โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๔๙ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (December, 29, 12, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

29-12-2550

Interdisciplinary
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของวงการสหวิทยาการทางด้านสังคมศาสตร์
การประชุมนานาชาติ ว่าด้วยสังคมศาสตร์สหวิทยาการ 2008
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความนี้ แปลจากเว็บไซต์การประชุมสังคมศาสตร์สหวิทยาการนานาชาติ ๒๐๐๘
ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นในราววันที่ ๒๒-๒๕ กรกฎาคม ๒๐๐๘ ณ มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศอิตาลี
โดยสาระสำคัญ เป็นการให้ภาพถึงความเคลื่อนไหวล่าสุด เกี่ยวกับวงการสหวิทยาการ
สายสังคมศาสตร์ โดยได้ให้ความรู้ภูมิหลังเกี่ยวกับการประชุมนานาชาติดังกล่าว
รวมถึงขอบเขตการข้ามผ่านพรมแดนความรู้สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ
วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังให้คำอธิบายเรื่องของสาขาวิชา และความเป็นวิทยาศาสตร์
รวมไปถึงข้อติดตันของมนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ในบางด้านอย่างน่าสนใจ
ตลอดถึงการให้เหตุผลคำอธิบายเกี่ยวกับความจำเป็นในการศึกษาสหวิทยาการ
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๔๙
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของวงการสหวิทยาการทางด้านสังคมศาสตร์
การประชุมนานาชาติ ว่าด้วยสังคมศาสตร์สหวิทยาการ 2008
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความนำ
ในการประชุมประจำปี ค.ศ.2008 นี้ จะจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยโมนาช(the Monash University Centre, Prato, Tuscany, ประเทศอิตาลี เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 - 25 กรกฎาคม 2008. การประชุมดังกล่าว จะพูดถึงปฏิบัติการสหวิทยาการข้ามสาขาวิชาสังคมศาสตร์ และระหว่างสังคมศาสตร์ต่างๆ กับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และวิชาชีพต่างๆ. ปาฐกสำคัญหลักๆ จะประกอบด้วยนักคิดชั้นนำของโลกทางด้านสังคมศาสตร์ เช่นเดียวกับเอกสารทางวิชาการจำนวนหนึ่ง การอภิปราย และการนำเสนอการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยบรรดานักปฏิบัติการ ครู/อาจารย์ และนักวิจัย ทั้งหมดได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วมการประชุมที่สำคัญครั้งนี้

บรรดาผู้มีส่วนร่วมจะได้รับการเชื้อเชิญเพื่อนำเสนอรายงานหรือผลงานทางวิชาการ ด้วยการเสนอผลงาน 30 นาที, และการประชุมเชิงปฏิบัติการ 60 นาที, นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายร่วมกัน 90 นาทีด้วย ส่วนการประชุมคู่ขนานจะถูกจัดเป็นกลุ่มๆ อย่างหลวมๆ ในหัวเรื่องต่างๆ (streams) ที่สะท้อนถึงมุมมองที่แตกต่างหรือสาขาวิชาอันหลากหลาย. ในแต่ละหัวเรื่อง ยังมีวงสนทนา(talking circle)ของตนเองด้วย ซึ่งจะเป็นวงสนทนาที่เพ่งความสนใจลงไปที่การพูดคุยถึงประเด็นปัญหาต่างๆ. สำหรับผู้ไม่สามารถเข้ามาร่วมประชุมด้วยตัวเองได้ สามารถมีส่วนร่วมโดยการประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม(virtual participation)

เราสนับสนุนให้ผู้นำเสนอผลงานทุกคนส่งเอกสารหรืองานเขียนไปที่วารสารสังคมศาสตร์สหวิทยาการนานาชาติ (The International Journal of Interdisciplinary Social Sciences), ซึ่งเป็นวารสารกลางทางวิชาการฉบับหนึ่ง. ส่วนผู้ประสงค์มีส่วนร่วมการประชุมทางไกลฯ ต้องส่งเอกสารวิชาการให้กับวารสารฉบับดังกล่าวพิจารณาด้วย. ผู้มีส่วนร่วมประชุมทั้งหมดซึ่งลงทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะได้รับการลงชื่อในระบบออนไลน์เพื่อค้นดูวารสาร และจะสามารถเข้ามาอ่านเนื้อหาของวารสารฉบับนี้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี หลังจากการประชุม (สิทธินี้จะสิ้นสุดวันที่ 22 กรกฎาคม 2009)

ภูมิหลังเกี่ยวกับการประชุม
การประชุมนานาชาติว่าด้วย สังคมศาสตร์สหวิทยาการ
International Conference on Interdisciplinary Social Sciences
การประชุมสังคมศาสตร์สหวิทยาการได้รับการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในหลายๆ สถานที่แตกต่างกันทั่วโลก ตัวอย่างเช่นในปี ค.ศ.2007 การประชุมได้จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัย the Granada, จังหวัด Andalusia ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสเปน และในปี 2006 ที่ผ่านมา ได้รับการจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัย the Aegean, ที่ตั้งอยู่บนเกาะ Rhodes, ประเทศกรีก. การประชุมนานาชาติว่าด้วยสังคมศาสตร์สหวิทยาการ จะทำการสำรวจถึงธรรมชาติเกี่ยวกับปฏิบัติการสหวิทยาการต่างๆ และปฏิบัติการดังกล่าวที่เกิดขึ้นในบริบทของการใช้ประโยชน์ในโลกที่เป็นจริง นอกจากนี้ยังมีการซักไซ้ไล่เรียงเรื่องการประกอบสร้างความรู้ในบริบททางสังคม และความเชื่อมโยงระหว่างสังคมศาสตร์กับศาสตร์ทางด้านอื่นๆ ด้วย

สำหรับเอกสารทางวิชาที่การประชุมครั้งนี้ให้ความสนใจ เรียงลำดับจากประเด็นเล็กๆ และมีลักษณะเชิงประจักษ์ (เช่น งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ และผลลัพธ์ต่างๆ จากงานในสาขาวิชา) ไปสู่ประเด็นปัญหาใหญ่ที่มีขอบเขตกว้างขวางเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการอันหลากหลายทางวิชาการ(multi-disciplinary) และการข้ามผ่านสาขาวิชา(transdisciplinary) ในด้านมุมมองต่างๆ ทางด้านความรู้และวิธีการ

