ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




11-06-2551 (1583)

WAR FOR ALL, WAR FOR MONEY: global report
กำไรบนคาบเลือดอิรัก: WAR FOR ALL, WAR FOR MONEY
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล : เรียบเรียง
บทความชิ้นนี้เคยได้รับการตีพิมพ์แล้วใน a day weekly
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทความนี้ได้รับมาจากผู้เขียน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำธุรกิจหลังสงครามอิรัก
ซึ่งได้เปิดเผยรายชื่อหน่วยงาน บริษัทธุรกิจอเมริกันและอังกฤษ ฯลฯ ที่มีส่วเกี่ยวข้อง
กับผลประโยชน์ในคาบน้ำตาของชาวอิรัก เหตุนี้จึงได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียด
และเชิงอรรถประวัติความเป็นมาของบริษัทต่างๆ ตามประเด็นที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

๑. ก่อนการถ่ายโอนอำนาจในอิรัก
๒. อิรักเป็นขุมทองแคลิฟอร์เนียยุคใหม่
๓. การประกันความเสี่ยงให้กับนักลงทุน
๔. การแสวงหากำไรในอิรักมีรากฐานมายาวนาน
๕. คงไม่ใช่อยู่ๆ สงครามจะเกิดขึ้นเองได้
๖. สงครามอิรักนั้น ไม่ใช่สงครามในรูปแบบเดิมๆ
๗. การแสวงหากำไรในอิรักไม่ได้กระจุกอยู่แค่กิจกรรมที่เกี่ยวกับทหาร

๘. บริษัท Boeing Co. บริษัทอุตสาหกรรมการทหารขนาดยักษ์ใหญ่
๙. บางกิจกรรมที่สหรัฐฯ เข้าไปทำอย่างแอบซ่อน
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๘๓
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๘.๕ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

WAR FOR ALL, WAR FOR MONEY: global report
กำไรบนคาบเลือดอิรัก: WAR FOR ALL, WAR FOR MONEY
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล : เรียบเรียง
บทความชิ้นนี้เคยได้รับการตีพิมพ์แล้วใน a day weekly
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ผลกำไรบนคราบเลือด

ถ้า อัล กออิดะห์ ไม่ได้ออกมายอมรับว่า ขบวนการของตนเองเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์วินาศกรรมกลางเมืองนิวยอร์ก 9/11 ด้วยเม็ดเงิน ผลประโยชน์ ความมั่งคั่งที่จะเกิดขึ้นจากสงครามต่อจากวันนั้น ก็อาจมีใครคิดไปได้ว่า เหตุการณ์สะเทือนเลื่อนลั่นโลก 9/11 ผู้อยู่เบื้องหลังนั้นบางทีอาจจะเป็นนักการเมืองหรือหน่วยงานระดับนโยบายของสหรัฐอเมริกาเองก็เป็นได้. เพราะผู้ที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์วันนั้น ไม่ใช่บิน ลาเดน หรืออัล กออิดะห์ หรือกลุ่มมุสลิมจารีตปลดปล่อยกลุ่มไหน จากฟ้าจรดทราย จากมุมโลกจรดมุมโลก ผลประโยชน์ทุกเม็ดตกอยู่กับบริษัทที่หากินกับสงคราม

ประเด็นที่น่าสนใจ

- นักวิจัยจาก United for a Fair Economy พบว่า เงินเดือนของซีอีโอบริษัทระบบรักษาความปลอดภัยและค้าอาวุธชั้นนำ 37 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 79 ในช่วงปี 2544-2545 เมื่อเทียบกับซีอีโอบริษัทอื่นๆ ที่ได้เงินเดือนเพิ่มเพียงร้อยละ 6 ในช่วงเวลาเดียวกัน ยังไม่ต้องนับซีอีโอของบริษัท Lockheed Martin บริษัทอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น 4 เท่า

- จนถึงขณะนี้ มีทหารรับจ้างของกระทรวงกลาโหมสหรัฐเสียชีวิตในอิรักไปแล้วจำนวนไม่น้อย แต่ด้วยค่าจ้างอย่างงามอย่างน้อยวันละประมาณ 1,500 เหรียญสหรัฐต่อวัน หรือประมาณ 60,000 บาทต่อวัน 3 เท่าของผู้ที่ทำงานประจำ พ่วงด้วยวันหยุดประจำปีอีก 100 วัน จึงยังเป็นที่ดึงดูดใจอยู่มาก

- ก่อนการถ่ายโอนอำนาจให้อิรักเพียง 10 กว่าวัน คณะผู้บริหารพลเรือนของสหรัฐในอิรัก ให้สัมปทานกับบริษัท Aegis Defence Services of London มูลค่า 293 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างศูนย์ความร่วมมือเพื่อการรักษาความมั่นคงในอิรัก เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเอกชนผู้รับสัมปทานด้านความปลอดภัยแต่ละรายในอิรัก ว่ากันง่ายๆ ก็คือศูนย์รวมทหารรับจ้างในอิรักนั่นเอง

- สหรัฐไม่ได้ต้องการใช้วิธีบุกเสร็จโค่นซัดดัมได้ก็จบกันไป แต่ต้องการมีผลประโยชน์ถาวรในอิรัก แต่การครอบครองด้วยกำลังทหารย่อมต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านของชาวอิรักและการประณามจากประชาคมโลก และเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปสำหรับรัฐบาลอเมริกัน ดังนั้นการวางรากฐานที่ฉลาดกว่า ลึกล้ำกว่า แยบยลกว่า...น่าจะเป็นคำตอบสุดท้าย

เนื้อเรื่อง
1. ก่อนการถ่ายโอนอำนาจในอิรัก จะเริ่มขึ้นเพียง 1 เดือนครึ่ง คณะผู้บริหารพลเรือนของสหรัฐฯ ในอิรัก (CPA) (*) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนอิรักต่อกองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตร ผลของการสำรวจถูกเก็บเงียบ กระทั่งหลุดรอดมาอยู่ในมือของสำนักข่าวเอพี ในอีก 1 เดือนให้หลัง. ผลการสำรวจความคิดเห็นแสดงให้เห็นว่า ชาวอิรักร้อยละ 55 เชื่อว่าตัวเองน่าจะปลอดภัยมากกว่านี้ ถ้าไม่มีกองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตร, ร้อยละ 41 ต้องการให้กองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตรออกไปจากอิรักทันที, และอีกร้อยละ 45 ต้องการให้ออกเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

(*) The Coalition Provisional Authority (CPA) was established as a transitional government following the invasion of Iraq by the United States, United Kingdom and the other members of the multinational coalition which was formed to oust the government of Saddam Hussein in 2003. Citing UN Security Council Resolution 1483 (2003), and the laws of war, the CPA vested itself with executive, legislative, and judicial authority over the Iraqi government from the period of the CPA's inception on April 21, 2003, until its dissolution on June 28, 2004.

