ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




27-05-2551 (1574)

International Seminar on Defamation: Building a Regional Advocacy Platform
สื่อ กับกฎหมายหมิ่นประมาทในติมอร์ตะวันออก และกัมพูชา
สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการสื่อกับกฎหมายต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทแปลและเรียบเรียงนี้ ได้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนประกอบด้วย
๑. สื่อ กับกฎหมายหมิ่นประมาทในติมอร์ตะวันออก
๒. เสรีภาพสื่อกัมพูชา : เสรีภาพฉาบฉวย

เพื่อความชัดเจนในประเด็นต่างของงานแปลและเรียบเรียง
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงได้เพิ่มเติมหัวข้อ
และเชิงอรรถเพื่อความสะดวกในการค้นคว้า ดังต่อไปนี้
๑. สื่อ กับกฎหมายหมิ่นประมาทในติมอร์ตะวันออก
- เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพสื่อในฐานะบททดสอบ
- บทบัญญัติข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตกอยู่ในภาวะเสี่ยง
- นักข่าวรวมตัวกันเป็นสมาคม เพื่อช่วยร่างกฎหมายสื่อ
- องค์ประกอบคณะกรรมการด้านกฎหมายสื่อ
- การถ่วงดุลระหว่างกฎหมาย ความรับผิดชอบของสื่อ และจรรยาบรรณวิชาชีพ
- ผลที่ตามมาของกฎหมายหมิ่นประมาท
- กรณีแรก คดีของโฮเซ่ เบโล - คำถามที่ยูเอ็นต้องตอบ
- กรณีที่สอง คดีของอันเจลลิต้า ปิเรซ - ความเห็นของประธานาธิบดีสุ่มเสี่ยง
๒. เสรีภาพสื่อกัมพูชา : เสรีภาพฉาบฉวย
- ยกเลิกโทษทางอาญาในคดีหมิ่นประมาท แต่ใช้กฎหมายข้อมูลเท็จ
- สื่อกัมพูชามีเสรีภาพมากที่สุดในภูมิภาค แต่ความจริงต่างออกไป
midnightuniv(at)gmail.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

International Seminar on Defamation: Building a Regional Advocacy Platform
สื่อ กับกฎหมายหมิ่นประมาทในติมอร์ตะวันออก และกัมพูชา
สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

๑. สื่อ กับกฎหมายหมิ่นประมาทในติมอร์ตะวันออก
แปลจากรายงานเรื่อง Media and Defamation Laws in East Timor นำเสนอที่การสัมมนานานาชาติ International Seminar on Defamation: Building a Regional Advocacy Platform ระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ที่เมืองจ็อกจาการ์ต้า (Yogyakarta) ประเทศอินโดนิเซีย

โดย เฟอร์นันดา โบร์กิส
Fernanda Borges เป็นสมาชิกรัฐสภาแห่งชาติ ประเทศติมอร์ ตะวันออก

ขออนุญาตให้ดิฉันได้กล่าวขอบคุณคณะผู้จัดการสัมมนานี้ องค์กรพันธมิตรนักข่าวอิสระ ประเทศอินโดนิเซีย (The Alliance of Independent Journalists, Indonesia), ARTICLE 19, โครงการสนับสนุนการปฏิรูปประชาธิปไตย (Democratic Reform Support programme), Mr. Andrew Thornley และ Mr. Toby Mendel ที่ได้รวมประเทศติมอร์ตะวันออกเข้ามาในการริเริ่มที่สำคัญนี้ และขอบคุณที่เชิญดิฉันเข้าร่วมการสัมมนา

ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมการสัมมนานานาชาติครั้งนี้ เพื่อที่จะร่วมแบ่งปันประสบการณ์จากประเทศติมอร์ตะวันออก และมีส่วนร่วมสนับสนุนความพยายามต่อการจัดการปัญหาในประเด็นเรื่องสื่อกับกฎหมายหมิ่นประมาทในภูมิภาคอาเซียน

เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพสื่อในฐานะบททดสอบ
ความสำคัญของการริเริ่มดังกล่าว เป็นที่เข้าใจกันโดยย่อ โดยคำกล่าวของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งทวีปอเมริกา
(The Inter-American Court of Human Rights) ที่กล่าวว่า:

"เสรีภาพในการแสดงออก เป็นรากฐานที่รองรับการมีตัวตนของสังคมประชาธิปไตย เสรีภาพนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการก่อเกิดความคิดเห็นของสาธารณะ และยังเป็นเงื่อนไขที่เป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาพรรคการเมือง สหภาพแรงงาน สมาคมวิทยาศาสตร์และสมาคมทางวัฒนธรรมต่างๆ และต่อบุคคลที่ต้องการจะมีอิทธิพลต่อสาธารณชนโดยทั่วไปด้วย เสรีภาพนี้เป็นตัวแทนความหมายที่ทำให้ชุมชนมีอำนาจในทางเลือกเมื่อได้รับข้อมูลที่เพียงพอ ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าสังคมที่ไม่ได้รับข้อมูลเพียงพอไม่ได้เป็นสังคมที่มีเสรีภาพอย่างแท้จริง"

เสรีภาพสื่อเป็นบททดสอบที่แท้จริงที่สะท้อนมาตรฐานของการกระทำที่เป็นธรรม ความยุติธรรม และบูรณภาพในประเทศ ด้วยเหตุผลนี้ ประเทศติมอร์ตะวันออกจึงได้ฉวยเอาช่วงเวลาแรกเริ่มขณะที่ประเทศยังเป็นหน่ออ่อนของประชาธิปไตย ในการที่จะส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยการทำให้เกิดความมั่นใจว่า รัฐธรรมนูญแห่งรัฐตั้งอยู่บนหลักการเหล่านี้และสมาชิกรัฐสภาแห่งชาติได้ให้สัตยาบันรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) กลไกทางกฎหมายที่สำคัญยิ่งทั้งสองนี้ ประกันขอบเขตที่แน่นอนที่สิทธิมนุษยชนของพลเมืองได้รับการรับรองและปกป้อง

กลไกนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับประชาชนในติมอร์ตะวันออก ฐานที่มั่นคงที่ถูกวางไว้คือ การสร้างระบบที่ทรงคุณค่า วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมซึ่งกฎหมายใหม่ให้สิทธิที่กว้างขวางขึ้นต่อเสรีภาพในการแสดงออก โดยปราศจากข้อจำกัดที่ถูกกำหนดผ่านกฎหมายหมิ่นประมาท

ทั้งๆ ที่มีแง่บวกเหล่านี้ ประเทศติมอร์ตะวันออกยังคงต้องเผชิญหน้ากับอีกหลายประเด็น และความท้าทายเบื้องหน้า ในขณะที่กำลังพยายามให้เกิดการปฏิบัติในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก มันกำลังเป็นการพิสูจน์ว่าเป็นภารกิจที่ยากยิ่ง เมื่อถูกมองว่าประเทศที่ยังคงอยู่ในกระบวนการสร้างสถาบันทางประชาธิปไตยต่างๆ ที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชนนั้น ผู้นำทางการเมืองยังคงกำลังต่อสู้เพื่อกำหนดบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง รวมทั้งการเพิ่มอำนาจของพวกเขา ความสามารถของทรัพยากรบุคคลในรัฐและสื่ออ่อนแอ และท้ายสุดแต่ไม่ใช่สุดท้าย กรอบที่จำกัดของกฎหมายที่มีอยู่ในการที่จะสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่เป็นสากล

ที่ทำให้ปัญหาเลวร้ายลงไปอีก รัฐบาลชุดที่สองภายใต้รัฐธรรมนูญได้ตราประมวลกฎหมายอาญา เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2548 กำหนดให้การหมิ่นประมาทเป็นคดีอาญา ด้วยเหตุผลแห่งการเคารพสิทธิและเกียรติภูมิของบุคคลอื่น ในสภาพการณ์ที่ไม่มีกฎหมายสื่อที่ประกันเสรีภาพของหนังสือพิมพ์และสื่ออื่นๆ เสียงระฆังเตือนยิ่งดังมากขึ้นเมื่อเริ่มมีกรณีหมิ่นประมาททางแพ่ง (Alkatiri v Lasama) เกิดขึ้นแม้แต่ก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีจะประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา

บทบัญญัติข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตกอยู่ในภาวะเสี่ยง (คลิกอ่าน - ภาษาอังกฤษ)
บทบัญญัติข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และบทบัญญัติข้อ 19 แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights- ICCPR)(*)ตกอยู่ในภาวะเสี่ยง พัฒนาการทางกฎหมายในประเทศนี้ทำให้นักข่าวมีความยากลำบากยิ่งขึ้นที่จะรายงานข่าวเกี่ยวกับการทุจริต การบริหารที่ผิดพลาด หรือการไร้ประสิทธิภาพ และการทำให้เกิดความแน่ใจว่ารัฐบาลมีความโปร่งใสและรับผิดชอบ โดยที่ไม่ต้องสุ่มเสี่ยงกับการถูกลงโทษทางอาญา

(*)The International Covenant on Civil and Political Rights is a United Nations treaty based on the Universal Declaration of Human Rights, created in 1966 and entered into force on 23 March 1976. Nations that have signed this treaty are bound by it.

The International Covenant on Civil and Political Rights is monitored by the Human Rights Committee (a separate body to the Human Rights Council which replaced the Commission on Human Rights under the UN Charter in 2006) with permanent standing, to consider periodic reports submitted by member States on their compliance with the treaty. Members of the Human Rights Committee are elected by member states, but do not represent any State. The Covenant contains two Optional Protocols.

The first optional protocol creates an individual complaints mechanism whereby individuals in member States can submit complaints, known as communications, to be reviewed by the Human Rights Committee. Its rulings under the first optional protocol have created the most complex jurisprudence in the UN international human rights law system.

The second optional protocol abolishes the death penalty; however, countries were permitted to make a reservation allowing for use of death penalty for the most serious crimes of a military nature, committed during wartime.

ข้อถกเถียงที่เข้มข้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อนักข่าว องค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสาธารณชนทั่วไปไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ และเรียกร้องให้ประธานาธิบดีใช้สิทธิยับยั้งกฎหมายอาญาดังกล่าว ขณะที่การเจรจากำลังดำเนินอยู่ รัฐบาลได้สูญเสียอำนาจเป็นเหตุให้กฎหมายเป็นโมฆะ คดีหมิ่นประมาณจบลงอย่างรวดเร็วภายหลังที่คู่ความเจรจากันเองนอกศาล ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีคำพิพากษาในคดีหมิ่นประมาทนับตั้งแต่ติมอร์ตะวันออกได้รับอิสรภาพที่จะนำมาอ้างถึงได้

