1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
ด้านลบของการปฏิวัติจีเอ็มโอ:
บทเรียนจากละตินอเมริกา
ประหารเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต
(จีเอ็มโอ): ขจัดลัทธิอาณานิคมชีวภาพ (๒)
ภัควดี
วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย
บทความเพื่อสิทธิพลเมือง
อธิปไตยทางอาหาร
บทแปลต่อไปนี้เดิมชื่อ : ด้านลบของการปฏิวัติจีเอ็มโอ: บทเรียนจากละตินอเมริกา
แปลจาก Latin America: The Downside of the GM Revolution,"
เขียนโดย Carmelo Ruiz-Marrero, " Americas Policy Program Special Report
(Washington, DC: Center for International Policy, December 3, 2007)
โดยมีลำดับหัวข้อโดยสังเขปต่อไปนี้...
- ถั่วเหลืองในอเมริกาใต้:
หายนะของสิ่งแวดล้อม
- พื้นที่ลุ่มน้ำแอมะซอน บราซิล
- อาร์เจนตินา: เปลี่ยนจากยุ้งฉางของโลก กลายเป็นสาธารณรัฐอาหารสัตว์
- เวเนซุเอลา: จุดยืนที่ขัดแย้งกันเอง
- พืชดัดแปลงพันธุกรรม: ความจริงและความลวง
- เม็กซิโก: การรุกรานของพืชจีเอ็มโอ
- ยุทธศาสตร์ "สีเขียว" ของระบบทุนนิยม
- ประหารเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต: ชัยชนะที่เมืองกูรีตีบา
- ลัทธิอาณานิคมทางชีวภาพ: การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
- การรณรงค์ด้านเมล็ดพันธุ์ของ MST และ เวียคัมเปซินา
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๕๕๔
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๔.๕ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ด้านลบของการปฏิวัติจีเอ็มโอ:
บทเรียนจากละตินอเมริกา
ประหารเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต
(จีเอ็มโอ): ขจัดลัทธิอาณานิคมชีวภาพ (๒)
ภัควดี
วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เม็กซิโก: การรุกรานของพืชจีเอ็มโอ
นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 นักวิทยาศาสตร์หลายคนเตือนว่า พืชจีเอ็มโอสามารถแพร่กระจายปนเปื้อนกับพืชตามธรรมชาติ
หากมีการเพาะปลูกในแปลงเปิด ก็ไม่มีทางควบคุมการแพร่กระจายของพืชจีเอ็มโอ ไม่ว่าด้วยการถ่ายละอองเรณูหรือการแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด
โดยผลลัพธ์ที่จะเกิดตามมานั้น เป็นสิ่งที่คาดทำนายไม่ได้และแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ด้วย
"เมล็ดพันธุ์เป็นที่พึ่งเพียงอย่างเดียวของเรา หากว่าความปลอดภัยของพันธุวิศวกรรมได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความเชื่อที่ผิดขึ้นมา"
นี่คือคำแนะนำของสหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้ห่วงใยสังคม (Union of Concerned Scientists)
(*)
(*)The Union of Concerned Scientists (UCS) is a nonprofit advocacy group based in the United States. The UCS membership includes many private citizens in addition to professional scientists. Emeritus Professor Kurt Gottfried, a former senior staffer at CERN, currently chairs the UCS Board of Directors.
The Union of Concerned Scientists was founded in 1969 by faculty and students of the Massachusetts Institute of Technology, located in Cambridge, Massachusetts. Scientists formed the organization to "initiate a critical and continuing examination of governmental policy in areas where science and technology are of actual or potential significance" and "devise means for turning research applications away from the present emphasis on military technology toward the solution of pressing environmental and social problems." The organization employs scientists, economists, engineers engaged in environmental and security issues, as well as executive and support staff.
One of the co-founders was physicist and Nobel laureate Dr. Henry Kendall, who served for many years as chairman of the board of UCS. In 1977, the UCS sponsored a "Scientists' Declaration on the Nuclear Arms Race" calling for an end to nuclear weapons tests and deployments in the United States and Soviet Union.
