ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




26-06-2551 (1597)

Interview with Joseph Stiglitz / Stiglitz Plan:
สองลิ้นรสเศรษฐศาสตร์การเมือง: ว่าด้วยเรื่องของ โจเซฟ สติกลิตซ์

กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
โครงการแปลเพื่อความรู้เศรษฐศาสตร์การเมืองและโลกาภิวัตน์
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทแปลและบทความต่อไปนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วย
๑. บทสัมภาษณ์โจเซฟ สติกลิตซ์ : สู่ยุคเศรษฐกิจถดถอย (ภัควดี วีระภาสพงษ์)
๒. Stiglitz Plan: ข้อเสนอสำหรับการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา (วิโรจน์ สุขพิศาล)


โดยเรื่องแรกเกี่ยวกับภาวะทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่กำลังถดถอย
และต้นทุนในการทำสงครามอิรักซึ่งแพงกว่าที่คิด รวมถึงการพูดถึงหนังสือ
อย่างเช่น Making Globalization Work, และ The Three Trillion
Dollar War: The True Costs of the Iraq Conflict,
สำหรับเรื่องแรกมีต้นฉบับภาษาอังกฤษประกอบสำหรับผู้สนใจ
และได้นำเสนอรายชื่อหนังสือต่างๆ ที่เขียนโดยโจเซฟ สติกลิตซ์
พร้อมชีวประวัติโดยสังเขปที่นำมาจากวิกีพีเดียภาษาอังกฤษ

ส่วนเรื่องที่สองเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ข้อเสนอสำหรับการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา
(Stiglitz Plan) โดยเรื่องที่สองเคยเผยแพร่แล้วบนเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน นำมาจาก
โครงการจับกระแสองค์การการค้าโลก คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๙๗
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๑.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Interview with Joseph Stiglitz / Stiglitz Plan:
สองลิ้นรส
เศรษฐศาสตร์การเมือง: ว่าด้วยเรื่องของ โจเซฟ สติกลิตซ์

กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
โครงการแปลเพื่อความรู้เศรษฐศาสตร์การเมืองและโลกาภิวัตน์
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

๑. บทสัมภาษณ์โจเซฟ สติกลิตซ์ : สู่ยุคเศรษฐกิจถดถอย (English version)
๒. Stiglitz Plan: ข้อเสนอสำหรับการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา

๑. บทสัมภาษณ์โจเซฟ สติกลิตซ์ : สู่ยุคเศรษฐกิจถดถอย
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปล
Carmela Cruz, "Interview with Joseph Stiglitz"
(Washington, DC: Foreign Policy In Focus, March 27, 2008)
Web location: http://fpif.org/fpiftxt/5106

โจเซฟ สติกลิตซ์ เกิดที่มลรัฐอินเดียนาเมื่อ ค.ศ. 1943 ปัจจุบันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย โดยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการมันสมองโลก (Committee on Global Thought) ของมหาวิทยาลัย. ในยุครัฐบาลบิล คลินตัน เขาเป็นสมาชิกของสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ และต่อมาเป็นประธานของสภานี้ในช่วง ค.ศ. 1993-97 จากนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าเศรษฐกรและรองประธานอาวุโสของธนาคารโลกในช่วง ค.ศ. 1997-2000. สติกลิตซ์ช่วยก่อตั้งเศรษฐศาสตร์สาขาใหม่ นั่นคือ "เศรษฐศาสตร์ของข้อมูลข่าวสาร" โดยศึกษาถึงผลกระทบที่ตามมาจากความไม่เท่าเทียมของการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ใน ค.ศ. 2001 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ จากผลงานการวิเคราะห์ตลาดด้วยข้อมูลที่ไม่สมมาตร

หนังสือสองเล่มของเขาคือ Globalization and Its Discontents และ Making Globalization Work ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง หนังสือเล่มล่าสุด The Three Trillion Dollar War เพิ่งตีพิมพ์ออกมาในเดือนมีนาคมศกนี้ เขาวิเคราะห์วิจารณ์ต้นทุนของสงครามอิรัก ซึ่งมิได้เป็นภาระเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่เป็นภาระของโลกด้วย รวมทั้งเสนอยุทธศาสตร์การถอนทหารอเมริกันออกจากอิรัก

ในการให้สัมภาษณ์แก่ คาร์เมลา ครูซ ครั้งนี้ สติกลิตซ์ให้ทัศนะเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐอเมริกาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อโลก วงจรเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูสลับซบเซาในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ตลอดจน "ข้อจำกัดของกลไกตลาด" ความจำเป็นต้องแสวงหาหนทางที่ดีกว่า GDP ในการวัดมาตรฐานการครองชีพของประชาชน รวมทั้งพูดถึงหนังสือเล่มล่าสุดของตนด้วย

คาร์เมลา ครูซ: ตอนนี้สหรัฐอเมริกาตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือยัง? ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะลากทั้งโลกซบเซาตามไปด้วย หรือจะมีบางประเทศรอด? และไม่แน่ว่าอาจมีการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่บ้างหรือเปล่า?