นักข่าวรวมตัวกันเป็นสมาคม เพื่อช่วยร่างกฎหมายสื่อ
แต่กระนั้น ประสบการณ์ได้ทิ้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไว้กับคำถามที่ไม่มีคำตอบเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อ และกฎหมายหมิ่นประมาทที่ต้องเตรียมไว้สำหรับกฎหมายสื่อฉบับใหม่ การถกเถียงก่อให้เกิดการตอบรับทางบวกของนักข่าวที่ได้รวมตัวกันเป็นสมาคมภายใต้ชื่อ ICLJ และ TLMDC (Timor Leste Media Development Centre) (*) เพื่อช่วยร่างกฎหมายสื่อ และเพื่อเตรียมความเห็นที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อประเด็นสื่อ และเพื่อสร้างความสมานฉันท์ในหมู่นักข่าว

(*) Timor-Leste Media Development Center (TLMDC)
In April 2005, a group of East Timorese journalists and media specialists affiliated with Internews Timor-Leste launched a non-governmental organisation (NGO) to help support independent media organisations. The Timor-Leste Media Development Center (TLMDC) offers a wide range of training options in print and broadcast journalism skills, technical support, media law, policy development, finance and administrative management. It also provides an email news summary service and undertakes monitoring work. The mission of this local media NGO is to support the development of a skilled, high-quality, independent media sector with the capacity to help build community and democracy in Timor-Leste, which gained independence in October 1999.
http://www.comminit.com/en/node/131460

เพื่อพิจารณากฎหมายสื่อ รัฐบาลได้ลงนามในข้อตกลงกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Development Programme - UNDP) เพื่อจัดเตรียมความช่วยเหลือทางเทคนิคสำหรับการร่างกฎหมาย และเตรียมจัดการอบรมหลังมีการบังคับใช้กฎหมาย โดยโครงการตามข้อตกลงนี้ มีความมุ่งหมายที่จะให้เกิดการมองไปข้างหน้าต่อกฎหมายสื่อ ที่มีฐานของการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคม และข้อคิดเห็นจากนานาชาติเกี่ยวกับกฎหมายสื่อที่ตั้งอยู่บนฐานของคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสื่อ ที่มีความรู้ความเข้าใจสถานการณ์ในติมอร์ตะวันออกและข้อปฏิบัติของนานาชาติ

การเตรียมการนี้จะจัดเตรียมที่ปรึกษาด้านกฎหมายสื่อนานาชาติไว้ด้วย ที่ปรึกษาเหล่านี้จะรับผิดชอบต่อการให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมาธิการ A ของรัฐสภาในการร่างกฎหมายสื่อ และในการพัฒนาขั้นตอนที่เป็นทางการ ซึ่งอนุญาตให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมาธิการ, การจัดทำประชาพิจารณ์ในเขตต่างๆ, การร่างเอกสารทางการ (white paper) ว่าด้วยบทบาทของกฎหมายสื่อ และให้ความช่วยเหลือคณะกรรมการด้านกฎหมายสื่อในการร่างหลักการและความเห็นที่เห็นชอบร่วมกันแล้วเสนอต่อคณะกรรมาธิการ A

องค์ประกอบคณะกรรมการด้านกฎหมายสื่อ
เพื่อให้เกิดความมั่นไจว่าผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ คณะกรรมการด้านกฎหมายสื่อซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 11 คน คือ ผู้แทนจากสมาคมนักข่าว, จากภาคประชาชน, จากภาคธุรกิจ, จากสื่อชุมชน, และนักกฎหมายของติมอร์ตะวันออก คณะกรรมการจะพิจารณาตรวจสอบกฎหมายทุกฉบับที่มีผลกระทบต่อสื่อ และที่ส่งเสริมพัฒนาการสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

นี่คือความก้าวหน้าทั้งหมดที่ปรากฏในประมวลกฎหมายอาญาฉบับใหม่ ที่รัฐบาลเพิ่งเสนอต่อรัฐสภามา ถ้อยคำในกฎหมายใหม่นี้ เป็นถ้อยคำเดียวที่รัฐบาลชุดก่อนใช้ในปี พ.ศ. 2548 นี่เป็นพัฒนาการที่น่าสนใจที่นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน (ซึ่งเป็นอดีตประธานาธิบดีด้วย) (*) ไม่เห็นด้วยกับข้อความในวรรคที่ว่าด้วยการหมิ่นประมาทในประมวลกฎหมายอาญาฉบับเก่า เพราะฉะนั้น จึงไม่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลนี้อยากที่จะทำให้การหมิ่นประมาทเป็นความผิดทางอาญาผ่านประมวลกฎหมายอาญา หรือต้องการรวมเรื่องหมิ่นประมาทไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งซึ่งสามารถถูกกำหนดโทษปรับ

(*)ซานานา กุสเมา (Xanana Gusmao) ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศติมอร์ตะวันออกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 -ผู้แปล

การถ่วงดุลระหว่างกฎหมาย ความรับผิดชอบของสื่อ และจรรยาบรรณวิชาชีพ
ขณะที่ร่างประมวลกฎหมายอาญาจะถูกจัดทำโดยรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว และเสนอต่อประธานาธิบดีเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมาย คณะกรรมการที่ตรวจตรากฎหมายเกี่ยวกับสื่อจำเป็นที่จะต้องรับรู้ความเป็นไปนี้และเข้าร่วมในการถกเถียง รัฐสภาจำเป็นที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบต่อนัยยะทั้งปวงเพื่อผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว และรัฐบาลจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลสืบเนื่องของการทำให้เรื่องหมิ่นประมาทเป็นความผิดทางอาญาในติมอร์ตะวันออก

