ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




20-04-2551 (1538)

เสรีภาพทางศาสนา อันเนื่องมาจากการห้ามกำหนดศาสนาประจำชาติ
หลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญว่าด้วย พหุนิยมทางศาสนาในสหรัฐอเมริกา
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถบางส่วนเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

บทความนี้เดิมชื่อ "หลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญว่าด้วย พหุนิยมทางศาสนาในสหรัฐอเมริกา : สาเหตุและผลลัพธ์
แปลและเรียบเรียงจาก The Constitutional Basis of Religious Pluralism in the United States:
Causes and Consequences เขียนโดย Ted G. Jelen, University of Nevada, Las Vegas.
ในบทความนี้ได้พูดถึงประเด็นหลัก ๒ ประเด็น ประเด็นแรก กล่าวถึงความเป็นพหุนิยมทางศาสนา ซึ่งส่งผลให้ศาสนา
ในสหรัฐฯ มีชีวิต ทั้งนี้มีความเป็นไปได้มากว่าเนื่องมาจากพื้นฐานการเมืองและรัฐธรรมนูญของอเมริกัน ที่ทำให้ตลาดศาสนา
มีการแข่งขันกันสูงและเกิดความยึดมั่นในศาสนาและนิกายที่มีอยู่
ประเด็นต่อมาคือ ความเป็นพหุนิยมทางศาสน
ของคนอเมริกัน เป็นผลมาจากความการเมืองในทางศาสนา (religious politics) นอกจากศาสนาจะมีผลกระทบเชิง
นโยบายสาธารณะในบางแง่มุมแล้ว ยังดูราวกับว่าศาสนาเป็นเหมือนแหล่งอำนาจที่ทำให้พลเมืองที่มีโอกาสน้อยกว่ากลุ่มอื่น
(หมายถึงกลุ่มชนชั้นสูงที่มีอำนาจนำทางการเมือง) สามารถมีพลังทางการเมือง และช่วยให้ความคิดเห็นที่ไม่ได้รับโอกาส
ใน การแสดงออกได้ปรากฎตัวขึ้นมา ทำให้ความเงียบของคนที่ไร้อำนาจ มีพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ทางการเมือง
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๓๘
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เสรีภาพทางศาสนา อันเนื่องมาจากการห้ามกำหนดศาสนาประจำชาติ
หลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญว่าด้วย พหุนิยมทางศาสนาในสหรัฐอเมริกา
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถบางส่วนเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ความนำ
บทความชิ้นนี้ต้องการแสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญของสหรัฐช่วยส่งเสริมความเป็นพหุนิยมทางศาสนาในสหรัฐอย่างไร นอกจากนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่า พหุนิยมทางศาสนานั้นเป็นสิ่งที่นำไปสู่การดำรงอยู่ของศาสนา โดยการดำรงอยู่ของศาสนามีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสหรัฐ ศาสนาในสหรัฐเป็นแหล่งทุนทางสังคมที่ทำหน้าที่เหมือนเครื่องเหนี่ยวรั้งทัศนะความคิดของมหาชน ซึ่งมีแนวโน้มจะคล้อยตามไปในแนวเดียวกัน ความหลากหลายทางศาสนาจะช่วยไม่ให้เกิดการยอมรับความเชื่อทางศาสนาหรือลัทธิความเชื่อเพียงแบบเดียว แนวคิดทางศาสนาซึ่งปรากฏอยู่ในวาทกรรมสาธารณะยังเป็นการทำให้ความหมายของศาสนามีลักษณะเฉพาะน้อยลง และทำให้คนทั่วไปเข้าถึงได้มากขึ้น
ศาสนาเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตของคนอเมริกันมาเนิ่นนาน คำกล่าวนี้ดูเหมือนจะทำให้สหรัฐเป็นประเทศที่แตกต่างจากประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย. โดยทั่วไปแล้ว ประเทศมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจเหล่านี้มักจะต้องเผชิญกับกระบวนการแปรเป็นเรื่องทางโลกย์ (secularization) มากขึ้น แต่สำหรับสหรัฐค่อนข้างจะมีความแตกต่าง ด้วยเป็นประเทศที่ยังคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญทางวัตถุกับความเชื่อ การเป็นสมาชิกและการนับถือศาสนา

งานชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อจะให้คำอธิบายกับคำกล่าวข้างต้น ที่ดูเหมือนจะผิดจากความเข้าใจโดยทั่วไป ซึ่งโดยหลักจะเน้นไปที่ลักษณะบางอย่างของรัฐธรรมนูญอเมริกัน และลักษณะสำคัญร่วมกันโดยรวมของระบบการเมืองอเมริกัน บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญสหรัฐที่ว่าด้วยการแยกศาสนาออกจากรัฐ เป็นการทำให้ลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมทางการเมืองของอเมริกันมีลักษณะเฉพาะมากขึ้นหรือไม่ และการที่พลเมืองอเมริกันเห็นชอบกับแนวคิดปัจเจกชนนิยมทางเศรษฐกิจ (economic individualism) เป็นสาเหตุและ/หรือเป็นผลจากความเลื่อมใสศาสนาของชาวอเมริกัน รวมทั้งจะได้กล่าวถึงความสำคัญโดยทั่วไปบางประการของการใช้ความเลื่อมใสทางศาสนาสำหรับกระบวนการทางการเมืองในอเมริกา การกล่าวว่าศาสนาในสหรัฐถูกแยกออกจากรัฐนั้น ไม่ได้หมายความว่าศาสนากับการเมืองจะถูกแยกออกจากกันไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม แต่สมมติฐานของงานชิ้นนี้คือ การแยกศาสนจักรออกจากรัฐในสหรัฐ มีผลทำให้ศาสนจักรมีบทบาทโดดเด่นมากขึ้นในทางการเมืองของสหรัฐ

บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ (Constitutional Provisions)
รัฐธรรมนูญดั้งเดิมของสหรัฐมีการกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับศาสนาน้อยมาก จะมีกล่าวถึงเฉพาะในมาตรา 5 เท่านั้นที่ระบุไว้ว่า "ต้องไม่มีการตรวจสอบบุคคลในเรื่องเกี่ยวกับศาสนาเพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการเข้ารับตำแหน่งหรือทำหน้าที่เพื่อสาธารณชน" การกำหนดห้ามการตรวจสอบเรื่องศาสนาในมาตรานี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในทางปฏิบัติและอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีสาระสำคัญที่ต้องการแยกความเป็นสาวกแห่งศาสนา ออกจากหน้าที่ของการเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย. นอกจากจะห้ามการตรวจสอบเรื่องศาสนากับผู้ที่เข้ารับราชการแล้ว ในมาตรานี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการวางตัวเป็นกลางของรัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา อย่างน้อยที่สุดจากมาตรา 5 ซึ่งห้ามการตรวจสอบเรื่องเกี่ยวกับศาสนาได้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่วางกรอบรัฐธรรมนูญ พยายามที่จะไม่โยงเรื่องของสิ่งที่แสดงความเป็นพลเมืองของประเทศเข้ากับความเชื่อทางศาสนาใดเป็นการเฉพาะหรือเป็นการทั่วไป

นอกจากเรื่องการแยกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ออกจากเรื่องทางโลกย์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับเดิมแล้ว บทบัญญัติสำคัญที่สุดในรัฐธรรมนูญ (และมีการถกเถียงกันมากที่สุด) ในประเด็นที่เกี่ยวกับศาสนาก็คือ มาตราที่ว่าด้วยศาสนาที่บัญญัติอยู่ในคำแปรญัตติที่หนึ่ง(First Amendment) (*) ที่จริงแล้วการที่ร่างบัญญัติว่าด้วยสิทธิพลเมือง(Bill of Rights) เริ่มต้นด้วยการกำหนดขอบเขตของรัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนานั้น ทำให้นักสังเกตการณ์บางคนเรียกการให้เสรีภาพทางศาสนาว่าเป็น "เสรีภาพอันดับแรก" (the first freedom)

(*)The First Amendment to the United States Constitution is a part of the United States Bill of Rights. On its face, it prohibits the United States Congress from making laws "respecting an establishment of religion" (the "Establishment Clause") or that prohibit free exercise of religion (the "Free Exercise Clause"), laws that infringe the freedom of speech, infringe the freedom of the press, limit the right to assemble peaceably, or limit the right to petition the government for a redress of grievances.

ใน First Amendment ข้อความบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ ได้ระบุไว้ว่า "สภาคองเกรสต้องไม่ออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำหนดศาสนาประจำชาติ (establishment of religion) หรือห้ามไม่ให้มีการดำเนินการของเสรีภาพใดๆ (prohibiting the free exercise thereof…)" (*)

(*) ข้อความสมบูรณ์ของ First Amendment: Congress shall make no law respecting an establishment of religion, or prohibiting the free exercise thereof; or abridging the freedom of speech, or of the press; or the right of the people peaceably to assemble, and to petition the Government for a redress of grievances.

