ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




17-05-2551 (1563)

การหมิ่นประมาท : การสร้างเวทีระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนเสรีภาพสื่อ
เวทีระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนเสรีภาพสื่อ: กรณีอินโดนีเซีย
สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

บทความเพื่อสิทธิพลเมือง การเมือง สังคม และวัฒนธรรม
บทความแปลชุดนี้ เป็นรายงานนำเสนอในการสัมมนานานาชาติ เรื่อง
"การหมิ่นประมาท : การสร้างเวทีระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนเสรีภาพสื่อ"
จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๙-๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่โรงแรมสันติกา เมืองจ๊อกจาการ์ต้า
ประเทศอินโดนิเซีย โดยผู้ร่วมสัมมนาเป็น นักข่าว นักกฎหมาย และนักรณรงค์เพื่อเสรีภาพสื่อจาก
ประเทศอินโดนิเซีย ติมอร์ตะวันออก กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ไทย มาเลเซีย และออสเตรเลีย

ประสบการณ์ ชะตากรรม และการต่อสู้เพื่อเสรีภาพสื่อของประเทศต่างๆ ที่ถูกนำเสนอในการสัมมนานี้
ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ และชวนถกเถียง ย้อนแย้งในหลายประเด็น ทั้งความก้าวหน้าและ
ความถดถอยของสื่อ รวมถึงคำถามต่อหลักการแห่งจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อ. สื่อ มิได้ต่อสู้อยู่เพียง
ในห้องประชุมข่าว หรือแข่งขันกันในสนามข่าวเท่านั้น แต่ศาลได้กลายเป็นสนามการต่อสู้เพื่อเสรีภาพสื่อด้วย
สื่อเป็นได้ทั้งผู้คุกคาม และผู้ถูกคุกคาม

midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๖๓
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การหมิ่นประมาท : การสร้างเวทีระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนเสรีภาพสื่อ
เวทีระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนเสรีภาพสื่อ: กรณีอินโดนีเซีย
สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ความนำ
บทความแปลชุดนี้ เป็นรายงานนำเสนอในการสัมมนานานาชาติ เรื่อง "การหมิ่นประมาท : การสร้างเวทีระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนเสรีภาพสื่อ" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ที่โรงแรมสันติกา เมืองจ๊อกจาการ์ต้า ประเทศอินโดนิเซีย โดยผู้ร่วมสัมมนาเป็น นักข่าว นักกฎหมาย และนักรณรงค์เพื่อเสรีภาพสื่อจากประเทศอินโดนิเซีย ติมอร์ตะวันออก กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ไทย มาเลเซีย และออสเตรเลีย

ประสบการณ์ ชะตากรรม และการต่อสู้เพื่อเสรีภาพสื่อของประเทศต่างๆ ที่ถูกนำเสนอในการสัมมนานี้ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ และชวนถกเถียง ย้อนแย้งในหลายประเด็น ทั้งความก้าวหน้าและความถดถอยของสื่อ รวมถึงคำถามต่อหลักการแห่งจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อ. สื่อ มิได้ต่อสู้อยู่เพียงในห้องประชุมข่าว หรือแข่งขันกันในสนามข่าวเท่านั้น แต่ศาลได้กลายเป็นสนามการต่อสู้เพื่อเสรีภาพสื่อด้วย สื่อเป็นได้ทั้งผู้คุกคาม และผู้ถูกคุกคาม

ที่ฟิลิปปินส์

- ผู้ดำเนินรายการวิทยุถูกจับกลางห้องส่ง และถูกพิพากษาจำคุก 6 ปี เพราะเล่าข่าวเรื่อง ส.ส.หญิงต้องวิ่งเปลือยกายอยู่กลางโรงแรม เนื่องจากหนีสามีนักการเมืองอารมณ์ร้าย
- นักข่าวที่ถูกลอบสังหารต้องกลายเป็นจำเลยในคดีหมิ่นประมาท เมื่อพยายามที่จะร้องหาความยุติธรรม
- ประธานาธิบดีฟ้องร้องเพื่อเอาสื่อเข้าคุก
สถิติการคุกคามสื่ออย่างรุนแรงนับได้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ถึงขั้นต้องมีการเตรียมโทรศัพท์สายด่วน และหน่วยงานฉุกเฉินไว้รองรับ