การถ่วงดุลต้องเกิดขึ้นระหว่างการทำให้สื่อเกิดความหวาดกลัว และการเรียกร้องความรับผิดชอบจากสื่อและนักข่าว ข้อพิจารณาที่สำคัญกว่านั้นจำเป็นต้องให้รัฐบาลทำให้เกิดความมั่นใจว่านักข่าวมีพัฒนาการที่ดีต่อการยึดหลักการแห่งจรรยาบรรณวิชาชีพ และสร้างเกณฑ์ที่เป็นข้อแนะนำในการปฏิบัติงานของนักข่าว และสร้างความมั่นใจว่า รัฐได้จัดเตรียมการสนับสนุนที่เพียงพอในการจัดอบรมแบบทวิภาคีให้แก่นักข่าว เพื่อที่พวกเขาจะได้พัฒนาความเชี่ยวชาญและวินัยในการประกอบวิชาชีพสื่อ

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องการหมิ่นประมาทอาจเผ็ดร้อนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเราพุ่งเป้าไปที่สอง-สามประเด็น และคำถามที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่า รัฐบาลและรัฐสภานั้นได้รับข้อมูลที่รอบด้านเพียงพอในการตัดสินใจที่เป็นประโยชน์ต่อสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

คำถามคือ

1. ควรที่จะให้การหมิ่นประมาทเป็นความผิดในประมวลกฎหมายอาญา หรือควรให้การหมิ่นประมาทอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่ง
ที่มีโทษปรับตามคำสั่งศาล? อะไรคือข้อโต้แย้งและผลที่ตามมาของแต่ละกรณี?

2. อะไรเป็นความมุ่งหมายของรัฐบาล? การให้เรื่องหมิ่นประมาทเป็นความผิดทางอาญา หรือวางโทษปรับในกฎหมายแพ่ง?
3. มีการศึกษาเปรียบเทียบอะไรที่รัฐบาล AMP (the Alliance of the Parliamentary Majority) ได้ทำเพื่อประกอบการตัดสินใจนี้?

4. ข้อจำกัดทางอาญาและทางแพ่งเป็นไปตามหลักการและมาตรฐานที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
และกติการะหว่างประเทศที่ประเทศติมอร์ตะวันออกได้ลงนามไว้หรือไม่?

5. เจ้าของสื่อและนักข่าวมีความสามารถที่จะจ่ายค่าปรับจำนวนมหาศาลหรือไม่? อะไรคือผลที่จะตามมา ถ้าพวกเขาไม่สามารถจ่ายค่าปรับได้?

ผลที่ตามมาของกฎหมายหมิ่นประมาท
ผลที่ตามมาของการคุกคามที่แท้จริงและอันตรายจากนักการเมืองในการฟ้องร้อง ที่มีสาเหตุมาจากการหมิ่นประมาท ทำให้นักข่าวเกิดความกลัวที่จะเขียนเรื่องต่างๆ ที่จะนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดี และแนวโน้มสำหรับสื่อวิทยุโทรทัศน์ที่เป็นของรัฐนั้น นักข่าวจะหันไปเล่นบทบาทนักประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล โดยปราศจากการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งแง่ดีและแง่ด้อยของรัฐบาล สิ่งนี้เป็นเครื่องทำลายประชาธิปไตย ด้วยเหตุว่าสิ่งที่ต้องมีมาก่อนประชาธิปไตยคือเสรีภาพทางความคิด และการลื่นไหลอย่างเสรีของข้อมูลข่าวสาร

สองกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ (Jose Belo และ Angelita Pires) เกิดจากวิกฤตการณ์เมื่อปี พ.ศ. 2549 (*) และเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ (**) ที่ประธานาธิบดีของเราถูกทำร้ายบาดเจ็บสาหัสนั้น ก่อให้เกิดประเด็นที่บรรดาผู้บัญญัติกฎหมายควรขบคิด ต่อความจำเป็นที่ต้องมุ่งความสนใจไปที่หลักการของเสรีภาพในการแสดงออก และมาตรฐานสากลเพื่อที่จะคุ้มครองสิทธิของปักเจกบุคคล เช่นเดียวกับปกป้องผลประโยชน์ของสาธารณะ

(*) เพิ่มเติมโดยผู้แปล - วิกฤตการณ์การเมืองเกิดขึ้นในเมืองหลวงดิลี (Dili) ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2549 หลังจากที่นายกรัฐมนตรี Alkatiri มีคำสั่งปลดนายทหาร 600 นาย มีการก่อเหตุรุนแรงติดต่อกันหลายครั้ง โดยมีทั้งทหาร ตำรวจ และกลุ่มประชาชนติดอาวุธ ร่วมอยู่ในการก่อเหตุ

เมืองหลวงดิลีตกอยู่ในภาวะจลาจล ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน คนหลายพันคนต้องอพยพหนีภัยจากการจลาจล รัฐบาลติมอร์ตะวันออกต้องร้องขอให้กองกำลังรักษาความสงบนานาชาติ (International Stabilisation Force) เข้ามาช่วยควบคุมสถานการณ์ แต่วิกฤตการณ์ยังไม่ยุติ ทำให้ประธานาธิบดีซานานา กุสเมา (Xanana Gusmao) ประกาศภาวะฉุกเฉินในวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 และนายกรัฐมนตรี Alkatiri ประกาศลาออกในวันที่ 26 มิถุนายน. เมืองดิลีคืนสู่ความสงบภายหลังการลาออกของ นายกรัฐมนตรี Alkatiri โดยมี โฮเซ่ รามอส ฮอร์ต้า (Jos? Ramos-Horta) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน. เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 โฮเซ่ รามอส ฮอร์ต้า (Jos? Ramos-Horta) และคณะรัฐบาลชุดใหม่ปฏิญญานตนเข้าบริหารประเทศ

