ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




27-06-2551 (1598)

Spatailizations: Marxist Geography and Critical Social Theory
กระบวนการสร้างพื้นที่: ภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ และทฤษฏีสังคมเชิงวิพากษ์
(๑)
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเชิงอรรถ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

งานแปลและเชิงอรรถต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

แนวคิดภูมิศาสตร์สมัยใหม่ ที่เป็นเรื่องของพื้นที่ พิกัด ตัวเลขโดยร้างผู้คน
และความหมายเชิงสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองได้ปิดฉากตัวเองลงแล้ว
ปัจจุบันมีคำอธิบายใหม่ๆ ในเรื่องพื้นที่ ที่ว่าง แนวคิดภูมิศาสตร์มาร์กซิสท์ และ
ภูมิศาสตร์มนุษยนิยมเข้ามาแทนที่ ซึ่งสนใจให้คำอธิบายความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
และการเมืองเรื่องพื้นที่หลังสมัยใหม่ สำหรับในบทแปลต่อไปนี้จะให้ภาพประวัติศาสตร์
และความเป็นมาของเรื่องเหล่านี้ในเชิงทฤษฎีโดยสังเขป โดยลำดับหัวข้อสำคัญดังนี้
- อภิธานคำศัพท์ เกี่ยวกับแนวคิดลัทธิมาร์กซ์
- วาทกรรมของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ (Modern Geography) และลัทธิมาร์กซิสต์
- ภูมิศาสตร์ในเชิงมาร์กซิสต์ (จาก 1970s - 1980s)
- ลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์-เชิงภูมิศาสตร์
- การค้นหารากเหง้า : ความสำคัญทางพื้นที่ในแนวมาร์กซิสต์ฝรั่งเศส
- ลัทธิมาร์กซิสต์ฝรั่งเศสกับความสำคัญเรื่องพื้นที่
- ฮองรี เลอแฟร์ (Henri Lefebvre)
- การผนวกมาร์กซ์เข้าสู่ขอบเขตของภูมิศาสตร์สมัยใหม่
- กลุ่มซ้ายจัด และ การรวมภูมิศาสตร์ที่ว่าด้วยมนุษย์เข้ากับการวิเคราะห์
- เดวิด ฮาร์วีร์ และ มานูเอล คาสต์เทล
- ภูมิศาสตร์การพัฒนาอย่างไม่เท่าเทียมบนพื้นที่โลก
- หลังสมัยใหม่ : การประกอบสร้างใหม่ของภูมิศาสตร์มนุษย์ในเชิงวิพากษ์
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๙๘
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๘.๕ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Spatailizations: Marxist Geography and Critical Social Theory
กระบวนการสร้างพื้นที่: ภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ และทฤษฏีสังคมเชิงวิพากษ์
(๑)
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเชิงอรรถ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


กระบวนการสร้างความสำคัญทางพื้นที่:
ภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ และทฤษฏีทางสังคมเชิงวิพากษ์

ผู้เขียนโดย Edward Soja

อภิธานคำศัพท์

Marxist Geography

ภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ มีความเป็นสุดโต่งในตัวของมันเอง และเนื้อหาของการวิพากษ์หลักๆ ของมันคือการโต้แย้งต่อกลุ่มปฎิธานนิยมที่มีความเข้าใจและมีเนื้อหาหลักของกระบวนการเข้าสู่ความจริงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เข้าใจถึงความเป็นพื้นที่ในเชิงวิทยาศาสตร์ ข้อโต้แย้งจะชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวที่แนวคิดของกลุ่มนี้ไม่สามารถคลี่คลายไปถึงกลไกของระบบทุนนิยมและการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกลายมาเป็นปัจจัยและอิทธิพลต่อการจัดการทางพื้นที่
(ดูเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Marxist_geography)

Marxification
กระบวนการสร้างความสำคัญเชิงมาร์กซิสต์

Historical Materialism
วัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์ เป็นกระบวนวิธีการเข้าสู่ความจริงแบบหนึ่งที่ใช้สำหรับการศึกษาสังคม เศรษฐกิจ และประวัติศาสตร์ ซึ่งถูกใช้ครั้งแรกโดย คาร์ล มาร์กซ์ (1818-1883) อย่างไรก็ตามด้วยตัวของมาร์กซ์เองแล้วไม่เคยใช้คำนี้ แต่ใช้ในนัยยะที่ว่า "แนวคิดที่คิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในเชิงวัตถุนิยม" สำหรับแนวคิดนี้เริ่มจากความพยายามคลี่คลายความจริงพื้นฐานที่เข้ามาก่อร่างให้เกิดการดำรงอยู่ของมนุษย์ หรืออาจจะเข้าใจได้ว่า เพื่อที่มนุษย์จะสามารถดำรงชีพและเอาตัวรอดอยู่ได้รุ่นต่อรุ่น มันมีความจำเป็นที่จะต้องมีการผลิตและผลิตซ้ำวัตถุต่างๆ ที่จำเป็นต่อชีวิต

มาร์กซ์เป็นเพียงคนเดียวที่สามารถมองเห็นถึงความเข้าใจพื้นฐานต่อความเป็นสังคมมนุษย์ข้อนี้ มาร์กได้ขยายความจริงดังกล่าวนี้ และชี้ชัดให้เห็นถึงความจริงที่ว่า เพื่อที่จะต่อยอดของผลผลิตและก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน มนุษย์จะต้องเข้าสู่ระบบความสัมพันธ์ทางสังคม และนั่นคือเป็นปฐมบทของความสัมพันธ์ของระบบการผลิต

เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ดังกล่าว สำหรับระบบทุนนิยมได้มีการจัดการระบบของมันโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานชนชั้นนายทุน ผู้ซึ่งมีเครื่องมือในการผลิตเป็นของตัวเอง มีวิธีการในการกระจายสินค้า และการแลกเปลี่ยนสินค้าของตัวเอง เช่น โรงงาน เหมือง ร้านค้า และธนาคาร และสำหรับชนชั้นกรรมากรผู้ซึ่งดำรงชีพอยู่บนการขายแรงงานทางสังคม เพื่อเข้าสู่ระบบค่าจ้างในโลกของทุนนิยม
(ดูเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Historical_materialism)

Dialectic Materialism
วัตถุนิยมวิภาษวิธี ถือได้ว่าเป็นหลักปรัชญาแขนงหนึ่งที่เกิดขึ้นจากลัทธินิยมมาร์กซิสต์ อย่างไรก็ตามมาร์กซ์ไม่ได้ใช้คำๆ นี้โดยตรงในงานเขียนของเขา มาร์กซ์ใช้ในนัยยะที่ว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและทางเศรษฐกิจเป็นเสมือนผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงของแรงงานเชิงวัตถุ และวัตถุนิยม

บางครั้งวัตถุนิยมวิภาษวิธีถือว่าเป็นส่วนเสริมให้กับแนวคิดเรื่องวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์ สำหรับวัตถุนิยมวิภาษวิธีแล้ว ถูกอธิบายเอาไว้โดยความเชื่อที่ว่าประวัติศาสตร์เป็นผลผลิตของความอึดอัดคับข้องใจทางการแบ่งแยกของชนชั้น และการเชื่อมั่นในแนวคิดทางปรัชญาประวัติศาสตร์ของเฮเกล นั่นคือพัฒนาการของความรู้ความเข้าใจเกิดขึ้นภายในกระบวนการปรับและแย้งความรู้ความเข้าใจนั้นๆ

สำหรับหลักวิภาษวิธีของเฮเกลพยายามที่จะใช้ในการอธิบายการเติบโตและการพัฒนาของประวัติศาสตร์มนุษย์ เขามีความคิดว่าความเป็นจริงคือผลผลิตของประวัติศาสตร์ และความจริงนี้สามารถที่จะเคลื่อนตัวผ่านการเคลื่อนไหวในช่วงต่างๆ ซึ่งรวมทั้งช่วงเวลาของความผิดพลาด หรือแม้กระทั่งในช่วงเวลาในการปฎิเสธและย้อนแย้งสิ่งต่างๆ ซึ่งสำหรับเฮเกลแล้ว มันคือกระบวนการที่ความจริงกำเนิดขึ้น แต่สำหรับหลักวัตถุนิยมวิภาษวิธีของมาร์กแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของเฮเกล คือพิจารณาว่าประวัติศาสตร์ไม่ใช่เกิดขึ้นจากการผลิตของจิตแต่เป็นผลผลิตจากเนื้อหาของความอึดอัดคับข้องใจที่เกิดขึ้นจากการกดขี่ และกีดกันทางชนชั้น ดังนั้นทฤษฏีนี้จึงมีรากของความคิดจากเนื้อหาของการดำรงอยู่ทางสังคม
(ดูเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Dialectical_materailism)

