ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




09-04-2551 (1527)

จากภูมิศาสตร์ปาเลสไตน์ ถึงผู้คนปาเลสติเนียน (สารานุกรม)
ดินแดนปาเลสไตน์: ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งปาเลสติเนียน
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

ในคริสตศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑ ดินแดนปาเลสไตน์กลายเป็นพื้นที่ของความขัดแย้ง
ระหว่างชาวยิวและขบวนการแห่งชาติอาหรับต่างๆ. อาณาบริเวณนี้เป็นดินแดนศักด์สิทธิ์
ของลัทธิจูดาห์, คริสต์ศาสนา, และศาสนาอิสลาม มีการตั้งรกรากนับจากช่วงต้นก่อนประวัติศาสตร์
ส่วนใหญ่แล้วอาศัยอยู่โดยกลุ่มชนตะวันออกกลางโบราณ(อาหรับ ฮิบรู ยิว ฯลฯ) ปัจจุบัน ดินแดนแห่งนี้
ยังคงเต็มไปด้วยความขัดแย้ง บทความเรียบเรียงชิ้นนี้เป็นความพยายามที่จะทำความเข้าใจ
ความเป็นมาเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอาณาบริเวณดังกล่าวโดยสังเขป โดยมีหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- ชาวปาเลสติเนียน หรืออาหรับปาเลสติเนียน
- ต้นตอ อัตลักษณ์ของปาเลสติเนียน (Origins of Palestinian identity)
- การรับรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ ของปาเลสติเนียน (Palestinian perceptions of identity)
- การปรากฏตัวขึ้นมาของลัทธิชาตินิยมปาเลสติเนียน (Emergent Palestinian nationalism)
- การต่อสู้ของปาเลสติเนียนต่อการยึดครอง (Palestinians struggle against occupation)
- การต่อต้านการยึดครองของอังกฤษ 1917-1948 (Against the British occupation 1917-1948)
- ช่วงปีแห่งความสูญเสีย (The "lost years" (1948 - 1967)
- พัฒนาการต่างๆ ในด้านอัตลักษณ์ปาเลสติเนียนเมื่อเร็วๆ นี้ (จากปี 1967 - ปัจจุบัน)
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๒๗
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๙.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

จากภูมิศาสตร์ปาเลสไตน์ ถึงผู้คนปาเลสติเนียน (สารานุกรม)
ดินแดนปาเลสไตน์: ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งปาเลสติเนียน
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ชาวปาเลสติเนียน (Palestinian people)
Palestinian people (ash-sha'ab il-filastini), ชาวปาเลสติเนียน หรืออาหรับปาเลสติเนียน(Palestinian Arabs) (Arabic: al-'arabi il-filastini) คือคำศัพท์ที่ใช้อ้างถึงคนที่พูดภาษาอาราบิค ซึ่งครอบครัวโดยกำเนิดอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์

สำหรับคำว่า "ปาเลสติเนียน" แรกที่เดียวที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นชื่อของสถานที่(endonym - exonym = name for a place) ซึ่งอ้างถึงแนวคิดชาตินิยมของผู้คนปาเลสติเนียน โดยชาวอาหรับปาเลสไตน์ที่เริ่มขึ้นก่อนการปะทุของสงครามโลกครั้งที่ 1 และเป็นความต้องการที่จะธำรงความเป็นชาติอิสระที่ได้รับการทำให้ปรากฏขึ้นมาเป็นครั้งแรกโดยรัฐสภาซีเรียน-ปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 1921. หลังจากการอพยพทิ้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในปี 1948 (the exodus of 1948)(*) และถัดจากนั้น หลังการอพยพอีกครั้งในปี 1967(**) ศัพท์คำนี้ไม่เพียงบ่งชี้สถานที่กำเนิดเท่านั้น แต่มันยังหมายถึงการมีอดีตและอนาคตร่วมกันในการก่อตัวขึ้นมาของรัฐชาติของชาวปาเลสติเนียนด้วย

(*)The 1948 Palestinian exodus refers to the refugee flight of Palestinian Arabs during the last 6 months of the British Mandate and the First Arab-Israeli War. It is referred to by most Palestinians and Arabs as the Nakba, meaning the "disaster", "catastrophe", or "cataclysm".

The United Nations (UN) final estimate of the number of Palestinian refugees outside Israel after the 1948 War was placed at 711,000 in 1951. About a quarter of the around 160,000 Arab Palestinians remaining in Israel were internal refugees. Today, Palestinian refugees and their descendants are estimated to number over 4 million people. The initial exodus and the current situation of Palestinian refugees is a contentious topic of high importance to all parties in the Arab-Israeli conflict.

(**)The 1967 Palestinian exodus refers to the flight of around 280,000 to 325,000 Palestinians out of the territories occupied by Israel during and in the aftermath of the Six-Day War. Their exodus was followed by the demolition of a few of their villages, such as Imwas, Yalu, and Beit Nuba

เกี่ยวกับจำนวนประชากรปาเลสติเนียนทั้งหมดทั่วโลก ได้รับการประมาณว่าอยู่ระหว่าง 10-11 ล้านคน มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้คือพวกไร้รัฐ(stateless) ขาดเสียซึ่งความเป็นพลเมือง ไม่สังกัดกับประเทศหนึ่งประเทศใด. ชนปาเลสติเนียน ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นชนกลุ่มน้อยคริสเตียน เช่นเดียวกับชุมชนต่างๆ ทางศาสนาที่แยกย่อยลงมา. โดยคร่าวๆ ครึ่งหนึ่งของปาเลสติเนียนยังคงอาศัยอยู่ในส่วนต่างๆ ของดินแดนในอาณัติปกครองเก่าของสหราชอาณาจักร - อันเป็นอาณาบริเวณหนึ่งซึ่งทุกวันนี้ถูกรู้จักในฐานะอิสราเอล, เวสท์แบงค์, ฉนวนกาซา, และเยรูซาเร็มตะวันออก

ส่วนประชากรอีกครึ่งหนึ่ง จำนวนมากเป็นผู้อพยพ ซึ่งอาศัยอยู่ในที่อื่นๆ ตามพื้นที่แตกต่างกันไปทั่วโลก. ชาวปาเลสติเนียนโดยภาพรวมมีตัวแทนของพวกตนในชุมชนนานาชาติ คือ องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (the Palestine Liberation Organization หรือ PLO) (*). องค์กรบริหารปาเลสติเนียนแห่งชาติ หรือ The Palestinian National Authority ได้รับการสร้างขึ้นในฐานะผลพวงจากสนธิสัญญาออสโล (the Oslo Accords) (**), กล่าวคือ เป็นคณะกรรมการบริหารชั่วคราวที่ทำหน้าที่ปกครองประชากรปาเลไตน์แต่เพียงในนาม ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เวสท์แบงค์และฉนวนกาซา

(*)The Palestine Liberation Organization (PLO) is a multi-party confederation regarded since 1974 as the "sole legitimate representative of the Palestinian people."

The PLO was founded by the Arab League in May 1964, under the chairmanship of Ahmad Shuqeiri, a Palestinian with long experience as an Arab diplomat. The original PLO Charter declared the establishment of Israel "illegal, null and void" and outlined goals to "liberate the homeland" via armed struggle.

(**) The Oslo Accords, officially called the Declaration of Principles on Interim Self-Government Arrangements or Declaration of Principles (DOP) was a milestone in Israeli-Palestinian conflict. It was the first direct, face-to-face agreement between Israel and the Palestinians. It was the first time that the Palestinians publicly acknowledged Israel's right to exist. It was also a framework for the future relations between Israel and the anticipated State of Palestine, when all outstanding final status issues between the two states would be addressed and resolved in one Package Agreement.

