ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




16-04-2551 (1534)

ประมวลข่าว และบทวิเคราะห์ว่าด้วยแรงงานข้ามชาติ กรณีโศกนาฏกรรม ๕๔ ศพ
สิทธิมนุษยชนคนนอกรัฐ : สิทธิความตายบนท้องถนนและห้องเย็น (๕๔ ศพ)
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

รายงาน ประมวลข่าว และบทวิเคราะห์กรณีโศกนาฏกรรมแรงงานข้ามชาติพม่า ๕๔ ศพ ต่อไปนี้
นำมาจากสิ่งพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งจากจดหมายอิเล็กทรอนิกที่ได้รับ ประกอบด้วย
๑. ๕๔ ความตายในตู้คอนเทนเนอร์และอีกมากมายความตายที่ชายขอบ
๒. ๕๔ ชีวิตในตู้คอนเทนเนอร์' เอ็นจีโอชี้สะท้อนรัฐไทยไม่เข้าท่า

3. BURMA MIGRANTS SUFFOCATE IN LORRY
4. POVERTY DRIVING BURMESE WORKERS EAST
5. MIGRANTS PERISH IN TRUCK TO THAILAND
6. DSI JOINS INQUIRY INTO DEATHS OF BURMESE
7. BURMA DEATHS SHOW IMMIGRANT LABOUR SYSTEM NOT WORKING: ILO
8. LET THESE TRAGIC DEATHS BE A WAKE-UP CALL
9. เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติ ต่อเหยื่อบนรถแช่แข็ง อย่างเคารพในศักดิ์ศรี (AHRC)
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๓๔
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



ประมวลข่าว และบทวิเคราะห์ว่าด้วยแรงงานข้ามชาติ กรณีโศกนาฏกรรม ๕๔ ศพ
สิทธิมนุษยชนคนนอกรัฐ : สิทธิความตายบนท้องถนนและห้องเย็น (๕๔ ศพ)
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

๑. ๕๔ ความตายในตู้คอนเทนเนอร์และอีกมากมายความตายที่ชายขอบ
อดิศร เกิดมงคล : International Rescue Committee (IRC)
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ : Peaceway Foundation (Burma Issues)

Thingyan
เธอบอกฉันว่าจะข้ามไปเมืองไทย เก็บเงินหางาน ส่งให้พ่อแม่ เพื่อจะได้ไม่ต้องลำบาก เวลาถูกเรียกเก็บเงินจากทหารอีก เพื่อให้ที่บ้านมีอยู่มีกิน. เธอจากไปตอนกำลังใกล้สงกรานต์ทุกที ดอก Padauk บานแล้ว สายน้ำไหลเย็นกระทบต้องกาย เสียงหัวเราะร่าเริง เธอจะได้สัมผัสมันไหม. ข่าวจากอีกฟากฝั่ง เพื่อนเราล้มตายขณะเดินทางไปทำงาน ฉันยังเป็นห่วงเธอเสมอ หวังว่าเธอคงไม่ใช่ผู้โชคร้าย ฉันรู้ ว่าฉันได้แต่หวัง. หวังว่าสงกรานต์ปีนี้ของเธอที่เมืองไทย คงจะชุ่มเย็นสำหรับเธอนะ
......................................

9 เมษายน 2551 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ชวนให้ตระหนกสำหรับสังคมไทย ที่ยังต้องเกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นที่ไม่ถูกกฎหมายของแรงงานข้ามชาติระดับล่าง กล่าวคือ มีการพบศพแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองไม่ถูกกฎหมายจำนวน 54 คน เป็นชาย 17 คน และหญิง 37 คน รวมถึงมีผู้บาดเจ็บอีก 21 คน จากจำนวนแรงงานข้ามชาติจากพม่าทั้งหมด 121 คน ในรถบรรทุกสิบล้อหมายเลขทะเบียน 70-0619 ระนอง} ของบริษัทรุ่งเรืองทรัพย์ ที่ดัดแปลงเป็นรถตู้คอนเทนเนอร์ห้องเย็น

แรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้ได้มีนายหน้าพาลักลอบเดินทางมาจากแพปลาแห่งหนึ่งในจังหวัดระนอง เพื่อเดินทางไปทำงานที่จังหวัดพังงาและภูเก็ตต่อไป ระหว่างที่รถได้แล่นมาถึงบริเวณบ้านบางกล้วยนอก หมู่ที่ 3 ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง พบว่าแรงงานข้ามชาติจำนวนมากที่ต่างเบียดเสียดอย่างแออัดอยู่ในพื้นที่แคบๆ ได้เสียชีวิตลงเนื่องจากขาดอากาศหายใจนานกว่า 1-2 ชั่วโมง ทำให้คนขับรถคือนายสุชล บุญปล้อง ต้องหยุดรถและหลบหนีความผิดไปในที่สุด (จากรายงานข่าวช่วงวันสงกรานต์ เมษายน 2551, นายสุชล บุญปล้อง ได้เข้ามอบตัวกับตำรวจแล้ว). กรณีนี้ไม่ใช่เหตุการณ์แรกและไม่ใช่เหตุการณ์สุดท้ายสำหรับการย้ายถิ่นข้ามชาติ1 ที่ไม่ปลอดภัยเช่นนี้ หากย้อนหลังไปเพียง 2 ปี (2549-2551) ที่ผ่านมา พบว่าได้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวในประเทศไทยมาแล้วอย่างน้อยถึง 14 ครั้ง (ที่สามารถตรวจสอบได้) มีแรงงานข้ามชาติเสียชีวิต 106 คน บาดเจ็บ 149 คน สูญหาย 15 คน

ย้อนรอยเส้นทางความตาย : ระหว่างลักลอบเดินทางกับหลบหนีตำรวจ

- 19 มีนาคม 2551 จังหวัดอุบลราชธานี: รถแหกโค้ง แรงงานลาวตาย 9 คน บาดเจ็บ 13 คน
บนถนนสายเขมราฐ-ตระการพืชผล บ้านทรายพูล ต.ขามป้อม อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เกิดอุบัติเหตุรถกระบะยี่ห้อมาสด้า สีบรอนซ์ ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ซึ่งกำลังพาแรงงานชาวลาวไม่ถูกกฎหมายจากบ้านนางลาว เมืองละครเพ็ง แขวงสาละวัน สปป.ลาว รวมทั้งหมด 22 คน ลักลอบเข้าไปทำงานที่ร้านอาหารและรับจ้างทั่วไปที่กรุงเทพมหานคร ขณะคนขับรถขับมาตามถนนสายดังกล่าวซึ่งเป็นทางโค้ง ปรากฏว่ารถได้เสียหลักพลิกคว่ำ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 คน และได้รับบาดเจ็บ 13 คน

- 26 มกราคม 2551 จังหวัดนครพนม: เรือล่มในแม่น้ำโขง แรงงานชาวเวียดนามตาย 3 คน สูญหาย 15 คน
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2551 ประมาณตี 2 ที่บริเวณบ้านบัว หมู่ 4 ต.ดงขวาง อ.เมือง จ.นครพนม อยู่เยื้องกับ บ.หนองดินจี่ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว ได้เกิดอุบัติเหตุเรือล่มกลางแม่น้ำโขง ทำให้แรงงานหญิงชาวเวียดนามจำนวน 3 คนเสียชีวิต แรงงานกลุ่มนี้เป็นแรงงานที่ลักลอบไปทำงานที่กรุงเทพมหานครและนครปฐม ซึ่งกำลังจะเดินทางกลับประเทศเวียดนามที่ จ.วินห์ฮาตินห์และเงอาน เพื่อไปร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนกับญาติพี่น้อง พร้อมกับเพื่อนแรงงานชาวเวียดนามที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายอีก 23 คน เป็นหญิง 10 คน ชาย 13 คน ได้เดินทางมาลงเรือข้ามแม่น้ำโขงที่ฝั่งนครพนม แต่เรือเกิดล่มเพราะบรรทุกน้ำหนักเกิน จนทำให้แรงงานสูญหายไปถึง 15 คน

- 17 มกราคม 2551 จังหวัดกาญจนบุรี: เรือล่มในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ ตาย 7 คน
เมื่อวันที่ 17-18 มกราคม 2551 ได้พบศพแรงงานข้ามชาติหลบหนีเข้าเมืองไม่ถูกกฎหมายจากพม่าจำนวน 7 คน ลอยอยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ บริเวณบ้านทุ่งม้าเหาะ หมู่ 2 ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี เป็นชาย 2 คน หญิง 3 คน และเด็กอีก 2 ศพ ตำรวจสันนิษฐานว่าแรงงงานกลุ่มนี้น่าจะใช้เส้นทางหลบหนีเข้าเมืองทางน้ำ เพื่อหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารและ ตม. ที่ตั้งด่านตามเส้นทางสัญจรทางบกทุกสาย ทำให้ขบวนการลักลอบพาแรงงานไม่ถูกกฎหมายที่โดยปกติมีการลักลอบเข้ามาทางชายแดนด้าน อ.สังขละบุรี หรืออ.ทองผาภูมิ ที่ใช้การเดินเท้าหรือรถยนต์ผ่านเส้นทางเข้าทุ่งใหญ่นเรศวรต้องหันมาใช้เส้นทางเรือผ่านอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์แทน ประกอบกับการเดินทางในช่วงกลางคืนซึ่งคนขับเรือไม่ชำนาญทางทำให้ชนตอไม้ใต้น้ำจนเรือล่มในที่สุด

