ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




20 -12-2551 (1667)

ชุดการเมือง: สาระจากกระดานข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
จาก"ภาวะหุบเหวของนักกฎหมายมหาชนไทย" ถึง"อหิงสธรรมของคานธี"
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: รวบรวม
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทความบนหน้าเว็บเพจนี้ เรียบเรียงจากข้อมูลที่ post บนกระดานข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ถูกนำเสนอในที่นี้เพื่อเป็นการสะท้อนภาพกฎหมายและการเมืองวิปริตในประเทศไทยปัจจุบัน
ประกอบด้วย ๓ เรื่อง ซึ่งต้นทางมาจากเว็บประชาไท จดหมายอิเล็กทรอนิก และเว็บ biolawcom
1. ปาฐกถา วิษณุ วรัญญู: "10 ปีนักกฎหมายมหาชนไทย: ฤาจะเดินหน้าลงคลอง"
2. การสมานรอยต่อของความเก่าและความใหม่: นโยบายที่ต้องทำของรัฐบาลอภิสิทธิ์
3. โปรดเกล้าฯ ครม. 'อภิสิทธิ์" แล้ว ไม่พลิกโผ
4. สัจจะ และ อหิงสา - มหาตมะ คานธี
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๖๗
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๔ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชุดการเมือง: สาระจากกระดานข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
จาก"ภาวะหุบเหวของนักกฎหมายมหาชนไทย" ถึง"อหิงสธรรมของคานธี"
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: รวบรวม
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


1. ปาฐกถา วิษณุ วรัญญู: "10 ปีนักกฎหมายมหาชนไทย: ฤาจะเดินหน้าลงคลอง"
คัดลอกมาจาก ประชาไทออนไลน์
รศ.วิษณุ วรัญญู ตุลาการศาลปกครองสูงสุด กล่าวปาฐกถา ในงาน 1 ทศวรรษหลักสูตรประกาศนีนยบัตรกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อ
"10 ปีนักกฎหมายมหาชนไทย: ฤาจะเดินหน้าลงคลอง"
ซึ่งเป็นการปาฐกถามร่วมกับ รศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2551

Quotation

"ชาวต่างประเทศพูดกันมาก ว่าเขาไม่เข้าใจระบบกฎหมายเมืองไทย ว่าเหตุใดการไปออกโทรทัศน์ทำอาหาร จึงมีความผิดรุนแรงถึงขนาดลงโทษให้ต้องออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ยึดสนามบิน ยึดทำเนียบผิดกฎหมายชัดๆ ยังไม่เห็นมีใครดำเนินการอะไรเลย มิหนำซ้ำ ยังเห็นหน้าในหนังสือพิมพ์ ยังมาเจรจากับตำรวจส่งมอบทำเนียบและสนามบินกันอีกต่างหาก ถ้าเป็นต่างประเทศเขาจับไปแล้วไม่ต้องมีหมายจับ นี่เป็นสิ่งที่คนไทยก็ตอบไม่ถูกว่าเกิดอะไรขึ้น นี่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความอึดอัด ความกระอักกระอ่วนใจในการประกอบอาชีพของพวกเรา"

"ผู้ที่ชี้แนวทางให้กับนักกฎหมายไทยนั้น ท่านมีแนวทางหรือไม่ หรือท่านเองก็หลงทาง เพราะในที่สุดแล้ว ท่านก็พานักกฎหมายมหาชนลงคลอง และประเทศไทยลงเหวไปด้วย ในสภาพที่ประเทศไทยเป็นอยู่ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราลงเหวไปแล้ว"

"ผมขอใช้เกณฑ์ตามหลักของต่างประเทศที่ผมเรียนมา แม้ว่าจะมีคนต่อว่า ว่า สำหรับประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะ ใช้ตามของต่างประเทศไม่ได้หรอก. ซึ่งหากทำอย่างนั้นเราจะไม่มีเกณฑ์อะไรเลย ผมขอใช้เกณฑ์ต่างประเทศคือ เกณฑ์เรื่อง"นิติรัฐ"กับ"หลักประชาธิปไตย"

"โดยความเคารพในการพิจารณาคดีต่างๆ หลายๆ คำพิพากษามีคำถามใหญ่ๆ ว่าขัดกับรัฐธรรมนูนูญหรือไม่ และถ้าขัดแล้วใครจะตรวจสอบ ในต่างประเทศจะยกสุภาษิตว่า "ใครจะควบคุมผู้ควบคุม" ขณะเดียวกัน ในโครงสร้างในองค์กรของบ้านเราที่กลไกการเข้าสู่ตำแหน่งยังไม่รัดกุมเหมือนกันในทุกๆ องค์กร"

เนื้อความ
ประเด็น 10 ปี กฎหมายมหาชนไทย หัวข้อนี้ชวนให้คิดถึงกรอบความคิดในเรื่องดังกล่าวเหมือนกับว่านักกฎหมายมหาชนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จริงๆ แล้วมันชวนให้คิดว่าหลักสูตรนี้เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างนักกฎหมายมหาชนจริงหรือไม่ อันที่จริงเมื่อย้อนกลับไปว่า เราผลิตนักกฎหมายมหาชนแล้วเดินหน้าลงคลองหรือไม่ ผมคิดว่าต้องย้อนกลับไปเมื่อสามสิบปีที่แล้ว ซึ่งได้มีการอภิปรายกันทำนองนี้ แล้วมีคำถามที่สำคัญมาก และเป็นคำถามทีหลายคนถือว่าเป็นการจุดประกายให้มีความตื่นตัวของกฎหมายมหาชนคือ นักกฎหมายหลงทางหรือไม่ และในอดีตวิทยากรหรือปาฐกคนสำคัญ ซึ่งปัจจุบันเป็นกูรูของนักกฎหมายมหาชนก็ตอบว่า นักกฎหมายไม่หลงทางหรอก เพราะนักกฎหมายไม่มีแนวทาง เมื่อสามสิบปีที่แล้ว คำถามดังกล่าวก้องอยู่ในหมู่นักกฎหมายมหาชน

ต้องใช้เวลาถึง 20 ปีจึงจะมีหลักสูตรกฎหมายมหาชนขึ้นมา เมื่อย้อนไปดูเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเรา ก็มีความรู้สึกส่วนตัวว่า เราก็ยังหลงทางอยู่ดี มีความรู้สึกว่าท่านที่มาชี้แนวทางให้ท่านก็ไม่รู้แนวทางเหมือนกัน เพราะเหตุว่าถ้าท่านรู้ก็ควรชี้มา ทำไมจึงนำมาสู่สภาพปัจจุบัน แล้วที่สำคัญคือ มันไม่ได้ทำให้นักกฎหมายมหาชนลงคลองคนเดียว แต่ทำให้ประเทศไทยลงเหวไปด้วย ซึ่งนี่เป็นความรับผิดชอบของนักกฎหมายมหาชน

