1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
สิทธิมนุษยชนเมื่อกว่า
๕๐ ปีที่แล้วกำลังเผชิญหน้ากับสื่อใหม่
คำถามใหม่ๆ
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนบนสื่อใหม่และโลกดิจิตอล
(๒)
สุภัตรา
ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถบางส่วนเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย
บทแปลนี้เดิมชื่อ "คำถามใหม่ๆ
สำหรับสิทธิมนุษยชนในสื่อใหม่"ซึ่งเป็นรายงานที่นำเสนอครั้งแรก
ในการประชุมนานาชาติเรื่อง "ชุมชนจิตนาการ / ชาติไร้ (วัฒนธรรม)พรมแดน"
ที่กรุงเทพฯ
ระหว่างวันที่ ๒๘-๒๙ กรกฎาคม ๒๐๐๖ โดย ดร.ไมค์ เฮย์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์และผู้อำนวยการ
โครงการดุษฎีบัณฑิต สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
สำหรับงานวิจัยที่ ดร.ไมค์ เฮย์ ให้ความสนใจในปัจจุบันคือ สิทธิมนุษยชนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ระบบสื่อเอเซีย และความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ การพัฒนาสังคมและสิทธิมนุษยชน
ในส่วนของบทแปลนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนบนสื่อใหม่และโลกดิจิตอล
เนื่องจากต้นฉบับมีความยาวพอสมควร จึงได้แบ่งออกเป็น ๒ ตอน ประกอบด้วยหัวข้อทั้งหมดดังนี้
- สภาพการณ์ที่ 1 : ระบบเศรษฐกิจเสมือนจริง
- สภาพการณ์ที่ 2 : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
- สภาพการณ์ที่ 3 : บล็อกเกอร์
- ข้อมูลข่าวสารในฐานะที่เป็นสิทธิทางเศรษฐกิจ
- ปักเจกบุคคล และเสรีภาพในการแสดงออก
- สิทธิในการพัฒนาสื่อใหม่
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๕๓๗
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๙ เมษายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๔ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สิทธิมนุษยชนเมื่อกว่า
๕๐ ปีที่แล้วกำลังเผชิญหน้ากับสื่อใหม่
คำถามใหม่ๆ
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนบนสื่อใหม่และโลกดิจิตอล
(๒)
สุภัตรา
ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถบางส่วนเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ต่อจากตอนที่ ๑
ข้อมูลข่าวสารในฐานะที่เป็นสิทธิทางเศรษฐกิจ
ประการแรก พร้อมไปกับการปฏิวัติการสื่อสารที่กำลังเกิดขึ้น
และความเข้มแข็งของเศรษฐกิจข้อมูลข่าวสารในระดับโลก เราต้องเริ่มต้นพูดเรื่องสิทธิในข้อมูลข่าวสาร
(right to information) ในฐานะที่เป็นสิทธิทางเศรษฐกิจ (economic right) เช่นเดียวกับกับสิทธิพลเมือง
(civil right) ตามที่บทบัญญัติข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ถูกเขียนขึ้นและมีการอภิปรายไว้
(15) และแม้แต่สถานะของมันในปฏิญญาฯ ตลอดรวมถึงในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(International Covenant on Civil and Political Right - ICCPR)
ในบริบทของเสรีภาพแห่งความเชื่อนั้น เสรีภาพในการแสดงออก ถูกมองเบื้องต้นในฐานะสิทธิพลเมือง ในฐานะปักเจก และเป็นประสบการณ์เกี่ยวกับเสรีภาพ (liberal experience) (16). นี่เป็นผลที่มีต้นกำเนิดจากบทบัญญัติข้อ 19 อย่างชัดเจน (ปรากฏอยู่ในคำประกาศแห่งฝรั่งเศสว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ.1789, และในการแก้ไขกฎหมายสิทธิ ค.ศ. 1791 ครั้งแรกในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา) (17)
ขณะที่มีเหตุผลหนักแน่นอย่างชัดเจนสำหรับการจัดวางเสรีภาพในการแสดงออก ในฐานะเป็นสิทธิพลเมือง มันไม่ควรถูกจำกัดเพียงแค่เป็นสิทธิพลเมือง. ปัจจุบัน กลไกของระบบเศรษฐกิจวันนี้คือข้อมูลข่าวสาร การปรากฏตัวและขนาดของเศรษฐกิจข้อมูลข่าวสาร (information economy) ได้รับการวิจัยกันอย่างกว้างขวาง และได้รับการชื่นชมในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา (18) ขณะที่ทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กับสิทธิมนุษยชน ที่ประชาชนสร้างรายได้จากสิทธิที่มีการยืนยันไว้ในบทบัญญัติข้อ 19 ของปฏิญญาสากลฯ (การจัดหาโทรศัพท์ เว็บไซต์ รายการต่างๆ ฯลฯ)
มีอาชีพของคนบางคนขึ้นอยู่กับการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นสตรีที่มีรายได้จากการเช่าโทรศัพท์ [ในโครงการของ] Grameen phone (เป็นเครือข่ายให้บริการโทรศํพท์เคลื่อนที่รายใหญ่สุดในบังคลาเทศ ปัจจุบันมีลูกค้าจำนวนถึง 16 ล้านคน บริษัทมีโครงการติดตั้งศูนย์โทรศัพท์ให้เช่าในชุมชนหมู่บ้านชนบท โดยสนับสนุนกลุ่มแม่บ้านเป็นผู้ดำเนินการ กลุ่มแม่บ้านจะมีรายได้จากการการที่สมาชิกในชุมชนมาใช้บริการโทรศัพท์ - ผู้แปล) ผู้แปลเอกสาร หรือคนที่ซื้อยาต้านไวรัสราคาถูกออนไลน์เพื่อรักษาตัว การเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนี้ไม่ควรเป็นการเลือกปฏิบัติ และควรที่จะมุ่งไปที่การพัฒนา โดยการยืนยันสิทธิของประชาชนในการเข้าถึง และการสื่อสารนั้นเป็นการยืนยันสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของพวกเขา
โดยการจัดข้อมูลข่าวสารเป็นสิทธิทางเศรษฐกิจนั้น จำเป็นต้องมีคำอธิบายบางประการ นั่นคือ มีความเป็นไปได้โดยนัยยะว่า การติดต่อสื่อสารสามารถที่จะสัมพันธ์กับบทบัญญัติข้อ 27 วรรค 1 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) คือสิทธิ "ที่จะเข้าร่วมการใช้ชีวิตทางวัฒนธรรม... ที่จะมีส่วนในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์" (*) ข้อนี้เป็นข้อที่หนักแน่นที่สุดซึ่งให้การสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICTs) แต่เพราะว่าข้อนี้ถูกตราไว้ในหมวดของ "สิทธิทางวัฒนธรรม" ในปฏิญญาฯ และมีนัยยะว่าเป็นสิทธิของกลุ่มทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่จะมีส่วนในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การตีความหมายทั้งหมดจึงพุ่งไปที่แง่มุมของสิทธิทางวัฒนธรรม ไม่มีการตีความใดในแง่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
(*) วรรค 1 Everyone has the right freely to participate in the cultural life of the community, to enjoy the arts and to share in scientific advancement and its benefits.
วรรค 2 Everyone has the right to the protection of the moral and material interests resulting from any scientific, literary or artistic production of which he is the author. (http://www.udhr.org/UDHR/ART27.HTM)
คำอธิบายต่างๆ ในปฏิญญาฯนี้ ที่เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาดังกล่าวโดยเฉพาะ ไม่ได้อ้างถึงการมีส่วนในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์แม้แต่ครั้งเดียว ข้อนี้ได้ถูกตราไว้เป็นบทบัญญัติข้อ 15 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economics Social and Cultural Rights - ICESCR) (*) และเป็นสิทธิที่ได้รับการตระหนักมากขึ้น หมายความว่าหน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่การจัดเตรียมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อย่างเร่งด่วน แต่ควรที่จะมีการวางนโยบาย การจัดสรรทรัพยากรจำนวนหนึ่ง (devote resources) และไม่ยอมให้เกิดภาวะถดถอยในการบรรลุจุดมุ่งหมายนี้
(*)Article 15
1. The States Parties to the present Covenant recognize the right of everyone:
(a) To take part in cultural life;
(b) To enjoy the benefits of scientific progress and its applications;
(c) To benefit from the protection of the moral and material interests resulting from any scientific,
literary or artistic production of which he is the author.
2. The steps to be taken
by the States Parties to the present Covenant to achieve the full realization
of this right shall include those necessary for the conservation, the development
and the diffusion of science and culture.
3. The States Parties to the present Covenant undertake to respect the freedom
indispensable for scientific research
and creative activity.
4. The States Parties to the present Covenant recognize the benefits to be
derived from the encouragement and development of international contacts and
co-operation in the scientific and cultural fields.
ความหมายของการสื่อสาร หรือข้อมูลข่าวสารในฐานะที่เป็นสิทธิทางเศรษฐกิจ คือพื้นที่ซึ่งกำลังปรากฎตัวขึ้น และทั้งหมดของงานนี้โน้มเอียงไปที่ที่ประเด็น เช่น ลิขสิทธิ์ (copyrights) และทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) แนวคิดเรื่องแรงงานด้านข้อมูลข่าวสารยังไม่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง (19) ผู้เขียนจะกล่าวโดยสรุปใน 3 ประเด็นที่มีการพิจารณาแง่มุมทางเศรษฐกิจของข้อมูลข่าวสาร หน้าที่ที่แตกต่างกัน และพันธกรณีต่างๆ การคุ้มครองแรงงานด้านข้อมูลข่าวสาร และการรวมคำนิยามที่กว้างขวางมากขึ้นของข้อมูลข่าวสาร
ประการแรก
โดยการพิจารณาถึงสิทธิในข้อมูลข่าวสารในเชิงเศรษฐกิจ นั่นหมายถึงพันธกรณีของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิทธิ
(duty bearer) เปลี่ยนจากหน้าที่เชิงลบ (นั่นคือ ไม่แทรกแซงหรือห้ามบุคคลใดในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเฉพาะด้าน)
ไปสู่หน้าที่ที่มีความตระหนักมากขึ้น ที่จะวางนโยบายและมาตรการต่างๆ ที่เพิ่มความสามารถสำหรับการที่ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่พวกเขาต้องการ.