ข้อบัญญัติทั้งสองประการในมาตราข้างต้นเรียกว่า "Establishment Clause" และ "Free Exercise Clause" ตามลำดับ ความหมายและความสัมพันธ์ที่แน่ชัดของข้อบัญญัติทั้งสองนั้นเป็นที่ถกเถียงในแวดวงนักกฎหมายและนักวิชาการอย่างมากมาเป็นเวลานานแล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะให้ความสำคัญในที่นี้คือบทบัญญัติทางศาสนาที่มีข้อโต้เถียงน้อยกว่า โดยหลักการแล้วข้อกฎหมายที่ว่าด้วยการห้ามกำหนดศาสนาประจำชาติ และเสรีภาพในการดำเนินการทางศาสนา มีความหมายโดยรวมว่าการดำเนินชีวิตในสหรัฐ ในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนานั้นจะไม่ถูกควบคุมหรือถูกกีดกันจากรัฐบาล

บทบัญญัติที่ว่าด้วยการห้ามกำหนดศาสนาประจำชาติ (Establishment Clause) มีความหมายอย่างน้อยที่สุดว่า รัฐบาลไม่สามารถที่จะให้การสนับสนุนทางด้านวัตถุหรือให้การรับรองศาสนาใดเป็นการเฉพาะ ถึงแม้ว่าจะยังมีการถกเถียงในประเด็นเรื่องการให้การสนับสนุนศาสนาใดโดยไม่เลือกปฏิบัติ แต่รัฐบาลก็ยังไม่สามารถให้การสนับสนุนกับองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นการเฉพาะได้ แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ารัฐบาลสามารถที่จะให้การสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรศาสนา เช่น ธนาคารอาหาร การให้ที่พักแก่คนไร้บ้าน และกิจกรรมอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน แต่กิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้จะต้องไม่ใช่กิจกรรมขององค์กรในประเภทที่เกี่ยวกับพิธีสักการบูชา หรือการเผยแพร่ศาสนาเพื่อดึงให้คนเปลี่ยนศาสนา

ในทำนองเดียวกัน ในคดี Zelman v. Simmons-Harris (*) เมื่อ ค.ศ. 2003 ศาลสูงสหรัฐเห็นว่า รัฐบาลสหรัฐสามารถที่จะให้เงินช่วยเหลือค่าเล่าเรียนกับผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในโรงเรียนเอกชน เห็นได้ชัดว่านโยบายดังกล่าวเป็นประโยชน์กับโรงเรียนสอนศาสนาซึ่งเป็นสถานศึกษาเอกชนที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก กระนั้นก็ตาม ศาสนาต่างๆ ในสหรัฐก็ไม่สามารถพึ่งพารัฐบาลเพื่อปฏิบัติศาสนกิจในฐานะองค์กรศาสนา การที่กฎหมายสหรัฐไม่อนุญาตให้กำหนดศาสนาประจำชาติทำให้สหรัฐแตกต่างกับหลายประเทศในยุโรป ซึ่งประเทศเหล่านี้มักจะมีศาสนาประจำชาติที่กำหนดไว้เป็นกฎหมาย หรือไม่ก็เป็นประเทศที่สามารถให้การสนับสนุนองค์กรทางศาสนาในรูปแบบต่างๆ ได้

(*) Zelman v. Simmons-Harris, 536 U.S. 639 (2002), was a case decided by the United States Supreme Court which tested the permissibility of school vouchers in relation to the establishment clause of the First Amendment.

การห้ามกำหนดศาสนาประจำชาติในสหรัฐหมายความว่า องค์กรทางศาสนา เช่น นิกาย (denomination) หรือกลุ่มผู้ร่วมพิธีในโบสถ์ต่างๆ (congregations) ต้องอาศัยทรัพยากรของตนเองในการก่อตั้งหรือหรือเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป ซึ่งก็หมายความว่าองค์กรศาสนาในสหรัฐจะต้องดึงดูดสมาชิกจากกลุ่มคนที่มีศักยภาพที่อาจจะอยู่ในนิกายอื่น หรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกกับองค์กรศาสนาใด อันเป็นการชี้ให้เห็นว่าองค์กรศาสนาต่างจะต้องมีหลักการ ประสบการณ์ และทรัพยากรอื่นที่สามารถดึงดูดสมาชิกได้

การดำเนินการที่กล่าวถึงนี้เป็นแนวทางที่เรียกว่าการจัดการบนพื้นฐานของอุปทาน(supply-side approach) ในการเข้าหาสมาชิกและการให้มีส่วนร่วมทางศาสนา นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งเสนอความคิดที่ยืมมาจากหลักเศรษฐศาสตร์ โดยชี้ให้เห็นว่าพหุนิยมทางศาสนาจะทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างองค์กรศาสนาต่างๆ และเชื่อว่าการแข่งขันเช่นนี้จะทำให้ฆราวาสมีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมองค์กรศาสนามากขึ้น. มีการเสนอว่าประสบการณ์ของสหรัฐซึ่งมีความเป็นพหุนิยมทางศาสนาในระดับสูง รวมทั้งเรื่องของความเชื่อและศาสนกิจควรจะเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ศาสนากับสังคมในสหรัฐมีความสัมพันธ์อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าประเทศในแถบยุโรปที่เน้นความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องทางโลก

เป็นไปได้ว่าการผูกขาดทางศาสนา (มากกว่าจะเป็นกระบวนการการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย) เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ยุโรปเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นโลกย์ (secularization) กรณีของสหรัฐก็อาจเป็นการชี้ให้เห็นว่า ระบบเศรษฐกิจที่มีความทันสมัยในระดับสูงค่อนข้างจะสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวทางศาสนา

แม้ว่ากิจกรรมทางศาสนาที่ใช้วิธีจัดการด้านอุปทานจะเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกัน แต่สมมติฐานว่า ความเป็นพหุนิยมจะทำให้เกิดการเลื่อมใสศาสนาที่สูงขึ้นก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ สมมติฐานนี้มีนัยสำคัญหลายประการ สิ่งที่ต้องการชี้ให้เห็นก็คือความเป็นพหุนิยมทางศาสนาซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของสหรัฐ ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญอเมริกันที่ห้ามกำหนดศาสนาประจำชาติ และอาจเป็นเรื่องปกติธรรมดาซึ่งศาสนาที่คนส่วนใหญ่นับถือ ย่อมเป็นสิ่งที่ผู้คนต้องการให้มีการประกาศเป็นนโยบายสาธารณะ ในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนกิจและความเชื่อของคนส่วนใหญ่. แต่ใน Establishment Clause ห้ามให้มีการประกาศดังกล่าว ข้อบัญญัตินี้จึงมีส่วนทำให้เกิดความเป็นพหุนิยมทางศาสนา รวมถึงการเคลื่อนไหวทางด้านศาสนาในสหรัฐ

แม้ว่าผู้ที่สนับสนุนให้มีการแยกศาสนาออกจากรัฐด้วย "มาตรการกีดกันในระดับสูง(high wall)" มักจะเป็นผู้ที่ถูกมองว่าเป็นพวกต่อต้านศาสนา แต่ก็เป็นไปได้ว่าแนวคิดดังกล่าวมีส่วนทำให้วิถีชีวิตของผู้คนในสังคมร่วมสมัยแบบอเมริกันมีลักษณะเฉพาะทางศาสนา. บทบัญญัติ Establishment Clause รวมถึงความเป็นพหุนิยมทางศาสนาของอเมริกันที่เป็นผลมาจากบทบัญญัตินี้ สามารถป้องกันสภาพการผูกขาดแบบเฉื่อยเนือย (lazy monopoly) อันเป็นคำที่มักใช้พูดถึงวิถีชีวิตทางศาสนาของผู้คนที่อยู่ในอีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก

นอกจากนี้อาจกล่าวได้ว่าบทบัญญัติ Free Exercise Clause มีส่วนส่งเสริมลักษณะทางศาสนาที่มีความโดดเด่นในวัฒนธรรมทางการเมืองและสังคมของคนอเมริกัน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ศาลยุติธรรมในสหรัฐมีแนวโน้มจะให้การยอมรับกับสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา ของกลุ่มศาสนานอกรีต หรือกลุ่มศาสนานิกายต่างๆ ถึงแม้ว่าในคดี Employment Division v Smith (1990) (*) คำตัดสินของศาลสูงอาจจะเป็นการจำกัดขอบเขตของบทบัญญัติ Free Exercise Clause และคดี Boerne v Flores (1997) (**) คำตัดสินของศาลอาจจะมีทัศนะคติที่เปิดกว้างขึ้นในหลักเสรีภาพทางศาสนาในทางรัฐธรรมนูญ แต่โดยหลักการแล้ว การควบคุมการเคลื่อนไหวทางศาสนาอย่างเปิดเผยชัดเจนเป็นเรื่องที่ขัดรัฐธรรมนูญ กลุ่มลัทธินิกายต่างๆ อย่าง นิกายมอร์มอน(Mormons), นิกายพระยะโฮวาห์ (Jehovah's Witnesses), ลัทธิมูนิ ( Moonie)(***) และศาสนาของชาวอเมริกันพื้นเมือง ล้วนได้รับการคุ้มครองทางรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติ Free Exercise Clause ถึงแม้ว่าสถานะของลัทธิเหล่านี้จะเป็นเพียงกลุ่มศาสนาเล็กๆ ก็ตาม

(*) Employment Division v. Smith, 494 U.S. 872 (1990), is a United States Supreme Court case that determined that the state could deny unemployment benefits to a person fired for violating a state prohibition on the use of peyote, even though the use of the drug was part of a religious ritual. Although states have the power to accommodate otherwise illegal acts done in pursuit of religious beliefs, they are not required to do so.