Territorially-Based Communalism
แนวคิดที่เน้นความเป็นขอบเขตของความเป็นชุมชน

Existential Phenomenology
ปรากฏการณ์วิทยาแนวอัตถิภาวนิยม บ่อยครั้งได้รับการติดตามย้อนกลับไปถึง Sein und Zeit ในปี 1927 ของ Martin Heidegger, ซึ่งเป็นโครงการเกี่ยวกับการนำเอาวิธีการวิเคราะมนุษย์มาใช้ในฐานะที่เป็นหนทางสู่ภววิทยารากฐาน(Fundamental Ontology) ซึ่งพ้นไปจากภววิทยาอาณาบริเวณต่างๆ (Regional Ontologies) ที่ถูกอธิบายโดย Husserl, Hannah Arendt, ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก Karl Jaspers (เช่นเดียวกับ Heidegger), ดูเหมือนจะเป็นนักปรากฏการณ์วิทยาอัตถิภาวนิยมคนแรกหลังจาก Heidegger.

Emmanuel Levinas (*) ในช่วงแรกได้ตีความทั้ง Husserl และ Heidegger พร้อมกันและได้ช่วยนำเสนอปรากฏการณ์วิทยาสู่ฝรั่งเศส. ในช่วงเวลาดังกล่าว มีนักคิดหลายคนประกอบด้วย Gabriel Marcel และได้รับการนำในช่วงทศวรรษที่ 1940s และ 1950s โดย Simone de Beauvoir, Maurice Merleau-Ponty, และ Jean-Paul Sartre. ปรากฏการณ์วิทยาแนวอัตถิภาวนิยม นี้ได้ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับหัวข้อต่างๆ อย่างเช่น การกระทำ, ความขัดแย้ง, ความปรารถนา, ความมีขอบเขตจำกัด(finitude), การกดขี่, และความตาย.

(*)Emmanuel Levinas (born December 30 [O.S. January 12] 1906 in Kovno, Russia (now Kaunas, Lithuania); died December 25, 1995 in Paris, France) was a French philosopher and Talmudic commentator.

Levinas began his philosophical studies at Strasbourg University in 1924, where he began his lifelong friendship with the French philosopher Maurice Blanchot. In 1928, he went to Freiburg University to study phenomenology under Edmund Husserl. At Freiburg he also met Martin Heidegger. Levinas became one of the very first French intellectuals to draw attention to Heidegger and Husserl, by translating Husserl's Cartesian Meditations and by drawing on their ideas in his own philosophy, in works such as his The Theory of Intuition in Husserl's Phenomenology, De l'Existence l'Existant, and En Decouvrant l'existence avec Husserl et Heidegger.

Arendt มีส่วนสนับสนุนเรื่องของทฤษฎีการเมือง และปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับชาติพันธุ์, Beauvoirได้ยกประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเพศสภาพและคนสูงอายุขึ้นมา, Merleau-Ponty ยังคงมีการนำเอาจิตวิทยาเกสเทาท์ (Gestalt Psychology) มาใช้อย่างต่อเนื่อง ในการอธิบายเกี่ยวกับการรับรู้ และเรือนร่างที่ดำรงอยู่ (ร่างที่มีชีวิต), และ Sartreได้มุ่งความสนใจไปในเรื่องอิสรภาพและงานทางวรรณกรรม (ดูเพิ่มเติมที่ http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2544/0009999449.html)

สำหรับแนวคิดของ Sartre "คุณค่าของมนุษย์เป็นความว่างเปล่าโดยตัวมนุษย์มิได้เป็นอะไร แต่ด้วยการปฎิเสธทำให้มนุษย์มีคุณค่าขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดที่ใช้เป็นเครื่องยืนยันคุณค่าของมนุษย์คือเสรีภาพ โดยเฉพาะเสรีภาพของการเลือก วินาทีใดที่มนุษย์ยินยอมให้ผู้อื่นเป็นผู้ใช้เสรีภาพในการเลือกของตน วินาทีนั้นมนุษย์ได้สูญเสียค่าแห่งความเป็นมนุษย์ไปแล้ว ตัวของมนุษย์เองเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนดจุดหมายปลายทางของตนเอง" (ศักดิ์ชัย นิรัญทวี, ปรัชญาเอ็กซิสตองเชียลลิสม์)

Althusserian Structuralism
ลัทธิโครงสร้างนิยมแนวอัลทูแซร์ อาจจะเข้าใจได้ว่าเป็น แนวคิดมาร์กซิสต์เชิงโครงสร้างแบบหนึ่ง ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมาจาก ปรัชญาของมาร์กซิสต์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงสร้างนิยม แนวคิดนี้มีอิทธิพลอยู่ในฝรั่งเศสช่วงปลายปี 1960 ถึง 1970 และยังมีอิทธิพลต่อไปยังนักคิดนักปรัชญา นักทฤษฏีทางการเมืองและนักสังคมวิทยาอีกหลายกลุ่มภายนอกฝรั่งเศสในช่วงปี 1970

นักคิดอีกคนที่น่าจะกล่าวถึงในการพูดถึงแนวคิดมาร์กซิสต์เชิงโครงสร้างคือ นิโคล พอลแลนทีสต์ (Nicos Poulantzas)(*) สำหรับทฤษฏีที่ว่าด้วยรัฐของพอลแลนทีสต์ ถือได้ว่าเป็นทฤษฏีที่มีความขัดแย้งกับแนวคิดของลัทธินิยมมาร์กซิสต์เลยทีเดียว ซึ่งตามมุมมองของกลุ่มมาร์กซิสต์แล้ว รัฐเป็นเครื่องมือซึ่งถูกครอบครองโดยชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง พอลแลนทีสต์ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ เพราะการมองเห็นเฉพาะแต่ชนชั้นนายทุนจะเป็นการมองอย่างจงใจในผลกำไร ที่ได้อย่างแยกส่วนหรือเฉพาะบุคคลในระยะสั้นเท่านั้น แต่ควรจะมองว่าชนชั้นนายทุนนี้ทำอย่างไรที่สามารถดำรงสภาพของการมีอำนาจอยู่ได้ในระยะยาว คือเป็นการปรับขยับขยายอำนาจของรัฐทั้งหมดเพื่อประโยชน์ของชนชั้นของตน

(*)Nicos Poulantzas (1936-1979) was a Greco-French Marxist political sociologist. In the 1970s, Poulantzas was known, along with Louis Althusser, as a leading Structural Marxist and while at first a Leninist, he eventually became a proponent of eurocommunism. He is most well-known for his theoretical work on the state. But he also offered Marxist contributions to the analysis of fascism, social class in the contemporary world, and the collapse of the dictatorships in Southern Europe in the 1970s (e.g. Franco's rule in Spain, Salazar's in Portugal, and Papadopoulos's in Greece).

พอลแลนทีสต์เชื่อว่า ถึงแม้ว่าการดำรงอยู่ของรัฐ มีลักษณะที่อยู่แบบแยกส่วนออกจากชนชั้นนายทุน แต่กลับมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับสังคมทุนนิยม เพราะหน้าที่ของรัฐคือ จะทำให้การดำเนินการต่างๆ ของสังคมทุนนิยมนี้ดำเนินไป และนั่นหมายถึงผลกำไรที่จะตามมาของชนชั้นนายทุน สิ่งที่เขาสนใจ คือระบบที่มีการทำงานแยกส่วน เช่น ในระบบทุนนิยมสามารถดำรงอยู่ร่วมกับเสถียรภาพของสังคมเพียงพอที่จะผลิตตัวมัน (ระบบทุนนิยม) ซ้ำขึ้นมาได้อย่างไร
(ดูเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Nicos_Poulantzas)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เริ่มเรื่อง

หลักวิภาษวิธีได้กลับเข้ามาสู่ระเบียบวาระของมัน แต่มันไม่ได้เป็นหลักวิภาษวิธีในเชิงมาร์กซิสต์ อีกต่อไป เช่นเดียวกับที่หลักวิภาษวิธีของมาร์กซ์ก็ไม่ได้เป็นหลักวิภาษวิธีของเฮเกล… สำหรับหลักวิภาษวิธีในวันนี้ มันไม่ได้อิงอยู่กับเนื้อหาทางประวัติศาสตร์และเวลาทางประวัติศาสตร์ หรือแม้กระทั่งกลไกทางช่วงเวลาที่ตั้งอยู่บนหลักการ "แนวคิด-การต่อต้านแนวคิด-การสังเคราะห์แนวคิด" (Thesis-Antithesis-Synthesis) หรือ "การยืนยัน-การปฎิเสธ-การปฎิเสธของปฎิเสธ" (Affirmation-Negation-Negation of the Negation)…เพื่อที่จะรับรู้ถึงพื้นที่ (ที่ว่าง) เพื่อที่จะรับรู้ได้ว่ามีอะไรเข้ามา "แทนที่" หรืออะไรที่ถูกนำมาใช้ มันคือการยอมรับเอาหลักวิภาษวิธี หลักการของการวิเคราะห์จะเปิดเผยให้เห็นถึงความขัดแย้งกันอย่างมากมายบนเรื่องราวของพื้นที่ (ที่ว่าง) (*)

เลอแฟร์ (Lefebvre), 1976, หน้า 14 และ 17

(*)ในบทความนี้ผู้แปลจะแปลคำว่า "Space" โดยใช้คำว่า "พื้นที่(ที่ว่าง)" เนื่องจากเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ "Space" ที่ผู้เขียนแปลนั้น มาจากความเลื่อนไหลทางนัยยะระหว่าง ความหมายในเชิงกายภาพ หรือที่เรียกว่า "พื้นที่" หรือ "ตำแหน่งที่ตั้ง" แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความหมายในเชิงนามธรรม หรือที่เรียกว่า "ที่ว่าง" เมื่อผู้เขียนอ้างถึง ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ทางสังคม ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการกระจายและการแลกเปลี่ยนสินค้า "ความเป็นพื้นที่" ดังกล่าวเป็นการอ้างถึง พื้นที่ในเชิงนามธรรมที่สามารถรับรู้ได้ แต่อาจจะไม่มีอยู่จริง อาจจะอยู่ในจิตสำนึกและความรู้สึก หรือแม้กระทั่งอยู่ในสถานะของ "ภาพตัวแทนของพื้นที่" (Representations of Space) ดังนั้นถ้าในตำแหน่งการแปลจุดใดที่ผู้แปลมีความเห็นว่า ผู้เขียนมีความเฉพาะเจาะจงในการใช้ความหมาย เพียงอย่างเดียว จะระบุคำแปลโดยปราศจากความหมายที่ซ้อนอยู่ในวงเล็บอย่างชัดเจน

วาทกรรมของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ (Modern Geography) และลัทธิมาร์กซิสต์
วาทกรรมของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ (Modern Geography) และลัทธิมาร์กซิสต์ตะวันตก (Western Marxism) แทบจะไม่มีทางเดินที่เชื่อมโยงซ้อนทับกันภายหลังจากช่วงเวลาแห่งการขยายองค์ความรู้ในแนวทางของตัวเองในศตวรรษที่ 19 ภูมิศาสตร์แยกตัวเองออกมาประหนึ่งว่าอยู่แต่ในที่เพียงเกาะเล็กๆ ของตัวเอง ก่อสร้างบ้านสำหรับเก็บของ เพื่อเก็บความรู้ของตัวเองซึ่งนานๆ ครั้งที่ความรู้เหล่านั้นจะได้นำไปเล่าสู่กันฟังในที่สาธารณะ

ในขณะเดียวกันลัทธิมาร์กซิสต์ ซ่อนภูมิศาสตร์จินตนาการภายในห้องใต้หลังคาของโครงสร้างที่เหนือกว่าเพื่อที่จะคอยดักเก็บฝุ่นที่เกิดขึ้นจากการถูกละเลยและความทรงจำที่ถูกทำให้เจ็ดปวดบางอย่าง มีเพียงแต่ในฝรั่งเศส ดังที่เราได้เห็น มีการเกิดขึ้นทางวาทกรรมทางพื้นที่ (Spatial Discourse) ซึ่งสามารถอยู่รอดท่ามกลางศตวรรษที่ไม่ได้สนใจเรื่องราวในเชิงพื้นที่ การที่ทำให้คงอยู่เอาตัวรอดของการถกเถียงนี้ แทบจะไม่มีอยู่เลยในที่อื่นๆ ที่ซึ่งไม่ใช่กลุ่มลัทธิมาร์กซิสต์ ละตินตะวันตก

ภูมิศาสตร์ในเชิงมาร์กซิสต์ (จาก 1970s - 1980s)
ในช่วงต้นๆ ของปี 1970 การปรับเปลี่ยนทิศทางและก่อร่างขึ้นของภูมิศาสตร์ในเชิงมาร์กซิสต์ เริ่มก่อตัวขึ้นจากความสับสนของการที่นำเอาหลักทฤษฏีและเครื่องมือของมาร์กซิสต์ตะวันตก เข้าไปใช้ในพื้นที่ความรู้ของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ในกลุ่มชาติตะวันตก มันก่อให้เกิดการเริ่มต้นของการมองพื้นที่ภูมิศาสตร์ของมนุษย์ในเชิงวิพากษ์ ซึ่งถือว่าเป็นการก่อให้เกิดการตอบโต้ต่อวิธีการคาดการณ์และการใช้แนวคิดของการลดทอนเชิงทฤษฏีจากลัทธิประจักษ์นิยมที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่มาจากกลุ่มการวิเคราะห์เชิงภูมิศาสตร์กระแสหลัก

ถึงแม้ว่าสิ่งที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นของภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ จะเป็นไปในลักษณะการมองกลับ ยังไม่มีความมั่นคงในเชิงวิพากษ์ และยังไม่เป็นที่สังเกตภายนอกระเบียบวาทกรรมของตัวเอง มันกลับสั่นคลอนพื้นฐานความคิดของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ และก่อให้เกิดการโต้แย้งซึ่งน่าจะก่อให้เกิดการขยายผลไปสู่ภายนอกระเบียบและขอบเขตที่จำกัดของตัวเอง

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาของยุค 1970 ภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ ยังคงอยู่ในความเป็นชายขอบของลัทธิมาร์กซิสต์ตะวันตก ก่อร่างอย่างเต็มที่บนความคิดที่เกิดขึ้นจากด้านเดียว นั่นคือความพยายามก่อให้เกิดกระบวนการมองและวิเคราะห์ในเชิงมาร์กซิสต์ (Marxification) ให้เพิ่มมากขึ้นต่อการวิเคราะห์และคำอธิบายทางภูมิศาสตร์

ภายหลังปี 1980 การเชื่อมโยงกันระหว่างภูมิศาสตร์สมัยใหม่และลัทธิมาร์กซิสต์ตะวันตกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด และอิทธิพลทางความคิดดังกล่าวก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ไปทั้งสองทิศทางอย่างช้าๆ ดังที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษต่อมา การโต้แย้งกันในเชิงวิพากษ์ที่มีความกว้างไกลกว่า และที่มีความลึกกว่าที่ตั้งอยู่บนการปรับใช้ทฤษฏีดังกล่าว ด้วยพื้นที่ของการใช้ชีวิตในสังคม กำลังยื่นแขนออกไปเชื่อมโยงและท้าทายกับลัทธิมาร์กซิสต์ตะวันตก ที่มีความมั่นคงในการพื้นฐานความคิด และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ในกระตุ้นให้เกิดการคิดทบทวนแนวคิดและโครงสร้างสถาบันของภูมิศาสตร์สมัยใหม่เช่นกัน

ลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์-เชิงภูมิศาสตร์
หนึ่งในการโต้แย้งเชิงวิพากษ์ที่มีความชัดเจนและมีจุดมุ่งหมายเฉพาะเจาะจงคือ การเรียกร้องให้นำกลับมายังความเป็นพื้นที่ของลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์ (the assertion of a profoundly spatialized historical materialism) ดังเช่นที่ เดวิด ฮาวี่ (David Harvey)(*), ผู้ซึ่งถือได้ว่าเป็นคนที่มีความสำคัญมากในการพัฒนาแนวคิดภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ตั้งแต่เริ่มต้น, ได้กล่าวเอาไว้ "ความเป็นประวัติศาสตร์ของภูมิศาสตร์ของลัทธิทุนนิยม จะต้องเป็นสิ่งที่ถูกเรานำมาคิดวิเคราะห์ ลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์ - เชิงภูมิศาสตร์ จะเป็นเครื่องมือในการค้นหาความจริงของเรา" (1985, 144)

(*)David Harvey (born 1935) is the Distinguished Professor of Anthropology at the Graduate Center of the City University of New York (CUNY). A leading social theorist of international standing, he graduated from University of Cambridge with a PhD in Geography in 1961. He is the world's most cited academic geographer (according to Andrew Bodman, see Transactions of the IBG, 1991,1992), and the author of many books and essays that have been prominent in the development of modern geography as a discipline. His work has contributed greatly to broad social and political debate, most recently he has been credited with helping to bring back social class and Marxist methods as serious methodological tools in the critique of global capitalism, particularly in its neoliberal form.

