Everyone is permitted
to copy and distribute verbatim copies of
this licene document,
but changing
it is not allowed. - Editor
อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
เราไม่ได้อาศัยอยู่บนโลกที่เท่าเทียมกันและยุติธรรมเพียงพอ
Global
Justice: โลกายุติธรรม - เพื่อความยุติธรรมสากล
วจี
เรืองพรวิสุทธิ์: แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย
เรื่องของ โลกายุติธรรม
หรือความยุติธรรมสากลนี้ เป็นความพยายามที่จะ
แสวงหาหนทางเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมโลกอย่างเสมอภาค
ด้วยแนวคิดและปรัชญาดังกล่าว ทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวขึ้นทั่วโลก
ซึ่งขยายขอบเขตไปมากกว่าขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์โดยทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแนวคิดความยุติธรรมสากล ก็มีแนวคิดที่แตกต่างกันภายใน
ทั้งแนวคิดแบบสัจจะนิยม, ชาตินิยม, เฉพาะกลุ่มนิยม, และลัทธิพลเมืองโลก ฯลฯ
ประเด็นที่ขบวนการโลกายุติธรรมสนใจ ประกอบด้วยเรื่องของขอบข่ายของความยุติธรรม,
การกระจายความยุติธรรม และสถาบันด้านยุติธรรมต่างๆ ในบริบทสังคมโลก
มีการจับตาบรรดาบรรษัทโลกาภิวัตน์ องค์กรการเงินระหว่างประเทศ ฯลฯ และ
มหาอำนาจซีกโลกเหนือที่กระทำกับซีกโลกใต้ต่างๆ ในกรอบความยุติธรรมสากล
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๕๐๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๐ มีนาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เราไม่ได้อาศัยอยู่บนโลกที่เท่าเทียมกันและยุติธรรมเพียงพอ
Global
Justice: โลกายุติธรรม - เพื่อความยุติธรรมสากล
วจี
เรืองพรวิสุทธิ์: แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ความนำ
ความยุติธรรมสากล (Global Justice) เป็นประเด็นทางปรัชญาการเมืองที่ถูกหยิบยกขึ้นมาจากฐานความกังวลที่ว่า
"พวกเราไม่ได้อาศัยอยู่บนโลกที่เท่าเทียมกัน" หลายคนยากจนข้นแค้น ในขณะที่อีกหลายคนร่ำรวยมหาศาล
บ้างต้องใช้ชีวิตที่ถูกกดขี่อยู่ใต้ระบบทรราช บ้างต้องเผชิญกับความรุนแรง โรคร้าย
และ ความอดอยาก และอีกมากที่ต้องเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร แล้วเราควรจะทำความเข้าใจและเผชิญหน้ากับความจริงเหล่านั้นอย่างไร
? ประชาชนในโลกนี้เท่าเทียมกันหรือติดค้างหนี้กับคนบางกลุ่มอย่างนั้นหรือ? แล้วสถาบันใดและมาตรฐานทางจริยธรรมเช่นไรที่เราควรจะคำนึงถึงและนำไปใช้กันทั่วโลกเพื่อสร้างความเป็นธรรม?
- ขอบข่ายของความยุติธรรม
- การกระจายความยุติธรรม และ
- สถาบันด้านยุติธรรม
ทั้งสามส่วนนี้คือหัวข้อหลักในการถกเถียงถึงประเด็น
ความยุติธรรมสากล แนวคิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสัจจะนิยม (realism), เฉพาะกลุ่มนิยม
(particularism)(*), ชาตินิยม (nationalism), แนวคิดจารีตสังคมรัฐ (society of
states tradition) และ ลัทธิพลเมืองโลก (cosmopolitanism) ต่างมีจุดยืนและมุมมองเฉพาะตัวต่อคำถามทั้ง
3 ของความยุติธรรมสากล
(*) 1. Exclusive adherence to, dedication to, or interest
in one's own group, party, sect, or nation.
2. A principle of allowing each state in a nation or federation to act independently
of the central authority, especially in promoting its own economic interests.
บริบทของความยุติธรรมสากล
ทั้งในบริบทร่วมสมัยและในประวัติศาสตร์ ความยุติธรรมสากลในเชิงปรัชญาจะเป็นการกล่าวถึงความเป็นกลาง
ไม่เข้าข้างฝ่ายใด หรือปราศจากอคติ (impartiality) คนจำนวนมากมีความคิดว่าพวกเขามีหน้าที่สำคัญต่อสมาชิกภายในครอบครัว
ต่อพรรคพวก และเพื่อนร่วมชาติ มากกว่าที่มีต่อคนแปลกหน้าหรือคนต่างชาติ แต่ความคิด
เช่นนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือ เพราะมันเป็นแนวคิดของการลำเอียงสนใจพรรคพวกของตน
(partiality) และ คนที่มีแนวคิดที่เน้นความเป็นสากล ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ
ดังปรากฏใน Diogene of Sinope (*) ล้วนมองว่าตนเองเป็น "พลเมืองของโลก"
นักคิดทั้งหลาย รวมถึง William Godwin (1756-1836) (utilitarian anarchist -
นักอนาธิปไตยแนวประโยชน์นิยมชาวอังกฤษ) มีความเห็นว่าทุกๆ คน มีหน้าที่อันเป็นกลางที่จะทำในสิ่งดีเท่าที่เขาหรือเธอจะพึงกระทำได้แก่เพื่อนมนุษย์
โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
(*) นักปรัชญากรีกลัทธิซีนิก ที่ชอบเยาะเย้ยถากถาง เขาเป็นขอทานและยึดข้างถนนในกรุงเอเธนส์เป็นบ้านของเขา และบูชาความยากจนเป็นสรณะ เขาสอนสั่งเกี่ยวกับความรังเกียจความสำเร็จของมนุษย์ และพยายามหักล้างค่านิยมของสังคมและสถาบันต่างๆ ของสังคม เรื่องราวที่เขาเขียนส่วนใหญ่ของ Diogenes สะท้อนพฤติกรรมคล้ายดั่งสุนัขของเขา และเขาให้การยกย่องความดีของสุนัข
Diogenes "the Cynic",
Greek philosopher, was born in Sinope (modern day Sinop, Turkey) about 412
BC , and died in 323 BC, at Corinth. Details of his life come in the form
of anecdotes (chreia), especially from Diogenes Lartius, in his book Lives
and Opinions of Eminent Philosophers.