(**)City of Boerne v. Flores, 521 U.S. 507 (1997), was a Supreme Court case concerning the scope of Congress's enforcement power under the fifth section of the Fourteenth Amendment.( The Fourteenth Amendment (Amendment XIV) to the United States Constitution is one of the post-Civil War amendments (known as the Reconstruction Amendments), first intended to secure rights for former slaves. It includes the Due Process and Equal Protection Clauses among others. It was proposed on June 13, 1866, and ratified on July 9, 1868. ดูเพิ่มเติมใน http://en.wikipedia.org/wiki/Fourteenth_Amendment_to_the_United_States_Constitution)

(***) Moonies is a derogatory[1][2] term for members of the Unification Church, based on the name of church founder Sun Myung Moon (1). It was first used as a derisive label by the news media in the 1970s in the United States. It has always been considered a disparagement by most church members, but has sometimes been used by them and others without any negative connotations.

(1) Sun Myung Moon (born January 6, 1920) is the leader of the Unification Church, which he founded on May 1, 1954 in Seoul, South Korea. Moon is also the founder and leader of the global Unification Movement which owns, operates or subsidizes many organizations involved in political, cultural, mass-media, and other activities. One of the best known is the Washington Times newspaper, founded in 1982.

Moon has said he is the Second Coming of Christ, the "Savior", "returning Lord", and "True Parent". He teaches that all people should become perfected like Jesus and like himself, and that as such he "appears in the world as the substantial body of God Himself." He is well-known for holding Blessing ceremonies, which are often called "mass weddings".

เพื่อจุดมุ่งหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นการง่ายที่จะกล่าวว่าบทบัญญัติ Free Exercise Clause มีความสำคัญกับลักษณะพหุนิยมทางศาสนา โดยเหตุที่กิจกรรมทางศาสนาต้องอาศัยวิธีการจัดการด้านอุปทาน ทำให้องค์กรศาสนา (ในแง่เศรษฐกิจแล้วก็เปรียบเหมือนเป็นบริษัทการค้า) ที่ต้องแข่งขันกันทาง "เศรษฐกิจ" พบว่าการสร้าง "ความแตกต่างของสินค้า" เป็นเรื่องจำเป็น. องค์กรศาสนาที่ต้องแข่งกันหาสมาชิกหรือผู้สนับสนุน มักจะพยายามทำให้ตัวเองแตกต่างจากคู่แข่งในเรื่องของหลักการหรือพิธีกรรมทางศาสนา บางครั้งการแข่งขันขององค์กรศาสนาดูเหมือนจะมีการแข่งกันเองภายในสถาบันเดียวกัน. ดังกรณี รัฐมนตรีคนหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกในนิกาย General Association of Regular Baptist Churches (GARBC) ได้พยายามอธิบายอย่างยืดยาวว่านิกาย GARBC เป็นผู้สืบทอดที่แท้จริงของ John the Baptist และยังกล่าวอีกว่านิกาย GARBC เป็นตัวแทนในแบบ Batptist ที่แท้จริงมากกว่านิกาย American Baptist Church, Southern Baptist Convention หรือนิกาย Baptist อิสระอื่นอีกหลายพันนิกาย ที่ประกอบกันเป็นภาพรวมทางศาสนาทั้งหมดของคนอเมริกัน

แต่มีเหตุผลที่อาจยืนยันได้ว่า สาเหตุที่นิกายต่างๆ สามารถสร้างความแตกต่างในเรื่องหลักการความเชื่อหรือภารกิจได้มากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับทางเลือกว่ามีอยู่มากเพียงใด เพราะฉะนั้น ยิ่งศาสนาทั้งหมดทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นมีความหลากหลายมากเท่าใด ก็ดูเหมือนว่าผู้คนจะยิ่งยึดมั่นในธรรมเนียมศาสนาของตนเองมากขึ้นเท่านั้น สิ่งที่เป็นหลักฐานยืนยันเหตุผลดังกล่าวก็คือ เรื่องของการเมืองทางศาสนาในระดับนานาชาติ

จากรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์แสดงให้เห็นว่า ในประเทศยุโรปซึ่งมีคนมุสลิมจำนวนน้อยอาศัยอยู่ และกำลังมีจำนวนเพิ่มมากหรือปรากฏชัดขึ้น ผู้คนในประเทศนั้นมีแนวโน้มจะเข้าร่วมศาสนามากขึ้น เช่นเดียวกับที่โปแลนด์ที่ดูจะมีการปฏิบัติศาสนากิจค่อนข้างมาก ในช่วงที่มีการปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ และเริ่มลดลงภายหลังการสิ้นสุดของสงครามเย็น. หรือกรณีที่พรรคชาตินิยมฮินดูได้รับการสนับสนุนมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้ชาวมุสลิมมีการรวมตัวกันอย่างสูงมากเช่นกัน

ดังนั้น จึงไม่ใช่แค่จำนวนศาสนาที่มีการนับถือกันเฉพาะในดินแดนแห่งหนึ่งแห่งใดเท่านั้น ที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของศาสนาต่างๆ เหล่านั้น แต่ยังมีความหลากหลายของหลักธรรมคำสอนและการประพฤติปฏิบัติอีก การเสนอความเห็นดังกล่าว อาศัยข้อพิสูจน์เรื่องความหลากหลายของศาสนาที่มีอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งความแตกต่างของศาสนาในอเมริกามีมากน้อยเพียงใดยังเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอยู่ อาจจะมีผู้โต้แย้งว่าศาสนาของชาวอเมริกันที่ดูเหมือนจะมีความหลากหลายนั้น ถูกจำกัดด้วยความเชื่อทางทฤษฎีหรือการปฏิบัติศาสนกิจในขอบเขตที่แคบมาก นอกจากนี้ เหตุผลที่กล่าวมาก็ไม่มีความสอดคล้องตรงกันกับการจัดการด้านอุปทาน เนื่องจากศาสนาที่มีความแตกต่างกันอย่างแท้จริง ไม่ควรต้องแข่งกันหาสาวกหรือผู้เลื่อมใส. ดูเหมือนว่าไม่น่าเป็นข้อวิตกกังวลของผู้นำศาสนาฮินดูในอินเดียที่กลัวว่าสาวกของศาสนาตนจะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม และในทำนองเดียวกันก็ไม่ควรเป็นข้อวิตกกังวลของนักบวชของนิกายโรมันคาธอลิกในฝรั่งเศสหรือเบลเยี่ยม ที่จะต้องเป็นห่วงว่าสาวกของของตนเองจะเปลี่ยนไปเป็นสาวกของศาสนาอิสลาม

แต่ Stark และ Finke (2000) [นักสังคมวิทยา] เห็นว่าการที่ศาสนามีความหลากหลายเท่ากับจะต้องมีการแข่งขันกันระหว่างนิกาย เนื่องจากเห็นได้ชัดว่าการมีศาสนาจากภายนอกเข้ามาดูเหมือนจะทำให้ผู้คนเข้าร่วมศาสนามากขึ้น. Bruce (2002) เห็นว่าความหลากหลายของศาสนาที่กล่าวมานั้น เป็นการทำให้ตัวตนทางศาสนาของบุคคลชัดขึ้น โดยไม่ได้สัมพันธ์กับการแข่งขันระหว่างลัทธิความเชื่อที่แตกต่างกันเลย อย่างไรก็ตาม อาจมีเหตุผลที่สามารถยืนยันสมมติฐานว่าความหลากหลายของศาสนาเป็นการทำให้ศาสนามีการเคลื่อนไหวมากขึ้น

บทบัญญัติของ Free Exercise Clause เปิดทางให้สมาชิกของศาสนาย่อยสามารถใช้เสรีภาพในการนับถือศาสนา และสามารถเข้าสังกัดศาสนา มากกว่าศาสนาซึ่งยึดถือเป็นหลักในสังคม. แต่การบังคับใช้บทบัญญัตินี้ อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกแก่ศาสนาทางเลือกมากกว่าศาสนาหลัก อย่างไรก็ตาม ศาสนาใหม่หลายศาสนาดูเหมือนจะพยายามหาสมาชิกใหม่โดยมุ่งที่กลุ่มคนหนุ่มสาว ซึ่งเป็นกลุ่มที่อาจจะยึดมั่นกับหลักการความเชื่อทางศาสนาใดเป็นการเฉพาะน้อยกว่ากลุ่มอื่น การมีศาสนาทางเลือกใหม่ดังกล่าวอาจเป็นการทำให้เห็นจุดเด่นของแต่ละศาสนาชัดขึ้นในเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และยังเป็นการทำให้รูปแบบของกิจกรรมทางศาสนามีมาตรฐานเพิ่มขึ้น. ดังนั้น บทบัญญัติ Free Exercise Clause ซึ่งทำให้ศาสนาในสหรัฐมีชีวิตก็อาจเป็นส่วนเติมเต็มอย่างดีให้กับบทบัญญัติ Establishment Clause แม้ว่าบทบัญญัตินี้จะช่วยป้องกันเรื่องที่ศาสนาจำนวนสองสามศาสนาที่ได้รับความนิยมหรือเป็นที่ชื่นชอบจะเข้ามาถือสิทธิเพื่อครอบครองพื้นที่สาธารณะทางศาสนาก่อนศาสนาอื่นก็ตาม แต่ Free Exercise Clause ก็ประกันว่าพลเมืองจะสามารถเข้าถึงศาสนาทางเลือกได้อย่างแน่นอน

