ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




13-04-2551 (1531)

เอนกภพแห่งสงคราม: สวรรค์ นรก และ โครงสร้างของหนังสงคราม
วิเคราะห์ภาพยนตร์สงคราม(นิยม) และภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม (๑)
จักริน วิภาสวัชรโยธิน : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการศึกษา สถาบันภาษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เชิงอรรถเพิ่มเติม โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทวิเคราะห์ภาพยนตร์สงครามต่อไปนี้ กองบรรณาธิการฯ ได้รับมาจากผู้แปล
ถอดความจากต้นฉบับเรื่อง The Altered State of War
Heaven, Hell, and the Structure of the Combat Film โดย A. Jay Adler
สาระสำคัญเกี่ยวกับการวิเคราะห์ภาพยนตร์เชิดชูสงคราม และภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม
โดยเฉพาะภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม ๕ เรื่อง ประกอบด้วย
๑. All Quiet on the Western Front ผลงานของ Lewis Milestone
๒. Cross of Iron ผลงานของ Sam Peckinpah
๓. Apocalypse Now (Redux) ผลงานของ Francis Ford Coppola
๔. Full Metal Jacket ผลงานของ Stanley Kubrick
๕. The Thin Red Line ผลงานของ Terrence Malick
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๓๑
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๘ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



เอนกภพแห่งสงคราม: สวรรค์ นรก และ โครงสร้างของหนังสงคราม
วิเคราะห์ภาพยนตร์สงคราม(นิยม) และภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม (๑)
จักริน วิภาสวัชรโยธิน : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการศึกษา สถาบันภาษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เชิงอรรถเพิ่มเติม โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทคัดย่อ
นับแต่อดีต จวบจนปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาและมหาอำนาจตะวันตกอื่น ๆ จะในนามของฝ่ายสัมพันธมิตร สหประชาชาติ หรือผู้รักษาสันติภาพ ได้ส่งกำลังรบไปทำสงครามในสมรภูมิและจุดยุทธศาสตร์สำคัญของโลกหลายต่อหลายครั้ง ยิ่งมีการปะทุของไฟสงครามมากครั้งเท่าไหร่ ผู้กำกับภาพยนตร์ก็ยิ่งมีวัตถุดิบประเภทตำนานการรบจากยุทธภูมิต่าง ๆ ให้นำมาเล่าขานตีความตามแนวคิดและมุมมองของตนเองได้หลากหลายต่าง ๆ นานา หนังสงครามจึงไม่ได้มีแต่สถานการณ์สู้รบหูดับตับไหม้อีกต่อไป หากมีการพัฒนาความลึกของระดับการเล่าลงถึงระดับจิตใต้สำนึกของผู้ที่เกี่ยวข้องกับสงคราม

สองภาคของมนุษย์
หนังต่อต้านสงครามไม่ควรต้องปีนบันไดดู หากเน้นหนักไปด้านท้ารบทางปัญญาก็เห็นจะผิดวิสัย ไม่ว่าใครได้ใครเสียกับสงคราม แต่ผู้คนก็ใช่ว่าจะเห็นดีเห็นงามกับการทำสงครามไปเสียทุกครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับความสมเหตุสมผล แต่ต่อให้บ้าบิ่นเพียงใดก็ไม่เคยมีเอกชนหน้าไหนริอ่านลุกขึ้นก่อสงคราม บทบาทของพลเมือง-สามัญชนในประวัติศาสตร์การสงครามจึงอยู่ในมิติของวัฒนธรรม และการเป็นนายหน้าค้าสงคราม โดยชูภาพสงครามในฐานะกลไกส่งเสริมความมั่งคั่ง เกียรติภูมิ และแสนยานุภาพ แม้แต่ในยุคปัจจุบัน ก็ยังมีคนบางกลุ่มในสังคมหาประโยชน์จากสงคราม พฤติกรรมป่าเถื่อนของมนุษย์ที่กระทำต่อคู่ปรปักษ์ในสงคราม บวกกับสมมติฐานที่ว่าลำพังความขัดแย้งในการจัดสรรผลประโยชน์ ไม่น่าถึงขนาดชักพาให้คนจับอาวุธเข้าห้ำหั่นกัน แต่ต้องมีพลังแฝงเร้นบางขุมชักใยอยู่เบื้องหลัง คือ สองแหล่งจุดประกายและแรงบันดาลใจให้มีการจับความเป็นไปในแต่ยุทธภูมิขึ้นมาเล่าขาน แต่ท้ายที่สุดแล้ว หนังต้านสงครามเติบใหญ่จนกลายเป็นแบบแผนขึ้นมาได้ เพราะยึดมั่นในฐานความเชื่อที่ว่าโดยตัวสงครามเองมีแรงผลักดันเชิงโครงสร้างอยู่เบื้องหลัง

แต่ไม่ว่าจะเป็นหนังสงคราม(นิยม) หรือหนังต่อต้านสงคราม ต่างจำต้องอาศัยสถานการณ์สู้รบระหว่างไพร่พลที่ผ่านการฝึกปรือมาเป็นอย่างดีเป็นแหล่งคายประจุความคิดหลัก ข้อนี้เป็นเรื่องที่ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย จริงอยู่โครงสร้างเหล่านี้ในหนังทั้งสองจำพวกอาจดูเหมือน ๆ กัน แต่การให้ความหมายและโครงสร้างชนิดเดียวกันในหนังต่อต้านสงครามอาจใช้เป็นกระจกฉายส่องวิวัฒนาการและตีกรอบแนวคิดใหม่แก่ความหมายและโครงสร้างของหนังสงคราม(นิยม) ดังนั้น จึงควรเริ่มต้นจากการแยกธาตุหนังสงครามชนิดหลัง

ภาพยนตร์สงคราม ๒ ประเภท
หนังสงครามอาจแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็นสองจำพวกใหญ่ กับอีกหนึ่งพวกย่อยอันเป็นลูกผสมของสองจำพวกแรก

1. หนังสงคราม(นิยม) พวกแรก จะเป็นการสดุดีความเสียสละ ความรักชาติ และชัยชนะของวีรชนในหน้าประวัติศาสตร์อันไกลโพ้น หรือภายในชั่วรุ่น รวมถึงในสถานการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนจากสงครามเด่น ๆ ในตำนาน หนังจำพวกนี้ร่ำ ๆ จะก่อตัวเป็นแนวทางอันชัดเจนมานาน หากไม่ติดที่ไฟสงครามตามท้องเรื่องมักยังคุกรุ่น หรือยิ่งหากถึงขั้นยังมีการรบพุ่งกันอยู่ ผู้สร้างงานย่อมไม่อาจนำความอัปลักษณ์ของสงครามมาตีแผ่เพื่อถ่ายทอดความคิดของตนไว้ในตัวงานได้อย่างถนัดถนี่ ขืนทำเช่นนั้นรังแต่จะถูกตราหน้าว่าบ่อนทำลายชาติ

หนังสงครามพิมพ์จอห์น เวย์นอันเป็นกลุ่มงานที่เกือบจะแยกไปเป็นหนังหมวดหนึ่งเป็นการเฉพาะได้ นับเป็นตัวอย่างชั้นดีของหนังสงครามจำพวกแรก เวลาเปลี่ยนสำนึกและท่าทีทางการเมืองก็เปลี่ยนไป เมื่อกอปรกับความก้าวไกลของเทคโนโลยีการสร้างภาพยนตร์ หนังสงครามยุคปัจจุบันพลอยมีคุณภาพสูงขึ้นผิดหูผิดตา ดังจะเห็นได้จากภาพการทำศึกในสมรภูมิแห่งความทรงจำเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่สองของ Saving Private Ryan (*) อันถือเป็นการพลิกโฉมหนังหน้าสงครามด้วยภาพความวินาศสันตะโร ดุเดือด โหดร้าย อย่างสมจริงที่สุดเท่าที่อิทธิพลของปัจจุบันสมัยจะผลักดันไป. เฉกเช่นเดียวกับเหล่าขุนศึกใน The Last Samurai ล้วนเด็ดเดี่ยวลืมตายยามอยู่ในสมรภูมิ การพลีชีพในสมรภูมิถือเป็นการตายอันมีเกียรติและการต่อสู้แท้จริงแล้วคือวิถีชีวิต เพลงดาบไม่ว่าจะยามกวัดแกว่ง พลิกแพลง แทง เชือด ล้วนก็แลดูงดงาม

(*)Saving Private Ryan is a 1998 Academy Award-winning war film that is set during the D-Day invasion of Normandy in World War II and was directed by Steven Spielberg and written by Robert Rodat.

