โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๗๖ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (October, 14, 10, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ความทรงจำและการให้ความหมายในทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์เดือนตุลาคม ๒๕๑๙ นับเป็นเรื่องสำคัญ ไม่เช่นนั้นมันก็จะเป็นเพียงประวัติศาสตร์ที่ถูกจองจำและถูกทำให้ลืม ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (๒๕๒๙) กล่าวว่า "เป็นไปได้ว่าสังคมไทยมุ่งจะลืม "รอยด่าง" ทางประวัติศาสตร์ที่สวนทางกับมายาภาพของสังคมไทยที่เป็นสังคมแห่งความสงบสุข ความดีงาม ความมีเมตตา" ... "ประเด็นที่น่าใคร่ครวญก็คือความเงียบทางวิชาการในกรณีนี้ แม้จะทำให้ประวัติศาสตร์การเมืองใหม่บกพร่องไปอย่างน่าเสียดาย แต่ความเงียบนั้นเองก็บ่งบอกอะไรหลายอย่าง
14-10-2550

Thammasat Massacre
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

ความทรงจำเดือนตุลาคม ๒๕๑๙ (ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย)
ปิดประตูฆ่าแมว: สะเก็ดแผลประวัติศาสตร์เหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙
โดย: ทีมงานไทยโซลิดาริตี้ (ตุลาคม ๒๕๔๘)
เพื่อเป็นการรำลึกการฆ่าโหดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๓๑ ปีที่แล้ว

บทความวิชาการนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจาก
ทีมงานไทยโซลิดาริตี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์รัฐฆ่าประชาชน
และเพื่อให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความโหดร้ายของอำนาจรัฐไทย
ที่พิฆาตประชาธิปไตยในช่วงเหตุการณ์วันที่ ๖ ตุลา ๒๕๑๙
ซึ่งผ่านมาครบรอบ ๓๑ ปีแล้ว โดยเนื้อหาที่นำเสนอประกอบด้วย
- รายงานข่าวเหตุการณ์ ๖ ตุลา จากสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งไทยและต่างประเทศ
- นัยยะสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙
- ขั้นตอนการทำลายความชอบธรรมขบวนการนักศึกษา และการล้อมฆ่า
- รัฐไทยกับชัยชนะ ๖ ตุลา ในฐานะอาชญากรประวัติศาสตร์ไทยฆ่าไทย
- เกษียร เตชะพีระ: บทความคืนก่อน ๖ ตุลา
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๗๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ความทรงจำเดือนตุลาคม ๒๕๑๙ (ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย)
ปิดประตูฆ่าแมว: สะเก็ดแผลประวัติศาสตร์เหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙
โดย: ทีมงานไทยโซลิดาริตี้ (ตุลาคม ๒๕๔๘)
เพื่อเป็นการรำลึกการฆ่าโหดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๓๑ ปีที่แล้ว

1.

"จำเป็นต้องใช้ระเบิด เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตยให้คงอยู่ในประเทศสืบต่อไป"
(เผด็จ ดวงดี ที่ปรึกษากลุ่มกระทิงแดง. สยามจดหมายเหตุ ปีที่ 1 , 2519 : 152)


"การฆ่าคนเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือเป็นบุญกุศลเหมือนฆ่าปลา แกงใส่บาตรพระ"
(กิตติวุฒโฑภิกขุ. น.ส.พ.จัตุรัส ปีที่ 2 ฉบับที่ 51 วันที่ 27 มิถุนายน 2519: 28-32 )

"จอมพลถนอมกลับเข้ามาในประเทศครั้งนี้เพื่อเยี่ยมอาการป่วยของบิดา และไม่มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองอย่างใดเลย... นักศึกษาอย่าก่อความวุ่นวาย มิฉะนั้นแล้วอาจจะต้องมีการประหารสักสามหมื่นคน เพื่อให้ชาติบ้านเมืองรอดพ้นจากภัย"
(การออกอากาศของสถานีวิทยุยานเกราะ. ประชาชาติ. 20 กันยายน 2519 : 1)

"พระบวชใหม่จะไปไหนตามลำพังระหว่างพรรษาไม่ได้ และกำหนดพรรษาจะสิ้นสุดลงในวันที่ 8 ตุลาคม 2519"
(สมเด็จพระญาณสังวร. วันที่ 30 กันยายน 2519)

"ขณะนี้มีกลุ่มคนก่อความไม่สงบ ได้ดำเนินการไปในทางที่จะทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้ มีการนำธงชาติคลุมตัวละครแสดงเป็นคนตายที่ข้างถนนหน้ารัฐสภา มีการใช้สื่อมวลชนที่มีแนวโน้มเอียงเช่นเดียวกับผู้ก่อความไม่สงบ ลงบทความ หรือเขียนข่าวไปในทำนองที่จะทำให้เกิดช่องว่างในบวรพุทธศาสนา มีนักศึกษาผู้หนึ่งทำเป็นผู้ถูกแขวนคอ โดยผู้ก่อความไม่สงบที่มีใบหน้าคล้ายกับพระราชวงศ์ชั้นสูงองค์หนึ่ง พยายามแต่งใบหน้าเพิ่มเติมให้เหมือน"