ดังนั้น มาตราที่เกี่ยวกับเรื่องศาสนาที่บัญญัติอยู่ในคำแปรญัตติที่หนึ่ง (First Amendment) แห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐ จึงทำหน้าที่เสมือนเป็นการส่งเสริมให้ศาสนามีความหลากหลายและทำให้ศาสนาในสหรัฐมีชีวิตมากขึ้น มีเหตุผลยืนยันได้ว่าบทบัญญัติ Establishment Clause ทำให้ศาสนาต่างๆ ต้องหาความสนับสนุนจากสมาชิกที่มีความสามารถ เนื่องจากกฎหมายนี้ไม่ยอมให้องค์กรศาสนาขอรับการสนับสนุนด้วยการให้รัฐบาลใช้อำนาจบังคับ และ Free Exercise Clause ก็สามารถคุ้มครองสิทธิของผู้นับถือลัทธิความเชื่อจากอำนาจของศาสนาหลักที่ได้รับความนิยม อันเป็นการทำให้คนอเมริกันมีศาสนาทางเลือกที่หลากหลาย รัฐธรรมนูญของสหรัฐช่วยให้สหรัฐมีตลาดศาสนา (religious market) ที่องค์กรศาสนาจะไม่ได้รับการสนับสนุนและไม่ถูกควบคุม และด้วยการผสมผสานของบทบัญญัติทางรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงเป็นการส่งเสริมความเป็นพหุนิยมทางศาสนาในสหรัฐ

ระบบทุนนิยมในสหรัฐเพิ่มความต้องการทางด้านศาสนาหรือไม่ (Does U.S. Capitalism Increase Religion Demand?)
บทบัญญัติที่ว่าด้วยศาสนาในคำแปรญัตติที่หนึ่ง (First Amendment) แสดงให้เห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศประชาธิปไตยในตะวันตกอื่นๆ องค์กรศาสนาในสหรัฐดำเนินการอยู่ภายในกรอบว่า "ศาสนาจะไม่ได้รับการสนับสนุนและไม่ถูกควบคุม" ซึ่งเป็นผลให้ในสหรัฐมีลักษณะของความเป็นพหุนิยมทางศาสนา และด้วยความเป็นพหุนิยมทางศาสนาที่กระตุ้นให้เกิดตลาดศาสนาที่ประกอบด้วย "บริษัทร้านค้า" ทางศาสนาจำนวนมากที่ต้องแข่งขันกัน องค์กรศาสนาแต่ละแห่งต้องแข่งขันกันอย่างหนักเพื่อหาสมาชิกและผู้สนับสนุน เมื่อพิจารณาในแง่เศรษฐศาสตร์คลาสสิก ความเป็นพหุนิยมรวมทั้งการแข่งขันที่เป็นผลมาจากความเป็นพหุนิยม ทำให้ภาพรวมการบริโภคสินค้าศาสนามีปริมาณที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ โครงสร้างทางการเมืองของสหรัฐก็อาจเพิ่มแรงกดดันโดยตรงต่ออุปสงค์ทางศาสนา. Stark และ Finke (2000) มีความเห็นว่า อุปสงค์ทางศาสนาโดยรวมแล้วไม่ได้ผันแปรอย่างมีนัยสำคัญตามสภาพแวดล้อมทางการเมืองและวัฒนธรรม ซึ่งอุปสงค์ดังกล่าวจะกระจายอยู่ในสัดส่วนปกติ ดังนั้น การที่ศาสนามีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในบริบทที่แตกต่าง เป็นผลมาจากการแข่งขันของตลาดศาสนา รูปแบบของการเคลื่อนไหวทางศาสนาในด้านอุปทานนำมาซึ่งสมมติฐานที่ว่า ไม่มีความผันแปรของอุปสงค์ทางศาสนาในประเทศหรือภูมิภาคซึ่งแตกต่างกัน แม้เป็นไปได้ว่าสำหรับสหรัฐมีอุปสงค์ทางศาสนาในระดับสูงกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุทั้งหมดไม่ได้มาจากจำนวนและความหลากหลายของฝ่ายอุปทาน

การที่สหรัฐมีอุปสงค์ทางศาสนาที่ดูเหมือนอยู่ในระดับสูงนั้น คำอธิบายหนึ่งที่สามารถเป็นไปได้มาจากงานวิจัยของ Pippa Norris และ Ronald Inglehart (2004) โดย Norris และ Inglehart ได้เสนอความเห็นว่าเหตุที่ความเลื่อมใสศาสนาในระดับบุคคลและระดับสถาบันเพิ่มขึ้น อาจเชื่อมโยงกับความไม่มั่นคงทางด้านจิตใจและความไม่มั่นคงที่ครอบงำอยู่ และอาจมีความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมเฉพาะที่ของผู้คนในแต่ละแห่ง ดังเห็นได้ว่าประเทศที่ผู้คนมีความเลื่อมใสศาสนาในระดับสูงจะเป็นประเทศที่มักจะเกิดภัยธรรมชาติอยู่เสมอ หรืออาจเป็นประเทศที่อยู่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีอำนาจทางการทหาร ผู้คนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง อาจจะรับเอาระบบความเชื่อ (อย่างเช่นศาสนา) ซึ่งอาจช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้นหรือที่ทำให้ชีวิตต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนน้อยลง

สมมติฐานดังกล่าวสามารถถูกพิจารณาได้ว่าเป็นสมมติฐานที่มีเหตุผล เนื่องจาก Norris และ Inglehart ได้ร่วมกันศึกษาในเชิงประจักษ์และเชิงแนวคิด ด้วยการการประเมินในเรื่องของความเสี่ยงหรือความไม่มั่นคงต่อชีวิต แม้ว่าการศึกษาของ Norris และ Inglehart จะมีแนวคิดที่ดูเป็นไปได้และมีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุน แต่มีประเด็นที่เป็นคำถามในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความไม่มั่นคงกับการเลื่อมใสศาสนา ถ้าจะอธิบายว่าความไม่มั่นคงและการเลื่อมใสศาสนาเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน ก็ย่อมเป็นการยากที่จะสรุปว่าชาวอเมริกันมีความไม่มั่นคงในระดับที่สูงกว่าพลเมืองในชาติตะวันตกอื่นๆ

ในสหรัฐ บริการที่ภาครัฐมีให้กับประชาชนนั้นอยู่ในระดับที่ไม่มากและครอบคลุมน้อยกว่าประเทศตะวันตกอื่นๆ ระบบสวัสดิการของสหรัฐซึ่งให้กับพลเมืองมีน้อยมากเมื่อเทียบกับรัฐบาลในประเทศยุโรปหรือประเทศอื่น (อินเดีย หรือญี่ปุ่น) พลเมืองจำนวนมากในสหรัฐยังไม่ได้รับสวัสดิการด้านสุขภาพ การประกันรายได้หรือสวัสดิการสำหรับเด็ก ดังนั้น อัตราการเจ็บป่วยและการว่างงานของสหรัฐจึงดูเหมือนจะรุนแรงกว่าประเทศอื่นเป็นอย่างมาก ถ้าคนอเมริกันจะกลัวการขาดแคลนทางด้านวัตถุและร่างกายมากกว่าพลเมืองในประเทศอุตสาหกรรมอื่น ความกังวลดังกล่าวอาจจะทำให้ความเชื่อ การเคลื่อนไหวหรือการเข้าเป็นสมาชิกทางศาสนามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

ถ้าเหตุผลดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีน้ำหนักแก่การพิจารณา ก็อาจสรุปได้ว่าความไม่มั่นคงในชีวิตสัมพันธ์กับความเลื่อมใสศาสนา ดังนั้นเรื่องที่ว่าพลเมืองอเมริกันค่อนข้างเคร่งครัดศาสนา อาจส่งผลต่อนโยบายสาธารณะต่างๆ. ในเรื่องนโยบายที่เกี่ยวกับบทบาทของผู้หญิงในวิถีการดำเนินชีวิตหรือวิถีเศรษฐกิจ ก็อาจจะเห็นได้ชัดว่า การที่คนอเมริกันมีความเลื่อมใสศาสนาในระดับสูง มีผลกับนโยบายสาธารณะในเรื่องเกี่ยวกับการทำแท้ง การคุมกำเนิด การดูแลเด็ก และการลาคลอด และทำให้ดูเสมือนหนึ่งว่าศาสนามีอิทธิพลกับเนื้อหาในนโยบายสาธารณะ ด้วยการส่งผลกระทบต่อทัศนะคติของคนส่วนมากในเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรมทางด้านเพศ และบทบาทที่เหมาะสมของผู้หญิงในแง่สังคมและเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้หญิงวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และในเรื่องของการรักษาพยาบาลเป็นปัญหาของชาวอเมริกันจำนวนมาก ความวิตกกังวลเหล่านี้อาจเป็นผลทำให้ผู้คนหันไปเลื่อมใสศาสนามากขึ้น

เหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นยังถือว่าเป็นการคาดเดาเนื่องจากยังไม่ได้มีศึกษาวิจัยในเชิงประจักษ์มาสนับสนุน อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่ว่าความเลื่อมใสศาสนาส่วนหนึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคง รวมทั้งแนวความคิดที่ว่าความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นเรื่องปกติในสหรัฐมากกว่าประเทศอื่น ก็เป็นแนวคิดที่สามารถใช้อธิบายเหตุผลที่ผู้คนเข้าร่วมศาสนาในระดับที่ค่อนข้างสูงที่สังเกตเห็นได้ในสหรัฐ

