื้อแดงในจังหวัดมานั่งคุยกัน เขาสรุปร่วมกันว่า ทั้งเหลืองทั้งแดงเป็นเบี้ยเขาทั้งนั้น ถูกปั่นเพื่อรักษาอำนาจ ผมเชื่อว่าคนที่กุมอำนาจในประเทศมีไม่เกิน 10 กลุ่ม เขาตกลงเจรจาผลประโยชน์เรียบร้อยเมื่อไหร่ทิศทางก็คงเปลี่ยนไป

ผลบวกอีกอย่างคือ พอมีรัฐประหารจึงได้รู้ว่าหัวหน้าคณะรัฐประหาร นายทหารยศพลเอกรับราชการจนเกษียณ ถึงเงินเดือนจะไม่ใช้เลยก็ไม่น่าจะมีทางจะมีเงินขนาด 90 กว่าล้าน บางคนมีที่ดินที่เขายายเที่ยง มีได้อย่างไร ก็ดีไปอย่างทำให้เราได้ทราบ. แน่นอนผลพวงจากรัฐประหาร ก็ทำให้หลายๆ คนอิ่มหมีพีมัน แต่ประชาชน ประเทศชาติรับทุกข์ไปตามกันถ้วนหน้า กองทัพก็ตกต่ำ ศักดิ์ศรีลดลง ถูกทหารเขมร พม่าข่มเหงรังแก โดยศักยภาพโดยภาพรวมดูจะเหนือกว่า แต่จริงๆ ไม่ใช่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มา กองทัพก็ไม่เคยชนะใครเลยนอกจากรบกับประชาชน รบเวียดนามมาก็แพ้เพราะอเมริกาแพ้ เราก็แพ้ด้วยเพราะไปช่วยอเมริกา

กล่าวโดยสรุป
หนึ่ง รัฐประหาร 19 กันยา ทำให้ระบบเศรษฐกิจพังพินาศ อย่าไปโทษเศรษฐกิจอเมริกาเลย อเมริกาเขาเห็นแสงสว่างแล้ว แต่เศรษฐกิจเรายังลงเป็นรูปตัวแอล

สอง สังคมแตกแยก ไม่เชื่อขับรถผ่านหลังวัดพระสิงห์ (จังหวัดเชียงใหม่) ลองใส่เสื้อเหลืองสิ ขับรถผ่านโรงพยาบาลหมอวงศ์(จังหวัดเชียงใหม่)ลองใส่เสื้อแดงสิ

สาม การบังคับใช้กฎหมายหมายไม่มีมาตรฐาน มีคนบอกว่าสองมาตรฐาน จริงๆ ก็ไม่มีมาตรฐาน. ดา ตอร์ปิโดปราศรัย ศาลสั่งจำคุก 18 ปี แต่สนธิ ลิ้มทองกุล นำคำพูดเดียวกันมาพูดบนเวทีพันธมิตร ตามกฎหมายก็ถือเป็นความผิด ตอนนี้อยู่ไหน ก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย การยึดสนามบิน(ของพันธมิตร)หมายจับยังไม่ออกเลย แต่พอแรงงานไทรอัมพ์เดินขบวนหน้าทำเนียบฯ มีการออกหมายจับทันควัน คลิปเสียงอภิสิทธิ์ตัดต่อหรือเปล่ายังไม่รู้ แต่ออกมาได้สามวันก็ได้ตัวคนทำเลย รู้เลยว่าตัดต่อกี่ที่

สี่ การเมืองอ่อนแอ สูญเสียความเชื่อมั่นทางการเมือง ไม่รู้ใครเป็นฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล เดี๋ยวตีกันเดี๋ยวตบกัน และตอนนี้ยังไม่สามารถตั้ง ผบ.ตร. ได้

