1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
ย้อนสำรวจความเป็นมาเพศวิธีตะวันตก
ยุคเอเธนส์โบราณ
เพศ(sex)ไม่มีประวัติศาสตร์
แต่เพศวิถี(sexuality)มีประวัติศาสตร์
ดร.สันต์
สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย
บทความเพื่อสิทธิพลเมือง
สิทธิทางสังคม-วัฒนธรรม
บทแปลต่อไปนี้นำมาจากเรื่อง Is There a History of Sexuality?
เขียนโดย David M. Halperin แปลโดย ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์
ชื่อเรื่อง "มีประวัติศาสตร์ของเพศวิถีหรือไม่" ความยาว ๑๒ หน้า เอ
๔
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการย้อนไปสำรวจความเป็นมาของเพศวิถีตะวันตก นับจากสมัยกรีกโบราณ
ในยุคดังกล่าว ความสัมพันธ์ทางเพศเป็นไปในลักษณะความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
ระหว่างผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำ กล่าวคือ ระหว่างชนชั้นสูงกระทำกับชนชั้นต่ำ
และมีนัยะทางการเมืองของเพศชายที่ทรงอำนาจ เป็นชนชั้นปกครอง
ในบทแปลชิ้นนี้ได้แบ่งเป็นหัวข้อตามลำดับเรื่องดังต่อไปนี้...
- เพศไม่มีประวัติศาสตร์ แต่เพศวิถีมีประวัติศาสตร์
- การประกอบสร้างปริมณฑล"เพศวิถี"
- เพศวิถีไม่ใช่ปริมณฑลอิสระจากการเมือง
- หลักฐานจากเอเธนส์ยุคโบราณ
- ผู้ชายที่มีความอ่อนหวาน
- ระบบเพศวิถีปัจจุบันใกล้เคียงกับระบบของกรีก
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๕๕๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๒ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ย้อนสำรวจความเป็นมาเพศวิธีตะวันตก
ยุคเอเธนส์โบราณ
เพศ(sex)ไม่มีประวัติศาสตร์
แต่เพศวิถี(sexuality)มีประวัติศาสตร์
ดร.สันต์
สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เพศ(Sex)ไม่มีประวัติศาสตร์
แต่เพศวิถี(sexuality)มีประวัติศาสตร์
เพศ (Sex)ไม่มีประวัติศาสตร์ มันเป็นความจริงตามธรรมชาติ เพศถูกผนวกเข้ากับหน้าที่และประโยชน์ใช้สอยของร่างกาย
และโดยตัวมันเองแล้ว มีที่ทางอยู่นอกประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. แต่ในทางตรงข้ามกัน
"เพศวิถี" (Sexuality) ซึ่งไม่ได้เกี่ยวโยงหรือมีการอ้างอิงถึงนัยยะของเพศข้างต้น
หรือแม้กระทั่งเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ไม่เหมือนกับเพศ, "เพศวิถี"เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรม
มันถูกใช้เป็นตัวแทนเกี่ยวกับความเหมาะสมของร่างกายมนุษย์ และเกี่ยวกับความสามารถทางกายภาพ
เป็นวาทกรรมตามอุดมคติ. "เพศวิถี"ไม่ใช่จริงที่เป็นสัจธรรม แต่เป็นผลกระทบทางวัฒนธรรม
ดังนั้น "เพศวิถี"จึงมีประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม (อย่างที่ข้าพเจ้าต้องการจะนำเสนอ)
เป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่ยาวนานนัก
การที่จะกล่าวเช่นนั้น แน่ละ มันไม่เป็นการกล่าวอ้างที่มีความชัดเจนเท่าใดนัก นอกเสียจากน้ำเสียงที่หนักแน่นในคำพูดที่กล่าวออกไป แต่เป็นเพื่อการสร้างให้เกิดความสับสน หรือดูเหมือนทำให้มีความสละสลวย และบางทีอาจจะเป็นการโต้เถียงว่าเป็นการกล่าวอ้างด้วยสัญชาตญาณ การกล่าวอ้างดังกล่าวคงจะดูเหมือนว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ไม่มีอะไร นอกจากการแสดงออกถึงความฉลาดหลักแหลม ความคิดที่เป็นผู้นำ ซึ่งเป็นคำอธิบายถึงงานทฤษฎีชุดใหญ่ที่นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในช่วงหลัง อย่าง มิเชล ฟูโก (Michel Foucault)
ตามความคิดของฟูโกแล้ว "เพศวิถี"ไม่ใช่สิ่งของ ไม่ใช่ความจริงทางธรรมชาติ ไม่ใช่การที่สามารถจะถูกกำหนดให้ตายตัวได้ หรือเป็นองค์ประกอบที่เคลื่อนไหวไม่ได้ในส่วนประกอบของความเป็นอัตวิสัยของบุคคล แต่มันคือ "ชุดของผลกระทบที่ถูกผลิตขึ้นมาในร่างกาย ผ่านพฤติกรรม และความสัมพันธ์ทางสังคมโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง" ของ "ความสลับซับซ้อนของระบบกลไก(ของสังคม)" "เพศวิถี" สำหรับฟูโกแล้วเขาอธิบายไว้ในย่อหน้าหนึ่งว่า