ผลลัพธ์จากพหุนิยมทางศาสนา (Consequences of Religions Pluralism)
ถ้าเหตุผลข้างต้นมีความถูกต้องก็อาจสรุปได้ว่า กรณีของสหรัฐซึ่งพลเมืองของประเทศเข้าร่วมกับกิจกรรมศาสนาในระดับที่สูงกว่าปกติก็ไม่ใช่ "กรณีพิเศษที่แตกต่างจากกรณีอื่น" เมื่อพิจารณาจากรัฐธรรมนูญ ดังเช่นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับศาสนาในคำแปรญัตติที่หนึ่ง(First Amendment) และเมื่อพิจารณาด้านการเมืองของสหรัฐ การที่ชาวอเมริกันสนับสนุนระบบเศรษฐกิจการค้าเสรีทำให้สามารถนำกรณีของสหรัฐในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งเป็นกรณียกเว้นมาจัดอยู่ในทฤษฎีทั่วไปของสังคมศาสตร์ได้

สำหรับในส่วนนี้ จะพิจารณาถึงความสำคัญของการเลื่อมใสศาสนาของคนอเมริกันว่ามีความสำคัญอย่างไร? และทำไมถึงมีความสำคัญกับการที่ดูเหมือนชาวอเมริกันจะเชื่อในพระเจ้า การแสวงหาแนวทางชีวิตจากการชี้นำของศาสนา และการเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนามากกว่าประเทศอุตสาหกรรมอื่นที่เป็นประเทศคู่แข่ง? ลักษณะทางศาสนาของคนอเมริกันที่สามารถสังเกตได้ ส่งผลทั่วไปทางการเมืองอย่างน้อยสี่ประการ

ประการแรก และที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ศาสนามีผลกระทบกับนโยบายสาธารณะ การทำความเข้าใจกลไกที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับนโยบายสาธารณะไม่ใช่เรื่องยาก ถึงแม้ว่าลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างมติมหาชนกับนโยบายสาธารณะจะเป็นเรื่องยากจะอธิบาย แต่ก็มีนักสังเกตการณ์เพียงไม่กี่คนที่ไม่เห็นด้วยว่า การตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบาย (โดยเฉพาะผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง) ได้รับอิทธิพลมาจากมติมหาชน เนื่องจากค่านิยมและอภิสิทธิของชาวอเมริกันโดยทั่วไปถูกกำหนดด้วยปัจจัยทางศาสนา เพราะฉะนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ศาสนาจะส่งผลกระทบกับเนื้อหาสาระในนโยบายของรัฐบาล

ตัวอย่างที่แสดงถึงอิทธิพลของศาสนา กับการดำเนินนโยบายของรัฐบาลมีอยู่เป็นจำนวนมาก. ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 แนวคิดเคลื่อนไหวทางการเมืองเชิงศาสนา (religious political activism) เชื่อมโยงกับสิทธิทางการเมือง กลุ่มอนุรักษ์นิยมทางศาสนาถือว่าเป็นกลุ่มหนึ่งที่เป็นคะแนนเสียงสำคัญซึ่งมีอิทธิพลในพรรครีพับลิกัน กลุ่มดังกล่าวมักจะถูกมองว่าได้รับแรงกระตุ้นจาก "ประเด็นสังคม" (อันเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับศีลธรรมส่วนบุคคล) เช่น สิทธิการทำแท้ง สิทธิของกลุ่มคนรักร่วมเพศ และบทบาทที่เหมาะสมทางสังคมของผู้หญิง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเช่นนี้ทั้งหมด

นักประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงความสำคัญของศาสนาและกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นขัดแย้งต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวของผู้ที่สนับสนุนการทำแท้งในกลางคริสตศตวรรษที่ 19, การเคลื่อนไหวของกลุ่ม Social Gospel (*) เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 (ด้วยการให้ความช่วยเหลือกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มหัวก้าวหน้าในทรัพยากรต่างๆ) ในช่วงต้นของศตวรรษที่ผ่านมา และการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมืองและต่อต้านสงครามในทศวรรษที่ 1950 และ 1960 และในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐ ค.ศ. 2008 พวกกลุ่มหัวก้าวหน้าทางศาสนาก็กำลังพยายามอ้างเหตุผลตามหลักศาสนาเพื่อใช้สนับสนุนนโยบายต่างๆ ที่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเมืองฝ่ายซ้าย

(*)The Social Gospel movement is a Protestant Christian intellectual movement that was most prominent in the late 19th century and early 20th century. Social Gospel principles continue to inspire newer movements such as Christians Against Poverty. The movement applied Christian principles to social problems, especially poverty, inequality, liquor, crime, racial tensions, slums, bad hygiene, poor schools, and the danger of war.

ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ที่จะให้ศาสนามีผลกระทบต่อสาธารณชนหรือไม่ก็ตาม แต่นโยบายต่างๆ ก็ขึ้นอยู่กับค่านิยมที่เป็นการผสมผสานระหว่างเรื่องทางโลกและทางศาสนา เช่น ในทศวรรษแรกของคริสตศตวรรษที่ 21 กลุ่มอนุรักษ์นิยมทางศาสนา ได้พยายามผลักดันให้สิ่งที่เรียกกันว่าการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (intelligent design) (*) (ซึ่งนักสังเกตการณ์บางคนมองว่าเป็นข้อขัดแย้งที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ ระหว่างแนวคิดวิวัฒนาการกับแนวคิดพระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง) ให้ได้รับการบรรจุไว้ในหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนของรัฐ และได้พยายามผลักดันให้มีการควบคุมการวิจัยทางการแพทย์ในเรื่องเกี่ยวกับสเต็มเซลล์

(*)Intelligent design is the assertion that "certain features of the universe and of living things are best explained by an intelligent cause, not an undirected process such as natural selection." It is a modern form of the traditional teleological argument for the existence of God, modified to avoid specifying the nature or identity of the designer. Its primary proponents, all of whom are associated with the Discovery Institute, believe the designer to be the God of Christianity. Advocates of intelligent design claim it is a scientific theory, and seek to fundamentally redefine science to accept supernatural explanations.

The unequivocal consensus in the scientific community is that intelligent design is not science but pseudoscience (1). The U.S. National Academy of Sciences has stated that "intelligent design, and other claims of supernatural intervention in the origin of life" are not science because they cannot be tested by experiment, do not generate any predictions, and propose no new hypotheses of their own. The US National Science Teachers Association and the American Association for the Advancement of Science have termed it pseudoscience. Others have concurred, and some have called it junk science.

(1) Pseudoscience is defined as a body of knowledge, methodology, belief, or practice that is claimed to be scientific or made to appear scientific, but does not adhere to the scientific method, lacks supporting evidence or plausibility, or otherwise lacks scientific status. The term comes from the Greek root pseudo- (false or pretending) and "science" (from Latin scientia, meaning "knowledge").

ประเด็นทางการเมืองที่เป็นข้อถกเถียงเหล่านี้เป็นเรื่องระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการขัดขวางความก้าวหน้าทางความรู้ของมนุษย์ (ในกรณีการวิจัยเรื่องสเต็มเซลล์ ถูกเรียกว่าเป็นการขัดขวางการช่วยเหลือมนุษย์จากความเจ็บป่วย) หรือเป็นการตอกย้ำให้สาธารณชนทราบถึงความสำคัญของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่กำลังให้ความสำคัญกับเรื่องทางโลกมากขึ้น. แต่สิ่งที่ไม่อาจโต้แย้งก็คือการมีส่วนร่วมของพลเมืองที่อ้างความเชื่อตามหลักศาสนา รวมทั้งการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของศาสนาอย่างชัดเจนว่า มีผลกระทบอย่างมากกับปัญหาสาธารณะที่เป็นประเด็นขัดแย้งกัน ซึ่งแท้ที่จริงก็คือ นโยบายสาธารณะล้วนมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้ การที่ศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง อาจมีผลกับความเชื่อทางศาสนาและการนับถือศาสนา ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป

ประการที่สอง ความสำคัญต่อมาคือ ศาสนามักจะถูกมองว่าเป็นแหล่งทุนทางสังคม สมมติฐานว่าด้วยการมีส่วนร่วมได้แสดงให้เห็นว่า การเข้าเป็นสมาชิกและการมีส่วนร่วมในองค์กรอาสาสมัครต่างๆ ซึ่งอ้างว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง ช่วยสร้างทักษะทางการเมืองที่สามารถนำไปใช้กับการเข้าร่วมทำงานทางการเมืองโดยตรงมากขึ้น Robert Putnam (a political scientist and professor at Harvard University.)มีความเห็นเรื่องทุนทางสังคมที่ค่อนข้างคล้ายกัน คือเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาที่มีผลกับการมีส่วนร่วมในกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่มีอยู่ในสังคมเมือง

ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ศาสนาในสหรัฐนั้นทำให้ทุนทางสังคมมีโอกาสพัฒนาได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น การเข้าร่วมองค์กรทางศาสนาอาจถือได้ว่าเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการช่วยพัฒนาทักษะทางการเมือง โดยมีเหตุผลสนับสนุนสองข้อ