3. สังคมตีกันง่ายขึ้น ฆ่ากันง่ายขึ้น
"การรัฐประหารเอง เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการความขัดแย้งทั้งหลายในสังคมไทย รัฐประหารโผล่มาในช่วงที่โครงสร้างเกิดขัดแย้งขึ้น ถ้ารัฐประหารไม่โผล่มาตอนนั้น ก็โผล่มาอีกในเวลาต่อๆ มา กรณีสนธิ บุญยรัตกลินไม่ฉลาดในการทำรัฐประหาร แต่อย่าลืมว่าคุณไม่ฉลาด แต่สามารถทำรัฐประหารในโครงสร้างที่เปราะบางนี้ได้"
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ กล่าวว่า ผมเป็นนักประวัติศาสตร์ ซึ่งจะหลีกเลี่ยงการหาแพะในประวัติศาสตร์ สิ่งที่นักประวัติศาสตร์ควรจะทำก่อนการหาคนผิดในประวัติศาสตร์คือจำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้าง. การรัฐประหารเองเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการความขัดแย้งทั้งหลายในสังคมไทย รัฐประหารโผล่มาในช่วงที่โครงสร้างเกิดความขัดแย้งขึ้น ถ้ารัฐประหารไม่โผล่มาตอนนั้น ก็โผล่มาอีกในเวลาต่อๆ มา กรณีสนธิ บุญยรัตกลินไม่ฉลาดในการทำรัฐประหาร แต่อย่าลืมว่าคุณไม่ฉลาดแต่สามารถทำรัฐประหารได้ในโครงสร้างที่เปราะบางนี้ ในโครงสร้างแบบเดียวกันพบว่า ขบวนการสีแดงกว่าจะเคลื่อนได้ก็หลังยุบพรรคแล้ว

คนจน-คนรวย ต่างกัน 96 เท่า
เรามีโอกาสบ้างไหม ที่จะช่วยกันประคับประคองสังคมที่มีวิกฤตรอบด้านให้ดีที่สุด ผลักดันตัวเองให้พ้นไปจากสิ่งที่อาจารย์สมชายเรียกว่า "อัศวินม้าขาว" ซึ่งจะพ้นได้ต้องเข้าใจโครงสร้าง. สังคมไทยที่วิกฤตเพราะไม่เข้าใจโครงสร้าง สิ่งที่ทำให้เกิดรัฐประหารคือ โครงสร้างเศรษฐกิจ ที่ทำให้เกิดความต่างทางชนชั้นระหว่าง"กลุ่มคนที่มี"กับ"คนที่ไม่มี"มากถึง 96 เท่า เกิดความต่อเนื่องของความยากจนซ้ำซาก นี่เป็นโครงสร้างอันแรกที่ทำให้เกิดปัญหา หลังการรัฐประหารมีการพูดถึงเรื่องนี้น้อยมาก. กรณ์ จาติกวนิช, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พูดเรื่องภาษีที่ดินและการกระจายรายได้อยู่บ้าง แต่ยังไม่ได้ทำอะไร ความขัดแย้งในโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังมีแน่ๆ คนเสื้อแดงก็หวังให้ทักษิณมาแก้ปัญหาให้ ส่วนคนเสื้อเหลืองก็ไม่เห็นทางว่าจะให้แก้ปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจนี้อย่างไร

การเปลี่ยนรูปของรัฐไทย
โครงสร้างที่สอง การเปลี่ยนรูป(Transform)ของรัฐ นี่ต้องให้เครดิตทักษิณว่าได้เปลี่ยนรูปของรัฐ ทักษิณทำให้คนจนเข้าถึงสาธารณสุข, เกิด Concept ความเป็นพลเมือง และหลังยุบพรรค(ไทยรักไทย) ก็ทำให้เกิด Active citizenship ขึ้น

การรวมศูนย์อำนาจของรัฐไทย
โครงสร้างที่สามก็คือ"การรวมศูนย์อำนาจของรัฐ" จึงทำให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองของ Active Citizenship ที่มุ่งสู่อำนาจรัฐ ลองคิดถึงเสื้อเหลือง เสื้อแดง และสีอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวเพื่อมุ่งสู่อำนาจรัฐ เนื่องจากเขาตระหนักแล้วว่า รัฐมีรูปแบบรวมศูนย์อำนาจจึงต้องไปสู่อำนาจรัฐนั้น. ส่วนญี่ปุ่นไม่ต้องเป็นรูปแบบนั้น การขึ้นมาของพรรค DPJ (พรรค Democratic Party of Japan) ได้คะแนน 308 เสียง ที่ขึ้นมาเพราะสังคมญี่ปุ่นไม่ได้อยากรวมศูนย์ แต่รัฐไทยไม่ใช่ เพราะเรายังรวมศูนย์อำนาจรัฐ

