1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
เอนกภพแห่งสงคราม: สวรรค์
นรก และ โครงสร้างของหนังสงคราม
วิเคราะห์ภาพยนตร์สงคราม(นิยม)
และภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม
(๒)
จักริน
วิภาสวัชรโยธิน : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการศึกษา สถาบันภาษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เชิงอรรถเพิ่มเติม
โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทวิเคราะห์ภาพยนตร์สงครามต่อไปนี้
กองบรรณาธิการฯ ได้รับมาจากผู้แปล
ถอดความจากต้นฉบับเรื่อง The Altered State of War
Heaven, Hell, and the Structure of the Combat Film โดย A. Jay Adler
สาระสำคัญเกี่ยวกับการวิเคราะห์ภาพยนตร์เชิดชูสงคราม และภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม
โดยเฉพาะภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม ๕ เรื่อง ประกอบด้วย
๑. All Quiet on the Western Front ผลงานของ Lewis Milestone
๒. Cross of Iron ผลงานของ Sam Peckinpah
๓. Apocalypse Now (Redux) ผลงานของ Francis Ford Coppola
๔. Full Metal Jacket ผลงานของ Stanley Kubrick
๕. The Thin Red Line ผลงานของ Terrence Malick
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๕๓๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๔ เมษายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๗ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เอนกภพแห่งสงคราม:
สวรรค์ นรก และ โครงสร้างของหนังสงคราม
วิเคราะห์ภาพยนตร์สงคราม(นิยม)
และภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม
(๒)
จักริน
วิภาสวัชรโยธิน : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการศึกษา สถาบันภาษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เชิงอรรถเพิ่มเติม
โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
Cross of Iron เป็นกรณีศึกษาที่ดีและก็เป็นตัวสร้างปัญหาแก่กระบวนการพิสูจน์สมมุติฐานที่เพิ่งกล่าวในเวลาเดียวกัน หากสารบบไม่ต้อนรับ Cross of Iron ก็ยังมีดีพอจะจับจองที่ว่างบนหิ้งหนังต่อต้านสงครามปิดทองหลังพระอยู่ดี ยุทธศาสตร์การวางตำแหน่งหนังเรื่องนี้ของแพ็คกินพ่าห์ อยู่ในขั้นมาเหนือเมฆ เค้าโครงของหนังสงครามร่วมสมัยเรื่องเดียวของแพ็คกินพ่าห์เรื่องนี้ ได้มาจาก The Willing Flesh(*) วรรณกรรมของนักเขียนเยอรมัน นาม วิลลี่ ไฮน์ริช(โดยมี จูเลียส เอ็ปชไตน์ - Julius Epstein ผู้เขียนบท Casablanca เป็นผู้เขียนบทร่วม)
(*)The Willing Flesh
is the English-language edition of the war novel Das Geduldige Fleisch (1956),
by Willi Heinrich, chronicling the Eastern Front combat experiences of an
infantry platoon during the 1943 German retreat from the Taman Peninsula in
the Caucasian coast of Russia. The war film, Cross of Iron (1977), directed
by Sam Peckinpah, is based upon this novel. Later editions of The Willing
Flesh have been re-titled Cross of Iron to link book and film.
หนังใช้เหตุการณ์ตอนสงครามใกล้ยุติเป็นฉากหลัง โดยมีหน่วยสอดแนมของ เยอรมันซึ่งตั้งมั่นอยู่ติดกับเขตยึดครองของของรัสเซียเป็นตัวเดินเรื่อง
องค์ประกอบของหนังเท่าที่กล่าวล้วนสร้างความแปลกแยกแก่คนดู แม้แต่ตัวละครก็เป็นคนแปลกหน้า
ไม่รู้ใครเป็นใคร แต่เพียงไม่นาน ด้วยพัฒนาการของตัวละครและการสร้างปมขัดแย้ง
สถานการณ์ในฟากคนดูก็พลิกผันเมื่อเทียบกับตอนเริ่มเรื่อง อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ผู้ชมอเมริกันชนไม่รู้เหนือรู้ใต้ด้วยกับการรบพุ่งระหว่างกองทัพโซเวียตกับเยอรมัน
ยิ่งเล่าจากมุมมองของฝ่ายเยอรมันแล้ว ก็เป็นอันเลิกหวังได้เลยว่าหนังจะเรียกความเห็นอกเห็นใจต่อภาวะสิ้นชาติสิ้นเชื้อ
หรือปลุกเร้าเลือดรักชาติ ในหมู่ผู้ชมชาวอเมริกันชนได้(และก็เป็นอย่างที่คาด
ตลาดภายในสหรัฐต้อนรับ Cross of Iron ด้วยความเฉยชา แต่ในตลาดยุโรปหนังกลับสร้างความคึกคักผิดกันลิบ)
ควรกล่าวด้วยว่า บรรดาตัวละครหลัก ๆ ในหนัง ไล่ตั้งแต่ชไตน์เนอร์(Sgt. Steiner) หัวหน้าหมู่ลาดตระเวนจู่โจม ไปจนถึงนายทหารทั่วไป หรือจะเป็นคหบดีอภิสิทธิ์ชนของปรัสเซียอย่างสแตรนสกี้(Capt. Stransky) ซึ่งถือเป็นตัวโกงของหนัง คนเหล่านี้ล้วนไม่กินเส้นกับฮิตเล่อร์และพรรคนาซี หากไม่นับภาพข่าวของฮิตเล่อร์ตอนเปิดเรื่อง ต้องนับว่าสงครามโลกครั้งที่สองใน Cross of Iron ได้ผ่านการซักฟอกจนเอี่ยมอ่อง ปลอดจากคราบเนื้อหาและกลิ่นการชี้นำทางการเมือง (เช่นเดียวกับใน The Thin Red Line ด้วยเหตุผลเดียวกัน) แพ็คกินพ่าห์ขึ้นรูปโครงสร้างสงครามใน Cross of Iron ด้วยวัตถุดิบเท่าที่เขาเห็น และจากสายตาของเขา การรับใช้ชาติไม่ว่าจะคนธรรมดา ๆ หรือทหารมืออาชีพล้วนเป็นแค่เบี้ยบนกระดานให้เหล่าอภิสิทธิ์ชนและชนชั้นนำทางการเมืองจากก๊กเหล่าต่าง ๆ จับเดินในเกมแย่งชิงอำนาจ. พลังขัดแย้งพื้นฐานของหนัง นอกเหนือจากที่ปลดปล่อยออกมาจากคู่สงครามตามจารึกในหน้าประวัติศาสตร์ คือ เยอรมัน-รัสเซียแล้ว หนังยังมีคู่ปรับอีกคู่ คือ สไตนเนอร์กับสแตรนสกี้ และก็เป็นศึกระหว่างคนที่ชักหนังเข้าลึก หาใช่ศึกระดับชาติ
Cross of Iron ออกฉายให้หลังยุคเฟื่องของหนังสงครามเพื่อความบันเทิงร่วม 20 ปี สงครามเวียดนามเพิ่งจะยุติลงหมาด ๆ Cross of Iron ออกฉายได้ไม่ทันไร หนังสงครามเวียดนามก็เริ่มทยอยออกสู่ตลาด ภาพจากสมรภูมิใน Cross of Iron ดิบเถื่อนและดุเดือดเหนือมาตรฐานของหนังสงครามที่เคยสร้าง ๆ กันมา และมีบุคลิกชัดเจนกว่า Attack! (*) ยอดหนังสงครามเสมอจริงในปีค.ศ.1956 ของโรเบิร์ต อัลดริช(Robert Aldrich) นอกจากนี้หนังยังเผื่อพื้นที่ให้แก่ประสบการณ์ฝังใจต่อสงครามผ่านความเป็นไปในโรงพยาบาลที่ชไตน์เนอร์เข้ารับการพักฟื้นจากอาการบาดเจ็บ ยกตัวอย่างเช่น ในการสื่อถึงภาวะเคว้งคว้าง โดดเดี่ยว และแปลกแยกของชไตน์เนอร์ แพ็คกินพ่าห์ผูกฉากขึ้นจากการใส่ฝีภาพผู้คนที่แวดล้อมชไตน์เนอร์อยู่หายลับไป สลับกับฝีภาพคน ๆ นั้นกลับมาครองพื้นที่ในตำแหน่งเดิมซึ่งฟ้องว่าการรับรู้ของชไตน์เนอร์ตกอยู่ในภาวะสับสน
(*)Attack, also known
as Attack!, is a 1956 American war film. It was directed by Robert Aldrich
and starred Jack Palance, Eddie Albert, Lee Marvin, Robert Strauss, Richard
Jaeckel, Buddy Ebsen and Peter van Eyck. The cinematographer was Joseph Biroc.