ข้อแรก การมีส่วนร่วมทางศาสนาในสหรัฐค่อนข้างเป็นไปอย่างแพร่หลาย การเป็นสมาชิกในองค์กรศาสนา (เช่น ศาสนานิกายต่างๆ หรือกลุ่มผู้เข้าร่วมพิธีในโบสถ์ตามท้องถิ่น) เป็นเรื่องปกติทั่วไปที่ชาวอเมริกันทำกันมากกว่าการสมัครใจเข้าร่วมองค์กรในรูปแบบอื่น ดังนั้นจากการที่ศาสนาในสหรัฐมีการเคลื่อนไหวในระดับสูง จึงเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ทุนทางสังคมต้องให้ความสนใจกับการมีส่วนร่วมทางศาสนา

ข้อที่สอง นอกจากนี้ลักษณะเฉพาะประการต่อมาของการเรียนรู้ทักษะทางการเมืองผ่านกระบวนการศาสนาก็คือ แนวความคิดที่ว่าการเข้าร่วมศาสนาอาจทำให้เกิดความเสมอภาคในแบบเฉพาะ โดยลักษณะเด่นประการหนึ่งในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมืองคือ พลเมืองซึ่งมีส่วนร่วมมักอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบทางการเมือง สังคมและทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว

ดังนั้น คนที่มีการศึกษาสูง (และบางส่วนก็เป็นชนชั้นสูง) ซึ่งมักมีรายได้สูง และจะเป็นผู้ที่มีโอกาสติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลที่มีอิทธิพลในชุมชน และยังมีเวลาว่างมากพอจะทุ่มเทเวลาให้กับกิจกรรมทางการเมือง. Robert Dahl (1961) (Robert Alan Dahl (b. 17 December 1915), is the Sterling Professor emeritus of political science at Yale University.) ยืนยันว่าการแบ่งสรรทรัพยากรทางการเมืองในสหรัฐนั้น มีลักษณะของการ "กระจายตัวอย่างไม่เท่าเทียมกัน" สำหรับ Verba, Scholzman และ Brady (1995) เห็นว่าแหล่งทุนทางสังคมส่วนมากจะกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนที่ค่อนข้างมีฐานะ โดยที่ศาสนาดูเสมือนจะเป็นข้อยกเว้น เพราะมักเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเมืองสำหรับผู้ที่ขาดโอกาสในการพัฒนาทุนทางสังคม

ในองค์กรศาสนา เช่น การเข้าร่วมพิธีในโบสถ์หรือร่วมกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับศาสนา (เช่น องค์กรการกุศล, Holy Name Societies, กลุ่มศึกษาศาสนา) ประชาชนสามารถเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับการจัดประชุม, การหาข้อยุติเมื่อเกิดกรณีที่เกิดความเห็นขัดแย้ง หรือการจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ หรือการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าการเป็นพหุนิยมทางศาสนานั้นทำให้มีการเข้าร่วมศาสนามากขึ้น และว่าการเข้าร่วมศาสนาก็เป็นการเพิ่มทุนหรือทรัพยากรทางเมือง ที่สามารถเรียกโดยรวมได้ว่า "ทุนทางสังคม". การเข้าเป็นสมาชิกและการมีส่วนร่วมทางศาสนาอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสหรัฐช่วยทำให้กลุ่มคนที่ขาดโอกาสทางการเมืองทางด้านอื่นๆ ได้มีทรัพยากรทางการเมืองดังที่กล่าวมา. ถ้าระบอบประชาธิปไตยมีความหมายถึงการสนับสนุนความเสมอภาคทางการเมืองแล้ว การมีส่วนร่วมในองค์กรศาสนาก็แสดงถึงข้อได้เปรียบอีกประการหนึ่งของสหรัฐที่ชัดเจน

ประการที่สาม ศาสนาสามารถรักษาแนวโน้มของวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไม่ให้มีแนวโน้มไปในทางที่แย่ลง เมื่อเกือบสองศตวรรษที่ผ่านมา Alexis de Tocqueville (1805-1859) (*) ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยว่า ผู้คนมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามกันไปในแนวทางเดียวกัน เนื่องจากในสังคมมีแรงกดดันมหาศาลทำให้ผู้คนต้องทำตัวให้สอดคล้องกับกระแสความคิด ณ ขณะนั้น. Elisabeth Noelle - Neumann (1993) ได้เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าความเงียบของคนกลุ่มน้อย (the spiral of silence) (**) อันเป็นความเห็นในแนวทางเดียวกันกับแนวคิดคลาสสิคของ Tocqueville ที่เรียกว่าทรราชย์ของเสียงข้างมาก (tyranny of the majority) ทัศนะของคนส่วนใหญ่มักจะมีผลต่อมติมหาชนและนโยบายสาธารณะอย่างไม่อาจปฏิเสธ

(*)Alexis-Charles-Henri Clerel de Tocqueville (July 29, 1805 - April 16, 1859) was a French political thinker and historian best known for his Democracy in America (appearing in two volumes: 1835 and 1840) and The Old Regime and the Revolution (1856). In both of these works, he explored the effects of the rising equality of social conditions on the individual and the state in western societies. Democracy in America (1835), his major work, published after his travels in the United States, is today considered an early work of sociology. An eminent representative of the liberal political tradition,

(**) The spiral of silence is a political science and mass communication theory propounded by the German political scientist Elisabeth Noelle-Neumann. The theory asserts that a person is less likely to voice an opinion on a topic if one feels that one is in the minority for fear of reprisal or isolation from the majority (Anderson 1996: 214; Miller 2005: 277).

ศาสนาทำให้การแสดงความคิดเห็นตามระบอบประชาธิปไตยเป็นเรื่องของความเชื่อ เรื่องเหนือธรรมชาติ หรือเรื่องการคาดการณ์ความเป็นจริง และยังทำให้คนส่วนน้อยสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญอันหนึ่งในระบบการปกครองที่มติมหาชนเป็นสิ่งสำคัญขั้นพื้นฐาน เนื่องจากการเสนอมุมมองที่แตกต่างมักเป็นการช่วยส่งเสริมกระบวนการการอภิปรายทางการเมือง การที่ศาสนาต่างๆ มีหลักการอยู่บนฐานความเชื่อที่ไม่ได้ขึ้นกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าทั้งทางสังคมและทางการเมือง ทำให้หลักความเชื่อดังกล่าวเป็นแหล่งรวมของการวิพากษ์วิจารณ์ที่มีความอิสระเมื่ออยู่ในบรรยากาศการเมืองที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ

ดังเช่นในช่วงแรกที่โรนัลด์ เรแกน (Ronald Reagan) เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐ (1981-1989) นโยบายต่างๆ เช่น การลดอาวุธนิวเคลียร์ และการให้ความช่วยเหลือคนยากจนไม่เป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชน. National Council of Catholic Bishops ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกตำหนิการทำสงครามนิวเคลียร์ว่า เป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรม และยืนยันถึงภาระหน้าที่ทางศาสนาในการให้ความช่วยเหลือคนยากจน พลังทางปัญญาและจิตวิญญาณทางศาสนาของชาวอเมริกัน ช่วยทำให้แนวคิดอนุรักษ์นิยมที่เกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจและนโยบายต่างประเทศมีความสมดุล กล่าวให้กว้างขึ้นคือมีความเป็นไปได้ว่า ความเชื่อมั่นทางศาสนาช่วยทำให้แนวความคิดของคนส่วนน้อยสามารถแสดงออกได้อย่างมีพลัง ทั้งทางปัญญาและทางจิตวิญญาณ เนื่องจากการแสดงวิวาทะในระบอบประชาธิปไตยนั้น ศาสนาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญสำหรับการถกเถียงปัญหาสาธารณะ

แน่นอนว่าไม่มีอะไรแปลกใหม่เป็นพิเศษเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่ง Alexis de Tocqueville ได้ระบุไว้ในงานเขียนที่คลาสสิกเรื่อง Democracy in America (*) ว่าศาสนาเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งช่วยลดพลังอำนาจของเสียงส่วนใหญ่ ในฐานะที่เป็นแหล่งรวมหลักการต่างๆ ที่อยู่เหนือจากโลกแห่งวัตถุ โดยมีภาระหน้าที่ทางศีลธรรมมากมายในเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ดังนั้น ศาสนาซึ่งมีหลักการคนละแนวทางกับระบบการปกครองที่เป็นอยู่ จึงทำหน้าที่เหนี่ยวรั้งวัฒนธรรมที่มีแนวโน้มไปในทางคล้อยตามกันในระบอบประชาธิปไตย

(*)De la democratie en Amerique (published in two volumes, the first in 1835 and the second in 1840) is a classic French text by Alexis de Tocqueville on the United States in the 1830s and its strengths and weaknesses. A literal translation of its title is On Democracy in America, but the translation of the title is Democracy in America. It is regarded as a classical account of the democratic system of the United States and has been used as an important reference ever since.

ประการที่สี่ เห็นได้ชัดว่าความหลากหลายทางศาสนาในสหรัฐ มีผลกับการนับถือศาสนาของผู้คนทั่วไป ในช่วงระยะเวลาที่เกือบจะเป็นยุคสมัยของคนรุ่นก่อน. Neuhaus (1984) (*) ได้เสนอความเห็นว่าวัฒนธรรมที่มีลักษณะทางโลกย์มากขึ้นของคนอเมริกัน ทำให้พื้นที่สาธารณะที่ผู้คนที่ใช้ชีวิตทางสังคมและทางการเมือง ต้องปราศจากหรือขาดความรู้สึกร่วมกันทางศาสนาและศีลธรรม. ความเป็นพหุนิยมอย่างแท้จริงอาจจะส่งผลกระทบในทำนองเดียวกัน คือแต่ละศาสนาซึ่งมีหลักการและหลักจริยธรรมที่แตกต่างกัน (และความแตกต่างระหว่างกลุ่มศาสนาและกลุ่มที่มีมุมมองที่เป็นทางโลกมากกว่า) เป็นอุปสรรคต่อการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในการที่จะอ้างอิงเป็นหลักทั่วไปในการดำเนินการทางการเมือง

(*) Richard John Neuhaus (born May 21, 1936) is a prominent Catholic priest and writer born in Canada and living in the United States, where he is a naturalized citizen. He is the founder and editor of the monthly journal First Things and the author of several books, including The Naked Public Square: Religion and Democracy in America (1984).

