ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




10-06-2551 (1582)

รวมบทความเกี่ยวกับพลังงาน และผลกระทบสังคม สิ่งแวดล้อม
น้ำมันแพง เชอร์โนบิล และระบบไฟฟ้าประเทศเดนมาร์ก
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
บทความเกี่ยวกับพลังงาน และความมั่นคงปลอดภัยในภาวะสุ่มเสี่ยง
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความวิชาการต่อไปนี้ กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืนรวบรวมมาจากหลายแหล่ง
เป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาพลังงาน ซึ่งวนเวียนอยู่กับสังคมโลกมาหลายทศวรรษ
นับจากคริสตศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา เฉพาะในส่วนหน้าเว็บเพจนี้ จะเกี่ยวพันกับ
ปัญหาพลังงานเรื่องน้ำมันแพง ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก, ปัญหาเมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน
เกี่ยวกับการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิล ซึ่งส่งผลให้เกิดการรั่วไหล
ของกัมมันตภาพรังสี อันเป็นการส่งสัญญานเตือนให้กับสังคมโลกของมหันตภัยที่มนุษย์
ไม่อาจควบคุมได้ และสุดท้ายเป็นเรื่องของระบบไฟฟ้าในประเทศเดนมาร์ก ซึ่งผู้บริโภค
เป็นเจ้าของ โดยผ่านการจ่ายค่าไฟฟ้าตามปกติ ซึ่งส่วนหนึ่งหักไปเป็นหุ้นสหกรณ์ฯ
และถือครองเป็นเจ้าของตามสัดส่วนการใช้กระแสไฟฟ้า

สำหรับชื่อบทความบนหน้าเว็บเพจนี้ ประกอบด้วย
๑. น้ำมันยิ่งแพง บริษัทน้ำมันยิ่งกำไร แต่ยิ่งไม่รับผิดชอบต่อสังคม
๒. บาดแผลแห่งเชอร์โนบิล
๓. ระบบไฟฟ้าที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของ กรณีศึกษาประเทศเดนมาร์ก

โดยเรื่องแรกเขียนโดย ผศ.ประสาท มีแต้ม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ส่วนเรื่องที่สองนำมาจาก กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเรื่องสุดท้ายเขียนโดย
ดร.เดชรัต สุขกำเนิด: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

(ส่วนของเชิงอรรถเพิ่มเติมในบทความนี้ เป็นของกองบรรณาธิการฯ)
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๘๒
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๔ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


รวมบทความเกี่ยวกับพลังงาน และผลกระทบสังคม สิ่งแวดล้อม
น้ำมันแพง เชอร์โนบิล และระบบไฟฟ้าประเทศเดนมาร์ก
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
บทความเกี่ยวกับพลังงาน และความมั่นคงปลอดภัยในภาวะสุ่มเสี่ยง
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


๑. น้ำมันยิ่งแพง บริษัทน้ำมันยิ่งกำไร แต่ยิ่งไม่รับผิดชอบต่อสังคม
ผศ. ประสาท มีแต้ม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
06 May 2008 - 03:08:31. Category: Community/environment.


ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า "เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมาบ้าง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก" แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลก. ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกร ได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า "ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม"

บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ

(1) ผลประกอบการล่าสุดของบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ 6 อันดับแรกของโลก
(2) เส้นทางการค้าน้ำมัน รวมทั้งพ่อค้าน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมืองของโลก
(3) เปรียบเทียบระบบภาษีน้ำมันของประเทศต่างๆ ที่มีผลก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน และ
(4) ความไม่รับผิดชอบสังคมของบริษัทยักษ์ทั้งหก

(1) ผลประกอบการล่าสุดของบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ 6 อันดับแรกของโลก
สำนักข่าว BBC (29 เมษายน 2551) รายงานว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทเชลล์ (Royal Dutch Shell) (*) เพียงบริษัทเดียว มีผลกำไรสุทธิถึง 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึง 13% ถ้าคิดออกมาเป็นเงินบาทก็ประมาณ 2.48 แสนล้านบาท นี่เพียงแค่ 3 เดือน ถ้าทั้งปีที่นับรวมช่วงฤดูหนาวเข้าไปด้วยจะเป็นเท่าไหร่. ประเด็นสำคัญของเรื่องข้างต้นนี้ก็คือ กำไรกลับสูงกว่าปีก่อนถึงถึง 13% นั่นแปลความได้ว่า น้ำมันดิบยิ่งแพง บริษัทน้ำมันยิ่งกำไรขึ้น

(*)Royal Dutch Shell plc, commonly known simply as Shell, is a multinational oil company of British and Dutch origins. It is the second largest private sector energy corporations in the world, and one of the six "supermajors" [ ExxonMobil (XOM), BP (BP), Royal Dutch Shell (RDS), Total S.A. (TOT), Chevron Corporation (CVX), ConocoPhillips (COP)], (vertically integrated private sector oil exploration, natural gas, and petroleum product marketing companies). The company's headquarters are in The Hague, Netherlands, with its registered office in London, United Kingdom (Shell Centre).

The company's main business is the exploration for and the production, processing, transportation and marketing of hydrocarbons (oil and gas). Shell also has a significant petrochemicals business (Shell Chemicals), and an embryonic renewable energy sector developing wind, hydrogen and solar power opportunities. Shell is incorporated in the UK with its corporate headquarters in The Hague, its tax residence is in Netherlands, and its primary listings on the London Stock Exchange and Euronext Amsterdam (only "A" shares are part of the AEX index).