ไม่สามารถที่จะคิดถึงมันว่าเป็นอะไรบางอย่างที่ธรรมชาติหยิบยื่นให้ ซึ่งอำนาจบางอย่างพยายามที่จะยึดมันเอาไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ หรือพยายามที่จะควบคุมซึ่งความรู้ที่ได้มา พยายามจะคลี่คลายและเปิดออก มันเป็นชื่อที่สามารถมอบให้ได้ในการที่ถูกสร้างขึ้นทางประวัติศาสตร์ มันไม่ใช่ความจริงที่ยากต่อการรับรู้ แต่มันเป็นโครงข่ายอันยิ่งใหญ่ของพื้นผิวที่ประกอบสร้างให้เกิดร่างกาย ความเร่งเร้าของความปราถนา เป็นส่วนที่เกิดขึ้นมาจากวาทกรรม ซึ่งเป็นผลผลิตขององค์ความรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง การที่จะควบคุมและต่อต้านมัน ได้เชื่อมโยงเข้าสู่กันและกันในวิธีการเชื่อมโยงโดยยุทธวิถีบางอย่างของความรู้และอำนาจ
เป็นความจริงตามที่ฟูโกกล่าวหรือไม่ ข้าพเจ้าเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น แต่ข้าพเจ้าก็ยังเชื่ออีกว่าสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพิ่มเติมคือ การสร้างให้เกิดความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของ"เพศวิถี" มากกว่าที่จะให้น้ำหนักความสำคัญและน่าเชื่อถือกับสิทธิอำนาจของฟูโก. เพื่อให้เกิดความมั่นใจ เราควรที่จะศึกษาค้นคว้างานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในแนวคิดระบบนามธรรม หรือระบบเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ นั่นหมายความว่า เราได้ทำการตรวจดูมุมมองที่สำคัญของฟูโก ในขณะเดียวกันเราก็สามารถที่จะทำให้โครงการของนักประวัติศาสตร์เดินต่อไปได้ ซึ่งฟูโกได้เริ่มทำไปแล้วอย่างก้าวหน้ามากทีเดียว แต่เราต้องการสร้างให้เกิดความสำเร็จมากไปกว่านั้น ถ้าเราได้มีโอกาสได้เติมเต็มภาพต่างๆ ที่ฟูโกได้เขียนแบบร่างขึ้นมาแล้วอย่างหยาบๆ และอย่างไม่สมบูรณ์เพียงพอ ซึ่งเป็นการยืนยันจากตัวของฟูโกเอง และถ้าเราต้องการที่จะนำเสนอว่าเพศวิถีเป็นผลผลิตสมัยใหม่ที่มีความแตกต่างเราต้องทำอย่างไรต่อไป
การศึกษาเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนมีบทบาทที่สำคัญมาก ในการที่ประกอบร่างสร้างให้เกิดเป็นประวัติศาสตร์ของเพศวิถี รอยแยกของช่วงเวลาที่ก่อให้เกิดการแยกออกระหว่างโลกโบราณและโลกสมัยใหม่ ซึ่งมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างสูง รอยแยกดังกล่าวกลับก่อให้เกิดความขัดแย้ง เพราะว่ามันไม่สามารถที่จะกลายเป็นชนวนให้เกิดการฉุกคิดโดยเฉพาะกลุ่มคนที่พยายามมองหามัน
นักศึกษาผู้ซึ่งศึกษาเรื่องราวของสิ่งที่เกิดขึ้นสมัยก่อนจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับเรื่องราวต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยที่พวกเขาต้องพบกับชุดความคิดที่คิดถึงคุณค่าที่เกิดขึ้นจากความแตกต่าง ไม่คุ้นเคย พฤติกรรมและการปฎิบัติการทางสังคม โดยการจัดการที่เกิดขึ้นและการสร้างให้เกิดประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดการท้าทายความรู้สมัยใหม่ที่ว่า ชีวิตจะเป็นอย่างไร และเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องตั้งคำถามต่อสิ่งที่เรียกว่า "ธรรมชาติของมนุษย์" ว่าเหมือนเช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือไม่ ไม่เพียงแค่ระยะทางของช่วงเวลาที่เนิ่นนาน ซึ่งอนุญาตเรามองสังคมโบราณและการพัฒนาการของเพศด้วยสายตาที่คมกริบ มันยังทำให้เราสามารถนำมาซึ่งมิติทางอุดมคติที่ชัดเจน - ซึ่งเป็นการสร้างขึ้นใหม่อย่างสมบูรณ์และเป็นคุณลักษณะที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเอง - มาเป็นจุดสนใจของสังคมและประสบการณ์ทางเพศของเราได้อีกด้วย กับสมมติฐานที่ไม่สามารถตั้งคำถามได้ในปัจจุบันเกี่ยวกับประสบการณ์ทางเพศ ถ้าต้องการที่จะตั้งคำถามกับสมมติฐานนี้ อาจจะกล่าวว่า พฤติกรรมทางเพศ เป็นการสะท้อนหรือเป็นการแสดงออก "เพศวิถี" ของคนแต่ละคน
นั่นดูเหมือนว่าเป็นข้อสมมติฐานที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใครและไม่มีปัญหาอะไรกับข้อสมมติฐานนี้ ปราศจากข้อมูลใดๆ สำหรับเนื้อหาทางอุดมคติ แต่อะไรที่เรามีอยู่ในความคิดถ้าเราต้องตั้งคำถามกับมัน เราเข้าใจคำถามที่เกิดขึ้นกับแนวคิดเรื่อง "เพศวิถี" อย่างไร. ข้าพเจ้าคิดว่าเราเข้าใจ "เพศวิถี" ในความหมายที่ดี มีความชัดเจน และเป็นส่วนประกอบที่ถูกสร้างขึ้นมาจากบุคลิกลักษณะส่วนตัว และมันกลายเป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลในการนำเสนอการกระทำทางเพศ, ความต้องการทางเพศ, และความปราถนาทางเพศ, ซึ่งจะกลายเป็นวัตถุดิบที่ซึ่งการแสดงออกทางเพศทุกรูปแบบจะใช้ประโยชน์จากมัน