This film is particularly notable for the intensity of its opening 24 minutes, which depict the Omaha beachhead assault of June 6, 1944. Thereafter it presents a fictional search for a paratrooper of the United States 101st Airborne Division. While this part of the plot is a work of fiction, the premise is very loosely based on the real-life case of the Niland brothers. Saving Private Ryan was well received by audiences and garnered considerable critical acclaim, winning several awards for film, cast and crew as well as earning significant returns at the box office.

2. หนังสงคราม(นิยม)จำพวกที่สอง เป็นงานเพื่อแสดงการคารวะต่อเกียรติภูมิ ไม่ก็สรรเสริญวีรกรรมการต่อสู้ของนักรบผู้ยิ่งใหญ่ในแต่ละสายวัฒนธรรม หนังรุ่นหลังอย่าง Braveheart (*) และ The Last Samurai (**) ถือเป็นตัวอย่างของหนังจำพวกนี้ (จริงอยู่ Braveheart อาจมีคุณสมบัติมากพอจะเข้าข่ายเป็นหนังสงครามจำพวกแรกตามข้อเขียนนี้ ไม่ใยต้องกล่าวด้วยว่า ในบรรดาหมวดหมู่ ไม่ว่าจะในการจัดแบ่งครั้งนี้ หรือการทดลองเสนอในที่อื่น ๆ ย่อมต้องมีการคาบเกี่ยวทับซ้อนกันเป็นธรรมดา) ไพร่พลชาวสก็อตต์ใน Braveheart ส่วนมากไม่ได้เป็นทหาร มาตั้งแต่แรกก็จริง แต่หลังผ่านศึกจนโชกโชน กระทั่งเข้าสู่ครึ่งหลังของหนัง พวกเขากลายเป็นกำลังรบสมบูรณ์แบบทั้งกายและใจ ถึงพร้อมด้วยความเด็ดขาด หาญกล้า บ้าบิ่นและบ้าบอ เมื่ออยู่กลางสนามรบ ในตอนจบตัวเอกต้องเผชิญกับภาพนิมิตแห่งมรณกรรมอันน่าสังเวชของตน ตลอดจนรักแท้ และเสียงเพรียกของเสรีภาพซึ่งตามเยาะหยันยามตกอยู่ในทุกขเวทนา

(*)Braveheart is a 1995 historical action-drama movie produced and directed by Mel Gibson, who also starred in the title role. The film was written for screen and then novelized by Randall Wallace. Gibson portrays a legendary Scot, William Wallace, who gained recognition when he came to the forefront of the First War of Scottish Independence by opposing Edward I of England (portrayed by Patrick McGoohan) and subsequently abetted by Edward's daughter-in-law Princess Isabelle (played by Sophie Marceau) and a claimant to the Scottish throne, Robert the Bruce (played by Angus Macfadyen). The film won five Academy Awards at the 68th Academy Awards, including the Academy Award for Best Picture and Best Director, and had been nominated for an additional five.

(**)The Last Samurai is an action/drama film starring Tom Cruise. It was co-produced and directed by Edward Zwick, who also co-wrote the screenplay based on a story by John Logan. It was released in the United States on December 5, 2003. The plot deals with American soldier Nathan Algren (Tom Cruise) whose personal and emotional conflicts bring him into contact with samurai in the wake of the Meiji Restoration in the Empire of Japan in 1876 and 1877.

The film's plot is based on the 1877 Satsuma Rebellion led by Saigo Takamori, and also on the story of Jules Brunet, a French army captain who fought alongside Enomoto Takeaki in the Boshin War. The historical roles in Japanese westernization by the United Kingdom, the Netherlands and France are largely attributed to the United States in the film, and characters in the film and the real story are simplified for plot purposes. It is not an accurate source of historical information.

มาถึงหนังอีกพวกซึ่งเป็นลูกผสมของหนังสองจำพวกแรก ตัวชูโรงของหนังกลุ่มที่สามนี้ได้แก่หนังสงครามยุคทศวรรษ 1960 ซึ่งมุ่งสร้างความบันเทิงและบรรยายถึงความเก่งกล้าสามารถของบรรพบุรุษเป็นหลัก หนังอย่าง The Guns of Navarone(*), Von Ryan's Express(**) และ The Dirty Dozen(***) จะเดินตามสูตรการสร้างงานของฮอลลิวูดทุกกระเบียดนิ้ว ราวกับร่วมรณรงค์ให้เกิดความรักชาติอันเป็นอารมณ์แห่งยุคสมัยในหมู่อเมริกันชนยุคนั้น แต่เบื้องหลังก็เพื่อสร้างความสนุกสนานแก่คนดูด้วยภาพการห้ำหั่นกันอย่างถึงพริกถึงขิง และบ้ำระห่ำ จวนเจียนเข้าขั้นเป็นการมอมเมาให้คนดูให้หลงเทิดทูนในความกล้าหาญและชั้นเชิงการต่อสู้อันไร้เทียมทาน สงครามในหนังอาจมีไว้เพื่อสร้างความบันเทิงเป็นสำคัญก็จริง แต่ก็ไม่ใช่จะแฝงเจตนาจะขายสงครามเพื่อความมันเสียทั้งหมด

(*) The Guns of Navarone is a 1961 film based on a well-known 1957 novel about World War II by Scottish thriller writer Alistair MacLean. It starred Gregory Peck, David Niven and Anthony Quinn. The book and the film share the same basic plot: the efforts of an Allied commando team to destroy a seemingly impregnable German fortress that threatens Allied naval ships in the Aegean Sea, and prevents 2,000 isolated British troops from being rescued.

(**)http://en.wikipedia.org/wiki/Von_Ryan%27s_Express

(***)The Dirty Dozen is a 1967 World War II action-war film directed by Robert Aldrich, from the novel by E.M. Nathanson, featuring Lee Marvin, Ernest Borgnine, Telly Savalas, Charles Bronson and Jim Brown. Though ostensibly about World War II, the story deals with contemporary 1967 themes of individualism vs. collectivism, cultural relativism, internal and external racism, and their meanings within patriotism and duty in war. Such themes obliquely refer to the Vietnam War

หนังสงคราม(นิยม)ย่อมก่อให้เกิดความชอบธรรมในการทำสงครามและสร้างความคุ้นเคยระหว่างระหว่างสงครามกับมติสังคม. The Green Berets (*) หนังสงครามตีหัวหมาด่าแม่เจ๊กของจอห์น เวยน์ ที่ออกมาในยุคสงครามเวียดนาม เป็นหนังสงครามเรื่องเดียวที่มองข้ามสงครามในฐานะหายนภัย ขณะที่หนังสงคราม(นิยม)เรื่องอื่น ๆ มีการมองสงครามในแง่มุมนี้มากบ้างน้อยบ้างแม้ไม่ถึงขนาดลดทอนภาพการรบราฆ่าฟันจนคนดูจินตนาการไม่ออก. ในบรรดาหนังสงครามด้วยกัน Saving Private Ryan มีศักยภาพเหนือหนังเรื่องใดในการคั่วตำแหน่งสุดยอดหนังสงคราม แม้เกณฑ์การชี้ขาดของผู้สันทัดกรณีแต่ละคนอาจผิดแผกเพราะเป็นเรื่องลางเนื้อชอบลางยา แต่ทุกฝ่ายก็ยอมรับเป็นเสียงเดียวกันในความถึงอกถึงถึงใจ ถึงรสถึงชาติของความสมจริงในการถ่ายทอดภาพการรบที่ทั้งโกลาหล น่าตื่นตะลึง ตลอดจนการห้ำหั่นอย่างเอาเป็นเอาตายระหว่างมนุษย์ ยากจะหาหนังสงคราม(นิยม)เรื่องไหนมีคุณภาพทัดเทียม Saving Private Ryan

(*)The Green Berets is a 1968 film featuring John Wayne, George Takei, David Janssen, Jim Hutton, and Aldo Ray, nominally based on the eponymous 1965 book by Robin Moore, but the screenplay has little relation to the book.