Diogenes of Sinope is said to have been a disciple of Antisthenes, who (according
to Plato's Phaedo) was present at the death of Socrates. Diogenes, a beggar
who made his home in the streets of Athens, made a virtue of extreme poverty.
He taught contempt for human achievements; his was a relentless campaign to
debunk social values and institutions.
Many anecdotes of Diogenes
refer to his doglike behavior, and his praise of a dog's virtues. It is not
known whether Diogenes was insulted with the epithet "doggish" and
made a virtue of it, or whether he first took up the dog theme himself.
ประเด็นข้อถกเถียงในบริบททางการเมืองนี้เป็นสิ่งที่มีมายาวนาน และมักเป็นข้อขัดแย้งกันระหว่างสถาบันทางสังคมในระดับท้องถิ่นต่างๆ
ไม่ว่าระหว่างกลุ่มเผ่าพันธุ์กับรัฐ ระหว่างหมู่บ้านกับเมือง ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับอาณาจักร
ระหว่างรัฐชาติกับสหประชาชาติ ซึ่งความเข้มแข็งของสถาบันระดับท้องถิ่นกับระดับโลก
ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นๆ ลงๆ ตลอดมาในช่วงประวัติศาสตร์ จากช่วงเริ่มต้นของยุคสมัยใหม่จนถึงคริสตศตวรรษที่
20 สถาบันทางการเมืองที่ครองสถานะที่เหนือกว่ามาโดยตลอดคือ รัฐ ซึ่งปกครองโดยครอบครองอาณาเขต
มีสิทธิเพียงหนึ่งเดียวในการใช้อำนาจทางกฎหมายเหนือดินแดนของตน และมีตัวตนในระบบการเมืองการปกครองแบบรัฐในระดับสากล
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ความสนใจทางปรัชญาการเมืองต่อเรื่องความยุติธรรมต่างมุ่งเน้นไปที่ประเด็นภายในประเทศแทบทั้งสิ้น อาทิ รัฐควรปฏิบัติต่อประชาชนของตนอย่างไร? ประชาชนควรปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมชาติอย่างไร? ความยุติธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและระหว่างปัจเจกชนที่อยู่ต่างเขตแดนกันนั้น ถูกจัดให้เป็นเรื่องรองลงมา หรือให้เป็นเรื่องของนักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไปแทน
หลังจากสงครามโลกครั้งที่
1 ระบบรัฐได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลจากโลกาภิวัตน์และการก่อตั้งสถาบันทางเศรษฐกิจและการเมืองระดับโลก
เช่น League of nations (*), สหประชาชาติ (UN), ธนาคารโลก (World Bank) ในระยะเวลาดังกล่าว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1970 ความยุติธรรมสากลจึงได้กลายมาเป็นหัวข้อที่มีความสำคัญยิ่งทางปรัชญาการเมือง
(*)The League of Nations
was an international organization founded as a result of the Treaty of Versailles
in 1919-1920. The League's goals included disarmament, preventing war through
collective security, settling disputes between countries through negotiation,
diplomacy and improving global welfare. The diplomatic philosophy behind the
League represented a fundamental shift in thought from the preceding hundred
years. The League lacked an armed force of its own and so depended on the
Great Powers to enforce its resolutions, keep to economic sanctions which
the League ordered, or provide an army, when needed, for the League to use.
However, they were often very reluctant to do so. Benito Mussolini stated
that "The League is very well when sparrows shout, but no good at all
when eagles fall out."
ในการถกเถียงเรื่องความยุติธรรมสากลร่วมสมัย
หัวข้อทั่วไปเกี่ยวกับการลำเอียงเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จึงมีศูนย์กลางอยู่ที่ความสำคัญเชิงจริยธรรมของเขตแดนและการเป็นพลเมืองร่วมกัน
ผู้ที่มีจุดยืนแบบสัจจะนิยม, เฉพาะกลุ่มนิยม, ชาตินิยม, สังคมแบบรัฐ และลัทธิพลเมืองโลกต่างเสนอแนวทางในการตอบโต้ปัญหาเรื่องความยุติธรรมสากล
คำถามหลักเกี่ยวกับความยุติธรรมสากล
หัวใจของปัญหาเรื่องความยุติธรรมสากล ประกอบขึ้นมาจากข้อคำถาม 3 ข้อ ซึ่งเกี่ยวกับ
(1) ขอบข่ายของความยุติธรรม (2) การกระจายความยุติธรรม (ด้านทรัพย์สินและสิ่งของต่างๆ)
และ (3) สถาบันที่ดูแลรับผิดชอบด้านความยุติธรรม
(1) ขอบข่ายของความยุติธรรมสากล
มาตรฐานทางจริยธรรมที่เป็นกลาง ที่สามารถนำไปใช้ได้กับมนุษย์ทุกคน โดยไม่คำนึงถึง
ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม เผ่าพันธุ์ เพศ ศาสนา สัญชาติ หรือปัจจัยแบ่งแยกใดๆ จะมีอยู่จริงดังที่ผู้ที่เชื่อในเรื่องจริยธรรมอันเป็นสากล
(moral universalism) ว่าไว้หรือไม่ หรือมาตรฐานทางจริยธรรมจะใช้ได้เฉพาะในบางบริบทที่มีเงื่อนจำกัด
เช่น จากวัฒนธรรม ชาติ ชุมชน หรือสมาคมอาสาสมัคร เท่านั้น
(2) การกระจายความยุติธรรม
ประชากร 1.1 พันล้านคน หรือคิดเป็น 18% ของมนุษยชาติ ต้องดำรงชีวิตโดยที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน
(2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อวัน) ของธนาคารโลก เมื่อเป็นดังนี้แล้ว การกระจายและแบ่งปันทรัพย์สิน-สิ่งของต่างๆ
ถือว่าเป็นธรรมหรือไม่? แล้วอะไรคือต้นเหตุแห่งความยากจน และในเศรษฐกิจโลก มีความไม่เป็นธรรมอย่างเป็นระบบ
(systematic injustice) อยู่ใช่หรือไม่? การที่คนรวยช่วยเหลือผู้ยากจนเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ
หรือเป็นเพียงเรื่องการกุศล ซึ่งน่าชื่นชมแต่ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องกระทำใช่ไหม?
ถ้าคนจนควรได้รับความช่วยเหลือ แล้วจะต้องช่วยเหลือมากน้อยเพียงใด แค่ให้พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ขาดแคลนปัจจัยพื้นฐาน
เพียงพอแค่พวกเขามีชีวิตและเติบโตขึ้นเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์แข็งแรง หรือต้องช่วยจนกระทั่งคนจนไม่ต้องลำบากมากไปกว่าคนรวย
?
(3) สถาบันดูแลรับผิดชอบความยุติธรรม
คำถามก็คือ ในบรรดาสถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐ ชุมชน สหพันธ์ สถาบันทางการเงินระดับโลก
อย่างธนาคารโลก องค์กรอิสระนอกภาครัฐ (NGOs) องค์กรความร่วมมือนานาชาติ ศาลโลก
หรือโลกในฐานะของรัฐ (world state) สถาบันใดที่จะสามารถเข้าใกล้อุดมคติของความยุติธรรมสากลได้ดีที่สุด
? และสถาบันที่ว่านั้นจะหาแรงสนับสนุนต่อความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ และธำรงรักษาสถาบันให้คงอยู่ต่อไปได้อย่างไร?
สุดท้าย การเคลื่อนไหวด้านการตัดสินและใช้ความยุติธรรมระหว่างดินแดนต่างๆ จะเป็นไปได้โดยอิสระเพียงใด
จุดยืนทางความคิดต่อความยุติธรรมสากล
จุดยืนทางความคิดที่แตกต่างกัน อันได้แก่ สัจจะนิยม, เฉพาะกลุ่มนิยม, ชาตินิยม,
สังคมรัฐ, และลัทธิพลเมืองโลก, ล้วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับการถกเถียงเรื่องความยุติธรรมสากล
1. แนวคิดสัจจะนิยม (realism)
นักสัจจะนิยมอย่าง Hans Morgenthau (*) และ Kenneth Waltz (**) คิดว่ามาตรฐานจริยธรรมที่เป็นสากลระดับโลกนั้นไม่มีอยู่จริง
และการจินตนาการถึงสิ่งนั้นกลับจะเป็นความเพ้อฝันที่อันตราย รัฐถือเป็นตัวละครสำคัญในลัทธิอนาธิปไตยระดับนานาชาติ
(international anarchy) และมักพยายามที่จะกระทำการต่างๆ ตามผลประโยชน์ของตนเอง
(*) นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชาวเยอรมัน (ค.ศ.1904-1980)
(**)นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชาวอเมริกัน (ค.ศ.1924 - ปัจจุบัน)
ในการที่จะตอบสนองต่อคำถามทั้ง 3 ของความยุติธรรมสากลที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้
จริยธรรมสากลจึงเป็นสิ่งหลอกลวง หรือกล่าวเพียงว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับรัฐในการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ของตน
ไม่มีข้อบังคับที่ต้องช่วยเหลือคนยากจน นอกจากการช่วยเหลือนั้นจะเป็นไปเพื่อเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐ
ระบบรัฐนั้นเป็นพื้นฐานด้านการจัดการสถาบันระดับโลกที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
2. แนวคิดเฉพาะกลุ่มนิยม
(particularism)
ผู้เชื่อในแนวคิดเฉพาะกลุ่มนิยม เช่น Michael Walzer (นักปรัชญาการเมืองแถวหน้าของอเมริกัน)
(*) และ James Tully (นักทฤษฎีทางกฎหมาย) แสดงความคิดเห็นว่า มาตรฐานทางจริยธรรมได้มากจากความหมายและปฏิบัติการที่มีร่วมกัน
ซึ่งเกิดขึ้นและได้รับการสืบทอดรักษาผ่านวัฒนธรรมหรือสังคมต่างๆ การวิพากษ์ทางสังคมและจริยธรรมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในอาณาเขตพื้นที่ของกลุ่ม
แต่ไม่อาจเกิดขึ้นข้ามเส้นแบ่งระหว่างกลุ่มได้
(*)Michael Walzer (3
March 1935) is one of America's leading political philosophers. He is a professor
emeritus at the Institute for Advanced Study in Princeton, New Jersey and
editor of Dissent, a left-wing quarterly of politics and culture. He has written
on a wide range of topics, including just and unjust wars, nationalism, ethnicity,
economic justice, social criticism, radicalism, tolerance, and political obligation.
He is also a contributing editor to The New Republic and a member of the editorial
board of Philosophy & Public Affairs. To date he has written 27 books
and has published over 300 articles, essays, and book reviews. He is a member
of several philosophical organizations including the American Philosophical
Society.