โจเซฟ สติกลิตซ์: เมื่อพิจารณาจากทุกด้าน สหรัฐอเมริกาตกอยู่ในภาวะชะลอตัวครั้งใหญ่ จนเกือบจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างแน่นอนแล้ว มันน่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งเลวร้ายที่สุดในช่วง 25 ปีหลัง ไม่ใช่แค่การปรับตัวตามปรกติ มันส่งผลสะเทือนต่อระบบการเงิน ซึ่งเป็นหัวใจของระบบเศรษฐกิจ. ถึงแม้ความเติบโตของจีนและอินเดีย หมายความว่า โลกอาจไม่ต้องพึ่งพิงความเติบโตของสหรัฐฯ แต่ฝ่ายเดียวอีกต่อไป แต่สหรัฐอเมริกาก็ยังเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก การชะลอตัวในสหรัฐฯ ย่อมส่งผลสะเทือนต่อทุกๆ ประเทศแน่นอน บางประเทศย่อมได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศอื่น อาทิเช่น ประเทศเม็กซิโกจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะสินค้าส่งออกของเม็กซิโกพึ่งพิงตลาดในสหรัฐฯ เกือบทั้งหมด

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งนี้จะกลายเป็นเครื่องชี้วัดอีกประการหนึ่งในการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจโลก ตอนนี้ โลกเริ่มถอยห่างจากการพึ่งพิงเงินดอลลาร์ ในฐานะเงินตราที่เป็นทุนสำรองของประเทศ โดยเฉพาะเมื่อเห็นชัดแล้วว่า ดอลลาร์เป็นแหล่งมูลค่าที่ไม่แน่นอน การที่เมอร์ริลลินช์และซิตีแบงก์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่เป็นหน้าเป็นตาของสหรัฐฯ ต้องไปขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนของรัฐ เพื่อให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤต เรื่องนี้เป็นยิ่งกว่าสัญลักษณ์ที่ชี้ให้เห็นภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ

ครูซ: สภาคองเกรสของสหรัฐฯ เพิ่งอนุมัติเงินกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 152 พันล้านดอลลาร์ เพื่อผ่อนบรรเทาผลกระทบของภาวะถดถอย มันจะได้ผลไหม? ต้องใช้จ่ายอีกเท่าไร? ธนาคารกลางของสหรัฐฯ จะลดดอกเบี้ยลงอีกแค่ไหน?

สติกลิตซ์: เงินอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจก้อนนี้ยังน้อยไป ช้าไป และออกแบบมาไม่ดีนัก จริงอยู่ มันคงกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง แต่ไม่พอที่จะป้องกันการชะลอตัวครั้งใหญ่ มันไม่ได้ออกแบบมาให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ การกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะได้มาเมื่อวัดดอลลาร์ต่อดอลลาร์จากการใช้จ่ายเกินดุล ยกตัวอย่างเช่น จะดีกว่านี้มากถ้าเพิ่มเงินประกันการว่างงาน เป็นต้น นอกจากนี้ มันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวของอเมริกา ไม่ว่าอย่างไร การบริโภคของครัวเรือนที่ไม่มากพอไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วนในสหรัฐอเมริกา อีกทั้งครัวเรือนที่เป็นหนี้สินจำนวนมากจะใช้เงินนั้นเพื่อการจ่ายหนี้ที่ถูกเร่งรัดมากกว่า. ปัญหาประการหนึ่งคือ หนี้สินและการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ ทำให้มันยากที่จะออกแบบเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในขนาดที่พอเหมาะ

ครูซ: ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ระบบเศรษฐกิจโลกเสียหายจากวิกฤตการณ์ทางการเงินอย่างน้อย 100 ครั้ง โดยแต่ละครั้งนำหน้ามาด้วยวงจรของความเฟื่องฟูและซบเซา ทำไมบรรดาธนาคาร ธนาคารกลาง และสถาบันทางการเงิน กลับไม่มีเครื่องมือที่จะดักทางไม่ให้เกิดความเสียหาย ทั้ง ๆ ที่พวกเขาก็ทำนายวิกฤตการณ์ได้ล่วงหน้า บางทีทำนายได้ตั้งหลายปีก่อนเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง? เราสามารถยุติวงจรนี้โดยไม่ต้องตั้งคำถามอย่างจริงจังต่อข้อจำกัดของระบบทุนนิยมได้หรือไม่?

สติกลิตซ์: ภาวะตกต่ำครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ล่วงหน้ามาแล้วหลายปี กระนั้น ระบบบริหารความเสี่ยงที่ธนาคารและสถาบันเงินกู้ทั้งหลายใช้อยู่ กลับล้มเหลวที่จะตระหนักถึงปัญหาที่ฝังลึกอยู่ภายใน นี่ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้เทคนิควิทยาของการบริหารความเสี่ยงจะก้าวหน้าไปมาก แต่กลไกตลาดต่างหากที่มีข้อจำกัด ซึ่งเป็นตัวการก่อให้เกิดวงจรเฟื่องฟูและซบเซามาตลอดประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยม

ครูซ: ในหนังสือ Making Globalization Work คุณนำเสนอทางออกต่อปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ความยากจน ความไม่สมดุลของการค้า และความไร้เสถียรภาพทางการเงิน โดยคุณเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ จับมือกันร่วมแก้ปัญหาอย่างกล้าหาญ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาก็มีทั้งการเก็บภาษีด้านสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยสารพิษ การรื้อซ่อมและยกเครื่องสถาบันระหว่างประเทศที่มีอยู่ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไม่ก็สร้างสถาบันใหม่ขึ้นมาเลย เช่น ระบบทุนสำรองเงินตราของโลก มีนักวิจารณ์กล่าวว่า โลกที่คุณวาดภาพนั้นเป็นแค่สังคมอุดมคติและไม่มีทางเกิดขึ้นจริง ทั้งนี้เพราะความไม่เท่าเทียมและความไม่ยุติธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน แน่นอน การจะเปลี่ยนรัฐบาลและสถาบันระหว่างประเทศให้พร้อมต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความเป็นธรรมมากกว่านี้ ทั้งรัฐบาลและสถาบันต้องก่อตั้งขึ้นบนเสรีภาพและความรับผิดชอบของบุคคลที่สมมาตรและมั่นคงกว่านี้ นี่จะเป็นเหตุผลให้เราควรล่าถอยจากโลกาภิวัตน์แทนที่จะสร้างมันขึ้นมาใหม่อย่างที่คุณเสนอหรือเปล่า?

สติกลิตซ์: ในหนังสือ Making Globalization Work ผมนำเสนอวาระที่ครอบคลุม ไม่ใช่แค่วิสัยทัศน์ว่าเราควรเดินไปทางไหน แต่เสนอขั้นตอนเชิงปฏิบัติที่ควรนำมาใช้ในระยะเฉพาะหน้า ซึ่งจะช่วยให้โลกาภิวัตน์ทำงานได้ดีขึ้นเป็นอย่างน้อยที่สุด ในการวางกรอบวาระนี้ ผมตระหนักเป็นอย่างดีถึงกลุ่มพลังต่าง ๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งกลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์จากระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และผมตั้งใจเป็นพิเศษที่จะชี้นำการปฏิรูปที่จะทำให้คนทุกคน หรืออย่างน้อยที่สุดก็คนส่วนใหญ่ เป็นผู้ชนะร่วมกัน

ครูซ: จากปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ในตอนนี้ หากสหรัฐฯ หันมาใช้แนวทางปกป้องการผลิตในประเทศ (protectionism) มากขึ้น มันจะส่งผลกระทบต่อการส่งเสริมโลกาภิวัตน์อย่างไร?

สติกลิตซ์: ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีลักษณะปากว่าตาขยิบอยู่ในโวหารและนโยบายการค้าของอเมริกาเสมอ ข้อตกลงการค้าเสรีสมควรเรียกใหม่ว่า "ข้อตกลงการค้าอย่างมีการจัดการ" มากกว่า. ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ มักเพิกเฉยต่อผลกระทบด้านลบที่เกิดจากข้อตกลงการค้าเสรีในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ มาตรฐานการครองชีพที่ตกต่ำลงในตอนนี้ไม่ได้เกิดกับคนชั้นล่างเท่านั้น แต่เกิดขึ้นในหมู่ชนชั้นกลางด้วย ในขณะที่รัฐบาลบุชไม่อินังขังขอบกับปัญหานี้เลย ดังนั้น การปฏิรูประบบการค้าโลกาภิวัตน์ดังที่ผมเรียกร้องไว้ในหนังสือ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

ครูซ: คุณสรรเสริญความสำเร็จทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก ถึงแม้ว่าบางประเทศจะมีสถิติด้านสิทธิมนุษยชนที่ไม่ค่อยดีนัก แต่ในฐานะหัวหน้าเศรษฐกรของธนาคารโลก คุณเคยกล่าวว่า การต่อสู้กับการคอร์รัปชั่นเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนา และในปาฐกถารับรางวัลโนเบล คุณอ้างถึงทัศนะอันลึกซึ้งของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เกี่ยวกับอิทธิพลของวิชาเศรษฐศาสตร์และปรัชญาการเมืองที่มีต่อโฉมหน้าของโลก คุณยังไม่พร้อมจะยอมรับหรือว่า พันธะทางศีลธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เพียงในการยกระดับเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ในการยกระดับชีวิตประชาชนด้วย?

สติกลิตซ์: ผมกล่าวเสมอว่า ความสำเร็จต้องมีมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจีดีพี และการพยายามเพิ่มแต่จีดีพีอย่างหน้ามืดตามัว ลงท้ายแล้วอาจนำไปสู่มาตรฐานชีวิตที่ตกต่ำลงในระยะยาว ขณะนี้ผมเป็นประธานของคณะกรรมการการชี้วัดความสำเร็จทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคม คณะกรรมการชุดนี้ก่อตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดีของฝรั่งเศส และมีสมาชิกจากทั่วโลก สิ่งที่เราชี้วัดส่งผลกระทบต่อสิ่งที่เราทำ พันธะทางศีลธรรมไม่ใช่แค่การเพิ่มจีดีพีเท่านั้น แต่ต้องยกระดับชีวิตของประชาชน เราจึงจำเป็นต้องมีวิธีที่ดีกว่านี้ในการชี้วัดความสำเร็จของการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

ครูซ: อยากให้คุณพูดถึง หนังสือเล่มล่าสุดของคุณ

สติกลิตซ์: หนังสือเล่มล่าสุดของผมคือ The Three Trillion Dollar War: The True Costs of the Iraq Conflict ผมเขียนร่วมกับ Linda Bilmes จากสำนักเคนเนดีแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่า สงครามที่ผิดพลาดครั้งนี้มีต้นทุนแค่ไหน สงครามครั้งนี้กลายเป็นสงครามที่ยาวนานที่สุดและมีต้นทุนสูงที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา มันเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นี่คำนวณโดยปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้วนะครับ!