ขณะที่หลายๆ คนวิพากษ์วิจารณ์จุดอ่อนของความตระหนักในหน้าที่ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นลำดับนี้
เป็นความจำเป็นที่ต้องมีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมบางอย่างในส่วนของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิทธิ
(duty bearer) การมีนโยบายที่ชัดเจน การทำให้เกิดความแน่ใจว่าการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารไม่ได้ถูกทำให้ถดถอยลง
สิ่งนี้สามารถขยายสิทธิของประชาชนในการแสวงหาและรับข้อมูลข่าวสารตามที่ต้องการ
ประการที่สอง แรงงาน ผลผลิต และมูลค่าที่บุคคลสามารถจะได้รับจากข้อมูลข่าวสาร
และควรมีมาตรฐานในการคุ้มครองสิ่งนี้ที่มีความแตกต่างอย่างมากมาย - จากลิขสิทธิ์ของผู้ประพันธ์
ไปสู่ "ชาวนาจีน"ที่พัฒนาตัวละครออนไลน์ ไปสู่ความมั่นคงในงานของพนักงานศูนย์บริการตอบรับโทรศัพท์
(call centre) เพียงเพราะว่าการที่บางคนไม่ได้ทำการผลิตของ"จริง"นั้น
ไม่ได้หมายความว่า แรงงานเหล่านี้ต้องถูกลดคุณค่าลง หรือการเป็นเจ้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งของเขาจะไม่ถูกรับรอง
ในทำนองเดียวกัน อุปสรรคือพื้นที่เสมือนจริงเกือบทั้งหมด มีธุรกิจใหญ่เป็นเจ้าของ (เจ้าของผู้ให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าสู่อินเตอร์เนท เจ้าของซอฟท์แวร์ ฯลฯ) อาจมีการอ้างความชอบธรรมด้านกฎหมายในอนาคตว่า ผลผลิตในพื้นที่นี้เป็นของบริษัทที่จัดเตรียมพื้นที่ โดยการวางกรอบเรื่องข้อมูลข่าวสารในฐานะที่เป็นสิทธิทางเศรษฐกิจนั้น ความสัมพันธ์ที่ขึ้นอยู่ต่อกันและกันและความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างบทบัญญัติข้อ 19 แห่ง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กับ สิทธิในการรวมกลุ่ม และสิทธิด้านแรงงานยังไม่ชัดเจน
ประการที่สาม ความเข้าใจต่อเสรีภาพในการแสดงออก มีแนวโน้มที่จัดวางสิทธิในฐานะเสรีภาพของบุคคลในการมีความเห็นและพูดออกมา อย่างไรก็ตาม การแสดงออกไม่ใช่เกณฑ์ทางเศรษฐกิจ มันมีแนวโน้มที่ทำให้ความคิดเรื่องการแสดงออกไม่เป็นเรื่องของการเมือง มันไม่ได้คำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจของผู้พูดคนนั้น หรือทำอย่างไรที่การพูดของบุคคลนั้นสามารถประกันคุณภาพชีวิตหรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจของเขา มันมีแนวโน้มด้วยเช่นกันที่จะจำกัดแนวคิดเรื่องเสรีภาพ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งที่บุคคลคนหนึ่งคิด มากกว่าที่จะให้การแสดงออกเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเรื่องการสื่อสาร
เมื่อเราพูดถึงเสรีภาพในการแสดงออก เราไม่ได้มีแนวโน้มที่คิดถึงมันในแง่ของความสามารถในการรับข้อมูลการตลาด การป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา หรือการเปิดเผยงบประมาณและรายจ่ายของหน่วยงานใด ข้อมูลเหล่านี้ได้รับการปกปิดภายใต้สิทธิส่วนบุคคลและเสรีภาพในกฏหมายข้อมูลข่าวสารซึ่งมีในหลายประเทศ แต่ไม่ได้เป็นสิทธิมนุษยชนที่เคร่งครัด โดยการก้าวพ้นมาจากความคิดที่จำกัดเรื่องการแสดงออก และก้าวไปสู่แนวคิดที่กว้างขึ้นของสิทธิในข้อมูลข่าวสาร สิทธิมนุษยชนสามารถคุ้มครองมากกว่าเรื่องความคิดของปักเจกบุคคล คุณภาพชีวิตของบุคคลสามารถขึ้นอยู่กับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะในพื้นที่ทางตรง เช่น ข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์ หรือโดยทางอ้อมในการเข้าถึงข้อมูลจากศาลและทนายความได้มากขึ้น หรือความสามารถของบุคคลที่จะเลี้ยงดูครอบครัวขึ้นอยู่กับการศึกษาของพวกเขา
ปักเจกบุคคล และเสรีภาพในการแสดงออก
มิติต่อไปของสิทธิมนุษยชนในสื่อใหม่ที่จะสำรวจคือ รูปแบบใหม่ๆ ของความเป็นปักเจกบุคคลและอัตลักษณ์กำลังทำให้เกิดปัญหากับแนวคิดเดิมของสิทธิต่างๆ
อย่างไร? คำว่า "มนุษย์" ของสิทธิมนุษยชนได้ถูกนิยามอย่างง่ายๆ ในความหมายของปักเจกชนในยุคสว่าง
(the enlightenment individual) อัตลักษณ์เดี่ยวที่มีตัวตนอิสระ (the single