สังคมไทยหลัง ๒๕๐๐ ถูกแยกเป็น ๓ มิติ
สังคมไทยหลัง 2500 ถูกแยกเป็น 3 มิติ คือ การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และทั้งสามส่วนดุลย์กันอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงที่มีการเปลี่ยนรูปของรัฐ ทักษิณทำให้อำนาจเศรษฐกิจไปเป็นก้อนกับอำนาจการเมือง และไปกินพื้นที่อำนาจวัฒนธรรม ตอนนั้นเป็นช่วงที่เราเป็นห่วงอำนาจวัฒนธรรม จึงเกิดวิกฤตขึ้นมา ผมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ตกอยู่ในการแบ่งแยกอำนาจนั้น วันนั้นผมก็ยังตกอยู่ในกรอบมิตินั้นเพราะเคยพูดกับเอ็นจีโอว่า ทักษิณจะตั้งราชวงศ์ใหม่แล้ว ดังนั้นสังคมไทยรวมทั้งผม ต้องคิดการดุลย์ตรงนี้ให้เหมาะสม

ความขัดแย้งนี้ทำให้ทหารที่ควรเป็นผีดิบในหลุมการยึดอำนาจแล้ว สามารถโผล่ขึ้นมาได้ แต่พอยึดอำนาจแล้วก็อยู่ไม่ได้ มีคนว่าเรา(หมายถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)ไม่ได้ด่าการทำรัฐประหาร หลังจากยึดอำนาจนั้น นักศึกษาจัดด่ารัฐประหารข้างหน้านี้ (ชี้ไปที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) วันนั้นผมบอกว่า ถ้าคณะรัฐประหารอยู่ได้ปีหนึ่งนี่เก่งเลย คณะรัฐประหารนี้ Made in Thailand และเป็นคณะรัฐประหารที่อ่อนแอมากด้วย. พล.อ.สพรั่ง ตอนนั้นมีท่าทีก้าวร้าวมาก แต่พอหลุดคำว่า "ผมเป็นวีรบุรุษ" ก็หลุดวงโคจรออกมาเลย คือคณะรัฐประหารโผล่ขึ้นมาท่ามกลางโครงสร้างสังคมที่เปาะบาง ถ้าโครงสร้างเปราะบางก็อาจจะมีรัฐประหารอีกก็ได้ แต่จะอยู่ได้ถึงปีแบบ คปค. (คมช.) หรือไม่ ไม่น่าจะได้

สามปีที่ผ่านมา ยิ่งทำให้โครงสร้างเหล่านี้ขัดแย้งกันมากขึ้น และแต่ละหน่วยก็ขัดแย้งกันมากขึ้น แต่ยังอยู่กันได้เพราะยังขัดแย้งกันไม่ถึงที่สุด ถ้าถึงที่สุดก็อาจเหมือนฟิลิปปินส์ ปากีสถาน หรือแม้แต่รวันดา ถึงตอนนั้นยังเป็นประเทศไทยไหมก็เป็น แต่ไปที่ไหนก็เสียวสันหลังวาบ เหลียวหลังแล้วเหลียวหลังอีก เรากำลังอยู่ในสภาวะที่สังคมเริ่มไม่มีความสัมพันธ์อย่างไรกัน? คำตอบคือ ตีกันได้ง่ายขึ้น ฆ่ากันได้ง่ายขึ้น สามปีที่ผ่านมาไม่ได้แก้ปัญหานี้เลย โครงสร้างยิ่งทวีความขัดแย้งกันมากขึ้น

ประชานิยมแบบขวาใหม่
รัฐบาลอภิสิทธิ์มองไม่เห็นความขัดแย้งของโครงสร้างนี้ จึงมองไม่เห็นการออกจากปัญหา เขาก็ยังประชานิยมแบบทักษิณ แต่เป็นประชานิยมแบบ"ขวาใหม่" คือไปขยายประชานิยมในฝั่งของกลไกระบบราชการ ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าล้มเหลว ขณะที่ทักษิณใช้วิธีข้ามระบบราชการไปแล้ว ความขัดแย้งทางโครงสร้างนี้จึงยังรุนแรงอยู่ ทำให้ความขัดแย้งในสังคมไทยสูงมากขึ้น สามปีนี้จึงไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไรเลย และมีปรากฏการณ์อย่างน้อยสามปรากฏการณ์ชัดขึ้น

ปรากฏการณ์ต่อต้าน ๓ อย่างในสังคมไทย

หนึ่ง ปรากฏการณ์ต่อต้านกระแสหลักของสังคมไทย ชัดขึ้น แรงขึ้น ทุกวันนี้คนได้เอกสารต้องห้ามอย่างง่ายๆ หนังสือต้องห้ามถูกถ่ายสำเนาเป็นล้านก็อบปี้ และมีฉบับอิงแอบที่ปลอมเป็นผู้หญิงเขียนด้วย และคลิปก็ระบาดไปอย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์นี้แรงแบบชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน สมัยก่อน 6 ตุลา ก็ไม่ขนาดนี้

สอง ปรากฏการณ์ต่อต้านสังคม โดยผู้คนเบื้องล่างที่คิดว่าสังคมไม่ให้ความหวังอะไรอีกแล้ว เช่น คนปาหิน ไม่รู้ว่าเป้าอยู่ไหนแต่ก็ต้องทำ ต่อให้เอารถตำรวจไปวิ่งก็แก้ไขไม่ได้

สาม ปรากฏการณ์รัฐล้มเหลวหรือสภาวะไร้รัฐ ปรากฏการณ์เหลือง-แดง ทำให้เห็นว่ารัฐล้มเหลวและไร้รัฐชัดขึ้น และจะเป็นไปมากกว่านี้ถ้าไม่มีอำนาจรัฐ
ทำอย่างไรจะหลุดพ้นออกมาให้ได้ ปรากฏการณ์แบบนี้ มีทางออกอย่างไรบ้าง

การเคลื่อนไหวทางการเมืองสู่ Democratization
ถ้ามองโลกในแง่ดี ความขัดแย้งของกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองคือเหลือง-แดง เคลื่อนไปสู่การเป็น Democratization หรือเข้าสู่กระบวนการทางประชาธิปไตย กลุ่มสีเหลืองตกเป็นรองหลังการบุกยึดสนามบิน จึงเริ่มเบนตัวเองสู่พรรคการเมืองมากขึ้น และหวังจะเป็น mass party (พรรคมวลชน)

กลุ่มสีแดง แยกเป็นสามปีก. ปีกซ้ายจัด ที่ต้องการกวาด 'ทั้งหมด' ออก ลองอ่านงานของจักรภพ และสุรชัยดู แต่ปีกตรงกลางหวังที่รัฐสภา แต่ในมุมของปีกซ้ายสุดเห็นเป็นเรื่องหน่อมแน้ม แต่กลุ่มตรงกลางเขาจะเกาะปีกซ้ายสุดเพื่อให้น้ำหนักการเคลื่อนไหวสูง ส่วนปีกขวาสุดคือกลุ่มที่อาจารย์สมชายเคยเรียกว่ากลุ่ม "รักในหลวง ห่วงทักษิณ" กลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่สุด กลุ่มนี้ถ้าไม่ใหญ่จริงตอนถวายฎีกาเราจะไม่มีทางเห็นการมาร่วมถวายฎีกาของคนอย่างวิสา คัญทัพ

หากมองโลกในแง่ดี ทุกกลุ่มจะค่อยๆ เป็น Democratization และเกิดการแก้ไขปัญหาโครงสร้างที่กล่าวมาได้
แต่ถ้ามองโลกในแง่ร้าย อนาคตก็จะเป็นแบบรวันดา หรือตอนนี้ก็ใกล้เหมือนฟิลิปปินส์ หรือเหมือนบางเขตของเม็กซิโกที่ยิงกันสนั่นเมือง หรือจะเป็นบางส่วนที่ฆ่ากันเป็นเบือแบบริโอ เดอ จาเนโร ในบราซิล เราจะมองไม่เห็น "ความเป็นไทย" แบบที่เคยเป็น. ไม่ต้องคิดถึงการสร้างกิจกรรมที่แก้ปัญหานั้นได้ แต่ต้องคิดถึงการนำคนในสังคมมาคิดถึงจินตนาการใหม่ร่วมกัน คิดร่วมกันว่าจะออกไปสู่ความเสมอภาคร่วมกันอย่างไร ต้องช่วยกันคิด การคิด. "คำ"แบบนี้เองที่นำไปสู่จินตนาการที่ผูกเราเข้าสู่ปัญหาโครงสร้างและสังคมไทย น่าจะลดปัญหาโครงสร้างนั้นลงไป

ขอมองโลกในแง่ดีว่าเราจะไปทางไหน และหวังว่าจะได้อยู่ร่วมกันในสังคมที่ไม่น่ากลัวมากไปกว่านี้

ช่วงอภิปราย
ชาญกิจ คันฉ่อง- รัฐประหารเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่เปิดให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาในการเมือง ซึ่งในภาวะปกติเกิดขึ้นไม่ได้ ผลลัพธ์ทำให้กลุ่มการเมืองกลุ่มใหญ่ลงใต้ดิน เหมือนถูกทำให้กลายเป็นปีศาจหลอกหลอนสังคมไทย มีการไล่ผีไล่ปีศาจ ล่าแม่มด กระทั่งว่าหลักเคลื่อนไหวสันติวิธีก็แปรเป็นยันต์เป็นมีดเพื่อใช้ไล่ปีศาจ

สมชาย ปรีชาศิลปกุล - ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่อาจารย์อรรถจักร์ว่ามา ที่เปลี่ยนไปมากคือคนในสังคมไปร่วมในความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไพศาล ถูกปลุกเร้าทางการเมืองอย่างสูง เข้ามาร่วมอย่างถวายหัว คนที่ไปร่วมอาจต้องคิด ต้องใช้สติมากขึ้น เราไม่อาจเปลี่ยนอะไรได้ข้ามวันข้ามคืน ผมยืนยันว่าไม่มี เราอาจต้องพูดถึงภาษีก้าวหน้า พูดถึงอะไรที่ก้าวหน้าจริงๆ และต้องมาทำความเข้าใจกันมาก คนที่ไปร่วมในส่วนต่างๆ โดยเฉพาะไปร่วมในส่วนที่ไม่ใช่รัฐ น่าจะช่วยเปลี่ยนผ่านสังคมอย่างสันติ

ชำนาญ จันทร์เรือง- รัฐประหารครั้งนี้ดูเหมือนจะจบแล้ว แต่ยังนะครับ มีมรดกบาปคือ รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 309 กกต. ที่คณะรัฐประหารตั้ง มี ปปช. ที่คณะรัฐประหารตั้ง แล้วมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางกฎหมาย ปัญหาเรื่องที่ ปปช. ไม่ผ่านการเข้าเฝ้าฯ ปปช. มีคดีเป็นหมื่นๆ คดีที่ยังค้างคา แต่มาเร่งบางคดี นี่ไม่ได้เข้าข้างพัชรวาทย์ แต่คดีนี้ไม่ถึงปีคดีก็ตัดสินแล้ว มีเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นคนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช ผู้ดำเนินรายการ - ถ้ามองจากสถานการณ์ที่เราเห็นอยู่ สังคมไทยอยู่ในภาวะที่ล่อแหลม ย่ำแย่ ตกต่ำ ผู้ร่วมอภิปรายพยายามที่จะสื่อสารกับพวกเราว่า จะทำอย่างไรเพื่อแก้ไขสถานการณ์แบบนี้ สังคมโดยรวมจะเคลื่อนไปอย่างไร ที่จะนำไปสู่การกำเนิดขึ้นของสิ่งที่งดงาม

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก (การทำความเข้าใจ Democratization)

กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

Political Dictionary: democratization

The process of becoming a democracy. The word was first used by Bryce in 1888. Bryce identified the process as beginning with the French Revolution. If democracy is equated with the franchise, the first wave of democratization was a slow one, spreading from France and some states in the United States in the 1790s to most of the industrialized world by 1918. After both the First and Second World Wars, there were wavelets of democratization. Woodrow Wilson's championing of self-determination encouraged the first one, and the second was encouraged by independence movements in Western colonies, particularly in Africa and in Asia. However, the rise of communism and fascism rolled back the first; and internal strife in former colonies rolled back the second. A so-called Third Wave of democratization started in the early 1970s. By the year 2000 there were, according to Freedom House, one hundred and twenty democracies in the world, the highest number yet recorded. Moreover, the proportion of countries in the world that are democratic vis-?-vis non-democratic ones is higher than ever before (63%). The Third Wave started in Southern Europe with the demise of military dictatorships in Portugal (1974), Spain (1976), and Greece (1976), and then extended to Latin America, Central and Eastern Europe, the Far East, South-East Asia, and sub-Saharan Africa in the 1980s and 1990s.

Scholars followed a substantive approach to analyse democratization in the 1960s. The core assumptions underlying this approach are that democratization in any given country is a gradual, long-term historical process, and that democratization is a broad phenomenon, which is not only political, but also economic and social. This type of analysis emphasized the 'prerequisites of democracy'. The basic hypothesis was that the richer and more prosperous a country gets, the greater the chances that it will sustain democracy. The substantive approach's most important weakness was probably the fact that its core assumptions encouraged engagement with the analysis of long-run historical processes at the expense of assessing the short-run. This was clearly seen soon after the Third Wave of democratization started. The substantive approach was unable to account for the possibility of short-term political democratization, particularly in countries outside the core of Western industrialized democracies. Moreover, once democratization spread from Southern Europe in the 1970s to Latin America in the 1980s, and to Central and Eastern Europe and the Far East in the 1990s, this approach did not possess the tool kit to analyse short-term political conjunctures.

The so-called procedural approach shifted the attention from democracy (an outcome) to democratization (a dynamic process). D. A. Rustow concluded that the factors that keep a democracy stable are not necessarily the ones that brought it into existence. Explanations of democracy must distinguish between function and genesis. This crucial distinction allowed analysts to overcome the emphasis on the long-run and on democracy as an outcome, and to focus instead on the short-run and on the dynamic process of democratization. As the Third Wave of democratization showed, democratic regimes could be, and indeed were born and developed in a couple of years throughout the world. The possibility of democratization processes in the short run also allowed Rustow to establish concepts that became central to the study of the Third Wave such as transitions and consolidation (he called it 'habituation'). These concepts established a time horizon that permitted one to distinguish stages of democratization in the short term.

The procedural approach's emphasis on the short-term was also complemented by the idea that democratization can be better studied by following a minimalist conception of democracy. This is the idea of polyarchy, which concentrates on political institutions and procedures (free and fair political participation and contestation, and wide protection of civil rights), and excludes economic and social processes and indicators (the so-called relative autonomy of the political). By focusing on the short-term and on the criteria of polyarchy scholars have thus been able to analyse the first truly global democratization wave between the early 1970s and the dawning of the twenty-first century.
- Francisco E. Gonz?lez/Iain McLean

Russian History Encyclopedia: Democratization

While modern times have seen more than one, however partial, attempt to democratize Russia, democratization in the narrow sense refers to policies pursued by Mikhail Gorbachev and his closest associates, roughly from 1987 to 1991.

The language of democratization was widely employed within a one-party context by Gorbachev's predecessors, most notably by Nikita Khrushchev. Yet their interpretations of demokratizatsiya and democratizm diverged fundamentally from universal definitions of democracy. "Soviet democratization" implied increased public discussions, mostly on economic and cultural issues; increased engagement of Communist Party (CPSU) leaders with ordinary people; and some liberalization, namely, expansion of individual freedoms and relaxation of censorship. However, electoral contestation for power among different political forces was out of the question. The openly stated goals of democratization Soviet-style included reestablishing feedback mechanisms between the leadership and the masses over the head of the bureaucracy; encouraging public pressure to improve the latter's performance; and improving the psychological and moral climate in the country, including confidence in the CPSU leadership, with expectations of a resulting increase in labor productivity. Additional, unspoken goals ranged from strengthening a new leader's position, through public discussion and support, vis-?-vis conservative elements, to promoting Moscow's international image and its standing vis-?-vis the West.

Gorbachev's initial steps followed this pattern, relying, at times explicitly, upon the legacy and experience of Khrushchev's thaw; the official slogan of the time promised "more democracy, more socialism." Soon, however, Gorbachev pushed democratization toward full-scale electoral democracy. The reforms sparked demands for ideological pluralism and ethnic autonomy. As the momentum of reform slipped from under his control, Gorbachev's own policies were increasingly driven by improvisation rather than long-term planning. Emerging nonparty actors - human rights organizations, independent labor unions, nationalist movements, entrepreneurs, criminal syndicates, proto-parties, and individual strongmen such as Boris Yeltsin - as well as old actors and interest groups, with new electoral and lobbying vehicles at their disposal, introduced their own goals and intentions, often vaguely understood and articulated, at times misrepresented to the public, into Gorbachev's original design of controlled democratization.

Preliminary steps toward electoral democracy at the local level were taken in the wake of the CPSU Central Committee plenum of January 1987 that shifted perestroika's emphasis from economic acceleration to political reform. A subsequent Politburo decision, codified by republican Supreme Soviets, introduced experimental competitive elections to the soviets in multi-member districts. They were held in June 1987 in 162 selected districts; on average, five candidates ran for four vacancies; election losers were designated as reserve deputies, entitled to all rights except voting. Bolder steps toward nationwide electoral democracy - multicandidate elections throughout the country and unlimited nomination of candidates (all this while preserving the CPSU rule, with the stated intent of increasing popular confidence in the Party) - were enunciated by Gorbachev at the Nineteenth CPSU Conference in June 1988. The Conference also approved his general proposals for a constitutional change to transfer some real power from the CPSU to the representative bodies.

Seeking to redesign the Union-level institutions, some of Gorbachev's advisers suggested French-style presidentialism, while others harked back to the radical participatory democracy of the 1917 soviets, when supreme power was vested in the hands of their nationwide congresses. Idealistically minded reformers envisaged this as a return to the unspoiled Leninist roots of the system. Gorbachev initially opted for the latter, in the form of the Congress of People's Deputies, a 2,250-member body meeting once (and subsequently twice) per year. Yet only 1,500 of its deputies were directly elected in the districts, while 750 were picked by public organizations (from Komsomol to the Red Cross), including one hundred by the CPSU Central Committee, a precautionary procedure that violated the principle of voters' equality. The Congress was electing from its ranks a working legislature, the bicameral Supreme Soviet of 542 members (thus bearing the name of the preexisting institution that had been filled by direct however phony elections). The constitutional authority of the latter was designed to approximate that of Western parliaments, having the power to confirm and oversee government members.

The relevant constitutional amendments were adopted in December 1988; the election to the Congress took place in March 1989. This was the first nationwide electoral campaign since 1917, marked - at least in major urban centers and most developed areas of the country - by real competition, non-compulsory public participation, mass volunteerism, and high (some of them, arguably, unrealistic) expectations. Though more than 87 percent of those elected were CPSU members, by now their membership had little to do with their actual political positions. The full ideological spectrum, from nationalist and liberal to the extreme left, could be found among the rank and file of the Party. On the other hand, wide cultural and economic disparities resulted in the extremely uneven impact of democratization across the Union (thus, in 399 of the 1,500 districts only one candidate was running, while in another 952 there were two, but in this case competition was often phony). And conservative elements of the nomenklatura were able to rig and manipulate the elections, in spite of the public denunciations, even in advanced metropolitan areas, Moscow included. Besides, the twotier representation, in which direct popular vote was only one of the ingredients, was rapidly delegitimized by the increasingly radical understanding of democracy as people's power, spread by the media and embraced by discontented citizenry.

The First Congress (opened in Moscow on May 25, 1989, and chaired by Gorbachev), almost entirely broadcast live on national TV, was the peak event of democratization "from above," as well as the first major disappointment with the realities of democracy, among both the reform-minded establishment and the wider strata. Cultural gaps and disparities in development between parts of the Union were reflected in the composition of the Congress that not only was extremely polarized in ideological terms (from Stalinists to radical Westernizers and anti-Russian nationalists from the Baltics), but also bristled with social and cultural hostility between its members (e.g., representatives of premodern Central Asian establishments versus the emancipated Moscow intelligentsia). Advocates of further democratization (mostly representing Moscow, St. Petersburg, the Baltic nations, Ukraine, and the Caucasus, and ranging from moderate Gorbachevites to revolutionary-minded dissidents), who later united in the Interregional Deputies Group (IDG) and were widely described as "the democrats," had less than 250 votes in the Congress and even a smaller proportion in the Supreme Soviet. The bulk of the deputies had no structured political views but were instinctually conservative; they were famously branded by an IDG leader Yuri Afanasiev as "the aggressively obedient majority." The resulting stalemate compelled Gorbachev to abandon legislative experiments and shift to a presidential system, while the democrats (many of them recently high-ranking CPSU officials, with only a handful of committed dissidents) also turned their backs on the Congress to lead street rallies and nascent political organizations, eventually winning more votes and positions of leadership in republican legislatures and city councils.

Thus, democratization's center of gravity shifted away from the all-Union level. The key events of this stage were the unprecedentedly democratic republican and municipal elections (February - March 1990), with all deputies now elected directly by voters, and the abolition of Article 6 of the USSR Constitution that had designated the CPSU as "the leading and guiding force of Soviet society and the nucleus of its political system" with the right to determine "the general policy of the country." The elimination of this article, demanded by the IDG and mass rallies and eventually endorsed by Gorbachev, was approved by the Congress on March 13, 1990, thus removing constitutional obstacles for a multi-party system - arguably the major and perhaps the only enduring institutional change of the period achieved through public pressure.

From that time issues of democratization yielded center stage to institutional collapse and economic reforms. A major transitional point was Gorbachev's decision to become USSR president through a parliamentary vote, instead of running in direct nationwide elections. As a result, his presidency and other Union-wide institutions lagged behind republican authorities in terms of their democratic legitimacy. This was accentuated by Yeltsin's election as Russian president (June 1991), the first direct popular election of a Russian ruler, which initially endowed him with exceptional legitimacy, but with no effective mechanisms of accountability and restraint. And the disbanding of the Soviet Union (December 1991) had an ambivalent relationship to democratization, for while it was decided by democratically elected leaders, Yeltsin had no popular mandate for such a decision; to the contrary, it nullified the results of the Union-wide referendum of March 1991, where overwhelming majorities in these republics voted for the preservation of the Union.

As a result of the events of the years 1988 - 1991, Russia acquired and institutionalized the basic facade of a minimalist, or procedural democracy, without providing citizens with leverage for wielding decisive influence over the authorities. The disillusionment with democratization has been shared both in the elite - some viewing it as a distraction or even an obstacle in the context of market reforms - and among the population presented with the impotence and malleability of representative institutions in the face of economic collapse. Lilia Shevtsova describes post-Soviet Russia as "elective monarchy"; others emphasize a gradual reversal of democratic achievements since 1991, under Vladimir Putin in particular. The judgement about the ultimate significance of democratization on its own terms will hinge upon the extent to which a new wave of democratizers learns the accumulated experience and is able to benefit from this knowledge.

Bibliography

Brown, Archie. (1996). The Gorbachev Factor. New York: Oxford University Press.
Chiesa, Giulietto, and Northrop, Douglas Taylor. (1993). Transition to Democracy: Political Change in the Soviet Union, 1987 - 1991.
Hanover, NH: University Press of New England.
Cohen, Stephen F., and vanden Heuvel, Katrina, eds. (1989). Voices of Glasnost. New York: Norton.
Dunlop, John B. (1993). The Rise of Russia and the Fall of the Soviet Empire. Princeton, NJ: Princeton University Press.
Hough, Jerry F. (1997). Democratization and Revolution in the USSR, 1985 - 1991. Washington, DC: Brookings Institution.
Kagarlitsky, Boris. (1994). Square Wheels: How Russian Democracy Got Derailed. New York: Monthly Review Press.
Reddaway, Peter, and Glinski, Dmitri. (2001). Tragedy of Russia's Reforms: Market Bolshevism against Democracy. Washington, DC: U.S. Institute of Peace Press.
Starr, S. Frederick. (1988). "Soviet Union: A Civil Society." Foreign Policy.
Steele, Jonathan. (1994). Eternal Russia: Yeltsin, Gorbachev, and the Mirage of Democracy. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Theen, Rolf H. W., ed. (1991). The U.S.S.R. First Congress of People's Deputies: Complete Documents and Records, May 25, 1989 - June 10, 1989. Vol. 1. New York, NY: Paragon House.
Urban, Michael E. (1990). More Power to the Soviets: The Democratic Revolution in the USSR. Aldershot, UK: Edward Elgar.


-DMITRI GLINSKI

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com