ถ้าสังคมที่เน้นหลักความเท่าเทียม (ในประเทศเสรีประชาธิปไตย) เช่น พลเมืองของสังคมอาจทำผิดทางด้านจริยธรรมขึ้น
แน่นอนเราสามารถวิจารณ์อย่างจริงจังต่อกันและกันได้ แต่ถ้าคนบางกลุ่มไม่ได้ประพฤติตนให้เป็นไปตามอุดมคติของความเท่าเทียม
ในประเด็นนี้ พวกเขาจะไม่สามารถไปวิพากษ์วิจารณ์คนกลุ่มอื่นที่อาศัยอยู่ในสังคมแบบแบ่งชั้นวรรณะ
ด้วยอุดมคติแบบเดียวกันนั้นได้
"สังคมหนึ่งๆ จะเที่ยงธรรมได้ต่อเมื่อผู้ที่เป็นองค์ประกอบของสังคมนั้นดำเนินชีวิตตามวิถีทาง / รูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง - นั่นคือ วิถีที่ยึดมั่นตามความเข้าใจร่วมของสมาชิกในชุมชน" และหากไม่เป็นเช่นนั้น ก็ไม่นับว่าเที่ยงธรรม แต่ละสังคมมีมาตรฐานของตนเองที่แตกต่างกันและเฉพาะคนที่อยู่ในสังคมเท่านั้นที่ผูกพันกับมาตรฐานนั้นๆ รวมถึงมีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์กันเอง ดังนั้น ความเชื่อเรื่องจริยธรรมสากลจึงไม่จริง เพราะมาตรฐานทางจริยธรรมที่เป็นกลางแบบภววิสัยนั้นไม่มีอยู่จริง แต่จะแตกต่างไปตามสภาพวัฒนธรรมและสังคมของแต่ละแห่ง เราจึงไม่ควรนำเงื่อนไขหรือเกณฑ์พิจารณาในการกระจายความยุติธรรมของเราไปใช้กับคนแปลกหน้า-แปลกถิ่น. ส่วนรัฐชาติซึ่งเป็นตัวสะท้อนความเข้าใจทางจริยธรรมอันเป็นลักษณะเฉพาะร่วมกันของคนในรัฐนั้น ก็เป็นสถาบันที่เหมาะสมที่สุดในการใช้ความยุติธรรมที่มีความแตกต่างเฉพาะท้องถิ่นของตน
3. แนวคิดชาตินิยม (nationalism)
ผู้ยึดถือในจุดยืนแบบชาตินิยม อย่าง David Miller (นักทฤษฎการเมืองชาวอังกฤษ
ค.ศ.1946 ถึงปัจจุบัน) (*) และ Yael Tamir เชื่อว่าข้อบังคับที่เรียกร้องให้ปฏิบัติต่อกันถูกกำหนดขึ้นโดยสถาบันที่มีความสำคัญ
ที่เรียกว่า "ชาติ" เราอาจมีหน้าที่ด้านมนุษยธรรมในการช่วยกันขจัดสิ่งเลวร้ายให้หมดไปจากโลก
ซึ่งหน้าที่เหล่านี้มักจะมีแรงผลักดันหรืออิทธิพลน้อยกว่าหน้าที่ที่มีต่อเพื่อนร่วมชาติของเรา
(*)David Miller (born 8 March 1946) is a prominent British
political theorist.
ลัทธิชาตินิยมได้รวมเอาสมมุติฐานเกี่ยวกับข้อการบังคับที่แตกต่างกันต่อผู้ที่อยู่ร่วมชาติและคนต่างชาติ
ซึ่งสะท้อนถึงความจริงที่ว่าผลประโยชน์ของรัฐสวัสดิการนั้นไม่ได้ครอบคลุมไปยังพลเมืองของประเทศอื่น.
ด้วยเหตุนี้ จริยธรรมสากลจึงเป็นเรื่องง่ายดายมาก เพราะมาตรฐานทางจริยธรรมที่นำมาใช้ระหว่างเพื่อนร่วมชาตินั้นแตกต่างจากการนำไปใช้ในหมู่คนแปลกหน้า
(แม้ว่านักชาตินิยมบางคนจะพูดถึงเรื่องจริยธรรมสากลว่า ชาติควรจะมีการกำหนดของตนเองก็ตาม)
การกระจายความยุติธรรมเป็นประเด็นในชาติ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นในประเด็นระหว่างชาติ
และระบบสังคมโลกของรัฐชาติ นับเป็นผู้จัดการด้านความยุติธรรมที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
ในกลุ่มการรวมตัวที่มีความแตกต่างเฉพาะตัวของรัฐชาติ
(*)David Miller (born 8 March 1946) is a prominent British
political theorist.
4. แนวคิดสังคมแบบรัฐ (Society of states)
ในขนบปฏิบัติของสังคมแบบรัฐ รัฐถูกมองว่าเป็นองค์ปัจเจกที่สามารถร่วมตกลงในผลประโยชน์ร่วมและกฎเกณฑ์การปฏิบัติต่อกัน
ซึ่งรวมถึงกฎเกณฑ์ด้านคุณธรรม เฉกเช่นเดียวกับที่ปัจเจกบุคคลสามารถกระทำได้ บ่อยครั้งที่ความคิดเรื่องการตกลงร่วมกันระหว่างหมู่เพื่อน
(peers) เกิดขึ้นจากการหาข้อโต้แย้งกันในสัญญาประชาคม
John Rawls (*) คือนักคิดคนสำคัญในขนบแนวคิดนี้ ในผลงาน The Law of Peoples ของ Rawls เขาได้นำเอาวิธีการจากทฤษฎีแห่งความยุติธรรม (A Theory of Justice) ขยายผลออกไปใช้กับคำถามเรื่องความยุติธรรมสากล. ข้อโต้แย้งของเขาคือ เราสามารถแจกแจงเหตุผลเรื่องระบอบการปกครองโลก โดยแสดงให้เห็นว่า ระบอบที่ว่าน่าจะเลือกขึ้นมาจากตัวแทนของประชาชนที่อยู่ในฐานะที่เรียกว่า 'original position' ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ตัวแทนเหล่านั้นรู้ว่าตนเองทำหน้าที่เป็นตัวแทนให้กับใคร รูปแบบของการตัดสินใจโดยไม่รู้ (decision-in ignorance) นี้สร้างความเที่ยงธรรมให้เกิดขึ้นได้เพราะอคติหรือความลำเอียงเห็นแก่ตัวจะถูกตัดออกไปจากการตัดสินใจ
(*)John Rawls (February
21, 1921 - November 24, 2002) was an American philosopher, a professor of
political philosophy at Harvard University and author of A Theory of Justice
(1971), Political Liberalism (1993), The Law of Peoples (1999), and Justice
as Fairness: A Restatement (2001). He is widely considered one of the most
important political philosophers of the 20th century.
เมื่อ Rawls นำวิธีการของเขาไปใช้ในบริบทความยุติธรรมท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มคนใน
original position จะเป็นตัวแทนสมาชิกของสังคมนั้น เขาได้กล่าวว่ามันจะช่วยสนับสนุนการเมืองการปกครองแบบกระจายและเท่าเทียม
(redistributive egalitarian liberal politics) แต่ในทางตรงกันข้าม หากนำวิธีการนี้ไปใช้กับความยุติธรรมสากล
มันจะสนับสนุนจริยธรรมสากลแบบดั้งเดิมของ Kant ที่ว่า เป็นหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะต้องเคารพสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
และข้อจำกัดในการก่อสงคราม แต่ไม่ใช่การหวนกลับไปครอบครองโดยรวม(global repossession)ในทรัพย์สินส่วนบุคคล
ความยุติธรรมที่ใช้ในระดับประเทศและระดับโลกจึงแตกต่างกัน
และแม้ความยุติธรรมจะต้องการความเท่าเทียมกันภายในรัฐ แต่ไม่หมายถึงความเท่าเทียมระหว่างรัฐ
ระบบของรัฐที่อาศัยความร่วมมือจากรัฐต่างๆ อย่างไรก็ตามก็ยังคงเป็นอิสระต่อกันนี้ซึ่งเป็นการจัดการสถาบันระดับโลกที่เหมาะสม.
Rawls บรรยายลักษณะอุดมคตินี้ว่าเป็น 'realistic utopia' (ยูโธเปียที่เป็นจริง)
ทั้งนี้ นอกเหนือจาก Rawls แล้วยังมี Hadley Bull (*) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนแนวคิดนี้เช่นกัน
(*)Hedley Bull (June 10, 1932 - May 18, 1985) was Professor
of International Relations at the Australian National University, the London
School of Economics, and the University of Oxford until his death in 1985.
5. ลัทธิ/แนวคิดพลเมืองโลก (Cosmopolitanism)
ผู้ที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ กล่าวว่า จริยธรรมสากลนั้นเป็นจริงในบางรูปแบบ ฉะนั้นมนุษย์ทุกคนจึงอยู่ภายในขอบเขตของความยุติธรรมเดียวกัน
ข้อเสนอต่างๆ ที่มีปรากฏค่อนข้างจะมีความสอดคล้องกัน อาทิ
1. จุดยืนด้านจริยธรรมของปัจเจกชนนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณลักษณะสำคัญทางคุณธรรมบางอย่าง
2. คุณลักษณะเหล่านั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม (ไม่เฉพาะแค่สมาชิกของชาติ วัฒนธรรม สังคม หรือรัฐหนึ่งๆ)
3. ดังนั้น มนุษย์ทุกคนจึงมีจุดยืนด้านจริยธรรม (และเขตแดนระหว่างชาติ วัฒนธรรม สังคม และรัฐเหล่านี้ ไม่ใช่สิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของคุณธรรม)
อย่างไรก็ตามผู้ที่เชื่อในลัทธิพลเมืองโลกก็ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันไปในแง่ของคุณลักษณะทางด้านคุณธรรมที่มนุษย์ทุกคนมีร่วมกัน ว่าอะไรที่มีความสำคัญในเชิงจริยธรรม
บรรดาผู้สนับสนุนลัทธิพลเมืองโลกเชิงความสัมพันธ์สืบเนื่อง
(Consequentialist cosmopolitans) ซึ่งมี Peter Singer (*) เป็นหนึ่งในนั้น กล่าวว่า
มาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการตัดสินการกระทำหรือสถาบันในเชิงจริยธรรมก็คือ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ นั่นเอง และเครื่องชี้วัดผลลัพธ์ดังกล่าวคือความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
(หรือกระทั่งรวมถึงสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก) การมีความเป็นอยู่ที่ดีหรือทนรับความทุกข์
ทรมาน จึงเป็นจุดยืนทางจริยธรรมอันเป็นพื้นฐานร่วมกัน ซึ่งหมายความว่าการที่คนบางคนประสบกับความทุกข์ยากจากการขาดซึ่งสวัสดิภาพ
อันเป็นผลจากความยากจนนั้น ทำให้เกิดข้อเรียกร้องทางจริยธรรมให้ทุกคนที่อยู่ในฐานะที่จะช่วยเหลือคนอื่นได้
มอบความช่วยเหลือแก่บุคคลที่ขาดแคลนเหล่านั้น โดยไม่คำนึงถึงระยะห่างหรือช่องว่างระหว่างการเป็นคนรวยกับจน
หรือจะเป็นพลเมืองของประเทศใด
(*)Peter Albert David Singer (born July 6, 1946 in Melbourne, Victoria, Australia)
is an Australian philosopher. In 2004, he was recognized as the Australian
Humanist of the Year by the Council of Australian Humanist Societies. 44444444
Outside academic circles,
Singer is best known for his book Animal Liberation, widely regarded as the
touchstone of the animal liberation movement. His views on questions in bioethics
have also attracted attention and controversy, particularly in the United
States, Canada and Germany.