เราคำนวณต้นทุนที่มีผลกระทบต่องบประมาณและเศรษฐกิจของอเมริกา แต่เราชี้ให้เห็นว่า ต้นทุนยังมีมากกว่านั้นอีก ยังมีต้นทุนที่เป็นภาระต่อระบบเศรษฐกิจโลก โดยต้นทุนส่วนที่หนักที่สุดตกอยู่กับประเทศอิรักเอง นอกจากนี้ ยังมีต้นทุนต่อความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ขณะที่เรามัวจดจ่ออยู่กับอาวุธทำลายล้างที่ไม่มีอยู่จริงในอิรัก ประเทศอีกประเทศหนึ่งก็เข้าร่วมสโมสรอาวุธนิวเคลียร์ ขณะที่เรามัวจดจ่ออยู่กับประเทศที่ไม่เกี่ยวข้องกับวินาศกรรม 9/11 เลย ปัญหาในอัฟกานิสถานก็ยิ่งเลวร้ายลง ทั้ง ๆ ที่ประเทศนี้แหละที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ 9/11 อยู่บ้าง เดี๋ยวนี้อเมริกาปลอดภัยน้อยลง และกองทัพของเรา ซึ่งอ่อนล้าจากการรบถึงห้าปี ตกอยู่ในสภาพย่ำแย่หากต้องเผชิญภัยคุกคามใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อประเทศ

ส่วนท้ายของหนังสือให้ข้อแนะนำเชิงนโยบายชุดหนึ่ง รวมทั้งวิธีการป้องกัน หรืออย่างน้อยที่สุดก็ทำให้ปัญหาที่เรากำลังเผชิญมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นน้อยลง ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีประเทศไหนควรพึ่งแต่การจัดสรรงบประมาณฉุกเฉิน ในขณะที่สงครามก็ผ่านมาถึงห้าปีแล้ว อเมริกาเอาเปรียบกองทัพและทหารผ่านศึกของตัวเอง นี่เป็นนโยบายแบบสายตาสั้น ไม่เพียงแค่ผิดศีลธรรม แต่ยังมีต้นทุนสูงด้วย เราเสนอแนวทางปฏิรูปที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะยุติการปฏิบัติที่ไม่ยุติธรรมเหล่านี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราวางกรอบสำหรับการพิจารณาถึงยุทธศาสตร์ในการถอนทหาร นี่เป็นเรื่องที่รัฐบาลบุชคิดน้อยไป เมื่อพวกเขาเริ่มดำเนินการที่มีแต่ความเสี่ยงและบุ่มบ่ามเมื่อตัดสินใจบุกอิรัก

Carmela Cruz เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระในกรุงมะนิลาและเขียนบทความให้แก่ Foreign Policy In Focus (www.fpif.org)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หนังสือต่างๆ โดยโจเซฟ สติกลิตซ์

- 2008, The Three Trillion Dollar War ISBN 978-0-39-306701-9; by Joseph Stiglitz and Linda Bilmes, W. W. Norton.
- 2006, Making Globalization Work ISBN 0-393-06122-1, Penguin Books, August 2006.
- 2006, Stability with Growth: Macroeconomics, Liberalization, and Development ISBN 0-19-928814-3 (Initiative for Policy Dialogue Series C); by Joseph E. Stiglitz, Jose Antonio Ocampo, Shari Spiegel, Ricardo Ffrench-Davis, and Deepak Nayyar; Oxford University Press 2006

- 1996, Whither Socialism ? STIGLITZ, Joseph E., (Wicksell Lectures), MIT Press, January 1996.
- 2000, Frontiers of Development Economics: The Future in Perspective, edited with Gerald M. Meier, World Bank, May 2000.
- 2002, Principles of Macroeconomics, third edition, with Carl E. Walsh, W.W. Norton & Company, March 2002.
- 2002, Economics, Third Edition, with Carl E. Walsh, W.W. Norton & Company, April 2002.
- 2002, Peasants Versus City-Dwellers: Taxation and the Burden of Economic Development, with Raaj K. Sah, Oxford University Press, April 2002.

- 2002, Globalization and Its Discontents, W.W. Norton & Company, June 2002.
- Towards a New Paradigm in Monetary Economics, with Bruce Greenwald, Cambridge University Press.
- 2003, The Roaring Nineties, W.W. Norton & Company, forthcoming in October 2003.
- Fair Trade for All: How Trade Can Promote Development (Initiative for Policy Dialogue Series C) -- by Joseph E. Stiglitz, Andrew Charlton; Hardcover

- Economics of the Public Sector. by Joseph E. Stiglitz
- 2002, The Rebel Within: Joseph Stiglitz and the World Bank by Joseph E. Stiglitz (Editor), Ha-Joon Chang (Editor), ISBN 1-898855-91-9, Anthem Press, Wimbledon Publishing Company (Paperback - February 25, 2002)

- 2005, The Development Round Of Trade Negotiations In The Aftermath Of Cancun by Joseph E. Stiglitz, Andrew Charlton (Paperback - January 30, 2005)

- 2005, A Chance For The World Bank by Joseph P Stiglitz (Foreword), Jozef Ritzen, ISBN 1-84331-162-3, Anthem Press, Wimbledon Publishing Company (Paperback - May 30, 2005)