จิตวิญญานของการแลกเปลี่ยนแบบสหวิทยาการ การประชุมดังกล่าวจะเกี่ยวพันกับบรรดานักวิชาการทั้งหลาย ครูอาจารย์ และนักวิจัยที่มีประสบการณ์การทำงานอย่างกว้างขวางในพื้นที่ศึกษาต่างๆ อาทิเช่น มานุษยวิทยา, วิทยาศาสตร์ประยุกต์, พฤติกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับรู้ (cognitive science)(*), การสื่อสาร, เศรษฐศาสตร์, การศึกษา, วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, สาธารณสุขศาสตร์, มนุษยศาสตร์, สหวิทยาการศึกษา, กฎหมาย, การจัดการ, คณิตศาสตร์และสถิติ, สื่อ, วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, ฟิสิกส์, รัฐศาสตร์, นโยบายสาธารณะ, จิตวิทยา, ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ, สังคมสวัสดิการ, สังคมวิทยาและเทคโนโลยี… และพื้นที่ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวเรื่องของการประชุมในครั้งนี้
(*) The field of science concerned with cognition; includes parts of cognitive psychology and linguistics and computer science and cognitive neuroscience and philosophy of mind

การประชุมดังกล่าวจะให้คำอธิบายและทำความเข้าใจโดยสังเขป เกี่ยวกับความคิดร่วมสมัยทางด้านสังคมศาสตร์ จากการวิเคราะห์ผ่านมุมมองภาพกว้างโดยปาฐกสำคัญซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญอันเป็นที่รู้จักจากนานาประเทศ สู่กรณีศึกษาที่เจาะลึกลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับสังคมศาสตร์ในเชิงปฏิบัติการ ยิ่งกว่านั้น จะข้ามผ่านพื้นที่การศึกษาอย่างกว้างขวาง จากทฤษฎีและการวิเคราะห์ สู่ยุทธวิธีต่างๆ ในเชิงปฏิบัติ

การประชุมสังคมศาสตร์สหวิทยาการ เป็นการประชุมของนักวิชาการต่างๆ ที่จะมานำเสนอผลงาน ประกอบด้วยการประชุมกลุ่มย่อยคู่ขนานจำนวนมาก คณะผู้จัดการประชุมกำลังเชิญชวนให้นักวิชาการทั้งหลายส่งผลงานวิชาการที่จะนำเสนอในช่วง 30 นาที และวาระการประชุมในรูปของการประชุมเชิงปฏิบัติการ 60 นาที, หรือการอภิปราย 90 นาทีมายังคณะทำงาน โดยมีรายละเอียดคร่าวๆ ดังต่อไปนี้: เอกสารทางวิชาการ หรืองานวิจัย หรือการนำเสนอคำบรรยายเกี่ยวกับการริเริ่มทางการศึกษาใหม่ต่างๆ

วารสารสังคมศาสตร์สหวิทยาการนานาชาติ
International Journal of Interdisciplinary Social Sciences
ผู้มีส่วนร่วมกับการประชุม สามารถที่จะเสนอผลงานทางวิชาการไปที่ วารสารสังคมศาสตร์สหวิทยาการนานาชาติ ก่อนมีการจัดประชุมและกระทั่งหลังจากนั้นหนึ่งเดือน ภายหลังการประชุมผ่านพ้นไปแล้ว ผลงานวิชาการทั้งหลายที่เสนอพิมพ์ จะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการผู้จัดพิมพ์อย่างละเอียด สำหรับการตัดสินใจพิมพ์เผยแพร่ผลงานฯ จะตั้งอยู่บนพื้นฐานรายงานต่างๆ ของคณะกรรมการดังกล่าว. ส่วนผู้ที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ การลงทะเบียนเข้าประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม ได้รับการเตรียมขึ้นมาสำหรับผู้มีความประสงค์มีส่วนร่วม โดยสามารถเข้าถึงวารสารอิเล็กทรอนิก. และเช่นเดียวกัน หากประสงค์นำเสนอผลงานทางวิชาการสามารถส่งไปได้ที่วารสารสังคมศาสตร์สหวิทยาการนานาชาติ
ข้อมูลจาก http://i08.cgpublisher.com/welcome.html

ผลงานสหวิทยาการ สาขาวิชาสังคมศาสตร์
The Disciplinary Work of the Social Sciences
แต่ละศาสตร์ทางด้านสังคม จะได้รับการทำเครื่องหมายโดยความต่างด้านวิธีการของมัน - เช่น ปฏิบัติการทางความคิดเกี่ยวกับมานุษยวิทยา, โบราณคดี, พฤติกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์การรับรู้, การสื่อสาร, วัฒนธรรมศึกษา, ประชากรศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, การศึกษา, ภูมิศาสตร์, มนุษยศาสตร์, กฎหมาย, การบริหารจัดการ, สื่อ, รัฐศาสตร์, นโยบายสาธารณะ, จิตวิทยา, สังคมสวัสดิการ, สังคมวิทยา, ถึงวิทยาศาสตร์สังคมที่สำคัญอื่นๆ เนื่องจากความแตกต่างของสาขาวิชาเหล่านี้ค่อนข้างเป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งบรรดาผู้มีส่วนร่วมทั้งหลายในพื้นที่การศึกษาดังกล่าวอาจต้องพิจารณาสาขาวิชาของตนในประเด็นต่างๆ เพื่อความเข้าใจร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ จึงขอเสนอกรอบของนิยาม ความหมาย เพื่อการพิจารณาและเพื่อทำความเข้าใจให้กระจ่างชัด ดังนี้

1. อะไรคือสาขาวิชา?
อะไรคือสาขาวิชา? (What is a discipline?) สาขาวิชาต่างๆ คือพื้นที่ของเนื้อหาความรู้เชิงลึกและเต็มไปด้วยรายละเอียด เช่น

- เป็นชุมชนของนักปฏิบัติการมืออาชีพ
- รูปแบบต่างๆ ของคำบรรยาย (เกี่ยวกับความแตกต่างเชิงความหมาย เนื้อหา ความจริง และเชิงเทคนิค)
- พื้นที่ของการทำงาน (องค์กร หรือแผนกในองค์กรต่างๆ อย่างเช่น ภาควิชา, หรือองค์กรวิจัยต่างๆ)
- ขอบเขตของงานพิมพ์ และการสื่อสารสาธารณะ
- สถานที่ตั้งของการเรียนรู้ร่วมกัน
- การแบ่งปันประสบการณ์ของนักศึกษาหรือผู้ฝึกปฏิบัติในชุมชนสาขาวิชา
- ระเบียบวิธีของการอ่านและการวิเคราะห์โลก, วิธีคิด, หรือกรอบต่างๆ ของทฤษฎีความรู้, กระทั่ง
- วิถีปฏิบัติ และแบบฉบับหรืออัตลักษณ์ของบุคคล