ที่อินโดนิเซีย

- นักข่าวถูกลงโทษจำคุก 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา เพราะเขียนบทความกระตุ้นให้มีการสอบสวนเรื่องการคุกคามทางเพศที่ไม่อาจพิสูจน์ได้จนถึงที่สุด
- สื่อบางแห่งต้องปิดกิจการเพราะล่มจมจากการถูกศาลสั่งให้จ่ายค่าปรับจำนวนมหาศาลในคดีหมิ่นประมาท
- ขณะที่สภาการหนังสือพิมพ์แห่งอินโดนิเซียต่อสู้อย่างแข็งขัน เพื่อกำจัดกฎหมายทั้งปวงที่คุกคามเสรีภาพสื่อ
- คำร้องเรียนของสาธารณชนที่ถาโถมเข้ามาเรื่องสื่อไร้จรรยาบรรณก็เป็นอีกประเด็นท้าทายที่อาจยากลำบากกว่า สื่อจำนวนมากถูกเรียกว่า "นักข่าวซองขาว"
หรือ "นักข่าวแบล็คเมล์"

ที่กัมพูชา

ประเทศเดียวในอุษาคเนย์ที่มีการยกเลิกโทษอาญาในคดีหมิ่นประมาทที่สื่อถูกฟ้องร้อง แต่นักข่าวบอกว่า "นั่นเป็นเพียงความงดงามที่ฉาบหน้าไว้" ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ยังมีกฎหมาย "ข้อมูลเท็จ" ไว้ให้ผู้มีอำนาจใช้เป็นเครื่องมือในการส่งนักข่าวเข้าคุก

- นักข่าวต้องทำงานในภาวะที่หวาดกลัวว่าอาจตกเป็นจำเลยในข้อหาให้ "ข้อมูลเท็จ" หรือตกเป็นเป้าหมายของการฆาตกรรม และยังไม่เคยมีฆาตกรในคดีสังหารนักข่าวคนใดถูกนำตัวมาลงโทษในกระบวนยุติธรรม

- ความเป็นจริงอีกด้านหนึ่ง คือ องค์กรสื่อเกือบทั้งหมด เลือกที่จะเข้าอิงฐานอำนาจทางการเมือง ทั้งพรรครัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน จนกลายเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไข

ที่ติมอร์ตะวันออก

ประเทศที่ประกาศตัวว่ายังเป็นหน่ออ่อนของประชาธิปไตย กำลังขะมักเขม้นกับการร่างกฎหมายสื่อที่มีฐานรากของการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และอยู่บนหลักการสิทธิเสรีภาพ ที่เคารพสิทธิมนุษยชนของคนทุกคน แต่การร่างกฎหมายคุ้มครองสื่อและเสรีภาพในการแสดงออกนั้น ยังคงต้องเผชิญกับการท้าทายที่ยากยิ่ง

ขณะที่สื่อร้องเรียนว่าถูก "คุกคาม"จากคณะสอบสวนของยูเอ็น ให้เปิดเผยข้อมูลของแหล่งข่าวที่อาจเกี่ยวข้องกับกรณีลอบสังหารประธานาธิบดี สื่อก็ถูกกล่าวหาเช่นกันว่า "คุกคาม"ผู้ที่ถูกพาดพิงถึงในเหตุการณ์เดียวกัน ฯลฯ

การสัมมนาฯนี้ ร่วมจัดโดย
ARTICLE 19 โครงการณรงค์สากลเพื่อเสรีภาพในการแสดงออก
AJI องค์กรพันธมิตรนักข่าวอิสระ ประเทศอินโดนิเซีย
DRSP- USAID โครงการสนับสนุนการปฏิรูปประชาธิปไตย