การประกอบสร้างปริมณฑล"เพศวิถี"
"เพศวิถี" ในคำอธิบายนี้ไม่ใช่เป็นการอธิบายในเชิงพรรณาโวหาร หรือถูกใช้เป็นภาพตัวแทนที่เป็นกลางปราศจากอคติ
หรือการที่รับรู้ถึงความจริงที่ใกล้เคียงกัน แต่ "เพศวิถี" มีแนวทางที่สร้างมันขึ้นมาที่แตกต่างกัน
แนวทางในการจัดการ และแนวทางในการตีความถึง "ความจริง" เหล่านั้น เพศวิถีในทำนองนี้กำลังมีบทบาทต่อการสร้างให้เกิดโครงสร้างทางความคิดได้
- อย่างแรก เพศวิถีถูกกำหนดเอาไว้ว่าเป็น สิ่งที่ถูกแยกออก เป็นปริมณฑลทางเพศที่อยู่ในพื้นที่ทางนามธรรมหรือทางจิตที่ใหญ่กว่า
- อย่างที่สอง เพศวิถีเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดที่จะแบ่งแยก และพยายามกีดกันปริมณฑลนี้ให้อยู่ห่างออกไปจากส่วนอื่นๆ ของชีวิตส่วนตัว หรือชีวิตทางสังคมที่มีสิ่งต่างๆ ตามประเพณีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมัน เช่น การประพฤติผิดศีลธรรม (Libertinism) ความมีลักษณะของเพศชาย (Virility) ความหลงใหล (Passion) ความรักและปราถนา (Amorousness) การปลุกเร้าทางอารมณ์ (Eroticism) ความรู้สึกแบบลึกซึ้ง (Intimacy) ความรัก (Love) ความหวงแหน (Affection) ความอยาก (Appetite) และตัณหา (Desire) ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงบางส่วนของพื้นที่ส่วนตัวของเราที่มีเพศวิถีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และ
- อย่างสุดท้าย เพศวิถีได้สร้างให้เกิดอัตลักษณ์ทางเพศ (Sexual Identity) มันหยิบยื่นธรรมชาติทางด้านเพศของปัจเจกชนให้เราแต่ละคน ในความเป็นตัวของเราก่อให้เกิดความเฉพาะเจาะจงทางเรื่องเพศ มันบอกเป็นนัยๆ ว่า ในมนุษย์ผู้ซึ่งกลายเป็นปัจเจกชนโดยพื้นฐานคือเพศวิถีที่แตกต่างกันจากคนๆ หนึ่งไปอีกคนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์ถูกกำหนด แบ่งกลุ่มก้อน และถูกตีความตามคุณค่าทางความดี (Virtue) บนเพศวิถีของพวกเขา
สิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างน้อยมันปรากฏแก่ข้าพเจ้าว่า มันมีเหตุและผลสำคัญที่ก่อให้เกิดความหมายของ "เพศวิถี" ที่เกิดขึ้นทุกวันนี้
ข้าพเจ้าโต้แย้งว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับเพศวิถีมันช่างมีความแตกต่างไปจากประสบการณ์ที่ได้ถูกบันทึกเอาไว้ในโบราณกาล อย่างน้อยสองประเด็นที่สำคัญที่ดูเหมือนมีความสำคัญต่อแนวคิดเรื่องเพศวิถีในยุคสมัยใหม่นี้ แต่แทบจะไม่มีเสียงสะท้อนมาจากแหล่งอ้างอิงในอดีตเลย ซึ่งสามารถใช้อ้างอิงในการสืบค้นของข้าพเจ้า การมีตัวตันขึ้นมาของเพศวิถีในฐานะที่เป็นปริมณฑลที่แยกออกมา (และถูกนำไปประยุกต์ใช้ในส่วนต่างๆ ของการมีชีวิต หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่ได้ก่อให้เกิดการแปลกแยกไปจากส่วนต่างๆ นี้ สามารถกระทำบนส่วนต่างๆ ของชีวิตได้ หรือถูกกระทำบนส่วนต่างๆ เหล่านั้นได้)
หน้าที่ของเพศวิถีคือเป็นพื้นฐานของการเป็นปัจเจกชนในความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นในสิ่งที่ข้าพเจ้าจะทำต่อไปคือ ข้าพเจ้าจะนำเสนอประเด็นทั้งสองโดยที่ในแต่ละประเด็นข้าพเจ้าจะพยายามทำการบันทึกเก็บข้อมูลสิ่งต่างๆ ที่มีการแผ่ขยายของความขัดแย้งที่หลากหลายของประสบการณ์ทางเพศระหว่าง"สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคโบราณ"และ"ในยุคสมัยใหม่"
เพศวิถีไม่ใช่ปริมณฑลอิสระจากการเมือง
ประเด็นแรก เพศวิถีในฐานะปริมณฑลของการมีตัวตนที่เกิดการแยกตัวออกอย่างโดดเดี่ยว
ข้อโต้แย้งที่ข้าพเจ้าต้องการจะพูด ได้มีการเขียนถึงแล้วโดย โรเบิร์ต แพทดักซ์
(Robert Padgug) ในบทความที่พูดถึงแนวความคิดของเพศวิถีในประวัติศาสตร์ แพทดักซ์ได้กล่าวไว้ว่า
อะไรที่เราเรียกมันว่า "เพศวิถี" โดยเฉพาะในช่วงที่เรียกว่าก่อนโลกของคนชนชั้นกลาง (Pre-Bourgeois World) คือกลุ่มของการกระทำและสถาบันซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการเชื่อมโยงเข้าหากัน หรือถ้าสิ่งทั้งสองเชื่อมเข้าหากัน มันจะมีการเชื่อมโยงเป็นรูปแบบที่แตกต่างออกไป. การมีเพศสัมพันธ์ ระบบเครือญาติ และครอบครัว และเพศสภาพไม่ได้เป็นส่วนช่วยให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "สนาม" (Field) ของเพศวิถี แต่ทว่ากลุ่มต่างๆ ของการกระทำทางเพศได้ถูกทำให้เชื่อมโยงไม่ทางตรงก็ทางอ้อม - ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างให้เกิดการเชื่อมโยงเข้ากับ - สถาบันและรูปแบบของการคิดซึ่งพวกเรามองว่าเป็น การเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคมตามธรรมชาติ และการเชื่อมโยงเหล่านี้ได้ทำให้เรามีความคิดที่ว่า"เพศวิถี"เป็นเสมือน"สิ่งของ" สามารถแยกออกไปจากสิ่งอื่นๆ และสามารถแยกเป็นปริมณฑลของการมีอยู่อย่างเป็นส่วนตัวได้
