บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
Self
and Identity
Midnight University
ชุดความรู้เที่ยงคืน จากสารานุกรมเกี่ยวกับจิตวิทยา
Sigmund Freud - Jacques
Lacan: เชิงอรรถเรื่องตัวตนและอัตลักษณ์
สมเกียรติ
ตั้งนโม และ เอมอร ลิ้มวัฒนา
ข้อมูลสังเขป สำหรับการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องตัวตนและอัตลักษณ์
ข้อมูลต่อไปนี้
รวบรวมและเรียบเรียงในลักษณะเชิงอรรถ
เพื่อการศึกษาทางด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยา
เกี่ยวกับเรื่องตัวตนและอัตลักษณ์
โดยสาระสังเขปของเชิงอรรถต่อไปนี้ ประกอบด้วย
1. มโนคติเรื่องตัวตนและจิตวิเคราะห์ ของ ซิกมันด์ ฟรอยด์
2. มโนคติเรื่องตัวตน หรืออัตลักษณ์ตัวตน
3. ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องตัวตน
4. ความเสื่อมของมนุษยศาสตร์ สาเหตุการคลายความสนใจเรื่องมโนคติตัวตน
5. คุณสมบัติ 3 ประการของ มโนคติเรื่องตัวตน
6. การวิเคราะห์เรื่องตัวตนของซิกมันด์ ฟรอยด์
7. การทำความเข้าใจเรื่องตัวตนและอัตลักษณ์
8. ฌากส์ ลากอง กับคำอธิบายอัตบุคคล (subject)
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๓๘๐
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๙ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ความรู้เที่ยงคืน จากสารานุกรมเกี่ยวกับจิตวิทยา
Sigmund Freud - Jacques
Lacan: เชิงอรรถเรื่องตัวตนและอัตลักษณ์
สมเกียรติ
ตั้งนโม และ เอมอร ลิ่มวัฒนา
ข้อมูลสังเขป สำหรับการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องตัวตนและอัตลักษณ์
1. มโนคติเรื่องตัวตน
และจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
1.1 Self (Psychology):
ตัวตน(จิตวิทยา)
คำว่า"ตัวตน"(self) เป็นคำที่มีความสำคัญคำหนึ่ง ที่ดำรงอยู่ในสกุลความคิดจิตวิทยาหลายสำนักด้วยกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสำนักแนวคิด"จิตวิทยาตัวตน"(self psychology) ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดย
Heinz Kohut (1) และมีอยู่ในพื้นฐานสกุลความคิดส่วนใหญ่ของวิธีการบำบัดจิตและกาย
ที่เรียกว่า body psychotherapy ซึ่งแนวคิดนี้มองว่ากายกับจิตมีความสัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียว.
ความคิดหรือมุมมองเกี่ยวกับ"ตัวตน"แตกต่างกันไปสำหรับบรรดานักทฤษฎีและขอบเขตทางการศึกษาเป็นจำนวนมาก
แต่โดยทั่วไปแล้ว คำว่า"ตัวตน"เป็นการอ้างถึงบุคลิกภาพของคนๆ หนึ่งที่สะท้อนออกมาอย่างมีสำนึก
(1) Heinz Kohut May 3, 1913 - October 8, 1981 is best
known for his development of Self Psychology, a school of thought within psychodynamic/psychoanalytic
theory, psychiatrist Heinz Kohut's contributions transformed the modern practice
of analytic and dynamic treatment approaches.
ในที่นี้"ตัวตน"จึงหมายถึง "บุคลิกภาพของคน ที่สะท้อนออกมาอย่างมีสำนึก"
1.2 Real Self - Ideal
Self
ถ้าเราพัฒนาความคิดสูงขึ้นไป, ความเชื่อและค่านิยมระหว่าง"ตัวตนที่แท้จริง"(the
real self) กับ "ตัวตนในอุดมคติ"(the ideal self) จะแผ่ขยายกว้างออกไป
และด้วยเหตุนี้ เราสามารถที่จะพัฒนาศีลธรรมจรรยาและเหตุผลต่างๆ เมื่อเรารับรู้ว่าเราเป็นใคร.
การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องตัวตน ยังไปเกี่ยวพันกับปัญหาวิธีวิทยาที่สำคัญต่างๆ
อีกด้วย โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ"ความสำนึก"(consciousness).
วิธีวิทยาเหล่านี้เริ่มต้นในปรัชญาทางด้านจิตใจ(philosophy of mind) และ อภิปรัชญา(metaphysic).
ส่วนสกุลความคิดจิตวิทยาทางความคิด(a psychological school of thought) ที่สนใจศึกษาในเรื่องตัวตน
เดิมทีได้ถูกนำเสนอโดย Heinz Kohut (1913-1981)
1.3 A critique of the
concept of selfhood: วิพากษ์แนวคิดเรื่องความมีตัวตน
"ความมีตัวตน"(selfhood - ภาวะตัวตนที่มีสำนึกแตกต่างไปจากคนอื่น หรือมีบุคลิกภาพส่วนตัว)
หรือ ความเป็นตัวเองที่สมบูรณ์(complete autonomy) เป็นการศึกษาของโลกตะวันตกที่มีลักษณะเฉพาะในเชิงจิตวิทยา
และแบบจำลองต่างๆ เกี่ยวกับ"ตัวตน" ซึ่งได้ถูกใช้อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ต่างๆ
อย่างเช่น การบำบัดทางจิต(psychotherapy) และ self help (เป็นวิธีการบำบัด ปรับปรุง
และนำร่องเรื่องตัวตน ให้กับผู้มีอาการป่วยทางจิต ซึ่งอาจปฏิบัติการเป็นคนๆ หรือเป็นกลุ่มบำบัดก็ได้)
Edward E. Sampson (1989) ได้ให้เหตุผลว่า การครอบครองความเป็นเป็นอิสระมาก่อน
เป็นเรื่องอันตราย นั่นคือ มันได้ไปสร้างการแบ่งแยกทางด้านเชื้อชาติ, เพศ, และประชาชาติ
ซึ่งไม่ยินยอมให้มีการสังเกตการณ์"ตัวตน-ใน-คนอื่น"(self-in-other)
และ คนอื่น-ใน-ตัวตน(other-in-self).
แนวคิดเกี่ยวกับ"ความมีตัวตน"(selfhood) เป็นความคิดที่ได้รับการโจมตี เพราะว่ามันถูกมองในฐานะสิ่งจำเป็นสำหรับกลไกของลัทธิทุนนิยมก้าวหน้า(advanced capitalism) สู่การทำหน้าที่ในเชิงปฏิบัติการ. ในเรื่อง Inventing our selves: Psychology, power, and personhood, Nikolas Rose (1998) ซึ่งเป็นเรื่องการสืบค้นเกี่ยวกับตัวตนของเรา เสนอว่า ปัจจุบัน จิตวิทยาถูกใช้ในฐานะที่เป็นเทคโนโลยีอันหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้มนุษย์มีความเชื่ออย่างสมบูรณ์ในความรู้สึกเรื่องตัวตนอย่างผิดๆ ที่ได้รับการสร้างขึ้น. Rose มองว่า อิสรภาพ(freedom)ได้ไปช่วยเหลือรัฐบาลต่างๆ และไปสนับสนุนเรื่องการตักตวงผลประโยชน์. บางคนกล่าวว่า การพูดถึงปัจเจกบุคคลคนหนึ่ง, การอธิบาย, การทำความเข้าใจ, หรือการตัดสินตนเอง เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในเชิงภาษา เพราะเหตุว่าเป็นความพยายามที่จะให้ตัวตนทำความเข้าใจตัวตนในตัวมันเอง อันนี้ได้รับการมองว่าเป็นเรื่องโมฆะในทางปรัชญา หรือไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริงนั่นเอง, เป็นการอ้างอิงตัวตน, หรือการทำให้เป็นรูปธรรม(reification), หรือถูกรู้จักในฐานะที่เป็น"ข้อถกเถียงที่วนเป็นวงกลม"(circular argument). ด้วยเหตุนี้ ถ้าการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นมาดังกล่าวข้างต้น นั่นคือ ตัวตนหนึ่งซึ่งพยายามที่จะอธิบายตัวตน, ความสับสนอาจจะเกิดขึ้นได้ในวิถีทางและกระบวนการทางจิตภาษา
ข้อมูลจาก : http://en.wikipedia.org/wiki/Self_%28psychology%29
2. มโนคติเรื่องตัวตน
หรือ อัตลักษณ์ตัวตน (Self-concept or self identity)
มโนคติเรื่องตัวตนหรืออัตลักษณ์ตัวตน คือการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคงอยู่ทางด้านจิตใจและแนวคิด
ซึ่งสิ่งมีชีวิตถือครองสำหรับการดำรงอยู่ของพวกมัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง มันคือผลรวมทั้งหมดของความรู้ของสิ่งมีชีวิตตนหนึ่งและความเข้าใจเกี่ยวกับตัวตนของมันเอง
มโนคติเรื่องตัวตน(self-concept)
เป็นสิ่งที่แตกต่างไปจาก"ความสำนึกเรื่องตัวตน"(self-consciousness)
นั่นคือ เป็นการรับรู้หรือการยึดครองเอาไว้เกี่ยวกับตัวตนของคนๆ หนึ่ง. ส่วนประกอบต่างๆ
ของมโนคติเรื่องตัวตนเป็นเรื่องของกายภาพ, จิตวิทยา, และทัศนคติทางสังคม ซึ่งสามารถได้รับอิทธิพลครอบงำโดยทัศนคติต่างๆ,
อุปนิสัย, ความเชื่อ, และความคิดของปัจเจกชน. ส่วนประกอบเหล่านี้และทัศนคติ ไม่สามารถที่จะถูกทำให้ลดน้อยถอยลงไปได้เป็นแนวคิดทั่วๆ
ไปเกี่ยวกับภาพตัวตน(self-image) และความเคารพนับถือในตัวตน(self-esteem) (2)
(2) ความเคารพในตัวตน - นับถือตนเอง (Self-esteem) เป็นภาวะที่อาจยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจได้ดังนี้:
"I believe I am a good writer, and feel proud of that in particular"
หรือที่ในขอบเขตที่กว้างกว่าคือ: "I believe I am a good person, and feel
proud of myself in general".
3. ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องตัวตน
หลักไมล์หนึ่งในการสะท้อนถ่ายมนุษย์เกี่ยวกับตัวตนภายใน ที่ไม่ใช่กายภาพ มาถึงในปี
ค.ศ.1644 เมื่อตอนที่ Rene Descartes เขียนเรื่อง Principles of Philosophy.
Descartes เสนอว่า ความสงสัยเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งของการสืบค้นอย่างเป็นระบบ
กระนั้นก็ตาม เขาก็ไม่อาจสงสัยว่าเขาสงสัย. เขาให้เหตุผลว่า ถ้าเขาสงสัย, เขากำลังคิด,
และด้วยเหตุดังนั้นเขาต้องมีอยู่. ดังนั้น การมีอยู่จึงขึ้นอยู่กับการรับรู้
หลักไมล์หลักที่สองในการพัฒนาเกี่ยวกับทฤษฎีมโนคติเรื่องตัวตน คืองานเขียนของ
Sigmund Freud (ค.ศ.1900) ซึ่งได้ให้ความเข้าใจใหม่ๆ แก่เราเกี่ยวกับความสำคัญของกระบวนการทางด้านจิตภายใน.
ขณะที่ Freud และบรรดาสานุศิษย์จำนวนมากของเขาลังเลที่จะสร้างหน่วยความรู้ทางจิตวิทยาขั้นปฐมดังกล่าวขึ้นมาในเชิงทฤษฎีของพวกเขา,
Anna(1964) บุตรสาวของ Freud ได้ให้ความสำคัญที่เป็นแกนกลางไปที่ "การพัฒนาอีโก้"
และ "การตีความเรื่องตัวตน" (ego development and self-interpretation)
ทฤษฎีมโนคติเรื่องตัวตน(self-concept) มักจะมีอิทธิพลอย่างเข้มแข็งในการปรากฏตัวขึ้นมาของอาชีพเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา(counseling)ของจิตแพทย์. Prescott Lecky (1945) ได้ให้การสนับสนุนความคิดที่ว่า การยืนยันตัวตน(self-consistency)เป็นแรงกระตุ้นเดิมๆ อันหนึ่งในพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์. ส่วน Raimy (1948) ได้นำเสนอมาตรวัดเกี่ยวกับมโนคติเรื่องตัวตนในการสัมภาษณ์หรือให้คำปรึกษากับคนไข้ และให้เหตุผลว่า โดยพื้นฐานแล้ว การบำบัดทางจิตเป็นกระบวนการอันหนึ่งของการปรับเปลี่ยนวิธีการต่างๆ ที่ปัจเจกชนทั้งหลายมองดูตัวของเขาเอง
สุ้มเสียงที่โน้มน้าวใจและค่อนข้างมีอิทธิพลมากที่สุดในทฤษฎีมโนคติเรื่องตัวตน
ดูเหมือนจะเป็นของ Carl Rogers (1947) ซึ่งได้นำเสนอระบบทั้งหมดของการสร้างเสริมความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องตัวตน.
ในทัศนะของ Roger, "ตัวตน"คือ "ส่วนผสมที่เป็นแกนกลางในบุคลิกภาพของมนุษย์
และการปรับตัวของบุคคล". Roger ได้อธิบายเรื่องตัวตนในฐานะที่เป็นผลผลิตทางสังคม,
พัฒนาออกมาจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน และพยายามต่อสู้เพื่อการยืนยันตนเอง.
เขาให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า นั่นเป็นความต้องการพื้นฐานอันหนึ่งของมนุษย์สำหรับความนับถือหรือให้ความเอาใจใส่ในเชิงบวก
ทั้งจากคนอื่นๆ และจากตนเอง. เขายังเชื่อต่อไปว่า ในคนทุกคนมีแนวโน้มที่มุ่งสู่การทำให้ตัวตนเป็นจริงขึ้นมาและพัฒนามัน
ตราบเท่าที่อันนี้ได้รับการอนุญาตและถูกกระตุ้นสนับสนุน โดยสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเชื้อเชิญ
(Purkey & Schmidt, 1987)
4. ความเสื่อมของมนุษยศาสตร์ สาเหตุการคลายความสนใจเรื่องมโนคติตัวตน
ในขณะที่บรรดานักทฤษฎีมโนคติเรื่องตัวตนยังคงเขียนและทำวิจัยในช่วงระหว่างทศวรรษที่
1970s และ 1980s, ความสนใจโดยทั่วๆ ไปในมโนคติเรื่องตัวตนก็ค่อยลดลงทีละน้อย.
ในบทความชิ้นหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้อธิบายถึง ความเป็นไปได้ที่ว่ามันมีสาเหตุเนื่องมาจาก
การเสื่อมคลายลงของการศึกษาทางด้านมนุษยศาสตร์, Patterson (1987) ได้นำเสนอเรื่องความเสื่อสลายในความสนใจเกี่ยวกับมโนคติเรื่องตัวตนด้วย
โดยได้ให้เหตุผลที่เป็นไปได้ 4 ประการดังต่อไปนี้:
1. ความอุดมสมบูรณ์ของเกมส์ประดิษฐ์ต่างๆ, ของเล่นกลไก, และเทคนิคที่ถูกนำเสนอ และควบคุมโดยไม่ต้องเป็นมืออาชีพ
2. อารมณ์ร่วมของประชาชาติเกี่ยวกับ "การหวนกลับไปสู่พื้นฐาน"ในการศึกษาต่างๆ ซึ่งไปเกี่ยวข้องกับความต้องการทางอารมณ์ของนักศึกษา สำหรับเรื่องนี้ได้รับการมองว่า มันเป็นปรปักษ์ต่อความเป็นเลิศทางวิชาการ3. การตัดสินใจที่ย่ำแย่โดยที่ปรึกษา และครู-อาจารย์ ในการคัดเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับโปรแกรมความเข้าใจเรื่องคุณค่า ซึ่งส่งผลให้เกิดการคัดค้านของสาธารณชนในความพยายามใดๆ ที่จะนำเสนอเรื่องคุณค่าต่างๆ ในโรงเรียน
4. การต่อต้านอย่างรุนแรง โดยคนที่คัดค้านข้อพิจารณาต่างๆ เกี่ยวกับพัฒนาการส่วนตัวของนักศึกษา เพราะพวกเขาเชื่อว่ามันเป็นลัทธิมนุษยนิยมแบบทางโลก และด้วยเหตุนี้ จึงมีความพยายามที่จะทำลายศาสนาลงทีละน้อยๆ (3)
(3)
1. A cornucopia of contrived games, gimmicks, and techniques that were introduced and controlled by unprepared professionals.2. A national mood of "back to basics" in education prevailed where concern for the emotional needs of students was viewed as inimical to academic excellence.