มีข้อเท็จจริงและเหตุการณ์ใดที่นำมาสู่ข้อสังเกตที่ว่านี้… ผู้ที่ชี้แนวทางให้กับนักกฎหมายไทยนั้นท่านมีแนวทางหรือไม่ หรือท่านเองก็หลงทาง เพราะในที่สุดแล้วท่านก็พานักกฎหมายมหาชน ลงคลอง และประเทศไทยลงเหวไปด้วยในสภาพที่ประเทศไทยเป็นอยู่ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าเราลงเหวไปแล้ว

ขอยกตัวอย่างง่ายๆ หนึ่งในหลายประเด็นเป็นคำถามที่ผมได้ยินชาวต่างประเทศพูดกันมาก ว่าเขาไม่เข้าใจระบบกฎหมายเมืองไทยว่า เหตุใดการไปออกโทรทัศน์ทำอาหาร จึงมีความผิดรุนแรงถึงขนาดลงโทษให้ต้องออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ยึดสนามบิน ยึดทำเนียบผิดกฎหมายชัดๆ ยังไม่เห็นมีใครดำเนินการอะไรเลย มิหนำซ้ำ ยังเห็นหน้าในหนังสือพิมพ์ ยังมาเจรจากับตำรวจส่งมอบทำเนียบและสนามบินกันอีกต่างหาก ถ้าเป็นต่างประเทศเขาจับไปแล้วไม่ต้องมีหมายจับ นี่เป็นสิ่งที่คนไทยก็ตอบไม่ถูกว่าเกิดอะไรขึ้น นี่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความอึดอัด ความกระอักกระอ่วนใจในการประกอบอาชีพของพวกเรา

กลับมาถึงสิ่งที่เราตั้งประเด็นไว้ว่า นักกฎหมายโดยเฉพาะนักกฎหมายมหาชนพาประเทศไปลงเหว. ผมขออนุญาตใช้เกณฑ์ ซึ่งอาจจะมีข้อโต้แย้งได้ แต่ไม่ใช่สองมาตรฐาน ผมขอใช้เกณฑ์ตามหลักของต่างประเทศที่ผมเรียนมา แม่ม้ว่าจะมีคนต่อว่า ว่า สำหรับประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะใช้ตามของต่างประเทศไม่ได้หรอก. ซึ่งหากทำอย่างนั้นเราจะไม่มีเกณฑ์อะไรเลย ผมขอใช้เกณฑ์ต่างประเทศคือเกณฑ์เรื่อง"นิติรัฐ"กับ"หลักประชาธิปไตย" เมื่อสอบทานย้อนไปสามปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับบทบาทของนักกฎหมายมหาชน ทำให้เกิดคำถามสำคัญๆ นักกฎหมายมหาชนขึ้นว่า ได้เพิกเฉยต่อการละเมิดหลักนิติรัฐอย่างไร? มีนักกฎหมายระดับกูรูออกมาสนับสนุน ออกมาช่วยเหลือให้ความเห็นหรือแม้กระทั่งไปร่วมงานหรือแม้กระทั่งอยู่เฉยๆ โดยไม่ตำหนิ.

การยึดอำนาจเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยอย่างรุนแรงที่สุด ถามว่านักกฎหมายมหาชนไปสนับสนุนได้อย่างไร? ไปร่วมดำเนินการกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้ อย่างไร? นี่เป็นคำถามหลัก และคำตอบจะโยงไปยังเหตุการณ์ข้างหน้าด้วย ผมไม่แน่ใจว่าข้างหน้าจะมีการยึดอำนาจอีกก็ได้ แล้วนักกฎหมายมหาชนยังจะทำเช่นนั้นอยู่อีกหรือ

ประการต่อมา ในระบบนิติรัฐ กฎหมายที่มีลายลักษณ์อักษรเป็นเรื่องสำคัญ การทีกฎหมายรัฐธรรมนูญวางไว้อย่างหนึ่ง แต่การปรับใช้ เราเห็นได้ชัดว่ามันไม่ถูกหลัก กลับนิ่งเฉยกันมาก ไม่มีการออกมาแสดงความคิดเห็นให้กระจ่าง ยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาที่ผมเรียนในต่างประเทศ นี่ผมพูดมีหลัก ไม่ได้พูดลอยๆ เอาตำรามากางดูได้ ในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญแยกไว้เป็นสองเรื่อง คือ

คุณสมบัติในการเข้าสู่ตำแหน่ง คือสิ่งที่ผู้เข้าดำรงตำแหน่งต้องมีอยู่ในวันที่ดำรงตำแหน่งซึ่งได้รับการตรวจสอบดูแล้ว กล่าวคือ ถ้าครบคุณสมบัติแล้วก็แต่งตั้งได้ กับอีกหลักหนึ่งเรียกว่า"ลักษณะต้องห้าม" (ไม่ใช่คุณสมบัติ) ไม่ได้ดูในวันที่เขาได้รับแต่งตั้ง แต่เป็นสิ่งต้องห้าม เมื่อดำรงตำแหน่งแล้วห้ามกระทำ แล้วผลของสองเรื่องนี้ก็ไม่เหมือนกัน การขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งก็ไม่ชอบ แต่ลักษณะต้องห้ามเมื่อพบก็ต้องเลิกกระทำ

แต่ในบ้านเรา ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผู้ร่างอาจจะโดยไม่รู้ ท่านไปคาดหวังว่าผู้ร่างฯ รู้ไม่ได้นะครับ เพราะบางทีผู้ร่างฯ ก็ไปลอบบี้กันเอง ผมเคยเจอสภาพนี้มาแล้วยืนยันได้ เพราะฉะนั้น ในรัฐธรรมนูญบางทีเขียนหลักการในบางเรื่องเฉออกไป ทั้งๆ ที่ผิด ก็คือโดย"ไม่รู้" นั่นคือ การระบุ"คุณสมบัติ"และ"ลักษณะต้องห้าม" เอาไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดความสับสน

เอาตัวอย่างง่ายๆ ที่ต่างชาติเขางง เราเป็นประเทศที่ทันสมัย ทัดเทียมต่างประเทศ แต่หลักอันนี้ทำให้คนพ้นจากตำแหน่งได้อย่างไร คือการห้ามไม่ให้ไปเป็นลูกจ้าง กรณีคุณสมัคร สุนทรเวช เป็นกรณีที่ absurd (ไร้สาระ)ที่สุด ไปประกอบกิจการอันนี้ต่อให้ตีความว่าเป็นลูกจ้างก็ตาม เป็นการกระทำในสิ่งต้องห้ามเท่านั้น มันไม่ใช่คุณสมบัติ มันก็มีผลเพียงว่าต้องแจ้งไปให้เขาเลิกกระทำเท่านั้น โดยองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบ แต่นี่ระบบของเราทำไมแปลกประหลาดอย่างนี้ และไม่มีนักกฎหมายมหาชนที่เป็นกูรูออกมาตั้งข้อสังเกตกันเลย