เพื่อไม่ให้เรารู้สึกงงกับตัวเลขที่ยังไม่ครบทั้งปีและไม่ครบทุกบริษัท เรามาดูข้อสรุปผลกำไรประจำปี 2550 ของบริษัทค้าน้ำมันใหญ่ๆ 6 อันดับของโลกซึ่งรวบรวมโดยกลุ่ม "เพื่อนของโลก" (Friends of the Earth) พบว่า บริษัทใหญ่ 6 อันดับแรกของโลก (คือ ExxonMobil (บริษัทแม่ของเอสโซ่), Royal Ducth Shell(ของเนเธอร์แลนด์), BP (ของอังกฤษ), Chevron (ซื้อกิจการบริษัทยูโนแคล บริษัท Chevron กำลังจะมาขุดเจาะน้ำมันในทะเลบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช), ENI (ของอิตาลี), TOTAL (ของฝรั่งเศส)) มีผลกำไรรวมกัน 124.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้ประชาชาติของไทย. จากข้อมูลที่ผู้เขียนค้นเพิ่มเติมพบว่า ในปี 2548 บริษัทกลุ่มนี้มีกำไรรวมกัน 95.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นั่นคือ กลุ่ม 6 บริษัทนี้มีกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นไปตามกติกาที่เขากำหนด คือยิ่งวัตถุดิบแพง กำไรยิ่งมาก

(2) เส้นทางการค้าน้ำมัน รวมทั้งพ่อค้าน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมืองของโลก
ถ้าถามว่าบริษัทเหล่านี้เป็นของใครบ้าง ชาติใดบ้าง เขาขุดน้ำมันจากประเทศใดไปขายประเทศใด และเกี่ยวข้องกับนักการเมืองระดับโลกอย่างไร… สิ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนก็คือ น้ำมันดิบส่วนใหญ่ถูกส่งไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก ประชากรอเมริกันมีประมาณ 5% ของโลกแต่ใช้พลังงานถึง 25% ของโลก ประเทศของตนก็มีน้ำมันดิบจำนวนมาก แต่ไม่ยอมขุดขึ้นมาใช้. สำหรับประเทศผู้ขายน้ำมัน ส่วนใหญ่ก็เป็นประเทศตะวันออกกลาง ซาอุดิอาราเบีย, อีรัก, อิหร่าน, เวเนซุเอรา, เม็กซิโก, ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา. ที่น่าตกใจกว่านั้น คือ ประเทศในจีเรีย ทั้งๆ ที่เป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบอันดับต้นๆ ของโลก แต่ประชากรของประเทศนี้กลับยากจนเกือบจะเป็นที่สุดในโลก

เกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจน้ำมัน ?
พูดถึงพ่อค้าน้ำมันกับการเมืองโลก เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นจากเรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่ของบริษัท Chevron ข้างเรือมีชื่อ Condoleezza Rice (*) ซึ่งเป็นชื่อของผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่ธรรมดา. เธอเป็นอดีตผู้อำนวยการของบริษัทนี้ Chevron แต่ได้ลาออกมาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เธอเป็นผู้หญิงผิวดำที่เราเห็นในจอทีวีบ่อยๆ ในข่าวต่างประเทศ เธอเป็นแม่ค้าน้ำมันและมีอำนาจสำคัญในการตัดสินใจว่าจะยกทหารไปยึดครองบ่อน้ำมันของประเทศใดบ้าง เช่น อีรัก อิหร่าน เป็นต้น

(*)Condoleezza Rice (born November 14, 1954) is the 66th United States Secretary of State, and the second in the administration of President George W. Bush to hold the office. Rice is the first black woman, second African American (after her predecessor Colin Powell, who served from 2001 to 2005), and the second woman (after Madeleine Albright, who served from 1997 to 2001 in the Clinton Administration) to serve as Secretary of State. Rice was President Bush's National Security Advisor during his first term. Before joining the Bush administration, she was a professor of political science at Stanford University where she served as Provost from 1993 to 1999. During the administration of George H.W. Bush, Rice served as the Soviet and East European Affairs Advisor during the dissolution of the Soviet Union and German reunification.

นักการเมืองอีกคนหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ Dick Cheney (*) ผู้มีตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐ ผู้นี้เคยทำงานในบริษัท chevron ที่มีความสัมพันธ์และร่วมกิจการกันกับบริษัท Halliburton (**) (Dick Cheney เป็นประธานบริษัท Halliburton ด้วย) หลังสหรัฐอเมริกาบุกอิรักจนเกิดความเสียหายยับเยิน บริษัท Halliburton ก็ได้รับงานจากรัฐบาลสหรัฐ จำนวน 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อไปฟื้นฟูประเทศอิรัก โดยไม่มีการประมูลใดๆ

(*) Richard Bruce "Dick" Cheney (born January 30, 1941) is the forty-sixth and current Vice President of the United States. As Vice President, Cheney is also the President of the United States Senate.

(**) Halliburton Energy Services is a United States-based multinational corporation with operations in more than 120 countries. It has been at the forefront of several media and political controversies in relation to its work for the U.S. Government, its political ties, and its corporate ethics. It is based in Houston, Texas, in the United States. Halliburton's major business segment is the Energy Services Group (ESG). ESG provides technical products and services for oil and gas exploration and production. Halliburton's former subsidiary, KBR, is a major construction company of refineries, oil fields, pipelines, and chemical plants.

สำหรับปัจจัยใดบ้างที่อิทธิพลต่อการกำหนดราคาน้ำมัน? คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับ 7 ปัจจัย เช่น ขึ้นกับ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ยิ่งค่าเงินดอลลาร์ตก ราคาน้ำมันก็สูงขึ้น(สำหรับหลายประเทศ) การประท้วงของชาวเวเนซูเอรา รวมทั้งนโยบายของประธานาธิบดี เป็นต้น

(3) เปรียบเทียบระบบภาษีน้ำมันของประเทศต่างๆ ที่มีผลก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน
ญาติผู้เขียนคนหนึ่งซึ่งเพิ่งกลับจากการท่องเที่ยวสหรัฐอเมริกา เล่าให้ฟังว่า "คนอเมริกันใช้น้ำมันกันอย่างสิ้นเปลืองมาก ราคาน้ำมันก็พอๆ กับในบ้านเรา แต่รายได้เขาสูงกว่าเราหลายเท่าตัว" การที่ราคาน้ำมันของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ส่วนมากแล้วขึ้นกับระบบภาษี ค่าการกลั่น ค่าการตลาดของแต่ละประเทศ ในที่นี้ผมจะยกมาเปรียบเทียบกันเพียง 3 ประเทศเท่านั้น คือ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และไทย