สิ่งที่เรียกว่าลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์-เชิงภูมิศาสตร์นี้ เป็นมากกว่าเพียงร่องรอยของการค้นหาความจริงเชิงประจักษ์บนพื้นที่หรือจากคำอธิบายของข้อแม้ต่างๆ บนพื้นที่ และข้อจำกัดในการกระทำเชิงสังคมในช่วงเวลาต่างๆ แต่มันกำลังเรียกร้องให้เกิดการคิดใหม่ของทฤษฏีสังคมเชิงวิพากษ์ทุกส่วน โดยเฉพาะในลัทธิมาร์กซิสต์ตะวันตก และในหลายๆ แง่มุมที่ส่งผลให้เรามอง คิด และตีความ ไม่เพียงแต่เรื่องราวของพื้นที่ แต่มันเกี่ยวโยงกันไปทั้งหมดทั้งระบบความสัมพันธ์ระหว่าง พื้นที่ เวลา และความเป็นคนในสังคม ซึ่งอยู่ในระดับที่เป็นแนวคิดเป็นนามธรรม ดังเช่นที่เลอแฟร์ได้พูดเอาไว้และบทความนี้หยิบยกมาข้างต้น มันเป็นการเชื้อเชิญให้เกิดการ "เริ่มต้นใหม่ของหลักวิภาษวิธี" บนขอบเขตของการตีความใหม่

แต่มันมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นตั้งแต่ในปี 1980 คู่ขนานไปกับการเกิดขึ้นของลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นมาจากภายในภูมิศาสตร์แบบมาร์กซิสต์ ในลำดับแรกสิ่งที่เกิดขึ้นคือเป็นคำโต้แย้งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ถึงการคิดทบทวนทฤษฏีที่ว่าด้วยพื้นที่และเวลา ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ไม่เพียงแค่ในทฤษฏีทางสังคมศาสตร์แต่ยังกินพื้นที่กว้างออกไปถึงขอบเขตของวาทกรรมวิจารณ์ในด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ภาพยนตร์ วัฒนธรรมร่วมสมัย และการเมืองในความเป็นร่วมสมัย. ทุกวันนี้คำโต้แย้งดังกล่าวได้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น กว้างออกไปมากกว่าพื้นที่ของภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ และคำโต้แย้งดังกล่าวยังทำให้เกิดการรวมตัวกันของนักคิดแขนงต่างๆ ที่ไม่สามารถจำกัดอยู่เพียงแต่ป้ายของ "นักภูมิศาสตร์" และ "ผู้นิยมในแนวคิดมาร์กซิสต์" เท่านั้น

ในช่วงเวลาเดียวกัน มันมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นที่ว่าการนำเอาความสำคัญทางพื้นที่(หรือที่ว่าง)เข้ามาสู่เนื้อหาทางลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์ และเข้ามาสู่กรอบการทำงานที่กว้างขึ้นของทฤษฏีในเชิงวิพากษ์นั้นไม่เป็นเพียงแค่การปรับตัวและการปรับใช้อย่างต่อเนื่องเท่านั้น แต่ทว่ามันถือได้ว่าเป็นการนำเอาสิ่งใหม่หรือโครงสร้างแนวคิดอันใหม่นำเข้าไปท้าทายแนวคิดเก่า และเรื่องเล่าของผู้ทรงอำนาจที่ไม่สามารถโต้แย้งได้

ทฤษฏีเชิงวิพากษ์และลัทธิมาร์กซิสต์ตะวันตก ได้ถูกทำให้เงียบมานาน สำหรับการที่จะพูดถึงความสำคัญทางพื้นที่ และการผนวกเอามิติทางพื้นที่กลับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนทัศน์ซึ่ง การกระทำดังกล่าวไม่สามารถจะเป็นไปได้ ถ้าไม่มีการก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนพื้นฐานของการตีความและแนวทางที่ก่อร่างสร้างตัวมาอย่างดีและยาวนาน โดยเฉพาะเหล่าผู้ซึ่งมีความเกี่ยวผันกับความคิดพื้นฐานที่มองแยกกันระหว่างประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ ในการอธิบายและในการวิพากษ์วิจารณ์ ในความคล้ายคลึงกัน

สำหรับภูมิศาสตร์สมัยใหม่แล้วก็เก็บตัวและอยู่ในขอบเขตของตัวเองเป็นเวลานาน โดยเฉพาะขอบเขตที่เกี่ยวกับโครงสร้างการประกอบสร้างของทฤษฏีวิพากษ์สังคมศาสตร์ และถูกกักขังเอาไว้ในคำจำกัดความของตัวเองที่ให้เอาไว้กับคำว่า"ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์" จึงทำให้ไม่สามารถปรับตัวเพื่อรองรับการนำเอาความสำคัญทางพื้นที่ย้อนกลับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนทัศน์ของตัวเอง โดยที่ไม่เกิดการรื้อสร้างและสร้างใหม่

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเผชิญหน้าและการบูรณาการองค์ความรู้ของทั้งสองศาสตร์ที่ดูเหมือนว่าจะมีความล่าช้าเป็นอย่างมากระหว่างภูมิศาสตร์สมัยใหม่และลัทธิมาร์กซิสต์ตะวันตก ในปัจจุบันนี้กลายเป็นการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน ดังนั้นมันจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมากที่จะต้องทำการค้นหารากเหง้าและการพัฒนาการของศาสตร์ที่ชื่อว่า ภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ และเคลื่อนการสืบค้นไปตามทางที่ค้นพบซึ่งจะทำให้เราไปรู้จักลัทธิที่เรียกว่า "ลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์" และเปิดขอบเขตของเราไปสู่คำโต้แย้งในเชิงวิพากษ์ที่ก่อตัวขึ้นจากการจุดประกายของความเป็นหลังสมัยใหม่ ในแนวคิดและทฤษฏีทางพื้นที่ (ที่ว่าง)

การค้นหารากเหง้า : ความสำคัญทางพื้นที่ในแนวมาร์กซิสต์ฝรั่งเศส
ภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษและพัฒนาตัวเองออกจากความปั่นป่วนในช่วงปี 1960 ซึ่งดูเหมือนว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวศาสตร์ต่างๆ ในสายวิทยาศาสตร์สังคมกำลังสงบนิ่งเพื่อกำลังรอการปลุกให้ตื่นขึ้นมาใหม่ในขอบข่ายของการวิพากษ์ แต่สำหรับแนวคิดของภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์โดยส่วนใหญ่แล้ว จะเกิดขึ้นภายในประเทศที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก และสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นศูนย์กลางที่เฉพาะเจาะจงโดยมีนัยยะที่ว่า ที่ว่างย้อนกลับมาได้รับความสนใจท่ามกลางนักคิดชาติฝรั่งเศสอีกครั้งในศตวรรษที่20 สำหรับคำอธิบายบางส่วนที่เกี่ยวกับความเป็นศูนย์กลางที่เฉพาะเจาะจงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางฝ่ายซ้ายจะสามารถพบได้ในประวัติศาสตร์ของลัทธิมาร์กซิสต์ฝรั่งเศส