"ชมรมวิทยุเสรีคัดค้านการกระทำดังกล่าวในทุกๆ กรณี ขอให้รัฐบาลจัดการกับผู้ทรยศเหล่านี้โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการนองเลือดอันอาจจะเกิดขึ้น หากให้ประชาชนชุมนุมกันแล้วอาจมีการนองเลือดขึ้นก็ได้"
(ชมรมวิทยุเสรี. แถลงการณ์ สถานีวิทยุยานเกราะ 5 ตุลาคม 2519 : เวลาประมาณ 20.35 น.)

"พี่ ๆ ตำรวจครับ กรุณาหยุดยิงเถิดครับ เราชุมนุมกันอย่างสันติ เราไม่มีอาวุธ ตัวแทนของเรากำลังเจรจาอยู่กับรัฐบาล อย่าให้เสียเลือดเนื้อไปมากกว่านี้เลย กรุณาหยุดยิงเถิดครับ" ผมจำได้ว่าตัวเองพร่ำพูดอย่างนี้นับร้อยครั้งในเช้าวันพุธ (วันที่ 6 ตุลาคม 2519-ผู้เขียน) นั้น ผมพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อที่สมองจะได้ไม่ต้องคิด รู้แต่เพียงว่าต้องมีเสียงจากเวทีให้นานที่สุด ไม่ต้องคิดอะไรไปมากกว่านั้น และเอาเข้าจริง ผมก็ไม่สามารถคิดอะไรได้มากกว่านั้น (ธงชัย วินิจจะกูล, สารคดี ปีที่ 12 ฉบับที่ 140 เดือนตุลาคม 2539)

"ตำรวจได้ใช้ปืนกล ลูกระเบิดมือ ปืนไร้แรงสะท้อน ระดมยิงนักศึกษาในมหาวิทยาลัย นักศึกษาหลายคนถูกจับตัวและถูกราดน้ำมันเบนซินแล้วจุดไฟเผา คนอื่นๆ บ้างก็ถูกซ้อม บ้างก็ถูกยิงตาย "ผู้อยู่ในธรรมศาสตร์ขอร้องให้ตำรวจหยุดยิง ตำรวจก็ไม่หยุด ขอให้หยุดชั่วคราวเพื่อให้ผู้หญิงที่อยู่ในมหาวิทยาลัยมีโอกาสหนีออกไป ตำรวจก็ไม่ฟัง"
(สำนักข่าวอินเตอร์นิวส์ ผู้พิมพ์วารสารอินเตอร์เนชั่นแนล บุลเลทิน)

"หน่วยปราบปรามพิเศษต่างก็กราดปืนกลใส่ตัวอาคารและส่วนอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย พวกแม่นปืนที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษ ใช้ปืนไรเฟิลแรงสูงยิงเก็บเป็นรายตัว ตำรวจพลร่มกลุ่มหนึ่งสวมหมวกเบเร่ต์ดำ เสื้อแจ๊คเก็ตดำคลุมทับชุดพรางตาสีเขียวได้ยิงไปที่อาคารต่างๆ ด้วยปืนไร้แรงสะท้อนยาว 8 ฟุต ซึ่งปกติเป็นอาวุธต่อสู้รถถัง ส่วนตำรวจคนอื่นๆ ก็ยิงลูกระเบิดจากเครื่องยิงประทับไหล่ ไม่มีเวลาใดเลยที่ตำรวจจะพยายามให้นักศึกษาออกมาจากที่ซ่อนด้วยแก๊สน้ำตา หรือเครื่องควบคุมฝูงชนแบบมาตรฐานอื่นๆ" ช่างภาพตะวันตกคนหนึ่งที่ชาญสนามมา 4 ปีในสงครามเวียดนามกล่าวว่า "พวกตำรวจกระหายเลือด มันเป็นการยิงที่เลวร้ายที่สุดที่ข้าพเจ้าเคยเห็นมา"
(เลวิส เอ็ม ไซมอนส์, รายงานในหนังสือพิมพ์ ซานฟรานซิสโก ครอนิเกิล, วันที่ 7 ตุลาคม 2519)

"ด้วยความชำนาญในการสื่อข่าวการรบในอินโดจีนแล้ว ข้าพเจ้าสามารถบอกได้ว่าเสียงปืนที่ได้ยินนั้น 90% ยิงไปในทิศทางเดียวกัน คือยิงใส่นักศึกษา บางครั้งจึงจะมีกระสุนปืนยิงตอบมาสักนัดหนึ่ง
(นีล ยูลิวิค, ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่อยู่ในเหตุการณ์รายงานในหนังสือพิมพ์ เดอะ รียิสเตอร์, วันที่ 8 ตุลาคม 2519)

"ได้มีกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาบางกลุ่ม ได้ทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อันเป็นการเหยียบย่ำจิตใจคนไทยทั้งชาติ โดยเจตจำนงทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการคอมมิวนิสต์ ที่จะเข้ายึดครองประเทศไทย เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุม ก็ต่อสู้ด้วยอาวุธอันร้ายแรงที่ใช้ในราชการสงคราม โดยร่วมมือกับผู้ก่อการร้ายชาวเวียดนาม ต่อสู้เจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก"
(แถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 1 วันที่ 6 ตุลาคม 2519)

"ข้าพเจ้าตั้งคำถามกับเพื่อนคนหนึ่ง (ที่ถูกจับกุมจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ในคืนวันที่ 6 ตุลาคม-ผู้เขียน) ว่า รู้สึกเสียใจไหมที่มาติดคุกโดยไม่รู้อนาคตแบบนี้ เขาตอบข้าพเจ้าว่า ไม่เลย , ทำไมผมจะต้องเสียใจด้วย ในเมื่อพวกเราไม่ได้ทำผิดอะไร ผมควรจะดีใจเสียอีก ในวันนี้จะต้องได้รับผลตอบแทนที่ดีงามแน่นอน สักวันหนึ่งในอนาคตข้างหน้า ลูกหลานจะได้เติบขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่สวยสดงดงาม พวกเขาจะไม่ต้องถูกบังคับให้เข้าสู่สนามของการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น เพื่อเอาตัวเองรอด โดยการเหยียบผู้อื่นลงไป พวกเขาจะไม่ต้องเติบโตขึ้นมา เพื่อเผชิญหน้ากับความอดอยาก ยากจน ความหิวโหย และการถูกทอดทิ้ง พวกเขาจะมีชีวิตที่ดีกว่า"
(สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. "มหาวิทยาลัยของฉัน", มหาวิทยาลัยของฉัน, องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539 : 66-67)

"แล้วก็ให้แล้วกันไป ลืมมันเสียเถิดนะ"
(พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์. อ้างใน ศรพรหม วาศสุรางค์. "ใครก่อกรณี 6 ตุลา" ปริทัศน์สาร. (ตุลาคม-พฤศจิกายน 2524) : 10)

2.

เหตุการณ์เมื่อวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเหตุการณ์ที่มีนัยยะสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทยเหตุการณ์หนึ่ง หากมีการกล่าวถึงในเชิงวิชาการไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการกล่าวถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในแง่การให้คุณค่าและฐานะทางประวัติศาสตร์

อย่างไรก็ตาม นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2539) กล่าวว่าไม่อาจแยก 6 ตุลา กับ 14 ตุลา ได้ เพราะ 6 ตุลา สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลัง 14 ตุลาคม 2516 อาจกล่าวได้ว่า 6 ตุลา เป็นฉากสิ้นสุดของกระแสหนึ่งของความเปลี่ยนแปลง (1) และเหตุการณ์ 6 ตุลา จึงเป็นจุดสิ้นสุดยุคทองของขบวนการนักศึกษา คนหนุ่มสาวที่ใฝ่ฝันถึงการสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีงาม และเป็นจุดสิ้นสุดของยุคปลดปล่อยของขบวนการกรรมการ ชาวนา นับตั้งแต่การรัฐประหารของผิน ชุณหวัน (2490) และระบอบถนอม-ณรงค์-ประภาส (2500-2516)

เหตุการณ์การล้อมปราบนิสิตนักศึกษาประชาชนในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เป็นประวัติศาสตร์แห่งโศกนาฏกรรมทางการเมือง ที่เสมอเหมือนมีฝ่ายผู้กระทำหรือฝ่ายที่ถูกกระทำในแต่ละฝ่ายเพียงฝ่ายเดียว (ในที่นี้ผู้กระทำคือฝ่ายรัฐ และกลุ่มจัดตั้งที่เชื่อตามกระบอกเสียงของรัฐ ส่วนฝ่ายผู้ถูกกระทำคือฝ่ายนิสิตนักศึกษา ประชาชนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) หากพิจารณาจากฐานะทางประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ 6 ตุลาคม 2519 แล้ว มันไม่ได้เป็นเพียงประวัติศาสตร์ของขบวนการนิสิตนักศึกษา ประชาชน ที่เป็นผู้ถูกกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียว

หากในทางกลับกัน มันเป็นการต่อสู้ในเชิงรุกทางยุทธศาสตร์ โดยมีอุดมการณ์เสรีนิยมเป็นความคิดกระแสหลัก (2) ในขณะที่แนวความคิดเชิงสังคมนิยม ลัทธิเหมา และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ก็มีอิทธิพลแวดล้อมปกคลุมอยู่ไม่น้อย แม้ว่าในภายหลัง นิสิตนักศึกษาปัญญาชนส่วนหนึ่งจะปฏิเสธต่อ พคท. ด้วยเพราะจำใจยอมเข้าป่าไปจับอาวุธร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือวิกฤติศรัทธาต่อ พคท. ก็ตาม

ป๋วย อึ้งภากรณ์ (2519) อธิบายว่า "(เหตุการณ์ 6 ตุลาเกิดขึ้นเนื่องจาก-ผู้เขียน) เจตนาที่จะทำลายล้างขบวนการนักศึกษาและประชาชน ที่รักเสรีภาพมีมาตั้งแต่วันที่มีการล้มเผด็จการทหารในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 สามปีก่อนหน้านั้น โดยแกนหลักคือ ผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองไปในปี 2516 รวมทั้งผู้ที่เกรงว่า "ประชาธิปไตยมากเกินไป" จะทำให้เขาสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจ ในกลุ่มนี้ มีทั้งนายทุน เจ้าของที่ดินรายใหญ่ ๆ ทหาร และตำรวจบางกลุ่ม รวมถึงพรรคการเมือง (โดยเฉพาะพรรคชาติไทย) และพระภิกษุ เช่น กิตตวุฒโฒ ด้วย" (3)

เบน แอนเดอร์สัน (2520) มองว่า ความรุนแรงของ 6 ตุลา เกิดจากวิกฤตการณ์ทางสังคม-วัฒนธรรม-การเมืองสมัยใหม่กล่าวคือ การก่อตัวของชนชั้น (ใหม่) กับความปั่นป่วนทางอุดมการณ์ การก่อตัวของชนชั้นกระฎุมพีใหม่เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1950 (2493-2502) โดยเกิดขึ้นมานอกชนชั้นสูง - เจ้านาย - ข้าราชการเก่า ชนชั้นใหม่นี้มีทั้งกระฎุมพีน้อย - กระฎุมพีกลาง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลพวงของ "บูม" ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสงครามเวียดนามในทศวรรษ 1960 (2503-2512)

ชั้นชนกระฎุมพีใหม่ ได้กลายเป็นฐานให้กับขบวนการฝ่ายขวา ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากกลุ่มฝ่ายขวาเดิมของเจ้า-ผู้ดี และข้าราชการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากลุ่มผู้ปกครองเก่า - เจ้า - นายพล - นายธนาคาร - ข้าราชการ จะหลุดออกไปจากตำแหน่งสำคัญที่กุมอำนาจทางการเมือง กลับเป็นว่ากลุ่มผู้ปกครองเก่านี้ได้พันธมิตรใหม่ที่มีฐานกว้างขวาง ซึ่งมีลักษณะคุกคามและเป็นอันตรายมากกว่าเดิม

พร้อม ๆ กับการเกิดของชั้นชนกระฎุมพีนี้ ความปั่นป่วนด้านอุดมการณ์ก็เป็นผลพวงของผลกระทบของการที่อเมริกาเข้ามา และระเบิดให้เห็นทางด้านภูมิปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ปี ของยุค "ประชาธิปไตย" เบ่งบานนั้น มีคนหนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยที่เบื่อหน่ายต่อความอับจนทางปัญญา และการใช้สัญลักษณ์ทางจารีตโดยระบอบสฤษดิ์ - ถนอม - ประภาส คนหนุ่มสาวตั้งคำถามต่อค่านิยมและวัฒนธรรมจารีตนั้น ซึ่งก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยการโฆษณาเผยแพร่ สั่งสอนอุดมการณ์ชาติ - ศาสนา - พระมหากษัตริย์ หนักหน่วงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

ชาติ - ศาสนา - พระมหากษัตริย์ แทนที่จะเป็นของ "ไทยตามธรรมชาติ" โดยทั่วไป กลับกลายเป็นอุดมการณ์เฉพาะของการก่อตัวทางสังคมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมขบวนการฝ่ายขวานี้ก็คือ บรรดาชั้นชนกระฎุมพีใหม่ ส่วนผู้ทำการโฆษณาเผยแพร่อุดมการณ์ มีทั้งกลุ่มบ้าคลั่งจากชั้นชนใหม่นี้เอง และจากผู้ที่บงการของกลุ่มชนชั้นปกครองเก่าที่อยู่เบื้องหลัง (4)

เหตุการณ์ 6 ตุลาคม จึงไม่ได้เป็นอุบัติเหตุทางการเมือง หากมีขบวนการที่กระทำกันมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แม้ว่า การปราบปรามในวันที่ 6 ตุลาคม เป็นการกระทำต่อขบวนการนักศึกษาเป็นหลัก แต่เป้าหมายโดยรวมน่าจะเป็นการทำลาย "ฝ่ายซ้าย" ในประเทศไทย ดังที่พลตรีประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทยในยุคนั้น เคยชูคำขวัญ "ขวาพิฆาตซ้าย" (5) รวมทั้ง เมื่อพิจารณาจากความพยายามในการกวาดล้างต่อต้าน และปราบปรามขบวนการนิสิตนักศึกษา ประชาชน โดยใช้มาตรการต่าง ๆ ได้แก่