(**) เพิ่มเติมโดยผู้แปล - วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ประธานาธิบดีโฮเซ่ รามอส ฮอร์ต้า (Jose Ramos-Horta) ถูลอบทำร้ายบาดเจ็บสาหัสที่บ้านพักในกรุงดิลี ขณะที่นายกรัฐมนตรีซานานา กุสเมา (Xanana Gusmao) ถูกซุ่มโจมตีระหว่างเดินทางไปทำเนียบในวันเดียวกัน. กุสเมาหนีรอดได้ แต่ประธานาธิบดีฮอร์ต้าอาการสาหัสและถูกนำตัวไปรักษาที่ประเทศออสเตรเลีย โดยมีประธานรัฐสภาแห่งชาติ Fernando "Lasama" de Araujo ทำหน้าที่รักษาการณ์แทน ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ลอบสังหารประธานาธิบดีฮอร์ต้า จำนวน 2 คนถูกสังหารในเวลาต่อมา กระบวนการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้ร่วมก่อเหตุครั้งนี้ยังคงดำเนินต่อไป

กรณีแรก คดีของโฮเซ่ เบโล - คำถามที่ยูเอ็นต้องตอบ
กรณีแรก คดีของโฮเซ่ เบโล (Jose Belo) นักข่าวที่สัมภาษณ์และบันทึกภาพ Alfredo Reinado และ Salsinha ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มต่อต้านรัฐบาล. เบโลกล่าวอ้างว่า คณะสอบสวนข้อเท็จจริงขององค์การสหประชาชาติ (UN investigators) กำลัง"ข่มขู่เขา" เพื่อให้เขา "เปิดเผยข้อมูล" ของแหล่งข่าว เบโลโต้แย้งว่าการรักษาความลับของแหล่งข่าว เป็นหลักการสำคัญของวิชาชีพ และความซื่อสัตย์ของสื่อ

คำถามที่ยูเอ็นต้องตอบคือ พวกเขากำลังจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นของเบโลด้วยสาเหตุอันใด? หากการจำกัดนั้นเป็นเหตุผลของความมั่นคงของชาติและความสงบเรียบร้อยของประชาชนภายใต้บทบัญญัติข้อ 19 (3) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) มันสามารถที่จะขัดแย้งกับการตรวจสอบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติด้วยหรือ

ในการดำเนินการสอบสวนข้อเท็จขององค์การสหประชาชาติจำเป็นต้องทำให้เกิดความมั่นใจว่า พวกเขาไม่ได้กำลังละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกของเบโลและประโยชน์ทั่วไปในการส่งเสริมเสรีภาพในประเด็นต่างๆ ที่เป็นประโยชน์สาธารณะ ข้อสรุปที่จัดทำโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในกรณีของ Mukong v" Cameron (1994) เป็นหลักฐานอ้างอิงที่น่าสนใจ

กรณีที่สอง คดีของอันเจลลิต้า ปิเรซ - ความเห็นของประธานาธิบดีสุ่มเสี่ยง
กรณีที่สอง คือคดีของอันเจลลิต้า ปิเรซ (Angelita Pires) ที่ถูกศาลควบคุมตัวเพื่อการสอบสวนขยายผลกรณีเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ปิเรซแสดงความวิตกกังวลอย่างมากว่าการที่ประธานาธิบดีได้แสดงความเห็นกับสื่อมวลชน เรื่องการมีส่วนเกี่ยวข้องของเธอในเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการให้สื่อมวลชนสอบสวนดำเนินคดีเธอ และเป็นการหมิ่นประมาทที่กระทบต่อชื่อเสียงของเธอ คำถามต่อกรณีนี้ ส่วนหนึ่งอยู่ที่ความรู้ของภาครัฐและนักข่าวในเรื่องหลักการที่ บุคคลยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลว่าบุคคลนั้นกระทำความผิด และการแบ่งแยกอำนาจของฝ่ายต่างๆในระบบประชาธิปไตย ความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ

ข้อเสนอแนะ
ก่อนที่จะจบการนำเสนอนี้ ดิฉันขอนำเสนอความคิดบางประการและขั้นตอนที่พวกเราในภูมิภาคนี้จะร่วมมือกัน
ในความพยายามที่จะปกปักรักษาเสรีภาพสื่อ ดังต่อไปนี้

1. ในภูมิภาคเอเชียและแปซิกฟิก ยังไม่มีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พวกเราสามารถที่จะส่งเสริมแนวคิดนี้ และเรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐสภาของแต่ละประเทศเดินหน้าในความพยายามที่จะให้มีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งภูมิภาค

2. ในการส่งเสริมให้มีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งภูมิภาคที่สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกนั้น เราต้องการการสนับสนุนจากนักการเมืองที่มีคุณธรรม และเจตนคติที่ดี. สมาชิกของกลุ่มสหภาพรัฐสภา (the Inter Parliamentary Union - IPU) ที่ประสานงานอยู่กับคณะทำงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สามารถที่จะทำงานร่วมกันเพื่อให้มีมติต่อประเด็นนี้ และนำเสนอในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาเพื่อให้ประเทศสมาชิกรับรอง. ถ้ามีการรับรอง มติดังกล่าวนี้จะมีผลผูกมัดและจะช่วยให้สมาชิกรัฐสภาทั้งหลายมีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้นในการพิจารณาทบทวนกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพสื่อในแต่ละประเทศ

3. ทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับสื่อ และแก้ไขหากจำเป็นที่ต้องทำให้กฎหมายเหล่านั้นสอดคล้องกับบทบัญญัติข้อ 19 แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง (Article 19 of ICCPR) (*)