ลัทธิมาร์กซิสต์ในฝรั่งเศสนั้น ค่อนข้างที่จะมีความล่าช้าในการพัฒนาแนวคิดเมื่อเปรียบเทียบกับอังกฤษ เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นเพราะมรดกทางปัญญาที่ตกทอดต่อๆ กันมาของนักคิดนักสังคมนิยมชาวฝรั่งเศส ซึ่งมีความต่อเนื่องของการนำเสนอแนวคิดที่น่าสนใจและมีความเที่ยงแท้ต่อเนื้อหาทางการเมืองให้แก่กลุ่มฝ่ายซ้ายในช่วงศตวรรษที่ 20. เมื่อแนวคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ฝรั่งเศสได้มีการแผ่ขยายโดยอาศัยปัจจัยของความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับสภาวะตึงเครียดของเศรษฐกิจโลกในช่วงปี 1920 และ 1930 แนวคิดดังกล่าวจึงถูกปรับแต่งโดยปัจจัยเฉพาะเจาะจงในความเป็นท้องถิ่นตรงนั้น

ยกตัวอย่างเช่น มันถูกสร้างขึ้นบนมรดกทางการเมือง และบนพื้นฐานของทฤษฏีสังคมศาสตร์ที่สั่งสมมาตั้งแต่ Saint Simon, Fourier and Proudhon และนักภูมิศาสตร์เชิงปฎิวัติ (Anarchist Geographer) Kropotkin and Reclus ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสั่งสมความละเอียดอ่อนและความสำคัญอย่างต่อเนื่องบนเนื้อหาทางการเมืองของพื้นที่ และบนแนวคิดทางขอบเขตในลัทธิความเป็นชุมชน (territorially-based communalism) ยุทธศาสตร์ทางการเมืองของนักคิดที่นิยมความเป็นยูโทเปีย และนักสังคมที่นิยมการปลดปล่อย เหล่านี้เกิดขึ้นท่ามกลางความต้องการที่จะเข้าใจและเปิดโปง การควบคุมทางสังคมที่เข้ามาครอบคลุมผลผลิตของพื้นที่ (ที่ว่าง) (to recapture social control over the production of space) จากการขยายตัวของลัทธิทุนนิยม การเพิ่มขึ้นและการปรับใช้พื้นที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุน

ลัทธิมาร์กซิสต์ฝรั่งเศสกับความสำคัญเรื่องพื้นที่
ลัทธิมาร์กซิสต์ฝรั่งเศสเติบโตขึ้นมาด้วยแนวคิดที่มีอคติต่อความสำคัญทางพื้นที่ไม่มากนัก ซึ่งนั่นจึงทำให้เกิดการสั่งสมและเพาะบ่มแนวคิดลัทธิมาร์กซิสต์ในชาติฝรั่งเศสนี้ให้มีความ "ก้าวหน้า" ไปกว่าประเทศอุตสาหกรรมในตะวันตกชาติอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ของการปฎิเสธความสำคัญทางพื้นที่เกิดขึ้นมาจากแนวคิดของมาร์กซ์เรื่อง "ความย้อนแย้งทวิภาค" (Double Inversion) ของเฮเกล ในการใช้หลักวิภาษวิธีของเฮเกลในการมองและอธิบายชีวิตเชิงวัตถุ. มาร์กซ์ไม่เพียงแต่ตอบสนองต่อลัทธิที่นิยมอุดมการณ์ของเฮเกล นั่นคือปฎิเสธการเดินทางของจิตและวิญญาณและการกำหนดประวัติศาสตร์ เขายังปฎิเสธความเฉพาะเจาะจงในเชิงรูปทรงของมัน เช่น การกำหนดความเป็นรัฐโดยใช้ขอบเขตของพื้นที่ หรือการเคลื่อนตัวทางจิตและวิญญาณของประวัติศาสตร์

(In grounding the Hegelian dialectic in material life, Marx not only responded to Hegelian Idealism, denying the spiritual navigation and determination of history, he also rejected its particularized spatial form, the territorially defined state, as history's principal spiritual vehicle.)

การยืนอยู่บนจุดยืนโดยใช้ "หลักวิภาษวิธีของเฮเกล" เป็นเสมือนการปฎิเสธทั้งลัทธิอุดมคติ และการปฎิเสธอย่างเฉพาะเจาะจงถึงความเชื่อที่มีความหลงไหลในเชิงขอบเขตและพื้นที่ (Territorial and Spatial Fetishism), เป็นการตีความที่มองถึงความเป็นประวัติศาสตร์ ที่ถูกกำหนดสร้างโดยสำนึกเชิงพื้นที่ในฐานะที่เป็นการระบุถึง เนื้อหาเกี่ยวกับรัฐ, ลัทธิชาตินิยมเชิงวัฒนธรรม (Cultural Nationalism), ลัทธิภูมิภาคนิยม (Regionalism), หรือลัทธินิยมชุมชนท้องถิ่น (Local Communalism).

ในหลักวิภาษวิธีของมาร์ก การปฎิวัติทางด้านเวลาได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเกิดจากแรงขับเคลื่อนของสำนึกในความเป็นชนชั้นและความอึดอัดคับข้องใจในความเป็นชนชั้น ได้ทำให้เกิดการปลดเปลื้องความลึกลับประหลาดใจทั้งหมดที่เกี่ยวกับพื้นที่ การย้อนกลับของมาร์กซิสต์ได้ถูกนำมาใช้เพื่อที่จะกำจัดอิทธิพลของแนวคิดของเฮเกลในช่วงรอยต่อของศตวรรษ แม้กระทั่งในเยอรมัน และในพื้นที่ที่ต้องห้ามสำหรับพื้นฐานทางทฤษฏีและแนวคิดทางการเมืองในการปฎิเสธแนวคิดที่ให้ความสำคัญทางพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกๆ ของการแผ่ขยายแนวคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ในฝรั่งเศสนั้น ในเวลาที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกันกับการฟื้นคืนของลัทธินิยมเฮเกล สิ่งที่การแผ่ขยายในครั้งนี้ที่นำมาด้วยคือ การตัดแยกออกในสิ่งที่เป็นความอ่อนไหวต่อความสำคัญทางพื้นที่ในชีวิตทางสังคมได้มีสัดส่วนที่น้อยลง

มันดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องธรรมดาในการอ้างว่า ลัทธินิยมมาร์กซิสต์ในฝรั่งเศสเกิดมีการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งไปสู่มุมมองที่ให้ความสำคัญต่อพื้นที่ และการคิดทบทวนเนื้อหาทางทฤษฏีมากกว่าลัทธินิยมมาร์กซิสต์ในประเทศอื่นๆ ในช่วงศตวรรษที่ 20. ความคิดเชิงวิพากษ์ในฝรั่งเศสไม่ว่าจะมาจากพื้นฐานอะไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะเป็นการต่อยอดสร้างความต่อเนื่องของวาทกรรมที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ เริ่มจากการเคลื่อนไหวของลัทธินิยมรูปทรงพื้นฐานทางเรขาคณิต (คิวบิสก์) และลัทธินิยมความเหนือจริง ไปสู่ความสัมพันธ์แบบคู่ตรงข้ามระหว่างโครงสร้างนิยมแนวอัสทูเซียน (Althusserian Structuralism) และลัทธิอัตถิภาวนิยมแนวซาร์ตเทียน (Sartrean Existentialism) ไปสู่แนวคิดและข้อโต้แย้งของกลุ่มหลังโครงสร้างนิยมและหลังสมัยใหม่นิยม แต่แนวคิดที่ให้ความสำคัญต่อจินตนาการในเชิงภูมิศาสตร์เหล่านี้กลับไม่สามารถที่จะเดินทางแผ่ขยายได้ดีนักเนื่องจากข้อจำกัดทางภาษา ซึ่งรวมทั้งกลุ่มที่ตั้งอยู่บนแนวคิดเชิงวิพากษ์ของฝรั่งเศส จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ข้อโต้แย้งทางทฤษฏีที่ว่าด้วยพื้นที่ (ที่ว่าง) ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส แทบจะไม่สามารถฝ่าทะลุเกราะกำบังที่แน่นหนาของกลุ่มอื่นๆ ไปได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ลัทธิมาร์กซิสต์ที่ไม่ใช่พื้นฐานของละติน (Non-Latin Marxism) และบ่อยครั้งถูกละเลยไม่กล่าวถึงทฤษฏีดังกล่าวเลยในการเขียนประวัติศาสตร์ลัทธิมาร์กซิสต์ของกลุ่มแองโกอเมริกัน (Anglo-American)

ฮองรี เลอแฟร์ (Henri Lefebvre)
ประวัติศาสตร์ที่ว่าด้วยทฤษฏีทางพื้นที่ (ที่ว่าง) ที่ถูกซ่อนเร้น มันเป็นภาพที่ชัดเจนที่สุดในการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นและการนำกลับเข้ามาสู่จุดสนใจบนการทำงานของ ฮองรี เลอแฟร์ (Henri Lefebvre) (*) ผู้ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 (วันเกิดของเขาโดยทั่วไปเข้าใจว่าเป็นปี 1901) ไปสู่อีกหนึ่งศตวรรษ

(*)Lefebvre has dedicated a great deal of his philosophical writings to understanding the importance of (the production of) space in what he called the reproduction of social relations of production (idea which is the central argument in the book The Survival of Capitalism, written as a sort of prelude to The Production of Space). These works have deeply influenced current urban theory, mainly within human geography, as seen in the current work of authors such as David Harvey and Edward Soja. Lefebvre is widely recognized as a Marxist thinker who was responsible for widening considerably the scope of Marxist theory, embracing everyday life and the contemporary meanings and implications of the ever expanding reach of the urban in the western world throughout the 20th century. The generalization of industry, and its relation to cities (which is treated in La pens?e marxiste et la ville), The Right to the City and The Urban Revolution were all themes of Lefebvre's writings in the late 1960s, which was concerned, amongst other aspects, with the deep transformation of "the city" into "the urban" which culminated in its omni-presence (the "complete urbanization of society").

บางทีเราอาจจะพูดได้ว่าเลอแฟร์ เป็นผู้ซึ่งทรงอิทธิพลที่สุดที่ได้ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดและทฤษฎีของมาร์กซิสต์ในฝรั่งเศส และรวมถึงปรัชญาตั้งแต่ในช่วงต้นปี 1930 ไปสู่อย่างน้อยปลายปี 1950. หลังจากปี 1950 ความคิดของเขาเป็นความคิดที่ทรงอิทธิพลที่สุด สำหรับกลุ่มนักทฤษฎีที่คิดเกี่ยวกับพื้นที่ (ที่ว่าง) (Spatial Theoretician) โดยเฉพาะในลัทธินิยมมาร์กซิสต์ตะวันตก และเป็นคนที่มีความสำคัญมากที่สุดในการนำกลับมาซึ่งความสำคัญของพื้นที่ (ที่ว่าง) ในทฤษฏีวิพากษ์ทางสังคม และในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้ ความสำคัญของเขาได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และชื่นชมท่ามกลางวัฒนธรรมของกลุ่มที่นิยมแนวคิดมาร์กซิสต์ในโลกที่พูดภาษาอังกฤษ

แนวคิดแบบเฮเกลถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ครอบงำความคิดที่เกี่ยวกับลัทธิมาร์กซิสต์ของเลอแฟร์ในยุคแรกๆ เมื่อเขาได้ร่วมงานกับเพื่อนของเขา นอร์เบิร์ต กัตเตอร์แมน (Norbert Guterman). เลอแฟร์ได้ตีพิมพ์ผลงานของเขาเกี่ยวกับแนวคิดหลักทางเศรษฐกิจและปรัชญาต่างๆ ตามมุมมองของมาร์กซ์ที่เขียนขึ้นในปี 1844 เป็นภาษาฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก และการรวบรวมบทประพันธ์ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยความคิดความเห็นและการกล่าวถึงอย่างเข้มข้นจากบรรณาธิการ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการแนะนำงานของมาร์กซ์ เองเกล และรวมถึงงานของงาน "บันทึกปรัชญา" ของเลนินให้กับผู้ฟังชาวฝรั่งเศส ต่อมาเป็นงานเขียนเกี่ยวกับความประทับใจและความชื่นชมของเลนินที่มีต่อเฮเกล สำหรับการแปลงานเขียนต่างๆ ของเลอแฟร์นั้น ถือได้ว่าเป็นการอุทิศที่สำคัญต่อการย้อนคืนของแนวคิดแบบเฮเกล

ในการคลี่คลายความคิดของเขาที่ส่วนสัมพันธ์กับเฮเกล-มาร์กซ์นั้น เลอแฟร์ได้ค้นหาวิธีที่จะกำหนดสร้างจุดยืนของตัวเองสำหรับ "ลัทธิวัตถุนิยมอุดมคติ" (Objective Idealism) ซึ่งอยู่ภายในตรรกะของหลักวัตถุนิยมวิภาษวิธี (Materialist Dialectic) เพื่อที่จะสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งในความคิดและในจิตสำนึก และรวมถึงความขัดแย้งในโลกวัตถุและในประวัติศาสตร์ La Conscience Mystifiee (ความลึกลับของมโนสำนึกในการมีสำนึกผิดชอบชั่วดี) เป็นชื่อหนังสือของเลอแฟร์ในยุคต้นๆ ซึ่งกลายเป็นแนวทางในการทำงานของเลอแฟร์และนักเขียนแนวมาร์กซิสต์ฝรั่งเศสอีกหลายคน

เลอแฟร์ยอมรับอย่างเปิดเผยถึงการโต้แย้งของมาร์กซ์ ที่เกี่ยวกับชีวิตด้านที่มีความเกี่ยวข้องต่อความเป็นวัตถุ (Material Life) ในผลผลิตของความคิดสติปัญญาและการกระทำ ซึ่งมีแนวคิดที่ว่า "สัตว์สังคมมีการผลิตสติปัญญาและจิตสำนึก มากกว่าที่จะย้อนแย้งและต่อต้านกับมัน" แต่ในขณะเดียวกันเลอแฟร์ปฎิเสธที่จะลดทอนความคิดและจิตสำนึกของคนที่มีลงมาให้เหลือเพียงเป็นกลไกของการก่อรูปทางความคิด แนวคิดนี้เป็นสิ่งที่พบเห็นได้จากการที่ความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นระหว่างเลอแฟร์กับการเคลื่อนไหวของกลุ่มเหนือจริงในฝรั่งเศส และโดยเฉพาะอิทธิผลของลัทธิอัตถิภาวนิยมในช่วงแรกๆ ของชีวิตของเขา (Existentialism) แนวคิดต่างๆ เหล่านี้ดูเหมือนว่าจะมีอิทธิพลในการปลุกเร้าให้การปะทะสังสรรค์ทางความคิดระหว่างกลุ่มของฝรั่งเศส และกลุ่มแนวคิดที่มาจากสำนักแฟรงท์เฟิร์ต (Frankfurt School) ในสถานการณ์คล้ายๆ กับการปะทะกันในช่วงเวลาสงครามกลางเมืองฝรั่งเศสทีเดียว

ถ้าจะกล่าวถึงสิ่งที่คล้ายกันหรือเป็นระบบที่ต่อเนื่องกัน เกี่ยวกับการทำงานของเลอแฟร์ในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา คงจะต้องกล่าวว่า เลอแฟร์ใช้วิธีการรต่อต้านกฎระเบียบที่เกิดขึ้นจากลัทธินิยมการลดทอนในการตีความงานของมาร์กซ์ เขาโต้แย้งเพื่อชี้ให้เห็นถึงมุมมองที่แตกต่างภายในงานของมาร์กซ์ ซึ่งมีความยืดหยุ่น เปิดกว้าง และสามารถปรับใช้ในแนวคิดมาร์กซิสต์เพื่อก่อให้เกิดการเติบโตและการปรับเปลี่ยนตัวเองโดยที่ไม่มีการตัดหรือแยกส่วนต่างๆ ออกไป ในแนวทางที่ต่อต้านลัทธินิยมการลดทอนได้ทำให้เขากลายเป็นนักวิจารณ์แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจของสตาลินที่ทรงอิทธิพลที่สุด โดยเฉพาะจากงานเขียนและงานแปลของเขา Le Materialisme dialectique ปีที่พิมพ์แรกเริ่มในปี 1939 (สำหรับฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษปี 1968) ถือได้ว่าเป็นงานเขียนที่นำไปสู่การเปิดตัวลัทธิมาร์กซ์ฉบับที่มีคนอ่านมากที่สุด ในช่วงต่อมาทั้งแนวคิดลัทธิอัตถิภาวะนิยม และลัทธิโครงสร้างนิยม (1971) ก็ได้รับอิทธิพลจากการวิจารณ์ของเลอแฟร์ โดยเฉพาะการวิจารณ์งานในช่วงต้นๆ ของ ซาร์ต (Sartre) และช่วงรุ่งเรืองของ อัลทูแซร์ (Althusser) การวิจารณ์นี้ แน่นอนว่า มุ่งประเด็นไปที่สภาวะอันตรายของการกระบวนการที่ทำให้เกิดการลดทอน