1) การทำลายความชอบธรรมของขบวนการนักศึกษา โดยการกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์
ควบคู่กับการสร้างกระแส "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์"

2) การแยกสลายขบวนการนักเรียนอาชีวะ และการตั้งกลุ่มกระทิงแดง

3) การตั้งกลุ่มพลังฝ่ายขวา อาทิ กลุ่มนวพล, ลูกเสือชาวบ้าน, ชมรมวิทยุเสรี, ชมรมแม่บ้าน, สหพันธ์นักศึกษาครูแห่งประเทศไทย ฯลฯ รวมทั้งความรุนแรงและการลอบสังหารที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก (6)

และจุดปะทุที่เป็นชนวนแห่งเหตุการณ์ก็คือ การที่หนังสือพิมพ์ดาวสยาม และสถานีวิทยุยานเกราะประโคมข่าวเท็จว่า นักศึกษาแสดงละครแขวนคอที่ลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 4 ตุลาคม เพื่อดูหมิ่นเจ้าฟ้าชาย โดยที่สถานีวิทยุยานเกราะได้อ้างอิงรูปถ่ายในหนังสือพิมพ์ดาวสยาม และบางกอกโพสต์ โดยที่หนังสือพิมพ์ดาวสยามได้มีการพิมพ์รูปภาพการเล่นละครแขวนคอของนักศึกษา เป็นใบปลิวพิเศษแจกประชาชนในช่วงนั้น (7)

ข้อมูลผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จากการติดตามของคณะกรรมการรับรู้ข้อมูล และสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 พบว่า ฝ่ายนักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตจำนวน 41 ราย ในจำนวนนี้ เป็นศพถูกเผา ระบุชายหญิงไม่ได้จำนวน 4 ราย เป็นศพชายไทยไม่ทราบชื่อ 6 ราย ผูกคอตายที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2520 (ขณะเป็นผู้ต้องหา) 1 ราย คงเหลือศพที่ระบุชื่อได้และมอบให้ญาติไปจัดการตามประเพณีแล้ว 30 ราย (ชาย 26 หญิง 4) ส่วนฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 5 ราย (8)

ส่วนตัวเลขทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 39 คน บาดเจ็บ 145 คน (ในจำนวนนี้เป็นตำรวจเสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 23 คน) นักศึกษาประชาชนถูกจับกุม 3,094 คน เป็นชาย 2,432 คน หญิง 662 คน ขณะที่แหล่งข่าวอ้างอิงจากการเก็บศพของเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู ประมาณว่ามีนักศึกษา ประชาชน เสียชีวิต 530 คน ส่วนทรัพย์สิน (จากการสำรวจของคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มีครุภัณฑ์และวัสดุของคณะต่างๆ เสียหายเป็นมูลค่า 50 กว่าล้านบาท ร้านสหกรณ์มีสินค้าและทรัพย์สินเสียหาย 1 ล้าน 3 แสนบาท สิ่งของมีค่าหายสาบสูญ อาทิ โทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ดีด กล้องถ่ายรูป เทปบันทึกเสียง เครื่องเย็บกระดาษ เสื้อผ้า เงินสด รายงานแจ้งว่า "หน้าต่างถูกทุบและโดนลูกกระสุนเสียหาย โต๊ะเก้าอี้พัง ห้องพักอาจารย์ถูกรื้อค้นกระจัดกระจาย"

เป็นที่น่าแปลกใจที่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519 ฝ่ายรัฐที่ถือได้ว่าเป็นผู้ได้รับชัยชนะจากเหตุการณ์ดังกล่าว กลับต้องการกลบลบภาพชัยชนะของตน อาจเป็นเพราะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นไปตามคำกล่าวอ้างของฝ่ายรัฐ. ในทางกลับกัน ภาพแห่งความทารุณโหดร้ายที่ถูกบันทึกไว้ละเผยแพร่ไปทั่วโลก ภาพที่ได้รับการถ่ายทอดออกโทรทัศน์ช่อง 9 ด้วย, ได้ทำให้ฝ่ายรัฐกลายเป็นอาชญากรของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์. ธงชัย วินิจจะกูล (2539) กล่าวว่า ก่อนที่คดี 6 ตุลา จะกลายเป็นเวทีสาธารณะในการนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลา ออกมาประกาศต่อสาธารณะ รัฐบาลก็ได้ประกาศนิรโทษกรรมผู้ต้องหาคดี 6 ตุลาคม 2519 ทั้ง 18 คน ในวันที่ 15 กันยายน 2521 เพื่อปกป้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐที่มีบทบาทในการใช้ความรุนแรงจากการฟ้องร้องในอนาคตด้วย (9)

3.

ความทรงจำและการให้ความหมายในทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2519 นับเป็นเรื่องสำคัญ ไม่เช่นนั้นมันก็จะเป็นเพียงประวัติศาสตร์ที่ถูกจองจำและถูกทำให้ลืม ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (2529) กล่าวว่า "เป็นไปได้ว่าสังคมไทยมุ่งจะลืม "รอยด่าง" ทางประวัติศาสตร์ที่สวนทางกับมายาภาพของสังคมไทยที่เป็นสังคมแห่งความสงบสุข ความดีงาม ความมีเมตตา" ... "ประเด็นที่น่าใคร่ครวญก็คือความเงียบทางวิชาการในกรณีนี้ แม้จะทำให้ประวัติศาสตร์การเมืองใหม่บกพร่องไปอย่างน่าเสียดาย แต่ความเงียบนั้นเองก็บ่งบอกอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับสังคมไทย อย่างน้อยที่สุด ความเงียบดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงเขตแดนแห่งเสรีภาพทางวิชาการ" (10)

สำหรับไทยโซลิดาริตี้ ในฐานะที่เราขออาสา สานต่อภารกิจประวัติศาสตร์ในการสร้างสรรค์สังคมที่เป็นธรรมในปัจจุบัน เราปรารถนาที่จะให้ความทรงจำของนักศึกษาที่เปลี่ยนเป็นการโทษตัวเอง การมองว่าสังคมนิยมล้าสมัย และการสร้างสรรค์สังคมใหม่เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้นั้น (11) แปรเปลี่ยนเป็นพลังในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่สังคมที่ยุติธรรม เพราะสำหรับเราแล้ว หากไม่มี 6 ตุลา เราคงไม่มีวันนี้

ท้ายที่สุดนี้ ความทรงจำที่ได้บอกกับเราถึงเจตนารมณ์แห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ของเกษียร เตชะพีระ ในบทความคืนก่อน 6 ตุลาฯ (12) ได้ทำให้ความมุ่งมั่นต่ออุดมคติอุดมการณ์ของเราเข้มแข็ง และแจ่มชัดยิ่งขึ้น

ที่ห้องในบ้าน เจ็บแค้น กังวล ปวดร้าว
กลางดึก 5 ตุลา 2519


ถึงเพื่อนที่รักสักคน
เราไปอยู่ธรรมศาสตร์ ชุมนุมไล่ทรราชมา 2 คืน เราวิ่ง อภิปราย ไฮด์ปาร์ค ประชุม ตากฝน ผึ่งแดด อดข้าว อดน้ำ คนอีกเป็นหมื่นเป็นแสนก็ทำอย่างเรา พวกเขาไปไล่ทรราช"
.......................................................

"เรากลับมาบ้านก่อน เราคิดว่าเราหมดเวรเวที เราขอมาพัก มาอาบน้ำกินข้าว พรุ่งนี้เช้าเราจะไป เรารู้ข่าวว่ามีพวกศัตรูดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยว เราทำพิธีละครระลึกถึงฆาตกรรมโหดที่ฆ่าเพื่อนเรา 2 คน แขวนคอประจาน เพราะเขาไปติดโปสเตอร์ไล่ทรราช พวกมันป้ายสีว่าเพื่อนเรามอมหน้าคล้ายรัชทายาท มันโรเนียวแถลงการณ์ ตัดต่อประกอบรูป ปลุกประชาชน ยั่วยุให้ประชาชนหลงเคียดแค้น มันตามนวพล กระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน ศูนย์อาชีวะ สหพันธ์นักศึกษาครู สภานิสิตนักศึกษาฯ รวมเป็นความบ้าคลั่งเตรียมลุย เตรียมฆ่า รวมตัว 9.00 น. พรุ่งนี้เช้า ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

มันเอาตำรวจไปล้อมธรรมศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรีออกแถลงการณ์ว่า เราหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสอดคล้องกับมัน แต่กดกระแสพวกขวาจัดโดยผ่อนลงมาว่าตำรวจจะจัดการ มันโดดเดี่ยวปิดล้อมเราทางการเมือง มันจะลุยเรา มันจะให้เราอดข้าวอดน้ำ

เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อนเสียสละมามากเพื่อประชาชน เราอยากไปอยู่กับเพื่อนที่ธรรมศาสตร์เดี๋ยวนี้ เพื่อนพิทักษ์ควบคุมประชาชนให้ดี พวกเราเรือนพันเรือนหมื่นอยู่กันที่นั่น บอกให้พวกเราใจเย็น สุขุม รอบคอบให้มาก เราจะรีบไป เราจะไป

พวกมันยังขัดแย้งกันอยู่ในส่วนลึก สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ซัดยานเกราะ มันยังกัดกันอยู่อย่างหนัก ทำใจให้เยือกเย็น ค่อยๆ วางจังหวะก้าว การควบคุมรักษาความปลอดภัย ให้สูญเสียน้อยที่สุด

ยากลำบากใช่ไหมเพื่อน แต่เราต้องชนะ ถ้าเพื่อนบาดเจ็บ ล้มลง เพื่อนจงยิ้ม จงรู้เถิด สงบเถิด ว่าเรากำลังก้าวตามเพื่อนอยู่ คนเป็นล้านๆ ทั่วประเทศจะก้าวตามไปสร้างโลกใหม่สังคมใหม่

คนดีถูกฆ่ากลางถนน คนชั่วขึ้นนั่งบัลลังก์บน มันบ้า เราจะฝ่าไป เราจะทำลายมันลงให้ได้ แล้วสร้างโลกใหม่สังคมใหม่ขึ้นมา

พรุ่งนี้เราจะไปตายกับเพื่อนที่ธรรมศาสตร์
ตายก็ตายเถอะเพื่อล้างโลกสกปรกสังคมโสมมนี้"

เจตนารมณ์ 6 ตุลาคม 2519 จงเจริญ!!!

www.thaisolidarity.org

++++++++++++++++++++++++++++++

เชิงอรรถ

(1) นิธิ เอียวศรีวงศ์. 6 ตุลา กับภูมิปัญญาสังคมไทย, คณะกรรมการประสานงาน 20 ปี 6 ตุลา, ตุลากาล, (ตุลาคม 2539 : 226-241)

(2) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ "6 ตุลา กับสถานะทางประวัติศาสตร์การเมือง" พนม เอี่ยมประยูร (บ.ก.) , กรุงเทพฯ : คณะกรรมการดำเนินการจัดงาน 20 ปี 6 ตุลา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539) : 59-66

(3) ป๋วย อึ้งภากรณ์, "ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519", อ้างใน ใจ อึ้งภากรณ์ , 6 ตุลา จากมุมมองนักวิชาการและนักเขียน ใน อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง, คณะกรรมการรับรู้ข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 , ตุลาคม 2544 : 25

(4) Benedict Anderson, Withdrawal Symptoms : Social and Cultural Aspects of the October 6 Coup', Bulletin of Concerned Asian Scholars, Vol. 9 No. 3 July - September, 1977 อ้างใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ " ตุลา กับสถานะทางประวัติศาสตร์การเมือง" พนม เอี่ยมประยูร (บ.ก.) , กรุงเทพฯ : คณะกรรมการดำเนินการจัดงาน 20 ปี 6 ตุลา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539) : 59-66)

(5) เบเนดิก แอนเดอร์สัน 2541

(6) สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, "เหตุการณ์ 6 ตุลา เกิดขึ้นได้อย่างไร" ใน อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง, คณะกรรมการรับรู้ข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 , ตุลาคม 2544 : 126-155

(7) ใจ อึ้งภากรณ์. "สรุปข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519" ใน อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง, คณะกรรมการรับรู้ข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 , ตุลาคม 2544 : 180

(8) คณะกรรมการรับรู้ข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม, "อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง" 2519 , ตุลาคม 2544 : 251

(9) ธงชัย วินิจจะกูล. "ความทรงจำกับประวัติศาสตร์บาดแผล กรณีการปราบปรามนองเลือด 6 ตุลา 19". รัฐศาสตร์สาร
(ปีที่ 19 ฉบับที่ 13 2539)

(10) ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. "รอยด่างกับความเงียบ : ข้อสังเกตบางประการว่าด้วยเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519" ใน สัจจะทรยุค, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, หนังสือประกอบงานรำลึกเดือนตุลา ปี 2529 : 151-155

(11) ใจ อึ้งภากรณ์. 6 ตุลา จากมุมมองนักวิชาการและนักเขียน ใน อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง, คณะกรรมการรับรู้ข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 , ตุลาคม 2544 : 47-53

(12) เกษียร เตชะพีระ. น.ส.พ.ผู้จัดการรายวัน, จันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2539 : 8

+++++++++++++++++++++++++++++++

บรรณานุกรม

- กิตติวุฒโฑภิกขุ. น.ส.พ.จัตุรัส ปีที่ 2 ฉบับที่ 51 วันที่ 27 มิถุนายน 2519 : 28-32

- เกษียร เตชะพีระ. น.ส.พ.ผู้จัดการรายวัน, จันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2539 : 8

- ใจ อึ้งภากรณ์. "6 ตุลา จากมุมมองนักวิชาการและนักเขียน" ใน อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง, คณะกรรมการรับรู้ข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 , ตุลาคม 2544 : 47-53

- ใจ อึ้งภากรณ์. "สรุปข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519" ใน อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง, คณะกรรมการรับรู้ข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 , ตุลาคม 2544 : 180

- ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. "6 ตุลา กับสถานะทางประวัติศาตร์การเมือง" ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, บรรณาธิการ. จาก 14 ถึง 6 ตุลา. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, 2541 (เดิม ชาญวิทย์ เกษตรศิริ "6 ตุลา กับสถานะทางประวัติศาสตร์การเมือง" พนม เอี่ยมประยูร (บ.ก.) , กรุงเทพฯ : คณะกรรมการดำเนินการจัดงาน 20 ปี 6 ตุลา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539) : 59-66)

- ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. "รอยด่างกับความเงียบ : ข้อสังเกตบางประการว่าด้วยเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519" ใน สัจจะทรยุค, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, หนังสือประกอบงานรำลึกเดือนตุลา ปี 2529 : 151-155

- ธงชัย วินิจจะกูล. "ความทรงจำกับประวัติศาสตร์บาดแผล กรณีการปราบปรามนองเลือด 6 ตุลา 19"
รัฐศาสตร์สาร ,ปีที่ 19 ฉบับที่ 13 2539
- ธงชัย วินิจจะกูล. สารคดี ปีที่ 12 ฉบับที่ 140 เดือนตุลาคม 2539

- "ตุลา สานต่อเจตนาวีรชน", จุลสาร พรรคสัจจธรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง

- นิธิ เอียวศรีวงศ์. "6 ตุลา กับภูมิปัญญาสังคมไทย" , คณะกรรมการประสานงาน 20 ปี 6 ตุลา, ตุลากาล, ตุลาคม 2539 : 226-241

- ป๋วย อึ้งภากรณ์. "ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519", อ้างใน ใจ อึ้งภากรณ์ , 6 ตุลา จากมุมมองนักวิชาการและนักเขียน ใน อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง, คณะกรรมการรับรู้ข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 , ตุลาคม 2544 : 25

- "พิสุทธ์" จุลสาร เนื่องในงานรำลึกวีรชนเดือนตุลา, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย

- สถานีวิทยุยานเกราะออกอากาศ. ประชาชาติ. 20 กันยายน 2519 : 1

- สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. "มหาวิทยาลัยของฉัน", มหาวิทยาลัยของฉัน, องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539 : 66-67

- สยามจดหมายเหตุ. ปีที่ 1 , 2519 : 152

- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. เหตุการณ์ 6 ตุลา เกิดขึ้นได้อย่างไร ใน อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง, คณะกรรมการรับรู้ข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 , ตุลาคม 2544 : 126-155

- ศรพรหม วาศสุรางค์. "ใครก่อกรณี 6 ตุลา". ปริทัศน์สาร. (ตุลาคม-พฤศจิกายน 2524) : 10

- "รอยยิ้มในวันนี้" , คณะกรรมการบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2522

- อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง, คณะกรรมการรับรู้ข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 , ตุลาคม 2544 : 251

- Benedict Anderson. Withdrawal Symptoms : Social and Cultural Aspects of the October 6 Coup', Bulletin of Concerned Asian Scholars, Vol. 9 No. 3 July - September, 1977

- www.2519.net



+++++++++++++++++++++++++++++++++++

สำหรับผู้สนใจเรื่องเกี่ยวกับเรื่องเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖
สามารถคลิกไปดูหัวข้อเพิ่มเติมได้ที่

October 1973 (2516) - เหตุการณ์ เดือนตุลาคม (05)


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายงานจากผู้สื่อข่าวต่างประเทศ
"หน่วยปราบปรามพิเศษต่างก็กราดปืนกลใส่ตัวอาคารและส่วนอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย พวกแม่นปืนที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษ ใช้ปืนไรเฟิลแรงสูงยิงเก็บเป็นรายตัว ตำรวจพลร่มกลุ่มหนึ่งสวมหมวกเบเร่ต์ดำ เสื้อแจ๊คเก็ตดำคลุมทับชุดพรางตาสีเขียวได้ยิงไปที่อาคารต่างๆ ด้วยปืนไร้แรงสะท้อนยาว ๘ ฟุต ซึ่งปกติเป็นอาวุธต่อสู้รถถัง ส่วนตำรวจคนอื่นๆ ก็ยิงลูกระเบิดจากเครื่องยิงประทับไหล่ ไม่มีเวลาใดเลยที่ตำรวจจะพยายามให้นักศึกษาออกมาจากที่ซ่อนด้วยแก๊สน้ำตา หรือเครื่องควบคุมฝูงชนแบบมาตรฐานอื่นๆ" ช่างภาพตะวันตกคนหนึ่งที่ชาญสนามมา 4 ปีในสงครามเวียดนามกล่าวว่า "พวกตำรวจกระหายเลือด มันเป็นการยิงที่เลวร้ายที่สุดที่ข้าพเจ้าเคยเห็นมา"
(เลวิส เอ็ม ไซมอนส์, รายงานในหนังสือพิมพ์ ซานฟรานซิสโก ครอนิเกิล, วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๑๙)

"ด้วยความชำนาญในการสื่อข่าวการรบในอินโดจีนแล้ว ข้าพเจ้าสามารถบอกได้ว่าเสียงปืนที่ได้ยินนั้น 90% ยิงไปในทิศทางเดียวกัน คือยิงใส่นักศึกษา บางครั้งจึงจะมีกระสุนปืนยิงตอบมาสักนัดหนึ่ง
(นีล ยูลิวิค, ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่อยู่ในเหตุการณ์รายงานในหนังสือพิมพ์ เดอะ รียิสเตอร์, วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๑๙)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

14 October 2007