(*)Article 19
1. Everyone shall have the right to hold opinions without interference.
2. Everyone shall have the right to freedom of expression; this right shall include freedom to seek, receive and impart information and ideas of all kinds, regardless of frontiers, either orally, in writing or in print, in the form of art, or through any other media of his choice.
3. The exercise of the rights provided for in paragraph 2 of this article carries with it special duties and responsibilities. It may therefore be subject to certain restrictions, but these shall only be such as are provided by law and are necessary:
(a) For respect of the rights or reputations of others;
(b) For the protection of national security or of public order (ordre public), or of public health or morals.
http://www1.umn.edu/humanrts/instree/b3ccpr.htm

4. ยกเลิกกฎหมายใดๆ ที่มีโทษจำคุกต่อความผิดที่เกี่ยวกับสื่อ เว้นแต่ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการเหยียดหยามชาติพันธุ์ หรือความเห็นที่เป็นการเลือกปฏิบัติ หรือการปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรง

5. ทำให้เกิดความมั่นใจว่า โทษปรับใดๆ ต่อความผิดเกี่ยวกับการสบประมาท การหมิ่นประมาท และการดูหมิ่นใดๆ
จะไม่เกินกว่าความเสียหายที่ผู้ถูกละเมิดได้รับ

6. ส่งเสริมความหลากหลาย และความเป็นอิสระของหนังสือพิมพ์

7. ทำให้เกิดความมั่นใจว่า ผู้ปฏิบัติวิชาชีพสื่อของสถานีโทรทัศน์และวิทยุ ต่างได้รับการคุ้มครองให้ปลอดจากอิทธิพลทางการเมืองและทางธุรกิจ รวมไปถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระ และเคารพความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ

8. ทำให้เกิดความมั่นใจว่า มีหน่วยงานที่ออกใบอนุญาตการกระจายเสียงที่มีความเป็นอิสระ
9. กำหนดเกณฑ์ค่าจ้างที่ชัดเจน และถอนเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้สื่อ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการใช้เงินอุดหนุนเป็นเครื่องปิดปาก
สื่อในการวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายบริหาร

10. หลีกเลี่ยงการรวมศูนย์ที่มากเกินไปในการควบคุมสื่อ
11. สนับสนุนการเข้าถึงสื่ออินเตอร์เนท

ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับโอกาสในวันนี้ ที่ให้ดิฉันได้มานำเสนอและแลกเปลี่ยนความเห็นต่อการขยายขอบเขตของเสรีภาพในการแสดงออกในอาเซียน หวังว่าความพยายามของพวกเราในที่ประชุมนี้ จะบรรลุผลในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพสื่อในภูมิภาคนี้ ขอบคุณค่ะ

๒. เสรีภาพสื่อกัมพูชา : เสรีภาพฉาบฉวย
บทความนำเสนอที่การสัมมนานานาชาติ International Seminar on Defamation: Building a Regional Advocacy Platform ระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ที่เมืองจ็อกจาการ์ต้า (Yogyakarta) ประเทศอินโดนิเซีย

โดย อุม สาริน
Um Sarin เป็นประธานสมาคมเพื่อปกป้องนักข่าวกัมพูชา

ประเทศกัมพูชามีกฎหมายที่ประกันเสรีภาพสื่อ แต่ความเป็นจริงนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อเสรีภาพสื่อ มักถูกอ้างอย่างย้อนแย้งในการจำกัดเสรีภาพนี้ ว่าการใช้เสรีภาพนี้ต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ต้องไม่กระทบต่อจารีตอันดีงามของสังคม และต้องไม่ละเมิดกฎหมายมหาชน กฎระเบียบ และความมั่นคงแห่งรัฐ

ในประเทศกัมพูชา การหมิ่นประมาทถือเป็นประเด็นอ่อนไหว และบรรดาผู้มีอิทธิพลทั้งหลายใช้คำนี้มาจัดการกับนักข่าวและฟ้องร้องดำเนินคดีในศาล ตามประมวลกฎหมายอาญาของกัมพูชา บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำการหมิ่นประมาทมีโทษจำคุกสูงสุดหนึ่งปี และโทษปรับ 10 ล้านเรียล (ประมาณ 2,600 เหรียญสหรัฐ)

ปี พ.ศ. 2549 นักข่าว 3 คนต้องโทษจำคุกระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ถึงมกราคม พ.ศ. 2549 เพราะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล กรณีเกี่ยวกับการทำข้อตกลงชายแดนกับประเทศเวียดนาม ภายหลังที่ได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 18 มกราคม นายกรัฐมนตรีฮุนเซ็นกล่าวว่า นักข่าวทั้งสามคนยังคงต้องต่อสู้คดี อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้ถอนฟ้องนักข่าวทั้งสามในเวลาต่อมา ภายหลังที่พวกเขาขอโทษ

ยกเลิกโทษทางอาญาในคดีหมิ่นประมาท แต่ใช้กฎหมายข้อมูลเท็จ
ความเคลื่อนไหวที่น่าประหลาดใจเกิดขึ้น เมื่อนายกรัฐมนตรีฮุนเซ็น ประกาศต่อสาธารณชนในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ว่าจะสนับสนุนกิจกรรมใดๆ ที่เป็นเสรีภาพในการแสดงออกในกัมพูชา รวมถึงการยกเลิกโทษทางอาญาในคดีหมิ่นประมาท นายกรัฐมนตรีฮุนเซ็นมีคำสั่งให้คณะนักกฎหมายเตรียมการร่างประมวลกฎหมายอาญาใหม่ และเปลี่ยนโทษสำหรับคดีหมิ่นประมาทจากโทษอาญาเป็นโทษทางแพ่งซึ่งมีโทษปรับเท่านั้น ท้ายสุด เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สมาชิกรัฐสภากัมพูชาลงคะแนนเสียงให้ยกเลิกโทษจำคุกในคดีหมิ่นประมาท อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์นานาชาติตั้งข้อสังเกตว่า การแก้ไขโทษหมิ่นประมาทดังกล่าวนี้ยังไม่เพียงพอ และยังมีช่องทางอีกมากมาย ที่จะมีการใช้วิธีสั่งให้มีการจ่ายค่าปรับจำนวนสูงเพื่อที่จะปิดปากสื่อ

