บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
Labour
Standards
Midnight
University
เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานแกนกลาง
เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานสากล
(๑)
ภัควดี
วีระภาสพงษ์ : แปล
นักวิชาการอิสระ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศ
บทความนี้ สำรวจดูเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานสากล
การรับรองสิทธิของแรงงานในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรอย่างเสรี และการต่อรอง
เป็นหมู่คณะ จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจทั้งในเชิงสถิตและเชิงพลวัต
ประสิทธิภาพเชิงสถิต (static efficiencies) หมายถึงผลได้ครั้งเดียวที่เกิดจาก
การปรับปรุงวิธีปฏิบัติทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ส่วนประสิทธิภาพเชิงพลวัต
(dynamic efficiencies) หมายถึงผลได้ที่เกิดจากการปรับปรุงวิถีการเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดยเคลื่อนย้ายจากวิถีการพัฒนาแบบ 'low road' มาเป็น 'high road' ประสิทธิภาพ
ทั้งสองประการนี้ช่วยยกระดับค่าจ้าง การจ้างงานและผลผลิตในประเทศกำลังพัฒนา
รวมทั้งส่งผลดีต่อแรงงานในประเทศพัฒนาแล้วด้วย มาตรฐานแรงงานเป็นกลไก
เชิงสถาบันในการยกระดับคุณภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งในประเทศกำลังพัฒนา
และพัฒนาแล้ว ดังนั้น มันจึงเป็นสถาบันที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๔๔๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๒๐.๕ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานแกนกลาง
เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานสากล
(๑)
ภัควดี
วีระภาสพงษ์ : แปล
นักวิชาการอิสระ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
Download
บทความนี้ในรูปของ Microsoft Word คลิก
แปลจาก Thomas I. Palley, "The Economic Case for International Labour
Standards,"
Cambridge Journal of Economics, 2004; http://www.thomaspalley.com/.
(หมายเหตุ: สำหรับบรรณานุกรม และคำอธิบายเพิ่มเติม ได้วางไว้ท้ายบทความนี้
ตอนที่ ๒)
บทความนี้ สำรวจดูเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานสากล การรับรองสิทธิของแรงงานในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรอย่างเสรี
และการต่อรองเป็นหมู่คณะ จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจทั้งในเชิงสถิตและเชิงพลวัต
ประสิทธิภาพเชิงสถิต (static efficiencies) หมายถึงผลได้ครั้งเดียวที่เกิดจากการปรับปรุงวิธีปฏิบัติทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น
ส่วนประสิทธิภาพเชิงพลวัต (dynamic efficiencies) หมายถึงผลได้ที่เกิดจากการปรับปรุงวิถีการเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดยเคลื่อนย้ายจากวิถีการพัฒนาแบบ 'low road' มาเป็น 'high road' ประสิทธิภาพทั้งสองประการนี้ช่วยยกระดับค่าจ้าง
การจ้างงานและผลผลิตในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งส่งผลดีต่อแรงงานในประเทศพัฒนาแล้วด้วย
มาตรฐานแรงงานเป็นกลไกเชิงสถาบันในการยกระดับคุณภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว
ดังนั้น มันจึงเป็นสถาบันที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย ('win-win')
1. คำนำ
วิกฤตการณ์ทางการเงินในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ซึ่งเกิดขึ้นในเอเชียตะวันออก รัสเซียและบราซิล
ช่วยตอกย้ำความรู้สึกว่า โลกาภิวัตน์ไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีอย่างที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักทำนายไว้
แทนที่จะทำให้ความเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วขึ้น มีเสถียรภาพมากขึ้นและมีส่วนแบ่งร่วมกันในวงกว้าง
กลับดูเหมือนโลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดผลในทางตรงกันข้าม Rodrik and Velasco (1999)
รายงานว่า เศรษฐกิจโลกต้องประสบวิกฤตการณ์ด้านการธนาคารถึง 69 ครั้ง นับตั้งแต่ปลายทศวรรษ
1970 และวิกฤตการณ์ด้านเงินตราถึง 87 ครั้ง นับตั้งแต่ ค.ศ. 1975 เป็นต้นมา ยิ่งกว่านั้น
ตัวเลขที่นับมานี้ นับถึงแค่สิ้นปี ค.ศ. 1996 เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ได้นับรวมวิกฤตการณ์ทางการเงินใน
ค.ศ. 1997 และ 1998 ด้วย (1) ความไม่เท่าเทียมของรายได้ที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกามีตัวเลขอยู่ในงานของ
Mishel et al. (1999) ส่วนความไม่เท่าเทียมของรายได้ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศ
OECD มีรายงานอยู่ใน Bernstein and Mishel (1995) และความไม่เท่าเทียมของรายได้ที่เพิ่มขึ้นในระดับโลกมีอยู่ในงานวิจัยของ
Milanovic (1999)
ผู้สันทัดกรณีบางคนที่วิจารณ์กระบวนการโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันให้เหตุผลว่า มาตรฐานแรงงานสากล (international labour standards) ดังที่องค์การแรงงานสากล (International Labour Organization-ILO) นิยามไว้ คือองค์ประกอบสำคัญที่ต้องเสริมเข้าไปในกฎเกณฑ์ที่ใช้ควบคุมระบบเศรษฐกิจโลก เหตุผลก็คือ วิถีโลกาภิวัตน์ถูกกำหนดหน้าตาด้วย "กติกาใหม่" ที่นำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยที่กติกาใหม่ ๆ เหล่านี้เป็นผลลัพธ์มาจากสองส่วน คือจากมาตรการเชิงนโยบายของรัฐบาลและการริเริ่มของตัวแทนภาคเอกชนในตลาดการเงิน ตลาดสินค้าและตลาดแรงงาน โลกาภิวัตน์ไม่ก่อให้เกิดผลดีอย่างที่ทฤษฎีทำนายไว้ เพราะกติกาดังกล่าวถูกออกแบบมาอย่างไม่สมบูรณ์และไม่เหมาะสม หากจะแก้ไขให้ดีขึ้น วิธีที่จำเป็นก็คือต้องรวมเอามาตรฐานแรงงานแกนกลาง (core labour standards) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกติกาอย่างเป็นทางการนั่นเอง
บทความนี้พิเคราะห์ถึงเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงาน (2) ผู้คัดค้านมักกล่าวหาว่า มาตรฐานแรงงานเป็นแค่การคุ้มครอง "แอบแฝง"a (a) (รูปแบบหนึ่ง ซึ่งกีดกันไม่ให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถแข่งขันอย่างชอบธรรม ในภาคส่วนที่กลุ่มประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (comparative advantage) สูงสุด บทความของผู้เขียนโต้แย้งข้ออ้างดังกล่าวและยืนยันว่า แรงกดดันของมาตรฐานแรงงานจะช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพ และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา (3) แทนที่จะได้รับผลเสียจากการมีมาตรฐานแรงงาน ประเทศกำลังพัฒนาน่าจะได้รับผลดี หากมีการนำมาบังคับใช้อย่างเป็นทางการในระดับโลก (4)
เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานแกนกลาง
เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานแกนกลางมีอยู่ 2 มิติด้วยกัน
ประการแรก คือ ข้ออ้างเหตุผลว่าด้วยประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเชิงสถิต ('static' economic efficiency) ซึ่งมาตรฐานแรงงานแกนกลางจะช่วยแก้ไขการบิดเบือนในตลาดแรงงาน ส่งผลให้มีการจัดสรรทรัพยากรที่ขาดแคลนได้ดีขึ้น ซึ่งจะยกระดับผลผลิตและความอยู่ดีกินดีทางเศรษฐกิจ
ประการที่สอง คือ ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเชิงพลวัต ('dynamic' economic efficiency) กล่าวคือ มาตรฐานแรงงานแกนกลางจะช่วยเปลี่ยนแบบแผนของแรงจูงใจที่มีต่อภาคธุรกิจและภาครัฐ ช่วยผลักดันให้มีการเคลื่อนย้ายระบบเศรษฐกิจไปสู่วิถีการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ "high road" ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น และการแข่งขันของภาคธุรกิจจะมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพในการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มากกว่าสภาพในสถานประกอบการ
ตรรกะของข้ออ้างเหตุผลเชิงพลวัตนี้ก็คือ
โลกาภิวัตน์เปลี่ยนโครงสร้างของกระบวนการจัดการทางเศรษฐกิจไปแล้ว รวมทั้งเปลี่ยนแบบแผนของแรงจูงใจที่มีต่อภาคธุรกิจและภาครัฐไปด้วย
แบบแผนของแรงจูงใจรูปแบบใหม่นี้ ค่อนข้างคล้ายคลึงกับทฤษฎีเกมอันร้ายกาจที่เรียกว่า
"prisoner's dilemma"(*)(b). องค์ประกอบสำคัญของ "prisoner's
dilemma" ก็คือ เมื่อปราศจากการร่วมมือ แต่ละฝ่ายก็จะลงเอยที่ดุลยภาพที่ไม่ใช่จุดที่ดีที่สุด
(suboptimal equilibrium) แต่ถ้าแต่ละฝ่ายร่วมมือกัน ระบบเศรษฐกิจก็สามารถเคลื่อนย้ายขึ้นไปสู่ดุลยภาพที่ดีกว่า
ซึ่งทุกฝ่ายต่างได้ดีกันถ้วนหน้า
(*) In game theory, the prisoner's dilemma (sometimes
abbreviated PD) is a type of non-zero-sum game in which two players may each
"cooperate" with or "defect" (i.e., betray) the other
player. In this game, as in all game theory, the only concern of each individual
player ("prisoner") is maximizing his/her own payoff, without any
concern for the other player's payoff. The unique equilibrium for this game
is a Pareto-suboptimal solution-that is, rational choice leads the two players
to both play defect even though each player's individual reward would be greater
if they both played cooperate. In equilibrium, each prisoner chooses to defect
even though both would be better off by cooperating, hence the dilemma.