- 22 ธันวาคม 2550 จังหวัดระนอง: เรือล่มในทะเลอันดามัน ตาย 22 คน
ที่บริเวณทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะช้าง หมู่ที่ 2 ต.เกาะพยาม อ.เมือง จ.ระนอง ใกล้ชายแดนน่านน้ำพม่า ห่างจากฝั่ง จ.ระนอง ประมาณ 20 ก.ม. ได้พบศพแรงงานข้ามชาติจากพม่าลอยอยู่ในทะเลอันดามันจำนวน 22 คน เป็นชาย 11 คน หญิง 7 คน เด็ก 4 คน จากจำนวนแรงงานที่เดินทางจากเกาะสอง ประเทศพม่ามายัง จ.ระนอง รวมทั้งหมด 50 คน ซึ่งเรือประมงที่ลักลอบพาแรงงานหลบหนีเข้าเมืองโดยไม่ถูกกฎหมาย ได้เกิดอุบัติเหตุล่มลงในทะเลอันดามัน เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวในทะเลเกิดคลื่นลมแรงพัด เรือไปกระแทกกับโขดหินทำให้เรือที่บรรทุกคนมาเต็มลำเกิดล่มลง ซึ่งช่วงเกิดเหตุอยู่ในช่วงกลางคืนไม่มีใครเห็น เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

- 16 ธันวาคม 2550 จังหวัดสระแก้ว: รถกระบะขับด้วยความเร็วสูง พลิกคว่ำข้างทาง ตาย 1 คน บาดเจ็บ 13 คน
ที่บริเวณถนนบายพาส ต.บ้านใหม่หนองไทร อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ได้เกิดอุบัติเหตุรถกระบะทะเบียน บห 496 ชลบุรี ซึ่งนำพาแรงงานข้ามชาติชาวเขมรจำนวน 14 คน ซึ่งพามาจากตลาดเชไทย ตรงข้ามตลาดโรงเกลือ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เพื่อลักลอบเดินทางไปทำงานที่ จ.ชลบุรี เมื่อมาถึงบริเวณดังกล่าว คนขับรถได้ขับด้วยความเร็วสูงประกอบกับยางล้อหน้าด้านขวาเกิดระเบิด ทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำ จนทำให้มีแรงงานเสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บอีก 13 คน

- 25 พฤศจิกายน 2550 จังหวัดเพชรบุรี: รถกระบะหนีตำรวจตกคลอง ตาย 6 คน บาดเจ็บ 14 คน
นายสมจิต สุทธานันทน์ อยู่บ้านเลขที่ 48 /14 หมู่ที่ 1 ต.บางบอน อ.เมือง จ.ระนอง ได้ขับรถกระบะอีซูซุตอนครึ่ง สีบรอนด์ทอง ป้ายแดงทะเบียน จ-9169 กรุงเทพฯ พาแรงงานข้ามชาติจากพม่ามาจากจังหวัดระนอง ประมาณ 20 คน เพื่อไปทำงานที่จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อรถได้ขับมาถึงบริเวณจุดสกัดบนถนนเพชรเกษม ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ คนขับได้ขับรถหลบหนีตำรวจไปตามถนนเลียบคลองชลประทานสายเขื่อนเพชร -หนองจอก และเสียหลักตกลงไปในคลองชลประทานบริเวณหมู่ที่ 7 ต.ท่ายาง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี พบแรงงานเสียชีวิต 6 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 2 คน และเด็กชายอายุประมาณ 5 ขวบ อีก 2 คน และมีแรงงานบาดเจ็บอีก 14 คน เป็นชาย 7 คน หญิง 3 คน เด็กชาย 2 คน เด็กหญิง 2 คน

- 29 ตุลาคม 2550 จังหวัดชลบุรี: หนีตำรวจ จมน้ำตาย 1 คน
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2550 เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองได้เข้าไปตรวจสอบแรงงานข้ามชาติที่ได้เข้ามาประกอบอาชีพประมงในพื้นที่จังหวัดชลบุรี บริเวณสะพานจอดเรือประมง อู่ต่อเรือเขาสามมุข ภายในซอยถนนรอบเขาสามมุข เขตเทศบาลเมืองแสนสุข ซึ่งในพื้นที่นั้นมีแรงงานข้ามชาติบางส่วนที่หลบหนีเข้าเมืองไม่ถูกกฎหมายทำงานอยู่ เมื่อพวกเขาพบเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเกิดความหวาดกลัว และกระโดดน้ำหนีไป แต่เนื่องจากกระแสน้ำเชี่ยวแรงทำให้แรงงานบางคนเป็นตะคริวและเสียชีวิต 1 คนในที่สุด

- 17 มิถุนายน 2550 จังหวัดปราจีนบุรี: รถกระบะพาแรงงานเขมรถูกไล่ยิงพลิกคว่ำ ตาย 2 คน บาดเจ็บ 22 คน
บริเวณถนนสายปราจีนบุรี-จันตคาม กิโลเมตรที่ 5-6 บ้านหนองกระจับ หมู่ 7 ต.ดงพระราม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ได้เกิดอุบัติเหตุรถกระบะโตโยต้า วีโก้ สีบรอนซ์ ทะเบียน บฉ 2138 สระแก้ว ซึ่งพาแรงงานชาวเขมรจำนวน 26 คน มาจากตลาดโรงเกลือเพื่อจะไปทำงานที่ จ.ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, และระยอง, ได้ชนเข้ากับเสาไฟฟ้าข้างทาง เนื่องจาก ระหว่างทางที่ขับมาถึง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี มีรถกระบะ 2 คันขับมาตามหลังและส่งสัญญาณไฟให้จอดแต่คนขับกลับขับหนี กระทั่งก่อนถึงจุดเกิดเหตุ คนบนรถกระบะที่ตามหลังมายิงปืนมายังรถหลายนัด คนขับจึงเร่งเครื่องเร็วขึ้นกว่าเดิมจนเสียหลักแหกโค้ง และชนกับเสาไฟฟ้า ทำให้มีแรงงานเสียชีวิต 2 คน มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 22 คน

- 14 มิถุนายน 2550 จังหวัดตาก: หลบหนีตำรวจ บาดเจ็บ 25 คน
นายผดุงเกียรติ ผันอักษร อายุ 29 ปี บ้านเลขที่ 395 หมู่ที่ 1 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก ได้ขับรถยนต์ยี่ห้อมิตซูบิซิ แวน รุ่นจีวากอน สีขาว หมายเลขทะเบียน กข 8173 ตาก พาแรงงานข้ามชาติจากพม่าจำนวน 30 คน มาจากตลาดริมเมย ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก เพื่อไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร โดยแรงงานต้องจ่ายเงินให้นายหน้าคนละ 13,000 บาท เมื่อขับมาถึงบริเวณด่านตรวจตรงบ้านห้วยนึ่ง ต.แม่ท้อ เส้นทางตาก-แม่สอด คนขับกลัวความผิด จึงได้ขับรถหลบหนีออกไปตามเส้นทางหมู่บ้านบ้านคลองเชียงทอง หมู่ที่ 2 ต.ประดาง กิ่ง อ.วังเจ้า จ.ตาก ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกติดตามจับกุม ขณะที่เจ้าหน้าที่ติดตามไปจนถึงทางแยกเข้าหมู่บ้าน รถคันดังกล่าวได้หักเลี้ยวเสียหลัก พลิกคว่ำตกข้างทาง ทำให้มีแรงงานจากพม่า จำนวน 25 คน อายุระหว่าง 15-30 ปี ได้รับบาดเจ็บ

- 8 มิถุนายน 2550 จังหวัดตาก: รถกระบะหนีตำรวจ ประสานงารถพ่วงบรรทุกน้ำมัน ตาย 10 คนบาดเจ็บ 5 คน
นายวุฒินันท์ รักษ์นทีทอง อยู่บ้านเลขที่ 16 หมู่ 7 ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก ได้ขับรถกระบะนิสสันฟรอนเทียร์ สีบรอนซ์เงิน ทะเบียน บฉ 119 ตาก นำแรงงานข้ามชาติจากพม่าจำนวน 14 คน ที่นั่งเบียดกันอยู่ที่กระบะด้านหลังและในแค็บ เดินทางจาก อ.แม่สอด มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ประสบอุบัติเหตุที่บริเวณหลัก ก.ม.17-18 ถนนสายตาก-แม่สอด ต.แม่ท้อ หรือที่เรียกกันว่าดอยรวก ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินเขาสูงชัน ได้ชนกับรถพ่วง 22 ล้อบรรทุกน้ำมัน ยี่ห้อสแกนเนีย หมายเลขทะเบียน 70-3088 นครสวรรค์ ของ หจก.โน้ตน้องแนนทรานสปอร์ต เนื่องจากระหว่างทางได้เจอด่านตำรวจทางหลวงบริเวณ กิ่ง อ.โกสัมพี จ.กำแพงเพชร ทำให้คนขับตัดสินใจหลบหนีไปตามเส้นทางสายตาก-แม่สอด ซึ่งในขณะนั้นได้มีรถพ่วงบรรทุกน้ำมันวิ่งสวนทางมา แต่คนขับรถหักหลบไม่ทัน จึงชนกับรถพ่วงคันดังกล่าว ทำให้มีแรงงานเสียชีวิต 10 คน และบาดเจ็บสาหัสอีก 5 คน

- 5 พฤษภาคม 2550 จังหวัดกาญจนบุรี: รถกระบะพาแรงงานข้ามชาติชนกันเอง ตาย 4 คน
บริเวณถนนสายกาญจนบุรี-บ้านเก่า หมู่ 1 ต.ลาดหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ได้เกิดอุบัติเหตุรถกระบะยี่ห้อโตโยต้าไมตี้เอ็กซ์ สีน้ำเงิน ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ที่พาแรงงานข้ามชาติชาวมอญมาจากแนวตะเข็บชายแดนบ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ได้พลิกคว่ำจนมีแรงงานเสียชีวิต 4 คน เป็นหญิง 1 คน ชาย 3 คน จากแรงงานทั้งหมด 20 คน เนื่องจากคนขับได้ขับมาด้วยความเร็วสูง เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจค้นประกอบกับบริเวณดังกล่าวเป็นทางโค้ง มีหมอกหนา จึงทำให้ไปชนท้ายรถกระบะยี่ห้อโตโยต้า วีโก้ สีดำ ทะเบียน กง 8501 กาญจนบุรี ซึ่งเป็นรถอีกคันหนึ่งที่พาแรงงานข้ามชาติมาพร้อมกัน จนรถคันดังกล่าวกระเด็นตกลงไปข้างทางจนมีผู้เสียชีวิตในที่สุด

- 23 มีนาคม 2550 จังหวัดกาญจนบุรี: รถหกล้อพาแรงงานข้ามชาติส่งกลับ เบรคแตกพลิกคว่ำ บาดเจ็บ 11 คน
เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุก 6 ล้อ ยี่ห้ออีซูซุหมายเลขทะเบียน 10-1844 สมุทรสาคร ที่บรรทุกแรงงานข้ามชาติจากพม่ามาจากด่านตรวจคนเข้าเมืองกาญจนบุรี จำนวน 29 คน เป็นชาย 17 คน หญิง 12 คน ได้เกิดเบรคแตกจนพลิกคว่ำ ขณะนำแรงงานข้ามชาติผลักดันออกนอกประเทศด้านด่านเจดีย์สามองค์ โดยรถดังกล่าววิ่งมาตามเส้นทางสายสังขละบุรี-ด่านเจดีย์สามองค์ ก่อนถึงด่านตรวจราว 200 เมตร รถเกิดเบรคแตกจึงเสียหลักพลิกคว่ำ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 11 คนเป็นชาย 4 คนหญิง 3 คน

- 23 ตุลาคม 2549 จังหวัดสิงห์บุรี: เมาสุรา ขับความเร็วสูง พุ่งชนรถบรรทุกที่จอดเสียข้างทาง ตาย 5 คน บาดเจ็บ 30 คน
เกิดเหตุการณ์รถกระบะทะเบียน บท 5605 กำแพงเพชร ที่นำแรงงานข้ามชาติจากพม่าเข้าเมืองผิดกฎหมายจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร โดยเสียค่าใช้จ่ายให้นายหน้าคนละ 5,000 บาท ได้ประสบอุบัติเหตุชนท้ายรถบรรทุก 18 ล้อ ยี่ห้อฮีโน่ สีขาว ทะเบียน 81-4854 กำแพงเพชร ซึ่งบรรทุกแร่มาเต็มคันรถได้จอดเสียอยู่ที่ริมถนนสายเอเชีย กม.ที่ 156-157 หมู่ 3 ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน และบาดเจ็บกว่า 30 คน ในจำนวนนี้มีผู้หญิง 15 คน และเด็ก 2 คน จากจำนวนแรงงานข้ามชาติทั้งหมด 43 คน เนื่องจากคนขับรถขับด้วยความเร็วสูงประกอบกับดื่มสุรามาตลอดทาง

- 2 พฤษภาคม 2549 จังหวัดสระแก้ว: ขับหนีตำรวจ บาดเจ็บ 16 คน
บริเวณตลาดโรงเกลือ ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ได้มีตำรวจจากกองปราบฯ เข้าตรวจสอบขบวนการลักลอบนำแรงงานข้ามชาติเข้าประเทศ พบรถกระบะ นิสสันบิ๊กเอ็ม สีเขียว ทะเบียน บฉ 1835 ยโสธร ที่มีลักษณะผิดปกติ ตำรวจจึงเข้าไปตรวจสอบ แต่คนขับรถคันดังกล่าวได้ขับหลบหนีไป ขณะรถแล่นมาถึงทางแยกเข้าทางลัดสาย อ.วัฒนานคร - อ.คลองหาด รถคันดังกล่าวได้เสียหลักพลิกคว่ำลงข้างทาง ทำให้แรงงานชาวเขมรจำนวน 16 คน เป็นชาย 12 หญิง 4 ที่กำลังจะลักลอบเดินทางเข้าไปทำงานที่ตลาดรุ่งเจริญ ย่านสาธุประดิษฐ์ กรุงเทพมหานคร ได้รับบาดเจ็บทุกคน

ความตายที่ถูกกำหนดตั้งแต่ต้นทาง

หลังจากเกิดเหตุการณ์ 54 ศพในตู้คอนเทนเนอร์ หยิบหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับขึ้นมาอ่าน เรื่องราววนเวียนอยู่แค่เพียงไม่กี่ประเด็น

1. เป็นเรื่องของกระบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ หากินกับแรงงานต่างด้าว
2. ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวเจ้าของรถมรณะ
3. พิพากษาจำคุกแรงงานพม่าผู้รอดชีวิตจากรถห้องเย็นคนละ 2 เดือนปรับคนละ 2,000 บาท
4. ประเทศพม่ามีปัญหาภายใน ชาวพม่ามีชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบากจึงหนีร้อนมาพึ่งเย็น อีกด้านหนึ่ง ผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทยก็ไม่สามารถหาคนไทยมาทำงานได้

เขาจะรู้บ้างไหม? บางเรื่องราวหายไปไม่ปรากฎและสำคัญกว่ายิ่งนัก สำคัญกว่าตัวเลขของผู้เสียชีวิต สำคัญกว่ารางวัลนำจับคนขับรถตู้คอนเทนเนอร์ 50,000 บาท สำคัญกว่าการตรวจสอบข้าราชการท้องถิ่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่เชื่อว่าเป็นเรื่องของการค้ามนุษย์ สำคัญกว่าการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ส่งสารแสดงความเสียใจต่อประเทศพม่า แต่สังคมกลับไม่เคยสนใจ และผู้ถูกกระทำก็เหนื่อยเกินไปที่จะเริ่มต้นเล่าเรื่องราวเดิมๆ อีกครั้งหนึ่ง สิ่งที่ควรจะต้องพิจารณาและตั้งคำถามกันอย่างจริงจัง คือ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของโศกนาฎกรรมนั้น

เรื่องเล่าจากฝั่งพม่า

10 พฤษภาคม 2551, อีก 1 เดือนข้างหน้า ประเทศพม่าจะมีการลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขณะเดียวกันรัฐบาลทหารพม่าก็เริ่มดำเนินการปราบปรามผู้ที่ไม่เห็นด้วย ผู้ที่ขัดขวางการรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ พร้อมๆ ไปกับการสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ. นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย มันดำเนินมาเนิ่นนานจนหลายคนชาชิน นานกว่า 20 ปีแล้ว มันเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2531

26 มิถุนายน 2531 (1988) สหภาพนักศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง สหภาพนักศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยมัณฑะเล เขียนจดหมายถึงประชาชนให้ลุกขึ้นทวงถามความเป็นธรรมจากนายพลเนวิน ชีวิตในพม่าช่วงเวลานั้น สภาพเศรษฐกิจสังคมและการเมืองได้มาถึงจุดซึ่งตกต่ำอย่างถึงที่สุด ในขณะที่ประชาชนต่างต้องดิ้นรนต่อสู้กับปัญหาของชีวิต เผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ พม่าซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียอาคเนย์กลับเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งในโลก. 8 สิงหาคม 2531 (1988) ประชาชนพม่าต่างสิ้นสุดความอดทนต่อการถูกจองจำเสรีภาพจากระบบเผด็จการทหาร และคณาธิปไตยของรัฐบาลเนวิน ซึ่งดำรงอยู่มายาวนานนับ 26 ปี

จากวันที่เลือดนองท่วมแผ่นดินในปี 2531 ตามมาด้วยการยึดอำนาจของ SLORC (*) ซึ่งได้ขยับชื่อตนให้นุ่มนวลขึ้นเป็นสภาเพื่อการพัฒนาและสันติภาพแห่งรัฐ (SPDC) (*) นั้น พม่าก็ได้ก้าวเข้าสู่กลียุคในความรู้สึกของประชาชนรากหญ้าทุกชาติพันธุ์ ไฟสงคราม ความหิวโหยและความยากแค้นได้รุมเร้าพม่ามากยิ่งขึ้น การบังคับโยกย้ายถิ่นฐาน การใช้แรงงานทาส การเข่นฆ่าประหัตประหารอย่างเหี้ยมโหด การข่มขืน การจัดเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม การบังคับให้เป็นทหารเด็ก การจับกุมคุมขัง เหยื่อจากกับระเบิด ก็ยังดำเนินไปอย่างโหดร้าย พร้อมๆ ไปกับการที่โครงการพัฒนาขนาดใหญ่จากประเทศไทย ทั้งโครงการท่อก๊าซ โครงการสร้างเขื่อนสาละวิน, โครงการ Contact Farming นำมาซึ่งการเพิ่มขึ้นของกองกำลังทหารพม่าในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับโครงการพัฒนาเหล่านั้น ทั้งในรัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ รัฐฉาน รัฐคะเรนนี เมื่อทหารพม่าเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีโครงการต่างๆ เหล่านี้ ได้นำมาซึ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านอื่นที่รุนแรงตามมา เช่น การข่มขืนผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์

(*) SLORC - (The State Peace and Development Council) is the official name of the military regime of Burma (also known as Myanmar). It seized power by force instead of taking part in the election of 1990 which resulted in overwhelming support for the opposition National League for Democracy (NLD). The regime is widely accused of brutal persecutions of minority ethnic groups, opposition groups, students and human-rights activists.

In 1997, Burma's ruling military junta announced it was changing its name from the State Law and Order Restoration Council (SLORC) to the "State Peace and Development Council" (SPDC). The SPDC consists of the commanders of the service branches and of the regional military commands. The nineteen members of the junta probably wield a great deal more power than the cabinet ministers. Some members of the junta also hold cabinet portfolios. By most accounts, regional commanders enjoy a great deal of autonomy in their respective areas.

ประชาชนรากหญ้าของพม่าเหล่านี้ จึงได้พร้อมใจกันเคลื่อนขบวนอพยพจากบ้านตนเองสู่ชายป่า หวังเพียงว่าจะปลอดภัยจากน้ำมือทหารพม่าที่เหี้ยมโหด แต่ใครบ้างจะรู้ว่าชีวิตชายป่าในนามของผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ(Internal Displace Persons: IDPs) จะทุกข์ทรมานเช่นนั้น เฉพาะเพียงในปี 2550 ตลอดแนวชายแดนประเทศพม่ากับประเทศไทยมี IDPs อย่างน้อยหลบซ่อนอยู่ถึง 503,000 คน

IDPs เหล่านี้จะต้องเคลื่อนย้ายหลบหนีการคุกคามของทหารพม่าอย่างน้อยทุกหกเดือน บางครอบครัวปีหนึ่งต้องเคลื่อนย้ายสองถึงสามครั้ง เนื่องจากเกิดการสู้รบในพื้นที่บริเวณที่หลบซ่อนอยู่ หลายครอบครัวไม่สามารถกลับไปยังพื้นที่หลบซ่อนเดิมได้เนื่องจากเต็มไปด้วยกับระเบิด และอีกหลายครอบครัวที่ไม่สามารถเผชิญกับความเสี่ยงต่อชีวิตในเรื่องต่างๆ ได้ เช่น การขาดปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต (อาหาร เสื้อผ้าที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค) พวกเขาจะหลบหนีเข้ามายังประเทศไทยเพื่ออาศัยอยู่ในค่ายพักพิงตามแนวชายแดนแทน (Refugee Camp)

เป็นความโชคดีของผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงและชาวคะเรนนี ที่รัฐบาลไทยอนุญาตให้พวกเขาและเธออาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งตามแนวชายแดนไทย/พม่า ในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี กุมภาพันธ์ 2551 มีผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าอย่างน้อย 141,736 คน ยังคงอยู่ในค่าย. ชีวิตในค่ายต้องเผชิญกับความกดดันอย่างมาก ต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดให้อยู่ได้เพียงเฉพาะในค่ายเท่านั้น ไม่สามารถประกอบอาชีพ จำเป็นต้องพึ่งพาความช่วยเหลือด้านเครื่องอุปโภคบริโภคจากภายนอก เช่น ข้าวสาร เกลือ พริกแห้ง ปลาร้า ถั่ว เชื้อเพลิงหุงต้ม เตาไฟ เสื้อผ้า ผ้าห่ม มุ้ง เสื่อ. ปัจจุบัน(เมษายน 2551) มีข่าวยืนยันแน่ชัดว่าองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศจะตัดความช่วยเหลือบางส่วนออกไป เช่น ข้าว เกลือ ปลาร้า พริกแห้ง สบู่ ยาสระผม ไม้ไผ่ มุ้ง

ความกดดันที่เผชิญนำมาซึ่งปัญหาสังคมอื่นๆ เช่น การดื่มสุรา ยาเสพติด ความรุนแรงและอาชญากรรม ปัญหาด้านความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่ผู้ลี้ภัย ผู้หญิงและเด็กมักจะตกเป็นเหยื่อความรุนแรง ที่กลไกของระบบความยุติธรรมในค่าย ยังทำงานไม่เป็นผลพอที่จะคุ้มครองเหยื่อและดำเนินคดีเอาผิดต่อผู้กระทำผิดได้. จากสภาพความเป็นอยู่อันแร้นแค้นในค่าย ความหวาดกลัวต่อกองกำลังจากพม่าที่เข้ามาก่อกวน ความหวาดกลัวต่อการถูกส่งกลับ และความสิ้นหวังเมื่อต้องใช้ชีวิตอย่างผู้ลี้ภัยอยู่เป็นเวลานาน แม้ค่ายจะตั้งอยู่ห่างไกลและถูกควบคุมเข้มงวดเพียงใด ผู้ลี้ภัยวัยแรงงานบางคนที่เกิดความกดดันกับการเฝ้ารอความช่วยเหลือจากองค์กรพัฒนาเอกชน ทำให้พวกเขาพยายามเล็ดรอดออกมาเป็นแรงงานข้ามชาติในที่สุด ยังไม่นับรวมถึงผู้ลี้ภัยนอกค่ายที่กระจัดกระจายอยู่ในหมู่บ้านชายแดนและเขตเมือง รวมทั้งชาวไทใหญ่ที่ไม่มีค่ายผู้ลี้ภัยได้พักพิง พวกเขาหลบซ่อนตัวอยู่ที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอฝาง อย่างไม่สามารถประมาณจำนวนที่แน่ชัดได้

แม้จะมีคำร่ำลือถึงอนาคตที่หวาดหวั่นควบคู่ไปกับคำชักชวนที่งดงามเกินจริงของเหล่านายหน้าทั้งหลาย แต่พวกเขาและเธอต่างก็ตัดสินใจดั้นด้นมาเพื่อที่จะใช้ชีวิตหลบๆ ซ่อนๆ ภายใต้ความหวาดกลัวทั้งยามหลับและลืมตาตื่น เพราะอย่างไรก็อาจจะยังดีกว่าชีวิตที่หิวโหยและสิ้นหวัง ชีวิตที่ดิ้นรนต่อลมหายใจไปแต่ละวันโดยมองไม่เห็นอนาคต. ประเทศไทย คือดินแดนแห่งความหวังที่จะได้มาซึ่งเงินออม อันจะสามารถแปรเป็นเงินจั๊ตก้อนโต เผื่อไว้ซื้อสถานภาพตนเองให้รอดพ้นจากความเป็นทาสแห่งประเทศพม่าได้บ้าง

แต่นั่นเองคำสวยหรูที่เขียนว่า "สิทธิมนุษยชน" "มนุษยธรรม" ที่แปะไว้บนแผ่นดินด้ามขวานทอง เดินทางมาพร้อมกับนโยบายรัฐบาลไทยแบบปากว่าตาขยิบทุกยุคทุกสมัย

(1) ไทยเราผลักดันให้ผู้ลี้ภัยอยู่ในค่ายที่แออัด พร้อมๆ ไปกับการชักชวนให้พวกเขาเดินทางไปประเทศที่สามอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพียงเพราะเราไม่เคยสนใจอนุสัญญาที่เรียกว่า สถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ.1951 (The 1951 Convention relating to the Status of Refugees) (*) แต่นั่นเองจะมีสักกี่คนที่มีโอกาสได้ไป นอกจากนี้เรายังมีนโยบายที่จะปิดค่ายผู้ลี้ภัยในอีก 3 ปีข้างหน้า ทั้งๆ ที่สถานการณ์ในประเทศพม่าไม่เคยหยุดความโหดร้ายแม้เพียงชั่วขณะ

(*)The United Nations Convention Relating to the Status of Refugees is an international convention that defines who is a refugee, and sets out the rights of individuals who are granted asylum and the responsibilities of nations that grant asylum. The convention also sets out which people do not qualify as refugees, such as war criminals. The Convention also provides for some visa-free travel for holders of travel documents issued under the convention.

The convention was approved at a special United Nations conference on 28 July 1951. It was initially limited to protecting European refugees after World War II but a 1967 Protocol removed the geographical and time limits, expanding the Convention's scope. Because the convention was approved in Geneva, it is often referred to as "the Geneva Convention," though it is not one of the Geneva Conventions specifically dealing with allowable behavior in time of war.

(2) ไทยเราผลักดันให้ผู้ลี้ภัยชาวมอญกลับไปตั้งค่ายอพยพในเขตมอญ ทั้งๆ ที่รัฐมอญในปัจจุบันนี้เต็มไปด้วยการละเมิดสิทธิหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการยึดที่ดิน เราผลักดันให้ผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงที่เป็นเหยื่อของการทารุณกรรมกลับไปตาย เพียงเพราะเราปฏิเสธไม่ให้พวกเขาข้ามพรมแดนมายังฝั่งไทย เราส่งกลับผู้ลี้ภัยชาวคะเรนนี ที่เพิ่งเดินทางมาถึงค่ายที่แม่ฮ่องสอน เพียงเพราะเราไม่มีนโยบายรับผู้ลี้ภัยเพิ่ม เราบังคับให้ผู้ลี้ภัยชาวไทใหญ่โยกย้ายออกจากเนินดอยสันจุ๊ ตรงข้ามกับอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เพียงเพราะที่พักพิงของพวกเขาสามารถมองเห็นได้ง่ายจากบริเวณพรมแดนฝั่งไทย

(3) ไทยเราไม่เคยสนใจเหลียวมองอย่างจริงจังพร้อมทั้งยอมรับว่า ยังคงมีผู้ลี้ภัยกลุ่มอื่นๆ จากประเทศพม่า ทั้งกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวไทใหญ่จากรัฐฉาน, ผู้ลี้ภัยชาวปะโอ, ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา, ที่อาศัยอยู่นอกค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย เป็นกลุ่มที่เรา"มองไม่เห็น"(Hidden Refugee) ไม่รับรู้ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศพม่า

(4) ไทยเรายังคงจับกุมแรงงานข้ามชาติซ้ำแล้วซ้ำเล่า จับกุม ส่งกลับ ผลักดันไม่ให้เข้ามาใหม่ พร้อมๆ ไปกับการออกกฎหมายใหม่ ชื่อว่า พรบ.การทำงานคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ที่ให้อำนาจคนชี้ช่องทางในการจับกุมแรงงานที่เข้าเมืองไม่ถูกกฎหมาย แต่เราก็ไม่เคยหยุดคลื่นอพยพได้แม้แต่น้อย แม้เราจะทำทุกวิธีการ เพราะจริงๆ แล้วเราต่างหาก ที่ไม่เคยสนใจเหตุการณ์อีกฟากฝั่งหนึ่งอย่างจริงจัง

สถานการณ์ข้างต้นดังที่กล่าวมาทั้งหมด ล้วนกดดันให้ประชาชนรากหญ้าจากพม่าต้องกลายมาเป็นแรงงานข้ามชาติ(Migrant workers) ในประเทศไทยแทบทั้งสิ้น และต้องเผชิญชะตากรรมที่บางครั้งก็โชคดี แต่หลายครั้งโชคร้าย เหมือนดั่ง 54 ศพ ในตู้คอนเทนเนอร์

เพิ่มเติม : ข้อมูลเกี่ยวกับผู้อพยพ

Thailand: 141,000 refugees in camps, about 500,000 registered migrants, up to 1,350,000 unregistered
Bangladesh: 27,000 refugees in camps, 200,000 unregistered
Malaysia: 30,000 refugees, several thousand unregistered
India and China: Tens of thousands of unregistered workers in border states of Mizoram and Yunnan respectively
Sources: UNHCR, NGO

๒. ๕๔ ชีวิตในตู้คอนเทนเนอร์' เอ็นจีโอชี้สะท้อนรัฐไทยไม่เข้าท่า
ประชาไท: 6 เอ็นจีโอที่ทำงานเกี่ยวเนื่องกับแรงงาน ร่วมกันออกแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์การเสียชีวิตของแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าทั้ง 54 คน เนื่องจากขาดอากาศหายใจในรถบรรทุกขณะเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย. องค์กรทั้ง 6 ได้แก่ เครือข่ายองค์กรเอกชนด้านแรงงานข้ามชาติ, เครือข่ายโครงการฟ้ามิตร, คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย, สหพันธ์สหภาพแรงงานพม่า, โครงการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ, และศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์

จากกรณีการเสียชีวิตของแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าจำนวน 54 คน จากจำนวนทั้งหมด 121 คนที่เดินทางโดยรถบรรทุกสิบล้อซึ่งเป็นตู้คอนเทนเนอร์ห้องเย็น ขนาด 6 x 2.2 เมตร อันเนื่องมาจากการขาดอากาศหายใจ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่ อ.สุขสำราญ จ.ระนอง ระหว่างที่กำลังนำพาแรงงานข้ามชาติไปส่งที่ จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมา. ตามแถลงการณ์ ระบุว่า นี่มิใช่โศกนาฏกรรมครั้งแรกที่เกิดกับการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติ โดยรอบปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์การเสียชีวิตของแรงงานขณะเดินทางไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนขณะเดินทาง ซึ่งผู้คนเหล่านี้ล้วนต้องดิ้นรนแสวงหาชีวิตที่ปลอดภัย ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ย้ายถิ่นมาทำงานเพื่อหลบหนีจากภัยสงครามโดยเฉพาะจากประเทศพม่า แต่ก็กลับเผชิญความรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต

นอกจากนี้ นโยบายการจัดการของรัฐไทยต่อการย้ายถิ่นเข้ามามาทำงาน อย่างเช่น ระบบการลงทะเบียนแรงงานข้ามชาติ มีข้อจำกัดที่ทำให้คนเข้าถึงระบบได้เพียงบางกลุ่ม ส่งผลให้แรงงานจำนวนหนึ่งไม่สามารถอยู่ในประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมาย และหลายคนต้องเสี่ยงต่อการเดินทางเข้ามาประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย
"ที่น่าสลดใจคือ รัฐไทยกลับมองแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาในประเทศโดยผิดกฎหมายดุจ ดั่งอาชญากรก่อคดีร้ายแรง" ในแถลงการณ์ระบุ อย่างไรก็ดี กลับไม่พบว่ารัฐไทยดำเนินคดีกับผู้แสวงหาประโยชน์จากการขนถ่ายแรงงาน ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้ได้สร้างความรู้สึกสลดและกังวลใจต่อสถานการณ์ดังกล่าว และมีข้อเสนอถึงรัฐไทยต่อโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น คือ

1. แรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวที่รอดชีวิต ควรได้รับการรักษาพยาบาล และได้รับการพักฟื้นและฟื้นฟูจิตใจในสถานพยาบาล
2. จะต้องระงับการดำเนินการส่งกลับแรงงานข้ามชาติที่รอดชีวิต เพื่อให้แรงงานข้ามชาติเหล่านั้นได้รับการบำบัดฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและจิตใจ
3. แรงงานข้ามชาติที่เสียชีวิตทั้ง 54 ราย ได้รับความคุ้มครองตามกระบวนการยุติธรรมอย่างเต็มที่ภายใต้กฎหมายไทย
โดยการชดใช้ค่าเสียหายแก่ญาติผู้เสียชีวิต

4.
รัฐบาลไทยต้องดำเนินมาตรการขั้นเด็ดขาดกับกลุ่มคนทีเกี่ยวข้องในการค้ามนุษย์ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต
5. รัฐบาลไทยจะต้องจัดตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลของรัฐและบุคคลจากองค์กรพัฒนาเอกชน ในการสืบสวนคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทำการรายงานผลภายใน 30 วันต่อประชาชน ซึ่งควรรายงานความคืบหน้าคดี ข้อแนะนำ นโยบายต่อการเคลื่อนย้ายถิ่น และกฎหมายคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ
6. รัฐบาลไทยต้องปรับเปลี่ยนแนวนโยบายให้สอดคล้องต่อการย้ายถิ่นข้ามชาติที่เกิดขึ้นตามข้อเท็จจริงที่ดำรงอยู่ ซึ่งนโยบายปัจจุบันเปิดโอกาสให้มีขบวนการค้ามนุษย์กับแรงงานข้ามชาติ

ด้านมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ซึ่งมีนายสมชาย หอมลออ เป็นเลขาธิการมูลนิธิฯ ได้ออกแถลงการณ์ประณามการละเมิดต่อชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แรงงานข้ามชาติ พร้อมทั้งเรียกร้องให้สอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิด แก้ไขระบบแรงงานข้ามชาติเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาเผยว่า เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานที่ได้รับผลกระทบ จากการเอารัดเอาเปรียบจากผู้จ้างและจากผู้ลักลอบขนแรงงานเข้ามาทำงานในประเทศไทย และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและระยะยาว ในการยุติการละเมิดสิทธิ มนุษยชนพื้นฐานและสิทธิแรงงาน ดังนี้

1. ให้รัฐสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการค้ามนุษย์ของบริษัทดังกล่าว รวมทั้งตรวจสอบถึง การมีส่วนรู้เห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดต่อ ชีวิตของแรงงานข้ามชาติเหล่านี้
2. ให้ชะลอการส่งกลับ และให้สถานที่พักพิงที่เหมาะสมแก่แรงงานกลุ่มนี้ ในระหว่างที่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง

3. ให้เยียวยาและจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้เสียชีวิตตามความเหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนดโดยไม่เลือกปฏิบัติ
4. ให้รัฐกำหนดนโยบายเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติอย่างชัดเจน และปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการเรื่อง การจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันการคอรัปชั่นและการลักลอบค้ามนุษย์ ที่ทำให้เกิดการเอาเปรียบแรงงงาน และความเสียหายต่อชีวิตของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย และทั้งนี้ เพื่อสร้างให้เกิดระบบการจัดการแรงงานที่เป็นประโยชน์แก่เศรษฐกิจไทย ในขณะเดียวกันต้องเคารพต่อสิทธิมนุษยชนพื้นฐานของแรงงานข้ามชาติ เหล่านี้เป็นสำคัญ

3. BURMA MIGRANTS SUFFOCATE IN LORRY
BBC NEWS, Thur 10 April 2008

Fifty-four Burmese migrants have been found dead after suffocating in a lorry smuggling them into southern Thailand. More than 100 people were packed into a container measuring 6m by 2m. Many of the survivors are seriously ill from dehydration and lack of oxygen. The driver opened the doors of the vehicle after the migrants banged on the walls - but he fled on foot when he saw what had happened.

Thousands of Burmese risk the trip to Thailand in the hope of better wages. Police said the Burmese had crossed by boat to the Thai town of Ranong from Burma's southern tip at Victoria Point - a route often used by illegal migrants. They had then been packed into an airtight container on a lorry for the journey to the resort island of Phuket.

Police detention
Local police chief Col Kraithong Chanthongbai said the ventilation in the container had failed. "The [survivors] said they tried to bang on the walls of the container to tell the driver they were dying, but he told them to shut up as police would hear them when they crossed through checkpoints inside Thailand," he told the French news agency AFP.

Police said at least 47 migrants survived and 54 died - 37 women and 17 men. The survivors who did not need hospital treatment were detained by the Thai authorities. Saw Win, a 30-year-old survivor, told the Associated Press from police custody how he believed everyone would perish in the lorry. "I thought everyone was going to die. I thought I was going to die. If the truck had driven for 30 minutes more, I would have died for sure," he said.

It is thought the migrants paid between 5,000 baht ($155; ?75) and 10,000 baht for their passage into Thailand. There are thought to be up to two million Burmese workers in Thailand, more than half of whom are in the country illegally.

They fill the low-paid, often dangerous jobs in sectors including textiles, construction and fisheries that Thai workers do not want. But these jobs offer the migrants salaries that far exceed what they could earn in military-ruled Burma, one of South East Asia's most impoverished nations.

4. POVERTY DRIVING BURMESE WORKERS EAST
By Philippa Fogarty / BBC News, Bangkok - Wed 10 Oct 2007

Zaw Aung left Burma because he could not afford to feed his family.
The 31-year-old worked as a farm labourer near the new capital, Naypyidaw. But his wages did not cover basic necessities for his wife and three young children, and he could not find a better job.

So two years ago he paid a broker just over $400 (?200) for passage to Thailand. With 40 others, he sailed across the Chan river estuary in southern Burma to the Thai town of Ranong. Then he made his way to Mahachai, a port city about an hour south of Bangkok, where he found a job in a seafood processing plant. The hours are long and he misses his children, but he has no regrets. "If I'd stayed in Burma, I don't think the situation would ever have got better," he said.

Eastern exodus
Zaw Aung is not alone in his decision to seek a better life abroad. In recent years, the flow of people out of Burma has become one of South East Asia's largest migration movements.

EXODUS FROM BURMA

Thailand: 141,000 refugees in camps, about 500,000 registered migrants, up to 1,350,000 unregistered
Bangladesh: 27,000 refugees in camps, 200,000 unregistered
Malaysia: 30,000 refugees, several thousand unregistered
India and China: Tens of thousands of unregistered workers in border states of Mizoram and Yunnan respectively
Sources: UNHCR, NGO

Thousands are thought to have gone south to Malaysia. Others have gone north to India and China, while more than 200,000 of the Rohingya minority group live in Bangladesh to the west. But by far the biggest group - two million people, by most estimates - have headed east, to Thailand. Some of these are refugees - members of minority groups like the Karen and Karenni who have for years been fleeing fighting and persecution at the hands of an increasingly brutal military. Others are economic migrants like Zaw Aung, driven by the desire to escape Burma's grinding poverty and hardship.

Many people, of course, fall into both groups. And in recent years, more and more of them have been coming. "This has been a broad trend over many years," says David Mathieson, a Thailand-based consultant for Human Rights Watch. "There's been a sad, slow decline in living standards in Burma, while the Thai economy has been getting better."

Burmese workers have been filling unpopular, low-paid jobs, he says, often ending up doing "incredibly dangerous or dirty work". Many end up working in mining, construction and road building, as well as on factory production lines and in the textile industry. The Thai government offers one-year migrant worker permits - albeit with restrictions and conditions - to those that can afford them. Many people, however, choose to take their chances and work illegally, leaving them vulnerable to unscrupulous employers.

'Not beautiful, but better'
Tens of thousands of Burmese migrants have found work in Mahachai, mainly in the seafood processing industry. Zaw Aung lives at Taladkung, a large fish market where all the workers are Burmese. Around 75% are from minority groups, the rest are majority Burman.

Many live in cramped concrete blocks at the site, sharing small rooms with six or seven other people. Stalls selling traditional medicines, clothes and food fill the little communal space there is. The men work overnight at a nearby plant, unloading and sorting the catch. They deliver it early in the morning to the women, who shell it for 6 baht (about 20 cents; 10p) a kilo.

One group of women shelling fish were Mon, a minority group from southern Burma. Some had been in Thailand for more than 10 years. A few had work permits, but others did not. If the police came, they said, they hid. And if they were picked up, they paid a 5,000 baht bribe, because it was cheaper and easier than obtaining the permit.

Living in Taladkung, they said, was alright. In Burma, they worried every day about having enough to eat, but in Thailand, they earned enough to buy food. There was electricity and there was water. As one woman put it, life was not beautiful, but it was better.

Family ties
Six months ago Zaw Aung paid for his wife to join him in Mahachai. She shells fish and together they earn just over $340 a month. After rent and food, and once they have finished paying the broker, there will be money to send back to their parents in Burma, who are looking after the children. Zaw Aung's employer treats him decently, but he knows of others who are not so fortunate. "Sometimes people shell 10kg of fish but then the boss says it only weighs 8kg - things like that happen," he says.

He has been stopped by police several times but his employer makes sure he has the one-year permit, so he has not had to pay a bribe. He keeps in touch with events in Burma, and was horrified by the recent violence there. But although he fears further unrest, his long-term plan is to save up and go home because, he says, being away from his children is too hard.

Experts say that it is too early to tell whether recent events in Burma will accelerate the flow of people out of the country. But it is certain that as long as Burmese people struggle to feed themselves and their families, many will continue to leave in search of hope elsewhere.

5. MIGRANTS PERISH IN TRUCK TO THAILAND
By SETH MYDANS / New York Times, Friday April 11, 2008
http://www.nytimes.com/2008/04/11/world/asia/11thai.html

BANGKOK - The 54 migrant workers from Myanmar who suffocated in the back of a sealed truck in southern Thailand were being transported into the country by smugglers to work illegally, the Thai police said Thursday.The police said 121 people had been crammed late Wednesday night inside an airtight container normally used to transport seafood that measured about 20 feet long and 7 feet wide. Survivors said they had shouted and banged on the sides of the sweltering container as they began to collapse from lack of air.

Col. Kraithong Chanthongbai, the local police commander in Ranong Province, on Myanmar's border, said 37 women and 17 men died in the container. They had been on their way south to the resort island of Phuket to work as day laborers, he said. Twenty-one of the survivors were initially hospitalized, but all but two were later discharged, he said. The other survivors were held for questioning.

The deaths illustrated the dangers migrant workers face as they are smuggled by the millions across borders in countries as diverse as the United States, Britain and Thailand.

- In a similar episode in the spring of 2003 in Texas, 19 Latin American migrants suffocated inside a trailer truck.
- In 2001 in Britain, 58 illegal Chinese migrants died after they were crammed into a sweltering tomato truck.

In December the bodies of 22 migrants from Myanmar, formerly Burma, were found floating in the ocean near the west coast of Thailand. Earlier last year, 11 workers from Myanmar died when a pickup truck crammed with 40 passengers crashed near the northern Thai border.

On Thursday the police said they were searching for the truck's driver and for members of the smuggling ring who they believed had arranged the trip. They said they had detained the owner of the truck, who said he had been unaware that it was being used to transport migrants. One of the survivors, Saw Win, 30, told The Associated Press: "I thought everyone was going to die. I thought I was going to die. If the truck had driven for 30 minutes more, I would have died for sure."

He said that about 30 minutes into the trip south from Ranong, the workers began to bang on the side of the container, screaming to the driver for help. The driver briefly turned on the air-conditioning, he said, but it went off again. April is the hottest month of the year in Thailand. The migrants continued pounding and shouting for an additional hour until the driver stopped the truck, unlocked the container and ran off, Saw Win said.