ทั้งๆ ที่มีการเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนว่าเป็นเชิงบวกที่ยกเลิกโทษอาญาในคดีหมิ่นประมาท แต่รัฐบาลกัมพูชายังคงใช้อาวุธชนิดอื่นๆ เพื่อคุกคามสื่อ คือกฎหมาย "ข้อมูลเท็จ" ที่สามารถลงโทษผู้เผยแพร่ข้อมูลด้วยโทษจำคุกระหว่าง 6 เดือน ถึง 3 ปี หรือมีโทษปรับเป็นเงินหนึ่งล้านเรียล ถึง 10 ล้านเรียล (ประมาณ 250 - 2,500 เหรียญสหรัฐ) หรือลงโทษทั้งจำและปรับ นักข่าวที่ถูกฟ้องหมิ่นประมาทในคดีแพ่งยังคงต้องเผชิญกับการคุกคามนี้ ถ้าพวกเขาไม่สามารถจ่ายค่าปรับจำนวนสูงนี้ได้

การยกเลิกโทษอาญาในคดีหมิ่นประมาทในกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ. 2549 นั้นได้รับการแซ่สร้องสรรเสริญจากชุมชนนานาชาติ แต่นั่นคือการฉาบหน้าครั้งใหญ่ของคดีหมื่นประมาทในกัมพูชา

สื่อกัมพูชามีเสรีภาพมากที่สุดในภูมิภาค แต่ความจริงต่างออกไป
รายงานประจำปีของกระทรวงข้อมูลข่าวสารระบุรายละเอียดว่า ในกัมพูชามีหนังสือพิมพ์จำนวน 341 ฉบับ นิตยสาร 119 ฉบับ วารสาร 30 ฉบับ และสถานีวิทยุ 22 แห่ง สื่อของกัมพูชามักจะถูกอธิบายว่ามีเสรีภาพมากที่สุดในภูมิภาค เพราะการเติบโตเฟื่องฟูของสื่อสิ่งพิมพ์ และไม่มีการเซ็นเซอร์โดยหน่วยงานรัฐ แต่ถ้าเรามองไกลออกไปจากปริมาณของหนังสือพิมพ์และนิตยสาร เราพบว่า สื่อทั้งหมดถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดและมีความโน้มเอียงเข้าข้างพรรคการเมือง สื่อเกือบทั้งหมดในกัมพูชามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง โดยสื่อส่วนใหญ่จะเลือกอยู่ข้างพรรคประชาชนกัมพูชาของรัฐบาล (Cambodia's People Party - CPP) (*) สถานการณ์ของแต่ละสื่อแตกต่างกันไป โทรทัศน์ทั้งหมดถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือพรรคซีพีพี ที่เป็นเจ้าของสถานี. สถานีวิทยุสองสามแห่งมีความสัมพันธ์กับพรรคฝ่ายค้าน ขณะที่หนังสือพิมพ์ทุกฉบับทำตัวเป็นกระบอกเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ ยกเว้นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นภาษาต่างประเทศ

(*)The Cambodian People's Party is the current ruling party of Cambodia. The party was called Kampuchean People's Revolutionary Party (often referred to by its French acronym 'PRPK') 1981-1991, and was the sole legal party in the country at the time. The party has an outright majority in the National Assembly of Cambodia, but governs in coalition with the royalist Funcinpec party. The current (as of 2007) Prime Minister, Hun Sen, is the vice president of the party. The party was constituted in early 1979, as pro-Vietnamese forces within the Communist Party of Kampuchea.

นักข่าวกัมพูชาจำนวนมากมีความหวาดกลัวในความปลอดภัยของชีวิต ในปี พ.ศ. 2550 จากการสำรวจโดยองค์กรสิทธิมนุษยชนในประเทศชื่อ LICADHO (*) โดยการสัมภาษณ์นักข่าว 150 คน พบว่านักข่าวจำนวนร้อยละ 65 หวาดกลัวว่าจะถูกทำร้ายร่างกาย นักข่าวจำนวนร้อยละ 62 หวาดกลัวว่าจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดี นักข่าวจำนวนมากกว่าร้อยละ 54 กล่าวว่า พวกเขาเคยถูกข่มขู่ว่าจะถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกฟ้องร้องดำเนินคดี

(*)Since 1992, LICADHO has been at the forefront of efforts to protect human rights in Cambodia and to promote respect for civil and political rights by the Cambodian government and institutions. Building on its past achievements, LICADHO continues to be an advocate for the people and a monitor of the government through wide-ranging human rights programs from its main office in Phnom Penh and 12 provincial offices.

LICADHO pursues its mandate through its 7 program offices:

- The Advocacy, Documentation and Resources Office compiles case files into a central electronic database, so that accurate information can be easily accessed and analyzed.

- The Human Rights Education Office provides training courses to target groups such as government officials, police, students and monks, as well as conducting dissemination sessions to the general public.

- The Monitoring Office investigates human rights violations and assists victims with the legal process. Specially-trained staff also monitor 18 prisons to assess conditions and ensure that pre-trial detainees have access to legal representation.