หลักฐานจากเอเธนส์ยุคโบราณ
ในหลักฐานสมัยก่อนที่สนับสนุนคำกล่าวของแพทดักซ์ กล่าวถึงยุคโบราณของเมืองเอเธนส์
ตัวอย่างเช่น เพศสัมพันธ์ไม่ใช่การแสดงออกที่เกิดขึ้นมาจากความรู้สึกภายในมากเท่ากับมันถูกใช้ให้รองรับการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ของนักแสดงตามบทบาททางสังคม
(Social Actors) ในสถานที่ที่ถูกกำหนดให้มันโดยจุดยืนทางการเมืองในโครงสร้างของระดับชั้นทางสังคมของการเมืองของเอเธนส์
ในเอเธนส์สมัยโบราณมีกลุ่มประชาชนเพศชายเพียงกลุ่มเล็กๆ ที่มีอำนาจแบบเด็ดขาดในสังคม และสามารถตั้งตัวใช้ชีวิตแบบหรูหราทั้งในการปกครองแบบนคร-รัฐ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชีวิตทางการเมืองและชีวิตทางสังคม เนื้อหาหลักที่ครอบคลุมสภาพสังคมเอเธนส์โบราณ สามารถที่จะแบ่งแยกตามสถานภาพทางการเมือง ระหว่างกลุ่มคนที่มีอำนาจปกครองสังคม ซึ่งประกอบไปด้วยประชาชนเพศชาย และกลุ่มคนที่ถูกปกครองซึ่งประกอบไปด้วย ผู้หญิง เด็ก คนต่างชาติ และทาส ผู้คนเหล่านี้ปราศจากสิทธิเสรีภาพของประชาชน (และพวกเขาเหล่านั้น ก็ไม่ได้ถูกปกครองในระดับที่เท่ากันด้วย) ความสัมพันธ์ทางเพศไม่เพียงแต่เกิดขึ้นตามการแบ่งแยกนี้ แต่มันยังกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนจำเป็นต้องปฎิบัติตามอีกด้วย
เพศสัมพันธ์ตามหลักฐานที่ถูกบันทึกเอาไว้ของกรีก กล่าวว่า มันไม่ใช่การกระทำร่วมกันที่เกิดจากคนสองคนหรือมากกว่าสองคนขึ้นไป แต่มันเป็นการแสดงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคนที่มีฐานะทางสังคมสูงกว่าคนที่มีฐานะทางสังคมต่ำกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นสามารถพบได้ในลักษณะท่าทางการแสดงออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บนพื้นฐานของความไม่สมดุลย์ เช่น การร่วมเพศโดยร่างกายของคนๆ หนึ่ง โดยเฉพาะผ่านการใช้อวัยวะเพศของคนอีกคนหนึ่ง ความสัมพันธ์ทางเพศมีการแบ่งแยกและมีการกระจายบทบาทไปสู่ผู้ร่วมการกระทำ มีการแบ่งแยกชนิดของผู้ร่วมกระทำที่ชัดเจน เช่น ผู้กระทำ (Penetrator) และผู้ถูกกระทำ (Penetrated) ซึ่งแน่นอนว่า ท้ายที่สุดแล้ว การกระทำเหล่านี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงกลุ่มก้อนทางสังคมที่แตกต่างกันระหว่างคนที่อยู่เหนือ และคนที่อยู่ใต้การปกครอง
สำหรับการร่วมเพศแล้ว การที่เป็นฝ่ายกระทำถือได้ว่าเป็นฝ่ายที่สามารถเป็นผู้ควบคุม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เป็นฝ่ายกระทำและผู้ที่เป็นฝ่ายถูกกระทำได้รับเอาความสัมพันธ์ชนิดนี้มาจากความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ที่มีชนชั้นสูงและผู้ที่มีชนชั้นต่ำ บทบาททางเพศของผู้ที่เป็นฝ่ายกระทำและผู้ที่เป็นฝ่ายถูกกระทำจึงเป็นเสมือนการจำลองแบบมาจากสถานะทางสังคมระหว่างสองชนชั้น
สำหรับประชาชนเพศชายที่เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สามารถมีเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้องเฉพาะกับคนที่มีชนชั้นต่ำกว่า (ความเป็นฝ่ายถูกกระทำไม่ใช่พิจารณาที่ความแตกต่างทางอายุ แต่เป็นความแตกต่างทางชนชั้นทางสังคมและทางการเมือง) ดังนั้น เป้าหมายของกลุ่มคนที่เป็นความต้องการทางเพศของชายฉกรรจ์นี้เป็นได้ทั้งผู้หญิงในทุกขั้นอายุ คนที่เป็นเพศชายที่ผ่านจากการวัยเริ่มเป็นหนุ่มผู้ซึ่งยังไม่โตเพียงพอที่จะได้สิทธิการเป็นพลเมือง และรวมทั้งคนต่างชาติและทาสโดยไม่จำกัดเพศ
ยิ่งไปกว่านั้นอีก การกระทำทางกายภาพในการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองและผู้ซึ่งมีชนชั้นที่ต่ำกว่า มีการกำหนดรายละเอียดเอาไว้อย่างมากมาย ซึ่งบ่งบอกถึงการจัดการทางความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมระหว่างชนชั้น ซึ่งนั่นเป็นเสมือนโครงสร้างที่เข้ามาเป็นกรอบที่ส่งผลต่อการมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมของคนรักทั้งสอง. อะไรที่พลเมืองเอเธนส์กระทำกันบนเตียงมันเกิดขึ้นมาจากข้อกำหนดของความแตกต่างทางสถานะและชนชั้น ซึ่งสามารถแบ่งแยกเขาและเธอออกจากคู่นอนของเขาและของเธอ