ชาวอิรักร้อยละ 92 เห็นว่ากองทัพพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯ เป็นกองทัพของผู้บุกรุก ไม่ใช่ผู้ปลดปล่อย และความเชื่อมั่นที่มีต่อกองทัพพันธมิตรลดลงเหลือแค่ร้อยละ 11 จากร้อยละ 47 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว. ผู้ตอบแบบสอบถามชาวอิรัก ร้อยละ 71 บอกว่า พวกเขารู้สึกตกตะลึงกับข่าวการทารุณนักโทษในเรือนจำอาบู การิบ และร้อยละ 54 เชื่อว่าคนอเมริกันทั้งหมดมีพฤติกรรมไม่ต่างจากพวกผู้คุมในเรือนจำอาบู การิบอันอื้อฉาว

เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการทำโพลล์ครั้งนี้ กล่าวว่า "พวกเขารู้สึกเสียใจที่ความตั้งใจดีของพวกเขาในการพัฒนาชีวิตคนอิรัก ถูกตีความในทางที่ผิด". 'ความตั้งใจดีในการพัฒนาชีวิตคนอิรัก' เป็นคำถามที่ดังก้องว่า มีข้อเท็จจริงมากน้อยแค่ไหน

2. อิรักเป็นขุมทองแคลิฟอร์เนียยุคใหม่ บรรยากาศการลงทุนกำลังพัฒนาขึ้นทุกวัน เพื่อสร้างโอกาสที่ดีให้แก่ธุรกิจเอกชนอเมริกันเข้าไปจับจองตลาดที่เคยถูกปิดในอิรัก. ทอม โฟเลย์ อดีตผู้อำนวยการด้านธุรกิจเอกชนของ CPA ระบุในใบแถลงข่าว. นาโอมิ ไคลน์ เจ้าของหนังสือ No Logo เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3-4 ธันวาคม 2546 ผู้ประกอบการชาวอเมริกันกว่า 400 คน ได้ร่วมประชุม ReBuilding Iraq 2 ที่โรงแรมเชอราตัน แต่ไม่ใช่ในกรุงแบกแดด แต่เป็นที่อาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ผู้ประกอบการเหล่านี้มารวมตัวกันเพื่อหาโอกาสทำกำไรในอิรักจากโครงการต่างๆ ที่มีมูลค่ารวมถึง 18,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นเงินก้อนมหาศาลนับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาเปิดประมูลงานช่วยเยอรมันและญี่ปุ่นฟื้นฟูประเทศ (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2)

ผู้ประกอบการคนสำคัญรายหนึ่งกล่าวกับนาโอมิว่า "ช่วงเวลาที่จะลงทุนได้ดีที่สุดคือช่วงเวลาที่มีเลือดนองพื้น". เมื่อนาโอมิถามไปว่า "คุณจะไปอิรักไหม" เขาตอบสวนกลับทันที "ผมน่ะหรือ? ไม่ ผมไม่ทำแบบนั้นกับครอบครัวผมหรอก". การประชุมครั้งนี้ หัวเรี่ยวหัวแรงหลักคือ อดีตนายพลเกษียณอายุ โรเบิร์ต ดีส์ ซึ่งปัจจุบัน รั้งตำแหน่งหัวหน้าหน่วยยุทธศาสตร์การทหารของ Microsoft เขาบอกที่ประชุมว่า เขาทุ่มทั้งหัวใจและวิญญาณไปกับงานนี้ เพราะเขาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักที่วางแผนบุกอิรัก ตอนนี้ "Microsoft กำลังช่วยพัฒนา e-government ให้กับรัฐบาลอิรัก"

3. การประกันความเสี่ยงให้กับนักลงทุน ทำไมนักลงทุนจำนวนมากถึงเชื่อว่า การลงทุนในอิรักเป็นขุมทองของแคลิฟอร์เนียแห่งใหม่ ทั้งที่ข่าวความรุนแรงออกมาไม่เว้นแต่ละวัน. คำตอบน่าจะอยู่ที่…การประกันความเสี่ยง. การลงทุนในอิรักก่อนหน้าการถ่ายโอนอำนาจ จะมี USAID (หน่วยงานของสหรัฐเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ) รับประกันความเสี่ยงให้ทุกกรณี แต่เมื่อ CPA ยุบไป หลายคนอาจหวาดหวั่นถึงการลงทุนในอิรัก แต่เรื่องนี้คลายความกังวลใจไปได้เลย เพราะองค์กรความร่วมมือการลงทุนของเอกชนในต่างประเทศ (OPIC) (*) ได้เสนอให้เงินกู้กับเอกชนของสหรัฐที่ไปลงทุนในอิรัก และมีนโยบายมุ่งมั่นที่จะทำอิรักให้เป็นเขตการค้าเสรี (Free Trade Zone)

(*)The Overseas Private Investment Corporation (OPIC) is an agency of the United States Government established in 1971 that helps U.S. businesses invest overseas and promotes economic development in new and emerging markets. OPIC's mission is to "foster economic development in new and emerging markets, support U.S. foreign policy and create U.S. jobs by helping U.S. businesses to invest overseas." The agency provides political risk insurance against the risks of inconvertibility, political violence, or expropriation. OPIC also provides financing through direct loans and loan guaranties.

พอล เบรเมอร์ หัวหน้าคณะผู้บริหารพลเรือนของสหรัฐในอิรัก (CPA) ที่หมดภารกิจไปแล้วหลังการถ่ายโอนอำนาจ เคยเป็นซีอีโอของกลุ่ม Marsh & McLennan Companies (*) บริษัทรับประกันความเสี่ยงทางการเมือง การถูกยึดทรัพย์ และการก่อการร้าย ซึ่งก็ขายประกันได้คล่องมากช่วงสงครามอิรัก แต่ถึงไม่มีบริษัทเอกชนใดกล้ารับประกันภัยกิจกรรมต่างๆ ในอิรัก ก็ไม่มีอะไรน่าวิตกกังวล

(*)Marsh & McLennan Companies, Inc. (MMC) is a US-based global professional services and insurance brokerage firm. In 2007, it had over 57,000 employees and annual revenues of $12.069 billion. Marsh & McLennan Companies was ranked the 207th largest corporation in the United States by the 2007 Fortune 500 list, and the 5th largest U.S. company in the Diversified Financials industry.

19 กันยายน 2546 พอล เบรเมอร์ ได้ออกคำสั่งที่ 39 ว่าด้วยการลงทุน นักวิเคราะห์ที่ติดตามประเด็นการลงทุนในข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศมาโดยตลอด ถึงกับอุทานด้วยความตกตะลึง! เพราะคำสั่งที่ 39 นี้ ได้ลอกพิมพ์เขียวข้อตกลงพหุภาคีว่าด้วยการลงทุน (MAI) ที่ถูกปัดตกในการประชุม OECD (กลุ่มประเทศร่ำรวย) (*) มาแบบประเด็นต่อประเด็น คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญอีกเช่นกันที่คำสั่งที่ 39 มีเนื้อความตรงกับร่างข้อตกลงว่าด้วยการลงทุน ซึ่งเป็นประเด็นใหม่ (New Issues) ที่ยังหาความตกลงไม่ได้ใน WTO และก็เหมือนกับข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เขตการค้าเสรีอเมริกา (FTAA) และก็ยังเหมือนกันเอฟทีเอ สหรัฐ-ชิลี, เอฟทีเอ สหรัฐ-สิงคโปร์ และขณะนี้เนื้อหาดังกล่าวก็กำลังเป็นต้นแบบของเอฟทีเอ ไทย-สหรัฐ ที่เริ่มเจรจาไปแล้ว

(*)The Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) is an international organisation of thirty countries that accept the principles of representative democracy and free market economy. It originated in 1948 as the Organisation for European Economic Co-operation (OEEC), led by Robert Marjolin of France, to help administer the Marshall Plan, for the reconstruction of Europe after World War II. Later, its membership was extended to non-European states, and in 1961, it was reformed into the Organisation for Economic Co-operation and Development by the Convention on the Organisation for Economic Co-operation and Development.

สาระสำคัญของคำสั่งที่ 39 ประกอบไปด้วย

- ให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจของอิรัก 200 แห่ง
- ให้เอกชนต่างชาติสามารถเป็นผู้ถือหุ้นสถาบันการเงิน กิจการเหมืองแร่ น้ำมัน และโรงงานต่างๆ ในอิรักได้ 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม
- ห้ามมีมาตรการควบคุมเงินไหลเข้าออกโดยเด็ดขาด ต้องอนุญาตให้เอกชนต่างชาตินำผลกำไรที่ได้ออกจากอิรัก 100 เปอร์เซ็นต์
- เอกชนต่างชาติต้องได้รับการปฏิบัติไม่น้อยกว่านักลงทุนชาวอิรัก
- ห้ามใช้ 'ข้อกำหนดผลการปฏิบัติงาน' เช่น กฎระเบียบที่มาจากบริบทท้องถิ่นมาบังคับนักลงทุนต่างชาติให้ทำตามเพื่อผลประโยชน์ของเศรษฐกิจท้องถิ่น
- นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากคลังของประเทศ หากพบว่ารัฐบาลอิรักมีพฤติกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือเสมือนหนึ่งว่ายึดทรัพย์กิจการของเอกชนไปเป็นของรัฐหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยการระงับข้อพิพาทนั้นจะใช้ระบบอนุญาโตตุลาการ

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่นิตยสาร The Economist เรียกว่า 'ฝันของนายทุน' (Capitalist Dream)

4. การแสวงหากำไรในอิรัก อันที่จริงการแสวงหากำไรไม่ได้เพิ่งเริ่มในสงครามอิรักเมื่อเดือนมีนาคม 2546 เสียทีเดียว แต่วางรากฐานมายาวนาน และได้โหมสุดแรงเกิดตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 9/11 หกลองไปสำรวจกันดูแบบคร่าวๆ จะพบว่า… หลังเหตุการณ์ 9/11 เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้ในการสอดแนมแพร่ระบาด เครื่องตรวจวัดชีวภาพ (Biometric) ที่ใช้บันทึกโครงหน้า เสียง ส่วนประกอบของร่างกายติดตั้งอยู่ตามสนามบิน สนามกีฬา และสวนสาธารณะ เพื่อตรวจจับผู้คนที่ผ่านเข้าออก โปรแกรมอิเลกทรอนิกส์ที่ใช้ในการติดตามที่มาของผู้เข้าชมเวบไซต์ ผู้ใช้บริการการโอนเงิน หรือแม้แต่วิดิโอรักษาความปลอดภัยก็ใช้กันอย่างแพร่หลาย

สำหรับเทคโนโลยีหลักที่ขับเคลื่อนตลาด ได้แก่ เครื่องมือตรวจจับวัตถุระเบิด สมาร์ทการ์ดที่ใช้เก็บข้อมูลทุกประเภทของผู้ถือบัตรประจำตัว. เทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยแรกๆ ที่นำโด่งมาคือ ซอฟท์แวร์ที่สามารถจดจำหน้าคนได้ ราคาโปรแกรม Visionis และ Visage เพิ่มขึ้นเท่าตัวในเวลาอันรวดเร็ว เพราะสนามบินทุกแห่ง สถานที่ท่องเที่ยวหลักต้องติดตั้งโปรแกรมนี้ ผู้ได้รับกำไรเต็มๆ คือ บริษัท Pelco Inc. ขาใหญ่ที่สุดในวงการระบบกล้องวิดิโอรักษาความปลอดภัย

และตามกฎหมายป้องกันการก่อการร้าย หรือกฎหมายรักชาติ (USA PATRIORT Act) (*) ซึ่งประกาศใช้หลังเหตุการณ์ 9/11 เพียงเดือนเศษ บังคับให้สถาบันการเงินต่างๆ ทั้ง ธนาคาร ผู้ให้บริการบัตรเครดิต และบริษัทประกันภัยต่างๆ ต้องจับตาพฤติกรรมลูกค้าอย่างใกล้ชิด. บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Cisco, Sybase Sun Microsystem และ Oracle เป็นเพียงไม่กี่บริษัทที่มีโปรแกรมต่างๆ พร้อมสำหรับกฎหมายฉบับนี้ โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันการฟอกเงิน (AML)

(*)The USA PATRIOT Act, commonly known as the 'Patriot' act, is an Act of Congress that United States President George W. Bush signed into law on October 26, 2001. The acronym stands for "Uniting and Strengthening America by Providing Appropriate Tools Required to Intercept and Obstruct Terrorism Act of 2001" (Public Law Pub.L. 107-56).

The act expands the authority of US law enforcement agencies for the stated purpose of fighting terrorism in the United States and abroad. Among its provisions, the Act increases the ability of law enforcement agencies to search telephone, e-mail communications, medical, financial and other records; eases restrictions on foreign intelligence gathering within the United States; expands the Secretary of the Treasury's authority to regulate financial transactions, particularly those involving foreign individuals and entities; and enhances the discretion of law enforcement and immigration authorities in detaining and deporting immigrants suspected of terrorism-related acts. The act also expands the definition of terrorism to include domestic terrorism, thus enlarging the number of activities to which the USA Patriot Act's expanded law enforcement powers can be applied.

เบฟนิ แมคไกว์ นักวิเคราะห์การเงินกล่าวว่า "แม้ PATRIORT Act จะสร้างภาระให้ผู้ประกอบการสถาบันการเงิน แต่มันเป็นประโยชน์กับบริษัทเจ้าของโปรแกรมที่เกี่ยวกับการป้องกันการฟอกเงินและธุรกิจต่อเนื่องอย่างมาก". ในรายงานฉบับเดียวกันระบุว่า ผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้พุ่งพรวด 2-3 เท่าในเวลาเพียงไม่กี่เดือน แต่เมื่อย้อนกลับไปดูจะพบว่า หลายบริษัทพยายามผลักดันเทคโนโลยีของตนเองก่อนเหตุการณ์ 9/11 มานานแล้ว

Oracle บริจาคซอฟท์แวร์สมาร์ทการ์ด ที่มีโปรแกรมการตรวจวัดทางชีวภาพ ให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์บางรายตั้งข้อสังเกตว่า "การบริจาคโปรแกรมเป็นไปเพื่อการหวังผลกำไรในภายภาคหน้า เพราะการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนนั้น ใช้เงินมหาศาล รัฐบาลหลายประเทศกำลังถูกเสนอให้เปลี่ยนวิธีการเดิมๆ มาใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งข้าราชการส่วนใหญ่ประเมินรายจ่ายต่ำเกินไป"

อีกเทคโนโลยีที่น่าสนใจคือ การฝังชิพ ปี 2545 หน่วยงานด้านอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) อนุญาตให้ขายไมโครชิพที่ใช้ติดกับร่างกายคนเพื่อการติดตามตัวตลอด 24 ชั่วโมงได้ หลังจากที่เพียรพยายามผลักดันมานานหลายปี เมื่อสบโอกาสจึงประสบความสำเร็จ. อีกไม่นาน อาจจะมีข่าวว่าเพื่อป้องกันเด็กถูกลักพาตัว พ่อแม่ควรพาลูกมาฝังชิพเพื่อป้องกันลูกพลัดหลง ซึ่งขณะนี้เทคโนโลยีรองรับไว้แล้ว

เดวิด มาร์ติน นักวิจัยจาก United for a Fair Economy วิจัยพบว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เงินเดือนของซีอีโอ.ของบริษัทระบบรักษาความปลอดภัยและค้าอาวุธชั้นนำ 37 แห่ง (เท่าที่ยอมเปิดเผยข้อมูล) เพิ่มขึ้นร้อยละ 79 ในช่วงปี 2544-2545 เมื่อเทียบกับซีอีโอบริษัทอื่นๆ ที่ได้เงินเดือนเพิ่มเพียงร้อยละ 6 ในช่วงเวลาเดียวกัน และที่สุดยอดคงต้องยกให้ซีอีโอ.ของบริษัท Lockheed Martin (*) บริษัทอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น 4 เท่า!

(*)Lockheed Martin (NYSE: LMT) is a leading multinational aerospace manufacturer and advanced technology company formed in 1995 by the merger of Lockheed Corporation with Martin Marietta. It is headquartered in Bethesda, an unincorporated area in Montgomery County, Maryland and a suburb of Washington, D.C. Lockheed Martin employs 140,000 people worldwide. Robert J. Stevens is the current Chairman, President, and Chief Executive Officer.

Lockheed Martin is the world's largest defense contractor (by revenue). As of 2005, 95% of Lockheed Martin's revenues came from the United States Department of Defense, other U.S. federal government agencies, and foreign military customers. A team led by prime contractor Lockheed Martin won the 2006 Collier Trophy for the development of the F-22 Raptor fighter jet.

5. คงไม่ใช่อยู่ๆ สงครามจะเกิดขึ้นเองได้ ...แน่นอนว่ามันต้องมีปัจจัย แต่บางปัจจัยก็เกิดขึ้นโดยความจงใจ. หนังสือพิมพ์ The Observer ฉบับวันที่ 11 พฤษภาคม 2546 รายงานว่า เจมส์ วูลเซย์ อดีตผู้อำนวยการซีไอเอ และที่ปรึกษาสายเหยี่ยวที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ปัจจุบันควบตำแหน่งผู้อำนวยการของบริษัท Paladin Capital (*) ที่ทำกำไรมากที่สุดอันดับต้นๆ จากสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ทั้งที่เพิ่งตั้งบริษัทหลังเหตุการณ์ 9/11 เพียง 2 เดือนเท่านั้น

(*) Paladin Capital Group

- Paladin is an established, multi-stage private equity firm that invests in growing companies through
acquisitions and expansion capital.

- Headquartered in Washington D.C., with offices in New York City, NY and Atlanta, GA, Paladin has more than $750 million dollars under management across several distinct funds.

- Paladin established its first fund in 2001, launched the $235M Homeland Security Fund in 2004,
and its follow-on fund, Paladin III in 2007.

- The firm's leadership is comprised of professionals with a proven track record of financial expertise, national security experience and specialized technical competence.

- Collectively, Paladin's professionals have completed over 100 direct and co-investments in a wide range of industries.

- Paladin is focused on being an active investor and bringing value-added advice, access and relationships to its portfolio companies.

เป้าหมายสูงสุดของบริษัท Paladin Capital ตามที่โฆษณาไว้คือ บริษัทจะไปลงทุนในบริษัทต่างๆ ที่มีความสามารถและเทคโนโลยีในการป้องกันการโจมตี การป้องกันตัวเอง การจัดการภายหลังเหตุการณ์โจมตีจากกลุ่มก่อการร้าย และภัยต่างๆ ในประเทศ Paladin สามารถระดมเงินจากนักลงทุนได้ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ไว้รองรับงบประมาณของรัฐบาลด้านความมั่นคงในปี 2547 ที่สูงถึง 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

เจมส์ วูลเซย์ เป็นสายเหยี่ยวสำคัญคนหนึ่งที่ยืนยันอย่างแข็งขันมาโดยตลอดว่า ซัดดัม
ฮุสเซน อดีตผู้นำอิรัก มีความเกี่ยวกันกับกลุ่มอัล กออิดะห์ (ประเด็นนี้ถูกคณะกรรมการพิจารณากรณี 9/11 ของวุฒิสภาสหรัฐชี้ไปแล้วว่าไม่มีมูลความจริง) และเป็นคนที่พยายามเสนอทฤษฎีว่า จดหมายแอนแทรกซ์ที่กระจายในสหรัฐอเมริกานั้น เป็นฝีมือของกลุ่มที่ซัดดัมสนับสนุน

เขากล่าวกับ CNN ว่า ซัดดัม ฮุสเซน พยายามที่จะผลิตตัดต่อพันธุกรรมเชื้อแอนแทรกซ์ (จีเอ็มโอ) เพื่อให้ทนทานต่อวัคซีนและยาปฏิชีวนะ ไม่น่าจะเป็นเหตุบังเอิญที่ Paladin ลงทุนก้อนแรก 10.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ใน AgION Technologies บริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีในการป้องกันการโจมตีจากเชื้อโรค แต่อย่างไรก็ตาม เจมส์ วูลเซย์ ไม่ใช่คนเดียวในคณะกรรมการนโยบายความมั่นคงที่ได้ประโยชน์จากสงครามต่อต้านการก่อการร้าย

ดิก เชนีย์ รองประธานาธิบดีสหรัฐ อดีตซีอีโอ. Halliburton บริษัทแม่ของ Kellogg Brown & Root (KBR) บริษัทที่ได้รับสัมปทานก้อนใหญ่หลายๆ ก้อนในสงครามอิรัก ตั้งแต่จัดหาอาหาร ซักผ้า จนถึงก่อสร้าง และกำลังเผชิญกับคดีอื้อฉาวของความทุจริต ไม่นับรวมสัมปทานการฟื้นฟูอุตสาหกรรมน้ำมันในอิรักอีกต่างหาก

(*) Halliburton Energy Services is a United States-based multinational corporation with operations in more than 120 countries. It has been at the forefront of several media and political controversies in relation to its work for the U.S. Government, its political ties, and its corporate ethics. It is based in Houston, Texas, in the United States. Halliburton's major business segment is the Energy Services Group (ESG). ESG provides technical products and services for oil and gas exploration and production. Halliburton's former subsidiary, KBR, is a major construction company of refineries, oil fields, pipelines, and chemical plants.

ริชาร์ด เพิร์ล อดีตประธานคณะกรรมการนโยบายความมั่นคง ที่ต้องลาออกมารั้งตำแหน่งกรรมการเท่านั้น หลังถูกกล่าวหาว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน. ริชาร์ด เพิร์ลเป็นผู้บริหารของบริษัทTrireme ที่ลงทุนในบริษัทที่มีสินค้าเกี่ยวข้องกับการดูแลความมั่นคงภายใน และเคยส่งจดหมายถึงผู้ค้าอาวุธในซาอุดีอาระเบีย นายอัดนัน คาสชอคกี ว่าความกลัวภัยก่อการร้าย จะยิ่งเพิ่มความต้องการอาวุธในซาอุดีอาระเบีย ยุโรป และสิงคโปร์

จอร์จ ชูทซ์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ บอร์ดของกลุ่มบริษัท Bechtel (*) ผู้รับสัมปทานรายใหญ่ที่สุดในการฟื้นฟูอิรัก และยังเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการเพื่อการปลดปล่อยอิรัก กลุ่มสนับสนุนสงครามอิรักที่มีสัมพันธ์แนบแน่นกับสหรัฐฯ ตั้งแต่ก่อนสงคราม

(*)Bechtel Corporation (Bechtel Group) is the largest engineering company in the United States, ranking as the 9th-largest privately owned company in the U.S. With headquarters in San Francisco, Bechtel had 40,000 employees as of 2006 working on projects in nearly 50 countries with $20.5 billion in revenue.

