บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
Labour
Standards
Midnight
University
เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานแกนกลาง
เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานสากล
(๒)
ภัควดี
วีระภาสพงษ์ : แปล
นักวิชาการอิสระ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศ
บทความนี้ สำรวจดูเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานสากล
การรับรองสิทธิของแรงงานในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรอย่างเสรี และการต่อรอง
เป็นหมู่คณะ จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจทั้งในเชิงสถิตและเชิงพลวัต
ประสิทธิภาพเชิงสถิต (static efficiencies) หมายถึงผลได้ครั้งเดียวที่เกิดจาก
การปรับปรุงวิธีปฏิบัติทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ส่วนประสิทธิภาพเชิงพลวัต
(dynamic efficiencies) หมายถึงผลได้ที่เกิดจากการปรับปรุงวิถีการเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดยเคลื่อนย้ายจากวิถีการพัฒนาแบบ 'low road' มาเป็น 'high road' ประสิทธิภาพ
ทั้งสองประการนี้ช่วยยกระดับค่าจ้าง การจ้างงานและผลผลิตในประเทศกำลังพัฒนา
รวมทั้งส่งผลดีต่อแรงงานในประเทศพัฒนาแล้วด้วย มาตรฐานแรงงานเป็นกลไก
เชิงสถาบันในการยกระดับคุณภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งในประเทศกำลังพัฒนา
และพัฒนาแล้ว ดังนั้น มันจึงเป็นสถาบันที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๔๔๗
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๕ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานแกนกลาง
เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานสากล
(๒)
ภัควดี
วีระภาสพงษ์ : แปล
นักวิชาการอิสระ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
Download
บทความนี้ในรูปของ Microsoft Word คลิก
แปลจาก Thomas I. Palley, "The Economic Case for International Labour
Standards,"
Cambridge Journal of Economics, 2004; http://www.thomaspalley.com/.
(หมายเหตุ: สำหรับบรรณานุกรม และคำอธิบายเพิ่มเติม ได้วางไว้ท้ายบทความนี้
ตอนที่ ๒)
การเติบโตทีใช้อุปสงค์ภายในประเทศเป็นหัวจักร
หากต้องการแก้ไขความขัดแย้งในตัวเองที่แฝงฝังอยู่ในระบบเศรษฐกิจโลกที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักร
จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการพัฒนาให้หันเหไปสู่เส้นทางของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใช้อุปสงค์ภายในประเทศเป็นหัวจักร
(domestic demand-led growth) นี่หมายถึงการขึ้นอัตราค่าจ้างเพื่อสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศ
ทว่าประเด็นนี้แหละที่ระบบเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ที่เป็นอยู่คอยขัดขวางเอาไว้
ความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจจุลภาค, ความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจมหภาค, ความรั่วไหลทางการเงิน, และการเติบโตที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักร, ปัจจัยทั้งหมดนี้รวมกันทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้นในอัตราค่าจ้างระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา และกระดกสนามแข่งขันทางเศรษฐกิจให้เอียงเข้าข้างภาคธุรกิจโดยบูชายัญแรงงาน. สิ่งที่จำเป็นก็คือ เราต้องปรับสนามแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างภาคธุรกิจกับแรงงานให้มีความเสมอภาค หากไม่มีการปรับสร้างความเสมอภาคดังกล่าว แรงงานจะไม่มีทางได้รับค่าจ้างมากเพียงพอที่จะสนับสนุนการเติบโตที่ใช้อุปสงค์ภายในประเทศเป็นหัวจักร ทางออกของปัญหาอยู่ที่มาตรฐานแรงงานสากล ประกอบกับการเปิดโอกาสให้มีการก่อตั้งสหภาพแรงงานอิสระที่สามารถต่อรองเป็นหมู่คณะ จึงจะเป็นหลักประกันได้ว่า จะมีการปรับมาตรฐานระบบการกระจายรายได้เสียใหม่