"สาขาวิชา"วางเค้าโครงพรมแดนต่างๆ ของชุมชนทางปัญญา, ปฏิบัติการที่แตกต่างและระเบียบวิธีการศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่ความรู้เฉพาะศาสตร์ของความบากบั่นทางสติปัญญาอย่างเข้มงวดและเอาใจใส่ และกรอบต่างๆ ที่ผันแปรของการอ้างอิงที่ถูกนำมาใช้เพื่อตีความโลก

2. อะไรคือวิทยาศาสตร์?
อะไรคือวิทยาศาสตร์? (What is a science?) บางคนที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องทางสังคมจนเคยชินและกว้างขวาง อาจเรียกตัวของพวกเขาเองว่า"วิทยาศาสตร์" แต่คนอื่นๆ กลับไม่เรียกเช่นนั้น. ในคำภาษาอังกฤษ"science"(วิทยาศาสตร์) เป็นคำที่รับมาจากภาษาลาติน "sciens" หรือ "knowing" (การรู้). การย้อนกลับไปสู่ความกว้างขวางของรากศัพท์คำนี้ หมายถึง "การศึกษาต่างๆ เกี่ยวกับมนุษย์"(studies of the human) ก็ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกัน

"วิทยาศาสตร์"(science) ในความหมายกว้างที่สุด มีนัยยะและความเข้มข้นเกี่ยวกับการเพ่งความสนใจและการเอาใจใส่ โดยมีการใช้พลังต่างๆ ทางสติปัญญามากกว่าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเพียงสามัญสำนึก หรือความรู้ธรรมดา. มันเป็นการทำงานมากขึ้นและยากลำบากหนักหน่วงยิ่งขึ้น. มันพึ่งพาความเข้มงวดในระเบียบวิธี และปัญญาที่สั่งสมเกี่ยวกับการปฏิบัติการต่างๆ ในสาขาวิชา. เหล่านี้คือบางอย่างที่นอกเหนือไปจากกระบวนการความรู้ปกติ ที่อาจให้เหตุผลของการใช้คำว่า"วิทยาศาสตร์" ซึ่งไม่เพียงในด้านสังคมศาสตร์เท่านั้น แต่รวมไปถึงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกตด้วย:

- วิทยาศาสตร์ เป็นพื้นฐานประสบการณ์(experience)อันหนึ่ง ประสบการณ์นี้อาจวางอยู่บนสหัชญานส่วนตัวโดยตรง(direct personal intuition) ของสิ่งที่รู้แล้ว, หรือวางอยู่บนความสนใจต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของโลกชีวิต, วางอยู่บนความรุ่มรวยของชีวิตที่ดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์. หรือมันอาจจะได้ประสบการณ์มา เมื่อเราเคลื่อนไปสู่พื้นที่ความรู้แปลกใหม่และมีศักยภาพ, เป็นการพัฒนากระบวนการเชิงประจักษ์(ไม่ใช่เชิงทฤษฎี) เกี่ยวกับการสังเกตอย่างมีระเบียบ หรือการทดลองอย่างเป็นระบบ

- วิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องของแนวคิด(conceptual) มันมีกรอบของการอ้างอิงเป็นหมวดหมู่ วางอยู่บนระดับของความถูกต้องทางความเป็นจริง และความสม่ำเสมอสูงกว่าคำอธิบายในชีวิตประจำวัน ด้วยรากฐานนี้ มันได้สร้างทฤษฤีต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งเป็นแบบจำลองเกี่ยวกับโลกและพัฒนากระบวนทัศน์ต่างๆ ในเชิงอธิบาย

- วิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องของการวิเคราะห์ (analytical) กล่าวคือ มันได้พัฒนากรอบต่างๆ ของเหตุผลและคำอธิบาย: ตรรกะ, การอนุมาน, การคาดการณ์, การตั้งสมมุติฐาน, วิธีการอุปนัย(induction)(สรุปจากการสังเกตสิ่งต่างๆ), และวิธีการนิรนัย(deduction)(การพิจารณาจากหลักทั่วไป ไปสู่เรื่องเฉพาะ). และมันมองดูโลกโดยผ่านสายตาในเชิงวิพากษ์อย่างระมัดระวังเสมอ(an always cautiously critical eye), การซักไซ้ไล่เลียงด้วยความสนใจ, ด้วยแรงดลใจและมีจริยธรรมต่างๆ ที่อาจกระตุ้นความรู้ ข้ออ้างต่างๆ และสมมุติฐานเชิงทฤษฎีความรู้ สู่กระบวนการที่รอบคอบเกี่ยวกับการไตร่ตรองความรู้อภิปริชาน(metacognitive reflection)(*)

(*) Metacognition is often defined as thinking about thinking, and is used to help students learn. Much of the existing research on metacognition, at least in the domain of experimental psychology, has focused on judgments people make about the strengths of their memories (e.g., "how confident are you in that answer," or "how well will you remember that if you are tested later?), and how those judgments affect study decisions.

- วิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการมุ่งประโยชน์(application-oriented) อาจเรียกว่า เป็นเรื่องของการปฏิบัติ การออกแบบและการแก้ปัญหาเชิงปฏิบัติอย่างได้ผลในกรอบใหญ่ เกี่ยวกับการอ้างอิง และความสัมฤทธิผลทางเทคนิค รวมถึงผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์. หรืออาจเป็นเรื่องของความเปลี่ยนแปลง - ปฏิบัติการที่ออกแบบขึ้นมาใหม่อีกครั้ง, การเป็นอยู่ของสังคม และกระทั่งเงื่อนไขต่างๆ ของโลกธรรมชาติ . ท้ายที่สุด อะไรคือวัตถุประสงค์ของความรู้ นอกเหนือจากการมีผลต่อโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม?

