โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๗๔ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (October, 11, 10, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ในโลกสมัยนี้ ที่ทุกคนบนโลกล้วนมีผลประโยชน์ทางวัตถุ ทั้งในเชิงการเมืองและเศรษฐกิจ ความโปร่งใส และการสามารถตรวจสอบได้ เป็นสิ่งจำเป็นมากยิ่งกว่าเดิม การเสนอแก้ไขครั้งนี้กลับเดินไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม คือทำให้บุคคลที่อยู่ในตำแหน่งและความรับผิดชอบสูงอยู่ในความเร้นลับ และไม่สามารถตรวจสอบได้ ลองนึกดูว่าหากบุคคลดังว่านี้ทำอะไรที่สร้างความเสียหายแก่สถาบันกษัตริย์ เขาก็จะได้รับการปกป้องด้วยกฎหมายตามที่แก้ไขครั้งนี้ เพราะตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ หมายความว่า เขาจะไม่ถูกลงโทษจากการสร้างความระคายเคือง...
11-10-2550

Lese Majeste
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

ปลายทางรัฐสภาฯ(ชุดรัฐประหาร) กับการแก้กฎหมายอาญา(หมิ่นฯ) มาตรา ๑๑๒
ยกสามัญชนขึ้นเป็นเจ้า: ร่างกฎหมายที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพเสียเอง
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
ข้อมูลต่อไปนี้ นำมาจากเว็บไซต์ประชาไท มติชนออนไลน์ และอื่นๆ

บทความวิชาการนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รวบรวมขึ้น
เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และเพื่อให้เห็นถึงความวิปริตของระบอบการปกครอง
ที่ไม่ได้มาจากประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้จึงเต็มไปด้วยความฉ้อฉล ผิดปกติ
ในตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยนำเอาหลักนิติธรรมของสังคมมาใช้อย่างเป็นการส่วนตัว
อาทิเป็นเครื่องมือทางการเมืองทำลายฝ่ายตรงข้าม โดยฉวยใช้ศรัทธาและวัฒนธรรมเป็นตัวเสริม
ความไม่ตรงไปตรงมานี้ ถือเป็นการทำลายและหมิ่นสถาบันฯ อย่างยิ่ง และอาจผิดกฎหมาย
จึงสมควรที่นักศึกษา ประชาชนไทยได้เรียนรู้ ดังได้ลำดับเรื่องราวต่อไปนี้

- สนช.เสนอเพิ่มโทษ ม.112 กม.หมิ่นฯ ขยายคลุม 'องคมนตรี'
- เปิดรายชื่อ 64 สนช.เสนอเพิ่มโทษ กม.หมิ่นฯ
- แถลงการณ์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส)
- ใบแถลงข่าวสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
- คำแถลงการณ์ของสมาพันธ์ประชาธิปไตย
- ธงชัย วินิจจะกูล: "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีปัญหามากอยู่แล้ว"
- องคมนตรีไม่สบายใจ ได้รับคุ้มครองพิเศษ ถอนแก้ป.อาญา
- วิป สนช. มีมติให้ถอนร่าง ป.อาญา คุ้มครองประธาน-องคมนตรี ไปทบทวนใหม่
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๗๔
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๒ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ปลายทางรัฐสภาฯ(ชุดรัฐประหาร) กับการแก้กฎหมายอาญา(หมิ่นฯ) มาตรา ๑๑๒
ยกสามัญชนขึ้นเป็นเจ้า: ร่างกฎหมายที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพเสียเอง
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
ข้อมูลต่อไปนี้ นำมาจากเว็บไซต์ประชาไท มติชนออนไลน์ และอื่นๆ

บางส่วนจาก พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

"แต่ว่าความจริง ก็จะต้องวิจารณ์บ้างเหมือนกัน แล้วก็ไม่กลัวถ้าใครจะวิจารณ์ว่าทำไม่ดีตรงนั้นๆ จะได้รู้ เพราะว่าถ้าบอกว่าพระเจ้าอยู่หัว ไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่เป็นคน ไม่วิจารณ์เราก็กลัวเหมือนกัน ถ้าบอกไม่วิจารณ์แปลว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่ดี รู้ได้อย่างไร ถ้าเขาบอกว่า ไม่ให้วิจารณ์พระเจ้าอยู่หัว เพราะพระเจ้าอยู่หัวดีมาก ไม่ใช่อย่างนั้น บางคนอยู่ในสมองว่าพระเจ้าอยู่หัวพูดชอบกล พูดประหลาดๆ ถ้าขอเปิดเผยว่าวิจารณ์ตัวเองได้ว่าบางทีก็อาจจะผิด แต่ให้รู้ว่าผิด ถ้าเขาบอกว่าวิจารณ์พระเจ้าอยู่หัวว่าผิด งั้นขอทราบว่าผิดตรงไหน ถ้าไม่ทราบ เดือดร้อน

ฉะนั้น ก็ที่บอกว่าการวิจารณ์เรียกว่าละเมิดพระมหากษัตริย์ ละเมิด ให้ละเมิดได้ แต่ถ้าเขาละเมิดผิดเขาก็ถูกประชาชนบอมบ์ คือเป็นเรื่องของขอให้รู้ว่าเขาวิจารณ์อย่างไร ถ้าเขาวิจารณ์ถูกไม่ว่า แต่ถ้าเขาวิจารณ์ผิดไม่ดี แต่เมื่อบอกว่าไม่ให้วิจารณ์ ไม่ให้ละเมิดไม่ได้เพราะรัฐธรรมนูญว่าอย่างนั้น ก็ลงท้ายก็เลยพระมหากษัตริย์ก็เลยลำบากแย่ อยู่ในฐานะลำบาก ก็แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่ให้วิจารณ์ก็หมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวนี่ ก็ต้องวิจารณ์ ต้องละเมิด แล้วไม่ให้ละเมิด พระเจ้าอยู่หัวเสีย พระเจ้าอยู่หัวเป็นคนไม่ดี ซึ่งถ้าคนไทยด้วยกันก็ยังไม่กล้า สองไม่เอ็นดูพระเจ้าอยู่หัว ไม่อยากละเมิด แต่มีฝ่ายชาวต่างประเทศ มีบ่อยๆ ละเมิดพระเจ้าอยู่หัว ละเมิด THE KING แล้วก็หัวเราะเยาะว่า THE KING ของไทยแลนด์ พวกคนไทยทั้งหลายนี่ เป็นคนแย่ ละเมิดไม่ได้ ในที่สุดถ้าละเมิดไม่ได้ก็เป็นคนเสีย เป็นคนที่เสีย

ฉะนั้น ก็บางโอกาสขอให้ละเมิด จะได้รู้กันว่าใครดีใครไม่ดี นี่พูดเลยเถิด พูดมากไป แต่ว่าคนที่อยู่ข้างหน้านี่ ไม่ต้องกลัว เพราะว่าไม่ได้มีความผิด คนที่นึกว่ามีความผิดพยักหน้า พยักหน้าว่ามีความผิดจริงๆ ความจริงเขาไม่มีความผิด คนที่มาก่อนน่ะมีความผิด แล้วกลัวคนที่พยักหน้าเนี่ยไม่ได้แก้ไข นี่ผิดตรงนี้ ไม่ได้แก้ไข หลบความรับผิดชอบ มันเป็นอย่างนั้น ในเมืองไทยนี่ คนไหนที่ทำอะไรไม่เข้าร่องเข้ารอยก็ลาออก ลาออกแล้วไม่มีอะไรผิดเลย แม้จะทำอะไรผิดอย่างมากๆ ถ้าเป็นข้าราชการก็เรียกเข้ากระทรวง เข้ากรุงเทพฯ แล้วก็หมดเรื่อง นานๆ ทีมีเข้าคุก นี่พูดอย่างนี้ชักจะหนัก ใช้คำว่าเรียกเข้ากรุงเทพฯ หรือเข้าคุก แต่มีที่เกิดเรื่องเข้าคุก

แต่อย่างไรก็ตาม เข้าคุกแล้ว ถ้าเป็นการละเมิดพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เองเดือดร้อน เดือดร้อนหลายทาง ทางหนึ่งต่างประเทศเขาบอกว่าเมืองไทยนี่พูดวิจารณ์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ ว่าวิจารณ์ไม่ได้ก็เข้าคุก มีที่เข้าคุก เดือดร้อนพระมหากษัตริย์ ต้องบอกว่าเข้าคุกแล้วต้องให้อภัย ทั้งที่เขาด่าเราอย่างหนัก ฝรั่งเขาบอกว่าในเมืองไทยนี่ พระมหากษัตริย์ถูกด่า ต้องเข้าคุก ที่จริงควรเข้าคุก แต่เพราะฝรั่งบอกอย่างนั้นก็ไม่ให้เข้า ไม่มีใครกล้าเอาคนที่ด่าพระมหากษัตริย์เข้าคุก เพราะพระมหากษัตริย์เดือดร้อน เขาหาว่าพระมหากษัตริย์เป็นคนที่ไม่ดี อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นคนที่จั๊กจี้ ใครว่าไรซักนิดก็บอกให้เข้าคุก ที่จริงพระมหากษัตริย์ไม่เคยบอกให้เข้าคุก ตั้งแต่สมัยรัชกาลก่อนๆ เป็นกบฏ ก็ยังไม่จับใส่คุก ไม่ลงโทษ รัชกาลที่ 6 ท่านไม่ลงโทษ ไม่ได้ลงโทษผู้ที่เป็นกบฏ มาจนกระทั่งถึง ต่อมา รัชกาลที่ 9 ใครเป็นกบฏ ก็ไม่เคยมีแท้ๆ ที่จริงก็ทำแบบเดียวกันไม่ให้เข้าคุก ให้ปล่อย หรือถ้าเข้าคุกแล้วก็ให้ปล่อย ถ้าไม่เข้าก็ไม่ฟ้อง เพราะเดือดร้อนผู้ที่ถูกด่า เป็นคนเดือดร้อน อย่างที่คนที่ละเมิดพระมหากษัตริย์ และถูกทำโทษไม่ใช่คนนั้นเดือดร้อน พระมหากษัตริย์เดือดร้อน นี่ก็แปลก"

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


1. สนช.เสนอเพิ่มโทษ ม.112 กม.หมิ่นฯ ขยายคลุม 'องคมนตรี' และห้ามเสนอข่าวคดีหมิ่นฯ
ประชาไท - สนช. เตรียมพิจารณาร่างกฎหมายสำคัญสองฉบับเพื่อขยายบทลงโทษผู้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อบุคคลบางประเภท คือ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ....และร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.....ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย สนช. เป็นผู้เสนอ

ทั้งนี้ ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฯ ได้เสนอหลักการและเหตุผลว่า บุคคลบางประเภท ได้แก่ พระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองคมนตรี องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ มีความเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และอาจได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่บางประการอันเป็นราชการในพระองค์ อีกทั้งได้รับการรับรองสถานะและอำนาจหน้าที่ไว้ในรัฐธรรมนูญเสมอมา แต่บุคคลดังกล่าวกลับได้รับความคุ้มครองในกรณีมีการหมิ่นประมาทดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป จึงสมควรกำหนดให้มีการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดและรับโทษหนักขึ้น

เนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ระบุให้มีการเพิ่มเติมหมวด 1/1 ความผิดต่อพระบรมราชวงศ์ องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ ดังนี้ …

มาตรา 112/1 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระราชโอรส พระราชธิดา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 112/2 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ประธานองคมนตรี องคมนตรี หรือผู้แทนพระองค์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฯ ได้ระบุหลักการและเหตุผลว่า กรณีที่มีการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ควรได้รับความคุ้มครองระหว่างการดำเนินคดี ไม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความเห็นในสื่อสาธารณะ อันจะกระทบกระเทือนต่อสถาบันฯ จึงสมควรกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งห้ามการโฆษณาดังกล่าว และกำหนดบทลงโทษการฝ่าฝืนคำสั่งศาล โดยเพิ่มข้อความดังต่อไปนี้ …

มาตรา 14/1 ระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่มีการกล่าวหาหรือฟ้องในความผิดต่อองค์มหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามหมวด 1 ลักษณะ 1 ภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ในกรณีเห็นสมควร พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้สั่งห้ามมิให้โฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์ หรือความเห็นเกี่ยวกับคดีไม่ว่าสื่อประเภทใด

หากศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้วเห็นว่ามีเหตุอันสมควรเพื่อการคุ้มครองปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ศาลสั่งอนุญาตตามคำร้องและอาจกำหนดเงื่อนไขหรือวิธีการใดๆ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามคำสั่งห้ามของศาลดังกล่าวได้

การฝ่าฝืนคำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การฝ่าฝืนคำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอีกกรณีหนึ่งด้วย และให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

สนช.กำหนดวาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาและหามติร่วมกันเรื่องร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับในวันพุธที่ 10 ต.ค.2550 นี้

2. เปิดรายชื่อ 64 สนช.เสนอเพิ่มโทษ กม.หมิ่นฯ และอีก 61 รายชื่อ หนุน กม.ห้ามเสนอข่าวคดีหมิ่นฯ
ประชาไท - รายชื่อสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ผู้ลงนามนำเสนอ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ... ซึ่งระบุให้มีการเพิ่มเติมหมวด 1/1 ความผิดต่อพระบรมราชวงศ์ องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ ลงในมาตรา 112 มีทั้งสิ้น 64 รายชื่อ ได้แก่ …

1.นายพลเพชร วิชิตชลชัย 2.นายสมโภช กาญจนาภรณ์ 3.นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ 4.พลตำรวจโทสมศักดิ์ แขวงโสภา 5.พลเอกเพิ่มศักดิ์ พวงสาโรจน์ 6.นายสมพล พันธุ์มณี 7.นายพูลศักดิ์ อยู่ประเสริฐ 8.นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด 9.พลเรือเอกวิชัย ยุวนางกูร 10.พลเรือโทพะจุณณ์ ตามประทีป 11.พลเรือเอกประเจตน์ ศิริเดช 12.นายประเจิด สุขแก้ว 13.นายณรงค์ โชควัฒนา 14.นายพรชัย รุจิประภา 15.พลเอกโชคชัย หงส์ทอง 16.พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง 17.พลเอกอู้ด เบื้องบน 18.พลเอกสมทัด อัตตะนันท์ 19.นางอุมา สุคนธมาน 20.พลตำรวจเอกอิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 21.พลโทจิตติพงศ์ สุวรรณเศรษฐ 22.พลอากาศเอกวีรวิท คงศักดิ์ 23.พลอากาศเอกไพศาล สีตบุตร 24.พลอากาศเอกอดิเรก จำรัสฤทธิรงค์ 25.นายสำราญ รอดเพชร 26.นายอัศวิน ชินกำธรวงศ์ 27.พลเอกอาทร โลหิตกุล 28.นายสุจิต บุญบงการ 29.พลเรือเอกสุชาต ญาโณทัย 30.คุณหญิงสุชาดา กีระนันท์ 31.พลตำรวจเอกสุนทร ซ้ายขวัญ 32.นายอัศวิน คงสิริ 33.นายคำนูณ สิทธิสมาน 34.นางมุกดา อินต๊ะสาร 35.พลเอกปรีดี สามิภักดิ์ 36.หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล 37.พลเอกอาภรณ์ กุลพงษ์ 38.พลเอกสุเทพ สีวะรา 39.นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล 40.นายอภิชาติ จีระพันธ์ 41.เรืออากาศโทอภินันท์ สุมนะเศรณี 42.นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช 43.พลโทจิรเดช คชรัตน์ 44.นายตวง อันทะไชย 45.นางสุนันทา สมบุญธรรม 46.นายสุพัทธ์ พู่ผกา 47.นางภัทรียา เบญจพลชัย 48.นายชลิต แก้วจินดา 49.นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ 50.นายภัทระ คำพิทักษ์ 51.นายกระหยิ่ม ศานต์ตระกูล 52.นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย 53.คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม 54.พลเอกไพโรจน์ พานิชสมัย 55.นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ 56.นายวิทย์ รายนานนท์ 57.นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ 58.นายพงศ์โพยม วาศภูติ 59.พลอากาศเอกปัญญา ศรีสุวรรณ 60.พลเรือเอกประเสริฐ บุญทรง 61.นางจุรี วิจิตรวาทการ 62.ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา 63.นายประพันธ์ คูณมี 64.นายบวรศักดิ์ อุวรรโณ

ทั้งนี้ ข้อความในหมวด 1/1 ที่เสนอให้เพิ่มในมาตรา 112 มีใจความว่า
มาตรา 112/1 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระราชโอรส พระราชธิดา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 112/2 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ประธานองคมนตรี องคมนตรี หรือผู้แทนพระองค์ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รายชื่อสมาชิกสภานิติบัญญัติที่ลงชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ....ให้ระบุมาตรา 14/1 กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งห้ามมิให้สื่อประเภทใดโฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ รวมถึง การวิพากษ์วิจารณ์ และความเห็นเกี่ยวกับคดีหมิ่นฯ มีทั้งสิ้น 61 รายชื่อ ได้แก่ …

1.นายพลเพชร วิชิตชลชัย 2.นายสมโภช กาญจนาภรณ์ 3.นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ 4.พลตำรวจโทสมศักดิ์ แขวงโสภา 5.พลเอกเพิ่มศักดิ์ พวงสาโรจน์ 6.นายสมพล พันธุ์มณี 7.นายพูลศักดิ์ อยู่ประเสริฐ 8.นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด 9.พลเรือเอกวิชัย ยุวนางกูร 10.พลเรือโทพะจุณณ์ ตามประทีป 11.พลเรือเอกประเจตน์ ศิริเดช 12.นายประเจิด สุขแก้ว 13.นายณรงค์ โชควัฒนา 14.นายพรชัย รุจิประภา 15.พลเอกโชคชัย หงส์ทอง 16.พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง 17.พลเอกอู้ด เบื้องบน 18.พลเอกสมทัด อัตตะนันท์ 19.นางอุมา สุคนธมาน 20.พลตำรวจเอกอิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 21.พลโทจิตติพงศ์ สุวรรณเศรษฐ 22.พลอากาศเอกวีรวิท คงศักดิ์ 23.พลอากาศเอกไพศาล สีตบุตร 24.พลอากาศเอกอดิเรก จำรัสฤทธิรงค์ 25.นายสำราญ รอดเพชร 26.นายอัศวิน ชินกำธรวงศ์ 27.พลเอกอาทร โลหิตกุล 28.นายสุจิต บุญบงการ 29.พลเรือเอกสุชาต ญาโณทัย 30.คุณหญิงสุชาดา กีระนันท์ 31.พลตำรวจเอกสุนทร ซ้ายขวัญ 32.นายอัศวิน คงสิริ 33.นายคำนูณ สิทธิสมาน 34.นางมุกดา อินต๊ะสาร 35.พลเอกปรีดี สามิภักดิ์ 36.หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล 37.พลเอกอาภรณ์ กุลพงษ์ 38.พลเอกสุเทพ สีวะรา 39.นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล 40.เรืออากาศโทอภินันท์ สุมนะเศรณี 41.นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช 42.พลโทจิรเดช คชรัตน์ 43.นายตวง อันทะไชย 44.นางสุนันทา สมบุญธรรม 45.นายสุพัทธ์ พู่ผกา 46.นางภัทรียา เบญจพลชัย 47.นายชลิต แก้วจินดา 48.นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ 49.นายภัทระ คำพิทักษ์ 50.นายกระหยิ่ม ศานต์ตระกูล 51.นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย 52.คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม 53.นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ 54.นายวิทย์ รายนานนท์ 55.นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ 56.นายพงศ์โพยม วาศภูติ
57.พลเรือเอกประเสริฐ บุญทรง 58.นางจุรี วิจิตรวาทการ 59.ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา 60.นายประพันธ์ คูณมี 61.นายบวรศักดิ์ อุวรรโณ

ทั้งนี้ ข้อความในมาตรา 14/1 ที่ต้องการให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลวิธีพิจารณากฎหมายอาญา มีใจความว่า …
มาตรา 14/1 ระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่มีการกล่าวหาหรือฟ้องในความผิดต่อองค์มหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามหมวด 1 ลักษณะ 1 ภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ในกรณีเห็นสมควร พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้สั่งห้ามมิให้โฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์ หรือความเห็นเกี่ยวกับคดีไม่ว่าสื่อประเภทใด

หากศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้วเห็นว่ามีเหตุอันสมควรเพื่อการคุ้มครองปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ศาลสั่งอนุญาตตามคำร้องและอาจกำหนดเงื่อนไขหรือวิธีการใดๆ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามคำสั่งห้ามของศาลดังกล่าวได้

การฝ่าฝืนคำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การฝ่าฝืนคำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอีกกรณีหนึ่งด้วย และให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

3. แถลงการณ์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส)
กรณีการขยายโทษทางอาญาในกฏหมายหมิ่นฯ ที่ส่งผลต่อการทำงานของสื่อและสิทธิเสรีภาพ

จากรายงานข่าวว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เตรียมพิจารณาร่างกฎหมายสำคัญสองฉบับเพื่อขยายบทลงโทษผู้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อบุคคลบางประเภท คือ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ....และร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.....ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย สนช. เป็นผู้เสนอเพื่อพิจารณาในวันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2550 นั้น

ทั้งนี้เนื้อหาสาระสำคัญได้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฏหมายอาญา (ป.อาญา) เพื่อคุ้มครองรวมไปถึงประธานองคมนตรี องค์มนตรี และ ผู้แทนพระองค์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ผู้ใดมีความผิดฐานหมิ่นบุคคลดังกล่าว มีโทษทางอาญาจำคุกไม่เกิน ห้าปี อีกทั้งโทษปรับ และ การแก้ไข พระราชบัญญัติประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ให้ความคุ้มครองระหว่างการดำเนินคดี ไม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความเห็นในสื่อสาธารณะ อันจะกระทบกระเทือนต่อสถาบันและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยร่างกฎหมายกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งห้ามการโฆษณาดังกล่าว และกำหนดบทลงโทษการฝ่าฝืนคำสั่งศาล หากสื่อมวลชนไม่ปฏิบัติตามย่อมมีคำผิดตามโทษทางอาญาคือจำคุกไม่เกินสามปี เป็นต้น

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส) คัดค้านการเสนอร่างกฏหมายดังกล่าวด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้

1. สมาชิกสภานิติบัญญัติ ไม่ควรพิจารณาหรือผ่านกฏหมายใดในช่วงเวลานี้ เนื่องเพราะเป็นหลักการและมรรยาททางการเมือง ในขณะที่ประเทศไทยกับกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง ดังนั้น กฏหมายทุกฉบับโดยเฉพาะประมวลกฏหมายอาญาที่มีสาระสำคัญเช่นนี้ ควรได้รับการพิจารณาในรัฐสภาที่มาจากตัวแทนประชาชนเท่านั้น

2. ร่างกฏหมายเพื่อแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าว กระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนรวมถึงเสรีภาพในการทำงานของสื่อมวลชน ขัดแย้งกับมาตรฐานสากลด้านสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยลงนามเป็นภาคีกติกาสากลระหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(International Covenant on Civil and Political Rights -ICCPR) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539

3. ร่างกฏหมายดังกล่าวจะนำไปสู่การตอกย้ำบรรยากาศแห่งความกลัวในสังคมไทย และขัดแย้งกับบรรยากาศการฟื้นฟูประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยในอนาคต

สิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการแสดงความคิดเห็น ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ปัจจุบันสื่อสารมวลชนในประเทศไทยมีการระมัดระวังและควบคุมตนเองมากอยู่แล้ว ในการนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และองค์มนตรี

อีกทั้งรัฐได้ออกกฏหมายใหม่มาควบคุมการแสดงความคิดเห็นของพลเมืองเช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อและความมั่นคงของชาติอื่นๆอีก จึงไม่มีความจำเป็นใดที่รัฐต้องออกฏหมายที่มีโทษหนักทางอาญามาควบคุมการทำหน้าที่ของสื่อ และการแสดงความคิดเห็นของประชาชนให้มีความตึงเครียดมากยิ่งขึ้นอีก ในทางตรงกันข้าม รัฐควรปรับแก้ ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกขั้นพื้นฐานของพลเมือง

คปส เห็นว่าในระยะยาว สังคมไทยจำเป็นต้องมีการปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักการเรื่องสิทธิเสรีภาพของพลเมือง และสิทธิทางการเมืองอันเป็นกติกาสากลของสหประชาชาติ ทว่า กระบวนการนิติบัญญัติดังกล่าวควรเป็นไปภายใต้รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมของสื่อมวลชนและประชาชนอย่างแท้จริง

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส)
9 ตุลาคม พ.ศ.2550


4. ใบแถลงข่าวสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) ม. 112
และ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา)

ตามที่มีรายงานข่าวว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวนหนึ่งได้เสนอร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่

(1) ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) ม. 112 เพิ่มความคุ้มครองให้รวมไปถึงประธานองคมนตรี องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ทั้งยังเพิ่มโทษจำคุกและมีโทษปรับด้วย และ

(2) ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ห้ามมิให้โฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์ หรือความเห็นเมื่อคดีที่มีการกล่าวหาหรือฟ้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เข้าสู่กระบวนการพิจารณาในศาล

ทางสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันมีความเห็นต่อร่างกฎหมายดังกล่าวต่อไปนี้

1. เราไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา หมวดความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อขยายความคุ้มครองให้รวมไปถึงประธานองคมนตรีและองคมนตรี

2. ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 (ฉบับรัฐประหาร) ม.12 ประธานองคมนตรีและองคมนตรีมีหน้าที่เพียงถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา มิได้มีฐานะเป็น "ตัวแทนของพระมหากษัตริย์" เว้นแต่ในกรณีที่ทำหน้าที่เป็น "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" หรืออื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้โดยมีประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี และประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น ซึ่งเป็นไปตามหลัก "The King can do no wrong"

ดังนั้น การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว จะส่งผลให้ประธานองคมนตรีและองคมนตรีดำรงอยู่ในฐานะ "อันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ ซึ่งย่อมไม่ส่งผลดีต่อระบอบประชาธิปไตยและสถาบันกษัตริย์เอง หากประธานองคมนตรีและองคมนตรีมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น เข้ามาแทรกแซงการเมือง หรือใช้ตำแหน่งไปแสวงหาประโยชน์ทางธุรกิจ แต่สาธารณะไม่สามารถตรวจสอบหรือวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ได้ ราวกับว่า การกระทำทุกอย่างของประธานองคมนตรี (เช่น ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์เครือเจริญโภคภัณฑ์) และองคมนตรีเป็นการกระทำแทนพระมหากษัตริย์

3. จากรายงานข่าวคำให้สัมภาษณ์นายพรเพชร วิชิตชลชัย สมาชิก สนช. ถึงเหตุผลในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าวให้คุ้มครองคณะองคมนตรีด้วย เนื่องจาก "บางท่านได้กลายเป็นเหยื่อทางการเมือง" นั้น แสดงนัยให้เห็นว่าการแก้กฎหมายนี้ก็เพื่อแก้ปัญหาให้กับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ต่อกรณีนี้เราเห็นว่า การที่ประธานองคมนตรีถูกวิพากษ์วิจารณ์ดังที่ปรากฏตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่พ้น เนื่องจาก พล.อ. เปรมเองกระทำการนอกเหนือหน้าที่ประธานองคมนตรี โดยเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวพันกับการรัฐประหาร 19 กันยายนอย่างลึกซึ้ง ดังที่มีการเสนอข่าวโดยสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น การแก้ปัญหาโดยการแก้ไข กฎหมายอาญา หมวดความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ฯ ให้ครอบคลุมองคมนตรีนั้น ย่อมมิใช่การป้องกันไม่ให้เกิดการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่เป็นการใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการที่องคมนตรีแทรกแซงการเมือง

4. เนื่องจากทั้งร่าง พ.ร.บ. แก้ไข ป.อาญา และ ป.วิอาญา ดังกล่าวจะส่งผลจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน ในการแสดงความคิดเห็นและเสนอข้อมูลข่าวสาร เราจึงขอประณามนายภัทระ คำพิทักษ์ สมาชิก สนช. ในนามสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่ได้ลงชื่อสนับสนุนร่างกฎหมายนี้ และขอเรียกร้องสถาบันสื่อมวลชน เช่น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ซึ่งเคยมีบทบาทคัดค้านกฎหมายหมิ่นประมาทมาก่อนหน้านี้ ให้ออกมาคัดค้านร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับด้วย เพราะ ม.112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาก็คือ กฎหมายหมิ่นประมาทประเภทหนึ่งนั่นเอง

ท้ายนี้ สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันจะผลักดันให้มีการจัดประชาพิจารณ์ภาคพลเมืองต่อร่าง พ.ร.บ. แก้ไข ป. อาญา และ พ.ร.บ. แก้ไข ป.วิอาญา เพื่อให้สาธารณะได้ระดมความเห็นและวิพากษ์วิจารณ์อย่างรอบด้านต่อไป

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
9 ตุลาคม 2550

5. คำแถลงการณ์ของสมาพันธ์ประชาธิปไตย
ขอประนามกลุ่มสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่กระทำการขัดรัฐธรรมนูญ 2550

รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550 มาตรา 29 ได้บัญญัติไว้ว่า "การจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้

กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำมาใช้บังคับกับกฏที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วยโดยอนุโลม

รวมทั้งรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550 มาตรา 45 ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นการพูดการเขียนการพิมพ์การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญติแห่งกฏหมายเฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเกียรติยศชื่อเสียงสิทธิในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน
...........................
(วรรคท้าย)การห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใดๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง

ความพยายามของกลุ่ม สนช. ที่จะแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 และประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 นั้นเป็นการขัดกับหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญดังกล่าว เพราะเท่ากับเป็นการกระทำเพื่อกรณีหนึ่งกรณีใดเป็นการเฉพาะและบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ

ประธานองคมนตรีและคณะองคมนตรีได้มีมาหลายสมัยแล้ว การปฏิบัติภาระหน้าที่ของประธานและคณะองคมนตรีในอดีตที่ผ่านมาทั้งหมดงดงามหมดจด ไม่เคยสร้างความด่างพร้อยให้แก่ภาระหน้าที่แต่ประการใดจนได้รับการยกย่องจากประชาชนโดยทั่วไปอย่างจริงใจ แต่ที่เป็นปัญหาก็คือ สถานการณ์รัฐประหาร19กันยายน 2549 นี่เอง ที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยเป็นอย่างมากในบทบาทที่อาจจะมีส่วนเข้าไปสนับสนุนให้เกิดการปฏิวัติอย่างไม่เหมาะสม ทั้งๆ ที่ตนเองยังดำรงตำแหน่งในฐานะประธานองคมนตรี

ดังนั้นการที่ สนช.กลุ่มหนึ่ง พยายามผลักดันให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประมวลกฏหมายอาญา และประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพียงเพื่อปกป้องการกระทำของบุคคลเพียงผู้เดียวและเพียงเพื่อกรณีนี้กรณีเดียวเท่ากับเป็นการกระทำที่ทำลายทั้งหลักนิติธรรมสากล และรัฐธรรมนูญโดยตรง

สมาพันธ์ประชาธิปไตย
10 ตุลาคม 2550

6. ธงชัย วินิจจะกูล: "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีปัญหามากอยู่แล้ว"
Lese majeste law still problematic , The Nation วันที่ 11 ต.ค.2550
โดย ธงชัย วินิจจะกูล
ผู้แปล: พงศ์เลิศ พงศ์วนานต์

การเสนอแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ นี้เลอะเทอะและไม่ฉลาดเอาเสียเลย กฎหมายเท่าที่เป็นอยู่ก็มีปัญหาในหลายแง่มุมมากพออยู่แล้ว. โดยพื้นฐาน กฎหมายข้อนี้ขัดแย้งกับหลักการในรัฐธรรมนูญที่ว่า "ประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย" แต่ประเทศไทยยอมให้ความขัดแย้งนี้ดำรงอยู่ตลอดมาด้วยกลไกและบรรทัดฐานทางกฎหมายที่น่ากังขา

ยิ่งกว่านั้น ปัญหาที่น่าหนักใจก็คือ การฉ้อฉลใช้กฎหมายนี้เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง เพราะกฎหมายอนุญาตให้ใครก็ได้กล่าวหาใครก็ได้ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ต่างจากกฎหมายหมิ่นประมาท ที่เฉพาะผู้เสียหายเท่านั้นที่จะดำเนินการฟ้องร้องได้. กฎหมายหมิ่นฯ จึงกลายเป็นอาวุธทางการเมืองที่ฉวยใช้ง่ายเหลือเกิน ผู้ถูกกล่าวหาโดยคดีหมิ่นฯ ได้รับความเสียหายไปแล้ว ไม่ว่ากระบวนการหรือผลทางกฎหมายจะออกมาเป็นอย่างไร และทั้งๆ ที่กรณีส่วนใหญ่ถูกยกฟ้องหรือไปไม่ถึงศาล ข้อหาหมิ่นฯ จึงถูกใช้อย่างไม่ต้องคิดหรือเป็นการเมืองสามานย์ แทนที่จะได้รับการจัดการอย่างระมัดระวังรอบคอบมากที่สุด

การเสนอแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ละเมิดหลักการทางกฎหมายและขนบธรรมเนียมในหลายแง่ และอาจจะยิ่งทำให้มีการใช้กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างหนักข้อมากขึ้นไปอีก

ประการแรก การแก้ไขครั้งนี้จะเป็นการยกสถานะคนกลุ่มเล็กๆ (รวมถึงคนที่ไม่ใช่เจ้า) ขึ้นเหนือประชาชนทั่วไป ซึ่งจะสร้างแบบอย่างที่อันตราย เนื่องจากอาจจะมีการออกกฎหมายที่จะสร้างชนชั้นอภิสิทธิ์หรือพวก "firsts among the equals" เพิ่มขึ้นมาอีก การแบ่งชนชั้นในสังคมอย่างเป็นทางการโดยมีกฎหมายรองรับกลับมากและหนักยิ่งขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่อีก แทนที่จะเป็นไปในทางที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

ประการที่สอง การแก้ไขครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้คนกลุ่มเล็กๆ มีสถานะสูงกว่าประชาชนทั่วไปอย่างถูกกฎหมาย แต่ยังเป็นการยกบุคคลบางคนให้มีอภิสิทธิ์และฐานะใกล้เคียงเจ้าอีกด้วย นี่เป็นการไม่สมควรทั้งต่อสถาบันกษัตริย์ ขนบประเพณี และเป็นการลบหลู่หยามหลักประชาธิปไตยของสังคมสมัยใหม่ทุกประการ
การเสนอแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้อาจจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเสียเองด้วยซ้ำ

ประการที่สาม ในโลกสมัยนี้ ที่ทุกคนบนโลกล้วนมีผลประโยชน์ทางวัตถุ ทั้งในเชิงการเมืองและเศรษฐกิจ ความโปร่งใส (transparency) และการสามารถตรวจสอบได้ (accountability) เป็นสิ่งจำเป็นมากยิ่งกว่าเดิม การเสนอแก้ไขครั้งนี้กลับเดินไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม คือทำให้บุคคลที่อยู่ในตำแหน่งและความรับผิดชอบสูงอยู่ในความเร้นลับ และไม่สามารถตรวจสอบได้ ลองนึกดูว่าหากบุคคลดังว่านี้ทำอะไรที่สร้างความเสียหายแก่สถาบันกษัตริย์ เขาก็จะได้รับการปกป้องด้วยกฎหมายตามที่แก้ไขครั้งนี้ เพราะตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ หมายความว่า เขาจะไม่ถูกลงโทษจากการสร้างความระคายเคืองต่อสถาบันกษัตริย์

ประการที่สี่ การใช้กฎหมายหมิ่นฯ เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ของอภิสิทธิ์ชนและพวกพ้อง ก็จะได้รับการปกป้องโดยกฎหมายตามที่แก้ไขครั้งนี้ ผลกระทบที่จะเกิดแก่สถาบันกษัตริย์นั้นอาจใหญ่โตและอันตรายเกินกว่าจะคิดได้ในขณะนี้

ประการที่ห้า ทำไมถึงจะต้องห้ามสื่อมวลชนเสนอข่าวกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ? เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์หรือว่าเพื่อข่มขู่สื่อไม่ให้นำเสนอข่าวการใช้กฎหมายหมิ่นฯ ในทางฉ้อฉลกันแน่? สมาชิก สนช.สายสื่อมวลชนที่สนับสนุนการเสนอแก้ไขนี้ ควรจะมีความละอายที่ได้ทรยศเพื่อนร่วมวิชาชีพและประชาชน

สุดท้าย เจตนาในการแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ ในครั้งนี้ โดยตัวของมันเองก็เป็นการใช้กฎหมายหมิ่นฯ ในทางฉ้อฉล นั่นคือเป็นการให้การคุ้มครองคนบางคนที่อยู่ในความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน นี่เป็นการแก้ไขกฎหมายที่ผิดตั้งแต่ต้นแล้ว

หากมีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ ได้จริงๆ การกล่าวหาและคดีหมิ่นฯ ก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างแน่นอน ยิ่งมีคดีความขึ้นโรงขึ้นศาลมากขึ้นเท่าใด ความสนใจก็จะยิ่งพุ่งไปที่สถาบันกษัตริย์มากขึ้นเท่านั้น และจะสร้างอภิสิทธิ์ให้คนบางคน (รวมถึงคนที่ไม่ใช่เจ้า) ทั้งๆ ที่พวกเขากระทำการที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน และไม่สมควรจะได้รับการคุ้มครองพิเศษเหนือกฎหมายแล้วก็ไม่สามารถลงโทษพวกเขาเหล่านั้นได้ แม้กระทั่งหากพวกเขาสร้างความเสื่อมเสียแก่สถาบันกษัตริย์ก็ตาม

บทเรียนจากทั่วโลกแสดงให้เห็นว่าการมีอภิสิทธิ์มากเกินไปอย่างนี้ ในที่สุดจะนำไปสู่ความไม่พอใจของสาธารณชนและความปั่นป่วนในสังคม กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เป็นอยู่ก่อผลเสียต่อสถาบันกษัตริย์ มากกว่าที่จะเป็นผลดี การแก้ไขคราวนี้จะยิ่งก่อผลเสียมากขึ้นไปอีก

การเสนอแก้ไขครั้งนี้ทำกันอย่างไร้ความยั้งคิด ถึงจะยอมถอนร่างแก้ไขออกไป ความคิดและความพยายามผลักดันเรื่องนี้ก็ยังสมควรต้องถูกประณามอยู่ดี

เราจะต้องไม่ยอมให้มันหวนกลับมาอีก

7. Lese majeste law still problematic
Thongchai Winichakul
Professor of History at the University of Wisconsin-Madison.


The proposed amendment to the lese majeste law is careless and unwise. The existing lese majeste law is already problematic in many respects.
Published on October 11, 2007

Fundamentally, it contradicts the constitutional principle that every citizen is equal under the same laws. But Thailand has allowed this contradiction to survive by dubious legal mechanisms and precedents.

The more serious problem for years, moreover, is the continuing abuse of this law for political purposes because the law allows anybody to accuse anybody else of violating the lese majeste principle. Unlike the defamation law, in which only the injured party can bring charges, lese majeste has become an easy political weapon.

As damage is done to the accused regardless of the legal process or outcome, most of the cases are dismissed and never go to trial. Lese majeste has been used as a thoughtless, political "cheap shot", instead of being handled with the utmost care and thoughtfulness.

The proposed amendment violates legal principles and traditions in many respects, and may aggravate the abuses even further.

First of all, the amendment would elevate a small group of citizens, including non-royals, above other citizens. It is a dangerous precedent, as there could be more laws enacted that would create a more privileged class of "firsts among equals".

The hierarchical classes in the same society would be formalised and codified by laws even further, rather than becoming more democratised.

Secondly, in doing the above, not only does this mean that some citizens may become legally elevated above others, but it also grants a few people the privileges and status of near-royalty. This is a blunt affront to the monarchy, to tradition and to every known modern and democratic tenet.

The amendment bill may be in breach of lese majeste itself.

Thirdly, in the modern world - in which everybody on earth has particular material interests, both politically and economically - transparency and accountability are needed more than ever. The amendment goes in the opposite direction, namely to provide secrecy and unaccountability for people with high position and responsibility.

Imagine if such a person did something that injured the reputation and status of the monarchy, he would still be protected by the amended lese majeste law. In other words, his violation of lese majeste could not be punished, thanks to the amended lese majeste law.

Fourthly, the abuse of the amended lese majeste law by privileged people and their servants, for their own interests, would be protected by the lese majeste law. The eventual consequences for the monarchy could be enormous and dangerous beyond our imagination.

Fifth, what is the purpose of prohibiting the media from reporting on cases of lese majeste? Is it to protect the monarchy or to intimidate the media; to prevent them from informing the public about abuses committed under the lese majeste law? Those media professionals in the National Legislative Assembly who supported the amendment bill should be ashamed of themselves for betraying their colleagues and the public.

Last but not least, the intention of the amendment this time itself is also an abuse of the lese majeste law, namely in providing protection to particular individuals in the current political conflict. It is a bad legal amendment from the start.

In the end, if the amendment bill is passed, the revised lese majeste law will certainly increase the number of violations, the number of political cheap shots. Similarly, the number of court cases will put the monarchical institution in the spotlights even more. It will result in special privileges for many people, including non-royals, who act above the public interests and who do not deserve special protection above the law.

Yet they cannot be punished, even when they do harm to the monarchy.

Lessons from all over the world suggest how such unusual privileges eventually led to public dissatisfaction and turmoil.

The lese majeste law has done more harm than good to the monarchy. The amended one would do even more harm.

The proposed amendment is reckless. Despite its withdrawal, the idea and effort behind it should be condemned.

We must not let it be revived again.

8. องคมนตรีไม่สบายใจ ได้รับคุ้มครองพิเศษ ถอนแก้ป.อาญา
ประชาไท - จากที่มีการบรรจุวาระเข้าที่ประชุม สนช. ในวันพุธที่ 10 ตุลาคม 2550 นี้ โดยมีวาระพิจารณารับหลักการในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) 8 ฉบับ ซึ่งมีร่าง พ.ร.บ. 2 ฉบับ ที่อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) และร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) โดยมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย กับคณะ รวม 64 คน เป็นผู้เสนอ ล่าสุด เมื่อบ่ายวันนี้ ในการประชุมคณะกรรมการประสาน (วิป) ระหว่างรัฐบาลกับคณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีมติถอนร่าง พ.ร.บ. ทั้งสองออกไปปรับปรุงใหม่

นายพรเพชร วิชิตชลชัยกล่าวว่า ทางคณะองคมนตรีไม่สบายใจที่จะได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ จึงมีการถอนกฎหมายดังกล่าวจากวาระการประชุม สนช. "ได้รับแจ้งว่าทางองคมนตรีไม่สบายใจ เพราะทางคณะองคมนตรีได้พูดจากันแล้วทั้งหมด และแจ้งให้ผมทราบว่า ทางคณะองคมนตรีท่านไม่สบายใจที่จะคุ้มครองท่านเป็นพิเศษ ถึงแม้ สนช.จะปรารถนาดีที่จะเพิ่มเติมในกฎหมายนี้ เมื่อเป็นความประสงค์เช่นนี้ ผมจึงแจ้งไปยังวิป สนช. แล้วก็ถอน" นายพรเพชรกล่าว

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ในการผลักดันแก้ไขกฎหมายฉบับนี้นั้น เป็นเพราะต้องการแก้ปัญหากรณีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แล้วเมื่อถอนการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้แล้ว จะมีความเคลื่อนไหวต่ออย่างไรหรือไม่ นายพรเพชรตอบว่า หลังจากการถอนกฎหมายออกมาแล้ว คงมาตั้งหลักใหม่ว่าจะพิจารณาเพียงใด ส่วนปัญหาในส่วนขององคมนตรีคงยุติไว้ก่อน และในส่วนของมาตรา 14 ที่มิให้เสนอข่าวคดีที่อยู่ระหว่างการสอบสวนหรือพิจารณาคดีนั้น ก็จะถอนออกไปด้วย เพราะเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน

นายพรเพชร กล่าวว่า นอกจากนี้จะเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาสำคัญของชาติ ชุดที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ตั้งขึ้น เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นมาจากผลการศึกษาของคณะกรรมาการ ฯ

สำหรับร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) นั้น ได้ขยายความคุ้มครองพระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองคมนตรี องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ ห้ามผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายบุคคลดังกล่าว และร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ที่ให้อำนาจศาลสั่ง ห้ามสื่อมวลชนเสนอข่าวคดีที่อยู่ระหว่างการสอบสวนไต่สวน หรือพิจารณาคดีในการกล่าวหาหรือฟ้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

10. วิป สนช. มีมติให้ถอนร่าง ป.อาญา คุ้มครองประธาน-องคมนตรี ไปทบทวนใหม่
มติชน - วิป สนช.มีมติให้ถอนร่าง ป. อาญาคุ้มครองประธานองคมนตรีไปทบทวนใหม่ หลังจากที่ 64 สนช. ดันเสนอร่างแก้ไข ป.อาญา ขยายความคุ้มครองให้เป็นความผิดอาญาแผ่นดินเพิ่มโทษหนักถึง 5 ปี พ่วงแก้ไข ป.วิอาญา ให้ศาลมีอำนาจสั่งห้ามเสนอข่าวสอบสวนการฟ้องในความผิดต่อกษัตริย์-ราชินี

ผู้สื่อข่าว'มติชนออนไลน์'รายงานเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2550 ว่า ในการประชุมคณะกรรมการประสาน(วิป)ระหว่างรัฐบาลกับคณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ซึ่งมีนายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน มีการหยิบยกร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา(ป.อาญา)ที่ให้ขยายความคุ้มครองพระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองคมนตรี องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ ห้ามผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายบุคคลดังกล่าว

และร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา( ป.วิอาญา) ที่ให้อำนาจศาลสั่งห้ามสื่อมวลชนเสนอข่าวคดีที่อยู่ระหว่างการสอบสวนไต่สวน หรือพิจารณาคดีในการกล่าวหาหรือฟ้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นมาพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวออกไปปรับปรุงใหม่ เนื่องจากมีกรรมาธิการหลายคนไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการขยายการคุ้มครองถึงประธานองคมนตรีและองคมนตรี ทำให้จะไม่มีการเสนอร่างกฎหมายทั้งสองฉบับต่อที่ประชุม สนช.ในวันที่ 10 ตุลาคมนี้

จากนั้นเมื่อเวลา 16.00 น.ที่รัฐสภาฯ นายพรเพชร วิชิตชลชัย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ซึ่งเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้แถลงถึงการขอถอนร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนี้ออกจากวาระการประชุม ซึ่งเดิมนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. ได้บรรจุไว้ในวันที่ 10 ตุลาคม (2550)

นายพรเพชรกล่าวว่า จากการที่มีการเสนอข่าว คณะองคมนตรีได้หารือกันแล้ว และมีองคมนตรีที่รู้จักกับตนโทรศัพท์มาแจ้งว่า คณะองคมนตรีไม่ค่อยสบายใจที่ตนและคณะ จะเสนอร่างกฎหมายเพื่อคุ้มครององคมนตรีเป็นพิเศษ ขอบคุณในความหวังดีและห่วงใย แต่ไม่ต้องการรับการคุ้มครองนี้ แต่ไม่ขัดข้องในการคุ้มครองพระบรมวงศานุวงศ์ ดังนั้น จึงขอถอนร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับออกจากวาระการประชุม เพื่อสนองตอบองคมนตรี ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์นั้น จะกลับมาพิจารณาดูอีกครั้งว่าจะมีความจำเป็นแค่ไหน เหตุผลจริงๆ ก็มีเพียงเท่านี้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรัฐบาลเองก็พูดว่า อาจจะมีประเด็นในส่วนของพระบรมวงศานุวงศ์กว้างขวางกว่านั้นอีกหลายประเด็น ซึ่งรัฐบาลกำลังคิดอยู่

'หลังจากได้รับโทรศัพท์จากองคมนตรี ผมได้แจ้งวิป สนช.(คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สนช.) ซึ่งวันนี้มีการประชุมกัน วิปก็บอกว่าแก้บางเรื่องได้หรือไม่ ผมก็บอกว่าไม่ได้ เพราะเดี๋ยวกฎหมายจะบกพร่อง จึงขอถอนออกทั้งหมด ถือว่าเรื่องสำหรับองคมนตรีถือเป็นการอันยุติ' นายพรเพชรกล่าว

หลังการประชุมวิป สนช. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ วิป สนช. กล่าวว่า นายพรเพชร ในฐานะผู้เสนอได้ขอถอนร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนี้กลับไปปรับปรุงในส่วนที่มีข้อผิดพลาด. ข่าวแจ้งว่า ระหว่างการประชุมกรรมธิการหลายคนแสดงความเห็นว่า ไม่เห็นด้วยกับการขยายความคุ้มครองถึงประธานองคมนตรีและองคมนตรี จึงควรพิจารณาให้รอบคอบ โดยเฉพาะนางจุรี วิจิตรวาทการ สนช.เห็นว่า ควรถอนร่างไปปรับปรุงใหม่ ซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนจากท่านผู้หญิงปรียา เกษมสัตน์ ณ อยุธยา สนช.ซึ่งอภิปรายว่า ได้รับทราบว่า องคมนตรีบางท่านไม่สบายใจที่จะให้มีกฎหมายคุ้มครองในลักษณะดังกล่าว

'หลังจากปรากฏเป็นข่าวมีคนโทรศัพท์ไปหารือนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. ซึ่งนายมีชัยเองก็เห็นด้วยว่า ควรพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ ในที่สุดที่ประชุมจึงมีมติให้ถอนร่างดังกล่าวออกไปทบทวนทั้งหมด'แหล่งข่าวกล่าว

ตามรายงานข่าวจากรัฐสภาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมว่า ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันที่ 10 ตุลาคมนี้ มีวาระพิจารณารับหลักการในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่น่าสนใจ 2 ฉบับคือ

1. ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา)ฉบับที่...พ.ศ. ..ซึ่งมีสาระสำคัญคือให้ความคุ้มครอง พระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองคมนตรี องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ ห้ามผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายบุคคลดังกล่าว

2. ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา)ฉบับที่...พ.ศ...ที่มีบทบัญญัติให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือคู่ความ ยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งมิให้สื่อมวลชนโฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ วิพากษ์วิจารณ์คดีที่อยู่ระหว่างการสอบสวน ไต่สวนหรือพิจารณาคดีในการกล่าวหาหรือฟ้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย กับคณะ รวม 64 คน เป็นผู้เสนอ โดยเหตุผลในการเสนอร่างกฎหมายฉบับแรกคือ ร่างแก้ไข ป.อาญาระบุว่า มีบุคคลบางประเภทมีความเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และอาจได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่บางประการ อันเป็นราชการในพระองค์ อีกทั้งได้รับการรับรองสถานะและอำนาจหน้าที่ไว้ในรัฐธรรมนูญเสมอมา ได้แก่ พระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองคมนตรี องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงมอบหมายให้ไปเปิดการประชุมรัฐสภาสมัยสามัญ และในปัจจุบันบุคคลดังกล่าวได้รับความคุ้มครองในกรณีหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป (เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือฟ้องต่อศาลเอง) จึงสมควรกำหนดให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิด และรับโทษหนักขึ้น(เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนสามารถดำเนินคดีผู้กระทำผิดได้เอง หรือมีผู้อื่นที่มิใช่ผู้เสียหายสามารถกล่าวโทษได้)

สำหรับรายละเอียดของร่างกฎหมายดังกล่าว มีการเพิ่มหมวด 1/1 ความผิดต่อพระบรมราชวงศ์ องคมนตรีและผู้แทนพระองค์ ดังนี้

มาตรา 112/1 'ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชโอรส พระราชธิดา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ'

มาตรา 112/2 'ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายประธานองคมนตรี องคมนตรี หรือผู้แทนพระองค์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ระบุ 'ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี' ซึ่งอยู่ในในหมวด 1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ส่วนร่างกฎหมายฉบับที่สองคือ ร่างแก้ไข ป.วิอาญา ผู้เสนอให้เหตุผลว่า โดยที่คดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กรณีที่มีการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ควรได้รับการคุ้มครองระหว่างการดำเนินคดีไม่ให้มีการวิพาษ์วิจารณ์ หรือแสดงความเห็นในสื่อสาธารณะอันจะกระทบกระเทือนต่อสถาบัน จึงควรกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งห้ามการโฆษณาดังกล่าวและกำหนดบทลงโทษการฝ่าฝืนคำสั่งศาล

สำหรับรายละเอียดของร่างกฎหมายฉบับนี้คือ

มาตรา 14/1 'ระหว่างการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่มีการกล่าวหาหรือฟ้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามหมวด 1 ลักษณะ 1 ภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ในกรณีเห็นสมควร พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้สั่งห้ามมิให้โฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์ หรือความเห็นเกี่ยวกับคดีไม่ว่าในสื่อประเภทใด หากศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้วเห็นว่ามีเหตุอันสมควรเพื่อการคุ้มครองปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ศาลสั่งอนุญาตตามคำร้องและอาจกำหนดเงื่อนไขหรือวิธีการใดๆ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามคำสั่งห้ามของศาลดังกล่าวได้

'การฝ่าฝืนคำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การฝ่าฝืนคำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอีกกรณีหนึ่งด้วย และให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากการตรวจสอบรายชื่อ สนช. 64 คน ที่ลงชื่อเสนอร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ ปรากฏว่า มี สนช.สายสื่อมวลชน 4 คน ประกอบด้วย

- นายภัทระ คำพิทักษ์
- นายคำนูณ สิทธิสมาน
- นายสำราญ รอดเพชร และ
- นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด

นอกจากนั้นยังมีรายชื่อที่น่าสนใจคือ

- นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
- นางจุริ วิจิตรวาทการ อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์(นิด้า)
- นายสุจิต บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=6957&catid=1



+++++++++++++++++++++++++++++++++++

สำหรับผู้สนใจเรื่องเกี่ยวกับเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
สามารถคลิกไปดูหัวข้อเพิ่มเติมได้ที่

- คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ : พิทักษ์สถาบันหรือเครื่องมือคุกคามประชาชน (ตอนที่ ๑)
- คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ : พิทักษ์สถาบันหรือเครื่องมือคุกคามประชาชน (ตอนที่ ๒)

King (03) ดูคำว่า Royalist ประกอบ และ Lese Majesty


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พระราชดำรัสเรื่องการวิจารณ์
ความจริง ก็จะต้องวิจารณ์บ้างเหมือนกัน แล้วก็ไม่กลัวถ้าใครจะวิจารณ์ว่าทำไม่ดีตรงนั้นๆ จะได้รู้ เพราะว่าถ้าบอกว่าพระเจ้าอยู่หัว ไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่เป็นคน ไม่วิจารณ์เราก็กลัวเหมือนกัน ถ้าบอกไม่วิจารณ์แปลว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่ดี รู้ได้อย่างไร ถ้าเขาบอกว่า ไม่ให้วิจารณ์พระเจ้าอยู่หัว เพราะพระเจ้าอยู่หัวดีมาก ไม่ใช่อย่างนั้น บางคนอยู่ในสมองว่าพระเจ้าอยู่หัวพูดชอบกล พูดประหลาดๆ ถ้าขอเปิดเผยว่าวิจารณ์ตัวเองได้ว่าบางทีก็อาจจะผิด แต่ให้รู้ว่าผิด ถ้าเขาบอกว่าวิจารณ์พระเจ้าอยู่หัวว่าผิด งั้นขอทราบว่าผิดตรงไหน ถ้าไม่ทราบ เดือดร้อน

ฉะนั้น ก็ที่บอกว่าการวิจารณ์เรียกว่าละเมิดพระมหากษัตริย์ ละเมิด ให้ละเมิดได้ แต่ถ้าเขาละเมิดผิดเขาก็ถูกประชาชนบอมบ์ คือเป็นเรื่องของขอให้รู้ว่าเขาวิจารณ์อย่างไร ถ้าเขาวิจารณ์ถูกไม่ว่า แต่ถ้าเขาวิจารณ์ผิดไม่ดี แต่เมื่อบอกว่าไม่ให้วิจารณ์ ไม่ให้ละเมิดไม่ได้เพราะรัฐธรรมนูญว่าอย่างนั้น ก็ลงท้ายก็เลยพระมหากษัตริย์ก็เลยลำบากแย่ อยู่ในฐานะลำบาก ก็แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่ให้วิจารณ์ก็หมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวนี่ ก็ต้องวิจารณ์ ต้องละเมิด แล้วไม่ให้ละเมิด พระเจ้าอยู่หัวเสีย พระเจ้าอยู่หัวเป็นคนไม่ดี ซึ่งถ้าคนไทยด้วยกันก็ยังไม่กล้า สองไม่เอ็นดูพระเจ้าอยู่หัว ไม่อยากละเมิด แต่มีฝ่ายชาวต่างประเทศ มีบ่อยๆ ละเมิดพระเจ้าอยู่หัว ละเมิด THE KING