การให้เหตุผลเช่นนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Rodrik (1999A) ซึ่งพบข้อสรุปว่า ประเทศในระบอบประชาธิปไตยมีการจ่ายค่าจ้างสูงกว่าอย่างเป็นระบบ Palley (2000B) รับรองข้อสรุปนี้ ระบอบประชาธิปไตยกับมาตรฐานแรงงานเป็นสิ่งที่มีสหสัมพันธ์กันในเชิงบวก แต่ในด้านค่าจ้างและการกระจายรายได้ การถดถอยที่เกิดขึ้นมีทั้งตัวแปรของระบอบประชาธิปไตยและมาตรฐานแรงงาน โดยที่ตัวแปรประการหลังมีนัยสำคัญทางสถิติ ประเด็นนี้ฟังขึ้นหากมองจากจุดยืนของความเป็นสาเหตุ-ผลลัพธ์ในทางเศรษฐศาสตร์ กล่าวคือ ระบอบประชาธิปไตยอาจส่งเสริมมาตรฐานแรงงานก็จริง แต่มาตรฐานแรงงานเท่านั้นเป็นเครื่องมือที่แท้จริงในการแทรกแซงตลาดแรงงานจนเปลี่ยนแปลงผลที่ตามมาd (d)
ข้ออ้างเหตุผลว่า ระบบเศรษฐกิจโลกจำเป็นต้องมีมาตรฐานแรงงานและสหภาพแรงงานอิสระ เพื่อแก้ปัญหาคู่แฝดของ"การขาดแคลนอุปสงค์ระดับโลก" และ"การกระจายรายได้ที่พิกลพิการ" อาจไม่ใช่เหตุผลที่ยอมรับได้อย่างสบายใจในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ ที่ศึกษามาจากสำนักที่เชื่อในตลาด ซึ่งมีการแข่งขันของปัจจัยต่าง ๆ อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะกฎของเซย์ (Say's Law)e(e) ปฏิเสธปัญหาของการขาดแคลนอุปสงค์ โดยอ้างว่าทุกกิจกรรมในกระบวนการผลิตย่อมก่อให้เกิดรายได้เพียงพอต่อการซื้ออุปทาน และแทนที่จะมองว่าสหภาพแรงงานเป็นสิ่งที่ดี กลับมองว่าสหภาพแรงงานเป็นการบิดเบือนตลาดที่ลดทอนผลผลิตและการจ้างงาน
ความจริงแล้ว ทัศนคติเช่นนี้เกิดมาจากสมมติฐานของทฤษฎีตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งตัวกระทำ (agent) ล้วน "ไม่มีอำนาจ" นี่เป็นทฤษฎีที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง สมมติฐานนี้ขัดแย้งกับความเป็นจริงของตลาดแรงงาน ในความเป็นจริง ตลาดแรงงานเป็นตลาดที่เกี่ยวพันกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจมาก จากมุมมองนี้ สหภาพแรงงานอิสระจึงมิใช่การบิดเบือนตลาดแต่อย่างใด หากเป็นการแก้ไขความล้มเหลวของตลาดต่างหาก ความล้มเหลวนั้นก็คือ ความไม่สมดุลของอำนาจอย่างรุนแรงในตลาดแรงงาน นอกจากนี้ สหภาพแรงงานอิสระยังเป็นการแก้ไขความล้มเหลวของตลาดโดยภาคเอกชนเอง ซึ่งดีกว่าวิธีแก้ไขโดยให้รัฐบาลเข้ามาบังคับเปลี่ยนแปลงการกระจายรายได้ใหม่
4.3 ผลได้ของประสิทธิภาพเชิงพลวัตที่มีต่อเศรษฐกิจการเมือง
ผลได้ของประสิทธิภาพเชิงพลวัตที่จะได้มาประการสุดท้าย คือผลกระทบในเชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจการเมืองที่มาตรฐานแรงงานแกนกลาง
จะสร้างให้แก่ระบบธรรมาภิบาลภายในประเทศ. ความสำคัญของธรรมาภิบาลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
กำลังได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังที่ปรากฏชัดในการประชุม IMF (พฤศจิกายน
ค.ศ. 1999) ที่มีหัวข้อการประชุมว่า 'Second Generation Reforms' IMF ยอมรับแล้วว่า
การเปิดตลาดเสรีและนโยบายสร้างเสถียรภาพให้เศรษฐกิจมหภาคยังไม่เพียงพอ แต่ต้องมีนโยบายส่งเสริมธรรมาภิบาลที่เข้มแข็งด้วย
ทัศนคติแนวใหม่นี้ ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการวินิจฉัยของ IMF ต่อสาเหตุการล่มสลายทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก ซึ่งเน้นไปที่ปัญหาของระบบพวกพ้อง (cronyism) และการจัดสรรทรัพยากรที่กู้ยืมมาอย่างไม่ถูกต้อง. ในตอนแรก IMF เสนอหนทางแก้ไขปัญหานี้ ด้วยการเพิ่มความโปร่งใสทางการเงินและขยายการเปิดเสรีตลาดการเงินระหว่างประเทศ ใบสั่งยาสูตรนี้ตั้งอยู่บนความเชื่อมั่นว่า การเปิดตลาดมากขึ้นจะช่วยเพิ่มวินัยในตลาดที่จะมาแก้ไขปัญหา แต่ความจริงแล้ว ระบบพวกพ้องในการดำเนินเศรษฐกิจตั้งอยู่บนระบบพวกพ้องทางการเมือง ดังนั้น วินัยในตลาดเพียงอย่างเดียวย่อมแก้ปัญหาไม่ได้ การล้มล้างระบบพวกพ้องจำต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยมีรากฐานอยู่ที่การพัฒนาอำนาจที่จะมาคัดง้างกันในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสามารถสกัดขัดขวางพฤติกรรมแบบพวกพ้องได้ มาตรฐานแรงงานและสหภาพแรงงานอิสระย่อมเป็นกลุ่มพลังที่จะมีบทบาทในประเด็นนี้
ปัญหาของระบบพวกพ้อง สะท้อนถึงจุดเน้นย้ำใหม่เกี่ยวกับความจำเป็นของธรรมาภิบาลทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนา ความสำคัญของธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการเฉพาะกาลของ IMF ซึ่งประกาศว่า "การส่งเสริมธรรมาภิบาล ซึ่งประกอบด้วยหลักนิติธรรม การปรับปรุงประสิทธิภาพและความรับผิดของภาครัฐ และการจัดการปัญหาคอร์รัปชั่น" (Partnership for Sustainable Global Growth, 29 September, 1996) คือองค์ประกอบสำคัญของเค้าโครงเพื่อความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ มาตรฐานแรงงานแกนกลางสอดรับกับกระบวนทัศน์นี้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะเสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งย่อมส่งเสริมการแข่งขันทางการเมือง
