โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 03 October 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๖๖ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (October, 03, 10, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ในขณะเดียวกัน กระแสของความไม่พอใจต่อการที่มี "เจ้าต่างด้าวท้าวต่างแดน" ก็สร้างความรู้สึกแบบที่เราจะมารู้จักกันในนามของ "ลัทธิชาตินิยม" ในเมื่อกษัตริย์ถูกจำกัดออกไป และผู้นำที่เป็นฆราวาสถูกปราบปรามอย่างหนัก พระสงฆ์จึงกลายเป็นผู้นำซึ่งอาจจะเพียงกลุ่มเดียวที่ยังเหลืออยู่ ดังนั้น การประท้วงแสดงความไม่พอใจ ก็จะเป็นเรื่องที่เริ่มด้วยประเด็นทางวัฒนธรรมประเพณี ความตกต่ำของศาสนา วิธีการของพระสงฆ์ในยุคสมัยนั้นมีหลายแบบ ตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ระบบสังคม การเรียกร้องให้อังกฤษทำนุบำรุงศาสนา การอดอาหาร เป็นต้น
03-10-2550

Thai Intellectual & Burma
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

ทัศนะนักวิชาการไทยต่อสถานการณ์ความรุนแรงในพม่า ๒๐๐๗
นานาทัศน์ปัญญาชนสยาม กับสถานการณ์ล้อมฆ่าในพม่า (๑)
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
ข้อมูลส่งถึงกองบรรณาธิการฯ, กระดานข่าว ม.เที่ยงคืน, และประชาไทออนไลน์

บทความต่อไปนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
โดยเน้นที่ทัศนะของนักวิชาการไทยทั่วประเทศ ที่มีต่อสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศพม่า
ทั้งแง่มุมประวัติศาสตร์ความเป็นมา การเมือง สังคม-วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ รวมไปถึงบทกวี
เนื่องจากข้อมูลที่รวบรวมมีความยาวพอสมควร จึงได้แบ่งออกเป็น ๒ ตอน
โดยตอนที่ ๑ ประกอบด้วยเนื้อหาที่แบ่งเป็นหัวเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. บทความชาญวิทย์ เกษตรศิริ - พระพม่า'คว่ำบาตร คณาธิปไตยเผด็จการทหาร

๒. เก็บตกสัมมนา : ปัญหาประชาธิปไตยพม่า-ไทย-อาเซียน
๓. พม่า: การต่อสู้ยังไม่จบ ล้ม คมช. ในไทย! ล้มเผด็จการพม่า!
๔. มองการเมืองพม่า: ถ้าขัดใจ รัฐจะทำให้หมดความศักดิ์สิทธิก่อนแล้วค่อย 'ฆ่าพระ'
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๖๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ทัศนะนักวิชาการไทยต่อสถานการณ์ความรุนแรงในพม่า ๒๐๐๗
นานาทัศน์ปัญญาชนสยาม กับสถานการณ์ล้อมฆ่าในพม่า (๑)
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
ข้อมูลส่งถึงกองบรรณาธิการฯ, กระดานข่าว ม.เที่ยงคืน, และประชาไทออนไลน์


1. บทความชาญวิทย์ เกษตรศิริ - พระพม่า'คว่ำบาตร'คณาธิปไตยเผด็จการทหาร
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(1)
ปรากฏการณ์ทางการเมืองในเดือนกันยายน 2550 ที่พระสงฆ์จำนวนเป็นหมื่นเป็นแสนในพม่า ลุกขึ้นมาประท้วงด้วยสันติวิธี พร้อมกับทำการ "คว่ำบาตร" ระบอบเผด็จการทหารของนายพลตันฉ่วย จนนำไปสู่การปราบปรามอย่างรุนแรงด้วยกำลังทหารและอาวุธสงครามนั้น ในด้านหนึ่งก็ดูเหมือนกับเรื่อง "ปกติธรรมดา" สำหรับการเมืองพม่าที่จะต้องปราบปรามขบวนการประชาธิปไตยของประชาชน แต่ในทางกลับกันก็นับได้ว่าเป็นสถานการณ์ใหม่ที่ทำให้เกิดความหวังขึ้นกับขบวนการประชาธิปไตยพม่าที่ชงักงันมาถึงเกือบ 20 ปี

(2)
ในแง่ของ "ความปกติธรรมดา" หรือ "ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย" นั้น ก็คือ พระสงฆ์ในพม่าได้มีบทบาทเช่นนี้ในการเมืองมาตั้งแต่สมัยอยู่ภายใต้ "ลัทธิอาณานิคม" ของอังกฤษ กล่าวคือ เมื่ออังกฤษเข้ายึดครองพม่าได้ทั้งหมดในปี พ.ศ.2428 (ค.ศ.1885) ตรงกับต้นสมัยรัชกาลที่ 5 ของสยามประเทศ) นั้น อังกฤษได้ล้มเลิกสถาบันกษัตริย์พม่า จับพระเจ้าธีบอ (หรือสีป่อ) กับพระนางศุภยลัต ตลอดจนพระราชวงศ์ทั้งหมด เนรเทศไปอยู่อินเดียตะวันตก (ด้านเมืองมุมไบ) สถาบันกษัตริย์ของพม่าทรงพลังเกินกว่าที่อังกฤษจะเก็บรักษาไว้เป็นสัญลักษณ์หรือหุ่นเชิด อย่างในกรณีที่เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสรักษาสถาบันกษัตริย์ลาว / กัมพูชา / เวียดนาม เอาไว้ในกลุ่มประเทศอินโดจีน

(3)
ดังนั้น ภาระของการเป็น "ผู้นำ" ของสังคมพม่าในช่วงนั้น จึงตกอยู่กับสถาบันศาสนาและพระสงฆ์ไปโดยปริยายนั่นเอง น่าสนใจที่ว่าเมื่ออังกฤษเข้ามามีอำนาจปกครองแทนกษัตริย์พม่านั้น อังกฤษมิได้ให้ความสนใจต่อสถาบันศาสนา เพราะถือว่ารัฐกับศาสนจักรต้องแยกจากกัน อังกฤษถือว่าตนได้ให้เสรีภาพไปแล้ว ใครจะถือศาสนาอะไร จะจัดการกับองค์การศาสนาอย่างไร ก็เป็นเรื่องเสรีภาพและสิทธิของบุคคล รัฐไม่พึงเข้าไปยุ่งเกี่ยว แม้แต่การตั้งตำแหน่ง "สังฆราช" หรือ Thathanabaing ที่กษัตริย์พม่าเคยทรงกระทำ เจ้านายอังกฤษก็ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย องค์การศาสนาจึงเสมือนถูกละเลย (ลักษณะของวังกับวัดขาดหายไป) เกิดความปั่นป่วนขึ้นในวงการศาสนา เกิดความไม่พอใจในหมู่พระสงฆ์ไม่น้อย

(4)
ในขณะเดียวกัน กระแสของความไม่พอใจต่อการที่มี "เจ้าต่างด้าวท้าวต่างแดน" ก็สร้างความรู้สึกแบบที่เราจะมารู้จักกันในนามของ "ลัทธิชาตินิยม" ในเมื่อกษัตริย์ถูกจำกัดออกไป และผู้นำที่เป็นฆราวาสถูกปราบปรามอย่างหนัก พระสงฆ์จึงกลายเป็นผู้นำซึ่งอาจจะเพียงกลุ่มเดียวที่ยังเหลืออยู่ ดังนั้น การประท้วงแสดงความไม่พอใจ ก็จะเป็นเรื่องที่เริ่มด้วยประเด็นทางวัฒนธรรมประเพณี ความตกต่ำของศาสนา วิธีการของพระสงฆ์ในยุคสมัยนั้นมีหลายแบบ ตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ระบบสังคม การเรียกร้องให้อังกฤษทำนุบำรุงศาสนา การอดอาหาร (อย่างมหาตมะคานธี) ดังในกรณีของพระรูปหนึ่งนาม "อูวิสระ" ได้อดอาหารประท้วงถึง 166 วัน จนถึงแก่มรณภาพ ท่านได้รับความเคารพนับถือมาก ถึงกับมีอนุสาวรีย์อยู่กลางเมืองย่างกุ้งในสมัยหลังจากได้รับเอกราช

(5)
บทบาทเช่นนี้ของพระสงฆ์ จะถูกสืบทอดไปยังคนรุ่นใหม่ที่เป็นหนุ่มสาว และได้รับการศึกษาจากโรงเรียนและวิทยาลัยแบบใหม่ ที่ตั้งขึ้นภายใต้ลัทธิอาณานิคมอังกฤษ ฉะนั้นทั้งพระและฆราวาส จึงประสานกันในการต่อสู้เพื่อ "เอกราชและประชาธิปไตย" จากอาณานิคมอังกฤษในปี พ.ศ.2449 (ค.ศ.1906) ถึงกับมีการตั้งองค์ขึ้นมาในนามของ Young Men Buddhist Association หรือ YMBA โปรดสังเกตว่านี่เป็นการเลียนแบบ YMCA ของชาวคริสต์ฝรั่ง YMBA หรือ "สมาคมชาวพุทธหนุ่ม" จะกลายเป็นศูนย์กลางของขบวนการชาตินิยม เน้นกิจกรรมด้านศาสนาและวัฒนธรรม สร้างแรงกดดันให้อังกฤษต้องตั้งงบประมาณช่วยเหลือต่อกิจกรรมและการศึกษาพุทธศาสนา และ"สมาคมชาวพุทธหนุ่ม"ก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในกรณีของการประท้วงใหญ่ที่เรียกว่า "กบฏเกือก" หรือ No Footwear Protest เมื่อปี 2461/1918 ที่ต่อต้านการที่ฝรั่งหรือชาวต่างชาติอื่นๆ สวมเกือกหรือรองเท้าเข้าไปในบริเวณวัด

(6)
บทบาทดังกล่าวของ "สมาคมชาวพุทธหนุ่ม" ร่วมกับบรรดาพระสงฆ์นี้จะถูกส่งทอดต่อไปยังคนรุ่นต่อมาอีก เช่น General Council Burmese Association หรือ GCBA ในปี 2463/1920 พร้อมๆ กันนี้ พระพม่าอย่าง "อูอุตมะ" ก็กลายเป็นผู้นำพระสงฆ์รุ่นใหม่ ที่พยายามตีความพุทธศาสนาในรูปแบบร่วมสมัย เช่นว่า พุทธศาสนานั้น สอดคล้องกับการต่อสู้เพื่อเอกราช การที่มนุษย์จะตัดกิเลสได้ จะต้องผ่านขั้นตอนของการมีอิสระเสรีภาพเสียก่อน ชาวพุทธจะต้องช่วยกันในการต่อสู้นี้ "อูอุตมะ" ยังตีความพระศาสนาต่อไปอีกว่า "ลัทธิสังคมนิยม" นั้นมีเนื้อหาสอดคล้องกับ"โลกนิพพาน"ของชาวพุทธ และท่านได้รณรงค์ต่อต้านเจ้าอาณานิคมอังกฤษด้วยการ "คว่ำบาตร" และนี่ก็เป็นที่มาของการที่เราได้เห็นการคว่ำบาตร ในการประท้วงครั้งล่าสุดในเดือนกันยายน 2550

(7)
กล่าวได้ว่า ทั้งพระสงฆ์และองค์กรที่เชื่อมโยงกันอย่าง YMBA และ GCBA นั้นประสบความสำเร็จไม่น้อย และได้ส่งทอดมรดกของการต่อสู้เพื่อเอกราชและประชาธิปไตยไปยังคนรุ่นที่จะนำมาซึ่งเอกราชของชาติ นั่นคือ กลุ่มนักชาตินิยมอย่าง Dobhama Asiayone หรือ "สมาคมชาวเราพม่า" ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2463/1920 อันมีบรรดานักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งเป็นผู้นำ เช่น อองซาน และอูนุ พวกนักศึกษาเหล่านี้ ได้ใช้คำนำหน้าของตนว่า "ทะขิ่น" (Thakin) ซึ่งแปลว่า "เจ้านาย" ทั้งนี้เพื่อแสดงความเท่าเทียมกันกับคนอังกฤษ ที่ถือว่าตนเองเป็น "ทะขิ่น" มานาน และเราก็ทราบดีว่าคนรุ่นนี้อีกประมาณกว่า 20 ปีต่อมา จะเป็นผู้นำมาซึ่งเอกราชของพม่าในปี 2491/1948 หรือภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1945)

(8)
กล่าวโดยย่อ การประท้วงอย่างสันติวิธี และการ"คว่ำบาตร"ของพระพม่า มีที่มาและที่ไปตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวมานั้น พระสงฆ์พม่าในสมัยอาณานิคมอังกฤษ ต้องต่อสู้เพื่อเอกราชและประชาธิปไตย พระสงฆ์ต้องเป็นผู้จุดประกายและส่งต่อการต่อสู้ไปยังนักชาตินิยมที่เป็นฆราวาส ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบัน หากเราถือได้ว่าประเทศพม่าต้องตกอยู่ภายใต้"ลัทธิอาณานิคมภายใน" คืออยู่ในมือของ"เผด็จการทหารพม่า"ที่ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1962 หรือ พ.ศ.2505 แล้ว เราก็ควรจะทำความเข้าใจวิวัฒนาการและสถานการณ์ใหม่ในขณะนี้ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ พม่าก็คงเหมือนกับหลายๆ ประเทศในอุษาคเนย์ คือ ประชาชนมีความต้องการที่จะชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการปกครองและการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย มีสิทธิและเสรีภาพเยี่ยงนานาอารยประเทศ

(9)
แต่ก็อย่างที่เราได้เห็นกันในภูมิภาคอุษาคเนย์นี้ว่า "ประชาธิปไตย"หรือหลักการว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ หาได้หยั่งรากลึกลงไปได้ไม่ และอุปสรรคที่สำคัญก็คือสิ่งที่เรียกว่า "คณาธิปไตย" หรือ Oligarchy (not Democracy) นั่นเอง ในหลายประเทศของอุษาคเนย์ (รวมทั้งพม่าและไม่เว้นแม้แต่สยามประเทศไทย) เราจะเห็นได้ว่าการเมืองการปกครอง จะตกอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อยบางกลุ่มบางคณะเท่านั้น ในบางประเทศก็เป็น "เสนาอำมาตยาธิปไตย" อย่างเปิดเผย ดังเช่นในกรณีของอินโดนีเซียและกัมพูชา หรืออย่างอ้อมๆ เช่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย

(10)
ดังนั้น แม้ว่าลัทธิอาณานิคมต่างชาติจะหมดสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ประเทศในอุษาคเนย์หรืออาเซียน กลับต้องเผชิญกับ"ลัทธิอาณานิคมภายใน" (Domestic colonialism) ของคนในชาติของตนเอง และนี่ก็ทำให้เราเข้าใจได้ว่า ทำไมการเมืองภายในของหลายๆ ประเทศในอุษาคเนย์ ถึงมีความปั่นป่วนไร้เสถียรภาพ มีการลุกฮือของพลังประชาชนอยู่เป็นระยะๆ ดังเช่นในกรณีของ People's Power ในฟิลิปปินส์ ดังเช่นกรณีของ "14 ตุลา" หรือ "6 ตุลา" หรือ"พฤษภาเลือด"ของไทย หรือการล้มระบอบทหารซูฮาร์โตในอินโดนีเซีย สลับกับการมีปฏิวัติรัฐประหาร และยึดอำนาจการเมืองการปกครองด้วยกำลังอาวุธสงคราม

(11)
พม่าได้ถูกปกครองโดย "ลัทธิอาณานิคมภายใน" หรือ "ระบอบเนวิน" (ด้วยการอ้าง "ความสงบเรียบร้อย" และ "ความสามัคคี" กับ "เอกภาพของชาติ") มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 (1962) จนกระทั่งถึง "การลุกฮือ 8888" ของนักศึกษาและประชาชน ("เหตุการณ์วันที่ 8 เดือน 8 ค.ศ. 1988" หรือปี พ.ศ. 2531) รวมแล้วเป็นระยะเวลา 19 ปี การลุกฮือครั้งนั้นทำให้ "ระบอบเนวิน" พังทลาย และทำท่าว่าฝ่ายประชาธิปไตยจะมีชัยชนะ แต่แล้วหลังการเลือกตั้งปี พ.ศ.2533 (1990) ที่พรรค NLD ของวีรสตรีออง ซาน ซู จี ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ "เสนาอำมตยาธิปไตย"หรือ"เผด็จการทหารพม่า"ที่นำโดยนายพลตันฉ่วย ก็ไม่ยอมถ่ายโอนอำนาจการปกครองให้ ซ้ำยังทำการกักกันซู จี รวมทั้งจับกุมคุมขังนักการเมืองและนักศึกษาต่อมาอีกถึงเกือบ 20 ปีเข้าแล้ว

(12)
และนี่ก็คงทำให้เราเข้าใจได้ว่า เมื่อขาดผู้นำตามปกติของสังคมในปัจจุบัน คือ นักการเมืองและนักศึกษา พระสงฆ์พม่าก็ต้องกลายเป็นผู้นำอีกครั้งหนึ่ง และก็เป็นที่น่าเชื่อว่า การจุดประกายครั้งใหม่ครั้งนี้ มีความสำคัญยิ่ง นักต่อสู้รุ่นปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาหรืออดีตนักศึกษา ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกประเทศ อาจจะไม่ประสบชัยชนะในทันทีทันควัน แต่ดูเหมือนว่ากาลเวลาและสถานการณ์ของโลก รวมทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่ (มือถือ, อินเตอร์เน็ต, อีเมล, คลิปวิดีโอ) ดูจะวิ่งสวนทางกับกลุ่ม"คณาธิปไตย", "ลัทธิอาณานิคมภายใน", ตลอดจน"เสนาอำมาตยาธิปไตย"ทั้งหลายทั้งปวง

(13)
และนี่คือแสงสว่างแม้จะเพียงเล็กน้อย แต่ก็เกิดจาก "ภารกิจทางประวัติศาสตร์" ของพระสงฆ์ที่ดำเนินมา 100 ปีได้แล้ว ในระยะยาวของกาลเวลาแห่งอนาคตก็น่าเชื่อได้ว่า "คณาธิปไตย"รวมทั้งนัก"อประชาธิปไตย" ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นนายพลตันฉ่วย หรือนายพลอะไรก็ตาม ก็น่าจะจบชีวิตและถูกบันทึกไว้ในฐานะของฝ่ายอธรรม ดังเช่นนายพลเนวินได้รับ

ที่น่าเสียดายก็คือ ในขณะที่ชาวโลกส่วนใหญ่ของนานาอารยประเทศ ลุกขึ้นมาตะโกนก้องประณามการกระทำของ"เสนาอำมาตยาธิปไตย"ของพม่า ทั้งไทย(ที่มีพรมแดนร่วมกับพม่าถึง 2 พันกิโลเมตร มีแรงงงานพม่าเข้ามาอยู่กว่า 1 ล้านคน) กับองค์การอาเซียน กลับยึดติดอยู่กับนโยบาย"ความสัมพันธ์ที่ไม่สร้างสรรค์" (unconstructive engagement) ที่พิสูจน์ว่า"ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง"มาเป็นเวลาตั้ง 10 ปี เป็นไปได้หรือไม่ว่า "คณาธิปไตย"ย่อมจะต้องเห็นอกเห็นใจและ"สมานฉันท์"กับ"คณาธิปไตย"ด้วยกัน

"คณาธิปไตย" นั้นไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้ง หรือจากการแต่งตั้ง ไม่ว่าจะสวมเครื่องแบบ "เสนาอำมาตย์" สวมชุดสากลหรือชุดประจำชาติสีใดก็ตาม ก็คงจะเหมือนๆ กันนั่นเอง

2. เก็บตกสัมมนา: ปัญหาประชาธิปไตยพม่า-ไทย-อาเซียน
เมื่อวันจันทร์ที่ 1 ต.ค. 50 มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ จัดงานเสวนาเรื่อง 'ปัญหาประชาธิปไตยของพม่า ไทย และอาเซียน' ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สืบเนื่องจากกรณีการเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่ในพม่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กล่าวถึง บทบาทของสถาบันศาสนากับการเมืองพม่าไว้ผ่านบทความเรื่อง 'พระพม่าคว่ำบาตรเผด็จการคณาธิปไตยทหาร' โดยกล่าวว่า ปรากฏการณ์ทางการเมืองในเดือนสิงหาคมและกันยายนที่ผ่านมาส่งผลให้พระพม่าลุกขึ้นมาคว่ำบาตร ใช้สันติวิธี จนนำไปสู่การปราบปรามอย่างรุนแรง. ชาญวิทย์ชี้ให้เห็นถึงภาพประวัติศาสตร์พม่าว่า แต่เดิมพม่าก็มีระบบกษัตริย์แต่เมื่อพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษแล้ว อังกฤษได้ทำให้ลายสถาบันกษัตริย์ลงเนื่องจากมีพลังมากและไม่สามาถรักษาไว้ให้เป็นสัญลักษณ์ได้เหมือนอาณานิคมอื่นๆ บทบาทนำจึงตกอยู่ที่สถาบันศาสนาไปโดยปริยาย

อย่างไรก็ตาม อังกฤษได้แยกศาสนจักรออกจากอาณาจักร หรือทำให้รัฐบาลไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา และสถาบันสงฆ์ถูกละเลย ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่สงฆ์ เช่นเดียวกับความไม่พอใจใน'เจ้าต่างด้าว ท้าวต่างแดน' จนในที่สุด ความรู้สึกเหล่านี้ได้พัฒนาไปเป็น'ลัทธิชาตินิยมพม่า' ดังนั้น การต่อต้านจึงก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ ในหมู่คณะสงฆ์ และเราจะเห็นว่าพระสงฆ์ได้มีบทบาทต่อต้านเจ้าอาณานิคมอังกฤษ โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม มีการตั้งองค์กรชาวพุทธ YMBA (Young Men Buddhist Association) เลียนแบบ YMCA ของฝรั่ง ซึ่งเราเคยได้ยินความสำเร็จของ YMBA ในกรณีการประท้วงใหญ่ที่เรียกว่า 'กบฏเกือก' ต่อต้านต่างชาติที่สวมรองเท้าเข้าไปในบริเวณวัด

ชาญวิทย์กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าในอดีตพระสงฆ์ในพม่าได้ทำเรื่องแบบนี้มาแล้ว ประท้วง คว่ำบาตร เมื่อเราดูเหตุการณ์ที่พระเรือนแสนออกมาเดินขบวนก็ย้ำว่า นี่คือภารกิจทางประวัติศาสตร์ของสงฆ์ ส่วนสาเหตุที่พระสงฆ์ต้องขึ้นมาเป็นผู้นำในภารกิจนี้อีกครั้ง เป็นเพราะประเทศพม่าก็เหมือนประเทศทั้งหลายในอุษาคเนย์ที่หลังสงครามโลกเป็นต้นมา ขบวนการประชาธิปไตยไม่ได้หยั่งรากลึกลงไปในสังคม โดยมีอุปสรรคที่สำคัญที่สุดคือ ระบอบคณาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นทั่วไปในอุษาคเนย์ ไม่เว้นสยามประเทศไทย. ภายใต้ระบอบคณาธิปไตยนั้น การเมืองการปกครองตกอยู่ในบางกลุ่มการเมือง ในบางคณะ บางประเทศก็เป็นเสนาอำมาตยาธิปไตยอย่างเปิดเผย เช่นกรณีอินโดนีเซีย กัมพูชา หรือเป็นอย่างอ้อมๆ เช่นที่ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย

ชาญวิทย์กล่าวว่า ปัจจุบันแม้ลัทธิอาณานิคมต่างชาติจะหมดไป แต่ในอุษาคเนย์กลับเผชิญกับ 'ลัทธิอาณานิคมภายใน' หรือ domestic colonialism นั่นคือสิ่งที่ทำให้เข้าใจได้ว่า ทำไมการเมืองภายในประเทศของหลายประเทศ จึงปั่นป่วนไร้เสถียรภาพ

สุภัตรา ภูมิประพาส ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นว่า แม้พม่าจะเป็นประเทศที่ยากจนมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่กลับมีกำลังพลเกือบ 500,000 นาย ถือว่าเป็นกองทัพที่ใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลก และมีงบด้านการทหารเป็นอันดับ 15 ในจำนวน 159 ประเทศ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพม่าได้ใช้งบในการปราบปรามเพื่อนร่วมชาติเป็นส่วนใหญ่

ส่วนสถานการณ์การประท้วงในปัจจุบันได้ทำให้มีการบอยคอตของประเทศต่างๆ ซึ่งอันที่จริงทำมาตลอดนับตั้งแต่เกิดการปรามปรามประชาชนเมื่อปี 1988 ซึ่งมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างต่ำ 3,000 คน ทั้งในส่วนของรัฐบาลสหรัฐฯ อียู หรือกระทั่งยูเอ็นก็มีการทำสรุปสถานการณ์เกี่ยวกับพม่าเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2005 ซึ่งถือว่าช้ามาก หลังจากนั้นมีมติให้ส่งทูตพิเศษของสหประชาชาติไปพม่า และได้รับอนุญาตให้พบนางออง ซาน ซู จี 2 ครั้งเมื่อปีที่แล้ว แต่กลุ่มทหารพม่าก็ยังทำการปราบปรามรุนแรงกับกลุ่มกะเหรี่ยง ทำให้มีผู้อพยพทะลักเข้ามาประเทศไทยจำนวนมาก โดยสถิติเมื่อปีที่แล้วมีผู้อพยพจากพม่า 700,000 คน ในจำนวนนั้น 500,000 คนเข้ามาอยู่ในประเทศไทย

สุพัฒนากล่าวต่อถึงประเด็น Voice of voiceless ว่า หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าคนพม่าพยายามส่งเสียงมาตลอด 19 ปีที่ถูกกดทับโดยรัฐบาลเผด็จการทหาร โดยยกเหตุการณ์วันที่ 6 ต.ค. 2532 ที่นักศึกษาพม่าสองคนทำระเบิดปลอมขู่นักบินให้มาลงที่สนามบินอู่ตะเภา จากการที่เธอได้มีโอกาสพูดคุยกับนักศึกษาหนึ่งในนั้นหลังจากพ้นโทษ 5 ปี เขาบอกว่าที่ทำไปเพียงต้องการให้สังคมโลกหันมาสนใจปัญหาประชาธิปไตยในพม่า

วันที่ 10 มิ.ย. 2532 นักศึกษาพม่าจี้เครื่องบินสายการบินไทยไปลงอินเดีย เมื่อถึงที่หมายแล้วก็ยอมมอบตัว เพราะต้องการให้เป็นข่าว และสร้างความสนใจในประเด็นพม่า วันที่ 1-2 ต.ค.42 มีการบุกยึดสถานทูตพม่าที่ถนนสาทร โดยนักศึกษากลุ่มหนึ่งซึ่งต้องการสร้างความสนใจของโลกต่อพม่าเช่นกัน ท้ายที่สุดมีการนำตัวนักศึกษาขึ้นเครื่องบินไปส่งไว้ที่ชายแดน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างดี

วันที่ 24-25 ม.ค. 2543 มีบุกยึดโรงพยาบาลราชบุรี โดยมีนักศึกษาพม่าร่วมก่อการด้วย รัฐบาลชวน หลีกภัย ได้สั่งปราบ มีการตีพิมพ์ภาพกลุ่มก่อการ 10 คนที่ถูกยิงตายโดยยังใส่กุญแจมือ จนทำให้ไทยตกเป็นจำเลย และจนบัดนี้ก็ยังไม่มีการอธิบายใดๆ ทั้งสิ้น จากการได้พูดคุยกับคนที่ถูกจับเป็นตัวประกันในโรงพยาบาลหลายคนระบุตรงกันว่านักศึกษาพม่าไม่ได้ทำร้ายอะไร เพียงบุกยึดเพื่อขอความร่วมมือ โดยบอกว่าชายแดนกำลังขาดยาอย่างหนัก และกลุ่มของพวกเขาถูกโจมตี และตอนที่รัฐไทยสั่งยิงเข้าไป พวกนี้เป็นคนบอกให้ตัวประกันหมอบลงและเข้าไปคุ้มกันตัวประกัน "เยธีฮา นักศึกษาคนที่เคยทำระเบิดปลอมเรียกร้องความสนใจจากโลก เมื่อปี 2532 ก็เป็น 1 ในนักศึกษาที่ถูกยิงตาย เราจำเป็นต้องสนใจในปัญหาพม่า เพราะชายแดนเราติดกัน แล้วไม่สามารถหนีสถานการณ์แบบนี้ไปได้เลย"

สุพัตรา กล่าวต่อถึงประเด็นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลทหารพม่าว่า ไม่มีฝ่ายใดเรียกร้องให้ทหารลงจากอำนาจ เพราะรู้ว่าเป็นไปไม่ได้ แต่เพียงเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองรวมถึงนางออง ซาน ซู จี, ลดราคาเชื่อเพลิงและสินค้าอุปโภคบริโภค และเปิดการเจรจาเพื่อสร้างความสมานฉันท์ ซึ่งหากเกิดพัฒนาการในพม่าในด้านกระบวนการปรองดองแห่งชาติ สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การขาดช่วงของปัญญาชนพม่า เนื่องจากส่วนใหญ่อพยพไปอยู่ต่างประเทศ และขบวนการนักศึกษาถูกปราบอย่างหนักมาตลอด มหาวิทยาลัยย่างกุ้งก็ถูกปิดบ่อยครั้ง ดังนั้น จึงมีฝ่ายที่เสนอว่ามหาเถรสมาคมของพม่า ควรที่จะร่วมในกระบวนการทางการเมืองของพม่าด้วยหลังจากนี้

องค์ บรรจุน ประธานชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ กล่าวว่า สิ่งที่กระทบกระเทือนจิตใจคนมอญคือ เมื่อสองสามวันนี้มีสื่อมวลชนบางสายเข้าใจผิด สร้างความเข้าใจที่ไม่ค่อยดีเกี่ยวกับชาวพม่าในไทย สร้างประวัติศาสตร์ซ้ำๆ เดิมๆ ว่า พม่าเป็นชนชาติที่โหดร้าย ทั้งที่คนที่เข้ามาต่างหากที่ถูกกระทำ โดยคนที่เข้ามาในขณะนี้ไม่ได้มีเฉพาะพม่า แต่มีทั้ง มอญ กะเหรี่ยง ไทใหญ่ คะฉิ่น ฯลฯ เพราะพม่าร่ำรวยทางชาติพันธุ์มี 200 กว่าชาติพันธุ์ เมื่อคนเหล่านี้เข้ามา คนไทยมองเขาว่าเป็นพม่าหลบหนีเข้าเมือง จะทำอะไรกับเขาก็ได้

"หลายกรณีที่นายจ้างทำกับเขาไม่ต่างกับที่เขาถูกกระทำในบ้านของตัวเอง เขาถูกทหารพม่ากระทำอย่างไร มาถึงเมืองไทยเราก็กระทำกับเขาอย่างนั้น"องค์ บรรจุน กล่าวและว่า เพื่อนคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายจำนวนมากต้องทำงาน 3 วันเลี้ยงปากท้องตัวเอง ที่เหลือทำงานเลี้ยงปากท้องตำรวจ กรณีผู้หญิงที่หน้าตาดีก็ถูกกระทำย่ำยีได้โดยง่าย

องค์ บรรจุน กล่าวต่อถึงการมีอัตลักษณ์ของตนเองว่า เคยมีอาจารย์ทางรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำวิจัยเรื่องงานวันชาติมอญ การสร้างประวัติศาสตร์ของคนมอญพลัดถิ่นในประเทศไทย แต่กลับมีคนมองว่า คนมอญกำลังสร้างรัฐนอกอาณาเขตรัฐของตนเอง เป็นความต้องการสร้างพลังของคนมอญนอกพื้นที่ ต้องการสร้างความมีตัวตนอย่างรุนแรง ทำไมรัฐไทยจึงปล่อยให้คนมอญทำเช่นนี้

เขากล่าวต่อว่า เมื่อวานไปงานประชุมที่จะจัดงานรำลึกวันชาติมอญที่สมุทรสาคร แต่คนสมุทรสาครกลับได้รับข้อมูลว่า คนมอญเป็นภัยต่อความมั่นคง เป็นแรงงานต่างด้าว ถ้าไม่อยากให้มีแรงงานต่างด้าวอยู่ก็ต้องผลักดันออกไปให้หมด แต่ถ้าคิดว่าต้องมีแรงงานต่างด้าวไว้เพื่อทำงานน่ารังเกียจที่คนไทยไม่ทำ เช่นนั้นก็ควรมีมาตรการดูแลที่เหมาะสม สร้างความเข้าใจกัน

สุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศกล่าวว่า ประเด็นเร่งด่วนที่สุดสำหรับพม่าคือ ทำอย่างไรไม่ให้มีการใช้ความรุนแรง มีการเสียชีวิตเพิ่มเติมจากที่มีไปแล้ว ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อฝ่ายรัฐบาลทหารพม่ายอมเห็นถึงคุณประโยชน์ที่เขาจะพูดคุยกับฝ่ายประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย หรือเรียกร้องให้มีการปรึกษาหารือกัน และการจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ก็ไม่ได้อยู่ที่ความพร้อมของรัฐบาลพม่า เท่ากับความพร้อมของประชาคมระหว่างประเทศ ไทย อาเซียน สหประชาชาติ ต้องร่วมมือกันโน้มน้าว กดดันให้พม่าเห็นความจำเป็นในการหาทางประนีประนอมกันให้ได้เพื่อพม่าเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยอีกครั้ง ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

สุรพงษ์ กล่าวถึงความสัมพันธ์ไทย-พม่าว่า ไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะมีบทบาท หรือไม่อาจมองข้ามปัญหาที่เกิดในพม่า เพราะเมื่อใดมีการปราบจะมีคนทะลักเข้ามาในไทยจำนวนมาก นอกจากนี้รัฐบาลของไทยควรเลิกล้มการมองปัญหาพม่าจากมิติเศรษฐกิจอย่างเดียว เพราะ 20 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะรัฐบาลไทยรักไทย มีนโยบายต่อพม่ามิติเดียวร้อยเปอร์เซ็นต์เรื่องการค้าการลงทุน ทั้งที่ยังมีประเด็นเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ด้วย "ถ้ารัฐบาลแถลงนโยบายต่อสภาว่าจริยธรรม ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องสำคัญ นโยบายต่างประเทศก็ต้องสะท้อนสิ่งเหล่านี้ด้วย"

นอกจากนี้ในส่วนของอาเซียนสุรพงษ์กล่าวว่า ผลกระทบภาพลักษณ์ของอาเซียนตกต่ำมากเนื่องจากปัญหาพม่า และขณะนี้อาเซียนตระหนักแล้วว่า ต้องมีกฎบัตรที่ระบุว่า ประเทศสมาชิกใดที่ไม่เคารพพันธกรณี กฎกติกาของการเป็นสมาชิก จะมีบทลงโทษอย่างไร และคาดว่าถ้าเป็นที่ตกลงกันได้จะเป็นข้อตกลงที่จะเกิดขึ้นในการประชุมในเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่สิงคโปร์. เหตุการณ์พม่ายังตอกย้ำให้อาเซียนเห็นด้วยว่า การจัดตั้งกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนของอาเซียนต้องมีขึ้น และต้องมีระบบการออกเสียง ซึ่งตลอด 40 ปีที่ผ่านมา อาเซียนใช้ระบบฉันทามติ

3. พม่า: การต่อสู้ยังไม่จบ ล้ม คมช. ในไทย! ล้มเผด็จการพม่า!
ใจ อึ๊งภากรณ์: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(พรรคแนวร่วมภาคประชาชน)

ในขณะที่สื่อหลักเน้นกิจกรรมของสหประชาชาติ และแถลงการณ์นามธรรมของประเทศต่างๆ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจริงๆ คือการต่อสู้ของพี่น้องเราในเมืองต่างๆ ของพม่า การเสนอว่าจีน ซึ่งมือเปื้อนเลือดด้วยการฆ่าประชาชนตนเอง หรือรัฐบาลเผด็จการทหารไทยจะยับยั้งการนองเลือดในพม่าเป็นเรื่องตลก มหาอำนาจตะวันตกก็ไม่ต่างออกไป เพราะในอดีตพร้อมจะสนับสนุนเผด็จการในไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และไม่เคยห้ามการใช้กำลังในการปราบปรามประชาชนแต่อย่างใด เรื่องนี้ยิ่งดูตลกเมื่อเราทราบว่านักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่ามีบทสรุปสำคัญว่า รอสหรัฐฯ หรือรัฐบาลต่างชาติไม่ได้อีกแล้ว ต้องสู้เองในพม่า

ก่อนที่รัฐบาลพม่าจะยิงประชาชนในรอบปัจจุบัน สื่อมวลชนหลักสร้างนิยายว่าอินเตอร์เน็ตช่วยให้ "ประชาคมโลก" จับตาดูพฤติกรรมของทหารพม่า ซึ่งพวกนี้อ้างว่า"ต่างจากยี่สิบปีก่อนในเหตุการณ์ 8-8-88" แท้จริงแล้วเหตุการณ์นั้นก็มีภาพออกมาพอสมควร และชาวโลกก็ทราบว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น การลุกฮือครั้งยิ่งใหญ่ในวันที่ 8 สิงหาคม 1988 เกิดจากการประท้วงของนักศึกษาเรื่องสภาพเศรษฐกิจ แต่ในไม่ช้าพัฒนาไปเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย ในเช้าวันที่ 8 สิงหาคม การประท้วงเริ่มต้นด้วยการนัดหยุดงานทั่วไปซึ่งเริ่มที่ท่าเรือ การนัดหยุดงานครอบคลุมทุกส่วน เช่น ข้าราชการและครู มีการเดินขบวนของพระสงฆ์ นักศึกษา และคนทั่วไปจากทุกสาขาอาชีพ

และทั้งๆ ที่ทหารพม่าพยายามปราบอย่างโหดร้าย ดูเหมือนว่าขบวนการประชาธิปไตยใกล้จะชนะ นายพลเนวิน หัวหน้าเผด็จการต้องลาออก คณะทหารพยายามเปลี่ยนชื่อเพื่อเปลี่ยนภาพ และมีการสัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้ง แต่ปัญหาคือขบวนการประชาธิปไตยไม่ได้ผลักดันการต่อสู้ถึงจุดจบ ปล่อยให้ทหารครองอำนาจต่อ นางออง ซาน ซู จี มีบทบาทในการสลายการชุมนุมและเบี่ยงเบนพลังในการต่อสู้ไปในทิศทางการหาเสียงให้พรรค N.L.D. ของเธอ เหตุผลที่ซู จี ใช้คือเธอมองว่าไม่ควรกดดันทหาร"มากไป" ควรประนีประนอมและเชื่อใจกองทัพ แต่พอพรรค N.L.D. ชนะการเลือกตั้งขาดลอยในปี 1990 ทหารไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และจับผู้นำพรรคทั้งหมดรวมถึงนางซู จี และเนื่องจากขบวนการประท้วงหมดไฟไปนานแล้ว ภาคประชาชนไม่สามารถโต้ตอบทหารได้

หลังจากความพ่ายแพ้ของขบวนการ 8-8-88 นักเคลื่อนไหวพยายามหาทางต่อสู้ต่อไป บางส่วนเข้าป่าไปจับอาวุธ และทุกฝ่ายตั้งความหวังว่าประเทศตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ จะกดดันทหารให้ปฏิรูปการปกครองไปในทิศทางประชาธิปไตย ปัจจุบันนี้หลายกลุ่มในพม่าสรุปว่าแนวทางดังกล่าวใช้ไม่ได้ผล ดังนั้นจึงมีการสร้างเครือข่ายหลวมๆ เพื่อประท้วงภายในประเทศ เริ่มต้นด้วยการเดินสวดมนต์. ต่อมาหลังจากรัฐบาลพม่าขึ้นราคาเชื้อเพลิง 500% ตามนโยบายเสรีนิยมกลไกตลาด มีการประท้วงโดยพระสงฆ์เป็นหมื่น ซึ่งให้กำลังใจกับพลเมืองทั่วไปที่ออกมาร่วม จนมีมวลชนประท้วงเป็นแสน. นักต่อสู้ยุคนี้ประกอบไปด้วยแกนนำจาก 8-8-88 แต่มีคนรุ่นใหม่ที่ยังเป็นเด็กเมื่อ 20 ปีก่อนเข้าร่วมมากมาย ในปัจจุบันมีการเรียนบทเรียนจากอดีต เพราะตอนนี้หลายส่วนไม่ไว้ใจการนำของ ออง ซาน ซู จีและพรรค N.L.D. ทั้งๆ ที่ทุกคนเห็นเป็นหนึ่งว่าต้องมีการปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมดรวมถึง ซู จี ด้วย

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่าแยกออกจากการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของกลุ่มเชื้อชาติไม่ได้ คนพม่ามีน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด และกลุ่มเชื้อชาติอื่นๆ ไม่ต้องการรัฐรวมศูนย์ ในอดีตผู้นำขบวนการชาตินิยมพม่าอย่างนายพลอองซาน (พ่อของซู จี) หรืออูนู ไม่ชัดเจนเรื่องเสรีภาพของเชื้อชาติ และในการประชุมปางหลวงในปี ค.ศ.1947 ผู้แทนชาวกะเหรี่ยง, กะเรนนี, มอญ, อารากัน, และว้า ไม่ยอมมาร่วมประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญเพราะไม่ไว้ใจผู้นำพม่า ในปัจจุบันนางซู จี ก็ยังไม่ชัดเจนเรื่องนี้ ดังนั้นกลุ่มเชื้อชาติอาจไม่ไว้ใจการนำของเขาเท่าไร

ด้วยเหตุนี้ขบวนการประชาธิปไตยพม่าจะต้องมีจุดยืนชัดเจน ที่สนับสนุนการปกครองตนเองของกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ โดยไม่มีเงื่อนไข การที่ K.N.U. องค์กรกะเหรี่ยง ออกมาประกาศสมานฉันท์กับขบวนการประชาธิปไตยและเรียกร้องให้ทหารพม่าหันปืนใส่นายพลเป็นเรื่องดี และองค์กรประชาธิปไตยจะต้องตอบสนองความสมานฉันท์นี้

คณะสงฆ์ในพม่าเต็มไปด้วยชายหนุ่มที่มีจิตสำนึกประชาธิปไตย สาเหตุสำคัญก็เพราะการบวชเป็นพระเกือบจะเป็นวิธีเดียวที่จะได้รับการศึกษา หลังจากที่ทหารปิดมหาวิทยาลัย การอาศัยวัดในการประท้วงเป็นยุทธ์วิธีเพื่อป้องกันตัวจากการถูกปราบปราม ในขณะที่จัดวงคุยทางการเมืองด้วย คล้ายๆ กับวิธีของพวกกบฏในอีหร่านในปี 1979 หรือคนโปแลนด์ในปี 1980 ที่ใช้สถาบันศาสนาเพื่อป้องกันตัว

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่าจะชนะได้ เมื่อมีการโค่นล้มเผด็จการทหารอย่างเด็ดขาด การประนีประนอมและการเชื่อใจทหารจะนำไปสู่ความพ่ายแพ้ ชาวพม่าต้องต่อสู้กับทหารในรูปแบบเดียวกับที่พี่น้องประชาชนในไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เคยต่อสู้ในอดีต ต้องชักชวนให้นายทหารชั้นผู้น้อยปฏิเสธคำสั่งของเผด็จการ น่าจะมีการนัดหยุดงานด้วย ทั้งคนงานในพม่าเอง และคนงานพม่าหรือกะเหรี่ยงในประเทศเพื่อนบ้าน เช่นที่แม่สอดในไทย การต่อสู้ดังกล่าวอาจใช้เวลา แต่เราสามารถให้ความสมานฉันท์และกำลังใจกับพี่น้องเราได้ตลอด เช่น การประท้วงหน้าสถานทูตเป็นต้น

สิ่งสำคัญที่เราในภาคประชาชนไทยต้องทำคือ การเคลื่อนไหวต่อไปเพื่อล้มเผด็จการทหารของเราเอง แทนที่จะต้อนรับรัฐประหาร สนับสนุนรัฐธรรมนูญทหาร และทำงานร่วมกับเผด็จการ อย่างที่บางกลุ่มที่ใกล้ชิดกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทำ. หัวหน้า คมช. สนธิ พูดเองว่าเขาคิดว่าประเทศไทยต้องอยู่กับเผด็จการทหารพม่าต่อไป และการประท้วง"ไม่มีวันล้มเผด็จการได้" เราต้องร่วมกันพิสูจน์ว่าเขาผิด ทั้งในกรณีไทยและกรณีพม่า

4. มองการเมืองพม่า: ถ้าขัดใจ รัฐจะทำให้หมดความศักดิ์สิทธิก่อนแล้วค่อย 'ฆ่าพระ'
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2550 สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเสวนา 'ธรรมยาตราผ่าเส้นทางปืน : ผ้าเหลืองกับการเมืองพม่าในสายตาโลก' ณ อาคารประชาธิปก - รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครองในพม่าว่า การที่รัฐบาลพม่าให้การสนับสนุนพุทธศาสนานั้น เป็นเรื่องของการขาดความชอบธรรมทางอำนาจ หลักในการสร้างความชอบธรรมทางการปกครองจึงต้องใช้พระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ เพราะรัฐบาลพม่าปัจจุบันไม่มีความชอบธรรมทางอำนาจ เนื่องจากไม่สามารถใช้หลักเกณฑ์ที่มาจากการเลือกตั้งหรือหลักเกณฑ์ประชาธิปไตยได้ รัฐบาลพม่าจึงหันไปหาความชอบธรรมที่กษัตริย์ยุคโบราณทำ จึงต้องสนับสนุนพุทธศาสนา

เช่น เมื่อค้นพบหินอ่อนขนาดใหญ่ก็นำมาสร้างพระพุทธรูป เพราะคติพม่าเชื่อว่าการพบหินอ่อนขนาดใหญ่เพื่อสร้างพระพุทธรูป จะเกิดขึ้นกับผู้มีบารมี ในขณะที่รัฐบาลพม่าชุดนี้พบหินอ่อนขนาดใหญ่ที่สุดและสร้างเป็นพระพุทธรูปหินอ่อนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก การสร้างพระพุทธรูปหินอ่อนตามจารีตโบราณในสมัยตองอูยุคหลัง ก็เพื่อแสดงว่าเป็นรัฐบาลที่มีบุญญาบารมี ให้การสนับสนุนพุทธศาสนา หลังสร้างพระพุทธรูปหินอ่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลกเสร็จ ก็สร้างวัดและทำกรอบแก้วครอบทับพุทธรูป

การหันไปหาความชอบธรรมแบบเดียวกับที่กษัตริย์โบราณเคยทำอีกตัวอย่างหนึ่ง ได้แก่การยกฉัตรเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งเป็นเรื่องยิ่งใหญ่เรื่องหนึ่งของประเทศ การยกฉัตรครั้งก่อนหน้านี้คือสมัยพระเจ้ามินดง ค.ศ. 1871 และการยกฉัตรครั้งใหม่คือ ค.ศ. 1999. ดังนั้นจึงเห็นว่ารัฐบาลพม่าให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นหลักในการสร้างความชอบธรรมทางการปกครอง

หลัง ค.ศ. 1988 รัฐบาลนิยมสร้างอาคาร, วิทยาลัยสงฆ์, ทำบุญสุนทาน และผู้ปกครองพม่าจะไปหาพระผู้ใหญ่เพื่อถวายภัตตาหารจนเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวตั้งแต่ 15 ก.ย. 50 โดยมีพระสงฆ์ตั้งแต่ 500 - 20,000 รูปออกมาเคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน จึงกระทบโดยตรงต่อเสถียรภาพและความชอบธรรมทางอำนาจรัฐบาลพม่าอย่างยิ่งยวด รัฐบาลจึงต้องจัดการให้เรียบร้อยโดยเร็ว เพราะรัฐบาลพม่าอาศัยพุทธศาสนาเป็นหลักค้ำอำนาจ

การอ้างความชอบธรรมทางอำนาจโดยการใช้ศาสนาจึงเป็นเรื่องปกติ แต่ศาสนาเองก็มีความเป็นตัวของตัวเองระดับหนึ่ง ด้านหนึ่งผูกติดกับการสนับสนุนของรัฐ แต่อีกด้านหนึ่งก็ผูกติดกับประชาชน ถ้าผูกกับรัฐ รัฐก็คาดหวังและต้องการรัฐไปทำบุญ ก็ทำให้เสถียรภาพทางอำนาจมั่นคง แต่การที่สถาบันสงฆ์เป็นตัวของตัวเอง เมื่อผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาสนาบัญญัติหรือสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน ก็สร้างกระแสต้านได้ ปัญหาคือรัฐจะจัดการอย่างไร?

หากกล่าวถึงปรากฏการณ์ที่พระสงฆ์ออกมาเคลื่อนไหว เรามักนึกถึงการเปลี่ยนแปลงใน ค.ศ. 1988 ทว่าครั้งนั้นไม่ได้เป็นครั้งแรกที่พระสงฆ์มีบทบาททางการเมือง ทั้งนี้ พระพม่ามีบทบาทมหาศาลมาตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เวลานั้นพระอาจจะทำทั้งหน้าที่กล่อมเกลาสังคม เก็บภาษี รวมไปถึงการควบคุมจัดระเบียบเมื่ออำนาจรัฐลงไปไม่ถึง พระในอดีตยังทำหน้าที่เป็นเครื่องมือของรัฐ เช่น ในครั้งหนึ่งที่พม่าจะเจรจาสงบศึกกับพระเจ้าราชาธิราชหรือกับจีน พระคือผู้ที่ออกมาเจรจาสงบศึกให้ในครั้งนั้น เป็นต้น

แต่ในอีกทางหนึ่ง พระก็มีบทบบาทต้านอำนาจรัฐด้วย โดยมาเห็นรูปธรรมที่ชัดเจนในยุคอังกฤษปกครองพม่าซึ่งไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใดที่ปรากฏการจัดตั้งต่อต้านอำนาจอังกฤษ จะมีพระอยู่ในกลุ่มผู้นำการต่อต้านเสมอ และจะไม่มีความเคลื่อนไหวใดที่จะปราศจากพระ. ครั้งนั้นพระที่เป็นหัวหอกในการต่อต้านอังกฤษก็เช่น 'อูอุตมะ' ที่นำแนวคิดอหิงสาไปใช้ต่อสู้ หรือ 'อูวิสระ' ที่ถูกทางอังกฤษจับอย่างดูหมิ่นด้วยการถอดจีวร การล็อกกุญแจมือ สุดท้ายอูวิสระไม่ยอม ก็อดอาหารจนมรณภาพ

ส่วนจากหลัง ค.ศ. 1988 พระก็มามีบทบาทอีกครั้งใน ค.ศ. 1990 พระพม่าเคยรวมตัวประท้วงด้วยการปฏิเสธไม่ยอมทำสังฆกรรม และไม่ประกอบพิธีกรรมใดๆ ให้กองทัพหรือผู้เกี่ยวข้องกับครอบครัวของกองทัพ ซึ่งได้สร้างความตกใจให้รัฐบาลพม่าอย่างยิ่ง ต่อมา รัฐบาลใช้เวลาระยะหนึ่งในการบีบให้เลิกบอยคอตดังกล่าว

หากมองพระสงฆ์พม่ากับสังคมจะเห็นว่ามีความแนบแน่น การออกมาเคลื่อนไหวของพระพม่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องข้าวยากหมากแพง เพราะถ้าสังคมเดือดร้อน พระก็เดือดร้อนด้วย นอกจากนี้ในกรณีที่สถาบันสงฆ์รู้สึกถูกคุกคามจนขาดเสถียรภาพชัดเจน พระก็จะออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน เช่น ยุคอาณานิคม อีกประการหนึ่งคือเมื่อพระสงฆ์รู้สึกว่าถูกดูหมิ่นศักดิ์ศรีในความเป็นพระ เช่น กรณีอูวิสระที่อดอาหารจนมรณภาพ ก็จะออกมาเคลื่อนไหว หรือพระที่ถูกจับในเวลานี้ก็มีข่าวว่าอดอาหารประท้วงเช่นกัน

สำหรับเหตุปัจจัยการเคลื่อนไหวของพระสงฆ์ในครั้งนี้ เสอดคล้องไปกับเรื่องข้าวยากหมากแพง เมื่อรัฐบาลขึ้นราคาน้ำมันถึง 5 เท่า ประชาชนก็ไม่มีเงินพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง การทำบุญตักบาตรจึงทำไม่ได้ด้วย มันกระทบเป็นลูกโซ่ หากข้าวยากหมากแพง ประชาชนเดือดร้อน พระก็เดือดร้อน ดังนั้น ข้อเรียกร้องข้อแรกจึงเป็นเรื่องที่ต้องการให้รัฐแก้ปัญหาข้าวยากหมากแพง

ความสำคัญการเคลื่อนไหวครั้งนี้อยู่ที่กลยุทธที่ถูกนำมาใช้ เพราะไม่เคยเลยที่พระจะออกมานำบนท้องถนนเช่นครั้งนี้ จุดชุมนุมที่สำคัญจุดหนึ่งได้แก่เจดีย์ชเวดากอง ซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญที่เชื่อว่าอธิษฐานแล้วจะได้ชัย เหมือนที่พระเจ้าอลองพญาเคยมาอธิษฐานขอให้ได้ชัยเหนือมอญ ก็ได้ชัยจริง ครั้งนี้พระและผู้ชุมนุมก็มานั่งชัยภูมินี้

สำหรับพระสูตรที่ใช้ในการเคลื่อนไหว พระจะสวด 2 พระสูตร

- สูตรแรกคือเมตตาสูตร เพื่อบอกทหารไม่ให้ใช้ความรุนแรง เพราะการเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นอหิงสา ถ้าปราบรุนแรงก็ต้องคิดหนัก
- อีกสูตรคือเชิญพระปริตร เพื่อเชิญเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาสร้างความฉิบหายให้ฝ่ายตรงข้าม

อย่างไรก็ตาม นับว่าการเคลื่อนไหวของพระและประชาชนพม่าครั้งนี้ ได้วางทิศทาง และวางความหมายเชิงสัญลักษณ์ได้อย่างดี แต่เมื่อปรากฏว่ารัฐบาลพม่าปราบปรามอย่างรุนแรง จึงอาจจะสงสัยว่าในความเป็นพุทธสามารถฆ่าพระหรือทุบตีพระได้อย่างไร? แท้จริงแล้ว ไม่ว่ารัฐไทยโบราณหรือรัฐพม่าโบราณเคยลงโทษพระมาก่อน ในไทย เช่น สมัยพระมหาจักรพรรดิ์ พระสังฆราชวัดป่าแก้วไปให้เลิกผานาทีกับพระศรีศิลป์ฝ่ายตรงข้ามให้มาปล้นราชบัลลังก์ ภายหลังสืบค้นได้ก็ให้สึกเอามาประหารชีวิต สมัยพระเจ้าตากสินก็มีการลงโทษพระสงฆ์

ในกรณีพม่า มีกษัตริย์ฉานมาปกครองเคยประหารพระสงฆ์ไปประมาณ 300 รูป ส่วนพระเจ้าอลองพญาครั้งรบกับมอญ ปรากฏว่าพระมอญไปช่วยคนมอญรบ เมื่ออลองพญาชนะแล้วครองหงสาวดี ได้ก็เอาช้างมากระทืบพระประมาณ 3,000 รูป

ในการเคลื่อนไหว ค.ศ. 1988 มีการสังหารพระมากมาย ดังนั้นการปราบปรามรุนแรง ในทัศนะของรัฐมองว่าพระเหล่านี้ไม่ได้มีหลักเกณฑ์หรือเคารพทางพุทธศาสนา ไม่ได้เป็นพระสงฆ์ที่สมบูรณ์แบบ สิ่งที่รัฐบาลทำคือการทำให้ความศักดิ์สิทธิของพระนั้นหมดไปก่อน แล้วอาศัยข้ออ้างตรงนี้เข้าไปจัดการใช้ความรุนแรง แต่นี่คือมุมมองของรัฐ แต่มุมมองของประชาชนจะบอกว่า พระที่มาเคลื่อนไหวนั้นกระทำการเหมือนกับอูอุตมะและอูวิสระ เป็นพระที่เคลื่อนไหวเพื่อความเป็นเอกราชของชาติอีกครั้ง โดยมองว่ารัฐบาลเป็นรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมเหมือนรัฐบาลอังกฤษ ทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็มีข้ออ้าง

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของพระครั้งนี้เป็นกลยุทธ์ใหม่ แต่รัฐบาลก็ใช้กลยุทธ์เดิมในการปราบ ดังนั้นการเคลื่อนไหวของพระครั้งนี้มันส่งผลใหม่ คือ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่การปราบปรามนั้นถูกนำส่งสู่สายตาชาวโลก เพราะคนที่อื่นไม่มารับรู้การอ้างหลักธรรมเชิงอำนาจในการใช้ความรุนแรงหรือไม่ใช้ความรุนแรงคืออะไร รัฐบาลพม่าอาจจะอ้างได้ว่า พระเหล่านี้เป็นพระที่ไม่ถูกต้อง ถ้าเรื่องราวไม่เปิดออกสู่สายตาโลกก็น่าจะมีคนรับฟังก็ได้ เพราะความจริงพระที่ออกมาเคลื่อนไหวไม่ได้เป็นพระส่วนใหญ่ แม้เราจะเห็นเป็นจำนวนหมื่น แต่พระพม่ามีเป็นแสนๆ รูป ตรงนี้เป็นข้อได้เปรียบที่รัฐบาลพม่า แต่สำหรับสังคมภายนอกเมื่อได้รับรู้มองว่า เป็นการใช้ความรุนแรงกับการเคลื่อนไหวที่อหิงสานั้นรับไม่ได้ และจะเป็นแรงกดดันใหม่อาจส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยมีมาก่อนในพม่าก็ได้

ดร.สุเนตร กล่าวถึงจุดอ่อนประการหนึ่งของการเคลื่อนไหวของพระสงฆ์ครั้งนี้ว่า มาจากการเคลื่อนแล้วกลับวัด ซึ่งวัดพม่าไม่เหมือนวัดในไทย ที่พักของสงฆ์จะเป็นอพาร์ทเมนท์อยู่รวมกันหลายร้อยรูป ดังนั้นการปราบปรามเป็นการจับกุมในตอนกลางคืน ภาพความรุนแรงจึงไม่ปรากฏ รัฐบาลพม่าอาศัยจังหวะตรงนี้ในการจับกุม เราจึงไม่เห็นภาพความรุนแรงและคนตายมากมายเหมือน ค.ศ. 1988

รศ.ดร.ทวีวงศ์ ศรียุรี สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่ในเวลานี้ ไม่ว่าสำหรับพม่า ไทย ลาว หรือเขมร ในขณะที่เรื่องการสร้างเขื่อนก็มีปัญหาพอสมควร สำหรับไทย ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมองว่า ไทยมีเขื่อนมากมายที่สร้างโดยกรมชลประทานน่าจะนำมาผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กแทนการซื้อน้ำมันที่มีราคาแพงได้ เพียงแต่มันเป็นเรื่องของคนละกระทรวง ซึ่งในไทยการพูดคุยข้ามกระทรวงรู้กันว่าเป็นอย่างไร มันจึงกลายเป็นปัญหาที่ทำให้ไม่เกิดการผลิตพลังงานขนาดเล็กจากเขื่อนที่มีอยู่ ในขณะที่ไทยต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 เมกกะวัตต์ต่อปี หรือเปรียบเทียบได้ว่า ต้องสร้างเขื่อนขนาดเขื่อนภูมิพลปีละเขื่อน โดยที่ไม่ได้พูดกันถึงเรื่องวางแผนประหยัดพลังงานเลย

ส่วนในพม่านั้น ธนาคารโลกเคยประเมินไว้ว่า มีศักยภาพผลิตไฟฟ้าได้ถึง 100,000 เม็กกะวัตต์ต่อปี แต่ในความเป็นไปได้อยู่ที่ประมาณ 39,000 เมกกะวัตต์ต่อปี และพบว่ามีการเข้าไปลงทุนด้านพลังงานในพม่ามาจากจีน อินเดีย และเกาหลี ส่วนไทยมีการพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในเขื่อนน้ำกกและเขื่อนท่าซาง. ทั้งนี้ ในด้านพลังงานพม่านั้น มีการสำรวจทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาตินั้น ในพม่าพบจำนวนมาก แต่ปัญหาสำหรับพม่าคือ ไม่สามารถผลิตได้ตามศักยภาพที่มีอยู่ ทำให้ต่างชาติเริ่มเข้ารุมทึ้ง

อินเดียได้รับสัมปทานการสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เพราะแม้จะมีก๊าซธรรมชาติในพม่ามาก แต่ยังอยู่ในจุดเริ่มต้นของการสำรวจเสียมาก ส่วนเกาหลีจะเข้าไปในเรื่องการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ ในขณะที่ไทยเริ่มเข้าไปในวันที่ 12 ตุลาคม 2548 โดยลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เขื่อนสาละวิน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะพบก๊าซธรรมชาติในพม่าเป็นจำนวนมาก และพม่าเองก็พยายามที่จะหาพลังงานทดแทนมาตลอด และปรับนโยบายพลังงานมาตลอดตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เรื่อยมา เช่น การรณรงค์ปลูกสบู่ดำสร้างพลังงานทดแทน การดัดแปลงหัวรถจักรให้ใช้ก๊าซธรรมชาติแทนดีเซล การปรับรถยนต์ให้ใช้ก๊าซธรรมชาติแทนน้ำมัน เป็นต้น แต่ศักยภาพในการผลิตที่ยังเป็นปัญหา ก็ทำให้พม่ายังมีปัญหาด้านพลังงาน เช่น วันที่ 4 มกราคม 2549 เกิดภาวะขาดแคลนไฟฟ้าในย่างกุ้ง หรือการขึ้นราคาน้ำมันเป็นระยะเรื่อยมา เช่น 20 ตุลาคม 2548 พม่าขึ้นราคาน้ำมันจาก 180 จ๊าด มาเป็น 1,500 จ๊าด หรือเกือบ 10 เท่ามาแล้วครั้งหนึ่ง และมาวันที่ 16 สิงหาคม 2550 พม่าก็ปรับขึ้นราคาเชื้อเพลิงอีกครั้งแรกในรอบ 2 ปี หรือเป็นที่มาของเหตุการณ์ประท้วงรอบนี้

พรพิมล ตรีโชติ นักวิชาการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากข้อมูลด้านการลงทุนในพม่า เหมือนถนนทุกสายจากโลกดูจะพุ่งไปยังพม่า จึงไม่แปลกใจที่แม้จะมีภาพประชาชนถูกยิงหรือพระถูกทำร้าย แต่ทำไมจึงไม่มีปฏิกิริยารุนแรงจากประชาคมโลก ตลอดเวลาประมาณ 2 อาทิตย์ที่มีเหตุการณ์ในพม่ารอบนี้ เราจะได้ยินเสียงแต่แสดงความห่วงใยจากทุกมุมโลก แต่ไม่ได้เห็นการกระทำใดๆ จากประชาคมโลก

ย้อนไปจุดยืนของประชาคมโลกในวันนี้ เทียบกับ ค.ศ. 1988 พม่าได้ใช้ยุทธศาสตร์ความเป็นประเทศที่ร่ำรวยทางทรัพยากรธรรมชาติที่ซื้อโลกได้ครึ่งโลก มีเพียงอเมริกาที่ใช้การคว่ำบาตร แต่ไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าจีน อินเดีย หรืออาเซียนไม่ร่วมการคว่ำบาตร ดังนั้นถึงแม้จะเกิดเหตุการณ์รุนแรงในพม่า ก็จะไม่มีปฏิกิริยาใดๆ จากประชาคมโลกรุนแรงไปกว่านี้

ทั้งนี้ จีนเข้าไปครอบครองพม่าเกือบจะหมดประเทศแล้ว พม่ายอมให้จีนรุกคืบมหาศาล รวมไปถึงในทางกายภาพผ่านการเข้าไปลงทุนด้านเขื่อน ก๊าซธรรมชาติ และการสร้างท่อลำเลียงน้ำมันจากซิต่วยฝั่งมหาสมุทรอินเดียไปที่คุนหมิงในจีน หมายความว่าจีนฝากยุทธศาสตร์น้ำมันไว้เรียบร้อยแล้ว คือแม้จีนจะซื้อน้ำมันจากตะวันออกกลาง แต่ก็เลี่ยงการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งในทางดินแดนจากรัฐอารากันมาจีนนั้น กินดินแดนไปมากแค่ไหน ดังนั้นจีนเชื่อว่ามีอิทธิพลของจีนในพม่าเต็มที่แล้ว อย่างไรก็ตาม คิดว่า การประท้วงคงยังไม่จบ แต่จะออกมาอีกและกระจายไปทุกรัฐ

เหตุการณ์ใน ค.ศ. 1988 ก็เช่นกัน การประท้วงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือน มีนาคม ประท้วงแล้วก็หนีเข้าบ้านเรื่อยมาจน 8 สิงหาคม 1988 รัฐบาลจึงปราบปรามอย่างรุนแรง ดังนั้นไม่เชื่อว่าครั้งนี้เหตุการณ์จะจบลง แต่เราคงจะเห็นการปราบปรามอย่างรุนแรงอีกครั้ง ถ้าทั่วโลกมีแต่เสียงแสดงความห่วงใยแต่ไม่มีความเคลื่อนไหว และใช้วิธีผลักภาระไปที่จีน ไม่ว่าจะไทย อเมริกา หรืออาเซียน ซึ่งถ้าประชาคมโลกฝากความหวังที่จีนประเทศเดียว ในขณะที่จีนมีผลประโยชน์อย่างไม่อาจเสียได้ จะหวังได้หรือว่าจีนจะทำอะไร

"เราอยากสัมพันธ์กับรัฐบาลพม่าปัจจุบันหรือไม่ ถ้าพม่าเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย เราจะซื้อทรัพยากรจากพม่าไม่ได้หรือ น่าจะมองไกลๆ เช่น ถ้าออง ซาน ซู จีมาเป็นประธานาธิบดี รัฐบาลเราก็สามารถติดต่อซื้อพลังงานได้ แต่ทำไมเราจึงพอใจติดต่อกับรัฐบาลเผด็จการที่ฆ่าคนและพระมาได้ตลอด. ถ้าจีนอินเดีย และอาเซียนมีแอ็กชั่น มีโรดแม็ปให้พม่า ประเทศที่พม่าไว้ใจมีจีนและอินเดีย รวมทั้งอาเซียนเองก็สามารถทำอะไรได้มากกว่าที่ตัวเองคิด" พรพิมลกล่าว

ทั้งนี้ พรพิมลได้ยกตัวอย่าง บทบาทของอาเซียนที่ทำให้พม่าทบทวนท่าทีตัวเองจากกรณี ค.ศ. 2003 ในเหตุการณ์ที่พรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) และออง ซาน ซู จี ถูกล้อมกรอบจนเกือบตาย ครั้งนั้นอาเซียนกราดเกรี้ยว มหาเธร์ประกาศว่าถ้าพม่าไม่เปลี่ยนก็น่าจะถูกขับจากอาเซียน ทำให้รัฐบาลพม่าเวลานั้นต้องชะงัก เสียงประท้วงจากอาเซียนจึงมีผล ดังนั้น ถ้าจีน อินเดีย และอาเซียน จับมือกันทำอะไรก็คงจะได้เห็นหน้าเห็นหลัง

 

คลิกไปอ่านต่อบทความเรื่องนี้ตอนที่ ๒

ข่าวล่าสุด
Burma: Deadly disappearances under cover of darkness
By MARCUS OSCARSSON
Last updated at 15:04pm on 1st October 2007


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


YMBA หรือ "สมาคมชาวพุทธหนุ่ม" จะกลายเป็นศูนย์กลางของขบวนการชาตินิยม เน้นกิจกรรมด้านศาสนาและวัฒนธรรม สร้างแรงกดดันให้อังกฤษต้องตั้งงบประมาณช่วยเหลือต่อกิจกรรมและการศึกษาพุทธศาสนา และ"สมาคมชาวพุทธหนุ่ม"ก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในกรณีของการประท้วงใหญ่ที่เรียกว่า "กบฏเกือก" หรือ No Footwear Protest เมื่อปี ๒๔๖๑/๑๙๑๘ ที่ต่อต้านการที่ฝรั่งหรือชาวต่างชาติอื่นๆ สวมเกือกหรือรองเท้าเข้าไปในบริเวณวัด


บทบาทดังกล่าวของ "สมาคมชาวพุทธหนุ่ม" ร่วมกับบรรดาพระสงฆ์นี้จะถูกส่งทอดต่อไปยังคนรุ่นต่อมาอีก เช่น General Council Burmese Association หรือ GCBA ในปี ๒๔๖๓/๑๙๒๐ พร้อมๆ กันนี้ พระพม่าอย่าง "อูอุตมะ" ก็กลายเป็นผู้นำพระสงฆ์รุ่นใหม่ ที่พยายามตีความพุทธศาสนาในรูปแบบร่วมสมัย เช่นว่า พุทธศาสนานั้น สอดคล้องกับการต่อสู้เพื่อเอกราช การที่มนุษย์จะตัดกิเลสได้ จะต้องผ่านขั้นตอนของการมีอิสระเสรีภาพเสียก่อน ชาวพุทธจะต้องช่วยกันในการต่อสู้นี้ "อูอุตมะ" ยังตีความพระศาสนาต่อไปอีกว่า "ลัทธิสังคมนิยม" นั้นมีเนื้อหาสอดคล้องกับ"โลกนิพพาน"ของชาวพุทธ และท่านได้รณรงค์ต่อต้านเจ้าอาณานิคมอังกฤษด้วยการ "คว่ำบาตร" และนี่ก็เป็นที่มาของการที่เราได้เห็นการคว่ำบาตร ในการประท้วงครั้งล่าสุดในเดือนกันยายน ๒๕๕๐