ต้นตอ อัตลักษณ์ของปาเลสติเนียน (Origins of Palestinian identity)
ในเชิงนิรุกติศาสตร์ ชื่อสถานที่ Palaistine กับคำในภาษาอาราบิค Filastin คือคำที่มาจากรากศัพท์เดียวกัน. ปรากฏขึ้นครั้งแรกในผลงาน Herodotus นักประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงกลางศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตศักราช ซึ่งเป็นดินแดนใกล้ชายฝั่งจาก Phoenicia ไล่ลงมาถึง Egypt. Herodotus ยังใช้ศัพท์คำนี้ในฐานะชื่อของผู้คนและกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งด้วย ดังเช่นเมื่อเขากล่าวถึงพวกซีเรียนแห่งดินแดนปาเลสไตน์(Syrians of Palestine) หรือ ปาเลสติเนียน-ซีเรียน(Palestinian-Syrians) อันเป็นกลุ่มที่ไม่อาจแยกชาติพันธุ์ได้แน่นอน ซึ่งเขาได้จำแนกจาก Phoenicians. คำนี้นำไปเปรียบเทียบกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษา Semitic, Ancient Egyptian Prst, Assyrian Palastu, และ the Hebraic Plishtim, ซึ่งศัพท์คำหลังนี้ถูกใช้ในพระคัมภีร์ไบเบิลในการบ่งชี้ถึง the Philistines.(*)

(*)The Philistines (Hebrew, plishtim) were a people who inhabited the southern coast of Canaan, their territory being named Philistia.

สำหรับคำในภาษาอาราบิค Filastin ได้ถูกใช้เพื่ออ้างถึงดินแดนหนึ่ง ซึ่งนักภูมิศาสตร์อาหรับในช่วงต้นของสมัยกลางรับมาจากศัพท์ของชาวกรีก. Filastini, ยังมาจากคำศัพท์กรีกที่ถูกทำให้เป็นลาติน(Latinized Greek) คำว่า Palaestina, ปรากฏว่าถูกนำมาใช้เป็นคำในภาษาอาราบิคเกี่ยวกับอาณาบริเวณนี้ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 7

ช่วงระหว่างที่ปาเลสไตน์เป็นดินแดนที่อยู่ในอาณัติปกครองของอังกฤษ ศัพท์คำว่า"ปาเลสติเนียน"ถูกนำมาใช้อ้างถึงผู้คนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ที่นั่น โดยไม่คำนึงถึงเรื่องชาติพันธุ์ และคนเหล่านั้นได้รับสิทธิ์การเป็นพลเมืองโดยผู้มีอำนาจปกครองในฐานะพลเมืองปาเลสติเนียน. เหตุการณ์ต่อมาในปี ค.ศ.1948 (หลังสงครามโลกครั้งที่สอง) ซึ่งได้มีการสถาปนารัฐอิสราเอลขึ้น ในฐานะชาติบ้านเกิดของชนชาวยิว การใช้ศัพท์คำว่า"ปาเลสไตน์"และ"ปาเลสติเนียน "โดยประยุกตใช้กับยิวปาเลสติเนียน (Palestinian Jews) ได้ถูกยกเลิก โดยชนชาวยิวส่วนใหญ่ไม่นำมาใช้อีก

หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ The Palestine Post เป็นตัวอย่าง ซึ่งนับจากปี ค.ศ.1932 เป็นต้นมา โดยเบื้องต้นเป็นหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายแก่ชุมชนชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ที่อยู่ภายใต้อาณัติของอังกฤษ ได้เปลี่ยนชื่อหัวหนังสือพิมพ์ในปี 1950 ไปเป็น The Jerusalem Post. ชาวยิวในอิสราเอลและเขตเวสท์แบงค์ทุกวันนี้ โดยทั่วไปแล้ว บอกถึงตนเองเป็นอิสราเอลิ, ส่วนพลเมืองอาหรับในอิสราเอล (Arab citizens of Israel) บ่งบอกตนเองในฐานะอิสราเอลิ และ/หรือ ปาเลสติเนียน และ/หรือ อาหรับ

กฎบัตรแห่งชาติปาเลสติเนียน (The Palestinian National Charter) เป็นการปรับปรุงขึ้นมาโดยสภาแห่งชาติปาเลสไตน์(Palestine National Council) ของ PLO ในเดือนกรกฎาคม 1968, โดยได้ให้คำนิยาม"ปาเลสติเนียน"ว่า "เป็นชนชาติอาหรับ ซึ่งจนกระทั่งปี 1947 ปกติได้อาศัยอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์ โดยไม่คำนึงถึงว่าพวกเขาจะถูกขับไล่ออกไปจากดินแดนแห่งนี้หรือไม่ก็ตาม หรือยังคงอยู่ที่นั่น. ใครก็ตามที่ถือกำเนิด หลังจากวันเวลาดังกล่าว โดยมีพ่อเป็นชาวปาเลสติเนียน - ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกดินแดนปาเลสไตน์ ถูกถือว่าเป็นปาเลสติเนียนด้วย. คำนิยามนี้ยังขยายกว้างไปถึง "ชาวยิวผู้ที่ปกติอาศัยอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์ จนกระทั่งการเริ่มต้นการรุกรานของไซออนนิสท์". กฎบัตรดังกล่าวประกาศว่า "ปาเลสไตน์ โดยเขตแดนต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ คืออาณาบริเวณช่วงระหว่างที่อังกฤษปกครองดินแดนในอาณัติ ซึ่งนั่นคือหน่วยพื้นที่ที่ไม่อาจแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ ได้"

การรับรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ ของปาเลสติเนียน (Palestinian perceptions of identity)
ในหนังสือของนักประวัติศาสตร์ Rashid Khalidi ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1997 เรื่อง Palestinian Identity: The Construction of Modern National Consciousness, ได้บันทึกว่า ชั้นการขุดค้นทางโบราณคดีได้แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของดินแดนปาเลสไตน์ - ที่รวบรวมยุคแห่งพระคัมภีร์, ยุคโรมัน, ไบแซนทีน, อุมาย์ยัด, ฟาติมิด, ครูเสดเดอร์, ไอย์ยูบิด, มัมลัค, และออตโตมานเข้ามา - มันได้ก่อร่างสร้างความมีอัตลักษณ์ของคนปาเลสติเนียนสมัยใหม่ขึ้น ดังที่พวกเขาได้เข้าถึงความเข้าใจนี้มาตั้งแต่ศตวรรษที่แล้ว. Khalidi เน้นว่า อัตลักษณ์ของปาเลสติเนียนไม่เคยผูกขาดลักษณะเฉพาะพิเศษแบบใดแบบหนึ่งเอาไว้ โดยลัทธิอาราบิสม์, ศาสนา, และความจงรักภักดีต่อท้องถิ่น ยังคงแสดงบทบาทที่สำคัญมาอย่างต่อเนื่อง

การสะท้อนถึงทัศนะดังกล่าว, Walid Khalidi ได้เขียนเอาไว้ว่า ปาเลสติเนียนในยุคออตโตมาน (ค.ศ.1299-1922) ต่างรับรู้อย่างชาญฉลาดถึงความแตกต่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ปาเลสติเนียน…" และแม้ว่าพวกเขาจะภาคภูมิใจในมรดกและบรรพบุรุษอาหรับ แต่ปาเลสติเนียนก็คำนึงถึงตัวของพวกเขาเองว่าได้สืบทอดสายโลหิตไม่เพียงจากชนอาหรับผู้มีชัยชนะในช่วงคริสตศตวรรษที่ 7 เท่านั้น แต่ยังรับทอดสืบช่วงมาจากชนพื้นเมืองต่างๆ ด้วย ซึ่งได้อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มานับตั้งแต่โบราณ อันประกอบด้วยชาวฮิบรู และแคนนาไนท์(the Canaanites)(*) ซึ่งอยู่มาก่อนหน้าพวกเขา"

(*)A member of a Semitic people inhabiting Canaan from late prehistoric times and who were conquered by the Israelites around 1000 b.c.

Ali Qleibo, นักมานุษยวิทยาปาเลสติเนียน ได้อรรถาธิบายเกี่ยวกับเรื่องของอัตลักษณ์ ว่าเป็นคำบรรยายอันยืดยาวซึ่งได้ให้เหตุผลการมีอยู่โดยเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้รับการเลือกสรร, มันประกอบด้วยคุณลักษณ์ต่างๆ, และช่วงขณะต่างๆ ในห้วงการเริ่มต้นก่อตัวขึ้น. Qleibo ได้วิจารณ์นักเขียนประวัติศาสตร์มุสลิมเกี่ยวกับการกำหนดถึงการเริ่มต้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมปาเลสติเนียน โดยการมาถึงของอิสลามในศตวรรษที่ 7. ในการอรรถาธิบายถึงผลเกี่ยวกับการเขียนประวัติศาสตร์เช่นนั้น เขาบันทึกไว้ว่า: "จุดกำเนิดนอกศาสนาไม่ได้รับการกล่าวถึง ผู้คนเหล่านั้นที่เป็นประชากรอาศัยอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์ตลอดห้วงเวลาประวัติศาสตร์ ถูกลบล้างประวัติศาสตร์และศาสนาของพวกเขาเองออกไป ขณะที่พวกเขาได้รับเอาศาสนา, ภาษา, และวัฒนธรรมอิสลามเข้ามา"

วัฒนธรรมชาวชนบท, ของชนชั้นแรงงานเกษตรกรรม(fellahin)ในกลุ่มประเทศอาหรับ ถือเป็นปัจจัยสำคัญของขนบจารีตทั้งก่อนอาหรับและก่อนอิสราเอล ซึ่งได้ถูกค้นพบและเป็นข้อสรุปหนึ่งของบรรดานักวิชาการและนักสำรวจตะวันตกจำนวนมาก โดยได้ทำแผนที่และสำรวจดินแดนปาเลสไตน์ลงไปในรายละเอียดตลอดช่วงครึ่งหลังของคริสตศตวรรษที่ 19 และข้อสันนิษฐานนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อการถกเถียงตามมา ต่อเรื่องอัตลักษณ์ของปาเลสติเนียนจากบรรดานักชาติพันธุ์วิทยาท้องถิ่น

ข้อเขียนต่างๆ ของนักชาติพันธุ์วิทยาพื้นเมือง ที่เขียนขึ้นโดย Tawfiq Canaan และนักเขียนปาเลสติเนียนคนอื่นๆ ซึ่งตีพิมพ์ใน The Journal of the Palestine Oriental Society (1920-1948) บ่งชี้ว่า "การปฏิเสธไม่ให้การยอมรับในรากเหง้าก่อนอิสลามเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง. Canaan และบรรดาเพื่อนร่วมงานของเขาได้รับการขับเคลื่อนโดยความสนใจในวัฒนธรรมพื้นถิ่นของปาเลสไตน์" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมชาวนา ที่ได้ถูกทำลายลงโดยพลังอำนาจของความเป็นสมัยใหม่. Salim Tamari เขียนเอาไว้ว่า:

"อย่างไม่ต้องสงสัยในนัยยะความเป็นวิชาการของพวกเขา และทำให้ปรากฎออกมาชัดเจนโดยตัวของ Canaan เอง เป็นแนวเรื่องอีกแนวหนึ่ง, กล่าวคือ บรรดาชาวไร่ชาวนาในดินแดนปาเลสไตน์ คนเหล่านี้เป็นตัวแทนบรรทัดฐานท้องถิ่นต่างๆ ของพวกเขา … มรดกตกทอดเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ทั้งหมด วัฒนธรรมโบราณที่สั่งสมกันมานั้น ได้ปรากฏอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์ (ที่สำคัญๆ คือ the Canaanite, Philistine, Hebraic, Nabatean, Syrio-Aramaic and Arab)."

อันที่จริง การฟื้นฟูเรื่องเล่าพื้นบ้านท่ามกลางปัญญาชนปาเลสติเนียน อย่างเช่น Nimr Sirhan, Musa Allush, Salim Mubayyid, และสมาคมนิทานพื้นบ้านปาเลสติเนียนในช่วงทศวรรษที่ 1970s ได้เน้นถึงรากเหง้าเกี่ยวกับวิถีชีวิตก่อนอิสลาม(และก่อนฮิบรู), การประกอบสร้างอัตลักษณ์ปาเลสติเนียนขึ้นมาใหม่ด้วยการเพ่งความสนใจลงไปที่วัฒนธรรม Canaanite และ Jebusite (*). ความพยายามเหล่านี้ ดูเหมือนได้ผลิดอกออกผลดังที่ปรากฏหลักฐานในการยกย่องเชิดชูต่างๆ อย่างเช่น งานเทศกาลเฉลิมฉลอง the Qabatiya Canaanite festival ที่เมืองคาบาติยา และ งานเทศกาลดนตรีประจำปีที่เรียกว่า the annual Music Festival of Yabus โดยกระทรวงวัฒนธรรมปาเลสติเนียน. อย่างไรก็ตาม ชาวปาเลสติเนียนบางคน อย่าง Zakariyya Muhammad, ได้วิจารณ์"อุดมคติคานานไนท์"(Canaanite ideology) ในฐานะที่เป็น "แฟชั่นชั่วครั้งชั่วคราวของปัญญาชน ซึ่งหย่าขาดจากความผูกพันกับผู้คนธรรมดา"

(*)According to the Hebrew Bible, the Jebusites) were a Canaanite tribe who inhabited the region around Jerusalem prior to its capture by King David; the Books of Kings state that Jerusalem was known as Jebus prior to this event. According to some Biblical chronologies, the event would have happened around 1004 BC.

การปรากฏตัวขึ้นมาของลัทธิชาตินิยมปาเลสติเนียน (Emergent Palestinian nationalism)
มูลเหตุและช่วงเวลาที่อยู่เบื้องหลังการปรากฏตัวขึ้นมาของสำนึกความเป็นชาติปาเลสติเนียน ท่ามกลางชนอาหรับในดินแดนปาเลสไตน์คือ เนื้อหาสาระต่างๆ ของการไม่เป็นที่ตกลงกันในทางวิชาการ. Baruch Kimmerling และ Joel S. Migdal มองว่าในช่วงปฏิวัติปี 1834 ของชนอาหรับในปาเลสไตน์ เป็นช่วงเริ่มต้นเหตุการณ์การก่อตัวเกี่ยวกับผู้คนปาเลสติเนียนขึ้นมาครั้งแรก. ภายใต้จักรวรรดิ์ออตโตมาน ประชากรอาหรับปาเลสไตน์ ส่วนใหญ่มองตัวของพวกเขาเองในในฐานะไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของจักรวรรดิออตโตมาน

แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ 1830s ดินแดนปาเลสไตน์ได้ถูกครอบครองโดยชาวอียิปต์ซึ่งเป็นข้ารับใช้ของออตโตมาน, Muhammad Ali และบุตรของเขา Ibrahim Pasha. การปฏิวัติได้ถูกทำให้เกิดขึ้นมาโดยการต่อต้านของประชาชนที่มีต่อการเกณฑ์ทหารจำนวนมาก, ในฐานะชาวไร่ชาวนาล้วนทราบดีว่า การเกณฑ์ทหารนั้นต่างไปจากการลงโทษประหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น. เหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1834 การก่อกบฎเกิดขึ้นในหลายๆ เมือง ท่ามกลางเมืองเหล่านั้นมี Jerusalem, Hebron และ Nablus. ในการตอบโต้, Ibrahim Pasha ได้ส่งทหารเข้าปราบ ซึ่งในท้ายที่สุดทำให้ฝ่ายกบฎพวกสุดท้ายในเมือง Hebron พ่ายแพ้ลงในวันที่ 4 สิงหาคม. อย่างไรก็ตามชนอาหรับในปาเลสไตน์ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวแห่งชาติของสหพันธ์อิสลามหรือสหพันธ์อาหรับต่อมา(Pan-Islamist or Pan-Arab national movement)

Rashid Khalidi ได้ให้เหตุผลว่า อัตลักษณ์ประชาชาติสมัยใหม่ของปาลเสติเนียนมีรากเหง้าของตนอยู่ในวาทกรรมชาตินิยม ซึ่งก่อตัวขึ้นท่ามกลางผู้คนของจักรวรรดิออตโตมานในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 และทำให้เป็นรูปร่างขึ้นตามการกำหนดเขตแดนรัฐชาติสมัยใหม่ในตะวันออกกลางหลังสงครามโลกครั้งที่ 1. Khalidi ยังระบุด้วยว่า แม้การท้าทายจะถูกกำหนดขึ้นมาโดยไซออนนิสม์(Zionism) (*) ซึ่งมีบทบาทในการก่อรูปอัตลักษณ์นี้ แต่นั่นจะเป็นการผิดพลาดอย่างมหันต์ หากจะเสนอว่าอัตลักษณ์ของปาเลสติเนียนปรากฎตัวขึ้นมาเนื่องจากการโต้ตอบกับไซออนนิสม์เป็นหลัก

(*)Zionism is an international political movement that originally supported the reestablishment of a homeland for the Jewish People in Palestine, and continues primarily as support for the modern state of Israel.

Although its origins are earlier, the movement was formally established by the Austro-Hungarian journalist Theodor Herzl in the late 19th century. The movement was eventually successful in establishing Israel in 1948, as the world's first and only modern Jewish State. Described as a "diaspora nationalism," its proponents regard it as a national liberation movement whose aim is the self-determination of the Jewish people.

While Zionism is based in part upon religious tradition linking the Jewish people to the Land of Israel, where the concept of Jewish nationhood is thought to have first evolved somewhere between 1200 BCE and the late Second Temple era (i.e. up to 70 CE), the modern movement was mainly secular, beginning largely as a response by European Jewry to antisemitism (*) across Europe. It constituted a branch of the broader phenomenon of modern nationalism. At first one of several Jewish political movements offering alternative responses to the position of Jews in Europe, Zionism gradually gained more support, and after the Holocaust (**) became the dominant Jewish political movement.

(*)Antisemitism (alternatively spelled anti-semitism or anti-Semitism, also known as judeophobia) is prejudice and hostility toward Jews as a religious, racial, or ethnic group. While the term's etymology indicates that antisemitism is directed against all Semitic peoples, since its creation it has been used exclusively to refer to hostility towards Jews

(**) The Holocaust, also known as Ha-Shoah, is the term generally used to describe the genocide of approximately six million European Jews during World War II, as part of a program of deliberate extermination planned and executed by the National Socialist regime in Germany led by Adolf Hitler)

นักประวัติศาสตร์ James L. Gelvin อ้างว่าลัทธิชาตินิยมปาเลสติเนียน เป็นปฏิกริยาโดยตรงอันหนึ่งซึ่งมีต่อไซออนนิสม์. ในหนังสือของเขา The Israel-Palestine Conflict: One Hundred Years of War เขาบันทึกว่า "ลัทธิชาตินิยมปาเลสติเนียน ปรากฏตัวขึ้นมาในช่วงระหว่างยุคระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 (interwar) เพื่อเป็นการตอบโต้การอพยพเข้ามาและตั้งรกรากในดินแดนปาเลสไตน์ของ ไซออนนิสม์" Gelvin ให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงนี้มิได้ทำให้อัตลักษณ์ปาเลสติเนียนมีความชอบธรรมน้อยลงแต่อย่างใด:

"ข้อเท็จจริงที่ว่า ชาตินิยมปาเลสติเนียนได้ถูกพัฒนาขึ้นมาหลังจากลัทธิไซออนนิสท์ และที่จริงเกิดขึ้นเพื่อโต้ตอบกับมันนั้น มิได้ทำให้ความถูกต้องชอบธรรมของลัทธิชาตินิยมปาเลสติเนียนน้อยลงแต่ประการใด หรือทำให้มันมีเหตุผลน้อยกว่าลัทธิไซออนนิสท์. ลัทธิชาตินิยมทั้งหมดเกิดขึ้นมาในฐานะฝ่ายตรงข้ามกับอีกพวกหนึ่งหรือ"คนอื่น". ทำไมจึงจำเป็นต้องระบุหรือกำหนดลงไปให้ชัดว่า คุณเป็นใคร ? และลัทธิชาตินิยมทั้งมวลต่างได้รับการนิยามขึ้นมาจากสิ่งที่พวกเขาเป็นไปในทางตรงข้าม"

Bernard Lewis (*)ให้เหตุผลว่า ไม่ใช่ในฐานะชาติปาเลสติเนียนที่ชนอาหรับแห่งออตโตมานในดินแดนปาเลสไตน์คัดค้านหรือไม่เห็นด้วยกับพวกไซออนนิสท์, นับตั้งแต่แนวคิดที่แท้จริงเกี่ยวกับประชาชาติมิได้เป็นที่รับรู้ของชนอาหรับในพื้นที่แห่งนั้นในช่วงเวลาดังกล่าว และมันไม่ได้เกิดขึ้นจนกระทั่งต่อมาภายหลังเอามากๆ. แม้กระทั่งแนวคิดเกี่ยวกับลัทธิชาตินิยมอาหรับในจังหวัดต่างๆ ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของชนอาหรับของจักรวรรดิออตโตมาน, "(อันที่จริง) มันไม่ได้มีนัยสำคัญใดๆ ก่อนการปะทุขึ้นมาของสงครามโลกครั้งที่ 1"

(*)Bernard Lewis (born May 31, 1916 in London, England) is a British -American historian, Orientalist, and political commentator. He is the Cleveland E. Dodge Professor Emeritus of Near Eastern Studies at Princeton University. He specializes in the history of Islam and the interaction between Islam and the West, and is especially famous in academic circles for his works on the history of the Ottoman Empire.

Lewis is a widely-read expert on the Middle East, and has been described as the West's leading specialist on that region. [1] His advice has been frequently sought by policymakers, including the current Bush administration. [2] In the Encyclopedia of Historians and Historical Writing Martin Kramer, whose Ph.D. thesis was directed by Lewis, considered that, over a 60-year career, he has emerged as "the most influential postwar historian of Islam and the Middle East."

Tamir Sorek, นักสังคมวิทยาเสนอว่า "แม้อัตลักษณ์ที่แตกต่างของปาเลสติเนียนจะสามารถสืบสาวย้อนกลับไปได้ อย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงกลางของคริสตศตวรรษที่ 19 (Kimmerling and Migdal 1993; Khalidi 1997b), หรือกระทั่งกลับไปถึงคริสตศตวรรษที่ 17 ก็ตาม(Gerber 1998), แต่ไม่จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ลำดับการอันกว้างขวางของการเกี่ยวพันทางการเมืองทางเลือก ได้กลายมาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชนอาหรับในดินแดนปาเลสไตน์

ความคิดทัศนคติที่แตกต่าง ไม่ว่าอะไรก็ตามเกี่ยวกับห้วงเวลา, ตลอดรวมถึงมูลเหตุและการกำหนดทิศทางของลัทธิชาตินิยมปาเลสติเนียน โดยในช่วงต้นของคริสตศตวรรษที่ 21 ฝ่ายตรงข้ามที่เข้มแข็งของลัทธิไซออนนิสท์ และพยานหลักฐานเกี่ยวกับอัตลักษณ์ปาเลสติเนียนที่แตกหน่อเป็นลัทธิชาตินิยมได้ถูกพบในเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ภาษาอาหรับในปาเลสไตน์ อย่างเช่น Al-Karmil (est. 1908) และ Filasteen (est. 1911). หนังสือพิมพ์ Filasteen, ตีพิมพ์ใน Jaffa โดย Issa และ Yusef al-Issa, ได้พูดถึงบรรดาผู้อ่านหนังสือพิมพ์ในฐานะ"ปาเลสติเนียน", ซึ่งได้ให้ความสนใจลงไปที่ข้อวิจารณ์ของมันที่มีต่อลัทธิไซออนนิสท์เป็นครั้งแรก รายรอบความล้มเหลวของการบริหารและการปกครองของจักรวรรดิออตโตมาน ที่จะควบคุมการอพยพของชนชาวยิว และการไหลบ่าของชาวต่างประเทศ, ซึ่งการสำรวจต่อมา ผลกระทบของการซื้อที่ดินของไซออนนิสท์จากพวกชาวนาปาเลสติเนียน ได้แสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตที่เกี่ยวพันกับการยึดครองที่ดิน และการมีนัยยะของมันต่อสังคมส่วนใหญ่