- The Medical Office provides medical assistance to prisoners and prison officials in 18 prisons, as well as providing medical care and referrals for victims of human rights violations.

- Project Against Torture provides comprehensive rehabilitation services to victims of torture and conducts advocacy against torture.

- The Children's Rights Office educates the public on children's rights, creates child protection networks at the grassroots level and investigates violations of children's rights.

- The Women's Rights Office educates the public about women's rights, investigates women's rights violations, and advocates for social and legal changes.

In addition, LICADHO conducts advocacy at the national level to bring about reforms, and works with other local and international NGOs to influence the government. LICADHO regularly produces comprehensive reports and briefing papers, and is one of the main sources of information on human rights in Cambodia.

In all of its activities LICADHO seeks to have maximum impact based on these principles:

- LICADHO's work should have a direct effect on the victims of human rights violations;
- LICADHO seeks to empower people to exercise their rights and protect themselves against abuses; and finally
- LICADHO aims to reduce the climate of violence and impunity by influencing and educating key players and policy makers.

The end result of these measures is a tangible improvement in the human rights situation.

สำหรับผู้สนใจสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่
http://www.licadho.org/aboutus.php
http://www.licadho.org/

อย่างน้อยที่สุด นักข่าว 9 คน ทั้งหมดเป็นนักข่าวของหนังสือพิมพ์ถูกฆาตกรรม โดยเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานของพวกเขา นับตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2536 (1993) ยังไม่มีฆาตกรคนใดในคดีเหล่านี้ถูกนำตัวมาดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรม และนี่คือสาส์นที่มีพลังของการลอยนวลของผู้ที่มุ่งทำร้ายนักข่าวที่เป็นเป้าหมาย

ตามที่สมาคมเพื่อการคุ้มครองนักข่าวกัมพูชา (Cambodian Association for the Protection of Journalist) บันทึกไว้ในปี พ.ศ. 2550 การประทุษร้ายต่อนักข่าวนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง เมื่อเทียบกับกรณีที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2549 มี 15 เหตุการณ์ที่นักข่าวถูกข่มขู่ มีคดีฟ้องร้องดำเนินคดีนักข่าวจำนวน 9 คดี มีการออกคำเตือนนักข่าว 3 กรณี และมีนักข่าว 8 คนถูกจับกุม

หลังการยกเลิกโทษอาญาในคดีหมิ่นประมาทเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 ข้อกล่าวหาที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด ในการจัดการกับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อในกัมพูชา (ซึ่งโทษจำขังยังคงมีอยู่) คือ เรื่องการเผยแพร่ ข้อมูลเท็จ ภายใต้มาตรา 62 ของกฎหมาย UNTAC (United Nation Transitional Authority in Cambodia) (*) ภายใต้บทบัญญัตินี้ ระบุโทษต่อการกระทำของนักข่าวที่สื่อข้อความ "เท็จ, ปลอม, หลอกลวง หรือโดยไม่มีความจริงแก่บุคคลที่สาม" โดยกระทำไป "ด้วยเจตนาร้าย" และการกระทำนั้น "กระทบต่อความสงบสุขของสังคม"

(*)The United Nations Transitional Authority in Cambodia, or UNTAC, was a United Nations peacekeeping operation in Cambodia in 1992-93. It was the first occasion on which the UN had taken over the administration of an independent member state, organized and run an election (as opposed to monitoring or supervising), had its own radio station and jail, and been responsible for promoting and safeguarding human rights at the national level. As the most comprehensive 'second-generation' UN peace operation to date, it is replete with lessons for the future.

UNTAC was set up in February 1992 to implement the Paris Peace Accords of October 1991, the product of intense diplomatic activity over many years. Its job was to restore peace and civil government in a country ruined by decades of civil war and neglect, to hold free and fair elections leading to a new constitution and to "kick-start" the rehabilitation of the country. It was to exercise 'supervision' or 'supervision or control' over all aspects of government, including foreign affairs, national defence, finance, public security and information, and to supervise, monitor and verify the withdrawal and non-return of foreign military forces; to canton, disarm and demobilize Cambodia's fighting factions, confiscate caches of weapons and military supplies, promote and protect human rights, oversee military security and maintain law and order, repatriate and resettle refugees and displaced persons, assist in mine clearance and the establishment of training programmes in mine clearance and mine awareness, rehabilitate essential infrastructure and assist in economic reconstruction and development.

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ : Release date 27 May 2008 : Copyleft by MNU.

ความสำคัญดังกล่าวเป็นที่เข้าใจกันโดยย่อโดยคำกล่าวของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งทวีปอเมริกา (The Inter American Court of
Human Rights) ที่กล่าวว่า: "เสรีภาพในการแสดงออก เป็นรากฐานที่รองรับการมีตัวตนของสังคมประชาธิปไตย เสรีภาพนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการก่อเกิดความคิดเห็นของสาธารณชน และ ยังเป็นเงื่อนไขที่เป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาพรรคการเมือง สหภาพแรงงาน สมาคมวิทยาศาสตร์และสมาคมทางวัฒนธรรมต่างๆ และต่อบุคคลที่ต้องการจะมีอิทธิพลต่อสาธารณชนโดยทั่วไปด้วย เสรีภาพนี้เป็นตัวแทนความหมายที่ทำให้ชุมชนมีอำนาจในทางเลือกเมื่อได้รับข้อมูลที่เพียงพอ ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าสังคมที่ไม่ได้รับข้อมูลเพียงพอไม่ได้เป็นสังคมที่มีเสรีภาพอย่างแท้จริง" (คัดมาจากบทแปล)

 

H
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณา
ธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๗๔
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕ หน้ากระดาษ A4)