- กรณีของประเทศไทย ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 ลิตรละ 32.59 บาท โดยมีองค์ประกอบของราคาดังนี้คือ น้ำมันดิบ 64.0% (20.86 บาท,โดยประมาณ) ภาษีทุกชนิดรวมกัน 17.7% ค่าการกลั่น 8.8% (เฉลี่ย 2.8665 บาท) ค่าการตลาด 8.8% (2.5772 บาท) ค่ากองทุนน้ำมันและอนุรักษ์พลังงาน 1.53% ( 50 สตางค์)

- สำหรับราคาของประเทศสหรัฐอเมริกา ค่าเฉลี่ยของปี 2550 คือเป็นค่าน้ำมันดิบ 58% (ของไทย 64%) เป็นค่าการกลั่น 17% ค่าการตลาด 10% และภาษี 15% สำหรับราคาขายปลีกที่ปั๊มในรัฐนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 คิดออกมาเป็นเงินไทยแล้วประมาณลิตรละ 29.36 บาท ซึ่งถูกกว่าในประเทศไทย

- ประเทศเยอรมนี เท่าที่ค้นได้ล่าสุด น้ำมันเบนซินชนิดไร้สารตะกั่วเมื่อวันที่ 8 มีนาคม นี้ ราคาลิตรละ 72.82 บาท ในจำนวนนี้เป็นภาษีถึง 64% ( 46.60 บาท) การที่ประเทศเยอรมนี (รวมทั้งประเทศในยุโรปอื่นๆ) คิดภาษีในอัตราสูงเช่นนี้ ทำให้คนบางส่วนออกมาเรียกร้องให้ลดภาษีลง แต่ผลดีที่รัฐบาลมีนโยบายดังกล่าวก็คือ ทำให้น้ำมันที่ผลิตจากพืช ไม่ว่าจะเป็นไบโอดีเซล แก๊สโซฮอล สามารถเข้ามาแข่งขันกับน้ำมันฟอสซิลได้. ในช่วงเวลา 15 ปี จาก 2534-2548 ทำให้ยอดการใช้น้ำมันไบโอดีเซลในเยอรมนีเพิ่มขึ้นถึง 7 พันกว่าเท่า ในปี 2548 น้ำมันไบโอดีเซลเข้ามามีส่วนแบ่งการตลาดถึง 12% ในขณะที่ประเทศไทยมีเพียง 0.06% เท่านั้น (ข้อมูลปี 2546) การที่น้ำมันแพงทำให้คนหันมาประหยัด รถยนต์ส่วนบุคคลในเยอรมนีส่วนมากเป็นคันเล็กๆ ไม่เหมือนในอเมริกาที่ยาวคันละหลายวา

การทำให้น้ำมันราคาถูกอย่างในอเมริกา ทำให้คนไม่รู้จักการประหยัด ใช้อย่างสุรุยสุร่าย จนซดน้ำมันไปถึง 25% ของโลก อย่าลืมว่าน้ำมัน 1 ลิตรก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 2.5 กิโลกรัม และก๊าซนี้แหละที่ทำให้ปัญหาโลกร้อน

เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันของประเทศญี่ปุ่น ยุโรป และประเทศอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกากับแคนาดา) ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน เราจะเห็นว่าราคาน้ำมันในยุโรปแพงเกือบเป็น 3 เท่าของราคาในอเมริกาเหนือ หรือในสหรัฐอเมริกานั่นเอง. ถ้าเราคิดว่าน้ำมันที่เกิดจาการทับถมของซากพืชและสัตว์มานับล้านปีนี้เป็นสมบัติของคนรุ่นหลังด้วย การกำหนดภาษีในอัตราต่ำเกินไป นอกจากจะเป็นการกีดกันไม่ให้ไบโอดีเซลและพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เกิดขึ้นแล้ว ยังเป็นการเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจของผู้นำการเมืองของอเมริกันรุ่นนี้ ที่พวกเขาไม่สนใจว่าคนรุ่นหลังจะใช้อะไร พร้อมกับทิ้งพิษภัยโลกร้อนไว้อย่างยากที่จะแก้ไข

(4) ความไม่รับผิดชอบสังคมของบริษัทยักษ์ทั้งหก
ประเด็นสุดท้ายขอนำเสนอเพียงสั้นๆ ว่า กลุ่มสหภาพยุโรป ได้เสนอให้กลุ่มบริษัทน้ำมันช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงจำนวน 10% ในปี 2020 โดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงจากพืช แต่ให้หันมาใช้วิธีใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงระบบการกลั่น (ซึ่งเป็นเรื่องที่อธิบายยากในที่นี้) และอื่นๆอีก แต่ปรากฏว่า บริษัทผลิตน้ำมันไม่สนใจ ทั้งๆ ที่มีกำไรจำนวนมหาศาลทุกปี ขณะเดียวกันก็โฆษณาว่าลวงโลกว่า ตนเองสนใจแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสียเหลือเกิน


2. บาดแผลแห่งเชอร์โนบิล
http://www.fridaycollege.org/index.php?&file=forum&obj=forum.view(cat_id=en_news,id=27)
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แอนย่าเกิดในหมู่บ้านที่ถูกปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีจากการหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิง
นิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิลในพ.ศ. 2529 มะเร็งเนื้องอกในสมองที่เกิดขึ้นเมื่อเธออายุ 4 ขวบ
คือ จุดจบของชีวิตวัยเด็กของแอนย่า และจุดเริ่มต้นของชีวิตที่เจ็บปวดและเจ็บป่วย

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย - เนื่องในวันครบรอบ 22 ปีเหตุการณ์หายนะโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล (*) กรีนพีซเปิดตัวนิทรรศการภาพถ่ายเคลื่อนที่ "ประกาศนียบัตรหมายเลข 000358" เพื่อแสดงถึงร่องรอยบาดแผลและโศกนาฏกรรมของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นอกจากนี้ยังเปิดเผยถึงอุบัติภัยที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งใหญ่ในสเปนที่พึ่งเกิดขึ้น และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกแผนการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เนื่องจากมีความเสี่ยงที่ไม่อาจคาดเดาได้

(*)The Chernobyl disaster, reactor accident at the Chernobyl nuclear power plant, or simply Chernobyl, was the worst nuclear power plant accident in history and the only instance so far of level 7 on the International Nuclear Event Scale, resulting in a severe release of radioactivity into the environment following a massive power excursion which destroyed the reactor. Thirty people died in the explosion, but most deaths from the accident were attributed to fallout.