หนึ่งในองค์กรชาตินิยมปาเลสติเนียนแรกๆ ปรากฏตัวขึ้นในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1. มีกลุ่มการเมือง 2 กลุ่มได้ปรากฏตัวขึ้นมา นั่นคือ Al-Muntada al-Adabi, ถูกควบคุมโดยครอบครัว Nashashibi, ซึ่งลุกขึ้นมาปกป้องและให้การส่งเสริมภาษาอาราบิคและวัฒนธรรมอาหรับ เพื่อคุ้มครองคุณค่าอิสลามและเพื่อปกปักษ์ซีเรียอิสระและปาเลสไตน์. ส่วนใน Damascus, กลุ่ม al-Nadi al-Arabi, ถูกควบคุมโดยครอบครัว Husayni, โดยมีบทบาทในการให้ความคุ้มครองป้องกันคุณค่าต่างๆ ในทำนองเดียวกัน

บันทึกประวัติศาสตร์ยังคงเผยให้เห็นปฏิกริยาและผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างอัตลักษณ์"อาหรับ"และ"ปาเลสติเนียน" กับลัทธิชาตินิยมต่างๆ. ความคิดเกี่ยวกับรัฐปาเลสไตน์ที่เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งแยกออกจากเพื่อนบ้านอาหรับอื่นๆ ได้ถูกปฏิเสธครั้งแรกโดยบรรดาผู้แทนปาเลสติเนียน. สภาแห่งแรกของสมาคมมุสลิม-คริสเตียน(The First Congress of Muslim-Christian Associations) (ในเยรูซาเร็ม, กุมภาพันธ์ 1919), ที่มีวัตถุประสงค์ในการคัดเลือกตัวแทนอาหรับปาเลสติเนียนขึ้นมาเพื่อเข้าร่วมประชุมสันติภาพที่กรุงปารีส, ซึ่งได้รับเอาการแก้ปัญหาตามมาคือ "พวกเราพิจารณาว่า ปาเลสไตน์คือส่วนหนึ่งของอาหรับซีเรีย, ดังที่มันไม่เคยถูกแบ่งแยกจากดินแดนนั้นเลยไม่ว่าช่วงเวลาใด. พวกเราต่างถูกเชื่อมโยงกับดินแดนนั้นด้วยความผูกพันทางศาสนา, ความเป็นชาติ, ภาษา, ธรรมชาติ, เศรษฐกิจและความเกี่ยวพันกันทางภูมิศาสตร์" (Yehoshua Porath (1977). Palestinian Arab National Movement: From Riots to Rebellion: 1929-1939, vol. 2. Frank Cass and Co., Ltd., 81-82.)

ภายหลังจากการจลาจล Nabi Musa riots, การประชุม San Remo conference และความล้มเหลวของ Faisal ในการสถาปนาอาณาจักรซีเรียอันยิ่งใหญ่(the Kingdom of Greater Syria), รูปแบบอันโดดเด่นหนึ่งของลัทธิชาตินิยมอาหรับปาเลสไตน์ เริ่มมีผลขึ้นในระหว่างเดือนเมษายนและกรกฎาคม 1920. โดยการล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมาน และชัยชนะของฝรั่งเศสที่มีต่อซีเรีย, นายกเทศมนตรีของเยรูซาเร็ม Musa Qasim Pasha al-Husayni, กลุ่ม pan-Syrianist ก่อนหน้านี้กล่าวว่า "ปัจจุบัน, หลังจากเหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ในดามัสกัส เราต้องทำให้การเปลี่ยนแปลงมีผลอย่างสมบูรณ์ในแผนการณ์ต่างๆ ของพวกเรา ณ ที่นี้. ซีเรียใต้ไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว. เราจักต้องปกป้องเพื่อปาเลสไตน์"

ความขัดแย้งระหว่างพวกชาตินิยมปาเลสติเนียน และกลุ่มที่หลากหลายของ pan-Arabists (*) ยังคงดำเนินต่อมาในช่วงการอยู่ใต้อาณัติปกครองของอังกฤษ แต่ในช่วงหลังกลายเป็นการถูกทำให้เป็นชายขอบมากขึ้น. ผู้นำที่โดดเด่น 2 คนของพวกชาตินิยมปาเลสติเนียนคือ Mohammad Amin al-Husayni, (Grand Mufti of Jerusalem - ผู้เชี่ยวชาติกฎอิสลามแห่งเยรูซาเร็ม),ซึ่งได้รับการแต่งตั้งขึ้นโดยสหราชอาณาจักร, และ Izz ad-Din al-Qassam (**).

(*)Pan-Arabism is a movement for unification among the Arab people and nations of the Middle East (excluding non-Arab countries). It is closely connected to Arab nationalism. Pan-Arabism has tended to be secular and often socialist, and has strongly opposed colonialism and Western political involvement in the Arab world. Pan-Arabism is a form of cultural nationalism.

(**)Sheikh Izz ad-Din al-Qassam (1882- November 20, 1935), was an influential Islamic preacher in the British Mandate of Palestine. In 1930 He founded the Black Hand, a Palestinian militant group, which he led until his death in 1935.

การต่อสู้ของปาเลสติเนียนต่อการยึดครอง (Palestinians struggle against occupation)
ปาเลสติเนียนไม่เคยมีอธิปไตยเหนือดินแดนซึ่งพวกเขาอาศัยอยู่เลย ดินแดนปาเลสไตน์ได้ถูกปกครองโดยจักรวรรดิออตโตมานมาจนกระทั่งช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1, และต่อจากนั้นได้ตกอยู่ใต้อาณัติการปกครองของอังกฤษ. อิสราเอลได้สถาปนาขึ้นในส่วนต่างๆ ของดินแดนปาเลสไตน์นับจากปี ค.ศ.1948 และในการปลุกขึ้นมาของสงครามอาหรับ-อิสราเอลในปี 1948, เขตเวสท์แบงค์และฝั่งตะวันออกของเยรูซาเร็มได้ถูกยึดครองโดยจอร์แดน, และฉนวนกาซาร์ถูกครอบครองโดยอียิปต์ โดยทั้งสองประเทศยังคงมีอิทธิพลต่อดินแดนต่าง เหล่านี้อยู่ จนกระทั่งอิสราเอลเข้าครอบครองดินแดนดังกล่าวในช่วงระหว่างสงครามปี 1967. Avi Shlaim อธิบายว่า ข้อถกเถียงที่ว่า "คุณไม่เคยมีอธิปไตยเหนือดินแดนนี้ และด้วยเหตุนี้คุณจึงไม่เคยมีสิทธิ์มาก่อน", ได้ถูกใช้โดยชนอิสราเอลิสในการปฏิเสธสิทธิของชาวปาเลสติเนียนและการยึดติดหรือผูกพันกับดินแดนดังกล่าว. (Don Atapattu. Interview With Middle East Scholar Avi Shlaim: America, Israel and the Middle East. The Nation. Retrieved on 2008-03-09.)