Thematically, The Green Berets is strongly anti-communist and pro-Saigon. It was produced in 1968, at the height of American involvement in the Vietnam War, the same year as the Tet offensive against the largest cities in southern Vietnam. John Wayne was prompted by the anti-war atmosphere and social discontent in the U.S. to make this film in countering that. He requested and obtained full military co-operation and material from President Lyndon Baines Johnson. The U.S. Army's strict control of the script's depictions and equipment were reasons why Columbia Pictures, (who had bought the book's pre-publication film rights), and producer David L. Wolper, (who also tried to buy the same rights), changed their minds about making The Green Berets themselves.

John Wayne had always been a steadfast supporter of American involvement in the war in Vietnam. He had entertained the soldiers in Vietnam, and wanted The Green Berets to be a tribute to them. He co-directed the film, and turned down the "Major Reisman" role in The Dirty Dozen World War II anti-Nazi commando action movie to do so.

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเนรมิตฉากยกพลขึ้นบกในตอนเปิดเรื่อง แต่ก่อนแต่ไรภาพความทมิฬในสมรภูมิอันจะเป็นการเพาะความเกลียดกลัวสงครามในหมู่คนดู มักมาจากการคิดค้นและหาทางนำเสนอออกมาให้สอดคล้องกับมโนคติของหนังโดยฝ่ายผู้สร้างในฟากต่อต้านสงครามเพื่อกระตุ้นเตือนคนดูมิให้เห็นดีเห็นงามกับการทำสงครามในทุกกรณี แต่ในรายของ Saving Private Ryan กลับมีทั้งฉากการรบอันสมจริงยิ่งกว่าจริง ขณะเดียวกันก็ไม่ทิ้งลายการเชิดชูวีรกรรมความรักชาติตามขนบหนังกลุ่มรักชาติยิ่งชีพ การปฏิสนธิหนังสงครามพันธุ์ทางดังกล่าวของสปีลเบิร์กเป็นเหตุให้ Saving Private Ryan ธาตุไฟแตก และจะโทษใครไม่ได้นอกจากความทะเยอทะยานของเจ้าตัวเอง

หนังสงครามจะมีกันอยู่หลากหลาย บรรดาเกณฑ์การจัดแบ่งตระกูลก็คลุมเครือ ไม่เด็ดขาด ลองไล่ดูอาจประกอบด้วย หนังหวนรำลึกถึงความเกรียงไกรในยุทธการสำคัญ ๆ (The Longest Day, The Battle of the Bulge, Midway), หนังชีวประวัติและสอบสวนเชิงประวัติศาสตร์ (Patton, Schindler's List), หนังสงครามสร้างจากประสบการณ์จริงของบุคคล(Sergeant York, Born on the Fourth of July), หนังงัดข้อระหว่างมโนคติกับกิเลสของมนุษย์(Grand Illusion, In Harm's Way, Coming Home, The Deer Hunter) หนังเหล่านี้จะมีสัดส่วนของการปะทะ-ต่อสู้ลักษณะหนึ่งเจือปนอยู่ นั่นคือ การปะทะต่อสู้อันเป็นธาตุแท้ของหนังสงคราม

มิติเชิงลึกของภาพยนตร์สงคราม
หนังรบในทางลึกในที่นี้หมายถึงหนังที่มุ่งฉายให้เห็นสัจธรรมของการสู้รบในสงคราม แม้ว่าท้องเรื่องจะไม่ใช่แนวหน้า หรือ สมรภูมิก็ตาม แนวทางการนำเสนอเช่นนี้มีอยู่ทั้งในหนังสงคราม(นิยม)และต่อต้านสงคราม หน้าที่ของแนวทางการนำเสนอดังกล่าวไม่ว่าในโครงสร้างของแก่นเรื่องของหนังสงครามสายใด คือถ่ายทอดถึงสภาวะนรกภูมิของสงคราม สภาวะนรกภูมิจะเป็นรูปเป็นร่างและมีความหมายหนักแน่นขึ้นมาก็ด้วยการสร้างแรงเหวี่ยงทั้งในเชิงปัญญาญาณ เชิงศีลธรรมจรรยา เชิงอารมณ์ เชิงจินตกรรม ของอาณาบริเวณชนิดหนึ่งเพื่อสถาปนาการเป็นขั้วปรับกับสวรรค์

- หนังสงคราม(นิยม)เปรียบบ้าน เหมือนสวรรค์วิมาน ไม่ว่าจะด้วยแรงจูงใจอันสูงส่งเพียงใดแต่การหักเข้าตีและยึดครองพื้นที่สมรภูมิก็ยังเป็นรองอีกหนึ่งยอดปรารถนาในใจนักรบทุกคน นั่นคือ การได้กลับบ้าน กลับไปหาครอบครัว ไม่ว่าสภาพการณ์ของบ้านในห้วงก่อนที่ผู้ชายจะไปแนวหน้า จะทุกข์ยากลำเค็ญเพียงใด แต่บ้านในหนังสงคราม(นิยม)คืออุดมคติภพเสมอ ถึงอย่างไรบ้านก็มีไอสครีม มีมหรสพให้สำราญใจ มีเมียผู้ตั้งตาคอยผัวกลับ และมี"รักรออยู่"

- ส่วนสภาพนรกภูมิในหนังสงคราม(นิยม) จะเอ่ยผ่านความตายและพิษสงของสนามรบ ในเวลาทหารสวดขอพร พวกเขาอาจขอให้ได้ไปสู่สุขคติภพหากต้องมีอันเป็นไปในการรบ แต่เอาเข้าจริง "ที่ชอบๆ " อันเป็นความฝันใฝ่และหมายมุ่งจริง ๆ ของพวกเขาคือ บ้านและครอบครัว จะมียกเว้นบ้างก็จะเฉพาะในหนังปลุกเลือดรักชาติสุดรันทดจริง ๆ (ในตอนจบของ The Fighting Sullivans (*) 5 ศรีพี่น้องพากันเดินจากไปสู่สวรรค์) ถึงขนาดฝังกันทันควันหลังทหารผู้นั้นตายลง กระนั้นจุดใหญ่ใจความของหนังก็ยังอยู่ที่การถวิลหาภูมิลำเนาอยู่ดี เพียงแต่โอนมาอยู่บนบ่าผู้รอดชีวิตเท่าที่เหลือแทน

(*)The Fighing Sullivans, originally released as The Sullivans, is a 1944 biographical war film directed by Lloyd Bacon and written by Edward Doherty, Mary C. McCall Jr. and Jules Schermer. It was nominated for an Academy Award for Best Story.

The story follows the lives of the five Irish-American Sullivan brothers, who grew up in Iowa during the days of the Great Depression and served together in the United States Navy during World War II. Their eventual deaths in the Pacific theater aboard the light cruiser USS Juneau (CL-52) (sunk on 13 November 1942 during the Naval Battle of Guadalcanal) are also chronicled in this film, which is based on the brothers' true life story.