วิทยาศาสตร์ สามารถเป็นสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน. บางสาขาวิชาอาจเรียงลำดับกระบวนการความรู้บางอย่างมาก่อนอันอื่น และนี่อาจเป็นต้นตอของความเข้มแข็งของพวกมัน เช่นเดียวกับความอ่อนแอของมันด้วยเช่นกัน. ในบางสถานการณ์ สิ่งเหล่านี้คือชนิดของสิ่งต่างๆ ที่เราทำ เพื่อที่จะรู้ในสิ่งที่อยู่เหนือวิธีการธรรมดา ที่ควรค่าแก่การได้รับการเรียกขานว่า"วิทยาศาสตร์"

การประชุมสังคมศาสตร์สหวิทยาการ และวารสารสังคมศาสตร์ฯ จะตระเตรียมพื้นที่หนึ่งเอาไว้ เพื่อสนทนาเกี่ยวกับปฏิบัติการที่ปรวนแปรของสาขาวิชาต่างๆ และจะทำการสำรวจตัวอย่างต่างๆ ของปฏิบัติการเหล่านี้ในความเคลื่อนไหว. ในแง่มุมนี้ ความสนใจทั้งหลายต้องมีการกำหนดนิยามและยกตัวอย่างความเป็นสาขาวิชา. การจัดให้มีการสนทนานี้จะเรียงลำดับจากกรอบกว้างๆ และอาจยังไม่แน่นอน ไปสู่เรื่องของจุลจักรวาล และเรื่องเชิงประจักษ์

ผลงานสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ
The Interdisciplinary Work of the Social and Other Sciences
สหวิทยาการ, การข้ามสาขาวิชา, หรือความหลากหลายทางวิชาการ(Interdisciplinary, transdisciplinary or multidisciplinary) ต่างก็คืองานที่ข้ามผ่านพรมแดนความรู้หรือสาขาวิชาด้วยกันทั้งสิ้น อันนี้อาจเป็นเหตุผลในเชิงปฏิบัติเพื่อที่จะมองและทำสิ่งต่างๆ ที่ไม่สามารถพิจารณาหรือกระทำมันได้อย่างเหมาะสมด้วยวิธีการหรือแก่นแท้ของสาขาวิชาการใดวิชาการหนึ่ง. ทัศนะที่กว้างขวางสามารถพิสูจน์ความจริงได้มีพลังมากกว่าทัศนะที่คับแคบเพียงหนึ่งเดียว และแม้กระทั่งการตกผลึกอย่างประณีตในแต่ละสาขาวิชาต่างๆ ก็ตาม การมองมันในลักษณะสัมพันธ์เชิงบริบทกว้างๆ สามารถพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงได้อย่างมีพลังยิ่งกว่า. แต่อย่างไรก็ตาม มุมมองเชิงลึกของแต่ละสาขาวิชาอาจเป็นที่ต้องการเพื่อทำให้เกิดความสมดุล ด้วยการวัดหรือประเมินมุมมองอย่างกว้างขวางของวิธีการสหวิทยาการ

วิธีการศึกษาในแบบสหวิทยาการอาจถูกนำมาประยุกต์เพื่อเหตุผลต่างๆ เกี่ยวกับหลักการ กล่าวคือ ทำให้ความคับแคบหรือเคยชินจนเป็นนิสัยแตกออก หรือเป็นมุมมองภายนอกที่ส่องเข้าไปในความรู้แต่ละสาขาวิชา เพื่อท้าทายความยึดติด การฝังตรึงทางความคิดในสาขาวิชาที่ได้สร้างภาวะอุดตันขึ้นมาเช่นเดียวกับความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้ง. ถ้าหากว่าโลกความรู้ที่เรียนรู้ได้เป็นเอกภาพ สาขาวิชาก็ยังเป็นเรื่องที่มีทั้งได้และเสีย สหวิทยาการอาจเป็นส่วนหนึ่งที่มาช่วยแก้ไขในสิ่งที่ขาดหรือส่วนที่เสียไปนั้นได้

วิธีการทางด้านสหวิทยาการยังเจริญเติบโตในพื้นที่ที่ความรู้ของแต่ละสาขาวิชามาทับซ้อนกัน และปูความเข้าใจต่างๆ พวกมันเป็นที่ต้องการในเชิงปฏิบัติต่อการประยุกต์ความเข้าใจของสาขาวิชาต่างๆ ที่มีต่อโลกของความจริง. ความรู้ประยุกต์ที่แข็งแกร่งเรียกร้องความเป็นองค์รวมของสหวิทยาการ การผูกพันเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้หรือญานวิทยาอย่างกว้างขวางเป็นที่ต้องการ สำหรับความสามารถที่จะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีความสลับซับซ้อนของโลกบูรณาการที่เป็นจริง. การประชุมสังคมศาสตร์สหวิทยาการ และวารสารสังคมศาสตร์ฯ คือพื้นที่ซึ่งเปิดให้มีการสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับปฏิบัติการต่างๆ ทางด้านสหวิทยาการที่ผันแปรเหล่านี้ และเป็นพื้นที่การนำเสนอปฏิบัติการดังกล่าวออกมาเป็นรูปธรรม โดยข้ามผ่านสาขาวิชาสังคมศาสตร์, วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ฯลฯ

วิธีมอง, วิธีคิด และวิธีรู้
Ways of Seeing, Ways of Thinking and Ways of Knowing
อะไรคือปริมณฑลอันแตกต่างระหว่างสังคมศาสตร์, วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์? อะไรคือความคล้ายคลึง ความสอดคล้อง และความต่างของศาสตร์เหล่านี้?

ในภาษาอังกฤษ(แต่ไม่ใช่ในภาษาอื่น) "วิทยาศาสตร์"(science) ประสบปัญหาคือความคับแคบที่มุ่งไปในประเด็นใดประเด็นหนึ่งโดยเฉพาะของความจริง มันดูเหมือนจะประยุกต์ใช้อย่างง่ายดายกับเรื่องของโลกธรรมชาติ และมีความคล้ายคลึงกับพื้นฐานในเชิงระบบและเชิงประจักษ์เกี่ยวกับมนุษย์ศาสตร์ บางครั้งมันแฝงความหมายที่คับแคบเกี่ยวกับความเป็นระบบ นั่นคือ

- หลักการต่างๆ ของวิธีการเชิงประจักษ์ ที่บ่อยครั้งยอมรับหมวดหมู่เชิงทฤษฎีและกระบวนทัศน์ต่างๆ ค่อนข้างน้อย
- เหตุผลที่เป็นทางการของมันหลุดพ้นหรือแยกขาดจากผลลัพธ์ต่างๆ ที่ตามมาของมนุษย์และธรรมชาติ
- การควบคุมเชิงเทคนิคโดยปราศจากการสะท้อนถึงเรื่องของจริยธรรมอย่างเพียงพอ
- ไม่คำนึงถึงหรือตัดเอาวิธีการและเป้าหมายออกจากกัน
- มีหน้าที่หรือประโยชน์แบบแคบๆ
- เป็นเรื่องของเครื่องมือและเหตุผลเชิงเทคนิค
- การปฏิบัติการโดยปราศจากทัศนะอันกว้างขวางเกี่ยวกับผลที่ตามมา และรังเกียจความเสี่ยงแบบหัวชนฝา