Bechtel participated in the building of Hoover Dam in the 1930s. It has also had involvement in several other high profile construction engineering projects, including the Channel Tunnel, numerous power projects, refineries, and nuclear power plants, BART, Jubail Industrial City and Kingdom Centre and Tower in Saudi Arabia, Hong Kong International Airport, the Big Dig, the rebuilding of the civil infrastructure of Iraq funded by the United States Agency for International Development (USAID), and the hauling and installing of more than 35,000 trailers and mobile homes for Hurricane Katrina victims in Mississippi. (more detail: http://en.wikipedia.org/wiki/Bechtel)

6. สงครามอิรักนั้น ไม่ใช่สงครามในรูปแบบเดิมๆ ที่เราเคยรู้จักกัน
ไม่เฉพาะประเด็นความไฮเทคของอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่เป็นประเด็น Independent Contractors (*)

(*) Independent contractor is a natural person, business or corporation which provides goods or services to another entity under terms specified in a contract or within a verbal agreement. Unlike an employee, an independent contractor does not work regularly for an employer but works as and when required, during which time she or he may be subject to the Law of Agency. Contractors often work through a limited company which they themselves own, or may work through an umbrella company.

นอกเหนือจากทหารอเมริกันนับแสนคน และกองทัพจากประเทศพันธมิตรประจำการในอิรักแล้ว ก็ยังมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่อาจไม่เป็นที่รับรู้มากเท่าใดนัก แต่ปฏิบัติการของพวกเขาครอบคลุมและซึมลึกอย่างยิ่ง นั่นคือ Independent Contractors หรือพูดง่ายๆ ก็คือ บรรดาทหารรับจ้างที่มีเกือบ 20,000 คนพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัยครบมือ คนเหล่านี้รับสมัครมาจากอดีตทหารและตำรวจทั่วโลกโดยบริษัทใหญ่ๆ เพื่อทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้กับผู้บริหารระดับสูงทั้งในคณะผู้บริหารพลเรือนของสหรัฐในอิรัก (CPA) รัฐบาลอิรัก และนักลงทุนต่างชาติในอิรัก, ดูแลอุตสาหกรรมขุดเจาะและขนส่งน้ำมันของอิรัก, ฝึกทหาร หรือแม้แต่สอบปากคำนักโทษในเรือนจำ

ทหารรับจ้างเหล่านี้ถูกจ้างโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐ แม้ว่านับจนถึงขณะนี้มีทหารรับจ้างเหล่านี้เสียชีวิตในอิรักไปแล้วไม่น้อย แต่ด้วยค่าจ้างอย่างงามวันละประมาณ 1,500 เหรียญสหรัฐต่อวัน หรือประมาณ 60,000 บาทต่อวัน 3 เท่าของผู้ที่ทำงานประจำ พ่วงด้วยวันหยุดประจำปีอีก 100 วัน จึงยังเป็นที่ดึงดูดใจอยู่มาก. กิจกรรมของทหารรับจ้างในอิรักอาจไม่เป็นที่รับรู้เลยก็ได้ หากไม่มีเหตุรุนแรงที่เมืองฟัลลูจาห์ ที่ทหารรับจ้าง 4 คนของบริษัท Blackwater (*) ถูกคนอิรักรุมเผารถและลากศพไปประจานทั่วเมือง บางศพถูกแขวนกลางสะพานข้ามแม่น้ำยูเฟรติส

(*) Blackwater Worldwide, formerly Blackwater USA, is a self-described private military company founded in 1997 by Erik Prince and Al Clark. It has alternatively been referred to as a security contractor or a mercenary organization by numerous reports in the international media. In October 2007, Blackwater USA rebranded themselves as Blackwater Worldwide. Blackwater is based in the U.S. state of North Carolina, where it operates a tactical training facility that it claims is the world's largest.

The company trains more than 40,000 people a year, from U.S. or foreign military and police services, as well as other U.S. government agencies. The training consists of military offensive and defensive operations, as well as smaller scale personnel security. Technologies used and techniques trained are not limited by U.S. domestic law, although it is unclear what legal status Blackwater operates under in the U.S. and other countries, or what protection the U.S. extends to Blackwater operations globally.

Blackwater is currently the largest of the U.S. State Department's three private security contractors, providing a total of 987 contractors. Of the 987 provided, 744 are U.S. citizens. At least 90 percent of its revenue comes from government contracts, two-thirds of which are no-bid contracts. Blackwater Worldwide is currently contracted by the United States government to provide security services in the Iraq War.

On March 31 2004, four Blackwater Security Consulting (BSC) employees were ambushed and killed in Fallujah, and their bodies were hung on a bridge to cheering Iraqi crowds. In a response to this, U.S. forces attacked the city of Fallujah.

On September 16 2007, Blackwater employees in Nisour Square, Baghdad shot and killed 17 Iraqi civilians, at least 14 of whom were killed "without cause" according to the Federal Bureau of Investigation.[13] No charges have been laid.

แกรี แจ็คสัน ประธานบริษัท Blackwater ยอมรับว่าการว่าจ้างเช่นนี้เป็นความลับ ดังนั้นแม้แต่รัฐบาลสหรัฐฯ ก็อาจจะไม่รู้ว่าบริษัททำอะไรให้กับหน่วยงานที่ว่าจ้างบ้าง. Blackwater มีกิจกรรมที่พอเปิดเผยคือ ให้คำปรึกษาด้านการรักษาความปลอดภัย, การฝึกอบรมสุนัขตำรวจ, การวางระบบติดตามเป้าหมาย และอากาศยาน ฯลฯ สำหรับลูกค้าหลักๆ ของบริษัท คือกระทรวงกลาโหม, กระทรวงต่างประเทศ, กระทรวงคมนาคม, และบรรษัทข้ามชาติต่างๆ. ตัวอย่างงานของ Blackwater บริษัทได้รับสัมปทานในการรักษาความปลอดภัยให้แก่ พอล เบรเมอร์ หัวหน้าคณะผู้บริหารพลเรือนในอิรักของสหรัฐ (CPA) และเจ้าหน้าที่ระดับสูงอีก 5 คนมูลค่าสูงถึง 21 ล้านเหรียญสหรัฐ

บริษัททหารรับจ้าง อื่นๆ อาทิ Erinys บริษัทจากแอฟริกา (ดูแลแหล่งน้ำมันในอิรัก), Vinnell, MPRI และ Nour ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Northrop Grumman (ฝึกทหารและจัดหาอาวุธให้แก่กองทัพใหม่ของอิรัก), Control Risk Group บริษัทอังกฤษรับรักษาความปลอดภัยให้ Bechtel และ Halliburton และ The Steele Foundation แม้จะใช้ชื่อมูลนิธิแต่จัดหาทหารรับจ้างกว่า 500 นายปฏิบัติงานในอิรัก และประชาสัมพันธ์ว่าเป็นที่ปรึกษาด้าน Security & Risk Management ให้กับบริษัทที่ไปลงทุนในอิรัก. ปีเตอร์ ซิงเกอร์ เจ้าของหนังสือ Corporate Warriors : The Rise of the Privatized Military Industry กล่าวว่า บริษัทเหล่านี้ไปปฏิบัติการในอิรัก ในฐานะพันธมิตรของผลกำไร มากกว่าพันธมิตรด้วยหัวจิตหัวใจ