Officials estimate that about one million workers from Myanmar are in Thailand illegally, usually in low-paying jobs as laborers, domestic workers or workers on fishing boats. As in other countries, they face abuse and exploitation, with few legal protections.

Amnesty International, the human rights group based in London, said in a report in 2005 that workers from Myanmar "are routinely paid well below the Thai minimum wage, work long hours in unhealthy conditions and are at risk of arbitrary arrest and deportation." They are typically brought into Thailand by large smuggling syndicates, in difficult and often dangerous conditions. Survivors told the police on Thursday that they had each paid 10,000 baht, or $316, to be smuggled into Thailand.

They said they had come by fishing boat from Victoria Point in southern Myanmar to Ranong Province, 286 miles south of Bangkok, before being loaded into the truck.

Colonel Kraithong said it was not unusual for his station near the border to catch illegal migrants, but he said they usually came in groups of five or six, hidden in secret compartments under piles of vegetables or boxes or loads of wood.

6. DSI JOINS INQUIRY INTO DEATHS OF BURMESE
The Bangkok Post, Saturday April 12 2008
http://www.bangkokpost.com/News/12Apr2008_news02.php

RANONG : The Department of Special Investigation (DSI) has joined the investigation into the mass suffocation of illegal Burmese migrant workers, which could be linked to a major human trafficking network. The department, often assigned to deal with crucial and complicated cases, has been ordered by Justice Minister Sompong Amornwiwat to help police look into the case and to discover if the smuggling was masterminded by ''some influential persons'', said a DSI source.

Pol Lt-Col Narat Sawettanant, head of the DSI's office of transnational crimes, said his agency will first support the work of Police Region 8, which oversees the South. But if it is found that the case involves an international criminal gang and human traffickers, the DSI will take over the case, he said. ''The human trade is being monitored by many countries that list it as one of eight transnational crimes [which the DSI is allowed by law to handle],'' Pol Lt-Col Narat said.

A total of 54 of the 121 illegal Burmese immigrants suffocated in a cold storage container on a 10 wheel truck, usually used to transport fish. They secretly entered Ranong on Thursday and were travelling to Phuket. Of the survivors, 21 were admitted to a local hospital. About 50 of the survivors were charged with illegal entry and given three-day jail sentences, while the rest, who are under 18 years old, would be sent back to Burma. Police yesterday decided to detain truck owner Damrong Phussadee in Ranong for further interrogation after he denied any involvement. Truck driver Suchon Bunplong is still at large.

Supreme commander Gen Boonsrang Niampradit yesterday questioned the work of officials who failed to crack down on people entering the country illegally. He believes the smuggling of people could involve influential people. ''It's not easy to enter the country illegally, but it's happened,'' said Gen Boonsrang.

7. BURMA DEATHS SHOW IMMIGRANT LABOUR SYSTEM
NOT WORKING: ILO

The Nation, Friday April 11, 2008
http://www.nationmultimedia.com/2008/04/11/national/national_30070633.php

Bangkok - The deaths by suffocation of 54 Burma illegal workers have highlighted the failure of Thailand's formal recruitment labour system, the International Labour Organization (ILO) said Friday. The mass suffocation of some 54 Burma nationals Wednesday night in Ranong province, southern Thailand, as they were being secretly transported in a seafood container truck, has drawn international attention to the country's poor record in human-trafficking and abuse of foreign labourers, said the ILO.

"It is clear that this occurrence is an indication, indeed a consequence, of a much larger problem," said Bill Salter, ILO's Sub-regional Director for East Asia. He said the ILO would be investigating the incident, and watching to see what happens to the culpable parties. Although the Thai government has put in place a system for legalizing migrant workers from neighbouring Burma, Laos and Cambodia, the system has proven inadequate to cover and protect the estimated 2 million foreign labourers in the country.

"The formal systems of recruitment are not working," said Slater in a statement. For almost a decade Thailand has registered foreign labourers usually employed in the fisheries, construction, agricultural and domestics sectors, allowing them to work in the country legally. The great majority of the migrant workers are from neighbouring Burma, also called Burma, a country notorious for its political, social and economic woes.

The Thai government estimates that there are some 490,000 "identified" Burma migrant workers, but the real number of these workers in the country could exceed 2 million. "These people are coming and they are going to come anyway, so rather than crack down on them, and driving them further underground, there needs to be a better labour migration management system," said Alan Dow, representative of the ILO office in Bangkok.

The ILO has urged Thailand and neighbouring governments improve the registration system to make it more comprehensive, noting that the current system is "slow and expensive," and fails to allow labourers to change employers "even if they suffer abuse." According to the ILO's field research, more than half of the Thai employers interviewed were of the view that locking up their migrant employees so they "couldn't escape" was appropriate. "The migrants are treated like a disposable workforce," said Dow. "Clearly Thai employers want access to a flexible labour force but what the ILO is saying is that they need to be treated fairly."

That means holding employers and recruiters accountable for the treatment of migrants, legally registered to work or otherwise, and punishing those employers, recruiters and sub-contractors who abuse both the system and the migrants, he said.

"There is clearly a pressing need to develop a far-reaching, forward looking labour migration policy that will benefit not just the economy but people too - especially workers from other countries who, at the end of the day, are doing their fair share of helping the country grow," said Slater.

8. LET THESE TRAGIC DEATHS BE A WAKE-UP CALL
The Bangkok Post, Saturday April 12 2008
http://www.bangkokpost.com/News/12Apr2008_news07.php

ACHARA ASHAYAGACHAT

The deaths of 54 illegal Burmese immigrants should serve as a wake-up call for Thailand and Burma to sincerely address the human trafficking problem and quickly review the present impractical immigrant labour recruitment system. While the horrific tragedy in Ranong province caused an international outcry, it has yet to make the Samak Sundaravej administration, civil servants and security officials get their acts together to stop the abuses and finish the task of setting out the right policies on human trafficking, migrant labour and foreign labour in this country.

This tragic incident is a consequence, if not an indication, of a much larger problem of the failed system Thailand has employed to legalise workers from neighbouring countries. The number of immigrant workers in Thailand has now reached more than two million, and they are actively supporting the Thai economy in such business sectors as fisheries, construction, agriculture and in household services.

Non-government organisations and the International Labour Organisation have raised concerns about the "slow and expensive" registration system, which fails to allow labourers to change employers, even if they suffer abuses. They call for a comprehensive labour migration management policy, instead of cracking down on the immigrants and driving them further underground.

Unless the Thai security arms, particularly the National Security Council chaired by Prime Minister Samak, can think carefully through the whole inter-connected aspects of the migration flows in this country, this tragedy will certainly happen again. This problem must be immediately tackled through a new round of registration, with immigrant labourers allowed to remain in the country for at least one year. Under the present system, the registration of foreign workers is aimed more at checking their numbers.

However, the acute demand for labour in many sectors shunned by Thais has encouraged new inflows, and this has fattened the bank accounts of the human traffickers.

Burma, unlike Laos and Cambodia, has refused to cooperate with Thailand in regulating the labour inflow. Rangoon has been adamant that Bangkok send lists of Burmese migrant workers for verification by Burma, while Laos and Burma have sent officials to do the head-count inside Thailand. While waiting to find a solution to the migrant labour problem, Thailand and Burma must start talking about ways to regulate the inflow through a more organised system so that the senders, recruiters, sub-contractors and employers can be held accountable for any mistreatment of migrants.

Thailand must develop a far reaching, forward looking labour migration policy that will benefit not only the economy, but the workers too. This will be a costly endeavour as Thailand will have to overhaul its education and health services to serve the foreign workers as well.

Apart from the migration issue, the country's policy towards refugees and other displaced persons will need to be overhauled. As for the 54 dead Burmese, the government will need to seriously investigate the case and bring those behind the human smuggling ring to justice.