แต่ Alexis de Tocqueville เห็นว่าศาสนาคริสต์ช่วยลดพลังอำนาจของเสียงส่วนใหญ่ และเป็นพื้นที่ทางศาสนาที่มีการถกเถียงกันในเรื่องทางด้านศีลธรรม ซึ่งเกี่ยวกับปัญหารักร่วมเพศ, การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้สมรส, ปัญหาเศรษฐกิจ และการทำสงคราม โดยเป็นเสมือนวัตถุดิบอันมีค่าที่ประกอบกันขึ้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งทางด้านศีลธรรมของประเทศ

พหุนิยมทางศาสนาเป็นแง่มุมหนึ่งของวัฒนธรรมในสหรัฐ ที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีความเลื่อมใสศาสนาจะต้องต่อสู้ช่วงชิง. ข้อมูลจากขบวนการฝ่ายขวาคริสเตียน(Christian Right) (*) เมื่อทศวรรษที่ 1980 มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มเป็นแบบกระจัดกระจายและค่อนข้างขาดประสิทธิภาพ อันเป็นผลมาจากความเป็นพหุนิยมทางศาสนา คือความแตกต่างของหลักคำสอนในเรื่องเกี่ยวกับเทววิทยาที่ใช้ภาษาซึ่งไม่มีคนเข้าใจ ทำให้การประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรศาสนาและสถาบันการเมือง หรือระหว่างผู้นำของ Christian Right เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

(*)The Christian right is a spectrum of right-wing Christian political and social movements and organizations characterized by their strong support of conservative social and political values. The politically active social movement of the Christian right includes individuals from a wide variety of theological beliefs, ranging from moderately traditional movements within Lutheranism and Catholicism to theologically more conservative movements such as Evangelicalism, Pentecostalism and Fundamentalist Christianity.

ด้วยความพยายามของกลุ่มคริสเตียนนิกาย Evangelical (ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายหนึ่งซึ่งเชื่อกันว่า นิกายนี้ไม่ใจกว้างต่อความเชื่อทางศาสนาของนิกายอื่น) ที่เกิดขึ้นในระยะหลังทำให้บรรดาผู้นำทางการเมืองและนักวิเคราะห์ต่างเห็นความจำเป็น ที่ต้องมีการประสานความร่วมมือทางศาสนาในระหว่างลัทธิความเชื่อต่างๆ พร้อมกับการใช้หลักศีลธรรมทั่วไปในการพิจารณาตัดสินประเด็นปัญหาเฉพาะเรื่อง

การขาดมุมมองร่วมกันทางศาสนา ทำให้ผู้เลื่อมใสศาสนาที่ต้องการให้มุมมองทางศาสนาปรากฏต่อสาธารณชนต้องตกอยู่ในสภาพอับจนทางยุทธวิธี โดยทางเลือกหนึ่งก็คือการเลิกเดินตามเป้าหมายแบบคนทั่วไป (รวมถึงการคล้อยตามอำนาจทางการเมือง) แล้วให้ความสนใจกับตัวผู้นำศาสนาและฆราวาสในเรื่องที่มีความเป็นศาสนามากขึ้น เช่น การทำให้บุคคลเลื่อมใสศาสนา, การเปลี่ยนศาสนา หรือการยกระดับชีวิตครอบครัวด้วยศาสนา การหันมาให้ความสนใจเรื่องภายใน เป็นเรื่องค่อนข้างสอดคล้องกับคริสตศาสนานิกายต่างๆ รวมทั้งยังมีคำกล่าวอ้างมากมายจากข้อความในคัมภีร์ไบเบิ้ลมาสนับสนุนประเด็นนี้ (เช่น ข้อความที่ว่า "My kingdom is not of this world" - อาณาจักรของข้าพเจ้า ไม่ได้อยู่บนโลกใบนี้)

การดำรงอยู่ของความเป็นพหุนิยมทางศาสนาในสหรัฐ จำเป็นต้องใช้เหตุผลทางโลกย์ในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยมีเป้าหมายทางศาสนา นักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีเป้าหมายทางศาสนา ต้องแสดงความคิดเห็นด้วยการใช้ศัพท์ในทางโลกย์ที่สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้ ถ้าต้องการจะให้การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้ผลในการเมืองอเมริกันร่วมสมัย ก็จำเป็นต้องมีการใช้เหตุผลประกอบที่เป็นหลักการทางโลกย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับมากขึ้น

ประเด็นนี้มีตัวอย่างประกอบเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น โดยจากการศึกษาวิจัยของ Laura Grindstaff (1994) (นักสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย) ในเรื่องวาทกรรมเกี่ยวกับการทำแท้งในสหรัฐ ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเวลาผ่านไป การถกเถียงกันเรื่องปัญหาการทำแท้งก็เริ่มมีการใช้เหตุผลทางศาสนาน้อยกว่าเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ การอ้างอิงกฎธรรมชาติตามแบบคาธอลิกหรือจากข้อความในคัมภีร์ไบเบิ้ล ถูกแทนที่ด้วยเหตุผลทางชีววิทยาหรือเรื่องของพันธุศาสตร์ เพื่อใช้ยืนยันความเป็นมนุษย์ของทารกที่ยังอยู่ในครรภ์. หรือจากการศึกษาวิจัยเรื่องทัศนะทางการเมืองของนักบวช ก็มักจะพบกับการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ในการต่อต้านการทำแท้ง เช่น นักบวชนิกายคาธอลิกรูปหนึ่งในรัฐอินเดียนาตอนกลาง ได้ให้ทัศนะไว้อันมีหลายแง่มุมที่เป็นไปตามแบบฉบับดังกล่าว คือ "ทารกในครรภ์ย่อมเป็นบุคคลคนหนึ่ง จะเป็นอย่างอื่นไปได้อย่างไร ทารกนั้นมีดีเอ็นเอเฉพาะ มีกรุ๊ปเลือดที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับกรุ๊ปเลือดของพ่อแม่ และทารกนั้นมีหัวใจที่เต้นได้เอง"

ในทำนองเดียวกัน สำหรับประเด็นเรื่องการจัดหลักสูตรในโรงเรียนในเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดวิวัฒนาการ ซึ่งยังเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอยู่นั้น ในบางครั้งฝ่ายที่สนับสนุนความเชื่อที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง (Creationism) ก็ยังพยายามหาเหตุผลมาโต้แย้งด้วยการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย มีผู้เข้าไปค้นหาคำว่า "creation science" นับหลายพันครั้งในอินเตอร์เน็ต การที่กลุ่ม creationist มีการนำเสนอในรูปแบบใหม่ในระยะหลัง ทำให้ได้รับความสนใจและได้รับการสนับสนุนจากสาธารณะชน แนวคิด scientific creationism หรือแนวคิด intelligent design มักจะโต้แย้งด้วยการให้ความสำคัญกับประเด็นซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันในสองแง่มุม คือทฤษฎีวิวัฒนาการมีคำอธิบายที่ไม่สมบูรณ์ (มันเป็นเพียงทฤษฎี) แต่เหตุผลเรื่อง intelligent design หรือความเชื่อเรื่องพระเจ้าสร้างโลกนั้นมีความน่าเชื่อถือมากกว่า และประการที่สองก็คือเรื่องของความเข้าใจที่ถูกต้องและความเป็นกลางทางวิชาการ ข้อเสนอที่พอจะได้รับการยอมรับก็คือ ควรมีการนำเสนอเหตุผลของทั้งสองฝ่ายและให้ผู้เรียนได้ "ตัดสินใจด้วยตัวเอง"

(*) scientific creationism - Creation science is a movement within creationism which attempts to disprove the accepted scientific theories on the history of the Earth, cosmology and biological evolution and prove the Genesis account of creation using scientific means. Its most vocal proponents are fundamentalist and conservative Christians in the United States who seek to prove Biblical inerrancy and mount a challenge against the scientifically accepted theory of evolution. Key concepts in creation science include the notion of "creation ex nihilo"(out of nothing); that mankind and other life on earth were created as unique, fixed Barminological kinds, and the notion that fossils found in geological strata are indicative of an historical flood which extended over the whole earth. While creation science purports to be a true scientific challenge to the theory of evolution, often referred to by creation science proponents as Darwinism or as Darwinian evolution, it has never been recognized by or accepted within the scientific community as a valid scientific method of inquiry.