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

นโยบายยุติธรรมแห่งรัฐ...โทษหมิ่นประมาททางอาญากับสื่อ
บทเรียนการต่อสู้ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งอินโดนิเซีย

โดย ลีโอ บาตูบารา
(Leo Batubara : เป็นรองประธานสภาการหนังสือพิมพ์อินโดนิเซีย)

แปลจากรายงานเรื่อง State's Justice Policy Maintains Criminal Defamation Against The Press
นำเสนอที่การสัมมนานานาชาติ International Seminar on Defamation: Building a Regional Advocacy Platform
ระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ที่เมืองจ็อกจาการ์ต้า (Yogyakarta) ประเทศอินโดนิเซีย

mapping โครงเรื่องบทเรียนการต่อสู้ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งอินโดนีเซีย ประกอบด้วย 5 ประเด็นดังต่อไปนี้

เรื่องที่ 1. รัฐธรรมนูญไม่ประกันเสรีภาพในการแสดงออก
เรื่องที่ 2. กฎหมายสื่อ (ฉบับที่ 40/2542) คุ้มครองเสรีภาพสื่อ
เรื่องที่ 3. จำนวนที่เพิ่มขึ้นของกฎหมายที่คุกคามเสรีภาพสื่อ
เรื่องที่ 4. เสรีภาพสื่ออินโดนิเซียถดถอยลง
เรื่องที่ 5. บทสรุป

เรื่องที่ 1. รัฐธรรมนูญไม่ประกันเสรีภาพในการแสดงออก
การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ของมาตรา 28E และ 28F ของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2488 (1945) คุ้มครองเสรีภาพสื่อ

มาตรา 28E
(4) บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะสมาคม ชุมนุม และแสดงความเห็นใดๆ

มาตรา 28F
บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะสื่อสารและรับข้อมูลข่าวสารเพื่อที่จะพัฒนาตัวเอง และสภาพแวดล้อมทางสังคมของพวกเขา, และมีสิทธิที่จะแสวงหา, รวบรวม, เป็นเจ้าของ, เก็บรักษา, จัดการ และให้ข้อมูลข่าวสารโดยใช้ทุกช่องทางที่มี

การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ของมาตรา 28J จัดเตรียมการคุ้มครองทางกฎหมายที่ต่อต้านการคุกคามเสรีภาพสื่อ:
(1) บุคคลทุกคนต้องเคารพสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่นในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม, ประเทศ และรัฐ

สภาการหนังสือพิมพ์กำลังต่อสู้เพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะทำให้มั่นใจว่าสิทธิของพลเมืองอินโดนิเซียในเรื่องเสรีภาพสื่อ ถูกทำให้เข้มแข็งในรัฐธรรมนูญ โดยให้ระบุถ้อยคำต่อไปนี้: "ข้อบังคับทุกข้อ, กฎระเบียบ และกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพสื่อไม่สามารถกระทำได้"

เรื่องที่ 2. กฎหมายสื่อ (ฉบับที่ 40/2542) คุ้มครองเสรีภาพสื่อ

กลไกในการแก้ปัญหาข้อพิพาทที่เพิ่มขี้นจากการรายงานข่าว อยู่บนหลักการพื้นฐานของกฎหมายสื่อ:
คัดค้านการลงโทษทางอาญาต่อสื่อ สนับสนุนให้ยกเลิกการลงโทษทางอาญากับสื่อ

ความเข้าใจต่อรายงานข่าวสองประเภทที่แตกต่างกัน

1. ข่าวที่เข้าลักษณะเป็นการทำงานตามวิชาชีพสื่อ

(1) การทำงานของสื่อรวมถึง : การแสวงหา, การรวบรวม, การเป็นเจ้าของ, การเก็บรักษา, การจัดทำและเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร,
(2) อยู่บนฐานของแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้, มีดุลยภาพและเที่ยงธรรม, ครอบคลุมความเห็นของทุกฝ่าย, ข้อเท็จจริงพิสูจน์ได้, ตรวจสอบและตรวจสอบซ้ำ,
(3) เขียน/รายงานโดยนักข่าวที่ทำงานโดยอิสระและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
(4) รายงานนั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน

หากรายงานข่าวละเมิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ หรือละเมิดกฎหมายสื่อ บทลงโทษ คือ

(1) ข้อความที่ผิดพลาดจะได้รับตีพิมพ์แก้ไข (ผ่านการใช้สิทธิในการโต้แย้ง) ถ้าสื่อปฏิเสธสิทธิที่จะโต้แย้ง [ของผู้เสียหาย -ผู้แปล]
จะต้องมีโทษปรับสูงสุด 500,000,000 รูปี (มาตรา 18.2)

(2) รายงานข่าวที่เป็นการหมิ่นประมาท สบประมาทหรือสร้างความเสียหาย รายงานข่าวที่ไม่เคารพหลักการที่สันนิษฐานว่าบุคคลยังเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งพิพากษา ต้องถูกลงโทษด้วยโทษปรับสูงสุด 500,000,000 รูปี (มาตรา 5.1 และ มาตรา 18.2)

2. รายงานข่าวที่นอกเหนือไปจากการประกอบวิชาชีพสื่อ (การปฏิบัติมิชอบในการประกอบวิชาชีพ):
การปฏิบัติมิชอบในการประกอบวิชาชีพ, รายงานข่าวที่ไม่เป็นไปตามหลักการวิชาชีพสื่อ สามารถที่จะถูกดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญา:

(1) หากรายงานข่าวนั้นไม่เป็นไปตามหลักการวิชาชีพ แต่เป็นการปฏิบัติมิชอบในการประกอบวิชาชีพ
(มาตรา 12 ของกฎหมายสื่อระบุไว้ว่า "ให้เป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ที่มีอยู่" และ ประมวลกฎหมายอาญา)

(2) รายงานข่าวที่ถูกจัดอยู่ในประเภทการปฏิบัติมิชอบในการประกอบวิชาชีพ:

- ข่าวที่มีจุดมุ่งหมายจะแบล็คเมล์
- ข่าวที่เป็นความเท็จที่เขียนขึ้นเอง
- ข่าวที่มีเจตนามุ่งร้ายต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ
- ข่าวที่มีเนื้อหาลามกอนาจารด้วยเจตนาที่จะปลุกกำหนัด/ความต้องการทางเพศของผู้อ่าน/ ผู้ฟัง/ ผู้ชม
- ข่าวที่มีเจตนาดูหมิ่นศาสนา

เรื่องที่ 3. จำนวนที่เพิ่มขึ้นของกฎหมายที่คุกคามเสรีภาพสื่อ

3.1 ประมวลกฎหมายอาญา:
ในยุคอาณานิคมที่อินโดนิเซียอยู่ภายใต้การปกครองของดัชต์ ได้มีการออกประมวลกฎหมายอาญา ในปี พ.ศ. 2460 (1917) ที่รู้จักกันในชื่อ
Wetboek van Strafrecht หรือในภาษาอินโดฯ คือ KUHP

กฎหมายนี้มี 37 มาตราที่ระบุโทษจำคุกนักข่าว ด้วยเหตุอันมาจากการปฏิบัติหน้าที่สื่อ
ปัจจุบัน อินโดนีเซียได้รับอิสรภาพมานานถึง 63 ปีแล้ว แต่กฎหมายฉบับนี้ ยังมีผลบังคับใช้อยู่

- ในช่วงการปกครองของประธานาธิบดีซูการ์โน (พ.ศ. 2488-2509) และประธานาธิบดีซูฮาร์โต (พ.ศ. 2509-2541) นักข่าว 20 คนถูกลงโทษจำคุกด้วยสาเหตุแห่งการปฏิบัติหน้าที่สื่อ เพราะเจ้าหน้าที่รัฐเห็นว่า รายงานข่าวของพวกเขาไม่เป็นประโยชน์ต่อรัฐ