3. Poor judgment by counselors and teachers in selecting suitable materials for values clarification programs resulted in public opposition to any attempt to introduce values in school.
4. Strong opposition by those who objected to any consideration of personal development of students because they believed it to be secular humanism and, therefore, an effort to undermine religion.
โชคดีที่มีการรับรู้ใหม่ๆ ในส่วนของสาธารณชนและผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายที่ว่า มโนคติเรื่องตัวตนไม่อาจที่จะเมินเฉยหรือละเลยได้ ถ้าเราต้องการประสบความสำเร็จในการกล่าวถึงปัญหาที่หมักหมม อย่างเช่น ยาเสพติดและการติดเหล้า, อัตราการลาออก, ครอบครัวที่ผิดปกติ, และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง. นอกจากการรับรู้ที่งอกงามขึ้นนี้ หนทางใหม่ๆ กำลังได้รับการพัฒนาขึ้นสู่มโนคติเรื่องตัวตนอย่างเข้มแข็ง ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยโดยบรรดานักทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการรับรู้(cognitive theories) (McAdam, 1986; Ryan, Short & Weed, 1986) ซึ่งได้สาธิตให้เห็นว่า การพูดกับตัวเองในเชิงนิเสธ (negative self-talk) ได้น้อมนำสู่การคิดที่ไม่มีเหตุผลเกี่ยวกับตนเองและโลก
5. คุณสมบัติ 3 ประการของ
มโนคติเรื่องตัวตน
สมมุติฐานขั้นพื้นฐาน
จำนวนมากของความสำเร็จและความล้มเหลวในประสบการณ์มนุษย์ในหลายๆ พื้นที่ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวิธีการต่างๆ
ที่พวกเขาได้เรียนรู้ที่จะมองตัวของพวกเขาเอง และมองความสัมพันธ์ของพวกเขากับคนอื่นๆ
และมันกลายเป็นเรื่องที่กระจ่างชัดขึ้นด้วยว่า มโนคติเรื่องตัวตน อย่างน้อยที่สุด
มีคุณสมบัติสำคัญ 3 ประการ ซึ่งเป็นที่สนใจของบรรดาที่ปรึกษาทั้งหลาย: (1) มันถูกเรียนรู้,
(2) มันถูกรวบรวมขึ้นเป็นระบบ และ(3) มันเป็นพลวัตร. คุณสมบัติเหล่านี้แต่ละข้อ
มันเป็นผลที่สืบเนื่องติดต่อกัน
5.1 มโนคติเรื่องตัวตนถูกเรียนรู้
(Self-concept is learned)
เท่าที่ทราบ ไม่มีใครเกิดขึ้นมาพร้อมกับมโนคติเรื่องตัวตน แต่มันค่อยๆ ปรากฏตัวขึ้นในช่วงเดือนแรกๆ
ของชีวิต และได้ถูกสร้างเป็นรูปเป็นร่างและสร้างใหม่โดยผ่านประสบการณ์การรับรู้ซ้ำๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยคนอื่นๆ ที่สำคัญ ข้อเท็จจริงคือ มโนคติเรื่องตัวตนที่เรียนรู้
มีนัยสำคัญบางอย่างดังต่อไปนี้
- เพราะ มโนคติเรื่องตัวตนไม่ใช่เรื่องของสัญชาตญาน แต่เป็นผลผลิตทางสังคมที่พัฒนาขึ้นโดยผ่านประสบการณ์ มันครอบครองศักยภาพที่ค่อนข้างไร้ขอบเขตสำหรับการพัฒนาและการทำให้ปรากฏเป็นจริงได้
- เนื่องจากประสบการณ์ก่อนหน้าและการรับรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ ปัจเจกแต่ละคนอาจรับรู้ตัวของพวกเขาเองในหนทางที่แตกต่างไปจากการที่คนอื่นๆ มองดูพวกเขา- ปัจเจกแต่ละคน รับรู้แง่มุมที่แตกต่างของตัวพวกเขาเองในเวลาที่ต่างกัน ด้วยระดับที่หลากหลายของความชัดเจน โดยเหตุนี้ การโฟกัสภายในจึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าอันหนึ่งสำหรับการให้คำปรึกษา
- ประสบการณ์ใดที่เป็นเรื่องไม่สอดคล้องกับมโนคติเรื่องตัวตนของตน อาจถูกรับรู้ในฐานะที่เป็นการคุกคาม และจำนวนมากของประสบการณ์เหล่านี้เป็นมโนคติเรื่องตัวตนที่แข็งกระด้างมาก ซึ่งได้ถูกรวบรวมขึ้นเพื่อธำรงรักษาและปกป้องตัวของมันเอง. เมื่อคนเราไม่สามารถที่จะกำจัดความไม่สอดคล้องที่ถูกรับรู้ได้ ปัญหาทางอารมณ์จะเกิดขึ้น
- แบบแผนความคิดที่บกพร่องหรือผิดพลาด อย่างเช่น เหตุผลแบบแบ่งขั้ว(dichotomous reasoning) (การแบ่งแยกทุกสิ่งในเทอมต่างๆ ของความตรงข้ามหรือเป็นขั้ว เช่น ดี-ชั่ว, ดำ-ขาว,ชอบใจ-ไม่ชอบใจ) หรือการทำให้มีลักษณะที่ทั่วไปมากเกินไป (การสร้างข้อสรุปแบบรวดเร็วเกินไป โดยมีพื้นฐานอยู่บนข้อมูลเพียงเล็กน้อย) จะไปสร้างการตีความในเชิงลบของตัวเอง
5.2 มโนคติเรื่องตัวตนที่ถูกสร้างอย่างเป็นระบบ
(Self-concept is organized)
บรรดานักวิจัยส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า มโนคติเรื่องตัวตนโดยทั่วไปแล้ว เป็นคุณสมบัติซึ่งคงที่หรือมีเสถียร
ภาพ มันได้ถูกสร้างเป็นอัตลักษณ์ขึ้นมาโดยความมีระเบียบวินัยและความกลมกลืน ผู้คนแต่ละคนรักษาการรับรู้ต่างๆ
นับไม่ถ้วนเกี่ยวกับการดำรงอยู่ส่วนตัวของตนไว้ และการรับรู้แต่ละอย่างมันถูกประพันธ์ขึ้นเป็นมโหรีโดยคนอื่นๆ
ทั้งหมด. โดยทั่วไปแล้ว ด้วยคุณสมบัติที่เสถียรและสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบอันนี้เกี่ยวกับมโนคติเรื่องตัวตน
ได้ไปสร้างการยืนยันหรือยึดมั่นในความมีบุคลิกภาพของตนเอง. คุณสมบัติที่รวบรวมขึ้นมาเกี่ยวกับมโนคติเรื่องตัวตนดำเนินการต่อเนื่องดังต่อไปนี้
- มโนคติเรื่องตัวตนเรียกร้องความคงที่ การมีเสถียรภาพ และมีแนวโน้มต่อต้านความเปลี่ยนแปลง ถ้าหากว่ามโนคติเรื่องตัวตนเปลี่ยนแปลงไปอย่างง่ายดาย ปัจเจกชนก็จะขาดเสียซึ่งบุคลิกาพที่มั่นคงและเชื่อถือได้
- ใจกลางสำคัญที่เป็นความเชื่อเฉพาะอันหนึ่ง เป็นเรื่องของมโนคติเกี่ยวกับตัวตนของตนเอง การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ
เป็นสิ่งซึ่งผู้คนต่อต้านมาก- ณ กึ่งกลางหัวใจของมโนคติเรื่องตัวตนคือ ตัวตน-ในฐานะ-ผู้กระทำ(self-as-doer) หรือ"ฉัน"(ที่เป็นประธาน)(the "I") ซึ่งผิดแผกแตกต่างไปจาก ตัวตน-ในฐานะ-ผู้ถูกกระทำ (self-as-object), "ฉัน"ในฐานะที่เป็นกรรมต่างๆ (the various "me"s). อันนี้ยินยอมให้ผู้คนสะท้อนเหตุการณ์ในอดีตต่างๆ วิเคราะห์การรับรู้ทั้งหลายที่มีอยู่ และก่อรูปก่อร่างประสบการณ์ในอนาคต
- การรับรู้พื้นฐานเกี่ยวกับตนเอง เป็นสิ่งที่มีเสถียรภาพ ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงจึงต้องใช้เวลา
- ความสำเร็จและความล้มเหลวในการรับรู้มีผลต่อมโนคติเรื่องตัวตน. ความล้มเหลวในพื้นที่ที่ได้รับการเคารพอย่างสูง จะทำให้การประเมินผลในพื้นที่อื่นๆ ทั้งหมดตกต่ำลงด้วย. ส่วนความสำเร็จในพื้นที่ที่มีคุณค่าสูง จะยกระดับการประเมินในพื้นที่ซึ่งดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้สูงขึ้นด้วย
5.3 มโนคติเรื่องตัวตนเป็นพลวัตร
(Self-concept is dynamic)
การทำความเข้าใจธรรมชาติเชิงรุกเกี่ยวกับมโนคติเรื่องตัวตน มันช่วยจินตนาการถึงเรื่องของเข็มทิศ(gyrocompass):
ระบบปฏิบัติการต่อเนื่องที่ชี้ไปยังทิศเหนือจริงๆ(true north)อย่างที่วางใจได้
เกี่ยวกับการมีอยู่ที่ถูกรับรู้ของคน. ระบบนำทางนี้ไม่เพียงก่อรูปก่อร่างหนทางต่างๆ
ซึ่งคนๆ หนึ่งมองดูตนเอง มองดูคนอื่น และโลกเท่านั้น แต่มันยังเป็นปฏิบัติการตรง
และทำให้คนแต่ละคนดำรงตำแหน่งในจุดที่มั่นคงอันหนึ่งในชีวิต มากยิ่งกว่าที่จะมองมโนคติเรื่องตัวตนในฐานะที่เป็นมูลเหตุของพฤติกรรม
มันจะเป็นที่เข้าใจดีกว่าในฐานะที่เป็นเข็มทิศ(gyrocompass)เกี่ยวกับบุคลิกภาพของมนุษย์
ที่มีความมั่นคงในบุคลิกภาพและทิศทางสำหรับพฤติกรรม. คุณสมบัติที่เป็นพลวัตรเกี่ยวกับมโนคติเรื่องตัวตนยังดำเนินไปดังต่อไปนี้
- โลกและสรรพสิ่งไม่เพียงถูกรับรู้เท่านั้น แต่พวกมันยังถูกรับรู้ในความสัมพันธ์กับแนวคิดหรือมโนคติของตนเอง
- พัฒนาการเกี่ยวกับมโนคติเรื่องตัวตนเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ในบุคลิกภาพที่สมบูรณ์มันมีกระบวนการย่อยและดูดซึมอย่างสม่ำเสมอ เกี่ยวกับความคิดหรือไอเดียใหม่ๆ และการขับดันความคิดเก่าๆ ออกไปจากชีวิต- ปัจเจกชนแต่ละคนต่อสู้ดิ้นรน เพื่อปฏิบัติตนในหนทางที่กำลังธำรงรักษามโนคติเรื่องตัวตนของพวกเขาเอาไว้ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม มันเกื้อกูลต่อตนเองและคนอื่นๆ
- มโนคติเรื่องตัวตน ปกติแล้วมันมีฐานันดรหรือลำดับชั้นที่เหนือกว่าร่างกาย หรือสิ่งที่เป็นเรื่องกายภาพ ปัจเจกชนทั้งหลายมักจะบูชาความสะดวกสบายทางร่างกาย และคำนึงถึงความปลอดภัยในอารมณ์ความรู้สึกที่พึงพอใจ
- มโนคติเรื่องตัวตนยังคงเฝ้าระวังตัวมันเองอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับการสูญเสียเกียรติยศและชื่อเสียง สำหรับการสูญเสียสิ่งดังกล่าว จะไปสร้างความรู้สึกกังวลใจและความกระวนกระวายใจขึ้นมา
- ถ้าหากว่ามโนคติเรื่องตัวตนจะต้องปกป้องตัวของมันเองอย่างต่อเนื่องจากการทำลาย หรือข่มขืน โอกาสในการเจริญงอกงามทั้งหลายก็จะถูกจำกัด
การกวาดตามมองในลักษณะสังเขปเกี่ยวกับทฤษฎีมโนคติเรื่องตัวตนนี้ ได้โฟกัสลงไปที่การให้คำอธิบายถึงวิธีการต่างๆ ที่ผู้คนถูกสร้างและตีความโลกภายในของพวกเขาเกี่ยวกับการมีอยู่ของบุคคล. การเริ่มต้นของทฤษฎีมโนคติเรื่องตัวตนและประวัติศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้ของมัน ได้ถูกนำมาสนทนากัน คุณสมบัติหลักๆ 3 ประการเกี่ยวกับมโนคติเรื่องตัวตน นั่นคือ การเรียนรู้เรื่องตัวตน, การสร้างตัวตนอย่างเป็นระบบ,และการมีพลวัตรของตัวตน ได้ถูกนำเสนอเพื่อความเข้าใจ. ปัจเจกชนทั้งหลายล้วนมีศักยภาพอย่างไร้ขอบเขตในตัวของพวกเขาเองในการพัฒนามโนคติเรื่องตัวตน ทั้งในเชิงบวกและความเป็นจริง ศักยภาพนี้สามารถได้รับการตระหนักโดยผู้คน, สถานที่, นโยบาย, โปรแกรม, และกระบวนการที่ได้ถูกออกแบบขึ้นมาอย่างมีเจตจำนง เพื่อเชื้อเชิญความเข้าใจเป็นจริงเกี่ยวกับศักยภาพ
ข้อมูลจาก : http://en.wikipedia.org/wiki/Self-identity
6. การวิเคราะห์เรื่องตัวตนของซิกมันด์ ฟรอยด์
เรียบเรียงจาก: Sigmund Freud's Self-Analysis by Jean
Chiriac, President of AROPA (4)
(4) the ROMANIAN ASSOCIATION FOR
PSYCHOANALYSIS PROMOTION (AROPA).
AROPA is a nonprofit organization and its purpose is the promotion of theoretical
and practical psychoanalysis and stimulating a spiritual climate favorable
to open new research horizons on the realm of depth psychology.
The activity of the society
AROPA achieves its goal through a specific activity consisting of publishing
psychoanalytical literature in Romanian and also the psychoanalytic journal
OMEN.
Much effort is directed towards the Internet activity consisting in sites
and forums dedicated to Sigmund Freud and psychoanalysis, e-books and e-papers
approaching the main psychoanalytic topics such as dream interpretation.
Promoting the Freudian
Psychoanalysis
Our aim is the promotion of Freudian psychoanalysis and the restoration of
the Freudian climate which made possible the development of psychoanalysis
as science of the human soul.
การวิเคราะห์เรื่องตัวตนของฟรอยด์ เริ่มต้นขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 1890s และได้มาถึงจุดสูงสุด(ไคลแม็กซ์)ในช่วงปี ค.ศ. 1895 และ 1900. ตามความเห็นของผู้เขียน อันที่จริงเรื่องดังกล่าวยังคงเป็นความสนใจอย่างต่อเนื่องของเขามาจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในปี ค.ศ.1939. อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องกำหนดขอบเขตที่แน่นอนระหว่างช่วงเวลาที่ฟรอยด์ได้ค้นพบเกี่ยวกับเรื่องปมออดิปัส (5) และเนื้อหาสาระอื่นๆ ทางด้านจิตวิเคราะห์ และการวิเคราะห์ตัวตน
(5) ในทางจิตวิเคราะห์,
ปมออดิปัสเป็นเรื่องความปรารถนาทางเพศจากจิตใต้สำนึกในวัยเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กผู้ชาย
ที่มีต่อแม่ที่เป็นเพศตรงข้าม และมักจะเป็นปรปักษ์กับพ่อซึ่งเป็นเพศเดียวกัน
(ถ้าเป็นเด็กผู้หญิง ก็จะเป็นไปในเชิงตรงข้าม)
ช่วงแรก ในการศึกษาของฟรอยด์เกี่ยวกับเรื่องนี้ เต็มไปด้วยแง่มุมต่างๆ อันไม่คาดหวัง
และค่อนข้างเป็นการคิดค้น, ขั้นตอนการสร้าง, และเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์. ส่วนช่วงที่สองเป็นความผูกมัดในหน้าที่ของเขาซึ่งได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพในฐานะนักวิเคราะห์ทางจิต.