แถลงการณ์ของ โอซามะ บิน ลาเดน ฉบับหนึ่งที่เสนอผ่านสำนักข่าว BBC ระบุว่า
"เราต้องพิจารณาให้แจ่มชัดว่า สงคราม (อิรัก) ได้สร้างผลกำไรมหาศาลให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าบริษัทนั้นจะผลิตอาวุธ หรือพวกที่เข้ามาสัมปทานก่อสร้าง เช่น บริษัท Halliburton และบริษัทลูก บริษัทพี่ และบริษัทน้องของ Halliburton จากจุดนี้เอง จึงชัดเจนว่าใครได้ประโยชน์จากการก่อสงครามและคาวเลือด ซึ่งก็คือบรรดาพวกพ่อค้าสงคราม นักดูดเลือดจากสงครามที่นั่งปั่นนโยบายโลกหลังม่านนั่นเอง"

แอนดรู เอฟ ครีไพน์วิช จูเนียร์ ผู้อำนวยการ Center of Strategy and Budget Assessment ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่า เนื่องจากบริษัทจัดหาทหารรับจ้างเหล่านี้อยู่นอกเหนือโครงสร้างการบัญชาการของกองทัพ ดังนั้นทหารรับจ้างเหล่านี้จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของกองทัพ ระเบียบปฏิบัติจึงขึ้นอยู่กับแต่ละสัญญาว่าจ้างที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้นจึงไม่มีความชัดเจนว่าใครแหกกฎหรือใครทารุณนักโทษ และทหารรับจ้างเหล่านี้ที่ไม่มีวินัยเท่าทหารจริง คือกลุ่มคนที่คนอิรักเผชิญอยู่

นโยบายลดขนาดกองทัพและหน่วยงานความมั่นคง ทำให้หน่วยงานเหล่านี้เริ่มตัดเหมาช่วงงานให้บริษัทเอกชนเข้ามาแทน ซึ่งก็รวมทั้งบุคลากรที่ใช้ในการสอบสวนนักโทษ. ชื่อของบริษัท CACI International Inc. (*) เป็นที่รู้จัก เมื่อข่าวการทารุณนักโทษในเรือนจำอาบู การิบ แดงออกมา ในรายงานของกองทัพระบุว่า สตีเฟน เอ สเตฟาโนวิคซ์ เจ้าหน้าที่ของ CACI ที่ทำหน้าที่คุมการสอบสวนในเรือนจำ ได้สนับสนุนให้ทหารจัดบรรยากาศเพื่อให้ง่ายต่อการสอบสวน ซึ่งตัวนายสเตฟาโนวิคซ์ก็ยอมรับเองว่า คำสั่งของเขาเท่ากับให้ทำร้ายร่างกายนักโทษได้

(*)CACI International, Inc. (NYSE: CAI) is an publicly held Information Technology (IT) company, headquartered in Arlington, Virginia and London, England. CACI provides national security, defense, and intelligence-related solutions in the national interest of the United States to counter the threat of global terrorism, assure homeland security, and strengthen the company's role as a national asset for national missions. CACI has employees approximately 11,800 employees in 120 offices in the US and Europe. 69% of CACI employees hold security clearances.

งานของ CACI ร่วมกับ บริษัท Premier Technology (รับผิดชอบข้อมูลการให้ปากคำด้วยระบบคอมพิวเตอร์) มูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง จนบางส่วนเรียกว่าสัญญาปลายเปิด (Open-ended Contract) เป็นการทำงานให้กับกระทรวงกลาโหม แต่อยู่ภายใต้การจัดการของกระทรวงมหาดไทย จึงเกิดคำถามถึงระบบการตรวจสอบการทำงานของบริษัทเหล่านี้

Titan Corp. เป็นบริษัทรับเหมางานภาครัฐของสหรัฐ อันดับที่ 9 ที่เชี่ยวชาญด้าเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ที่โด่งดังกว่าคือการเป็นบริษัทจัดหาล่ามภาษาอารบิคให้กับกองทัพสหรัฐ ตั้งแต่ ปี 2542 แต่ขณะนี้กำลังถูกสอบสวนซึ่งอาจจะนำไปสู่การยกเลิกสัญญา และไม่ต่อสัญญาใหม่ เนื่องจากการประเมินผลของกองทัพพบว่า ล่ามของบริษัท Titan Corp. ที่ทำหน้าที่ในเรือนจำอาบู การิบ มีส่วนพัวพันในการละเมิดและทารุณนักโทษ นอกจากนี้ บริษัท Titan Corp.กำลังถูกทางการสหรัฐสอบข้อกล่าวหาที่ว่า บริษัทติดสินบนเพื่อให้ได้งานในต่างประเทศ

เมื่อเสียงสะท้อนดังขึ้นให้จัดระเบียบทหารรับจ้าง… ก่อนการถ่ายโอนอำนาจให้อิรักเพียง 10 กว่าวัน คณะผู้บริหารพลเรือนของสหรัฐในอิรัก (CPA) ให้สัมปทานกับบริษัท Aegis Defence Services of London (*) ด้วยสัญญาแบบ cost-plus (บวกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง) มูลค่า 293 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างศูนย์ความร่วมมือเพื่อการรักษาความมั่นคงในอิรัก มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเอกชนผู้รับสัมปทานด้านความปลอดภัยแต่ละรายในอิรัก ว่ากันง่ายๆ ก็คือศูนย์รวมทหารรับจ้างในอิรักนั่นเอง. บริษัท Aegis Defence Services of London ดำเนินงานโดย พ.ท.ทิม สเปนเซอร์ อดีตนายทหารอังกฤษ ซึ่งขณะนี้กำลังถูกสอบสวนกรณีค้าอาวุธผิดกฎหมาย ใช้กำลังทหาร (รับจ้าง) ทำร้ายประชาชนที่อยู่รอบเหมือง บ่อน้ำมัน และท่อก๊าซทั่วโลก

(*)Aegis Defence Services is a London, U.K.-based private military company with overseas offices in Afghanistan, Bahrain, Iraq, Kenya, Nepal and the United States. Aegis provides specialist security and risk management solutions to counter extreme threats. Its services are tailored for international clients including governments, international agencies and the corporate sector. It is a registered and active UN contractor, a major security provider to the U.S. government and security adviser to the Lloyds Joint War Risk Committee.

In 2004 the International Peace Operations Association, an industry body, asked Aegis to apply for membership, but the application was rejected by a British competitor. It is a founding member of the British Association of Private Security Companies (BAPSC), a body lobbying for the regulation of the British PSC sector. It is also a member of the Private Security Company Association of Iraq.