On 26 April 1986 at 01:23:44 a.m. (UTC+3) reactor number four at the Chernobyl Nuclear Power Plant located in the Soviet Union near Pripyat in Ukraine exploded. Further explosion and the resulting fire sent a plume of highly radioactive fallout into the atmosphere and over an extensive geographical area. Nearly thirty to forty times more fallout was released than had been by the atomic bombings of Hiroshima and Nagasaki.

The plume drifted all over parts of the western Soviet Union, Eastern Europe, Western Europe, Northern Europe, and eastern North America. Large areas in Ukraine, Belarus, and Russia were badly contaminated, resulting in the evacuation and resettlement of over 336,000 people. According to official post-Soviet data, about 60% of the radioactive fallout landed in Belarus.

"หายนะภัยเชอร์โนบิล เตือนเราว่าเพียงอุบัติภัยครั้งเดียวจะเปลี่ยนความฝันแห่งนิวเคลียร์ทั้งหมดให้กลายเป็นฝันร้ายอันน่าสะพรึงกลัว แท้จริงแล้วประเทศไทยมีศักยภาพมากพอที่จะพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืนกว่า ปลอดภัยกว่า และ มีต้นทุนต่ำกว่า" นายธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานรณรงค์ ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

"ประกาศนียบัตรหมายเลข 000358" เป็นหมายเลขประจำตัวที่มอบให้กับแอนย่า เปเซนโค จากเบลารุส เธอเป็นหนึ่งในเหยื่อของมหันตภัยครั้งนั้น ที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากสารกัมมันตภาพรังสีและโรคเนื้องอกในสมองเมื่ออายุ 4 ปี. ช่างภาพชื่อ โรเบิร์ต นอร์ธ และอันตัวเน็ธ เดอ ยอง ซึ่งเป็นนักข่าวได้เดินทางไปบันทึกภาพและเรื่องราวของหายนะเชอร์โนบิลในคาร์ซัคสถาน, ยูเครน, เบลารุส, ยูราล และ ไซบีเรีย แล้วนำถ่ายทอดสู่สายตาชาวโลกผ่านสมุดภาพที่ชื่อเดียวกันนี้

ประมาณ 5 ถึง 8 ล้านคนยังคงอาศัยอยู่ในบริเวณที่ได้รับการปนเปื้อนอย่างหนักจากสารกัมมันตภาพรังสีที่เกิดขึ้นจากแรงระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลเมื่อ 22 ปีก่อน หลักฐานล่าสุดที่เผยแพร่โดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซีย (The Russian Academy of Sciences) ระบุว่า ปัญหานี้ส่งผลกระทบมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในรายงานที่ตีพิมพ์ไปก่อนหน้า ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลนั้น ได้แก่ โรคมะเร็งต่อมทัยรอยด์, ลูคีเมีย, อาการผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ, ระบบขับถ่าย, การไหลเวียนของเลือด, ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน, การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน, การติดเชื้อ, ความผิดปกในยีนส์ โครโมโซม ระบบสืบพันธุ์, การเจริญเติบโตผิดปกติ, และภาวะทุพพลภาพด้านร่างกาย ระบบประสาท และประสาทสัมผัสต่างๆ

ล่าสุด กรีนพีซเปิดเผยอุบัติภัยที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อัสโก-วัน (Asco-I) (*) ในสเปน ที่เป็นผลทำให้เกิดการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีจำนวนมากในพื้นที่สาธารณะนอกเขตโรงไฟฟ้า. เอ็นเดซา/ไอเบอร์โดลา ซึ่งเป็นหน่วยงานดำเนินการโรงไฟฟ้าได้เก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับมาเป็นเวลาหลายเดือน (เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นนับแต่เดือนพฤศจิกายน 2007 แต่สภาความมั่นคงด้านนิวเคลียร์แห่งสเปน [The Spanish Nuclear Safety Council (CSN)] ไม่ได้ให้คำแนะนำใดๆ เกี่ยวกับการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี จนกระทั่งวันที่ 4 เมษายน - กองบรรณาธิการฯ) และหน่วยงานควบคุมดูแลของรัฐบาลหรือซีเอสเอ็น (CSN) ก็ยังคงมองข้ามความรุนแรงของปัญหานี้อยู่หลายวัน แม้ว่ากรีนพีซจะเผยแพร่รายละเอียดของอุบัติภัยไปแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากมีหลักฐานที่ชี้ชัด ภายหลังจึงยอมรับว่า มีการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีออกมาอย่างน้อยที่สุด 100 เท่าของปริมาณที่ได้ประกาศไว้ในตอนแรก อนุภาครังสีนิวเคลียร์ได้แพร่กระจายไปในระยะทางหลายกิโลเมตรจากที่ตั้งของโรงไฟฟ้า และคนจำนวนนับพันจำเป็นต้องตรวจร่างกายเพื่อสืบหาการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสี

(*)Asco Nuclear Power Plant is a nuclear power station at Asco in Spain.
An INES level 2 accident ocurred on November 2007 at the Unit 1 reactor. The Spanish Nuclear Safety Council (CSN) was not advised of the leak until April 4. Although the leak happened in November, particles were not detected outdoors until March 2008. On April 5, 2008, Greenpeace reported a leak, believing radioactivity linked to cobalt, manganese and other elements had been detected on roofs, fences and other places around the Asc? plant and said the leak had not been properly cleaned up.

CSN initially estimated that total radioactivity detected was about 235,000 becquerels. The council operating the plant later estimated that a maximum of 84.95 million becquerels of radioactivity were spilled. CSN announced it was changing the classification of the leak from Level 1 to Level 2 because of inadequate control of radioactive material and of providing incomplete and deficient information to the controlling body. An investigation was opened and the director of the plant was fired.

กรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลไทยล้มเลิกความตั้งใจที่จะผลักดันพลังงานนิวเคลียร์ และพิจารณาแผนพลังงานระยะยาวเสียใหม่ โดยผนวกพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้าในแผนการ. กรีนพีซระบุว่า พลังงานนิวเคลียร์ไม่มีบทบาทใด ๆ เลยในการช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2050 ในทางกลับกันการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพทางพลังงานจะเป็นทางออกของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลที่เลือกพลังงานนิวเคลียร์จะพบว่าความมั่นคงและความเป็นอิสระทางพลังงานของประเทศตน จะขึ้นอยู่กับสองสามประเทศและบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่สามารถป้อนเทคโนโลยีและเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ให้


3. ระบบไฟฟ้าที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของ กรณีศึกษาประเทศเดนมาร์ก

ดร.เดชรัต สุขกำเนิด: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารโลกสีเขียว ฉบับพฤษภาคม-เมษายน 2547)


ในช่วงเวลาที่เริ่มเขียนต้นฉบับเรื่อง "บริษัท กฟผ. กับคำถามจากสังคมไทย" ในฉบับก่อน ความตื่นตัวเรื่องการแปรรูปการไฟฟ้าในสังคมไทยยังมีน้อยมาก แต่ปัจจุบันนี้ การแปรรูปการไฟฟ้ากำลังได้รับความสนใจอย่างมาก และได้มีการนำเสนอข้อคิด ความเห็น และข้อเสนอต่างๆ มากมายในสังคมไทย อันเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งสำหรับสังคมประชาธิปไตย. ข้อเสนอหนึ่งของกระทรวงพลังงานที่ได้รับการพูดถึงมากขึ้นในระยะหลังคือ "การกระจายหุ้นให้กับผู้บริโภค" ซึ่งฟังดูน่าสนใจ แต่ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนว่า จะกระจายในลักษณะใด เพื่ออะไร จะกระจายเพื่อให้ผู้บริโภคมีสิทธิมีเสียงในการกำกับระบบไฟฟ้า หรือเพื่อให้ได้รับส่วนแบ่งเล็กน้อยจากมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้น (เผื่อเก็บไว้จ่ายค่าไฟฟ้าที่อาจจะแพงขึ้นด้วยเช่นกัน)

ในฉบับนี้ ผู้เขียนจึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าของประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของ เผื่อว่าสังคมไทยจะได้เห็นประเด็นในการพิจารณาเรื่องการกระจายหุ้นให้ผู้บริโภค และยังอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการแปรรูประบบไฟฟ้าของไทยด้วย ข้อมูลของประเทศเดนมาร์กที่นำเสนอในบทความนี้ มาจากเอกสารเรื่อง "Electricity Reforms, Democracy and Technological Change" ซึ่งเขียนโดย Prof. Frede Hvelplund (Department of Development and Planning) จากมหาวิทยาลัยออลบอร์ก ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2544

ระบบไฟฟ้าของเดนมาร์ก
ระบบไฟฟ้าของเดนมาร์กถือเป็นระบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสืบทอดมาจากวัฒนธรรมสหกรณ์ที่ฝังรากลึกอยู่ในการจัดการสังคมของชาวเดนมาร์ก กล่าวคือ ร้อยละ 53 ของระบบไฟฟ้าในเดนมาร์ก เป็นระบบที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของโดยตรง ในรูปของสหกรณ์ ส่วนอีกร้อยละ 47 เป็นระบบที่เทศบาลเป็นเจ้าของ. เนื่องจากภูมิประเทศที่เป็นเกาะและคาบสมุทร ระบบไฟฟ้าของเดนมาร์กจึงมิได้เชื่อมโยงกันเป็นระบบเดียวทั้งหมด แต่แยกออกเป็น 2 ส่วนคือ

- ELKRAFT ครอบคลุมพื้นที่เกาะซีแลนด์ (อันเป็นที่ตั้งของกรุงโคเปนเฮเกน) และ
- ELSAM ครอบคลุมพื้นที่คาบสมุทรจัทแลนด์ และเกาะฟูเนน

ในพื้นที่ ELKRAFT ระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นของเทศบาล แต่ในพื้นที่ ELSAM บริษัทจัดจำหน่าย 51 แห่งจากทั้งหมด 81 แห่ง จัดการในรูปสหกรณ์ที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของ โดยสหกรณ์ผู้บริโภคไฟฟ้าดังกล่าวมีสัดส่วนการจำหน่ายไฟฟ้าถึงร้อยละ 67 (หรือ 2 ใน 3) ของพื้นที่ ELSAM บทความนี้ จึงเน้นถึงพื้นที่ ELSAM เป็นหลัก เพราะต้องการนำเสนอรูปแบบของระบบไฟฟ้าที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของ

ระบบดังกล่าว เริ่มต้นจากในแต่ละพื้นที่ย่อยๆ (เช่นเมืองหรืออำเภอ) ซึ่งจะมีสหกรณ์ผู้บริโภคไฟฟ้าเพียงรายเดียว เพื่อทำหน้าที่ในการจัดจำหน่าย สหกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่ ELSAM มียอดขาย 700 ล้านหน่วยต่อปี (เทียบกับประเทศไทยก็เป็นจังหวัดขนาดกลาง และไม่ใช่แหล่งอุตสาหกรรมหนาแน่น เช่น ลำปางใช้ไฟฟ้า 740 ล้านหน่วย) และสหกรณ์ที่เล็กที่สุดมียอดขาย 1 ล้านหน่วยต่อปี (เทียบกับหนึ่งตำบลในประเทศไทย). ผู้บริโภคจะเข้าไปถือหุ้นของสหกรณ์ในพื้นที่ของตนโดยอัตโนมัติ ผ่านการจ่ายค่าไฟฟ้าในแต่ละรอบ ซึ่งจะแปลงไปเป็นหุ้นในสหกรณ์ และสัดส่วนการบริหารหรือการลงมติจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละสหกรณ์ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งระบบหนึ่งคนหนึ่งเสียง ระบบตัวแทนกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้า และระบบตามสัดส่วนการบริโภคไฟฟ้า

ในการผลิตและจัดส่งไฟฟ้า สหกรณ์ผู้บริโภคไฟฟ้าเหล่านี้จะเข้าไปถือหุ้นในโรงไฟฟ้าใหญ่อีกทอดหนึ่ง เช่นในพื้นที่ ELSAM มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 6 แห่ง โรงไฟฟ้าแต่ละแห่งล้วนมีสหกรณ์ผู้บริโภคในพื้นที่จัดส่งไฟฟ้าเป็นเจ้าของอยู่ ตามสัดส่วนการจำหน่ายไฟฟ้าของตน เราอาจเรียกโรงไฟฟ้าเหล่านี้ว่าเป็น โรงไฟฟ้าสหกรณ์ หรือสหกรณ์โรงไฟฟ้า แต่อย่าได้เข้าใจผิดว่าเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก โรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งที่ผู้เขียนเคยไปเยี่ยมชม มีขนาด 700 เมกะวัตต์ และเป็นโรงไฟฟ้าสหกรณ์เช่นกัน

ดังนั้น รูปแบบการบริหารระบบไฟฟ้าของเดนมาร์ก จึงเป็นไปลักษณะจากล่างสู่บน (หรือ Bottom-up) โดยเริ่มต้นจาก

(ก) ผู้บริโภคเลือกตัวแทนของตน
(ข) ตัวแทนของผู้บริโภคจะเลือกคณะกรรมการบริหารเพื่อจัดการบริหารสหกรณ์ผู้บริโภคไฟฟ้า
(ค) จากนั้นคณะกรรมการบริหารของสหกรณ์ผู้บริโภค ก็จะเลือกตัวแทนของตนเข้าเป็นตัวแทนในการบริหารสหกรณ์โรงไฟฟ้า และ
(ง) ผู้อำนวยการและผู้ช่วยของสหกรณ์โรงไฟฟ้าแต่ละแห่ง (ทั้งหมด 6 แห่ง) ก็จะเป็นตัวแทนของสหกรณ์โรงไฟฟ้า
เข้าไปบริหารระบบไฟฟ้าทั้งหมดหรือ ELSAM อีกต่อหนึ่ง

ระบบไฟฟ้าของเดนมาร์กจึงเป็นระบบที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค หรือหลักการประชาธิปไตย อย่างน้อยในฐานะของผู้ถือหุ้น ผู้บริโภคก็สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ในการดำเนินการ และสามารถใช้สิทธิใช้เสียงของตนในฐานะผู้ถือหุ้นได้มากกว่าผู้บริโภคทั่วไป. ระบบไฟฟ้าของเดนมาร์กยังเป็นระบบที่ไม่ได้มุ่งผลกำไร เพราะไม่ได้มีแรงจูงใจให้ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายไฟฟ้าแสวงหากำไรส่วนเกิน เนื่องจากมีข้อกำหนดชัดเจนว่า ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายไม่สามารถยักย้ายถ่ายเทกำไรส่วนเกินที่เกิดขึ้นไปลงทุนในกิจการอื่น แต่จะต้องใช้เพื่อการลงทุนในการผลิตไฟฟ้าหรือคืนให้กับผู้บริโภค โดยการลดราคาค่าไฟฟ้าในปีต่อไป

อย่างไรก็ดี ในแง่การจัดการ ระบบไฟฟ้าที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของก็จะมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพในเชิงต้นทุนให้มากที่สุด เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าของผู้บริโภค ซึ่งเป็นเจ้าของสหกรณ์ ดังนั้นระบบไฟฟ้าแบบนี้จึงน่าจะเรียกว่าเป็น "ระบบที่มุ่งเน้นผลกำไรของผู้บริโภค (Consumer Profit System)" และถึงแม้ว่า ในแต่ละพื้นที่จะมิได้มีการแข่งขันกันโดยตรง (เพราะมีสหกรณ์ผู้บริโภคไฟฟ้าเพียงรายเดียว) แต่ผู้บริหารสหกรณ์ผู้บริโภค และสหกรณ์โรงไฟฟ้าแต่ละแห่งต่างก็แข่งขันกันโดยทางอ้อม เพราะผลลัพธ์หรือประสิทธิภาพในการบริหารจะมีผลต่อการจ้างงานและผลตอบแทนของผู้บริหารเหล่านี้

ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ระบบไฟฟ้าของเดนมาร์กเป็นระบบที่เน้นการลงทุนด้วยตัวเอง โดยผู้บริโภคจะต้องลงทุนล่วงหน้าผ่านค่าไฟฟ้าที่ตนเองจ่าย ภาระหนี้ของระบบไฟฟ้านี้จึงน้อยมาก (หรือเพียงประมาณร้อยละ 5 ของมูลค่าการก่อสร้างทั้งหมด)

ผลการดำเนินงาน
ถึงแม้ว่า ระบบไฟฟ้าของเดนมาร์กจะเป็นลักษณะผูกขาดในแต่ละพื้นที่ แต่เนื่องจากเป็นระบบที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของ และเปิดกว้างและโปร่งใสในเรื่องการจัดการ ทำให้สหกรณ์ทั้งหลาย ล้วนมุ่งเน้นการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเชิงต้นทุนของตน ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งก็คือผู้บริโภคนั่นเอง. ดังจะเห็นได้จากสถิติในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า จำนวนของพนักงานในระบบลดลงไปร้อยละ 9 ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48 หรือเท่ากับผลิตภาพของพนักงานในระบบไฟฟ้าเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 61

ถ้าเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าของประเทศเดนมาร์กกับประเทศอื่นๆ ในยุโรป จะพบว่า ค่าไฟฟ้าของเดนมาร์กจะต่ำที่สุดคือ ประมาณ 2.22 บาทต่อหน่วย, เทียบกับของสวีเดน 2.83 บาทต่อหน่วย, อังกฤษ 3.9 บาทต่อหน่วย, และเยอรมัน 5.59 บาทต่อหน่วย (ข้อมูลปี พ.ศ. 2540). ทั้งนี้ ความแตกต่างดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นเนื่องมาจากต้นทุนเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวพันกับความแตกต่างในการกำหนดราคาด้วย