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 บรรณาธิการบริหารของหนังสือพิมพ์รายวัน Indonesia Raya คือ Mochtar Lubis ถูกลงโทษจำคุก 9 ปี ด้วยเหตุจากบทความที่เขาเขียนเกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นอย่างแพร่หลายของเจ้าหน้าที่รัฐ เขาถูกพิพากษาลงโทษจำคุกด้วยความผิดฐานละเมิดมาตรา 154 และมาตรา 207 ของประมวลกฎหมายอาญาซึ่งระบุโทษจำคุกสูงสุด 7 ปี

ในช่วงของการปฏิรูปนี้ นักข่าวนับสิบคน ถูกจับเข้าคุกเพราะถูกกล่าวหาว่าละเมิดประมวลกฎหมายอาญา

1) Karim Paputungan หัวหน้ากองบรรณาธิการของ Rokyat Merdeka ถูกพิพากษาลงโทษจำคุกห้าเดือนและทัณฑ์บนอีก 10 เดือน (9/9/03) เพราะภาพประกอบรายงานข่าวที่เขาเขียนถูกพิจารณาว่าเป็นการหมิ่นประมาท Akbar Tanjung ประธานพรรค Golkar

Supratman บรรณาธิการบริหารของ Rakyat Merdeka ถูกพิพากษาลงโทษจำคุกหกเดือนและทัณฑ์บน 12 เดือน (17/10/03) เพราะข้อความพาดหัวข่าวว่า "ลมหายใจของเมกาวาตีส่งกลิ่นน้ำมันดีเซล" ("Megawati's Breath Smells Diesel Oil") ถูกพิจารณาว่าเป็นการหมิ่นประมาทประธานาธิบดีเมกาวาตี

2) Dahri Nasution บรรณาธิการบริหารนิตยสารรายสัปดาห์ Oposisi (opposition) ถูกศาลสูงพิพากษาว่ามีความผิดและสั่งจำคุกหนึ่งปี
วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2550 Nasution ถูกจองจำที่คุก Tanjung Gusta ในเมืองเมดาน เขาถูกฟ้องหมิ่นประมาทเพราะรายงานข่าวที่ตีพิมพ์ในฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ซึ่งมีข้อความว่า "สามปีครึ่งในตำแหน่ง - อธิการบดีของ IAIN ถูกกล่าวหาว่าสร้างความมั่งคั่งผ่านระบบพวกพ้องและการทุจริตคอรัปชั่น"

วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2549 ศาลสูงสุดมีคำพิพากษาลงโทษจำคุก Risang Bima Wijaya (*) หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายวัน Radar Jogja เป็นเวลาหกเดือน จากคดีหมิ่นประมาทที่ถูก Soemadi Martono Wonohito เจ้าของผู้พิมพ์หนังสือพิมพ์รายวัน Kedaulatan Rakyat ฟ้องร้องว่า เขาถูกหมิ่นประมาทจากรายงานข่าวที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Radar Jogja ช่วงระหว่างพฤษภาคม - ตุลาคม พ.ศ. 2545

(*) เพิ่มเติมโดยผู้แปล - คณะผู้ร่วมสัมมนานานาชาติฯ เข้าเยี่ยมและสัมภาษณ์ Risang Bima Wijaya ที่เรือนจำ Cemani ในเมือง Yogyakarta เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551. Risang Bima Wijaya ถูกฟ้องหมิ่นประมาทเพราะเขียนบทความ 14 ชิ้น เพื่อกระตุ้นให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ที่เขาได้รับร้องเรียนจากแหล่งข่าวสตรี 2 คน เขาแพ้คดีและถูกพิพากษาจำคุก 6 เดือน ระหว่างการถูกคุมขัง ทางกองบรรณาธิการจ่ายเงินเดือนให้ เขา 40%