"การปล่อยปละละเลยให้พันธุ์พืชที่มีอยู่ดั้งเดิมปนเปื้อนกับพืชที่ผ่านการพันธุวิศวกรรม คือการเดิมพันครั้งยิ่งใหญ่ ทั้ง ๆ ที่เรายังไม่มีความเข้าใจเพียงพอในเทคโนโลยีอันซับซ้อนที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับชีวิตในระดับมูลฐานที่สุด หากว่าเราไม่เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่ปลอดจากการปนเปื้อนกับพืชจีเอ็มโอไว้บ้าง ถ้าพันธุวิศวกรรมกลายเป็นสิ่งที่เลวร้ายขึ้นมา ความสามารถที่จะหันเหทิศทางของเราย่อมมีข้อจำกัดอย่างร้ายแรง" แต่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพกลับยืนยันซ้ำซากว่า การปนเปื้อนของรหัสพันธุกรรมไม่เคยเกิดขึ้น
แต่ใน ค.ศ. 2001 นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย อิกนาเซียว ชาเปลา และ เดวิด ควิสต์ รายงานในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature ว่า ข้าวโพดพันธุ์พื้นเมืองในเขตชนบททางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก มีการปนเปื้อนทางพันธุกรรมกับสายพันธุ์ข้าวโพดจีเอ็มโอ. จำเลยอันดับหนึ่งก็คือข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1994 นาฟตาทำให้ตลาดข้าวโพดในเม็กซิโกถูกครอบครองด้วยข้าวโพดที่นำเข้าจากต่างประเทศ และข้าวโพดที่นำเข้าเกือบทั้งหมดมาจากสหรัฐอเมริกา. จากประเทศที่เคยผลิตข้าวโพดเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ เดี๋ยวนี้เม็กซิโกกลายเป็นประเทศผู้สั่งซื้อข้าวโพดจากสหรัฐอเมริการายใหญ่ที่สุดอันดับสอง โดยซื้อข้าวโพดถึง 11% จากข้าวโพดส่งออกทั้งหมดของสหรัฐฯ ใน ค.ศ. 2000
ข้าวโพดที่ปลูกในสหรัฐอเมริกาประมาณ 75% เป็นข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม ข้าวโพดจีเอ็มโอเริ่มปลูกเพื่อการพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกา หลังจากข้อตกลงนาฟตาบังคับใช้ได้ไม่นาน นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนักวิทยาศาสตร์ชาวเม็กซิกันวิตกว่า ข้าวโพดที่หลั่งไหลข้ามชายแดนมา น่าจะมีเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอปะปนอยู่ด้วย ซึ่งจะปนเปื้อนกับเมล็ดพันธุ์ทางการเกษตรดั้งเดิมอันประมาณค่ามิได้. รัฐบาลเม็กซิกันตอบสนองความวิตกนี้ใน ค.ศ. 1998 ด้วยการสั่งห้ามการเพาะปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอชั่วคราว
ในปีต่อมา รัฐบาลเม็กซิโก ตั้ง CIBIOGEM (*) ซึ่งเป็นคณะกรรมการร่วมจากหลายหน่วยงานเพื่อกำกับการสั่งห้าม รวมทั้งสอบสวนประเด็นใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับพืชจีเอ็มโอ แต่การสั่งห้ามนี้ไม่ได้รวมการสั่งห้ามนำเข้าข้าวโพดจีเอ็มโอ. ใน ค.ศ. 1999 นักกิจกรรมกลุ่มกรีนพีซ นำตัวอย่างของข้าวโพดสหรัฐฯ ที่ส่งมาเทียบท่าเรือเม็กซิกันมาทดลอง จากการทดสอบในห้องทดลองปรากฏผลว่ามีข้าวโพดจีเอ็มโอปนอยู่ด้วย
(*) The Intersecretarial
Commission on Biosafety and GMOs (CIBIOGEM), created in 1999 under the Ernesto
Zedillo administration, is comprised of the Ministries of Agriculture, Environment,
Health, Public Education, Interior and Economy. The CIBIOGEM was created in
response to a investigation by the National Science and Technology Commission
(CONACYT), detailing potential impacts of GM corn in Mexico. In theory, the
CIBIOGEM would provide an intersecretarial commission to address biosafety
concerns through coordination of appropriate Ministries, thus facilitating
the protection of Mexico's biological integrity.
http://www.mindfully.org/GE/GE4/Corn-Contamination-Mexico4oct02.htm
ข้าวโพดครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกในสหรัฐฯ ถึงหนึ่งในห้า มากกว่าพืชชนิดอื่นใด ตามข้อมูลของสภาธัญญาหารแห่งสหรัฐฯ (U.S. Grains Council) สหรัฐอเมริกาผลิตข้าวโพดถึง 44% ของข้าวโพดทั้งหมดในโลก มากยิ่งกว่าจีน สหภาพยุโรป บราซิล อาร์เจนตินา และเม็กซิโกรวมกัน เพียงแค่มลรัฐไอโอวารัฐเดียวก็ผลิตข้าวโพดมากพอ ๆ กับสหภาพยุโรป นอกจากนั้น ข้าวโพดได้รับทุนอุดหนุนจากรัฐบาลกลางมากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ ด้วย ข้าวโพดที่ปลูกในสหรัฐฯ จำนวนหนึ่งในห้า ถูกส่งไปขายต่างประเทศ และตามข้อมูลของสถาบันเพื่อนโยบายเกษตรกรรมและการค้า (Institute for Agriculture and Trade Policy) สหรัฐฯ ขายข้าวโพดส่งออกในราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิต 13% เพื่อตัดราคาผู้ผลิตในต่างประเทศ