- 1986, 'Economics of the Public Sector' by J.E.Stiglitz ISBN 0-393-96651-8, W.W.Norton, New York. (Re-printed 1988, 2000)
- 1981, 'Theory of Commodity Price Stabilization' by David M.G. Newbery and Joseph E. Stiglitz ISBN-10: 0198284179 ISBN-13: 978-0198284178, Oxford University Press [Hardcover: 512 pages]

- Readings in the Modern Theory of Economic Growth by Joseph E. Stiglitz (Editor), Hirofumi Uzawa (Editor)

+++++++++++++++++ (ต้นฉบับภาษาอังกฤษ) +++++++++++++++++

Interview with Joseph Stiglitz
Carmela Cruz | March 27, 2008
Editor: John Feffer

Joseph Stiglitz was born in Indiana in 1943. He currently teaches at Columbia University, where he is chair of the university's Committee on Global Thought. During Bill Clinton's administration, he was a member of the Council of Economic Advisers then later its chairman from 1993-97. He then became chief economist and senior vice-president of the World Bank from 1997-2000.

Stiglitz helped create a new branch of economics, the "economics of information," exploring the consequences of information asymmetries. In 2001, he was awarded the Nobel Prize in economics for his analyses of markets with asymmetric information.
His books Globalization and Its Discontents and Making Globalization Work were widely acclaimed. His latest book The Three Trillion Dollar War, published in March 2008, discusses the cost of the U.S. war in Iraq not only to the United States but to the world and proposes an exit strategy for American troops there.

In an interview with Carmela Cruz, Stiglitz shares his thoughts on the U.S. recession and its global consequences, the boom-bust economic cycles of the past three decades and "the limitations of market mechanisms," the need for better ways of measuring improvements in people's lives beyond the GDP, and his latest book.

Carmela Cruz: Is the United States now in recession? Will a U.S. recession drag the rest of the world with it or will it spare some countries and, perhaps, realign global economic order?

Joseph Stiglitz: By all accounts, the United States is in a major slowdown, almost surely a recession. It is likely to be the worst downturn in the past quarter century - far more serious than just an inventory correction. It affects the financial system, which is at the heart of the economy.

While the growth of China and India mean that the world may not be as dependent on U.S. growth, the United States is still the world's largest economy. A slowdown in the United States will affect all countries, some, of course more than others. Those like Mexico that are heavily dependent on the United States for their exports will be most affected.
The downturn will be another marker in the realignment of the global economic order. Already, the world has been moving away from a reliance on the dollar as the reserve currency, especially as the dollar has proven to be such a poor store of value. It was more than symbolic when the U.S. icons Merrill Lynch and Citibank had to turn to the sovereign wealth funds for a bailout.

Cruz: The U.S. Congress has approved a $152 billion economic stimulus package to cushion the impact of a recession. Will it work? At what expense? How much further can the Federal Reserve cut interest rates?

Stiglitz: The stimulus package was too little, too late, and poorly designed. Yes, it will stimulate the economy, but not enough to avert the major slowdown. It was not designed to maximize bang for the buck, in other words the stimulation per dollar of deficit spending. For instance, increasing unemployment insurance would have been far better. It was also not designed to address America's long run problems. After all, insufficient household consumption is not a pressing problem in the United States. And many heavily indebted households will use the money to pay off pressing debts.

One of the problems is that the overhang of debt and deficits makes it difficult to design a stimulus package of the size required.

Cruz: At least 100 financial crises, each preceded by a cycle of boom and bust, have ravaged economies the world over the past 30 years. How ill-equipped have banks, central banks, and financial institutions become to head off the crashes that they could predict, sometimes years before they occurred? Can the cycle be ended without posing serious challenges to the limits of capitalism?

Stiglitz: This downturn has been predicted by experts for years. Yet the risk management systems employed by banks and credit agencies failed to recognized the deep-seated and inherent problems. This suggests that, for all the advances in risk management techniques, the market mechanism indeed has limitations, which have produced booms and busts throughout the history of capitalism.

Cruz: In your book, Making Globalization Work, your preferred solutions to problems such as climate change, poverty, trade imbalances, and financial instability call for bold, concerted effort among nations. These include a uniform environmental tax on toxic gas emissions and a major overhaul in existing international institutions, like the International Monetary Fund, if not the creation of new ones like a global reserve system. Critics say the world you envision is utopian and unattainable because of current asymmetries and injustices. Clearly, for both national governments and international institutions to be ready for a fairer, globalized world, they must first be founded on a stable symmetry of individual freedom and responsibility. Does this make a stronger case for reversing of globalization than remaking of it, as you have proposed?

Stiglitz: In my book Making Globalization Work, I present a comprehensive agenda - not only a vision of where we should be going, but practical steps to take in the short run that would at least make globalization work better. In framing this agenda, I was very aware of the various forces that have inhibited change - including those who are benefiting from the current system, and was particularly attentive to identifying reforms in which all, or at least most, individuals would be winners.

Cruz: How would a greater US protectionism, as a result of current economic troubles, affect the promotion of globalization?

Stiglitz: There has always been an element of hypocrisy in American trade policy and rhetoric. The free trade agreements should more aptly be called managed trade agreements. America's trade representative has often ignored the adverse effects of trade agreements on many in developing countries. Now the declining standards of living not only at the bottom but even in the middle - people whose concerns have been virtually ignored by the Bush administration - are beginning to be expressed. It makes imperative the kinds of reforms in trade globalization that I call for in my book.

Cruz: You have praised the economic successes in East Asia despite some countries' poor human rights records. But as chief economist at the World Bank you spoke of fighting corruption as an important component of development, and in your Nobel lecture you quoted John Maynard Keynes' insight into the ruling influences of economics and political philosophy in shaping the world. Were you not ready to acknowledge the moral imperatives involved in uplifting not just economies but people's lives?

Stiglitz: I have always argued that success entails more than an increase in GDP and that a relentless pursuit of increasing GDP could actually lead to lower long-run standards of living. I am now chairing the Commission on the Measurement of Economic Performance and Social Progress established by the president of France, with members from all over the world. What we measure affects what we do. There is a moral imperative not just to increase GDP, but to improve people's lives, and we need better ways of measuring our success in achieving this objective.

Cruz: What is your latest book about?

Stiglitz: My latest book, The Three Trillion Dollar War: The True Costs of the Iraq Conflict, written with Linda Bilmes of Harvard University's Kennedy School, shows just how costly this mistaken war has been. It is now the second longest, the second most costly war in America's history. It is even more expensive than World War I, even adjusting for inflation! We calculate the costs to the budget and to the American economy. But the costs, as we point out, go well beyond that. There are costs to the global economy, with the brunt of the costs being borne by Iraq itself. There are also costs to America's security. While we were focusing on weapons of mass destruction that did not exist in Iraq, another country joined the nuclear club; while we focused on a country with no connection to 9/11, matters became even worse in Afghanistan, a country in which there was a connection. America is less safe now, and our armed forces, so depleted by five years of fighting, are in a worse position for meeting any threats that might confront the country.

The book ends with a set of policy recommendations, how to prevent, or at least make less likely, the problems we have encountered. For instance, no country should rely on emergency appropriations, five years into a war. America has short-changed its troops and its returning veterans -a short-sighted policy that is not only immoral, but costly. We present concrete reforms that would stop this mistreatment now. Most importantly, we provide a framework for thinking through an exit strategy. This is a subject to which the Bush administration gave too little thought when it embarked on this ill-conceived venture.

Carmela Cruz is a freelance journalist based in Manila and a contributor to Foreign Policy In Focus (www.fpif.org).

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ประวัติโดยสังเขป

Joseph Eugene "Joe" Stiglitz (born February 9, 1943) is an American economist and a member of the Columbia University faculty. He is a recipient of the John Bates Clark Medal (1979) and the The Sveriges Riksbank Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel (2001). Former Senior Vice President and Chief Economist of the World Bank, he is known for his critical view of globalization, free-market economists (whom he calls "free market fundamentalists") and some international institutions like the International Monetary Fund and the World Bank. In 2000 Stiglitz founded the Initiative for Policy Dialogue (IPD), a think tank on international development based at Columbia University. Since 2001 he has been a member of the Columbia faculty, and has held the rank of University Professor since 2003. He also chairs the University of Manchester's Brooks World Poverty Institute and is a member of the Pontifical Academy of Social Sciences. Stiglitz is the second most cited economist in the world, as of 2008.

http://en.wikipedia.org/wiki/Joseph_E._Stiglitz

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

๒. Stiglitz Plan: ข้อเสนอสำหรับการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา
วิโรจน์ สุขพิศาล (เอกสารข่าวฉบับที่ 10 / พฤษภาคม 2551)
(บทความนี้เคยเผยแพร่แล้วบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

การเจรจาการค้าพหุภาคีขององค์การการค้าโลกรอบโดฮา เกิดขึ้นภายหลังจากการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 4 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ในเดือนพฤศจิกายน 2544 จุดประสงค์สำคัญภายใต้การเจรจา "รอบแห่งการพัฒนา" คือ ลดอุปสรรคการค้าระหว่างกัน และสร้างกฎระเบียบการค้าที่เป็นธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะความเป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากในการเจรจาการค้ารอบที่ผ่านมา ประเทศพัฒนาแล้วมักเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการเจรจามากกว่าประเทศกำลังพัฒนา

เนื่องจากการการเจรจารอบโดฮาเริ่มมีแนวโน้มออกจากความตั้งใจที่ให้การเจรจาการค้ารอบโดฮาเป็นรอบแห่งการพัฒนา โจเซฟ สติกลิตส์ อดีตรองประธานธนาคารโลก และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2544 ได้เสนอแนวทางสำหรับการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาให้ดำเนินไปสู่ความตั้งใจเดิมที่ให้การเจรจาในครั้งนี้เป็นเวทีของประเทศกำลังพัฒนา

Blue Sky Analysis
สติกลิตส์เสนอหลักการสำคัญสำหรับการเจรจารอบแห่งการพัฒนานี้ โดยเสนอว่า ความตกลงใดๆ ต้องมีส่วนช่วยในการพัฒนาและไม่มีผลกระทบทางลบต่อประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งควรกำหนดรูปแบบการเจรจาเป็นไปในแนวทาง Blue Sky Analysis คือความตกลงต้องไม่มีผลประโยชน์ทางการเมือง กลุ่มผลประโยชน์หรือประเด็นในอดีตมาเกี่ยวข้อง