ความเป็นพลเมืองชั้นสูงของชายสามารถที่จะแสดงออกผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ และอำนาจในการแสดงออกทางเพศ สิทธิของพวกเขาคือการเป็นชนชั้นสูงที่สามารถได้รับความพึงพอใจจากการได้มีเพศสัมพันธ์ มันเป็นความคิดและสมมติฐานที่พวกเขาได้รับจากการที่สวมบทบาทของผู้กระทำ มากกว่าบทบาทของผู้ที่เป็นฝ่ายถูกกระทำ
นักแสดงทางสังคมที่แตกต่างกัน ย่อมมีบทบาทที่แตกต่างกัน การที่จะหลอมรวมสมาชิกในการมีเพศสัมพันธ์ผู้ซึ่งเป็นบุคคลที่มีอำนาจและบทบาททางสังคมที่สูง และผู้ที่ด้อยอำนาจและบทบาททางสังคมที่ต่ำต้อยเข้าด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดในสายตาของชาวเอเธนส์ เช่นเดียวกับการที่จัดกลุ่มโจรคือ อาชญากรที่เป็นฝ่ายกระทำ (Active Criminal) ส่วนคนที่เป็นเหยื่อคืออาชญากรที่เป็นฝ่ายถูกกระทำ (Passive Criminal) ทั้งสองจะกลายเป็นคู่กันในเหตุการณ์ก่ออาชญากรรมนี้ ในความเป็นจริงแล้วมันจะนำมาซึ่งความสับสนในสิ่งที่ควรแยกแยะและสร้างให้เกิดความแตกต่างทางอัตลักษณ์
การกระทำในแต่ละอย่างของการมีเพศสัมพันธ์ไม่มีข้อกังขาใดๆ เลยว่า เป็นการแสดงออกที่เกิดขึ้นจริงๆ เกิดจากความต้องการความปราถนาส่วนตัว ซึ่งในบางส่วนแน่นอนว่าย่อมจะมีบทบาทของผู้แสดงเข้ามามีส่วนร่วม แต่ความต้องการความปราถนาเหล่านั้นได้ถูกกำหนดสร้างโดยนิยามทางวัฒนธรรมที่ให้ไว้กับการมีเพศสัมพันธ์ นั่นคือ กิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างพลเมืองและไม่ใช่พลเมือง, ระหว่างบุคคลที่มีสิทธิโดยชอบธรรมในการเป็นพลเมือง และบุคคลผู้ซึ่งมีสถานภาพทางสังคมและการเมืองต่ำกว่า
ความหมายของ "เพศวิถี" ในยุคเอเธนส์โบราณนั้น ยังห่างไกลนักกับการเป็นอิสระจาก "การเมือง". สำหรับ "เพศวิถี" แล้ว มันได้ถูกประกอบสร้างโดยทุกๆ กฎเกณฑ์ข้อบังคับของการมีชีวิตสาธารณะที่พลเมืองชาวเอเธนส์พึงต้องมี ในความเป็นจริงแล้ว ความเชื่อมโยงในยุคเอเธนส์โบราณนั้นระหว่าง"ค่านิยมทางเพศ"และ"ปฎิบัติการทางสังคม"มีการควบคุมเป็นอย่างมาก นั่นหมายความว่า ถ้าจะต้องการคำอธิบายหรือความหมายของ "เพศวิถี" จริงๆ อาจจะไม่มีความหมาย (Athenian "sexuality" per se would be nonsensical)
ในความพยายามที่จะได้มาซึ่งความหมายของปรากฎการณ์นี้ ซึ่งมันจำเป็นต้องการการขยายความ เพราะว่าความหมายนัยยะจริงๆ ของมันได้ซ่อนบริบทต่างๆ เอาไว้ซึ่งเป็นบริบทเข้ามากำหนดข้อแม้ต่างๆ ในการมีเพศสัมพันธ์ให้เกิดมีความหมายขึ้นมา นั่นคือ โครงสร้างทางการเมืองของสังคมชนชาวเอเธนส์ โครงสร้างทางสังคมที่เข้ามากำหนดสร้างความปราถนาทางเพศในสังคมเอเธนส์โบราณนั้น ได้เล่าให้พวกเราฟังถึงความต่อเชื่อมระหว่างองค์ประกอบทางสังคมที่เป็นอิสระจากกันคือ ระหว่างการปฎิบัติการทางสังคมและประสบการณ์ของอัตบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการบันทึกเรื่องราวของสังคมกรีกโบราณ ที่นำไปสู่ข้อสรุปโดยการเรียบเรียงของนักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศส มอสริส โกดีเยอร์ (Maurice Godelier) กล่าวเอาไว้ว่า "มันไม่ใช่เพศวิถีที่เข้ามาหลอกหลอนสังคม แต่ทว่ามันเป็นสังคมต่างหากที่เข้ามาหลอกหลอนเพศวิถี" (It is not sexuality which haunts society, but society which haunts the body's sexuality)
อัตลักษณ์ทางเพศส่วนบุคคล
และมาถึงข้อเสนอแนะข้อที่สองของข้าพเจ้า ที่ว่าบทบาทหน้าที่ของเพศวิถี ซึ่งในที่นี้บทบาทหน้าที่ของมันคือ
การสร้างให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ทางเพศส่วนบุคคล (Individual Sexual Identities)
ความเชื่อมโยงระหว่างการตีความสมัยใหม่ของเพศวิถี ในฐานะที่มีพื้นที่ที่มีปริมณฑลของตัวเอง
และโครงสร้างสมัยใหม่ของอัตลักษณ์ทางเพศส่วนบุคคลได้ถูกพิจารณาและวิเคราะห์เอาไว้อย่างดี
และอีกครั้งโดย โรเบิร์ต แพทดักซ์:
สมมติฐานที่เกี่ยวกับเพศวิถีที่ถือว่าเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในศตวรรษที่ 20 มีนัยยะว่ามันมีตัวตนและสามารถแยกออกเป็นประเภทเดี่ยวๆ ได้ (เช่นเดียวกับ "เศรษฐกิจ" หรือ "รัฐ" หรือปริมณฑลที่เป็นอิสระและมีตัวตนอื่นๆ อยู่ในความเป็นจริง) มีความใกล้เคียงเป็นอย่างมากกับปริมณฑลของความเป็นชีวิตส่วนตัว ในมุมมองดังกล่าวมองว่า ตำแหน่งแห่งที่ของเพศวิถีนั้นอยู่ในพื้นที่ของความเป็นส่วนบุคคล ที่ซึ่งมีลักษณะนิ่งอยู่กับที่ และนำไปสู่การแบ่งแยกที่ชัดเจนระหว่าง"ความเป็นส่วนตัว"และ"ความเป็นสาธารณะ" และนำไปสู่ประเภทต่างๆ หลายหลากในคำจำกัดความของจิตเพศ และบ่อยครั้งนำไปสู่คำจำกัดความของความผิดปกติตามลักษณะทางกายภาพด้วยเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะนำไปสู่การก่อกำหนดรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับเพศประเภทต่างๆ ว่าเป็นไปในลักษณะสากล หยุดนิ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถาวร และสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์แบ่งประเภทมนุษย์ทุกคนในโลกและในทุกสังคม
ในการศึกษาสังคมในแถบเมดิเตอร์เรเนียนโบราณจะเห็นได้ว่า เป็นการเปิดโปงแนวคิดที่เกี่ยวกับเพศวิถีที่มีรากฐานมาจากแนวคิดแบบที่เชื่อในสาเหตุและต้นกำเนิด (Essentialist) เพราะว่าอย่างที่เราได้เห็นตัวอย่างไปแล้ว ในกรณีของชาวเอเธนส์โบราณ ความปราถนาทางเพศและตำแหน่งของผู้ที่เลือกเป็นฝ่ายถูกกระทำ ไม่ได้ถูกกรอบกำหนดจากความแตกต่างทางสรีระทางเพศ (เพศชายและเพศหญิง) แต่จะถูกกำหนดจากข้อแตกต่างของอำนาจทางสังคม (ระหว่างชนชั้นสูงและชนชั้นที่ต่ำกว่า)
"กลุ่มรักเพศเดียวกัน"และ"กลุ่มรักต่างเพศ"
ในลักษณะการแบ่งแยกเพศวิถีในปัจจุบัน คือเป็นการแบ่งระหว่าง "กลุ่มรักเพศเดียวกัน"และ"กลุ่มรักต่างเพศ"
(ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการแบ่งแยกในระดับบุคคล) การแบ่งแยกแบบนี้กลับไม่มีความหมายใดๆ
ในสังคมเอเธนส์โบราณ สิ่งที่สังคมของพวกเขารู้คือมี เพศวิถีอยู่สองชนิด เป็นโครงสร้างสองลักษณะที่เกิดขึ้นตามสถานะทางเพศทางความคิด
(Psychosexual States) หรือตามลักษณะของการกำหนดบทบาทของตัวเอง (Modes of Affective
Orientation) แต่อยู่ในรูปแบบเดียวของการมีประสบการณ์ทางเพศ ที่ชายชาวเอเธนส์ทุกคนเข้าใจร่วมกัน
สามารถทำให้เกิดความหลากหลายของเพศสัมพันธ์ตามรสนิยมของคนแต่ละคน
ดังนั้น ในบทกวีของชาวเอเธนส์แต่งโดย แบคซีไลด์ (Bacchylides) ที่กล่าวถึงวีรบุรุษของชาวเอเธนส์ ธียอุส (Theseus) เดินทางไปยังเกาะครีต (Crete) พร้อมด้วยชายวัยหนุ่มเจ็ดคนและสาวบริสุทธิ์อีกเจ็ดคนที่ถูกกำหนดให้เป็นเครื่องบูชาถวายแก่เทพมิโนทัวร์ (Minotaur) และต่อสู้ช่วยเหลือสาวบริสุทธ์จากการตกเป็นเครื่องบำบัดความใคร่ให้กับกัปตันชาวครีต มีคำตักเตือนว่าอย่าเข้าไปรุกรานปลุกปล้ำชาววัยรุ่นเอเธนส์ ไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้หญิงหรือเด็กผู้ชาย และในวรรณกรรมโบราณของชาวเอเธนส์ ที่เขียนในช่วงหกร้อยหรือเจ็ดร้อยปีต่อมา ได้มีการบันทึกเอาไว้ว่า โพลีเครส (Polycrates) ผู้เก่งกาจของซามอส (Samos) ในศตวรรษที่หกก่อนคริสตกาล ไม่ได้ส่งเด็กผู้ชายคนใดหรือผู้หญิง (Any Boys or Women) ร่วมไปกับรายการสินทรัพย์ราคาแพงอื่นๆ ให้กับซามอสเพื่อที่จะให้เขาได้นำไปใช้ส่วนตัวในช่วงรัชสมัยของเขา
ทั้งในส่วนของความคิดที่เกิดขึ้นจากมุมมองอันก้าวร้าวของรักต่างเพศที่ทำให้จับผิดต่อโอกาสของการเป็นรักเพศเดียวกัน และความคิดที่เป็นเสมือนกระจกสะท้อนในมุมตรงข้ามทันทีว่าเป็นรักเพศเดียวกัน เมื่อลักษณะของรักต่างเพศไม่สามารถมีความหมายได้อย่างที่เราคิด นั่นเป็นเพราะเราเอาตำแหน่งของผู้ที่เลือกเป็นฝ่ายถูกกระทำเข้าไปรวมกับรูปแบบข้อกำหนดตามชนิดของ "เพศวิถี" ที่เรารู้จัก ในลักษณะธรรมชาติที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่มันก็คงจะเป็นความยากลำบากเป็นอย่างมากที่เจียรไนข้อความที่โบราณที่บันทึกเอาไว้ทุกข้อความโดยเฉพาะในตำแหน่งที่เขียนถึงทางเลือกระหว่าง "เด็กผู้ชายหรือผู้หญิง" ที่ปรากฏขึ้นมาอย่างเมินเฉยต่อบริบทของความปราถนาทางเพศ ซึ่งทำเสมือนว่าทั้งสองสามารถมีหน้าที่แทนกันได้
ผู้ชายที่มีความอ่อนหวาน
มีการกล่าวถึง ผู้ชายที่มีความอ่อนหวาน หรือไม่เป็นชาย ("Soft" or
Unmasculine Men) ในบันทึกโบราณเช่นเดียวกัน เป็นผู้ชายที่มีความแตกต่างออกไปจากค่านิยมทางวัฒนธรรมของความเป็นชาย.