อัลโด กอนซาเลซ ผู้นำชาวพื้นเมืองในรัฐอัวฮากา กล่าวว่า "การปนเปื้อนของข้าวโพดคือข้อเท็จจริงที่น่าเศร้าที่เรามองข้ามไม่ได้ มันคือรอยแผลบาดลึกที่ทำให้มนุษยชาติตกอยู่ในความเสี่ยง มีแต่บรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่เท่านั้นที่ได้ผลกำไร บรรษัทพวกนี้ต้องการยัดเยียดรูปแบบการบริโภคที่เป็นผลประโยชน์ของพวกเขาให้แก่เรา.....สำหรับชาวพื้นเมืองแห่งเมโสอเมริกา ข้าวโพดคือเส้นเลือดของเรา หากปราศจากข้าวโพด เราก็ไม่เหลืออะไรเลย"
"การปนเปื้อนนี้ไม่ใช่ความบังเอิญ แต่เป็นยุทธศาสตร์ที่จงใจวางแผนมาอย่างดี เพียงแค่รอเวลาอีกสักหน่อยก็จะโผล่ลายออกมาให้เห็น" นี่คือคำกล่าวโทษขององค์กร GRAIN "ไม่มีทางปฏิเสธได้ว่า เมล็ดพันธุ์ทุกชนิดย่อมแพร่กระจายไปตามธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นคือสิ่งที่ทำให้เมล็ดพันธุ์คือเมล็ดพันธุ์ และไม่มีทางปฏิเสธได้ว่า ข้าวโพดเป็นพืชที่ถ่ายละอองเรณูได้ง่ายตามธรรมชาติ เกษตรกรทุกคนรู้เรื่องนี้ดี แค่เอาข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมสายพันธุ์ไหนก็ได้ไปปลูกไว้ท่ามกลางไร่ข้าวโพดหลากหลายสายพันธุ์ของเกษตรกรรายย่อย แล้วก็รอแค่เวลาเท่านั้นที่สายพันธุ์ดัดแปลงจะปล่อยเรณูเข้าร่วมและทำให้การปนเปื้อนเกิดขึ้น"
ในประเด็นการปนเปื้อนทางพันธุกรรมของข้าวโพดเม็กซิกัน ที่ปรึกษาทางด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ดอน เวสต์ฟอลล์ อาจพูดตรงไปหน่อยเมื่อเขาหลุดปากออกมาว่า "ความหวังของอุตสาหกรรมก็คือ เมื่อเวลาผ่านไป [พืชจีเอ็มโอ] ก็ท่วมตลาดจนคุณทำอะไรไม่ได้แล้ว คุณก็ต้องยอมแพ้อยู่ดี". อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพและฝ่ายสนับสนุนมีบทบาทในการรณรงค์อย่างต่อเนื่องไม่ลดละเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของสองนักวิจัย ชาเปลาและควิสต์ รวมทั้งกดดันวารสาร Nature (*) ซึ่งตีพิมพ์ผลงานของทั้งสองให้ถอนคำพูด เมื่อต้องเผชิญกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าข้างอุตสาหกรรม
(*)Nature is a prominent scientific journal, first published on November 4, 1869. Although most scientific journals are now highly specialized, Nature is one of the few journals, along with other weekly journals such as Science and Proceedings of the National Academy of Sciences that still publishes original research articles across a wide range of scientific fields. In many fields of scientific research, important new advances and original research are published as articles or letters in Nature.
ด้วยเหตุนี้ ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2002 จึงมีบันทึกของบรรณาธิการเกี่ยวกับผลงานวิจัยของชาเปลา-ควิสต์ว่า "หลักฐานเท่าที่มียังไม่เพียงพอที่จะยืนยันความถูกต้องของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารก่อนหน้านี้" ผู้สนับสนุนเทคโนโลยีชีวภาพโห่ร้องสรรเสริญบันทึกของบรรณาธิการชิ้นนี้ แต่พวกเขาไม่ยอมเอ่ยถึงบทบรรณาธิการในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2002 ที่บอกว่า งานวิจัยของชาเปลา-ควิสต์นั้น "ไม่ได้มีการถอนคำพูดอย่างเป็นทางการจากผู้วิจัยหรือจากวารสาร"
คำสั่งห้ามเพาะปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอชั่วคราวของรัฐบาลเม็กซิกัน ยังคงมีผลบังคับ แต่บรรษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพและบริษัทพันธมิตรในท้องถิ่น เช่น บริษัท Agrobio กำลังกดดันให้รัฐบาลอนุมัติการเพาะปลูกเพื่อ "วัตถุประสงค์ในการทดลอง" โดยให้เหตุผลไว้ในข้อเสนอโครงการที่เรียกว่า Teacher of Corn Project ผู้สันทัดกรณีวิจารณ์ว่า โครงการนี้มีข้อบกพร่องมากและไม่สมเหตุสมผลในเชิงวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพราะ ข้อเสนอโครงการไม่ใส่ใจต่อประเด็นที่ยังเป็นข้อถกเถียง เช่น ผลกระทบที่ข้าวโพดจีเอ็มโอมีต่อความหลากหลายทางชีวภาพหรือสายพันธุ์ข้าวโพดท้องถิ่น