ประการสุดท้าย สถาบันทางการเมืองที่ส่งเสริมมาตรฐานแรงงานแกนกลาง อาจช่วยส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและทำให้ประเทศมีความสามารถในการรับมือวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจด้วย ข้อชี้แนะนี้ได้มาจากการเปรียบเทียบเกาหลีใต้กับอินโดนีเซียภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเงินของเอเชียตะวันออกครั้งล่าสุด แม้ไม่ถึงขั้นสมบูรณ์แบบ แต่เกาหลีใต้ก็มีสถาบันในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งสหภาพแรงงานอิสระมาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ เมื่อวิกฤตการณ์ส่งผลกระทบมาถึง สถาบันเหล่านี้เข้ามาช่วยกันวางกรอบในการสร้างสรรค์นโยบายเพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และยังช่วยป้องกันการเกิดสุญญากาศทางการเมือง ที่อาจเป็นสาเหตุของการพังทลายทางเศรษฐกิจมากกว่านี้ สภาพของเกาหลีใต้แตกต่างตรงกันข้ามกับอินโดนีเซียที่ไม่มีสถาบันแบบเดียวกัน และสุญญากาศทางการเมืองที่เป็นผลจากวิกฤตการณ์ครั้งนั้น ทำให้เกิดการพังทลายทางเศรษฐกิจอย่างสิ้นเชิง
สถาบันในระบอบประชาธิปไตยมีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงในการรับมือกับภาวะช็อคทางเศรษฐกิจ หากขาดไร้สถาบันที่เหมาะสม ก็เป็นการง่ายที่จะเกิดวัฏจักรชั่วร้าย นั่นคือ ความสั่นคลอนที่สะท้อนไปมาระหว่างวิกฤตการณ์ทางการเมืองกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ มาตรฐานแรงงานสามารถช่วยค้ำจุนสถาบันที่ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบดังกล่าวได้. งานวิจัยข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ศึกษาถึงข้อเสนอข้างต้นเพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่ผลงานของ Rodrik (1999) สนับสนุนข้ออ้างทั้งหมด Rodrik พบว่า ระบอบประชาธิปไตยมักมีความแปรปรวนในการดำเนินเศรษฐกิจน้อยกว่า มีความยืดหยุ่นมากกว่าเมื่อต้องเผชิญหน้ากับภาวะช็อคทางเศรษฐกิจ และมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกว่า
5. ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเชิงสถิต
และเหตุผลที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงาน
นอกจากเหตุผลที่ได้จากประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเชิงพลวัตข้างต้น ยังมีเหตุผลสนับสนุนจากประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเชิงสถิตที่เป็นแนวคิดกระแสหลักด้วย
เหตุผลเหล่านี้มีการนำเสนอโดย Maskus (1997) ที่ชี้ให้เห็นว่า มาตรฐานแรงงานแกนกลางสามารถลดการบิดเบือนตลาดแรงงานภายในประเทศ
(กล่าวคือ การใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เหมาะสม การเลือกปฏิบัติและอำนาจผูกขาดของผู้ซื้อ
[monopsony power-ในที่นี้หมายถึง นายจ้าง ซึ่งเป็นผู้ซื้อแรงงาน มีอำนาจครอบงำตลาดแรงงาน--ผู้แปล])
ดังนั้นจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ผลผลิตและความอยู่ดีกินดีของสังคม
การใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เหมาะสม
ปัญหานี้ส่งผลให้เกิดกำลังแรงงานสำรองล้นเกิน นำไปสู่การจ้างงานและผลผลิตล้นเกิน
หากมีการบังคับใช้มาตรฐานแรงงานเด็ก มันจะช่วยลดการจ้างงานและผลผลิต สังคมส่วนรวมจะได้รับผลดี
เพราะการลดปริมาณแรงงานเด็กช่วยเพิ่มระดับค่าจ้างทั่วไป ทำให้ผู้ปกครองสามารถส่งเด็กเรียนหนังสือได้นานปีขึ้น
เท่ากับยกระดับคุณภาพแรงงานในอนาคต หากมองในระยะกลาง การแก้ปัญหานี้ยังช่วยสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเชิงพลวัตอย่างมีนัยสำคัญ
เพราะทรัพยากรมนุษย์คือกุญแจสำคัญที่ไขไปสู่การพัฒนาที่ดี การที่เด็กได้เรียนหนังสือย่อมส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าว
การเลือกปฏิบัติ ปัญหานี้ส่งผลให้การจ้างงานและผลผลิตมีคุณภาพต่ำ
อาจเกิดการจับคู่อย่างไม่เหมาะสมระหว่างทักษะกับงานที่ได้รับ เพราะบุคคลที่ถูกเลือกปฏิบัติจะถูกกีดกันจากงานอย่างไม่เหมาะสม
ดังนั้น หากลดการเลือกปฏิบัติลงได้ จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและยกระดับการจ้างงานและผลผลิต
ตลาดแรงงานถูกผูกขาดโดยผู้ซื้อ หากตลาดแรงงานถูกผูกขาดโดยผู้ซื้อ
(monopsony) ระดับการจ้างงานและผลผลิตย่อมอยู่ต่ำกว่าระดับดุลยภาพสูงสุดพาเรโต
(Pareto optimal level)f (f) ซึ่งหมายถึงตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์. ในสถานการณ์เช่นนี้
สิทธิเสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งและการต่อรองเป็นหมู่คณะที่นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพแรงงาน
สามารถช่วยแก้ไขสภาพการณ์นี้ได้ หากมันผลักดันค่าแรงให้สูงขึ้นและทำให้เกิดการเคลื่อนไหวไปตามเส้นอุปทานแรงงาน
(labour supply curve)f (f) ที่ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น การที่ตลาดแรงงานในปัจจุบันตกอยู่ใต้อำนาจผูกขาดของผู้ซื้อ
มีหลักฐานอยู่ในงานศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ของ Staiger et. al. ที่ศึกษาตลาดแรงงานพยาบาลในสหรัฐฯ
แต่จะสรุปครอบคลุมไปถึงตลาดแรงงานในประเทศกำลังพัฒนาได้หรือไม่ ยังคงเป็นคำถามที่รอการวิจัยเชิงประจักษ์อยู่
การยกระดับค่าจ้าง ประการสุดท้าย การยกระดับค่าจ้างด้วยมาตรฐานแรงงานช่วยให้เกิดประสิทธิภาพของค่าจ้างต่อประสิทธิภาพการผลิตในเชิงบวก
เนื่องจากมันช่วยลดปัญหาทุโภชนาการ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่เกี่ยวพันกับความสามารถในการทำงานของแรงงาน
(Liebenstein, 1957; Stiglitz, 1976; Altman, 2001)
Maskus (1997) สรุปว่า มาตรฐานแรงงานแกนกลางสามารถสร้างผลได้ของประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเชิงสถิตในประเทศกำลังพัฒนา
แต่ข้อสรุปของเขามีข้อจำกัดที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงสองประการด้วยกัน
ประการแรก เขาโต้แย้งข้ออ้างว่า มาตรฐานแรงงานจะสร้างผลดีต่อแรงงานในประเทศพัฒนาแล้ว ผลได้ของประสิทธิภาพเชิงสถิตจะช่วยเพิ่มการจ้างงานและผลผลิตในประเทศกำลังพัฒนาก็จริง แต่นี่จะนำไปสู่การส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นและราคาสินค้าที่ค้าข้ามประเทศได้ (tradable goods)g(g) ลดต่ำลง ซึ่งจะทำให้ค่าจ้างที่แท้จริงและการจ้างงานในอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันในประเทศพัฒนาแล้วลดต่ำลงไปด้วย
ประการที่สอง การก่อตั้งสหภาพแรงงานอิสระอาจทำให้เกิดการผลักดันค่าจ้างจนสูงเกินระดับที่แข่งขันได้อย่างสมบูรณ์ และหากผลักสูงขึ้นไประดับหนึ่ง การจ้างงานก็อาจลดลง ผลลัพธ์ก็คือ การบิดเบือนตลาดด้วยอำนาจผูกขาดของผู้ซื้อ อาจกลายเป็นการบิดเบือนตลาดด้วยอำนาจผูกขาดของสหภาพแทน
ข้อเสนอว่าแรงงานในประเทศพัฒนาแล้วจะเสียเปรียบ เป็นข้อเสนอที่แปลกสักหน่อย และตรงกันข้ามกับข้ออ้างกระแสหลักว่า การผลักดันมาตรฐานแรงงานของแรงงานในประเทศพัฒนาแล้วถือเป็นมาตรการของลัทธิคุ้มครอง อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีแรงจูงใจบอกว่า มันย่อมขัดแย้งกับตรรกะหากแรงงานจะผลักดันนโยบายแบบนั้น หมายความว่า ต้องมีอะไรบางอย่างผิดพลาดในข้ออ้างของ Maskus ว่า แรงงานในประเทศพัฒนาแล้วจะเสียเปรียบ
ในแง่ที่มาตรฐานแรงงานแกนกลาง ช่วยสร้างการจ้างงานและผลผลิตในประเภทสินค้าที่ค้าข้ามประเทศไม่ได้ ย่อมไม่มีผลกระทบในแง่ลบต่อแรงงานในประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนั้น ด้วยผลกระทบที่มีต่อค่าจ้างและการกระจายรายได้ มาตรฐานแรงงานแกนกลางควรก่อให้เกิดผลทางรายได้ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมากพอที่จะป้องกันไม่ให้ผลผลิตในประเภทสินค้าที่ค้าข้ามประเทศได้ถูกทุ่มเข้าไปในตลาดส่งออกของโลก การกำจัดการเลือกปฏิบัติและการมีสิทธิในการต่อรองเป็นหมู่คณะน่าจะช่วยยกระดับค่าจ้างและปรับการกระจายรายได้เสียใหม่ ถ้าความโน้มเอียงในการบริโภคส่วนเพิ่มที่เกิดจากรายได้ของค่าจ้าง มีมากกว่าความโน้มเอียงที่เกิดจากรายได้ของผลกำไร การปรับการกระจายรายได้แบบนี้น่าจะช่วยเพิ่มการดูดซับสินค้าภายในประเทศ (10)
ดังนั้น ผลผลิตส่วนเพิ่มที่เกิดจากการใช้มาตรฐานแรงงานแกนกลางน่าจะถูกบริโภคภายในประเทศ มากกว่าถูกส่งออกไปตลาดโลก อีกทั้งการส่งออกอาจลดลงจากระดับเดิมด้วยซ้ำ ถ้าการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นดึงผลผลิตออกจากตลาดส่งออกได้. หากสภาพการณ์นี้เกิดขึ้น การแข่งขันกันนำเข้าสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาก็จะลดลง การจ้างงานและค่าจ้างในประเทศกำลังพัฒนาก็ย่อมสูงขึ้น นี่คือภาพชัดเจนที่ชี้ให้เห็นลักษณะแบบ 'win-win' ของมาตรฐานแรงงานแกนกลาง ที่จะมีต่อแรงงานทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ทั้งยังสอดคล้องกับข้อวิจารณ์ด้านประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเชิงพลวัต ที่มีต่อการเติบโตที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักรด้วย
ปัญหาประการที่สอง ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เชิงเศรษฐกิจจุลภาคกระแสหลักที่มีต่อ "มาตรฐานแรงงานแกนกลาง" กล่าวคือ การมองว่าสหภาพแรงงานเป็นรูปแบบการผูกขาดโดยสหภาพ หมายความว่า การให้แรงงานมีสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งและการต่อรองเป็นหมู่คณะ เป็นเพียงการแทนที่การบิดเบือนตลาดแรงงานรูปแบบหนึ่ง (อำนาจผูกขาดของผู้ซื้อ) ด้วยการบิดเบือนอีกรูปแบบหนึ่ง (การผูกขาดโดยสหภาพ) และมองไม่เห็นว่า สิทธิเสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งและการต่อรองเป็นหมู่คณะ คือรากฐานของประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่แท้จริง
เราสามารถมองสหภาพในอีกแบบหนึ่งได้ว่า สหภาพช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการผลิต ด้วยการทำให้แรงงานมีปากเสียงและมีส่วนได้ส่วนเสียภายในบริษัท เราสามารถเข้าใจผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการผลิตนี้ด้วยโมเดลของประสิทธิภาพทางค่าจ้างที่ผู้ซื้อผูกขาด (monopsonistic efficiency wage model) ซึ่งเป็นรูปแบบทั่วไปที่นำเสนอไว้ในภาคผนวกh (h) ตลาดแรงงานภายนอกบริษัทมีการแข่งขันก็จริง แต่ตลาดแรงงานภายในบริษัทถูกผูกขาดโดยผู้ซื้อ เมื่อรับงานทำ แรงงานต้องรับมือกับนายจ้างซึ่งมีอำนาจครอบงำตลาดในระดับหนึ่ง เพราะการลาออกและหางานใหม่มีต้นทุนสูงสำหรับแรงงาน ดังนั้น บริษัทจึงมักฉวยโอกาสจากสถานการณ์แบบนี้ เพราะรู้ว่าแรงงานเคลื่อนย้ายออกไปได้ยาก แม้ยุทธศาสตร์นี้อาจสร้างกำไรสูงสุดแก่บริษัท แต่มันก็ลดความทุ่มเทในการทำงานและประสิทธิภาพในการผลิตของแรงงานลง การจ้างงานและผลผลิตย่อมต่ำไปด้วย
ด้วยการขึ้นค่าจ้าง สหภาพสามารถทำให้แรงงานมีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้นในบริษัท และรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมมากขึ้น นำไปสู่ความทุ่มเทในการทำงานมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของแรงงาน และทำให้บริษัทมีแรงจูงใจที่จะสร้างงานมากขึ้น การจ้างงานและผลผลิตย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย ในประการนี้เช่นกัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีผลกระทบทางลบต่อแรงงานในประเทศพัฒนาแล้ว หากค่าจ้างที่สูงขึ้นในประเทศกำลังพัฒนากระตุ้นให้มีการบริโภคและดูดซับสินค้าภายในประเทศ
6. บทสรุป
เอกสารนี้ได้นำเสนอเหตุผลทางทฤษฎีที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานแกนกลางสากล ประเด็นสำคัญที่ต้องตระหนักก็คือ
ผลได้ของประสิทธิภาพที่มาพร้อมกับมาตรฐานแรงงานไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตลาดที่มีการแข่งขัน
บริษัทย่อมมีกำไรมากขึ้น หากสามารถเลือกปฏิบัติและขูดรีดแรงงาน ดังนั้น บริษัทจึงมีแรงจูงใจส่วนตนที่จะขัดขวางไม่ให้เกิดผลได้ของประสิทธิภาพเชิงสถิต
ส่วนผลได้ของประสิทธิภาพเชิงพลวัตถูกสกัดขัดขวางจากโครงสร้างของ prisoner's dilemma
ซึ่งทำให้ตัวกระทำทุกตัวมีแรงจูงใจส่วนตนที่จะกระทำในหนทางที่ได้ผลลัพธ์ด้อยลง
ดังนั้น หนทางเดียวที่จะทำให้ผลได้เหล่านี้เป็นจริงขึ้นมา ก็คือต้องอาศัยการแทรกแซงอย่างเป็นทางการเพื่อทำให้มาตรฐานแรงงานแกนกลางเป็น
"กฎกติกา" ในระดับโลก
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกกลับไปทบทวนบทความนี้ ตอนที่ ๑
เชิงอรรถ
(10) เหตุผลว่าทำไมจึงมีความโน้มเอียงในการบริโภคส่วนเพิ่มที่เกิดจากรายได้ของค่าจ้างสูงกว่า มีรายละเอียดอยู่ใน Palley (1997)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หมายเหตุผู้แปล