กลุ่มผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน อย่าง Thomas Pogge (*) และ Simon Caney (**) เห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิ
ทั้งนี้อาจกำหนดไว้ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal declaration
of Human Rights) ของสหประชาชาติ และอาจกล่าวได้ว่าสิทธิเหล่านั้นสร้างให้เกิดหน้าที่เชิงบวก
(positive duty) ของคนรวยที่จะมอบสิ่งที่พวกเขามี (ความมั่นคงในชีวิต การทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพ
ฯลฯ ) หรืออีกแง่หนึ่งคือ คนรวยกำลังละเมิดหน้าที่เชิงลบ (negative duty) ที่ไม่ยอมต่อระเบียบโลก(global
order) ซึ่งคอยละเมิดสิทธิของคนยากจนอยู่อย่างเป็นระบบ
(*)Thomas Winfried Menko Pogge is a philosopher, currently Professor of Political
Science at Columbia University
(**)Simon Caney is Professor of Political Theory and Fellow and Tutor of Magdalen
College, Oxford.
คนกลุ่มหนึ่งเห็นด้วยกับการแทรกแซงนโยบายต่างประเทศแบบอนุรักษ์นิยมใหม่ (neoconservative)
โดยใช้มุมมองแบบลัทธิพลเมืองโลก เพื่อให้สิทธิมนุษยชนได้รับประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าแทรกแซงดังกล่าว
บางคนสนับสนุนการปลดปล่อยประเทศอิรัก เพราะสถานการณ์การกดขี่และละเมิดสิทธิมนุษยชนของซัดดัม
ที่กระทำต่อสมาชิกในชุมชนชาวเคิร์ทและชาวมุสลิมที่นับถืออิสลามนิกายชิอัต (Shiite)
ผู้สนับสนุนแนวคิดพลเมืองโลกแต่ละคนยังมีความเห็นแตกต่างกัน
ในลักษณะของการทำความเข้าใจถึงความจำเป็นในการกระจายความยุติธรรม และสิทธิทางกฎหมายของสถาบันระดับโลก
ตัวอย่างเช่น Kai Nielsen (*) สนับสนุนการมีรัฐบาลโลก (world government) ส่วนคนอื่นๆ
อย่าง Simon Caney กลับไม่เห็นด้วย ความแตกต่างที่ว่านี้ยังรวมไปถึงการพิจารณาเรื่องการจัดแบ่งและกระจายทรัพยากรของโลกด้วย
แต่กระนั้น สิ่งที่ทุกคนมีความคิดเห็นตรงกันก็คือ ปัจเจกบุคคลคือสิ่งที่มาตรฐานทางจริยธรรมสากลต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก
ไม่ใช่รัฐ, ชาติ หรือการรวมกลุ่มแบบอื่นๆ
(*)Kai Nielsen is adjunct professor of philosophy at
Concordia University in Montreal and professor emeritus of philosophy at the
University of Calgary.
การเรียกร้องความยุติธรรมสากล
จาก 5 แนวคิดที่กล่าวข้างต้น ไม่มีกลุ่มไหนเลยที่เห็นชอบกับสถานการณ์โลกดังเช่นที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
- สัจจะนิยม นั้นวิจารณ์ถึงรัฐที่จะไล่ตามวิสัยทัศน์ทางจริยธรรมที่สมบูรณ์แบบยูโธเปีย (utopian) ผ่านการแทรกแซงและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แทนที่จะกำหนดประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ของตนเอง กลับทำร้ายพลเมืองของตน และทำให้ระบบสากลนั้นไม่มีความเป็นเสถียรภาพ
- เฉพาะกลุ่มนิยม ให้ความสนใจไปที่การทำลายวัฒนธรรมแบบประเพณีนิยมด้วยลัทธิอาณานิคมเชิงวัฒนธรรม ภายใต้หน้ากากของเศรษฐกิจเสรีนิยม ไม่ก็การปกป้องสิทธิมนุษยชน หรืออาจเป็นวิธีการอะไรที่ดูก้าวร้าวและโจ่งแจ้งกว่านั้น- กลุ่มชาตินิยม นั้นสลดกับความจริงที่คนจำนวนมาก ต้องกลายเป็นคนที่ไม่มีรัฐหรือต้องอยู่อย่างขาดแคลนภายใต้ระบอบการปกครองทรราช
- กลุ่มสังคมแบบรัฐ ได้ให้ความสนใจไปที่รัฐซึ่งทุจริต และความทะเยอทะยานในการแสวงหาอำนาจของแบบจักรวรรดิ
- กลุ่มลัทธิพลเมืองโลก เชื่อว่าโลกในยุคร่วมสมัยนี้ไม่อาจรักษาและดำรงตนได้ตามมาตรฐาน และทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในด้านความมั่งคั่งของประชาชนและรัฐ ตัวอย่างเช่น อาจต้องให้มีการถ่ายโอนทรัพย์สินเหล่านั้นไปให้คนยากจน ต้องมีการก่อตั้งสถาบันนานาชาติ ที่สามารถจำกัหรือขจัดการกระทำที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนของรัฐที่ทรงอำนาจและผู้ให้ความร่วมมือ หรือให้เราทุกคนตื่นตัวต่อปัญหานี้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมสากล
(Global Justice Movement)
การเคลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมสากลหรือ Global Justice Movement เป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมในวงกว้างระดับโลก
เพื่อต่อสู้คัดค้านกับสิ่งที่เรียกว่า "corporate globalization"(โลกภิวัตน์บรรษัท)
และส่งเสริมการกระจายทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียม และองค์กรหรือกลุ่มคนหลายๆ
กลุ่มที่ใช้คำๆนี้ ต่างนิยามตนเองว่า เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของทศวรรษนี้เอง
ความเคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ
(A Movement of Movements)
การเคลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมสากล จะอธิบานถึงการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ของบุคคลหรือกลุ่มคน
ซึ่งมักเรียกว่าเป็นความเคื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งได้ให้การสนับสนุนกฎเกณฑ์ทางการค้าที่เป็นธรรม
และช่วยกันจับตาการทำงานของสถาบันเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบันอย่างองค์การการค้าโลก
(World Trade Organization) การเคลื่อนไหวส่วนใหญ่มักถูกขนานนามโดยสื่อมวลชนกระแสหลักว่า
เป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่ต่อต้านโลกาภิวัตน์ (anti-globalization) แต่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มการเคลื่อนไหวเองนั้น
จะปฏิเสธว่าตนไม่ได้เป็นพวกต่อต้านโลกาภิวัตน์ และย้ำว่าพวกเขาสนับสนุนโลกาภิวัตน์ในด้านการติดต่อสื่อสารและผู้คน
และต่อต้านเฉพาะในเรื่องของการขยายอำนาจที่ครอบคลุมทั่วโลกเท่านั้น
การเคลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมสากล คำนี้ยังกินความต่อไปถึง นักต่อต้านทุนนิยมและการมีมุมมองแบบสากลนิยมต่อโลกาภิวัตน์ ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวดังกล่าว แตกต่างจากกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์อื่นๆ ที่ยึดเอาการต่อสู้เพื่ออธิปไตยของชาติแบบอนุรักษ์นิยม เป็นพื้นฐานในการต่อสู้เรียกร้อง ผู้เข้าร่วมในการเคลื่อนไหวมีทั้งกลุ่มนักเรียนนักศึกษา, NGOs, สหภาพแรงงาน, กลุ่มผู้เชื่อในศาสนาและสันติภาพจากทั่วโลก. อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่าการเคลื่อนไหวนี้ ถูกชักนำโดย NGOs ของประเทศซีกโลกเหนือ และมีการกีดกันทำให้องค์กรต่างๆ ภาคประชาชนจากซีกโลกใต้ถูกดันไปอยู่ชายขอบอย่างเป็นระบบด้วย
การประท้วงครั้งใหญ่
การเคลื่อนไหวมีลักษณะเฉพาะจากการประท้วงของมวลชนกลุ่มใหญ่ และการประชุมของผู้นำทางเลือก
ที่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการประชุมนานาชาติของกลุ่มประเทศ G8, องค์กรการค้าโลก(World
Trade Organization), สถาบันกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF)(International Monetary
Fund) และธนาคารโลก(World Bank)
การเคลื่อนไหวได้กลายเป็นประเด็นสนใจมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา เมื่อนักต่อสู้สามารถใช้การประท้วงทำให้การประชุมระดับรัฐมนตรีของ WTO ในปี 1999 ณ เมือง Seattle ต้องยุติลง ความสำเร็จนี้เป็นภาพสะท้อนของหนึ่งในบรรดาการประท้วงเพื่อความยุติธรรมสากล ซึ่งรวมถึงการประท้วงการประชุม World Bank / IMF ในปี 1988 ณ ประเทศเยอรมนี, "IMF riots" เรื่องราคาอาหารในปี 1998 ณ ประเทศอินโดนีเซีย, และ "water war" ที่โบลิเวีย ซึ่งพูดถึงการนำนโยบายที่ธนาคารโลกแนะนำไปปฏิบัติ
ภราดรภาพแห่งนานาประเทศ
การเคลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมสากลนั้น ให้ความสำคัญอย่างมากกับความสามัคคีระหว่างนานาชาติ
ที่รวมให้นักเคลื่อนไหวในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ได้มาร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียว
มีบางคนกล่าวว่า World Social Forum (การประชุมสมัชชาสังคมโลก) ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของการให้ความสำคัญต่อความสามัคคีร่วมมือกัน
ซึ่งได้นำให้นักเคลื่อนไหวจากทั่วโลกมาร่วมกันแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักปรัชญาและการรณรงค์ต่างๆ
กระนั้นก็ยังมีบางกลุ่มที่มองว่า World Social Forum นั้นถูกครอบงำโดยกลุ่มนักเคลื่อนไหวจากซีกโลกเหนือ
และภาพตัวแทนของซีกโลกใต้ก็ถูกจัดการโดย NGOs ของซีกโลกเหนือ ส่วนองค์กรต่างๆ
ของซีกโลกใต้ถูกกันออกไปมีบทบาทอยู่เพียงชายขอบ ด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้การเคลื่อนไหวหลายๆ
ครั้งในซีกโลกใต้ จึงไม่เข้าร่วมและต่อต้านการประชุม. Jubilee campaign (*) เป็นการรณรงค์ที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวรวมตัวกันเพื่อเรียกรน้องให้มีการยกเลิกหนี้สินแก่ประเทศโลกที่สาม
(*)Jubilee 2000 was an international coalition movement in over 40 countries
that called for cancellation of third world debt by the year 2000. This movement
coincided with the Great Jubilee, the celebration of the year 2000 in the
Catholic Church. From early 2001, Jubilee 2000 split into an array of organisations
around the world.