ผู้วิจารณ์ชี้ให้เห็นว่า การทดลองกระทำในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอย่างระมัดระวัง ซึ่งไม่เหมือนกับสภาพในโลกความเป็นจริง. ข้อเสนอโครงการนี้ "ไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ มากมายมหาศาลที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมจริง ๆ ของเม็กซิโกหรือความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีเป็นจำนวนมากด้วยซ้ำ" ซิลเวีย ริเบย์โรกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น ผู้วิจารณ์ยังบอกว่า มาตรการป้องกันการปนเปื้อนที่เสนอไว้มีความซับซ้อน ไม่คล่องตัวและยากที่จะพิสูจน์ว่า มันสามารถใช้ได้ในสถานการณ์การผลิตข้าวโพดจริง ๆ
ในทัศนะของริเบย์โร วาระซ่อนเร้นที่แท้จริงของโครงการ Teacher of Corn Project ก็คือการเร่งและผลักดันกระบวนการปนเปื้อนทางพันธุกรรม และใช้ "การทดลอง" เป็นหินก้อนแรกเพื่อนำไปสู่การอนุมัติให้ผลิตข้าวโพดจีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์ "ไม่มีประเทศไหนในโลกที่ปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอแล้วไม่มีการปนเปื้อน การปนเปื้อนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และจงใจให้เกิดขึ้น มันรับใช้ผลประโยชน์ของบรรษัท ด้วยการสร้างสถานการณ์แบบเลยตามเลยขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนต้องจำใจยอมรับพืชจีเอ็มโอ"
การตอบโต้ของเกษตรกรรายย่อย
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2005 มีการประชุมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเพาะปลูกถั่วเหลืองเชิงเดี่ยวหลายกลุ่มจากหลายประเทศ
จัดขึ้นที่เมืองโฟซดูอีกวาซู ในประเทศบราซิล ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้พรมแดนที่ติดกับประเทศปารากวัย
และอาร์เจนตินา. องค์กร World Wildlife Fund (WWF) (*) เป็นผู้จัดการประชุมครั้งนี้
โดยมีกลุ่มผลประโยชน์ด้านธุรกิจเกษตรเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้ที่ประชุมไม่คัดค้านการขยายตัวของการเพาะปลูกถั่วเหลือง
แต่พยายามสร้างบรรทัดฐานด้านความยั่งยืนสำหรับการผลิตที่เพิ่มขึ้น ผู้จัดการประชุมตั้งใจที่จะนำแนวทางด้านสิ่งแวดล้อมนี้มาทดสอบในโครงการ
"ผลผลิต 100 ล้านตัน" ของอาร์เจนตินา นี่เป็นการริเริ่มของ Fundaci?n
Vida Silvestre ซึ่งเป็นสาขาของ WWF ในอาร์เจนตินา ผลผลิตมากมายขนาดนั้นจำเป็นต้องใช้ที่ดินเพาะปลูกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นถึง
10 ล้านเฮกตาร์ (61.75 ล้านไร่)
(*)The World Wide Fund for Nature (WWF) is an international non-governmental organization for the conservation, research and restoration of the natural environment, formerly named the World Wildlife Fund, which remains its official name in the United States and Canada. It is the world's largest independent conservation organization with over 5 million supporters worldwide, working in more than 90 countries, supporting 15,000 conservation and environmental projects around the world. It is a charity, with approximately 90% of its funding coming from voluntary donations by private individuals and businesses.
The group says its mission is "to halt and reverse the destruction of our natural environment".[4] Currently, much of its work focuses on the conservation of three biomes that contain most of the world's biodiversity: forests, freshwater ecosystems, and oceans and coasts. Among other issues, it is also concerned with endangered species, pollution and climate change. The organization runs more than 1,200 field projects worldwide in any given year.
ยุทธศาสตร์ "สีเขียว"
ของระบบทุนนิยม
ผู้ประท้วงหลายพันคนจากประเทศอาร์เจนตินา บราซิลและปารากวัยมาชุมนุมกันหน้าโรงแรมที่มีการจัด
"การประชุมโต๊ะกลมเพื่อถั่วเหลืองที่ยั่งยืน" และประณามการจัดประชุมว่า
เป็นแค่ละครตลกที่คิดจะสร้างภาพสีเขียวให้การผลิตถั่วเหลืองแบบอุตสาหกรรมเกษตร
ซึ่งไม่มีทางยั่งยืนได้ ภายใต้ข้ออ้างว่าจะอนุรักษ์พื้นที่ที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ.