โดยทั่วไปแล้วพวกเขาปราถนาอย่างมากที่จะเป็นฝ่ายถูกกระทำจากผู้ชายคนอื่นๆ ในบทบาทของฝ่ายหญิง
หรือเป็นฝ่ายที่ถูกกระทำในการมีเพศสัมพันธ์กัน
คาริอุส เออรายนัส (Caelius Aurelianus) นักเขียนชาวแอฟริกัน เริ่มด้วยการโต้แย้งถึงความไม่ผิดจรรยาบรรณในความเป็นชายของเขาโดยกล่าวอ้างว่า มันจะมีความยากลำบากสักเพียงใดที่จะเชื่อว่าพวกเขาเหล่านั้นมีตัวตนอยู่จริง เขาได้สังเกตว่าต้นตอของสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เกิดมาจากธรรมชาติ (หรือแม้แต่เกิดจากอวัยวะทางกายภาพ) แต่เกิดมาจากความต้องการทางเพศที่มากล้น ที่ต้องการการสนองตอบ นำพาเขาไปไกลกว่าความละอายและได้ทำให้เขาได้ใช้ร่างกายในส่วนที่ธรรมชาติไม่ได้สร้างมาให้เพื่อกิจกรรมทางเพศ พวกผู้ชายเหล่านี้มีความต้องการที่จะรับเอาเครื่องแต่งกาย ท่าทางและคุณลักษณะต่างๆ ของผู้หญิง และกล่าวอ้างว่าพวกเขาไม่ได้เจ็บปวดจากโรคทางกายแต่เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ (หรือทางศีลธรรม) หลังจากที่กล่าวอ้างข้อความอื่นๆ
เพื่อที่จะสนับสนุนประเด็นของเขา คาริอุสได้นำเสนอการเปรียบเทียบที่น่าสนใจว่า "การที่ผู้หญิงจะถูกเรียกได้ว่าเป็น Tribades (*) [in Greek], เพราะว่าพวกเธอสามารถปฎิบัติกิจทางเพศร่วมได้ทั้งสองเพศ และมีความต้องการที่จะร่วมเพศกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และโน้มน้าวพวกผู้หญิงด้วยความอิจฉาริษยาในลักษณะของความเป็นชาย พวกเธอก็เช่นเดียวกันมีความผิดปกติทางจิตใจเช่นเดียวกัน" โรคที่เกิดขึ้นกับจิตกลายเป็นสิ่งที่ต้องตั้งคำถาม มันทำร้ายในลักษณะเดียวกันทั้งเพศชายและเพศหญิง และดูเหมือนว่าจะถูกกำหนดให้เป็นความวิปลาส ของความปราถนาทางเพศ มันดูเหมือนจะปรากฏว่าเป็นสิ่งอื่นใดไปไม่ได้ นอกเสียจากความเป็นรักเพศเดียวกันอย่างที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้
(*) คำนี้หมายถึง lesbian (เลสเบียน)ในภาษาอังกฤษ และเป็นคำที่มีนัยยะการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างหญิงกับหญิง ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำว่า Tribadism or tribbing is a form of mutual masturbation, sometimes called frottage, in which a woman rubs her vulva against her partner's body for sexual stimulation.[1][2] The term is most often used in the context of lesbian sex, but is not exclusive to lesbians. Tribadism sometimes involves female-to-female genital contact, but more often refers to a female rubbing her vulva against her partner's thigh, arm or stomach. Tribadism can also refer to a masturbation technique in which a woman rubs her vulva against an inanimate object such as a bolster in an effort to achieve orgasm.
ถ้ามันจะมีบทเรียนที่เราควรจะได้ศึกษา จากภาพเกี่ยวกับทัศนคติทางเพศและพฤติกรรมทางเพศจากสมัยโบราณ มันคือสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำลายความเป็นศูนย์กลางของความคิดความหมายที่ "เพศวิถี" ถูกกำหนดไว้ จากการตีความทางวัฒนธรรมตามประสบการณ์ทางเพศ ซึ่งมันไม่ใช่ความหลากหลายเกี่ยวกับประสบการณ์ทางเพศเช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยโบราณ นั่นเป็นเพราะว่าชนชั้นกลางของชาวตะวันตก มีความลุ่มหลงเป็นอย่างมากกับเรื่องราวทางเพศ มีการยึดถือกันเป็นอย่างมากว่า มันจะเป็นกุญแจที่นำไปสู่การแสวงหาตัวตน (และดังนั้น ในศาสตร์ทางสังคมจิตวิทยา จึงกลายมาเป็นจุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งในการศึกษา) เราไม่ควรที่จะสรุปว่า เราทุกคนมีการพิจารณาถึงความหมายและความสำคัญของเพศวิถีเป็นสำคัญ และไม่สามารถจะทำให้เป็นองค์ประกอบที่ลดทอนลงได้ หรือที่สำคัญมากในชีวิตของมนุษย์ ยังมีบางส่วนในสังคมของคนเราที่อุดมคติในเรื่อง "เพศวิถี" คือความล้มเหลวที่ไม่สามารถอธิบายได้
ระบบเพศวิถีปัจจุบันใกล้เคียงกับระบบของกรีก
ระบบของเพศวิถีตามนัยยะทางสังคมมีความใกล้เคียงกับระบบของกรีก มันมีระบบการแบ่งระดับขั้นของบทบาททางเพศที่มีความชัดเจนอย่างมาก
และตั้งอยู่บนรากฐานทางสังคมที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ
ในสังคมเอเธนส์โบราณ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจได้ถูกย้อมให้มีคุณลักษณะของเพศสภาพเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ถือได้ว่าเป็นการเข้ามาแทนที่ระบบของกรีกโบราณ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างออกไป