องค์กรเพื่อความยุติธรรมสากล
องค์กรเพื่อความยุติธรรมสากล(Global Justice Organization) ก่อตั้งในสหรัฐอเมริกา
โดยกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีและโท แห่งมหาวิทยาลัย Harvard เมื่อปี 2001 ด้วยหัวข้อการรณรงค์ที่หลากหลาย
ทางองค์กรฯ ได้แตกสายขาย่อยๆ ออกไปในพื้นที่ของโรงเรียนมัธยมและวิทยาลัยกว่า
15 แห่งทั่วประเทศ
พันธกิจขององค์กรเพื่อความยุติธรรมสากล
พันธกิจของ Global Justice คือ จัดตั้งและสนับสนุนให้หมู่นักเรียนและเยาวชนได้เป็นนักกิจกรรมเพื่อความยุติธรรมด้านเศรษฐกิจและสังคม
และจากพันธกิจดังกล่าว "เราจะทำให้เกิดผลกระทบแบบฉับพลัน ด้วยการสนับสนุนนโยบายที่จะช่วยเพิ่มความเข้มแข็งให้กับชุมชนโลก
และสร้างความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวด้วยการกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวกลายมาเป็นนักกิจกรรมเพื่อความยุติธรรมสากลตลอดชีวิต
เราสามารถบรรลุเป้าหมายได้โดยผ่านการให้นักเรียนได้เป็นเจ้าของและเป็นผู้นำการรณรงค์
พัฒนาทักษะการเป็นผู้นำ การเป็นตัวแทนผู้สนับสนุน และการศึกษา"
ที่มาของการรณรงค์ต่างๆ
Global Justice เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนโดยนักศึกษา การรณรงค์ระดับรากหญ้าที่มีเป้าหมายไปที่การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลและองค์กรภาคธุรกิจ
Student Global AIDS Campaigns (SGAC) เป็นการรณรงค์ที่เริ่มขึ้นเมื่อปี 2001
โดยมีเป้าหมายที่จะนำไปสู่การตอบสนองที่เน้นความร่วมมือร่วมใจและมีประสิทธิภาพต่อวิกฤตการณ์โรคเอดส์(HIV/AIDS)
หัวข้อการรณรงค์ที่ 2 ของ Global Justice คือ Student Campaign for Child Survival (SCCS) ซึ่งมีขึ้นเมื่อปี 2002 เน้นไปที่การให้ความสนใจระดับนานาชาติต่อปัญหาการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบจำนวนกว่า 10 ล้านคน ซึ่งแต่ละปีต้องเสียชีวิตเพราะการติดเชื้อจากโรคที่สามารถป้องกันได้. และการรณรงค์สุดท้ายคือ Student Trade Justice Campaign ที่เน้นที่การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การค้าโลก เพื่อสนับสนุนสิทธิของคนงาน รักษารูปแบบที่มีความจำเป็นต่อชีวิตของเกษตรกร และการขยายการเข้าถึงสาธารณสุข การแพทย์ เพื่อรักษาชีวิต
เหตุการณ์สำคัญและผลสำเร็จ
องค์กร Global Justice ได้ใช้ทั้งการศึกษา การทำงานด้านสื่อ รวมถึงการประท้วง
และสามารถได้รับชนะที่สำคัญๆ หลายครั้งนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง อาทิ
- ทุนสนับสนุนจาก Global Fund: สมาชิกของการรณรงค์ SGAC และ SCCS ได้เข้าร่วมในการผลักดันให้มีการเพิ่มงบประมาณช่วยเหลือจากสหรัฐอเมิรกาให้แก่ Global Fund เพื่อต่อสู้กับโรคเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย จนในปี 2005 ได้มีงบประมาณขึ้นไปสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
- "Kick Coke Off Campus": กลุ่มรณรงค์ SGAC ขององค์กร Global Justice ได้เข้าร่วมกับนักกิจกรรมด้านเอดส์อื่นๆ ในการกดดันให้ Coca-Cola ช่วยเหลือในการรักษาคนงานที่ติดเชื้อ HIV ในฐานโรงงานบรรจุขวด ในแอฟริกา- 04. Stop. AIDS: เครือข่ายของนักกิจกรรมด้าน HIV และ AIDS โดยส่วนหนึ่งนั้นเป็นสมาชิกในการรรรงค์ SGAC ได้เข้าร่วมในการหาเสียงเลือกตัวแทนประธานาธิบดี และยื่นประเด็นคำถามต่างๆ จนทำให้ผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งจากพรรคเดโมแครททุกคน ได้มีการชูประเด็นเรื่องระบบการจัดการเชิงรุกต่อปัญหา AIDS (ประธานาธิบดี George W. Bush ปฏิเสธที่จะพูดคุยกับนักกิจกรรม หรือแม้กระทั่งอนุญาตให้มีการเข้าร่วมในกิจกรรมหาเสียง)
- การเดินขบวนของนักศึกษาเพื่อต่อสู้กับโรค AIDS (Student March Against AIDS): ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2005. SGAC ได้จัดการเคลื่อนไหวเรียกร้องที่มีสมาชิกเข้าร่วมมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา โดยมีนักศึกษาและคนหนุ่มสาวกว่า 4000 คน จากทั่วประเทศร่วมเดินขบวนในกรุงวอร์ชิงตัน ดี.ซี.
- SACU & CAFTA: ในปี 2006 กลุ่มรณรงค์ STJC ขององค์กร Global Justice ต่อต้านข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) (Free Trade Agreement) กับประเทศแอฟริกาใต้ ทำให้มีการระงับการลงนามในข้อตกลงดังกล่าว และก่อนหน้านั้นได้มีการต่อต้าน CAFTA ด้วย
- Gilead Sciences Corporate Campaign: ฤดูใบไม้ผลิ ปี 2006 SGAC ได้จัดการรณรงค์ต่อองค์กรธุรกิจ ครั้งที่ 2 ขึ้น โดยในครั้งนี้มุ่งเป้าไปที่นักการตลาดของตัวยารักษา AIDS (second-line AIDS drugs) ที่ไม่เปิดโอกาสแก่ประเทศที่มีรายได้ต่ำ-ปานกลาง ในการเข้าถึงยาเหล่านั้น บริษัท Gilead Sciences ได้ตกลงที่จะอนุญาตให้ยา Tenofovir นั้นขึ้นทะเบียนเป็นยาสามัญ และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันได้ (generic competition)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
is
an issue in political philosophy arising from the concern that
"we
do not live in a just world." Many people are extremely poor,
while others are extremely rich. Many live under tyrannical regimes.
Many are vulnerable to violence, disease, and starvation.
Many die prematurely. How should we understand and respond to these facts?
What do the inhabitants of the world owe one another?
What institutions and what ethical standards should we recognise and
apply throughout the world? Three central concerns
the scope of justice, distributive justice, and institutions