WWF พยายาม "สร้างความชอบธรรมให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมการปลูกถั่วเหลืองจีเอ็มโอเชิงเดี่ยว
รวมทั้งการเข้ามาของการทำปศุสัตว์แบบโรงขุนและอุตสาหกรรมการผลิตนม" นี่คือคำกล่าวหาของผู้ประท้วงในจดหมายเปิดผนึก
ผู้ลงนามในจดหมายประณามการจัดประชุมโต๊ะกลมว่า เป็นยุทธศาสตร์ "สีเขียว" ของระบบทุนนิยม ที่ต้องการตอบสนองอุปสงค์ทางการตลาดในต่างประเทศ และหาเงินจ่ายหนี้ต่างประเทศที่ไม่มีความชอบธรรม ขณะเดียวกันก็เพิกเฉยต่อความต้องการอาหารภายในประเทศ. จดหมายเปิดผนึกยังประณามโครงการ "ผลผลิต 100 ล้านตัน" ว่าเป็น "การทำสงครามต่อชุมชนชาวพื้นเมืองและเกษตรกรรายย่อย ซึ่งขัดขวางการรุกคืบของอุตสาหกรรมเกษตรของบรรษัท"
การประชุมโต๊ะกลมยังจัดอย่างต่อเนื่องต่อไปในสถานที่หลาย ๆ แห่งในอเมริกาใต้ ถึงแม้ผู้จัดงานเปลี่ยนแนวคิดของตนไปเป็น "ถั่วเหลืองที่มีความรับผิดชอบ" แทน ผู้จัดงานมีเป้าหมายที่จะสร้างระบบให้ประกาศนียบัตรแก่การผลิตถั่วเหลืองที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นอกจากนี้ ยังมีวัตถุประสงค์ที่รวมถึงการปรับปรุงสภาพการทำงาน การใช้สารเคมีการเกษตรอย่างรับผิดชอบ เคารพสิทธิในที่ดินของชาวบ้านท้องถิ่น และปรับเปลี่ยนให้การผลิตถั่วเหลืองสอดคล้องกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ น้ำและดิน แต่จนถึงบัดนี้ การประชุมโต๊ะกลมก็ยังไม่มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมออกมา
"การประชุมโต๊ะกลมเป็นแค่การประชาสัมพันธ์แหกตาครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งเท่านั้น" ฆาวิเอรา รูญี แห่งองค์กรเอกชน Base Investigaciones Sociales แห่งปารากวัยกล่าว "ก็เห็นจัดประชุมกันเกือบสามปีแล้ว แต่ก็ไม่เห็นมีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาเลย"
ประหารเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต:
ชัยชนะที่เมืองกูรีตีบา
กลุ่มล้อบบี้ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพประสบอุปสรรคครั้งใหญ่ ในการประชุมต่อเนื่องหลายครั้งของสหประชาชาติ
ซึ่งจัดขึ้นในภาคใต้ของประเทศบราซิล เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006 ครั้งแรกคือ
การประชุมว่าด้วยการปฏิรูปเกษตรกรรมและการพัฒนาท้องถิ่นในเมืองโปร์ตูอาเลเกร
หลังจากนั้นไม่นาน ก็ตามมาด้วยการประชุมของที่ประชุมใหญ่ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
และการประชุมของพิธีสารว่าด้วย"ความปลอดภัยของชีวภาพ" ทั้งสองครั้งจัดในเมืองกูรีตีบา
(ประเทศบราซิล) การประชุมของสหประชาชาติเกี่ยวข้องทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมกับประเด็นอำนาจควบคุมเหนือเมล็ดพันธุ์และที่ดิน
ยิ่งกว่านั้น พิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยของชีวภาพ ยังเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับความรับผิดและอันตรายที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมและผลผลิตของมัน
ลัทธิอาณานิคมทางชีวภาพ:
การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
ประเด็นหลักที่เป็นที่ถกเถียงกันในการประชุมที่เมืองกูรีตีบา ก็คือ การใช้สิ่งที่เรียกว่า
"เมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต" เมล็ดพันธุ์ประเภทนี้เติบโตเป็นต้นพืชที่เป็นหมัน
ทำให้เกษตรกรไม่มีทางอื่น นอกจากต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ทุกปี ที่ประชุมใหญ่ด้านความหลากหลายทางชีวภาพมีคำสั่งห้ามโดยพฤตินัยไม่ให้ใช้เทคโนโลยีนี้มาตั้งแต่
ค.ศ. 2000 แต่บริษัทเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอหวังว่าจะยกเลิกคำสั่งห้ามนี้ได้ด้วยการล้อบบี้ที่การประชุมในเมืองกูรีตีบา
"เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาตคือการทำลายภูมิปัญญา นวัตกรรมและการปฏิบัติที่สืบทอดกันมาในชุมชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น" คำกล่าวของ เดบรา แฮร์รี จากสมัชชาชนชาติพื้นเมืองว่าด้วยลัทธิอาณานิคมทางชีวภาพ และเธอเป็นสมาชิกคนหนึ่งในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบผลกระทบของเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต ที่อาจบังเกิดแก่ ชาวพื้นเมือง เกษตรกรรายย่อย และสิทธิของเกษตรกร. แฮร์รีเสริมว่า "การทดลองระดับไร่นาหรือการใช้เทคโนโลยีทำให้เมล็ดพันธุ์เป็นหมันเพื่อผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของชาวพื้นเมือง เป็นการทำลายสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตัวเอง"
การประท้วงเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต
"เมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต คือภัยคุกคามต่อความอยู่ดีกินดีและอธิปไตยทางอาหารของเรา
