โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 04 October 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๖๗ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (October, 04, 10, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ในขณะเดียวกัน กระแสของความไม่พอใจต่อการที่มี "เจ้าต่างด้าวท้าวต่างแดน" ก็สร้างความรู้สึกแบบที่เราจะมารู้จักกันในนามของ "ลัทธิชาตินิยม" ในเมื่อกษัตริย์ถูกจำกัดออกไป และผู้นำที่เป็นฆราวาสถูกปราบปรามอย่างหนัก พระสงฆ์จึงกลายเป็นผู้นำซึ่งอาจจะเพียงกลุ่มเดียวที่ยังเหลืออยู่ ดังนั้น การประท้วงแสดงความไม่พอใจ ก็จะเป็นเรื่องที่เริ่มด้วยประเด็นทางวัฒนธรรมประเพณี ความตกต่ำของศาสนา วิธีการของพระสงฆ์ในยุคสมัยนั้นมีหลายแบบ ตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ระบบสังคม การเรียกร้องให้อังกฤษทำนุบำรุงศาสนา การอดอาหาร เป็นต้น
04-10-2550

Thai Intellectual & Burma
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

ทัศนะนักวิชาการไทยต่อสถานการณ์ความรุนแรงในพม่า ๒๐๐๗
นานาทัศน์ปัญญาชนสยาม กับสถานการณ์ล้อมฆ่าในพม่า (๒)
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
ข้อมูลส่งถึงกองบรรณาธิการฯ, กระดานข่าว ม.เที่ยงคืน, และประชาไทออนไลน์

บทความต่อไปนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
โดยเน้นที่ทัศนะของนักวิชาการไทยทั่วประเทศ ที่มีต่อสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศพม่า
ทั้งแง่มุมประวัติศาสตร์ความเป็นมา การเมือง สังคม-วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ รวมไปถึงบทกวี
เนื่องจากข้อมูลที่รวบรวมมีความยาวพอสมควร จึงได้แบ่งออกเป็น ๒ ตอน
โดยตอนที่ ๒ ประกอบด้วยเนื้อหาที่แบ่งเป็นหัวเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑.
ข่าวประชาธรรม: นักวิชาการ มช. ประณามรัฐบาลทหารพม่า
๒.รัฐบาลไทยและ ปตท.ต้องเลิกค้ากับโจรและฆาตรกรที่ชื่อ รัฐบาลทหารพม่า
๓. ทุนข้ามชาติกับการลงทุนในพม่า…นี่แหละค่ากระสุนปืนสำหรับเผด็จการพม่า
๔. บทความ: ทำไมคนพม่า ต้องลี้ภัยมาอยู่ไทย
๕. แด่..เหตุการณ์ในเมียนมา : วันปิดประตูตีแมว (ไพทูรย์ ธัญญา)
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๖๗
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ทัศนะนักวิชาการไทยต่อสถานการณ์ความรุนแรงในพม่า ๒๐๐๗
นานาทัศน์ปัญญาชนสยาม กับสถานการณ์ล้อมฆ่าในพม่า (๒)
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
ข้อมูลส่งถึงกองบรรณาธิการฯ, กระดานข่าว ม.เที่ยงคืน, และประชาไทออนไลน์


1. ข่าวประชาธรรม : นักวิชาการ มช. ประณามรัฐบาลทหารพม่า

เมื่อวันที่ 2 ต.ค. เวลา 11.00 น. ที่ห้องประชุมศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตยและสิ่งแวดล้อม นำโดย ดร.ชยันต์ วรรธนภูติ, ดร.ฉลาดชาย รมิตานนท์, รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม, รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์, ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ, รศ.วิรดา สมสวัสดิ์ ร่วมแถลงข่าว "ขอประณามการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมของรัฐบาลทหารพม่า ต่อประชาชนชาวพม่าที่เรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าแก้ปัญหาสังคมเศรษฐกิจ"

โดย ดร.ชยันต์ วรรธนภูติ นำแถลงว่า คณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตยและสิ่งแวดล้อม ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย จีน อินเดีย รัฐบาลในกลุ่มอาเซียนให้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนให้รัฐบาลทหารพม่ายุติการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชนในพม่าโดยด่วน

คณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตยและสิ่งแวดล้อม ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยมีจุดยืนที่ชัดเจนโดยต้องยกเลิกการสนับสนุนทุกรูปแบบที่มีต่อรัฐบาลทหารพม่า เช่น การให้เงินกู้ต่างๆ การลงทุนด้านพลังงานและก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งโครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำสาละวิน และยุติการปิดกั้นและใช้ความรุนแรงต่อประชาชนทุกกลุ่มชาติพันธุ์ที่แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการกระทำของรัฐบาลทหารพม่า และเรียกร้องให้พี่น้องประชาชนร่วมกันเรียกร้องรัฐบาลทุกประเทศดังกล่าวข้างต้น ให้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนในพม่า และคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชนในพม่าอย่างแท้จริง

ดร.ฉลาดชาย รมิตานนท์ กล่าวว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในพม่า ไม่ได้เพิ่งเกิดจากการเดินขบวนของพระสงฆ์และประชาชนชาวพม่าเมื่อไม่นานมานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเกิดมาตั้งแต่ช่วงที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ดังนั้นจะเห็นว่า ปัญหามีการหมักหมมมานาน ขณะเดียวกันสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเรื่องของพระสงฆ์หรือประชาชนชาวพม่าเท่านั้น แต่เป็นประเด็นสากลที่ทุกประเทศต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเทศที่มีผลประโยชน์โดยตรง

ดร.ฉลาดชาย กล่าวต่อว่า กรณีประเทศไทยนั้นองค์กรหลายภาคส่วนรวมทั้งนักวิชาการมีการเคลื่อนไหวเรื่องนี้มานาน มีการยื่นหนังสือถึงองค์กรสากลต่างๆ ทั้ง ยูเอ็น รวมทั้งอียูว่าควรมีมาตรการในการจัดการปัญหา แต่ก็พบว่าการที่องค์กรเหล่านั้นจะตัดสินใจเข้ามาจัดการแทรกแซงหรือแก้ปัญหาหรือไม่นั้น มักขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก กล่าวคือ ต้องมีคนตายมากถึงจะเข้ามาจัดการ

อย่างไรก็ตาม ดร.ฉลาดชาย เสนอแนะในตอนท้ายว่า ใน จ.เชียงใหม่นั้น ระยะที่ผ่านมาพบว่ามีกิจกรรมรณรงค์เพื่อสันติภาพในพม่าจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ควรมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มหรือภาคีที่ประกอบด้วยบุคคลที่มาจากหลายๆ ภาคส่วน หลังจากนั้นต้องคิดกิจกรรมในการรณรงค์ที่มากไปกว่าการลงชื่อคัดค้านการใช้ความรุนแรง เป็นต้น

ทพ.อุทัยวรรณ กาญจนกามล นักวิชาการอิสระ(อดีตอาจารย์คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) กล่าวว่า กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นในพม่า ตนเห็นว่าเราน่าจะขอบคุณชาวพม่าที่ทำให้เราได้เรียนรู้มาก การลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิและประชาธิปไตยนั้น เป็นสิทธิอันชอบธรรม แม้จะนำมาซึ่งการสูญเสียชีวิตก็ตาม เพราะขณะนี้เราเห็นว่าประชาธิปไตยไม่สามารถเดินไปข้างหน้าได้ หากขาดกระบวนการตรวจสอบจากประชาชน ดังนั้นประเด็นที่เราน่าจะเกาะกระแสในตอนนี้ นอกจากประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการผลักดันให้รัฐบาลพม่ายุติการใช้ความรุนแรงแล้ว ควรมีประเด็นต่อไปว่า จะทำอย่างไรให้ประชาชนชาวไทยได้เรียนรู้วีรกรรมของชาวพม่าและสามารถสร้างบรรยากาศของสิ่งที่เลวทรามในสมัยก่อน ให้กลับกลายเป็นดี

"ผมคิดว่าสิ่งที่คาใจประชาชนชาวไทยที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์พม่านั้น ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไทย เนื่องจากประวัติศาสตร์ชาติไทยนั้น แต้มสีคนพม่าไว้ให้มีความอุบาทว์มิใช่น้อย ดังนั้นประเด็นที่น่าจะเสริมแรงในส่วนเหล่านี้คือ ชาวพม่าขณะนี้ถูกทำร้ายและถูกทารุณกรรมอย่างไร้มนุษยธรรม และในประเทศพม่าขณะนี้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องแล้ว เราชาวไทยมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ในฐานะที่เป็นมนุษยชนอย่างไร" ทพ.อุทัยวรรณ กล่าว

ทพ.อุทัยวรรณ กล่าวทิ้งท้ายว่า กรณีที่เกิดขึ้นตนเห็นว่าสิ่งที่ประชาชนชาว จ.เชียงใหม่ ควรได้เรียนรู้คือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยค่อนข้างมีความสลับซับซ้อน การที่จะพูดถึงประชาธิปไตยในแง่การเลือกตั้งผ่านระบบตัวแทนเหมือนที่ผ่านมา มันล้าสมัยไปแล้ว ดังนั้นชาวเชียงใหม่น่าจะลุกขึ้นมาทำความเข้าใจกับปัญหาของตัวเอง โดยเฉพาะจากนี้ไปจนถึงเดือนธันวาคม 2550 ที่จะสามารถสร้างประชาธิปไตยใหม่ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยแบบตัวแทนอีกต่อไปโดยผ่านกระบวนการภาคประชาชน.

ที่มา : สำนักข่าวประชาธรรม

2. รัฐบาลไทยและ ปตท.ต้องเลิกค้ากับโจรและฆาตรกรที่ชื่อ รัฐบาลทหารพม่า
ฉลาดชาย รมิตานนท์ : ผู้อภิปราย ณ ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
องอาจ เดชา : รายงาน (ประชาไทออนไลน์)
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, "คณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตยและสิ่งแวดล้อม" ได้ร่วมกันแถลงข่าว "ประณามการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมของรัฐบาลทหารพม่า ต่อประชาชนที่เรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าแก้ปัญหาสังคมเศรษฐกิจ" โดยในช่วงหนึ่ง อ.ฉลาดชาย รมิตานนท์ ได้แสดงความเห็นต่อเรื่องดังกล่าว ดังนี้ …

ปัญหาดังกล่าว ไม่ได้เพียงแค่เพิ่งเกิดเมื่อตอนมีการเดินขบวนประท้วง และก็ไม่ได้เพิ่งเกิดเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่มันมีมาตั้งแต่หลังจากที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษเป็นต้นมา ก็มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ ในประเด็นต่างๆ มาตลอดเวลา ความยาวนานของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า เป็นสิ่งที่จะต้องมีการนำเอาออกมาพูดคุยกัน โดยต้องดูประวัติศาสตร์ของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไล่เรียงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

สิ่งที่พูดมา ผมได้ข้อสรุปว่า มันไม่ใช่ประเด็นปัญหาของพระสงฆ์และชาวบ้านที่จะออกมาลุกขึ้นสู้ทหารพม่าแต่เพียงอย่างเดียว แต่มันเป็นประเด็นสากล เป็นประเด็นของทุกประเทศที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศที่มีผลประโยชน์โดยตรงต่อพม่า มีผลประโยชน์ที่จะเข้าไปตักตวงทรัพยากรต่างๆ ไปเปิดตลาด ผูกขาดการค้าการขายในพม่า ซึ่งที่สุดแล้ว เราพบว่า จีนนั้นเป็นตัวการใหญ่, อินเดียก็มีส่วนร่วม เพราะว่ามีผลประโยชน์ในพม่า แล้วก็ยังไม่กล้าทำอะไร เพราะกลัวว่าจะสะเทือน กลัวว่าจะไม่ได้รับผลประโยชน์ที่ได้ไปลงทุนเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของก๊าซหรือเรื่องอื่นๆ

ในกรณีของประเทศไทย พอทราบว่า คนไทยที่เป็นนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว ได้เคลื่อนไหวเรื่องนี้กันมาเป็นเดือนๆ แล้ว และก็ได้มีการทำหนังสือส่งถึงสหประชาชาติ ถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถึงสหภาพยุโรป ถึงใครต่อใครทั้งหลายในระดับนานาชาติ ที่คิดว่าน่าจะมีช่องทางในการจัดการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ถึงกระนั้นก็ตาม มันก็ยังเกิดการเข่นฆ่ากันอยู่ และผมเชื่อว่าประชาชนเขาก็คงไม่ยอมแพ้ พระสงฆ์ก็คงไม่ยอมแพ้ และการใช้กำลังความรุนแรงก็คงจะเกิดขึ้นอีกต่อไป

ในที่สุดแล้ว สิ่งที่มันดูเหมือนว่าจะเป็นตัวตัดสินว่า เวทีที่เราเข็นนี้ มันจะมีการถ่ายทอดหรือมีการแทรกแซงโดยประชาคมโลกได้หรือไม่นั้น มันขึ้นอยู่กับจำนวนคนตาย ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก คือที่สุดแล้ว จำนวนคนตาย จะกลายเป็นจุดที่บอกว่า ตายไปจำนวนเท่านั้นแล้วนะ ถึงเวลาแล้วนะที่จะต้องเข้าไปแทรกแซง ซึ่งตัวเลขโหดๆ แบบนี้ มันกลายเป็นมาตรฐานในการคิด ในการตัดสินใจ ของรัฐ ขององค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เช่น จำนวนเสียงของคนลงคะแนนมีจำนวนเท่าไหร่, Yes เท่าไหร่} No เท่าไหร่} คนตายเท่าไหร่ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีคิดที่โดยส่วนตัวคิดว่า เป็นการละเมิดที่เรียกว่า Human Rights กันอยู่แล้ว

แต่เนื่องจากว่า เรื่องราวที่มันเกิดขึ้นมาในโลกนี้ มันไม่เคยมีที่ไหน ที่มันคำนึงถึง Human Rights อย่างจริงๆ จังๆ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เรากำลังพยายามทำกันอยู่ก็คือ พยายามสร้างพลัง สร้างอำนาจการต่อรองกับกลุ่มที่เราเรียกว่า"สิทธิมนุษยชน" ซึ่งมันเป็นคำที่เป็นกลาง มากกว่าคำว่า "ประชาธิปไตย" เพราะว่าคำว่าประชาธิปไตย แน่นอนว่า มันจะต้องตามมา แต่มันมีนัยยะที่มีการพยายามจะชี้ว่า ประชาชนและพระในพม่าไม่ได้ต่อสู้ในเรื่องของประเด็นทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นเรื่องปากเรื่องท้อง เรื่องของความยากจน เรื่องของการถูกละเมิดสิทธิเหล่านั้น

เมื่อมองตัวโครงสร้างที่มันเป็นปัญหา ในฐานะที่เราเป็นปัจเจก ทำอะไรก็ไม่ค่อยได้ ยกเว้นเข้าร่วมลงรายชื่อต่อต้าน แต่ก็ยังไม่เกิดอะไรขึ้น ในกรณีที่เชียงใหม่ ควรจะมีการจัดตั้งกลุ่ม ในฐานะที่เป็นภาคี ที่ประกอบไปด้วยนักวิชาการ เอ็นจีโอ และผู้ที่ทำงานในด้านสิทธิมนุษยชน แล้วมาคิดกันว่า จะทำกิจกรรมอะไรที่นอกเหนือไปจากการร่วมลงชื่อในเว็บไซต์ต่างๆ

ประเด็นมันอยู่ที่ "การบีบ" ซึ่งจะบีบใครให้ได้ผลอย่างไรนั้น มันก็ต้องบีบคนที่ใกล้ตัว คนที่สามารถจะกระทบกระเทือนผลประโยชน์ของเขาได้ เมื่อไปบีบอินเดีย ก็ไม่มีใครสนใจ ไปบีบจีน จีนก็ไม่ได้สนใจ เราอาจจะเดินขบวนไปประท้วงหน้ากงสุลจีน แต่คิดว่าจีนก็คงเฉยๆ ฉะนั้น จึงคิดว่า เราควรบีบตัวการในเมืองไทย เป้าหมายองค์กรก็คือ"รัฐบาล" ซึ่งแน่นอนที่สุด เมื่อหลังจากที่นายกรัฐมนตรีของไทยได้แถลงการณ์ออกมาที่ UN แล้ว ได้มีการทำอะไรกันต่อไปบ้าง ยกตัวอย่างเช่น เงินกู้ "เอ๊กซิมแบงค์" ที่ออกให้พม่าก็ยังออกให้ต่อwxหรือไม่ เป็นต้น

และถ้ามองลงไปให้ลึกลงไปอีกระดับหนึ่ง ก็คือ กลุ่มผลประโยชน์ที่ได้จากการค้าลงทุนเศรษฐกิจกับพม่าก็คือ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.ว่าคุณกำลังทำอะไร คุณจะมีความเห็นอย่างไรต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในพม่า คุณมีความเห็นอย่างไรต่อการสร้างเขื่อนในพม่า ซึ่งคุณกำลังสนับสนุนผู้ที่ทำลายสิทธิมนุษยชน คุณกำลังสนับสนุนผู้ที่กำลังต่อต้านระบอบประชาธิปไตย คุณกำลังให้เงินกับกลุ่มที่เป็นฆาตรกร ซึ่งฆ่าได้แม้กระทั่งพระสงฆ์ นี่คือคำถามที่จะต้องถูกโยนไปที่ ปตท.และปตท.สผ.

ถ้าปตท.ไม่ขยับ ไม่ออกมาทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราอาจจะเคลื่อนโดยการประกาศว่า เราจะไม่เติมน้ำมัน ปตท. เราจะไม่ซื้อก๊าซ ไม่ใช้ก๊าซ หรือลดปริมาณการใช้ก๊าซ เพราะว่าก๊าซนั้นคือเลือดและลมหายใจของคนพม่า ก๊าซที่คุณซื้อมานั้นคือวิญญาณของคนที่ตายจากการปราบปรามของเผด็จการทหารพม่า น้ำมันที่คุณเติมไปนั้นคือเลือดของชาวพม่า ที่เราไปซื้อ ไปกลั่นแล้วเอามาใช้ ถ้าหากว่า เรื่องเหล่านี้ไม่ได้รับการจัดการ ไม่ได้รับการดูแล เราจำเป็นต้องบีบอย่างน้อย 2 องค์กรนี้ ซึ่งเราก็รู้ว่า ปตท., และ ปตท.สผ. ซึ่งก็เป็นปีกหนึ่งของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่มันเกี่ยวกับกองทุนที่เราเรียกว่า "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ซึ่งมีคนจำนวนเป็นหมื่นเป็นแสนที่ได้รับผลประโยชน์จากกองทุนอันนี้อยู่ และก็มีองค์การในการลงทุน ในการค้ากำไรที่ชัดเจน. ปีกหนึ่งก็ออกมาเป็น ปตท. อีกปีกหนึ่งก็ออกมาเป็นปูนซีเมนต์ไทย อย่างที่เราทราบกันดี

ดังนั้น มันถึงเวลาแล้วที่พลังเศรษฐกิจกลุ่มนี้จะต้องออกมาคำนึงต่อปัญหา เพราะว่าเขาสามารถจะทำธุรกิจและสามารถจะค้ากำไรได้ดีกว่าในบรรยากาศที่ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และในบรรยากาศที่ระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่ซุ่มหากินอยู่กับโจรและฆาตรกรอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

เพราะฉะนั้น เราจะต้องบีบทั้งมาตรการทางเศรษฐกิจ ทั้งมาตราการทางศีลธรรม จริยธรรมออกมา เพื่อพุ่งเป้าไปที่องค์กรของไทยที่ทำมาหากินอยู่บนความทุกข์ของชาวพม่า.

3. ทุนข้ามชาติกับการลงทุนในพม่า…นี่แหละค่ากระสุนปืนสำหรับเผด็จการพม่า
วิทยากร บุญเรือง (ประชาไทออนไลน์)
สิ่งสำคัญที่เราจะต้องรู้เกี่ยวกับบทบาทในการกดดันรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า นั่นก็คือบทบาทการลงทุนในประเทศพม่าของต่างประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นานาประเทศรู้สึกอิหลักอิเหลื่อกับการพยายามกดดันรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าอย่างจริงจัง ในรายงานชิ้นนี้จึงจะขอนำเสนอถึงข้อมูลเบื้องต้นคร่าวๆ สำหรับการลงทุนในพม่าจากบรรษัทและรัฐบาลของชาติต่างๆ …

บรรษัทข้ามชาติยังคงประเคนค่ากระสุนให้เผด็จการพม่าไว้สาดใส่ให้ประชาชนผู้รักประชาธิปไตย
ธุรกิจพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ
ธุรกิจพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ บรรษัทยักษ์ใหญ่ที่ลงทุนในพม่าของต่างชาติที่สำคัญได้แก่ เชฟรอน (Chevron) และยูโนแคล (Unocal) บรรษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ, บรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติจีน (China National Petroleum),โททัล (Total) บรรษัทพลังงานจากฝรั่งเศส, บรรษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ของไทย, นิปปอน ออยล์ กรุ๊ป (Nippon Oil Corp) จากญี่ปุ่น, แดวู อินเตอร์เนชั่นแนล (Daewoo International) จากเกาหลีใต้, เปโตรนาส (Petronas) ของรัฐบาลมาเลเซีย, เกล (Gail) และ ออยล์ แอนด์ แนชชัวรอล แก๊ส คอร์ป (Oil and Natural Gas Corp) ของอินเดีย

หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศพม่าในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา บรรษัทด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ก็ยังคงดำเนินกิจการต่อไป และรัฐบาลในหลายประเทศก็ยังไม่มีมาตรการทางด้านเศรษฐกิจที่แน่ชัด ถึงแม้ว่าประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช (George W. Bush) แห่งสหรัฐฯ และนายกกอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) แห่งอังกฤษ จะพยายามส่งสัญญาณกดดันผู้นำพม่า ด้วยการสั่งยกเลิกวีซ่าสมาชิกคณะรัฐบาลทหารของพม่าร่วม 30 คน รวมถึงความพยายามที่จะแซงชั่นรัฐบาลทหารพม่า ในรายของบรรษัทข้ามชาติอเมริกันก็ยังคงดำเนินกิจการตามปกติ ถึงแม้ว่านักกิจกรรมทางสังคมจะเรียกร้องให้ เชฟรอนและยูโนแคล รวมถึงธุรกิจอื่นๆ ออกมาจากการทำกิจการพลังงานในพม่า --- ซึ่งเราสามารถเข้าใจได้ว่าผู้ประกอบการสัญชาติอเมริกัน ถ้าหากทุนใหญ่ยังคงดำเนินไปได้อย่างเสรีแล้ว ไม่ว่าการเมืองจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไรแล้ว บรรษัทต่างๆ ยังคงสามารถดำเนินกิจการได้อย่างไม่รู้ร้อนรู้หนาว

ต่างจากกรณีของเวเนซูเอล่าของ อูโก ชาเวซ (Hugo Chavez) ที่สร้างรัฐบาลที่เป็นปฏิปักษ์กับทุนใหญ่ข้ามชาติ โดยการออกนโยบายให้บรรษัทน้ำมันแห่งชาติเวเนซูเอล่า (Petroleos de Venezuela: PDVSA) เข้าไปมีส่วนแบ่งอย่างน้อย 60% กับกิจการน้ำมันของบรรษัทต่างชาติในเขต Orinoco ซึ่งเป็นเขตที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำมัน ทำให้หลายบรรษัทยักษ์ใหญ่ได้ดำเนินการต่อรองอย่างถึงพริกถึงขิง เพื่อไม่ให้ตนเสียประโยชน์ โดยเฉพาะเชฟรอนของสหรัฐฯ

ส่วนการลงทุนของนายทุนจากอังกฤษในพม่า ที่ถึงแม้ว่ารัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ เดวิด มิลิแบนด์ (David Miliband) จะพยายามออกมากล่าวถึงเรื่องการสนับสนุนองค์กรที่ทำเรื่องสิทธิมนุษยชนในพม่า ว่ารัฐบาลอังกฤษสนับสนุนเงินถึง 400,000 ปอนด์ในปี ค.ศ. 2007 ในการสนับสนุนกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคตะวันออกของพม่า รวมถึงเงิน 500,000 ปอนด์ สำหรับภาคประชาชนรากหญ้าในพม่า และมีโครงการที่จะเพิ่มเงินถึง 3 ล้านปอนด์ ในการสนับสนุนการสร้างประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งยังรวมถึงเงินที่รัฐบาลอังกฤษอุดหนุนให้กับค่ายผู้อพยพระหว่างเขตแดนไทย-พม่าจำนวน 1.8 ล้านปอนด์. แต่ทั้งนี้ภาคประชาชนอังกฤษได้เปิดเผยว่า ในปัจจุบันมีกิจการต่างชาติเข้าไปลงทุนในพม่ากว่า 150 ราย และมีกิจการสัญชาติอังกฤษรวมอยู่ด้วย ซึ่งมีเงินหมุนเวียนกว่า 1.2 พันล้านปอนด์ต่อปี

ส่วนในรายของโททัล ของฝรั่งเศส ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีนิโกล่า ซาร์โกซี่ (Nicolas Sarkozy) แห่งฝรั่งเศส ได้เปิดเผยมาตรการลงโทษพม่า ในระหว่างการกล่าวอภิปรายในที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ ด้วยการกระตุ้นให้นักธุรกิจฝรั่งเศส ที่รวมถึงโททัล ระงับการลงทุนในพม่าที่ปกครองโดยเผด็จการทหาร มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1962. แต่ขณะนี้โททัล บรรษัททางด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติของฝรั่งเศสได้ร่วมลงทุน 31% ในโครงการยาดานา (Yadana project) กับเมียนม่าร์ ออยล์ (Myanmar Oil) ที่เป็นของรัฐบาล เพื่อนำแก๊สธรรมชาติจากทะเลอันดามันมายังโรงไฟฟ้าที่ประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีบรรษัทจากนานาชาติที่ลงทุนในการพัฒนาแหล่งพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติของพม่า ที่ยังให้เหตุผลของการที่ยังดำเนินกิจการต่อไปว่า สถานการณ์ทางการเมือง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงาน เว้นแต่ว่าทางการของประเทศของพวกเขา จะประกาศการคว่ำบาตรอย่างเป็นทางการเท่านั้น เช่น นิปปอน ออยล์ กรุ๊ปจากญี่ปุ่น, แดวู อินเตอร์เนชั่นแนลจากเกาหลีใต้, เปโตรนาส ของรัฐบาลมาเลเซีย, เกล และ ออยล์ แอนด์ แนชชัวรอล แก๊ส คอร์ป ของอินเดีย

สำหรับจีน ยุทธศาสตร์พลังงานและยุทธศาสตร์เรื่องพื้นที่ของจีนในพม่าถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้จีนยังคงปกป้องพม่าอยู่ตลอดเวลา คาดกันว่าความต้องการน้ำมันในจีนภายในปี ค.ศ. 2010 เท่ากับ 340 ล้านตัน และภายในปี ค.ศ. 2020 จะเพิ่มขึ้นเป็นถึง 440 ล้านตัน ทั้งนี้จีนได้ทบทวนยุทธศาสตร์พลังงานใหม่โดยเฉพาะในด้านเส้นทางลำเลียงน้ำมันและก๊าซเข้ามายังประเทศของตน เนื่องจากการพึ่งพาแต่เพียงเส้นทางช่องแคบมะละกาเป็นหลักนั้นไม่ปลอดภัย ต้องเสี่ยงทั้งภัยก่อการร้ายและโจรสลัดชุกชุม รวมถึงกองเรือสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่แข่งทางด้านยุทธศาสตร์พื้นที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคนี้ - ขณะนี้ 80% ของน้ำมันที่นำเข้ามายังจีนนั้นได้ขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา ทั้งนี้ยุทธศาสตร์พลังงานใหม่นั้นหวังที่จะใช้เส้นทางจากพม่าและปากีสถาน และพึ่งแหล่งพลังงานส่วนหนึ่งจากประเทศพม่าเองเพื่อสร้างเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้แก่จีน

โดยเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005 รัฐบาลพม่าและปิโตรไชน่าได้ลงนามสัญญาป้อนก๊าซธรรมชาติ 6.5 ล้านล้านคิวบิกฟุตให้แก่จีน ในช่วงเวลา 30 ปีข้างหน้านี้ โดยจะขนส่งผ่านท่อก๊าซธรรมชาติเข้าไปยังคุนหมิง ที่จะสร้างขึ้นคู่เคียงกับท่อขนส่งน้ำมัน ซึ่งความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างพม่าและจีน ยังคงมีพื้นที่ที่จะขยายออกไปได้อีกมาก

จุดเด่นของพม่าสำหรับจีนนั้น อยู่ที่การเป็นแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติด้วยตัวเอง กอปรด้วยมีความเสี่ยงภัยคุกคามก่อการร้ายน้อย โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานจึงค่อนข้างปลอดภัย แม้ว่าการเดินทางจากตะวันออกกลางเข้ามายังพม่านั้น จะต้องผ่านมหาสมุทรอินเดีย แต่พม่าและอินเดียต่างก็เป็นสมาชิกในกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจบังคลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย หรือ BIMSTEC (The Bay of Bengal Initiative for MultiSectoral Technical and Economic Cooperation)

ธุรกิจอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ค้าขายกับพม่า
ธุรกิจอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จีนค้าขายกับพม่านั้น คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในรายของสหภาพยุโรป หนึ่งในกลุ่มประเทศที่ออกมาประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าบ่อยครั้งที่สุด ถึงแม้ทางสหภาพยุโรปมีท่าทีที่จะไม่ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับพม่า แต่ในด้านหนึ่งนั้น ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปเองกลับมีการค้าขายอาวุธยุทโธปกรณ์ทางอ้อมเช่นกัน ในลักษณะธุรกิจแบบโลกาภิวัตน์ที่แหล่งผลิตชิ้นส่วนของอาวุธยุทโธปกรณ์มาจากหลายแหล่ง โดยร่วมมือกับบรรษัทอาวุธของอินเดียที่เป็นอีกหนึ่งคู่ค้าอาวุธยุทโธปกรณ์กับพม่า

เช่นจากรายงานของแอมนาสตี้สากลพบว่า บรรษัทอาวุธยุทโธปกรณ์จากประเทศในสมาชิกสหภาพยุโรปได้ผลิตชิ้นส่วนของเฮลิคอปเตอร์ขนาดเบา (Advanced Light Helicopter: ALH) ที่พม่าต้องการ โดยชิ้นส่วนหลายอย่างผลิตจากในโรงงานในประเทศเบลเยี่ยม, อิตาลี, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, สวีเดน และอังกฤษ

ส่วนรัสเซียอีกหนึ่งมหาอำนาจ นอกเหนือจากการทำการค้าเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์กับพม่าแล้ว การเข้าไปช่วยพม่าพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ก็เป็นธุรกิจอีกอย่างหนึ่งที่จะทำเงินให้กับรัสเซียได้อย่างมหาศาลในอนาคต โดยศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์โรซาตอม (Rosatom) ของรัสเซียได้บรรลุข้อตกลงที่จะสร้างศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ในพม่า ซึ่งศูนย์วิจัยนิวเคลียร์นี้แบบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์พลังน้ำมวลเบาขนาด 10 เมกะวัตต์ (10 MW light-water reactor) และยังมีห้องทดลองการรักษาผู้ป่วยด้วยสารกัมมันตภาพรังสี และที่กำจัดขยะนิวเคลียร์ - ทั้งนี้รัสเซียจะอบรมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะให้แก่พม่าประมาณ 300 - 350 คนในศูนย์แห่งนี้

ไทยเพื่อนบ้านผู้มีผลประโยชน์มหาศาล
การลงทุนด้านพลังงาน
จากข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1-3 ตุลาคม 2550 พบว่า ปัจจุบันภาคเอกชนไทยเข้าไปลงทุนในพม่ารวมทั้งสิ้น 56 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1,345.62 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 17.28%. ซึ่งการลงทุนที่สำคัญได้แก่ สาขาพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ เช่น บรรษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม อันเป็นบรรษัทที่ได้รับสิทธิในการดำเนินการสำรวจก๊าซธรรมชาติ 5 แปลง นอกชายฝั่งพม่า ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 65 ล้านดอลลาร์

นอกจากนี้บรรษัท เช่น บรรษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้ร่วมทุนในการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา ซึ่งมีกำลังการผลิตประมาณ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และร่วมทุนในเยตากุน ซึ่งมีปริมาณการผลิตประมาณ 425 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน กำลังการผลิตทั้งหมดรวมกันประมาณ 1,125 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยบรรษัทสามารถนำก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ ส่งกลับเข้าสู่ไทยได้ประมาณ 30% ของปริมาณก๊าซธรรมชาติทั้งหมดที่ไทยใช้อยู่ขณะนี้

ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอสิทธิสำรวจแปลงน้ำลึก นอกชายฝั่งพม่าเพิ่มอีก 4 แปลง. แต่ 1 ใน 4 แปลง รัฐบาลได้ให้สิทธิแก่จีนในการสำรวจ ส่วนอีก 1 ใน 3 แปลงที่เหลือ รัฐบาลพม่าให้ ปตท.ดำเนินการร่วมกับโททัล และอีก 2 แปลงที่เหลือซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างพม่ากับบังกลาเทศ ซึ่งจะต้องตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลทั้ง 2 ฝ่ายก่อน แต่อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 รัฐบาลพม่าตกลงให้สัมปทานแก่แดวูของเกาหลีใต้ไป

การลงทุนในโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำได้แก่ MDX บรรษัทในเครือ GMS Power ทำธุรกิจก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่ร่วมลงทุนกับกระทรวงพลังงานไฟฟ้าพม่า ในโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำท่าซาง และยังมีโครงการเขื่อนฮัตจี กำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ซึ่งร่วมทุนระหว่างกรมไฟฟ้าพลังน้ำพม่ากับบรรษัท กฟผ.ของไทย

การลงทุนด้านการประมง
กิจการธุรกิจประมง ได้แก่ สยาม โจนาธาน (Siam Jonathan) ซึ่งเป็นบรรษัทต่างชาติเพียงรายเดียวที่ได้รับสิทธิการทำประมงจากพม่า ให้นำเรือประมง 500 ลำเข้ามาทำประมงในพม่าได้. บรรษัทอินเตอร์ แอสเสท โฮลดิง (Inter Assets Holdings) ได้ร่วมทุนกับบรรษัทเมียนมาร์ พีพีพี แอสเสท โฮลดิง (Myanmar P.P.P Asset Holdings) ทำประมงในพม่าในลักษณะบรรษัทร่วมทุน นำเรือประมงประเภทเรืออวนลาก และเรือเบ็ดราว จำนวน 40 ลำ เข้าไปทำประมงในเขตรัฐยะไข่ รวมทั้งทำโรงงานแปรรูปอาหารทะเลที่เรือสิตต่วย โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547

บรรษัทเมียนมาร์ มอดเทค (Myanmar Modtech) ซึ่งร่วมทุนระหว่างไทย พม่า และเกาหลีใต้ ทำประมงในรัฐยะไข่ รวมทั้งทำโรงงานน้ำปลาที่ด่านตาลด่วย เริ่มทำปี 2546. บรรษัทดราก้อน ซี ฟิชเชอรี่ (Dragon Sea Fishery) จำกัด ร่วมทุนในการทำประมงกับบรรษัทเมียนมาร์ ฟิชเชอรี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จอยท์ เวนเจอร์ ลิมิเต็ด (Myanmar Fisheries International Joint Venture Limited) นำเรือประมงต่างชาติจำนวน 200 ลำเข้ามาทำประมง ในพม่าที่เขตตะนาวศรี โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2547

การลงทุนด้านการท่องเที่ยวและอื่นๆ
ส่วนการลงทุนด้านการท่องเที่ยว ปัจจุบันมีภาคเอกชนในไทยลงทุนทำธุรกิจด้านโรงแรมในกรุงย่างกุ้งรวม 3 แห่ง ดังนี้ คือ กลุ่มดุสิตธานี กรุ๊ป (Dusit Thani Group) ลงทุนบริหารจัดการโรงแรมดุสิต อินดี้ เลค (Dusit Indy Lake) กลุ่มบางกอก คลับ (Bangkok Club) ลงทุนทำโรงแรมนิคโค (Hotel Nikko) มูลค่าการลงทุนประมาณ 38 ล้านดอลลาร์ กลุ่มบรรษัทเครือใบหยก ลงทุนทำโรงแรมกันดอว์จี พาเลซ (Kandawgyi Palace) มูลค่าการลงทุนประมาณ 31 ล้านดอลลาร์

การลงทุนด้านเกษตรกรรม บรรษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ลงทุนด้านเกษตรกรรมในพม่ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยปัจจุบันบรรษัทดำเนินธุรกิจในพม่า 3 สาขา คือ การส่งเสริมการเพาะปลูก พืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด การเพาะเลี้ยงสัตว์บก ได้แก่ การเลี้ยงไก่ และการทำอาหารสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่การทำฟาร์มกุ้ง

การลงทุนด้านก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ บรรษัทอิตาเลี่ยน-ไทย (Italian-Thai) ลงทุนทำธุรกิจผลิตปูนซีเมนต์และกระแสไฟฟ้าที่เมืองพะอัน และเมืองเจ้าเซ รวมทั้งโครงการก่อสร้างสะพานขนส่งสินค้าที่เมืองติละวา มูลค่าการลงทุนประมาณ 22 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างสนามบินเมืองมัณฑะเลย์ และการก่อสร้างเส้นทางสายมะริด-มุด่อง. บรรษัทซีแพค (CPAC) ลงทุนทำธุรกิจก่อสร้างโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จที่กรุงย่างกุ้ง มูลค่าลงทุนประมาณ 500,000 ดอลลาร์ โดยเริ่มดำเนินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540

สำหรับเรื่องการลงทุนทางด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ล่าสุด ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพม่านั้น จะส่งผลให้การเจรจาการซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งปิโตรเลียม M9 อ่าวเมาะตะมะ ระหว่างไทยและพม่า ต้องล่าช้าออกไป จนกว่าเหตุการณ์ในพม่าจะสงบ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของทีมเจรจาฝ่ายไทย โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลพม่าได้ส่งหนังสือมายังรัฐบาลไทย เพื่อให้เร่งส่งทีมเจรจาหาข้อสรุปในโครงการลงทุนในแหล่ง M9 แต่เหตุการณ์ความไม่สงบได้เกิดขึ้นเสียก่อน จึงต้องเลื่อนการเจรจาออกไป

ระหว่าง "เสถียรภาพ" และ "ประชาธิปไตย" ธุรกิจเลือกอะไร?
การลุกฮือของประชาชนในครั้งนี้ ต้องยอมรับว่าเป็นการผสมโรงครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในเรื่องของเศรษฐกิจ (ปากท้อง) และสิทธิเสรีภาพ - หนึ่งในเหตุผลของการลุกฮือครั้งนี้ก็คือ การพัฒนาทุนนิยมที่ไม่มีประสิทธิภาพในพม่า. ในด้านหนึ่งเราอาจจะมองระบบทุนนิยมในแง่ดีว่าถ้าหากเกิดการพัฒนาทุนนิยมในด้านที่สนับสนุนระบบประชาธิปไตย ยกระดับทางชนชั้นของประชาชนพม่าส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคและแรงงานที่มีประสิทธิภาพ การทำธุรกิจระยะยาวในพม่าก็จะเป็นตัวเลือกที่ดีอีกแห่งหนึ่ง

แต่ตามแนวทางเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ (neo-liberalist) ที่เป็นเนื้อแท้ของระบบทุนนิยมโลกปัจจุบันนั้นอาจไม่ต้องการให้พม่าเป็นเช่นนั้น เพราะนอกเหนือจากที่พม่ายังคงเป็นแหล่งทรัพยากรและจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง รวมถึงปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ธุรกิจข้ามชาติตามแนวทางเสรีนิยมใหม่ ต้องการพม่าอย่างที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงขั้นต่ำถูก, การใช้แรงงานเด็ก, การห้ามจัดตั้งสหภาพแรงงาน, เสถียรภาพทางการเมืองสูง ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำให้นักลงทุนยังคงสนใจพม่า ตราบใดที่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่ายังปล่อยให้มีการลงทุนเสรี ไม่กลั่นแกล้งนายทุนเหมือนที่กดขี่ประชาชนของตนเอง

ขณะนี้เราคงได้แต่จับตาว่า มาตรการของรัฐต่างๆ หรือองค์กรระหว่างประเทศ ที่มีธรรมเนียมปฏิบัติที่มีแต่ขี้ปากกดดัน การอ้างแค่ประเด็นสิทธิเสรีภาพ แต่ในด้านหนึ่งเมื่อไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ที่ยังไม่รู้ร้อนรู้หนาว หากยังทำเงินเข้าบรรษัท จะมีพลังสนับสนุนประชาชนพม่าได้แค่ไหน

สถานการณ์ในพม่า จะเป็นเหตุการณ์ที่พิสูจน์น้ำยาของนามธรรมเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิทางการเมือง ว่ามันสามารถเปลี่ยนสังคมหนึ่งๆ ได้ไหม? จะสามารถสู้กับพลังทางด้านเศรษฐกิจได้หรือไม่?

แหล่งข้อมูล :

- British investment in Burma (BBC 27 ก.ย. 2550)
- rma: Foreign Investment Finances Regime - Companies Should Condemn Crackdown
(Human Rights Watch 2 ต.ค. 2550)
- EU-MADE ROCKETS, GUNS AND ENGINES RISK UNDERMINING MYANMAR ARMS EMBARGO New report by Amnesty International, Saferworld and other NGOs (Amnesty International's 16 ก.ค. 2550)

- Firms that invest in Burma 'have paid for bullets' (independent 29 ก.ย. 2550)
- Global firms provide lifeline to Myanmar's junta (APF 1 ต.ค. 2550)
- 'ชาเวซ' รายสัปดาห์: บรรษัทสังคมนิยม, ซื้ออาวุธ, และการกดดันบรรษัทน้ำมันข้ามชาติ (ประชาไท 24 มิ.ย. 2550)
- ทิศทางตลาดหุ้นวันนี้ (บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา 28 ก.ย. 2550)
- จีนรุดหน้ายุทธศาสตร์พลังงานใหม่ฉลุย (ผู้จัดการรายวัน 13 มิ.ย. 2549)

- 56 โครงการทุนไทยในพม่า (ประชาชาติธุรกิจ 1 ต.ค. 2550)
- ถึงคว่ำบาตรก็ไร้ผล เมื่อผลประโยชน์ค้ำคอมหามิตรของพม่า (ฐานเศรษฐกิจ 29 ก.ย. 2550)
- พม่าเร่งเสริมประสิทธิภาพกองทัพโดยเสนอซื้ออาวุธรัสเซียเพิ่ม (ประชาไท 10 เม.ย. 2549)
- 'รัสเซีย - พม่า' ตกลงร่วมพัฒนานิวเคลียร์ (ประชาไท 17 พ.ค. 2549)

4. บทความ ': ทำไมคนพม่า ต้องลี้ภัยมาอยู่ไทย
จรรยา ยิ้มประเสริฐ (ผู้อำนวยการ โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย)
เกือบ 20 ปีที่กลุ่มและองค์กรรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ได้ประท้วงครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อกดดันให้ผู้นำของโลกทั้งหลาย ให้ดำเนินมาตรการเพื่อนำประชาธิปไตยมาสู่พม่า แต่ดูเหมือนว่าเสียงของพวกผู้นำของโลกยังไม่ดังพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้นำในกลุ่มประเทศอาเซียน และรัฐบาลจีนและญี่ปุ่นที่มีผลประโยชน์กับพม่ามากที่สุด และดำเนินธุรกิจโดยไม่ใยดีว่า ประชาชนพม่าจะอยู่ภายใต้การกดขี่จากรัฐบาลทหารที่ได้รับการกล่าวขานว่าโหดร้ายที่สุดในโลกนี้ อย่างไรบ้าง

ความรุนแรงที่รัฐบาลทหารพม่ากระทำต่อประชาชนของตัวเองในปี 2531 (1988) และต่อเนื่องมาอีกหลายปี ส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยทางการเมืองจากพม่าอพยพเข้ามาและยังอยู่ในไทยประมาณ 150,000 คน ไม่นับชาวพม่าอีก 2 ล้านคนที่อพยพเข้ามาเป็นแรงงาน ทั้งที่มีบัตรอนุญาตและไม่มีบัตรอนุญาตทำงาน พวกเขาเหล่านี้ทำงานที่เป็นงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำสุด ได้รับค่าแรงเพียงวันละประมาณเพียง 70 - 80 บาทต่อวัน (เพียงแค่ 40% ของค่าแรงขั้นต่ำ). คนงานอพยพเหล่านี้ที่อยู่ภายใต้การคุกคามทางการเมืองของรัฐบาลทหารพม่า และต่างก็อยู่ในสภาพที่เปราะบางต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบต่างๆ นานา ทั้งจากนายจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐของไทย คนงานจำนวนมากถูกจับและส่งตัวกลับประเทศ และต้องเสียเบี้ยใบ้รายทางให้กับทหารพม่าตลอดเส้นทาง

ร่วม 20 ปีที่พวกเขาหนีเข้ามาพึ่งพิงประเทศไทย แต่พวกเขาใช้ชีวิตโดยเป็นคนที่ไม่มีสิทธิพลเมืองใดๆ ทั้งสิน ไม่ได้รับสิทธิการคุ้มครองจากระบบประกันสังคม อยู่ในกับดักแห่งความเป็นอยู่ที่ยากจนข้นแค้น และต้องหนีหัวซุกหัวซุนราวกับสัตว์ที่ถูกล่า ในทุกครั้งที่มีเจ้าหน้าที่หรือตำรวจมาตรวจโรงงาน… พวกเราได้เพิกเฉยต่อชะตากรรมของคนพม่าร่วม 50 ล้านคน มานานมากเกินพอแล้ว

หลังจากได้มีประสบการณ์ตรง (จากการไปพม่า) และได้ประจักษ์ถึงสภาพความจนอย่างที่สุดของชาวพม่าตลอดริมฝั่งแม่น้ำอิระวดี ซึ่งถือเป็นแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดสายหนึ่งในเอเชีย ในปี 2546 โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ได้ดำเนินโครงการต่อสู้เพื่อสิทธิของแรงงานพม่าในประเทศไทย และได้เปิดสำนักงานที่อำเภอแม่สอด จ.ตาก ทั้งนี้ด้วยการสนับสนุนจากองค์กรคริสตจักรเพื่อสังคม ประเทศนอรเวย์ และองค์กร ไดอาโกเนีย ประเทศสวีเดน

ความทรงจำจากย่างกุ้งและพุกามในปี 2543
"พวกเราจะไปประท้วงที่ทำเนียบรัฐบาลที่กรุงแคนเบอร่ากันนะ" เพื่อนคนหนึ่งได้บอกกับผู้เขียนในช่วงที่ผู้เขียนได้ไปศึกษาเกี่ยวกับออสเตรเลียเป็นเวลา 2 เดือน ในปี 2533 การประท้วงครั้งนี้เพื่อเป็นการระลึกถึงการครบรอบสองปีของการปราบปราบประชาชนของทหารพม่า ในวันที่ 8 สิงหาคม 2531 (เหตุการณ์ 8-8-88) ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่าสามพันกว่าคน นับตั้งแต่นั้นมา ผู้เขียนก็เข้าร่วมการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในพม่ามาโดยตลอด

ในปี 2543 และ 2544 ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปพม่าเพื่อปฏิบัติภารกิจให้กับองค์กร Altsean-Burma (เครือข่ายทางเลือกอาเซียนต่อพม่า) ซึ่งทำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสประจักษ์ถึงความจริงอันโหดร้ายของสภาพความเป็นอยู่ของชาวพม่า การไปพม่าทั้งสองครั้งทำให้ผู้เขียนเข้าใจในที่สุดว่า "ความยากจนอย่างแร้นแค้นถึงที่สุด" นั้นมันหมายถึงอะไร และวิถี"แห่งการค้าอันไร้พรมแดน"นั้นมันเป็นจริงเช่นไร

ทุกโรงแรมจะมีภาพถ่ายของนายทหารติดบนฝาผนัง. คุณสตีฟ บีบี้ เพื่อนร่วมเดินทางและตัวผู้เขียนเองก็ได้รับทราบว่า ผู้นำทหารทั้งหลายจะได้รับหุ้นในโรงแรมต่างๆ ฟรี โดยไม่ต้องจ่ายเงินร่วมลงทุน ในการไปพม่าครั้งที่สอง พวกเราพักที่โรงแรมที่เป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุนชาวเอเชีย ทั้งจากสิงคโปร์ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น สำหรับนักธุรกิจไทยนั้นขึ้นชื่อในเรื่องการดูแลเรื่องธุรกิจโรงแรมและการบริการ

เด็กหนุ่มร่างผอมแกร่นชาวพม่าพยายามเชิญชวนพวกเรา "ไปเที่ยวพุกามไหมครับ" หลังจากที่เฝ้าติดตามพวกเราร่วมครึ่งวัน เขาก็ประสบความสำเร็จในการกล่อมให้เราเชื่อว่า สามารถเดินทางไปกลับระหว่างย่างกุ้งและพุกามซึ่งมีระยะทางห่างกันประมาณ 350 กิโลเมตรได้ภายในสองวัน เมื่อเราเดินทางมาได้ประมาณครึ่งทางไปตามถนนที่ขรุขระและมืดมิด เราก็ตระหนักได้ว่าทั้งคนขับรถแท็กซี่และไกด์ของเราไม่รู้เส้นทาง ระยะเวลาการเดินทางที่บอกกับเราว่าประมาณ 6-8 ชั่วโมงก็กลายเป็น 14 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางเราผ่านด่านตรวจมากมาย และไกด์ผู้น่าสงสารของเราในขณะที่บ่นพึมพำกับเรา ก็ต้องควักเงินจ่ายให้กับด่านตลอดเส้นทาง

ในช่วงหยุดพัก ไกด์ได้รับทราบข่าวการเสียชีวิตของน้องชาย เขาเสียใจมาก พวกเราก็เสียใจกับเขาเช่นกัน เราแนะนำเขาว่าให้เดินทางกลับย่างกุ้ง แต่เขายืนยันจะไปต่อ เพราะขณะนี้เขาต้องการเงินมากยิ่งกว่าตอนที่เราออกเดินทางออกมาจากย่างกุ้งเสียด้วยซ้ำไป. ในระหว่างเดินทางกลับ เราได้หยุดพักเยี่ยมหมู่บ้าน 2 แห่ง ชาวบ้านได้พาเราเดินตระเวนรอบหมู่บ้าน พวกเขายากจนมากจริงๆ แต่ละครอบครัวอาศัยอยู่ในกระท่อมโทรมๆ ทำด้วยไม้ไผ่และวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ พวกเขาขาดแคลนไปเสียทุกสิ่ง ทั้งผ้าห่ม ยารักษาโรค อาหาร และอนาคต

ที่บ้านหลังหนึ่งมีคนในครอบครัวนอนป่วยเรื้อรัง "พวกเราจำเป็นต้องดูแลกันไปตามมีตามเกิด เราไม่สามารถพาเขาไปโรงพยาบาลได้ เพราะมันอยู่ไกลมากและเราก็ไม่มีเงินเลย" พวกเขาบอกกับเราว่าไม่ใช่เฉพาะครอบครัวของเขาเท่านั้น แต่ทุกครอบครัวริมสองฝั่งแม่น้ำอิระวดีที่อยู่ห่างจากย่างกุ้งนับ 100 กิโลเมตร ไม่มีใครมีปัญญาพาคนป่วยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลได้

แม้ว่าจะผ่านมาหลายปีแล้วก็ตามนับตั้งแต่ผู้เขียนเดินทางไปพม่าทั้งสองครั้ง แต่สภาพความเป็นอยู่และชีวิตของชาวพม่ายังกระจ่างชัดอยู่ในความทรงจำ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในพม่า ผู้เขียนหวังยิ่งว่าพวกเรา ทั้งโลก จะช่วยกันรณรงค์ให้ได้มาซึ่งสันติภาพและประชาธิปไตยในพม่า - โดยทันที

พวกเราจะไม่ยอมให้มีการสูญเสียเลือดเนื้อของผู้บริสุทธิ์อีกต่อไป ยี่สิบปี่ที่ผ่านมาชาวพม่าได้สูญเสียบุคคลที่รักไปมากเหลือเกินแล้ว ประชาชนในพม่าทุกข์ทรมานกันมามากเกินพอแล้ว

5. แด่..เหตุการณ์ในเมียนมา : วันปิดประตูตีแมว
ไพทูรย์ ธัญญา (นักเขียนซีไรท์, ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยสารคาม)

ลูกแมวโซถูกขังอยู่ในบ้าน ประตูปิดลั่นดาลเสียแน่นหนา
เสียงไม้เรียวเควี้ยวขวับด้วยโกรธา จึงร้องหวีดกรีดมาชวนวังเวง

คนบ้านใกล้เรือนเคียงแค่เมียงมอง แมวของใคร ใครเจ้าของย่อมข่มเหง
ไม่ใช่แมวของเรา เขาไม่เกรง ชาตินักเลงเขาไม่หาญบุกบ้านใคร

จึงบ้านนั้นพลันเหมือนบ้านป่าช้า ลูกแมวโซถูกฆ่าอยู่ยกใหญ่
ปิดประตูตีแมวสบายใจ โหยหวนก็หวนไห้ตามสายลม

เมื่อแผ่นดินบุเรงนองมานองเลือด ประชาชนถูกเชือดเสียสาสม
ปืนไฟพ่นพะเนียงเพียงปูพรม ทีละร่างร่วงล้มลงรายเรียง

โอ้ว่าอกอาณาประชาราษฎร์ เขารอนสิทธิ์ปิดขาดไร้สุ้มเสียง
เหมือนมืดบอดบ้าใบ้ไร้สำเนียง จะตอบโต้ทุ่มเถียงก็ถึงตาย

คุกขัง กำแพง จึงแกร่งกร้าว โซ่ตรวนเกรียวกราวคือกฎหมาย
ปิดหูปิดตาจนพร่าพราย เมียนมา เมียนหมายนรกใด

ลูกแมวโซถูกขังอยู่ในบ้าน หิวโหยซมซานแทบตักษัย
ในคุกขังกำแพงอันแกร่งไกร เขาเลือกฆ่าตามใจอำเภอตัว

เป็นเรื่องเล่าข่าวล่ามาให้อ่าน อันปรากฏผิวผ่านบนพาดหัว
เพียงรับรู้ผ่านไปไม่พันพัว เสมือนเรื่องเมียผัวประจำวันฯ ???

[กันยายน ๒๕๕๐]

 

คลิกกลับไปทบทวนบทความเรื่องนี้ตอนที่ ๑

ข่าวล่าสุด
Burma: Deadly disappearances under cover of darkness
By MARCUS OSCARSSON
Last updated at 15:04pm on 1st October 2007


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


YMBA หรือ "สมาคมชาวพุทธหนุ่ม" จะกลายเป็นศูนย์กลางของขบวนการชาตินิยม เน้นกิจกรรมด้านศาสนาและวัฒนธรรม สร้างแรงกดดันให้อังกฤษต้องตั้งงบประมาณช่วยเหลือต่อกิจกรรมและการศึกษาพุทธศาสนา และ"สมาคมชาวพุทธหนุ่ม"ก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในกรณีของการประท้วงใหญ่ที่เรียกว่า "กบฏเกือก" หรือ No Footwear Protest เมื่อปี ๒๔๖๑/๑๙๑๘ ที่ต่อต้านการที่ฝรั่งหรือชาวต่างชาติอื่นๆ สวมเกือกหรือรองเท้าเข้าไปในบริเวณวัด


บทบาทดังกล่าวของ "สมาคมชาวพุทธหนุ่ม" ร่วมกับบรรดาพระสงฆ์นี้จะถูกส่งทอดต่อไปยังคนรุ่นต่อมาอีก เช่น General Council Burmese Association หรือ GCBA ในปี ๒๔๖๓/๑๙๒๐ พร้อมๆ กันนี้ พระพม่าอย่าง "อูอุตมะ" ก็กลายเป็นผู้นำพระสงฆ์รุ่นใหม่ ที่พยายามตีความพุทธศาสนาในรูปแบบร่วมสมัย เช่นว่า พุทธศาสนานั้น สอดคล้องกับการต่อสู้เพื่อเอกราช การที่มนุษย์จะตัดกิเลสได้ จะต้องผ่านขั้นตอนของการมีอิสระเสรีภาพเสียก่อน ชาวพุทธจะต้องช่วยกันในการต่อสู้นี้ "อูอุตมะ" ยังตีความพระศาสนาต่อไปอีกว่า "ลัทธิสังคมนิยม" นั้นมีเนื้อหาสอดคล้องกับ"โลกนิพพาน"ของชาวพุทธ และท่านได้รณรงค์ต่อต้านเจ้าอาณานิคมอังกฤษด้วยการ "คว่ำบาตร" และนี่ก็เป็นที่มาของการที่เราได้เห็นการคว่ำบาตร ในการประท้วงครั้งล่าสุดในเดือนกันยายน ๒๕๕๐