หนังสงครามร้อนซ้อนสงครามในห้วงลึกของมนุษย์ไม่ค่อยใช้ประโยชน์จาก การสร้างสภาวะคู่ปรับระหว่างนรกกับสวรรค์ ธรรมชาติของในหนังสงคราม(นิยม)เองเอื้อต่อการฉายภาพตัวแทนของนรกในสงคราม เพราะหนังเหล่านี้ไม่ได้มุ่งตีแผ่ภาพความบ้าคลั่งของสงครามให้เห็นกันกะจะตา สมรภูมิในหนังประเภทนี้มักสร้างจากวงล้อมความอื้ออึงและเอ็ดอึงของเสียงลูกกระสุนแล่นเฉียดตัวละคร หรือเสียงระเบิด รถถังบุกตะลุย เสียงเผาไหม้จากเปลวเพลิงของคมกระสุน เสียงคนเจ็บโอดโอย เสียงสั่งการ และเสียงตะโกนโหวกเหวกในหมู่ทหาร ยิ่งในฉากมีการรบกันดุเดือดมากเท่าไหร่ เสียงก็จะยิ่งดัง และกินเวลาเนิ่นนานยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ว่ากันตามสูตร หนังสงคราม(นิยม)จะจบลงด้วยการยุติสงคราม เมื่อเสียงยิงกันหูดับตับไหม้เงียบลง ก็ได้เวลาที่เหล่าผู้ผ่านศึกจะดั้นด้นกลับบ้าน พอถึงฉากตัวละครผ่านศึกคืนเรือนทีไร หนังแนวสงคราม(นิยม) มักเนรมิตภาพภูมิประเทศและบรรยากาศพาฝันราวกับตัวละครพวกนี้ได้ไปสู่สุคติภพ ซึ่งผิดแผกกับภาพในสมรภูมิโดยสิ้นเชิง หนึ่งในท่าไม้ตายลูกจบของหนังแนวนี้ดังที่กล่าวมีให้เห็นใน Battle Cry ภาพของบ้านในฐานะสวรรค์ ในตอนจบของหนึ่งในสุดยอดหนังสงคราม(นิยม)อมตะเรื่องนี้ แตกต่างกับภาพสงครามในฐานะอเวจีลิบลับเหมือนอยู่คนละโลก เสียงอึกทึกอื้ออึงจากสมรภูมิถูกแทนที่ด้วยความเงียบสงัดของที่ ๆ เรียกว่าบ้าน เป็นธรรมดาอยู่เองที่ย่อมไม่มีใครไม่แปรเปลี่ยน หลังหลงเข้าไปในโลกอื่นชั่วเวลาหนึ่งและกลับออกมา(จากนรก)ได้ ถึงจะกลายเป็นคนมีบาดแผล แต่วีรชนผู้ผ่านศึกในหนังสงคราม(นิยม)ย่อมแข็งแกร่งขึ้นและดีขึ้นเป็นคนละคนเมื่อเทียบกับก่อนไปรบ

(*)Battle Cry is a 1955 film, starring Van Heflin, Aldo Ray and James Whitmore. The movie is based on the novel by Leon Uris, who also wrote the screenplay, and was produced and directed by Raoul Walsh. It received an Academy Award nomination for Scoring of a Dramatic or Comedy Picture.

Battle Cry และ Saving Private Ryan ต่างก็เดินตามสูตรนี้ พลไรอันเปี่ยมด้วยกตเวทิตาธรรม และน่าสรรเสริญอยู่เป็นทุนเดิม เขาไม่ทอดทิ้งสหายร่วมรบทั้งที่สถานการณ์เป็นใจในตอนอวสานของสงครามใกล้เข้ามา แต่กัปตันมิลเลอร์ผู้กำลังหมดลมหายใจก็บอกไรอันให้"ฉกฉวยโอกาส" เพราะการเสียสละเพื่อผู้อื่นย่อมเป็นการช่วยชีวิตตนเอง และฉากจบของหนังไม่ได้ยกเหตุผลมาอ้างให้คนดูมองว่าเขาไม่ได้ฉวยโอกาส

หนังต่อต้านสงครามขับแผ่แก่นความคิดซอกซอนผ่านออกมาตามโครงสร้างอันประกอบด้วย นรกภูมิ สวรรคภูมิ และสภาวะคนละโลกเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในสงคราม เช่นเดียวกับหนังสงคราม(นิยม) แต่ในการฉายถึงธรรมชาติของสวรรค์ภูมิ และภาพนรกภูมิในหนังต่อต้านสงครามไม่เพียงเป็นการล้มล้างภาพพื้นฐานเดิม ๆ ของภพภูมิทั้งสอง หากยังเป็นการเล่าจากจุดยืนตรงที่ต่างกัน นอกจากนี้ ด้านอัปลักษณ์ของโฉมหน้าของสงครามในหนังต่อต้านสงครามมักสร้างความหวั่นผวาได้เหนือกว่าโฉมหน้าเดียวกันในหนังสงคราม(นิยม) แต่ก่อนจะลงลึกสู่เข้าสู่การพิจารณาหนังต่อต้านสงคราม 5 เรื่องอันประกอบด้วย

- All Quiet on the Western Front ผลงานอันทรงอิทธิพลในหมู่หนังสงครามของ หลิวส์ ไมล์สโตน(Lewis Milestone) (1)
- Cross of Iron งานอับชื่อของ แซม แพ็คกินพ่าห์(Sam Peckinpah) (2)
- Apocalypse Now (Redux) ผลงานของ ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโพลา(Francis Ford Coppola) (3)
- Full Metal Jacket ของ สแตนลีย์ คิวบริก(Stanley Kubrick) (4)
- The Thin Red Line โดย เทอร์เร็นซ์ มาลิก(Terrence Malick)สมควรจะสร้างความกระจ่างต่อนิยามในภาคปฏิบัติของการ"ต่อต้านสงคราม" (5)


(1) All Quiet on the Western Front (German: Im Westen nichts Neues) is an anti-war novel written by Erich Maria Remarque, a German veteran of World War I, about the horrors of that war and also the deep detachment from German civilian life felt by many men returning from the front. The book was first published in German as Im Westen nichts Neues in January 1929. It sold 2.5 million copies in twenty-five languages in its first eighteen months in print.[1] In 1930 the book was turned into an Oscar-winning movie of the same name, directed by Lewis Milestone.

(2) Cross of Iron is a 1977 war film directed by Sam Peckinpah, featuring James Coburn, James Mason, Maximilian Schell, and David Warner.

Set in 1943 on the Eastern Front of World War II, Cross of Iron is the story of the class conflict between a newly-arrived, aristocratic officer who covets the Iron Cross and a cynical, hardened infantry platoon leader in a Wehrmacht regiment during the German retreat from the Taman Peninsula on the Black Sea coast of the Soviet Union.

Cross of Iron is based upon the novel The Willing Flesh, by Willi Heinrich, published in 1956; it might be loosely based on the true story of Johann Schwerdfeger.[1] As typical of Sam Peckinpah's action films, much of this war movie's action is in slow motion, iterating the anti-war message.

(3) Apocalypse Now is a 1979 Academy Award, Cannes Palme d'Or and Golden Globe winning American film set during the Vietnam War. It tells the story of Army Captain Benjamin L. Willard who is sent into the jungle to assassinate United States Army Special Forces Colonel Walter E. Kurtz (played by Marlon Brando), who is said to have gone insane. The film has been viewed as a journey into the darkness of the human psyche.

The film was directed by Francis Ford Coppola from a script by Coppola, John Milius and Michael Herr, and was in large part based on Joseph Conrad's novella Heart of Darkness (1899), as well as drawing elements from Herr's "Dispatches" (1977), and from Werner Herzog's Aguirre, the Wrath of God (1972); Coppola himself has noted, "Aguirre, with its incredible imagery, was a very strong influence. I'd be remiss if I didn't mention it."

Apocalypse Now Redux is an extended, definitive version of Apocalypse Now. Unlike other new cuts of the film, Redux is usually considered by fans and critics, as well as director Coppola, as a completely new movie altogether. The movie adds 49 minutes of all-new material, and represents a significant re-edit of the original Apocalypse Now. The movie came into production when Coppola concluded that his original cut was tame by today's standards. Coppola, along with editor/long-time collaborator Walter Murch, then added several scenes that enhanced the surrealism in the original story. The film was distributed by Miramax Films, whilst the original cut was distributed by United Artists.