ตัวอย่างต่อมา ในเวลาที่เรายึดอยู่กับเรื่องนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย ในเวลาที่เรียนกฎหมาย รัฐธรรมนูญ ก็จะควบคู่มากับหลักความเป็นสูงสุดของกฎหมาย รัฐธรรมนูญ คือการกระทำขององค์กรต่างๆ องรัฐจะขัดกับรัฐธรรมนูญ ไมได้ การกระทำของศาลก็เช่นเดียวกัน ขัดกับ รัฐธรรมนูญ ไม่ได้ ในบ้านเราพูดกันแต่เฉพาะควบคุมกฎหมายไม่ให้ขัด รัฐธรรมนูญ มีการพูดถึงการกระทำของฝ่ายบริหารไม่ให้ขัด แต่ไม่ได้พูดถึงว่าการกระทำของศาลถ้าขัดกับ รัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร

โดยความเคารพในการพิจารณาคดีๆ หลายๆ คำพิพากษามีคำถามใหญ่ๆ ว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ หรือไม่ และถ้าขัดแล้วใครจะตรวจสอบ ในต่างประเทศจะยกสุภาษิตว่า ใครจะควบคุมผู้ควบคุม ขณะเดียวกันในโครงสร้างในองค์กรของบ้านเราที่กลไกการเข้าสู่ตำแหน่งยังไม่รัดกุมเหมือนกันในทุกๆ องค์กร นี่เป็นเพียงสามตัวอย่างที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องน่าคิดและท้าทายว่าเราจะคิดอย่างไร

สิบปีของการมีหลักสูตรในการสร้างนักกฎหมายมหาชนนี้ ผมคิดว่าเป็นระยะเวลาที่สั้นมากในประเทศไทยที่จะประเมินว่าเราได้นักกฎหมายมหาชนแท้จริงหรือยัง ได้นักกฎหมายมหาชนที่มีวิสัยทัศน์ ที่สามารถนำพาประเทศไปสู่ความรุ่งเรือง นำความผาสุกมาสู่ประชาชนได้หรือยัง แต่จุดเริ่มต้นมีความสำคัญเพราะถ้าจุดเริ่มต้นไม่ดี ผลผลิตก็จะไม่ดีแน่นอน ผมก็อยากจะกระตุ้นให้ใช้เวทีนี้ ฝากข้อคิดกับท่านทั้งหลายในฐานะที่เป็นนักกฎหมายมหาชน ต้องพยายามมองให้เห็นชัดเจน อย่างน้อยท่านต้องมีความคิดเป็นของตนเอง จะยอมให้คนอื่นมากำหนดทิศทางให้เราไมได้ แล้วถ้าแนวทางที่ใครมาเสนอนั้น หากไม่ถูกต้องก็ต้องมีการทัดทาน โต้แย้ง มีการเบรก ไม่เฮละโลกันไป

ผมไปอยู่ต่างประเทศเป็นระยะเวลานานพอสมควร และไปชื่นชมศิลปวัฒนธรรมของต่างประเทศ ขณะที่ผมก็ยังชื่อชมศิลปวัฒนธรรมไทย และสิ่งหนึ่งผมชอบมากคือโอเปรา คือ Ther Marriage de Figaro (*) การสมรสของฟิกาโร แต่งโดยโมสาร์ต ปีที่แต่งใกล้เคียงกับการปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นการปฏิวัติเพราะเป็นการท้าทายชนชั้น เอาชนชั้นชั้นสูงมาล้อเล่น ว่าเป็นคนบ้ากาม เป็นตัวตลก และเคยถูกห้ามแสดง

(*) Le nozze di Figaro, ossia la folle giornata (Trans: The Marriage of Figaro or the Day of Madness), K. 492, is an opera buffa (comic opera) composed in 1786 by Wolfgang Amadeus Mozart, with Italian libretto by Lorenzo da Ponte, based on a stage comedy by Pierre Beaumarchais, La folle journ?e, ou le Mariage de Figaro (1784).

Although the play by Beaumarchais was at first banned in Vienna because of its satire of the aristocracy, considered as dangerous in the decade before the French revolution, the opera became one of Mozart's most successful works. The overture is especially famous and is often played as a concert piece. The musical material of the overture is not used later in the work, aside from a brief phrase during the Count's aria.

สิ่งที่ผมติดใจโอเปราเรื่องนี้ ในฐานะที่ผมเป็นนักกฎหมายฟังแล้วสะดุดหูมาก มีตัวละครอยู่ตัวหนึ่งเป็นทนายหน้าหอ เป็นนักกฎหมาย ในบทร้องที่มีชื่อมาก ประโยคหนึ่งที่สะท้อนสภาพกฎหมายในบ้านเราปัจจุบันกล่าวว่า "คุณร่างกฎหมายมาเถอะ ข้าพเจ้าจะค้นตำราและจะใช้กลเม็ดเด็ดพรายทุกอย่างทีจะทำให้กฎหมายนั้นไร้ผล" นี่เป็นสิ่งที่จี้เข้าไปในใจดำของนักกฎหมายว่าคุณเป็นนักกฎหมายอย่างนั้นหรือเปล่า คือสามารถทำให้กฎหมายนั้นสิ้นผล หรือเกิดผลที่คุณต้องการ นี่เป็นสภาพที่เกิดขึ้นในบ้านเราซึ่งเป็นสภาพที่ไม่น่ายินดีเลย ก็ต้องดูต่อไปว่าเราจะพ้นไปจากสภาพที่ไม่น่ายินดีนี้อย่างไร พระมหาชนกจะพ้นไปจากการเป็นเหยื่อของเต่าปลาได้หรือไม่

วันนี้อาจารย์วรเจตน์ได้เปรียบผม เพราะเป็นนักวิชาการที่เป็นอิสระในการพูด อีกประการหนึ่งที่ผมอยากจะเสริมอาจารย์วรเจตน์ก็คือ ตอนที่ผมเห็นรายงานในหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการสัมนาที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา คือเกี่ยวกับกระแสตุลาการภิวัตน์ ถ้าฟังแล้วไม่คิดลึก ก็อาจจะเห็นด้วยกับสิ่งที่ไม่น่าจะถูก คือการเอาเรื่องตุลการภิวัตน์ ว่าเอามาตัดสินคดีว่า ในต่างประเทศเขาก็ทำอย่างนี้แหละ คือทำการเมืองให้เป็นกฎหมาย การทำการเมืองให้เป็นกฎหมายนั้น เป็นข้อเสนอที่นักคิดบางคนคิดว่า การเมืองไม่มีหลักมีเกณฑ์ แต่ถ้าท่านจะพูดให้ครบถ้วนก็มีอีกความคิดหนึ่งสวนขึ้นมาก็คือ การวางกรอบกฎหมายให้กับการเมือง