เนื่องจากในระบบไฟฟ้าที่เอกชนเป็นเจ้าของ (ตามการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนมักจะต้องการให้ต้นทุนต่ำ แต่อยากให้ราคาสูง คือผู้ผลิตเอกชนจะพยายามลดต้นทุนลง แต่มิได้พยายามลดราคาลงมาด้วย ตรงกันข้าม สหกรณ์ผู้บริโภคไฟฟ้าในเดนมาร์กจะต้องการทั้งต้นทุนต่ำ และราคาต่ำไปด้วยในตัว นี่เป็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เรียกว่า ประสิทธิภาพในเชิงต้นทุน (Cost efficiency) กับประสิทธิภาพในเชิงราคา (Price efficiency) อันเนื่องมาจากโครงสร้างความเป็นเจ้าของและแรงจูงใจที่แตกต่างกัน
ระบบไฟฟ้าที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของ จะมีแรงจูงใจให้เกิดทั้งประสิทธิภาพในเชิงต้นทุนและในเชิงราคา แต่ระบบไฟฟ้าที่เอกชนเป็นเจ้าของต้องการเพียงประสิทธิภาพในเชิงต้นทุน โดยต้องการคงราคาที่สูงเอาไว้ ยกเว้นไว้แต่จะมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น (ซึ่งเกิดขึ้นน้อยมากในระบบไฟฟ้า) หรือมีการควบคุมที่เข้มงวดจากรัฐบาล

ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาในแง่โครงสร้างราคา จะพบว่า ระบบไฟฟ้าของเดนมาร์กจะมีโครงสร้างค่าไฟฟ้าที่เอื้อต่อผู้บริโภครายย่อยมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับระบบไฟฟ้าที่ให้เอกชนเป็นเจ้าของ และมีการซื้อขายหุ้นกันในตลาดหลักทรัพย์ เช่น ในประเทศอังกฤษ ดังจะเห็นได้จาก

- สัดส่วนของราคาค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย (ต่ำกว่า 30,000 หน่วยต่อปี) ในเดนมาร์ก จะสูงกว่าค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ (มากกว่า 10 ล้านหน่วยต่อปี) เพียงประมาณร้อยละ 14. ในขณะที่ในอังกฤษ ผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยต้องจ่ายแพงกว่าผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ถึงร้อยละ 103 หรือกว่าหนึ่งเท่าตัว

- นอกจากนี้ยังพบว่า ภายหลังจากการแปรรูปแล้ว ค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในประเทศอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 (จากปี 1990-1997) ในขณะที่ค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่กลับลดลงร้อยละ 12.5 กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การแปรรูประบบไฟฟ้าจะเอื้อต่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่มากกว่ารายย่อย

- ในขณะที่ ค่าไฟฟ้าของผู้บริโภครายย่อยในเดนมาร์กลดลงร้อยละ 14 ในช่วงเวลาเดียวกัน และค่าไฟฟ้าของผู้บริโภครายใหญ่ในเดนมาร์กลดลงเพียงร้อยละ 5 โครงสร้างค่าไฟฟ้าของเดนมาร์กจึงมีลักษณะสม่ำเสมอกันมากกว่าระบบไฟฟ้าของประเทศอื่นๆ ในยุโรป

สาเหตุสำคัญประการหนึ่งก็คือ ระบบไฟฟ้าของเดนมาร์กไม่มีแรงจูงใจในการใช้กลยุทธความแตกต่างทางด้านราคา เพื่อเพิ่มผลกำไรของตนเอง. ต่างจากระบบไฟฟ้าที่เอกชนเป็นเจ้าของ ซึ่งมักจะกำหนดค่าไฟฟ้าไว้สูงกว่า สำหรับผู้บริโภคที่มีทางเลือกจำกัด เช่น ผู้บริโภครายย่อย, และกำหนดค่าไฟฟ้าต่ำกว่า สำหรับผู้บริโภคที่มีทางเลือกมากกว่า เช่น ผู้บริโภครายใหญ่ ซึ่งอาจผลิตเองหรือซื้อไฟฟ้าโดยตรงได้

ข้อควรคิดสำหรับเมืองไทย
จากกรณีศึกษาประเทศเดนมาร์ก เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ระบบไฟฟ้าที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของมิใช่การ "เอื้ออาทร" ให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เหมือนกับบรรดานักลงทุนอื่นๆ บ้าง แต่เป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้เข้าไปควบคุม กำกับ และรับผิดชอบในการจัดการระบบไฟฟ้าอย่างเต็มที่ การที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของเป็นเสมือนกับขาข้างหนึ่งในแบบจำลอง "เก้าอี้สี่ขา" ของการใช้สิทธิและอำนาจของผู้บริโภคในสังคมประชาธิปไตย

- ขาข้างที่หนึ่ง คือ การซื้อขายในระบบตลาด ซึ่งกรณีนี้ทำได้จำกัด เพราะระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นการผูกขาดโดยรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนไม่กี่ราย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบจำลองการแปรรูปของรัฐบาลที่ผ่านมายิ่งเป็นการผูกขาดตัดตอน ขาข้างนี้ในการใช้สิทธิและอำนาจของผู้บริโภคจึงน่าจะอ่อนแอลง

- ขาข้างที่สอง คือ การกำกับของรัฐ ผ่านทางอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร ซึ่งในกรณีของประเทศไทยก็ยังไม่แน่ใจว่า เมื่อ กฟผ. แปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว รัฐไทยจะใช้อำนาจดังกล่าวอย่างไร เนื่องจากอำนาจหน้าที่ ที่มา และความชอบธรรมขององค์กรกำกับดูแลอิสระยังไม่ชัดเจน และองค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญก็ยังไม่ได้จัดตั้งขึ้น แม้ว่าจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญมากว่า 6 ปีแล้วก็ตาม (ข้อมูลการเขียน 2547)

- ขาข้างที่สาม ก็คือ การที่ผู้บริโภคเข้าไปเป็นเจ้าของ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องการผูกขาด และการแสวงหากำไรส่วนเกิน และการไม่มีประสิทธิผลในการควบคุมของรัฐ (หรือไม่มีความตั้งใจจะควบคุม) ขาข้างนี้เป็นขาที่ใช้กันมากในเดนมาร์ก แต่แทบไม่ได้ใช้กันเลยในสังคมไทย