(4) Full Metal Jacket (1987) is an Academy Award-nominated[1] Stanley Kubrick film based on the novel The Short-Timers by Gustav Hasford. The title refers to the type of ammunition used by infantry riflemen. The film portrays the urban Vietnam War fought by the U.S. Marines. In 2005, Full Metal Jacket was placed #5 in Channel 4's The 100 Greatest War Films poll.

(5) The Thin Red Line is an Academy Award-nominated 1998 war film which tells a fictional story of United States forces during the Battle of Guadalcanal in World War II with the focus on the men in C Company, most notably Private Witt (James Caviezel) and his conflicted feelings about fighting in the war, Colonel Tall (Nick Nolte) and his desire to win the battle at any cost in order to get a promotion, and Private Bell (Ben Chaplin) and the dissolution of his marriage back home while he fights in the war.

The film marked director Terrence Malick's return to filmmaking after a twenty year absence. Malick adapted the screenplay from the novel of the same name by James Jones, which had previously been adapted in a 1964 film. The film features a large ensemble cast. The project took 20 years to make as Malick spent years researching and deciding whether or not to do it. Once it was announced that he would be returning to filmmaking, many big name movie stars expressed interest in appearing in the film, including Robert De Niro, Kevin Costner, Tom Cruise and Brad Pitt. Billy Bob Thornton, Martin Sheen, Gary Oldman, Jason Patric, Bill Pullman, Lukas Haas, Viggo Mortensen and Mickey Rourke acted in the movie, but their scenes were eventually removed. Reportedly, the first assembled cut took seven months to edit and ran three and a half hours, with Thornton contributing three hours of narrative voice-over material, none of which was ultimately used.

วิเคราะห์ภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม
มีหนังต่อต้านสงครามที่มองสงครามจากจุดยืนขันติธรรมโดยตลอดรอดฝั่งอยู่ไม่มาก(หากจะมี) การสร้างกับดักแห่งนิยามเพื่อจับงานศิลปะมาติดตราเป็นเรื่องยาก และคุณค่าความหมายแห่งงานศิลปะอาจเลือนลับหากจ้องแต่จะหาตราไปประทับ อย่างดีก็ได้แค่ตีกรอบเอาไว้หลวม ๆ แต่ในกรณีของหนังต่อต้านสงครามดูเหมือนว่าในหมู่คนที่เป็นปลื้มกับหนังจำพวกนี้ จะมีสัดส่วนของคนที่ขนานนามตัวเองเป็นนักสันติภาพนิยมอยู่น้อยยิ่ง บางคนอาจมองว่าการที่ เดวิด เดลลิงเจอร์(David Dellinger)(*) และเบยาร์ด รัสติน( Bayard Rustin)(**)ยอมติดคุกแทนการไปรบในสงครามโลกครั้งที่สองถือเป็นการทดสอบหาความเป็นนักสันติภาพนิยมของแท้

(*)David Dellinger (August 22, 1915 - May 25, 2004) was a pacifist and activist for nonviolent social change, and one of the most influential American radicals in the 20th century. He was most famous for being one of the Chicago Seven, a group of protesters whose disruption of the 1968 Democratic National Convention in Chicago led to charges of conspiracy and crossing state lines with the intention of inciting a riot. The ensuing court case was turned by Dellinger and his co-defendants into a nationally-publicized platform for putting the Vietnam War on trial. On February 18, 1970, they were acquitted of the conspiracy charge but five defendants (including Dellinger) were convicted of individually crossing state lines to incite a riot. Two years later, on 21 November 1972, these convictions were overturned by the Seventh Circuit Court of Appeals due to errors by US District Judge Julius Hoffman.

(**)Bayard Rustin (March 17, 1912 - August 24, 1987) was an American civil rights activist, important largely behind the scenes in the civil rights movement of the 1960s and earlier, and principal organizer of the 1963 March on Washington for Jobs and Freedom. He counseled Martin Luther King, Jr. on the techniques of nonviolent resistance. Rustin was openly gay [1] and advocated on behalf of gay and lesbian causes in the latter part of his career.

ในทางตรงกันข้าม แม้ปมขัดแย้งหนังต่อต้านสงครามแต่ละเรื่องจะมีขอบเขตเฉพาะและเป็นเอกเทศต่อกัน แต่ไม่เคยมีพลังการวิพากษ์ของหนังจำพวกนี้ เรื่องใดที่จะหยุดอยู่แค่รัศมีของวงขัดแย้งตามท้องเรื่อง ความข้อนี้ใช้ได้กับหนังที่จะกล่าวถึงข้างหน้า 5 เรื่องและรวมไปถึงหนังว่าด้วยสงครามเวียดนามทั้งหลายด้วย หนังอาจยืมสงครามร่วมสมัยอันเป็นเผือกร้อนของสังคมมาเป็นท้องเรื่อง แต่หนังก็ล้วนพากันร่ายยาวออกนอกสมรภูมิหลักของเรื่องอยู่เป็นประจำ จึงมักลงเอยจะหนักไปในทางวิเคราะห์วิจารณ์นโยบายและโต้แย้งในเชิงยุทธศาสตร์ มากกว่าจะเป็นการประกาศไม่สังฆกรรมกับสงคราม นับเป็นการล้ำเส้นไปเล่นบทบาทการวิพากษ์อย่างเอาเป็นตาย ซึ่งควรปล่อยให้ภารกิจของหนังสารคดี

ในประการถัดมา หนังต่อต้านสงครามไม่ใช่ชุดกัณฑ์เทศน์พร้อมสวด จึงย่อมหาความสอดคล้องลงรอยทั่วไปหมดในตัวเองไม่ได้ และการคว่ำบาตรมีลักษณะเหมารวม ไม่แยกแยะถึงความสมเหตุสมผลระหว่างความจำเป็นในการทำสงครามกับระดับขั้นการใช้ความรุนแรงในการทำสงคราม และหนังต่อต้านสงครามก็ไม่ใช่ประเด็นการต่อสู้ทางการเมืองแบบไฟไหม้ฟาง สงครามอาจผ่านเลยแต่ประเด็นการต่อสู้ไม่เคยตกไป แท้จริงแล้วหนังต่อต้านสงครามไม่ว่าจะมาในกระบวนท่าใด ล้วนไม่พ้นเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างของตัวสงคราม รวมถึงพลังผลักดัน ตลอดจนตัวมนุษย์ในฐานะหมากและเหยื่อของสงคราม เรื่อยไปจนถึงการสำรวจสถานะของสงครามในความรู้สึกของสังคม ทั้งนี้ ในการค้นหาโครงสร้างดังกล่าว เป็นไปได้ว่า สิ่งที่หนังต่อต้านสงคราม มุ่ง"ต่อต้าน"นั้นอาจไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ผิดกับหนังวีรกรรมในสงครามกู้ชาติที่มักเตรียมเลือดรักชาติ และความสะใจไว้ฟอกย้อมรสชาติสงครามไว้เป็นอย่างดี

All Quiet on the Western Front ภาพยนตร์เรื่องนี้ ถือเป็นงานที่ครบเครื่องด้วยการวางโครงสร้างและกระบวนท่าหนัง ไม่ว่าจะเทียบเข้ากับขนบของฝ่ายหนังต่อต้านสงครามหรือหนังสงครามโดยทั่วไป AQWF (All Quiet on the Western Front )(*) มีภาพชัดลึก(deep-focus shot) จากการยิงกล้องผ่านกรอบหน้าต่างเพื่อจับภาพทิวทัศน์มุมกว้าง 2 ฝีภาพ ครั้งแรกในตอนต้นของหนัง เป็นภาพจากการยิงกล้องทะลวงหน้าต่างชั้นเรียนของตัวละครชื่อ พอล เพื่อเก็บภาพตัวเมืองเบื้องนอก และอีกครั้งเป็นการยิงกล้องออกมาจากหน้าต่างบ้านหลังหนึ่งเพื่อเก็บภาพความชุลมุนของกองทหารที่พอลสังกัด ขณะรุกเข้าประชิดพื้นที่ยึดครองของฝ่ายเยอรมันใกล้ ๆ แนวหน้า การมีฝีภาพท่วงทีเดียวกันเพียงสองภาพในหนังโดยที่ครั้งหนึ่งกล่าวถึงบ้าน และอีกครั้งกล่าวถึงสนามรบ ด้วยเหตุที่ในการเล่าถึงบ้าน จะมีเหล่าทหารแปรขบวนเพื่อฉลองชัยในสงครามผ่านมาเข้ามาในฉาก ย่อมบอกเป็นนัยว่า แม้แต่ในถิ่นสวรรค์ก็ยังมีส่วนเสี้ยวของนรกให้เห็น

หนังสงคราม(นิยม)หลายต่อหลายเรื่อง มักจับเหตุการณ์ตอนทหารจากบ้านไปสู่สนามรบมาเล่า และภาพของบ้านในหนังเหล่านี้ จะออกมาในเชิงเป็นขั้วตรงข้ามของสภาวะสงคราม หาใช่มีการแยกตัวออกไปเป็นสภาวะเคียงขนานหรืออยู่คนละโลกกับสงคราม เอาเข้าจริงกลายเป็นว่า บ้าน ทั้ง All Quiet on the Western Front เอง หรือหนังรุ่นหลัง ๆ กลับมีสถานะเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบป้อนสงครามมากกว่าจะเป็นคู่ปรับของสงคราม และการคืนสู่เหย้าของบรรดาทหารหาญก็เป็นผลจากคนเหล่านั้นแกร่งพอในโลกของสงคราม จึงหวนกลับสู่มาตุภูมิได้อย่างสนิทใจ

พอลและสหายใน AQWF พานพบสารพัดประสบการณ์ขวัญกระเจิงทั้งจากสงคราม และการเล่าเหตุการณ์ตามขนบหนังสงคราม ไล่ตั้งแต่การฝึกอันโหดหิน ฉากเสียวสันหลังครั้งแรกเป็นการวางกับดักเพื่อวัดกำลังขวัญ ด้วยกระสุนที่ฝ่ายฝรั่งเศสระดมยิงใกล้หลุมหลบภัยของพอลเข้ามาเรื่อย ๆ เหล่าทหารภายในหลุมหลบภัยต่างกลัวจนตัวสั่น และแล้วหนึ่งในหน่วยรบถลันออกจากหลุมหลบภัย และถลาเข้าหาลูกปืน ฉากทหารตบะแตกดังกล่าวกลายเป็นฉากขาประจำในหนังสงคราม ทศวรรษแล้วทศวรรษเล่าต่อมาก็ยังมีทหารขวัญอ่อนรายแล้วรายเล่าต้องด่าวดิ้นด้วยอาการวิปลาสดังกล่าว เช่นเดียวกับที่หนังสงคราม(นิยม)รุ่นถัด ๆ มายังหากินกับฉากดังกล่าวได้ และถึงในกาลต่อมาฉากสัจธรรมทางจิตวิทยานี้จะกลายเป็นท่าบังคับของหนังสงคราม(นิยม) เพื่อสั่งสอนว่าคนใจปลาซิวมักไม่ได้ตายดีในสมรภูมิ กระนั้นมุมมองของ AQWF ในการเล่าความเป็นไปดังกล่าวก็มาจากคนละตำแหน่งที่หนังต่อต้านสงครามรุ่นถัดมานิยมใช้ เป็นจุดยืนเพื่อวาดภาพนรกภูมิในสงคราม

หนังสงคราม(นิยม)จัดอยู่ในจำพวกหนังสัจนิยมภววิสัย มีการถ่ายทอดภาพและผลของการรบพุ่งให้เห็นอย่างจะแจ้ง แต่หากใช้ความสังเกตการณ์ให้ดี และรื้อกระพี้ส่วนพ่วงทิ้งไปจนเหลือแต่เนื้อแท้ของหนัง คนดูในฐานะผู้สังเกตการณ์ก็จะได้เผชิญหน้าตัวต่อตัวกับความเป็นไปในหนัง กระนั้น กระสุนทุกนัดที่ยิงกัน ระเบิดทุกลูกที่ถล่มกัน แม้แต่ร่างมนุษย์ที่ล้มคว่ำ แต่เอาเข้าจริง คนดูก็เข้าไม่ถึงรสชาติความเป็นความตายในแห่งสมรภูมิอยู่นั่นเอง ต่อให้ยิงกันหูดับตับไหม้ ถล่มระเบิดกันเข้าไป หรือคนจะล้มตาย(นาน ๆ ครั้งถึงจะมีขนาดร่างฉีกกระจุย หรือ เลือดสาด)เป็นเบือให้เห็นอยู่ต่อหน้าต่อตาก็ตาม ลักษณะดังกล่าวก็อาจจะเข้าข่ายสัจนิยมภววิสัย(objective realism) อยู่เหมือนกัน แต่เนื่องจากงานเหล่านี้เป็นการนำผักชีสัจนิยมมาโรยหน้าเนื้องานที่ปราศจากสัจธรรม ดังนั้น งานเหล่านี้สมควรจะอยู่ในกลุ่ม สัจนิยมยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม ถึงจะถูก

ความพยายามของ AQWF ในการถ่ายทอดสภาวะและภาพของสงครามในห้วงคำนึงของมนุษย์ภายใต้ข้อจำกัดจากการลองผิดลองถูกได้กลายเป็นแนวทางสำหรับหนังต่อต้านสงครามรุ่นต่อ ๆ ในการสำรวจจิตใจมนุษย์ลึกลง ๆ ไปอีก ประสบการณ์จากสมรภูมิที่ตกตะกอนอยู่ในใจคือตัวเหนี่ยวนำให้เกิดการเลี่ยงหลบสู่สภาวะอื่นในตัวสงคราม และรูปการณ์ของสภาวะที่เป็นผลจากการเลี่ยงหลบนั้นไม่แคล้วย่อมจะเป็นไปในทางที่ผู้เข้าร่วมสังฆกรรมในสมรภูมิหมายมั่นปั้นมือเอาไว้ ส่วนเสี้ยวของความบิดเบี่ยงหลีกเร้นในตัวตนทหารในหนังต่อต้านสงครามซึ่งรวมถึงใน AQWF ด้วยนั้น จะมาในรูปอาการแปลกแยกกับโลกของบ้าน อันเป็นสถานที่ที่ทหารในหนังสงคราม(นิยม)นับวันรอจะกลับไป

ใน AQWF พอลถูกส่งตัวกลับจากแนวหน้าเพื่อพักฟื้นอาการบาดเจ็บที่บ้าน พอเข้าบ้านเขาก็ต้องขวัญเสียกับข่าวแม่ไม่สบาย พอลยังฉงนและวางตัวไม่ถูกในโลกที่เปลี่ยนไปผิดหูผิดตาโดยเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแม้แต่น้อย ทั้งหมดเป็นการตอกย้ำว่า พอลหลุดไปอยู่โลกอื่นมานานเสียจนสูญสิ้นความเป็นพอลคนเดิม แม้แต่แม่ของเขาก็อดสงสัยไม่ได้ว่า"เป็นทหารแล้วเหมือนคนอื่นคนไกล" การได้เจอคนรุ่นครูที่สอนเขามา เจอพ่อ และเพื่อน ๆ ของพ่อระหว่างได้ลาป่วยกลับบ้าน พอลถึงได้ตระหนักว่า ผู้ใหญ่เหล่านี้ไม่สำนึกด้วยซ้ำว่าพวกตนเป็นตัวตั้งตัวตี นับประสาอะไรจะมารู้สึกรู้สากับสิ่งที่เขาพบเจอมาจากแนวหน้า โลกของสงครามไม่ได้ตัดขาดกับโลกของบ้าน หากแต่ถือกำเนิดมาจากโลกของบ้าน โดยนัยนี้ทหารจึงไม่ต้องออกรบเพราะเขามีสงครามติดตัวมาแต่อ้อนแต่ออก

พอลเหยียบย่างเข้าห้องนอนเก่าของตัวเอง เขามองฝาผนังบุภาพการยุทธแถบเทือกเขาแว่บหนึ่ง เศษซากของทิฐิจากความไร้เดียงสากลายเป็นคนแปลกหน้าในห้องของเขา บ้านกลายเป็นสถานที่ที่สร้างความอึดอัดคับข้องใจแก่พอลไปเสียฉิบ จนในที่สุดพอลต้องขอกลับเข้าประจำการก่อนครบกำหนดการลา เพื่อกลับสู่แนวหน้าอันเป็นที่ที่เขารู้สึกถึงความเป็นบ้าน แต่แล้ว ณ ใจกลางสมรภูมิ ระหว่างที่พอลออกจากสนามเพลาะไปหาผีเสื้อ อันเป็นเสมือนสวรรค์ที่ลอยลับไปจากเขา เจอเข้าไม้นี้ย่อมบอกเป็นลางว่าผีเสื้อเป็นสิ่งที่พอลต้องเอาชีวิตเข้าแลก

หนังอีก 4 เรื่องที่เหลือล้วนเป็นงานจากยุคทศวรรษ 1970 ตอนกลาง ออกฉายให้หลัง AQWF ถึงกว่า 40 ปี ถึงจะมีหนังสงครามชั้นดีที่จัดเข้าจำพวกหนึ่งจำพวกใดได้ลำบาก อย่าง Paths of Glory (*) ของสแตนลี่ย์ คูบริก(Kubrick) ออกมาฉาย แต่ด้วยพิษสงของสงครามโลกครั้งที่สอง หนังวีรบุรุษสงครามมีอันต้องตกอยู่ในภาวะซบเซาอยู่กว่า 20 ปีและการผ่าเหล่าไปสู่หนังสงครามมุ่งบันเทิงเกิดขึ้นในช่วงนั้น

(*)Paths of Glory (1957) is a black and white film by Stanley Kubrick based on the novel of the same name by Humphrey Cobb. Paths of Glory is a starkly realistic recital of French army politics in 1916 during World War I. While the subject is well handled and enacted in a series of outstanding characterizations, it seems dated and makes for grim screen fare.

หนังต่อต้านสงครามกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้งด้วยอานิสงส์จากสงครามเวียดนาม พร้อม ๆ กับวัฏจักรขาขึ้นของกระแสต่อต้านสงครามในครั้งนั้น นับแต่นั้นมาภาพบ้าน คือวิมานก็ถูกลบล้างออกจากฉากการเล่าจนเหี้ยน หากพลทหารเบลล์แห่ง The Thin Red Line ไม่เกิดอาการฝันหวานใจลอยกลับไปหาเมีย ภาพของบ้านก็อาจไม่ได้ผุดได้เกิดบนจอหนังสงครามอีกเลย อันความสงบโล่งหูเบื้องหลังเสียงบรรยาย ท่ามกลางบรรยากาศอุ่นใจ ชวนฝัน จากการใช้แสงอ่อนโยน และมุ่งลบคมเส้นสายและความจัดจ้านในสีสันขององค์ประกอบในภาพเพื่อสร้างความละมุนภายในกรอบภาพ เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวของวัตถุในภาพ ส่งผลให้ฉากเบลล์คิดถึงเมียจึงแทบจะเป็นเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้า เอาเข้าจริงทั้งหมดเป็นก็วิมานในอากาศ ในความเป็นจริงเมียของเบลล์มีใจกับชายอื่นไปแล้ว และเธอกำลังจะกระทำการอันเลือดเย็นและเห็นแก่ตัวจนผิดมนุษย์ นั่นคือการเขียนจดหมายถึงทหารในแนวหน้าด้วยอาการปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ ด้วยการขึ้นต้นว่า จอห์นที่รัก ลูกไม้การบอกเป็นลางว่าอาจมีคนดวงถึงฆาต และบั่นทอนขวัญกำลังใจของนักรบในการเอาตัวรอดจากแนวหน้าอย่างนี้ ไม่มีให้เห็นกันได้บ่อยในการเล่าหนังสงคราม(นิยม) แต่จนแล้วจนรอดเบลล์ก็ไม่ได้ล้มหายตายจากคนดูไปแต่อย่างใด

ถึงสวรรค์จะล่มสลาย แต่ทหารในหนังต่อต้านสงครามมักมีศักยภาพในการประคับประคองตน ซ้ำยังมีการปรับตัวเข้ากับนรกได้อีกด้วย คุณสมบัติข้อนี้ ถือเป็นตัวอย่างของการมองโลกทั้งในแบบพื้น ๆ และบ้าบิ่นของหนังต่อต้านสงคราม จำต้องเข้าใจด้วยว่ากระบวนการตัดหางปล่อยวัดทหารจากวิมานแห่งบ้าน ไม่ใช่จะบริบูรณ์ในพริบตาที่ทหารคนหนึ่งจรดเท้าออกจากบ้าน หรือตกอยู่ในสถานการณ์ไร้ปัจจุบันและมองไม่เห็นอนาคตของตนเองเท่านั้น หากต้องทหารผู้นั้นต้องเผชิญวิกฤติของการสาบสูญไปของอดีตอีกด้วย กล่าวให้ถึงที่สุด ต้องเกิดการตระหนักโดยตัวทหารเองว่า แม้แต่บ้านที่คิดว่าเคยมีอยู่ก่อนสงครามนั้น แท้จริงแล้วไม่เคยมี

เหล่าตัวละครหลักใน Apocalypse Now (Redux), Cross of Iron และ Full Metal Jacket ก็เป็นเช่นเดียวกับ พอลใน AQWF กล่าวคือ หากไม่ล้มเลิกความหวังในการคืนสู่เหย้า พวกเขาก็มักมีอันต้องสลัดความคิดที่ว่าบ้านเป็นความเที่ยงแท้มั่นคงทิ้งไป. ในกรณี Apocalypse Now คนที่เลิกคิดถึงบ้าน ใช่แต่จะมีเฉพาะผู้พันเคิร์ทซ์, ตัวร้อยเอกวิลเลิดเองก็หาได้มีแผนจะกลับถิ่นฐานหลังจบสงคราม (เห็นได้จากฉากกู้ซากเรือกสวนที่เพิ่มเข้ามาในฉบับ Redux). ส่วนใน Cross of Iron สิบเอกชไตน์เนอร์(รับบทโดย เจมส์ โคเบิร์น - James Coburn) ละทิ้งโอกาสที่จะได้กลับบ้านและขออยู่ครองรักกับอีวาพยาบาลที่เขาเจอในระหว่างพักฟื้นจากอาการบาดเจ็บ สไตนเนอร์พูดออกมาชัดถ้อยชัดคำว่า"ผมไม่มีบ้าน"

ในกรณีที่ซับซ้อนขึ้นไปอีกต้องยกให้หนังซ่อนคมเยาะหยันอย่าง Full Metal Jacket ในงานชิ้นนี้มีการอ้างอิงกลับไปยังภูมิหลังตัวละครทหาร เมื่อครั้งเป็นพลเรือนเต็มขั้นอยู่กับบ้านอยู่เพียงสองครั้ง ครั้งแรกในตอนครูฝึกฮาร์ทแมนย่ำยีหัวอกเหล่าคนกำพร้าผู้หญิงกับการใช้มาตรการ"ส่งอีหนูกลับบ้าน"เพื่อปรามมิให้ไอ้เณรทั้งหลายมัวคิดถึงการตะบันกางเกงชั้นในของมารี เจน รัทเต้นคร็อทช์ การอ้างอิงครั้งที่สองมาจากบทรำพึงของพล ฯ โจ๊กเกอร์(รับบทโดยแม็ทธูว์ โมดิน - Mathew Modine)ในตอนจบ - "ใจผมลอยกลับไปถึงตอนนกเขาชูคอโด่ยามฝันเปียกร่วมกับมารี เจน รัทเต้นคร็อทช์ และฝันหวานว่าอยู่ในงานมหกรรมสมโภชรับขวัญทหารผ่านศึกคืนสู่เหย้า โคตรดีใจที่ยังมีลมหายใจมาจนจวนได้ปลด ด้วยอาการครบสามสิบสอง" องค์ประกอบในฝันของเขาหามีบ้านจริงหญิงแท้ไม่ เป็นแต่เพียงการนึกเอาตามฝันลม ๆ แล้ง ๆ ที่ครูฝึกเคยโอ่ให้ฟัง

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ใช่แต่เพียงคำว่า บ้าน ลอย ๆ จะแทบไม่ถูกเอ่ยถึงในสารบบของ Full Metal Jacket แม้แต่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบ้านของตัวละครตัวใดตัวหนึ่งก็ยังหาไม่ได้แม้แต่เศษเสี้ยว แต่หนังกลับจับเอาท่วงทำนองเพลงประจำรายการโชว์ของมิกกี้ เม้าส์ มาใส่เนื้อเพลงให้เหล่าทหารร้องประสานคลอคู่ไปกับถ้อยรำพึงของพล ฯ โจ๊กเกอร์ ขณะพวกเขาชักขบวนเดินผ่านนรกยามค่ำของเมืองเว้ที่เหลือแต่ซากในกองเพลิงหลังถูกระเบิดถล่ม. การนำทำนองเพลงจากรายการยอดนิยมของทุกครอบครัวประจำคริสตทศวรรษ 1950 มาประยุกต์เข้ากับเนื้อเพลงปลุกใจ เท่ากับหนังพาหวนรำลึกวันคืนเก่าๆ เมื่อครั้งวัยเยาว์ด้วยท่วงทำนองอันเป็นสัญลักษณ์ร่วมสมัย ในลักษณะทวนความหลังปูพรม ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง กล่าวเฉพาะโจ๊กเกอร์เขาใกล้จะ"ได้ปลด"(หมายถึง ปลดประจำการและจะได้กลับบ้าน) แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าโจ๊กเกอร์จะปลดตัวเองจากพันธะใดกันแน่ เขายังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าการสวนสนามครั้งล่าสุดนี้เป็นมุ่งไปในทิศย้อนศรกับการสวนสนามครั้งแรก เพราะในการสวนสนามหนแรกจะเดินจากซ้ายไปขวา แต่การสวนสนามครั้งหลังจะเดินจากขวาไปซ้าย โดยปราศจากการให้ความกระจ่างต่อบทสุดท้ายบนเส้นทางดังกล่าว โจ๊กเกอร์ถึงขนาดกล้าพูด"โลกนี้มันโฉดสิ้นดี แต่เราก็ยังไม่ตาย และเลิกขึ้กลัว"ออกมาจากปากได้ ก็หมายความว่าเขา"สนิท"กับนรกเข้าไปทุกที

การขายวิญญาณให้นรก เป็นหนึ่งในวัตถุดิบชั้นเยี่ยมเพื่อถลุงหาความน่าสะพรึงกลัวของสงคราม เมื่อผู้ชนะมีได้เพียงหนึ่ง และเหล่าผู้เล่นก็ย่อมต้องห้ำหั่นชนิดลืมความเป็นคน นรกบนดินก็เป็นจริงขึ้นมา ผู้ชนะจะได้เป็นเจ้าโลกันต์และนรกก็จะติดตัวเขาผู้นั้นไปตลอด นิยามของมิลตันต่อคุณลักษณะของพญามารที่ว่า"เรานี่แหละนรก" นั้น สะท้อนว่าเขารู้ซึ้งถึงสัจธรรมที่ว่าความน่ากลัวของผู้พันเคิร์ทซ์ไม่อาจอธิบายด้วยหลักการระบาดวิทยาในระดับเลือดเนื้อ เพราะเป็นความน่าสะพรึงกลัวที่ฝังอยู่ในกมลสันดานและคอยหลอกหลอนเจ้าตัว รวมถึงร้อยเอกวิลลาร์ดและบรรดาสัตว์สงครามทั้งปวง การบรรลุสัจธรรมครั้งใหม่ช่วยให้เข้าถึงแก่นแท้ของความน่าสะพรึงกลัวในตัวสงคราม หนังต่อต้านสงครามจึงเน้นถ่ายทอดถึงประสบการณ์ภายในมากกว่าภายนอก ไม่เว้นแม้แต่ในการเล่าถึงภาพมนุษย์เข่นฆ่าและสูญเสียเลือดเนื้อมนุษย์ ภายใต้แนวคิดเสมอจริง หรือต้องฉายภาพให้เห็นอย่างจะแจ้ง แต่หากตัวการสร้างความเดือดเนื้อร้อนใจแก่คนอื่นไม่ถูกลากคอมาชำระความ บาดแผลในใจย่อมกลัดหนองไปตลอดกาล ไม่มีวันปะทุให้รู้ดีรู้ชั่ว

ตามปกติ แบบแผนการแปรรูประหว่างประสบการณ์จากสงครามที่มาปะทะกายและประทับใจของตัวละครทหารในหนังเล่าเรื่องในสมรภูมิ โดยเฉพาะหนังต่อต้านสงคราม จะฟ้องถึงระดับความผูกพันตัวละครนั้นมีต่อ "บ้าน" หรือ "สวรรค์" และ "นรก"ของตัวละคร ทั้งนี้ภาพบ้านอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์โครงสร้างทางปรัชญาที่ครอบหนังอยู่อีกชั้นหนึ่งนั้น จะย่อส่วนอยู่ในผลึกของประสบการณ์ที่บีบอัดแปรรูปเก็บอยู่ในโครงสร้างระดับเอกบุคคล บ้านอันพึงประสงค์ดังกล่าวไม่ถือเป็นค่ายคู่ปรับเชิงจิตวิญญาณของสงคราม ในอีหรอบเดียวกับนรก-สวรรค์ แต่บ้านกลับจะเป็นสมรภูมิเริ่มแรกของสงคราม เป็นแหล่งลับคมเขี้ยวเล็บความเป็นคน และลำหักลำโค่นทางการเมือง จนอาจพูดได้ว่าความน่าสะพรึงกลัวตกเป็นหนี้บุญคุณมนุษย์ในฐานะอู่ข้าวอู่น้ำมากกว่าจะเป็นเจ้าหนี้คอยตามจองล้างจองผลาญมนุษย์

คลิกไปอ่านต่อ วิเคราะห์ภาพยนตร์สงคราม(นิยม) และภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม (๒)

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๑ : Release date 13 April 2008 : Copyleft by MNU.
หนังรบในทางลึกในที่นี้หมายถึงหนังที่มุ่งฉายให้เห็นสัจธรรมของการสู้รบในสงคราม แม้ว่าท้องเรื่องจะไม่ใช่แนวหน้า หรือ สมรภูมิก็ตาม แนวทางการนำเสนอเช่นนี้มีอยู่ทั้งในหนังสงคราม(นิยม)และต่อต้านสงคราม หน้าที่ของแนวทางการนำเสนอดังกล่าวไม่ว่าในโครงสร้างของแก่นเรื่องของหนังสงครามสายใด คือถ่ายทอดถึงสภาวะนรกภูมิของสงคราม สภาวะนรกภูมิจะเป็นรูปเป็นร่าง และมีความหมายหนักแน่นขึ้นมา ก็ด้วยการสร้างแรงเหวี่ยง ทั้งในเชิงปัญญาญาณ, เชิงศีลธรรมจรรยา, เชิงอารมณ,์ เชิงจินตกรรม, ของอาณาบริเวณชนิดหนึ่ง เพื่อสถาปนาการเป็นขั้วปรับกับสวรรค์ ในหนัง สงคราม(นิยม)มักเปรียบบ้าน เหมือนสวรรค์วิมาน ส่วนสภาพนรก ภูมิในหนังสงคราม จะเอ่ยผ่านความตายและพิษสงของสนามรบ
H