โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 10 October 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๗๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (October, 10, 10, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ความจนเกิดขึ้นจากการถูกนิยามว่า "ยากจน" โดยผู้ที่ถูกนิยาม จะมีลักษณะที่ต่ำต้อยด้อยคุณค่า ในภูมิหลังความเป็นมา ความถนัด และวิถีการดำเนินชีวิต เขาเหล่านี้ต้องปรับเปลี่ยนชีวิตใหม่เพื่อไปให้พ้นจากความยากจน เป็นชีวิตที่ถูกกำหนด ชี้นำ และบังคับโดยทางอ้อม ความจนสามารถแยกพิจารณาได้ใน 3 มิติ คือ ภาวะไร้รากเหง้าของอดีตอันเป็นความเลวร้าย (unfounded) ภาวะไร้คุณค่า ต่ำต้อย ไม่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ (unvalued) และภาวะไร้ตัวตน เป็นผู้ที่คอยเดินตามในสิ่งที่ผู้อื่นบอกให้กระทำและห้ามไม่ให้กระทำ (unautomated)
10-10-2550

Poor & Poverty
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

ประวัติความผันแปรไปของความหมายความยากจน
มายาคติในความหมายของความยากจน ตอนที่ ๓
สามชาย ศรีสันต์ : เขียน
นักศึกษาปริญญาเอกโครงการสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทความวิชาการนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจากผู้เขียน
เป็นการพยายามทำความเข้าใจความหมายของความยากจน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหมายที่ผันแปรไปของคำนี้ในประวัติศาสตร์
ในส่วนตอนที่ ๓ นี้ จะเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมการบริโภค
กับความยากจน ผลสำรวจการบริโภคของชาวชนบทและหนี้สิน
ดังมีการลำดับหัวข้อทำความเข้าใจดังต่อไปนี้
- วัฒนธรรมบริโภค สัญลักษณ์จานด่วนความไม่ยากจน
- มายาคติในความหมายของความยากจน
- ผลการสำรวจการบริโภคของชาวชนบท
- การขยายตัวของการบริโภคและการเกิดขึ้นของหนี้สิน
- หนี้สินไม่ได้ถูกนำมากำหนดนิยามความยากจน
- สรุป และบรรานุกรม (ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย)
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๗๓
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๙.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ประวัติความผันแปรไปของความหมายความยากจน
มายาคติในความหมายของความยากจน ตอนที่ ๓
สามชาย ศรีสันต์ : เขียน
นักศึกษาปริญญาเอกโครงการสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เอกสารเสนอในการสัมนาทางวิชาการ โครงการปริญญาเอกสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการและโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เรื่องกติกาและอำนาจในสังคมไทย เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2550


วัฒนธรรมบริโภค สัญลักษณ์จานด่วนความไม่ยากจน
วัฒนธรรมที่ยอมรับกันทั่วโลก และสามารถปรับเปลี่ยนสถานะจากคนยากจนเป็นคนที่ไม่ยากจนได้ในทันทีที่ยอมรับเข้าไว้ในตัวก็คือ วัฒนธรรมการบริโภคที่เป็นแบบเดียวกันทั้งโลก (global consumption homogenization) ได้เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก กินอาหาร ฟังเพลง แฟชั่นการแต่งกาย ภาพยนตร์ เป็นวัฒนธรรมเดี่ยวภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกัน (global brand) อาหารจานด่วน (fast foods) แม็คโดนัลด์ รองเท้าไนกี้ อาดิดาส เครื่องดื่มโคคาโคล่า ซึ่งได้รับการส่งเสริมการบริโภคด้วยการโฆษณา (Marieke, 2004 ,pp. 3-4)

การบริโภคเป็นเสมือนศาสนจักรที่ยิ่งใหญ่ ที่มีโบสถ์กระจายอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง เป็นโบสถ์ที่เต็มไปด้วยสิ่งมหัศจรรย์ เวทย์มนต์ สร้างความลุ่มหลงและความต้องการได้ไม่มีขีดจำกัด ทั้งในรูปของร้านค้าสะดวกซื้อ (convenience store) ซูเปอร์มาร์เกต ห้างสรรพสินค้า ที่รวมโรงภาพยนตร์ศูนย์อาหารเข้าไว้ด้วยกัน ซูเปอร์สโตร์ (ห้างสรรพสินค้าประเภทขายสินค้าจำนวนมากในราคาถูกกว่า) แมคโคร โลตัส บิ๊กซี ที่กระจายไปทั่วประเทศ ออฟฟิต และ โฮม ดีโป้ (ห้างสรรพสินค้าที่ขายเฉพาะอุปกรณ์สำนักงาน และของตกแต่งบ้าน) ร้านอาหารประเภทเฟนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นเอแอนด์ดับบลิว แดรี่ควีน เคเอฟซี พิซซ่าฮัท เรื่อยไปถึงศูนย์รวมความบันเทิงที่เรียกว่าเอนเตอร์เทนเม้นคอมเพล็ค (entertainment complex) สิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในทุกหนทุกแห่งทั่วโลก โบสถ์เหล่านี้ไม่เพียงเปิดสถานที่แล้วรอให้ลูกค้าเดินเข้ามาหา หากแต่มีการตกแต่งสถานที่ด้วยไฟ แสง สี กระจก ที่น่าตื่นตาตื่นใจ มีการจัดรายการลดราคา รายการชิงโชค ที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล เทคโนโลยีสมัยใหม่อำนวยความสะดวกในการซื้อสินค้า จากเครื่องเบิกเงินอัตโนมัติ (ATM : Automatic Teller Machine) บัตรเครดิต การสั่งซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ทและทางไปรษณีย์ ซึ่งกระตุ้นความต้องการได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด (Ritzer, 2005, pp.6-26, 94 a.)

ปัจจุบันแบบแผนการเข้าถึงการบริโภคเปลี่ยนไป ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้ทุกประเภทในสถานที่จำหน่ายแห่งเดียว และแบบแผนอาจไม่ใช่การเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายอีกต่อไป ประชากรภูมิภาคและท้องถิ่นเป็นแหล่งบริโภคสินค้าขนาดใหญ่ในระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ภายใต้แบบแผนการบริโภคที่เป็นรูปแบบเดียวกัน และผู้ขายที่มีอยู่เพียงไม่กี่ราย ตลาดจึงเป็นตลาดที่ครอบครองด้วยเจ้าของทุนทั้งในระดับสากลและระดับชาติ ความสะดวกสบายของการซื้อ ความตื่นตาตื่นใจ และรวมผู้บริโภคมาไว้ในสถานที่เดียวกัน จึงกลายเป็นการผูกขาดตัดตอน และทำลายผู้ค้ารายย่อย จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุนนิยมจะสร้างปัญหาการกระจายรายได้

การสร้างมาตรฐาน (standardization) การดำเนินชีวิตด้วยการบริโภคสินค้าที่เป็นสากล จากถ้อยคำและภาพในโฆษณา ภาพยนตร์ เพลง หนังสือ ได้ลดทอนวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนลง ปฏิเสธทุกสิ่งที่แตกต่างและไม่สอดคล้อง ทำให้คนมีลักษณะอ่อนน้อมเชื่อฟังและยอมตาม จากการถูกจำกัดทางเลือก เสมือนตอนจบของภาพยนตร์ที่ให้ภาพชัดเจนว่าตอนจบใครจะเป็นอย่างไรระหว่างการได้รับรางวัลหรือถูกลงโทษ หรือไม่มีอะไรเกิดขึ้น เรื่องราวที่สร้างขึ้นเป็นเรื่องที่ตื้นเขินไม่มีรากเหง้า เป็นไปเพื่อการค้าและหวังผลกำไรสูงสุด และทำให้วัฒนธรรมที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานชุดที่สร้างขึ้นกลายเป็นความล้าหลัง ไม่ประสบผลสำเร็จ (Andorno,1971 Cited by Negus, Ed.by Gay, 1997, pp. 74)

ดังที่บัวร์ดิเออ (Bourdieu , 1984) เสนอในงานวิจัยของเขาว่า การบริโภค คือการแลกเปลี่ยนสัญลักษณ์ โดยใช้สัญลักษณ์ทดแทนคุณค่า ซึ่งสร้างให้เกิดความแตกต่างทางชนชั้น จากสินค้าที่แตกต่าง เราไม่ได้ซื้อสินค้าเพียงเพื่อตัวสินค้านั้นตอบสนองต่อเราโดยตัวของมันเอง เช่น ไม่ได้ซื้อรถยนต์เพียงเพื่อเป็นยานพาหนะ แต่เราซื้อคุณค่าที่แฝงอยู่ในตัวสินค้านั้น ซึ่งเป็นเรื่องของสัญญะ (signs) ที่เรารับรู้ความหมาย บัวร์ดิเออแบ่งทุนนออกเป็น 2 ประเภท คือ ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางวัฒนธรรม สินค้าที่ผลิตออกมาแฝงไว้ด้วยทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางเศรษฐกิจคือสิ่งที่เรารับรู้กันทั่วไป เช่น เงิน และรวมถึงเวลาด้วย ขณะที่ทุนทางวัฒนธรรมคือสิ่งที่สะท้อนถึงวิถีชีวิต การปฏิบัติ แบบแผนประเพณี ค่านิยม ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มทางสังคม

การผสมผสานของทุนทั้งสองชนิดในสินค้าที่มีปริมาณมากน้อยต่างกัน ได้สร้างความแตกต่างในตำแหน่งทางสังคม (social position) เช่น ในสังคมฝรั่งเศส ไม่ง่ายนักที่คนจะเปลี่ยนจากการดื่มไวน์แดง, ไปดื่มเบียร์, สปาคกิ้งไวน์, น้ำแร่, และท้ายสุดท้ายที่คอกเทล ซึ่งแสดงถึงความแตกต่างในลักษณะการใช้ชิวิตและสังคมที่คบหาสมาคมด้วย ยิ่งบุคคลบริโภคสินค้าที่ประกอบด้วยทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรมที่สูงเท่าใด ก็ยิ่งแสดงถึงความสูงของตำแหน่งทางสังคมมากเท่านั้น สินค้าต่างๆ จึงแฝงไว้ด้วยนัยของความหมาย ไม่ว่าจะเป็นประเภทของหนังสือพิมพ์ เพลง เสื้อผ้า อาหาร (Bourdieu, 1984, pp. 114-125, 374-396)

สินค้าจึงมีฐานะเป็นสิ่งทดแทนความหมายที่มีอยู่เดิมในวัฒนธรรมของคนจนที่ถูกทำลายลงไป คนยากจนจึงหาสิ่งทดแทนความหมายที่ตนสูญเสียไป โดยแข่งขันเพื่อแสดงให้เห็นว่า ตนมีวิถีชีวิตที่หลุดพ้นไปจากความยากจน ด้วยการหาซื้อสินค้ามาใส่ในร่างกาย และเลียนแบบวิถีชีวิตแบบคนเมือง ซึ่งได้แก่การแบ่งงานกัน โดยงานที่แบ่งให้ผู้อื่นทำนั้นจำเป็นต้องซื้อหาทดแทน และทำงานหนักเพื่อนำไปใช้จ่ายอุปโภคบริโภค สินค้าจึงเป็นวัตถุเสมือนจริง (simulation object) หรือที่ บูริยาร์ด เรียกว่า "simulacra" (Baudrillard, 1998, pp.89-91)

ในสังคมทุนนิยมที่มุ่งสร้างความต้องการให้เกิดการบริโภค สินค้ารูปแบบต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ของความสุข ซึ่งไม่เพียงสนองตอบต่อความต้องการได้เพียงประโยชน์ของการใช้ และมูลค่าของตัวสินค้าซึ่งเกิดจากการแลกเปลี่ยนเท่านั้น หากแต่สินค้าได้สร้างสัญญะที่เป็นสัญลักษณ์สะท้อนเกียรติภูมิ สถานภาพทางสังคม และสนองตอบต่อทางเลือกแบบจัดชั้นสูงต่ำด้วยคุณค่าเชิงสัญญะของสินค้า บุคคลในสังคมบริโภคหากสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผลจากรูปร่างหน้าตา หรือความสามารถ เขาสามารถฟื้นฟู (restore) กลับมาใหม่ได้ด้วยการบริโภคสินค้าเชิงสัญญะ ที่มีมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถฟื้นฟูบุคลิกภาพให้เกิดความแตกต่างในหลากหลายช่วงชั้น หลายสถานะ ตามลำดับชั้นของราคา

แต่แม้ว่าสินค้าจะมีมากมายให้เลือก แต่การยอมรับสินค้าเชิงสัญญะนั้น ไม่ได้สร้างความแตกต่างดังความหลากหลายของสินค้า ทุกคนตกอยู่ภายใต้รหัส (code) ชุดเดียวกัน เป็นรหัสการให้คุณค่าเชิงสัญญะที่สร้างสิ่งเทียมขึ้นทดแทน โดยอ้างความเป็นธรรมชาติ เป็นการสร้างการหน้าที่เทียม (functionalization) เป็นแบบจำลอง ซึ่งไม่ใช่คุณค่าของการใช้งาน (use value) หากแต่เป็นคุณค่าเชิงสัญญะ (sign value) ดังเช่น บ้านจัดสรรที่ปลูกท่ามกลางธรรมชาติ จำลองความเป็นสวนป่าเข้ามาในบริเวณที่พักอาศัย จัดสภาพแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ ในระดับของสัญญะไม่มีสิ่งตรงข้ามกันแบบสัมบูรณ์ ไม่แบ่งแยกสัญญะสำหรับความยากจน หรือร่ำรวย ไม่มีสัญญะของคนจนและคนรวย กล่าวคือเราถูกทำให้สามารถรับรู้สัญญะได้โดยไม่แยกสถานภาพความแตกต่าง แต่สัญญะถูกใส่ลงในตัวสินค้าที่สร้างชั้นความแตกต่างทางสถานภาพ

ภายใต้รหัสของสัญญะ การบริโภคสินค้าถูกทำให้มีการหน้าที่ในอีกแบบที่ต่างไปจากอดีต สินค้าได้สร้างเกียรติภูมิ สถานะทางสังคม เป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับร่วมกัน ภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนทางสัญญะ ที่ถ่ายทอดถึงกันผ่านภาษา ทำให้คนได้รับการขัดเกลาทางสังคม(socialization) รับรู้ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่ยึดโยงกับเกียรติภูมิ เป็นอุดมการณ์ และวัฒนธรรมที่ใช้ควบคุมทางสังคม สร้างระบบที่ทำให้เราซึมซับและมีผลกระทบต่อเราโดยไม่รู้สึกตัว แม้จะเกิดบูรณาการ (integration) ภายใต้รหัสเดียวกัน แต่ก็ไม่เคยจะเท่าเทียมกันในชั้นสูงต่ำของการบริโภค. บูริยาร์ด กล่าวว่า วัฒนธรรม ภาษา ในรูปแบบของการบริโภคนี้ เป็นการครอบงำในระดับลึกที่สุด (Baudrillard, 1998, pp.92-96)

การสร้างรหัสเชิงสัญญะที่บรรจุอยู่ในสินค้า เป็นการให้ความหมาย (signified) ใส่ลงไปในตัวสัญญะ (signifier) ทำตัวสัญญะให้มีการหน้าที่เทียมขึ้นมา เป็นการหน้าที่ซึ่งเทียบได้กับความจริง ในรูปแบบของการเป็นตัวแทน (representative equivalence) ในกรณีนี้จึงการแลกเปลี่ยนเชิงสัญญะที่มีมากกว่าความเป็นจริง หากแต่อยู่เหนือความเป็นจริง เป็นความเหนือที่สร้างขึ้นจากสิ่งเทียมเลียนแบบ เป็นความจริงเสมือน (simulation) (Baudrillard, 1995, pp.55-60) ความจริงเสมือนเป็นการผลิตซ้ำ (reproductions) ของวัตถุ เหตุการณ์ ที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เป็นจริง กับความจริงเสมือน เป็นการจัดระเบียบโดยสร้างช่วงชั้น (hierarchy) ของสัญญะ ลำดับและตำแหน่งทางสังคม โดยใช้ความจริงเสมือนเป็นสิ่งแทนความจริง จากการสร้างสิ่งเทียมเลียนแบบ

ในขั้นตอนแรก (first order) ความจริงเสมือนถูกสร้างขึ้นในฐานะเป็นตัวแทน เป็นตัวแทนของธรรมชาติ ดังเช่น ระบบการเลือกตั้งผู้นำ ซึ่งนำไปสู่การก่อรูปขึ้นของกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ ต่างๆ จากระบบตัวแทน ดังนั้นความจริงเสมือนจึงไม่เพียงเป็นระบบสัญญะแต่เป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจด้วย สัญญะเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันการดำรงอยู่ของอำนาจ เป็นการเมือง และวัฒนธรรม ในลักษณะอำนาจนำ (hegemony)

ในขั้นที่สอง ความจริงเสมือนปรากฏขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ความจริงเสมือนถูกผลิตในลักษณะสินค้ามวลชน (mass product) เป็นรูปร่างที่จับต้องได้ เป็นผลิตภัณฑ์ปลอมแปลง เช่น หุ่นยนต์ เครื่องจักร ที่เข้ามาแทนที่คน และผลิตสินค้าสนองตอบต่อการบริโภค เป็นตัวแทนในเชิงสัญญะที่กระจายไปสู่สังคม

ในขั้นตอนที่สาม สำหรับความจริงเสมือนในปัจจุบันคือขั้นตอนที่สาม ที่ความจริงเสมือนได้กลืนกินความจริง และกลายเป็นตัวแทนได้อย่างสมบูรณ์แบบ เสมือนการฝังลึกลงไปในยีน (gene) การฝังลึกลงไปในยีนนี้ คือการดำรงอยู่ในรูปของภาษาที่ถ่ายทอดถึงกัน ภาษา (รวมถึงสัญลักษณ์) ถูกบรรจุรหัส ที่รับรู้ร่วมกัน แต่เป็นรหัสที่ปลอมแปลง หลอกลวง รหัสที่บรรจุอยู่นี้ถ่ายทอดไปยังโครงสร้างและชีวิตมนุษย์ ในสถาปัตยกรรม ในระบบขนส่ง หนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ล้วนให้ภาพความจริงเสมือนที่บ่งชี้พฤติกรรมคน ภายใต้วัตถุและปรากฏการณ์ที่จับต้องได้ (simulation) การบรรจุรหัสเข้าไปในยีนนี้ ได้คุมขัง เหนี่ยวรั้ง พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลผ่านสื่อต่างๆ ในรูปแบบของแฟชั่น สินค้า รายการโทรทัศน์ คำโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง

ยิ่งไปกว่านั้นในบางกรณีความจริงเสมือน ยังทำหน้าที่ได้เหนือความจริงเป็น "hyperreality" ซึ่งไม่ใช่ความจริง หากแต่เป็นได้มากกว่าความจริง ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ ดีสนีย์แลนด์ (Disneyland) ที่สร้างโลกที่สมบูรณ์แบบของจินตนาการความบันเทิง ความฟุ้งเฟ้อ ทะยานอยากของมนุษย์ได้ เหนือกว่าที่มีอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ความจริงเสมือนในกรณีนี้จึงผลิตซ้ำสิ่งที่มีอยู่เดิมได้อย่างสมบูรณ์และเหนือกว่า ทุกชีวิตในทุนนิยมถูกห่อหุ้มด้วย ความจริงเสมือนที่เหนือความจริง ทั้งทรงผม ฟัน เล็บ เครื่องแต่งกาย

การศึกษาความจริงเสมือนคือการค้นหา รหัสและรูปแบบ ที่ถูกผลิตซ้ำ ในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (social interaction) โดยสะท้อนให้เห็นจากอัตลักษณ์ที่ดำรงอยู่ในชีวิตประจำวัน (kellner, 1991, pp.76-84) วันนี้คนยากจนที่หมายรวมถึงคนรากหญ้าได้รับเอาสินค้าในระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์เข้ามาไว้ในตัว สินค้าเหล่านี้ผลิตความจริงเหนือจริง เป็นความจริงที่สังคมยอมรับว่าเขาได้พ้นจากความยากจน เพราะสังคมมอบคุณค่าให้กับสินค้าในฐานะที่เป็นสิ่งแทนการมีรายได้ ยิ่งสินค้าดูดีมีราคาก็ยิ่งแสดงถึงสถานะทางเศรษฐกิจ และสะท้อนวิถีชีวิตของคนที่มีคุณค่า มีความสามารถ มีรสนิยม มีความทันสมัย สลัดตัวตนความยากจนในอดีตออกไป ทั้งยังให้พ้นไปจากการถูกกีดกันจัดประเภท สินค้าจึงช่วยสร้างคุณค่าให้กับผู้ครอบครอง

การมีบ้านที่ก่อด้วยอิฐในรูปทรงสมัยใหม่แบบคนเมือง รถ"ปิคอัพ" จักรยานยนต์ โทรศัพท์มือถือ และการบริโภคที่เลียนแบบวิถีชีวิตของคนเมือง ทำให้พ้นสภาวะความยากจนทางสังคม และความยากจนทางเศรษฐกิจในการรับรู้ของสังคมได้อย่างรวดเร็ว เห็นผลทันทีที่ซื้อสินค้ามาใช้ ความยากจนจึงผันแปรความหมายไปสู่การบริโภค จับจ่ายใช้สอย และมีทรัพย์สินเครื่องอำนวยความสะดวกในครอบครอง ซึ่งทดแทนได้ทั้งมิติของรายได้ ลักษณะของบุคคลที่พึงประสงค์ และความยากจนทางสังคม รวมทั้งสามารถผลิตซ้ำและสืบทอดไปสู่ลูกหลานได้ไม่ต่างไปจากการสืบทอดวัฒนธรรมแห่งความยากจน

มายาคติในความหมายของความยากจน
ในยุคปัจจุบันความยากจนสามารถอยู่ร่วมกับความร่ำรวยได้ มีการประสานประโยชน์เศรษฐกิจเบื้องบนกับเศรษฐกิจรากหญ้า เป็นยุคของการบูรณาการความคิด ที่ให้ความสำคัญกับคนในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา กระบวนการทำงานพัฒนาพยายามสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างคนยากจนในชนบทกับนักพัฒนา รัฐกับชาวบ้านที่ประสานผลประโยชน์กันได้อย่างลงตัว ระหว่างงบประมาณแก้ปัญหาความยากจนกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการยอมตามเงื่อนไขที่ผู้นำงบประมาณไปให้กำหนด ในฐานะที่เป็นกฎเกณฑ์ของโครงการพัฒนา

ความหมายของความยากจน จึงไม่ใช่ความหมายที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมาที่จำกัดอยู่แต่เรื่องรายได้อีกต่อไป หากแต่ได้ถูกบิดพลิ้วความหมายเดิมไป และคนยากจนไม่ใช่ผู้ที่จะถูกกีดกันออกไปจากระบบเศรษฐกิจในสายตาของรัฐ หากแต่ถูกเหมารวมเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ เป็นตลาดและแหล่งบริโภคที่มีพลัง เป็นพลังที่สร้างสรรค์ให้เกิดกระบวนการผลิตที่เศรษฐกิจเบื้องบนจะผลิตสินค้าส่งมาจำหน่าย พลังการบริโภคเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการปรับโครงสร้างการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หากแต่เป็นการส่งผ่านเม็ดเงินลงไปสู่โครงสร้างเดิม ในรูปแบบของเงินกู้ และการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือเรื่องการปลดเปลื้องภาวะหนี้สิน

ในระหว่างปี 2536 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน (2550) ได้เกิดกองทุนให้กู้ยืมเงินแก่คนยากจน และคนรากหญ้าจำนวนมาก อาทิเช่น (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2545, 3-49 - 3-64)

- กองทุนให้กู้ยืมทางการศึกษา ก่อตั้งเมื่อ 16 มกราคม 2539 มีผลบังคับใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2541 เป็นทุนให้แก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งสายสามัญและสายอาชีพจนถึงระดับปริญญาตรี กู้ยืมเพื่อเป็นค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา

- กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 กองทุนนี้เปิดโอกาสให้เกษตรกรที่ขาดปัจจัยในการประกอบอาชีพรวมตัวกันเป็นองค์กรเกษตรกร เพื่อจัดทำแผน โครงการขอการสนับสนุนจากกองทุน

- กองทุนหมุนเวียนส่งเสริมอาชีพสตรี จัดตั้งขึ้นในปีงบประมาณ 2539 เพื่อสนับสนุนสตรีผู้ผ่านการฝึกอบรมอาชีพจากกรมประชาสงเคราะห์ รวมกลุ่มประกอบอาชีพในท้องถิ่น โดยกู้ให้กู้ยืมแบบไม่มีดอกเบี้ยรายละไม่เกิน 15,000 บาท ผ่อนชำระคืนภายใน 2 ปี

- กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นกองทุนที่รัฐบาลจัดสรรเงินทุนให้หมู่บ้านทุกหมู่บ้านกู้ยืมหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยนำเงินไปลงทุนเพื่อสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และลดรายจ่าย ในปี 2545 มีการเบิกจ่ายเงินกู้ไปแล้ว 48,319 ล้านบาท

- เงินโครงการแก้ปัญหาความยากจน (กข.คจ.) เกิดขึ้นตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 และดำเนินการต่อเนื่องมานับแต่ปี 2536-2540 กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ เน้นจัดสรรเงินให้ให้ครัวเรือนในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 เพื่อยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ด้วยการสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพให้หมู่บ้านละ 280,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย ต่อมาได้ขยายเวลาดำเนินโครงการในระยะที่ 2 พ.ศ.2541-2544 โดยดำเนินการในหมู่บ้านที่มีครัวเรือนยากจนมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 15,000 บาท/คน/ปี

ตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน จากเอกสารงบประมาณประจำปี 2551 (จัดทำขึ้นในปี 2550) ระบุว่าในปีงบประมาณ 2550 มีกองทุนและเงินทุนหมุนเวียนอยู่ทั้งสิ้น 24 กองทุน ในจำนวนนี้มีเงินกองทุนที่ให้กู้ยืมเงินที่มีผลต่อคนคนรากหญ้า อยู่ 6 กองทุน ที่รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณไว้ ได้แก่

- กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1.3 หมื่นล้าน
- กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 3.1 หมื่นล้าน
- กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต 4.4 พันล้าน (ไม่มีการตั้งงบประมาณในงบประมาณ 2551)
- กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร 2.5 พันล้าน
- กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
- กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3 พันล้าน

การแก้ปัญหาความยากจนในปัจจุบัน มุ่งไปที่การเปิดโอกาสในทางโครงสร้างให้คนยากจนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ที่จะนำไปสร้างงานเพิ่มรายได้ ซึ่งเรียกว่า โครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม (social safety net) อันประกอบไปด้วย การกระจายเงินลงไปสู่คนยากจนโดยตรง (direct cash transfer) การเปิดโอกาสให้เข้าถึงบริการทางสังคมโดยเฉพาะด้านบริการสาธารณสุข และการศึกษา รวมทั้งการทำให้คนยากจนเข้าถึงทรัพยากรด้านการเงินในรูปของสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ จากสถาบันการเงินขนาดเล็กที่กู้ง่ายและมีเงื่อนไขเหมาะสมกับคนยากจน (micro finance) สิ่งที่เรียกว่าโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม ที่ธนาคารโลกระบุว่า เป็นแนวทางแก้ปัญหาความยากจนนี้ ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางจนกระทั่งปัจจุบัน แม้ว่าผลการดำเนินงานกองทุนให้กู้ยืมต่างๆ จะปรากฏว่า เม็ดเงินที่กระจายลงไปในรูปของเงินกู้ได้ถูกนำมาจับจ่ายใช้สอยเครื่องอำนวยความสะดวก

จากรายงานการประเมินนโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าและหลักประกันสังคม ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่า ในปี 2545 เงินกองทุนหมู่บ้านส่วนใหญ่ร้อยละ 60.4 ใช้ในการลงทุนในอาชีพเดิม แต่การลงทุนในอาชีพเดิมดังกล่าวก็มิได้นำไปลงทุนจริงแต่อย่างใด หากแต่ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนถึงร้อยละ 65.3 (ไม่น่าจะถือว่าเป็นเงินลงทุนในการประกอบอาชีพได้). ในปี 2546 ก็เช่นกันสมาชิกกองทุนหมู่บ้านนำเงินไปใช้ลงทุนในการประกอบอาชีพเดิม 56.4 โดยเป็นเงินทุนหมุนเวียนถึง 83.1 การใช้จ่ายในลำดับรองลงมา คือการนำเงินไปใช้บริโภคในครัวเรือน ในปี 2545 ร้อยละ 17.1 ปี 2546 ร้อยละ 20

การนำเงินไปจับจ่ายใช้สอยนี้ เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ทั้งนี้เป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการกู้ยืมโดยมิได้เกิดจากงานอาชีพ เงินที่รัฐบาลกระจายลงไปสู่รากหญ้าช่วยสร้างแหล่งเงินกู้ใหม่เป็นทางเลือกที่หลากหลายเพิ่มขึ้น มากกว่าจะเป็นเงินลงทุนในการประกอบอาชีพ กล่าวคือ เงินทุนที่ได้จากกองทุนหมู่บ้านได้ถูกนำไปใช้ในการใช้หนี้สินอื่นๆ ร้อยละ 11.2 ในปี 2545 และร้อยละ 13.1 ในปี 2546 สำหรับเหตุผลที่สมาชิกกองทุนหมู่บ้านนำเงินไปใช้ประกอบชีพใหม่ในสัดส่วนที่ต่ำ มีเหตุผลเนื่องจากไม่มั่นใจว่า จะสามารถสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้นและจะมีตลาดรองรับการประกอบอาชีพใหม่ เพราะข้อจำกัดในเรื่องวงเงินกู้ไม่เกินรายละ 20,000 บาท นอกจากนั้นระยะเวลาการชำระหนี้เงินกู้ที่ต้องชำระคืนภายใน 1 ปี ทำให้ไม่สามารถนำไปลงทุนสร้างรายได้เพิ่มได้ทันกับการครบงวดการชำระหนี้ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2547 น.2-17, 3-12)

ตัวเลขที่ช่วยยืนยันถึงการนำเงินลงไปสู่ระดับรากหญ้าช่วยกระตุ้นการบริโภค มากกว่าจะสร้างรายได้ให้แก่คนจนก็คือ การบริโภคของครัวเรือนทั่วประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 พร้อมไปกับภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ในปี 2547 เมื่อเทียบกับปี 2545 โดยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 16.3 คือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะ และการสื่อสาร (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2548, น. 2-3)

ผลการสำรวจการบริโภคของชาวชนบท
ผลการสำรวจการบริโภคของชาวชนบทโดยบริษัทโอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ ซึ่งเป็นบริษัทโฆษณาเอกชนที่มีชื่อเสียงทำการสำรวจ "ผู้บริโภคชาวไทยในชนบท" ในปี 2546 จากการศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชนบทในหมู่บ้านที่ห่างจากตัวจังหวัด 60 - 100 กิโลเมตร เป็นจำนวน 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือที่จังหวัดน่าน, ภาคกลางที่จังหวัดสุพรรณบุรี, ภาคอีสานที่สกลนคร, และภาคใต้ที่พัทลุง รวม 60 หมู่บ้าน โดยได้สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 420 ราย สัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว ในระหว่างวันที่ 5-28 กุมภาพันธ์ 2546 จากผลวิจัยพบว่า ปัจจุบันครอบครัวในชนบทมีขนาดเล็กลง แต่ส่วนใหญ่มีกำลังการซื้อเพิ่มมากขึ้น มีความเป็นอยู่ทันสมัยและสบายขึ้น ชาวชนบทใช้อุปกรณ์พื้นฐานในชีวิตประจำวันโดยมีการครอบครองโทรทัศน์มากที่สุดถึง 99 % ตู้เย็น 91 % หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 88 % เตาแก๊ส 86 % รถจักรยาน 72 % นอกจากนี้ยังพบอีกว่าบ้านที่มีรายได้ครอบครัวสูงกว่า 10,000 บาทจะมีอุปกรณ์ประเภทเครื่องเล่นวีซีดี 73% เครื่องซักผ้า 59% ชุดร้องคาราโอเกะ 43% เครื่องเล่นวีดีโอ 44% โดยส่วนใหญ่มาจากการผ่อนชำระจากกลยุทธ์ดอกเบี้ย 0%

นอกจากนั้นยังระบุด้วยว่า เกือบทุกครอบครัวมีปัญหาหนี้สิ้นถึงร้อยละ 75 ของครัวเรือนที่สำรวจ และมีแนวโน้มที่จะพอกพูนตลอดเวลา เนื่องจากการขาดเงินหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ และปัญหาภัยธรรมชาติ ซึ่งชาวชนบทส่วนมากเป็นลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรถึง 47 % ตามด้วยกองทุนหมู่บ้าน 35% และสหกรณ์หมู่บ้าน 23% ทั้งนี้จากผลสำรวจพบว่า แต่ละครัวเรือนจะมีหนี้สินโดยเฉลี่ย 77,862 บาท ซึ่งสัดส่วนของการเป็นหนี้สินจะสัมพันธ์กับรายได้ กล่าวคือ ผู้มีรายได้น้อยจะมีจำนวนหนี้สินน้อยกว่าผู้มีรายได้สูง

ขณะที่ด้านการการติดต่อสื่อสารพบว่าในปัจจุบันมีเพียงส่วนน้อยของบ้านในชนบทที่มีโทรศัพท์พื้นฐานใช้คือมีเพียง 15 % ส่วนใหญ่จะนิยมใช้โทรศัพท์มือถือถึง 49 % โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง 67 % 2 เครื่อง 25 % ในขณะที่ภาคกลางบางครอบครัวมีการใช้โทรศัพท์มือถือถึง 6 เครื่องต่อครัวเรือน ส่วนอีก 3 ภาคเฉลี่ยประมาณ 3 เครื่องต่อครัวเรือน ในจำนวนนี้ 55 % เป็นผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์พื้นฐานใช้ในปัจจุบัน

สำหรับเหตุผลที่คนชนบทนิยมใช้มีโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากเสียค่าธรรมเนียมน้อยกว่าการมีโทรศัพท์บ้าน ขณะที่ระบบที่ใช้มากที่สุดคือจีเอสเอ็ม 82% ตามด้วยดีแทค16% และออเรนจ์ 1% กิจกรรมยามว่างที่ชาวชนบทส่วนใหญ่ทำคือการดูโทรทัศน์และนั่งคุยกับเพื่อน ซึ่งพฤติกรรมการนั่งคุยกับเพื่อนนั้นธุรกิจขายตรงสามารถใช้เป็นช่องทางการดำเนินธุรกิจได้ โดยพบว่า แอม์เวย์ ได้ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวประสบความสำเร็จมาแล้ว

นอกจากนี้ผู้บริโภคในชนบทหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ส่วนตัว และผลิตภัณฑ์ที่เคยมองว่าเป็นของใช้ฟุ่มเฟือยเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าเป็นโลชั่นทาผิวกาย 70% ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย 61% ครีมบำรุงผิวหน้า 55% น้ำยาปรับผ้านุ่ม 62% และน้ำยารีดผ้าเรียบ 40% ส่วนใหญ่กลุ่มผู้บริโภคสินค้าเหล่านี้จะมีรายได้ครอบครัวสูงเกินกว่า 10,000 บาทต่อเดือน และในอนาคตมีแนวโน้มว่าการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีมากขึ้น

ร้านขายของชำ (โชห่วย) ยังเป็นแหล่งซื้อสินค้ายอดนิยม สำหรับแหล่งที่จับจ่ายซื้อสินค้าที่คนชนบทของทุกภาคส่วนใหญ่ระบุว่าไปใช้บริการในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา คือร้านขายของชำใกล้บ้านมากที่สุด รองลงมาคือตลาดนัดและตลาดสด และรถขายของในหมู่บ้าน และซูเปอร์มาร์เก็ตของห้างสรรพสินค้าในเมือง ตามลำดับ ขณะที่ชนบทจำนวนไม่มากนักที่ไปซื้อของจากไฮเปอร์มาร์เก็ต เช่น โลตัส บิ๊กซี คาร์ฟูร์ แม็คโคร เพียง 14 % ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรายได้สูง ขณะที่การไปไฮเปอร์มาร์เก็ตเป็นกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจของครอบครัวมากกว่าที่จะไปซื้อสินค้า กิจกรรมส่งเสริมการขายที่ชาวชนบทของทุกภาคชอบซื้อคือสินค้าที่ลดราคามากที่สุดถึง 60 % ตามด้วยการซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง 48 % โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่และยาสีฟัน รายการซื้อ 3 ชิ้นในราคา 2 ชิ้น มี 31 % ส่วนประเภทที่ไม่ได้รับความสนใจคือ การสะสมชิ้นส่วนรางวัล

สำหรับพฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนชนบทดูโทรทัศน์เป็นหลัก 84% ฟังวิทยุน้อยลง โดยดูโทรทัศน์ช่อง 3 มากสุด 90% นอกจากนี้คนชนบทส่วนใหญ่ไม่อ่านนิตยสารและหนังสือพิมพ์ ในกลุ่มที่อ่านหนังสือพิมพ์บ้างจะอ่านจากหมู่บ้านหรือร้านค้าไม่ได้ซื้อเอง โดยหนังสือพิมพ์ที่อ่านมากสุดคือ ไทยรัฐ 30% ตามด้วยเดลินิวส์ 16% (บริษัทโอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ อ้างใน Marketeer, พ.ย. 2546, น.179-184)

การขยายตัวของการบริโภคและการเกิดขึ้นของหนี้สิน
การขยายตัวของการบริโภคและการเกิดขึ้นของหนี้สินเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงผลอันเกิดจากนโยบายแก้ปัญหาความยากจน ที่มุ่งกระจายทุนเพื่อสร้างรายได้ แต่เกิดผลในทางที่เพิ่มรายจ่ายและหนี้สินแทน สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจ (2550) พบว่าในปี 2549 ครัวเรือนไทยที่เป็นหนี้มีอยู่ร้อยละ 64.4 จากครัวเรือนที่มีทั้งหมดของประเทศ โดยมีหนี้เฉลี่ยครัวเรือนละ 116,585 บาท ขณะที่มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 17,787 บาท เงินที่ได้มาจากการเป็นหนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการซื้อบ้านและที่ดินร้อยละ 33.7 รองลงมาคือใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคร้อยละ 27.6 การใช้จ่ายยังพบแนวโน้มการถือครองทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น ได้แก่รถยนต์ รถปิคอัพ รถจักรยานยนต์ ในกลุ่มครัวเรือนที่เป็นหนี้ อย่างไรก็ตามจำนวนเงินที่เป็นหนี้นั้นขึ้นอยู่กับรายได้ กล่าวคือรายได้สูงยิ่งเป็นหนี้มาก และรายได้ต่ำเป็นหนี้ในวงเงินที่ต่ำลงตามรายได้

หนี้สินเกษตรกรก็เช่นเดียวกัน จากการทำสัมมโนประชากรเกษตร ในปี 2546 พบว่า หนี้สินทางการเกษตรเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นในทุกภาค ในจำนวนครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมดมีร้อยละ 60.4 ของครัวเรือนเกษตรที่ตกอยู่ในภาวะเป็นหนี้ เทียบกับปี 2541 ที่มีอยู่ร้อยละ 54.9 ขณะที่วงเงินที่เป็นหนี้เฉลี่ย 68,767 บาท, ต่างจากปี 2536 ที่มีวงเงินเป็นหนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 34,859 บาท โดยแหล่งเงินกู้ที่สำคัญคือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์, กองทุนหมู่บ้าน, และกู้เงินนอกระบบ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, ออนไลน์, 2546)

หนี้สินไม่ได้ถูกนำมากำหนดนิยามความยากจน
เหล่านี้คือข้อมูลที่สะท้อนภาพมายาคติความยากจน แม้ว่าการวัดตัวเลขคนยากจนด้วยรายได้ที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่หนี้สินไม่ได้ถูกนำมาพิจารณาคำนวณหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนิยามความยากจนในสายตาของรัฐ ในทางตรงข้ามหนี้และการบริโภคกลับแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังที่ธนาคารแห่งประเทศไทยวิเคราะห์การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้เป็นหนี้ว่า เป็นเพราะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2550, ออนไลน์)

แม้ว่าในการเปิดให้มาลงทะเบียนคนยากจน จะมีคนยากจนที่มีปัญหาหนี้สินอยู่ถึง 5 ล้านคน มีมูลค่าหนี้ 6.9 แสนล้านบาท แต่การแก้ไขปัญหาหนี้สินไม่ได้เป็นไปเพื่อยับยั้งหรือปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่ หากแต่เป็นการปรับโครงสร้างหนี้ และปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้นำเงินไปชำระหนี้เก่า ภายหลังการดำเนินการแก้ปัญหาหนี้สินจากการลงทะเบียนคนยากจนที่ประเมินโดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2549) พบว่า ในจำนวนผู้ที่มาลงทะเบียนยากจนและเข้าโครงการแก้ปัญหาหนี้สินมีเพียงร้อยละ 17.4 เท่านั้นที่มีจำนวนหนี้สินลดลง ที่เหลือยังคงมีหนี้เท่าเดิมและมีบางส่วนมีหนี้เพิ่มขึ้น หนี้จึงเป็นเครื่องร้อยรัดพันธนาการในรูปแบบใหม่ที่มาพร้อมกับการหยิบยื่นความปรารถนาดี ช่วยเหลือและฟื้นฟู แต่การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับคนยากจน กลับกลายเป็นการช่วยเหลือสถาบันการเงินให้สามารถบริหารหนี้ที่กำลังจะกลายเป็นหนี้เสียให้กลับมาเป็นรายได้อีกครั้ง

การกระจายเงินลงสู่รากหญ้าทำให้สถาบันการเงินมีลูกค้าเพิ่มขึ้น และปล่อยกู้ได้สะดวกใจมากกว่าใช้เงินของตนเองมาปล่อยกู้ ขณะเดียวกันก็ทำให้คนยากจนตกอยู่ในฐานะลูกหนี้อยู่ต่อไป โดยเป็นหนี้สถาบันการเงิน และหนี้ทางสังคมที่มีต่อรัฐบาลผู้เมตตาช่วยเหลือ หนี้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนพ้นจากความยากจน

เมื่อเงินที่เป็นหนี้เหล่านี้ถูกนำมาใช้บริโภคสัญญะ ขณะที่รัฐบาลเรียกหนี้สินที่ส่งผ่านไปยังประชาชนว่าเป็นการกระจายทุนไปสู่รากหญ้าเพื่อสร้างรายได้ ขจัดความยากจน มายาคติความยากจนไม่เพียงทำให้คนยอมเป็นคนยากจนได้ แต่ยังสร้างเครื่องมือกำกับควบคุม จัดระเบียบ และเฝ้าติดตามในทุกย่างก้าวของการดำเนินชีวิต ภายใต้นโยบายประกาศสงคราม, แก้ปัญหา, ขจัด, ความยากจน

หนี้สินของคนยากจนเป็นทั้งปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาได้ในเวลาเดียวกัน เป็นสิ่งที่สร้างความพึงพอใจให้ทั้งในระดับรัฐ และระดับครัวเรือน เพราะการเป็นหนี้คือวิธีการที่ทำให้พ้นจากความยากจนได้เร็วที่สุด เพราะหนี้สนองตอบต่อความหมายของความยากจนในมิติของรายรับ ที่สามารถนำมาจับจ่ายใช้สอยให้พ้นจากความยากจนได้ในทันที โดยไม่ต้องรอผลผลิต ขณะเดียวกันก็ช่วยกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการบริโภค อันเป็นเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลทุนนิยมปรารถนา ทั้งยังเป็นหลักประกันว่าคนยากจนเหล่านี้ต้องแสวงหารายได้เพื่อมาชดใช้หนี้ การนำเงินรายรับจากการเป็นหนี้มาจับจ่ายซื้อสินค้ายังช่วยกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อันเป็นเป้าหมายของการพัฒนาประเทศด้วย

ผลิตผลที่มายาคติของความยากจนผลิตขึ้น ที่มีนัยของความหมายสามประการคือ

ประการแรก การบริโภคแสดงว่าผู้บริโภคมีเงิน ซึ่งยิ่งบริโภคมากในด้านปริมาณและมูลค่า ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะที่พ้นไปจากความยากจนเพราะมีรายรับพอเพียง

ประการที่สอง คือไม่จนทางสังคม เพราะสามารถหลุดพ้นจากลักษณะไม่พึงประสงค์ในวัฒนธรรมความยากจนอันน่ารังเกียจได้ กล่าวคือเป็นมนุษย์ที่สามารถผลิตสร้างรายได้และหาเงินมาบริโภคได้ และ

ประการที่สาม ขยายขอบเขตคนยากจนออกไปให้กว้างขวางครอบคลุมยิ่งขึ้น ภายใต้การถูกจัดระเบียบ กำกับควบคุมให้อยู่ในการดูแลและสังกัดของรัฐ ในฐานะลูกหนี้ของรัฐ ที่รัฐอาจเมตตาช่วยเหลือปลดเปลื้อง ปรับโครงสร้าง ผ่อนปรนให้ ภายใต้นโยบายขจัดความยากจนทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่จะมีขึ้น

อีกทั้งในระยะยาว คนยากจนเหล่านี้ยังตกอยู่ในพันธนาการแห่งหนี้ที่เป็นหลักประกันได้ว่า เขาเหล่านี้จะต้องทำงานหนักและไม่ยอมปล่อยให้มีเวลาว่าง เพื่อหารายได้มาทดแทนและหมุนเวียนใช้หนี้เก่าและกู้หนี้ใหม่ อันเป็นคุณลักษณะของคนที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าในระบบทุนนิยม

สรุป

1. เมื่อรัฐบาลพูดถึงคนยากจนและการแก้ปัญหาความยากจน ความหมายที่แฝงอยู่ก็คือการพูดถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่เน้นการขยับขับเคลื่อนในกลุ่มคนยากจนนั่นเอง

2. เมื่อเข้าสู่กระบวนการนิยามแล้ว คนยากจนจะถูกโครงสร้างการผลิตห่อหุ้มร้อยรัดไว้ เขาจะเป็นแรงงานที่เชื่อง ซื่อ และถูกควบคุมพฤติกรรมให้เป็นแบบสินค้าบนสายพานการผลิต เป็นพฤติกรรมทั้งหมดตั้งแต่เกิดจนชรา โดยทำงานเพื่อชดใช้หนี้ และนำเงินมาแสวงหาสัญญะมาใส่ในตัวเพื่อพ้นจากความยากจน

3. ความยากจนจะไม่หมดไป เพราะความยากจนคือ วิถีชีวิตที่ความแตกต่างไปจากตัวแบบของสังคมทันสมัย ยิ่งสังคมเปลี่ยนไปโดยอีกสังคมตามไม่ทันมากเท่าใด ความยากจนจะเพิ่มสูงขึ้น เสมือนเป็นการเกมส์วิ่งไล่ตามจับความผันแปรไปของโลก โดยมีตะวันตกเป็นตัวแบบ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายไม่เคยตามทันตลอดเวลา

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


เอกสารอ้างอิง

ภาษาอังกฤษ

Barthes, Roland. "Myth Today". In Semiotics IV. Pp. 3-36. Edited by Gottdiener, Mark;
Boklund-Lagopoulou, Karin; Lagopoulos, Alexandros Ph. London: SAGE Publication Inc, 2003.

Baudrillard, Jean, Symbolic Exchange and Death. translated by Iain Hamilton London: Sage
Publications, 1995.

Baudrillard, Jean. The Consumer Society Myths and Structures. London: SAGE Publication, 1998.

Boltvinik, Julio. Poverty Measurement Methods-An Overview. <http://www.undp.org>, 2000.

Bourdieu, Pierre. Distinction A Social Critique of the Judgement of Taste. Translated by
Nice, Richard. London : Routledge & Kegan Paul, 1984.

Deleuze, Gilles and Guattari, Felix. A thousand plateaus capitalism and schizophrenia.
Seventh Printing. Translated by Massumi, Brian. Minneapolis: University of Minnesota Press, 1998.

Dollar, David and Kraay, Aart . Growth is Good for the Poor.
<http://www.worldbank.org/research/ growth/pdfiles/growthgoodforpoor.pdf>, 2001.

Dollar, David and Kraay, Aart. Trade, Growth, and Poverty.
<http://www.worldbank.org/research/growth/pdfiles/Trade5.pdf>, 2001.

Hazlitt, Henry. The Conquest of Poverty. NewYork: New Rochell NY, 1973.

Feagin and Feagin. Social Problem: a critical power-conflict perspective. 5th ed., Prentice Hall, 1997.

Haralambos,M. and Hoiborn, M. Sociology : Themes and Perspective. London: Unwin Hyman Limited, 1990.

Kellner, Douglas, Jean Baudrillard from Marism to Postmodernism and Beyond, Oxford:
Blackwell Publishers Ltd, 1991.

Kerbo, R. Harold. Social Stratification and Inequality Class Conflict in Histiorical
Comparative and Global Perspective. Boston: Mc Graw-Hill Company, Inc., 2000.

Marieke, De Mooij. Consumer Behavior and Culture. California: Sage Publication, Inc., 2004.

Mooney, Gerry; Ferguson, Iain and Lavalette, Michael. Rethinking welfare : a critical perspective
London : Sage, 2002.

Negus, Keith. "The Production of Culture" In Production of Culture/ Cultures of Production Edited by
Gay, Du Paul. Pp. 67-118. London: SAGE Publication, 1997.

Ritzer, George. Enchanting a Disenchanted World. 2nd ed. California: A Sage Publications Company, 2005.

Saussure, Ferdinand de. Course in general linguistics edited by Charles Bally
and Albert Reidlinger. New York : McGraw-Hill, 1959.

Sen, Amartya. "Equality of What ?" Edited by Goodin, E. Robert and Pettit, Philip
Contemporary Political Philosophy. Oxford: Blackwell Published. 1997.

Storey, Andy. "The World Bank, neo-liberalism, and power: discourse analysis and implications of
campaigners". In Development in Practice, Volume10, Numbers3 & 4, August 2000.

The World Bank, Poverty: World Development Report, Washington, D.C., 1990.

The World Bank. Globalization Growth, and Poverty. New York: Oxford University Press., 2002.

The World bank. World Development Report 2004 <http://www.econ.worldbank.org/wdr/wdr2004/> 2004.

The World bank. World Development Indicator 2005 <http://devdata.worldbank.org/wdi2005/index2.htm.>
2005.

The World bank. Social Safety Net <http://www.worldbank.org/wbi/socialsafetynets> 2007

United Nation Development Progrmme. Human Development Report 1990. < http://www.hdr.undp.org/>
United Nations Development Programme. Human Development Report 2005
New York: Hoechstetter Printing Co. <http://www.hdr.undp.org/> 2005

ภาษาไทย
กรมการปกครอง. สรุปประเด็นมอบนโยบายแนวทางดำเนินการแก้ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการโดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี <http://www.khonthai.com/poverty/taksin.htm> 2546

โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์. นโยบายการเกษตรกับความเป็นประเทศอุตสาหกรรม. กรุงเทพ: สถาบันนโยบายศึกษา สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2534.

ทัศนัย มุขวิชิต และอัจฉรา ภาติกะวัยวัฒน์ "อิทธิพลของโทรทัศน์ที่มีต่อหมู่บ้านยากจน" หน้า.145-154 ใน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 10 ปีชนบทไทย, 2530

ธนาคารโลก ยุทธศาสตร์เพื่อฟื้นฟูการพัฒนาชนบทของประเทศไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ อำไพ หรคุณารักษ์ แปล, 2543.

บริษัทโอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์. "ผู้บริโภคชาวไทยในชนบท" ใน Marketteer, ปีที่ 4 ฉบับที่ 15 พฤศิจกายน 2546

บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ. โครงการเงินกู้ต่างประเทศกับวิกฤติแรงงานไทย. กรุงเทพ: บัวหลวงการพิมพ์, 2544.

ปาริชาติ ลอตระกูล. "แผนพัฒนาชนบทในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6."
ใน 10 ปีชนบทไทย หน้า 52-61. จัดพิมพ์โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2530

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ "คำให้สัมภาษณ์ของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต่อผู้แทนสื่อมวลชน" ใน 10 ปีชนบทไทย หน้า 1-11. จัดพิมพ์โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2530

เมธี ครองแก้ว และคณะ. โครงการสร้างงานในชนบทของรัฐบาล กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2524.

ศูนย์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท กรมการพัฒนาชุมชน. ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานปี 2550. < http://202.8.85.199/bmn/> 2550.

ศูนย์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท กรมการพัฒนาชุมชน. ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้านปี 2550. < http://202.8.85.199/bmn/> 2550.ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รายงานสรุปโครงการติดตามประเมินผลการแก้ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ, <http://poverty.nesdb.go.th/poverty_new/Centre/index.htm> 2549

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. นโยบายลดความยากจนของรัฐ: อดีตและปัจจุบัน,
<http://www.tdri.or.th/poverty/report2.htm> 2550

สมชาย กรุสวนสมบัติ และจินตนา ศรีตงกุล, "กชช. : องค์กรเพื่อการพัฒนาชนบท" ใน 10 ปีชนบทไทย หน้า 31-41. จัดพิมพ์โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2530

สมภพ มานะรังสรรค์. พัฒนาการของภาคเกษตรและผลกระทบต่อชาวไร่ชาวนาไทยในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่2-พ.ศ.2536. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545

สำนักงบประมาณ. งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551, 2550

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน, 2545

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการประเมินนโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าและหลักประกันสังคม ปี 2546, 2547

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) <http://www.nesdb.go.th/plan/data/plan1_1/menu.html>

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2510-2514)
<http://www.nesdb.go.th/plan/data/plan2/content_page.html>

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2515-2519)
<http://www.nesdb.go.th/plan/data/plan3/content_page.html>

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524)
<http://www.nesdb.go.th/plan/data/plan4/content_page.html>

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529)
<http://www.nesdb.go.th/plan/data/plan5/content_page.html>

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534)
<http://www.nesdb.go.th/plan/data/plan6/content_page.html>

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539)
<http://www.nesdb.go.th/plan/data/plan7/content_page.html>

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544)
<http://www.nesdb.go.th/plan/data/plan8/content_page.html >

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)
<http://www.nesdb.go.th/plan/data/plan9/content_page.html>

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2547, 2547

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. "สำนักงานสถิติแห่งชาติแถลงผลการสำรวจรายได้ ค่าใช้จ่ายและหนี้สินของครัวเรือน พ.ศ.2549." ในข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานสถิติแห่งชาติ, เมษายน 2550

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. หนี้ครัวเรือน, <http://www.nso.go.th>

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลเบื้องต้น สำมะโนเกษตร พ.ศ. 2546, <http://www.nso.go.th> 2546

สำนักนายกรัฐมนตรี. คำแถลงนโยบาย ของคณะรัฐมนตรีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547, <http://www.thaigov.go.th> 2547.

สำนักนายกรัฐมนตรี. คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อ รัฐสภา วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2548, <http://www.thaigov.go.th>, 2548.


สำนักนายกรัฐมนตรี. คำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในพิธีเปิดอบรมหลักสูตรนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี อันเนื่องมาจากการริเริ่มนโยบายสาธารณะที่สำคัญของรัฐบาล" <http://www.thaigov.go.th> 2547ก.

สำนักนายกรัฐมนตรี. มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด
<http://www.thaigov.go.th>, 2550.

 

คลิกกลับไปทบทวนตอนที่ ๑

สำหรับผู้สนใจเรื่องเกี่ยวกับปัญหาคนจน สามารถคลิกไปดูหัวข้อเพิ่มเติมได้ที่
Poor, Poverty (ดูคำว่า people และ Grass roots ประกอบ)



คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การวัดความยากจนโดยธนาคารโลก
การวัดความยากจนจากตัวเลขรายได้ที่เรียกว่าเส้นความยากจน (poverty line) ได้รับการส่งเสริมอย่างแข็งขันจากธนาคารโลก โดยระบุว่ามาตรฐานของการดำรงชีวิตอยู่สามารถวัดได้จากการมีรายได้ในระดับครัวเรือน และนำรายได้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายที่เพียงพอ การครอบครองเป็นเจ้าของสินค้ามีความสำคัญอย่างมากสำหรับคนยากจน (the world bank,1990, p.13) การวัดความยากจนจากรายได้ขั้นต่ำที่พึงได้รับนี้ นำไปสู่ข้อเสนอการขจัดความยากจนให้หมดไปจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือการเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ กล่าวคือยิ่ง GDP สูงความยากจนก็ยิ่งมีแนวโน้มลดลง ดังเช่น World Bank ได้พยายามพิสูจน์ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นผลดีต่อความยากจน

จากงานวิจัยหลายเรื่อง แต่ที่ถูกหยิบยกนำมากล่าวอ้างในตำราเศรษฐศาสตร์การพัฒนาได้แก่เรื่อง "การขยายตัวเป็นผลดีต่อคนยากจน" (Growth is Good for the Poor) โดย ดอลลาร์และเครย (Dollar and Kraay ,2001) งานวิจัยนี้พยายามจะชี้ให้เห็นด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า รายได้หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่เพิ่มขึ้นนั้นได้กระจายไปสู่คนจน ที่ยิ่งรายได้ของประเทศมีสูงคนจนก็ยิ่งมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงตามไป