ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




24-01-2552 (1677)

ชุดความรู้เที่ยงคืน: ประเด็นสิทธิมนุษยชนคนข้ามชาติ
แรงงานข้ามชาติกับนายจ้าง การจ่ายส่วย และการศึกษาเด็กข้ามชาติ
กอแก้ว วงศ์พันธุ์ : นักวิจัยอิสระ
โครงการประสานชาติพันธุ์อันดามัน จังหวัดพังงา
มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความรวบรวมต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทความบนหน้าเว็บเพจนี้รวบรวมมาจากงานเขียน ๒ ชิ้น
โครงการประสานชาติพันธุ์อันดามัน จังหวัดพังงา มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
๑. แรงงานข้ามชาติกับนายจ้าง ความสัมพันธ์คู่ขนานจริงหรือ?
- ความสำนึกในความดีและความมีน้ำใจ
- แรงงานข้ามชาติกับงานประจำวัน
- การอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ที่เป็นไปได้
- ปัญหาการจ่ายส่วย
๒. โรงเรียนของหนู มีที่ไหนอีกบ้าง...?
บทความทั้งสองชิ้นนี้มีภาพประกอบ สามารถคลิกดูได้ในไฟล์ word
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๗๗
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชุดความรู้เที่ยงคืน: ประเด็นสิทธิมนุษยชนคนข้ามชาติ
แรงงานข้ามชาติกับนายจ้าง การจ่ายส่วย และการศึกษาเด็กข้ามชาติ
กอแก้ว วงศ์พันธุ์ : นักวิจัยอิสระ
โครงการประสานชาติพันธุ์อันดามัน จังหวัดพังงา
มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

(1) แรงงานข้ามชาติกับนายจ้าง ความสัมพันธ์คู่ขนานจริงหรือ?
กอแก้ว วงศ์พันธุ์ : นักวิจัยอิสระ โครงการประสานชาติพันธุ์อันดามัน จังหวัดพังงา
มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป

การถูกเอาเปรียบจากนายจ้างของแรงงานข้ามชาติพม่า เป็นประเด็นปัญหาที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด เป็นจำนวนเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ที่พบเจอปัญหานี้ในแวดวงแรงงานข้ามชาติ ในขณะเดียวกันปัญหาที่นายจ้างพบเจอเป็นประจำคือ
- การหนีของแรงงานเมื่อทำบัตรอนุญาตทำงานให้แล้ว
- ประกอบกับความไม่เข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของกันและกัน
ทำให้ทั้งสองประเด็นดังกล่าวกลายเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ลงรอยกันนัก

ความสำนึกในความดีและความมีน้ำใจ
แต่มีไม่มากนักที่แรงงานข้ามชาติจะเอ่ยถึงนายจ้างด้วยความสำนึกในความดีและความมีน้ำใจ กรณีเจ๊น้ำ (นามสมมติ) แรงงานข้ามชาติหลายคนที่ผ่านการทำงานกับเธอมาแล้วหลายคนให้การยืนยัน บางคนยังคบหากันแม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานเป็นสิบปี แรงงานบางคนย้ายออกไปทำงานอื่นจนมีฐานะดีก็ยังกลับมาเยี่ยมเยียนเธอ "พม่าทุกคนในชุมชนบ้านน้ำหวาน (ชื่อชุมชนสมมติ) (1) อาศัยกินข้าวบ้านเจ๊น้ำ มาเกือบทุกคน บอกได้เลย" หนุ่มชาวยะไข่เอ่ย เขาเคยทำงานกับเจ๊น้ำตั้งแต่เข้ามาเมืองไทยครั้งแรก ปัจจุบันทำการค้าระหว่างไทย-พม่าอยู่ที่กรุงเทพฯ มีฐานะการงานดีขึ้น เขากลับมาเยี่ยมเพื่อนที่เคยทำงานด้วยกัน เพื่อนบางคนยังอยู่ที่เดิม บางคนย้ายไปทำงานกับเถ้าแก่คนอื่น แต่ยังคงอยู่ในพื้นที่จังหวัดนี้ ความลำบากที่ผ่านมากลายเป็นสายสัมพันธ์เชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างพวกเขา และไม่ลืมที่เขาจะกลับไปเยี่ยมเยียนเจ๊น้ำทุกครั้งที่ได้มา

(1) ผู้เขียนต้องใช้ชื่อสมมติทั้งหมู่บ้านและผู้ถูกให้สัมภาษณ์ เนื่องจากผู้ถูกสัมภาษณ์อาจพบปัญหาต่อเนื่องจากวงจรคอรัปชั่นในหมู่เจ้าหน้าที่ที่ทุจริต

จำนวนแรงงานพม่าในประเทศไทยเกือบ 2 ล้านคน เป็นแรงงานถูกกฎหมายเพียงแค่ 494,660 คน แบ่งเป็นหญิง 230,380 คน, ชาย 264,280 คน (2) ตัวเลขเหล่านี้คือตัวเลขที่ขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวตามกฎหมายแรงงาน จำนวนที่เหลือจึงหมายถึงแรงงานที่ผิดกฎหมายโดยสมบูรณ์ นั่นคือ ไม่มีทั้ง ท.ร.38/1 และใบอนุญาตทำงาน หรือบัตรสีชมพู แรงงานเหล่านี้สามารถพบได้เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพไปโดยปริยาย ถูกจำกัดสิทธิในด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งโดยปกติแล้วหากนายจ้างพาพวกเขาไปขึ้นทะเบียนขอบัตรอนุญาตทำงาน พวกเขาจะได้รับประโยชน์จากสิทธิการรักษาพยาบาล และสามารถใช้สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค โดยจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นรายปี ปีละ 1,800 บาท แต่เมื่อพวกเขาไม่มีบัตร จึงไม่นับรวมสิทธิดังกล่าว รวมไปถึงสิทธิที่จะได้ค่าชดเชย ค่าล่วงเวลาตามกฎหมายด้วย นอกจากนี้ยังถูกจำกัดเสรีภาพในการเดินทางทั่วราชอาณาจักร เพราะตกอยู่ในสถานะผู้หลบหนีเข้าเมืองและแรงงานผิดกฎหมาย และเนื่องจากกฎหมายแรงงานต่างด้าวมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ กฎกติกาสำหรับแรงงานต่างด้าวจึงผูกพันอยู่กับกระทรวงมหหาดไทยอย่างเหนียวแน่น

(2) กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ตัวเลขเดือนเมษายน 2551

จำนวนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ชาวพม่าทั่วราชอาณาจักร


แรงงานข้ามชาติกับงานประจำวัน
จากสถานภาพของแรงงานข้ามชาติที่ถูกจำกัดจากกฎหมายข้างต้น นายจ้างมีส่วนอย่างมากที่จะช่วยให้แรงงานข้ามชาติได้รับสวัสดิการและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในภาคใต้ตามสถิติของกรมแรงงานมีจำนวนแรงานถึง 138,890 คนนั้น หมายถึงแรงงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและบางคนมีบัตรอนุญาตทำงานแบบถูกกฎหมาย ทว่า เป็นเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของจำนวนแรงงานที่มีอยู่ แรงงานที่อยู่อย่างผิดกฎหมายมีปรากฎมากในหลายเท่าตัว อาชีพของการใช้แรงงานในอุตสาหกรรมประมงในภาคใต้เป็นการใช้แรงงานข้ามชาติมากที่สุด

เจ๊น้ำ เกิดในตระกูลที่ทำประมง ตั้งแต่รุ่นปู่ย่า พี่น้องในครอบครัวจึงสืบสานอาชีพนี้ แต่แยกย้ายกันไปประกอบอาชีพประมงในพื้นที่หลายจังหวัดในภาคใต้ เฉพาะในจังหวัดพังงามีสามคนพี่น้องที่เป็นเจ้าของแพใหญ่ เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมประมงใช้แรงงานจากภาคอีสาน แต่เมื่อวิถีชีวิตและเศรษฐกิจทางภาคอีสานดีขึ้น ประกอบกับการทะลักของแรงงานข้ามชาติพม่าเข้ามาในประเทศไทย จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงระบบการใช้แรงงานในอุตสาหกรรมประมง "การใช้แรงงานอีสานเริ่มเปลี่ยนเมื่อสิบห้าปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้นายจ้างต้องไปรับไปส่งแรงงานที่ภาคอีสานด้วยตัวเอง เวลาถึงหน้าทำนา เราต้องให้พวกเขาผลัดกันกลับบ้านกันคนละชุด แรงงานอีสานยุ่งยากตรงนี้ แต่เมื่อแรงงานพม่ามีมากขึ้น นายจ้างก็เปลี่ยนมาทำงานกับแรงงานพม่า คนงานพม่าสามคนแรกที่จ้าง ความจริงไม่ได้ตั้งใจจะจ้างแต่สงสารที่เห็นสภาพเขา หอบกระเป๋าคนละใบมาของานทำ พูดกันก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ก็จ้างไว้ ทุกวันนี้ยังไปมาหาสู่กันอยู่เลย"

เธอเป็นนายจ้างรายแรกที่จ้างแรงงานพม่าในจังหวัดพังงา เมื่อแรงงานพม่าทะลักเข้ามาทางภาคใต้มากขึ้น ประกอบกับแรงงานอีสานหายากขึ้น ระบบการใช้แรงงานพม่าในอุตสาหกรรมประมงในชุมชนน้ำหวานจึงมีจำนวนมากขึ้น ในที่สุดก็กลายเป็นการใช้แรงงานพม่าเต็มรูปแบบ เจ๊น้ำเป็นนายจ้างยุคแรกที่ผ่านประสบการณ์การประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งทำการควบคุมตรวจสอบแรงงานข้ามชาติ การจ่ายเงินครั้งแรกเพื่อขออนุญาตให้แรงงานพม่าทำงานในธุรกิจของตนคือ ประมงจังหวัด โดยมีระบบการจ่ายค่าอนุญาตคนละ 100 บาทต่อเดือน และบัตรอนุญาตทำงานเป็นบัตรสีฟ้า เพื่อบรรเทาปัญหาการกวาดจับแรงงานพม่า เนื่องจากยังไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นแรงงานข้ามชาติ แต่เป็นคนลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย บรรดานายจ้างหลายคนกลัวบทลงโทษทางกฎหมาย และลูกจ้างต้องติดคุกก่อนถูกส่งตัวกลับประเทศต้นทาง

การอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ที่เป็นไปได้
เมื่อ 20 ปีก่อน ปัญหาของแรงงานข้ามชาติพม่ายังไม่ชัดเจนเท่ากับในปัจจุบัน ปัญหาที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน เช่น นายจ้างไม่ทำบัตรอนุญาตทำงานให้ นายจ้างไม่ให้ถือบัตร นายจ้างกดขี่ค่าแรง นายจ้างโกงค่าแรง เป็นต้น เจ๊น้ำย้อนเรื่องความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างแรงงานข้ามชาติพม่ากับเธอให้ฟังว่า "ก่อนหน้านั้นในพื้นที่จังหวัดพังงา ไม่มีการแบ่งแยกว่านี่เป็นแรงงานพม่า นี่เป็นแรงงานไทย ค่าแรงทุกคนได้เท่ากันหมด พวกเขาก็อยู่ร่วมกันได้ดี" และความสัมพันธ์เป็นไปตามวัฒนธรรมการเอื้ออาทร ตามวิถีของคนต่างจังหวัด "เจ๊ใช้ระบบปกครองลูกน้องแบบคนไทยลูกทุ่ง พึ่งพาอาศัยกันและกัน เขาทำงานให้เรา ทำให้เรามีเรือหลายลำมาจนทุกวันนี้ เราก็ต้องดูแลเขาให้ดี ลูกน้องส่วนใหญ่อยู่กับพี่ตั้งแต่สิบปีขึ้นไป บางคนแต่งงานกับคนไทย เจ๊ก็ลงทุนซื้อเรือให้เขาห้าหมื่นบาทเป็นทุนทำกิน เพราะคนนี้ทำงานให้พี่ตั้งแต่เริ่มต้นไม่มีอะไรมาก จนเจ๊มีฐานะขึ้น แล้วก็กินก็กินด้วยกันนะ กินอาหารเหมือนกัน เพราะเจ๊เป็นคนซื้อกับข้าว เขาเป็นคนทำ แล้วก็แบ่งกันไปกิน เราใช้ครัวเดียวกัน"

เมื่อมีระบบการควบคุมตรวจสอบแรงงานข้ามชาติเข้มงวดมากขึ้น มีกฎหมายแรงงานต่างด้าวกำหนดบทบาทและบทลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติมากขึ้น แต่ปัญหาระหว่างนายจ้างกับแรงงานข้ามชาติกลับเพิ่มขึ้น ไม่จางหายไป ยังคงดำรงอยู่ดังที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ยังเพิ่มปัญหาอคติทางลบกับแรงงานข้ามชาติอีกด้วย การทำบัตรอนุญาตทำงานให้ลูกจ้างเป็นกฎการปกป้องแรงงานทางหนึ่ง ก่อนหน้านี้นายจ้างทำบัตรอนุญาตทำงานให้ลูกจ้างตามกฎหมายกำหนด แต่ก็มีนายจ้างจำนวนไม่น้อยที่ทำบัตรให้กับลูกน้องบางส่วน แต่ซ่อนเร้นแรงงานผิดกฎหมายอีกจำนวนมากไว้ เพื่อเป็นการบังหน้าว่าได้ทำบัตรให้แรงงานแล้ว ไม่ได้ทำผิดกฎหมายโดยการใช้แรงงานเถื่อน

เจ๊น้ำกล่าวว่า ตนมีลูกน้อง 30 คน ทำบัตรให้ทุกคน แต่ต้องตรวจสอบจากคนงานที่ทำงานกับตนเสียก่อนว่า แรงงานเหล่านี้เป็นคนดีจริง ส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องกับคนงานเก่า เธอจึงไม่สูญเสียเพราะการหนีของแรงงานมากนัก. สาเหตุหนึ่งที่ทำให้นายจ้างไม่ทำบัตรอนุญาตทำงานให้แก่แรงงานข้ามชาติเนื่องจากประสบปัญหาการหนีของแรงงานหลังจากทำงานด้วยกันไม่กี่เดือน นายจ้างนอกจากต้องจ่ายค่าทำบัตรแล้ว ยังต้องจ่ายค่าหัวหรือเงินใต้โต๊ะให้กับเจ้าหน้าที่รัฐบางกลุ่มอีกด้วย การจ่ายเป็นรายเดือนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ เถ้าแก่จะไม่มาหักกับลูกน้อง แต่ถ้าทำบัตรอนุญาตทำงาน โดยส่วนใหญ่เถ้าแก่หักคืนจากเงินเดือนของลูกน้องที่ทำบัตรให้

หากนายจ้างมีระบบการปกครองอย่างยุติธรรม แรงงานข้ามชาติมักจะทำงานอยู่ในระยะยาว เช่น มีระบบเงินเดือน เบี้ยขยัน ทำบัตรอนุญาตทำงานให้ หากนายจ้างทำงานเป็นระบบเช่นนี้ ในรอบ 20 วันของการปันผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมประมง แรงงานจะมีรายได้อย่างน้อยคนละ 8,000 บาท ซึ่งทำให้สามารถอยู่ได้ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง เจ๊น้ำใช้ระบบการทำงานเช่นนี้ โดยมีหัวหน้างานหรือชิ้ว เป็นคนพม่า เพื่อให้เกิดการโปร่งใสในการจัดระบบผลประโยชน์แก่คนงานทุกคน ตั้งแต่ทำงานกับแรงงานข้ามชาติพม่ามาเกือบ 20 ปี เจ๊น้ำยืนยันว่า แรงงานพม่าเป็นแรงงานที่ขยันเอาการเอางานมาก ไม่ชอบการเอาเปรียบ นายจ้างคนไหนให้ความยุติธรรม แรงงานก็จะอยู่ด้วยตลอดไป การถ้อยทีถ้อยอาศัยเป็นศิลปะในการอยู่ร่วมกันระหว่างเจ๊น้ำกับลูกน้อง

ปัญหาที่แรงงานหนีไปจากนายจ้าง ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุ

- หนึ่ง การกดขี่และโกงค่าแรง การทำร้ายร่างกาย การทำร้ายจิตใจด้วยการด่าทอจากนายจ้าง
- สอง เป็นหนี้นายจ้างเนื่องจากเบิกค่าแรงเกินจำนวนเดือน
- สาม ปัญหาความขัดแย้งกับแรงงานพม่าด้วยกันเอง

ปัญหาเหล่านี้อาจแก้ไขได้ด้วยการรักษาระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้เป็นไปในทางบวก แต่ปัญหาที่เหนือการควบคุมของทั้งนายจ้างและแรงงานข้ามชาติคือ "ปัญหาการจ่ายส่วย"

ปัญหาการจ่ายส่วย
"ปัญหาใหญ่เลยคือ"ตำรวจ" ที่นายจ้างต้องจ่ายส่วย จ่ายนู้นจ่ายนี้เยอะแยะไปหมด แล้วรัฐบาลก็ไม่ชัดเจนว่าจะเอายังไง จะให้ทำบัตรที่ไหน เมื่อไร เดือนอะไรก็ต้องชัดเจน บอกมาให้หมดเลย บางทีนายจ้างไม่รู้ ไม่ได้รับแจ้งว่าจะให้ทำบัตรตอนไหน เราไม่ว่างเราก็ไม่ได้ไปทำ แล้วก็ต้องมานั่งเสียให้ตำรวจคนละ 150 บาทต่อเดือน ทำบัตรสีขาว ตราประทับชื่อเรือ ลงวันที่ เขาก็ไม่จับ แต่ต้องจ่ายทุกเดือน มีกี่หัวก็ต้องจ่ายไป เราก็จะให้คนงานของเราถือบัตรสีขาวนี้ติดตัวเอาไว้ เป็นสิ่งที่อึดอัดมาก นายจ้างอยากให้รัฐบาลชัดเจน ให้รัฐบาลออกตั๋วเดือนมาเลย เรายอมจ่าย รัฐบาลก็จะได้เงินเยอะด้วย ไม่ต้องออกตั๋วปี หรือไม่ก็สามเดือนครั้ง เรายอมจ่ายอยู่แล้ว จะได้ไม่มีการจ่ายนอกจ่ายใน บางครั้งเราจ่ายให้ตำรวจไปแล้ว 5,000 บาททุกเดือน แต่ก็มาจับ เพราะว่าคนที่เก็บเงินไปนั้น เงินไม่ไปถึงนาย งุบงิบเอาไว้ เราก็ต้องจ่ายซ้ำอีก นายจ้างเบื่อกันมากเลย"

เป็นเสียงร้องสะท้อนจากบรรดานายจ้างถึงรัฐบาล ต้องการการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติด้วยความโปร่งใส หากมีการเอาจริงเอาจังกับปัญหาการใช้กฎหมายที่เกิดช่องว่างในการขูดรีดและการจ่ายนอกระบบของเจ้าหน้าที่รัฐบางกลุ่มได้ การแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยอาจเป็นไปในทางที่ดีขึ้น

(2) โรงเรียนของหนู มีที่ไหนอีกบ้าง..?
กอแก้ว วงศ์พันธุ์ : นักวิจัยอิสระ โครงการประสานชาติพันธุ์อันดามัน จังหวัดพังงา
มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป

การได้เล่นสนุกเป็นช่วงเวลาอันแสนวิเศษของเด็กน้อย เสียงหัวเราะปะปนการสนทนาเจื้อยแจ้ว บางครั้งมีกระทบกระทั่งถกเถียงระหว่างเกมการละเล่นกันบ้าง แต่ความสงบและความสนุกก็กลับมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน นี่คือโลกของเด็กน้อยที่บางคนอาจเป็นบุคคลไร้สัญชาติ เพราะพวกเขาเป็นเด็กลูกหลานแรงงานข้ามชาติพม่าที่เกิดในประเทศไทย ที่ไม่ปรากฎทั้งสัญชาติพม่าและสัญชาติไทย

ในพื้นที่แถบอันดามันประกอบด้วย จังหวัดพังงา ระนอง และภูเก็ต มีแรงงานพม่าจำนวนมากอาจ ซึ่งอาจมากถึงห้าแสนคน เป็นแรงงานถูกกฎหมายไม่ถึงยี่สิบเปอร์เซ็นต์ และมีเด็กที่เกิดที่นี่จำนวนเกือบหนึ่งหมื่นคน (3) ในจำนวนนี้ ไม่ถึงสิบเปอร์เซ็นต์ที่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในระบบโรงเรียน แม้ว่าปัจจุบันจะมีองค์กรพัฒนาเอกชนเข้ามาจัดการศึกษาให้เด็กเหล่านี้ก็ตาม แต่ก็เป็นบางพื้นที่ เช่นที่จังหวัดระนอง มีโรงเรียนในการสนับสนุนของ Jesuit Refugee Service จึงมีเด็กจำนวนหนึ่งที่มีโอกาสได้รับการศึกษา อย่างน้อยก็มีทักษะในการอ่านออกเขียนได้ และทักษะในการใช้ชีวิตรวมหมู่กับเพื่อนๆ เด็กที่นี่มีโอกาสศึกษาในระดับสูงต่อเนื่อง หากเด็กมีระดับผลการเรียนดีที่ทางองค์กรสามารถสนับสนุนต่อไปได้

(3) ข้อมูลจาก อู วิน วิน อาสาสมัครห้องสมุดชุมชนทับละมุ จังหวัดพังงา

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการประกาศตัวเองว่าเป็นประเทศอารยที่เข้าร่วมลงนามรับรองกฎบัตร กฎหมาย อนุสัญญา ปฏิญญาที่เกี่ยวเนื่องกับด้านสิทธิมนุษยชนมากที่สุดประเทศหนึ่งในเรื่องการศึกษาของเด็ก หรือการปกป้องสิทธิเด็กก็เช่นกัน ประเทศไทยเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้กับเด็กแรงงานข้ามชาติในหลากหลายข้อตกลงระหว่างประเทศ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 1948 ข้อ 26 ที่ยอมรับว่าทุกคนมีสิทธิในการศึกษา และต้องเป็นการให้เปล่าอย่างน้อยในชั้นประถมศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ. การศึกษาจะได้จัดไปในทางพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่ และเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมความเข้าใจ วัฒนธรรมและมิตรภาพระหว่างบรรดาประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติหรือศาสนา

นอกจากนี้ประเทศไทยยังยอมรับ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ค.ศ. 1966 ข้อ 13 ที่รับรองสิทธิของทุกคนในการศึกษา มุ่งให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพและความสำนึกในศักดิ์ศรีของมนุษย์ เคารพในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมความเข้าใจ ความอดกลั้นและมิตรภาพระหว่างชาติและกลุ่มเชื้อชาติ ชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มศาสนาทั้งปวง ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวพูดถึงสิทธิในการศึกษาว่า …"การศึกษาขั้นประถมจะต้องเป็นการศึกษาภาคบังคับและเป็นการให้เปล่า และทุกคนต้องได้รับการศึกษาขั้นอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียมกันบนพื้นฐานความสามารถ"

ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยยังยอมรับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1989 ข้อ 28 และข้อ 32 ที่ยอมรับสิทธิของเด็กที่จะได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม และรัฐต้องจัดการศึกษาแบบให้เปล่า เปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิเข้าถึงการศึกษาในระดับสูง และยอมรับสิทธิเด็กที่จะได้รับการคุ้มครองจากการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และจากการทำงานใดที่น่าจะเป็นการเสี่ยงอันตราย หรือขัดขวางการศึกษาของเด็กหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือการพัฒนาการทางร่างกาย สมอง จิตใจ และสังคมของเด็ก

ทว่าในทางปฏิบัติ กลับมีเงื่อนไขหลายประการที่เด็กแรงงานพม่าจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้ โดยเฉพาะในระบบโรงเรียนของรัฐบาลไทย เนื่องจากเงื่อนไขในทางปฏิบัติหลายประการที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้าสู่ระบบโรงเรียน เช่น ข้อกำหนดของการมีสัญชาติไทย ต้องมีหลักฐานตามกฎหมายในแง่ทะเบียนราษฎร์ เป็นต้น

ประเด็นปัญหาทัศนคติเชิงลบของเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติ หรือแม้แต่ชุมชนไทยก็เป็นข้อจำกัดหนึ่งเช่นกัน เช่น การมองว่า ทำไมต้องให้เด็กแรงงานข้ามชาติแย่งงบประมาณรายหัวที่รัฐบาลจ่ายเพื่อเด็กไทย หรือมองว่าเด็กแรงงานข้ามชาติมีความก้าวร้าว ขาดการอบรมเพราะพ่อแม่ไม่มีการศึกษา พ่อแม่ไม่มีความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว เกิดอคติที่มองว่าปล่อยให้ผู้หญิงมีลูกมากเกินไป ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาโดยไม่ระวัง การที่เด็กแรงงานข้ามชาติเข้ามาเรียนอาจทำให้เกิดปัญหาเมื่อมีการมาเรียนร่วมชั้นกับนักเรียนไทย หรือทัศนคติที่มองแรงงานพม่าในแง่ลบ โดยเฉพาะเรื่องส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกความเป็นไทย-พม่าในห้องเรียน ประเด็นนี้เป็นเหตุผลประการหนึ่งที่พ่อแม่แรงงานข้ามชาติไม่อยากให้ลูกเข้าโรงเรียน

นอกจากปัญหาในเชิงโครงสร้างแล้ว ปัญหาความยากจนของแรงงานข้ามชาติก็เป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่งที่ทำให้เด็กแรงงานข้ามชาติไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้ ถึงแม้จะมีโรงเรียนขององค์กรพัฒนาเอกชนที่บริการด้านการศึกษาฟรีแล้วก็ตาม บางครอบครัวเด็กต้องช่วยพ่อแม่ทำงานหารายได้ บางครอบครัวไม่มีเงินค่าเดินทาง ค่าอาหาร เป็นต้น

มะ เอ ชาวร่างกุ้ง อายุ 35 ปี เข้ามาอยู่เมืองไทย 13 ปีแล้ว แต่ยังสื่อสารภาษาไทยไม่คล่องนัก เนื่องจากวิถีชีวิตอยู่กับชุมชนของแรงงานพม่ามากกว่าชุมชนไทย เธอแต่งงานที่ประเทศไทยและมีลูกชายวัยซนอายุ 8 ปี กำลังเรียนชั้น ป.1 ของโรงเรียนนอกระบบที่สนับสนุนโดยองค์กรพัฒนาเอกชน ปัจจุบันเธอตั้งครรภ์ลูกคนที่สองที่กำลังจะคลอดในเดือนหน้า เธอไม่เข้าใจถึงหลักการวางแผนครอบครัวตามหลักวิชาการ แต่เธอเข้าใจสภาพปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัวเธอเป็นอย่างดี สามีทำงานเป็นช่างเหล็กมีรายได้พอจุนเจือครอบครัวไม่มากนัก หากต้องการให้ครอบครัวอยู่สบายจึงไม่ควรมีสมาชิกในครอบครัวมากเกินไป เธอจึงตัดสินใจมีลูกเพียงคนเดียว เธอทานยาคุมกำเนิดตลอดที่เลี้ยงลูกชายคนแรก การตัดสินใจมีลูกคนที่สองเป็นการขอจากสามีที่ต้องการให้ลูกชายได้มีพี่น้องเป็นเพื่อนกันตามวัฒนธรรมของชาวพม่า เธอจึงตัดสินใจตั้งครรภ์ลูกคนที่สอง และเธอตัดสินใจว่าจะกินยาคุมกำเนิดไปตลอดหลังจากคลอดบุตรคนนี้แล้ว

เธอกล่าวถึง อนาคตทางการศึกษาของลูกชายว่า อยากให้ลูกเข้าเรียนในโรงเรียนไทย ถ้าเขามีความสามารถในการเรียน เพราะไม่ต้องการให้ลูกทำงานหนักเหมือนตนและพ่อของเขา เธอคิดว่า แรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้เรียนหนังสือ คงเป็นได้แค่คนขายแรงงานในระดับกรรมกร ซึ่งลูกชายคงไม่สามารถทำงานเช่นนั้นได้ เพราะเขาเคยผ่าตัดแขน ปัจจุบันยังคงมีเหล็กดามอยู่ภายในแขนของเขา หากลูกชายไม่ได้เรียนหนังสือสูงๆ โอกาสที่เขาจะได้งานที่ต้องใช้แรงงานที่ต้องทำงานหนักเหมือนพ่อแม่มีสูงทีเดียว เธอจึงมองดูลูกชายที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงอย่างห่วงในอนาคตของเขา การศึกษาจึงสำคัญอย่างมากสำหรับลูกชายของเธอ

ผู้หญิงแรงงานข้ามชาติมักถูกมองจากชุมชนไทยว่า ไม่ให้ความสำคัญกับการคุมกำเนิดทั้งที่อยู่ในสถานะที่ลำบาก พวกเธอถูกกล่าวหาว่า เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างปัญหาให้สังคมต้องแก้ไขเมื่อเด็กตกอยู่ในสภาพไร้สัญชาติ ส่งผลต่อเนื่องไปที่ปัญหาขาดการศึกษาและปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมาในอนาคต ความเป็นจริงแล้ววัฒนธรรมของชาวพม่า การมีบุตรถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการมีครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ แต่ปัญหาของพวกเธอคือ การไม่มีโอกาสเข้าถึงการบริการทางการแพทย์หรือสาธารณสุขได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากสถานะของความเป็นแรงงานต่างด้าวของพวกเธอ โดยเฉพาะที่เป็นแรงงานผิดกฎหมาย กลัวการถูกจับกุม ปัญหาค่าใช้จ่ายสูงเพราะไม่มีสวัสดิการตามสิทธิที่พึงได้ตามบัตรอนุญาตทำงาน และมีไม่น้อยที่มีความเชื่อว่า การทำหมันส่งผลต่อสุขภาพของผู้หญิง ปัจจัยเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่มีบุตรอย่างน้อย 3 คน ก่อนที่จะใช้วิธีทานยาคุมกำเนิดแทน หรือฝังเข็ม หรือการคุมกำเนิดวิธีใดวิธีหนึ่ง

โน โน จัง คุณแม่วัย 26 ปีของลูกๆ 4 คน อายุไล่เลี่ยกัน 7 ปี, 4 ปี, 2 ปี และ 8 เดือนตามลำดับ เธอแต่งงานตั้งแต่อายุ 18 ปี สามีทำงานเป็นคนงานโรงงานน้ำแข็ง ได้สวัสดิการจากเถ้าแก่คือ บ้านพักฟรี สาเหตุที่เธอเป็นคุณแม่ลูกสี่ยังสาว เพราะเธอมีความสุขกับการเลี้ยงดูลูกๆ. แม้ว่าครอบครัวของเธอประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ แต่เธอก็ให้ความสำคัญกับการให้การศึกษาแก่ลูกๆ โดยไม่คิดที่จะใช้แรงงานลูกเพื่อช่วยหารายได้อีกแรงหนึ่ง เธอค้างค่าอาหารที่ต้องจ่ายให้แก่โรงเรียนทุกเดือน แม้ว่าจะเป็นเงินไม่กี่ร้อยบาท แต่ก็พยายามผ่อนจ่ายให้แก่โรงเรียนในภายหลัง "อยู่ที่นี่ ขอให้ลูกอ่านออกเขียนได้ และพูดไทยได้บ้างก็พอแล้ว ถ้าไม่สามารถเรียนสูงๆ เหมือนคนไทย แต่ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้เรียนสูงที่สุด"

ความหวังที่จะให้ลูกๆ กลับไปอยู่ประเทศพม่าค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เธอยิ้มที่มุมปากน้อยๆ เมื่อถามถึงอนาคตของลูกที่อาจต้องกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนของบิดามารดา ในเมื่อพ่อแม่ยังไม่มีหนทางจะทำให้ตัวเองสบายในบ้านเกิด กระทั่งต้องเสี่ยงเข้ามาทำงานในประเทศไทย เสี่ยงกับการถูกจับกุมตลอดระยะเวลาที่อยู่ที่นี่ แต่ก็ยังดีกว่าชีวิตในประเทศพม่ามากนัก สิ่งที่ทำเพื่อลูกในวันนี้คือ พยายามให้จบการศึกษาภาคบังคับของโรงเรียนนอกระบบแห่งนี้ ซึ่งองค์กรพัฒนาเอกชนสนับสนุน อีกทั้งพูดไทยได้ เขียนไทยได้ นั่นหมายถึง การหางานได้ง่ายขึ้น เมื่ออยู่ในฐานะแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย

ผู้หญิงทั้งสองคนและชีวิตเล็กๆ ที่สองมือของพวกเธอต้องโอบอุ้มบนสถานะอันยากลำบาก พยายามอย่างยิ่งที่จะผลักดันให้ลูกได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา โดยไม่เรียกร้องและไม่เคยทราบว่า เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการได้รับการปกป้องจากภัยทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และมีสิทธิขั้นพื้นฐานในการได้รับโอกาสทางการศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามธรรมนูญที่ทั่วโลกบัญญัติและยอมรับในหลักการ ทว่า ไม่เคยถูกปฏิบัติให้เป็นจริงในบางประเทศ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๒ : Release date 24 January 2009 : Copyleft MNU.

เมื่อ ๒๐ ปีก่อน ปัญหาของแรงงานข้ามชาติพม่ายังไม่ชัดเจนเท่ากับในปัจจุบัน ปัญหาที่ดำรงอยู่ตอนนี้ เช่น นายจ้างไม่ทำบัตรอนุญาตทำงานให้ นายจ้างไม่ให้ถือบัตร นายจ้างกดขี่ค่าแรง นายจ้างโกงค่าแรง เป็นต้น เจ๊น้ำย้อนเรื่องความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างแรงงานข้ามชาติพม่ากับเธอให้ฟังว่า "ก่อนหน้านั้นในพื้นที่จังหวัดพังงา ไม่มีการแบ่งแยกว่านี่เป็นแรงงานพม่า นี่เป็นแรงงานไทย ค่าแรงทุกคนได้เท่ากันหมด พวกเขาก็อยู่ร่วมกันได้ดี" และความสัมพันธ์เป็นไปตามวัฒน ธรรมการเอื้ออาทร ตามวิถีของคนต่างจังหวัด "เจ๊ใช้ระบบปกครองลูกน้องแบบคนไทยลูกทุ่ง พึ่งพาอาศัยกันและกัน เขาทำงานให้เรา ทำให้เรามีเรือหลายลำมาจนทุกวันนี้ เราก็ต้องดูแลเขาให้ดี ลูกน้องส่วนใหญ่อยู่กับพี่ตั้งแต่สิบปีขึ้นไป บางคนแต่งงานกับคนไทย

H