(a) การคุ้มครองในที่นี้ ดร.แพลลีย์หมายถึง ลัทธิคุ้มครอง (protectionism) หมายถึงการปกป้องการผลิตภายในประเทศ
ด้วยการกีดกันสินค้าจากนอกประเทศด้วยมาตรการต่าง ๆ ฝ่ายที่สนับสนุนสหภาพแรงงานและการมีมาตรฐานแรงงาน
มักถูกฝ่ายตรงข้ามวิจารณ์ว่า ไม่ได้คำนึงถึงความอยู่ดีกินดีของแรงงานจริง ๆ เพียงแค่ต้องการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศไว้เท่านั้นเอง
(b) prisoner's dilemma ถือเป็นปัญหาคลาสสิกในทฤษฎีเกม เงื่อนไขมีอยู่ว่า มีนักโทษสองคนถูกตั้งข้อหาอาชญากรรมร่วมกัน ทั้งสองถูกขังแยกจากกัน แต่ละคนมีทางเลือกสองทางคือ สารภาพหรือไม่สารภาพ ถ้าทั้งคู่ไม่สารภาพ อัยการจะฟ้องด้วยข้อหาที่เบากว่า และนักโทษทั้งสองจะได้รับโทษคนละ 2 ปี ถ้าทั้งสองสารภาพ ทั้งคู่จะถูกตัดสินว่ามีความผิดและรับโทษคนละ 6 ปี, ถ้านักโทษ ก สารภาพและนักโทษ ข ไม่สารภาพ ก จะถูกปล่อยตัวและ ข ได้รับโทษ 10 ปี, ถ้า ข สารภาพและ ก ไม่สารภาพ ข จะถูกปล่อยตัวและ ก ต้องรับโทษ 10 ปี รูปจะออกมาดังนี้
ความจริงที่น่าแปลกใจของเกมนี้ก็คือ ไม่ว่านักโทษคนหนึ่งจะเลือกทำอะไร นักโทษอีกคนจะได้ประโยชน์มากกว่าถ้าเขาสารภาพเสมอ เช่น ถ้า ก สารภาพ ข จะได้ประโยชน์มากกว่าถ้าเขาสารภาพด้วย แต่ถ้า ก ไม่สารภาพ ข ก็ยิ่งได้ประโยชน์ถ้าเขาสารภาพ แต่หากทุกคนคิดตามเหตุผลนี้ ผลรวมที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่แย่ที่สุด นั่นคือ โทษรวมกันของทั้งสองคนคือ 12 ปี
จากตัวอย่างของสถานการณ์นักโทษ เราสรุปได้ว่า prisoner's dilemma คือสถานการณ์ที่บุคคลมากกว่าสองบุคคลขึ้นไปต้องตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งภายใต้ข้อจำกัด แต่ละบุคคลย่อมเลือกเพื่อประโยชน์สูงสุดของตน แต่ผลของการเลือกนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
c(c) expenditure multiplier ตัวทวีค่าใช้จ่าย หมายถึงการเริ่มต้นใช้จ่ายซื้อสินค้าหรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง จะทำให้เกิดความต้องการสินค้าหรือบริการอื่นเพิ่มขึ้นเป็นทอด ๆ คิดเป็นหลายเท่าของเงินที่เริ่มต้นใช้จ่ายครั้งแรก
(d) ผู้อ่านจะเข้าใจข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเติบโตที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักรได้ดีขึ้น หากอ่านบทความอีกชิ้นของ ดร.แพลลีย์ประกอบ: โธมัส ไอ. แพลลีย์, "กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนา: ความเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้อุปสงค์ภายในประเทศเป็นหัวจักร" (A New Development Paradigm: Domestic Demand-Led Growth), http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=3793&Key=HilightNews
Terms of Trade เกณฑ์การค้า หรือ อัตราการค้า ทฤษฎีการวัดข้อได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้าของประเทศหนึ่ง โดยเปรียบเทียบราคาสินค้าขาออกและราคาสินค้าขาเข้า ถ้าประเทศหนึ่งมีราคาสินค้าขาออกสูงขึ้นเร็วกว่าราคาสินค้าขาเข้า ก็ถือว่าเกณฑ์การค้าของประเทศนั้นดีขึ้น ถ้าราคาสินค้าขาเข้าเพิ่มในอัตราที่สูงกว่าสินค้าขาออก ก็ถือว่าเกณฑ์การค้าไม่น่าพอใจ
(e) Say's Law กฎของเซย์ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่นำเสนอโดย Jean-Baptiste Say โดยมีข้อสรุปว่า อุปทานจะเป็นตัวสร้างอุปสงค์ขึ้นมาเอง (Supply creates its own demand) เมื่อผู้ผลิตผลิตสินค้าออกมาเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นในตลาด เท่ากับผู้ผลิตก็มีอุปสงค์ต่อสินค้าชนิดอื่นเช่นกัน เพราะการผลิตสินค้าก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้ผลิต และรายได้นั้นจะก่อให้เกิดอุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าต่าง ๆ ต่อไป ดังนั้น ในที่สุดแล้ว ในระบบเศรษฐกิจจะไม่มีการผลิตสินค้าชนิดใดมากจนเกินความต้องการ และระบบเศรษฐกิจนั้นย่อมมีแนวโน้มจะเข้าสู่ดุลยภาพที่มีการจ้างงานเต็มอัตราโดยอัตโนมัติ
(f) ดุลยภาพสูงสุดพาเรโต (Pareto optimal level) แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์สวัสดิการของ Vilfredo Pareto นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียน หมายถึง สภาพการณ์ที่มีการจัดสรรทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสมที่สุด ทำให้สังคมส่วนรวมได้รับความพอใจสูงสุด กล่าวคือ สังคมไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรการผลิตใหม่เพื่อให้ได้รับความพอใจมากไปกว่านี้ โดยไม่ทำให้ผู้บริโภคอื่นแม้เพียงคนเดียวอยู่ในสภาพที่เลวลง