ความเป็นธรรมในความหมายของสติกลิตส์
สติกลิตส์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความเป็นธรรมทั้งกระบวนการสร้างข้อตกลงและตัวความตกลงเอง การเจรจาการค้ารอบที่ผ่านมามิได้ใช้หลักความเป็นธรรมในการกำหนดความตกลงใดๆ เนื่องจากประเทศต่างๆ มักยึดถือผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก ซึ่งการเจรจาการค้าที่นำพาไปสู่การพัฒนาได้นั้น จักต้องเป็นการเจรจาที่ยึดถือความเป็นธรรมเป็นที่ตั้ง โดยความเป็นธรรมในความหมายของสติกลิตส์ มิใช่การแลกเปลี่ยนอย่างเท่าเทียมกัน แต่หมายถึงประเทศกำลังพัฒนาควรได้ประโยชน์หรือส่วนแบ่งสูงสุดจากการเจรจา หากความตกลงใดที่ประเทศพัฒนาได้รับประโยชน์ แต่ประเทศกำลังพัฒนามิได้รับประโยชน์ ความตกลงนั้นย่อมมิได้มีความเป็นธรรมตามความหมายของสติกลิตส์

ในปัจจุบันการเจรจาการค้าได้ขยายขอบเขตไปไกลกว่าเรื่องที่เกี่ยวกับการค้า เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม หรือทรัพย์สินทางปัญญา สติกลิตส์เห็นว่า หากขอบข่ายนโยบายครอบคลุมประเด็นนอกเหนือจากการค้า การกำหนดประเด็นและกรอบการเจรจาภายใต้องค์การโลกจะเป็นไปด้วยความลำบาก อีกทั้งการขยายขอบเขตการเจรจาที่กว้างขึ้นจะทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีต้นทุนในการเจรจาเพิ่มขึ้น ดังนั้นขอบเขตการเจรจาจึงควรครอบคลุมเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการค้าเท่านั้น

การเจรจาการค้ารอบโดฮา ควรเป็นประเด็นที่สร้างประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนา
สติกลิตส์เห็นว่า ประเด็นที่ควรพูดถึงในการเจรจาการค้ารอบโดฮา ควรเป็นประเด็นที่สร้างประโยชน์และเอื้อต่อการพัฒนาในประเทศกำลังพัฒนา ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศพัฒนาแล้วมักผลักดันประเด็นการเจรจาที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มของตน เช่นประเด็นการเปิดเสรีการซื้อขายและส่งมอบบริการ (Mode of Supply) ประเทศพัฒนาแล้วจะผลักดันการเปิดเสรีในรูปแบบการบริการที่ประเทศตนได้ประโยชน์ ในขณะที่รูปแบบการบริการที่ประเทศกำลังพัฒนาจะได้ประโยชน์สูงสุด คือ การเคลื่อนย้ายแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะฝีมือต่ำ กลับมิได้เป็นประเด็นสำคัญในการเจรจา

ประเด็นการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม
ประเด็นการค้าสินค้าเกษตร สติกลิตส์เห็นว่า ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่พึ่งพิงการส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก ดังนั้นควรผลักดันให้ประเทศพัฒนาแล้วยกเลิกการอุดหนุนสินค้าเกษตร ยกเลิกการจำกัดการนำเข้า และลดภาษีการนำเข้าซึ่งเป็นการลดอุปสรรคในการเข้าถึงตลาดของประเทศกำลังพัฒนา เช่นเดียวกับประเด็นการค้าสินค้าอุตสาหกรรม สติกลิตส์เสนอประเทศพัฒนาแล้วควรลดการปกป้องสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศกำลังพัฒนา

มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี
นอกจากมาตรการกีดกันการค้าทางด้านภาษีจะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงตลาดของประเทศกำลังพัฒนาแล้ว มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีนับเป็นปัญหาหนึ่งต่อการเข้าถึงตลาดซึ่งประเทศพัฒนาแล้วมักใช้กีดกันสินค้าที่นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นประเทศกำลังพัฒนาควรเรียกร้องให้มีการหยิบยกปัญหาเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการเจรจา โดยเฉพาะการกำหนดแนวทางปฏิบัติให้มีความเป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งมีกระบวนการพิจารณาและระงับข้อพิพาทที่เป็นกลางอย่างแท้จริง

๔ ประเด็นที่ไม่ควรอยู่ในการเจรจารอบโดฮาครั้งนี้
ในการเจรจารอบโดฮามีหลายประเด็นที่ไม่ควรอยู่ในการเจรจารอบนี้ เนื่องจากมิได้สร้างผลประโยชน์ และมิได้เอื้อต่อการพัฒนาแก่ประเทศกำลังพัฒนา ทั้งยังก่อให้เกิดต้นทุนส่วนเพิ่มต่อประเทศกำลังพัฒนา ประเด็นดังกล่าวคือ

1) ความตกลงด้านการลงทุน ที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องการให้เพิ่มสิทธิของนักลงทุนและให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี ในขณะที่การเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีกลับถูกละเลยจากการเจรจา

2) การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ที่เป็นการให้อำนาจผูกขาดแก่เจ้าของสิทธิ อันเป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา
3) มาตรการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้า เช่น Green tariff (มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม) ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาหวั่นเกรงว่าจะเป็นมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าของประเทศกำลังพัฒนา

4) การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนและค่าเงิน ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วไม่ควรแทรกแซงในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศกำลังพัฒนา ควรเป็นนโยบายที่กำหนดภายในประเทศนั้นๆ