7. การแสวงหากำไรในอิรักไม่ได้กระจุกอยู่แค่กิจกรรมที่เกี่ยวกับทหารและความมั่นคงเท่านั้น บริษัท Amec ของอังกฤษ ประเทศที่ส่งทหารไปประจำการอิรักอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ ได้รับสัมปทานส่วนหนึ่ง 750 ล้านเหรียญสหรัฐ จากมูลค่าเต็ม 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการฟื้นฟูโครงสร้างระบบน้ำประปาและการจำกัดน้ำเสียในอิรัก เบื้องหลังการได้งานครั้งนี้ Amec ต้องฟาดฟันกับการล็อบบี้อย่างสุดชีวิตของบรรดาบริษัทอเมริกันที่ใช้เส้นสายในกระทรวงแรงงาน สหรัฐฯ. สื่อมวลชนอังกฤษ พาดหัวว่า Amec สามารถกู้หน้าเอกชนอังกฤษ

Kellogg Brown & Root (KBR) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Halliburton ที่เคยมี ดิก เชนีย์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดำรงตำแหน่งซีอีโอ ได้สัมปทานในอิรักมากที่สุด แบ่งเป็น 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากกิจกรรมในคูเวตและอิรัก (จัดหาอาหารและซักผ้าให้กองทัพ) 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐจากการนำเข้าน้ำมัน และฟื้นฟูอุตสาหกรรมน้ำมันในอิรัก โดยจะมีมูลค่าเต็มโครงการ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ตอนนี้กำลังเผชิญกับข้อกล่าวหาทุจริต จากรายงานสรุปผลการสอบสวนของคณะกรรมาธิการ วุฒิสภาสหรัฐฯ มีหลายประเด็นที่ทำเอาผู้เสียภาษีชาวอเมริกันต้องตกตะลึง

อดีตคนงานของ KBR ให้การว่า บริษัทวิ่งรถเปล่าไปมาระหว่างคูเวตและอิรักเสมือนว่าขนส่งน้ำมัน เพื่อมารับค่าส่งน้ำมันจริง, รถบรรทุกราคา 85,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3 ล้านบาทเศษถูกปล่อยทิ้งไว้ เพราะไม่มีอะไหล่สำรอง, คนงานที่กินเงินเดือน 80,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3 ล้านบาทต้นๆ ถูกสั่งให้ทำตัวยุ่งๆ ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ไม่มีงานอะไรทำจริงจัง. KBR คิดค่าซักผ้าให้ทหารอเมริกันถุงละ 100 เหรียญสหรัฐ (4,000 บาท) และยังชาร์จค่าที่พักของพนักงานบริษัท (ในโรงแรมห้าดาว) 10,000 เหรียญสหรัฐ (400,000 บาท) ต่อปี

คนงานคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เมื่อเขาต้องการสั่งอะไหล่ 1 ชิ้นมาใช้ในการขุดเจาะ เจ้านายบอกเขาว่าให้สั่งมา 4 อันเลย เพราะสัญญาของเราเป็นสัญญาที่บวกค่าใช้จ่ายในภายหลัง (cost-plus contract) เมื่อถามกลับไปว่า งั้น…รัฐบาลก็เซ็นเช็คเปล่าให้เราสิ ผู้จัดการของเขาตอบว่า "ใช่" ด้วยเสียงดังลั่นก่อนจะหัวเราะด้วยเสียงที่ดังกว่า

เห็นรายจ่ายที่ใช้ในสงครามอิรักแล้ว อย่าเผลอคิดว่าเป็นเงินภาษีของอเมริกันชนเพียวๆ เพราะความเป็นจริงก็คือ รัฐบาลสหรัฐตัดสินใจใช้รายได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันของอิรัก มาจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างการครอบครอง ซึ่งก็ไม่ได้ผิดไปจากความคาดหมายที่ประชาคมโลกตั้งข้อสังเกตเอาไว้ตั้งแต่ก่อนสงครามอิรัก ว่าสงครามนี้เป็น...War for Oil. มาร์ค แบคสเตอร์ ผู้อำนวยการสถาบันพลังงาน มหาวิทยาลันเซาท์เทิร์น เมโทดิส ในเมืองดัลลัส ให้ความเห็นว่า "อุตสาหกรรมน้ำมันของเท็กซัสเป็นผู้กำชัยรายใหญ่ที่สุด หลังซัดดัม ฮุสเซน หมดอำนาจ"

อุตสาหกรรมน้ำมันเท็กซัส ได้แก่ Bechtel, Halliburton และ Exxon Mobil ฯลฯ

8. บริษัท Boeing Co. บริษัทอุตสาหกรรมการทหารขนาดยักษ์ใหญ่ รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของปีนี้ 623 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทำให้ราคาผลกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 77 เซนต์ เทียบกับ 60 เซนต์เมื่อปี 2546 รายงานของบริษัทระบุว่า ถือเป็นสัญญาณสดใส ทดแทนกำไรที่หดหายจากความซบเซาของอุตสาหกรรมการบินพลเรือน

6 กรกฎาคม 2547 กระทรวงกลาโหมอิสราเอล รายงานต่อคณะกรรมาธิการการต่างประเทศและกลาโหมของสภาผู้แทนราษฎร ถึงผลการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ใน 2 ไตรมาสแรกของปี 2547 อยู่ที่ 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ และเชื่อว่าผลประกอบการค้าอาวุธในปีนี้จะมีมูลค่ามากถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 10-12 ของมูลค่าการค้าอาวุธทั่วโลก

แม้ว่าผลประกอบการในปีนี้จะลดลงจากปี 2545 (หลังเหตุการณ์ 9/11) ที่ผลประกอบการเคยพุ่งกระฉูดถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่พบว่าตัวเลขการส่งออกอาวุธไปสหรัฐนั้น เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ จนขณะนี้โรงงานผลิตอาวุธของอิสราเอลกลายเป็นบริษัทรับเหมาช่วง (sub-contractors) ของบริษัทค้าอาวุธของสหรัฐอเมริกาแล้ว ทั้งนี้อาวุธที่ผลิตได้ในอิสราเอลส่งออกไปต่างประเทศ ถึงร้อยละ 80

อามอส ยารอน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกลาโหมอิสราเอล ยืนยันต่อสภาผู้แทนราษฎรว่า อุตสาหกรรมอาวุธในอิสราเอลกำลังเร่งหาลูกค้าใหม่ๆ ในต่างประเทศ เพื่อทดแทนคำสั่งซื้อที่ลดลงของกองทัพอิสราเอล ที่เดิมเคยเป็นลูกค้ารายใหญ่ ครอบคลุมร้อยละ 80-90 ของการผลิตอาวุธในประเทศ. ทางด้าน พล.ต.โยซี เบน-ฮานาน ผู้อำนวยการกรมส่งออกอาวุธ กระทรวงกลาโหม อิสราเอล ยืนยันเช่นกันว่า จะพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะรักษาตัวเลขการส่งออกอาวุธให้อยู่ในระดับ 2,500-3,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี แม้ว่าตลาดโลกแต่ละภูมิภาคจะมีความผันแปรสูงก็ตาม โดยสินค้าหลักๆ จะเน้นที่เครื่องบินที่ไม่ต้องใช้คนขับ ขีปนาวุธต่อสู้รถถัง อุปกรณ์ที่ใช้มองในที่มืด เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ และรถถังไฮเทค

9. บางกิจกรรมที่สหรัฐเข้าไปทำอย่างแอบซ่อน แม้ว่าขณะนี้คณะผู้บริหารพลเรือนของสหรัฐในอิรัก (CPA) จะได้ถ่ายโอนอำนาจให้รัฐบาลเฉพาะกาลของอิรักไปหลายปีแล้ว แต่ใช่ว่า 'อธิปไตย' จะมีความหมายเหมือนเดิม. การที่สหรัฐเข้าครอบครองอิรักนั้น นอกจากจะโค่นซัดดัม ฮุสเซน ผู้ซึ่งถูกตราหน้าว่า เป็นภัยร้ายแรงของโลกไปแล้ว แต่ยังมีบางกิจกรรมที่สหรัฐเข้าไปทำอย่างแอบซ่อน

กองทัพสหรัฐ และ USAID ได้ว่าจ้าง Research Triangle Institute (RTI) (*) เข้าไปจัดระเบียบรัฐและประชาสังคมในอิรักตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546. ไม่มีใครรู้ว่ากิจกรรมของ RTI คืออะไร? จนเมื่อ พอล เบรเมอร์ เสนอให้การสรรหารัฐบาลเฉพาะกาลอิรัก คัดเลือกมาจากสภาท้องถิ่นที่ถูกจัดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดย RTI. แม้ว่าแผนนี้จะถูกคว่ำไปโดยผู้มุสลิมชีอะห์ แต่สภาท้องถิ่นเหล่านั้นยังมีอยู่ และจะเติบโตโดยเป็นภาคประชาสังคมและองค์กรปกครองท้องถิ่นรุ่นใหม่ในอิรัก

(*)The Research Triangle Institute (RTI) is a non-profit research organization based in the Research Triangle Park (RTP) of North Carolina. RTI is the oldest tenant of this major research park, and the sister organization to the Research Triangle Foundation. RTI has over 2,600 employees engaged in many distinct research areas. RTI describes its offerings as innovative research and development and ... services in health and pharmaceuticals, advanced technology, survey and statistics, education and training, economic and social development, and the environment.