- ขาข้างที่สี่ คือ อำนาจของการสื่อสารและการเรียนรู้ในสังคม เพื่อให้เกิดความตระหนักและการรู้เท่าทันกันในสังคม ขาข้างนี้เพิ่งช่วยให้ผู้นำรัฐบาลไทยยอมทบทวนเรื่องการแปรรูประบบไฟฟ้า จากเดิมที่เคยบอกว่า "ตายเป็นตาย" ก็ต้องแปรรูป การเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคเข้าไปเป็นเจ้าของย่อมมีส่วนช่วยเสริมหนุนอำนาจส่วนนี้โดยตรง ทั้งในแง่การได้รับข้อมูลข่าวสารและการใช้สิทธิใช้เสียงในสังคม

ผู้เขียนได้แต่หวังว่า การกระจายหุ้นให้กับผู้บริโภคจะมิใช่นโยบาย "เอื้ออาทร" แต่น่าจะเป็นนโยบาย "เสริมอำนาจ" ของผู้บริโภคในการกำกับดูแลการจัดการสาธารณูปโภคร่วมกันกับภาครัฐอย่างจริงจัง หากเป็นเช่นนั้นจริง การดำเนินการอาจเริ่มต้นได้แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยแปรสภาพค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคจ่าย (อย่างน้อยส่วนหนึ่ง) ให้เป็นหุ้นของผู้บริโภคแต่ละราย รวมถึงการจัดระบบการมีส่วนร่วมหรือการใช้สิทธิใช้เสียงของผู้บริโภคหรือเจ้าของรายใหม่นี้ด้วย เพราะนี่คือหัวใจของระบบนี้ มิใช่การได้กำไรจากหุ้น

ทั้งนี้ ในช่วงต้น รัฐบาลก็ยังคงความเป็นเจ้าของระบบไฟฟ้าไว้อยู่ แต่มีเจตจำนงที่แน่วแน่ในการผ่องถ่ายอำนาจการบริหารให้กับผู้บริโภคมากขึ้น และมากขึ้นเรื่อยๆ ตามสิทธิของความเป็นพลเมืองไทย. การเข้ามาถือหุ้นของผู้บริโภคยังอาจเป็นคำตอบส่วนหนึ่ง สำหรับคำถามของท่านรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานที่ว่า สังคมไทยจะเอาเงินลงทุน 4 แสนล้านบาทมาจากไหน ถ้าไม่แปรรูปและเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพราะเมื่อคำนวณดูคร่าวๆ แล้ว หากผู้บริโภคชาวไทยต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น (ตามที่รัฐบาลคาดการณ์) และต้องการเป็นเจ้าของระบบไฟฟ้าเสียเองด้วย ก็คงต้องช่วยกันลงทุนเพิ่มกันคนละประมาณ 450 บาทต่อปี (โดยเฉลี่ยแบบเท่ากันเป็นเวลา 15 ปี) จากค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายโดยเฉลี่ยประมาณคนละ 3,700 บาทต่อปีในปัจจุบัน (หรือประมาณร้อยละ 12 ของค่าไฟฟ้าปัจจุบัน)

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภายใต้ระบบสหกรณ์นี้ การลงทุนหรือการเข้าไปถือหุ้นจะมากหรือน้อยย่อมเป็นไปตามการใช้ไฟฟ้าของแต่ละคน เพราะฉะนั้น หากใครมีเบี้ยน้อย และยังไม่อยากเป็นเศรษฐีหุ้นสหกรณ์โรงไฟฟ้า ก็ช่วยกันประหยัดไฟฟ้าก็แล้วกัน หากพวกเราผู้บริโภคช่วยกันประหยัดกันมากๆ และช่วยกลั่นกรองโครงการที่ไม่จำเป็นออกไป ซึ่งเราอาจไม่ต้องเสียเงินถึงสี่แสนล้านบาทในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ตามที่รัฐบาลคาดไว้ ก็เป็นไปได้

และนี่ก็คือ ความรับผิดชอบของผู้บริโภค ที่จะพบได้ไม่ง่ายนักในนโยบาย "เอื้ออาทร" ทั้งหลาย ซึ่งมุ่งกระตุ้นให้คนไทยบริโภค จนไม่ทันได้คิดใคร่ครวญ และรับผิดชอบต่อการลงทุนและต้นทุนต่างๆ ของสังคม และนี่ก็ตรงกันข้ามกับระบบไฟฟ้าปัจจุบัน ที่มีการตัดสินใจสร้างโรงไฟฟ้า และเซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าและก๊าซไปก่อนล่วงหน้า แล้วผลักภาระมาให้ผู้บริโภคจ่าย โดยผู้บริโภคไม่มีสิทธิได้รับทราบหรืออุทธรณ์แต่อย่างใด รวมถึงยังมากระตุ้นให้คนไทยใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพื่อจะได้ลดภาระค่า take or play ที่ได้ก่อไว้ก่อนหน้านี้ด้วย
ท่านผู้อ่านคิดว่า ระบบใดจะช่วยสร้างความยั่งยืนในสังคมไทยได้มากกว่ากัน ?

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความวิชาการเกี่ยวเนื่อง "พลังงานและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม"


++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ : Release date 10th May 2008 : Copyleft by MNU.

ดังนั้น การพัฒนาพลังงานทางเลือก จึงมิใช่เป็นการปรับเปลี่ยนทางเทคนิคหรือเชื้อเพลิงเท่านั้น หากแต่เป็นการปรับเปลี่ยนระบบคิดหรือกระบวนทัศน์ที่มีต่อการจัดการพลังงานพลังงานทั้งหมด โดยมิได้ให้ความสำคัญเฉพาะเป้าหมายทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวดังที่ผ่าน มา แต่ได้รวมถึงเป้าหมายทางสิ่งแวดล้อม สังคมและการเมืองด้วย การเลือกพลังงานทางเลือกจึงมิใช่เป็นเป็นการเลือกในระดับเทคนิค หรือเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นการเลือกกันตั้งแต่ปรัชญาพื้นฐาน แนวคิด ภูมิปัญญา และระบบการจัดการทางด้านพลังงานกันเลยทีเดียว จากบทเรียนในต่างประเทศหลายๆประเทศพบว่าพลังงานทางเลือกจะไม่ถูกเลือกเพียงเพราะว่า เทคโนโลยีเหล่านั้นมีต้นทุนต่ำ กระทั่งสามารถแข่งขันได้กับพลังงานจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เท่านั้น

H