ทั้งยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการกำหนดชะตากรรมตัวเองของเราด้วย" เป็นคำยืนยันของมารีอาโน
มาร์คอส เตเรนา ตัวแทนชาวบราซิลจากสมัชชาชาวพื้นเมืองสากลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพที่จัดขึ้นในเดือนมกราคม
2006
หนึ่งเดือนก่อนการประชุมของสหประชาชาติในบราซิล มีกว่า 300 องค์กรประกาศสนับสนุนให้สั่งห้ามการใช้เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาตทั่วโลก โดยยืนยันว่า เมล็ดพันธุ์ที่ให้ต้นพืชที่เป็นหมัน คือภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และจะทำลายวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชนถึง 1.4 พันล้านคน ที่พึ่งพิงเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากไร่นาของตน องค์กรที่สนับสนุนคำสั่งห้ามนี้มาจากทุกภูมิภาคในโลก ซึ่งมีทั้งขบวนการชาวนาและองค์กรของเกษตรกร องค์กรของชาวพื้นเมือง กลุ่มประชาสังคมและสิ่งแวดล้อม สหภาพแรงงาน ชุมชนทางศาสนา องค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ ขบวนการสตรี องค์กรผู้บริโภค และเครือข่ายเยาวชน
การประชุมที่เมืองกูรีตีบาและโปร์ตูอาเลเกร กลายเป็นความอัปยศสำหรับนักล้อบบี้ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ เพราะสถานที่ทั้งสองแห่งคลาคล่ำไปด้วยผู้ประท้วง "โดยไม่มีการขออนุญาต 'ผู้ทุกข์ยากของโลก' ที่มีตัวแทนเป็นชาวนาบราซิล แรงงานชนบทไร้ที่ดิน ประชาชนที่พลัดถิ่นเพราะเขื่อน และผู้ได้รับผลกระทบจากการทำป่าไม้และไร่ถั่วเหลืองจีเอ็มโอ ทั้งหมดรวมกันหลายพันคนเข้ามาแย่งชิงความสำคัญไปจากการประชุมของสหประชาชาติ ที่จัดขึ้นในเมืองโปร์ตูอาเลเกรและกูรีตีบา" ซิลเวีย ริเบย์โร แห่งกลุ่ม ETC กล่าว กลุ่มนี้เป็นองค์กรเอกชนที่มีฐานอยู่ในประเทศแคนาดา "ด้วยความแจ่มชัดและเข้มแข็งของผู้คนที่มีความจริงอยู่ฝ่ายตน มีอาวุธคือเมล็ดพันธุ์ ข้าวโพด ป้ายผ้า และบทเพลง ผู้คนเหล่านี้สร้างความตกตะลึงแก่นักการทูตทั่วโลก เตือนใจพวกเขาให้รับรู้ว่า มีโลกแห่งความเป็นจริงที่พ้นไปจากโต๊ะเจรจา และสร้างความขุ่นเคืองแก่ผู้บริหารและนักล้อบบี้ของบรรษัทข้ามชาติ"
หลายวันในช่วงนั้นโดดเด่นด้วยปฏิบัติการท้าทายซึ่งหน้าอย่างห้าวหาญและการอารยะขัดขืน กลุ่มสตรีแห่งเวียคัมเปซินา เฉลิมฉลองวันสตรีสากล 8 มีนาคม ด้วยการทำลายห้องทดลองและห้องอนุบาลต้นสนโคลนนิงของบริษัท Aracruz (*) เพื่อประท้วงต่อการปลูกป่าไม้เชิงพาณิชย์ การปลูกป่าไม้เชิงพาณิชย์สร้างความเสียหายต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างจากการปลูกถั่วเหลืองเชิงเดี่ยว
(*)Aracruz Celulose S.A. is a major Brazilian manufacturer of pulp. It is headquartered in Sao Paulo.The company is the world's leading supplier of bleached eucalyptus pulp. The company has two pulp making plants, one at Barra do Riacho in Espirito Santo state and the other at Guaiba in the state of Rio Grande do Sul. It also has forestry operations in these states as well as in the states of Bahia and Minas Gerais.
ขณะที่การประชุมและการประท้วงดำเนินไปในเมืองกูรีตีบา นักกิจกรรมของเวียคัมเปซินา และขบวนการแรงงานไร้ที่ดิน (MST) (*) ของบราซิลก็บุกเข้ายึดไร่ในเมืองซานตาเตเรซาดูอูเอสเต ในรัฐปารานา ในไร่แห่งนั้น บริษัทซินเจนตา ลักลอบปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองจีเอ็มโอ ในเขตกันชนที่ติดกับอุทยานแห่งชาติอีกวาซู. ในเวลาเดียวกัน ที่เมืองโปร์ตูอาเลเกร ผู้ประท้วงตัดทางเข้าออกการประชุมหัวข้อการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมเป็นเวลา 4 ชั่วโมง และประสบความสำเร็จด้วยการทำให้แถลงการณ์ "ที่ดิน อาณาเขตและศักดิ์ศรี" ของฝ่ายประท้วง ได้รับการยอมรับให้เป็นเอกสารการประชุมอย่างเป็นทางการ
(*)Brazil's Landless Workers Movement, or in Portuguese Movimento dos Trabalhadores Rurais Sem Terra (MST), is the largest social movement in Latin America with an estimated 1.5 million landless members organized in 23 out of Brazil's 26 states. The MST states it carries out land reform in a country mired by unjust land distribution. In Brazil, 1.6% of the landowners control roughly half (46.8%) of the land on which crops could be grown. Just 3% of the population owns two-thirds of all arable lands. The MST claims land occupations are rooted in the most recent Constitution of Brazil (1988), by interpreting a passage which states that land should serve a "larger social function".
ในระหว่างการประชุมของที่ประชุมใหญ่ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ขบวนแห่ของกลุ่มผู้หญิงแห่งเวียคัมเปซินาบุกเข้าไปในห้องประชุมใหญ่ ถือป้ายประกาศภาษาต่าง ๆ เรียกร้องให้สั่งห้ามเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต พนักงานคนหนึ่งของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Delta & Pine แสดงความไม่พอใจ และเรียกยามรักษาความปลอดภัยเข้ามา แต่ประธานการประชุมประกาศว่า ความวิตกของผู้ชุมนุมประท้วงควรได้รับการพิจารณา ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ลุกขึ้นยืนปรบมือให้กลุ่มผู้หญิง
ในท้ายที่สุด ภาคประชาสังคมก็ได้ชัยชนะ เมื่อที่ประชุมลงมติให้บังคับใช้คำสั่งห้ามเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาตต่อไป ท่ามกลางความผิดหวังของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพและนักล้อบบี้. "สายรุ้งของการประท้วงรายวันโดยเวียคัมเปซินาที่ประตูทางเข้าศูนย์ประชุม การชุมนุมประท้วงอย่างพร้อมเพรียงในบราซิลและประเทศอื่น ๆ โดยองค์กรภาคประชาสังคมหลายร้อยแห่ง ซึ่งมีการรณรงค์เพื่อสั่งห้ามเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาตเป็นแกนกลางสำคัญ คำปราศรัยของเยาวชนและผู้นำชาวพื้นเมือง (รวมทั้งผู้แทนของชนเผ่าอุยโชล ในเม็กซิโก และชนเผ่ากวมเบียโน ในโคลอมเบีย ซึ่งได้รับเชิญให้มาปราศรัยในประเด็นนี้เป็นพิเศษ) การประชุมคู่ขนานที่จัดโดยองค์กรเอกชนของบราซิลและสมัชชาขบวนการสังคม ทั้งหมดนี้ผนึกกำลังล้มคว่ำ [การผลักดันของฝ่ายสนับสนุนเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต] ท่ามกลางความสิ้นท่าของบรรษัทข้ามชาติและกลุ่มประเทศที่มุ่งหมายจะยุติคำสั่งห้ามนี้ นั่นคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์" ริเบย์โรกล่าว
"นี่คือวันอันยิ่งใหญ่สำหรับคนยากจน 1.4 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพิงเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากไร่นาของตนเอง" คือคำกล่าวของผู้นำชาวนาชิลี ฟรานซิสกา โรดริเกซ แห่งเวียคัมเปซินา "เมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต คืออาวุธทำลายล้างอานุภาพสูง และมันคืออาวุธโจมตีอธิปไตยทางอาหารของเรา"
"เมล็ดพันธุ์เพชฌฆาตคือภัยคุกคามโดยตรงต่อชีวิต วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ในฐานะชาวพื้นเมืองของเรา" วิเวียนา ฟิเกรัว แห่งชุมชนชาวพื้นเมืองโอคูมาโซ ในอาร์เจนตินา กล่าวในนามของสมัชชาชาวพื้นเมืองสากลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ "การตัดสินใจในวันนี้คือย่างก้าวยิ่งใหญ่สำหรับการรณรงค์ต่อต้านจีเอ็มโอในบราซิล" เป็นคำพูดของมารีอา ริตา เรอิส จากสมัชชาขบวนการสังคมและเอ็นจีโอแห่งบราซิล "นี่คือการยืนยันซ้ำอีกครั้งถึงการสั่งห้ามเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาตในบราซิล มันส่งสาสน์ชัดเจนถึงรัฐบาลและรัฐสภาว่า โลกสนับสนุนการสั่งห้ามเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต"
การรณรงค์ด้านเมล็ดพันธุ์ของ
MST และ เวียคัมเปซินา
ขบวนการแรงงานไร้ที่ดินของบราซิล ซึ่งเป็นขบวนการของผู้บุกยึดที่ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เป็นแนวหน้าในด้านการทำเกษตรกรรมรักษาสิ่งแวดล้อมปลอดจีเอ็มโอในทวีปอเมริกา เครือข่ายเมล็ดพันธุ์
Bionatur ของ MST (*) ได้พัฒนาและแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ปลอดจีเอ็มโอหลากหลายสายพันธุ์
รวมทั้งก่อตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ชุมชนเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในภาคเกษตรกรรม
และรักษาเชื้อพันธุ์ให้พ้นจากเงื้อมมือของบรรษัทธุรกิจเกษตร ดังคำกล่าวของโฆษกแห่ง
MST, เฌา เปโดร สชีดิเล ที่กล่าวว่า "ถ้าเราสูญเสียมรดกแห่งเมล็ดพันธุ์ของเราไป
การได้ที่ดินและทุนมาก็ไม่ช่วยให้เราดีขึ้นแต่อย่างใด"
(*)MST and Agroecology:
BioNatur (Organic) Seeds
The Bionatur Network for Agro-ecological Seeds (or in Portuguese Rede Bionatur
de Sementes Agroecol?gicas) is one of the strategic tools that the MST organized
for the development of the actions of its Seeds Campaign and the promotion
of agro-ecology.
(Bionatur is the MST's own organic seed producer. Organic farmers who after
two harvests that have been cultivated with natural products, without use
of chemicals, can be classified as organic. These farmers, many members of
Brazil's Landless Movement, will be able to sell them to the movement's own
organic seed producer, Bionatur. The Bionatural Network offers an alternative
to the use of genetically-modified seeds and chemical farming.)