corporeal autonomous identity) อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สื่อใหม่เปิดขึ้น คือโลกของอัตลักษณ์เสมือนจริง
(virtual identities) โลกของอัตลักษณ์ที่ไม่มีตัวตน (of non-corporeal identity)
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทำหน้าที่ได้ดีที่สุดและชัดเจนที่สุดเมื่อสิ่งที่ได้รับการคุ้มครองคือร่างกาย ( a single body) แต่สิ่งที่บางกรณีศึกษาอ้างถึงในการพิจารณาก่อนหน้านี้ คือสิทธิมนุษยชนที่ปราศจากร่างกาย (body) ตัวละครสมมติที่ถูกสร้างขึ้น (the avatar) อัตลักษณ์ 'เสมือนจริง'ในโลกออนไลน์ (the online 'virtual' identity) ความเห็นนิรนามบนเว็บเพจ นี่ดูเหมือนเป็นข้อเสนอที่ขัดแย้งและต่อต้านสิทธิมนุษยชนอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่าหนึ่งในความเชื่อรากฐานของสิทธิมนุษยชนคือ การเฉพาะเจาะจงที่ความเป็นมนุษย์
อย่างไรก็ตาม มีสิทธิบางอย่างที่ไม่มีตัวตนจริง เช่น การปกป้องอัตลักษณ์ (บางทีอาจเป็นเพียง ชื่อเสียงและเกียรติยศของบุคคล ในบทบัญญัติข้อ 12) (*) มันอาจจะดูเหมือนว่าไม่เป็นประเด็นนัก เพราะว่าอัตลักษณ์ไม่ได้เผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่จริงจัง อัตลักษณ์ทั้งหลายไม่สามารถถูกทรมาน ถูกทำให้หายไป หรือได้รับโทษทางกาย (corporal punishment) อย่างไรก็ตาม อัตลักษณ์เปิดพื้นที่ให้การแสดงออก การมีส่วนร่วมทางการเมือง และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
(*) Article 12. No one
shall be subjected to arbitrary interference with his privacy, family, home
or correspondence, nor to attacks upon his honour and reputation. Everyone
has the right to the protection of the law against such interference or attacks.
(http://www.udhr.org/UDHR/ART12.HTM)
จากกรณีศึกษาบล็อกเกอร์ สมาชิกของชุมชนเสมือนจริง หรือคนที่ทำงานพัฒนาอัตลักษณ์ต่างๆ ในเกมออนไลน์ ควรที่จะได้รับการคุ้มครองในนัยของการคุ้มครองอัตลักษณ์ของพวกเขา ในขณะที่ ณ เวลานี้มีข้อห่วงใยเล็กน้อยเกี่ยวกับการทำลายหรือการสั่งห้ามอัตลักษณ์บางอย่าง ข้อห่วงกังวลนี้อาจจำเป็นต้องเปลี่ยน และเคลื่อนไปสู่อัตลักษณ์เครือข่ายเพื่อความบันเทิง ข้อมูลข่าวสาร และการศึกษา และพลังของอัตลักษณ์ในระบบการเมืองปัจจุบันด้วย (และงานของ Castell สัมพันธ์กับประเด็นนี้มากที่สุด) (20) สิ่งที่เราสามารถเริ่มต้นพิจารณากันในที่นี้ คือ สิทธิมนุษยชนที่ไม่มีตัวตนจริง (non-corporeal human rights) สิทธิที่ไม่เกี่ยวกับการคุ้มครองร่างกาย แต่คุ้มครองสิ่งที่เป็นตัวแทนของบุคคลจะทำอย่างไร และการควบคุมตัวแทนนั้น
แง่หนึ่งที่น่าสนใจของปักเจกชนใหม่ (the new individual) คือ อัตลักษณ์เสมือนจริงรวมตัวกันได้ง่ายกว่าและถูกกว่าอย่างไร มีคำร้องเรียนออนไลน์จำนวนมาก ห้องสนทนาและบล็อกที่ถกเถียงกันเรื่องการเมือง พลังของตัวเลขเหล่านี้ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพในการประท้วงต่อต้านโลกาภิวัฒน์ หรือเครือข่ายออนไลน์ move-on.org ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลต่อการเลือกตั้ง หรือเหตุการณ์อื่นๆ ในระดับสากล ขณะที่ความหมายดั้งเดิมของพื้นที่สาธารณะ และประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (deliberative democracy) สามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดายในเทคโนโลยีของสื่อใหม่(new media) การคุ้มครองอัตลักษณ์ในพื้นที่นี้เป็นสิ่งหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา
การคุ้มครองในกรณีข้างต้น อาจหมายถึงการที่รัฐไม่บุกรุกเข้าไปในพื้นที่เหล่านี้ การเคารพเอกสิทธิ์ของการชุมชนเหล่านั้น และสิทธิที่จะใช้สื่อเพื่อการถกเถียงทางการเมือง. ความยากลำบากบางประการกำลังเกิดขึ้น นั่นคือ บรรดาอัตลักษณ์นิรนามเหล่านี้ควรได้รับการคุ้มครองหรือไม่? ตัวอย่างเช่น ในการสนทนาในบล็อก หรืออัตลักษณ์ออนไลน์ควรได้รับสิทธิเดียวกัน (ในแง่ของความเป็นเจ้าของ หรือสิทธิในข้อมูลข่าวสาร) เช่นเดียวกับอัตลักษณ์ที่มีตัวตนจริงหรือไม่?
สิทธิในการพัฒนาสื่อใหม่
แง่มุมสุดท้ายที่จะสำรวจตรวจสอบ คือ ความเกี่ยวเนื่องในการพัฒนาสื่อใหม่. สื่อใหม่
เทคโนโลยี และการพัฒนาเป็นประเด็นที่ซับซ้อนที่สุด และด้วยเหตุผลนี้ ผู้เขียนจึงทิ้งไว้เป็นประเด็นท้ายสุด.
ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับ "การพูดเรื่องสิทธิ" (rights talk) ในประเด็นเช่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(ICT) คือ เรากำลังพูดถึงหลายๆ สิ่งพร้อมกัน และบ่อยครั้งที่คนพูดก็พูดแบบจับแพะชนแกะ
สับสน หรือเคลือบคลุม ในเรื่องที่เป็นแง่มุมเฉพาะของสิทธิมนุษยชนที่พวกเขากำลังอ้างถึงเมื่อกล่าวถึงประเด็นต่างๆ
ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนา( ICT4D) เรากำลังพูดเกี่ยวกับสิทธิในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใช่ไหม?
การส่งเสริมสิทธิผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใช่หรือเปล่า? การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและการศึกษาในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใช่หรือไม่?
หรือเกี่ยวกับสิทธิในการพัฒนาที่รวมอยู่ในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใช่ไหม?
ในเบื้องแรก สิทธิในการพัฒนาเป็นเรื่องชัดเจนยิ่ง เพราะว่าเป็นสิทธิในการพัฒนา (หรือสิทธิของคนในการพัฒนาสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเป็นเจ้าของอย่างไม่หยุดยั้ง) และการเขียนโครงการจากฐานคิดทางสิทธิมนุษยชน (หมายความว่า ในระหว่างการพัฒนา หรือกระบวนการสนับสนุนนั้น สิทธิของประชาชนจะไม่ถูกละเมิด) โดยความเชื่อทั่วไปเรื่องสิทธิดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายคือให้บรรลุมาตรฐานที่โครงการพัฒนาต่างๆ ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ โครงการพัฒนาทั้งหลาย ไม่ควรละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งในปัจจุบันหรือในเวลาข้างหน้าผ่านความมั่งคั่ง (wealth) หรือ กระแสไฟฟ้า (electricity) กรอบของสิทธิระบุว่า สิทธิเป็นเกณฑ์ต่ำสุดที่เราไม่สามารถที่จะทำให้ต่ำกว่านี้ได้ แม้ว่าจะกำหนดสิทธิใดขึ้นมาหลังจากนั้น ไม่มีใครควรที่จะต้องถูกทำให้ต้องเสียสละในทางเศรษฐกิจ
เราอยู่ในโลกที่ก้าวหน้าพอที่จัดรูปการพัฒนาที่ไม่จำเป็นต้องลงโทษผู้อ่อนแอเพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
เช่นเดียวกับรูปแบบใดๆ ของการพัฒนา ไม่ว่าเป็นเรื่องการติดต่อสื่อสาร การศึกษา
สุขภาพ น้ำ แนวทางปฎิบัติที่อยู่บนฐานคิดเรื่องสิทธิ (rights based approach)
ทำให้เกิดความแน่ใจว่าเป็นไปอย่างโปร่งใส เที่ยงธรรม และเคารพสิทธิมนุษยชนของทุกคน.
การนำโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนา (ICT4D) ต่างๆ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกรอบนี้ควรเป็นเรื่องง่าย
ขณะที่การขัดเกลาบางอย่าง จำเป็นต้องยืนยันความรับผิดชอบ สิ่งเหล่านี้ไปได้ดีกับวิถีทางที่กำลังได้รับการพัฒนา
ในขณะที่มีความจำเป็นที่จะต้องขัดเกลาเพื่อให้เกิดระบบรับผิดชอบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังได้รับการพัฒนาขึ้น
(Banerjee 2005; Beardon 2004)
ในประเด็นการพัฒนา ปัญหาที่มีคือการพูดเรื่องสิทธิมนุษยชนมีแนวโน้มที่ถูกจับแพะชนแกะระหว่างสิทธิในการพัฒนาและสิทธิส่วนบุคคล
ปัญหาอยู่ตรงความขัดแย้งกันระหว่างสองสิ่งนี้ กล่าวคือ มันไม่มีสิทธิอย่างชัดเจนในการเป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์และการเข้าถึงอินเตอร์เนท
แต่มีสิทธิอย่างชัดเจนที่จะมีส่วนร่วมในสื่อใหม่ และคุณประโยชน์ทั้งหมดของมัน.
สิ่งที่เรามีคือสิทธิที่ให้ผลประโยชน์มหาศาลกับบางคน และไม่ให้อะไรเลยกับอีกหลายคน
มันทำงานอย่างไม่เป็นธรรมในระดับปักเจกชน. สื่อที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ไม่ได้นำไปสู่ความขัดแย้งใหญ่เช่นนี้
เพราะโทรทัศน์หรือวิทยุไม่ได้แบ่งขั้วสังคมอย่างรุนแรงเหมือนสื่อใหม่ (21) ดังนั้น
ปัญหาคือ ควรหรือไม่ที่จะยอมรับสิทธิซึ่งมีหลักฐานในประวัติศาสตร์ว่าเป็นศูนย์กลางของสิทธิมนุษยชน
ถึงแม้การยอมรับนี้จะขัดกับพื้นฐานของการพัฒนาอย่างเท่าเทียม นี่คือหนึ่งในปัญหาที่สำคัญมากกว่าของสื่อใหม่และการพัฒนา
ในระดับสากล ข้อห่วงใยที่ถูกหยิบยกขึ้นมาคือ เรื่องระบบการบริหารจัดการสื่อใหม่. การจัดการนี้ใช้รูปแบบของผู้บริหารอินเตอร์เนท และผู้เฝ้าระวังความสัมพันธ์ของสื่อระหว่างโลกที่พัฒนาแล้วและโลกที่กำลังพัฒนา หลายเรื่องของการอภิปรายข้างต้นเป็นเรื่องเก่าแก่นานหลายทศวรรษมาแล้ว การอภิปรายเรื่องอิทธิพลของบริษัทข้ามชาติจากตะวันตก (Western multinationals) และเรียกร้องการจัดระเบียบการสื่อสารและข้อมูลข่าวสารของโลกใหม่ (a New World Information and Communication Order -NWICO) ที่ตั้งอยู่บนฐานของการลื่นไหลของข้อมูลอย่างเสรีและมีสมดุลนั้นแผ่ขยายออกไป สิ่งนี้ได้หยุดยั้งเสรีภาพแห่งปฏิญญาข้อมูลข่าวสารจากสหประชาชาติ และเกิดการแตกแยกที่นำไปสู่การถอนตัวของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสิงคโปร์จาก UNESCO ต่อข้อเรียกร้องให้มีการลื่นไหลที่สมดุลของสื่อ (balanced media flows) ผู้เขียนจะไม่อภิปรายประเด็นดังกล่าวในที่นี้
ในการประชุมสุดยอดเรื่องสังคมข้อมูลข่าวสาร (The World Summit on the Information Society- WSIS) เมื่อไม่นานมานี้ มีจุดมุ่งหมายที่เห็นกันว่าจะรวมเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้ามา แต่ผลลัพธ์คือ กลับมีสาระของประเด็นดังกล่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบในเรื่องสิทธิต่างๆ ในการประชุมสุดยอดนี้จะดำเนินต่อไปอีก ขณะที่ Sally Burch ระบุว่า การประชุมข้างต้นไม่ได้"ก่อให้เกิดหลักการใหม่ในเรื่องนี้"เลย (Burch 2005: 11) อย่างไรก็ตาม มันก่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการสื่อสารและความยุติธรรมในสังคม ที่อาจพิสูจน์ได้ดีว่า เป็นหนึ่งในผลลัพท์ที่สำคัญที่สุดของกระบวนการจัดการประชุมสุดยอดนั้น (Burch 2005: 11) (23)
ปัญหาคือ การอภิปรายทั้งหมดในเรื่องสิทธิที่เป็นเรื่องหลักในระเบียบวาระการประชุมนั้น น่าแปลกใจว่า วาระเรื่องสิทธิถูกจำกัดจำเขี่ยอย่างไรในการประชุมฯ และบางทีการอธิบายประเด็นที่บทความนี้หยิบยกขึ้นมา ว่ายังคงมีงานอีกมากที่จะต้องทำในการจัดวางสิทธิมนุษยชนในเทคโนโลยีการสื่อสารและข้อมูลข่าวสารแบบใหม่ และมันการขาดแรงจูงใจที่จะติดตามดำเนินการวาระนี้ต่อไป
โดยสรุป จากประเด็นต่างๆ ที่หยิบยกขึ้นมา คงไม่คลาดเคลื่อนจากความจริงที่จะพูดว่าหลักสิทธิในสื่อใหม่ไม่ได้เป็นประเด็นเร่งด่วน การยกประวัติศาสตร์ของขบวนการเพื่อสิทธิเสรีภาพที่เข้มแข็งในอินเตอร์เนท การไม่มีการแทรกแซงของรัฐ การไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีตัวตนจริง และพุ่งเป้าไปที่สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองมากกว่าสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคม การละเมิดนั้นไม่สำคัญ และเรื่องที่เราพิจารณาอยู่นั้นไม่ใช่วิกฤติ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้คือ เรากำลังพูดเกี่ยวกับพื้นที่ในชีวิตทางสังคม(บนไซเบอร์สเปส)ที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะส่งผลกระทบที่สำคัญต่อสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การปล่อยให้พื้นที่นี้หลุดพ้นจากการสำรวจ เป็นการพลาดโอกาสที่จะจัดวางมาตรฐานด้านสิทธิที่เข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจในความเท่าเทียม การพัฒนา การเข้าถึง และการเคารพคนทุกคนที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมข้อมูลข่าวสารและสื่อใหม่
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกกลับไปทบทวนตอนที่ ๑
แปลจากบทความเรื่อง "New
Questions for Human Rights in the New Media" โดย Dr. Mike Hayes
ในหนังสือชื่อ Communication and Human Rights จัดพิมพ์โดย Office of Human Rights
Studies and Social Development (OHRDS)
(สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัย) Faculty of Graduate
Studies Mahidol University
เกี่ยวกับผู้เขียน: ดร.ไมค์ เฮย์ (Mike Hayes) ปัจจุบันเป็นอาจารย์และผู้อำนวยการโครงการดุษฎีบัณฑิต
สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ขอบเขตงานวิจัยที่สนใจในปัจจุบันคือ
สิทธิมนุษยชนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ระบบสื่อเอเซีย และความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่
การพัฒนาสังคม และสิทธิมนุษยชน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เชิงอรรถ
(15) ข้อ 19 "บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง และที่จะแสวงหา รับ และแจ้งข่าวรวมทั้งความคิดเห็นผ่านสื่อใดโดยมิต้องคำนึงถึงเขตแดน"ชัดเจนว่า สิทธิเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร ไม่ใช่เรื่องสื่อเฉพาะที่คุณเลือกที่จะรับหรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของคุณ ไม่มีการอภิปรายใดต่อข้อ 19 นี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในกรุงเจนีวาตั้งคณะอนุกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร และสื่อมวลชน (the Sub-Commission on Human Rights and Freedom of Information and the Press) ซึ่งถูกยุบในปี 1952 คือหลังจากนั้นห้าปี (แม้ว่า รูปแบบหลากหลายในการต่อสู้พร้อมกับความพยายามที่จะร่างปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในเสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสาร เกิดขึ้นมากว่า 40 ปี ก่อนที่จะยุติลง เพราะรัฐต่างๆ มีความแตกต่างที่ไม่สามารถปรองดองกันได้ สิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐต่างๆ ถูกคุกคามโดยเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารที่กำลังถูกสถาปนาให้เป็นสิทธิเต็มรูปแบบ) ในการโต้เถียงสามารถกล่าวได้ว่า ข้อ 19 สนับสนุนสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICTs) แต่ก็ยังไม่มีการนำขึ้นมาถกเถียง และบางทีอาจไม่ได้รับการยอมรับ
(16) มันถูกจัดวางอย่างถูกที่ภายหลัง และถูกเชื่อมต่ออย่างสัมพันธ์กันกับเสรีภาพทางความคิด ความรู้สึก และศาสนา (ข้อ 18 ของ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง) (Article 18. Everyone has the right to freedom of thought, conscience and religion; this right includes freedom to change his religion or belief, and freedom, either alone or in community with others and in public or private, to manifest his religion or belief in teaching, practice, worship and observance.)
(17) คำประกาศแห่งฝรั่งเศส (ข้อ 11) กล่าวว่า "การสื่อสารอย่างเสรีทางความคิดและการแสดงความเห็นเป็นหนึ่งในสิทธิที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ ดังนั้น พลเมืองทุกคนอาจมีเสรีภาพที่จะพูด เขียน และพิมพ์ แต่จะต้องรับผิดชอบกับการละเมิดเสรีภาพนี้ตามที่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย" เป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเลยที่ข้อนี้เกือบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยอีก 150 ปีต่อมาในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
(18) เป็นที่ชัดเจนว่างานประเภทนี้มีจำนวนมาก แต่ที่สำคัญ มีงานของ Manuel Castells, (2000); David Held และAnthony McGrew (1999)
(19) องค์กรที่ทำงานในประเด็นนี้มากที่สุดคือ CRIS (Campaign for Communication Rights in the Information Society), อย่างไรก็ตาม กรอบการทำงาน "หลัก 4 ประการ"ขององค์กรในประเด็นนี้ (พื้นที่สาธารณะ, ความรู้, สิทธิพลเมือง, และสิทธิทางวัฒนธรรม) ไม่ได้วางเป้าหลักที่สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(20) ดู Manuel Castells, The Power of Identity. Vol 3 The Information Age: Economy, Society and Culture. Oxford: Blackwell, 2000
(21) นี่ไม่ใช่การกล่าวว่าสื่ออิเล็คทรอนิคส์ไม่ทำให้เกิดการแบ่งแยก คำอธิบายที่ดีของการแบ่งขั้วที่โทรทัศน์นำเข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอินเดีย คืองานของ Kirk Johnson (2001).
(22) ภาพรวมที่ดีเกี่ยวกับวิกฤตการณ์นี้ ดู Christopher Brown-Syed (1993) และ Shelton Gunaratne (1996).
(23) ตัวอย่าง รายงานของ the Association for Progressive Communication's report (2006) เรื่องแนวทางการประชุมสุดยอดเรื่องสังคมข้อมูลข่าวสาร (WSIS) ระบุว่า "สิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจของแนวทางการประชุมฯ" และมีการระบุถึงว่าการละเมิดของรัฐบาลตูนิเซียในการประชุมสุดยอดที่ตูนิเซียด้วย แต่ไม่มีการพูดถึงการพัฒนามาตรฐานหรือประเด็นสิทธิมนุษยชน มีรายงานอีกจำนวนมากที่เขียนเกี่ยวกับ WSIS แต่งานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือ ภาพรวมที่รายงานโดย Heinrich Boll Foundation (2003); Hamelink (2003).
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
References
- "A model economy." (2005) The Economist, Jan 20th.
- Association for Progressive Communication. (2006) "Pushing and Prodding, Goading and Handholding: Reflection from the APC on the conclusion of the WSIS." Available at: http://rights.apc.org/documents/apc_wsis_reflection_0206.pdf.
- Benerjee, Upara Devi,
(2005). Lessons Learned From Rights-Based Approaches in the Asia Pacific Region.
Documentation of Case Studies. Bangkok: UNDP and OHCHR.
- Beardon, Hanah. (2004) "ICT for development: empowerment or exploitation? Learning from the Reflect ICTs project." London: Actionais,2004
- Battacharya, Subimal. (2006). "Bloggers Blocked After Mumbai Blasts." Inter Press Service News Agency. Thursday July 27, 2006. http://www.ipsnews.net/news.asp?idnews=34032
- Brown-Syed, Christopher. (1993). "The New World Order and the Geopolitics of Information." Libres: Library and Information Science Research January 19. Available online at: http://valinor.ca/csyed_libres3.html
- Burch, Sally. (2005) "Communication rights: Building bridges for social action." Vision in Process II -The World Summit on the Information Society, Geneva 2003 - Tunis 2005. Berlin: Heinrich Boll Foundation.
- Castells. Manuel. (2000). The Information Age: Economy, Society and Culture. 3 vols. Oxford: Blackwell.
- Chan, Dean. (2006). "Negotiating Intra-Asian Games Networks: On Cultural Proximity, East Asian Games Design, and Chinese Farmers." Fibreculture8: http://journal.fibreculture.org/issue8_Chan
- Gunaratne, Shelton. (1996). "Old Wine in New Bottle: Public journalism movement in the United States and the erstwhile NWICO debate." Paper presented at the 20th General Assembly & Scientific Conference of the International Association for Mass Communication Research. Sydney, 18-22 Aug.
- Held, David and Anthony McGrew. (1999). Global Transformations: Politics, Economies, and Culture. Cambridge: Polity.
- Hamelink, Cees. (2000). :Media and Human Rights." Media and Human Rights in Asia: An AMIC Compilation. Singapore: AMIC, 2000. 87-89.
- Hamelink, Cees. (2003). "Human Rights for the Information Society" in Sean O'Siochru and Bruce Girard, eds, Communicating in an Information Society, UNRISD, Geneva: 121-163.
- Heinrich Boll Foundation (2003), Vision in process, World Summit on the Information Society, Geneva 2003 - Tunis 2005. Berlin: Heinrich Boll Foundation. Available at: http://www.boell.de/downloads/medien/Visions-2003.pdf
- Hick, Steven, Edward F. Halpin, and Eric Hoskins eds. (20000 Human Rights and the Internet. New York: Palgrave Macmillan.
- Hines, Matt. (2005). "Sony creates auction site for game artifacts." CNET News.com. April 20. http://news.com.com/Sony+creates+auction+site+for+game+artifacts/2100-1043_3-5678052.html
- Human Rights Watch.
(2006). "China: Tibetan Intellectual's Blogs Shuttered." London,
October9: http://hrw.org/english/docs/2006/10/09/china14364.htm
- Johnson, Kirk. (2001). "Media and social Change: The Modernizing influences of television in rural India." Media, Culture and Society 23.2: 147-69.
- Nicol, Chris. (2003).
ICT Policy a Beginner Handbook. Association for Progressive
Communication. South Africa.
- Stoll, Klaus. (2003).
"Telecentre Sustainability: What does it mean?" Development Gateway.
February 08:
http://topics.developmentgateway.org/ict/sdm/previewDocument.do~activeDocument=442773.
Accessed 3 March, 2006.
- Woodcock, Bruce Sterling. (2005) "An Analysis of MMOG Subscription Growth - Version 21.0." http://www.mmogchart.com/Analysis.html.
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com