การทำการเมืองให้เป็นกฎหมายคือเอาตุลาการมาตัดสินคดีที่เป็นการเมือง กับการวางกรอบในทางกฎหมายกับการเมือง คือการวางกรอบให้การเมืองเดินอยู่ข้างในกรอบของกฎหมายโดยดูอยู่ข้างนอก ในต่างประเทศเขายังไมได้ยอมรับความคิดแรกอย่างเต็มที่ ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ เพราะอันตราย

เช่น นาย ก. ฟ้องนาย ข. บอกว่า นาย ข. ติดเงินกูไม่ยอมคืน ศาลพิจารณาตามหลักฐาน ในการตัดสินนี้ ศาลไม่ได้เกี่ยวกับนาย ก. หรือนาย ข. ศาลตัดสินไปตามกฎหมายได้ ไม่มีปัญหา โดนรูปเรื่อง คดีแพ่งแบบนี้เป็นเรื่องของคนสองคน ศาลไม่เกี่ยวข้อง ตัดสินได้เป็นกลาง

แต่ถ้าเป็นคดีการเมือง ไม่มีกฎหมายที่ไหนห้ามศาลไปเลือกตั้ง ในวันเลือกตั้ง คนที่เป็นตุลาการ คนที่เป็นผู้พิพากษาก็ไปเลือก ก็อาจจะมีคนที่ไม่เลือกพรรคใดเลย แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องเลือกพรรคใดพรรคหนึ่ง ถ้าฝ่ายหนึ่งฟ้องว่าชายคนหนึ่งมีฐานะเป็นนายกฯ ไปทำรายการโทรทัศน์ แล้วให้ผมตัดสิน ถ้าผมไม่ได้เลือกพรรคนี้น่ะ จะให้เชื่อได้คลายข้องใจก็คือ ต้องเขียนคำตัดสินคดีอย่างละเอียดชัดเจนอ่านแล้วหายข้อข้องใจไปเลย นี่เป็นอันตรายของการเรียกร้องตุลการภิวัตน์ คือให้คนทีเป็นองค์กรศาลต่างๆ เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง มันอันตรายต่อตัวองค์กรศาลเอง เพราะศาลไม่สามารถวางตัวเป็นกลางได้ในทางการเมือง และองค์กรศาลจะถูกกระทบกระเทือนอย่างร้ายแรง

บทความนี้เกี่ยวเนื่องกับบทความลำดับที่ 1668 (คลิกไปอ่าน)

2. การสมานรอยต่อของความเก่าและความใหม่: นโยบายที่ต้องทำของรัฐบาลอภิสิทธิ์
ดร. บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข / คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์หลายฉบับเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมาว่า ทิศทางการบริหารงานของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งหากเขา (ในขณะนั้น) ได้เป็นนายกรัฐมนตรีจะมีอยู่ 4 ข้อ ได้แก่

1. การปกป้องสถาบันหลักของชาติ
2. การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจดูแลประชาชนที่ประสบความยากลำบากจากวิกฤตเศรษฐกิจ
3. การพัฒนาประชาธิปไตยเพื่อให้กติกาในบ้านเมืองเป็นที่ยอมรับทุกฝ่ายและของสากล และ
4. การใช้ความยุติธรรมนำหน้าเพื่อความปรองดองและสมานฉันท์

โดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนรู้สึกเฉยๆ กับทิศทางการบริหารงานดังกล่าว มิใช่เพราะผู้เขียนเป็นสีแดง สีเหลือง สีม่วง ฯลฯ แต่เพราะผู้เขียนมีความคิดว่าเส้นแบ่งระหว่างทิศทางการบริหารงานกับภารกิจที่ต้องกระทำอยู่แล้วของรัฐบาลใหม่อยู่ตรงไหนกันแน่?

หากมองย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2544 ที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก เสียงตอบรับของคนส่วนใหญ่ในเวลานั้น มิใช่เพียงการเป็นตัวเลือกใหม่ที่น่าสนใจท่ามกลางความน่าเบื่อหน่ายของสถานการณ์ทางการเมืองในเวลาดังกล่าวเท่านั้น แต่ พ.ต.ท. ทักษิณยังเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนในฐานะการให้ความสำคัญกับ "คนรากหญ้า(Grass Root)" กระทั่งกลายเป็นคำนิยมที่ติดปากในเวลานั้น เนื่องจากไม่มีรัฐบาลไหนเลยให้ความสำคัญและมองเห็นพื้นที่ชาวบ้านแบบนี้มาก่อน

กระทั่งมีคำอธิบายว่ายุคทักษิณคือการเริ่มเปิดพื้นที่ประชานิยม (People-Centered Policy) และการเข้าสู่ทุนนิยมเสรีใหม่ (Neo-Liberalism) พร้อมๆ กับการอธิบายว่า รัฐบาลก่อนหน้านี้เป็นยุคของอมาตยาธิปไตย (Bureaucratic Polity) ที่ปกครองด้วยพวกขุนนางข้าราชการซึ่งดูเหมือนจะล้าหลังไม่ทันความเป็นโลกาภิวัตน์เสียแล้ว

ความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เห็นได้อย่างชัดเจนว่า กลายเป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มคนที่ผู้ฝ่ายตรงข้ามขนานนามว่าพวกอมาตยาธิปไตย (ฝ่ายเหลือง) และพวกทักษิณ (ฝ่ายแดง) อันมีนัยยะของการเป็นทุนนิยมเสรีใหม่ โดยกลายเป็นการตอบโต้กันระหว่างคู่ตรงข้าม (Dichotomy) ที่สุดขั้วทั้งสองฝ่าย และไม่มีรัฐบาลไหนอยู่รอดท่ามกลางความขัดแย้งเหล่านี้ได้

อย่างไรก็ดี ทุกรัฐบาลต่างให้ความสำคัญกับภารกิจเร่งด่วนของตนเองเหมือนกันหมด (รวมถึงรัฐบาลปัจจุบัน) ว่า "สร้างความสมานฉันท์" ซึ่งกลายเป็นคำนิยมที่ต่อจากคำว่า"รากหญ้า"ในอดีต แต่กลับไม่มีรัฐบาลใดเลยที่จะพิจารณาว่า แท้ที่จริงปัญหาอยู่ตรงที่ใดระหว่างทักษิณ-สนธิ แดง-เหลือง หรือ…?

ในทัศนะของผู้เขียนกลับคิดว่า ก้นบึ้งของปัญหามันมิใช่เพียงความขัดแย้ง "เล็กๆ" ข้างต้น ซึ่งความเล็กๆ ดังกล่าวมิได้หมายถึงไม่สำคัญ แต่ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นเพียงภาพสะท้อนของความขัดแย้งเชิงระบบมากกว่า. ความขัดแย้งเชิงระบบในที่นี่ก็คือ ความขัดแย้งของรอยต่อระหว่าง "ความเก่า" ที่หลายคนอาจเรียกว่า"อมาตยาธิปไตย" กับ "ความใหม่" อันได้แก่ทุนนิยมเสรีใหม่ ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนผ่านได้อย่างเรียบร้อย (Smooth Transition) นั่นเอง

ความขัดแย้งดังกล่าวชี้ให้เห็นอย่างชัดเจน นับตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วจากรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ซึ่งถูกอธิบายว่าเป็นการบริหารงานตามการเสนอแนะของข้าราชการประจำ ที่บางครั้งมีความอืดอาด ล่าช้า และโครงสร้างใหญ่โตเสียจนทำอะไรไม่ถูกเพราะต้องรอคอยให้ข้าราชการมา "รายงาน" ก่อน สู่การบริหารงานแบบธุรกิจที่ความฉับไว ตรงใจลูกค้าส่วนใหญ่ซึ่งก็คือประชาชนระดับรากหญ้า กระทั่งมีการปรับโครงสร้างของส่วนราชการให้คล่องตัวมากขึ้น

การเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วดังกล่าว เกือบจะเรียกได้ว่าจากหน้ามือเป็นหลังมือ แน่นอนที่สุดยังนับเป็นการขาดรอยต่อที่สนิทแน่น และเนียนระหว่างความเก่ากับความใหม่ เพราะได้สร้างความช็อคของผู้ที่สูญเสียประโยชน์จากการบริหารรูปแบบเก่า และเกิดอาการช็อคของผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการบริหารรูปแบบใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่งได้ขยายสู่ความขัดแย้งที่ถ่างออกเรื่อยๆ กระทั่งปัจจุบัน

ที่จริงปัญหาดังกล่าวหาได้เพิ่งเกิดขึ้นไม่ หากย้อนช่วงเวลาในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชแล้ว จะพบว่าเรามีการเปลี่ยนผ่านความเก่ากับความใหม่มาหลายครั้ง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่สามกระทั่งถึงรัชกาลที่ห้า ซึ่งตะวันตกได้มีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทำให้ประเทศสยามต้องปรับตนเองเพื่อให้ดูประหนึ่งว่าเป็นอารยะ อย่างน้อยที่สุดก็ในละแวกเดียวกัน คำถามที่เกิดขึ้นก็คือการเปลี่ยนผ่านความเก่ากับความใหม่ในช่วงเวลานั้น มีความขัดแย้งหรือไม่? คำตอบก็คือ"มี" แต่ความขัดแย้งดังกล่าวได้ถูกอธิบายด้วยเหตุผลที่ค่อนข้างคลาสสิกว่า เป็นการปรับตัวของชาวสยาม ดังพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า "…การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิดไว้ ควรจะเรียนเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว…"

พระราชกระแสดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า การเปลี่ยนผ่านจากความเก่า ซึ่งในบริบทของห้วงเวลานั้น หมายถึงองค์ความรู้แบบเดิมๆ ของชาวสยามสู่องค์ความรู้แบบ "พวกฝรั่ง" ซึ่งเป็นแบบใหม่ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะต้องเปลี่ยนไปเรียนรู้โดยฉับพลัน แต่ก็ควร "…เรียนเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว…" อันส่งผลให้ในรัชกาลต่อมาได้ทรงดำเนินรอยตามพระราชกระแสอย่างเคร่งครัด และแม้เมื่อตัดประเด็นการทรงเป็นแกนนำของการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวในฐานะประมุขของราชอาณาจักรออกไป ก็ยังสะท้อนให้เห็นได้ว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านแบบค่อยเป็นค่อยไปของชาวสยาม ซึ่งนับว่าช่วยสมานรอยต่อที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ แต่แนบเนียนอย่างยิ่ง

โดยนัยนี้ สิ่งที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ควรจะทำต่อไปจึงหาใช่ทิศทางการบริหารประเทศทั้ง 4 ข้อ ซึ่งผู้เขียนคิดว่ามันเป็นภารกิจปกติ (Routine) ของทุกรัฐบาลที่ต้องกระทำอยู่แล้ว แต่ควรอยู่ที่รัฐบาลจะทำอย่างไรในสภาวะปัจจุบัน ที่จะสมานรอยต่อระหว่างความเก่าและความใหม่ดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลอื่นๆ ภายหลัง พ.ต.ท. ทักษิณเป็นต้นมาทำไม่สำเร็จ (และอาจจะไม่เคยทำ?) เลย ทั้งนี้ผู้เขียนใคร่ขอยกตัวอย่างแนวทางสมานรอยต่อดังกล่าว เช่น

1. ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสีที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการที่เราศึกษาประวัติศาสตร์ด้านเดียว อันได้แก่ประวัติศาสตร์ของชนชั้นปกครอง ประเด็นนี้มีความสำคัญเพราะการที่ถูกตอกย้ำเพียงแต่ว่าประเทศไทยมีพื้นที่เพียงชนชั้นปกครอง และไม่เคย (คิด) ที่จะกล่าวถึงผู้ถูกปกครองโดยละเอียด อย่างน้อยที่สุดเช่นกบฎผีบุญ หรือประวัติศาสตร์ชาวบ้านปากมูน เป็นต้น. ทำให้ประวัติศาสตร์ดังกล่าวสอดรับเป็นอย่างดีกับอมาตยาธิปไตย และทำให้ชนชั้นกลางส่วนใหญ่ซึ่งมีโอกาสเรียนประวัติศาสตร์ในระดับสูง (แต่อาจจะไม่ลึกซึ้ง) ชินชาและเพิกเฉยต่อชนชั้นอื่นๆ