(ฉากในโรงพยาบาลนี้ยังมีเสี้ยวอึดใจที่สร้างความหดหู่หนาวเหน็บขั้วหัวใจมากที่สุดเสี้ยวอึดใจหนึ่ง
ในหนังสงครามแทรกอยู่ด้วย คือภาพการจับมือกัน(ไม่สำเร็จ)ระหว่างนายทหารที่มาเยี่ยมเยียนเหล่าทหารบาดเจ็บโรงพยาบาลกับทหารที่นั่งอยู่ในรถเข็นผู้ป่วย
หลังจากฝ่ายหลังยื่นแขนกุด ๆ ข้างหนึ่งออกมาเพื่อให้ฝ่ายแรกจับ นายทหารก็เบนมือไปยังแขนอีกข้างของทหารแขนด้วนด้วยหวังว่ามีมือให้จับกันได้
แต่กลับมีเพียงแขนอีกข้างที่ด้วนอีกเหมือนกันของทหารพิการผู้นั้น ยื่นออกมา พอเห็นนายทหารผู้มาเยี่ยมชักมือหนี
คราวนี้ทหารพิการยื่นขาให้)
Cross of Iron ยังกล่าวถึงอาการหลงยึดกับการใช้ความรุนแรงของตัวทหาร ในลักษณะเดียวกับที่น่าจะเป็นการแผ้วถางทางให้ The Deer Hunter (*) ขยายผลจนนำไปสู่ฉากรัสเชี่ยน รูเล็ตต์อันลือลั่นในปีถัดมา วิธีคิดในการนำเสนอเช่นนี้อาจเรียกว่า เป็นการบีบขมวดเงื่อนไขทั้งมวลในสมรภูมิมาจัดนิทรรศการทางจิตวิเคราะห์ผ่านภาพพฤติ-พิธีกรรม. แพ็คกินพ่าห์ ยังแปรรูปความเห็นของตนผ่านมาทางปากของชไตน์เนอร์และพลพรรค กับการยกคมวาทะของยอดนักยุทธศาสตร์ของโลกมาอ้าง ไม่ว่าจะเป็นฟอน เคล้าส์วิทซ์(Von Clauswitz)(**)กับ "สงคราม สถิตอยู่คู่กับนโยบายแห่งรัฐเสมอ เพียงแต่มาในหลากหลายโฉมหน้า" หรือจะเป็น เฟรเดอริค ฟอน แบร์นาร์ดี(Frederich von Bernardi) กับ "ชั่วชีวิตของอารยชน จะมีการปวารณาตนใดเทียบเท่า การก่อสงคราม เป็นไม่มี" เท่าที่ยกมาเป็นแค่ท่าทีเบาะ ๆ แต่หากจะให้ถึงใจพระเดชพระคุณต้องยกให้ท่าทีของ All Quiet on the Western Front ในระหว่างหมู่รบของพอลได้พักจากภารกิจแนวหน้า และเหล่าทหารในหมู่ก็หันหน้าเข้าปรับทุกข์กันถึงการศึกอันเยิ่นเย้อ มีพลทหารรายหนึ่งเปรยขึ้นว่า"ก็ต้องมีใครบ้างละ ที่ได้ประโยชน์จากสงคราม"
(*)The Deer Hunter is
an Academy Award winning 1978 war drama film about a trio of Rusyn American
steel worker friends and their infantry service in the Vietnam War. It is
loosely inspired by the German novel Three Comrades (1937), by World War I
veteran Erich Maria Remarque, which follows the lives of a trio of World War
I veterans in 1920s Weimar Germany. Like the novel, The Deer Hunter meditates
and explores the moral and mental consequences of war violence and politically-manipulated
patriotism upon the meaning of friendship, honor, and family in a tightly-knit
community and deals with controversial issues such as drug abuse, suicide,
infidelity and mental illness.
The film features Robert De Niro, Christopher Walken, and Meryl Streep. The
story occurs in southern Vietnam and in working-class Clairton, Pennsylvania,
a Monongahela River town south of Pittsburgh. It was filmed in the Pittsburgh
area; Cleveland and Mingo Junction, Ohio; Weirton, West Virginia; the North
Cascades National Park, Washington State, the Patpong region of Bangkok, Thailand
(as the Saigon red light district), and in Sai Yok, Kanchanaburi Province,
Thailand.
(**)Karl Philipp Gottlieb von Clausewitz (July 1, 1780[1] - November 16, 1831) was a Prussian soldier, military historian and influential military theorist. He is most famous for his military treatise Vom Kriege (complete German text available here), translated into English as On War (available here).
(***)Germany and the
Next War by General Friedrich von Bernardi, 1911 (สำหรับผู้สนใจอ่าน คลิก http://www.fullbooks.com/Germany-and-the-Next-War1.html)
หากไม่นับการต่อต้านสงครามจนออกนอกหน้าแล้ว ฐานภาพการเป็นหนังต่อต้านสงครามของ
Cross of Iron ยังเป็นที่สงสัยอยู่มาก ด้วยเหตุที่ภาพการยุทธในหนังดุดันไม่น้อย
หนำซ้ำยังมีภาพการสังหารหมู่อันชวนขวัญผวาให้เห็นไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง แม้ว่าภาพการเสียเลือดเนื้อและความวินาศสันตะโร
จะถ่ายทอดออกมาตามแนวภาพแพ็คกินพ่าห์ขนานแท้ อันได้แก่ก็ การชะลอภาพ และ ชี้ชวนดูยุทโธปกรณ์และชิ้นส่วนองค์ประกอบต่าง
ๆ ปลิวว่อน กระจุยกระจาย ผสมโรงด้วยกับร่างทหารลอยคว้างในอากาศ ควรกล่าวด้วยว่า
คุณลักษณะของภาพกิจกรรมในสมรภูมิทั้งจากหนังเรื่องนี้และหนังในช่วงปีนั้น มีอันกลายเป็นความอึกทึกครึกโครมอันรกหูรกตา
และคงไม่อาจนับเป็นแรงบันดาลใจต่อการมาถึงของงานถ่ายทอดความรุนแรงด้วยชั้นเชิงกวีอย่าง
The Wild Bunch (*) แต่ปัจจัยที่สำคัญยิ่งกว่า อยู่ที่ตัวตนของผู้กำกับและหนังของเขา
(*) The Wild Bunch is
a controversial 1969 Western film directed by Sam Peckinpah and starring William
Holden, Ernest Borgnine, Robert Ryan, Edmond O'Brien, Warren Oates, Jaime
S?nchez, Ben Johnson, Strother Martin, L.Q. Jones, Bo Hopkins and Dub Taylor.
The film details an aging gang of outlaws on the Texas/Mexico border in 1913
attempting to survive a rapidly approaching modern world. The film is notorious
for its extreme violence during an opening bank robbery sequence and a concluding
battle between the outlaws and the Mexican army.
ข้อโต้แย้งนี้ไม่น่าแปลกใจสำหรับคอหนังแพ็คกินพ่าห์เพราะก็เป็นที่รู้กันดีว่าตัวเขาและงานของเขามุ่งถ่ายทอดความรุนแรง
และเชิดชูการใช้ชีวิตเยี่ยงชายชาตรีชนิดถึงไหนถึงกัน จึงเป็นออกจะน่าเคลือบแคลงต่อธาตุแท้ในความเป็นงานต่อต้านสงครามของ
Cross of Iron หนังโจมตีโครงสร้างการจัดรูปรัฐที่ผลักดันคนหนุ่มออกไปรบได้อย่างเข้าตากรรมการ
ก็จริง แต่เหตุใดแพ็คกินพ่าห์กลับพริ้วเลี่ยงไปร่ายถึงความรุนแรงในเชิงเปรียบเปรย
ทั้งที่เขาเคยชินกับการสร้างภาพความรุนแรงแบบตาต่อตาฟันต่อฟันมากกว่า ยังไม่นับ
การเข้าสู่ปริมณฑลแห่งความวาบหวามรัญจวนอารมณ์แบบรักร่วมเพศ อันเป็นผลจากความกลมเกลียวแนบแน่นเกินปกติในหมู่ทหารรุ่นกระทงคึกคะนอง
และการถูกรุมเร้าด้วยสถานการณ์ความรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น
ในฉากลูกหมู่ของชไตนเนอร์สติแตกอยู่ในสนามเพลาะอันเป็นฐานที่มั่น เนื่องจากทานรับความกดดันจากสถานการณ์รบพุ่งไม่ไหว หนังตัดไปยังภาพงานเลี้ยงวันเกิดของร้อยโทที่นรกในบ้าน ตัวเจ้าของงานนั่งเงียบเหมือนคนปลงตก จากนั้นหนังตัดกลับยังเหตุการณ์ชุลมุนในสนามเพลาะ ทหารร่วมหมู่กำหราบอาการขาดสติของเพื่อนร่วมหมู่ด้วยการประกบจูบเข้ากับริมฝีปากเพื่อนเอาดื้อ ๆ แต่หนักหน่วงและเนิ่นนาน. อีกครั้งของกรณี"สาวแตก"คือ ในเหตุการณ์ตอนลูกหมู่ของชไตน์เนอร์พลัดหลงกับกำลังหนุนเยอรมันขณะข้ามเขตยึดครองของฝ่ายรัสเซีย อันเป็นช่วงที่อารมณ์หนังทะยานขึ้นสู่สุดยอด และการมาถึงของมุขตอกหน้าดอกสุดท้ายและเจ็บแสบที่สุดของ กับการใช้เพลงประกอบแสนเศร้า วังเวงและ ก้องหลอน กับภาพทหารบุกบั่นข้ามทุ่งลวดหนาม อันเป็นนาฏวีรกรร ซึ่งหนุนนำพวกเขาสู่แท่นวีรชน นับว่าหมู่ทหารใน Cross of Iron ได้รับการสดุดีไม่น้อยหน้าวีรชนจากสมรภูมิในหนังสงครามสร้างชาติไม่ว่าเรื่องใด
ในสายตาของหนังสงคราม(นิยม)ถึงสงครามจะอัปลักษณ์ แต่การต่อสู้ของวีรชนนั้นมักถือเอาว่าสมควรแก่เหตุเสมอ ดังนั้นถึงแม้พวกเขาจะมือเปื้อนเลือด หรือกลายเป็นมารไปในท้ายที่สุด แต่วีรกรรมของพวกเขาสมควรได้รับการสดุดีอยู่ดี ธงของแพ็คกินพ่าห์ในเรื่องนี้ปักอยู่ไม่ห่างกับหนังสงคราม(นิยม)มากเท่าไหร่ ผิดแต่เพียงเขาแทนที่นโยบายของรัฐด้วยมโนคติอื่น อันได้แก่ การคัดง้างระบอบอำนาจนิยมด้วยความสมัครสมานในหมู่สหาย เนื่องจากในการฝ่าผ่านความขัดแย้งย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บล้มตาย และคนเหล่านี้ก็ต้องรีดเค้นทั้งความกล้าและความบ้าออกมาสุดแรงเกิด หนังทิ้งทวนด้วยวาทะลูบคมอำนาจนิยมใน The Resistible Rise of Arturo Ui (*) งานจากปลายปากกาของเบร็คท์ ที่ว่า "ดูก่อนบุรุษ อย่าลำพองกับความพ่ายแพ้ของผู้อื่น / ถึงโลกจะยืนยงและเก็บพวกสารเลวเข้ากรุ แต่ความอัปรีย์ที่คุกกรุ่นอยู่ข้างในก็พร้อมลุกโพลงขึ้นทุกเมื่อ"
(*)The Resistible Rise
of Arturo Ui (original German title: Der aufhaltsame Aufstieg des Arturo Ui)
is a play by the German dramatist Bertolt Brecht, originally written in 1941.
It chronicles the rise of Arturo Ui, a fictional '30s Chicago mobster, and
his attempts to control the cauliflower racket by ruthlessly disposing of
the opposition.
It was written by Brecht in only three weeks in 1941 whilst in exile in Helsinki
awaiting a visa to enter the US. The play was not produced on the stage until
as late as 1958, and not until 1961 in English. In spite of this, Brecht never
envisioned a German language version of the play, intending it for the American
stage.
The play is consciously
a highly satirical allegory of Adolf Hitler in Nazi Germany, whose rise Brecht
represented in parallel to that of Ui. All the characters and groups in the
play had direct counterparts in real life, with Ui representing Hitler, his
henchman Ernesto Roma representing Ernst Rohm, Emanuele Giri representing
Goring, the Cauliflower Trust representing the Prussian Junkers, the fate
of the town of Cicero standing for the Anschluss in Austria and so on. In
addition, every scene in the play is based on a real event, for example the
warehouse fire which represented the fire at the Reichstag, or the Dock Aid
Scandal which represented the Osthilfeskandal (East Aid) scandal. The play
is similar to the film The Great Dictator (1941), which also featured an absurd
parody of Hitler by a hero of both Brecht and Hitler, Charlie Chaplin.
แพ็คกินพ่าห์อาจเกลียดสงครามอย่างที่เขาออกมายอมรับ แต่เขาไม่ได้ชิงชังความรุนแรง
และหากกล่าวให้ถึงที่สุด เป้าหมายในการโจมตีของแพ็คกินพ่าห์อยู่ที่อำนาจในการผลิตสงคราม
ไม่ใช่ความน่าสะพรึงกลัวของตัวสงคราม "เพราะคุณให้ความรักกับสงครามไปจนหมด
หรือเพราะคุณกลัวว่าจะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีสงคราม" เอาเข้าจริง (หากแทน"สงคราม"ด้วย"ความรุนแรง"ในประโยคนี้)
คำตัดพ้อของพยาบาลเอวา หลังถูกชไตนเนอร์ตัดรอนดังกล่าวอาจเป็นการตีวัวชไตน์เนอร์กระทบคราดแพ็คกินพ่าห์ดี
ๆ นี่เอง คำถามดังกล่าวคงแทงใจดำตัวละครหลัก ๆ ใน Apocalypse Now(Redux) และ
Full Metal Jacket ด้วยเช่นกัน เพราะหากตัดความแตกต่างในลีลาการเล่าออกไป หนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างเป็นนรกขุมมโหฬาร
โดยมีตัวละครถูกจับถ่วงไว้ในนรกที่กลายเป็นบ้านอย่างไร้ปราณี
หนังทั้งสองเรื่องยังเปิดฉากด้วยการเผยโฉมอเวจีเหมือนกันเสียอีก ฉากแรกใน Apocalypse Now(Redux) จะเป็นภาพฉากแนวป่าทึบของเวียดนาม คลอด้วยเพลง The End ของวง The Doors (an American rock band formed in 1965 in Los Angeles) ก่อนค่อย ๆ เลือนหายโดยและมีภาพของวิลเลิร์ดในห้องพักของโรมแรมไซง่อนเรื่อเรืองสวนขึ้นมาแทน เป็นวิลเลิร์ดผู้หมกตัวอยู่กับนรกในใจ หมดสภาพ เมาหยำเป ดุดัน และตัดขาดตัวเองกับโลกภายนอก อันเป็นการพยายามดื่มด่ำกับตัวเอง ก่อนออกปฏิบัติภารกิจครั้งใหม่. ส่วน FMJ (Full Metal Jacket) ยกครึ่งเรื่องแรกของหนังให้แก่การพาท่องนรกในรูปค่ายฝึกทหารไปเต็ม ๆ (ฉากอันเต็มไปด้วยการเคร่งครัดกับหลักสุขอนามัยอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู และการกวดขันมิให้เกิดการลักลอบทำสิ่งใด ชวนให้คิดถึงโลกของบ้าน) สภาพความเป็นอยู่ภายในค่ายทหารใน FMJ ผิดไปจากในหนังชีวิตทหารที่มีมาก่อนหน้า และโดดเด่นมากกับภาพการลดมนุษยภาวะในตัวทหารลงเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สงคราม
นรกของประสบการณ์ฝังใจตัวละครใน Apocalypse Now(Redux)ไม่ได้มีให้เห็นตำตา แต่จะเป็นนรกที่แทรกตัวออกมาทางภูมิทัศน์แสนขัดหูขัดตา อันเป็นหนึ่งในไม้ตายด้านภาพของ FMJ เช่นกัน หนึ่งในภูมิทัศน์อันชวนหวาดหวั่นมากที่สุดของ Apocalypse Now(Redux) มีให้เห็นจากฉากยุทธภูมิสะพานโด ลัง กับภาพการระบายท้องฟ้ามึดทะมึนด้วยความสุกสกาวจากกระสุนพลุ ราวดวงไฟ และ แสงจางปางจากไฟประดับตามโครงบรรดาสิ่งก่อสร้าง และมีเสียงร้องโหยหวยเหมือนคนเจ็บเจียนตาย และตระหนกสุดขีดแหวกออกมาจากความมืดมน ทั้งคนดูและทหารในบริเวณนั้นต่างมืดแปดด้านพอ ๆ กันเนื่องจากคลำหาแนวปะทะไม่ได้ จู่ ๆ มีเงาตะคุ่มของใบหน้าโผล่ออกมาในความมืดแว่บหนึ่ง วิลเลิร์ดเที่ยวควานหาตัวผู้กุมอำนาจสูงสุดในพื้นที่และได้คำตอบกลับมาจากทหารนายหนึ่งว่า "ไม่ใช่นายหรอกรึ?" วิลเลิร์ดหันไปทึ่งกับทหารอีกราย เขาผู้นี้ยืนหยัดฟาดฟันทหารฝ่ายศัตรูด้วยเสียงคำรามอยู่เพียงลำพังเหมือนมีคาถาแคล้วคลาดคงกระพันติดตัว พอวิลเลิร์ดถามไปว่าพอจะรู้ไหมว่าใครบังคับบัญชาพื้นที่ตรงนั้น ทหารเดนตายยิ้ม และตอบมาว่า"รู้" แล้วเดินหนีไปดื้อ ๆ
FMJ ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งยวดในการสร้างความไร้สาระ ก็เพราะ การร้อยเรียงชิ้นส่วนของเรื่องไม่เป็นเรื่อง หรือหักล้างกันอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำประชดประชัน หรือเพลงประกอบ รวมไปถึงเรื่องราวทำนองเขียนด้วยมือลบด้วยเท้า อันเป็นข้อเท็จจริงอัปยศเกี่ยวกับสงครามเวียดนามที่รู้ ๆ กันอยู่ จากกลบทการเล่าทั้งหลายของ Apocalypse Now(Redux) และ FMJ จำต้องอนุโลมให้ถือเอาความเหลวแหลกไร้สาระอันเป็นเนื้อแท้ของหนังนั้นเป็นมรรควิธีเสกนรกของสงคราม อันเกิดจากประสบการณ์ เข้าไว้ในส่วนลึกของแต่ละตัวละคร บรรดายุทโธปกรณ์ที่ Redux (*) ระดมมาเสียดเย้ยและย้ำความไร้สาระไม่ว่าจะเป็น เพลง ภาษาพูด ลูกบ้า แม้เหมือนมาจากคนละเกียกกายกับ FMJ แต่ทหารผ่านศึกสงครามเวียดนามล้วนรู้อยู่แก่ใจถึงส่วนเสี้ยวข้อเท็จจริงเหล่านั้น อาจเพราะในประวัติศาสตร์การสงครามของสหรัฐอเมริกาไม่เคยเห็นมหกรรมหมกเม็ดซ่อนเงื่อนกันทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของสงคราม จนพาให้เหล่าทหารเกิดข้อกังขาถึงการเป็นสงครามขี่ช้างจับตั๊กแตน และความหน้าไหว้หลังหลอก และความแตกแยกขนานใหญ่ในเรื่องไม่เป็นเรื่องมาก่อน
(*)Redux is an adjective,
from the Latin, meaning brought back. The term has been adopted by film-makers
to denote a new interpretation. This trend began with Apocalypse Now Redux,
which Francis Ford Coppola released in 2001, re-editing and extending his
original 1979 movie.
แต่แทนที่คอปโพลาและคิวบริกจะไว้ลายด้วยการละเลงกระบวนท่าผ่าซากประชดหมดไส้หมดพุง
ตราบเท่าที่แก่นมโนคติจะเอื้ออำนวยในแบบ Catch 22 (*) ของผู้กำกับ โจเซฟ เฮลเลอร์(Joseph
Heller) พวกเขากลับปล่อยผีสงครามในส่วนลึกของตัวละครออกมาหลอกหลอนกันตามอำเภอใจ
(*)Catch-22 is a satirical,
historical novel by the American author Joseph Heller, first published in
1961. The novel, set during the later stages of World War II from 1943 onwards,
is frequently cited as one of the great literary works of the Twentieth century.
The novel follows Yossarian, a U.S. Army Air Forces B-25 bombardier, and a
number of other characters. Most events occur while the airmen of the fictional
Fighting 256th (or "two to the fighting eighth power") Squadron
are based on the island of Pianosa, west of Italy. Many events in the book
are repeatedly described from differing points of view, so the reader learns
more about the event from each iteration, with the new information often completing
a joke, or setup, the punchline of which was told several chapters previous.
The narrative often describes these events out of sequence, and are referred
to as if the reader already knows about them.
เสียงก็มีบทบาทสำคัญในการขึ้นรูปนรกในส่วนลึกของหนังทั้งสองเรื่อง เสียงในหนังส่วนใหญ่
หากไม่ได้มาจากแหล่งกำเนิดเสียงอันเป็นสภาพแวดล้อมของฉาก ก็จะหมายถึงดนตรี และดนตรีประกอบในหนังก็มักทำหน้าที่ใน
2 ลักษณะควบคู่กัน ในทางหนึ่งดนตรีจะเป็นลูกคู่คอยบอกใบ้ถึงสภาพความรู้สึกของตัวละคร
และอีกทางหนึ่งก็เร้าคนดูให้รู้สึกคล้อยตามและเกิดอารมณ์ร่วมกับตัวละคร เสียงดนตรีใน
Redux และ FMJ ต่างต้องยกให้เป็นการสร้างอเวจีภพทางภูมิโสต ฉากยุทธภูมิสะพานโดลุงของ
Redux มาพร้อมกับเสียงระฆังชวนขนลุกและเสียงอันเกิดจากโลหะกระทบกัน และฉากรบและฉากแห่งความตายครั้งสำคัญ
ๆ ใน FMJ นับตั้งแต่ฉากล้อมปราบสังหารหมู่ชาวเวียดนาม มักจะมีเสียงการบิดหรือบดเถือวัสดุโลหะ
เสียงประกอบในหนังต่อต้านสงครามมักคอยสื่อถึงความรู้สึกลึก ๆ ที่ตัวละครมีต่อสงคราม
ผิดกับในฉากการรบหูดับตับไหม้ของหนังสงคราม(นิยม) ที่มุ่งฉายถึงสถานการณ์เบื้องหน้า
หนังทั้งสองเรื่องปิดฉากลง ณ ก้นบึ้งของโลกันตร์ ในบทอวสานของ Redux จะเห็นร่างของเคิร์ทซ์เรืองรองอยู่ใต้ลำแสงจาง รุมล้อมด้วยความมืดมิด อีกด้านหนึ่งยมฑูตวิลเลิร์ดผุดขึ้นจากบึงในสภาพมนุษย์โคลนและตรงไปปลิดชีวิตเคิร์ทซ์ หลังปฏิบัติการแล้วเสร็จ ขากลับวิลเลิร์ดเยื้องกร่างผ่ากลางฝูงสาวกของเคิร์ทซ์ซึ่งรอจะถวายสักการะอวตารร่างใหม่ของผู้บุกเบิก การเผชิญหน้ากับความสะพรึงกลัว ในบทอวสานของ FMJ หมู่ทหารชักแถวฝ่าม่านความมืดเหนือซากปรักเหยื่อเปลวเพลิงของเมืองเว้ และแม้หนังทั้งสองเรื่องนี้จะไม่พาดพิงถึง"บ้าน"ไม่ว่าในทางใด แต่ภาวะคับคล้ายคลับคลาบ้านกลับแทรกซอนอัดแน่นอยู่ทั่วตัวหนัง ทวิลักษณะของบ้านและนรกจึงย่อมนับเป็นขุนพลคู่บารมีหนังทั้งสองเรื่องในการเข้าพิชิตองค์ความคิดหลัก
ฉากเยียวยาด้วยสมุนไพรใน Apocalypse Now ทั้งฉบับดั้งเดิมและฉบับ Redux นั้น อมพะนำเงื่อนปมอันชวนขบคิดไม่น้อย ร็อกซานน์ ซาร์โรลต์(Roxanne Sarrault) ชี้ว่าฉากนี้เป็นการตีแผ่ภาวะควบคู่ในตัวมนุษย์ในระหว่างที่หญิงสาวเล้าโลมวิลเลิร์ดด้วยฝิ่นพร้อมกับรำพึงว่าวิลเลิร์ดเหมือนกับสามีของเธอที่ตายไปแล้ว จากคำพูดของหญิงสาว เท่ากับว่า ในตัวมนุษย์ชื่อวิลเลิร์ดมีสองตัวตนสุมรุมอยู่ ตัวตนหนึ่งเธอรัก อีกตัวตนหนึ่งตายจากเธอไปแล้ว. ฉากโจ๊กเกอร์วิวาทะกับนายทหารระดับนายพันตรงปากแอ่งฝังศพมหึมาใน FMJ นับเป็นการพลิกภาวะตึงเครียดมากที่สุดครั้งหนึ่งของหนังออกมาในรูปการเอาชนะคะคานกับแบบเด็ก ๆ ในฉากนี้จะเห็นพล ฯ โจ๊กเกอร์ติดเข็มกลัดเครื่องหมายสันติภาพ และเขียน "Born to Kill" ไว้บนหมวก นายพันเห็นเข้าก็จวกทันที "คิดยังไงถึงแต่งตัวแบบนี้ ท่าจะเพี้ยน" โจ๊กเกอร์สวนกลับไปว่า"เอาไว้เตือนใจถึงทวิภาพของมนุษย์" "ทวิ ทวารไหนของมึงวะ?" นายพันไม่ลดละ "ทวิภาพของมนุษย์ เป็นทฤษฎีของยุงครับผม"โจ๊กเกอร์ตอบ (เมื่อถูกถามว่า "แกอยู่ข้างไหนกันแน่ ไอ้ลูกชาย")
ทวิภาพของโจ๊กเกอร์ เป็นทวิภาพเดียวกับการจับคู่พิเคราะห์ในหนัง ไม่ว่าจะเป็นระหว่าง บ้าน กับ สงคราม, สวรรค์ กับ นรก, ความรักหรือสันติภาพ กับ การฆ่า, ทวิภาพอาจผ่านการแปรรูปและฉายออกมาจากตัวมนุษย์เอง ดุจเดียวกับที่ร็อกซานน์จับได้คาหนังคาเขาใน Apocalypse Now การสื่อผ่านโครงสร้างการเมืองก็มีให้เห็นในหนังหลายต่อเรื่อง ส่วน The Thin Red Line จะเป็นทวิภาพในรูปจิตวิญญาณของธรรมชาติ ดังจะได้ยินจากธงคำถามในตอนต้นเรื่อง ที่ว่า "สงครามแบบไหน ถึงได้ต้องรุกเข้าไปลึกถึงใจกลางธรรมชาติ?" "เหตุใดธรรมชาติถึงชิงดีชิงเด่นกับตัวเอง"
ในเรื่องจุดเน้นต่อโครงสร้างเรื่องราว มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเดิมงานเขียนของเจมส์ โจนส์(James Jones) จะเป็นโครงสร้างธรรมชาตินิยม-การเมือง แต่พอมาเป็นหนัง The Thin Red Line ได้มีการปรับจุดเน้นไปยังโครงสร้างธรรมชาติ-จิตวิญญาณนิยมแทน. แพทริก พอล คริสเล่ มองว่า งานของโจนส์ น่าจะอยู่ในแนวธรรมชาตินิยมเพราะเขียนชะตากรรมของเหล่าทหารในเรื่อง "ถูกกำหนดด้วยความบังเอิญ และจากพลังผลักดันทางสังคม เศรษฐกิจ จิตวิทยา และการเมือง อันเป็นพลังที่อย่าว่าแต่อยู่นอกเหนือการควบคุม หากแต่คนเหล่านี้ยังไม่อาจไหวตัวทันด้วยซ้ำ คริสเล่ยังมองด้วยว่า งานเขียนของโจนส์เป็นการ"ฉายภาพโลกอันเปล่าเปลี่ยวไม่รู้วาย" และ"มนุษย์ก็แทบไร้ความหมาย" ผิดกับหนัง
การเทน้ำหนักให้กับจิตวิญญาณ หนังจึง"ละเลยมุมมองต่อความไร้สาระ อลหม่าน และรอวันพินาศของโลก ที่โจนส์ได้ถ่ายทอดไว้ไปเป็นอันมาก" แต่อรรถาธิบายของคริสเล่ต่อฉบับงานเขียนอันเป็นที่มาของ The Thin Red Line จะเหมาะสมแก่การนำมาช่วยพิจารณาหนังต่อต้านสงครามในที่นี้หรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่ต้องไตร่ตรองให้รัดกุม อย่างที่กล่าวไว้แล้วถึงสมมติฐานว่าด้วยพลังของการเมืองในการเปลี่ยนบ้านเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบป้อนสมรภูมิ หาใช่อุดมคติอื่นใด โดยเฉพาะที่เล็งผลเลิศว่าบ้านจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากับสงครามอันเป็นตัวแทนของนรก บางทีคงไม่มีใครรู้ซึ้งถึงสัมพันธ์ลับดังกล่าวได้เหมือนวิลเลิร์ดแห่ง Redux ขณะไล่ย้อนดูประมวลกิตติศัพท์ของเคิร์ทซ์ขณะล่องขึ้นไปตามแม่น้ำ เคิร์ทซ์เสียสติเพราะเขารู้แจ้งแทงตลอดถึงความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและนรกแห่งสงคราม และยังรู้ไส้รู้พุงนักสร้างภาพสวยหรูปกปิดสายสัมพันธ์ดังกล่าว: "คุณจะเรียกการปรักปรำฆาตกรโดยฆาตกรด้วยกันเองว่ายังไง" เคิร์ทซ์ถามขึ้น หลังจากได้ตื่นตากับลูกบ้าของนายทหารม้ารุ่นใหม่อย่างคิลกอร์
วิลเลิร์ดเริ่มคิดว่า"ชักสงสัยขึ้นมาตงิด เคิร์ทซ์ล้ำเส้นตรงไหน คงไม่ใช่แค่ด้วยข้อหาวิกลจริตหรือฆาตกรรมเสียแล้วกระมัง เพราะไม่อย่างนั้นพวกคนบ้าและฆาตกรแถว ๆ นี้ก็น่าจะติดร่างแหด้วย" วิลเลิร์ดพอจะมองออก เคิร์ทซ์ปรักปรำว่าตัวเองเป็นบ้า เพราะเห็นว่าข้อหาที่เป็นชนักของตนนั้น ภายใต้สภาพการณ์ความขัดแย้งที่เป็นอยู่นี้ ต้องถือว่าเจียนจะเข้าขั้นเสียสติสมบูรณ์แบบ มีอยู่ช่วงหนึ่ง เคิร์ทซ์บรรยายว่า "หลายครั้ง พฤติกรรมอันเหี้ยมโหด หรือที่การกระทำใด ๆ ก็ตามที่ถูกขึ้นป้ายว่าเป็นความเหี้ยมโหดนั้น อาจเป็นเรื่องกินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง รู้ทางกันดี และก็ปฏิบัติการด้วยความเฉียบขาด รวบรัด รวดเร็ว และรัดกุม ตื่นตัว ลองดู" หนามยอกก็ต้องเอาหนามบ่ง บุรุษผู้ลุ่มหลงกับปฏิบัติการอันไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมด้วย
การสังหารสายลับเวียดนามใต้ผู้แปรพักตร์เข้ากับฝ่ายเหนือไป 4 ราย โดยไม่รอคำสั่งอนุมัติจากหน่วยเหนือ อย่างเคิร์ทซ์จึงตกเป็นเป้าการ"อุ้ม"โดยมือสังหารนอกคอกเสียเอง: "รู้ไว้ด้วยหมวด ให้ถือว่าปฏิบัติการครั้งนี้ไม่เคยมีอยู่ และจะไม่มีวันมีขึ้นอีก" พฤติการณ์เท่าที่เป็น ๆ กันอยู่ของมนุษย์จึงน่าสะพรึงกลัวเฉกเช่นเดียวกับศักยภาพการก่อพฤติกรรมเหนือความคาดหมายของมนุษย์ ด้วยพลังใฝ่ดี ดังนั้นคนอย่างวิลเลิร์ดจึงปวารตนแก่บทบาทของอย่างเต็มตัว และสถาปนาตนขึ้นเป็นไม้เบื่อไม้เมา เพราะเคิร์ทซ์ถึงคราวต้องปลดระวางเสียที การมองจากมุมแนวคิดกำหนดนิยม ยังมีให้เห็นใน The Thin Red Line ฉบับเป็นหนังด้วยเช่นกัน ผิดก็แต่เพียงจะมาในขอบเขตส่วนบุคคล
ความพลั้งพลาดของคริสต์เล่นั้น อยู่นอกกรอบความคิดโบราณที่เล็งผลเลิศไว้ว่าจำต้องมีการรับโอนทรัพยากรทั้งหมดทั้งหลายในงานเขียนต้นฉบับมาไว้ในหนังให้จงได้ ทว่าผู้กำกับมาลิกกลับลดทอนกลิ่นอายกำหนดนิยมใน The Thin Red Line และหันไปโหมกระพือ หรืออาจสำคัญผิดกับกลิ่นอายเชิงจิตวิญญาณแทน The Thin Red Line จึงตกเป็นจำเลยในข้อหาเดียวกับ Cross of Iron กล่าวคือ ส่วนของการรบก็ปฏิบัติกันไป แต่หนังจะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่กับเงื่อนไขและเนื้อเรื่องอันเป็นตัวชี้ถูกชี้ผิดดังมีการจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ อ่าวเพิร์ลก็ดี ลัทธิฟาสซิลต์เอย เผด็จการทหารเอย หรือบรรดาชาติที่ถูกยึดครอง และการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ล้วนไม่มีหลุดมาให้ได้ยินในหนัง. สงครามใน The Thin Red Line จึงเป็นเหมือนการยุทธทั่วไป มีการยกพลขึ้นเกาะ มีกองเรือมาคอยปิดล้อมเกาะไป มีการเข้ายึดเนินเขาเพื่อเป็นชัยภูมิ มีการเข้าตีฐานที่มั่นของฝ่ายตรงข้าม มีการเข้าเผด็จศึก กวาดล้าง และเหล่าทหารก็ต้องจมปลักอยู่กับความน่าสะพรึงกลัว น่าเบื่อหน่าย และสยดสยองของสงครามโถมทับเหล่าทหาร บรรยากาศมีแต่ความอับจนสิ้นเรี่ยวแรง พวกเขาอิจฉาบรรดาทหารรุ่นพี่ที่ไม่รู้สึกรู้สากับความตายและฉากชีวิตเบื้องหน้าอีกต่อไปแล้ว จ่าเวลช์ซึ่งรับบทโดยฌอน เพนน์ สารภาพว่าเขาอิจฉาจ่าสตอร์ม
Apocalypse Now (Redux) ไม่กรวดน้ำคว่ำขันกับการเมืองและบริบททางประวัติศาสตร์เหมือนกับ The Thin Red Line และ Cross of Iron ตรงกันข้าม ฉากทิ้งระเบิดปูพรมอันติดอันดับต้น ๆ ของฉากตื่นตาตื่นใจตลอดกาลของหนังยังชี้ชวนให้ตีความไปในทางดังกล่าว หนังยังมีเบาะแสให้สืบสาวไปถึงสงครามเวียดนามจนได้ การที่คอปโพลาถอนฉากดังกล่าวออกเนื่องด้วยข้อจำกัดเรื่องเวลา เมื่อครั้งนำฉบับดั้งเดิมออกฉาย ย่อมสะท้อนว่าคอปโพลารู้แก่ใจดี ยังมีแก่นที่สำคัญยิ่งกว่าอยู่กับตัวหนัง จึงไม่ควรยึดติดอยู่กับกระพี้ การผนวกฉากดังกล่าวเข้ามาไว้ในหนังพากย์ใหม่ จึงเป็นแค่การกระตุ้นเตือนถึงความน่าตื่นตาตื่นใจของฉากเท่านั้น และอาจเป็นฉากจากหนังเรื่องใดก็ได้ ซึ่งอาจเล่าถึงสงครามเวียดนามจริง ๆ ดุจเดียวกับที่ The Killing Fields (*) ก็มุ่งเล่าถึงเหตุการณ์จริงช่วงหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์สงครามกัมพูชา
(*) The Killing Fields
(1984) is an Academy Award-winning British film drama about the Khmer Rouge
regime in Cambodia. It is based on the experiences of three journalists: Dith
Pran, a Cambodian, Sydney Schanberg, an American, and Jon Swain, a Briton.
การตัดขาดตัวหนังจากเหตุการณ์ใดเป็นกรณีเฉพาะ จึงปลุกเร้าแนวคิดกำหนดนิยมมิให้จืดจางไปจากหนัง
สถานการณ์หรือเหตุการณ์อันมีเงื่อนไขเฉพาะมักมีเหตุผลชุดหนึ่งเป็นของแถมเสมอ
เหตุผลทั้งหลายแหล่ก็มีสายแร่ความหมายรอการถลุง ความหมายก่อให้เกิดความหวังในการตัดสินใจบนพื้นฐานความจริง
และส่งผลใหญ่หลวงต่อปัจเจก. แต่ The Thin Red Line จะไม่มีการพริ้วร่อนเช่นนั้น
นายพลขี้โอ่และนายพันยโส กวาดตาตัดท้องน้ำทะเลไปยังกัวดาลคานาล(ดินแดนอุปโลกขน์ของหนัง)
ไม่ยี่หระกับความเป็นไปของมนุษยชาติ บรรดาทหารได้แต่เฝ้ารอเวลาออกไปด่าวดิ้นในสมรภูมิ
ไม่มีการพูดถึงการปกป้องมาตุภูมิ หรือชัยชนะอันยิ่งใหญ่ พวกเขานึกไม่ออกเลยด้วยซ้ำไปว่าพวกที่อยู่เบื้องบนมุ่งหวังสิ่งใดถึงได้สั่งพวกตนมารบ
(ฉากบันทึกภาพการสัมภาษณ์ของ Full Metal Jacket มีภาพการตะเบ็งเสียงด้วยความฮึกเหิมเข้มแข็งของเหล่าทหารอันเป็นการกระทำเพื่อประชดส่งและเสแสร้ง)
ฉากกลางสมรภูมิไม่ให้อารมณ์ของการขับเคี่ยวเอาชัย
หนังจำพวกนี้มักปิดโอกาสคนดูในการตีเส้นแบ่งแนวประจันทัพ และแยกแยะเส้นสนกลในความสัมพันธ์ในหมู่ตัวละคร ใน The Thin Red Line คนดูรับรู้ในเบื้องต้นว่าจะมีการบุกยึดเนินเขาลูกหนึ่ง และก็จะรู้อยู่เพียงเท่านั้น ไม่มีเหตุอันใดให้ต้องเปิดศึกนอกเสียจากคำบัญชาของทอล(Colonel Tall) หลังจากเฝ้ารอลิ้มรสชัยชนะ และหาทางกอบกู้เกียรติภูมิเพื่อไว้ลายชายชาติทหารมาชั่วชีวิต นายพันรุ่นดึกเพิ่งสบโอกาสเข้าเผด็จศึกก็คราวนี้ แต่ครั้นสิ้นสุดภารกิจ ภาพอันติดตราตรึงใจของนายพลผู้รับบทโดยนิค โนลเต้ คือ อิริยาบทขณะนั่งอยู่เพียงลำพัง ท่ามกลางซากความย่อยยับอันเป็นผลพลอยได้จากชัยชนะ ทว่าเจ้าตัวกลับตกอยู่ในภวังค์อ้างว้างเงื่องหงอย เหนื่อยล้า เพราะไฟทะเยอทะยานในตนมอดดับ. ดนตรีประกอบของฮันส์ ซิมเมอร์ในฉากรบอันดุเดือดขณะฝ่ายนาวิกโยธินบุกขยี้ค่ายทหารญี่ปุ่น ไม่เพียงไม่กระโชกโฮกฮาก หน้ำซ้ำกลับอ้อยสร้อย อาดูร ปราศจากความรู้สึกฮึกเหิมในชัยชนะ มีก็แต่ความเหม่อลอย ตะลึงงันกับการเข่นฆ่ากันเหมือนคนเป็นผักปลา และทหารฝ่ายตรงข้ามนอนตายร่างแหลกเละ หนังไม่แพร่งพรายสิ่งใด ไม่ระบุพิกัดเกิดเหตุเพื่อสร้างความหมายและจุดหมาย
คริสเล่ตั้งฐานแย้งใน 2 ประเด็นหลักด้วยกัน คือ มาลิกพิรี้พิไรอยู่กับความงามของธรรมชาติกลางวงล้อมสงคราม และการใช้เสียงบรรยายในหนัง อย่างไรก็ดี บทบาทตามแก่นโครงของธรรมชาติในหนังเองก็หนักไปในทางคลุมเครือมากกว่าจะแจ่มชัด ตลอดห้วงการปะทะระหว่างหว่างความงามในธรรมชาติกับการทำลายล้างระหว่างมนุษย์ ก็หามีการชี้ขาดลงไปไม่ว่ามนุษย์ในหนังนั้นถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งหรือแยกส่วนกับธรรมชาติ ชาวเกาะดั้งเดิม(เช่นเดียวกับเสียงบรรยาย อันเป็นแง่คิดสมทบจากหนัง)มีชีวิตอย่างสุนทรีย์ และเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ จนมาวันหนึ่งวิถีความเป็นอยู่ของคนเหล่านี้ก็มีอันเสื่อมถอยเพราะความไม่ลงรอยในหมู่มนุษย์ ผู้คนเหล่านี้เหมือนเทวดาตกสวรรค์ ไม่อาจยืนหยัดขัดขืนพฤติกรรมผีเข้าผีออกของมนุษย์ได้ ทั่วทุกหัวระแหงของป่าฝนบนเกาะยังคงสวยหมดจดท่ามกลางคาวเลือดคละคลุ้ง แต่ภาพเปิดกับภาพปิดหนังกลับขัดแย้งกัน การกลับไปหาภาพหินก้อนย่อมในท้องน้ำของเกาะหลังสิ้นศึก เพื่อกล่าวถึงชีวิตใหม่ที่กำลังงอกเงยว่าง่ายแล้ว แต่การกลับไปดึงภาพจระเข้ลอยคอปริ่มผิวน้ำก่อนผลุบหายไปในท้องน้ำทะมึนจากตอนเปิดเรื่องมาใช้ต่อยิ่งง่ายต่อการถูกลืม
ภาพจากกล้องมักฟุ้งกระเจิงด้วยอณูแสงพร่าฝัน เหมือนแสงสวรรค์ส่องลงมาอาบลับแลในดงป่า เราอดคิดไม่ได้ว่าคนพวกนั้นล่วงล้ำเข้าไปในดินแดนอื่นเบื้องล่างลับแล ใต้ผืนป่าอาจเป็นท้องน้ำ แปรธาตุและเปลี่ยนสู่สภาวะซึ่งพล ฯ วิทท์ใฝ่ฝันจะลงไปแหวกว่าย ปลดปล่อยตัวเองจากการระแวดระวัง เหนือขึ้นไปอาจเป็นแสง ส่วนที่คั่นกลางคือโลกแห่งความรุนแรง และไร้ความปลอดภัย พล ฯ วิทท์ดูจะมีญาณมองทะลุชั้นภูมิ ในฉากพลฯ วิทท์ตกอยู่ในวงล้อมทหารญี่ปุ่นตอนหนังใกล้จบ เขาคิดล่วงหน้าไปไกลลิบ เกินกว่ากล้องจะนำมาสาธยาย ก่อนจะตกลงใจยกปืนไรเฟิลขึ้น แทนที่จะทิ้งปืน พร้อมรับมรณกรรม ก่อนไปโผล่อยู่ใต้ทะเล แหวกว่ายน้ำทะเลอยู่กับเด็ก ๆ แต่นั่นหรือคือสวรรค์ หรือเป็นแค่การเคลื่อนภูมิ หรือจุติหลังตาย ถึงจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งจริง ๆ ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีคุณค่าปลดหนี้ที่ก่อไว้กับโลกได้ละหรือ
เสียงบรรยายแทรกประกอบของมาลิก ปูพื้นฐานกติกาการขุดรากถอนโคนนรกขุมต่าง ๆ ของสงครามไล่เรียงผ่านจากสภาพภายนอกเข้าไปจนถึงส่วนลึกของตัวละคร ผิดกับเสียงบรรยายของวิลลาร์ดใน Apocalypse Now เพราะไม่ใช่เสียงบรรยายทายทักหรือครุ่นคำนึงถึงต้นสายปลายเหตุหรือตัวตน เสียงบรรยายมีเพื่อท้ารบทางปรัชญาโดยแท้ และเคลื่อนไหลไปเรื่อย ไม่มีหลักแหล่งแห่งผู้เล่า จนต้องยกให้เป็นเสียงของมนุษย์ในการตั้งปุจฉาถึงโลกที่เป็นอยู่. เสียงการสู้รบดัง-เบาโฉบเข้า-ออกสลับกับเสียงบรรยายหรือเสียงดนตรี ดังนั้น ในระหว่างรบหลังพิงค่าย เป็นอาทิ ภาพช่วงต้นของฉากจะออกมาสมจริง ชวนอกสั่นขวัญหาย อึกทึก หูดับตับไหม้ไม่มีหลุดไม่มีพลาดพลาดแม้กระสุนสักลูก นรกในสงครามของมาลิกจึงอยู่ในสมรภูมิเป็นแน่ เพราะแม้บางรายจะไม่ถึงกับเลือดตกยางออก แต่ก็ตกอยู่ในความหวาดหวั่น ความผันผวน ร้าวรานและการสูญเสียเพื่อน การไร้หัวนอนปลายเท้า และการสูญเสียตัวตนไปในระหว่างการฆ่า และการกลัวโดยปราศจากที่มาที่ไป
หนังสงครามเรื่องเด่น ๆ ในชั่ว 3 ทศวรรษนี้ รวมถึง Platoon (*) Causalities of War (**) และ Three Kings (***)นั้น ต่างวิวัฒนาการการฉายภาพสงครามยุคใหม่ในทำนองเดียวกัน หนังหลายเรื่องไม่เพียงเอาแต่ถ่ายทอดเปลือกนอกอันบ้าคลั่งของขุมนรกแห่งสงครามและการเข่นฆ่าทำลายล้างในสมรภูมิ ทว่าได้ผสานภาวะเสียศูนย์เตลิดเปิดเปิงในจิตใจหน่วยประชากรในสงครามเข้ามาในหนัง โดยที่ก็หาได้เป็นตัวถ่วงในการอวดชั้นเชิงด้านภาพอันโฉบเฉี่ยวล้ำยุคเพื่อสนองตัณหาเหล่าผู้กำกับ
(*)Platoon is an Academy
Award winning 1986 Vietnam War film written and directed by Oliver Stone and
starring Charlie Sheen, Tom Berenger, Willem Dafoe, Forest Whitaker, Kevin
Dillon, Keith David, John C. McGinley and Johnny Depp. The story is drawn
from Stone's experiences as a US Infantryman in Vietnam and was written by
him upon his return as a counter to the vision of the war portrayed in John
Wayne's The Green Berets.
(**)Casualties of War is a 1989 war drama about the Vietnam War, starring
Michael J. Fox and Sean Penn. It was directed by Brian De Palma, with a screenplay
by David Rabe based on actual events that took place in 1966. An article written
by Daniel Lang was the movie's primary source.
The theme of Casualties of War is how normal moral behavior is discarded during war times and shows it in the extreme when soldiers become savages who can dehumanize innocent by-standers, and also about personal responsibility for maintaining that morality in extreme conditions.
(***)Three Kings is a
1999 American film written and directed by David O. Russell from a story by
John Ridley about a gold heist in the style of Kelly's Heroes. It takes place
during the 1991 Iraqi uprising against Saddam Hussein following the end of
the first Gulf War.
Three Kings มีแนวทางตามแบบฉบับเฉพาะในการแปรธาตุภาพอันตื่นตาเร้าใจ เข้าไปเรียงตัวเป็นผลึกอยู่ในห้วงภาวะภายในอันเป็นสาระสำคัญ
ขณะเดียวกันก็ละเลงภาพการเข่นฆ่าผ่านคมกระสุน สะเก็ดลูกปืนที่ปลิวว่อนเข้าเจาะเนื้อทะลวงกระดูกชนิดไม่มียั้ง
ยิ่งหนังสงครามรุ่นใหม่ประสบผลสำเร็จในการตีแผ่ความจริงยกกำลังสองทั้งในเชิงกายภาพและจิตวิทยามากฉันใด
รอยสะดุดก็ยิ่งโดดเด่นเป็นเงาตามตัวฉันนั้น เฉกเช่นเดียวกับกรณีการนำ The Thin
Red Line มาเทียบกับ Saving Private Ryan เนื่องจากเข้าฉายในปีเดียวกันและส่งผลให้หนังสองเรื่องได้รับความนิยมผิดกันลิบลับ
SPR (Saving Private Ryan) มีดีอยู่ตรงฉากปฏิบัติการยกพลขึ้นหาดนอร์มังดีอันอุโฆษ รวมถึงฉากการสู้รบอันสมจริง เหล่าทหารผ่านศึกตัวจริงต่างชื่นชมว่ามีความใกล้เคียงสภาพการณ์จริงที่สุดเท่าที่เคยสร้างกันมา การฉายภาพสภาวะแตกตัวของภพภูมิครั้งเด่น ๆ ของหนังมีอยู่สองครั้งด้วยกัน คราวแรกเป็นชั่วอึดใจของย่างก้าวแรกบนหาดโอมาฮาของกัปตันมิลเลอร์รับบทโดยทอม แฮงคส์ พอเจอเข้ากับสภาพมิคสัญญีความหายนะและการสละเลือดเนื้อชโลมปฐพีรอบกาย เขาก็ไหลเข้าสู่สองแพร่งของภวังค์ ภาพในคำนึงของเขาจะไหลไปช้า ๆ เขาเห็นทหารรายหนึ่งหยิบแขนเฟะ ๆ ของตนเองขึ้นจากผืนทราย มิลเลอร์กลัวจนแทบบ้ากับชั่วอึดใจที่ทหารทุกคนหวาดหวั่น ชั่วอึดใจที่อาจกระชากสติจนกู่ไม่กลับ แต่มิลเลอร์ยังกุมสติไว้ได้ และผละออกมาจากภวังค์ร้ายได้
ภาพเหตุการณ์ทำนองเดียวกันถูกนำมาย้ำอีกครั้งในช่วงท้าย ๆ ของการพันตูอันยืดเยื้อเพื่อสำรวจลึกในภวังค์ของอัปฮัมนายทหารล่ามขี้ขลาด หนังสงคราม(นิยม)โดยมากมักกล่าวถึงอาการขี้ขลาดแบบขอไปที ราวกับเกรงจะเป็นเสนียดแก่ตา และมักจะเร้าอารมณ์ด้วยการโยนพวกใจปลาซิวไปอยู่กลางวงนักรบรายอื่น ๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของคนดู เพื่อให้ง่ายแก่การแยกแยะและก่อนประณามตัวเสนียดของสังคม และเป็นรอยแผลอุทาหรณ์คอยเตือนผู้คนมิให้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ในกรณีของอัพฮัมกลับตรงกันข้าม กล่าวคือมีการขยายภาพพฤติกรรมใจปลาซิวของเขาละเอียดยิบ และพิรี้พิไรกับเขาจนน่ารำคาญ นอกจากนี้ในการเล่าถึงความปวกเปียกของเขาก็มักมีเขาอยู่ในเหตุการณ์เพียงลำพังเสียอีก ความอ่อนแอของเขาจึงเป็นวาระส่วนตัวระหว่างเขากับคนดู เมื่อไม่มีมติสาธารณะมาคอยกดดันให้คล้อยตาม คนดูอาศัยเฉพาะความเลวทรามและน่าสมเพชของเจ้าตัวเป็นหลักในการพิพากษาอัพฮัม ควรกล่าวด้วยถึงเสี้ยวเล็ก ๆ ของอาการการเห็นกงจักรเป็นดอกบัว ของ SPR หนังจากภาพเหตุการณ์ขณะทหารลิ่วล้อพกความแค้นแน่นอกรุกคืบสูงลึกขึ้นไปยึดป้อมรักษาการของฝ่ายเยอรมันบนเนินผาได้สำเร็จ และกราดกระสุนใส่ทหารเยอรมันที่ยกอาวุธยอมจำนนอยู่ในสนามเพลาะ
ผู้ชมบางรายสับสนกับบทบาทการเป็นหนังต่อต้านสงครามของ SPR ขึ้นมาทันทีกับฉากดังกล่าว ขณะที่ The Thin Red Line ไม่มีหนามนี้ตำใจ แต่หากเข้าใจว่าธาตุแท้ของ SPR คือหนังเชิดชูวีรบุรูษในสงคราม(นิยม)พิทักษ์ปิตุภูมิ ก็จะช่วยบ่งหนามออกได้ เพราะทั้งสตีเว่น สปีลเบิร์กและทอม แฮงค์สต่างก็ออกตัวต่อสาธารณชนมาตลอดว่า จุดประสงค์ในการทำ SPR นั้นเพื่อเชิดชูวีรกรรมความเสียสละของพลรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อลบล้างความน่าสะพรึงกลัวที่ทหารเหล่านั้นประสบ และบางทีก็รวมถึงที่พวกเขารู้เห็นเป็นใจหรือลงมือในวีรกรรมโหดเพื่อชาติเสียเอง วัตถุประสงค์ของหนังสงคราม(นิยม)ก็เป็นดังนี้ สงครามของ SPR มีแสนยานุภาพความสมจริงล้ำหน้าหนังสงคราม(นิยม)ทุกเรื่องที่เคยมีมา หน้ำซำยังประกาศถือหางคติที่ว่า ปณิธาณอันถูกต้องและดีงามย่อมทรงสิทธิในการชี้ถูกชี้ผิด และแก้ต่างให้กับอาชญากรรมที่อยู่คู่กับมนุษย์
ฝ่ายที่ไม่สบอารมณ์กับ SPR ติว่าหนังขาดอารมณ์ละเมียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนการเร้าอารมณ์รักชาติ ทั้งนี้ก็เนื่องมาแต่การตั้งชื่ออันออกจะเป็นการบ่งบอกความเป็นหนังมากไปหน่อย บางคราความหมายเผิน ๆ ของ อารมณ์ละเมียด ก็ดูจะไม่ลงรอยกับการปลงสำนึกไม่ว่าจะยักย้ายไปในทางใด ดังมีนักวิจารณ์ที่เห็นด้วยกับคริสท์เล่ในเรื่องภาวะจิตวิญญาณของ Thin Red Line เรียกเสียใหม่ว่าเป็น"การตัดช่องน้อยดิ่งมุดสู่ห้วงอารมณ์" หนังสงคราม(นิยม)อมตะหักคอละเมียดด้วยการสร้างภาพบ้านคือวิมาน ซึ่งก็รวมถึงการปรุงภาพบ้านไร่ปลายนาอเมริกันขนานแท้และโดดเดี่ยวเสียวิจิตรบรรจง(Norman Rockwellish) (*) ในฉากนางไรอันไล่สายตาตามรถที่แล่นอยู่ในภูมิทัศนกว้างไกล เพื่อเข้ามาแจ้งข่าวการตายของบุตรชายเธอ เหตุใดจึงไม่ปรุงภาพออกมาในแนวสะท้อนชีวิตลำเค็ญหมองไหม้(Walker Evans) (**) ยังมีการถ่ายทอดภาพทำนองนี้อีกหลายเสี้ยวเหตุการณ์ในหนัง อย่างไรก็ตาม การนำเสนอค่านิยมปกป้องมาตุภูมิในหนังกลับเข้าทำนองท่าดีทีเหลว ขึ้นต้นจากกอไผ่ แต่สุดท้ายกลายเป็นบ้องกัญชา
(*)Norman Percevel Rockwell
(February 3, 1894 - November 8, 1978) was a 20th century American painter
and illustrator. His works enjoy a broad popular appeal in the United States,
where Rockwell is most famous for the cover illustrations of everyday life
scenarios he created for The Saturday Evening Post magazine over more than
four decades. (คลิกดูภาพประกอบที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Norman_Rockwellish)
(**)Walker Evans (November 3, 1903 - April 10, 1975) was an American photographer
best known for his work for the Farm Security Administration documenting the
effects of the Great Depression. Much of Evans' work from the FSA period uses
the large-format, 8x10-inch camera. He wrote that his goal as a photographer
was to make pictures that are "literate, authoritative, transcendent."[citation
needed] Many of his works are in the permanent collections of museums, and
have been the subject of retrospectives at such institutions as The Metropolitan
Museum of Art (คลิกดูภาพประกอบที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Walker_Evans)
เฉกเช่นเดียวกับหนังต้านสงครามเรื่องอื่น ๆ The Thin Red Line พาคนดูเข้าไปอยู่ใจกลางสงคราม
เพื่อย้ำว่าสงครามเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากเครื่องจักรทมิฬขนาดมหึมา ขับเคลื่อนโดยกลไกรัฐซึ่งมีพละกำลังมหาศาลขึ้นไปอีก
และปัจเจกชน ท้ายที่สุดเครื่องจักรสุดระห่ำนี้ก็จะพรากทุกสิ่งสู่กระบวนการแปรรูปไม่เว้นแม้แต่วัตถุดิบที่ไร้สมัครพรรคพวกและเขี้ยวเล็บ
หนังสงครามพิทักษ์มาตุภูมิตั้งป้อมว่า หากเรายอมรับในธรรมชาติอันดำมืดของสงคราม เราก็จำต้องยอมรับต่อไปอีกเป็นทอด ๆ ว่าอาจมีหรืออาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีผลข้างเคียงในรูปรอยแผลความอำมหิตติดมากับนักรบยามกลับเข้าบ้าน แต่ควรยกประโยชน์โดยเห็นแก่วีรกรรมอันเกริกเกียรติ ปฏิกิริยาตอบรับจากทหารผ่านศึกส่วนใหญ่ต่อฉากงานรำลึกวันยกพลขึ้นบก ซึ่งจัดขึ้นที่สุสานทหารอเมริกันผู้ร่วมในปฏิบัติการนอร์มังดี ณ คอลวิลล์ เซอร์ แมร์ อันเป็นตอนจบของ SPR ชี้ว่าพวกเขาเชื่อว่ามุมมองที่หนังใช้เล่าเรื่องนั้นสอดรับกับข้อเท็จจริง
จริงอยู่ SPR นั้นกินขาดในเรื่องภาพ ขณะที่หนังต้านสงครามหลายเรื่องที่เป็นผลพวงจากสงครามเวียดนามกลับให้ภาพบรรยากาศหม่นทึม แม้แต่ในช่วงเหตุการณ์ชงเชิดคติรักชาติ บางคนอาจเถียงว่าเหตุการณ์เยี่ยมคารวะสุสานทหารวีรชนนั้นเป็นเพียงชั่วเวลาสั้น ๆ และก็เกิดขึ้นกลางวันแสก ๆ ในความเป็นจริงก็ต้องยอมรับกันอยู่ในทีว่า วันรำลึกหาใช่มีเพียงธงชาติและพิธีไว้อาลัยแต่ยังกินความไปถึงชีวิตพิกลพิการจากสงครามครั้งต่าง ๆ และต้องเสียศูนย์ กลัดหนอง ทนทุกข์ ก็เมื่อปณิธานอลังการออกปานนั้น ไฉนหนังสงครามรักชาติจึงอาจไม่หลอกคนดูได้ตลอดรอดฝั่ง ส่วนหนังต้านสงครามนั้น จะมีน้ำยามากกว่าเอาแต่ตั้งคำถามง่าย ๆ ที่ว่า หรือมนุษย์จะหมดสิ้นหนทางยับยั้งมิให้สงครามต้องถลำสู่ความหฤโหดอยู่ร่ำไป ปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวหนัง แต่อยู่ที่มนุษย์อย่างเรา ๆ ลองต่อความยาวสาวความยืดกับเสียงบรรยายใน The Thin Red Line ดูสิว่า
"ปีศาจยักษ์ตนนี้มาจากไหน
แฝงตัวมาอยู่ในโลกได้อย่างไร เติบใหญ่จากเมล็ดพันธุ์ใด ด้วยรากใด ด้วยน้ำมือใคร
ใครกำลังฆ่าเรา พลังมืดขุมนี้อยู่ในตัวคุณด้วยรึเปล่า แน่ใจหรือว่าคุณผ่านพ้นคืนนั้นมาแล้ว?"
("This great evil, where's it come from? How'd it steal into the world?
What seed, what root, did it grow from? Who's doin' this? Who's killin' us?....Is
this darkness in you too? Have you passed through this night?")
แปลจาก:
A. Jay Adler. 2004. "The Altered State of War". http://www.brightlightsfilm.com/45/war.htm
คลิกกลับไปทบทวน วิเคราะห์ภาพยนตร์สงคราม(นิยม) และภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม (๑)
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com