(f) เส้นอุปทาน (supply curve) แสดงความสัมพันธ์ในเชิงแปรผันโดยตรงระหว่างปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตต้องการจะขายกับราคาของสินค้า
(g) สินค้าที่ค้าข้ามประเทศได้ (tradable goods) หมายถึงสินค้าหรือบริการที่สามารถนำไปขายได้ในที่ที่ห่างไกลจากแหล่งผลิต สินค้าแต่ละอย่างมีระดับของการนำไปค้าข้ามประเทศได้แตกต่างกันไป สินค้าที่ยิ่งเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงและมีอายุสั้น ก็ยิ่งนำไปค้าข้ามประเทศได้น้อยลง ยกตัวอย่างเช่น อาหารปรุงสุกที่ไม่ได้แช่แข็ง มักไม่ถือเป็นสินค้าที่ค้าข้ามประเทศได้ มันขายได้เฉพาะในท้องถิ่น เป็นต้น
(h) ภาคผนวกของเอกสารชิ้นนี้สามารถหาอ่านได้ที่ http://www.thomaspalley.com/docs/articles/economic_development/international_labor_standards.pdf
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บรรณานุกรม
Altman, M. 2001. A revisionist view of the economic implications of child labor regulations, Forum for Social Economics, Spring, 1-23.
Berik, G. 2001. What happened after Pakistan's soccer ball industry went child free, Paper presented at a conference on Child Labor held at the Graduate School of Social Work, University of Utah, Salt Lake City, UT, 7-8 May
Belassa, B. 1978. Exports and economic growth: further evidence, Journal of Development Economics, vol. 5, 181-9
Belassa, B. 1985. Exports, policy choices, and economic growth in developing countries after the 1973 oil shock, Journal of Development Economics, vol. 18, 23-35
Bernstein, J. and Mishel, L. 1995. A comparison of income, wage, & employment trends of advanced industrial economies, in Mishel, L. and Schmitt, J. (eds), Beware the US Model: Jobs and Wages in a Deregulated Economy, Washington, D.C., Economic Policy Institute
Blecker, R. A. 2000. The diminishing returns to export-led growth, paper prepared for the Council of Foreign Relations Working Group on Development, New York
Bronfenbrenner, K. 1996. Final Report. The Effects of Plant Closing or Threat of Plant Closing on the Right of Workers to Organize, Ithaca, NY, New York State School of Industrial and Labor Relations, Cornell University
Bronfenbrenner, K. 1997. The effects of plant closings and the threat of plant closings on workers rights to organize, Supplement to Plant Closings and Workers' Rights: A Report to the Council of Ministers by the Secretariat of the Commission for Labor Cooperation, Dallas, TX, Bernan Press
Bronfenbrenner, K. 2000. Uneasy terrain: the impact of capital mobility on workers, wages, and union organizing, Commissioned Research Paper for the US Trade Deficit Review Commission
Burke, J. 2000. 'US Investment in China Worsens Trade Deficit', Briefing Paper, Economic Policy Institute, Washington, D.C.Chow, P. 1987. Causality between export growth and industrial development: empirical evidence from the NICs, Journal of Development Economics, vol. 26, 55-63
Darrat, A. 1987. Are exports an engine of growth? Another look at the evidence, Applied Economics, vol. 19, 277-83
Eatwell, J. 1996. 'International Capital Liberalization: An Evaluation', Report to UNDP, SSA no. 96-049
Elmslie, B. and Milberg, W. 1996. Free trade and social dumping: lessons from the regulation of US interstate commerce, Challenge (May-June), 46-50
Holmes, T. J. 1998. The effect of state policies on the location of manufacturing: evidence from state borders, Journal of Political Economy, vol. 106, 667-705
IMF 1997. International Financial Statistics Yearbook, Washington, D.C.
Jessup, D. 1999. Dollars and Democracy, Washington, D.C., New Economy Information ServiceLiebenstein, H. 1957. Economic Backwardness and Economic Growth, New York, John Wiley
Kaplinsky, R. 1993. Export processing zones in the Dominican Republic: transforming manufactures into commodities, World Development, vol. 21, 1851-65
Mani, M. and Wheeler, D. 1999. In search of pollution havens? Dirty industry in the world economy, 1960-1995, pp. 115-27 in Frederiksson, P. G. (ed.), Trade, Global Policy, and the Environment, Washington, World Bank
Maskus, K. 1997. 'Should Core Labor Standards be Imposed Through International Trade Policy', prepared for the International Trade Division, World Bank, Washington, D.C.
Michaely, M. 1997. Exports and growth: an empirical investigation, Journal of Development Economics, vol. 4, 49-53
Milanovic, B. 1999. 'True world income distribution, 1988 and 1993: first calculation based on household surveys alone', manuscript, Development Research Group, World Bank, Washington, D.C.
Mishel, L., Bernstein, J. and Schmitt, J. 1999. The State of Working America, 1998-99, Washington, D.C., Economic Policy Institute
Muscatelli, V. A., Stevenson, A. A. and Montagna, C. 1994. Intra-NIE competition in exports of manufactures, Journal of International Economics, vol. 37, 29-47
OECD 1996. Trade, Employment and Labor Standards: A Study of Core Workers' Rights and International Trade, Paris, OECD
Palley, T. I. 1997. Keynesian theory and AS/AD Analysis, Eastern Economic Journal, vol. 23, 459-68.
Palley, T. I. 1998A. Plenty of Nothing: The Downsizing of the American Dream and the Case for Structural Keynesianism, Princeton, Princeton University Press
Palley, T. I. 1998B. 'The Economics of Globalization: Problems and Policy Responses', AFL-CIO Public Policy Department, Washington, D.C.
Palley, T. I. 2000A. 'Export-led Growth: Is There Any Evidence of Crowding-out?', AFL-CIO Public Policy Department Economic Policy Paper, E050Palley, T. I. 2000B. 'Labor Standards, Economic Governance, and Income Distribution: Some Cross-Country Evidence', AFL-CIO Public Policy Department Economic Policy Paper, T029
Papke, L. E. 1991. Interstate business tax differentials and new firm location: evidence from panel data, Journal of Public Economics, vol. 45, 47-68
Polanyi, K. 1944. The Great Transformation, Boston, MA, Beacon Press
Prebisch, R. 1950. The Economic Development of Latin America and its Principle Problem, Santiago, UNECLA
Rodriguez, F. and Rodrik, D. 1999. Trade policy and economic growth: a skeptic's guide to the cross-national evidence, unpublished manuscript
Rodrik, D. 1997. 'Trade, Social Insurance, and the Limits to Globalization', NBER Working Paper, no. 5905.
Rodrik, D. 1999A. 'Democracies Pay Higher Wages', Quarterly Journal of Economics, vol. 114, 707-38
Rodrik, D. 1999B. Institutions for high quality growth: what they are and how to acquire them, paper presented at a Conference on Second Generation Reforms held at the IMF, Washington, D.C.
Rodrik, D. and Velasco, A. 1999. 'Short-term Capital Flows', NBER Working Paper, no. 7364Sachs, J. 1997. Power unto itself, Financial Times, 11 December
Sachs, J. and Warner, A. 1995. Economic reform and the process of global integration, Brookings Papers on Economic Activity, vol. 1, 1-118
Sapsford, D. and Singer, H. 1998. The IMF, the World Bank, and commodity prices: a case of shifting sands? World Development, vol. 26, 1653-60
Sarkar, P. and Singer, H. 1991. Manufactured exports of developing countries and their terms of trade since 1965, World Development, vol. 19, 333-40
Singer, H. 1950. The distribution of gains between investing and borrowing countries, American Economic Review (Papers and Proceedings), vol. 40, 473-85
Staiger, D., Spetz, J. and Phibbs, C. 1999. 'Is there Monopsony in the Labor Market? Evidence from a Natural Experiment', NBER Working Paper, no. 7258
Stiglitz, J. E. 1976. The efficiency wage hypothesis, surplus labor, and the distribution of income in LDCs, Oxford Economic Papers, vol. 28, 185-207
Stolper, W. F. and Samuelson, P. A. 1941. Protection and real wages, Review of Economic Studies, vol. 9, 58-73
Tanzi, V. 1996. 'Globalization, Tax Competition and the Future of Tax Systems', Working Paper WP/96/141, IMF Fiscal Affairs Department
Tonelson, A. 2000. Factories, Not Markets: Why US Multinational Firms Really Want Normal Trade with China, Washington, D.C. US Business and Industry Council Educational Foundation
Van Beers, C. and van den Bergh, J. 1997. An empirical multi-country analysis of the impact of environmental regulations on foreign trade flows, Kyklos, vol. 50, 29-46
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90