In the classic form of
this game, cooperating is strictly dominated by defecting, so that the only
possible equilibrium for the game is for all players to defect. In simpler
terms, no matter what the other player does, one player will always gain a
greater payoff by playing defect. Since in any situation playing defect is
more beneficial than cooperating, all rational players will play defect, all
things being equal. (สำหรับผู้สนใจ ดูเพิ่มเติมคลิกไปที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Prisoner's_dilemma)
เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับระบบเศรษฐกิจโลก แรงงาน (รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานสังคมอื่นๆ)
อาจถือได้ว่าเป็นกลไกความร่วมมือที่สามารถทำให้ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจระดับโลกที่ดีที่สุดกลายเป็นความจริงขึ้นมา
นี่ชี้ให้เห็นว่า มาตรฐานแรงงานแกนกลางช่วยหนุนเสริมความอยู่ดีกินดีทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา
หาใช่เป็นเครื่องถ่วงไม่ มาตรฐานแรงงานแกนกลางมิใช่การคุ้มครองแอบแฝงเลยแม้แต่น้อย
ที่จริงแล้ว มันเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการเคลื่อนย้ายทั้งประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาให้ก้าวไปสู่ดุลยภาพที่ดีกว่าเดิมต่างหาก
2. มาตรฐานแรงงานแกนกลางคืออะไร?
(5)
ก่อนจะกล่าวถึงสาระสำคัญของข้ออ้างเหตุผลต่อไป เราควรพิจารณาดูรายละเอียดบางประการของมาตรฐานแรงงานแกนกลางของ
ILO (**) เสียก่อน มาตรฐานเหล่านี้ประกอบด้วย 5 มาตรา สามมาตรามีลักษณะเชิงข้อห้าม
กล่าวคือ ห้ามมิให้มีการบังคับใช้แรงงาน ห้ามใช้แรงงานเด็กแบบขูดรีดข่มเหง และห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติ,
ส่วนอีกสองมาตรามีลักษณะเชิงส่งเสริม กล่าวคือ ให้แรงงานมีสิทธิรวมตัวจัดตั้งอย่างเสรี
และสิทธิในการต่อรองเป็นหมู่คณะ. มาตรฐานแรงงานแกนกลางทั้ง 5 ประการนี้ มีขยายความอยู่ในปฏิญญาแห่งหลักการพื้นฐานและสิทธิในการทำงาน
(Declaration of Fundamental Principles and Rights at Work) ของ ILO ซึ่งประกาศใช้ใน
ค.ศ. 1998 มาตรฐานแรงงานแกนกลางทั้ง 5 ประการ พร้อมทั้งหมายเลขอ้างอิงของอนุสัญญา
ILO ที่เป็นพื้นฐานในแต่ละมาตรา มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(**)The International Labour Organization (ILO) is a
specialized agency of the United Nations that deals with labour issues. Its
headquarters are in Geneva, Switzerland.
As stated by its Director-General, "the primary goal of the ILO today is to promote opportunities for women and men to obtain decent and productive work, in conditions of freedom, equity, security and human dignity."[1] In working towards this goal, the organization seeks to promote employment creation, strengthen fundamental principles and rights at work - workers' rights, improve social protection, and promote social dialogue as well as provide relevant information, training and technical assistance. At present, the ILO's work is organized into four thematic groupings or sectors: (1) Standards and fundamental principles and rights at work; (2) Employment; (3) Social Protection; and (4) Social Dialogue.
2.1 เสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งองค์กร
อนุสัญญาเสรีภาพในการรวมตัวและการคุ้มครองสิทธิจัดตั้งองค์กร (The Freedom of
Association and Protection of the Right to Organize) (NO. 87) รับรองสิทธิของแรงงานในการรวมตัวและเข้าร่วมในองค์กร
ซึ่งรวมถึงสหภาพแรงงาน ตามความสมัครใจ รัฐบาลต้องไม่บงการรูปแบบ ความเกี่ยวดอง
หรือการดำเนินงานภายในองค์กรเหล่านี้ และต้องไม่ปฏิเสธการจดทะเบียนหรือขัดขวางหน่วงเหนี่ยวองค์กรเหล่านี้
2.2 การรับรองสิทธิตามกฎหมายในการต่อรองเป็นหมู่คณะ
อนุสัญญาสิทธิในการจัดตั้งองค์กรและการต่อรองเป็นหมู่คณะ (The Right to Organize
and Collective Bargaining Convention) (No. 98) คุ้มครองสหภาพจากการแทรกแซงจากภายนอก
นายจ้างต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อคนงานที่เข้าร่วมองค์กรด้วยความสมัครใจ รวมทั้งนายจ้างต้องไม่จ่ายเงินและก่อตั้งองค์กรแรงงานของนายจ้างเองขึ้นมา
รัฐต้องสร้างกลไกทางกฎหมายที่ป้องกันการแทรกแซงดังกล่าว รัฐบาลต้องส่งเสริมการต่อรองเป็นหมู่คณะที่กระทำด้วยความสมัครใจระหว่างองค์กรแรงงานกับนายจ้างด้วย
2.3 กำจัดการเกณฑ์และการบังคับใช้แรงงานทุกรูปแบบ
อนุสัญญาการบังคับใช้แรงงาน (The Forced Labour Convention) (No. 29) และอนุสัญญาการยกเลิกการบังคับใช้แรงงาน
(The Abolition of Forced Labour Convention) (No. 105) เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการเกณฑ์และการบังคับใช้แรงงานทุกรูปแบบภายในอาณาเขตประเทศ.
การบังคับใช้แรงงานคือการใช้แรงงานรูปแบบใด ๆ ที่คนงานต้องกระทำภายใต้การข่มขู่ว่าจะถูกลงโทษ
โดยมิได้มีความสมัครใจ แม้จะมีข้อยกเว้นที่จำกัดมากสำหรับกรณีฉุกเฉินทางการทหารและเหตุฉุกเฉินระดับชาติ
แต่การสั่งห้ามบังคับใช้แรงงานของรัฐบาลต้องครอบคลุมกว้างขวาง
2.4 การยกเลิกแรงงานเด็ก
อนุสัญญาอายุขั้นต่ำสุดของแรงงาน (The Minimum Age Convention) (No. 138) วางเกณฑ์อายุขั้นต่ำสุดของแรงงานไว้ที่
15 ปี ในกรณีที่ประเทศนั้น ๆ ยังไม่มีการพัฒนามากเพียงพอ หรืองานที่ทำเป็นงานเบา
อายุขั้นต่ำสุดของแรงงานอาจต่ำกว่านี้ได้ อนึ่ง สำหรับอาชีพที่มีการเสี่ยงภัย
อายุขั้นต่ำสุดของแรงงานคือ 18 ปี รัฐต้องใช้และดำเนินนโยบายระดับชาติที่มุ่งยุติการใช้แรงงานเด็ก
และเอื้ออำนวยให้เด็กมีโอกาสพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจอย่างเต็มที่
2.5 การยกเลิกการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานและการประกอบอาชีพ
อนุสัญญาการเลือกปฏิบัติ (The Discrimination Convention) (No. 111) เรียกร้องให้รัฐบาลวางนโยบายระดับชาติที่มุ่งยกเลิกการเลือกปฏิบัติ
ไม่ว่าในแง่ของเชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา ความคิดทางการเมือง และต้นกำเนิดของชาติหรือสังคม
การเลือกปฏิบัติหมายถึงความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงการจ้างงานและการฝึกอบรม
ตลอดจนสภาพการทำงานที่แตกต่างกัน และนโยบายระดับชาติต้องหาทางแก้ไขทั้งโอกาสในการทำงานและการปฏิบัติต่อแรงงานที่ไม่เท่าเทียม
อนุสัญญาค่าตอบแทนที่เท่าเทียม (The Equal Remuneration Convention) (No. 100)
เสริมบรรทัดฐานนี้ให้สมบูรณ์ขึ้น ด้วยการกำหนดสิทธิของผู้ชายกับผู้หญิงในการได้ค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันสำหรับงานที่มีมูลค่าเท่าเทียมกัน
มาตรฐานทั้งห้าประการข้างต้นมีลักษณะคล้าย "สิทธิ" มาก และไม่ขึ้นต่อระดับขั้นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
มันมีลักษณะเชิง "คุณภาพ" มิใช่ "ปริมาณ" และไม่รวมถึงมาตรฐานอื่น
ๆ เช่น การกำหนดระดับค่าแรงขั้นต่ำหรือเพดานของชั่วโมงการทำงาน ซึ่งถือเป็นการแทรกแซงตลาดแรงงานที่ขึ้นต่อระดับขั้นของการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ มาตรฐานแรงงานที่มีลักษณะเชิงคุณภาพเปรียบเสมือนสิทธินี้ ถือเป็นข้ออ้างเหตุผลเชิง
"สิทธิมนุษยชน" ที่สนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงานอีกโสดหนึ่ง ซึ่งมีความชอบธรรมในตัวมันเองและช่วยเสริมน้ำหนักให้ข้ออ้างเหตุผลเชิงเศรษฐศาสตร์ด้วย
3. ภูมิหลังบางประการ:
เศรษฐศาสตร์ของโลกาภิวัตน์
โลกาภิวัตน์หมายถึงการผนวกรวมกันของตลาดสินค้า แรงงานและการเงินของประเทศต่าง
ๆ ในระดับสากล ในหลาย ๆ แง่ โลกาภิวัตน์ถือเป็นส่วนขยายของกระบวนการทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์แล้ว
ในการสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นหนึ่งเดียวกันในระดับชาติและภูมิภาค กระบวนการก่อนหน้านี้ถูกผลักดันจากการที่ภาคธุรกิจแสวงหาตลาดใหม่
ๆ และการหากำไรจากราคาและค่าจ้างด้วยการซื้อขายสินค้าและบริการอย่างเดียวกันข้ามตลาด
(arbitrage) โลกาภิวัตน์ถูกขับดันจากอิทธิพลต่าง ๆ แบบเดียวกันนี้เอง
อนึ่ง ควรสังเกตว่า การสร้างระบบเศรษฐกิจแห่งชาติที่เป็นหนึ่งเดียวกันในสหรัฐอเมริกาจนประสบความสำเร็จในสมัยก่อน มาคู่กันกับการสร้างสถาบันและระเบียบข้อบังคับใหม่ ๆ ด้วย ในตลาดแรงงาน รัฐบัญญัติแรงงานสัมพันธ์แห่งชาติ (ค.ศ. 1935) ให้แรงงานมีสิทธิในการก่อตั้งสหภาพและต่อรองเป็นหมู่คณะ รวมทั้งก่อตั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์แห่งชาติขึ้นเพื่อกำกับดูแลความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงานกับบริษัท รัฐบัญญัติมาตรฐานแรงงานที่เป็นธรรม (ค.ศ. 1938) วางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำและชั่วโมงการทำงาน
ในภาคการเงิน หลังจากความแตกตื่นปั่นป่วนในวงการธนาคารเมื่อ ค.ศ. 1907 ก็ได้มีการก่อตั้งธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้นใน ค.ศ. 1913 เพื่อกำกับดูแลระบบธนาคาร คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1933 หลังจากการพังทลายของตลาดหุ้นใน ค.ศ. 1929 เพื่อสร้างหลักประกันให้เกิดจรรยาบรรณในตลาดการเงิน นอกจากนี้ การค้าขายระหว่างมลรัฐ ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรา 1 วรรค 8 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ก็มักได้รับการตีความในลักษณะที่ห้ามมิให้มีการทุ่มตลาดและแข่งขันไปสู่จุดต่ำสุดระหว่างมลรัฐต่าง ๆ (Elmslie and Milberg, 1996)
การสร้างสถาบันใหม่ ๆ
ข้างต้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างระบบเศรษฐกิจระดับชาติที่เข้มแข็ง ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่งคั่งในเงื่อนไขที่สังคมยอมรับได้
ตามการวิเคราะห์ของโปลันยี (Polanyi 1944) (***) สถาบันเหล่านี้สร้างหลักประกันว่า
ระบบเศรษฐกิจจะฝังตัว (embedded) ในสังคมอย่างเหมาะสม (กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ
สังคมเป็นผู้กำกับดูแลระบบเศรษฐกิจ-ผู้แปล) ข้ออ้างเหตุผลแบบเดียวกันนี้สามารถใช้ได้กับระบบเศรษฐกิจโลก.
โลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดความจำเป็นในการมีสถาบันใหม่ ๆ เพื่อกำกับและจัดการเงื่อนไขใหม่
ๆ ทว่าสถาบันใหม่ ๆ เหล่านี้ย่อมไม่เหมือนสถาบันเดิม ๆ เนื่องจากการผนวกรวมเกิดขึ้นในระดับสากลมากกว่าระดับชาติ
อย่างไรก็ตาม เหตุผลในเชิงวิชาการก็ยังเหมือนเดิม
(***)Karl Paul Polanyi (October 25, 1886, Vienna, Austria
- April 23, 1964, Pickering, Ontario)[1] was a Hungarian intellectual known
for his opposition to traditional economic thought and his influential book
The Great Transformation. (สำหรับผู้สนใจความย่อหนังสือเล่มนี้ กรุณาดูภาคผนวก)
วิธีการหนึ่งในการเข้าใจปัญหาที่เกิดจากโลกาภิวัตน์ก็คือ โลกาภิวัตน์กำลังสร้างสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีการ "รั่วไหล" (Palley, 1998A, 1998B) ซึ่งแบ่งออกเป็นความรั่วไหล 3 รูปแบบด้วยกัน
ความรั่วไหลรูปแบบแรก คือ ความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจมหภาค หมายถึงแนวโน้มที่อุปสงค์จะรั่วไหลออกจากระบบเศรษฐกิจ สืบเนื่องจากการค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเพิ่มความโน้มเอียงในการพึ่งพิงการนำเข้า ผลลัพธ์ก็คือ เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัว การใช้จ่ายก็ยิ่งรั่วไหลออกไปมากขึ้นในรูปของการใช้จ่ายไปกับสินค้าและบริการนำเข้าที่ผลิตในประเทศอื่น ในเชิงวิเคราะห์ ความรั่วไหลที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการลดลงของตัวทวีค่าใช้จ่าย (expenditure multiplier) (6)(c) c ในระดับนโยบาย มันอาจทำให้รัฐบาลไม่กล้าดำเนินโครงการสร้างเสถียรภาพในการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างอิสระเพื่อต่อสู้กับภาวะถดถอยภายในประเทศ หลักฐานแสดงถึงความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจมหภาคที่เพิ่มขึ้นมีอยู่ในตารางที่ 1. ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเปิดตลาดสินค้า นั่นคือการส่งออกและนำเข้า เพิ่มขึ้นในสัดส่วนของ GDP ของประเทศอุตสาหกรรมเกือบทุกประเทศ สำหรับสหรัฐอเมริกา การเปิดตลาดนี้เพิ่มขึ้นจาก 9.9% ใน ค.ศ. 1966 เป็น 24.9% ใน ค.ศ. 1997 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 152%
ตารางที่
1. การเปิดตลาดสินค้าของกลุ่มประเทศ OECD 1966-97
การเปิดตลาดสินค้า=[นำเข้า+ส่งออก]/GDP
ที่มา:
การคำนวณของผู้เขียนโดยใช้สถิติของ IMF
ส่วน G-7 และยุโรป คำนวณโดยใช้ค่าถ่วงน้ำหนักของประชากร - ข้อมูล ค.ศ. 1996
ความรั่วไหลรูปแบบที่สอง
คือ ความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจจุลภาค หมายถึงแนวโน้มที่งานจะรั่วไหลจากระบบเศรษฐกิจออกไปสู่ประเทศอื่น
หากตลาดแรงงานไม่มีความยืดหยุ่นมากพอ ค่าจ้างที่แท้จริงสูงเกินไป หรืออัตราภาษีที่เก็บจากผลกำไรไม่จูงใจเมื่อเปรียบเทียบกับเงื่อนไขในประเทศอื่น
สืบเนื่องจากต้นทุนขนส่งสินค้าที่ลดลง บวกกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทำให้การผลิตในสถานที่ห่างไกลกันหลาย
ๆ แห่งมีความสะดวกรวดเร็ว รวมทั้งเป็นผลจากนโยบายที่ทำลายกำแพงระหว่างประเทศต่าง
ๆ จึงทำให้การสร้างผลกำไรเพิ่มขึ้นโดยเคลื่อนย้ายการผลิตระหว่างประเทศต่าง ๆ
มีความเป็นไปได้
มีหลักฐานจำนวนมากที่แสดงถึงความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจจุลภาค Bronfenbrenner (1997,
2000) เสนอหลักฐานเชิงจุลภาคจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงทศวรรษ 1990 บริษัทสหรัฐฯ
มักใช้การข่มขู่ว่า จะปิดโรงงานในการต่อรองเรื่องค่าจ้างกับสหภาพ และต่อต้านการรณรงค์ในการก่อตั้งสหภาพแรงงาน
Holmes (1998) พบว่า ที่ตั้งของอุตสาหกรรมการผลิตในสหรัฐฯ มักสอดรับกับกฎหมายสิทธิในการทำงาน
(right-to-work-การส่งเสริมสิทธิของแรงงานโดยไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมในสหภาพ-ผู้แปล)
ของมลรัฐ ซึ่งเป็นนโยบายที่บ่อนทำลายศักยภาพในการก่อตั้งสหภาพ Berik (2001)
รายงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมผลิตลูกฟุตบอลในปากีสถาน ซึ่งยินยอมที่จะไม่ใช้แรงงานเด็ก สุดท้ายกลับพบว่าการผลิตลูกฟุตบอลย้ายไปอยู่อินเดียแทน Jessup (1999). รายงานว่าระหว่างช่วงทศวรรษ 1990 การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (foreign direct investment-FDI) ของสหรัฐฯ ที่ไหลไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมีสัดส่วนลดลง ส่วนการลงทุนที่ไหลไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยกลับมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น. Jessup ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า บริษัทจงใจโยกย้ายการลงทุนโดยตรง เพื่อฉกฉวยความได้เปรียบจากเงื่อนไขในประเทศที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย
Burke (2000) นำเสนอหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การลงทุนโดยตรงของสหรัฐฯ ในประเทศจีนส่งผลให้สหรัฐฯ นำเข้าจากประเทศจีนมากขึ้นและส่งออกไปยังประเทศจีนน้อยลง พร้อม ๆ กับการโยกย้ายฐานการผลิต ข้อสรุปนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Tonelson (2000) ในกรณีศึกษาเกี่ยวกับบริษัทผู้ผลิตของสหรัฐฯ. Tanzi (1996) แสดงหลักฐานให้เห็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันด้านภาษี. Papke (1991) พบจากข้อมูลของสหรัฐฯ เองว่า ภาษีของมลรัฐในสหรัฐฯ มีผลกระทบต่อการเกิดบริษัทใหม่ในบางอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ความแตกต่างของต้นทุนระหว่างมลรัฐมีผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม. Rodrik (1997) แสดงหลักฐานเชิงเศรษฐศาสตร์มหภาคระหว่างประเทศที่ชี้ให้เห็นการแข่งขันทางภาษีระหว่างประเทศ
ความรั่วไหลประการที่สาม
อาจเรียกได้ว่า ความรั่วไหลทางการเงิน
หมายถึงขนาดการไหลเวียนของทุนการเงินระหว่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น การไหลเวียนที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากนวัตกรรมในการสื่อสารด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีการโอนเงิน
นอกจากนี้ยังเป็นผลลัพธ์มาจากความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายที่ล้มเลิกกฎหมายควบคุมการเคลื่อนไหวของทุนระหว่างประเทศด้วย
ความรั่วไหลทางการเงินที่เพิ่มมากขึ้นคือหัวใจของการวิวาทะในระยะหลัง ๆ เกี่ยวกับความไร้เสถียรภาพทางการเงินระดับโลก
แต่มันอาจมีผลกระทบอื่น ๆ ต่อความสามารถของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างเป็นอิสระด้วย
ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มผลประโยชน์ทางการเงินในปัจจุบันมีอำนาจมากขึ้นในการยับยั้งนโยบายใด
ๆ ก็ตามที่กลุ่มตนไม่ชอบ เพราะกลุ่มผลประโยชน์ทางการเงินสามารถหนีออกจากประเทศไปได้ง่าย
ๆ กล่าวได้ว่า นี่คือการลงคะแนนเสียงด้วยการเคลื่อนย้ายตัวเอง
Eatwell (1996) แสดงหลักฐานถึงความรั่วไหลทางการเงินที่เพิ่มมากขึ้น ใน ค.ศ.
1980 การซื้อขายเงินตราต่างประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ราว 80 พันล้านดอลลาร์ต่อวัน และอัตราส่วนของการซื้อขายเงินตราต่างประเทศต่อการค้าโลกอยู่ที่
10:1 ล่วงมาถึง ค.ศ. 1995 การซื้อขายเงินตราต่างประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ราว 1260
พันล้านดอลลาร์ และอัตราส่วนต่อการค้าโลกอยู่ที่ 70:1
ความรั่วไหลทางเศรษฐกิจทั้ง 3 รูปแบบนี้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงแบบแผนของแรงจูงใจทั้งที่มีต่อผู้วางนโยบายและภาคธุรกิจ เดี๋ยวนี้ผู้วางนโยบายจำต้องดำเนินนโยบายที่สอดคล้องกับกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจและการเงินอย่างใกล้ชิดกว่าเดิม เนื่องจากกริ่งเกรงว่าจะกระตุ้นความไม่พอใจของตลาดการเงินหรือสร้างแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจย้ายการลงทุนและฐานการผลิตไปต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจและการเงินก็มีผลประโยชน์ในการปั่นหัวประเทศหนึ่งให้ขัดแย้งหรือแข่งขันกับอีกประเทศหนึ่ง เพื่อให้ตนได้เงื่อนไขทางภาษีและกฎเกณฑ์ในตลาดแรงงานที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองมากขึ้น และลดทอนข้อผูกมัดด้านระเบียบข้อบังคับลง
ยิ่งกว่านั้น ความรั่วไหลทั้ง 3 รูปแบบยังมีปฏิสัมพันธ์แบบออกฤทธิ์เสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้น ความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจมหภาคที่เพิ่มขึ้นก็ยิ่งทำให้ประเทศนั้น ๆ ต้องเผชิญกับการขาดดุลการค้ามากขึ้นตลอดช่วงการขยายวงจรทางธุรกิจ และการขาดดุลนี้ยิ่งทำให้ความไร้เสถียรภาพทางการเงินมีแนวโน้มมากกว่าเดิม ความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจมหภาคที่เพิ่มขึ้นยังซ้ำเติมปัญหาความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจจุลภาคให้เลวร้ายลง เพราะมันทำให้การนำเข้าสินค้าที่ผลิตในต่างประเทศสะดวกยิ่งขึ้น
การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากแรงจูงใจที่เปลี่ยนไปนี้ ต้องอาศัยนวัตกรรมของการร่วมมือและระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศ เพื่อหยุดยั้งเส้นทางการพัฒนาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งแบบแผนของแรงจูงใจที่เกิดขึ้นใหม่กำลังกระตุ้นให้เกิดขึ้น และเราสมควรพิจารณามาตรฐานแรงงานแกนกลางโดยคำนึงถึงการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
4. ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเชิงพลวัตและเหตุผลสนับสนุนการมีมาตรฐานแรงงาน
มาตรฐานแรงงานอาจช่วยให้เกิดผลได้ต่อประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสองรูปแบบด้วยกัน
กล่าวคือ ผลได้ของประสิทธิภาพเชิงสถิต (static efficiency gains) และผลได้ของประสิทธิภาพเชิงพลวัต
(dynamic efficiency gains) ผลได้ประการหลังนี้หมายถึง ผลได้ที่มาจากการเปลี่ยนเส้นทางและแบบแผนของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
4.1 ผลได้ของประสิทธิภาพเชิงพลวัตที่มีต่อเศรษฐกิจจุลภาค
ความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจจุลภาคก่อให้เกิดผลเสีย 2 ประการคือ
ประการแรก มันเปลี่ยนแปลงแบบแผนของแรงจูงใจที่ครอบงำการค้าระหว่างประเทศ หากปราศจากความรั่วไหลข้างต้น การค้าจะถูกขับดันด้วยการแข่งขันของสินค้าในตลาด ส่งผลให้ราคาลดต่ำลงและคุณภาพผลิตภัณฑ์ดีขึ้น แต่ความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจจุลภาคกลับเปลี่ยนแปลงแบบแผนของแรงจูงใจที่มีต่อบริษัทต่าง ๆ และกระตุ้นให้บริษัทหันไปหาการแข่งขันในเรื่องค่าจ้างและมาตรฐานของสถานประกอบการมากกว่า ทั้งนี้เพราะความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจจุลภาคที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้บริษัทใช้การข่มขู่ว่าจะย้ายฐานการผลิตมาเอาชนะการเรียกร้องค่าแรงและสภาพการทำงานได้
แน่นอน ความเปลี่ยนแปลงในแบบแผนของแรงจูงใจทางการค้านี้เห็นได้ชัดในบางอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงว่ามันเกิดขึ้นมีหลักฐานชัดเจน กล่าวคือ ภาคธุรกิจของสหรัฐฯ ใช้การข่มขู่ดังกล่าวมากขึ้นหลังจากมีข้อตกลง NAFTA (Bronfenbrenner, 1996) ในสภาพแวดล้อมของความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจจุลภาค การค้าจะถูกผลักให้มีแนวโน้มที่ซับซ้อน ผลกระทบเชิงลบต่อการกระจายรายได้ภายในประเทศพัฒนาแล้วจะมีมากขึ้น ในขณะที่ผลกระทบเชิงบวกต่อค่าจ้างที่แท้จริง ประสิทธิภาพการผลิตและการพัฒนาคุณภาพสินค้าจะลดลง (7)ประการที่สอง ความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจจุลภาคทำให้เกิดสิ่งที่เรียกรวม ๆ ได้ว่า "การแข่งขันของระบบ" (systems competition) ระบบเศรษฐกิจเป็นระบบสังคมที่ซับซ้อน มีความแตกต่างกันตรงขอบเขตของการคุ้มครองทางสังคม การคุ้มครองสถานประกอบการและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และสามารถลดทอนความสามารถในการแข่งขันด้านราคาในตลาดโลกของแต่ละประเทศได้ ดังนั้น ภาคธุรกิจจึงมีแรงจูงใจส่วนตัวที่จะหาทางยกเลิกการคุ้มครองดังกล่าว โดยอาศัยการข่มขู่ว่าจะย้ายฐานการผลิต กล่าวโทษว่าตำแหน่งงานที่สูญเสียไปเป็นเพราะต้นทุนเหล่านี้ และผลักดันพลวัตทางการเมืองที่จะนำไปสู่การยกเลิกการคุ้มครองในด้านต่าง ๆ
แบบแผนของแรงจูงใจเช่นนี้สามารถกระตุ้นให้เกิด "การแข่งขันสู่จุดต่ำสุด" (race to the bottom) ซึ่งประเทศต่าง ๆ แข่งกันลดมาตรฐานลง จนต่างก็ตกอยู่ในสภาพของ prisoner's dilemma ดังที่แสดงให้เห็นในรูปที่ 1. (ข้างล่าง) แต่ละประเทศต่างมีแรงจูงใจที่จะได้มาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันส่วนเพิ่ม (marginal competitive advantage) ด้วยการลดมาตรฐานลง หากประเทศหนึ่งลดมาตรฐาน ขณะที่อีกประเทศหนึ่งไม่ได้ลด ประเทศแรกก็จะได้ผลตอบแทนสูงกว่า แม้ว่าโลกจะได้รับผลตอบแทนสูงสุด หากไม่มีประเทศไหนลดมาตรฐานลงเลย และได้รับผลตอบแทนต่ำสุดเมื่อทุกฝ่ายลดมาตรฐานลง แต่เนื่องจากแบบแผนของแรงจูงใจมาจากผลประโยชน์ของภาคส่วนเดียว โดยปราศจากการมีมาตรฐานแรงงานที่ผูกมัดทุกฝ่าย ระบบเศรษฐกิจโลกจึงเข้าสู่จุดดุลยภาพได้ต่อเมื่อทุกฝ่ายลดมาตรฐานลง
ยิ่งกว่านั้น แรงจูงใจให้ลดมาตรฐานลงจะยิ่งหนักข้อมากขึ้น เมื่อการค้าระหว่างประเทศมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะผลตอบแทนจากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบมีมากขึ้นตามไปด้วย นี่ชี้ให้เห็นว่าเหตุใดความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจมหภาคจึงมีปฏิสัมพันธ์กับความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจจุลภาคในลักษณะที่ซ้ำเติมซึ่งกันและกัน การสกัดกั้นไม่ให้เกิดกระบวนการเช่นนี้ ต้องอาศัยมาตรการความร่วมมือ เช่น มาตรฐานแรงงานสากล เพื่อแก้ปัญหาของ prisoner's dilemma
รูปที่ 1. การแข่งขันของระบบที่แสดงออกมาในรูปแบบของ prisoner's
dilemma
(x = ผลตอบแทนของประเทศ ก, y = ผลตอบแทนของประเทศ ข)
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ปัญหาที่คล้ายกับการมีมาตรฐานแรงงานก็คือ การติดสินบนของภาคธุรกิจ. การป้องกันไม่ให้เกิดการแข่งกันติดสินบนอันนำไปสู่ความเสื่อมของระบบ ก็ต้องอาศัยการสร้างมาตรฐานขึ้นมาเช่นกัน (8)
โครงสร้างแรงจูงใจที่วิปริตซึ่งก่อให้เกิดการแข่งขันของระบบ สามารถสร้างผลเสียหายร้ายแรงแก่ประเทศกำลังพัฒนา ประเทศกำลังพัฒนาตกอยู่ในความเสี่ยงว่าจะถูกเบียดขับจากการพัฒนาแบบ "high road" และต้องหล่นไปสู่เส้นทางแบบ "low road" ที่เต็มไปด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม การขาดมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการ ไม่มีสิทธิของลูกจ้างและขาดไร้สิทธิเสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งองค์กร และสิทธิในการต่อรองเป็นหมู่คณะ. ในทางปฏิบัติ ประเทศกำลังพัฒนาและระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศจึงขาดสถาบันที่พิสูจน์แล้วว่า เป็นหัวใจสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพในโลกพัฒนาแล้ว
การสำรวจข้อมูลเชิงประจักษ์ของการแข่งขันไปสู่จุดต่ำสุดในระดับโลกยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น แน่นอน หลักฐานเกี่ยวกับความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจจุลภาคที่อ้างถึงข้างต้นก็ใช้ได้กับประเด็นนี้ด้วย งานค้นคว้าวิจัยเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการแข่งขันไปสู่จุดต่ำสุดในด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีพลวัตแบบเดียวกัน มีกรณีตัวอย่างให้พบบ้างแล้ว (Mani and Wheeler, 1999; van Beers and van den Bergh, 1997) อย่างไรก็ตาม ข้อควรคำนึงประการหนึ่งคือ ในโลกพลวัตที่มีการเติบโตของรายได้ การแข่งขันไปสู่จุดต่ำสุดอาจถูกแปลงโฉมไปอย่างซับซ้อน ทำให้สำรวจตรวจพบได้ยาก แต่มีอยู่อย่างแน่นอน ดังนั้น หากบรรทัดฐานคือสิ่งที่ดีในภาวะปรกติ การแข่งขันไปสู่จุดต่ำสุดจะอยู่ในรูปของการยกระดับมาตรฐานที่เป็นไปได้เชื่องช้า รายได้ที่สูงขึ้นจะกดดันให้มาตรฐานสูงขึ้น แต่แรงกดดันจากการแข่งขันภายใต้ prisoner's dilemma จะกดมาตรฐานให้ต่ำลง
4.2 ผลได้ของประสิทธิภาพเชิงพลวัตที่มีต่อเศรษฐกิจมหภาค
บทบาทของมาตรฐานแรงงานในการป้องกันการแข่งขันไปสู่จุดต่ำสุด เป็นบทบาทที่ได้รับความสนใจมากที่สุด
แต่ความจริงแล้ว มาตรฐานแรงงานยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตที่เร็วกว่าและมีเสถียรภาพมากกว่าด้วย.
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศกำลังพัฒนาถูกผลักไสไปสู่การเติบโตที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักร
(export-led growth) มากขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะมีความเติบโตเกิดขึ้นจริง แต่ก็เติบโตอย่างเชื่องช้า
และการเติบโตที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักรทำให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาต้องพึ่งพิงตลาดในโลกพัฒนาแล้ว
เท่ากับเดินย่ำซ้ำรอยเดิมปัญหาหลาย ๆ ประการของรูปแบบการพัฒนาด้วย "ไร่เกษตรกรรมขนาดใหญ่"
(plantation) ในยุคก่อนหน้านี้
ปัญหาของการเติบโตที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักร
รูปแบบการเติบโตที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักรบีบให้ประเทศกำลังพัฒนาต้องส่งผลผลิตออกไปยังตลาดโลกมากขึ้น
ซึ่งยิ่งซ้ำเติมแนวโน้มของเกณฑ์การค้า (terms of trade) ที่ตกต่ำลงในระยะยาวของประเทศกำลังพัฒนาให้แย่ลงกว่าเดิม
ปัญหานี้มีมิติที่เป็นลักษณะของวัฏจักรชั่วร้ายด้วย เกณฑ์การค้าที่ตกต่ำลงจะยิ่งขยายปัญหาพื้นฐานของการเติบโตที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักรให้รุนแรงยิ่งขึ้น
เพราะราคาที่ตกต่ำลงจะยิ่งบีบให้ประเทศกำลังพัฒนาต้องส่งออกมากขึ้น ซึ่งยิ่งทำให้ปัญหาราคาตกต่ำรุนแรงซ้ำซ้อนไปอีก.
วัฏจักรชั่วร้ายนี้เป็นปัญหาที่ผู้ผลิตสินค้าขั้นปฐม (primary products) ต้องเผชิญมานานแล้ว
ในปัจจุบัน เนื่องจากการย้ายฐานการผลิตไปประเทศกำลังพัฒนาซึ่งไม่สามารถซื้อผลผลิตของตนเอง
ปัญหานี้จึงมีอยู่ในการผลิตสินค้าเกือบทุกประเภท ยกเว้นการผลิตระดับไฮ-เอนด์ขั้นสูงสุดเท่านั้น
วัฏจักรชั่วร้ายนี้ยังมีปฏิสัมพันธ์กับปัญหาการชำระดอกเบี้ยและจ่ายคืนหนี้ของประเทศกำลังพัฒนาด้วย กลุ่มประเทศกำลังพัฒนากู้ยืมมาเป็นเงินตราสกุลแข็ง เกณฑ์การค้าที่ตกต่ำลงทำให้การหาเงินตราที่จำเป็นต่อการชำระหนี้ยิ่งยากลำบากขึ้น ปัญหานี้ยิ่งบีบคั้นให้ประเทศกำลังพัฒนาต้องส่งออกมากขึ้นอีก ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาเกณฑ์การค้าให้เลวร้ายลง
ควบคู่มากับผลกระทบทางลบที่มีต่อประเทศกำลังพัฒนา รูปแบบการเติบโตที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักรยังส่งผลกระทบทางลบต่อประเทศพัฒนาแล้ว โดยเป็นสาเหตุของการสูญเสียตำแหน่งงานและการแข่งขันของค่าจ้าง นอกจากนี้ การที่ประเทศกำลังพัฒนาสามารถสร้างอุปทานในระดับโลกดังที่เป็นอยู่ โดยไม่สามารถสร้างอุปสงค์เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สอดรับกัน ย่อมนำไปสู่สถานการณ์ของการขาดแคลนอุปสงค์และกำลังการผลิตล้นเกิน ซึ่งย่อมก่อให้เกิดแรงกดดันที่จะตัดลดค่าจ้างและสวัสดิการในตลาดแรงงานของประเทศพัฒนาแล้วเพื่อรักษาตำแหน่งงานเอาไว้
คุณลักษณะของการเติบโตที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักรชี้ให้เห็นว่า มันเป็นรูปแบบที่ไม่มีความยั่งยืนโดยสิ้นเชิงและเสี่ยงต่อการสร้างภาวะเงินฝืดแก่ระบบเศรษฐกิจโลก ปัญหาความไม่ยั่งยืนเกิดขึ้นเพราะการส่งออกของประเทศหนึ่งย่อมหมายถึงการนำเข้าของอีกประเทศหนึ่ง ดังนั้น ในขณะที่ประเทศหนึ่งสามารถดำเนินยุทธศาสตร์การใช้การส่งออกเป็นหัวจักรได้สำเร็จ (ดังเช่นที่ญี่ปุ่นทำได้ในช่วง ค.ศ. 1950-80) แต่ไม่ใช่ทุกประเทศจะทำได้พร้อมกัน เพราะทุกประเทศไม่สามารถเกินดุลทางการค้าพร้อมกันหมดได้ หากทุกประเทศพยายามทำเช่นนั้น ผลลัพธ์ที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการขาดแคลนอุปสงค์ในระดับโลก และเรากล่าวได้อย่างมีเหตุผลว่า สภาพการณ์เช่นนี้เองคือลักษณะของสภาพเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ถ้าไม่อยู่ในภาวะถดถอย ก็มีการเติบโตที่ต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง
ข้อถกเถียงทางทฤษฎีเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักรข้างต้น มีความขัดแย้งอย่างเด่นชัดกับงานเขียนเชิงประจักษ์กระแสหลัก ซึ่งอ้างว่ามีความเชื่อมโยงในเชิงบวกระหว่างการเติบโตกับการส่งออก (9) อย่างไรก็ตาม งานเขียนประเภทนี้เท่าที่มีอยู่ก็ไม่ได้พิสูจน์ว่าข้อวิจารณ์โมเดลที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักรเป็นข้อวิจารณ์ที่ผิดพลาดแต่ประการใด เนื่องจากประเทศแต่ละประเทศสามารถเติบโตภายใต้ยุทธศาสตร์การใช้การส่งออกเป็นหัวจักร ก็ต่อเมื่อมีเพียงไม่กี่ประเทศที่ใช้ยุทธศาสตร์นี้ ปัญหาจะเริ่มปรากฏเมื่อมีหลายประเทศหันมาใช้ยุทธศาสตร์นี้มากขึ้น
เป็นไปได้ที่ระบบเศรษฐกิจโลกกำลังก้าวมาถึงขั้นนี้แล้ว และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ยืนยันผลกระทบดังกล่าวกำลังมีมากขึ้นเรื่อย ๆ. Rodriguez and Rodrik (2000) แสดงหลักฐานที่คัดง้างท้าทายต่อข้ออ้างเดิม ๆ บางประการเกี่ยวกับคุณูปการที่การค้ามีต่อการเติบโต และโต้แย้งว่า ความเชื่อมโยงในเชิงบวกที่การค้ามีต่อการเติบโต เกิดมาจากการใช้ตัวอย่างของการเปิดประเทศทางการค้า ซึ่งรวมเอาอิทธิพลอื่น ๆ เข้าไปด้วย ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ความวิปริตของการเติบโตที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักรแสดงออกมาให้เห็นในรูปของเกณฑ์การค้าที่เสื่อมถอยลง ความสามารถในการส่งออกที่ล้นเกิน และการเบียดเสียดแย่งชิงการส่งออก (export displacement) ระหว่างประเทศคู่แข่ง
ปัญหาเกณฑ์การค้าที่เสื่อมถอยลงสะท้อนให้เห็นภาพขยายของการค้นพบก่อนหน้านี้ของ Prebisch (1950) และ Singer (1950) เกี่ยวกับเกณฑ์การค้าสินค้าโภคภัณฑ์ที่เสื่อมถอยลง Sapsford and Singer (1998) รายงานว่า การศึกษาวิจัยในระยะหลังยืนยันข้อสรุปของ Prebisch-Singer และ Sarkar and Singer (1991) รายงานว่า มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ปรากฏการณ์ของเกณฑ์การค้าที่เสื่อมถอยลงในปัจจุบัน ขยายไปถึงการผลิตในระดับโลว์เอนด์ด้วย. Kaplinsky (1993) ชี้ให้เห็นว่า มีความสามารถในการส่งออกล้นเกินอย่างมีนัยสำคัญในสาธารณรัฐโดมินิกันและในประเทศแถบทะเลแคริบเบียน ซึ่งการพัฒนาแบบใช้การส่งออกเป็นหัวจักรในประเทศเหล่านี้ ตั้งอยู่บนการผลิตสิ่งทอที่ใช้แรงงานแบบเข้มข้น
Muscatelli et. al. (1994) แสดงความยืดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์ต่อราคา (cross-price elasticities-การวัดผลกระทบต่อปริมาณอุปสงค์ของสินค้าชนิดหนึ่ง เมื่อราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่งเปลี่ยนไป-ผู้แปล) ในเชิงลบ ที่ได้ค่ามากพอจนมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการส่งออกของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย Palley (2000A) สำรวจดูการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และพบว่า จีนเบียดเสียดแย่งชิงการส่งออกจาก "เสือ" เศรษฐกิจสี่ประเทศของเอเชียตะวันออก (ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์) ไปอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่เม็กซิโกเบียดเสียดแย่งชิงการส่งออกของญี่ปุ่นไปอย่างมีนัยสำคัญ
ในประการสุดท้าย ปัญหาของอุปสงค์ระดับโลกที่เกี่ยวพันกับการเติบโตที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักร ส่งผลกระทบต่อความมีเสถียรภาพของตลาดการเงินโลกด้วย ในอนาคตเท่าที่มองเห็น ประเทศกำลังพัฒนาจะยังคงเป็นผู้กู้ยืมในตลาดทุนโลก เพื่อพยายามพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ แต่ระบบเศรษฐกิจโลกที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักรอย่างที่เป็นอยู่ ย่อมหมายความว่าอุปสงค์ที่มีไม่พอเพียงจะยังคงเป็นปัญหาต่อไป ซึ่งหมายถึงปัจจัยเรื่องดุลการชำระเงินและวิกฤตการณ์ค่าเงินตราจะยังเป็นภยันตรายที่มีอยู่ต่อเนื่อง ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ประเทศที่พบว่าตนเองขาดแคลนอุปสงค์ย่อมมีแรงจูงใจที่จะหันไปใช้วิธีลดค่าเงินลง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่างประเทศ สภาพเช่นนี้ล่อแหลมที่จะทำให้เกิดกระบวนการแข่งกันลดค่าเงินที่เคยเป็นตัวการสร้างความพินาศทางเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษ 1930 ขึ้นมาอีกครั้ง
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกไปอ่านต่อบทความนี้ ตอนที่ ๒
เชิงอรรถ
(1) วิกฤตการณ์ด้านการธนาคาร (banking crisis) หมายถึง สถานการณ์ที่ภาคการธนาคารมีสินทรัพย์สุทธิ (net worth-ทรัพย์สินทั้งหมดลบด้วยหนี้สินทั้งหมด) เป็นลบ วิกฤตการณ์ด้านเงินตรา (currency crisis) หมายถึง สถานการณ์ที่เงินตราลดค่าลง 25% หรือมากกว่านั้นภายในหนึ่งปีและลดลงมากกว่าปีก่อนหน้านั้น 10%
(2) ในเอกสารอีก 2 ชิ้น (Palley 2000A, 2000B) ผู้เขียนได้แสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนข้ออ้างทางทฤษฎีจำนวนมากที่นำเสนอในบทความชิ้นนี้ ในแง่ของคุณูปการที่มาตรฐานแรงงานจะมีต่อคุณภาพของธรรมาภิบาลและการกระจายรายได้
(3) ข้ออ้างเหตุผลอีกประการหนึ่งที่มีแรงจูงใจทางการเมืองมากก็คือ ข้ออ้างเกี่ยวกับ "การปฏิบัติโดยเท่าเทียม" (equal treatment) ตามเหตุผลของข้ออ้างนี้ ในเมื่อข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) รอบอุรุกวัย มีการนำมาตรฐานทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้ามาใช้ ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ในกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ โดยนำมาขยายให้ใช้กับกระบวนการผลิตภายในพรมแดนของประเทศต่าง ๆ ในเมื่อมีการคุ้มครองสิทธิทางปัญญาเช่นนี้ จึงถือเป็นเรื่องยุติธรรมและเหมาะสมที่การปฏิบัติแบบเดียวกันจะนำมาใช้กับแรงงานและสิ่งแวดล้อมด้วย
(4) ข้ออ้างนี้อาจทำให้เกิดคำถามว่า เหตุใดรัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากจึงต่อต้านการใช้มาตรฐานแรงงาน เหตุผลประการหนึ่งคือ อาจไม่มีแรงจูงใจมากพอ (หรืออย่างดีที่สุดก็มีแค่แรงจูงใจเพียงเล็กน้อย) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงประเทศเดียวที่จะใช้มาตรฐานแรงงานแกนกลางตามลำพัง เหตุผลประการที่สองก็คือ มาตรฐานแรงงานอาจส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในกลไกการกระจายรายได้ และย่อมก่อให้เกิดแรงต้านจากกลุ่มผลประโยชน์ที่ครองอำนาจอยู่ ซึ่งมีแนวโน้มที่อาจเสียส่วนแบ่งของรายได้ไปบ้าง อย่างไรก็ตาม ข้ออ้างเหตุผลว่ามาตรฐานแรงงานเป็นต้นตอของความไร้ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ โดยเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ เป็นข้ออ้างที่ไม่ถูกต้อง
(5) ผู้เขียนขอขอบคุณ Elizabeth Drake แห่ง AFL-CIO ที่สงเคราะห์คำอธิบายมาตรฐานนี้โดยละเอียด รวมทั้งหมายเลขของอนุสัญญา ILO ที่เกี่ยวข้องด้วย หากข้อเท็จจริงและการตีความมีข้อผิดพลาดประการใด ล้วนเป็นความบกพร่องของผู้เขียนทั้งหมด
(6) หากการนำเข้าและส่งออกเติบโตขึ้นในอัตราใกล้เคียงกัน จะช่วยป้องกันไม่ให้ดุลการค้าที่วัดเป็นสัดส่วนของ GDP เสื่อมถอยลง อย่างไรก็ตาม หากการนำเข้าและส่งออกเติบโตขึ้นในสัดส่วนของ GDP ตัวทวีคูณของการใช้จ่ายจะลดลง และความรั่วไหลเชิงเศรษฐกิจมหภาคจะเพิ่มขึ้น
(7) แนวคิดว่า การค้าอาจมีผลกระทบต่อการกระจายรายได้อย่างสำคัญ มีการศึกษาครั้งแรกในงานเขียนของ Stolper and Samuelson (1941) ซึ่งเป็นผลงานที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในยุคต่อ ๆ มา ผลลัพธ์ของงานศึกษาชิ้นนี้พัฒนาขึ้นมาในกรอบของแบบจำลองเฮคเชอร์-โอห์ลิน (Hecksher-Ohlin) ซึ่งวางสมมติฐานอยู่บนตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม แบบจำลองนี้ถูกขยายไปใช้กับโลกที่มีความซับซ้อน ตลอดจนเรื่องของอำนาจต่อรอง ซึ่งการค้าสามารถเปลี่ยนแปลงการกระจายอำนาจให้ตกอยู่กับภาคธุรกิจมากขึ้น
(ทฤษฎีบทเฮกเชอร์-โอห์ลิน เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศของ Eli Heckscher และ Bertil Ohlin) สองนักเศรษฐศาสตร์ชาวสวีเดน ซึ่งกล่าวว่าประเทศใดที่มีปัจจัยการผลิตชนิดใดมาก มักมีแนวโน้มที่จะส่งออกสินค้าที่ผลิตด้วยปัจจัยชนิดนั้นเป็นหลัก เนื่องจากมีความได้เปรียบในแง่ต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศขึ้น-ผู้แปล)
(8) ตรรกะเบื้องหลังความจำเป็นของการมีมาตรฐานแรงงานเพื่อป้องกันการแข่งขันของระบบ มีกระบวนคิดที่คล้ายคลึงอย่างยิ่งกับตรรกะที่อยู่เบื้องหลังความจำเป็นของการมีกฎเกณฑ์เพื่อป้องกันการแข่งขันลดภาษีและการติดสินบน ในกรณีของภาษี ประเทศต่าง ๆ ติดกับดัก prisoner's dilemma จนจำต้องลดภาษีที่เก็บจากรายได้ของทุนเพื่อดึงดูดการลงทุน ผลลัพธ์สุทธิก็คือ หากมิใช่ทำให้ "ท้องพระคลัง" ร่อยหรอลง ก็ต้องย้ายภาระภาษีไปไว้ที่รายได้ของแรงงาน โดยมีผลได้น้อยมากในแง่ของการใช้จ่ายด้านการลงทุนในโลก ในกรณีของการติดสินบนนั้น คน ๆ หนึ่งย่อมได้เปรียบหากเขาติดสินบนเพียงผู้เดียว แต่หากทุกคนติดสินบนเหมือนกันหมด การติดสินบนก็ไม่มีประโยชน์ และระบบเศรษฐกิจอาจทำงานด้วยประสิทธิภาพที่ลดถอยลงเพราะการคอร์รัปชั่น ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทุกคนหากเรามีกฎเกณฑ์ห้ามการติดสินบนที่บังคับใช้ทั่วโลก
(9) Blecker (2000) วิจารณ์งานเขียนประเภทนี้ไว้ งานศึกษาที่รายงานถึงความเชื่อมโยงเชิงบวกระหว่างการเติบโตของการส่งออกกับการเติบโตของผลผลิต มีอาทิ Belassa (1978, 1985), Michaely (1977), Sachs and Warner (1995) นอกจากนี้ Chow (1978) และ Darrat (1987) ค้นพบผลกระทบเชิงสาเหตุ-ผลลัพธ์อย่างมีนัยสำคัญที่การส่งออกมีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ภาคผนวก
The Great Transformation is a famous book on the social and political upheavals that took place in England during the rise of the market economy, authored by Hungarian political economist Karl Polanyi. Polanyi contends that the modern market economy and the modern nation-state should be understood not as discrete elements, but as the single human invention he calls the Market Society.Polanyi argued that the development of the modern state went hand in hand with the development of modern market economies and that these two changes were inexorably linked in history. His reasoning for this was that the powerful modern state was needed to push changes in social structure that allowed for a competitive capitalist economy, and that a capitalist economy required a strong state to mitigate its harsher effects. For Polanyi, these changes implied the destruction of the basic social order that had existed throughout all earlier history, which is why he emphasized the greatness of the transformation. His empirical case in large part relied upon analysis of the Speenhamland laws, which he saw not only as the last attempt of the squirearchy to preserve the traditional system of production and social order, but also a self-defensive measure on the part of society that mitigated the disruption of the most violent period of economic change. The book also presented his belief that market society is unsustainable because it is fatally destructive to the human and natural contexts it inhabits.
Polanyi turns the tables on the orthodox liberal account of the rise of capitalism by arguing that "laissez-faire was planned", whereas social protectionism was a spontaneous reaction to the social dislocation imposed by an unrestrained free market. He argues that the construction of a 'self-regulating' market necessitates the separation of society into economic and political realms. Polanyi does not deny that the self-regulating market has brought "unheard of material wealth" , however he suggests that this is too narrow a focus. The market, once it considers land, labor and money as "fictitious commodities" (fictitious because each possesses qualities that are not expressed in the formal rationality of the market) "subordinate[s] the substance of society itself to the laws of the market." This, he argues, results in massive social dislocation, and spontaneous moves by society to protect itself. In effect, Polanyi argues that once the free market attempts to disembed itself from the fabric of society, social protectionism is society's natural response; this he calls the 'double movement'. Polanyi did not see economics as a subject closed off from other fields of enquiry, indeed he saw economic and social problems as inherently linked. He ended his work with a prediction of a socialist society (not altogether unlike the modern European welfare state), through a process in which "after a century of blind 'improvement', man is restoring his 'habitation.'
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90