Bionatur คือ "เครื่องมือพื้นฐานในการสร้างรูปแบบเกษตรกรรมแผนใหม่ ซึ่งวางพื้นฐานอยู่บนนิเวศวิทยาเกษตรกรรม ปรับรื้อโครงสร้างภูมิทัศน์เสียใหม่ ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของประชาชนและอธิปไตยทางอาหาร รวมทั้งฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน" นี่คือข้อมูลจาก Informativo do MST ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของขบวนการ MST เครือข่าย Bionatur ถือกำเนิดขึ้นใน ค.ศ. 1997 โดยเป็นหน่วยงานที่เติบโตมาจาก COOPERAL หนึ่งในสหกรณ์เกษตรที่มีอยู่มากมายของ MST ซึ่งพยายามแสวงหาทางเลือกอื่นที่พ้นไปจากรูปแบบอุตสาหกรรมเกษตรที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบรรษัท และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทว่าเป็นที่ชื่นชอบของเจ้าที่ดิน "latifundista" รายใหญ่ทั้งหลาย
นับแต่ก่อตั้งมาได้สองทศวรรษ MST จัดหาที่ดินมากกว่า 22 ล้านเฮกตาร์ให้แก่คนจนบราซิลถึง 2 ล้านคน มีการก่อตั้งนิคมถึง 5,000 แห่ง การยึดที่ดินของขบวนการอาจไม่ใช่การอารยะขัดขืนหรือการละเมิดกฎหมายเสียทีเดียว ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญของบราซิลกำหนดให้รัฐบาลต้องกระจายที่ดินแก่คนจนอยู่แล้ว ในขณะนี้มีเกษตรกรไร้ที่ดินชาวบราซิลอีกประมาณ 150,000 คน ที่เป็นสมาชิกของ MST และอาศัยอยู่ในค่ายชั่วคราวข้างถนนเพื่อรอเวลายึดที่ดิน
ในฐานะสมาชิกของเวียคัมเปซินา ซึ่งเป็นขบวนการระหว่างประเทศของเกษตรกรรายย่อยที่มีสมาชิกหลายล้านคนทั่วโลก MST มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์ด้านเมล็ดพันธุ์ การรณรงค์นี้ "มีความหมายลึกซึ้งสำหรับเกษตรกรและชาวพื้นเมือง อีกทั้งยังมอบหมายบทบาทโดดเด่นแก่ผู้หญิงด้วย" ฟรานซิสกา โรดริเกซแห่งชิลีกล่าว เธอเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเวียคัมเปซินา "การรณรงค์มุ่งสร้างความเข้มแข็งแก่แนวคิดอธิปไตยทางอาหาร และเปลี่ยนแปลงแนวคิดให้กลายเป็นพันธกิจในการปฏิบัติ การรณรงค์ช่วยผสานแง่มุมต่าง ๆ ของเกษตรกรรมเข้าด้วยกัน รวมทั้งถักทอประเด็นที่เกี่ยวกับแรงงาน ระบบคุณค่าและวัฒนธรรมของเกษตรกรด้วย มันช่วยคืนความเป็นมนุษย์แก่เรา สร้างความเข้มแข็งในการเผชิญหน้ากับความยากลำบากในการต่อสู้"
"อุตสาหกรรมเกษตรกำลังเปลี่ยนเราเป็นเครื่องจักรที่ทำงานหนักขึ้นเรื่อย ๆ ปิดกั้นการสร้างสรรค์ที่เคยเป็นลักษณะเด่นของกระบวนการเกษตร เทคโนโลยีกดขี่และทำลายมนุษย์ ความรู้ที่รับใช้ทุนทำให้วิทยาศาสตร์ไร้มนุษยธรรม เราจะหยุดยั้งความบ้าคลั่งนี้ได้อย่างไร? ความบ้าคลั่งที่จะนำไปสู่การสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ หาใช่ความก้าวหน้าไม่ เมื่อฉันมองดูการรณรงค์ด้านเมล็ดพันธุ์ การเป็นส่วนหนึ่งของเวียคัมเปซินาคือการสร้างทางเลือกใหม่ ฉันเห็นว่าการรณรงค์นี้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางยิ่งใหญ่ที่เรากำลังสร้างขึ้นทุกมุมโลก"
เกี่ยวกับผู้เขียน:
Carmelo Ruiz-Marrero เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระด้านสิ่งแวดล้อมชาวเปอร์โตริโก
และเป็นนักวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อมของ Americas Policy Program (www.americaspolicy.org)
เขาเป็นสมาชิกของสถาบันโอกแลนด์และเป็นสมาชิกอาวุโสของโครงการผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งเป็นผู้ก่อตั้ง/ผู้อำนวยการโครงการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งเปอร์โตริโก
(bioseguridad.blogspot.com) เขามีเว็บไซท์สองภาษา (carmeloruiz.blogspot.com)
ที่อุทิศให้ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาในโลก
สำหรับผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติม
- Ban Terminator Campaign www.banterminator.org
- Biodiversidad en Am?rica Latina www.biodiversidadla.org
- ETC Group www.etcgroup.org
- GRAIN www.grain.org
- Grupo de Reflexi?n Rural http://www.grr.org.ar
- Independent Science Panel www.indsp.org
- MST www.mstbrazil.org
- Red por una Am?rica Latina Libre de Transg?nicos http://rallt.org
- Soy Kills http://www.lasojamata.org/
- World Forum on Food Sovereignty www.nyeleni.org
คลิกกลับไปทบทวนบทความเรื่องเดียวกัน ตอนที่ ๑
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com