ทุกวันนี้ สิทธิของผู้คนปาเลสติเนียนในการกำหนดชะตาตนเอง โดยทั่วไป เป็นที่ยอมรับมากขึ้น และได้รับการยืนยันโดยสภาความมั่นคง, ที่ประชุมใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ, ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และแม้แต่อิสราเอลเอง (John Dugard's "Situation of human rights in the Palestinian territories occupied since 1967" ). มีชาติต่างๆ ประมาณ 100 ประเทศที่ให้การรับรองปาเลสไตน์ในฐานะรัฐหนึ่ง, โดยที่คอสตา ริกา เป็นประเทศล่าสุดที่ให้การยืนยันดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ 2008. แต่อย่างไรก็ตาม อธิปไตยของปาเลสติเนียนเหนือดินแดนแห่งนั้น ซึ่งอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐปาเลสติเนียนยังคงถูกจำกัด และพรมแดนต่างๆ ของรัฐยังคงเป็นประเด็นหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอล

การต่อต้านการยึดครองของอังกฤษ 1917-1948 (Against the British occupation 1917-1948)
หลังจากนายพลอังกฤษ Louis Bols, ประกาศการบังคับใช้ปฏิญญาเบาโฟร์(the Balfour Declaration)ในเดือนกุมภาพันธ์ 1920 ผู้ประท้วงปาเลสติเนียนราว 1,500 คนได้ลงมายังท้องถนนของกรุงเยรูซาเร็ม. หนึ่งเดือนต่อมา ช่วงระหว่างเหตุการณ์จลาจลในปาเลสไตน์ 1920, บรรดาผู้ประท้วงต่อต้านการปกครองของอังกฤษและการอพยพเข้ามาของไซอนนนิสท์ ได้กลายเป็นเหตุการณ์ความรุนแรง และนายพล Bols ได้มีคำสั่งห้ามการประท้วงทั้งหมด. แต่อย่างไรก็ตาม เดือนพฤษภาคม 1921 การจลาจลต่อต้านไซออนนิสท์ต่อมาได้เกิดขึ้นที่เมืองจัฟฟา และผู้คนชาวอาหรับและยิวจำนวนหลายสิบคนได้ถูกฆ่าตายในการเผชิญหน้ากัน

ในปี 1922 ผู้มีอำนาจชาวอังกฤษเหนืออาณัตปกครองปาเลสไตน์ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้เสนอให้มีตัวแทนอาหรับปาเลสติเนียนในสภานิติบัญญัติ. คณะผู้แทนอาหรับปาเลสติเนียนได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้ในฐานะที่เป็น"สิ่งซึ่งไม่น่าพอใจทั้งหมด", มีการระบุว่า "ผู้คนในดินแดนปาเลสไตน์ไม่อาจยอมรับกรผนวกเอาปฏิญญาเบาโฟร์เข้ามาในอารัมภบทของรัฐธรรมนูญได้ ในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการสนทนาต่างๆ. นอกจากนี้ยังมีการระบุถึงดินแดนปาเลสไตน์ในฐานะที่เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรโดยระเบียบปฏิบัติขั้นต่ำสุด"( Correspondence with the Palestine Arab Delegation and the Zionist Organization]. United Nations (original from His Majesty's Stationery Office) (21 February 1922). Retrieved on 2007-08-01. ). ชนอาหรับพยายามที่จะทำให้อังกฤษยินยอมให้มีการสถาปนากฎหมายอาหรับขึ้นมาอีกครั้งภายในระยะเวลา 10 ปี แต่ความพยายามดังกล่าวไม่บรรลุผลแต่อย่างใด

หลังจากที่ฆ่า Sheikh Izz ad-Din al-Qassam (*) โดยอังกฤษในปี 1935, สานุศิษย์ของเขาหลายคนได้เริ่มก่อตั้งกลุ่มอาหรับปฏิวัติในปาเลสไตน์ในปี 1936-1939 ซึ่งเริ่มต้นขึ้นด้วยการประท้วงทั่วๆ ไปในเมืองจัฟฟา และเข้าโจมตีกองบัญชาการอังกฤษและยิวในเมือง Nablus.[35] คณะกรรมาธิการอาหรับ(The Arab High Committee) เรียกร้องให้มีการก่อการประท้วงขึ้นทั่วประเทศ ด้วยการไม่ยอมชำระภาษี, และการปิดที่ทำการรัฐบาลต่างๆ และเรียกร้องให้มีการยุติการอพยพเข้ามาของชาวยิวและห้ามการขายที่ดินให้กับคนยิว.

(*)Sheikh Izz ad-Din al-Qassam founded the Black Hand, a Palestinian militant group, which he led until his death in 1935. The Black Hand (Arabic: (transliteration) al-Kaff al-Aswad) was an underground Islamist militant organization that operated in the British Mandate of Palestine. The British authorities regarded it a terrorist group.

โดยในช่วงสิ้นสุดปี 1937 และ 1938 ขบวนการเคลื่อนไหวได้กลายเป็นการปฏิวัติระดับชาติ และการต่อต้านช่วงระหว่าง 1937 และ 1938. ในการตอบโต้ สหราชอาณาจักรได้ประกาศกฎอัยการศึก และทำการสลายคณะกรรมาธิการอาหรับ และเข้าทำการจับกุมเจ้าหน้าที่ต่างๆ จากสภาสูงมุสลิมซึ่งอยู่เบื้องหลังการประท้วงเหล่านี้. ในปี ค.ศ.1939 ปาเลสติเนียน 5,000 คนได้ถูกฆ่าตายในการที่สหราชอาณาจักรพยายามจะปราบปรามการปฏิวัติ และมีผู้คนบาดเจ็บมากกว่า 15,000 คน (The History of Palestinian Revolts. Al Jazeera (9 December 2003). Retrieved on 2007-08-17.)

ช่วงปีแห่งความสูญเสีย (The "lost years" (1948 - 1967)
ภายหลังจากสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ.1948 และประกอบกับการหนีภัยของชาวปาเลสติเนียนจำนวนมาก(Palestinian exodus), ซึ่งถูกรับรู้โดยชาวปาเลสติเนียนในฐานะ Al Nakba (หรือ the "catastrophe" - ความวิบัติ), มันคือรอยร้าวหนึ่งในความเคลื่อนไหวทางการเมืองปาเลสติเนียน ซึ่งบางส่วน Khalidi (นักประวัติศาสตร์)ได้ให้เหตุผลว่าเป็น"ข้อเท็จจริงที่สังคมปาเลสติเนียนได้ถูกทำลายล้างในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 1947 และช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 1948 อันเป็นผลลัพธ์ของความพ่ายแพ้ทางการทหารอย่างรุนแรงของปาเลสติเนียนที่ถูกทำให้สับสนยุ่งเหยิงโดยกำลังกองทัพขบวนการไซออนนิสท์"

ส่วนต่างๆ ของปาเลสไตน์ภายใต้อาณัติการปกครองของอังกฤษ ซึ่งมิได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐอิสราเอลใหม่ที่ประกาศ ล้วนถูกครอบครองโดยอิยิปต์และจอร์แดน. ช่วงระหว่างที่ Khalidi ตั้งชื่อว่า "ปีแห่งการสูญเสีย"ที่ตามมา ชาวปาเลสติเนียนขาดเสียซึ่งศูนย์กลางของแรงดึงดูดหรือจุดศูนย์ถ่วง, มันได้แบ่งแยกพวกเขาออกไปในประเทศต่างๆ อย่างเช่น ซีเรีย, เลบานอน, และระหกระเหินไปในที่ต่างๆ

ในทศวรรษ 1950s, กลุ่มชาตินิยมปาเลสติเนียนรุ่นใหม่และขบวนการทางการเมืองทั้งหลาย เริ่มรวมตัวกันอย่างลับๆ, ซึ่งได้ก้าวออกมาสู่เวทีสาธารณะในทศวรรษที่ 1960s. ชนชั้นสูงปาเลสติเนียนตามจารีต ซึ่งมีอิทธิพลในการเจรจาต่อรองกับอังกฤษและบรรดาไซออนนิสท์ในดินแดนปกครอง และมีส่วนรับผิดชอบต่อการสูญเสียของปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ ได้ถูกแทนที่โดยขบวนการการเมืองใหม่ๆ เหล่านี้. การกะเกณฑ์สมาชิกใหม่เข้ามาของกลุ่ม โดยทั่วไปแล้ว เป็นพวกที่มาจากภูมิหลังที่เป็นคนยากจนและชนชั้นกลาง และบ่อยครั้งเป็นบรรดานักศึกษาหรือเพิ่งจบจากมหาวิทยาลัยในกรุงไคโร, เบรุต, และดามัสกัส. อำนาจศักยภาพของอุดมการณ์สหพันธ์อาหรับ(the pan-Arabist ideology) ได้เจริญก้าวหน้าโดย Gamel Abdel Nasser (*) - นับเป็นผู้ที่ได้รับการนิยมในหมู่ปาเลสติเนียน ซึ่งลัทธิอาหรับ(Arabism)ของเขา ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอันหนึ่งอยู่แล้วเกี่ยวกับเรื่องอัตลักษณ์ - มันมีแนวโน้มในการอำพรางอัตลักษณ์ต่างๆ ของรัฐชาติอาหรับที่แยกออกจากกันเป็นกลุ่มๆ

(*)Gamal Abdel Nasser (January 15, 1918 - September 28, 1970) was the second President of Egypt from 1956 until his death in 1970. Along with Muhammad Naguib, he led the Egyptian Revolution of 1952, which removed King Farouk I and heralded a new period of industrialization in Egypt, together with a profound advancement of Arab nationalism, including a short-lived union with Syria.

Nasser inspired anti-colonial and pan-Arab revolutions in Algeria, Libya, Iraq and Yemen, and played a major role in founding the Palestine Liberation Organization, in 1964, and the international Non-Aligned Movement.

Nasser is seen as one of the most important political figures in both modern Arab history and Developing World politics of the Twentieth Century. He is well-known for his nationalist policies and version of pan-Arabism, also referred to as Nasserism, which won a great following in the Arab World during the 1950s and 1960s. Although his status as "leader of the Arabs" was severely tarnished by the crippling Israeli victory over the Arab armies in the Six Day War of 1967, many in the general Arab populace still view Nasser as a symbol of Arab dignity and freedom.

พัฒนาการต่างๆ ในด้านอัตลักษณ์ปาเลสติเนียนเมื่อเร็วๆ นี้ (จากปี 1967 - ปัจจุบัน)

(Recent developments in Palestinian identity (1967 - present)
นับจากปี 1967 เป็นต้นมา, ลัทธิสหพันธ์อาหรับ(pan-Arabism) ได้หดตัวลงมาในฐานะที่เป็นแง่มุมหนึ่งของอัตลักษณ์ปาเลสติเนียน. การเข้ายึดครองของอิสราเอลในดินแดนฉนวนกาซาและเขตเวสท์แบงค์ในช่วงสงครามหกวัน (Six-Day War)(*) ปี 1967 ได้กระตุ้นความแตกร้าวของกลุ่มการเมืองและการทหารปาเลสติเนียนให้ละทิ้งความหวังที่ยังคงอยู่ ซึ่งได้วางอยู่ในลัทธิสหพันธ์อาหรับ(pan-Arabism)

(*)The Six-Day War also known as the 1967 Arab-Israeli War, the Third Arab-Israeli War, Six Days' War, an?Naksah (The Setback), or the June War, was fought between Israel and Arab neighbors Egypt, Jordan, and Syria. The nations of Iraq, Saudi Arabia, Kuwait and Algeria also contributed troops and arms to the Arab forces.

In May 1967, Egypt expelled the United Nations Emergency Force (UNEF) from the Sinai Peninsula, which had been stationed there since 1957 (following the 1956 Sinai invasion to allow for a free Suez Canal), to provide a peace-keeping buffer zone. In reaction to Israeli-Syrian tensions, Egypt amassed 1000 tanks and 100,000 soldiers on the border, closed the Straits of Tiran to all ships flying Israeli flags or carrying strategic materials, and called for unified Arab action against Israel.[4] In response, on June 5, 1967, Israel launched a pre-emptive attack[5] against Egypt's airforce. Jordan, which had signed a mutual defence treaty with Egypt on May 30, then attacked western Jerusalem and Netanya.[6][7][8] At the war's end, Israel had gained control of the Sinai Peninsula, the Gaza Strip, the West Bank, eastern Jerusalem, and the Golan Heights. The results of the war affect the geopolitics of the region to this day.

พวกเขาได้กลับฟื้นตัวขึ้นมารายรอบองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์แทน(the Palestine Liberation Organization) (PLO), องค์กรนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1964 และกำหนดทิศทางเป้าหมายไปในเชิงชาตินิยม. กระแสลัทธิชาตินิยมปาเลสติเนียนแบบทางโลกได้ถูกรวมเป็นกลุ่มก้อนเข้าด้วยกันภายใต้ร่มขององค์กร PLO ซึ่งมีส่วนประกอบขององค์กรต่างๆ ประกอบด้วยกลุ่มฟาทาห์(Fatah) และแนวหน้าประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์(the Popular Front for the Liberation of Palestine), ท่ามกลางกลุ่มอื่นๆ. กลุ่มการเมืองเหล่านี้มีสุ้มเสียงต่อขนบจารีตอันหนึ่งที่ปรากฏตัวขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1960s ที่ได้ให้เหตุผลลัทธิชาตินิยมปาเลสติเนียนว่ามีรากที่หยั่งลึกอยู่ในประวัติศาสตร์ โดยให้การสนับสนุนอย่างสุดขั้วต่อการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ความสำนึกชาตินิยมปาเลสติเนียน และการมีอัตลักษณ์ย้อนกลับไปสู่เรื่องราวของดินแดนปาเลสไตน์ในอดีตหลายศตวรรษที่ผ่านมา และกระทั่งย้อนกลับไปเป็นพันปี ซึ่งในข้อเท็จจริง ความสำนึกนั้นค่อนข้างสมัยใหม่มาก

สงครามคาราเมห์(The Battle of Karameh) (*) และเหตุการณ์กันยายนทมิฬในจอร์แดน(Black September in Jordan)(**) ได้ให้การสนับสนุนปาเลสติเนียนให้เจริญงอกงามในท่ามกลางกลุ่มต่างๆ เหล่านี้. ในปี 1974 องค์กร PLO ได้รับการยอมรับในฐานะตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงองค์กรเดียวของชาวปาเลสไตน์โดยบรรดารัฐอาหรับต่างๆ และได้รับสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ในฐานะขบวนการปลดปล่อยประชาชาติหนึ่งโดยองค์การสหประชาชาติในปีเดียวกัน

(*)al-Karameh (or simply Karameh) is a town in Jordan, near the Allenby Bridge which spans the Jordan River. The river defines the border with territory controlled by Israel. Karameh was also the battleground for one of the main events in the history of the Palestinian national movement. In 1968, the city served as the political and military headquarters of the Palestinian al-Fatah movement, led by Yasser Arafat.

Fatah organized bands of guerrillas to launch attacks on the Israeli-occupied West Bank. The Jordanian government did not immediately oppose the militias; it has been alleged that the Jordanian government was complicit in the attacks, although King Hussein has himself asserted that he attempted to dissuade Arafat personally from continuing his incursions.

The Israeli military ultimately invaded Karameh in search of the Palestinian leadership, denouncing them as terrorists. The Palestinian militants and Israeli soldiers each suffered casualties; when the Jordanian army mobilized to secure Karameh from the IDF, the Israelis retreated under Jordanian bombardment. Palestinian guerrillas subsequently claimed this as a victory.

(**) September 1970 is known as the Black September in Arab history and sometimes is referred to as the "era of regrettable events." It was a month when Hashemite King Hussein of Jordan moved to quash an attempt by Palestinian organizations to overthrow his monarchy. The violence resulted in the killing of 7,000 to 8,000 from both sides. Armed conflict lasted until July 1971 with the expulsion of the PLO and thousands of Palestinians to Lebanon.

อิสราเอลปฏิเสธการแก้ปัญหาดังกล่าว และเรียกมันว่า"ความน่าละอาย". ในสุนทรพจน์ต่อสภา Knesset ของอิสราเอล, ผู้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศ Yigal Allon ได้สรุปสาระสำคัญอันเป็นทัศนะของรัฐบาลว่า "ไม่มีใครคาดหวังให้เรายอมรับองค์การก่อการร้ายที่เรียกว่า PLO ในฐานะที่เป็นตัวแทนของชาวปาเลสติเนียน - เพราะมันไม่ใช่. ไม่มีใครคาดหวังให้เราเจรจาต่อรองกับหัวหน้าผู้ก่อการร้ายหรือหัวหน้าแก็ง ซึ่งท่ามกลางอุดมการณ์และปฏิบัติการของพวกเขา พยายามที่จะชำระบัญชีกับรัฐอิสราเอล"( a b 48 Statement in the Knesset by Deputy Premier and Foreign Minister Allon- 26 November 1974. Israeli Ministry of Foreign Affairs (26 November 1974). Retrieved on 2007-07-31. )

นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ Eric Hobsbawn พิจารณาว่า ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งเกี่ยวกับความยุติธรรมสามารถได้รับการมองเห็นได้จากทัศนะต่างๆ ของคนนอกที่ขี้สงสัย ซึ่งจะไม่ใช้ศัพท์คำว่า"ชาติ"กับผู้คนอย่างปาเลสติเนียน: "บ่อยทีเดียวที่ศัพท์ดังกล่าวเกิดขึ้นมาในฐานะโวหารของชนกลุ่มน้อยที่ค่อยๆ ปรากฏตัวขึ้น ซึ่งขาดการติดต่อกับชุมชนที่ใหญ่กว่า คำดังกล่าวผิดไปจากความหมายสมัยใหม่ของการเป็นส่วนหนึ่งของคำว่าชาติ". แต่ในเวลาเดียวกัน เขาได้แย้งว่า "มุมมองในฐานะคนนอกนี้มีแนวโน้มในการมองข้ามการก่อเกิดของการแสดงออกหรือการจำแนกความเป็นชาติของมวลชนเมื่อมันเกิดขึ้น ดังเช่น ไซออนนิสท์และอิสราเอลิยิว และในกรณีที่เด่นชัดอย่างอาหรับปาเลสติเนียน"

จากปี 1948 จนกระทั่งทศวรรษที่ 1980 ตามความเห็นของ Eli Podeh, ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลับฮิบรู, หนังสือตำราต่างๆ ที่ใช้กันในโรงเรียนทั้งหลายของอิสราเอล พยายามที่จะบอกปัดหรือไม่ให้การยอมรับอัตลักษณ์ปาเลสติเนียนที่มีลักษณะเฉพาะ มีการอ้างอิงถึง"อาหรับต่างๆ เกี่ยวกับดินแดนดังกล่าวว่าเป็นของอิสราเอล"แทนที่"ปาเลสติเนียน". อย่างไรก็ตาม หนังสือตำราต่างๆ ของอิสราเอล ปัจจุบัน ได้มีการใช้คำว่า"ปาเลสติเนียน"อย่างกว้างขวาง. ศาสตราจารย์ Podeh เชื่อว่า หนังสือตำราต่างๆ ของปาเลสติเนียนในทุกวันนี้ มีความคล้ายคลึงกับหนังสือตำราเหล่านั้นในช่วงปีต้นๆ ของรัฐอิสราเอล

คำประกาศและแถลงการณ์อันหลากหลาย อย่างเช่น แถลงการณ์ 1988 ขององค์กร PLO เกี่ยวกับรัฐปาเลาไตน์ (State of Palestine), ทำหน้าที่หนุนเสริมและเพิ่มพลังอัตลักษณ์ประชาชาติปาเลสติเนียนมากยิ่งขึ้น. ทุกวันนี้ องค์กรปาเลสติเนียนส่วนใหญ่ มีความคิดว่า การต่อสู้ดิ้นรนของพวกเขาเป็นไปเพื่อลัทธิชาตินิยมหรืออิสลามิกปาเลสติเนียนโดยธรรมชาติ และสิ่งเหล่านี้มีอำนาจยิ่งกว่าทุกวันนี้. ภายในอิสราเอลเอง มีขบวนการต่างๆ ทางการเมือง อย่างเช่น Abnaa el-Balad (*) ที่ยืนยันอัตลักษณ์ปาเลสติเนียนของพวกเขา เพื่อแยกตัวของพวกเขาเองออกจากอิสราเอล

(*)Abnaa el-Balad (Sons of the Land or Sons and Daughters of the Country or People of the Homeland Movement) is a secular movement made up of Palestinians, most of whom are Arab citizens of Israel. The stated goals of the movement are: the return of all Palestinian refugees, an end to Israeli's occupation of territories, and the establishment of a democratic, secular Palestinian state.

While Abnaa el-Balad calls for the abolishment of Israel's identity as a Jewish state, the movement's membership is open to and includes Jewish citizens of Israel who identify as Palestinian Jews. Since its inception, Abnaa el-Balad has boycotted involvement in the Israeli Knesset, though it does participate in the elections for municipal councils in Arab localities.

อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ปาเลสติเนียนทุกวันนี้ ในเบื้องต้นถูกวางรากฐานอยู่บนปัจจัยสำคัญ 2 ประการ นั่นคือ "หมู่บ้านที่ถือกำเนิด" และ"เครือข่ายต่างๆ ของครอบครัว". หมู่บ้านที่ถือกำเนิดได้ถือครองการเป็นสถานที่พิเศษในความทรงจำของชนปาเลสติเนียน เนื่องจากบทบาทความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของมัน ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับอำนาจทางศาสนาและพลังอำนาจทางการเมือง ตลอดถึงการบริหารการปกครองปาเลสไตน์โดยจักรวรรดิต่างๆ อันหลากหลาย. หมู่บ้านถิ่นเกิดยังเป็นตัวแทน "การแสดงออกที่แท้จริงเกี่ยวกับวัฒนธรรมและอัตลักษณ์อาราบิกปาเลสติเนียน"ด้วย และเป็นสถานที่หนึ่งซึ่งเป็นศูนย์กลางความผูกพันทางเครือญาติและครอบครัว. ความเสื่อมทรุดที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นประสบการณ์ของปาเลสติเนียนทั้งมวล ได้ทำให้หมู่บ้านถิ่นเกิดกลายเป็นสัญลักษณ์ของดินแดนที่สูญเสียไป และมันได้ก่อรูปความเป็นศูนย์กลางอันหนึ่งของความสำนึกเกี่ยวกับการพลัดพรากในหมู่ชนปาเลสติเนียน

(ข้อมูลส่วนใหญ่ของงานเรียบเรียงชิ้นนี้นำมาจาก Wikipedia, the free encyclopedia)

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ : Release date 9 April 2008 : Copyleft by MNU.
ขณะที่ลัทธิชาตินิยมอาหรับได้รับการพัฒนาขึ้นในตะวันออกกลาง
ในลักษณะตรงข้าม ซึ่งได้ต่อต้านการปกครองของเตอร์กิช. ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 สหราชอาณาจักร ด้วยการช่วยเหลือของชาวอาหรับ ได้เข้าควบคุมดินแดนปาเลสไตน์. ในคำประกาศ Balfour Declaration (1917) สหราชอาณาจักรได้ให้คำมั่นสัญญากับบรรดาผู้นำไซออนนิสท์ที่จะให้การสนับสนุนการสถาปนาชาติบ้านเกิดของชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ โดยพิจารณาถึงสิทธิของคนที่ไม่ใช่ยิวปาเลสไตน์. แต่อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรยังได้สัญญากับผู้นำอาหรับทั้งหลายด้วยว่า จะให้การสนับสนุนในการสร้างรัฐอาหรับต่างๆที่เป็นอิสระขึ้น ชาวอาหรับเชื่อว่าดินแดนปาเลสไตน์อยู่ในท่ามกลางข้อตกลงเหล่านี้ด้วย (คัดลอกมาจากบทความ)
H