ประมวลกฎหมายอาญาฉบับปัจจุบันซึ่งเป็นผลผลิตจากช่วงที่ดัชต์ปกครองอินโดนิเซียนั้น ได้ถูกนำมาใช้เป็นประโยชน์สำหรับการจับกุมคุมขังผู้นำขบวนการเพื่ออิสรภาพของอินโดนิเซียและนักข่าว

ข้อเท็จจริงนี้แสดงให้เราเห็นว่า ช่วงเวลา 63 ปีที่ผ่านมานับแต่อินโดนิเซียได้อิสรภาพ ประมวลกฎหมายอาญา (KUHP) ของประเทศถูกใช้เพื่อการปกป้องบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง และนักธุรกิจที่มี "ปัญหา" ด้วยการใช้โทษจำคุก หรือคุกคามด้วยคำขู่ว่า จะถูกจำคุกต่อนักข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ

(1) เจ้าหน้าที่รัฐที่ไร้ความสามารถ, นักการเมือง และนักธุรกิจ
(2) เจ้าหน้าที่รัฐหรือนักธุรกิจที่ถูกกล่าวหาว่า
--- เกี่ยวข้องกับ KKN
--- เกี่ยวข้องกับการพนัน หรืออยู่เบื้องหลังธุรกิจการพนัน
--- ละเมิดสิทธิมนุษยชน
--- เกี่ยวข้องกับธุรกิจยาเสพติด
--- เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติมิชอบของรัฐบาล

รัฐบาลกำลังร่างประมวลกฎหมายอาญาฉบับใหม่ ประกอบด้วย 61 มาตราที่สามารถลงโทษจำคุกนักข่าวด้วยเหตุแห่งการปฏิบัติงานตามวิชาชีพของพวกเขา กฎหมายสื่อนั้นคุ้มครองสื่อในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมตรวจสอบรัฐบาล แต่ประมวลกฎหมายอาญาทำลายกฎหมายสื่อและเสรีภาพสื่อ

3.2 กฎหมายแพ่ง (KUHPerdata) ทำให้สื่อล้มละลายได้:

- นิตยสาร Trust ถูกฟ้องร้องโดย John Hamenda ผู้อำนวยการของ PT. Petindo เนื่องจากตีพิมพ์ข่าวในนิตยสารฉบับวันที่ 1-7 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ที่พาดหัวว่า "กลุ่ม [บริษัท PT. Petindo] เป็นสาเหตุให้ BNI ล้มละลาย" ("The Group caused BNI to Collapse") ศาลจาการ์ต้ากลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าปรับแก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1 พันล้านรูปี (ประมาณ 100,000 เหรียญสหรัฐ -ผู้แปล)

- เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 Purwaning Yanuar ตัวแทนสำนักงานกฎหมาย O.C. Kaligis กระทำการในนามของ Marimutu Simivasan ผู้บริหารของ PT. Texmaco GROUP ยื่นฟ้อง Jakob Oetama ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา Kompas, Suryopratomo หัวหน้ากองบรรณาธิการ และ บริษัท PT. Kompas Media Nusantara ต่อศาลจาการ์ตากลาง กล่าวหาว่าภาพและรายงานข่าวเกี่ยวกับโจทก์ที่ตีพิมพ์ใน Kompas ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 - เดือนเมษายน พ.ศ. 2546 ไม่เป็นความจริง Kompas ถูกเรียกค่าเสียหายฐานหมิ่นประมาทเป็นตัวเงิน 150 เหรียญสหรัฐ และอื่นๆ มีมูลค่ารวมอีก หนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ

- วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2550 คณะผู้พิพากษาศาลสูงสุดมีคำพิพากษาให้นิตยสารไทมส์ (TIME Magazine) จ่ายค่าเสียหายแก่อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นเงินประมาณ 110 ล้านเหรียญสหรัฐ
นิตยสารไทมส์ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตีพิมพ์ผลรายงานการสอบสวนเกี่ยวกับการที่อดีตประธานาธิบดีสะสมความร่ำรวย ให้กับธุรกิจครอบครัวของตน หรือ Soeharto Inc. ไทมส์ เอเชีย (TIME Asia) รายงานว่าความมั่งคั่งของครอบครัวซูฮาร์โตมีมูลค่าสูงถึง 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ

3.3 กฎหมายฉบับที่ 1/2489 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง
ข่าวที่เป็นเท็จด้วยเจตนาที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบในสังคม จะมีโทษจำคุกสูงสุด 9 ปี

Bambang Harymurti บรรณาธิการนิตยสารเทมโป้ (Tempo Magazine) ถูก Tomy Winata (นักธุรกิจผู้ทรงอิทธิพลของอินโดนิเซีย) ฟ้องภายใต้กฎหมายนี้ และถูกพิพากษาจำคุก 9 ปี

3.4 กฎหมายฉบับที่ 32/2545 ว่าด้วยการกระจายเสียง

หลายมาตราในกฎหมายว่าด้วยการกระจายเสียง เป็นการเมืองเรื่องกฎหมาย ข่าวสารที่เผยแพร่ที่มีเนื้อหาหมิ่นศาสนา/สบประมาท, เป็นเท็จ ไม่เพียงแต่มีโทษจำคุก 5 ปี แต่ยังมีโทษปรับสูงสุดถึง 10,000 ล้านรูปี

3.5 กฎหมายฉบับที่ 10/2551 ว่าด้วยพรรคการเมือง (DPRD)
และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (DPR), สมาชิกวุฒิสภา (DPD) คุกคามเสรีภาพสื่อ

มาตรา 97 ระบุว่า "สื่อสิ่งพิมพ์ต้องจัดเตรียมพื้นที่ที่เป็นธรรมและเวลาที่เหมาะสมสำหรับรายงานข่าวและบทสัมภาษณ์ต่างๆ รวมทั้งประชาสัมพันธ์การณรงค์ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง"
กรณีที่มีการละเมิดมาตรานี้ สื่ออาจถูกลงโทษด้วยการสั่งปิด [ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 99 (1)]

ส่วนมาตรา 18 (2) ของกฎหมายสื่อระบุว่า "ผู้ใดเซ็นเซอร์และสั่งห้ามสื่อมีโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี และโทษปรับสูงสุด 500 ล้านรูปี

3.6 กฎหมายว่าด้วยความโปร่งใสของข้อมูลข่าวสารสาธารณะ (UU KIP)

กฎหมายว่าด้วยความโปร่งใสของข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ซึ่งมีผลเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายที่ขัดแย้งในตัวเองด้วยกฎหมายใช้ชื่อว่าความโปร่งใส แต่กลับกำหนดโทษจำคุกไว้ในตัวเนื้อหา กฎหมายนี้วางระเบียบเรื่องข้อมูลที่เป็นความลับและข้อมูลสาธารณะ ข้อมูลสาธารณะต้องเปิดให้สาธารณะชนสามารถเข้าถึงได้, แต่, ยังคงมีโทษจำคุกสูงสุด 1 ปีสำหรับ "บุคคลที่ใช้ข้อมูลสาธารณะในทางไม่สุจริต มาตราเหล่านี้เป็นที่เชื่อว่าเพื่อสกัดกั้นประสิทธิภาพของการทำข่าวเชิงสืบสวนในการใช้ข้อมูลสาธารณะเพื่อป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นในวงราชการ และรัฐวิสาหิจ (BUMN)

3.7 กฎหมายฉบับที่ 11/2551 ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารทางอิเลคโทรนิคส์ คุกคามเสรีภาพสื่อ

พัฒนาการด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดและความก้าวหน้าของธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่ต้องตามให้ทันการปรับตัวของสื่อ ผลผลิตด้านสื่อนอกจากเผยแพร่ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์แล้ว ยังมีสื่อออนไลน์ สถานีวิทยุ โทรทัศน์ และสื่ออินเตอร์เนท สื่อกระแสหลัก เช่น Kompas, Media Indonesia, Tempo ในปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้ในรูปแบบของสื่ออิเลคโทรนิคส์ด้วย