ในการมุ่งแสวงหาแนวทางในการผสมผสานหลักวิภาษวิธี ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งของความคิดและการเป็นอยู่ จิตสำนึก และชีวิตทางวัตถุ โครงสร้างส่วนบน และเศรษฐกิจพื้นฐาน ความเป็นวัตถุวิสัย และความเป็นอัตวิสัย การมุ่งแสวงหาแนวทางเหล่านี้ เลอแฟร์ไม่ได้ทำอยู่คนเดียว แต่เขาถือได้ว่าเป็นคนแรกที่พยายามที่จะสร้างแนวทางของการผสมผสานจุดแข็งและจุดอ่อนของแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาแนวอัตถิภาวะนิยม และโครงสร้างนิยมแนวอัลทูแซร์เข้าด้วยกัน โดยตรรกะทางหลักวิภาษวิธี ซึ่งเขามองว่าทั้งสองแนวทางนี้เป็นการเคลื่อนไหวทางปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ของศตวรรษที่ 20 ที่จะส่งผลให้เกิดโอกาสในการพัฒนาและปรับปรุงต่อแนวคิดลัทธิมาร์กซ์ได้ (และแน่นอน ในขณะเดียวกันก็เป็นการตัดส่วนทฤษฏีบางอย่างที่ขาดการปรับตัวออกไป) ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา เลอแฟร์ได้เข้าไปสู่การเคลื่อนไหวเหล่านี้ ซึ่งเป็นความพยายามในการปรับบริบทของลัทธิมาร์กซ์ทั้งในด้านทฤษฏีและปฎิบัติ และในการปรับเปลี่ยนเชิงบริบทนี้เอง เป็นที่ที่เราสามารถค้นพบวัตถุดิบหลายๆ อย่างในการตีความเชิงวัตถุสำหรับความสำคัญเรื่องพื้นที่ และนำไปสู่การพัฒนาภูมิศาสตร์แนวมาร์กซิสต์และลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์

การทำการสรุปทฤษฏีที่ว่าด้วยพื้นที่ (ที่ว่าง) ของเลอแฟร์ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ง่ายนัก เพราะแนวคิดทั้งหมดได้มีการผสมผสานอยู่ในเนื้อหาการเขียนของเขาจำนวนมาก ซึ่งคาบเกี่ยวกับแนวคิดทางด้านทฤษฏีสังคมวิทยาและปรัชญา เมื่อพยายามค้นหาถึงจุดกำเนิดของความสนใจในเนื้อหาของพื้นที่ (ที่ว่าง) ของเขานั้น เลอแฟร์ชี้ไปยังอิทธิพลที่เขาได้รับจากบ้านเกิดในฐานะชาวโอคเทเนียน (Occitanian) (*) และเกิดจากการที่เขามักกลับไปเยี่ยมบ้าน เพื่อที่จะทำการสังเกตการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ซึ่งเกิดขึ้นในชนบทและการดำรงชีพของชาวชนบทภายใต้กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่รัฐเข้ามาจัดการในการใช้พื้นที่ กระบวนการคิดการสร้างทฤษฏีของเขานั้น เกิดขึ้นผ่านกระบวนการที่เรียกว่า "การประมาณการ" (Approximations) จากทฤษฏีหลัก มากกว่าการเลื่อนไหลทางทฤษฏีที่คนอื่นๆ ซึ่งติดตามงานของเขาและนักวิจารณ์มักจะเข้าใจกัน

(*) ผู้แปล: เป็นพื้นที่ซึ่งตั้งอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มหาสมุทรแอตแลนติก เทือกเขาแมซซีพกลางทางใต้ของฝรั่งเศส เทือกเขาไพลินี ระหว่างฝรั่งเศสและสเปน และเทือกเขาแอลป์

"การประมาณการ" เดิมทีเดียวเกิดขึ้นในงาน A Critique de la vie quotidienne เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันในสังคมโลกสมัยใหม่ (1946, 1961, 1968) และมีความเข้มข้นมากขึ้นในข้อโต้แย้งของเขาในเรื่อง La Conscience mystifiee (ซึ่งมีการอ้างถึงงานเขียนของบรูเดล [Braudel] ที่เกี่ยวกับโครงสร้างของชีวิตประจำวันและจิต) สิ่งที่เลอแฟร์มุ่งให้ความสนใจคือ เนื้อหาและลักษณะของระบบทุนนิยมสมัยใหม่ ที่มีความแข็งแกร่งมากขึ้นในช่วงของการเปลี่ยนศตวรรษ ซึ่งเลอแฟร์เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่า "สังคมในระบบราชการในการควบคุมการบริโภค" ที่ถูกควบคุมโดยรัฐทุนนิยม ในนัยยะที่ถูกใช้ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า "การจัดการเชิงพื้นที่" ซึ่งเป็นการทะลุเข้าไปในขั้นของการปฎิบัติในชีวิตประจำวัน. และเมื่องานของเลอแฟร์เป็นที่รู้จักของบรรดามาร์กซิสต์ตะวันตก โดยส่วนใหญ่แล้วงานของเลอแฟร์ได้ถูกจดจำในฐานะเครื่องมือนวัตกรรมของการประมาณการชิ้นแรก

เมื่อเข้าสู่ช่วงเวลาโครงการไตรภาคของเขาที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันเสร็จสมบูรณ์ เลอแฟร์ได้กลับเข้ามาอ่านงานของเขาใหม่อีกครั้ง และครั้งนี้เขาได้นำเสนอผ่านแนวคิด "ความอึดอัดขับค้องใจของการที่ถูกควบคุมใน สิทธิของการเป็นอยู่ในเมือง" (Le Droit a la ville, 1968) ที่ว่าด้วยสภาวะของจิตสำนึกในกระบวนการการกลายเป็นเมือง และความเข้มข้นของการเปลี่ยนสภาพของระบบทุนนิยม ที่เกิดจากการเรียกร้อง "การปฎิวัติความเป็นเมือง" (Urban Revolution). "การประมาณการ"ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเมืองในครั้งนี้ เป็นเสมือนการเปิดประเด็นไปสู่การสำรวจ "สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างความซ้ำและความแตกต่าง" เป็นการสำรวจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำให้เกิดความเหมือนของระบบทุนนิยม. ความสามารถในการขุดค้นความแตกต่างนี้เองที่นักวิจารณ์ร่วมสมัยส่วนใหญ่ให้คำจำกัดความว่า Differance

(ผู้แปล : Differance มาจากสองคำผสมกันระหว่าง Differ[แตกต่างออกไป] และ Defer [เลื่อนออกไป] ส่วน "a" ในภาษาฝรั่งเศสจะไม่มีการออกเสียง ในการนำมาใช้ตรงนี้ เป็นเสมือนการทำให้คิดถึงสิ่งที่ถูกทำให้ไม่มีตัวตน สิ่งที่ถูกทำให้ไม่มีภาพตัวแทน หรือความไม่ปรากฏของมัน ดูเพิ่มเติมในงานเขียนของ Jacques Derrida)

ดังเช่นที่เลอแฟร์พยายามที่จะอธิบายให้เข้าใจถึงการที่เขาใช้คำว่า "ความเป็นเมือง" (Urban) และ "ลัทธินิยมความเป็นเมือง" (Urbanism) ซึ่งทั้งสองคำเป็นสิ่งที่ขยายและปกคลุมไปมากกว่าคำจำกัดความของเมือง (City) กระบวนการของการกลายเป็นเมือง (Urbanization) ที่เข้าใจได้ว่า เป็นการสรุปของการเปรียบเทียบสำหรับกระบวนการที่ก่อให้เกิดความสำคัญเชิงพื้นที่ (Spatialization) ของความเป็นสมัยใหม่และยุทธวิถีต่างๆ ในการกำหนดและการจัดการชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เอื้อให้ระบบทุนนิยมสามารถอยู่รอดได้ และที่สำคัญคือในการผลิตซ้ำอย่างประสบความสำเร็จในความสัมพันธ์ของความสำคัญเชิงพื้นที่และผลผลิตที่เกิดขึ้น

หลังจากที่มองย้อนกลับไปศึกษางานของมาร์กซ์ ซึ่งเขียนเกี่ยวกับเมือง (1972) เลอแฟร์เริ่มคลี่คลายแนวคิดหลักของเขาที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญเชิงพื้นที่และการผลิตซ้ำทางสังคมใน La Survie de capitalisme ในปี 1973 (ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษปี 1974) และงานชิ้นโบว์แดงของเขา La Production de l'espace (1974) สำหรับข้อโต้แย้งของเลอแฟร์ การดำรงอยู่ของระบบทุนนิยมตั้งอยู่บนการเกิดขึ้นของการเน้นในเรื่องการใช้ประโยชน์ และการให้ความสำคัญเชิงพื้นที่ (ที่ว่าง) กลายเป็นสิ่งลึกลับทางสังคม (Socially Mystified Spatiality) ซึ่งสามารถทำให้หลบซ่อนจากสายตาของการวิพากษ์วิจารณ์ภายใต้ผ้าคลุมที่แน่นหนาของความลวงตาและอุดมการณ์ต่างๆ

ถ้าถามว่าอะไรที่สามารถทำให้เราแยกแยะความสำคัญทางพื้นที่ (ที่ว่าง) ที่ถูกคลุมอย่างแน่นหนาจากระบบทุนนิยม จากความสำคัญทางพื้นที่อื่นๆ ของหน่วยอื่นๆ ในระบบการผลิต นั่นก็คือ ผลผลิตที่แปลกประหลาดของมัน และลักษณะของการผลิตซ้ำที่เกิดขึ้นภายใต้การพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันทางภูมิศาสตร์ โดยผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดการกลายเป็นหนึ่งเดียวกัน เกิดการแยกส่วนกัน และเกิดการสร้างลำดับขั้น การโต้แย้งนี้ได้ถูกนำไปรวบรวมเข้าไว้ในการโต้แย้งของ ฟูโก ในเรื่องเกี่ยวกับ วาทกรรมและพื้นที่พิเศษต่างๆ (Foucault's Discourse and Heterotopias) และเครื่องมือที่ใช้เกี่ยวกับการจัดการทางพื้นที่ ความรู้ และอำนาจ ในสภาวะที่เกิดขึ้นจากหลักวิภาษวิธี และความขัดแย้งในพื้นที่ กล่าวคือ เป็นสถานที่ซึ่งการผลิตซ้ำของความสัมพันธ์ของผลผลิตสามารถทำให้เกิดผลสำเร็จได้ มันคือ "ที่ว่าง" ซึ่งผลิตกระบวนการผลิตซ้ำ โดยการนำเอาความขัดแย้งทั้งหลายเข้าไปสู่ขอบเขตของมัน ความขัดแย้งทั้งหลายนี้จำเป็นต้องมีการพูดถึงในเชิงวิเคราะห์และหลักวิภาษวิธี เพื่อที่จะเปิดเผยให้เราสามารถเห็นอะไรที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความสำคัญทางพื้นที่ ที่ถูกครอบคลุมอยู่

ถือได้ว่า นี่เป็นทฤษฏีและการย้อนแย้งทางการเมืองอันทรงพลังที่สุดซึ่งเคยเกิดขึ้นกับลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก ที่ว่าด้วยความสำคัญทางพื้นที่ และการดำรงอยู่ของปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ภายใต้ประวัติศาสตร์ของลัทธิทุนนิยม แต่มันกลับถูกละเลยหรือถูกทำให้เกิดความเข้าใจผิดโดยบรรดามาร์กซิสต์ นอกจากนั้น ยังเป็นการสั่นคลอนแนวคิดที่คลอบคลุมความเป็นประวัติศาสตร์ของมันด้วย. เคลลี่ (Kelly, 1982) และ เฮิรสท์ (Hirsch, 1981) ไม่แม้กระทั่งจะพูดถึงงานเขียนของเลอแฟร์ ที่ว่าด้วยลัทธินิยมความเป็นเมือง และแทบจะไม่เห็นถึงการปรับเปลี่ยนความสำคัญทางพื้นที่ ในงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของลัทธิมาร์กซิสต์ฝรั่งเศส, ในขณะที่ โปสเตอร์ (Poster, 1975) พูดเพียงสั้นๆ และกล่าวในลักษณะที่กำกวมถึง "หลักการปฎิบัติใหม่ของเลอแฟร์" ซึ่งว่าด้วยลัทธินิยมความเป็นเมือง ในการเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1968

(หมายเหตุโดยผู้เขียน: 1968 เป็นปีที่งานของเลอแฟร์ในฝรั่งเศสเริ่มถูกละเลย และกลับเข้าไปหาสองแนวคิดหลักของปรัชญาลัทธิมาร์กซิสต์ฝรั่งเศส คือ Althusserian Structuralism และ Sartrean Existentialism และในขณะเดียวกันในช่วงนี้งานของเลอแฟร์ส่วนใหญ่ได้ถูกนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ)

โดยเริ่มที่ Nanterre ที่ซึ่งเลอแฟร์ได้เริ่มทำการสอน แม้กระทั่งทุกวันนี้งานเขียนของเลอแฟร์ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษกลับไม่ได้กล่าวถึงงาน La Production de l'espace และงานเขียนชิ้นหลังๆ ของเขา ที่ว่าด้วยรัฐและเศรษฐกิจโลกในชีวประวัติของเขา และแย่ไปกว่านั้นอีก เช่น ซูนเดอร์ (Saunders) ได้เข้าใจผิดเกี่ยวกับงานของเลอแฟร์ และได้นำเอาวิธีเขียนที่เป็นธรรมชาติและที่เป็นไปในลักษณะของทฤษฏีของเขา ไปใช้ในการเรียกร้องให้ละเลยถึงความสำคัญของพื้นที่ (ในศาสตร์ทางสังคมวิทยาที่ว่าด้วยความเป็นเมือง ในโลกของการใช้ภาษาอังกฤษ)

อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ช่วงต้นของปี 1970 มาจนกระทั่งปัจจุบัน การปะทะสังสรรค์กันทางความคิดระหว่างภูมิศาสตร์สมัยใหม่และลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก เนื้อหา และการทบทวนเนื้อหาของภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์ ได้มีการพัฒนาเกิดขึ้นและเป็นไปโดยการปรับเปลี่ยนหลักวิภาษวิธี ซึ่งเลอแฟร์ได้อธิบายเอาไว้แล้ว และได้นำมาเป็นข้อความเกริ่นนำในบทความนี้. "ความสำคัญของหลักวิภาษวิธีทางพื้นที่" ได้เพิ่มความสำคัญขึ้นอย่างมาก และเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิธีที่เราคิดเกี่ยวกับ พื้นที่ (ที่ว่าง), เวลา และการดำรงอยู่ เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสังคม เกี่ยวกับผลผลิตของพื้นที่ การก่อร่างของประวัติศาสตร์ และการก่อตัวของความสัมพันธ์ทางสังคมและจิตสำนึกในเชิงปฎิบัติ การเรียกร้องให้ย้อนคืนของพื้นที่ ตามแนวทางของเลอแฟร์ กลายเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาลัทธิวัตถุนิยมเชิประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์

(คลิกไปอ่านต่อบทความเรื่องเดียวกัน ตอนที่ ๒)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ : Release date 27 May 2008 : Copyleft by MNU.

นักคิดอีกคนที่น่าจะกล่าวถึงในการพูดถึงแนวคิดมาร์กซิสต์เชิงโครงสร้างคือ นิโคล พอลแลนทีสต์ (Nicos Poulantzas)(*) สำหรับทฤษฏีที่ว่าด้วยรัฐของพอลแลนทีสต์ ถือได้ว่าเป็นทฤษฏีที่มีความขัดแย้งกับแนวคิดของลัทธินิยมมาร์กซิสต์เลยทีเดียว ซึ่งตามมุมมองของกลุ่มมาร์กซิสต์แล้ว รัฐเป็นเครื่องมือซึ่งถูกครอบครองโดยชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง พอลแลนทีสต์ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ เพราะการมองเห็นเฉพาะแต่ชนชั้นนายทุนจะเป็นการมองอย่างจงใจในผลกำไร ที่ได้อย่างแยกส่วนหรือเฉพาะบุคคลในระยะสั้นเท่านั้น แต่ควรจะมองว่าชนชั้นนายทุนนี้ทำอย่างไรที่สามารถดำรงสภาพของการมีอำนาจอยู่ได้ในระยะยาว คือเป็นการปรับขยับขยายอำนาจของรัฐทั้งหมดเพื่อประโยชน์ของชนชั้นของตน (คัดมาจากบทแปล)

H