การค้นพบต่างๆ ของฟรอยด์ระหว่างช่วงแรกเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางจิตซึ่งเป็นที่รับรู้
มันได้รวมเอาหนังสือหลักๆ สองเล่มของเขาเอาไว้ นั่นคือ "The Interpretation
of Dreams"(การตีความเกี่ยวกับเรื่องของความฝัน) และเรื่อง "The Psychopathology
of Everyday Life"(6) (จิตพยาธิวิทยาเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน)
(6) Psychopathology -
จิตพยาธิวิทยา สาขาจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมไม่ปกติ เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและบำบัดความผิดปกติทางจิต)
The Interpretation of Dreams
ในเรื่อง"การตีความเกี่ยวกับเรื่องของความฝัน" เป็นการรวบรวมการตีความเกี่ยวกับเรื่องของความฝันของเขาจำนวนมาก
ท่ามกลางความฝันที่ได้รับการตีความเหล่านี้ซึ่งมีชื่อเสียงก็คือ Irma's injection,
ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจความลึกลับเกี่ยวกับชีวิตของความฝัน.
มันเปิดตัวขึ้นในบทที่ 2 ("The Method Of Interpreting Dreams: An Analysis
Of A Specimen Dream") ซึ่งได้ตระเตรียมเนื้อหาเพื่อการวิเคราะห์ครอบคลุมหลายหน้า.
ดังที่ฟรอยด์เองยืนยัน การวิเคราะห์ความฝันเป็นเรื่องที่ไม่สมบูรณ์ แต่ในที่นี้
นับแต่แรกเป็นต้นมา ฟรอยด์ยืนยันว่า ความฝันเป็นการเติมเต็มปลอมๆ ในความปรารถนาระดับจิตไร้สำนึก(dreams
are the disguised fulfillment of unconscious wishes)
การตีความในเรื่องความฝันยังได้ตระเตรียมเรื่องจิตวิทยาความฝันและสาระอื่นๆ
อีกจำนวนมากเอาไว้ เรื่องราวดังกล่าวเป็นการประดิษฐ์คิดค้นและอดุมไปด้วยข้อมูล
และในทัศนะของผู้เขียน หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นผลงานเล่มสำคัญที่สุดของเขา
The Psychopathology of
Everyday Life
เรื่อง"จิตพยาธิวิทยาเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน" ได้ให้ที่ทางแก่ฟรอยด์ในการเอาใจใส่ลงไปในการวิเคราะห์ความผิดพลาดบกพร่องและอาการโรคต่างๆ
ทางจิต. สิ่งสำคัญที่ควรเน้นในที่นี้คือ เรื่องราวดังกล่าวเป็นตัวแทนการโยกย้ายของฟรอยด์จากชีวิตทางคลินิกสู่ชีวิตปกติ
- มันพิสูจน์ถึงลักษณะเฉพาะต่างๆ เกี่ยวกับโรคประสาทที่มีอยู่ไม่เพียงในความป่วยไข้เท่านั้น
แต่ยังมีอยู่ในสุขภาวะของผู้คนทั่วไปด้วย. ความแตกต่างไม่ได้อยู่ที่คุณภาพ แต่อยู่ในปริมาณ.
การกดข่ม(repression)มากเกินไปจะทำให้เจ็บป่วย และการปลดปล่อย libido (แรงขับทางเพศ)
ได้ถูกทำให้ลดลงโดยเหตุผล
ด้วยผลงานชิ้นนี้ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของจิตพยาธิวิทยาที่ ฟรอยด์ได้ลบล้างความแตกต่างระหว่างเรื่องของพยาธิวิทยากับสุขภาวะ(ความป่วย กับ ความปกติ). ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะประยุกต์ใช้จิตวิเคราะห์กับสิ่งที่ถูกเรียกว่าชีวิตปกติ
ข้อมูลจาก : http://www.freudfile.org/self_analysis.html
7. การทำความเข้าใจเรื่องตัวตนและอัตลักษณ์
เอมอร ลิ้มวัฒนา : เขียน
ตัวตน (Self) และอัตลักษณ์ (Identity) เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกัน และมีความสัมพันธ์กับวิชาหลากหลายแขนงทางสังคมศาสตร์
ทั้งทางด้านสังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, จิตวิทยา, และปรัชญา (อภิญญา เฟื่องฟูสกุล,
2543, หน้า 2-3). ในส่วนของการทำความเข้าใจเรื่อง"ตัวตน" ในที่นี้จะหยิบยกเอาทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์
ฟรอยด์ มาเป็นพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องตัวตน
ตัวตน
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud 1856-1939) จิตแพทย์ผู้คิดค้นแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์(psychoanalysis)อันมีชื่อเสียง
ทฤษฏีของเขาได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ในทฤษฎีของเขาเกี่ยวกับจิตวิเคราะห์ ฟรอยด์ได้พยายามค้นหาคำอธิบายถึงปฏิบัติการต่างๆ
ของจิตไร้สำนึก โดยเสนอว่ามันมีโครงสร้างทางจิตวิทยาอันหนึ่ง กล่าวคือ ในทฤษฎีบุคลิกภาพ
(Personality Theory) ได้แบ่งตัวตนออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ id, ego, superego (ดูรายละเอียดในภาคผนวก
- ภาษาอังกฤษ)
"ฟรอยด์" ได้ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มิได้เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล ดังเช่นที่พวกเขาเชื่อหรืออยากเป็น หากแต่ความคิดของมนุษย์ถูกกำหนดโดยพลังแห่งจิตไร้สำนึกที่ซ่อนเร้น และหลุดรอดจากความเข้าใจของมนุษย์ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย". ฟรอยด์พบว่าการกระทำ, ความคิด, ความเชื่อ, หรือเรื่องเกี่ยวกับตัวตนนั้นถูกกำหนดแสดงออกโดยจิตไร้สำนึก(unconscious), แรงขับ (drive) และความปรารถนา (desire) มนุษย์ขจัดประสบการณ์และความทรงจำอันเจ็บปวดโดยการเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก อันจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเขา และก่อให้เกิดกลไกที่ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันตัวเองที่เรียกว่า "Ego Defense Mechanism" ขึ้นมา
Ego Defense Mechanism : ประกอบด้วย ((กาญจนา แก้วเทพ, 2547, 93-95)
1. การไม่ตัดสินใจเลือกข้างใดข้างหนึ่ง (Ambivalence) เป็นสภาวะที่ Ego ไม่ตัดสินใจเลือกข้างใดข้างหนึ่งให้เด็ดขาดลงไป แต่อยู่ในสภาวะสองจิตสองใจ เอียงไปข้างนั้นทีข้างนี้ที
2. ปฏิกิริยาการหลบหนี (Avoidance) เป็นปฏิกิริยาการหลบหนีจากวัตถุ ผู้คน หรือเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องเจ็บปวด เนื่องจากต้องข่มความรู้สึกที่พลังทางเพศและความก้าวร้าวอันแฝงอยู่ในจิตไร้สำนึกถูกระตุ้นให้สำแดงความปรารถนาออกมา3. การหยุดนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง (Fixation) เป็นสภาวะที่หยุดอยู่กับที่ไม่ยอมเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปเพราะประสบการณ์อันเจ็บปวด (Trauma) เช่น เด็กที่เคยสูญเสียพ่อแม่ก็จะไม่สร้างความรักกับใครอีกเลย หากจะเกาะยึดอยู่กับความรู้สึกสูญเสียที่เกิดขึ้น
4. การเลียนแบบ (Identification) คือการปรับตัวโดยการเลียนแบบบุคคล หรือสิ่งของที่ตนชื่นชอบ
โดยการพยายามปรับเปลี่ยนด้วยความรู้สึกทางจิตใจ มิใช่เพียงพฤติกรรมเท่านั้น เช่นการแสดงพฤติกรรมให้เหมือนกับบุคคลต้นแบบ
ซึ่งอาจเป็นดารา นักแสดง หรือตัวละครต่างๆ5. การป้ายความผิดให้ผู้อื่น (Project) คือการลดความวิตกกังวล โดยการโยนหรือป้ายความผิดไปให้กับผู้อื่น
6. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation) คือการที่แสดงออกในสิ่งที่ตรงข้ามกับที่ตนรู้สึก เพราะคิดว่าสังคมอาจยอมรับไม่ได้
7. การเก็บกด (Repression) เป็นการเก็บความรู้สึกผิด ความคับข้องใจเอาไว้ในจิตใต้สำนึกจนกระทั่งลืม ซึ่งการเก็บกดนี้หากต้องเก็บความรู้สึกเอาไว้มากอาจทำให้เป็นโรคประสาทได้
8. การขจัดความรู้สึก (Suppression) มีลักษณะคล้ายกับ Repression แต่เป็นกระบวนการขจัดความรู้สึกดังกล่าวออกไปจากความคิด และเป็นกระบวนการที่เกิดอย่างที่ผู้กระทำมีความรู้ตัวและตั้งใจ ในขณะที่ Repression นั้นไม่รู้ตัว
9. การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) คือการหาเหตุผล หาคำอธิบาย มาอ้างอิง มาประกอบการกระทำของตนเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคนอื่น
10. การชดเชยหรือการทดแทน (Substitution/Compensation) การชดเชยหรือการทดแทนด้วยการหาทางออกในอันที่จะแสดงความต้องการของตน เช่นการต้องการระบายความก้าวร้าวก็หันไปเล่นกีฬาทดแทน หรือวิพากษ์วิจารณ์ศิลปะ เป็นการชดเชยในสิ่งที่สังคมยอมรับได้
11. การถดถอย (Regression) คือการหนีกลับไปอยู่กับสภาพอดีตที่ตนเคยมีความสุข เช่น ผู้ใหญ่เมื่อเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดก็แสดงอาการกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง
12. การสร้างวิมานในอากาศ หรือการฝันกลางวัน (Fantasy / Day Dreaming) คือการคิดฝัน หรือสร้างวิมานขึ้นเองเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่สามารถเป็นจริงได้
13. การแยกตัว (Isolation) คือการแยกตัวให้พ้นจากสถานการณ์ที่นำความคับข้องใจมาให้ โดยการแยกตนออกไปอยู่ตามลำพัง
14. การแทนที่ (Displacement) คือ การระบายอารมณ์โกรธ หรือคับข้องใจต่อคนหรือสิ่งของที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ
ฟรอยด์ยังเชื่ออีกว่า มนุษย์มีธรรมชาติดังเดิมที่เป็นสัญชาตญาน คือ อิด(id) ที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิตไร้สำนึกของมนุษย์นั้น ผลักดันให้มนุษย์กระทำการต่างๆ ที่เป็นพฤติกรรมของสัตว์ หรือกระทำไปโดยสัญชาตญาณ ฟรอยด์สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ขึ้นมาโดยเชื่อว่า ซูเปอร์อีโก้ (superego) หรือระบบคุณธรรม-บรรทัดฐานคุณงามความดีทางศีลธรรมที่เป็นวัฒนธรรมของมนุษย์จะควบคุมมิให้อีโก้ (ego) หรือตัวตนของมนุษย์ตกอยู่ใต้แรงขับในระดับสัญชาตญานนั้น การนำสาระของจิตไร้สำนึกมาตีแผ่ในจิตสำนึก เช่น ปฏิบัติการจิตวิเคราะห์ การตีความฝัน หรือการบำบัดผู้ป่วยทางจิต นั้นคือการควบคุมธรรมชาติด้วยวัฒนธรรมนั่นเอง
อัตลักษณ์
ในส่วนของความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของอัตลักษณ์, ริชารจ์ เจนกินส์ (Richard
Jenkins) [Social Identity] (อ้างใน ประสิทธิ์ ลีปรีชา, 2547, หน้า 22-23) กล่าวว่า
อัตลักษณ์ (Identity) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คือ identitas เดิมใช้คำว่า idem
ซึ่งมีความหมายว่าเหมือนกัน (the same) ซึ่งในพื้นฐานภาษาอังกฤษ อัตลักษณ์มีความหมายสองนัยยะ
คือ "ความเหมือน" และ"ความเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไป"
นั่นคือ การตีความหมายของความเหมือนกันบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ และการเปรียบเทียบกันระหว่างคนหรือสิ่งของในสองแง่มุมมอง
คือความคล้ายคลึงและความแตกต่าง. อัตลักษณ์ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ในตัว หรือเกิดมาพร้อมกับคนหรือสิ่งของ
แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นและเป็นพลวัตร ซึ่งทำให้เราเข้าใจและรับรู้ว่าเราเป็นใคร
คนอื่นเป็นใคร โดยอาศัยสังคมที่สัมพันธ์กับคนนั้นๆ เป็นตัวสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์
ส่วน ปริตตา เฉลิมเผา กออนันตกูล ได้ให้คำอธิบายความเกี่ยวเนื่องและจุดเน้นที่ต่างกันของ"อัตลักษณ์"และ"ตัวตน" โดยได้ใช้คำว่าอัตลักษณ์แทน Identity และคำว่า ตัวตนหรือสำนึกเกี่ยวกับความมีตัวตนครอบคลุมหลายคำ ได้แก่ self, subjectivity, identification คำทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับความสำนึกเกี่ยวกับตนเอง การนิยามตนเอง หรือการตอบคำถามว่า เราคือใคร?
จุดเน้นที่แตกต่างกันระหว่างอัตลักษณ์และตัวตนคือ อัตลักษณ์ หรือ identity อ้างอิงอยู่กับการจำแนกกลุ่มคนด้วยป้ายทางสังคมวัฒนธรรม เช่นคนไทย(อัตลักษณ์ทางเชื้อชาติ) ชาย, หญิง(อัตลักษณ์ทางเพศ) คนชั้นกลาง, ชาวบ้าน(อัตลักษณ์ทางชนชั้น) ป้ายเหล่านี้มิได้เป็นเพียงความคิดหรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างเดียว แต่มีกลไกปฏิบัติการของการสร้างความหมายที่จะทำให้เกิดความสำนึกขึ้นภายในบุคคลว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่มีลักษณะร่วมบางอย่าง เช่น มีลักษณะทางกายภาพเหมือนกัน มีประวัติศาสตร์หรือความทรงจำร่วมกัน หรือมีเป้าหมายเดียวกัน
ส่วนคำว่า ตัวตน หรือ สำนึกเกี่ยวกับความมีตัวตน เน้นการดำรงอยู่ของตัวเราในฐานะที่เป็นบุคคล(person) ประธานหรือผู้กระทำ (subject, agent) อันเป็นที่ตั้งของการรับรู้ทางปัญญาและอารมณ์ และเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำต่างๆ นอกจากนี้แล้วอัตลักษณ์และตัวตนยังมีความเกี่ยวข้องกันมากขึ้นในกระแสความคิดร่วมสมัย อัตลักษณ์มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานที่ เวลา และปรับตัวไปตามสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งทำให้เห็นว่าอัตลักษณ์และตัวตนก็คือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับกลุ่ม หรือระหว่างกลุ่มกับคนนั่นเอง (ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล, 2545 : 201-202)
- อีริค อีริคสัน (Erik Erikson) (อ้างใน อภิญญา เฟื่องฟูสกุล, 2543, 17-19) นักจิตวิทยาเห็นว่าการก่อรูปของอัตลักษณ์เป็นกระบวนการตลอดทั้งชีวิต (a life-long process) และคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะสำคัญของตนเองได้ โดยเขาให้ความสำคัญกับกระบวนการของจิตสำนึก และเน้นเสรีภาพในการเลือกของปัจเจก ซึ่งปัจเจกแต่ละคนจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อทางเลือกในชีวิต และรูปแบบอัตลักษณ์ที่ตนเลือกจะมีพัฒนาการของอัตลักษณ์ด้วยกันทั้งหมด 8 ขั้น แต่ละขั้นจะมีความสัมพันธ์กับขั้นก่อนหน้า ซึ่งขั้นที่อีริคสันเห็นว่ามีความสำคัญมากที่สุดคือ ช่วงของวัยรุ่น เนื่องจากเป็นช่วงวิกฤติของการมีอัตลักษณ์ที่ลงตัวการความสับสนในบทบาท วัยนี้เป็นวัยที่ต้องสวมหมวกทางสังคมหลายใบ ซึ่งอาจขัดแย้งกันและต้องหลอมรวมให้เกิดเป็นเอกภาพ
อีริคสันเน้นบูรณาการและดุลยภาพของพลังที่ขัดแย้งกันของอัตลักษณ์ จึงเป็นความต่อเนื่องของคุณสมบัติที่เป็น "เอกลักษณ์"ของคนๆ หนึ่ง ทำให้เกิดความรู้สึกว่าอัตลักษณ์คือแก่นแกนของบุคคลและเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ที่สมดุลและสอดคล้องระหว่างปัจเจกและสังคม เป็นผลผลิตของการต่อรองและเลือกสรรของปัจเจก
- ชาร์ลศ์ คูลีย์ (Charles Cooley) เชื่อว่าสังคมและปัจเจกบุคคลเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ สังคมเกิดจากการผสมผสานของตัวตนเชิงจิต (mental selves) ของคนที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ซึ่งตัวตนที่พัฒนามาจากความรู้สึกนี้เรียกว่ากระบวนการ "ตัวตนในกระจกเงา" (the looking glass self) ประกอบไปด้วยภาพลักษณ์ของเราที่เรามีต่อตนเอง และจินตนาการเกี่ยวกับความเห็นของผู้อื่นที่มีต่อภาพลักษณ์นั้น ซึ่งจะหลอมรวมกันเป็นความรู้สึกที่เรามีต่อตนเอง เช่นความรู้สึกภูมิใจ รู้สึกต่ำต้อย คูลีย์เห็นว่ากลุ่มสังคมที่ใกล้ชิดกับปัจเจกมากที่สุดเช่นกลุ่มปฐมภูมิ อันได้แก่ครอบครัวและเพื่อนบ้าน จะเป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถดึงเอาคุณสมบัติด้านบวกต่างๆ เช่น มิตรภาพ และความสมานฉันท์ออกมาจากปัจเจกได้
- จอร์ช เฮอร์เบิร์ต มี้ด (George Herbert Mead) เห็นว่ากลไกสำคัญของการสร้างตัวตน คือ การเรียนรู้ที่จะสวมบทบาท(role-taking)ของผู้อื่น และหัวใจสำคัญในการเรียนรู้คือภาษา ซึ่งเป็นช่องทางถ่ายทอดระบบสัญลักษณ์และกฎเกณฑ์ร่วมของสังคม โดยอาศัยการเรียนรู้จากการเลียนแบบและการเล่นจากการสวมบทบาทของคนอื่นใกล้ตัว และหลอมรวมเอาทัศนคติของบุคคลอื่นทั่วไป รวมทั้งซึมซับเอากฎเกณฑ์ร่วมของสังคมมาเป็นส่วนหนึ่งของเขา ตัวตนในทัศนะของมี้ดมี 2 ด้านที่ปะทะสังสรรค์กันเองตลอดเวลาคือ- "me" ซึ่งเป็นตัวตนที่เกิดจากความเห็นและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และ (ตัวตน ในฐานะที่เป็น"กรรม")
- "I" ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของเราเอง (ตัวตน ในฐานะที่เป็น"ประธาน")
8.
ฌากส์ ลากอง กับคำอธิบายอัตบุคคล(subject)
ฌากส์ ลากอง(Jacques Lacan) (นภาพร หงส์ทอง, 2547) กล่าวว่า มนุษย์เป็นความว่างเปล่า
(nothingness) มนุษย์ต้องผ่านกระบวนการบันทึกความรู้ หรือกระบวนการทำให้เป็นมนุษย์ใน
3 ประการ ซึ่งส่งผลให้มนุษย์มีความแปลกแยกในตัวเอง หรือมีบุคลิกภาพเป็น "สามคนในร่างเดียว"
1. คนแรกเกิดขึ้นในกระบวนการบันทึกจินตนาการ จึงมีนิสัยเพ้อฝัน ชอบคิดเข้าข้างตัวเอง และตัดสินอะไรจากภายนอก
2. คนที่สองเกิดในกระบวนการบันทึกสัญลักษณ์เป็น "เด็กดี" ชอบอ้างเหตุผล กฎหมาย และศีลธรรม
3. ส่วนคนที่สามเกิดขึ้นในกระบวนการบันทึกความจริง จึงเป็นคนอารมณ์อ่อนไหว ชอบหมกมุ่นอยู่กับอารมณ์
และความรู้สึกของตัวเอง ดื้อรั้น เก็บตัว
แต่ทั้งสามคนมีนิสัยเหมือนกันตรงที่ ก้าวร้าว หลงตัวเอง บ้าอำนาจ เห็นแก่ตัว และไม่เคยรักใครเลย อาจกล่าวได้ว่า ตัวตน ของมนุษย์แท้จริงในทัศนะของลากองคือ negativity ที่ซ่อนลึกอยู่ในความจริง
สำหรับทัศนะเรื่อง อัตบุคคล(subject) ลากองได้พิจารณามนุษย์ออกเป็น 3 ส่วนคือ
1. มนุษย์ คือความคิด ความคิดเกี่ยวกับตัวเองหรือ "ฉัน" ซึ่งถูกสร้างจากจินตนาการของการรับรู้ด้วยตา จากภาพหรือแบบในกระจกเงา เกิดขึ้นเพียงแต่ในความคิด เป็นจินตนาการหรือภาพแทนตัวเองที่อยากให้คนอื่นเห็น ลากองเรียกชั้นกระจกเงานี้ว่า "โลกแห่งจินตนาการ" (the realm of the Imaginary)
2. มนุษย์ เป็นวัฒนธรรม มนุษย์เริ่มที่ความว่างเปล่าใน "ขั้นกระจกเงา"(the Mirror stage) มนุษย์ได้สร้างอัตลักษณ์ขึ้นด้วยความเข้าใจตัวเอง จากการเลียนแบบจากภาพหรือเปลือกนอกของสิ่งอื่น แต่ก็ทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นอัตลักษณ์เป็นตัวของตัวเอง กระบวนการขัดเกลาทางสังคมทำให้มนุษย์กลายเป็นวัตถุ(objectify) คือกลายเป็นผู้ถูกกระทำ มนุษย์มิใช่ผู้กระทำ(subject) อย่างแท้จริง เพราะในทุกการกระทำของมนุษย์เป็นผลมาจากการถูกกระทำของสังคม กฎเกณฑ์ / อุดมคติ / ค่านิยม / วาทกรรม. ลากองจึงกล่าวว่าจิตไร้สำนึกของมนุษย์เต็มไปด้วยวาทกรรมของสิ่งอื่น หรือของสังคม ความเป็นมนุษย์ของอัตบุคคลเป็นเพียงประดิษฐกรรมของวัฒนธรรมหรือ มนุษย์เป็นวัฒนธรรม
3. มนุษย์อยู่ในปรารถนา สิ่งที่ถูกบันทึกลงในจิตไร้สำนึกของมนุษย์ หรือที่ลากองเรียกว่าความรู้ของมนุษย์ (human knowledge) ที่บันทึกในกระบวนการแห่งจินตนาการ (the imaginary) เกิดจากการถ่ายแบบจากภาพของสิ่งอื่น ซึ่งให้ผลลัพธ์เป็นอัตลักษณ์(identity) หรืออีโก้ในอุดมคติ (ideal ego) เมื่อมนุษย์เข้าสู่กระบวนการขัดเกลาของทางสังคม(social dialectic)
เมื่อกล่าวโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่า ในทัศนะของลากอง อัตลักษณ์แรกเริ่มของมนุษย์เริ่มในจินตนาการ เป็นอัตลักษณ์ที่แปลกแยกจากตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ กระบวนการขัดเกลาของสังคมได้ปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของมนุษย์ให้มีความแปลกแยกจากธรรมชาติที่แท้จริงมากขึ้นเรื่อยๆ หรือเมื่อวัฒนธรรมได้รับการยอมรับ มันก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ โดยอัตลักษณ์มีลักษณะเป็นทวิลักษณ์ (binary opposition) คือมีสองด้าน ได้แก่ การสงวนรักษา (preservation) และการปรับเปลี่ยน (sublimation)
- การสงวนรักษา (preservation) เป็นนิสัยของอัตลักษณ์ในด้านตรงข้ามหรือ negativity คือ "ฉัน" ในความจริงที่มีนิสัยดื้อรั้น คิดเล็กคิดน้อยเอาแต่ใจตัวเอง ไร้เหตุผล ก้าวร้าว และเร่าร้อนด้วยราคะ หรือมีนิสัยทุกอย่างที่เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในโลกแห่งสัญลักษณ์ มันจึงมักปรากฏตัวในความฝัน การพลั้งปาก การพูดตลกโปกฮา หรืออาการของคนไข้โรคประสาท
- การปรับเปลี่ยน (sublimation) เป็นนิสัยของอัตลักษณ์ หรือ "ฉัน" ในสัญลักษณ์บุคลิกด้านนี้ของอีโก้ผลักดันให้มนุษย์เข้าสู่กระบวนการทางวัฒนธรรม (การยอมรับทางสังคม)
จากแนวคิดเกี่ยวกับตัวตนและอัตลักษณ์ข้างต้น ทำให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกันของความหมายของทั้งสองคำ ซึ่งไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยสังคม สิ่งแวดล้อมเป็นตัวขัดเกลา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทของสังคม ซึ่งตัวตนและอัตลักษณ์นั้นเป็นความรู้สึกที่ประกอบไปด้วยภาพลักษณ์ของเราที่มีต่อตนเอง และจินตนาการเกี่ยวกับความเห็นของผู้อื่นที่มีต่อภาพลักษณ์ของเรา แล้วหลอมรวมกันเป็นความรู้สึกที่เรามีต่อตัวตนของเรา โดย"ตัวตน"จะมีความหมายที่เน้นไปที่ตัวบุคคล ส่วน"อัตลักษณ์"จะเน้นไปที่กลุ่มหรือชุมชน
++++++++++++++++++++++++++++++
ภาคผนวก
http://en.wikipedia.org/wiki/Ego#_note-groddeck
id
The term id is a Latinised derivation from Groddeck's das Es.[2] It stands
in direct opposition to the super-ego. It is dominated by the pleasure principle.
The newborn child is
regarded as being completely 'Id-ridden', in the sense that it is a mass of
instinctive drives and impulses, and demands immediate satisfaction. This
view equates a new born child with an id-ridden individual - often humorously
- with this analogy: an alimentary tract with no sense of responsibility at
either end.
The id is responsible for our basic drives such as food, sex and aggressive
impulses. It is amoral and egocentric, ruled by the pleasure-pain principle;
it is without a sense of time; completely illogical; primarily sexual; infantile
in its emotional development; will not take 'no' for an answer. It is regarded
as the reservoir of the libido or "love energy".
A popular interpretation of the id is not that it is "convincing" the mind to ignore social norms, but rather in itself just does not take social norms into account when 'thinking' or 'acting'. The id is the primal, or beast-like, part of the brain, determined to pursue actions that are pleasurable, such as eating or copulation. The prime motive of the id is self-survival, pursuing whatever necessary to accomplish that goal.
Ego
In Freud's theory, the ego mediates among the id, the super-ego and the external
world. Its task is to find a balance between primitive drives, morals, and
reality while satisfying the id and superego. Its main concern is with the
individual's safety and allows some of the id's desires to be expressed, but
only when consequences of these actions are marginal. Ego defense mechanisms
are often used by the ego when id behavior conflicts with reality and either
society's morals, norms, and taboos or the individual's expectations as a
result of the internalization of these morals, norms, and taboos.
The word ego is taken directly from Latin, where it is the nominative of the first person singular personal pronoun and is translated as "I myself" to express emphasis. The Latin term ego is used in English to translate Freud's German term "Das Ich," which literally means "the I."
In modern-day society, ego has many meanings. It could mean one's self-esteem; an inflated sense of self-worth; or in philosophical terms, one's self. However, according to the psychologist Sigmund Freud, the ego is the part of the mind which contains the consciousness. Originally, Freud had associated the word ego to meaning a sense of self; however, he later revised it to mean a set of psychic functions such as judgment, tolerance, reality-testing, control, planning, defense, synthesis of information, intellectual functioning, and memory.
In a diagram of the Structural
and Topographical Models of Mind, the ego is depicted to be half in the consciousness,
while a quarter is in the preconscious and the other quarter lies in the unconscious.
The ego is the mediator between the id and the superego; trying to ensure
that the needs of both the id and the superego are met. It is said to operate
on a reality principle, meaning it deals with the id and the superego; allowing
them to express their desires, drives and morals in realistic and socially
appropriate ways. It is said that the ego stands for reason and caution, developing
with age. Sigmund Freud had used an analogy which likened the ego to a rider
and a horse; the ego being the rider while the id being the horse. The horse
provides the energy and the means of obtaining the energy and information
need, while the rider ultimately controls the direction it wants to go. However,
due to unfavorable conditions, sometimes the horse makes its own decisions
over the rocky terrain.
When the ego is personified, it is like a slave to three harsh masters: the id, the super-ego and the external world. It has to do its best to suit all three, thus is constantly feeling hemmed by the danger of causing discontent on two other sides. It is said however, that the ego seems to be more loyal to the id, preferring to gloss over the finer details of reality to minimize conflicts with the pretending to have a regard for reality. But the super-ego is constantly watching every one of the egos' moves and punishes it with feelings of guilt, anxiety, and inferiority. To overcome this, this ego employs methods of defense mechanism. Denial, displacement, intellectualization, fantasy, compensation, projection, rationalization, reaction formation, regression, repression and sublimation were the defense mechanisms Freud identified. However, his daughter Anna Freud clarified and identified the concepts of: undoing, suppression, dissociation, idealization, identification, introjection, inversion, somatization, splitting and substitution.
Super-ego
Freud's theory states that the super-ego is a symbolic internalization of
the father figure and cultural regulations. The super-ego tends to stand in
opposition to the desires of the id because of their conflicting objectives,
and is aggressive towards the ego. The super-ego acts as the conscience, maintaining
our sense of morality and the prohibition of taboos. Its formation takes place
during the dissolution of the Oedipus complex and is formed by an identification
with and internalization of the father figure after the little boy cannot
successfully hold the mother as a love-object out of fear of castration. "The
super-ego retains the character of the father, while the more powerful the
Oedipus complex was and the more rapidly it succumbed to repression (under
the influence of authority, religious teaching, schooling and reading), the
stricter will be the domination of the super-ego over the ego later on - in
the form of conscience or perhaps of an unconscious sense of guilt" (The
Ego and the Id, 1923). In Sigmund Freud's work Civilization and Its Discontents
(1930) he also discusses the concept of a "cultural super-ego".
The concept of super-ego and the Oedipus complex is subject to criticism for
its sexism. Women, who are considered to be already castrated, do not identify
with the father, and therefore form a weak super-ego, apparently leaving them
susceptible to immorality and sexual identity complications.
++++++++++++++++++++++++++++++
บรรณานุกรม
- กาญจนา แก้วเทพ. การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน), 2547.
- นภาพร หงษ์ทอง. อัตบุคคลในทัศนะของฌากส์ ลากอง. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่, 2547.
- ประสิทธิ์ ลีปรีชา. "การสร้างและการสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธ์ม้ง". ในวาทะกรรมอัต ลักษณ์. หน้า 31-72. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), 2547.
- ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. คนใน ประสบการณ์ภาคสนามของนักมานุษยวิทยาไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2545.
- อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. อัตลักษณ Identity การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ, 2543.http://en.wikipedia.org/wiki/Self_%28psychology%29
http://en.wikipedia.org/wiki/Self-identity
http://en.wikipedia.org/wiki/Ego#_note-groddeck
http://www.freudfile.org/self_analysis.html
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
Sigmund Freud
การวิเคราะห์เรื่องตัวตนของฟรอยด์ เริ่มต้นขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 1890s และได้มาถึงจุดสูงสุด(ไคลแม็กซ์)ในช่วงปี
ค.ศ. 1895 และ 1900. ตามความเห็นของผู้เขียน อันที่จริงเรื่องดังกล่าวยังคงเป็นความสนใจอย่างต่อเนื่องของเขามาจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในปี
ค.ศ.1939. อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องกำหนดขอบเขตที่แน่นอนระหว่างช่วงเวลาที่ฟรอยด์ได้ค้นพบเกี่ยวกับเรื่องปมออดิปัส
และเนื้อหาสาระอื่นๆ ทางด้านจิตวิเคราะห์ และการวิเคราะห์ตัวตน
ช่วงแรก ในการศึกษาของฟรอยด์เกี่ยวกับเรื่องนี้ เต็มไปด้วยแง่มุมต่างๆ อันไม่คาดหวัง และค่อนข้างเป็นการคิดค้น, ขั้นตอนการสร้าง, และเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์. ส่วนช่วงที่สองเป็นความผูกมัดในหน้าที่ของเขา ซึ่งได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพ ในฐานะนักวิเคราะห์ทางจิต. การค้นพบต่างๆ ของฟรอยด์ระหว่างช่วงแรกเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางจิต ซึ่งเป็นที่รับรู้ มันได้รวมเอาหนังสือหลักๆ สองเล่มของเขาเอาไว้ นั่นคือ The Interpretation of Dreams และเรื่อง The Psychopathology of Everyday Life
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++