ด้วยเหตุนี้ การเปิดพื้นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ของชาวบ้านให้แก่คนทั่วไปที่เรียกว่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ไม่เพียงแต่จะทำให้รู้ว่าบ้านของตนเองมีอะไรสำคัญหรือใครเป็นวีรบุรุษในบ้านตนเองแล้ว ยังทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกันว่าประเทศไทยยังประกอบไปด้วยชนชั้นปกครองและรากหญ้าที่ควรกล่อมเกลี้ยง รวมถึงประคับประคองเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้มาตั้งแต่อดีตอีกด้วย และเมื่อต่างฝ่ายเข้าใจว่าตนเอง (ไม่ว่าชนชั้นสูงหรือรากหญ้า) อยู่ตรงไหนในพื้นที่ประวัติศาสตร์ร่วมกัน จะนำไปสู่ความร่วมมือต่างๆ เช่น การกระจายอำนาจการปกครอง การเปิดโอกาสให้กับชาวบ้านในการพัฒนาตนเอง การสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ฯลฯ อันจะนำไปสู่ความสงบสุขของสังคมต่อไป

2. ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการนิยามความหมายของความใหม่เพียงด้านเดียวด้วยเช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการนิยามกลไกของโลกาภิวัตน์ว่า ได้แก่ ความทันสมัยและความร่ำรวยที่ต้องแข่งขัน เช่น การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เห็นได้ชัดจากการใช้โทรศัพท์มือถือที่คนไทยมักไม่ยอมตกรุ่นแม้จะไม่เคยใช้ประโยชน์จากกล้องถ่ายรูป หรือดูโทรทัศน์ในโทรศัพท์มากไปกว่าการโทรเข้าและรับสายเพียงอย่างเดียว หรือการที่จะบอกว่าชาวบ้านสามารถร่ำรวยได้จากการเป็นหนี้สินเพื่อนำมาเป็นทุน โดยมิได้คำนึงว่าหนทางการสร้างตลาดและอำนาจการกำหนดราคา หรือโอกาสในการพัฒนาตนเองของชาวบ้านอยู่ที่ไหน กระทั่งก่อให้เกิดค่านิยม "โง่หลาย (ก็จง) ตายซะ" มากกว่าจะช่วยเหลือกันในการดำเนินธุรกิจ และทำให้เกิดคำอธิบายว่าคนไทย "ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา (Modern without Development)" อยู่ร่ำไป

เมื่อคนส่วนใหญ่อันได้แก่รากหญ้าเข้าใจความใหม่เพียงด้านเดียว ก็ย่อมอดที่จะนำมาเปรียบเทียบความเก่าก่อนสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณตามประสบการณ์ของตนเองไม่ได้ ซึ่งไม่แปลกหากคนรากหญ้าจะชื่นชอบ พ.ต.ท. ทักษิณ ที่เปิดโอกาสให้เขาร่ำรวยและก้าวทันโลกสมัยใหม่บ้าง แม้จะตามมาด้วยปัญหาหลายๆ ประการซึ่งห่างไกลตัวเขา (อย่างน้อยก็ในเวลาปัจจุบัน) ด้วยเหตุนี้ การขยายคำอธิบายว่าชาวบ้านควรรู้เท่าและรู้ทันโลกาภิวัตน์ ซึ่งรวมทั้งข้อดีและข้อเสียอย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าการแจกเงินในกองทุนหมู่บ้าน และให้ชาวบ้านเรียนรู้ที่จะรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น น่าจะเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างแดง-เหลืองได้อีกประการหนึ่ง

เพียงแค่ 2 ตัวอย่างแนวทางข้างต้นไม่ยากและไม่เป็นนามธรรมเสียทีเดียว หากแต่ต้องอาศัยความจริงใจของรัฐบาลใหม่ ซึ่งสังคมตั้งไว้ค่อนข้างสูงว่า จะนำพาความสงบสุขกลับคืนมาสู่ประเทศได้โดยเร็ว. ที่สำคัญที่สุด บางทีนายอภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนใหม่อาจต้องตั้งคำถามต่อนโยบายของตนเองว่า "จะคิดนอกกรอบ" ด้วยวิธีการใดเพื่อสมานให้การเปลี่ยนผ่านระหว่างความเก่าและใหม่ดังกล่าวเกิดความเรียบร้อยมากที่สุด ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งทางสังคมและวัฒนธรรมของคนในชาติ เพื่อให้สามารถเดินทางสู่การเป็นทุนนิยมเสรีใหม่ที่เราไม่อาจปฏิเสธได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย และลดทอนความขัดแย้งให้เหลือน้อยที่สุดนั่นเอง


3. โปรดเกล้าฯ ครม. 'อภิสิทธิ์" แล้ว ไม่พลิกโผ
คัดลอกมาจาก ประชาไทออนไลน์
20 ธันวาคม 51 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตี ตามประกาศวันที่ 17 ธันวาคม พุทธศักราช 2551 แล้วนั้น บัดนี้ นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้สมควรได้เป็นรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการสืบไปแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 ของรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งรัฐมนตรีดังต่อไปนี้

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ - เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ - เป็นรองนายกรัฐมนตรี
พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ - เป็นรองนายกรัฐมนตรี

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย - เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายวีระชัย วีระเมธีกุล - เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ - เป็น รมว.กลาโหม

นายกรณ์ จาติกวานิช เป็น - รมว.การคลัง
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ - เป็น รมช..การคลัง
นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ - เป็น รมช.การคลัง

นายกษิต ภิรมย์ - เป็น รมว.การต่างประเทศ
นายชุมพล ศิลปอาชา - เป็น รมว.ท่องเที่ยวและการกีฬา
นายวิฑูรย์ นามบุตร เป็น - รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์
นายธีระ วงศ์สมุทร เป็น - รมว.เกษตรและสหกรณ์
นายชาติชาย พุคยาภรณ์ - เป็น รมช.เกษตรและสหกรณ์

นายโสภณ ซารัมย์ เป็น - รมว.คมนาคม
นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ - เป็น รมช.คมนาคม
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร - เป็น รมช.คมนาคม

นายสุวิทย์ คุณกิตติ - เป็น รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ร.ต.หญิงระนองรัตน์ สุวรรณฉวี - เป็น รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล - เป็น รมว.พลังงาน

นางพรทิวา นาคาศัย - เป็น รมว.พานิชย์
นายอลงกรณ์ พลบุตร - เป็น รมช.พานิชย์

นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล - เป็น รมว.มหาดไทย
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ - เป็น รมช.มหาดไทย
นายถาวร เสนเนียม - เป็น รมช.มหาดไทย

นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค - เป็น รมว.ยุติธรรม
นายไพฑูรย์ แก้วทอง เป็น - รมว.แรงงาน
นายธีระ สลักเพชร - เป็น รมว.วัฒนธรรม
คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช - เป็น รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ - เป็น รมว.ศึกษาธิการ
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ - เป็น รมช.ศึกษาธิการ
นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ - เป็น รมช.ศึกษา

นายวิทยา แก้วภราดัย - เป็น รมว.สาธารณสุข
นายมานิต นพอมรบดี - เป็น รมช.สาธารณสุข

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง - เป็น รมว.อุตสาหกรรม

ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 ธ.ค. 2551 เป็นปีที่ 63 ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

4. สัจจะ และ อหิงสา - มหาตมะ คานธี
http://www.biolawcom.de/blog/857/Mahatma-Gandhi-Satyagraha.html

"[...] วิธีที่ดีที่สุดที่เราจะใช้โต้ตอบการกระทำอันรุนแรงและเลวร้ายของรัฐบาล มิใช่อยู่ที่เราจะต้องกระทำการอันรุนแรงและเลวร้ายยิ่งไปกว่ารัฐบาล หากอยู่ที่เราต้องเอาชนะความรุนแรงด้วยความไม่รุนแรง และเอาชนะความเลวร้ายด้วยความจริง วิธีนี้เท่านั้นที่จะก่อประโยชน์ให้แก่เรา [...]"
มหาตมะ คานธี - ตัดตอนจากหนังสือ แด่..นักศึกษา หมวดที่ 4 "ความรุนแรงและอนาธิปไตย" แปลโดย เรืองอุไร กุศลาสัย และต่อไปนี้เป็นบทคัดลอกบางส่วนจากหนังสือ แด่...นักศึกษา

บทที่ 11: การก่อความวุ่นวาย

ข้าพเจ้าได้รับจดหมายสองฉบับจากครู และจดหมายจากคนอื่น ๆ ที่มิใช่มีอาชีพเป็นครูในรัฐตระวันกอร์ (อินเดียภาคใต้ - ผู้แปล) ชี้แจงให้ทราบถึงการก่อความวุ่นวายโดยนักเรียน นักศึกษาในเมืองนั้น อาจารย์ใหญ่แห่งวิทยาลัย ซี เอ็ม เอส ในเมืองโกตตายัม เขียนมาเล่าให้ฟังว่า มีนักเรียนพยายามขัดขวาง ไม่ยอมให้เพื่อนนักเรียนด้วยกันเข้าไปนั่งเรียนในชั้นเรียน แม้นักเรียนหญิงก็ถูกนักเรียนเหล่านั้นสกัดกั้น ปิดทางไม่ยอมให้เดินเข้าไปในโรงเรียน ครั้งแล้วครั้งเล่า นักเรียนผู้ทำการขัดขวางเหล่านั้นยังได้เข้าไปจับกลุ่มส่งเสียงในชั้นเรียน ไม่ยอมให้เปิดการสอนการเรียนขึ้นได้

การกระทำเช่นนั้น แม้ว่าผู้กระทำจะยืนยันว่า ไม่มีการใช้กำลัง ก็เป็นการกระทำที่ไม่ก่อให้เกิดผลดีแต่ประการใดเลย เท่าที่ข้าพเจ้าทราบมา ผู้นำของนักศึกษาเหล่านั้นไม่ต้องการให้มีการใช้กำลังไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด แต่ทว่าการขัดขวางมิให้ผู้อื่นกระทำสิ่งใดก็ดี การก่อความอลวนวุ่นวายก็ดี เหล่านี้ล้วนเป็นการใช้กำลัง และเป็นหิงสกรรมทั้งสิ้น ข้าพเจ้าได้ชื่อว่าเป็น... ผู้ที่ได้รับความยกย่องนับถือจากนักเรียนนักศึกษา ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนี้จริง ข้าพเจ้าก็ใคร่จะขอร้องนักศึกษาทั้งหลายให้เลิกหิงสกรรมทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นด้วย กาย วาจา หรือด้วยใจก็ตาม อย่างไรก็ดี ข้าพเจ้าเห็นว่า หากผู้ทำการประท้วงหรือดื้อแพ่งเห็นว่า ตนไม่สามารถจะควบคุมขบวนการของตนมิให้ ออกนอกลู่นอกทาง คือมิให้หันไปใช้กำลังได้ จะไม่เป็นการดีกว่าหรือที่เราควรจะระงับการดื้อแพ่งนั้น ๆ เสีย ?

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อยู่ห่างไกลจากข้าพเจ้ามาก อีกทั้งข้าพเจ้าไม่มีโอกาสได้ไปเห็นด้วยนัยน์ตาของตนเอง เพราะฉะนั้น จึงเป็นการยากมากที่จะกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าอะไรเป็นอะไร แต่จากหลักฐานทั่วๆ ไปแล้ว ข้าพเจ้าขอสารภาพว่า ข้าพเจ้าห่วงใยสถานการณ์มาก ข้าพเจ้าขอเตือนนักศึกษา และผู้นำของนักศึกษาทั้งหลายด้วยความจริงใจว่า ขออย่าได้คิดว่า การสร้างความอลวนวุ่นวายจะเป็นประโยชน์ต่อการรณรงค์ เพื่อกอบกู้เอกราช และอิสรภาพของชาติเรา และขออย่าได้หลงผิดคิดว่า ผู้นำของการรณรงค์นี้จะเห็นดีเห็นงามด้วยกับการกระทำของพวกท่านอย่างลับ ๆ

ครั้งหนึ่ง การต่อสู้แบบ"ดื้อแพ่ง"หรือที่เรียกว่า "สัตยาเคราะห์" ตามคำบัญญัติของ มหาตมา คานธี ได้ออกนอกลู่นอกทาง โดยมีการใช้กำลังจนทำให้บานประตูหน้าต่างของอาคารสถานที่ ที่ประชาชนพากันไปประชุมปฏิบัติการดื้อแพ่งต้องพังพินาศ มหาตมา คานธี เกิดความเศร้าสลดใจเป็นอย่างมาก ถึงกับกล่าวว่า

"การกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นมงคลต่อการกอบกู้เอกราชของอินเดีย หากประชาชนต้องการเอกราช ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ถึงการอยู่ในกรอบแห่งระเบียบวินัยโดยใจสมัคร มิฉะนั้นแล้ว ผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง ก็จะบังคับใช้ระเบียบวินัยกับประชาชน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ไม่ใช่เอกราชและอิสรภาพ หากเป็นการลบล้างเอกราชและอิสรภาพ และเป็นเพียงการเปลี่ยนนายผู้ปกครองเท่านั้น"

มีคำพูดว่า "ประชาชนเป็นอย่างไรรัฐบาลก็เป็นอย่างนั้น" หากประชาชนใช้วิธีก่อความวุ่นวาย รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลก็จะใช้วิธีสร้างความวุ่นวาย โดยอ้างว่า เพื่อรักษากฎหมาย และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองเช่นเดียวกัน ผลก็คือ จะไม่มีเสรีภาพ และความเป็นเอกราช แต่จะมีการเลี้ยงอนาธิปไตยไว้ให้เท่า ๆ กัน โดยต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะตรึงกำลังของกัน [...]"

บทที่ 13: อหิงสา
[...] อารยธรรมของเราสอนเราว่า การยึดมั่นและประพฤติปฏิบัติตนตามหลักอหิงสา ซึ่งในภาคปฏิบัติก็หมายถึง การมีความรักและความเมตตากรุณาต่อสรรพชีวิตนั่นเอง จะสามารถให้เราเอาชนะโลกได้ ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้มีตัวอย่างให้เราเห็นมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยเพิ่มพูนความเชื่อมั่นของเราในหลักอหิงสาทั้งสิ้น [...]

ได้มีผู้ตั้งปัญหาถาม มหาตมา คานธี ว่า
"โดยเหตุที่การต่อสู้เพื่อเอกราชและเสรีภาพนั้น จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากมวลประชาชน ท่านเชื่อหรือว่า ในปฏิบัติการดื้อแพ่งแบบสัตยาเคราะห์ เมื่อได้รับการก่อกวนจากฝ่ายตรงข้าม มวลประชาชนจะยึดมั่นอยู่กับหลักอหิสา และจะไม่ใช้กำลังตอบโต้ ในส่วนบุคคลนั้นอาจจะปฏิบัติตนตามหลักอหิงสาได้ แต่มวลชนจะปฏิบัติเช่นนั้นได้ละหรือ ?"

มหาตมา คานธี ตอบว่า
"คำถามข้อนี้นับว่ามีความหมายมาก เพราะมีขึ้นในขณะที่พวกเรากำลังได้รับการทดสอบในเรื่องนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การต่อสู้แบบดื้อแพ่ง หรือที่เรียกว่าสัตยาเคราะห์ของพวกเรานั้น มีข้อเท็จจริงพิสูจน์ได้ว่า การใช้กำลังมิได้เกิดจากมวลชน หากเกิดจากชนชั้นซึ่งในที่นี้ ข้าพเจ้าหมายถึง ชนชั้นปัญญาหรือปัญญาชน กล่าวคือ ปัญญาชนเป็นผู้ปลุกปั่นให้เกิดขึ้น แม้จะมีบุคคลบางคนเห็นงามปฏิบัติตนตามด้วยการใช้กำลัง แต่ส่วนใหญ่ของประชาชนที่เข้าร่วมในการต่อสู้จะไม่กล้า และไม่ยอมใช้กำลัง. มวลชนจะลงมือใช้กำลัง หรือจะหยุดการใช้กำลังก็ต่อเมื่อมีผู้ออกคำสั่ง ทั้งที่ในส่วนบุคคลแล้ว อาจจะมีผู้ต้องการให้ใช้กำลังแก้แค้น หรือตอบโต้อย่างเต็มที่ก็ตาม [...]"

ปัญหาอีกข้อหนึ่งถามว่า
"พวกเราต้องการทราบอย่างแน่นอนถึง ความหมายของคำว่า "อหิงสา" ถ้าหากตามความหมายของท่าน "อหิงสา" หมายความว่า การไม่มีความเคียดแค้นด้วยเรื่องส่วนตัว พวกเราก็ไม่มีข้อคัดค้าน ทั้งนี้เพราะว่าสงครามนั้น มิได้กระทำกันด้วยเรื่องส่วนตัว หากกระทำกันเพื่อรักษาเกียรติ หรือผลประโยชน์ของชาติ สงครามมีเกิดขึ้นในโลกเสมอ และทุกฝ่ายต่างก็ใช้กำลังทั้งทางกายและใจ เข้ามาโรมรันกันอย่างเต็มที่ตลอดมา ในเมื่อเราสามารถที่จะใช้กำลังทางกายเข้าต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะแห่งอุดมการณ์ของเรา และในเมื่อการใช้กำลังนี้ เป็นทางลัดที่สุดแล้ว ท่านมีเหตุผลประการใดจึงมาคัดค้านการกระทำเช่นนี้ ? นอกจากนี้ โลกปัจจุบันยังไม่ใช่โลกที่จะหันมาเห็นดีเห็นชอบด้วยกับการไม่ใช้กำลัง"

ปัญหาข้อนี้ มหาตมา คานธี ได้ตอบว่า
"แน่นอน อหิงสาตามความหมายของข้าพเจ้า หมายถึง การไม่ใช้กำลังทุกชนิด ยกเว้นเสียแต่ กำลังทางด้านศีลธรรม ส่วนเรื่องที่ว่าสงครามได้อุบัติขึ้นในโลกเสมอมา และเรื่องการใช้กำลังเข้าพิทักษ์รักษาเกียรติ และผลประโยชน์ของประเทศชาตินั้น ก็เป็นคนละเรื่องกับที่จะพูดว่า ด้วยเหตุนี้ โลกจึงควรจะใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันต่อไป [...]

หลักการอหิงสา หรืออหิงสธรรม ที่ข้าพเจ้าพูดถึงอยู่นี้ กำลังได้รับการทดสอบอย่างหนักในโลกปัจจุบัน พลังของมโนธรรมกำลังต่อสู้อยู่กับพลังของสัตว์ป่าอย่างเอาเป็นเอาตาย ขอให้เราทั้งหลายจงอย่าได้ท้อถอยจากการทดสอบนี้เลย"

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ : Release date 20 December 2008 : Copyleft MNU.

ผู้ที่ชี้แนวทางให้กับนักกฎหมายไทยนั้นท่านมีแนวทางหรือไม่ หรือท่านเองก็หลงทาง เพราะในที่สุดแล้วท่านก็พานักกฎหมายมหาชน ลงคลอง และประเทศไทยลงเหวไปด้วย. ชาวต่างประเทศพูดกันมาก ว่าเขาไม่เข้าใจระบบกฎหมายเมืองไทย ว่าเหตุใดการไปออกโทรทัศน์ทำอาหาร จึงมีความผิดรุนแรงถึงขนาดลงโทษให้ต้องออกจากการ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ยึดสนามบิน ยึดทำเนียบผิดกฎหมายชัดๆ ยังไม่เห็นมีใครดำเนินการอะไรเลย มิหนำซ้ำ ยังเห็นหน้าในหนังสือพิมพ์ ยังมาเจรจากับตำรวจส่งมอบทำเนียบและสนามบินกันอีกต่างหาก ถ้าเป็นต่างประเทศเขาจับไปแล้วไม่ต้องมีหมายจับ นี่เป็นสิ่งที่คนไทยก็ตอบไม่ถูกว่าเกิดอะไรขึ้น นี่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความอึดอัด ความกระอักกระอ่วนใจในการประกอบอาชีพของพวกเรา"

H