RTI has regularly received many USA government contracts in reconstructing countries in governmental transition, generally helping to implement the privatising of public institutions, especially in Eastern Europe during the 1990s. In 2003 it was contracted by USAID to help in reconstructing Iraq, after the 2003 invasion. Specifically, USAID contracted RTI to privatise water systems and provide education system reform in Iraq. The National Institute on Drug Abuse has two contracts with RTI for, among other purposes, the manufacture and distribution of standardized cannabis cigarettes.

แน่นอนว่าการทำสงครามอิรัก สหรัฐฯ ไม่ได้ต้องการใช้วิธีบุกเสร็จโค่นซัดดัมได้ก็จบกันไป แต่สหรัฐต้องการมีผลประโยชน์ถาวรในอิรัก แต่การครอบครองอิรักด้วยกำลังทหารอย่างยาวนานไม่ใช่คำตอบที่ดี ทั้งจากการต่อต้านของชาวอิรักและการประณามจากประชาคมโลก และก็เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปสำหรับรัฐบาลอเมริกัน ดังนั้นการวางรากฐานที่ว่าฉลาดกว่า ลึกล้ำกว่า แยบยลกว่า น่าจะเป็นคำตอบสุดท้าย

การวางรากฐานสถาบันทางกฎหมาย เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม จึงเป็นภารกิจหลัก ขณะเดียวกัน ก็ 'จัดตั้ง' เสริมสร้างศักยภาพคนอิรักที่มีแนวโน้มจะเป็นมิตรกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในภายภาคหน้าไปพร้อมๆ กัน. USAID ยังได้ว่าจ้าง National Endowment for Democracy (NED) (*) ในรูปแบบของการให้เงินช่วยเหลือองค์กรพัฒนาเอกชนต่างประเทศ ดำเนินการในรูปแบบเดียวกัน ซึ่ง USAID ได้ยอมรับในเอกสารขององค์กรระบุว่า "เงินช่วยเหลือทั้งหมดเป็นการเมือง เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับนโยบายต่างประเทศของเราไปอีกนานนับทศวรรษ"

(*) The National Endowment for Democracy, or NED, is a U.S. non-profit organization that was founded in 1983, to promote democracy by providing cash grants funded primarily through an annual allocation from the U.S. Congress. Although administered as a private organization, its funding comes almost entirely from a governmental appropriation by Congress and it was created by an act of Congress. In addition to its grants program, NED also supports and houses the Journal for Democracy, the World Movement for Democracy, the International Forum for Democratic Studies, the Reagan-Fascell Fellowship Program, the Network of Democracy Research Institutes, and the Center for International Media Assistance. It has been accused by both right-wing and left-wing personalities of interference in foreign regimes, and of being set up to legally continue the CIA's prohibited activities of support to selected political parties abroad.

สำหรับประเทศอื่นๆ การเข้าไปของ USAID อาจไม่มีทางเลือกมากนัก เพราะต้องทำงานและเชื่อมโยงกับสถาบันและภาคประชาสังคมที่มีอยู่แล้ว แต่กรณีอิรักง่ายกว่ามาก จากเอกสารของ USAID ที่อธิบายถึงการทำงาน ที่จะต้องแบ่งพวกที่เป็นมิตร เป็นศัตรู และฝ่ายที่เป็นกลาง เพื่อจะได้จัดลำดับความสำคัญว่ากลุ่มใด มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจนโยบาย หลังจากนั้น จะต้องจัดตั้งกลุ่มในระดับพื้นที่ผ่านการฝึกอบรม ให้ความรู้ แล้วพวกนี้ก็จะไปลดอิทธิพลของกลุ่มต่อต้าน แล้วสร้างฉันทามติ (Building Consensus) ในการปฏิรูปตามนโยบายของสหรัฐได้ในที่สุด

RTI ก็ได้เน้นย้ำยุทธวิธี 'การสร้างฉันทามติที่กว้างขวางและยั่งยืนในหมู่ชนชั้นสูงให้สนับสนุนการปฏิรูป' โดยตัวอย่างของการเมืองในยูเครน ที่ยุทธวิธีการสร้างฉันทามติประสบความสำเร็จ (ด้วยเหตุนี้… รัฐบาลยูเครนจึงค่อนข้างเห็นพ้องกับสหรัฐฯ ในการวางท่อส่งน้ำมันและการลงทุนอุตสาหกรรมน้ำมันผ่านทะเลดำ)

…'ความตั้งใจดีในการพัฒนาชีวิตคนอิรัก' ได้ถูกอธิบายแล้วว่าจริงเท็จแค่ไหน…

ข้อมูลรวบรวมจาก

- เวบไซต์ AlterNet, Common Dreams, CorpWatch, Focus on Global South และ Multinational Monitor
- สำนักข่าว AP, CNN, BBC, REUTER, AFP และ XINHUA
- หนังสือพิมพ์ The Observer, Washington Post, San Diego-Tribune, Globes

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความวิชาการเกี่ยวเนื่อง 1583. WAR GAME: นรกเป็นเรื่องสนุก ผ่านอุตสาหกรรมบันเทิงทหาร


++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ : Release date 11 May 2008 : Copyleft by MNU.

อิรักเป็นขุมทองแคลิฟอร์เนียยุคใหม่ บรรยากาศการลงทุนนั้นกำลังพัฒนาขึ้นทุกวัน เพื่อสร้างโอกาสที่ดีให้แก่ธุรกิจเอกชนอเมริกันเข้าไปจับจองตลาดที่เคยถูกปิดในอิรัก. ทอม โฟเลย์ อดีตผู้อำนวยการด้านธุรกิจเอกชนของ CPA ระบุในใบแถลงข่าว. นาโอมิ ไคลน์ เจ้าของหนังสือ No Logo เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ ๓-๔ ธันวาคม ๒๕๔๖ ผู้ประกอบการชาวอเมริกันกว่า ๔๐๐ คน ได้ร่วมประชุมกัน ในหัวข้อ ReBuilding Iraq 2 ที่โรงแรมเชอราตัน แต่ไม่ใช่ในกรุงแบกแดด แต่เป็นที่อาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ผู้ประกอบการเหล่านี้มารวมตัวกันเพื่อหาโอกาสทำกำไรในอิรักจากโครงการต่างๆ ที่มีมูลค่ารวมถึง ๑๘,๖๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นเงินก้อนมหาศาลนับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาเปิดประมูลงานช่วยเยอรมันและญี่ปุ่นฟื้นฟูประเทศ

H