Special and Differential Treatment
นอกจากนั้น สติกลิตส์เห็นว่ายังมีประเด็นอื่นๆ ที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่ ประเทศกำลังพัฒนาควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษและแตกต่าง (Special and Differential Treatment) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อยกระดับการพัฒนาในประเทศ และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา

การแข่งขันอย่างเสรี และการผูกขาดข้ามชาติ
ประเด็นนโยบายการแข่งขัน สติกลิตส์มองว่า การที่ประเทศกำลังพัฒนาผลักดันให้ประเทศกำลังพัฒนาเปิดตลาดภายในประเทศให้มีการแข่งขันอย่างเสรี ส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนามีต้นทุนในการปฏิบัติตามและการตรวจสอบสูงขึ้น อันเนื่องมาจากตลาดภายในประเทศกำลังพัฒนามิได้มีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์ ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว ประโยชน์ของการเปิดการแข่งขันเสรีจะเกิดขึ้นเมื่อตลาดมีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นองค์การการค้าโลกควรให้อิสระแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการเลือกนโยบายที่เหมาะสมต่อการพัฒนาในประเทศของตน นอกจากนั้น องค์การการค้าโลกควรให้ความสำคัญกับการต่อต้านการผูกขาดข้ามชาติ ซึ่งการผูกขาดข้ามชาติทำให้สวัสดิการโดยรวมของประเทศลดลง

การเจรจาการค้าแบบ"ทวิภาคี"และ"ภูมิภาคี"ในทัศนะของสติกลิตส์
ประเทศมหาอำนาจโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ให้ความสำคัญกับการเจรจาการค้าแบบ"ทวิภาคี"และ"ภูมิภาคี"กับประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น เนื่องจากความล้าช้าของการเจรจารอบโดฮา ซึ่งสติกลิตส์มองว่า การเจรจาดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อประเทศกำลังพัฒนาและระบบการค้าโลก เนื่องจากระบบการค้าโลกตั้งอยู่บนหลักการไม่เลือกปฏิบัติ (non-discrimination) แต่การเจรจาการค้าแบบทวิภาคีและภูมิภาคี กลับมีการเลือกปฏิบัติระหว่างกลุ่มที่ตกลงการค้าทวิภาคีต่อกันซึ่งสามารถค้าขายกันได้อย่างเสรี กับกลุ่มประเทศที่มิได้ตกลงการค้าทวิภาคีแก่กัน ซึ่งถูกกีดกันการค้าจากกำแพงภาษี

ทำไมการเจรจาการค้าโลกจึงระสบความล้มเหลว
การเจรจาการค้าที่ประสบความล้มเหลวที่ผ่านมา สติกลิตส์เห็นว่า สาเหตุหนึ่งมาจากการดำเนินงานขององค์การการค้าโลกเอง ทั้งความไม่โปร่งใสของกระบวนการเจรจาที่จัดให้มีการประชุมลับ หรือกระบวนการพิจารณาทางกฏหมายที่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ประเทศพัฒนาแล้ว ดังนั้น จึงควรมีการปฏิรูปเชิงสถาบันภายในองค์การการค้าโลก เพื่อให้กระบวนการเจรจาการค้ามีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใสยิ่งขึ้น อีกทั้งองค์การการค้าโลกควรสร้างค่านิยมภายในองค์กรว่า การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนา ถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญขององค์การการค้าโลก.

หมายเหตุ

1. เอกสารนี้เป็นผลผลิตของโครงการ WTO Watch (จับกระแสองค์การการค้าโลก) ซึ่งได้รับการสนันสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

2. Stiglitz Plan ปรากฏใน Joseph Stiglitz and Andrew Charlton. Fair Trade For All: How Trade Can Promote
Development. Oxford University Press, 2005

3. ฉบับภาษาไทยโดยย่อ โปรดอ่าน ชมเพลิน สุวรรณภาณุ : Stiglitz Plan: ข้อเสนอสำหรับการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา

เอกสารข้อมูลหมายเลข 9 โครงการ WTO Watch กรกฎาคม 2548
http://www.thailandwto.org/Doc/Pub/PubData/Stiglitz.pdf

(คลิกไปอ่านบทความ โครงการจับกระแสองค์การการค้าโลก)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑ : Release date 26 May 2008 : Copyleft by MNU.

Making Globalization Work ได้นำเสนอทางออกต่อปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นปัญหาความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ความยากจน ความไม่สมดุลของการค้า และความไร้เสถียรภาพทางการเงิน โดยมีการเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ จับมือกันร่วมแก้ปัญหา ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาก็มีทั้งการเก็บภาษีด้านสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยสารพิษ การรื้อซ่อมและยกเครื่องสถาบันระหว่างประเทศที่มีอยู่ หรือมิฉะนั้นก็สร้างสถาบันใหม่ขึ้นมาเลย เช่น ระบบทุนสำรองเงินตราของโลก มีนักวิจารณ์กล่าวว่า โลกที่คุณวาดภาพนั้นเป็นแค่สังคมอุดมคติและไม่มีทางเกิดขึ้นจริง ทั้งนี้เพราะความไม่เท่าเทียมและความไม่ยุติธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน แน่นอน การจะเปลี่ยนรัฐบาล และสถาบันระหว่างประเทศให้พร้อม ต้องก่อตั้งขึ้นบนเสรีภาพและความรับผิดชอบ ...

H