มาตรา 27 (3) และมาตรา 45 (1) ของกฎหมายข้อมูลข่าวสารฯ (UU ITE) ระบุว่า สื่อที่เผยแพร่ข้อความที่มีเนื้อหาหมิ่นศาสนา และหมิ่นประมาทในรูปแบบของสื่ออิเลคโทรนิคส์มีโทษจำคุก 6 ปี และ/ หรือโทษปรับสูงสุด 1,000 ล้านรูปี

ปัญหาคือ กฎหมายสื่อและประมวลกฎหมายอาญานิยามการหมิ่นศาสนา และการหมิ่นประมาทแตกต่างกัน ตัวอย่างที่อธิบายได้คือคดีของนิตยสารเทมโป้ "Ada Tomy di Tenabang (3/3/2546)

ตามคำตัดสินของศาลจาการ์ต้ากลางและศาลสูงแห่งจาการ์ต้า โดยใช้ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 1/2489 เป็นความผิดทางอาญา เพราะรายงานข่าวของนิตยสารเทมโป้มีข้อความที่เป็นเท็จ หมิ่นศาสนา และหมิ่นประมาท
แต่คำพิพากษาของศาลสูงเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (9/2/06) รายงานข่าวชิ้นนี้ไม่ถือเป็นการละเมิดภายใต้กฎหมายสื่อ

เรื่องที่ 4. เสรีภาพสื่ออินโดนิเซียถดถอยลง

เรื่องที่ 5. บทสรุป

จากการวิเคราะห์ทั้งหมดข้างต้น เราสามารถสรุปได้ดังนี้

ประการแรก นโยบายยุติธรรมแห่งรัฐซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญาที่กล่าวมาทั้งหมดมีบทบัญญัติที่คุกคามเสรีภาพสื่ออย่างชัดเจน
กฎหมายสื่อคุ้มครองการควบคุมสื่อ เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลแห่งรัฐ

ประการที่สอง ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน เสรีภาพสื่อเป็นอย่างไร? ด้านหนึ่ง ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ประกาศว่าจะคุ้มครองเสรีภาพสื่อ แต่อีกด้านหนึ่งคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของเขากลับคุกคามสื่อ

อ่านบทความเกี่ยวเนื่อง: เวทีระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนเสรีภาพสื่อ

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ : Release date 17 May 2008 : Copyleft by MNU.

ที่ฟิลิปปินส์-ผู้ดำเนินรายการวิทยุถูกจับกลางห้องส่ง และถูกพิพากษาจำคุก 6 ปี เพราะเล่าข่าวเรื่อง ส.ส.หญิง ต้องวิ่งเปลือยกายอยู่กลางโรงแรม เนื่องจากหนีสามีนักการเมืองอารมณ์ร้าย - นักข่าวที่ถูกลอบสังหารต้องกลายเป็นจำเลยในคดีหมิ่นประมาท เมื่อพยายามที่จะร้องหาความยุติธรรม - ประธานาธิบดีฟ้องร้องเพื่อเอาสื่อเข้าคุก. สถิติการคุกคามสื่ออย่างรุนแรงนับได้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ถึงขั้นต้องมีการเตรียมโทรศัพท์สายด่วน และหน่วยงานฉุกเฉินไว้รองรับ.
ที่อินโดนิเซีย
- สื่อบางแห่งต้องปิดกิจการเพราะล่มจมจากการถูกศาลสั่งให้จ่ายค่าปรับจำนวนมหาศาลในคดีหมิ่นประมาท - ขณะที่สภาการหนังสือพิมพ์แห่งอินโดนิเซียต่อสู้อย่างแข็งขัน เพื่อกำจัดกฎหมายทั้งปวงที่คุกคามเสรีภาพสื่อ (คัดลอกมาบางส่วนจากบทความ)

H