ประเด็นที่จะกล่าวถึง ณ ที่นี้ คือคำอธิบายในคัมภีร์ไบเบิ้ลเรื่องการสร้างโลกนั้นไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมร่วมสมัยของสหรัฐ และไม่อาจอยู่ในวัฒนธรรมที่มีการขัดขวางอำนาจของของคัมภีร์ไบเบิ้ล แต่สำหรับผู้ที่ต้องการจะนำข้อความบางอย่างในคัมภีร์ไบเบิ้ลไปใช้เป็นเหตุผลในการแสดงความคิดเห็นสาธารณะ ก็อาจรู้สึกว่าจำเป็นต้องหาเหตุผลที่มีความเป็นไปได้เพื่อสนับสนุนแนวคิด "intelligent design" ด้วยเหตุผลทางโลกที่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปมากกว่า

ในวัฒนธรรมทางการเมืองของชาวอเมริกัน กลุ่มอนุรักษ์นิยมทางศาสนามักจะอ้างถึง "คุณค่าของครอบครัว" และ "บทบาทที่เปราะบางของเด็ก" อันเป็นกลวิธีทางวาทศิลป์ในการตอบโต้แนวคิดปัจเจกชนนิยมที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย ประเด็นสำคัญที่สุดของการเมืองสหรัฐคือ การที่ปัจเจกบุคคลมีอิสระในการตัดสินใจได้อย่างเต็มที่. สำหรับ Mary Ann Glenden (1991) (*) ได้เสนอว่า "การพูดถึงเรื่องสิทธิ" ในลักษณะดังกล่าวเป็นการทำให้การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองมีน้ำหนักอ่อนลง จากการที่มีการนำประเด็นปัญหาบางอย่างไปถือเป็นเรื่องของโลกส่วนตัวที่ไกลเกินสาธารณชนจะนำมาถกเถียงกันได้. การสนับสนุนแนวคิดปัจเจกชนนิยมเป็นเรื่องท้าทายที่น่ากลัวสำหรับผู้ที่จะมาจำกัดทางเลือกในปัญหาอย่างเรื่องการแต่งงานของเกย์หรือเรื่องสื่อลามก วิธีหนึ่งในการต่อต้านประเด็นปัญหาเฉพาะกรณีอย่างชอบด้วยเหตุผล ก็โดยการยกเอาเหตุอันอาจเป็นเค้าลางที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กอันเป็นวัยที่ถือว่ายังไม่มีความสามารถในการตัดสินใจ

(*)Mary Ann Glendon is the Learned Hand Professor of Law at Harvard Law School. She teaches and writes on bioethics, comparative constitutional law, property, and human rights in international law. She is a pro-life feminist.

ประเด็นหลักอยู่ที่การใช้เหตุผลเรื่องเทววิทยาโดยตรงเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ หรือเป็นการยากที่จะหาเหตุผลอันเหมาะสมต่อการนำมาใช้ในวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางศาสนา เป็นเรื่องยากที่จะอ้างความคิดเรื่องกฎธรรมชาติตามแบบ Aquinian ในวัฒนธรรมที่คนส่วนมากไม่ใช่คาธอลิกห รือจะอ้างเอาอำนาจของพระคัมภีร์ใหม่ (New Testament) ในประเทศซึ่งมีพลเมืองไม่ถึงครึ่งที่ยอมรับว่าคัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้

ในการเข้าถึงสาธารณชน ปัจจัยที่มีจำเป็นก็คือต้นทุนและประโยชน์ที่นักเคลื่อนไหวจะได้รับ "สิ่งที่จำเป็นในการนำเสนอความเชื่อทางศาสนาในแง่ศีลธรรม นักเคลื่อนไหวทางศาสนาต้องฝึกการใช้เหตุผลอย่างเฉียบแหลม และให้เป็นเหตุผลที่มีลักษณะของ 'วิถีทางโลกย์' และมีความน่าเชื่อถือสำหรับคนภายนอกมากขึ้น"

John Stuart Mill ได้ให้ความเห็นไว้ใน On Liberty ว่าการเผชิญกับทัศนะทางเลือกอื่นอาจเป็นการให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นสาธารณะ สำหรับในแง่ลบแล้วการปฏิเสธความเชื่อทางศาสนาในการพิจารณาตามหลักการเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติรูปแบบหนึ่ง ถ้าจุดยืนทางการเมืองสามารถถูกคัดค้านได้เกือบหมดทุกเรื่อง (นอกจากตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างเรื่อง เช่น การนำระบบทาสกลับมาใช้อีกครั้ง) การจะโต้แย้งหรือให้เหตุผลเพื่อปกป้องจุดยืนทางการเมืองนั้น ก็อาจจะถูกจำกัดขอบเขตในทางปฏิบัติ

สรุป
ในบทความนี้ได้พูดถึงประเด็นหลักสองประเด็น

ประเด็นแรก ความเป็นพหุนิยมทางศาสนา (ซึ่งเป็นไปได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าจะส่งผลให้ศาสนาในสหรัฐมีชีวิต) มีความเป็นไปได้มากว่า มีพื้นฐานมาจากการเมืองและรัฐธรรมนูญของสหรัฐ บทบัญญัติที่ว่าด้วย Establishment Clause และ Free Exercise Clause ใน First Amendment ทำให้ตลาดศาสนาซึ่งมีการแข่งขันกันนั้น สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมทางเมืองและกฎหมาย

ประเด็นที่สอง ความเป็นพหุนิยมทางศาสนาและความนิยมในการนับถือศาสนาของคนอเมริกัน ซึ่งเป็นผลมาจากความเป็นพหุนิยมทางศาสนามีผลสำคัญกับการเมืองในทางศาสนา (religious politics) นอกจากศาสนาจะมีผลกระทบกับนโยบายสาธารณะในบางแง่มุมแล้ว ยังดูราวกับว่าศาสนาเป็นเหมือนแหล่งอำนาจที่ทำให้พลเมืองที่มีโอกาสน้อยกว่ากลุ่มอื่น สามารถมีพลังทางการเมือง และยังช่วยให้ความคิดเห็นที่ไม่ได้รับความนิยมได้มีโอกาสในการแสดงออก ความเป็นพหุนิยมทางศาสนายังทำให้การแสดงความคิดเห็นทางศาสนาในแบบสาธารณะมีลักษณะเป็นเรื่องทางโลกย์ เนื่องจากนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่อ้างความเชื่อทางศาสนาไม่สามารถอาศัยข้อสมมติฐานเชิงเทวนิยมหรือศีลธรรมมาใช้ในการสนทนาในแบบประชาธิปไตย

อาจเป็นเรื่องที่ชวนแปลกใจสำหรับบทสรุปในลักษณะเช่นนี้ ถ้าคำอธิบายและการวิเคราะห์เรื่องสาเหตุและผลกระทบของพหุนิยมทางศาสนาในสหรัฐมีความถูกต้อง ก็อาจนำไปสู่ความเข้าใจว่าการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างศาสนาและรัฐเป็นเงื่อนไขสำคัญทางกฎหมายและการเมือง ในการส่งเสริมบทบาททางสาธารณะของศาสนาในวาทกรรมการเมืองสหรัฐ แนวความคิดเรื่องการแบ่งแยกระหว่างรัฐและศาสนา ซึ่งมักมีความหมายถึงการเป็นปฏิปักษ์กับศาสนา อาจส่งผลอย่างสำคัญในทางการเมืองและความทรงอำนาจทางการเมืองในสหรัฐ

บรรณานุกรม

Glendon, Mary Ann. 1991. Rights Talk. New York: Free Press.

Grindstaff, Laura. 1994. Abortion in the Popular Press: Mapping Media Discourse from
Roe to Webster. In Sacred Market ,Sacred Canopies: Essays on Religion Markets and Religious Pluralism, ed. Ted. G. Jelen and Marthe A. Chandler, 57-58. Westport, CT: Prager.

Neuhaus, Richard Jon. 1984. The Naked Public Square. Grand Papids, MI: Eerdmans.

Norris Pippa and Ronald Inglehart. 2004. Sacred and Secular: Religion and Politics
Worldwide. New York: Cambridge University Press.

Stark, Rodney and Roger Finke. 2000. Acts of faiths: Explaining the Human Side of
Religion. Berkeley: University of California Press.

Verba, Sidney, Kay Lehman Scholzman and Henry Brady. 1995. Voice and
Equality:Civic Voluntarism in American Politics. Cambridge, MA: Harvard University Press.

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๑ : Release date 20 April 2008 : Copyleft by MNU.
ดังนั้น มาตราที่เกี่ยวกับเรื่องศาสนาที่บัญญัติอยู่ในคำแปรญัตติที่หนึ่ง (First Amendment) แห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐ จึงทำหน้าที่เสมือนเป็นการส่งเสริมให้ศาสนามีความหลากหลายและทำให้ศาสนาในสหรัฐมีชีวิตมากขึ้น มีเหตุผลยืนยันว่าบทบัญญัติ Establishment Clause ทำให้ศาสนาต่างๆ ต้องหาความสนับสนุนจากสมาชิกที่มีความสามารถ เนื่องจากกฎหมายนี้ไม่ยอมให้องค์กรศาสนาขอรับการสนับสนุนด้วยการให้รัฐบาลใช้อำนาจบังคับ และ Free Exercise Clause ก็สามารถช่วยคุ้มครองสิทธิของผู้นับถือลัทธิความเชื่อ จากอำนาจของศาสนาหลักที่ได้รับความนิยม อันเป็นการทำให้คนอเมริกันมีศาสนาทางเลือกที่หลากหลาย รัฐธรรมนูญของสหรัฐช่วยให้สหรัฐมีตลาดศาสนา (religious market)เกิดขึ้น (คัดมาจากบทความ)
H