นั่นคือการแบ่งตามประเภทของปราถนาได้หรือปราถนาไม่ได้ ตามความแตกต่างระหว่างชนชั้นสูงและชนชั้นล่าง
ระบบดังกล่าวนี้ถือได้ว่า เป็นการเข้ามาแทนที่อัตลักษณ์ทางเพศสภาพโดยการแทรกซึมของอัตลักษณ์เพศวิถีตามนัยยะทางสังคม
ลักษณะที่เด่นชัดที่เกิดขึ้นคือ การแบ่งสังคมออกเป็นกลุ่มของชนชั้นสูง และกลุ่มของชนชั้นล่าง และผลผลิตของแรงปราถนาสำหรับกลุ่มที่ถือได้ว่าเป็นชนชั้นล่างภายในสมาชิกของกลุ่มชนชั้นสูง แรงปราถนาถูกสร้างให้เกิดขึ้นในระบบของการแบ่งกลุ่มชนชั้นนี้ เช่นเดียวกับสมัยเอเธนส์ เพียงแต่มันมีการแบ่งแยกทางการเมือง เพียงแต่มันก้าวข้ามขอบเขตที่ได้ใช้กำหนดข้อจำกัดทางการแข่งขันท่ามกลางกลุ่มชนชั้นสูง และเพียงแต่เมื่อมีการแบ่งแยกอัตบุคคลออกจากความเป็นวัตถุแห่งแรงปราถนาทางเพศ การร่วมเพศระหว่าง "ชาย" จึงกลายเป็นเพียงแค่การร่วมเพศระหว่างพลเมือง ระหว่างสมาชิกของกลุ่มชนชั้นที่อยู่ภายในปราสาท จึงเป็นสิ่งที่สามารถคิดถึงและเข้าใจได้ในสังคมสมัยเอเธนส์โบราณ เช่นเดียวกับการร่วมเพศระหว่าง "ชาย" และ "หญิง" ในสมัยก่อนนั้นมันไม่ใช่ประสบการณ์ส่วนตัวแต่อย่างเดียว โดยที่ไม่มีประเด็นเรื่องอัตลักษณ์ทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง และในสังคมเอเธนส์โบราณนั้น กิจกรรมทางเพศ แทนที่จะอนุมานว่าคู่ร่วมกิจกรรมทางเพศทั้งสองร่วมอยู่ในเพศวิถีเดียวกัน มันกลับเป็นว่าพวกเขาทั้งสองช่วยกันสร้าง กำหนด และทำให้มีความชัดเจนระหว่างสถานะภาพที่แตกต่างกัน
ในการขุดคุ้ยและเขียนถึงประวัติศาสตร์ของเพศวิถี ดูเหมือนว่าจะพบประเด็นที่มีความสุดโต่งในเนื้อหามากเพียงพออยู่แล้ว เช่นเดียวกับเป็นคำถามที่น่าขบคิดถึงสิ่งที่เรามองว่าเป็นไปตามธรรมชาติ ที่เราเชื่อว่ามันเป็นเช่นนี้มาแล้วตั้งแต่ต้นในความเป็นปัจเจกของพวกเรา แต่ดูเหมือนว่าการที่จะนำการขุดค้นนี้ไปใช้ในโครงการสุดโต่งต่างๆ นั้น ดูเหมือนว่านักประวัติศาสตร์หลายๆ คนกลับทำในสิ่งตรงกันข้าม หรือบางทีอาจจะไม่คิดให้รอบคอบอย่างดีในการออกแบบทิศทางของการวิเคราะห์วิจัย โดยการที่ทำให้ "เพศวิถี" ถูกแช่แข็งอยู่ในการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์
ในการทำอย่างนั้นไม่เพียงแค่เป็นการทำลายความเป็นธรรมชาติของมัน ในทางตรงกันข้าม พวกเขากลับที่จะคิดสร้าง "เพศวิถี" ขึ้นมาใหม่. ในความเป็นจริงแล้ว ประวัติศาสตร์อันหลากหลายของ "เพศวิถี" นั้นถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "เพศวิถี" ในตัวของมันเอง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ มันไม่สามารถที่จะลดทอนให้เหลือเป็นเพียงแค่ประวัติศาสตร์อันหลากหลาย (Histories) เท่านั้น หรือไม่เช่นนั้น พวกเขาจะหยิบเรื่องราวทางเพศวิถีในฐานะส่วนที่สำคัญ เพื่อที่จะอธิบายและนำเสนอภาพของประวัติศาสตร์ ปัจจัยในการที่จะก่อให้เกิดขึ้น ชนิดของสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น และอุดมคติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งบ่อยครั้งกลับกลายเป็นกรอบที่จำกัดความสามารถในการปฎิบัติงาน
แทนที่จะมุ่งความสนใจไปประวัติศาสตร์ของเพศวิถีแต่เพียงอย่างเดียว เราจำเป็นต้องกำหนดและสร้างสังคมวิทยาเชิงประวัติศาสตร์ให้มีความสุดโต่ง ก้าวหน้า และใหม่สำหรับจิตวิเคราะห์เพื่อที่จะนำไปใช้ทำให้เกิดการออกแบบเครื่องมือใหม่ๆ สำหรับการวิเคราะห์บริบททางวัฒนธรรมของแรงปราถนา ซึ่งในที่นี้ข้าพเจ้ากำลังหมายถึง กระบวนการที่จะทำการวิเคราะห์แรงปราถนาในฐานะที่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น มีลักษณะผลผลิตที่เป็นมวลชน และสามารถกระจายไปสู่สมาชิกอันหลากหลายที่อยู่ในกลุ่มก้อนต่างๆ. เราจะต้องฝึกฝนตัวของเราเพื่อที่ตระหนักถึงความรู้สึกในฐานะที่ถูกสร้างขึ้น เช่นเดียวกัน พฤติกรรมในฐานะที่ถูกสร้างขึ้น และเพื่อที่ตีความเป็นส่วนตัวในฐานะที่เป็นสิ่งที่ถูกผลิตขึ้น หรือในฐานะที่ถูกจำกัดทางเลือกตามกรอบการผลิตของระบบขั้นตอนทางวัฒนธรรม
สุดท้ายนี้เราจะต้องยินยอมที่จะยอมรับว่า สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่อยู่ข้างใน แท้จริง และประสบการณ์ความเป็นส่วนตัว ตามวลีที่น่าชื่นชมของ แอร์เดียนเน่ รีชส์ (Adrienne Rich) ถือได้ว่าเป็น "การใช้ร่วมกัน ไม่มีความจำเป็น และมีนัยยะทางการเมือง" (Shared, Unnecessary / and Political)
อ่านบทความเกี่ยวเนื่อง: เมื่อฉันประกาศตัวเป็นเลสเบี้ยน
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com