เหล่านี้คืออันตรายต่างๆ ที่ครอบครองอยู่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เรียกตัวของพวกมันเองว่า "วิทยาศาสตร์" - สังคมศาสตร์, วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, และวิทยาศาสตร์ประยุกต์. แต่อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ทางสติปัญญาหนึ่ง มันอาจไม่ดีพอที่จะมีหรือใช้เพียงวิธีการเชิงประจักษ์อันเข้มงวด โดยปราศจากสายตาเชิงวิพากษ์ สู่ทางเลือกประโยชน์อื่นๆ และกรอบกระบวนทัศน์ต่างๆ ของการอ้างอิง และปราศจากทัศนะหรือมุมมองเกี่ยวกับศักยภาพของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไป

ในอีกด้านหนึ่ง วิธีการทางมนุษยศาสตร์มักจะเข้าครอบคุมเกี่ยวกับเรื่องทางสังคม โดยตัวของพวกมันเองไกลห่างจากการรับรู้เกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ความเคลื่อนไหวนี้บางครั้งมันทอดทิ้งสายใยหรือความช่วยเหลืออันเป็นประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ โดยแยกจากจุดกำเนิดและปลายทางสังคมของมัน

ส่วนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตัวของพวกมันเองค่อนข้างถูกครอบงำหรือทำตามความเข้าใจอันคับแคบของตัวเอง และไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความขัดแย้งต่างๆ ที่อยู่รายรอบแกนผลประโยชน์ของมนุษย์ ยิ่งไปกว่าความรู้อันคับแคบของวิทยาศาสตร์ที่เข้าใจได้. ไม่ว่าจะเป็นความรู้เรื่องจริยธรรมทางชีววิทยา(bioethics) หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ, หรือการถกเถียงเกี่ยวกับลัทธิดาร์วิน และการออกแบบความฉลาด, หรืออรรถศาสตร์ของระบบต่างๆ ทางคอมพิวเตอร์(the semantics of computer systems), คำถามต่างๆ เกี่ยวกับการเมือง และอุดมคติได้ถูกนำเข้ามาผูกกันอย่างใกล้ชิดกับหลักฐานที่ชัดเจน. ประสบการณ์นิยมเทียม(faux empiricism - ประจักษ์นิยมเทียม) ถือว่าไม่เป็นการเพียงพอต่อการพูดถึงคำถามต่างๆ ที่มีความสำคัญมากในโลกทุกวันนี้. ปัจจุบันวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกำลังพบว่า ตัวมันเองขาดแคลน ไม่สมบูรณ์ เมื่อตัวมันปลดเปลื้องจากมนุษยศาสตร์

แต่อย่างไรก็ตาม มนุษยศาสตร์ก็มีความเสี่ยงและอันตรายในตัวของมันเอง นั่นคือ ขาดเสียซึ่งการวิจารณ์ และถูกเหยียดหยามว่ามีความเฉื่อยชาโดยปราศจากความมุ่งหมายเกี่ยวกับความรับผิดชอบ เช่น การประจัญหน้าทางการเมืองโดยไม่มีรากฐานในเชิงประจัษ์อย่างเป็นระบบ, ชอบวิวาทะในเชิงอุดมคติโดยปราศจากความต้องการประนีประนอมอย่างเด่นชัด, สัมพัทธนิยมอันไม่แน่นอนเกี่ยวกับประสบการณ์ความเป็นอยู่ และสุ้มเสียงที่ขับเคลื่อนด้วยลักษณะเฉพาะ, ลัทธิตามใจสมัคร (voluntarism) ที่น้อมนำไปสู่ความไร้เดียงสาและขาดเสียซึ่งปฏิบัติการต่างๆ และล้มเหลวเกี่ยวกับการนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริง

ทัศนะที่สร้างขึ้นมาใหม่อันหนึ่งเกี่ยวกับสังคมศาสตร์, วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, และวิทยาศาสตร์ประยุกต์, จะเป็นไปในลักษณะภาพรวม การพยายามหลีกเลี่ยงภาวะอุดตันของวิธีการที่เป็นไปอย่างคับแคบ มันเป็นเรื่องของความปรารถนาอันแรงกล้าเชิงสติปัญญาและการปฏิบัติ. ในบริบทนี้ การประชุมสังคมศาสตร์สหวิทยาการ และวารสารฯ จะดำเนินรอยตามความปรารถนา 2 ประการ, หรือการเปิดพื้นที่ 2 พื้นที่

อันดับแรก คือการเปิดพื้นที่ทางสติปัญญา ซึ่งก่อตัวขึ้นบนวาระการประชุมที่ออกแบบเพื่อทำให้เกิดความเข้มแข็งทางด้านทฤษฎีต่างๆ, ระเบียบวิธีวิจัย, ญานวิทยาทั้งหลาย และภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้ในเรื่องโลกทางสังคม และความสัมพันธ์ของสังคมที่มีต่อโลกธรรมชาติ

อันดับที่สอง การเปิดพื้นที่ในทางปฏิบัติและการประดิษฐ์คิดค้น. งานทางด้านสติปัญญาทั้งหมดเป็นปฏิบัติการอันหนึ่งของจินตนาการ ในส่วนดีที่สุดของมัน คือเป็นความปรารถนาอันแรงกล้า ความเสี่ยง และเกี่ยวพันกับความเปลี่ยนแปลง. ถ้าหากว่าวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสามารถมีจุดมุ่งหมายของมนุษย์ที่ใหญ่เท่าๆ กันกับวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เหล่านั้น - กล่าวคือ การต่อสู้กับโรคมะเร็ง หรือโรคประสาทเสื่อม เป็นตัวอย่าง - ด้วยเหตุดังนั้น สังคมศาสตร์สามารถที่จะมีจุดมุ่งหมายต่างๆ ที่ยิ่งใหญ่เท่าๆ กัน เพื่อที่จะจัดวางความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เงื่อนไขต่างๆ ในเชิงวัตถุ เกี่ยวกับความเสมอภาคของมนุษย์ และคุณลักษณะของผู้คนในอนาคต

หัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับการประชุม
การประชุมสังคมศาสตร์สหวิทยาการ ได้ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ อย่างหลวมๆ, โดยมีมุมมมองต่างๆ ที่ใกล้เคียงกัน, ทั้งทางด้านฐานความรู้และปฏิบัติการทางวิชาชีพหรือสาขาวิชา. มากเท่าที่เป็นไปได้ เราพยายามสร้างโปรแกรมการประชุมแบบคู่ขนานที่สัมพันธ์กับแต่ละหัวข้อในห้องเดียวกัน. อันนี้หมายความว่า มันเป็นไปได้ถ้าหากว่าใครคนหนึ่ง ปรารถนาที่จะติดตามประเด็นใดประเด็นหนึ่งไปโดยตลอดการประชุมฯ. ในแต่ละหัวข้อ จะมีวงสนทนาของมันเองด้วย เป็นการสนทนาพูดคุยในแบบโฟกัสลงไปที่ประเด็นปัญหานั้นๆ โดยเฉพาะ

ผู้เข้าร่วมประชุมอาจถูกซักถาม เพื่อการคัดเลือกและจัดสรรลงไปในประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือมากกว่านั้น เมื่อผู้เข้าร่วมฯ เสนองานวิชาการ ถ้าหากว่าคุณเลือกมากกว่าหนึ่งหัวข้อ หรืออื่นๆ, ผู้จัดการประชุมฯ ก็จะเลือกหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งโดยมีพื้นฐานอยู่บนชื่อเรื่องและบทคัดย่อของคุณนั่นเอง หรือประเด็นหัวข้อนั้นอาจเหมาะสมกับการนำเสนอผลงานร่วมกับคนอื่นๆ ที่มีการนำเสนอก็ได้

หัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับการประชุม สังคมศาสตร์สหวิทยาการ

- สังคมวิทยา, และภูมิศาสตร์
- มานุษยวิทยา, โบราณคดี, วัฒนธรรมศึกษา, และมนุษยศาสตร์
- จิตวิทยา, วิทยาศาสตร์การรับรู้, และพฤติกรรมศาสตร์
- เศรษฐศาสตร์, และการจัดการ
- สื่อ, และการสื่อสาร
- การเมือง, นโยบายสาธารณะ, และกฎหมาย
- การศึกษา, และสวัสดิการสังคม
- วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- เทคโนโลยี, และวิทยาศาสตร์ประยุกต์
- ระเบียบวิธีวิจัย, วิธีการเชิงปริมาณและคุณภาพ
- มุมมองสหวิทยาการในเรื่องเพศสภาพ
- อื่นๆ

วงสนทนา (Talking Circles)
ภูมิหลัง - Background
วงสนทนาต่างๆ เป็นการพบปะกันทางสติปัญญา บ่อยครั้งจะเป็นประเด็นต่างๆ ที่มีความแตกต่างหรือความยุ่งยาก วงพูดคุยเหล่านี้จะเป็นการมารวมตัวกันภายใต้วัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆ ความตึงเครียดที่อยู่แต่เดิมของการพบปะ จะถูกทำให้เกิดดุลยภาพโดยพิธีการต่างๆ ของการรับฟังและเคารพต่อทัศนคติและข้อคิดเห็นที่หลากหลาย ผลของการนี้ ความเป็นไปได้ในเชิงประสิทธิผลอาจปรากฎขึ้นได้มากกว่าในการวิพากษ์วิจารณ์และการเผชิญหน้ากัน

วัตถุประสงค์ของวงสนทนาในการประชุมฯ - The Purpose of Talking Circles in this Conference
วงสนทนาต่างๆ จะก่อรูปแก่การประชุมฯ ซึ่งมีขอบเขตที่ค่อนข้างกว้างขวางและหลากหลายทางสติปัญญาในความสนใจ พวกมันจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับการมีปฏิกริยาต่อกันรายรอบความคิดสำคัญๆ ของการประชุมเสมอ จากความเป็นทางการต่างๆ ของการประชุมเต็มรูปแบบ, การประชุมคู่ขนาน, การประชุมเชิงปฏิบัติการ และในส่วนของการประชุมกลุ่มย่อย. วงสนทนาเหล่านี้คือสถานที่ซึ่งความสมบูรณ์ทางความคิดจะทอดข้ามกัน เป็นที่ที่การสนทนาเริ่มต้นขึ้นและความสัมพันธ์ต่างๆ และเครือข่ายได้รับการก่อรูปตามมา

วงสนทนาพูดคุยมิได้ถูกออกแบบขึ้นเพื่อบีบคั้นให้เกิดฉันทามติหรือความลงรอยกัน และไม่ได้พยายามที่จะก่อให้เกิดอะไรที่ธรรมดาๆ. เจตจำนงของการจัดให้มีวงสนทนาเหล่านี้ ก็เพื่อต้องการให้เกิดการค้นพบพื้นฐานร่วมกันบางอย่างเกี่ยวกับความหมายและประสบการณ์ที่มาแบ่งปันกัน ซึ่งความแตกต่างเป็นที่รับรู้และยอมรับและได้รับความเคารพ ผลที่ออกมาของมันจะไม่ไปเป็นกำแพงหรือปิดล้อมรูปแบบของคำตอบที่หลากหลาย แต่กลับเป็นการเปิดให้กับประเด็นต่างๆ ที่นำไปสู่ทิศทางของคำถามที่เกี่ยวข้องอย่างหลากหลาย. ท้ายที่สุด กลุ่มจะจำแนกแกนต่างๆ ของความไม่แน่นอน ซึ่งต่อจากนั้นจะถูกป้อนสู่แนวเรื่องต่างๆ สำหรับการประชุมฯ ในปีถัดไป

วงสนทนาเหล่านี้ทำกันอย่างไร ? - How Do They Work?
ในส่วนของวงสนทนาต่างๆ จะเป็นการพบปะพูดคุยกันราว 45 นาที ช่วงระหว่างการประชุมฯ และผลที่ออกมาของแต่ละวงสนทนาจะถูกรายงานย้อนกลับไปยังการประชุมฯ ทั้งหมด ในช่วงสิ้นสุดของการประชุมครบองค์. พวกมันจะถูกจัดเป็นกลุ่มๆ รายรอบหัวเรื่องต่างๆ ของการประชุมฯ และเพ่งความสนใจไปยังพื้นที่ความสนใจโดยเฉพาะ ซึ่งจะถูกแสดงออกมาโดยแต่ละหัวเรื่อง. ข้างล่างต่อไปนี้คือโครงร่างของวงสนทนาต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเราเชื้อเชิญให้มีการตอบกลับและรับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อการปรับปรุงจากบรรดาผู้มีส่วนร่วมทั้งหลาย

- วงสนทนาขั้นที่ 1. (ระยะเวลา 45 นาที): เราคือใคร? อะไรคือพื้นฐานร่วมกันของพวกเรา?
- วงสนทนาขั้นที่ 2. (ระยะเวลา 45 นาที): อะไรที่ควรจะถูกทำ?
- ช่วงสุดท้ายของการประชุมครบองค์: ใช้เวลาประมาณ 15 นาที โดยผู้ประสานงานวงสนทนาต่างๆ

เป็นเรื่องสำคัญที่จะหมายเหตุลงไปว่า แต่ละวงสนทนาอาจได้รับการรวบรวมเข้ามา ไม่ว่าสมาชิกของกลุ่มจะรู้สึกว่าเหมาะสมหรือไม่ก็ตาม มันอาจจะเป็นไปอย่างไม่เป็นทางการและอ้อมๆ หรือมีการสร้างและปรับสู่ภารกิจ. แต่ละวงสนทนาจะมีผู้ช่วยอำนวยความสะดวก

บทบาทของผู้ช่วยอำนวยความสะดวก - The Role of the Facilitator
ผู้ช่วยอำนวยความสะดวกจะต้องให้บริการกับกระบวนการทางความคิด ให้หลุดอกจากกรอบ และรวบรวมนำมาใช้ในโครงการอันหลากหลายและแตกต่าง กระบวนการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์เกี่ยวกับสติปัญญาที่รวบรวมขึ้นมารายรอบหัวเรื่อง. ผู้ช่วยอำนวยความสะดวกควรจะส่งเสริมการสนทนาซึ่งเปิดให้แก่โอกาสของความเป็นไปได้และแนวทางใหม่ๆ ของการค้นคว้าและการปฏิบัติ พวกเขาควรจะทำให้จิตวิญญานของการเปิดรับเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเพื่อรองรับความรู้ใหม่ๆ มากกว่าไปปิดทางการสนับสนุน

ผู้ช่วยอำนวยความสะดวกต้องเก็บรวบรวมรายงานต่างๆ เกี่ยวกับการสนทนาในเรื่องหลักๆ ลงบนแผ่นกระดาษขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้อาจถูกนำมาแสดงบนพื้นผนังในที่สาธารณะของการประชุมฯ ในประเด็นนี้ต้องการให้ทำในลักษณะสรุปสำหรับวงสนทนาต่างๆ. สำหรับผู้ประสานงาน ควรมีการนำเสนอราว 15 นาทีในช่วงสิ้นสุดการประชุมแบบครบองค์. ผู้อำนวยความสะดวกจะได้รับการขอร้องให้เขียนรายงานสำหรับนำเสนอบนเว็บไซต์ของการประชุมฯ และของวารสารสังคมศาสตร์ฯ โดยนำเสนอสาระสังเขปเกี่ยวกับการหารือกันของวงสนทนา (อันนี้จะได้รับการส่งไปสู่ส่วนที่เป็นความเห็นพ้องร่วมกัน เร็วที่สุดเที่จะเป็นไปได้ภายหลังการประชุม)
(หมายเหตุ: การกระจายข้อมูลหรือรายงานให้กับบรรดาสมาชิกของวงสนทนา จะกระทำภายใน 1 เดือนหลังจากสิ้นสุดการประชุมฯ และต้องการให้มีการแสดงความคิดเห็นกลับมาพร้อมข้อเสนอแนะ)

ข้อเสนอแนะต่างๆ ถึงผู้ช่วยอำนวยความสะดวก
Suggestions to assist facilitators

วงสนทนาขั้นที่ 1 (45 นาที) : เราคือใคร?

- การปรับทิศทาง: (การปรับตัว) สมาชิกทั้งหลายของกลุ่มแนะนำตัวเองอย่างสั้นๆ
- อะไรที่สามารถทำให้การพูดคุยไหลเลื่อนไปในวงสนทนาสาม/สี่คน? (ไม่มีใครพูดคนเดียว)

- อะไรที่สามารถทำให้ผลที่ออกมาเป็นงานของกลุ่ม และไปสนับสนุนข้อสรุปตอนปิดการประชุมฯ แบบครบองค์, และรวมถึงวารสารฯ และรายงานประชุมฯ ทั้งหมดด้วย (ตลอดกระทั่งแนวเรื่องต่างๆ สำหรับการประชุมฯ ในปีต่อไป)

- ประเมินทิวทัศน์, แผนที่ขอบเขต อะไรคือขอบเขตเกี่ยวกับหัวเรื่องของเรา เราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงชื่อมันหรือไม่?
- อะไรคือประเด็นที่ร้อนแรง คำถามสำคัญๆ เกี่ยวกับหัวเรื่องนี้?

- อะไรคือแรงบีบคั้นหรือแรงขับที่จะส่งผลต่อเราในฐานะนักวิชาชีพ, ในฐานะนักคิด, ในฐานะพลเมือง, ในฐานะคนที่ห่วงใยและรู้สึก ซึ่งการเพ่งความสนใจของพวกเขาคือหัวเรื่องที่เฉพาะเจาะจงนี้?

- เราจะอยู่กันที่ไหน กล่าวคือ อีกสิบปีข้างหน้านับจากนี้? แบบแผนที่ 1. การมองโลกในแง่ดีหรือมองในเชิงบวกของเจตจำนง; แบบแผนที่ 2. การมองโลกในแง่ร้ายหรือมองในเชิงลบทางด้านสติปัญญา

วงสนทนาขั้นที่ 2 (45 นาที) : แนวเรื่องอะไรที่กำลังก่อตัวขึ้น?

- อะไรที่กำลังปรากฏตัวขึ้นมาในการประชุมคู่ขนานในหัวเรื่องนี้ นับจากวงสนทนาล่าสุด? อะไรคือวิธีการเข้าถึงหรือการศึกษาที่แตกต่าง, ทั้งด้านมุมมองและประสบการณ์? / อะไรคือประเด็นต่างๆ ของการมาบรรจบกัน, การเป็นรูปสามเหลี่ยม?

อะไรคือความแตกต่างของพวกเรา ? (What are our differences?)

- ฉากสร้าง: นำเสนอปัญหาต่างๆ ที่เกือบช็อค, วิกฤตการณ์ต่างๆ, ปัญหาสำคัญ, ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก - พวกเขาจะขานรับอย่างไร และจะเรียงลำดับการรับผิดชอบอย่างไร?

- ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับความไม่กลมกลืนและความขัดแย้ง จะแยกมันอย่างไร?
- อะไรคือมิติต่างๆ เกี่ยวกับความแตกต่างของเรา? ทางการเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ, วัฒนธรรม,เทคโนโลยี, สภาพแวดล้อม (Politics, society, economics, culture, technology, environment)

- อะไรคือมิติต่างๆ เกี่ยวกับความแตกต่างของเรา? ด้านบุคคล, องค์กรต่างๆ, ชุมชน, ประชาชาติ, และระเบียบโลก (Persons, organisations, communities, nations, the global order)

อะไรคือความเห็นพ้องร่วมกัน ? (What is our common ground?)

- ช่วงขณะของความหลากหลายที่มีประสิทธิผลอยู่ที่ตรงไหน?
- อะไรคือพื้นฐานสำหรับการร่วมมือกัน? ทางการเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ, วัฒนธรรม,เทคโนโลยี, สภาพแวดล้อม (Politics, society, economics, culture, technology, environment)

- อะไรคือพื้นฐานสำหรับการร่วมมือกัน? ด้านบุคคล, องค์กรต่างๆ, ชุมชน, ประชาชาติ, และระเบียบโลก (Persons, organisations, communities, nations, the global order)

- อนาคตต่างๆ ในแง่ทางเลือก: อธิบายถึงโครงร่างแผนการที่เป็นทางเลือกอันหลากหลาย
- อะไรคือแรงบีบคั้นที่ขับเคลื่อนไปสู่ทิศทางของ หรือทำให้แต่ละแผนการอ่อนลงมา

อะไรที่ควรจะทำ (What is to be done?)

- อะไรที่กำลังปรากฏขึ้นในการประชุมคู่ขนานในหัวเรื่องนี้ นับจากวงสนทนาครั้งล่าสุด?
- อะไรคือทัศนะเกี่ยวกับอนาคตที่ปรากฏขึ้นมา?
- เราสามารถคาดเดาได้ไหม? ลองทำนายถึงอนาคตที่เป็นทางเลือก?
- ย้อนกลับไปมองทศวรรษที่เพิ่งผ่านมา อะไรที่เราอาจตัดสินใจหรือสัมนาในปัจจุบัน?

- แผนการต่างๆ: สติปัญญาที่เป็นไปตามขนบจารีต และไม่เป็นไปตามขนบจารีต?
- ยุทธวิธีต่างๆ: ความยืดหยุ่นในการเผชิญหน้า กับการปรับตัวที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หรือสร้างสรรค์?
- สิ่งที่อาจจะต้องทำ: ทบทวนแผนการต่างๆ ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นในวงสนทนา
- แกนต่างๆ ของความไม่แน่นอน: ทำงานที่มุงสู่คำถามต่างๆที่ถูกต้อง แม้ว่ามันจะไม่มีความแน่นอนในคำตอบต่างๆก็ตาม

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก:

Social Sciences Conference 2008
Welcome to the website of the International Conference on Interdisciplinary Social Sciences.
In 2008, this annual Conference is to be held at the Monash University Centre, Prato, Tuscany, Italy from 22 to 25 July 2008. The Conference will address interdisciplinary practices across the social sciences, and between the social sciences and the natural sciences, applied sciences and the professions. Main speakers will include some of the world's leading thinkers in the social sciences, as well as numerous paper, colloquium and workshop presentations. by practitioners, teachers and researchers. All are encouraged to register and attend this significant and timely Conference. A range of accommodation options is also available.

Participants are also welcome to submit a presentation proposal either for a 30-minute paper, 60-minute workshop, a jointly presented 90-minute colloquium session.

Parallel sessions are loosely grouped into streams reflecting different perspectives or disciplines. Each stream also has its own talking circle, a forum for focused discussion of issues. For those unable to attend the Conference in person, virtual participation is also available.

We encourage all presenters to submit written papers to The International Journal of Interdisciplinary Social Sciences, a fully refereed academic Journal. Virtual participants may also submit papers for consideration by the Journal. All Conference participants who have finalised their registration will receive a complimentary online subscription to the Journal. This subscription is valid until one year after the Conference end date.

If you would like to know more about this Conference, bookmark the Social Sciences Conference site and return for further information-the site is regularly updated. You may also wish to subscribe to the Conference and Journal Newsletter.

For all inquiries, please contact the Conference Secretariat.

Background
International Conference on Interdisciplinary Social Sciences
The Social Sciences Conference is held annually in different locations around the world. The conference was held at the University of the Granada, in the southern Spanish province of Andalusia in 2007, and at the University of the Aegean, on the Island of Rhodes, Greece in 2006.

The International Conference on Interdisciplinary Social Sciences examines the nature of disciplinary practices, and the interdisciplinary practices that arise in the context of 'real world' applications. It also interrogates what constitutes 'science' in a social context, and the connections between the social and other sciences.
The focus of papers ranges from the finely grained and empirical(research practices and results exemplifying one or more disciplines), to wide-ranging multi-disciplinary and transdisciplinary practices, to perspectives on knowledge and method.

In the spirit of interdisciplinary interchange, the Conference will involve scholars, teachers and researchers working in a broad range of areas including: Anthropology, Applied Sciences, Behavioural Sciences, Cognitive Science, Communications, Economics, Education, Environmental Sciences, Health Sciences,Humanities, Interdisciplinary Studies, Law, Management, Mathematics and Statistics, Media, Natural Sciences, Physical Sciences, Politics, Public Policy, Psychology, Qualitative Methods, Quantitative Methods, Social Welfare, Sociology and Technology ... and other areas related to the themes of this Conference.

The Conference will offer a comprehensive overview of current thinking in the social sciences from big picture analyses in keynote addresses by internationally recognised experts, to detailed case studies of the social sciences in action. It will traverse a broad terrain, from theory and analysis to practical strategies for action.
The Social Sciences Conference is a presenter's Conference, comprised of numerous parallel sessions. The Conference organising committee is inviting proposals to present 30-minute papers, or 60-minute workshops or 90-minute colloquium sessions. These may be:

- Academic or research papers, or
- Presentations describing educational initiatives.

International Journal of Interdisciplinary Social Sciences
Conference participants may submit papers to the Social Sciences Journal, before the Conference and up until one month after the Conference. Papers submitted for publication will be fully refereed. The publication decision is based on the referees' reports.

For those unable to attend the Conference in person, a virtual registration will provide participants access to the electronic version of the Journal, as well as the option to submit papers to the Social Sciences Journal.
For more information about the Journal please visit the Publish Your Paper page.

(คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน http://i08.cgpublisher.com/#conference)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
29 December 2007
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
แต่อย่างไรก็ตาม มนุษยศาสตร์ก็มีความเสี่ยงและอันตรายในตัวของมันเอง นั่นคือ ขาดเสียซึ่งการวิจารณ์ และถูกเหยียดหยามว่ามีความเฉื่อยชาโดยปราศจากความมุ่งหมายเกี่ยวกับความรับผิดชอบ เช่น การประจัญหน้าทางการเมืองโดยไม่มีรากฐานในเชิงประจัษ์อย่างเป็นระบบ, ชอบวิวาทะในเชิงอุดมคติโดยปราศจากความต้องการประนีประนอมอย่างเด่นชัด, สัมพัทธนิยมอันไม่แน่นอนเกี่ยวกับประสบการณ์ความเป็นอยู่ และสุ้มเสียงที่ขับเคลื่อนด้วยลักษณะเฉพาะ, ลัทธิตามใจสมัคร (voluntarism) ที่น้อมนำไปสู่ความไร้เดียงสาและขาดเสียซึ่งปฏิบัติการต่างๆ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream