บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
Interdisciplinarity
Midnight
University
ความรู้ผสมผสาน - สารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
Interdisciplinarity:
สหวิทยาการและความรู้เกี่ยวเนื่อง
สมเกียรติ
ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการจัดตั้งหลักสูตรสหวิทยาการ
และความรู้เกี่ยวเนื่อง
ความรู้แบบสหวิทยาการ
เป็นการตอบสนองปัญหาความจริงของโลกปัจจุบันที่พัฒนาขึ้นมาอย่างซับซ้อน
ภายใต้เงื่อนไขใหม่ที่หลากหลาย. ตามความคิดของ Marshall McLuhan
การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์นี้ มีสาเหตุเนื่องมาจากการข้ามผ่านจากยุคสมัยหนึ่ง
ที่ได้รับการก่อรูปขึ้นมาโดยยุคสมัยแห่งจักรกล (mechanization) ที่มีลักษณะต่อเนื่อง
ที่เป็นไปตามลำดับ(sequentiality) สู่ยุคสมัยที่ก่อเกิดขึ้นมาโดยความเร็วของกระแสไฟฟ้า
(electricity) ซึ่งทำให้เกิดลักษณะของการเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน หรือในเวลาเดียวกัน
(simultaneity)
สหวิทยาการ(interdisciplinary)
ส่วนใหญ่ถูกใช้ในวงการศึกษา
เมื่อบรรดานักวิจัยทั้งหลายตั้งแต่ ๒ สาขาวิชาหรือมากกว่านั้น ได้มารวมตัวกัน
ทำการศึกษาและปรับปรุงแก้ไขเรื่องบางอย่างให้เหมาะสมขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
เรื่องราวเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน(land use) อาจปรากฏออกมาแตกต่างกันไป
เมื่อทำการสำรวจโดยแต่ละสาขาวิชา อย่างเช่น ศึกษาโดยใช้ความรู้ทางชีววิทยา, เคมี,
เศรษฐศาสตร์, ภูมิศาสตร์ และรัฐศาสตร์ เป็นต้น
นอกจากบทความนี้จะเสนอเรื่องความเป็นสหวิทยาการแล้ว ยังมีกระบวนวิชาที่พัฒนามาใกล้เคียงอื่นๆ
เช่น ความหลากหลายทางวิชาการ การข้ามผ่านสาขาวิชา และการข้ามศาสตร์ ซึ่งในบทความนี้
จะได้ทำความเข้าใจกระบวนวิชาเหล่านี้ทั้งหมด ทั้งในแง่ความเหมือนและความต่าง
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๔๓๗
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๘.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ความรู้ผสมผสาน - สารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
Interdisciplinarity:
สหวิทยาการและความรู้เกี่ยวเนื่อง
สมเกียรติ
ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการจัดตั้งหลักสูตรสหวิทยาการ
และความรู้เกี่ยวเนื่อง
ความนำ
สหวิทยาการ(Interdisciplinarity) เป็นศัพท์ทางวิชาการที่เกี่ยวพันกับหลายสาขาวิชาชีพ
ที่มาเกี่ยวโยงกันในเรื่องของการศึกษาและการปฏิบัติ ศัพท์คำนี้เป็นการอ้างอิงถึงเรื่องของการค้นคว้าที่ตัดข้ามสาขาวิชาต่างๆ
หรือขอบเขตการศึกษาตามจารีตที่มีอยู่เดิมอย่างหลากหลาย. สหวิทยาการสัมพันธ์กับบรรดานักวิจัย
นักศึกษา และครู/อาจารย์ ในปัญหาต่างๆ ที่พวกเขาเกี่ยวข้อง โดยมีการเชื่อมโยงและบูรณาการความรู้ทางวิชาการ,
ระเบียบวิธีวิจัย และมุมมองสาขาวิชาชีพ หรือเทคโนโลยีต่างๆ ตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป
ในการแสวงหาเป้าหมายหรือทางออกร่วมกัน
โดยแบบแผนแล้ว สหวิทยาการ(interdisciplinarity)จะเพ่งความสนใจลงไปในปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ที่บรรดานักค้นคว้ารู้สึกว่าค่อนข้างมีความสลับซับซ้อน หรือเกี่ยวพันกับระเบียบวิธีและการใช้ความรู้อย่างกว้างขวาง ซึ่งกระบวนความรู้เพียงสาขาเดียวไม่อาจตอบคำถามนั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น การแพร่กระจายและเงื่อนไขที่สัมพันธ์เกี่ยวกับโรคเอดส์ (epidemiology of AIDS) หรือสภาวะโลกร้อน เป็นต้น. ศัพท์ดังกล่าวอาจถูกนำมาประยุกต์ใช้กับเรื่องที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความเอาใจใส่ หรือกระทั่งนำไปสู่ความเข้าใจที่ผิดพลาดในโครงสร้างสาขาวิชาตามจารีตเกี่ยวกับสถาบันวิจัยต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น สตรีศึกษา หรือพื้นที่ชาติพันธุ์วิทยา เป็นต้น
คำคุณศัพท์"สหวิทยาการ"(interdisciplinary) ส่วนใหญ่ถูกใช้ในวงการศึกษา เมื่อบรรดานักวิจัยทั้งหลายตั้งแต่ 2 สาขาวิชาหรือมากกว่านั้น ได้มารวมตัวกันทำการศึกษาและปรับปรุงแก้ไขมัน เพื่อว่ามันจะเหมาะสมกว่าในการมุ่งสู่การแก้ปัญหาที่มีอยู่ในมือ รวมถึงกรณีของกระบวนการอบรมทีมงาน ซึ่งบรรดานักศึกษาทั้งหลายได้รับการเรียกร้องให้ทำความเข้าใจต่อเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่ง ในลักษณะที่มีความหลากหลายของสาขาวิชาต่างๆ ตามประเพณี ยกตัวอย่างเช่น เรื่องราวเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน(land use) อาจปรากฏออกมาแตกต่างกันไป เมื่อทำการสำรวจโดยแต่ละสาขาวิชา อย่างเช่น ศึกษาโดยใช้ความรู้ทางชีววิทยา, เคมี, เศรษฐศาสตร์, ภูมิศาสตร์ และรัฐศาสตร์ เป็นต้น
ในความหมายหนึ่ง "สหวิทยาการ" เกี่ยวข้องกับความพยายามเข้าไปดูเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากหลายๆ แง่มุมและด้วยวิธีการต่างๆ ในท้ายที่สุด จะมีการตัดข้ามสาขาวิชาต่างๆ และก่อรูปวิธีการใหม่ขึ้นมาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวนั้น. จุดหมายร่วมของความเข้าใจจะรวมเอาวิธีการอันหลายหลาก และยอมรับความร่วมมือและแบ่งปันเรื่องราวหรือปัญหานั้น เนื่องจากมันได้แผ่คลุมไปสู่สาขาวิชาอื่นๆ นั่นเอง
พัฒนาการของความเป็นสหวิทยาการ
แม้ศัพท์คำว่า "สหวิทยาการ" จะถูกมองว่าเป็นศัพท์ของคริสตศตวรรษที่
20 อยู่บ่อยๆ แต่แนวคิดดังกล่าวมีประวัติศาสตร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว ที่เด่นชัดมากสุดสามารถพบได้ในปรัชญากรีก.
Julie Thompson Klein (*)ยืนยันว่า "รากเหง้าของแนวคิดดังกล่าว มีอยู่ในความคิดจำนวนหนึ่งที่สะท้อนผ่านวาทกรรมสมัยใหม่
เช่น ความคิดทั้งหลายเกี่ยวกับศาสตร์ที่ได้รับการนำมารวมตัวกัน, ความรู้ทั่วไป,
การสังเคราะห์และการบูรณาการทางความรู้, ขณะที่ Giles Gunn (**) กล่าวว่า บรรดานักประวัติศาสตร์และนักการละครกรีก
ได้หยิบเอาปัจจัยพื้นฐานต่างๆ มาจากขอบเขตหรืออาณาจักรความรู้อื่นๆ (อย่างเช่น
การแพทย์ หรือปรัชญา) เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของตัวมันมากขึ้น
(*)Julie THOMPSON KLEIN - Interdisciplinary Studies Program (CLL) Wayne State
University Detroit, Michigan 48202 (U.S.A.) สำหรับผู้สนใจอ่านงานของ JULIE
THOMPSON KLEIN "Notes Toward a Social Epistemology of Transdisciplinarity"
คลิกไปอ่านได้ที่ http://nicol.club.fr/ciret/bulletin/b12/b12c2.htm
(**)Giles Gunn, who teaches in the Department of English and Global and International
Studies Program at UCSB, สำหรับหนังสือใหม่ของเขาคือ Beyond Solidarity: Pragmatism
and Difference in a Globalized World (University of Chicago Press, June, 2001)
บางครั้ง โปรแกรมสหวิทยาการก็เกิดขึ้นมาจากความเชื่อมั่นที่ถูกรับรู้ร่วมกันว่า
สาขาวิชาต่างๆ ตามจารีตไม่สามารถหรือไม่มีเจตจำนงที่จะพูดถึงปัญหาสำคัญ อย่างเช่น
ตลอดช่วงคริสตศตวรรษที่ 20 ส่วนใหญ่สาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ อาทิ สาขาวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยาได้ให้ความสนใจเพียงเล็กน้อย
ต่อการวิเคราะห์เชิงสังคมเกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยี ผลของการณ์นี้ นักสังคมศาสตร์เป็นจำนวนมากที่สนใจในเรื่องของเทคโนโลยีจึงไปร่วมมือกับโครงการ"วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีศึกษา"(science
and technology studies programs, ซึ่งโดยแบบแผนแล้วมีทีมงานเป็นนักวิชาการที่ดึงมาจากสาขาวิชาต่างๆ
ที่หลากหลายมาก
นอกจากนี้ โปรแกรมสหวิทยาการอาจเกิดขึ้นมาจากพัฒนาการทางด้านการวิจัยใหม่ๆ อย่างเช่น นาโนเทคโนโลยี ซึ่งไม่สามารถพูดถึงได้โดยไม่รวมเอาวิธีการหรือความรู้ตั้งแต่ 2 สาขาวิชาขึ้นไปมาอธิบาย. ตัวอย่างต่างๆ รวมถึงกระบวนการข้อมูลเกี่ยวกับควอนตัม, ซึ่งเป็นการรวมกันอันหนึ่งของควอนตัมฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และข้อมูลทางชีววิทยา(bioinformatics - การประยุกต์ใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์ สถิติ สู่กระบวนการข้อูลทางชีววิทยาและการวิเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องเกี่ยวกับยีนของเซลล์สิ่งมีชีวิต) รวมเข้ากับ ชีวิวิทยาระดับโมเลกุล กับวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
อีกระดับหนึ่ง สหวิทยาการได้รับการมองในฐานะที่เป็นวิธีการแก้ปัญหาต่อผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจต่างๆ ของความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มากจนเกินไป แต่อย่างไรก็ตาม ในบางทัศนะ ความเป็นสหวิทยาการได้ตกเป็นหนี้บุญคุณต่อคนเหล่านั้น ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในขอบเขตการศึกษาใดการศึกษาหนึ่ง นั่นคือ หากปราศจากผู้เชี่ยวชาญ บรรดานักสหวิทยาการจะไม่อาจมีข้อมูลและมีความเชี่ยวชาญในด้านการให้คำปรึกษา. ส่วนด้านอื่นๆ การเพ่งความสนใจของสหวิทยาการบนความต้องการที่จะอยู่พ้นไปจากสาขาวิชาต่างๆ มองว่าความเชี่ยวชาญเกินไปเป็นปัญหาทั้งในด้านญานวิทยาและด้านการเมือง. เมื่อความร่วมมือหรือการวิจัยสหวิทยาการยังผลให้เกิดการแก้ปัญหาใหม่ๆ ข้อมูลจำนวนมากจะย้อนกลับไปสู่สาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ ทั้งผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาและนักสหวิทยาการทั้งหลายอาจได้รับการมองว่า มีความสัมพันธ์ในแบบเติมเต็มหรือคู่ตรงข้ามในเชิงเกื้อกูล(complementary)กับอีกฝ่ายหนึ่ง
ความหลากหลายของความรู้เกี่ยวเนื่องกับสหวิทยาการ
มีแบบฉบับหลายหลากเกี่ยวกับการค้นคว้าที่อาจอ้างอิงถึงในฐานะที่เป็นเรื่องของสหวิทยาการ.
ความเป็นสหวิทยาการ(interdisciplinarity) บ่อยครั้งได้ถูกใช้สับเปลี่ยนกันไปมากับศัพท์คำว่า
ความหลากหลายทางวิชาการ(multidisciplinarity), หรือคำว่า การข้ามผ่านสาขาวิชา(transdisciplinarity),
และคำว่า การข้ามวิทยาการ(crossdisciplinarity) (สำหรับรายละเอียดความแตกต่างของรูปศัพท์เหล่านี้
นอกจากจะนำเสนอต่อจากนี้แล้ว ยังมีเพิ่มเติมในภาคผนวกด้วย)
Multidisciplinarity - ความหลากหลายทางวิชาการ
ความหลากหลายทางวิชาการ(Multidisciplinarity) เป็นปฏิบัติการร่วมกันของ 2 สาขาวิชาหรือมากกว่านั้นโดยไม่ได้มีการบูรณาการเข้าด้วยกัน. แต่ละสาขายินยอมให้กับผลลัพธ์ต่างๆ ของวิชาการนั้นโดยเฉพาะ ขณะที่การบูรณาการต่างๆ ถูกทิ้งไว้ให้กับนักสังเกตการณ์มือที่สาม. ตัวอย่างหนึ่งของความหลากหลายทางวิชาการ(multidisciplinarity) ก็คือการเสนองานบนเวทีวิชาการ ที่สะท้อนออกมาจากหลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับปัญหาเรื่องโรคเอดส์ (เช่น ในทางการแพทย์, ทางการเมือง, ทางระบาดวิทยา) ซึ่งแต่ละส่วนได้ให้ความรู้โดยผ่านการนำเสนอเพียงลำพังของข้อมูลในสาขาวิชาของตัวเอง และใช้ระเบียบวิธีวิจัยในสาขาวิชาของตนเองTransdisciplinarity - การข้ามผ่านสาขาวิชา
การข้ามผ่านสาขาวิชา(Transdisciplinary), เป็นศัพท์ที่ถูกนำมาใช้บ่อยๆ ซึ่งอาจยังไม่มีความมั่นคง หรือความหมายที่สอดคล้องลงรอยกันนัก. ตามการใช้เกี่ยวกับคำว่า การข้ามผ่านสาขาวิชา(Transdisciplinary) เสนอแนะว่า วิธีการ"ข้ามผ่านสาขาวิชา"ได้ละลายพรมแดนต่างๆ ระหว่างสาขาวิชาทั้งหลาย. การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับศัพท์คำนี้ ส่วนใหญ่นำเสนอในลักษณะที่เป็นไปอย่างใคร่ครวญและตั้งใจ ที่จะละเมิดหรือรุกล้ำต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ ของสาขาวิชาทั้งหลาย เพื่อวัตถุประสงค์ของการบรรลุถึงความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งใหม่ๆ หรือเกี่ยวกับการแผ่ขยายแหล่งที่มาต่างๆ ทางวิชาการทัศนะต่อมาเกี่ยวกับการข้ามผ่านสาขาวิชา(transdiciplinarity) คือการที่มันได้มีการหยิบเอาความคิด ทฤษฎี แนวความคิด และวิธีการต่างๆ มาใช้ ซึ่งดำรงอยู่เหนือการแบ่งแยกของสาขาวิชาความรู้ต่างๆ และประยุกต์ใช้พวกมันสู่การพ้นไปจากพรมแดนของสาขาวิชาทั้งหลาย. ส่วนใหญ่แล้ว มีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า "ความรู้ไม่อาจที่จะดำรงอยู่โดดๆ หรือได้รับการอ้างว่าเป็นเช่นนั้น หรือมีกำเนิดขึ้นมาจากสาขาวิชาหนึ่งใด. ตัวอย่างของการข้ามผ่านสาขาวิชาในความหมายนี้ อาจประยุกต็ใช้กับปรัชญามาร์กซิสท์สู่สาขาวิชาต่างๆ อย่างเช่น ประวัติศาสตร์ศิลป์ หรือประวัติวรรณคดี ด้วยเหตุที่มีการใช้ปรัชญาทางสังคมวิทยา, ประวัติศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, การเมือง, และอื่นๆ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับขอบเขตความรู้เหล่านี้นั่นเอง
Crossdisciplinarity - การข้ามวิทยาการ
การข้ามวิทยาการ(Crossdisciplinarity) คือปฏิบัติการของการข้ามพรมแดนสาขาวิชาต่างๆ เพื่อไปอธิบายเรื่องใดเรื่องราวหนึ่งในเทอมต่างๆ ของอีกสาขาวิชาหนึ่ง, ซึ่งต่างประเภทกัน หรือต่างวิธีการกัน. ตัวอย่างต่างๆ เกี่ยวกับการข้ามผ่านวิทยาการนี้คือ การศึกษาเกี่ยวกับฟิสิกส์กับศิลปะ, ฟิสิกส์กับดนตรี, หรือการเมืองของวรรณคดี เป็นต้น
อุปสรรคกีดขวางเกี่ยวกับเรื่องของสหวิทยาการ
เพราะผู้มีส่วนร่วมจำนวนมากในกิจกรรมใหม่อย่างสหวิทยาการ ซึ่งได้รับการฝึกมาจากสาขาวิชาต่างๆ
ในแบบจารีต โดยเหตุนี้ พวกเขาจึงจะต้องเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจให้ซาบซึ้งในวิธีการและมุมมองที่แตกต่าง
ยกตัวอย่างเช่น สาขาวิชาที่วางการเน้นหนักไปที่ความเข้มงวดเชิงปริมาณ อาจผลิตนักปฏิบัติการที่คิดถึงตัวของพวกเขาเอง(และสาขาวิชาของพวกเขา)ในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าของคนอื่นๆ.
ในทำนองเดียวกัน เพื่อนร่วมงานในสาขาที่ผ่อนปรนกว่า อาจไม่ค่อยสนใจในวิธีการเชิงปริมาณ
โดยเหตุนี้จึงอาจไม่บรรลุถึงมิติที่กว้างขวางของปัญหาใดปัญหาหนึ่ง. โปรแกรมสหวิทยาการอาจไม่ประสบผลสำเร็จ
หากว่าสมาชิกของโปรแกรมดังกล่าวยังคงยึดติดอยู่กับสาขาวิชาต่างๆ ของพวกเขา (และทัศนคติเดิมๆ
ของสาขาวิชาที่ตนถนัด)
จากมุมมองของสาขาวิชา ผลงานสหวิทยาการส่วนใหญ่อาจได้รับการมองในลักษณะที่เป็นศาสตรร์ค่อนข้างผ่อนปรนมากไป
ปราศจากความเข้มงวด หรือถูกระตุ้นในเชิงอุดมการณ์. ความเชื่อเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดอุปสรรคต่างๆ
ในเส้นทางวิชาชีพของคนเหล่านี้ซึ่งเลือกงานทางสหวิทยาการ. ยกตัวอย่างเช่น การสมัครขอทุนทางด้านงานวิจัยเกี่ยวกับสหวิทยาการ
บ่อยครั้งจะต้องได้รับการอ้างอิงโดยเพื่อนร่วมงานที่มีความสามารถเท่าเทียมกันที่ดึงมาจากสาขาวิชาที่มั่นคงแล้วต่างๆ
ซึ่งไม่ต้องต้องประหลาดใจเลยว่า บรรดานักวิจัยสหวิทยาการอาจประสบกับความยุ่งยากในการขอรับทุนสนับสนุนเกี่ยวกับงานวิจัยของพวกเขา.
ยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยที่ไม่มีความมั่นคงในหน้าที่การงานรู้ดีว่า เมื่อพวกเขาแสวงหาการเลื่อนตำแหน่งและประสงค์จะครอบครองฐานะตำแหน่งอันมั่นคง
เป็นไปได้ที่ว่าบางคนในหมู่ผู้ประเมินผลงานของพวกเขา จะขาดเสียซึ่งความผูกพันหรือเชื่อมโยงกับความรู้แบบสหวิทยาการ.
ด้วยเหตุนี้จึงพยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเสนองานวิจัยแบบสหวิทยาการ เพราะอาจมีผลต่อการถูกปฏิเสธการดำรงตำแหน่งหน้าที่อันมั่นคงได้
โปรแกรมต่างๆ ทางสหวิทยาการอาจล้มเหลว ถ้าเผื่อว่าพวกมันไม่ได้รับความมีอิสระเพียงพอ ยกตัวอย่างเช่น การปฏิบัติการร่วมกันเพื่อฟื้นฟูความสามารถทางด้านสหวิทยาการใหม่ สู่จุดร่วมด้วยความรับผิดชอบต่างๆ ทั้งในโปรแกรมสหวิทยาการ อย่างเช่น สตรีศึกษา และสาขาวิชาแบบจารีต เช่น ประวัติศาสตร์. ถ้าผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาแบบจารีตเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับโครงงาน คนที่มีความรู้ความสามารถทางด้านสหวิทยาการก็อาจลังเลใจที่จะผูกมัดพวกเขาเองอย่างเต็มที่กับสหวิทยาการ. อุปสรรคอย่างอื่นยังรวมไปถึง:
- การปรับทิศทางของนิตยสารทางวิชาการส่วนใหญ่ แม้ว่าในหลายปีที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงเพื่อน้อมนำสู่การรับรู้ใหม่ๆ แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยสหวิทยาการส่วนมาก ก็ยังยากที่จะได้รับการตีพิมพ์
- ในส่วนของการดำเนินการด้านงบประมาณตามประเพณีของมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะจ่ายผ่านช่องทางสาขาวิชาที่มีอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะอธิบายในเรื่องงบประมาณ และทุนวิจัยในด้านสหวิทยาการ (เนื่องจากไปเกี่ยวข้องกับหลายๆ สาขาวิชา)
- ช่วงเวลาเกี่ยวกับการงบประมาณหดตัว แนวโน้มตามธรรมชาติในการใช้งบประมาณจะมุ่งไปยังผู้มีสิทธิ์ก่อน (ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษาที่เรียนวิชาเอกในสาขาวิชาต่างๆ) ทำให้ทรัพยากรขาดแคลนสำหรับการสอนและการวิจัยในเชิงเปรียบเทียบ ที่ออกห่างจากศูนย์กลางของสาขาวิชาที่เข้าใจกันตามประเพณี ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ การนำเสนอโครงการสหวิทยาการ บ่อยครั้งมันจึงถูกรับรู้ในฐานะที่เป็นการแข่งขันเพื่อช่วงชิงเงินทุนสนับสนุนที่ลดลง และด้วยเหตุผลนี้ อาจต้องเผชิญกับการต่อต้านและการถูกตัดงบประมาณ
เนื่องจากอุปสรรคเหล่านี้และอื่นๆ งานวิจัยสหวิทยาการจึงถูกกระตุ้นอย่างหนักให้จัดตั้งเป็นสาขาวิชาต่างๆ ในตัวมันเอง. ถ้าพวกเขาประสบความสำเร็จ พวกเขาก็สามารถที่จะได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยของพวกเขาเอง และสร้างตำแหน่งงาน และการตัดสินใจเลื่อนตำแหน่งของพวกตนได้ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาก็จะสุ่มเสี่ยงน้อยลงในการเข้าสู่ตำแหน่ง. ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่งานวิจัยสหวิทยาการก่อนหน้านี้ ที่ได้กลายเป็นสาขาวิชาต่างๆ ไปแล้ว เช่น สาขาวิชาประสาทวิทยา(neuroscience), สาขาวิชาชีวเคมี(biochemistry), และ วิศวกรรมชีวแพทยศาสตร์(biomedical engineering)(*). ในบางโอกาส สาขาวิชาใหม่เหล่านี้ ถูกอ้างในฐานะที่เป็นความรู้ในลักษณะสหวิทยาการ
(*)
Biomedical engineering (BME) is the application of engineering principles
and techniques to the medical field. It combines the design and problem solving
skills of engineering with the medical and biological science to help improve
patient health care and the quality of life of healthy individuals.
As a relatively new discipline, much of the work in
biomedical engineering consists of research and development, covering an array
of fields: bioinformatics, medical imaging, image processing, physiological
signal processing, biomechanics, biomaterials and bioengineering, systems
analysis, 3-D modeling, etc. Examples of concrete applications of biomedical
engineering are the development and manufacture of biocompatible prostheses,
medical devices, diagnostic devices and imaging equipment such as MRIs and
EEGs, and pharmaceutical drugs.
สหวิทยาการศึกษา - Interdisciplinary Studies
สหวิทยาการศึกษา(Interdisciplinary Studies)เป็นโปรแกรมทางวิชาการหนึ่ง หรือกระบวนการที่แสวงหามุมมองในเชิงสังเคราะห์
ทั้งทางด้านความรู้, ทักษะ, ความเชื่อมโยงกัน และญานวิทยาอย่างกว้างๆ ในการจัดการทางการศึกษา
โปรแกรมสหวิทยาการอาจสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้การศึกษาวิชาต่างๆ ที่มีความสอดคล้องกันมีการส่งเสริมกัน
ซึ่งหากว่าจะทำความเข้าใจให้กระจ่าง ลำพังเพียงตัวสาขาวิชานั้นๆ แล้วอาจไม่สามารถทำได้
ยกตัวอย่างเช่น สตรีศึกษา(women studies) หรือสมัยกลางศึกษา(Medieval Studies).
ในระดับที่ก้าวหน้า ความเป็นสหวิทยาการในตัวมันเอง แทบจะไม่เคยเพ่งความสนใจลงไปในการศึกษา
ด้วยการวิพากษ์เกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ทางความรู้ที่แยกออกเป็นส่วนๆ ในเชิงสถาบัน
บางที ความคับข้องใจร่วมกันส่วนใหญ่เกี่ยวกับโปรแกรมสหวิทยาการ โดยบรรดาผู้ให้การสนับสนุนและผู้ที่กล่าวหามันชอบบ่นก็คือ การขาดเสียซึ่งการสังเคราะห์ นั่นคือ นักศึกษาทั้งหลายได้รับการตระเตรียมขึ้นมาด้วยมุมมองวิชาการที่หลากหลาย แต่นั่นไม่เป็นการเพียงพอในการน้อมนำสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ และบรรลุถึงทัศนะเชื่อมโยงของวิชาการต่างๆ ดังกล่าว. นักวิจารณ์โปรแกรมสหวิทยาการทั้งหลายรู้สึกว่า ความทะเยอทะยานเป็นเรื่องที่ไม่เป็นจริง คือทำให้ความรู้และสติปัญญาสุกงอมเต็มที่ทั้งหมด แม้แต่นักศึกษาปริญญาตรีที่เก่งเป็นพิเศษ. คนที่ปกป้องบางคนยอมรับถึงเรื่องความยุ่งยาก แต่ก็ยืนยันว่า การบ่มเพาะความเป็นสหวิทยาการเป็นอุปนิสัยหรือความเคยชินอย่างหนึ่ง ทั้งเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นไปได้ต่อการศึกษาของพลเมืองให้มีความรอบรู้และคนวัยทำงาน และรวมถึงผู้นำทั้งหลายที่จะมีความสามารถในเชิงวิเคราะห์ ประเมินผล และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่มาจากหลายแหล่ง เพื่อที่จะทำการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ อย่างมีเหตุผล
การเรียนการสอนโปรแกรมสหวิทยาการในสถาบันต่างๆ
บัณฑิตศึกษา ที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลอมเบีย
(The Faculty of
Graduate Studies at the University of British Columbia) (UBC) ได้ให้การสนับสนุนการวิจัยสหวิทยาการและการเรียการสอนมาตั้งแต่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี
ค.ศ.1949. หน่วยงานวิจัยแห่งแรกของมหาวิทยาลัยดังกล่าวคือ สถาบันชุมชนและการวางแผนระดับภูมิภาค(the
School of Community and Regional Planning) ซึ่งเปิดทำการในปี ค.ศ.1956 โดยมี
Peter Oberlander เป็นผู้อำนวยการคนแรก. ศาสตราจารย์ William Rees ได้พัฒนาการเครื่องมือการวิเคราะห์ทางนิเวศวิทยาที่เรียกว่า
the ecological footprint analysis tool (***) ขึ้นที่นี่ ในปี ค.ศ. 1992. ในเดือนตุลาคม
2005 หน่วยงานวิจัยล่าสุดคือ โครงการความร่วมมือนานาชาติ เกี่ยวกับการปรับปรุงการค้นพบต่างๆ
(the International Collaboration on Repair Discoveries (ICORD), ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยสหวิทยาการเกี่ยวกับการฟื้นฟูความเสียหายของเส้นประสาทไขสันหลัง
ที่ทำร่วมกับคณะบัณฑิตศึกษา
(***) Ecological footprint (EF) analysis measures human demand on nature.
It compares human consumption of natural resources with planet Earth's ecological
capacity to regenerate them. It is an estimate of the amount of biologically
productive land and sea area needed to regenerate (if possible) the resources
a human population consumes and to absorb and render harmless the corresponding
waste, given prevailing technology and current understanding. Using this assessment,
it is possible to estimate how many planet Earths it would take to support
humanity if everybody lived a given lifestyle.
ในเดือนตุลาคม 2006 สภามหาวิทยาลัยบริติชโคลอมเบีย ได้ให้การรับรองการก่อตั้งวิทยาลัยสหวิทยาการศึกษาใหม่(a
new College for Interdisciplinary Studies), ซึ่งดำเนินการในเดือนมกราคม 2007.
หน่วยงานวิจัยสหวิทยาการ 35 แห่ง, วิทยาลัย 2 แห่ง, และโปรแกรมสหวิทยาการ 12
โปรแกรม ที่ก่อนหน้านี้อยู่ในบัณฑิตศึกษาได้ย้ายไปยังวิทยาลัยใหม่แห่งนี้ และอำนาจที่ได้รับมอบหมายถูกขยายกว้างออกไปรวมถึงการสนับสนุนความเป็นสหวิทยาการข้ามมหาวิทยาลัย
ทั้งในระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี. เกือบทั้งหมดของสมาชิกคณะวิชาต่างๆ
82 แห่งในวิทยาลัยได้ร่วมมือกัน หรือถูกแต่งตั้งข้ามกันไปมาระหว่างหน่วยงานวิจัยในวิทยาลัยนี้
Fairhaven College ใน
Bellingham, Washington, เป็นวิทยาลัยแห่งแรกที่จัดให้มีโปรแกรมสหวิทยาการ
นับจากที่วิทยาลัยแห่งนี้ได้เปิดประตูเมื่อปี 1967 หลักสูตรทั้งหมดของ Fairhaven
ได้ทำการสอนโดยผ่านวิธีการสหวิทยาการศึกษา
The School of Interdisciplinary Studies หรือสถาบันสหวิทยาการศึกษา
ถูกรู้จักในนามโปรแกรมวิทยาลัยตะวันตกด้วย(the Western College Program) ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี
ค.ศ.1974 ที่มหาวิทยาลัยไมอามี ในอ๊อกฟอร์ด รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา. โปรแกรมดังกล่าวอนุญาตให้นักศึกษาควบคุมแนวทางการศึกษาของพวกเขาเอง
โดยการออกแบบวิชาเอกของตน ซึ่งเป็นการรวมพื้นที่การศึกษาอันหลากหลายที่มหาวิทยาลัยไมอามีได้เปิดทำการสอน
เพื่อก่อรูปความสนใจในสหวิทยาการหนึ่งขึ้นมา
Bio-X มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด: ความพยายามจากฐานร่าง
โดยคณะและนักศึกษาทั้งหลายที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ยังผลให้เกิดโปรแกรมใหม่ขึ้นมาเรียกว่า
Bio-X, ซึ่งเป็นการสำรวจถึงจุดตัดกันระหว่างสาขาวิชาชีววิทยา, วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์,
แพทย์ศาสตร์, และวิศวกรรมศาสตร์. โปรแกรมการศึกษาดังกล่าวตั้งขึ้นที่ศูนย์ Clark
Center (****), ที่เปิดขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ.2003
(****) The James H. Clark Center (also abbreviated to the Clark Center) at
Stanford University is a building, completed in 2003, that houses interdisciplinary
research in the biological sciences.
It is home to the Bio-X Program.
มหาวิทยาลัยในแคนาดา, Dalhousie University, Halifax,
เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นในเรื่องงานวิจัยโดยมีการบ่มเพาะโปรแกรมสหวิทยาการในระดับปริญญาเอกขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันมีนักศึกษาอยู่ราว 70 คน. จำนวนนักศึกษาในกลุ่มนี้ แตกต่างจากโปรแกรมการศึกษาระดับปริญญาเอกอื่นๆ
อย่างมากในมหาวิทยาลัย กล่าวคือ นักศึกษาแต่ละคนจะเป็นคนออกแบบโปรแกรมการศึกษาของพวกเขาเองขึ้นมา
เพื่อตอบสนองเป้าหมายในวิชาชีพในด้านอุตสาหกรรม, อาชีพในหน่วยงานรัฐบาล และความเป็นนักวิชาการ
EPSRC, กองทุนทางด้านวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ในประเทศอังกฤษ
กองทุนดังกล่าวได้จัดสรรทุนให้กับนักศึกษาระดับปริญญาเอกสหวิทยาการ ไม่ว่าจะเรียนอยู่
ณ ที่ใดในประเทศอังกฤษ ยกตัวอย่างเช่น the MOAC (Molecular Organisation and
Assembly in Cells) ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติการอยู่ที University of Warwick ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการผลิตนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์
ในการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สาขาธรรมชาติวิทยาที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง และพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต
(life science)
มหาวิทยาลัยทรูแมน, ซึ่งเปิดการเรียนการสอนทางด้านศิลปศาสตร์ใน
Kirksville, รัฐ Missouri, เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการเปิดรับความเป็นสหวิทยาการขึ้น
นั่นคือ ในหลักสูตรใหม่เกี่ยวกับการศึกษาทั่วไป ซึ่งมองว่านักศึกษาทั้งหมด อย่างน้อยต้องลงเรียนในกระบวนวิชาสหวิทยาการหนึ่งกระบวนวิชาก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท.
มหาวิทยาลัยดังกล่าวยังได้พัฒนากระบวนการเรียนหนึ่งขึ้นมา ซึ่งบรรดานักศึกษาได้รับการรับรองให้ศึกษาเรื่องของสหวิทยาการเป็นสาขาวิชาเอก
โดยนักศึกษาเหล่านี้สามารถออกแบบการเรียนวิชาเอกของตนเองขึ้นมาได้ โดยความช่วยเหลือของอาจารย์ที่ให้คำปรึกษาซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญของคณะ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ภาคผนวก :
ทำความเข้าใจรูปศัพท์คำว่า Multidisciplinary, Transdisciplinarity, และ Crossdisciplinarity
(1) Multidisciplinarity
- ความหลากหลายทางวิชาการ
สำหรับศัพท์คำนี้ไม่ได้หมายถึงการบูรณาการศาสตร์หรือสาขาวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน
แต่ละสาขาวิชายังคงธำรงไว้ซึ่งระเบียบวิธีการและสมมุติฐานของการวิจัยในตัวมันเองโดยไม่เปลี่ยนแปลง
หรือมีการพัฒนาจากสาขาวิชาอื่นๆ ในความสัมพันธ์กับความหลากหลายทางวิชาการ โดยเหตุนี้
คำว่า"ความหลากหลายทางวิชาการ"(Multidisciplinarity) จึงแตกต่างจากคำว่า
"สหวิทยาการ"(Interdisciplinarity). ในความสัมพันธ์ของ"ความหลากหลายทางวิชาการ"นี้
การปฏิบัติการร่วมอาจเป็นไปลักษณะความร่วมมือและการเพิ่มเข้ามาเท่านั้น แต่มิได้เป็นไปในลักษณะมีปฏิกริยาผสมผสานกัน
ขณะที่ในทางตรงข้าม สหวิทยาการจะผสมคลุกเคล้าสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน
ทั้งในเชิงปฏิบัติและการตั้งสมมุติฐานร่วมกัน
มีตัวอย่างมากมายเกี่ยวกับความคิดที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งเกิดขึ้นมาในหลากหลายสาขาวิชา ที่เกือบจะในเวลาเดียวกัน กรณีหนึ่งคือการเปลี่ยนผ่านจากวิธีการศึกษาที่เพ่งความสนใจลงไปในความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (การรับเอามุมมองเป็นส่วนๆ เข้ามา), สู่ความคิดเกี่ยวกับความรับรู้ทางความรู้สึกโดยทันทีเกี่ยวกับความเป็นองค์รวม, ความสนใจเกี่ยวกับความรู้ทั้งมวล เกี่ยวกับแบบแผนโดยภาพรวมของรูปลักษณ์และหน้าที่ในฐานะที่เป็นเอกภาพ, มันคือความคิดครบถ้วนสมบูรณ์ของโครงสร้างและรูปร่างภายนอก. อันนี้บังเกิดขึ้นในงานจิตรกรรม อย่างเช่น cubism, ฟิสิกส์, กวีนิพนธ์, การสื่อสาร และทฤษฎีการศึกษา. ตามความคิดของ Marshall McLuhan, การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์นี้ มีสาเหตุเนื่องมาจากการข้ามผ่านจากยุคสมัยหนึ่งที่ได้รับการก่อรูปขึ้นมาโดยยุคสมัยแห่งจักรกล (mechanization) ที่นำไปสู่ความต่อเนื่องที่เป็นไปตามลำดับ(sequentiality) สู่ยุคสมัยที่ก่อเกิดขึ้นมาโดยความเร็วของกระแสไฟฟ้า(electricity) ซึ่งทำให้เกิดลักษณะของการเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน หรือในเวลาเดียวกัน (simultaneity)
(2) Transdisciplinarity
- การข้ามผ่านสาขาวิชา
ในบริบทวิทยาศาสตร์ ศัพท์คำว่า "การข้ามผ่านสาขาวิชา"หรือในที่นี้อาจใช้สลับกับคำว่า"การข้ามศาสตร์"(transdisciplinarity)
ได้ถูกใช้ในหลายๆ ทาง ในประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมันทั้งหลาย ศัพท์คำนี้มักถูกใช้กับรูปแบบงานวิจัยเชิงบูรณาการหรือผสมผสาน
(Mittelstrass 2003). ความหมายนี้เป็นไปในลักษณะใกล้เคียงกับคำว่า สหวิทยาการ(interdisciplinat\rity).
"การข้ามผ่านสาขาวิชา"ในฐานะที่เป็นหลักการเกี่ยวกับรูปแบบงานวิจัยเชิงบูรณาการนี้
ประกอบด้วยครอบครัวของระเบียบวิธีวิจัยสำหรับความรู้ที่เกี่ยวข้อง และประสบการณ์ความรู้พิเศษและการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา
ในความเข้าใจนี้ "การวิจัยข้ามผ่านสาขาวิชา"(transdisciplinary research) จัดการปัญหาเกี่ยวกับโลกที่เป็นจริง(real world) ไม่ใช่จัดการปัญหารากเดิมของข้อถกเถียงในศาสตร์เท่านั้น. ความสำคัญประการต่อมาในความเข้าใจการวิจัยข้ามผ่านสาขาวิชาก็คือ ขอบเขตการบูรณาการของมุมมองศาสตร์ที่แตกต่างที่ได้มีการพูดถึง. บ่อยทีเดียว แง่มุมนี้ได้ถูกใช้จำแนกแยกแยะระหว่างการข้ามสาขาวิชา(transdisciplinary), สหวิทยาการ(interdisciplinary), และความหลากหลายทางวิชาการ (multidisciplinary). เนื่องจากความแตกต่างกันบางประการ และแนวคิดที่ไม่สอคล้องกันบางอย่างและในรูปศัพท์ อาณาเขตของการวิจัยข้ามผ่านสาขาวิชา จึงเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร
ในแวดวงการวิจัยภาษาเยอรมัน มีการประชุมในปี 2003 ซึ่งจัดขึ้นที่ G?ttingen ได้พยายามที่จะแสดงลำดับการอันกว้างขวางเกี่ยวกับความเข้าใจที่ต่างกันระหว่างคำว่า "การข้ามผ่านสาขาวิชา"(transdisciplinary), "สหวิทยาการ"(interdisciplinary), และ"ความหลากหลายทางวิชาการ"(multidisciplinary) และได้สร้างข้อเสนอแนะที่จะเบนมันเข้าหากัน โดยไม่ไปขจัดการใช้ประโยชน์หรือความเคยชินที่เป็นอยู่ (ดู Brand / Schaller / V?lker 2004). สำหรับสรุปความเกี่ยวกับรูปศัพท์ ดู Pohl & Hirsch Hadorn (2007), และการประชุมดังกล่าวได้นำเสนอวิธีการใช้ในเชิงระบบเกี่ยวกับศัพท์สำคัญเหล่านี้ คือ
2.1 การข้ามสาขาวิชาในฐานะที่เป็นการวิจัยเชิงบูรณาการ
(Transdisciplinarity as integrative forms of research)
บ่อยครั้ง ความรู้เกี่ยวประเด็นปัญหาในด้านสังคมศาสตร์มักจะเป็นเรื่องที่ไม่มีความแน่นอน
กล่าวคือธรรมชาติของปัญหายังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ และผู้ปฏิบัติการที่มีส่วนร่วมหลายคนมีความเกี่ยวข้องกัน
(Funtowicz & Ravetz 1993). สถานการณ์เช่นว่านั้น เป็นที่เรียกร้องต้องการการวิจัยข้ามศาสตร์
ทั้งนี้เนื่องมาจากความไม่ชัดเจนแจ่มแจ้ง เช่นว่า ปัญหาที่สอดคล้องกันส่วนใหญ่คืออะไร
และพวกมันสามารถถูกสร้างและเปลี่ยนแปลงไปสู่คำถามการวิจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดผลในทางที่เป็นประโยชน์ได้ไหม
และอย่างไร ?
- แบบฉบับของคำถามการวิจัยที่สำคัญลำดับแรก เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยเชิงประจักษ์ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ในปัจจุบัน และอาจจะมีอิทธิพลต่อการพัฒนาปัญหาในอนาคตด้วย (ความรู้เชิงระบบ - system knowledge)
- แบบฉบับของคำถามงานวิจัยที่สำคัญต่อมา เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่าและบรรทัดฐานต่างๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในฐานะที่เป็นพื้นฐานต่อการตัดสินใจ และการกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมเกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหา (ความรู้ที่เป็นเป้าหมาย - target knowledge)
- แบบฉบับของคำถามวิจัยอันที่สาม เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว ที่จริงแล้ว สามารถถูกแปรเปลี่ยนและปรับปรุงได้อย่างไร หรือไม่ (transformation knowledge)
ความประสงค์ในการกล่าวถึงคำถามวิจัยเหล่านี้ในหนทางการข้ามผ่านสาขาวิชา ได้รวมเอาความสลับซับซ้อนของปัญหาต่างๆ ที่ถูกกล่าวถึงเข้ามาอย่างเหมาะสม ความหลากหลายของโลกชีวิต และเกี่ยวกับการรับรู้ศาสตร์ต่างๆ ของปัญหาที่ได้รับการใคร่ครวญถึง, ความเป็นนามธรรม และความรู้เฉพาะกรณีที่ได้รับการเชื่อมโยง และความรู้ การปฏิบัติการดังกล่าว ได้ถูกพัฒนาขึ้นที่มาเสริมหนุนสิ่งที่ถูกรับรู้อันเป็นประโยชน์ร่วมกัน (Pohl & Hirsch Hadorn 2006, Jaeger & Scheringer 1998)
แบบฉบับของการวิจัยข้ามผ่านสาขาวิชาสามารถเกิดขึ้นได้ หากว่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องมีปฏิกริยาในการสนทนาแบบเปิดกว้างในกันและกัน ยอมรับมุมมองของแต่ละฝ่ายว่ามีความสำคัญเท่าเทียมกัน และสัมพันธ์กับมุมมองที่แตกต่างของแต่ละคน. การทำงานร่วมกันในหนทางของการข้ามผ่านสาขาวิชาเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะบรรดานักวิชาการที่มีส่วนร่วม บ่อยครั้งมักจะถูกครอบงำโดยจำนวนของข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติงานทุกวัน และเนื่องจากการเปรียบเทียบกันไม่ได้ของภาษาที่มีลักษณะต่างๆ ในแต่ละสาขาความรู้ที่เชี่ยวชาญ. ด้วยเหตุนี้ ผู้คนทั้งหลายจะต้องลดความเข้มข้นและความสามารถลงมา ประนีประนอม ไกล่เกลี่ย เชื่อมโยง และยอมให้มีการยักย้ายถ่ายเท เหล่านี้เป็นที่ต้องการต่อการเริ่มต้นและหนุนเสริมการสนทนากันในเชิงวิพากษ์ และช่วยกันพัฒนาในเชิงสร้างสรรค์. สำหรับปัจเจกชนเหล่านี้ เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้เชิงลึกของตนเอง และรู้ว่าสาขาวิชาต่างๆ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ อย่างไร
2.2 การข้ามผ่านสาขาวิชา
ในฐานะเอกภาพความรู้ที่อยู่พ้นสาขาวิชาต่างๆ
(Transdisciplinarity as a principle for a unity of knowledge
beyond disciplines)
วิธีการศึกษาที่แตกต่างของการข้ามผ่านสาขาวิชา ได้ถูกพัฒนาและอธิบายในปี ค.ศ.1987
โดยนักวิจัยจำนวน 163 คน ของศูนย์ลางงานวิจัยข้ามศาสตร์นานาชาติ (the International
Center for Transdisciplinary Research (CIRET). กฎบัตรเกี่ยวกับการข้ามผ่านสาขาวิชา(A
Charter of Transdisciplinarity)ได้รับการรับเอามาจากเมื่อคราวมีการประชุมโลก
ว่าด้วยการข้ามผ่านสาขาวิชา ครั้งที่ 1 (the 1st World Congress of Transdisciplinarity
(Convento da Arrabida, Portugal, november 1994)
ในวิธีการของ the CIRET, "การข้ามผ่านสาขาวิชา"(transdisciplinary) แตกต่างจากความเป็นสหวิทยาการ(interdisciplinarity) นั่นคือ
- "ความเป็นสหวิทยาการ"เกี่ยวพันกับการโอนย้ายถ่ายเทวิธีการต่างๆ จากสาขาวิชาหนึ่งไปยังอีกสาขาวิชาหนึ่ง คล้ายความหลากหลายทางวิชาการ(pluridisciplinarity), ความเป็นสหวิทยาการไหลล้นสาขาวิชาต่างๆ แต่เป้าหมายของมันยังคงอยู่กรอบของการวิจัยสาขาวิชา
- ขณะที่คำนำหน้า "ข้าม"(trans) บ่งชี้ถึง การข้ามศาสตร์ (transdisciplinary) (ศัพท์คำนี้นำเสนอขึ้นมาในช่วงปี ค.ศ.1970 โดย Jean Piaget) ซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องระหว่างสาขาวิชาต่างๆ ในเวลาเดียวกันก็ข้ามผ่านสาขาวิชาต่างๆ และพ้นไปจากแต่ละสาขาวิชา. เป้าหมายของมันคือการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโลกปัจจุบัน(present world) ซึ่งหนึ่งในความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คือ "กรอบโค้งเอกภาพของความรู้"(the overarching unity of knowledge).
2.3 หลักการ 3 ประการของ
การข้ามผ่านสาขาวิชา
การข้ามผ่านสาขาวิชาได้รับการนิยามโดย Basarab Nicolescu ผ่านหลักการระเบียบวิธี
3 ประการ ดังต่อไปนี้คือ
1. การดำรงอยู่เกี่ยวกับระดับต่างๆ ของความจริง (the existence of levels of Reality)
2. ตรรกะของลักษณะที่เป็นกลางที่ถูกรวมอยู่ (the logic of the included middle) และ
3. ความซับซ้อน (complexity)
ในการมีอยู่ของระดับความจริงที่หลากหลาย พื้นที่ระหว่างสาขาวิชาและพ้นไปจากสาขาวิชามันเต็มไปด้วยข้อมูล. การวิจัยสาขาวิชา อย่างมากสุด ก็เกี่ยวข้องกับระดับความจริงระดับเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีส่วนใหญ่ มันเพียงเกี่ยวพันกับเพียงบางส่วนของระดับหนึ่งของความจริงเท่านั้น. ในทางตรงข้าม การข้ามผ่านสาขาวิชาจะเกี่ยวพันกับความเป็นพลวัตร ที่ถูกทำให้เกิดขึ้นมาโดยปฏิบัติการของระดับอันหลากหลายของความจริงไปพร้อมกัน
การค้นพบพลวัตต่างๆ เหล่านี้จำเป็นต้องผ่านความรู้สาขาวิชา. ขณะเดียวกันก็ไม่มีสาขาวิชาใหม่ หรือสาขาวิชาพิเศษ(superdiscipline). การข้ามผ่านสาขาวิชา(transdisciplinarity) จึงถูกนำมาหล่อเลี้ยงใช้ประโยชน์โดยการวิจัยสาขาวิชาโดยลำดับ. การวิจัยสาขาวิชา ได้ถูกทำให้ชัดเจนมากขึ้นโดยความรู้ข้ามผ่านสาขาวิชาในหนทางใหม่และให้ความอุดมสมบูรณ์. ในความหมายนี้ การวิจัยสาขาวิชาและการวิจัยข้ามสาขาวิชาจึงไม่ได้มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน แต่เป็นการเติมเต็มให้กันและกัน (disciplinary and transdisciplinary research are not antagonistic but complementary). ดังในกรณีการวิจัยสาขาวิชาและการวิจัยข้ามผ่านสาขาวิชามิได้เป็นปฏิปักษ์ แต่เป็นการเติมเต็มให้สมบูรณ์แก่การวิจัยด้วยความหลากหลายทางวิชาการ และการวิจัยสหวิทยาการ(transdisciplinary research is not antagonistic but complementary to multidisciplinarity and interdisciplinarity research)
อย่างไรก็ตาม การข้ามผ่านสาขาวิชา (transdisciplinarity) โดยรากเดิมแล้ว แตกต่างจากความหลากหลายทางวิชาการ(multidisciplinarity) และความเป็นสหวิทยาการ(interdisciplinarity) เนื่องจากเป้าหมายของมัน นั่นคือ:
- เป้าหมายของ "การข้ามผ่านสาขาวิชา"(transdisciplinarity): พยายามทำความเข้าใจโลกปัจจุบัน ซึ่งไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ในกรอบโครงของการวิจัยสาขาวิชา
- เป้าหมายของ "ความหลากหลายทางวิชาการ"(multidisciplinarity) และ "ความเป็นสหวิทยาการ"(interdisciplinarity) มักจะยังคงดำรงอยู่ในกรอบโครงของการวิจัยสาขาวิชา
ถ้าการข้ามผ่านสาขาวิชาถูกทำให้สับสนบ่อยๆ ด้วยความเป็นสหวิทยาการ และความหลากหลายทางวิชาการ (และโดยลักษณะอย่างเดียวกัน ที่เราหมายเหตุว่า ความเป็นสหวิทยาการ มักจะถูกทำให้สับสนกับความหลากหลายทางวิชาการอยู่บ่อยๆ) อันนี้ได้รับการอธิบายส่วนใหญ่ ในข้อเท็จจริงที่ว่า ทั้งสามศาสตร์นั้น ต่างล้นเกินพรมแดนต่างๆ ของสาขาวิชาเฉพาะนั่นเอง. ความสับสนนี้ค่อนข้างต้องการให้ความเอาใจใส่อย่างพิถีพิถัน เพราะมันได้ซ่อนศักยภาพอันมหึมาของการข้ามผ่านสาขาวิชานั่นเอง
2.4 การข้ามผ่านสาขาวิชาในศิลปะและมนุษยศาสตร์
(Transdisciplinarity in Arts and Humanities)
การข้ามผ่านสาขาวิชา(Transdisciplinarity) สามารถถูกพบได้ในสาขาศิลปะและมนุษยศาสตร์ด้วย ตัวอย่างเช่น ในทางศิลปะและการออกแบบ อาจพบได้ในศูนย์วิจัยที่เรียกว่า the Planetary Collegium, (The Planetary Collegium คือ ศูนย์วิจัยที่บรรดาศิลปิน นักทฤษฎี และนักวิชาการจากส่วนต่างๆ ของโลกมาพบปะกันเพื่อพัฒนางานวิจัยของพวกเขาในเรื่อง"สื่อศิลปะใหม่" (new media art). ศูนย์กลางของ the Collegium มีฐานอยู่ที่ the University of Plymouth, โดยมีศูนย์ปฏิบัติการอยู่หลายแห่ง เช่น ที่ซูริค, มิลาน, และปักกิ่ง. เครือข่ายนี้จะจัดหาหรือเตรียมการสนับสนุนงานวิจัยขั้นสูง) ซึ่งแสวงหาที่จะพัฒนาการเกี่ยวกับวาทกรรมข้ามศาสตร์ในการบรรจบกันของการวิจัยศิลปะ, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, และความสำนึก.
(3) Crossdisciplinarity
- การข้ามวิทยาการ
การข้ามวิทยาการ(Crossdisciplinarity) เป็นการอธิบายถึงระเบียบวิธี กิจกรรมโครงการ
และงานวิจัยที่ทำการสำรวจเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่งที่อยู่ภายนอกของสาขาวิชาของตัวมัน
โดยไม่ได้มีการร่วมปฏิบัติการหรือการบูรณาการจากสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ.
ในการข้ามวิทยาการ(crossdisciplinarity) หัวข้อทั้งหลายที่ถูกศึกษาจะใช้ระเบียบวิธีภายนอก(foreign
methodologies)ของสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องมาเป็นประโยชน์
"การข้ามวิทยาการ"(crossdisciplinarity) ต่างไปจาก"ความเป็นสหวิทยาการ"(interdisciplinarity) เนื่องจากความสัมพันธ์ที่สาขาวิชาต่างๆ มีส่วนร่วมปันความรู้กัน. ภายในความสัมพันธ์แบบข้ามวิทยาการ พรมแดนความรู้ทั้งหลายถูกข้าม แต่ไม่มีเทคนิคหรืออุดมคติใดถูกแลกเปลี่ยน. ในขณะที่ความสัมพันธ์แบบสหวิทยาการ จะโน้มเอาวิธีปฏิบัติและข้อสันนิษฐานต่างๆ ของแต่ละสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเข้าหากัน. ส่วน "ความหลากหลายทางวิชาการ"(Multidisciplinarity) ค่อนข้างสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ "การข้ามวิทยาการ"(crossdisciplinarity) เพราะมันไม่มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบวิธีใดๆ หรือการปฏิบัติงานร่วมระหว่างสาขาวิชาต่างๆ แต่ที่แตกต่างคือ มีสาขาวิชาที่มากกว่าหนึ่งที่อยู่นอกสาขาวิชา มาทำการสำรวจหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งโดยเฉพาะ
สรุป
- Multidisciplinarity มีความใกล้เคียงกับ Crossdisciplinarity
- Interdisciplinarity มีความใกล้เคียงกับ Transdisciplinarity
หมายเหตุ: ข้อมูลส่วนใหญ่ใช ้สารานุกรมวิกกีพีเดีย-ฉบับภาษาอังกฤษ มาเป็นต้นฉบับการเรียบเรียง
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เอกสารอ้างอิง
- Ausburg, haha Tanya. Becoming Interdisciplinary: An Introduction to Interdisciplinary Studies. 2nd edition. New York: Kendall/Hunt Publishing, 2006.
- Klein, Julie Thompson. Interdisciplinarity: History, Theory, and Practice. Detroit: Wayne State University, 1990.
- Gunn, Giles. "Interdisciplinary Studies." Gibaldi, J., ed. Introduction to Scholarship in Modern Language and Literatures. New York: Modern Language Association, 1992. pp 239-240.
- Marshall McLuhan (1964) Understanding Media, p.13 [1]
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
- Davies. M. and Devlin, M. (2007). Interdisciplinary Higher Education: Implications for Teaching and Learning. Centre for the Study of Higher Education, The University of Melbourne. http://www.cshe.unimelb.edu.au/pdfs/InterdisciplinaryHEd.pdf
- Newell, W.H. (2001). A theory of interdisciplinary studies. Issues in Integrative Studies, 19, 1-25. Online text
- Klein, Julie Thompson (1996) Crossing Boundaries: Knowledge, Disciplinarities, and Interdisciplinarities (University Press of Virginia)
- Peter Weingart and Nico Stehr, eds. 2000. Practicing Interdisciplinarity (University of Toronto Press)
- College for Interdisciplinary Studies, University of British Columbia, Vancouver, British Columbia, Canada
- The Evergreen State College, Olympia, Washington
- NYU Gallatin School of Individualized Study, New York, NY
- Truman State University's Interdisciplinary Studies Program
- School of Social Ecology at the University of California, Irvine
- Association for Integrative Studies
- Augsburg, Tanya. (2005), Becoming Interdisciplinary: An Introduction to Interdisciplinary Studies.
- Centre for Interdisciplinary Research in the Arts (University of Manchester)
- Hang Seng Centre for Cognitive Studies
- Humanities/Policy
- Interdisciplinarity and tenure
- Chubin, D.E. (1976). The conceptualization of scientific specialties. The Sociological Quarterly 17: 448-476.
- Defila, R., and Antonietta Di Giulio. (1999). Evaluation criteria for inter and transdisciplinary research: Project report, instrument. Panorama Special Issue 1.
- Gerhard Medicus Interdisciplinarity in Human Sciences (Documents No. 9, 10 and 11 in English)
- Johnston, R. (2003). Integrating methodologists into teams of substantive experts. Studies in Intelligence 47(1).
- Rhoten, D. (2003). A multi-method analysis of the social and technical conditions for interdisciplinary collaboration.
- Siskin, L.S. & Little, J.W. (1995). The Subjects in Question. Teachers College Press. about the departmental organization of high schools and efforts to change that.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88