๙. ประเทศไทย: เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติ ต่อเหยื่อบนรถแช่แข็ง
อย่างเคารพในศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และหลักนิติธรรม

แถลงการณ์ที่ : AHRC-STM-093-2008-TH (๑๑ เมษายน ๒๕๕๑)
แถลงการณ์โดย คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (เอเอชอาร์ซี) (Asian Human Rights Commission : AHRC)

ข่าวการเสียชีวิตของชาวพม่า 54 คน ระหว่างการหลบหนีเข้าเมือง โดยผิดกฎหมาย มายังประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551 ได้สร้างความสะเทือนใจให้แก่ประชาคมโลก ต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศพม่า จนเป็นผลให้ประชาชนต้องหลบหนีออกมา เพื่อหาทางเลือกใหม่ให้ชีวิต และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา ก็คือ โศกนาฏกรรม ดังกรณีที่เกิดขึ้น ในครั้งนี้

แม้ว่า ผู้คนทั่วโลกจะคาดหวังว่า ผู้รอดชีวิตอีก 47 ราย จะได้รับการปฏิบัติ ด้วยการให้เกียรติสมศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์ และตามหลักนิติธรรม แต่กลับมีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระนองได้ทำการจับกุม หรืออย่างน้อยที่สุด คือ การซักถามผู้รอดชีวิต 26 คน ที่ไม่ได้ถูกส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล

พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ ในลักษณะนี้ ชวนให้หวนนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากมีเหตุระเบิด บริเวณที่ทิ้งขยะของเทศบาล ในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ในครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจแม่สอด ได้นำตัวผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวพม่า 11 คน ที่ได้รับบาดเจ็บจากการระเบิด มาที่สถานีตำรวจ นัยว่า เพื่อให้มาทำบันทึกแจ้งความ แต่ปรากฎว่าตำรวจได้จับคนทั้งหมดขัง และส่งกลับประเทศ โดยไม่ได้รับสิทธิในการพบทนาย ที่ได้เดินทางมาขอพบแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังได้รับข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ อีกด้วยว่า เจ้าหน้าที่ทางฝั่งพม่า ได้ทำการจับกุม และสอบสวนบุคคลเหล่านี้เกี่ยวกับเหตุระเบิดดังกล่าว

การกระทำของตำรวจที่แม่สอดนั้น นอกจากจะไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ของคนเหล่านี้แล้ว พวกเขายังไม่เคารพกฎหมายอีกด้วย บุคคลเหล่านี้สมควรได้รับสิทธิที่จะพบทนาย และมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือ ตามกฎหมายการชดเชยผู้เสียหายในคดีอาญา พ.ศ.2544 โดยที่กระทรวงยุติธรรม ต้องระบุว่า การเสียชีวิตจากการระเบิดครั้งนั้น เป็นผลมาจากการก่ออาชญากรรม และต้องจ่ายค่าเสียหาย สำหรับการรักษาพยาบาล ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงการสูญเสียรายได้ กฎหมายฉบับนี้มีผลต่อบุคคลทุกคน ที่อยู่ในอาณาเขตของประเทศไทย ไม่เกี่ยงว่า ต้องเป็นพลเมืองไทย หรือไม่ ฉะนั้น แรงงานทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย รวมทั้งกลุ่มที่ถูกส่งกลับทางแม่สอด และผู้ที่อยู่ในรถบรรทุกที่ระนอง ควรได้รับสิทธิภายใต้กฎหมายนี้

การกระทำของตำรวจที่แม่สอดนั้น แสดงถึงการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ การส่งกลับแรงงานเหล่านั้น แสดงว่า พวกเขาไม่สนใจที่จะสอบสวนหาความจริง ต่อเรื่องการวางระเบิด พวกเขาไม่มีความตั้งใจจริง ในการตั้งข้อสังเกต และค้นหาพยานหลักฐาน เพื่อสร้างรูปคดีและนำไปสู่กระบวนการทางศาล หากพวกเขามีความตั้งใจที่จะทำคดีจริงๆ เขาก็ควรต้องกันผู้บาดเจ็บจากการระเบิดนี้ มาเป็นพยานในศาล ระบบการพิจารณาคดีในประเทศไทย สามารถที่จะทำการสืบพยานไว้ก่อนได้ ในสถานการณ์พิเศษ ดังกรณีของแรงงานผิดกฎหมาย และการสืบพยานไว้ก่อน ในลักษณะนี้ ได้เคยเกิดขึ้นแล้ว และมีผลดีเป็นอย่างมาก ดังเช่น ในคดีการทรมานและฆาตกรรมหญิงสาวชาวพม่า โดยทหารอากาศคนหนึ่งและภรรยา ซึ่งคดีนี้ ในที่สุดได้มีการตัดสินลงโทษผู้กระทำผิด โดยพิจารณาจากหลักฐานการเบิกความของประจักษ์พยาน ซึ่งเป็นแรงงานต่างชาติ

การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ อันน่าตำหนิเช่นนี้ ไม่ควรเกิดขึ้นซ้ำอีก ต่อกรณีที่เกิดขึ้นในจังหวัดระนอง หน้าที่ของตำรวจ ไม่ใช่เพียงแค่การกวาดจับ และส่งกลับผู้ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเท่านั้น ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะชอบหรือไม่ หรือรู้หน้าที่ของตนหรือไม่ หน้าที่ของพวกเขาตามกฎหมายต้องมีมากกว่านี้ เจ้าหน้าที่หลายๆหน่วย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่จากกระทรวงยุติธรรม และพนักงานอัยการ ต่างมีหน้าที่ในการสร้างความเชื่อมั่นว่า ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเหล่านี้ จะได้รับการปฎิบัติด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และตามหลักนิติธรรม ไม่ใช่ตามหลักกฎหมาย ที่ตำรวจจินตนาการเอาเอง

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AHRC) จึงขอเรียกร้อง ให้รัฐบาลไทยดำเนินการให้เกิดความเชื่อมั่นว่า จะมีการสืบสวนสอบสวนอย่างจริงจัง ต่อเหตุการณ์นี้ และสามารถนำตัวผู้กระทำผิด ซึ่งอาจรวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือบุคคลอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการค้ามนุษย์ตามแนวชายแดน มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และจากจำนวนผู้เสียชีวิตและความรุนแรงของสถานการณ์แล้ว รัฐบาลควรจะส่งทีมสอบสวนพิเศษมาจากกรุงเทพ โดยที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ไม่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง

ประการต่อมา AHRC เรียกร้องให้ รัฐบาลไทยให้ความมั่นใจว่า จะไม่มีเหยื่อที่รอดชีวิตคนใด ถูกส่งกลับไปยังพม่า จนกว่าพวกเขาจะได้ให้การในศาล และได้รับค่าชดเชยตาม กฎหมายชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายในคดีอาญา ทั้งนี้ การชดเชยนี้รวมถึงครอบครัวของผู้เสียชีวิตด้วย

ประการที่สาม AHRC เรียกร้องให้ รัฐบาลไทยไม่ใช้เหตุการณ์นี้เป็นเงื่อนไขในการปราบปรามแรงงานจากประเทศพม่า และประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ อันที่จริงแล้วแรงงานเหล่านี้ มีคุณูปการต่อประเทศไทยเป็นอย่างสูง ไม่ใช่แค่เพียงการช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศ โดยการทำงานที่คนไทยไม่ประสงค์จะทำเท่านั้น แต่พวกเขายังทำหน้าที่เลี้ยงดูญาติพี่น้องที่อยู่ในพม่า ด้วยเงินที่ได้จากการทำงานในไทย ผู้คนเป็นล้านเลือกที่จะเสี่ยงภัยนานัปการ เพื่อหนีออกมาจากประเทศพม่า เพราะไม่สามารถทนต่อชีวิตอันเลวร้ายยิ่งในบ้านของตนเอง คนเหล่านี้ยังหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของประเทศตนเองด้วย ซึ่งยังเป็นการช่วยลดแรงกระแทกทางการเมือง ให้กับชายแดนไทยอีกทางหนึ่งด้วย เจ้าหน้าที่ไทยไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากยอมรับว่า พวกเขาก็จะยังคงเดินทางเข้ามา ซึ่งมันเป็นการดีกับทุกฝ่าย ดังนั้น จึงสมควรให้รัฐบาลไทยดูแลพวกเขาด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และปฏิบัติตามหลักนิติธรรม

เกี่ยวกับ AHRC เอเอชอาร์ซี : คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย หรือ เอเอชอาร์ซี (The Asian Human Rights Commission : AHRC) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในระดับภูมิภาค ซึ่งทำงานตรวจสอบและรณรงค์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชีย เอเอชอาร์ซีมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2527

---------------------------------------------------
To unsubscribe from this list visit this link
To update your preferences visit this link
---------------------------------------------------

Asian Human Rights Commission
19/F, Go-Up Commercial Building,
998 Canton Road, Kowloon, Hongkong S.A.R.
Tel: +(852) - 2698-6339 Fax: +(852) - 2698-6367

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๑ : Release date 16 April 2008 : Copyleft by MNU.
ในวันที่เลือดนองท่วมแผ่นดินในปี ๒๕๓๑ ตามมาด้วยการยึดอำนาจของ SLORC ซึ่งได้ขยับชื่อตนให้นุ่มนวลขึ้นเป็นสภาเพื่อการพัฒนาและสันติภาพแห่งรัฐ (SPDC) นั้น พม่าก็ได้ก้าวเข้าสู่กลียุคในความรู้สึกของประชาชนรากหญ้าทุกชาติพันธุ์ ไฟสงคราม ความหิวโหยและความยากแค้นได้รุมเร้าพม่ามากยิ่งขึ้น การบังคับโยกย้ายถิ่นฐาน การใช้แรงงานทาส การเข่นฆ่าประหัตประหารอย่างเหี้ยมโหด การข่มขืน การจัดเก็บภาษีไม่เป็นธรรม การบังคับให้เป็นทหารเด็ก การ จับกุมคุมขัง เหยื่อจากกับระเบิด ก็ยังดำเนินไปอย่างโหดร้าย พร้อมๆ ไปกับการที่โครงการพัฒนาขนาดใหญ่จากประเทศไทย ทั้งโครงการท่อก๊าซ โครงการเขื่อนสาละวิน, โครงการ Contact Farming นำมาซึ่งการเพิ่มขึ้นของกองกำลังทหารพม่า (คัดจากบทความ)
H