โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 25 September 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๖๐ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐ (September, 25, 09,.2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

มีการแจกใบปลิวเรียกร้องให้ประชาชนในพม่าร่วมกันประท้วงรัฐบาลพม่า โดยการเคาะหม้อและกระทะเพื่อให้เกิดเสียงดังขับไล่สิ่งชั่วร้ายและภูตผีปีศาจ ใบปลิวดังกล่าวเรียกร้องให้ประชาชนในพม่าทำเสียงอึกทึกในวันที่ 11 ถึง 13 กันยายนที่จะถึงนี้ โดยควรกระทำพร้อมกันในเวลา 19.02 น. 20.01 น.และ 21.00 น.เป็นต้นไป โดยในใบปลิวยังระบุอีกว่า การเคาะหม้อเคาะกระทะเสียงดัง จะสามารถทำให้ประเทศพ้นภัยจากสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เศรษฐกิจย่ำแย่ การจับกุมผู้บริสุทธิ์ตามอำเภอใจ
25-09-2550

Saffron Revolution
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

เหตุการณ์พระสงฆ์ ประชาชนพม่า เดินขบวนประท้วงทั่วประเทศ
อำนาจโลกที่เดินถอยหลัง: กรณีเหตุการณ์ประท้วงในพม่า
(ความเป็นมา ตอนที่ ๑)

กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : เรียบเรียงและปรับปรุง
ขอขอบคุณข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

บทความวิชาการต่อไปนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รวบรวม เรียบเรียง
และทำการปรับปรุงจากแหล่งข่าวหลายสำนัก เพื่อร่วมบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
และเป็นพยานการใช้ความรุนแรงกับพระสงฆ์และประชาชนชาวพม่า
โดยในภาคแรกนี้ ได้แบ่งออกเป็น ๒ ตอน นับจาก ๑๓๖๐ และ ๑๓๖๑
เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการรายงานเหตุการณ์รายวัน ที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น
ซึ่งเริ่มตั้งแต่เมื่อกลางเดือนสิงหาคม จนถึงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๐
โดยสาเหตุเนื่องมาจาก การประกาศขึ้นราคาเชื้อเพลิงหลายเท่าตัว
อันเป็นชนวนให้เกิดการประท้วงขึ้นทั่วประเทศ. กาลนี้ พระสงฆ์จำนวนมาก
และประชาชนนับแสนได้ออกมาเคลื่อนไหวด้วยสันติวิธีทั่วประเทศ
เพื่อแสดงความไม่พอใจในปัญหาที่สั่งสมและถูกกดทับมานับทศวรรษ
ภายใต้การบริหารของเผด็จการทหารพม่า โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
- ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ ประชาชนเริ่มออกมาประท้วงการขึ้นราคาน้ำมัน
- พระสงฆ์ ๒๐๐ รูป ประท้วงอย่างสันติที่ตานลยิน ย่างกุ้ง
- ชาวพม่าในประเทศไทยเกือบ ๑๐๐ คน รวมตัวสถานทูตพม่า
- การเคาะหม้อและกระทำเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย
- ใบปลิวฝ่ายพม่าเตือนสถานทูตสหรัฐฯ และอังกฤษ
- พระสงฆ์ที่ประท้วงอย่างสันติ
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๖๐
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๗ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เหตุการณ์พระสงฆ์ ประชาชนพม่า เดินขบวนประท้วงทั่วประเทศ
อำนาจโลกที่เดินถอยหลัง: กรณีเหตุการณ์ประท้วงในพม่า
(ความเป็นมา ตอนที่ ๑)

กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : เรียบเรียงและปรับปรุง
ขอขอบคุณข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ



พระสงฆ์ ประชาชน เดินขบวนเข้ากลางกรุงย่างกุ้ง
รัฐทหารพม่า สั่งซื้อจีวรสงฆ์กว่า ๓,๐๐๐ ผืน
(ข้อมูลจากประชาไท)
การชุมนุมของพระสงฆ์ในพม่า เดินขบวนเข้าไปถึงเจดีย์สุเล ในใจกลางกรุงย่างกุ้งแล้ว แม้รัฐบาลประกาศเตือนว่าอาจใช้กำลังทหารเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงก็ตาม

ผู้นำพระสงฆ์ได้ตะโกนคำว่า "ประชาธิปไตย, ประชาธิปไตย" และพระสงฆ์ได้โบกธงซึ่งรวมถึงธงที่มีรูปนกยูง ซึ่งกลุ่มนักศึกษาเคยใช้ในเหตุการณ์ลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตย ในเหตุการณ์ 8888 และถูกรัฐบาลทหารกวาดล้างจนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3,000 คน. ด้านกลุ่ม Burma Campaign UK รายงานว่า มีการสั่งการให้ทหารโกนศีรษะ เพื่อเตรียมตัวเข้าแทรกซึมในกลุ่มพระสงค์ที่เดินขบวนประท้วง. Burma Campaign UK รายงานต่อไปว่า รัฐบาลทหารพม่ายังได้สั่งซื้อจีวรพระสงฆ์จำนวน 3,000 ผืน โดยอาจมีจุดประสงค์เพื่อให้ทหารปลอมตัวเป็นพระ เพื่อยั่วยุให้เกิดความรุนแรง เพื่อเป็นชนวนให้รัฐบาลมีเหตุผลสามารถเข้าดำเนินการกวาดล้างกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงได้

ด้าน Thai Research Project Peaceway Foundation (Burma Issues) ทำรายงานสรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหวเรียกร้องในประเทศพม่า ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค. 50 ถึงล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 50

สรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหวเรียกร้องในประเทศพม่า
ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2550 - 25 กันยายน 2550
โดย Thai Research Project Peaceway Foundation (Burma Issues)

15 สิงหาคม 2550 รัฐบาลเผด็จการพม่าตัดสินใจกะทันหันขึ้นราคาน้ำมันรวดเดียว 100 %ตามปั๊มน้ำมันทุกแห่งที่เป็นของรัฐบาล เพื่อปรับราคาให้เป็นไปตามราคาน้ำมันโลก โดยขึ้นราคาน้ำมันดีเซลเต็มที่จากเดิม 1,500 จ๊าด (ราว 38 บาท) ต่อแกลลอน (ประมาณ 4.55 ลิตร) เป็น 3,000 จ๊าด (ราว 76 บาท) ส่วนก๊าซธรรมชาติปรับราคาขึ้นถึง 5 เท่าตัวจากราคาถังละ 2,800 จ๊าด พุ่งขึ้นมาถึง 15,000 จ๊าด ขณะที่ก๊าซชนิดบรรจุถังขนาด 65 ลิตร ขึ้นราคาจาก 500 จ๊าด เป็น 2,500 จ๊าด. ถึงแม้ว่าราคาเชื้อเพลิงในประเทศจะยังต่ำกว่าอีกหลายประเทศ แต่ก็ถือว่าแพงมากที่สุดอยู่แล้วสำหรับประเทศนี้ที่ประชาชนโดยเฉลี่ยมีรายได้เพียงประมาณเดือนละ 4 หมื่นจ๊าด (ราวพันกว่าบาท) เท่านั้น ทั้งนี้รัฐบาลพม่าขึ้นราคาเชื้อเพลิงครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2548 โดยขึ้นราคาเชื้อเพลิงถึง 5 เท่าตัวในชั่วข้ามคืนเดียวเท่านั้น

16 สิงหาคม 2550 หลังจากราคาก๊าซและน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจของพม่ารวมถึงผู้ใช้รถใช้ถนน และส่งผลทำให้ราคาเครื่องอุปโภคบริโภคขึ้นราคาเป็นเงาตามตัว. ทั้งนี้ ค่าโดยสารทั้งในกรุงย่างกุ้งและจังหวัดมัณฑะเลย์ ขึ้นราคาเป็นสองเท่าหลังจากราคาก๊าซพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว จากราคาปกติ 50 จ๊าด ขึ้นเป็น 100 จ๊าต (3 บาท) ในกรุงย่างกุ้ง และราคาค่าโดยสารในจังหวัดมัณฑะเลย์ จาก 200 (6 บาท) จ๊าตขึ้นเป็น 400 จ๊าต (12 บาท) ประชาชนในจังหวัดมัณฑะเลย์กล่าวว่า โดยปกติแล้ว ช่างฝีมือจะได้รับค่าจ้างวันละ 1, 000 จ๊าตต่อวัน (30 บาท) ซึ่งนอกจากจะต้องจ่ายค่าอาหารแล้ว ในแต่ละวันต้องจ่ายค่ารถประจำทางถึง 800 จ๊าต (24 บาท) ต่อวัน ซึ่งไม่รู้ว่าคนเหล่านั้นจะอยู่ได้อย่างไร

ส่วนค่าโดยสารจากจังหวัดมัณฑะเลย์ถึงกรุงเนปีดอว์ จากราคาปกติ 3,100 -3,500จ๊าต (92- 94 บาท) ได้ขึ้นราคาเป็น 4,600 - 5,500 จ๊าต (126-150 บาท) แล้ว อย่างไรก็ตาม พบว่า ผู้ที่ทำงานให้กับรัฐบาลได้รับเงินเดือนต่ำสุด 26,000 จ๊าต (701 บาท) ขณะที่แรงงานทั่วไปได้รับค่าแรง 15,000 จ๊าตต่อเดือน (405 บาท) แต่ต้องจ่ายค่ารถโดยสารต่อเดือนเป็นเงินกว่า 8,800 -13,200 จ๊าต (238 - 356 บาท) นอกจากนี้ รัฐบาลพม่ายังอนุมัติให้ขึ้นราคาก๊าซและน้ำมันดีเซลป็นสามเท่าตัวอีกด้วย ทำให้ประชาชนจำนวนมากหันมาซื้อน้ำมันดีเซลใต้ดินกันมากขึ้น แต่ก็ได้รับผลกระทบราคาแพงขึ้นเช่นเดียวกัน

ทางด้านกลุ่มผู้ขับรถโดยสารได้ออกมาเรียกร้องต่อทางการว่า ถ้าหากราคาน้ำมันยังพุ่งสูงขึ้นเช่นนี้ คงไม่สามารถให้บริการได้อีกต่อไป ขณะที่รัฐบาลออกมาสั่งการให้บริษัทเดินรถดำเนินการวิ่งรถต่อไป มิเช่นนั้นจะถูกยึดรถ. ในส่วนของชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป ราคาข้าวและอาหารก็ได้ขึ้นราคาแล้วเช่นกัน ซึ่งการขึ้นราคาสินค้าต่างๆ ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในตลาดมืดด้วย โดยพบว่า อัตราแลกเปลี่ยนได้เพิ่มขึ้นจาก 1,280 จ๊าตเป็น 1,325 จ๊าต ต่อ 1 ดอลลาร์

19 สิงหาคม 2550 นายมินโก เนียง อดีตนักโทษการเมืองและเป็นบุคคลสำคัญในการสนับสนุนประชาธิปไตยในพม่า นำประชาชนมากกว่า 400 คน เดินขบวนประท้วงที่เมืองย่างกุ้ง เพราะการขึ้นราคาน้ำมันดังกล่าว ซึ่งสะท้อนให้เห็นความยากลำบากที่ประชาชนกำลังเผชิญหน้าอยู่ ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถจ่ายค่าโดยสารรถเมล์และแท็กซี่ได้. ขบวนประท้วงได้รับเสียงสนับสนุนจากชาวบ้านจากสองข้างทางและคนเดินถนนทั่วไป บางคนถึงกับลงจากรถเมล์มาร่วมเดินขบวนด้วย

การเดินขบวนของกลุ่มผู้ประท้วงเริ่มต้นด้วยประชาชนเข้าร่วมประมาณ 100 คน ซึ่งนำโดยนักเคลื่อนไหวที่เป็นอดีตนักศึกษาของกลุ่มนักศึกษารุ่น 88 เคลื่อนไปตามถนนสายสำคัญทางตอนเหนือของกรุงย่างกุ้ง ฝูงชนทยอยเข้าร่วมมากกว่า 400 คน และทั้งหมดก็สลายตัวไปเองหลังจากเดินได้ไกลประมาณ 9 กิโลเมตร กลุ่มผู้ประท้วงไม่ได้ตะโกนคำขวัญหรือแจกใบปลิวต่อต้านรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐได้เฝ้าจับตาดูและมีการบันทึกวิดีโอเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ด้วย แต่ไม่มีการแทรกแซงการประท้วงดังกล่าวแต่อย่างใด

20 สิงหาคม 2550 เจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่าได้จับกุมตัวแกนนำกลุ่มต่อต้าน 13 คน ด้วยข้ออ้างที่ว่าเนื่องจากพยายามบ่อนทำลายเสถียรภาพและความมั่นคงของชาติ. ต่อมามีกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยราว 150 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เดินขบวนบริเวณชานกรุงย่างกุ้ง เพื่อเรียกร้องให้รัฐปล่อยตัวผู้ถูกจับทั้ง 13 คน ต่อมามีกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลราว 200 คน เข้าขัดขวางการเดินขบวนประท้วงดังกล่าว และมีการจับผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาลราว 10 คน. "เราถูกจับอย่างไม่เป็นธรรมและไม่ยุติธรรม" ผู้ประท้วงที่ถูกบังคับให้ขึ้นรถตะโกนบอก เหตุดังกล่าวเกิดต่อหน้าสายตาประชาชนที่ยืนดูริมถนน โดยประชาชนจำนวนหนึ่งตบมือให้กำลังใจผู้ประท้วง ซึ่งกำลังมุ่งหน้าไปเมืองอินเส่ง สถานที่คุมตัวนักโทษการเมือง

นายจ่อ จ่อ กล่าวว่า เหตุชุมนุมประท้วงเกิดขึ้นเนื่องจากทหารพม่าจับกุมนายมิน โก่ หน่าย อดีตผู้นำการชุมนุมประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในพม่าเมื่อปี พ.ศ.2531 ซึ่งเคยถูกจับและได้รับการปล่อยตัวมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 นายจี่มิ นายมินเชยา รวมทั้งเพื่อนรวม 13 คน โดยรัฐบาลพม่าได้สั่งให้ทหารใช้รถยนต์ไปจับถึงบ้านทุกคนในเขตเมืองย่างกุ้งตลอดคืนที่ผ่านมา ข้อหาผิดกฎหมายความมั่นคง

นางโอนห์ ฮลา ผู้ที่มีบทบาทในการประท้วงต่อต้านรัฐบาลพม่าผู้หนึ่งกล่าวว่า รัฐบาลทหารพม่าได้ปล่อยตัวที่ผู้ที่ถูกจับกุมตัว 8 คนซึ่งเป็นหญิง 6 คนและชาย 2 คน หลังควบคุมตัวไว้นาน 5 ชั่วโมงในข้อหาก่อการประท้วงต่อต้านการขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของทางการ ทางตอนเหนือของกรุงย่างกุ้ง ที่ทำให้ราคาค่าขนส่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในเวลาต่อมา ขณะเดียวกันนางโอนห์ ฮลาได้ขอคำอธิบายว่า เหตุใดพวกของนางจึงถูกจับ แต่ได้รับคำตอบเพียงว่าเจ้าหน้าที่ได้ทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ระดับสูง และผู้ถูกควบคุมตัวทั้ง 8 คน ถูกบังคับให้ลงนามในเอกสารที่สัญญาว่าจะไม่เข้าร่วมการประท้วงใดๆ อีกต่อไป

ด้าน Christian Solidarity Worldwide's (CSW) กล่าวว่า ขอแสดงคำนับต่อความกล้าหาญของประชาชนในพม่า ที่ยอมเสี่ยงต่อการถูกจับกุม การถูกทำร้ายร่างกาย หรือแม้แต่เสี่ยงชีวิตเพื่อประท้วงรัฐบาลพม่าในครั้งนี้ เราขอยืนเคียงข้างประชาชนชาวพม่าด้วยความมั่นคงและเป็นปึกแผ่น

21 สิงหาคม 2550 องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน US Campaign for Burma ออกแถลงการณ์แสดงความเป็นห่วงสวัสดิภาพของนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ที่ถูกรัฐบาลทหารพม่าจับกุมระลอกล่าสุด ซึ่งอาจถูกทารุณกรรมระหว่างถูกควบคุมตัว มีนายมินโก เนียง นักเคลื่อนไหวที่เคยได้รับรางวัลด้านสิทธิมนุษยชนจากสหรัฐฯ ฯ แคนาดา และยุโรป รวมทั้งผู้นำนักศึกษาและนักเคลื่อนไหวอีกหลายสิบคน. นายออง ดิน ผู้อำนวยการนโยบายของ US Campaign ระบุในแถลงการณ์ว่า ทางการพม่าปฏิเสธไม่ให้เจ้าหน้าที่กาชาดได้เข้าพบกับผู้ถูกจับกุม ทาง US Campaign เตรียมยื่นหนังสือด่วนไปยังนายแมนเฟรด โนวัก ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติ เพื่อแสดงความเป็นห่วงสวัสดิภาพของผู้ถูกจับกุมทั้งหมดต่อไป

22 สิงหาคม 2550 นายกอนซาโล่ กัลเลก๊อส โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ฯ แถลงว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ฯ ขอประณามรัฐบาลทหารพม่าที่จับกุมแกนนำฝ่ายค้านที่เคลื่อนไหวอย่างสงบตามแนวทางประชาธิปไตย และตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งสหรัฐฯ ฯ ขอให้มีการปล่อยตัวแกนนำการเมืองดังกล่าวโดยทันที

กลุ่มสิทธิมนุษยชนและชาติตะวันตกรวมทั้งแคนาดา ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ ฯ ต่างออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนักเคลื่อนไหวเหล่านี้ทันที นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังต้องการให้รัฐบาลพม่าเปิดการเจรจากับแกนนำเคลื่อนไหวประชาธิปไตยและชนกลุ่มน้อยในประเทศ เพื่อก้าวไปสู่การถ่ายโอนอำนาจให้แก่รัฐบาลพลเรือนอย่างแท้จริง. ขณะที่กระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศสแสดงความกังวลที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ใช้กำลังกับกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านการขึ้นราคาน้ำมันในกรุงย่างกุ้ง ซึ่งออกมาชุมนุมกันอย่างสันติ และว่ารัฐบาลพม่าจะต้องรับผิดชอบต่อผลร้ายที่อาจตามมา. ส่วนแคนาดากล่าวว่า การจับกุมนักเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลพม่าไม่เคารพต่อเสรีภาพและประชาธิปไตย

23 สิงหาคม 2550 : พระสงฆ์ประท้วงอย่างสันติที่ตานลยิน ย่างกุ้ง
พระสงฆ์จำนวน 200 รูปทำการประท้วงอย่างสันติในเมืองตานลยิน (Thanlyin, formerly Syriam, is a city in Yangon Division in Myanmar (Burma). It is located on the Ayeyarwady River, and is a major port.) ในกรุงย่างกุ้ง เนื่องจากรัฐบาลออกคำสั่งห้ามพระสงฆ์ออกจากวัดในตอนกลางคืน คำสั่งดังกล่าวมาจาก Mayaka หรือส่วนปกครองในเมืองตานลยิน ซึ่งสั่งการตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามพระรูปหนึ่งกล่าวว่า คำสั่งนี้อาจเนื่องมาจากการต้องการจำกัดพื้นที่พระสงฆ์ ไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประท้วงรัฐบาลเรื่องขึ้นค่าน้ำมันที่มีการประท้วงเมื่อเร็วๆ นี้ก็เป็นได้

24 สิงหาคม 2550 กลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตยในพม่าที่เรียกตัวเองว่า "คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาพม่า" หรือ NDC ประมาณ 40 คน ชุมนุมกันในกรุงย่างกุ้ง เพื่อแสดงการต่อต้านที่รัฐบาลปรับขึ้นราคาน้ำมัน โดยผู้ประท้วงส่วนใหญ่เป็นสมาชิกพรรคสันติบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตาม หลังกลุ่มผู้ประท้วงเริ่มเดินขบวนได้เพียง 5 นาที ก็ถูกกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลประมาณ 20 คนขัดขวางไว้ และตะโกนใส่กัน ก่อนที่ผู้ประท้วงราว 10 คนจะขึ้นรถบรรทุกออกไป ส่วนที่เหลือนั่งเป็นลูกโซ่ เพื่อต่อต้านการจับกุม แต่ถูกกองกำลังความมั่นคงบังคับให้ขึ้นรถบรรทุกตามออกไป

รัฐบาลทหารพม่าเร่งล่าตัวนักการเมืองฝ่ายต่อต้านรัฐบาล 2 คนที่หายตัวไปอย่างลึกลับ หลังกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงโดนตำรวจกวาดจับ การล่าตัวนักการเมืองทั้งสองกระทำกันอย่างละเอียดและเข้มงวด โดยมีการตรวจค้นตามสถานีรถโดยสาร สถานีรถไฟ และท่าเรือข้ามฟากต่างๆ รวมทั้งการตั้งด่านตรวจค้นรถราที่วิ่งไปมาตามท้องถนนในเมืองย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของพม่า

สำหรับนักการเมืองทั้ง 2 ที่ถูกล่าตัว ก็คือนายเตย์ จ่วย อดีตผู้นำนักศึกษาที่ลุกฮือขี้นก่อจลาจลประท้วงรัฐบาลเมื่อปี 2531 และนายเดง จอว์ ผู้ดำเนินการยุยงและจัดให้มีการประท้วงมาตรฐานการครองชีพของชาวพม่าที่ทรุดต่ำลงตามลำดับ. นอกจากการตรวจค้นอย่างละเอียดแล้ว รัฐบาลทหารพม่ายังออกคำสั่งให้ประชาชนรายงานต่อเจ้าหน้าที่ กรณีมีแขกมาเยือนและพักอาศัยร่วมด้วย ก่อนหน้านี้วิทยุ BBC และวิทยุเอเชียเสรี ซึ่งออกอากาศเป็นภาษาพม่าได้สัมภาษณ์นักการเมืองทั้งสอง ที่ประกาศว่า เป็นผู้จัดการชุมนุมประท้วง \และเรียกร้องให้พระภิกษุและนักศึกษาเข้าร่วมการประท้วงครั้งนี้ด้วย

25 สิงหาคม 2550 รัฐบาลได้จับกุมกลุ่มนักเคลื่อนไหวแล้วอย่างน้อย 63 คน หลังมีการชุมนุมประท้วงต่อต้านการขึ้นราคาน้ำมัน ซึ่งรวมทั้งสมาชิกกลุ่ม 88 เจนเนอเรชั่น สตูเด้นท์ จำนวน 13 คน โดยแหล่งข่าวระบุว่า ขณะนี้กลุ่มนักเคลื่อนไหวทั้ง 13 คนถูกส่งตัวไปคุมขังที่เรือนจำอินเส่งแล้ว ส่วนบรรยากาศในกรุงย่างกุ้งวันนี้เงียบสงบ โดยมีทหารกระจายกำลังเตรียมพร้อมรับมือกับการประท้วงที่อาจเกิดขึ้นอีก

สถานีโทรทัศน์ที่สนับสนุนประชาธิปไตยในพม่าของนอร์เวย์ ได้เปิดเผยภาพของนายฮอง ตัน ผู้สนับสนุนประชาธิปไตยในพม่ารายหนึ่ง ที่ไปยืนถือป้ายประท้วงอยู่หน้าสถานทูตสหรัฐฯ ในเมืองย่างกุ้ง ก่อนที่จะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจของพม่าจับกุมตัวไป โดยก่อนหน้านี้ราว 1 สัปดาห์ นายฮอง ตัน ได้เปิดเผยกับสถานีโทรทัศน์ดังกล่าว โดยเรียกร้องให้ประชาชนในพม่าออกมาชุมนุมประท้วงร่วมกัน เพื่อให้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่าประสบผลสำเร็จ โดยเชื่อว่าหากชาวพม่าร่วมใจกันออกมาชุมนุมประท้วง จะกลายเป็นวาระสำคัญในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่กำลังจะมีขึ้น. สำหรับนายฮอง ตัน นับเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยรายที่ 14 แล้ว ที่ถูกจับกุมระหว่างการชุมนุมประท้วงในเมืองย่างกุ้ง

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า ออกแถลงการณ์ประณามการจับกุมแกนนำ 13 คน ที่ประท้วงการขึ้นราคาเชื้อเพลิงของรัฐบาลทหารพม่า แถลงการณ์ระบุว่า การออกมาชุมนุมและเรียกร้องของประชาชนทั่วโลก เป็นสิทธิอันชอบธรรมที่นานาประเทศที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต่างยอมรับ แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศพม่าขณะนี้ รัฐบาลทหารพม่านอกจากจะได้จับกุมแกนนำแล้ว ยังไม่มีความพยายามป้องกันการเกิดการปะทะกันของประชาชนระหว่างกลุ่มที่คัดค้านคำสั่งดังกล่าว กับกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาล

ทั้งนี้คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวแกนนำในการประท้วงครั้งนี้โดยทันที และเร่งคืนประชาธิปไตยให้กับประเทศพม่า เพื่อให้เกิดการจัดการระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม การขึ้นราคาน้ำมันจะทำให้ข้าวของแพงขึ้น และประชาชนอยู่กันอย่างลำบากมากขึ้น

26 สิงหาคม 2550 เจ้าหน้าที่ทหารพม่าได้รวบตัวนายถิน คะยอ อายุ 44 ปี หนึ่งในแกนนำกลุ่มผู้ประท้วงที่ทางการตามล่าชนิดพลิกแผ่นดินมาหลายวันได้แล้ว และจับกุมผู้ประท้วงเพิ่มอีก 13 ราย พยานผู้เห็นเหตุการณ์ กล่าวว่า นายถิน คะยอ ถูกเจ้าหน้าที่ใช้กำลังเข้าจับกุมได้เมื่อวันเสาร์ พร้อมด้วยชายอีกคน โดยทั้งคู่ร้องตะโกนด่าทอรัฐบาลขณะถูกควบคุมตัวไป รายงานข่าวแจ้งว่า นายถินมีแผนจะไปเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลต่อหากไม่ถูกจับกุม ซึ่งนับแต่ต้นปีนี้ นายถินถูกจับกุมมาแล้ว 3 ครั้ง ในข้อหาเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาล

ผู้แทนองค์การสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า การปรับราคาน้ำมันจะกระทบครอบครัวชาวพม่าส่วนใหญ่ เพราะเกือบร้อยละ 90 เป็นผู้มีฐานะยากจน ดำรงชีวิตด้วยเงินเพียงวันละ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ฯ หรือประมาณ 35 บาท การขึ้นราคาน้ำมันจะทำให้ข้าวของแพงขึ้นและประชาชนอยู่อย่างลำบากมากขึ้น

ชาวพม่าในประเทศไทยเกือบ 100 คน รวมตัวสถานทูตพม่า
สำหรับบรรยากาศในประเทศไทย ชาวพม่าในประเทศไทยเกือบ 100 คน ได้รวมตัวกันหน้าสถานทูตพม่า ถนนสาทร ในกรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องรัฐบาลพม่าให้ปล่อยตัวผู้ประท้วง และนักโทษการเมืองที่เรียกร้องประชาธิปไตย โดยเฉพาะนางออง ซาน ซู จี ที่ถูกควบคุมตัวไว้นานหลายปี. ซาน ออง สมาชิกพรรค NLD ของพม่า เรียกร้องประชาชนทั้งประเทศให้ลุกฮือต่อต้านรัฐบาลที่ทำให้ชีวิตของพวกตนต้องลำบากอยู่จนถึงทุกวันนี้

27 สิงหาคม 2550 ชาวพม่าราว 50 คนนำโดยนายจ่อ วิน สมาชิกพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) พรรคฝ่ายค้านสำคัญพากันเดินขบวนอย่างสงบ ไม่มีป้ายประท้วง ไม่มีการตะโกนคำขวัญ แต่เดินประท้วงเงียบๆ ไปตามถนนในเมืองพะโค ที่อยู่ห่างจากนครย่างกุ้งไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 75 กิโลเมตร แม้จะเป็นการเดินขบวนเงียบๆ แต่เรียกความสนใจจากประชาชนได้เป็นจำนวนมาก ที่พากันยืนเรียงรายปรบมือให้กับผู้เดินขบวนทั้งหมด

ผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่าตำรวจได้จับกุมคนทั้งหมด นำตัวไปสอบปากคำยังสถานีตำรวจพะโค กักตัวคนทั้งหมดไว้เป็นเวลา 2 ชั่วโมงก่อนปล่อยตัวเป็นอิสระในที่สุด สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชาชนราว 100 คน แห่ติดตามผู้ถูกจับกุมตัวไปตลอดทาง และรวมตัวกันหน้าสำนักงานตำรวจ เพราะเกรงว่าจะมีการทารุณกรรมต่อผู้ถูกจับกุมทั้งหมด

นายจ่อ วิน เปิดเผยทางโทรศัพท์ว่า ประชาชนทั้งหมดกดดันจนในที่สุดเจ้าหน้าที่ต้องปล่อยตัวพวกตนโดยไม่ได้ทำร้ายร่างกาย หรือกระทำการไม่เหมาะสมอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ นายจ่อ วิน และสมาชิกพรรค NLD รายอื่นๆ ยืนกรานจะประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันต่อไป เพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชน. นายโกเท จเว หนึ่งในแกนนำสำคัญของนักศึกษาปี 1988 ที่หลบหนีการจับกุมจากรัฐบาลพม่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เรียกร้องให้ UN ให้เข้ามาช่วยเหลือ กรณีที่รัฐบาลทหารพม่าจับกุมนักเคลื่อนไหวที่ชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้

นายโกเท จเว กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ UN จะต้องแสดงบทบาทหน้าที่ในการตอบโต้รัฐบาลพม่าที่จับกุมนักเคลื่อนไหวจำนวนมาก ซึ่งการกระทำดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า บ้านเมืองไม่ปลอดภัยและไร้กฎหมายในพม่า นอกจากนี้ยังเห็นได้ชัดว่าปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาการเมืองเลวร้ายลงเรื่อยๆ ซึ่งเรากำลังพยายามช่วยเหลือประชาชนในพม่าให้พ้นจากสภาพที่กำลังเผชิญอยู่

เขากล่าวเพิ่มเติมว่า เรารู้ว่านานาชาติกำลังจับตามองสถานการณ์ในพม่าอยู่ และอยากให้นายอิบราฮิม แกมบารี ทูตพิเศษของ UN ไปเยือนพม่า อย่างไรก็ตามนายอิบราฮิม แกมบารีมีแผนที่จะเยือนรัฐบาลพม่าในเร็วๆ นี้ แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ประท้วงขึ้น ยังไม่มีการยืนยันว่ารัฐบาลพม่าจะยังคงอนุญาตให้นายอิบราฮิมเข้าไปเยือนได้หรือไม่. นอกจากนี้ นายโกเท จเวยังได้เรียกร้องให้หลายองค์กร เช่น สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองในพม่า หรือ AAPPB (Assitance Association for Political Prison - [Burma]) และ Burma Campaign ในอังกฤษเข้ามาช่วยเหลืออีกด้วย เขากล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในพม่าอาจไม่ใช่แค่เรื่องการขึ้นราคาน้ำมัน แต่ยังรวมถึงความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ ระบบการปกครองและการเมืองที่ย่ำแย่ ซึ่งประชาชนในพม่าออกมาแสดงให้เห็นแล้วว่า พวกเขาอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพม่า

ขณะที่นายชาร์ลส เพทรี หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านมนุษยธรรมองค์การสหประชาชาติในพม่า กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ขยับสูงขึ้นในพม่า จะส่งผลกระทบต่อครอบครัวชาวพม่าอย่างมาก เนื่องจากครอบครัวชาวพม่าเกือบร้อยละ 90 มีฐานะยากจน มีรายได้เฉลี่ยเพียง 35 บาทต่อวัน ดังนั้นการขึ้นราคาน้ำมันจะยิ่งทำให้ประชาชนลำบากมากขึ้นในการดำรงชีวิต และยังแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลพม่าไม่ได้สนใจกับความเป็นอยู่ของประชาชน

สมาคมผู้ให้ความช่วยเหลือนักโทษการเมือง (พม่า) หรือ AAPPB เชื่อว่าผู้ถูกจับกุมอาจมีถึงอย่างน้อย 100 คน ทั้งหมดถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำอินเส่ง ซึ่งคาดว่าจะตกเป็นเหยื่อการทารุณกรรมของเจ้าหน้าที่ ในขณะที่วิทยุทางการพม่าระบุว่า นายมิง โกนาย กับพวกอีก 12 คนที่ถูกจับกุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กำลังถูกสอบสวนและจะมีการดำเนินคดีตามข้อหายุยงให้เกิดความไม่สงบขึ้นต่อไป

ในส่วนของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจพม่า ได้ประสานกับผู้บริหารสถานศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา ไม่ให้นักเรียนนักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง และประสานกับวัดหลายแห่งในจังหวัดมัณฑเลย์ ให้ช่วยแจ้งเตือนประชาชนอย่าออกไปชุมนุม โดยก่อนหน้านี้มีการชุมนุมใน จังหวัดมัณฑเลย์ และจังหวัดโมโก๊ก ซึ่งเป็นจังหวัดติดกัน

ชาวพม่าจาก จ.เมียวดี ตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก นับ 100 คน ได้โดยสารเรือข้ามแม่น้ำเมยเข้ามาบ้านริมเมย ต.ท่าสายลวด และเดินทางเข้ามาจับจ่ายซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคในตลาด อ.แม่สอด กันมาก เนื่องจากสถานการณ์การชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าในเมืองย่างกุ้ง และเมืองอื่นๆ ยังไม่ลดลง ทำให้เกรงว่าหากเหตุการณ์ยืดเยื้อออกไป จะส่งผลให้ราคาสินค้าในประเทศพม่าเพิ่มสูงขึ้นแน่นอน

28 สิงหาคม 2550 รัฐบาลทหารพม่าจัดส่งรายชื่อพร้อมรูปถ่ายและประวัติของผู้ที่ทางการต้องการตัว ในฐานะแกนนำการประท้วงในรอบสองสัปดาห์ที่ผ่านมาไปยังส่วนราชการทุกแห่ง โดยระบุว่าเจ้าหน้าที่ทางการที่ทราบเบาะแสผู้ที่ทางการต้องการตัว จะต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันที นอกจากนี้ ประกาศดังกล่าวยังแจกจ่ายไปยังโรงแรม และเกสต์เฮาส์ทุกแห่งในกรุงย่างกุ้งอีกด้วย

ทางการประเทศพม่าได้มีคำสั่งให้ปิดตลาดอัญมณี ซึ่งเป็นแหล่งซื้อขายใหญ่ที่สุดในพม่าที่เมืองโมโก๊ก แขวงมัณฑเลย์ ซึ่งห่างจากทางเหนือมัณฑเลย์ประมาณ 128 ไมล์ ทั้งนี้เป็นผลพวงจากมาตรการความปลอดภัยและความมั่นคงของรัฐบาลทหารพม่า จากกรณีที่เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีประชาชนในเมืองมัณฑเลย์ และเมืองโมโก๊ก ก่อเหตุชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ไปตามถนนสายต่างๆ หลายจุด พร้อมส่งกำลังทหารและตำรวจ รวมทั้งชุดหน่วยข่าวกรอง สันติบาลกว่า 300 นาย เข้าไปยึดพื้นที่ และประกาศห้ามไม่ให้พ่อค้าอัญมณีเข้าไปเปิดร้านค้าและแผงลอย จนกว่าจะมีการประกาศจากรัฐบาลกลางให้เปิดได้อีกครั้งหนึ่ง

นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้ความเห็นว่า สถานการณ์ในพม่าขณะนี้กำลังถูกจับตามอง เนื่องจากเกรงว่าอาจจะกระทบต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในพม่า อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการประชุมสมัชชาแห่งชาติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญของพม่าที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งทางรัฐบาลพม่าเองประกาศออกมาแล้วว่า ขั้นตอนทั้งหมดจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในเดือนกันยายนนี้ ตามที่รัฐบาลได้ให้สัญญาไว้

ขณะที่อาจารย์พรพิมล ตรีโชติ ผู้เชี่ยวชาญด้านสถานการณ์ในพม่าประจำสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า การที่รัฐบาลพม่าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงราคาน้ำมันอย่างหนัก จะไม่ส่งผลกระทบต่อไทยและผู้นำในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและไทยให้ความสนใจด้านเศรษฐกิจของพม่ามากกว่าเรื่องอื่น เช่น สนใจเรื่องผลประโยชน์ด้านพลังงานในพม่ามากกว่าสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นต้น ในขณะที่นานาชาติโจมตีรัฐบาลพม่าอย่างหนักถึงการกระทำที่พยายามขัดขวางกลุ่มผู้ประท้วง แต่อาเซียนกลับไม่ท่าทีใดๆ

อย่างไรก็ตามอาจารย์พรพิมลไม่เห็นด้วยกับบางประเทศในตะวันตกที่กล่าวว่า การประท้วงอย่างสันติในพม่าจะไม่สามารถลดอำนาจรัฐบาลทหารและสถานการณ์จะกลับคืนสู่ปกติโดยเร็ว โดยอ้างว่าไม่ได้เป็นการโจมตีรัฐบาลโดยตรง แต่เป็นสิทธิของประชาชนในการขัดขืนไม่เชื่อฟังรัฐด้วยวิธีการสันติ และเป็นการแสดงออกให้เห็นว่าประชาชนได้รับผลกระทบอย่างหนักในชีวิตประจำวันที่ไม่อาจทนได้

29 สิงหาคม 2550 รัฐบาลทหารพม่าจัดกำลังเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครพลเรือนจำนวนหนึ่งลาดตระเวนในกรุงย่างกุ้ง เพื่อยับยั้งความพยายามในการชุมนุม สถานการณ์วันนี้ไม่ปรากฏว่ามีการชุมนุมประท้วง แม้ว่าจะมีข่าวลือแพร่สะพัดว่า กลุ่มฝ่ายค้านพยายามรวบรวมกำลังเพื่อชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่. ในส่วนของกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ตรงข้ามชายแดนไทยด้าน จ.ตาก ออกแถลงการณ์เป็นภาษากะเหรี่ยงแจกจ่ายให้ชาวกะเหรี่ยงตามแนวชายแดน ระบุว่าขอให้ชาวกะเหรี่ยงติดตามสถานการณ์การชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตามหัวเมือง อย่าได้นิ่งเฉยโดยไม่รับรู้อะไร เพราะที่ผ่านมารัฐบาลทหารพม่าทำลายวัฒนธรรมประเพณีของชาวกะเหรี่ยง และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ

สหภาพยุโรปออกแถลงการณ์ประณามรัฐบาลทหารพม่า ที่จับกุมแกนนำผู้ประท้วง ซึ่งขัดแย้งกับระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิประท้วงอย่างสันติ ทางสหภาพยุโรปจึงขอเรียกร้องให้ทางทหารพม่าปล่อยตัวผู้ชุมนุมประท้วงทันที. ส่วนองค์กรพิทักษ์เสรีภาพสื่อมวลชน 2 กลุ่ม ได้แก่ องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน และสมาคมสื่อมวลชนพม่า ต่างออกแถลงการณ์ประณามรัฐบาลทหารพม่าที่ห้ามนักข่าวทำข่าวการประท้วงที่ทางการขึ้นราคาน้ำมันอย่างพรวดพราดในครั้งนี้ โดยขัดขวางช่างภาพบันทึกภาพขณะที่ตำรวจและกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลทหารพม่าใช้กำลังต่อผู้ชุมนุมประท้วงราคาน้ำมัน นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบใช้แท่งเหล็กขู่ทำร้ายนักข่าวที่สังเกตการณ์อยู่ในการชุมนุมด้วย

จิม แคร์รี่ ดาราตลกชั้นแนวหน้าของฮอลลีวูด จัดทำคลิปวิดีโอในเว็บไซต์ยูทูบ ในฐานะที่เขาช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้กับศูนย์สิทธิมนุษยชน และโครงการรณรงค์ U.S. Campaign for Burma ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ กดดันให้เผด็จการทหารพม่าปล่อยอองซาน ซูจี ผู้ถูกกักตัวมานาน โดยกล่าวว่า "ถึงแม้เธอจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคานธีหรือเนลสัน แมนเดลาแห่งยุคสมัย แต่คนส่วนใหญ่ในอเมริกาก็ยังไม่รู้จักอองซาน ซูจี" แครีกล่าวในวิดีโอ "ชื่อเธออาจจะจำยากไปนิด ถ้าอย่างนั้นผมจะเรียกเธอใหม่ อองซานฟังเหมือน unsung เหมือน unsung hero อองซาน ซูจี คือวีรสตรีที่ไม่มีใครรู้จัก"

แคร์รีย์บรรยายในวิดีโอให้คนรุ่นใหม่ฟังว่า อองซาน ซูจี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 1991 แต่กลับถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ในบ้านตัวเอง รัฐบาลทหารภายใต้การนำของนายพลตานฉ่วย ทำลายหมู่บ้านกว่า 3,000 หมู่บ้านทางภาคตะวันออก กวาดต้อนชนกลุ่มน้อย 1.5 ล้านคนให้อพยพ และเกณฑ์ทหารเด็กมากกว่าประเทศใดในโลก

30 สิงหาคม 2550 มีผู้ประท้วงราว 20 คน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของย่างกุ้งออกมาประท้วง แต่ก็ถูกก่อกวนและขับไล่โดยพวกนักเลงหัวไม้ที่สนับสนุนรัฐบาลทหาร. นักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าหลายคนที่ถูกจับระหว่างการเดินขบวนคัดค้านการปรับขึ้นราคาน้ำมัน พวกเขาเริ่มอดอาหารประท้วงกรณีที่ตำรวจไม่ยอมรักษาผู้ประท้วงคนหนึ่งที่ขาหัก. นางซู ซู เวย์ ผู้ประท้วงที่สามารถหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ว่า นายเอ เทง เนียง ผู้ร่วมประท้วงถูกกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลชกต่อยและทุบตี ก่อนที่จะถูกผลักจนทำให้ขาหัก และขณะนี้ถูกควบคุมตัวพร้อมกับกลุ่มผู้ประท้วงอื่นอีก 60 คนที่สถานีตำรวจในกรุงย่างกุ้ง โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ช่วยรักษาอาการแต่อย่างใด. ครอบครัวของผู้ประท้วงเปิดเผยว่า รัฐบาลทหารพม่าห้ามบรรดาญาติติดต่อกับผู้สนับสนุนเรียกร้องประชาธิปไตย

การเคาะหม้อและกระทำเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย
นอกจากนั้นยังมีการแจกใบปลิวเรียกร้องให้ประชาชนในพม่าร่วมกันประท้วงรัฐบาลพม่า โดยการเคาะหม้อและกระทะเพื่อให้เกิดเสียงดังขับไล่สิ่งชั่วร้ายและภูตผีปีศาจ ใบปลิวดังกล่าวเรียกร้องให้ประชาชนในพม่าทำเสียงอึกทึกในวันที่ 11 ถึง 13 กันยายนที่จะถึงนี้ โดยควรกระทำพร้อมกันในเวลา 19.02 น. 20.01 น.และ 21.00 น.เป็นต้นไป โดยในใบปลิวยังระบุอีกว่า การเคาะหม้อเคาะกระทะเสียงดัง จะสามารถทำให้ประเทศพ้นภัยจากสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เศรษฐกิจย่ำแย่ การจับกุมผู้บริสุทธิ์ตามอำเภอใจ การกดขี่ข่มเหงประชาชนโดยรัฐบาลเผด็จการ ความแตกแยกของประชาชนเพราะสิ่งชั่วร้าย การขาดแคลนอาหาร การกดขี่ทางศาสนา รวมไปถึงปีศาจร้ายที่อาศัยอยู่ในเนย์ปีดอว์ เมืองหลวงแห่งใหม่ด้วย

มีการคาดกันว่าการประท้วงดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมาก เพราะเป็นการประท้วงที่ไม่แสดงตัว และกระทำในเวลากลางคืน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์มาเกี่ยวข้องอีกด้วย ขณะที่แหล่งข่าวเปิดเผยว่า มีการเชิญชวนการประท้วงดังกล่าวทางโทรศัพท์มือถือ อีเมล์ และทางเว็บไซต์ ทั้งนี้ความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์และสิ่งเหนือธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของประชาชนในพม่า โดยเฉพาะพลเอกอาวุโสตานฉ่วยและภรรยา ที่มีหมอดูประจำตัวชื่ออีที คอยทำนายดวงชะตา

นอกจากนี้ยังพบใบปลิวอื่นๆ ที่กระตุ้นให้พลังของกลุ่มนักศึกษาฟื้นขึ้นมา และเรียกร้องให้มีการเคลื่อนไหวของพลังประชาชนได้ถูกแจกจ่ายไปทั่วกรุงย่างกุ้ง ซึ่งเหตุการณ์นี้คล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 1988 ที่ประชาชนประท้วงด้วยการเคาะหม้อและกระทะขับไล่นายเส่ง ลวิน อดีตประธานธิบดีของพม่าหรือที่รู้จักในฉายา "นักฆ่าแห่งกรุงย่างกุ้ง" เมื่อครั้งที่ออกคำสั่งให้ฆ่ากลุ่มประท้วงในเหตุการณ์ 1988 (พ.ศ.2531)

ประธานาธิบดีบุช ประณามการกระทำที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องของทางการพม่า ในการจับกุม ทำร้าย ล่วงเกินนักเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ที่จัดการประท้วงและผู้ที่เข้าร่วมการประท้วงที่ดำเนินไปอย่างสันติ เขากล่าวด้วยว่า ผู้ประท้วงเหล่านี้ต้องการแสดงความวิตกกังวลกรณีที่น้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาเพิ่มขึ้นสูง และรัฐบาลควรจะรับฟังมากกว่าพยายามใช้กำลังให้พวกเขาหยุดแสดงความเห็น

ในแถลงการณ์ฉบับนี้ ประธานาธิบดีบุช ยังระบุว่ารัฐบาลทหารพม่าควรจะรับฟังเสียงเรียกร้องจากประชาคมโลก ให้ปล่อยตัวผู้ประท้วงเหล่านี้โดยทันที และยุติการข่มขู่คุกคามพลเมืองพม่าที่พยายามส่งเสริมประชาธิปไตยและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ผู้นำสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์แสดงความเห็นในเรื่องนี้หลังจากมีนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยถูกจับกุมและบ้านถูกเจ้าหน้าที่บุกเข้าค้นบ้านเรือน มีการคาดหมายว่า กรณีพม่าจับกุมตัวผู้ประท้วงครั้งนี้จะถูกหยิบยกขึ้นมาหารือในการประชุมสุดยอด ของผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปก ที่นครซิดนีย์ของออสเตรเลียในสัปดาห์หน้า ซึ่งประธานาธิบดีบุชมีกำหนดจะเข้าร่วมประชุมด้วย

คณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AHRC) เปิดเผยว่า รัฐบาลทหารพม่าใช้กลยุทธ์ตั้งกลุ่มผู้ชุมนุมอีกกลุ่มมาสกัด และช่วยปราบกลุ่มแกนนำผู้ประท้วงไม่พอใจการขึ้นราคาน้ำมัน. AHRC ระบุว่า มีหลักฐานพิสูจน์ได้ถึงเจ้าหน้าที่รัฐและพลเรือนกลุ่มหนึ่ง รวมตัวกันในชื่อกลุ่ม "ซวอน อา ฉิ่น" ซึ่งมีความหมายว่า"เจ้าแห่งกองกำลัง" ได้รับการชี้แนะในการเคลื่อนขบวนและดำเนินการเพื่อปราบปรามผู้ประท้วง ในเอกสารฉบับหนึ่งยังกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ระดับกลางได้หารือเกี่ยวกับการเก็บสถิติและการฝึกฝน เพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มม็อบจัดตั้งดังกล่าวจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและเป็นระบบยิ่งขึ้น. นายเบซิล เฟอร์นานโด ผู้อำนวยการ AHRC เผยว่า ในเอกสารยังได้ระบุถึงเจ้าหน้าที่ซึ่งจัดตั้งม็อบกลุ่มนี้ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อปราบปรามพลเรือนโดยเฉพาะ

ส.ส.และ ส.ว.สหรัฐฯ ทำหนังสือถึงรัฐบาลตัวเองให้กระตุ้นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC - United Nations Security Council) ประชุมด่วนเพื่อแทรกแซงเรื่องนี้ โดยเรียกร้องให้ UN จัดการประชุมฉุกเฉินว่าด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า ซึ่งโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า รัฐบาลมีแผนจะหารือกับ UN อยู่แล้วในการประชุมสมัชชาใหญ่ เร็วๆ นี้

ขณะเดียวกันสถานการณ์ในนครย่างกุ้งล่าสุดเจ้าหน้าที่ยังคงตรึงกำลังรักษาความปลอดภัยอย่างหนาแน่น ตามสถานที่สำคัญต่างๆ อาทิ ศาลาว่าการจังหวัด ตลาดสดใกล้กับสี่แยกฮเลดาน ซึ่งมีรถบรรทุกพร้อมเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ รวมทั้งกลุ่มพลเรือนที่ได้รับการว่าจ้างจากเจ้าหน้าที่รัฐจอดรอเตรียมพร้อมระงับเหตุ หากมีกลุ่มใดลุกขึ้นประท้วงอีก

31 สิงหาคม 2550 นางลอรา บุช สตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ เรียกร้องนายบัน คี มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN) ให้กดดันรัฐบาลทหารพม่า กรณีปราบปรามผู้มีความเห็นไม่ลงรอยทางการเมือง แถลงการณ์ระบุว่านางลอรา บุช ได้ขอร้องในโอกาสที่พบปะกับนายบัน คี มูน ให้ผนึกกำลังกับสหรัฐฯ ประณามการที่รัฐบาลทหารพม่าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วง นอกจากนี้ยังได้ขอร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เร่งหาทางป้องกันไม่ให้เหตุการณ์รุนแรงลุกลามบานปลาย ก่อนที่จะมีการเปิดประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติในเดือนหน้า คำขอร้องของสตรีหมายเลขหนึ่งสหรัฐฯ มีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ออกแถลงการณ์ประณามการกระทำของรัฐบาลทหารพม่า

องค์การนิรโทษกรรมสากลเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวประชาชนราว 150 คน ที่ถูกจับกุมในระหว่างการชุมนุมประท้วงคัดค้านการขึ้นราคาน้ำมัน โดยอ้างว่า พวกเขาเหล่านั้นเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายและทารุณกรรม กลุ่มสิทธิมนุษยชนออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการพม่าปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมทั้งหมดในทันที และปราศจากเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าพวกเขาจะถูกตั้งข้อหาก่ออาชญากรรม

นายเปาโล เซร์จิโอ้ ปินเฮโร่ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวผู้ประท้วงต่อต้านการปรับขึ้นราคาน้ำมันที่ถูกจับกว่า 100 คน ซึ่งผู้ที่ถูกจับบางคนถูกทุบตีและถูกกระทำทารุณกรรมด้วย การประท้วงของนักเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นเพียงการแสดงออกซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐาน ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น และรัฐบาลพม่าควรจะปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับทั้งหมดโดยเร็ว นอกจากนี้ เขายังจะขอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งจะเปิดการประชุมครั้งใหม่ในปลายเดือนนี้ ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า และยังเห็นว่า ประเทศเพื่อนบ้านของพม่าควรจะเข้าไปช่วยแก้ไขวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย

1 กันยายน 2550 มีการปรับขึ้นค่าโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ 30% สำหรับผู้โดยสารชาวพม่า โดยมีผลกับสายการบินภายในประเทศทุกสายการบิน ทั้งแอร์มัณฑะเลย์, แอร์พุกาม และ ย่างกุ้งแอร์เวย์ส และจะมีผลบังคับใช้กับผู้โดยสารต่างชาติ ซึ่งจ่ายค่าโดยสารเป็นสกุลเงินต่างประเทศในเดือนตุลาคมนี้

รัฐบาลพม่ามีคำสั่งให้ตำรวจท้องถิ่นประจำจังหวัดเมียวดี และทหารในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงที่ประจำจุดสกัดกว่า 30 แห่ง เข้มงวดกวดขันผู้โดยสารชาวพม่าที่เดินทางไป-มา ระหว่างเส้นทางจากจังหวัดเมียวดีตรงข้ามอำเภอแม่สอด จ.ตาก ไปยังจังหวัดผาอ่าง และเมืองมะละแหม่ง และเมืองย่างกุ้ง เพื่อเป็นการป้องกันกลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนไหว และป้องกันการก่อวินาศกรรมจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล โดยเฉพาะฝ่ายกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง(KNU) ที่อาจจะฉวยโอกาส. การตรวจค้นดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้เน้นการตรวจค้นทั้งขาไปและขากลับ โดยมีการสอบถามผู้โดยสารเป็นรายบุคคล และตรวจค้นสัมภาระอย่างละเอียด โดยมาตรการเข้มงวดของพม่า เกิดขึ้นหลังจากมีเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงในเมืองต่างๆ ของประเทศพม่า และมีการจับกุมผู้ชุมนุมจำนวนมาก

นายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์ถึงการขัดขวางการเดินขบวนของประชาชนในพม่าและเรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับคุมตัวทั้งหมดทันที นายบราวน์แถลงว่า เขาขอประณามต่อการกดขี่อย่างรุนแรงของรัฐบาลพม่าต่อประชาชนที่เดินขบวนอย่างสันติ และขอเรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมดที่รวมถึงนางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ฝ่ายค้านของพม่าหรือ NLD ด้วย

2 กันยายน 2550 เจ้าหน้าที่พม่าได้เข้าหยุดขบวนประท้วงในเมืองลาบุตตา พร้อมจับกุมผู้จัดการประท้วง 3 คน ทั้งนี้ผู้ประท้วงมีแผนที่จะเดินขบวนระยะทางไกล 270 กิโลเมตร จากเมืองลาบุตตาในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดีไปยังกรุงย่างกุ้ง เพื่อแสดงการต่อต้านรัฐบาลพม่าที่ทำให้มาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนตกต่ำลง. นายอ่อง โม วิน ผู้จัดการประท้วงครั้งนี้ แถลงแผนการประท้วงผ่านทางสถานีวิทยุเอเชียเสรี โดยเขาเชื่อว่าตำรวจและกลุ่มอันธพาลที่สนับสนุนรัฐบาลพยายามสร้างความปั่นป่วน. ขบวนประท้วงถูกเจ้าหน้าที่สั่งหยุดที่ด้านนอกเมืองเมื่อเช้านี้ โดยมีแกนนำการประท้วงอย่างน้อย 3 คน รวมถึงนายอ่อง โม วิน ถูกจับกุมด้วย

การสนับสนุนผู้ประท้วงชาวพม่า ในประเทศไทย
เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. นักกิจกรรมชาวพม่าและชาวไทยหลายสิบคน รวมตัวกันหน้าสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ถ.สาทร กรุงเทพฯ ประณามรัฐบาลทหารพม่าที่ทำการปราบปราม จับกุม และกวาดล้างประชาชนที่ออกมาประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของรัฐบาลทหารพม่า ทั้งนี้เมื่อกลางเดือนสิงหาคม พม่าได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมัน ทำให้เชื้อเพลิงขึ้นราคาหลายเท่าตัว โดยก๊าซหุงต้มมีราคาเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ไม่มีเงินเดินทางไปทำงาน อันนำไปสู่การประท้วงทั้งในกรุงย่างกุ้ง และหัวเมืองใหญ่ในประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนักในประเทศพม่า การประท้วงครั้งนี้นับเป็นการประท้วงครั้งใหญ่สุดของพม่าในรอบหลายปีที่ผ่านมา

โดยการประท้วงวานนี้ ได้มีการอ่านแถลงการณ์โดยนายซอ อ่อง อดีตนักศึกษาพม่าสมัยที่ต่อสู้กับเผด็จการทหารพม่าในเดือนสิงหาคม ปี 1988 หรือยุค 8888 ประกาศเจตนารมณ์ของคนยุค 88 ว่าจะยืนหยัดเคียงข้างประชาชนชาวพม่าต่อสู้กับเผด็จการทหารตลอดไป ต่อมานางสาวเด็บบี้ ชาน นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนานาชาติ โครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวสดุดีการต่อสู้ของประชาชนในประเทศพม่า และเรียกร้องให้รัฐบาลจีนเลิกสนับสนุนรัฐบาลทหารพม่า

ขณะที่นายปกป้อง เลาวัณย์ศิริ เจ้าหน้าที่ประสานงานภูมิภาค สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ฟอรั่มเอเชีย กล่าวว่าในรอบสัปดาห์นี้รัฐบาลทหารพม่าจับกุมผู้ประท้วงในประเทศไปแล้วกว่า 100 คน ทำให้รวมแล้วมีนักโทษการเมืองที่ถูกคุมขังอยู่ในประเทศพม่าหลายพันคน นับเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยผู้ชุมนุมชาวพม่าได้ตะโกนคำขวัญต่อต้านรัฐบาลทหาร ต่อต้านสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการประชาธิปไตย เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี รวมถึงผู้นำนักศึกษาที่ถูกจับกุมทั้งหมด เรียกร้องให้ลดราคาเชื้อเพลิงทันที และเรียกร้องให้รัฐบาลเจรจากับฝ่ายนิยมประชาธิปไตยด้วย ผู้ชุมนุมเหล่านี้ ใช้เวลาทำกิจกรรมหน้าสถานทูตพม่าประมาณ 45 นาที จึงสลายตัวไปอย่างสงบ

นอกจากนี้ การชุมนุมในวันนี้ได้มีการออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 2 กันยายน 2550 โดยองค์กรประชาธิปไตยพม่าและไทยรวม 15 องค์กร แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ในประเทศพม่า ที่รัฐบาลทหารพม่าหรือ SPDC ใช้ความรุนแรง ในการปราบปรามและจับกุมผู้ประท้วงการขึ้นราคาเชื้อเพลิงซึ่งดำเนินกิจกรรมอย่างสงบ และกล่าวว่าหากนายพลตานฉ่วย กำลังจะนำประเทศไปสู่ภาวะวิกฤต หากยังคงดำเนินการปราบปรามผู้ประท้วงซึ่งกำลังขยายจำนวนขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้แถลงการณ์ยังสนับสนุนการชุมนุมของประชาชนในพม่า โดยระบุว่าประชาชนมีความชอบธรรมที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการที่รัฐบาลบริหารผิดพลาดทางเศรษฐกิจ

4 กันยายน 2550 : ใบปลิวฝ่ายพม่าเตือนสถานทูตสหรัฐฯ และอังกฤษ
ทางการพม่าทิ้งใบปลิวไว้หน้าสถานทูตสหรัฐฯ และอังกฤษประจำพม่า เพื่อเรียกร้องให้นักการทูตของประเทศทั้ง 2 หยุดการสนับสนุนการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างเปิดเผย ใบปลิวฉบับหนึ่งในหลายๆ ฉบับระบุข้อความว่า ประชาชนชาวพม่าผู้ทรยศซึ่งพึ่งพิงต่างชาติจะถูกลงโทษ และว่าการสนับสนุนและส่งเสริมคนชั่วเท่ากับเป็นการดูหมิ่นประชาชนชาวพม่า และเรียกร้องให้ยุติการกระทำดังกล่าวในทันที

รัฐบาลทหารพม่าและสื่อมวลชนของทางการพม่ามักกล่าวหา สหรัฐฯ และอังกฤษ สมรู้ร่วมคิดกับนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย เพื่อพยายามขับรัฐบาลออกจากอำนาจ ทั้ง 2 ประเทศประกาศมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการเมืองต่อพม่า เนื่องจากพม่ายังคงละเมิดสิทธิมนุษยชนและยังไม่ส่งมอบอำนาจการบริหารประเทศให้แก่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

นักเคลื่อนไหวสตรีชาวพม่า 1 ในจำนวนประมาณ 15 คนที่ถูกทางการพม่าจับตัวไป หลังจากที่เธอเป็นผู้นำสวดมนต์บริเวณเจดีย์ชเวดากอง เพื่อขอให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี ผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งในครั้งนี้ นับเป็นการจับกุมกลุ่มนักเคลื่อนไหวล่าสุด หลังเริ่มมีการประท้วงต่อต้านการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา

5 กันยายน 2550 : พระสงฆ์ที่ประท้วงอย่างสันติถูกทำร้าย
พระสงฆ์จำนวน 500 รูปในอำเภอปโคะกู่ได้ทำการประท้วงอย่างสันติเนื่องจากราคาน้ำมันและเครื่องอุปโภคบริโภคขึ้นราคาพุ่งกระฉูด หลังจากนั้นทางการพม่าได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารเข้าสลายการประท้วง จึงเกิดการปะทะกันขึ้น ทำให้พระสงฆ์จำนวน 3 รูปถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายได้รับบาดเจ็บ

สถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า ตีแผ่ภาพประจานทหารพม่าที่ลงมือทุบตีผู้ประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลลดราคาน้ำมัน ภาพที่สถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า หรือ DVB ซึ่งมีฐานอยู่ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ นำมาเผยแพร่ แสดงให้เห็นทหารกลุ่มหนึ่งกำลังใช้กำลังทุบตี นายโค ทัน ลวิน 1 ใน ผู้ประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลลดราคาน้ำมัน หลังปรับขึ้นราคาไปหลายเท่าตัว ขณะที่บรรดาผู้คนพากันตะโกนต่อต้านและขับไล่รัฐบาล โดยเหตุเกิดในเมืองเล็กๆ ทางตะวันตกของพม่า หลังจากนั้นนายโค ธาน ลวิน และนายโค สิธู ซึ่งเป็น 2 แกนนำสำคัญ ในการชุมนุมประท้วงรัฐบาล ถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ซึ่งคาดว่าเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลลากตัวไป และถูกทางการคุมขังอยู่นาน 6 วัน ก่อนได้รับอิสรภาพในวันนี้

กลุ่มผู้ให้สนับสนุนการปกครองแบบประชาธิปไตยในพม่าได้ทำการประท้วงอีกครั้งหนึ่งในวันนี้ เพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า แม้ว่าจะถูกปราบปรามก็ตาม การประท้วงครั้งล่าสุดเกิดขึ้นที่เมืองโบกาเล ที่ตั้งอยู่ในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี ที่อยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้งไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 125 กิโลเมตร การชุมนุมครั้งนี้ นายมยินต์ เธน โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD กล่าวว่า เกิดขึ้นเป็นเวลานานกว่า 4 ชั่วโมง และการชุมนุมดำเนินไปอย่างสันติ โดยไม่ต้องการที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้น จนกระทั่งทางการพม่าได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกมาสลายการชุมนุมเมื่อเวลา 12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือเมื่อเวลา 13.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยูบุช แห่งสหรัฐอเมริกา ร่วมกับนายจอห์น โฮเวิร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ในระหว่างที่มีการประชุมเอเปค แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า สหรัฐอเมริกาประนามรัฐบาลทหารพม่าที่ใช้กำลังกวาดล้างจับกุมผู้ชุมนุมประท้วงอย่างสันติ ด้วยการระบุว่าเอเปคไม่รับรู้ถึงข้อแก้ตัวใดๆ ต่อการที่ปรากฏพฤติกรรมทรราชเช่นนี้ขึ้นในเอเชีย พร้อมทั้งยืนยันว่าจะหยิบยกกรณีพม่าขึ้นมาหารือในที่ประชุมผู้นำครั้งนี้อย่างแน่นอน

ภาพเหตุการณ์ประชาชนชาวพม่าที่ออกมาประท้วงการประกาศขึ้นราคาน้ำมันและเชื้อเพลิงต่างๆ หลายเท่าตัว
ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ในสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ต้องเลวร้ายลงมากขึ้น
การประท้วงครั้งนี้เป็นการแสดงออกในการพยายามสะท้อนถึงปัญหาต่างๆ ที่ถูกกดทับมาเป็นเวลานาน
ภายใต้การปกครองของเผด็จการทหารพม่านับจากปี ค.ศ.๑๙๘๘ เป็นต้นมา

คลิกไปอ่านต่อบทความวิชาการต่อเนื่อง ตอนที่ ๒


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

The phrase "Saffron Revolution" connects the protests (against that country’s military dictatorship) to the saffron-coloured robes often worn (although not in Myanmar) by Buddhist monks, who are at the forefront of the demonstrations. While the phrase had been used previously to describe the process of gradual or peaceful revolution in other nations, this seems to be the first time it has been associated with a particular protest as it is unfolding, and the international press has seized upon it in reporting on the Burmese protests.
The fact that September 23 is known as Safron (Saffron) Day in the French Republican calendar is coincidental.